ชีวิตหน้าจอคอมพิวเตอร์

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 3 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [​IMG]



    นับย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อน อเมริกานับเป็นประเทศแรก ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ สมัยนั้นมีนักวิจัยทำรายงานและเก็บสถิติได้ว่า ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในยุคนั้นประสบปัญหาโรคทางสายตา เช่น ต้อกระจก เกิดอาการเครียด ปวดศีรษะมากที่สุด เพราะจอหรือมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ นั้นยังไม่ได้รับการพัฒนา

    คอมพิวเตอร์ช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น แต่ทว่าทำให้เราเกิดโรคใหม่ ที่ไม่มีเชื้อ ไม่มีวัคซีนป้องกัน และไม่ใช่โรคติดต่อ โรคพวกนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วรักษาให้หายยาก ใช้เวลานาน นอกจากจะก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองแล้ว ยังทำลายคุณภาพชีวิตด้วย ทำให้ขาดมนุษยสัมพันธ์ ขาดการออกกำลังกาย ขาดโภชนาการที่ดี


    ผลการวิจัย
    ข้อมูลจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดย พ.อ.นพ.กิฎาพล วัฒนกูล ผู้อำนวยการกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้รวบรวมเรื่องราวรอบโรคนำเสนอเป็นความรู้ที่น่าสนใจถึง กลุ่มอาการที่อาจกล่าวว่าเป็นโรคใหม่ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ คือ Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) เป็นอาการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ไม่ใช่โรค แต่เป็นปฏิกิริยาจากการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลัก และโรคใหม่อีกโรค คือ โรค Hurry Sickness (โรคทนรอไม่ได้) มักเกิดกับผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้อาการกระวนกระวาย ซึ่งหากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายเป็นโรคประสาทได้ ซึ่งอาจนำไปถึงการเสียเพื่อน และตกงานได้ รายงานการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    ได้มีการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายในหลาย ๆ ประเทศ พอสรุปได้ดังนี้คือ

    1. ในประเทศสวีเดน พบว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สารนี้มีชื่อทางเคมีว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในจอวิดีโอ และคอมพิวเตอร์

    2. ในประเทศญี่ปุ่น มีผลการวิจัยบ่งชี้ว่า การใช้เวลาทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ สามารถทำให้มีอาการป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ รวมทั้งอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ อาการอ่อนเพลีย ซึ่งกลายเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้น เป็นประจำสำหรับพนักงานที่ใช้เวลาเกินกว่า 5 ชั่วโมงทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ในแต่ละวัน

    3. ในประเทศไทย โดยกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย ได้ศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์จากหลาย ๆ หน่วยงานพบว่า ห้องทำงานส่วนใหญ่มีสภาพการจัดที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ร้อยละ 62 ที่ทราบถึงผลกระทบต่อระบบสายตา ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ทราบถึงผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ อันเนื่องมาจากการใช้คอม พิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ


    โรคและกลุ่มอาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ อันเนื่องมาจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์'
    โรค Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดคอ ไหล่ ข้อมือ และหลัง ผู้ที่เป็นมาก ๆ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชาที่มือ อาการของโรคพวกนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นแล้วหายเมื่อได้พัก ระยะสองคือ มีอาการต่อเนื่องถึงกลางคืน และหายเมื่อได้พัก ระยะสามคือ เป็นตลอดเวลาไม่หายเมื่อได้พัก การรักษาคือ ต้องปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเองก่อน หรือถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์ และควรเล่าประวัติการทำงาน ให้แพทย์ทราบสาเหตุที่แท้จริง แพทย์จึงจะรักษาเจาะจงเฉพาะที่ได้

    โรคนี้มีความคล้ายกับ โรคจากการทำงานซ้ำซาก ซึ่งนักกายภาพบำบัดอธิบายว่า พบมากในผู้ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน มักจะมีอาการชาข้อมือ หรือที่เรียกว่า กลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) เกิดเนื่องจากการใช้งานซ้ำ ๆ ที่บริเวณข้อมือ ทำให้เอ็นรอบ ๆ ข้อมือหนาตัวขึ้นแล้วไปกดเส้นประสาทที่วิ่งผ่าน ทำให้เกิดอาการชาและเจ็บได้ ซึ่งการรักษานอกจากทางกายภาพ โดยใช้ความร้อนทำให้บริเวณที่จับหนาตัวขึ้นนิ่มลงและยืดมันออก ทำให้อุโมงค์ที่เส้นประสาทลอดผ่านขยายตัวได้ แต่ถ้าผู้ที่เป็นมาก ๆ จะมีอาการชาจนกระทั่งกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงไป การผ่าตัดคือ วิธีรักษาที่ดีที่สุด

    โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) มักจะเกิดกับผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้กลายเป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย เช่น ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนาน ๆ ไม่ได้ กระวนกระวาย หากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายโรคประสาทได้ ท่านจึงควรปรับเปลี่ยนลักษณะงาน และพยายามควบคุมอารมณ์ตนเองไว้บ้าง มิฉะนั้นท่านจะเป็นคนที่เสียทั้งงานและเสียทั้งเพื่อนได้

    โรคภูมิแพ้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอก โฮล์ม ในสวีเดนพบว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สารนี้มีชื่อว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอ และคอมพิว เตอร์ สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น คัน คัดจมูก และปวดศีรษะ ผลวิจัยพบว่า เมื่อจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้นจะปล่อยสารเคมีดังกล่าวออกมา โดยเฉพาะหากสภาพภายในห้องทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด เครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ดังนั้น อากาศที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่ง


    สรุปภัยจากคอมพิวเตอร์'
    ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กำลังจะกลายเป็นอุป กรณ์ธรรมดา ๆ ที่จำเป็นต้องมีของทุกหน่วยงาน พนักงานทุกคนต้องใช้เป็น ความเสี่ยงจึงเกิดกับท่านที่ใช้ชีวิตอยู่หน้าจอเป็นประจำเท่านั้น โดยเฉพาะท่านที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน ผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้นที่แน่ ๆ ก็คือ ปวดหลัง ปวดไหล่ ต้นคอ และข้อมือ เกิดอาการเครียดที่ตา เพราะขณะมองจอนั้นผู้ใช้มักไม่กะพริบตา เป็นผลให้ตาขาดน้ำหล่อเลี้ยงเกิดอาการระคายเคืองได้ และอาการที่ตามมาคือ ตาพร่า และมองไม่เห็นชั่วคราว นอกจากนี้ยังอาจมีอาการไมเกรนพ่วงมาด้วย

    ปัญหาทางตาเป็นปัญหาที่น่าห่วงมาก เพราะเมื่อตาเกิดความเครียด กล้ามเนื้อตาจะบีบรัดเลนส์ตา จนเกิดความเมื่อยล้า จึงมีคำแนะนำว่า ถ้าต้องใช้สายตาอยู่กับหน้าจอนาน ๆ ควรพักสายตาทุก ๆ สิบนาที ด้วยการเปลี่ยนไปมองวัตถุที่อยู่ไกลออกไปสัก 20 ฟุต มองสัก 2-3 นาทีแล้วค่อยมองจอต่อ ทั้งหมดคงต้องเป็นหน้าที่ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์เอง ที่จะต้องรับผิดชอบสุขภาพของตนเอง เพราะถ้าเกิดปัญหาทางสายตาขึ้น จะไปเรียกร้องเงินทดแทนก็คงทำได้ยาก

    ข้อเสนอแนะ
    การจัดและปรับสภาพโต๊ะทำงานคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละคน ควรปรับระดับที่เหมาะสมของตนเอง เพื่อให้ได้ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาตาล้า และความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อของร่างกาย จึงขอเสนอคำแนะนำในการจัดสัดส่วนงานคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียด ดังนี้ คือ
    - จอภาพคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวประมาณ 20 องศา
    - ระยะในการมอง ควรอยู่ระหว่าง 50-70 ซม.
    - เก้าอี้ปรับระดับได้ และ/หรือโต๊ะปรับระดับความสูงได้
    - นั่งหลังตรง หลังพิงพนักพิง
    - จอภาพควรเป็นประเภทตัวหนังสือมืดบนพื้นสว่าง ภายใต้ระดับความส่องสว่างของแสงประมาณ 300-500 ลักซ์ หรืออย่าให้มีการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบ ทำให้เสมือนมีหมอกมาบดบังอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์.


    ---------------------------------------------------------------------

    ที่มาของข้อมูล....
    กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
    http://www.panyathai.or.th/

    ---------------------------------------------------------------------
     
  2. sckdsfjs

    sckdsfjs Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2007
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +46
    เห็นด้วยครับบางครั้งผม ทำงานหรือเล่น NET จะชามือมาก เหมือนมีคลื่นไฟฟ้าเข้ามารบกวนตัวเรา ต้องออกห่างคอม ซัก 10-15 นาที ถึงจะดีขึ้น
     
  3. kibkaejaja

    kibkaejaja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +177
    เป็นจริงอย่างที่กล่าวมาข้างต้นค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  4. Ashita-p

    Ashita-p Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2008
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +95
    อืมม จริง จริง แต่ว่าวัน ๆ ก็อยู่แต่หน้าคอมฯ อ่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...