เรื่องเล่า การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักพุทธศาสนา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Saint Telwada, 14 กรกฎาคม 2008.

  1. Saint Telwada

    Saint Telwada สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2008
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +5
    เรื่องเล่า การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักพุทธศาสนา
    การที่ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ขึ้นมา มีจุดประสงค์ที่จะให้ท่านทั้งหลายที่สนใจ ได้นำไปคิดพิจารณา หาเหตุผลและพินิจในตัวเองขณะฝึกสมาธิ หรือทำสมาธิ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาตามความเข้าใจของข้าพเจ้าที่แท้จริง (ซึ่งในทางที่เป็นจริงนั้น ข้าพเจ้าไม่ได้สนใจในเรื่องของฌาน และไม่มีในบทเรียนของข้าพเจ้า)แต่เนื่องจากบทความที่ข้าพเจ้าเขียนนี้ อาจจะดูเหมือนเป็นข้อโต้แย้งกับสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทางศาสนาพุทธ เข้าใจผิดมาโดยตลอด ที่เข้าใจผิด ก็เพราะเรื่องของการทำความเข้าใจในภาษานั่นแหละ
    ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเขียนเป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งหากท่านทั้งหลายหรือผู้เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธได้อ่าน ก็อย่าได้กล่าวหาว่าร้ายข้าพเจ้า และขอให้คิดว่า เป็นเพียงเรื่องเล่า ประสบการณ์ การปฏิบัติสมาธิ และที่สำคัญ เป็นไปตามหลักพุทธศาสนา ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p> </o:p>
    การฝึกสมาธิ หรือการปฏิบัติสมาธินั้น บุคคลที่เริ่มต้นหรือเริ่มแรกปฏิบัติสมาธินั้น ล้วนมีจิตใจที่ยังไม่มั่นคง จึงมักว้าวุ่น บ้าง สงบนิ่งบ้าง คิดไปเกิดความสุขบ้าง หรือเกิดอารมณ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งในทางศาสนาพุทธเรียกว่า ปีติบ้าง
    การที่บุคคลเริ่มต้น หรือเริ่มปฏิบัติสมาธิใหม่นั้น ยังไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ ความคิด และความรู้สึก จึงมัน เกิดสิ่งที่ทางพุทธศาสนา เรียกว่า วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา หรือในทางศาสนาพุทธเรียกว่า "ปฐมฌาน"
    สิ่งที่เกิดขึ้นในการเริ่มปฏิบัติสมาธิใหม่ๆนั้น ทุกคนล้วนมีธรรมชาติที่สมองจะคิด เมื่อคิด แล้วก็จะเกิดอารมณ์ ชนิดต่างๆเกิดขึ้น เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้น บ้างก็เกิดความสบายอกสบายใจ สบายกาย ปลอดโปร่ง จนไม่คิดอะไร คือความมีสมาธิ แล้วก็จะกลับไปคิดอีก หมุนวนกันไป เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์
    <o:p> </o:p>
    เมื่อปฏิบัติสมาธิไปได้สักระยะหนึ่งอาจจะเป็นเดือน เป็นหลายเดือน ความเคยชินร่างกายรับรู้ และปรับสภาพได้ พอปฏิบัติความคิดฟุ้งซ่านที่เป็นธรรมชาติของทุกคน ก็จะถูกบังคับควบคุมมิให้คิดฟุ้งซ่าน แต่จะมีบ้างเล็กน้อยแวบเข้ามาเป็นบางครั้ง ในระยะนี้ ผู้ปฏิบัติสมาธิ ก็ยังมีความคิดชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดเป็นอารมณ์ เป็นความคิดที่ทำให้เกิดอารมณ์ แห่งความพอใจที่ตนปฏิบัติได้ ซึ่งผู้ปฏิบัติ อาจจะไม่รู้สึกตัวเลยว่าได้คิด และเมื่อเกิดอารมณ์แห่งความพอใจตามความคิดนั้น ความสุข รู้สึกปลอดโปร่งสบายกาย สบายใจ ก็จะตามมา และความสมาธิก็จะเกิดตามติด แต่ก็จะหมุนวนกันไป เป็นครั้งคราว เนื่องจากเป็นธรรมชาติของร่างกายที่กำลังปรับสภาพ ในช่วงนี้ ทางศาสนาพุทธเรียกว่า "ทุติยฌาน"
    <o:p> </o:p>
    เมื่อปฏิบัติสมาธิได้ชำนาญ และนานหลายเดือน หรือเป็นปี ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ดียิ่งแล้ว ความละเอียดในการควบคุม ความคิด และอารมณ์ ความรู้สึกก็ มีมากขึ้น จนตัวผู้ปฏิบัติ แทบไม่ได้คิดอะไรเลย แต่ความคิดนั้น บางครั้ง เป็นความคิดที่อยู่ลึกภายในใจและสมอง เพราะความคิดมีสถานะเป็นคลื่นไฟฟ้าอยู่ในร่างกายเรา ความคิดฟุ้งซ่าน ความคิดชั้นหยาบ ความคิดชั้นกลาง หมดไป เหลือแต่ความคิดชั้นละเอียด ซึ่งอยู่ในส่วนลึก และไม่มีความคิดที่ทำให้เกิดความพอใจตามความคิดนั้นอีก เพราะร่างกายได้ปรับสภาพได้ดีแล้ว ความสบายใจ สบายกาย และ ความเป็นหนึ่งเดียวในอารมณ์ ก็จะเกิดขึ้นเกือบพร้อมๆกัน ซึ่งในทางศาสนาพุทธเรียกขั้นตอนนี้ว่า "ตติยฌาน"
    <o:p> </o:p>
    เมื่อได้ปฏิบัติสมาธิ นานหลายปีเข้า ความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมความคิดอารมณ์ ก็เพิ่มพูนตามขึ้น สามารถควบคุมความคิด อารมณ์ ต่างๆได้เป็นอย่างดียิ่ง อีกทั้งหากเกิดความคิดแวบเข้ามา หรือได้รับรู้ถึงการสัมผัสทางอายตนะต่างๆที่ไม่รุนแรงเกินเหตุ ตามสถานการณ์ที่ปกติ ความวางเฉยในความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ก็จะเกิดขึ้นหมายความว่า ถ้าเกิดความคิดแว๊บขึ้นมา จะรู้สึกเฉยๆกับสิ่งที่คิด ไม่เกิดอารมณ์ หรือเกิดความรู้สึก ตามสิ่งที่เราคิด หรือตามสิ่งที่เราได้สัมผัสขณะปฏิบัติสมาธิ และขณะที่วางเฉยนั้น ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว หรือสิ่งที่เรียกว่าสมาธิ ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน คือ อุเบกขา กับเอกัคคตา จะเกิดขึ้นพร้อมกัน
    ซึ่งในทางพุทธศาสนาขั้นนี้ว่า "จตุตถฌาน"
    <o:p> </o:p>
    อนึ่งระยะเวลาของการปฏิบัติสมาธิหรือฝึกสมาธิ นั้น ไม่ใช่เครื่องกำหนดกฎเกณฑ์ตายตัวตามที่ข้าพเจ้าได้เขียนไป บางคนอาจใช้เวลาไม่มากนัก บางคนอาจต้องใช้เวลานานปี ซึ่ง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลประเภทใดที่จะปฏิบัติได้เร็วหรือช้า ก็ต้องระลึกหรือจดจำไว้อย่างหนึ่งว่า สมาธิเสื่อมถอยได้ ถ้าไม่ฝึกฝนอยู่เสมอ
    สวัสดี ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม
     
  2. Saint Telwada

    Saint Telwada สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2008
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +5
    เรื่องเล่า การปฏิบัติสมาธิตามหลักพุทธศาสนาตอนที 1

    เรื่องเล่า การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักพุทธศาสนา ตอนที่ 1<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การที่ข้าพเจ้าเขียนบทความนี้ขึ้นมา มีจุดประสงค์ที่จะให้ท่านทั้งหลายที่สนใจ ได้นำไปคิดพิจารณา หาเหตุผลและพินิจในตัวเองขณะฝึกสมาธิ หรือทำสมาธิ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาตามความเข้าใจของข้าพเจ้าที่แท้จริง (ซึ่งในทางที่เป็นจริงนั้น ข้าพเจ้าไม่ได้สนใจในเรื่องของฌาน และไม่มีในบทเรียนของข้าพเจ้า)แต่เนื่องจากบทความที่ข้าพเจ้าเขียนนี้ อาจจะดูเหมือนเป็นข้อโต้แย้งกับสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทางศาสนาพุทธ เข้าใจผิดมาโดยตลอด ที่เข้าใจผิด ก็เพราะเรื่องของการทำความเข้าใจในภาษานั่นแหละ
    ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเขียนเป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งหากท่านทั้งหลายหรือผู้เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธได้อ่าน ก็อย่าได้กล่าวหาว่าร้ายข้าพเจ้า และขอให้คิดว่า เป็นเพียงเรื่องเล่า ประสบการณ์ การปฏิบัติสมาธิ และที่สำคัญ เป็นไปตามหลักพุทธศาสนา ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า
    <o:p> </o:p>
    การฝึกสมาธิ หรือการปฏิบัติสมาธินั้น บุคคลที่เริ่มต้นหรือเริ่มแรกปฏิบัติสมาธินั้น ล้วนมีจิตใจที่ยังไม่มั่นคง จึงมักว้าวุ่น บ้าง สงบนิ่งบ้าง คิดไปเกิดความสุขบ้าง หรือเกิดอารมณ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งในทางศาสนาพุทธเรียกว่า ปีติบ้าง
    การที่บุคคลเริ่มต้น หรือเริ่มปฏิบัติสมาธิใหม่นั้น ยังไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ ความคิด และความรู้สึก จึงมัน เกิดสิ่งที่ทางพุทธศาสนา เรียกว่า วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา หรือในทางศาสนาพุทธเรียกว่า "ปฐมฌาน"
    สิ่งที่เกิดขึ้นในการเริ่มปฏิบัติสมาธิใหม่ๆนั้น ทุกคนล้วนมีธรรมชาติที่สมองจะคิด เมื่อคิด แล้วก็จะเกิดอารมณ์ ชนิดต่างๆเกิดขึ้น เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้น บ้างก็เกิดความสบายอกสบายใจ สบายกาย ปลอดโปร่ง จนไม่คิดอะไร คือความมีสมาธิ แล้วก็จะกลับไปคิดอีก หมุนวนกันไป เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์
    <o:p> </o:p>
    เมื่อปฏิบัติสมาธิไปได้สักระยะหนึ่งอาจจะเป็นเดือน เป็นหลายเดือน ความเคยชินร่างกายรับรู้ และปรับสภาพได้ พอปฏิบัติความคิดฟุ้งซ่านที่เป็นธรรมชาติของทุกคน ก็จะถูกบังคับควบคุมมิให้คิดฟุ้งซ่าน แต่จะมีบ้างเล็กน้อยแวบเข้ามาเป็นบางครั้ง ในระยะนี้ ผู้ปฏิบัติสมาธิ ก็ยังมีความคิดชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดเป็นอารมณ์ เป็นความคิดที่ทำให้เกิดอารมณ์ แห่งความพอใจที่ตนปฏิบัติได้ ซึ่งผู้ปฏิบัติ อาจจะไม่รู้สึกตัวเลยว่าได้คิด และเมื่อเกิดอารมณ์แห่งความพอใจตามความคิดนั้น ความสุข รู้สึกปลอดโปร่งสบายกาย สบายใจ ก็จะตามมา และความสมาธิก็จะเกิดตามติด แต่ก็จะหมุนวนกันไป เป็นครั้งคราว เนื่องจากเป็นธรรมชาติของร่างกายที่กำลังปรับสภาพ ในช่วงนี้ ทางศาสนาพุทธเรียกว่า "ทุติยฌาน"
    <o:p> </o:p>
    เมื่อปฏิบัติสมาธิได้ชำนาญ และนานหลายเดือน หรือเป็นปี ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ดียิ่งแล้ว ความละเอียดในการควบคุม ความคิด และอารมณ์ ความรู้สึกก็ มีมากขึ้น จนตัวผู้ปฏิบัติ แทบไม่ได้คิดอะไรเลย แต่ความคิดนั้น บางครั้ง เป็นความคิดที่อยู่ลึกภายในใจและสมอง เพราะความคิดมีสถานะเป็นคลื่นไฟฟ้าอยู่ในร่างกายเรา ความคิดฟุ้งซ่าน ความคิดชั้นหยาบ ความคิดชั้นกลาง หมดไป เหลือแต่ความคิดชั้นละเอียด ซึ่งอยู่ในส่วนลึก และไม่มีความคิดที่ทำให้เกิดความพอใจตามความคิดนั้นอีก เพราะร่างกายได้ปรับสภาพได้ดีแล้ว ความสบายใจ สบายกาย และ ความเป็นหนึ่งเดียวในอารมณ์ ก็จะเกิดขึ้นเกือบพร้อมๆกัน ซึ่งในทางศาสนาพุทธเรียกขั้นตอนนี้ว่า "ตติยฌาน"
    <o:p> </o:p>
    เมื่อได้ปฏิบัติสมาธิ นานหลายปีเข้า ความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมความคิดอารมณ์ ก็เพิ่มพูนตามขึ้น สามารถควบคุมความคิด อารมณ์ ต่างๆได้เป็นอย่างดียิ่ง อีกทั้งหากเกิดความคิดแวบเข้ามา หรือได้รับรู้ถึงการสัมผัสทางอายตนะต่างๆที่ไม่รุนแรงเกินเหตุ ตามสถานการณ์ที่ปกติ ความวางเฉยในความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ก็จะเกิดขึ้นหมายความว่า ถ้าเกิดความคิดแว๊บขึ้นมา จะรู้สึกเฉยๆกับสิ่งที่คิด ไม่เกิดอารมณ์ หรือเกิดความรู้สึก ตามสิ่งที่เราคิด หรือตามสิ่งที่เราได้สัมผัสขณะปฏิบัติสมาธิ และขณะที่วางเฉยนั้น ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว หรือสิ่งที่เรียกว่าสมาธิ ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน คือ อุเบกขา กับเอกัคคตา จะเกิดขึ้นพร้อมกัน
    ซึ่งในทางพุทธศาสนาขั้นนี้ว่า "จตุตถฌาน"
    <o:p> </o:p>
    อนึ่งระยะเวลาของการปฏิบัติสมาธิหรือฝึกสมาธิ นั้น ไม่ใช่เครื่องกำหนดกฎเกณฑ์ตายตัวตามที่ข้าพเจ้าได้เขียนไป บางคนอาจใช้เวลาไม่มากนัก บางคนอาจต้องใช้เวลานานปี ซึ่ง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลประเภทใดที่จะปฏิบัติได้เร็วหรือช้า ก็ต้องระลึกหรือจดจำไว้อย่างหนึ่งว่า สมาธิเสื่อมถอยได้ ถ้าไม่ฝึกฝนอยู่เสมอ
    สวัสดี ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม<o:p></o:p>
     
  3. มังกรธรรม

    มังกรธรรม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบคุณมากครับ ดีจัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...