ทางด่วนสู่ปัญญา ~ คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 14 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [​IMG]
    ทางด่วนสู่ปัญญา ~ คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (๑)
    <!-- Main -->[SIZE=-1]...

    พระภิกษุทุกท่าน แล้วก็เจริญพรญาติโยมทุกๆ ท่านตั้งใจฟัง วันนี้ก็เป็นวันที่ ๑๘ หลังจากการทำวัตรเช้า ก็จะได้แนะแนววิธีปฏิบัติ เป็นการทบทวนการปฏิบัติ หรือเป็นการทบทวนอารมณ์ของพวกเรา ตั้งใจฟัง แล้วก็จดจำไว้ เราปฏิบัติเป็นอย่างนั้นแล้วหรือยัง หรือยังไม่ได้เป็น เราก็ต้องรู้ว่า เรายังไม่รู้ เรายังไม่เข้าใจ แต่เรารู้เพียงคำพูด เข้าใจเพียงคำพูด จิตใจเรายังไม่เป็น

    อีกอย่างหนึ่ง บางทีรู้คำพูด เข้าใจคำพูด จิตใจก็เป็นด้วย ก็เป็น ดังนั้นจึงว่าให้ตั้งใจฟัง

    การปฏิบัติแบบนี้ มันเป็นวิธีการ มันเข้ากันได้กับหลักสติปัฏฐานสี่ หรือมันเข้ากันได้กับอย่างที่ครูบาอาจารย์เคยเล่าให้ฟังว่า พระพุทธเจ้าสอนให้มีสติกำหนดรู้ในอิริยาบถทั้งสี่ ยืน เดิน นั่ง นอน เท่านั้นก็ยังไม่พอ ท่านยังให้มีสติเข้าไปกำหนดรู้ในอิริยาบถย่อย คู้ เหยียด เคลื่อนไหว โดยวิธีใดก็ให้รู้ ท่านสอนเอาไว้อย่างนั้น


    บัดนี้ บางคนไม่มีวิธีการ ไม่เข้าใจในคำพูดคำสอนเหล่านั้น ก็เลยมาทำเป็นจังหวะ ให้เรานั่งพับเพียบก็ได้ นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งเก้าอี้ก็ได้ นอนก็ได้ อันนี้ก็ได้ แต่ว่าเวลาเดินนั้น เอามือกอดหน้าอกไว้ หรือเอามือไขว้หลังไว้ เวลานั่ง เราก็ต้องเอามือทั้งสองข้างวางไว้ที่บนขา

    พลิกมือขวาตะแคงขึ้น..ให้รู้สึกตัว ยกมือขวาตะแคงขึ้น..ให้รู้สึกตัว เอามือขวาเข้ามาที่สะดือ..ให้รู้สึกตัว แล้วก็เอามือขวาแนบแน่นไปที่ตรงนั้น พลิกมือซ้ายตะแคงขึ้น..ให้รู้สึกตัว ยกมือซ้ายขึ้นครึ่งตัว..ให้รู้สึกตัว เอามือซ้ายเข้ามาทับมือขวา..ให้รู้สึกตัว เอามือซ้ายทับมือขวาแนบไปที่ตรงนั้น

    บัดนี้ เลื่อนมือขวาขึ้นหน้าอก..ให้รู้สึกตัว เอามือขวาออกมาตรงข้าง เอาออกมาตรงๆ ไม่ใช่พลิก เอาออกมาตรงๆ เอาไว้ตรงข้าง..ให้รู้สึกตัว ลดมือขวาลงที่ขาขวาตะแคงไว้..ให้รู้สึกตัว คว่ำมือขวาลงที่ขาขวา..ให้รู้สึกตัว บัดนี้ ก็เลื่อนมือซ้ายขึ้นหน้าอก..ให้รู้สึกตัว เอามือซ้ายออกมาตรงข้าง..ให้รู้สึกตัว ลดมือซ้ายลงที่ขาซ้ายตะแคงไว้..ให้รู้สึกตัว คว่ำมือซ้ายลงที่ขาซ้าย..ให้รู้สึกตัว

    อันนี้เป็นวิธีการปฏิบัติ มันเข้ากันกับหลักสติปัฏฐานสี่ หรืออริยาบถทั้งสี่นั่นเอง


    พูดถึงสติปัฏฐานสี่ ท่านพูดว่า ให้มีสติกำหนดรู้...กายานุปัสสนา คือ สติปัฏฐานสี่ กายานุปัสสนา..ให้มีสติดูกายในกาย เวทนานุปัสสนา..ให้มีสติดูเวทนาในเวทนา จิตตานุปัสสนา..ให้มีสติดูจิตในจิต ธรรมานุปัสสนา ..ให้มีสติดูธรรมในธรรม เราไม่เข้าใจ..บางคน บางคนก็เข้าใจคำพูดอันนั้น ผู้มีปัญญา คุ้นกับการภาษา เรียน แปลนั้น อาจจะเข้าใจ แต่เข้าใจ..แต่จะยังไม่เป็นก็มี เป็นอย่างนั้น

    บัดนี้ วิธีที่พวกเราทำเนี่ยะ เดินจงกรม เอามือกอดหน้าอกไว้ ทำจังหวะแล้ว เอียงซ้าย เอียงขวาก็ให้รู้ ก้มเงยก็ให้รู้ แต่ไม่ให้แกว่งแขนเวลาเดินจงกรม เอามือกอดหน้าอกไว้ หรือเอาไขว้หลังไว้..ให้รู้

    ทำแล้วมันจะเป็นยังไง ทำแล้วมันเกิดปัญญา อันนี้เป็นวิธีทำให้เกิดปัญญา ข้อแรก รู้จักรูป-นามนี้เอง เกิดปัญญาขึ้นมาพอแล้ว รูป-นี่ก็ร่างกาย นาม-ที่มันรู้จัก รูปกับนาม มันอาศัยซึ่งกันและกัน การเคลื่อนไหว..ถ้าหากไม่มีจิตมีใจ คือ คนตายนี่ มันก็ไม่เคลื่อนไหว มันก็ไม่รู้ จึงว่า รูปกับนาม นามนั่นแหละมันเคลื่อนไหว รูปนั่นเคลื่อนไหวไม่ได้ จึงว่า รูปกับนาม จึงอาศัยซึ่งกันและกัน เรียกว่า รูป-นาม อันนี่


    รูปทำ-นามทำ มันพลิกขึ้น รูปก็ทำ พลิกขึ้นมาเนี่ยะ..รูปทำแล้ว นามก็ทำไปด้วย รูปทำ-นามทำ รูปโรค-นามโรค เกิดมาแล้ว ก็ต้องเจ็บหัว ปวดท้อง เป็นไข้ เป็นหนาว เป็นอะไรก็ตามแหละ รูปเป็นแล้ว..ใจก็ไม่สบาย อันเนี่ยะ..รูปโรค-นามโรค

    บัดนี้ นั่งสบาย นอนสบาย ไปไหนมาไหน ก็สบาย ไม่เจ็บหัว ไม่ปวดท้อง จิตใจมันคิดขึ้นมา..บัดนี่ มันคิดวูบขึ้นมา มันสอบ หรือ มันเปรียบ จิตวิญญาณเป็นโรค มันก็เป็นทุกข์ เรียกว่า ทุกข์ทั้งสองทาง อย่างเคลื่อนไหวไปมาก็เป็นทุกข์ เรียกว่า ทุกขัง ทุกข์เพราะมันติดอยู่กับรูปนี้นั่นเอง แยกออกจากกันไม่ได้ เนี่ยะ..ทุกขัง อนิจจัง นั่งนานๆ หรือไม่นานก็ได้ มันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนในอิริยาบถนั่นเอง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา พริบตาหายใจ นึกคิด นี่...เป็นอนิจจัง

    อนัตตา..บังคับบัญชาไม่ให้มันเคลื่อนมันไหว ไม่ให้มันแหนงมันติง...มันไม่ได้ จึงว่า พัฒนาไม่ได้..ตัวนี้ มันเป็นไปตามธรรมชาติ เราต้องพัฒนาตัวใจ (ท่านพูดเน้นเสียง) เรียกว่าอนัตตา..บังคับบัญชาไม่ได้


    บัดนี้ จึงว่า ทุกข์..ต้องกำหนดรู้ สมุทัย..ต้องละ มรรค..ต้องเจริญ นิโรธ..ทำให้แจ้ง บัดนี้ ทุกข์..ต้องกำหนดรู้ คือ มันรู้ตัวเคลื่อนตัวไหวตัวนี้ สมุทัย..ต้องละ ตัวมันนึกมันคิดนั่นน่ะ เมื่อเรามาอยู่กับการเคลื่อนไหวตัวนี้ มันจะหยุดเองมัน สมุทัย..ต้องละ มรรค..ต้องเจริญ มรรคต้องทำให้มาก ทำบ่อยๆ ทำไม่หยุด มรรค..ต้องเจริญ

    นิโรธ..ทำให้แจ้ง รู้แจ้ง รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง รู้เข้ารู้เข้าออก รู้สมมุติ สมมุตินี่รู้แจ้ง รู้สมมุติ รู้จริงๆ สมมุติผี สมมุติเทวดา สมมุติพระพุทธรูป หรือสมมุติเพื่อนฝูง อะไรก็ตามแหละ เงินทอง เสื้อผ้า ไร่นา เรือกสวน เหล่าเนี้ยะ เป็น..เป็นสมมุติขึ้นมา แต่..สมมุติบัญญัติ เช่น สมมุติบวช แล้วก็สึก สึกแล้วก็บวช นี่ก็เป็นสมมุติ ศีลห้า ศีลแปล ศีลสิบ ศีลสองร้อย ศีลสามร้อย เป็นศีลสมมุติ


    สมมุติอยู่กับสังคม..ต้องให้รู้ นี่ว่า รู้ให้ครบ.ให้จบ..ให้ถ้วน ถ้าหากรู้น้อยๆ มันก็เกิดมีความสงสัย นี่ว่า รู้ให้ถึง..รู้ให้ถึงเนื้อแท้มันจริงๆ สิ่งที่สมมุตินี่ ท่านจึงเปรียบว่า ใบไม้ในป่า กับใบไม้แห้งในกำมือ แต่ว่าใบไม้แห้งในกำมือเนี่ยะ มันเป็นยา ใบไม้ในป่าก็เป็นยา แต่จะไปเลือกเอามาใช้ได้ทั้งหมดน่ะ..มันไม่ได้ เอาเฉพาะแต่เรารู้ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา รู้สมมุติ เท่านี้ก็ใช้ได้ แต่ว่าเราให้มัน..มีคนมาถามอะไรให้รู้ อันนั้นมันเป็นสมมุติ เรียกว่า สมมุติบัญญัติ ปรมัตถ์บัญญัติ อรรถบัญญัติ อริยะบัญญัติ

    สมมุติขึ้นมา ก็บัญญัติขึ้นมาเป็นตัวบทกฎหมาย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ตำรวจ ทหาร สิบตรี สิบโท สิบเอก นี่..เว่าไปอย่างนั้น พระสงฆ์ก็บวชเข้ามาแล้ว ก็ถูกสมมุติเช่นเดียวกัน สมมุติให้เป็นเจ้าอาวาส สมมุติให้เป็นเจ้าคณะตำบล สมมุติให้เป็นเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค เจ้าคณะแขวง ไปอย่างนั้น

    สมมุติเท่านั้นก็ยังไม่พอ สมมุติเข้ามาอีกพักหนึ่ง ก็สมมุติให้เป็นพระครู เป็นเจ้าคุณ เป็นพระราช เป็นพระเทพ แล้วเป็นพระธรรม เป็นสมเด็จ อันนั้นก็สมมุติเหมือนกัน แต่สมมุติบัญญัติ...เราให้รู้จัก ถ้าเราไม่รู้จัก เราก็ไปติดสมมุติอันนั้นแหละ เพิ่นว่า อารมณ์มันหวั่นไหว


    ถ้าเรารู้จัก...เรื่องสมมุติ เขาให้แล้ว เขาถอดก็ได้ เขาไม่ให้แล้ว ก็แล้วไป อันนี้เรียกว่า รู้จักเรื่องของคน เรื่องของคนมันเป็นอย่างซี้ แต่หน้าที่นั่น..ต้องปฏิบัติ แต่ให้เลือกเอา จึงว่า ให้รู้จักความเป็นคน เกิดมาจากพ่อจากแม่ก็เป็นคน จิตใจยังไม่รู้จะเป็นคนได้ทำไม เลือกเอามาใช้กับชีวิตตัวเองไม่ได้ ก็ไม่ใช่คน แต่เป็นคน

    แต่ให้รู้จักอันนี้แหละ เรียกว่า ความเป็นคน..โอ๊...มันอยู่ที่ตรงนี้ มันสับสนวุ่นวายสลับซับซ้อน เรียกว่า ความเป็นคน เรื่องของคน...เรื่องของคนมันเป็นอย่างนั้น ให้เราเห็น..ให้เรารู้..ให้เราเข้าใจ หน้าที่ของคน ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ เมื่อเขาสมมุติให้ ก็ต้องปฏิบัติไป เรียกว่า ให้รู้จักสมมุติ อย่า..อย่าไปติดสมมุติ ท่านว่าอย่างนั้น

    เมื่อรู้จักสมมุติดีแล้ว ก็รู้จักศาสนา ศาสนาก็แปลว่า คำสั่งสอนของท่านผู้รู้ ใครรู้เรื่องอันใดก็ตาม มาสอนคน ให้คนละชั่วทำดี เรียกว่าศาสนา ศาสนาจึงแปลว่าคำสั่งสอนของท่านผู้รู้ ตัวคนทุกคนก็เป็นตัวศาสนา เพราะสอนเข้าตา สอนเข้าหู ให้ตาเห็น หูฟัง จดจำเอามา..มาไว้ ทำดีแต่ไม่ทำชั่ว อันนี้เป็นศาสนา


    พุทธศาสนา เรามาพลิกมือขึ้น คว่ำมือลง ยกมือไป เอามือมา เดินหน้าถอยหลัง เอียงซ้ายเอียงขวา ก้มเงย พริบตา อ้าปาก หายใจเข้า หายใจออก กลืนน้ำลายเข้าไปในลำคอนี่ มันรู้สึกตัว

    เมื่อรู้สึกมากขึ้นๆ เกิดญาณปัญญา อันนี้แหละเรียกว่าเป็นพุทธศาสนา พุทธะจึงแปลว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม บัดนี้เราไปไหนมาไหน นั่งไหนนอนไหน อยู่ที่ไหนก็ตาม ก็อยู่ด้วยธรรมะ เรียกว่า เห็นธรรมะ รู้ธรรมะ จึงว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเรา อันนี้ เห็นธรรมะ เห็นจริงๆ หลับตาก็รู้ ลืมตาก็รู้ เนี่ยะ..พุทธศาสนา ให้เราเข้าใจอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไป..อันนี้

    [/SIZE]
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [​IMG]


    ทางด่วนสู่ปัญญา ~ คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (๒)
    <!-- Main -->[SIZE=-1]...

    เมื่อรู้พุทธศาสนาครบจบถ้วนดีแล้ว ก็ต้องรู้บาป บาปก็คือมืด บาปก็คือไม่รู้ บาปก็คือโง่นั่นเอง บุญ..บัดเนี่ยะ บุญคือเรารู้ บุญคือสว่าง บุญคือดีใจ..บัดเนี่ยะ รู้แล้วก็ดีใจ ไม่เก้อเขิน อันนี้..รู้ภาคต้น เรียกว่า เป็นภาคต้น เป็นปฐมฤกษ์ก็ได้ แต่ไม่ใช่เป็นปฐมฌาน เป็นปฐมฤกษ์ รู้อันนี้ ผิดไปจากนี้ ก็แสดงว่าไม่รู้ตามเรื่องนี้

    การปฏิบัติแบบนี้ต้องรู้เรื่องนี้ แล้วก็เกิดมีความรู้ขึ้นมา..บัดนี่ เดินไปเดินมา มันมีความรู้ มันอยากพูดอยากคุย อยากไปสอนคนนั้น อยากไปสอนคนนี้ นี่..เกิดปิติ เกิดมากขึ้น..มากขึ้น ก็หลงตนลืมตัวไปแล้ว..บัดนี่ เป็นวิปัสสนูอุปกิเลสที่ตรงนี้ จำไว้


    เมื่อเรารู้อย่างนี้ดีแล้วก็อย่าไปติดอารมณ์ มันดีใจก็ปล่อยไปเลย ทำความเพียร ทำความรู้สึกตัวให้มาก เป็นการทบทวนอารมณ์ ให้มันรู้จริงๆ เดินไปเดินมา มันคิดปุ๊บ ให้มาอยู่กับความรู้สึก

    หลวงพ่อพูดให้ฟังบ่อยๆ ว่า ทีแรก มันเหมือนกับแมวตัวน้อย หนูตัวโต พอดีหนูออกมา แมวมันไม่เคยกลัว มันกระโดดจับเลย โดดจับ หนูมันตื่น มันก็วิ่งไป แมวมันก็ติดหนูไป

    อันนี้ก็เหมือนกัน มันคิด ทีแรกมันไม่คิดมากเท่าไหร่หรอก พอดีมันคิด เราเข้าไปในความคิด ไปวิพากย์วิจารณ์อันนั้นอันนี้ อันนั้นเป็นวิปัสสนู แก้ปัญหาตัวเองไม่ได้


    ตอนแก้ปัญหาตัวเองได้ คือ รู้มาถึงบาปบุญนี่แหละ อันนี้แหละ การแก้ปัญหาตัวเอง ตอนมันรู้จักนอกตัวเราไปแล้ว...แก้ปัญหาตัวเองไม่ได้ อันนี้หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ จึงว่า นำมาทบทวน จึงว่า เปิดอบรม เปิดแล้ว บัดนี่ เปิดแล้วก็แสดงว่า หงายของที่คว่ำ ของที่ปิด มีเกลียวอัดแน่นอยู่นั่น หลวงพ่อ หรือว่าใครก็ตามแหละ มาเปิด มาเปิดก็มาไข มาหงายหน้าขึ้นให้แล้วนี้ก็อบรม อบรมก็มาชี้แนะแนวทางตามความจริง

    อบรมแปลว่าชี้แนะแนวทางให้เดินไปทางนี้ อย่าเดินไปทางนั้น เรียกว่าอบรม อบรมแปลว่าชี้ทางให้เข้าใจ ให้รู้ตามคำแนะนำนั้น เรียกว่าอบรม


    ดังนั้น เมื่อรู้อันนี้แล้ว ก็เกิดความรู้ขึ้นมา เราปล่อยความรู้อันนั้นให้หมด อย่าไปอยู่กับความรู้อันนั้น ให้มาอยู่กับความรู้สึก มันคิดมาก็รู้...มันคิดมาก็รู้ รู้เท่า..รู้ทัน..รู้จักกัน..รู้จักแก้ บัดนี้ รู้แล้วบัดนี้ ก็เกิดความรู้ชนิดหนึ่ง แต่เกิดญาณปัญญานะตัวนี้ ไม่ใช่รู้เอาเองนะ

    เกิดญาณปัญญา หรือปัญญาญาณเกิดขึ้น รู้จักวัตถุ เห็น..เข้าใจ..สัมผัสแนบแน่นอยู่กับวัตถุอันนั้น แต่วัตถุไม่ใช่เสื้อผ้า เงิน แต่เราเรียกว่าให้เป็นวัตถุ ชื่อมันแสดงตัวมันออก..วัตถุ มันต้องแสดงตัวมันออกมา มันต้องรู้


    วัตถุ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่าง พอดีรู้วัตถุ แล้วก็ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นวัตถุทั้งนั้น ที่มันมีนะ ในโลกนี้ เราเรียกว่าวัตถุทั้งหมด กวมนะหลวงพ่อพูดนี่ กวมทั้งหมดเลย วัตถุนี่หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่าง
    ปรมัตถ์ หมายถึง ความจริง กำลังเห็น กำลังเป็น กำลังมี กำลังรู้อยู่ เรียกว่าเป็นปรมัตถ์
    อาการ - สภาพความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ชีวิตของเรา จึงว่า เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เรารู้จัก..อ้อ..ชีวิตนี่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว..นี่รู้จักอย่างนี้ นี่..อาการจึงแปลว่า ความเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น จะเป็นวัตถุภายนอกก็ตาม จะเป็นวัตถุภายในก็ตาม ต้องรู้จักว่าการเปลี่ยนแปลง เรียกว่าเป็นอาการ สภาพการเปลี่ยนแปลง จะเป็นโลกก็ตาม เป็นธรรมก็ตาม ท่านว่าความเปลี่ยนแปลง


    เมื่อเห็น..รู้อย่างนี้แล้วก็เห็น..รู้..เข้าใจ คนใดมีโทสะมาก ก็ต้องรู้โทสะ เห็นโทสะ เข้าใจโทสะ สัมผัสกับโทสะแนบแน่น คนใดมีโมหะมาก ก็ต้องเห็นโมหะก่อน รู้โมหะ เห็นโมหะ เข้าใจโมหะ สัมผัสกับโมหะแนบแน่นกับสิ่งเหล่านั้น คนใดมีโลภะมาก...มันไม่เหมือนกันนะคนนี่ เรียกว่านิสัยหรือจริต ท่านว่าอย่างนั้น มีโลภะมาก ก็เห็นโลภะก่อน เห็นก่อน เห็น..รู้..เข้าใจ..สัมผัสแนบแน่นอยู่กับโลภะนั้น

    แต่ว่าเห็นทั้งหมด..ทั้งสามนี้ เห็น..เห็นจะเป็นโมหะ โลภะ โทสะก็ได้ จะเป็นโทสะ โมหะ โลภะก็ได้ จะเป็นโมหะ โทสะ โลภะก็ได้ แต่ว่าเห็น เห็นอันใดอันหนึ่งขึ้นมา เห็นแล้วก็สัมผัสแนบแน่นกับสิ่งเหล่านั้น อันนี้เป็น..เป็นวิธีการ อันนี้จึงรู้อันนี้ แต่ก่อนนั้นไม่เคยรู้ รู้แต่มันไม่เห็น มันไม่เข้าใจ ใจมันไม่รับรู้ มาทำอย่างนี้มันรู้ เรียกว่า รู้ตาม เห็นตาม เข้าใจตาม

    เมื่อเห็นอันนี้แล้วก็เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เวทนาไม่ทุกข์ สัญญาไม่ทุกข์ สังขารไม่ทุกข์ วิญญาณไม่ทุกข์ อันนี้เป็นอารมณ์หนึ่ง เรียกเป็นปฐมฤกษ์ เป็นปฐมฌาน ฌานเข้าไปรู้ ไม่ใช่ว่าฌานแล้วเหาะไปนะ พาหนะก็เรียกว่าฌานเหมือนกัน ฌานแปลว่าขนส่ง

    ความเป็นพระเกิดขึ้นที่ตรงนี้ ใครจะพูดยังไงก็ตาม ถ้าเห็นจริงก็ต้องรู้จริง อ้อ..หลวงพ่อนุ่งกางเกง..คราวนั้น เป็นพระได้แล้ว น้ำหนัก ๑๐๐ กิโลนี่หลวงพ่อว่า สะ..สลัดทิ้งไปทันทีเลย ๘๐ กิโลนี่ แต่มันมืด ยังไปไม่ได้ แต่รู้จักแล้วว่า เราเป็นพระได้แล้ว อ้อ..บัดนี่ เดินกลับไปกลับมา ไม่นาน ชั่วกะพริบตานี่แหละ ไม่นาน ก็เลยเห็น..รู้..เข้าใจ กิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรม นี่..๔ ข้อนี่

    [/SIZE]เวทนาเป็นรูป เป็นทั้งรูปทั้งนาม สัญญาเป็นรูป เป็นทั้งรูปทั้งนาม สังขารเป็นรูป เป็นทั้งรูปเป็นทั้งนาม วิญญาณเป็นรูป เป็นทั้งรูปเป็นทั้งนาม จึงว่า อันนี้เรียกว่า รูปสี่ แยกออกจากขันธ์ห้าแล้ว..บัดนี่

    แล้วบัดนี้ก็ กิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรม ก็มีสี่ข้อด้วยกัน อ้อ...ศีลปรากฏขึ้นมาที่ตรงนี้ มีศีลแล้วบัดนี่ มีศีล ไม่ใช่ศีลห้า ศีลแปล ศีลสิบ ศีลสองร้อย ศีลสามร้อย อันนี้ศีลที่... พุทธานุพุทธัง สามะศีละทิฏธิง ผู้ตรัสรู้ตาม เห็นตามพระพุทธเจ้า มีศีลและทิฏฐิเสมอกัน อันนี้แปลว่าได้ต้นทาง ได้กระแสพระนิพพาน ได้กระแสจิตก็ว่าได้ แต่ทางใจนะ ไม่ใช่ทางเดินทางเท้าทางนี้นะ ใจมันเดินไปได้..บัดนี่ มันรู้จักว่าทางไปนี่ ทำไมจึงไม่รู้นี่


    การให้ทานก็รู้ไม่ได้ การรักษาศีลก็รู้ไม่ได้...หลวงพ่อ คนอื่นอาจจะรู้ได้ การทำกรรมฐาน หลวงพ่อทำมา หลวงพ่อก็ไม่รู้ เมื่อมาทำอย่างนี้ หลวงพ่อรู้..เข้าใจ หลวงพ่อจึงว่า เออ..หลักการอันนี้ มันเข้ากันได้กับหลักการที่พระพุทธเจ้าท่านสอนให้มีสติกำหนดรู้ในอิริยาบถทั้งสี่ ยืน..เดิน..นั่ง..นอน คู้..เหยียด..เคลื่อนไหว เอ๊ะ..หลักการอันนี้ มันก็เข้ากันได้ เพราะเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา..อันนี้ นั่งนิ่งไม่ได้ มันเป็นอย่างนั้น
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [​IMG]


    ทางด่วนสู่ปัญญา ~ คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (๓)
    <!-- Main -->[SIZE=-1]...

    อันนี้ก็เลยรู้จักมรรคผลขึ้นมา โอ๊..เป็นพระแล้ว อริยมรรค อริยผล มันซ้อนกันขึ้นมาเลย นี่..มรรค..ผล จึงว่า เขาเรียกกันว่า พระโสดามรรค พระโสดาผล พระสกิทาคามีมรรค พระสกิทาคามีผล พระอนาคามีมรรค พระอนาคามีผล พระอรหันตมรรค พระอรหันตผล มันเป็นรูปเข้ามา

    จึงว่า เราศึกษาให้รู้จริงๆ ถ้าไม่รู้จริงๆ จะไปคาดคิดเอามันไม่ได้ ดังนั้น ภิกษุจึงแปลว่าผู้เห็นภัย เห็นอันตราย เห็นความผิดพลาด จึงว่า ภิกษุแปลว่าผู้เห็นภัย ท่านว่าอย่างนั้น เราก็เลยมาเข้าใจเรื่องอาบัติปาราชิกทันที หลวงพ่อทำคราวนั้น รู้จักจริงๆ รู้จักแล้วไม่หลงไม่ลืม เห็นแล้วแนบแน่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น ปาราชิก บ้านหลวงพ่อเรียกปาราสึก หนังสือก็ปาราชิก ปาราชิก ตามตำราว่า เสพเมถุนหนึ่ง ลักของเขาหนึ่ง เสพเมถุน ภิกษุเสพเมถุน ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุ เป็นภิกษุไม่ได้ นี่..ตำราว่าอย่างนี้


    ลักของเขาหนึ่ง ราคาห้ามาสก ภิกษุลักของเขา ราคาห้ามาสก ขาดจากความเป็นภิกษุ เป็นภิกษุไปไม่ได้ มาสกหนึ่งก็ยี่สิบสตางค์ ห้ามาสกก็พอดีร้อยสตางค์ ท่านว่าอย่างนั้น ตำรานะ..อันนี้ พูดอย่างนั้นน่ะ ลักของเขาหนึ่ง..ว่าซั่น ราคาห้ามาสก ฆ่าสัตว์หนึ่ง..ว่าซั่น นอกครรภ์ ในครรภ์ นอกครรภ์ก็ตาม ในครรภ์ก็ตาม ขาดจากความเป็นภิกษุ เป็นภิกษุไม่ได้ พูดอวดอุตริมนุสสาธรรม คือ ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่ไม่มีในตน ขาดจากความเป็นภิกษุ เป็นภิกษุไม่ได้ อันนี้ตำราพูดอย่างนั้น

    แต่ความจริง หลวงพ่อเข้าใจ เสพเมถุนก็หมายถึง เราอยู่ด้วยโทสะ โทหะ โลภะ อยู่ด้วยการไม่เห็นแจ้งนี้เอง เรียกว่าเสพ แปลว่าอยู่ด้วย อ๊อ...อเสวนา จะ พาลานัง มันเข้ากันได้เลย อเสวนา จะ พาลานัง อยู่กับคนพาล พาลาแปลว่าคนพาล อื้อ..พาลานัง บัณฑิตานัญจะ เสวนา บัดนี้ มันมาเข้ากันหลักได้ อเสวนาอันหนึ่ง เสวนาอยู่ตอนหนึ่ง เสวนาปูชาจะ ปูชานิยานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง เราไม่เข้าใจเลย

    เดินนั้น..ในขณะนั้น หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ บัณฑิตก็คือสติ สมาธิ ปัญญา หรือความรู้สึกตัวนี่เอง อันคนพาลภายนอกเกเร กินเหล้า เมาสุรา เล่นการพนัน อันนั้นเป็นคนพาลภายนอก คนพาลภายในนี่..ทำไมไม่รู้ เราลุก..มันก็ลุกด้วย นอน..มันนอนด้วย ไปไหนมาไหน..มันไปนำด้วย

    วัตถุ..มันเป็นวัตถุเหมือนกัน
    บัณฑิตานัญจะ..บัดเนี่ยะ ผู้ศึกษาเล่าเรียนมามาก เราจะไปอาศัยอยู่กับท่าน..ไม่ได้ การทำมาหากิน อาชีพของคนไม่เหมือนกัน เราก็เลยรู้จัก อ้อ...ตัวความรู้สึกตัวนี่เองเป็บัณฑิต รู้สึกตัวมากขึ้น..มากขึ้น สามารถรู้แจ้งเห็นจริง ตามความเป็นจริง นี้เรียกว่า พุทธานุพุทธัง สามะศีละทิฏธิง ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า มีศีลและทิฏฐิเสมอ มีเหมือนกัน เข้าใจเหมือนกัน อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอนนั้น

    จึงว่า ท่านตรัสเอาไว้ สัตว์ทั้งหลายคือเราตถาคต สัตว์ทั้งหลายเหมือนเราตถาคต สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต เป็นยังไง คือยังไง เหมือนยังไง เราต้องเห็น ต้องรู้ ต้องเข้าใจ อันนี้เรียกว่าเป็นสาวกพุทธะ ตามทางไปหาพระพุทธเจ้า เรียกว่าเจริญรอยตาม ไม่ใช่ตามฮอยอย่างที่ท่านย่าง(เดิน)นะ เจริญตามวิธีที่ของท่านทำมา รับรองได้..อันนี่ ว่า ไม่พลาดเลย แต่รับรองตัวเองนะ คนอื่นแต่ไม่รับรองเหมือนกันนะ เรียกว่า ไม่พลาด..ที่ตัวเองทำมา เพราะมันเป็นได้นี่


    หลวงพ่อก็เลยเข้าใจว่า น้ำสี จะเป็นสีดำ สีแดงก็ตาม เต็มกระป๋อง เอาไปย้อมผ้าขาว มีคุณภาพร้อยเปอร์เซ็นต์..ทีแรกเราไม่รู้นี่ ผ้านั้นจะไปตามสีนั้นทั้งหมดเลย ถ้าเป็นสีแดง ผ้าขาวก็ต้องแดงหมดเนื้อมันเลย ถ้าเป็นผ้า..อื่อ..ผ้าขาวเปลี่ยนสีดำ ผ้ามันก็ดำหมดเนื้อมันเลย

    อันนี้แสดงว่า มันเกิดโทสะ มันก็เต็มที่ โมหะ โลภะ มันขึ้นมาเล่นงานเต็มที่ ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล โกรธมาทีเดียว ไฟไหม้บ้านหมดแล้ว หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น บัดนี้ เราไปนั่งบ้านหลังนั้น ฝนตกก็เปียกมา แดดออกก็ร้อนมา โอ๊...การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล มากเท่าใดก็ตาม มันทนทานไม่ได้ มันจะเป็นของเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้

    เมื่อมาเห็นอันนี้ อ้อ...นี่ท่านว่า มั่นคง ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง โทสะถึงมีก็น้อย..บัดนี่ ...มาเปรียบให้ท่านได้ฟังมา พูดบ่อยล่ะ..อย่างเนี้ยะ แต่คนไม่เข้าใจ


    บัดนี้ น้ำสีเต็มกระป๋อง คุณภาพมันไม่ค่อยมีแล้ว จะเป็นสีดำ สีแดงก็ตาม เอาไปย้อมผ้าขาว ไม่ติดแล้ว ติดก็ติดน้อยที่สุด ไปล้างน้ำออกได้สบาย อันนี้น้ำท่ากับน้ำมัน อาศัยซึ่งกันและกัน..อยู่ด้วยกัน แต่ไม่ระคนกันได้ อันนี้รับรองได้อย่างนั้น จึงว่า รับรองตัวเองเป็นพระได้แล้ว (หัวเราะเบาๆ) นุ่งกางเกง..ความนั้น ผมก็ยาว เอ๊อ...ความเป็นพระอันนั้นมันเรื่องสมมุติ อันนี้เรื่องเป็นปรมัตถ์ ก็ยังเอาสมมุตินั้นมาพูด ที่หลวงพ่อพูดนี้เอาสมมุติมาพูดให้ฟัง แต่เอาปรมัตถ์มาพูดเป็นสมมุติ

    จึงว่า เอาสูงบ้าง ต่ำบ้าง จึงว่า สมมุติขึ้น อย่างพระครู เจ้าคุณ พระราช พระเทพ พระธรรม อันนั้นเอา..เอาเรื่องนี้แหละไปพูดเป็นอันนั้น เลื่อนชั้นทางจิตใจ อันนี้เลื่อนชั้นทางให้ยศ ให้เกียรติ ให้ลาภกัน อันนี้มันเป็นเอง ความเป็นเองมีอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ยกเว้น

    จะเป็นพระสงฆ์ ก็ศึกษาอย่างนี้ จะเป็นโยมก็ศึกษาอย่างนี้ จะเป็นผู้หญิงผู้ชาย ศึกษาอย่างนี้ทั้งหมด ถือศาสนาไหน นุ่งผ้าสีอะไร ลัทธิใดก็ตาม ศึกษาอันนี้แหละ ทำให้อันนี้แหละมั่นคงถาวร เรียกว่า เป็นผู้ทำให้หลักพระพุทธศาสนามั่นคง เรียกว่า รักชาติ รักศาสนา รักพระมหากษัตริย์ จะว่ายังไงก็ได้เนี่ยะ มันเป็นเรื่องสมมุติมาพูด แต่ความจริง ครั้นเมื่อเห็นอันนี้แล้ว ความอ่อนน้อม จิตใจจะลดลงทันที..ความกล้าหาญน่ะ จะมีความอ่อนน้อม มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา วางเฉยได้

    บางครั้ง บางคราว มีมาก็..ทันทีเลย รู้เลย อันนี้แหละ เรียกว่า ขั้นต้น การเดินทางไปหาพระพุทธเจ้า แต่รู้อย่างอื่นนั้น ไปไม่ถึง หลวงพ่อไปไม่ถึง รู้อันนี้หลวงพ่อไปถึง อ๊อ..พระพุทธเจ้าอันนี้ นี่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเรา จะจับชายจีวร หรือนิ้วมือ นิ้วเท้าเราอยู่ ก็ไม่เห็นเรา เพราะไม่เห็นธรรม เราไม่ใช่ไปเห็นพระพุทธเจ้าในประเทศอินเดียพู่นนะ

    หลวงพ่อเคยทำมาแล้วนี่ ทำกับอาจารย์ นั่งภาวนาพุทโธ หายใจเข้า-พุท หายใจออก-โธ หลับตานั่งขัดสมาธิ ขัดถะหมาดเพชรนะ เอามือ..เออ..เอาเท้าไขว้กันอย่างซี่ แล้วนึกเอาพระพุทธเจ้าเข้ามาไว้ในหัวใจ มาไม่ได้ พระพุทธเจ้าองค์นั้นมาไม่ได้ พระพุทธเจ้าองค์นี้มาได้ องค์ที่เห็น องค์ที่รู้เนี่ยะ จังว่า จิตของผู้ใดตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนต่อโลกธรรมทั้งหลาย จิตของผู้นั้น ไม่ใช่ว่าจิตพระพุทธเจ้าคนเดียวนะ จิตของผู้ใดน่ะ ก็หมายถึงทุกคน มีเหมือนกันเลย ตั้งมั่นอย่างดี ไม่หวั่นไหว ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนต่ออารมณ์...โลกธรรม

    อารมณ์ ก็หมายถึง ความชม ความนินทาว่าร้ายนั่นแหละ ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งเหล่านั้น เรียกว่า โลกธรรม โลกนี้มันเป็นอย่างไร เรื่องของคน แน่ะ..เรารู้จัก ให้รู้จักจริงๆ ถ้าไม่รู้จักจริงๆ แล้วจะสับสนวุ่นวาย เราก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ของคน ถ้าเราเป็นคน ต้องเลือกคัดจัดหาเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์นั้น มาใช้กับชีวิตของเราจริงๆ

    [/SIZE]
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ทางด่วนสู่ปัญญา ~ คำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (๔ - จบ)
    <!-- Main -->[SIZE=-1]...
    ถ้าเราไม่รู้จักความเป็นคน ไม่รู้จักเรื่องของคน ไม่รู้จักหน้าที่ของคน ก็เหมือนกับตมกับเลนนั่นแหละ ตมกับเลนน่ะ มัน..มันอยู่กับน้ำ แต่ว่า น้ำไม่ใช่ตม ตมกับน้ำไม่ใช่อันเดียวกัน เราเห็นน้ำมันขุ่นน่ะ บ้านหลวงพ่อเรียกว่าน้ำขุ่น เอาสารส้มมากวนเข้าแล้ว ตมเลนมันจับกันเข้า น้ำก็สะอาดขึ้นมา


    อันนี้ก็เหมือนกัน เมื่อเราเห็นแล้ว เราแยกได้ จะต้องการเอามันมาใช้ก็ได้ ไม่ต้องการเอามันมาใช้ ก็ทิ้งมันไว้ที่ตรงนั้นเลย นี่ท่านว่า ให้รู้ ให้เห็น อันนี้เรียกว่า มีมรรคมีผล มีทั้งมรรคทั้งผลนะ หลวงพ่อพูดมาแค่เนี้ยะ อันนี้แหละ..ขั้นต้น ที่เรียกว่านี่แหละเป็นปฐมฌาน มีองค์ห้า มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัตคตา ที่ตรงนี้

    ถ้าหากไม่รู้อย่างนี้ก็แสดงว่า ปฐมฌานอยู่ที่ไหน..ไม่รู้เลย ไม่รู้..หลวงพ่อไม่รู้ รู้แต่ตำรา ทุติยฌานยังไม่ได้..อันนี่ ตอนทุติยฌานก็ต้องตอนเช้า อันนี้หลวงพ่อรู้ตอนแลง อันนี่..หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น แต่คนอื่นจะรู้อย่างใด..ก็ไม่รับรู้กับคนนั้นคนนี้


    ตอนเช้าเลยทีแรก หลวงพ่อรู้รป-นามนี้ ตอนแลงหลวงพ่อมารู้อันนี้ เอ๊อ..นี่..จึงว่า พวกเรามาทำนี่ ระยะสิบวันนี่ ถ้าหากเป็นคนจริง เป็นข้าวที่หนึ่งแล้ว หลวงพ่อว่าคงจะไม่พลาด ถ้าเป็นข้าวปลาย ข้าวไม่มีใน เป็นข้าวผี (หัวเราะเบาๆ) แล้วก็อาจพลาดไปได้

    ดังนั้น จึงว่า ให้เป็นข้าวที่หนึ่งจริงๆ เลือกเอาเม็ดข้าวสดๆ ที่ทำมาเนี่ยะ เม็ดข้าวสดๆ มาเข้าโรงสี โรงสีจะปัดออกมาเป็นข้าวที่หนึ่ง บรรจุเข้าไปในกระสอบ เอาไปขายราคาก็ดี กินก็มีรสชาติอันดี ถ้าเป็นข้าวผีแท้ สีออกมาก็เป็นแกลบ เป็นรำไปเลยน่ะ เอาไปให้สัตว์กิน นั่นน่ะ เลือกกินอาหารที่มันเป็นที่ให้วิตามิน ให้มีโปรตีน ถ้าหากเราไม่เลือก กินอาหารที่ไม่มีวิตามิน ไม่มีโปรตีน มันจะนำโรคร้ายมาใส่ให้เรา เราจะเดือดร้อน

    ดังนั้น การเจริญวิปัสสนาภาวนา จึงว่า ทำจริง..รู้จริง ทำไม่จริง..รู้ไม่จริง จึงว่า ตั้งจิตตั้งใจ ตอนหลังจากการทำวัตรเช้าวันนี้ หลวงพ่อมาทบทวนอารมณ์ หรือมาแนะแนววิธีปฏิบัติ และชี้แนวทาง อบรมแล้วชี้ทางให้เข้ามาทางนี้ ออกไปทางนั้น..มันไม่ถูกไม่ตรง เท่านั้นเอง

    เอาแหละ ที่หลวงพ่อได้ให้ข้อคิด เป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจมาในวันนี้ ก็เห็นว่าสมควรแก่เวลาแล้ว ท้ายที่สุดนี้ อาตมาพร้อมด้วยพระสงฆ์ และญาติโยม มานั่งฟังธรรมะอยู่ ณ สถานที่นี่ อาตมาขออ้างอิงเอาคุณของพระพุทธเจ้า และพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และคุณของพระอรหันตสาวกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเตือนจิตสะกิดใจของพวกเรา ให้พวกเราได้เจริญรอยตาม อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัตว์ทั้งหลาย คือเราตถาคต สัตว์ทั้งหลายเหมือนเราตถาคต สัตว์ทั้งหลายเป็นตถาคต ข้อที่สี่นี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย เราผู้เป็นตถาคตไปถึงแล้วแห่งนั้น แล้วจึงนำมาสอนพวกเธอทั้งหลาย ให้พวกเธอทั้งหลาย จงประพฤติปฏิบัติตามอย่างเราตถาคตนี้ ก็จะรู้ จะเห็น จะเป็น จะมี อย่างเราตถาคตนี้

    อันนี้แสดงว่า คำพูดคำสอนของพระพุทธเจ้า รับประกัน รับรองได้ว่า ไปทางนี้ จึงว่า รู้..เห็น ถ้าไม่ไปทางนี้ ไม่รู้ ไม่เห็นจริงๆ ขอให้ทุกคนๆ จงได้ประสบพบเห็นเอาจิตใจสะอาด จิตใจสว่าง จิตใจสงบ จิตใจบริสุทธิ์ อันจิตใจปกตินั่นแหละ หรือจิตใจผ่องใส จิตใจว่องไว ในชีวิตนี้ หรือเวลาอันใกล้นี้ จงทุกๆ คน เทอญ.


    [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]--------------------------------------------------------------[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]บทความจาก

    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]http://www.dhammajak.net/dhamma/-4-12.html[/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]--------------------------------------------------------------
    [/SIZE]
     
  5. มู๋นก

    มู๋นก สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบคุณนะคะที่นำคำสอน...พระอาจารย์เทียน มาให้ระลึกและรู้สึกตัว ....
    จาก ศิษย์หลวงปู่เทียน คะ
     
  6. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,794
    ครับ ท่านเป็นปรมาจารย์แห่งการเจริญสติในยุคปัจจุบัน สาธุ
     
  7. TUK2800

    TUK2800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,161
    อนุโมทนาสาธุค่ะ<!-- / message -->
    [​IMG] สาธุ สาธุ สาธุ [​IMG]
    <!-- / message -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...