อย่าปฏิบัติเพื่อดับอารมณ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 26 สิงหาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">อย่าปฏิบัติเพื่อดับอารมณ์ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>ความคิดเห็นที่ 4 : (สันตินันท์)


    การที่เราดูจิตนั้น อย่าไปกังวลว่าสิ่งที่ถูกรู้จะดับหรือไม่ดับ
    เพราะเราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อดับสิ่งที่ถูกรู้
    หากแต่ปฏิบัติเพื่อจะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏด้วยจิตใจที่เป็นกลาง
    (มะเหมี่ยวใช้คำว่าไม่อิน)
    ก็จะเห็นเองว่าสิ่งนั้นแสดงไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา

    อย่าไปกังวลว่าในขณะนั้นจิตจะเป็นทุกข์ แล้วพยายามดับทุกข์
    เพราะเราไม่ได้ดูจิตเพื่อดับทุกข์
    หากแต่ดูเพื่อให้รู้ความจริงว่า
    ทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
    ซึ่งเมื่อดูนานเข้าจะประจักษ์ชัดว่า
    ทุกข์เกิดขึ้นเพราะจิตหลง / ไหล ไปยึดอารณ์นั่นเอง
    เมื่อจิตรู้ความจริงแล้ว จิตก็ย้อมหาทางพ้นทุกข์ของเขาเอง
    เรามีหน้าที่รู้เท่านั้น


    ที่จริงจิตไม่เคยว่างจากอารมณ์
    แม้อารมณ์หยาบจะดับไป เช่นดูแล้วความโกรธดับไป
    ความรู้สึกเฉยๆ ไม่มีอะไร ที่บางคนบอกว่า ว่างๆ
    ที่เข้ามาคั่นก่อนที่อารมณ์หยาบตัวใหม่จะจรมา
    อันนั้นก็คืออารมณ์อีกตัวหนึ่ง


    จิตไม่เคยปราศจากอารมณ์
    เราปฏิบัติก็ไม่ใช่เพื่อไม่ให้จิตรู้อารมณ์
    แต่ปฏิบัติเพื่อให้จิตฉลาด
    ไม่หลงอารมณ์ที่กำลังไปรู้เข้า
    ที่ว่าจิตฉลาดก็คือจิตเขารู้อริยสัจจ์
    คือรู้ว่า ถ้าเมื่อใดจิตอยาก จิตยึด จิตก็ทุกข์
    ถ้าจิตสักแต่รู้ ไม่อยาก ไม่ยึด ก็ไม่ทุกข์


    ธรรมะเป็นเรื่องง่ายๆ ครับ
    อย่าไปคิดมากจนซับซ้อนเลยครับ


    จากคุณ : สันตินันท์ [ 22 ส.ค. 2542 / 06:36:51 น. ]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.bangkokmap.com/pm/content/view/199/39/
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    รูปนามมันเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ ฯลฯ มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ธรรมชาติธรรมดาเป็นอย่างนี้ การปฏิบัติจะรู้เห็นธรรมะ หรือ ธรรมชาติของมัน จึงจะคลายอุปาทานได้
     
  3. Noppadol.Ve

    Noppadol.Ve เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +245
    เมื่อจิตรู้ความจริงแล้ว จิตก็ย้อมหาทางพ้นทุกข์ของเขาเอง
    เรามีหน้าที่รู้เท่านั้น
    จิตไม่เคยปราศจากอารมณ์
    เราปฏิบัติก็ไม่ใช่เพื่อไม่ให้จิตรู้อารมณ์
    แต่ปฏิบัติเพื่อให้จิตฉลาด
    ไม่หลงอารมณ์ที่กำลังไปรู้เข้า
    ที่ว่าจิตฉลาดก็คือจิตเขารู้อริยสัจจ์
    คือรู้ว่า ถ้าเมื่อใดจิตอยาก จิตยึด จิตก็ทุกข์
    ถ้าจิตสักแต่รู้ ไม่อยาก ไม่ยึด ก็ไม่ทุกข์


    ธรรมะเป็นเรื่องง่ายๆ ครับ
    อย่าไปคิดมากจนซับซ้อนเลยครับ


    เห็นด้วยครับถ้าทำได้ตามที่กล่าวนั้น
    แต่มีข้อสงสัยอยู่อย่างหนึ่งครับคือที่กล่าวว่า

    จิตไม่เคยปราศจากอารมณ์
    เราปฏิบัติก็ไม่ใช่เพื่อไม่ให้จิตรู้อารมณ์


    หมายความว่า "จิต" กับ "เรา" ไม่ใช่ตัว (สภาวะ) เดียวกันใช่หรือไม่ครับ
    คนเราประกอบด้วย กาย และ จิต (รวมเจตสิก) แต่ "เรา" ในที่นี้คืออะไรครับ ?
     
  4. หนูแว่น

    หนูแว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    1,188
    ค่าพลัง:
    +3,207
    อนุโมทนา สาธุ ฟังแล้วเหมือนง่าย แต่ก็ไม่ง่ายซะทีเดียว ต้องเพียรพยายามกันต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...