พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วันนี้ทำสำเร็จแล้วครับหลังจากรอมาเกือบเดือนได้ ESSO คืนทั้งหมด + เพิ่มหุ้นมาอีก ๓๐๐ หุ้น เท่ากับว่าได้ปันผล ๑ บาท ฟรีๆ + credit ภาษีอีก ๓/๗
     
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137

    [​IMG]
    สมัยโบราณ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว ในชมพูทวีป (ปัจจุบัน คือ ประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล และบังคลาเทศ) เจริญก้าวหน้า รุ่งเรือง เฟื่องฟูในทุก ๆ ด้าน ขณะเดียวกันก็ได้มีนักบวชที่พัฒนาความเชื่อ และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ทางศาสนา เพื่อให้ผู้คนได้ประกอบพิธีกรรม และมีผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียนในอยู่อำนาจและสมบัติ ได้ออกบวชเพื่อแสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอดพ้น ด้วยการคิดหลักปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยจะพิสูจน์ได้ สมัยนั้น เจ้าชายสิทธัตถะ โอรสของกษัตริย์กรุงกบิลพัสดุ์ แห่งศากยวงศ์ ได้ละทิ้งราชสมบัติแล้วออกผนวช ทรงค้นหาด้วยการบำเพ็ญตน (ทุกรกริยา) นานถึง ๖ ปี แต่ไม่พบ ต่อมา เจ้าชายสิทธัตถะทรงค้นพบทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) และสัจธรรมที่นำคุณค่าแท้จริงมาสู่ชีวิต เรียกว่าอริยสัจ ๔ ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (เดือนวิสาขะ) ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี (ตรงกับวันที่พระองค์ทรงประสูติ) และประทับ ณ บริเวณที่ตรัสรู้นั้น ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมอยู่นาน ๗ สัปดาห์ พระพุทธเจ้าทรงคำนึงว่าธรรมะที่ตรัสรู้นี้ ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม ทรงดำริว่าทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว ต้องเริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดี ที่สามารถรู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและนำไปชี้แจงอธิบายให้ผู้อื่นได้อย่างกว้างขวาง พระพุทธองค์ทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น ๔ ประเภท เปรียบเหมือนบัว ๔ เหล่า คือ ๑ บุคคลที่มีกิเลสน้อย เบาบาง มีปัญญาดี มีไหวพริบปฏิภาณดี รู้ได้รวดเร็ว สามารถฟังธรรมที่แสดงเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจและบรรลุมรรคผลได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ พอต้องแสงอาทิตย์ ก็บานทันที ๒ บุคคลที่มีกิเลสค่อนข้างน้อย หรือปานกลาง มีปัญญาปานกลาง มีไหวพริบปฏิภาณหย่อนลงมา จำเป็นจะต้องอาศัยการแสดงธรรมคำสั่งสอนไปโดยลำดับ อย่างละเอียด หรือได้ฟังซ้ำ ก็สามารถรู้แจ้งเห็นธรรมวิเศษและบรรลุได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ จะบานในวันรุ่งขึ้น ๓ บุคคลที่มีกิเลสหนาแน่นยังไม่เบาบาง มีปัญญาพอประมาณ หรืออ่อน พอที่จะแนะนำกันได้ แต่ต้องฝึกอบรมบ่มนิสัยกันแบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลานานพอสมควร จะทำจิตใจให้สงบ ประณีตขึ้น ถ้าหมั่นศึกษา ก็สามารถรู้ธรรมได้ เมื่อได้ฟังบ่อย ๆ พยายามทำความเพียรไม่ขาดระยะ ก็สามารถบรรลุได้ บุคคลประเภทนี้มีมาก เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ มีโอกาสที่จะโผล่ขึ้นมาจากน้ำและบานในวันต่อ ๆ ไป ๔ บุคคลที่มีกิเลสหนา ปัญญาทึบ หยาบ ไม่รู้จักเหตุและผล ไม่สามารถจะบรรลุธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่กับโคลนตม จมอยู่ใต้น้ำ ไม่สามารถที่จะโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำได้ เป็นได้เพียงอาหารของเต่า ปู ปลา

    พระพุทธเจ้าทรงใคร่ครวญถึงผู้ที่จะแสดงธรรมโปรดเป็นอันดับแรก ทรงระลึกถึง อาฬารดาบส และอุทกดาบส ผู้เคยสอนความรู้ให้แก่พระองค์ในกาลก่อน นั้น ท่านทั้งสองมีปัญญา มีกิเลสเบาบาง สามารถบรรลุธรรมได้ฉับพลัน แต่ทั้งสองได้สิ้นชีพไปก่อนแล้ว จึงทรงระลึกถึงฤาษีทั้งห้า (ปัญจวัคคีย์) คือ ๑ โกณฑัญญะ ๒ วัปปะ ๓ ภัททิยะ ๔ มหานามะ ๕ อัสสซิ ผู้เคยมีอุปการะแก่พระองค์เมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญตน (ทุกรกิริยา) อยู่นั้น เป็นผู้ที่มีอุปนิสัยแก่กล้าสามารถบรรลุธรรมได้ พระพุทธเจ้าเสด็จจากต้นมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันเรียก ตำบลพุทธคยา) ใช้เวลา ๑๑ วัน เสด็จไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (อิสิปตน = สถานที่ฤาษีชอบมา, มฤคทายวัน = ป่าที่ให้อภัยแก่กวาง) เมืองพาราณสี (ปัจจุบันเรียก สารนาถ) ในตอนเย็นของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ (เดือนอาสาฬหะ) ขณะนั้นฤาษีทั้งห้ายังเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าเลิกละความเพียรในการบำเพ็ญตน มีร่างกายผ่องใสงดงามยิ่งนัก คงจะไม่ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณแน่ จึงนัดหมายกันว่าจะไม่ต้อนรับ ไม่ไหว้ ทำเพิกเฉย ไม่เคารพ ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะมาแสดงธรรมให้ฟังเพื่อปฏิบัติตาม จะได้ตรัสรู้ ฤาษีทั้งห้าไม่เชื่อ จึงโต้แย้งถึง ๓ ครั้ง พระพุทธเจ้าทรงเตือนให้ฤาษีทั้งห้าระลึกความหลังดูว่าพระองค์เคยกล่าววาจาที่ไม่ควรเชื่อคำใดมาก่อนหรือไม่ แม้แต่คำว่าได้ตรัสรู้ก็ตาม ฤาษีทั้งห้าดำริได้ว่า คำนี้พระองค์มิเคยตรัสมาก่อน พากันแน่ใจว่าได้ตรัสรู้จริง จึงยอมรับฟัง​
    [​IMG]
    รุ่งขึ้นเป็นวันเพ็ญ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (เดือนอาสาฬหะ) พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรกแก่ฤาษีทั้งห้า โดยประกาศ พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม (พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) วาระแรก พระพุทธเจ้าทรงชี้ทางที่ผิด หรือการปฏิบัติผิด ทรงประกาศทางที่นักบวช ไม่ควรดำเนิน ให้หย่อนเกินไป หรือตึงเกินไป ที่สุดไปอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่ควรประพฤติใน ๒ อย่าง ๑ การหลงพัวพัน หมกมุ่น ชุ่มอยู่ด้วยกามสุข ทำตนเองให้พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสุขต่าง ๆ ทางกาย เพลิดเพลิน มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุตั้งบ้านตั้งเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่ของผู้บริสุทธิ์ ไม่เป็นประโยชน์ ๒ การทรมาน ทำตนให้ลำบาก ให้เป็นทุกข์ ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะ ทรมานตนด้วยวิธีอดอาหารจนร่างกายซูบผอม นอนบนหนาม เอาขี้เถ้าทาตัว ไม่อาบน้ำ หรือการอ้อนวอนขอพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ไม่ใช่ของผู้บริสุทธิ์ ไม่เป็นประโยชน์ ทั้งสองอย่างนี้ไม่ควรนิยมยินดี

    ต่อมา พระพุทธเจ้าทรงประกาศ ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ควรดำเนิน (มรรคแปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา = อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ ของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย = มัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว = มรรคแปด ๑ มีความเห็นชอบ ๒ มีความดำริชอบ ๓ เจรจาชอบ ๔ ทำการงานชอบ ๕ เลี้ยงชีพชอบ ๖ เพียรชอบ ๗ ระลึกชอบ ๘ ตั้งมั่นชอบ มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง) เป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านั้น โดยมีหลักปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มีองค์ ๘ การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกันแล้วเหลือเพียง ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือการปฏิบัติธรรม (ศีล สมาธิ ปัญญา) ก็คือการเดินตามมรรค

    สุดท้าย พระพุทธเจ้าทรงประกาศความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงอันทำให้บุคคลผู้เห็นเป็นผู้ประเสริฐ คือความจริงที่มีอยู่คู่โลก แต่ไม่มีใครเห็น จนกระทั่งพระองค์ตรัสรู้ คือทั้งรู้และเห็นแล้วทรงชี้ให้ดู ได้แก่ อริยสัจ ๔ คือ หลักความจริงของชีวิตที่เมื่อรู้แล้วจะทำให้หมดกิเลสอัน ได้แก่ ทุกข์ (ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย เป็นต้น) สมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์ คือความอยากต่าง ๆ) นิโรธ (ความดับทุกข์ คือนิพพาน) และมรรค (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง โกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นตามเป็นจริงว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา ครั้นพระองค์ทรงทราบว่าโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นโสดาบันแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานว่า “อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ” แปลว่า “โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” เป็นเหตุให้โกณฑัญญะได้นามว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” จากนั้นทรงให้โกณฑัญญะได้อุปสมบทเป็นภิกษุด้วยพระวาจา (เอหิภิกขุอุปสัมปทา) ว่าท่านจงเป็นภิกษุ มาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด พระอัญญาโกณทัญญะ จึงเป็นพระสงฆ์องค์แรก เป็นพระอริยะบุคคลองค์แรก และเป็นพระสาวกองค์แรกในพระศาสนา

    ในบัดนั้น พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ได้เกิดขึ้นบริบูรณ์

    [​IMG]
    วันอาสาฬหบูชาหมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ พิธีวันอาสาฬหบูชาได้เริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรีให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้นอีกวันหนึ่ง คือวันธรรมจักรหรือวันอาสาฬหบูชา ด้วยเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมา โดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์เรื่องกำหนดวันสำคัญทางศาสนาเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๑ และในวันเดียวกันนั้นได้มีประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา ๑ สัปดาห์ ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษย์วัด คนวัดช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิต โดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณ ครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยทำวัตรค่ำแล้วสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร จบแล้วให้อุบาสก อุบาสิกาทำวัตรค่ำ ต่อจากนั้นให้พระสังฆเถระแสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักกัปปวัตนสูตร แล้วให้พระภิกษุสามเณรสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตรทำนองสรภัญญะเพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชน จบแล้วให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศล มีสวดมนต์สนทนาธรรม บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ตามควรแก่อัธยาศัยให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชาไม่เกินเวลา ๒๔.๐๐ น. และได้มีการทำพิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวาง นับแต่นั้นมาทางราชการได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติ ถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วย

    สำหรับการจัดกิจกรรม ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ราชวรมหาวิหาร จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๓-๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ มีกิจกรรมหลักที่สำคัญ ประกอบด้วย พิธีแห่ของขบวนเทียนจากเจ้าคณะเขตในสังกัดปกครองคณะสงฆ์ กรุงเทพมหานคร พิธีอัญเชิญพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา และพระอรหันตธาตุ เวทีสะท้อนธรรม เทศน์มหาชาติ การหล่อเทียนพรรษา นิทรรศการพุทธกิจ ๔๕ พรรษา กับพระมหาสาวก นิทรรศการสวรรค์ชั้นดุสิตและสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ การเวียนเทียนและการตักบาตรพระสงฆ์ การสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พิธีถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การอภิปรายถ่ายทอดเสียงทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาและการประกวดของนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา

    ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ จัดกิจกรรม ณ ลานรอบองค์พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การปฏิบัติธรรมของฆราวาส และพระสงฆ์ การหล่อเทียนพรรษา การจัดแสดงต้นเทียนพรรษาและการสาธิต ชมนิทรรศการจำลองเกี่ยวกับความสำคัญและหลักธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชา นิทรรศการเกี่ยวกับประวัติพระอสีติมหาสาวก ร่วมเวียนเทียนโพธิ์เงิน โพธิ์ทองความดีรอบธัมเมกขสถูปจำลอง สนุกกับเกมส์อัจฉริยะพระพุทธศาสนา นั่งรถรางสัญจรตามรอยพระพุทธศาสนา นั่งรถรางสัญจรตามรอยพระพุทธศาสนา และธรรมะนันทนาการจากเหล่าดารา ร่วมประกวดวาดภาพระบายสี ในหัวข้ออาสาฬหบูชา ฟังเทศน์ ๒ ธรรมาสน์ และพิธีมอบเทียนพรรษาแก่พระธรรมทูตต่างประเทศ ถวายแก่วัดต่าง ๆ ในต่างประเทศทั่วโลก ๒๒๐ วัด ใน ๕ ทวีป ประกอบด้วย ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปออสเตรเลีย ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา และในเวลา ๑๙.๓๐ น.ของทุกวัน จะเป็นการแสดงม่านน้ำและแสงสีเสียงพุทธประวัติ การแสดงศิลปวัฒนธรรมและร่วมเวียนเทียนรอบองค์พระประธานพุทธมณฑล ส่วนในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม เวลา ๐๗.๐๐ น. ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญตักบาตร ณ ลานรอบองค์พระประธานพุทธมณฑลโดยพร้อมเพรียงกัน และในเวลา ๑๖.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ประกอบพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเวียนเทียนในครั้งนี้ด้วย
     
  3. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    555 ซื้อ แปดบาท อาจเหลือ ห้าบาทได้นะครับ จุ๊ๆอย่าประมาท 5555เอาข่มขวัญให้นอนไม่หลับเลย คิกๆๆๆๆ
     
  4. พุทธันดร

    พุทธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +3,969
    กราบโมทนาบุญทุกประการและขอผลบุญที่บริสุทธิ์ส่งถึงน้องเอด้วยค่ะ
    ขอบคุณแทนพี่แอ๊วและรักษาสุขภาพด้วยนะคะ
    วันนี้หลวงพี่ท่านหล่อพระุทธเจ้าห้าพระองค์ได้ข่าวว่าพระสวยงามมาก
    และพระองค์เล็กๆเพื่อบรรจุในพระองค์ใหญ่
    ส่งจิตไปร่วมโมทนาบุญกับท่านด้วยนะคะ
     
  5. พุทธันดร

    พุทธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +3,969
    กราบขอบคุณและโมทนาบุญในกุศลจิตกับคุณหนุ่มทุกประการค่ะ
    รักษาสุขภาพด้วยนะคะ
     
  6. พุทธันดร

    พุทธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +3,969
    กราบโมทนาบุญและขอบคุณมากๆค่ะ
    จะเรียนพี่แอ๊วให้ทราบนะคะ
    ขอผลบุญนั้นกลับไปหาคุณตั้งจิตทุกประการเช่นกันค่ะ

    ***ได้รับของแล้วนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ***
     
  7. พุทธันดร

    พุทธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +3,969

    ขอบคุณในมิตรภาพที่อบอุ่นมากๆนะคะ
    และขอบคุณแทนพี่แอ๊วด้วยค่ะ
     
  8. พุทธันดร

    พุทธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +3,969
    กราบขอบพระคุณมากๆนะคะ
    ขอผลบุญนั้นคุ้มครองคุณkaicpและครอบครัวเช่นกันค่ะ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ช่วยกันประหยัด น้ำ - ไฟฟ้า และอื่นๆ เพื่อครอบครัวและประเทศชาติกัน ยิ่งทำเป็นนิสัยได้ ผมว่ายิ่งดี ผมจะเริ่มที่บ้านผมด้วยเช่นกันครับ

    ******************************************************

    http://www.matichon.co.th/matichon/m...sectionid=0101

    วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11084

    รบ.ลดกระหน่ำเรียกศรัทธา ภาษี"น้ำมัน"! แจกคูปอง"ขสมก.-รถไฟ"ฟรี


    รายได้ต่ำกว่า"6พัน"รับไปเลย เลิกเก็บบ้านใช้ไฟต่ำ150หน่วย



    ครม.ปล่อยผีประชานิยมล็อตใหญ่ ลดภาษีน้ำมันก๊าซโซฮอล์ 95, 91, อี 20 โดยเฉพาะ "ดีเซล"ลดเกือบ 3 บาท/ลิตร ให้คนจนขึ้นรถไฟ-ขสมก.ฟรี เว้นค่าน้ำครัวเรือนรายย่อย งดเก็บค่าไฟครัวเรือนที่ใช้ต่ำกว่า 150 หน่วย เริ่ม 1 ส.ค.นี้ มีผล 6 เดือน

    เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในวันที่ 15 กรกฎาคม กระทรวงการคลังจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อและเงินฝืดที่จะสูงขึ้นมากในครึ่งหลังของปีจากปัญหาราคาน้ำมัน ซึ่งน่าห่วงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยจะมีทั้งมาตรการด้านภาษี เช่น การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันอี 85 จากลิตรละ 2.57 บาท เหลือ 50 สตางค์ต่อลิตร เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน รวมทั้งการให้คูปองกับประชาชนผู้มีรายได้น้อยเพื่อใช้ในการเดินทาง และช่วยเหลือค่าอาหาร ทั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะแถลงรายละเอียดในวันที่ 15 กรกฎาคม เวลา 13.30 น. แต่ยืนยันว่าจะยังไม่มีการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (แว็ต) แน่นอน เพราะตามหลักปฏิบัติทำไม่ได้

    รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กระทรวงการคลังจะเสนอ ครม.วันที่ 15 กรกฎาคม ส่วนหนึ่งเป็นมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านพลังงาน จะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป เป็นเวลา 6 เดือน ประกอบด้วย 1.ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ 95,91 ลดจาก 3.3165 บาทต่อลิตร เหลือ 0.006,น้ำมันอี-20 ลดจาก 3.3165 เหลือ 0.001,น้ำมันดีเซล ลดจาก 2.405 ต่อลิตร เหลือ 0.006,น้ำมันไบโอดีเซล จาก 2.1898 เหลือ 0.001 และ 2.มาตรการดูแลเรื่องสาธารณูปโภค ยกเว้นค่าน้ำค่าไฟสำหรับผู้ใช้ครัวเรือนรายย่อย โดยจะกำหนดอัตราการยกเว้นต่อไป 3.มาตรการดูแลเรื่องค่าโดยสารจัดรถขสมก.ประมาณ 6,000 คันบริการฟรี รถไฟชั้น 3 ฟรี รถไฟชานเมืองฟรี โดยที่ประชุม ครม.จะหารือเรื่องแหล่งเงินที่จะใช้อุดหนุนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นอกจากนี้ จะลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค เช่น การลดค่าน้ำ และค่าไฟ โดยจะยกเว้นการจัดเก็บค่าไฟสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟต่ำกว่าเดือนละ 150 หน่วย โดยอาจให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยรับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น

    แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับผู้มีรายได้น้อยจะมีการเสนอ ครม. ออกคูปองคนจนสำหรับผู้ที่มี รายได้ต่ำกว่าเดือนละ 6,000 บาท เพื่อใช้เป็นส่วนลดค่าโดยสารรถไฟและรถเมล์ ขสมก. ให้

    นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร รองผู้ว่าการฝ่ายการเงิน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ฝ่ายบริหาร ร.ฟ.ท.ไม่ขัดข้อง หากรัฐบาลมีนโยบายดังกล่าว แต่ต้องพิจารณาว่ารัฐบาลจะมีเงินอุดหนุนช่วยโครงการดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร เนื่องจาก ร.ฟ.ท.ประสบปัญหาขาดทุนอยู่

    ข่าวแจ้งด้วยว่า การประชุม ครม.วันที่ 15 กรกฎาคม มีวาระที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะขอหารือกรณีบริษัท ไซรัส ปิโตรเลียม ของรัสเซีย จะนำน้ำมันไฮสปีดดีเซล บี 2 เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพลังงาน พาณิชย์ และกรมศุลกากร อย่างไรก็ตาม วาระดังกล่าวไม่มีรายละเอียดใดๆ ปรากฏ

    พล.ท. (หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในวันที่ 15 กรกฎาคม กระทรวงจะนำเรื่องพลังงานทางเลือก อี 85 ที่เป็นวาระแห่งชาติ การแก้ปัญหาโครงสร้างก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ปัญหาเอทานอล และโครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำมันอี 85 และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เสนอ ครม.เพื่อพิจารณา โดยจะขอหารือเรื่องน้ำมันอี 85 เป็นอันดับแรก เพื่อหาข้อสรุปการลดภาษีสรรพสามิตให้เหลือลิตรละ 55 สตางค์ รวมทั้งการลดภาษีตัวรถที่ใช้น้ำมันอี 85 ให้เหลือ 20% เท่ากับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี คาดว่าจะได้ข่าวดีจากการประชุม ครม.ครั้งนี้

    ส่วนกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะซื้อน้ำมันดีเซลจากรัสเซียราคาถูกลิตรละ 8 บาท พล.ท. (หญิง) พูนภิรมย์กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียด อย่างไรก็ตาม น้ำมันดีเซลจากรัสเซียต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพจากกรมธุรกิจพลังงาน เพราะขั้นต้นพบว่ามีค่ากำมะถันว่าสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้ 0.035% อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและโรงกลั่นที่ลงทุนติดตั้งอุปกรณ์การกลั่นดีเซลคุณภาพสูงในขณะนี้

    นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า คพ.กำลังเตรียมข้อมูลน้ำมันนำเข้าจากรัสเซียเพื่อเสนอนายกฯ โดยเฉพาะสารกำมะถันที่ปัจจุบันไทยได้กำหนดมาตรฐานน้ำมันดีเซลให้มีกำมะถัน 0.035% แต่น้ำมันจากรัสเซียมีกำมะถัน 0.05% สูงกว่าประกาศคุณภาพน้ำมัน ที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด หากจะนำมาใช้จริง กระทรวงพลังงานจะต้องปรับปรุงแก้ไขประกาศดังกล่าว

    วันเดียวกัน ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน แถลงคัดค้านคูปองคนจน โดยนางประทิน เวคะวากยานนท์ อดีตประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่รัฐจะแจกคูปองช่วยคนจนแก่ผู้มีรายได้ต่ำ 6,200 บาท เนื่องจากไม่มีเกณฑ์การกำหนดผู้มีสิทธิได้รับคูปองที่ชัดเจน โดยผู้ที่ทำงานนอกระบบจะไม่มีฐานเงินเดือนที่แน่ชัด รวมทั้งคนแก่คนชรารายได้ไม่แน่นอน รัฐบาลควรใช้งบประมาณ 60-70 ล้านบาท ไปอุดหนุนสวัสดิการขั้นพื้นฐานของประชาชนโดยตรง เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเล่าเรียนบุตร ค่ารถเมล์นักเรียน เป็นต้น

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ราคาน้ำมันดิบไลต์สวีท ซื้อขายในเอเชียลดลง 1.54 ดอลลาร์ไปอยู่ที่ 143.54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากขึ้นไปทำสถิติสูงสุดที่ 147.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์คเมื่อวันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม เพราะกระทรวงการคลังสหรัฐและธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศแผนช่วยเหลือฉุกเฉิน 2 บริษัทสินเชื่อยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ คือแฟนนี่ เม และเฟรดดี้ แม็ค ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น รวมทั้งนักลงทุนเทขายทำกำไร ต่อมาในการซื้อขายที่ตลาดลอนดอน ราคาลดลงอีกไปอยู่ที่ 143.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หากเป็นเช่นนั้นจริง กว่าจะถึงราคานั้น ผมคงได้เก็บตัวนี้เพิ่มมาได้อีกประมาณ ๓๐% แน่ๆเลยครับ ขอให้ลงมาจริงเถอะ หึ..หึ...

    ๑๐,๓๐๐ หุ้นx๗.๙ บาท = ๑๖,๒๐๐ หุ้นx๕ บาท + เศษเงินอีกเล็กน้อยเป็นค่าขนมระหว่าง trade
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันอาสาฬหบูชา

    http://www.dhammathai.org/day/asarahabucha.php

    <TABLE width="75%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๘
    <TABLE align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม
    เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘


    <HR SIZE=1>ใ จ ค ว า ม ส ำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ
    ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
    ๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค

    ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

    ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
    ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
    ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
    ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
    ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
    ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
    ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
    ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
    ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

    ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
    ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด

    ๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ

    ๓. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
    ๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น


    <HR SIZE=1>ผ ล จ า ก ก า ร แ ส ด ง ป ฐ ม เท ศ น า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ปรากฏว่าโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดเข้าใจธรรม เรียกว่า เกิดดวงตาแห่งธรรมหรือธรรมจักษุ บรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอบรรพชาและถือเป็นพระภิกษุสาวก รูปแรกในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ


    <HR SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันอาสาฬหบูชา

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    วันอาสาฬหบูชา (บาลี: อาสาฬหปูชา) (อังกฤษ: Asalha Pujai) เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาทในประเทศไทย อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (มักจะตรงกับเดือนมิถุนายน หรือเดือนกรกฎาคม)
    วันอาสาฬหบูชา ได้รับการยกย่องเป็นเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ( 45 ปี ก่อนพุทธกาล) ในวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ ซึ่งเป็น วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก (ปฐมเทศนา) คือ (ธรรมจักกัปปวัตนสูตร) แก่ปัญจวัคคีย์ ซึ่งการแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า (พระพุทธศาสนา) ด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธะ) เป็นคนแรก จึงทำให้<SUP class=plainlinks id=ref_1>[1]</SUP> พระรัตนตรัยครบองค์ 3 บริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบสามรัตนะ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า วันพระธรรมจักร (วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก) และ วันพระสงฆ์ (วันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรก) อีกด้วย
    การบูชาในเดือน 8 หรือ วันอาสาฬหบูชา ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 โดยคณะสังฆมนตรี (มหาเถรสมาคม) ในสมัยนั้น ได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา (ในประเทศไทย) ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP> โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้น<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AD.E0.B8.B2.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B8.AC.E0.B8.AA.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.86.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.A2.E0.B8.81_1-0>[2]</SUP> ทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ในปีที่มีอธิกมาส) พุทธศาสนิกชนชาวไทย ทั้งพระมหากษัตริย์<SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP>พระสงฆ์ และประชาชน จะร่วมกันจัดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นอย่างพร้อมเพรียงทั่วราชอาณาจักร เพื่อเป็นการบำเพ็ญกุศลและบูชารำลึกถึงวันสำคัญยิ่งของชาวพุทธนี้

    <TABLE class=toc id=toc summary=เนื้อหา><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>

    [แก้] ความสำคัญ

    เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาในวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นดังนี้ (เนื้อหาตาม ประกาศสำนักสังฆนายก เรื่องกำหนดพิธีอาสาฬหบูชา)
    <TABLE style="BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20>[​IMG]</TD><TD style="PADDING-TOP: 10px">
    1. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
    2. เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมจักร์ ประกาศสัจจธรรม อันเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
    3. เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ในวันนั้น
    4. เป็นวันแรกที่บังเกิดสังฆรัตนะ สมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px" vAlign=bottom width=20>[​IMG]</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 20px; FONT-SIZE: 90%; PADDING-BOTTOM: 10px; TEXT-ALIGN: right" colSpan=3>ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักสังฆนายก เรื่อง กำหนดพิธีอาสาฬหบูชา,
    เล่ม ๗๕, ตอน ๕๗, ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑, หน้า ๒๑๖๙<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AD.E0.B8.B2.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B8.AC.E0.B8.AA.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.86.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.A2.E0.B8.81_1-1>[2]</SUP>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [แก้] เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวันอาสาฬหบูชา

    [​IMG] [​IMG]
    ธรรมเมกขสถูป สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์


    หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 แล้ว ในชั้นแรกพระองค์ทรงคำนึงว่า ธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้นั้นเป็นของลึกซึ้ง ยากที่คนจักรู้ได้ แต่หลังจากพระพุทธองค์ได้ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นว่า มนุษย์ทั้งหลายอุปมาดั่งดอกบัวสี่เหล่าที่จักสอนให้รู้ตามพระองค์ได้ง่ายก็มีสอนได้ยากก็มี ฯลฯ จึงทรงตั้งพระทัยที่จะนำสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้มาสอนแก่มนุษย์ทั้งหลาย พระองค์ได้ทรงพิจารณาหาบุคคลที่สมควรจะแสดงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้โปรดก่อนเป็นบุคคลแรก ในครั้งแรกพระองค์ทรงระลึกถึง อาฬารดาบสกาลามโคตร และ อุทกดาบสรามบุตร ก่อน ซึ่งทั้งสองท่านเป็นพระอาจารย์ที่พระองค์ได้เข้าไปศึกษาในสำนักของท่านก่อนปลีกตัวออกมาแสวงหาโพธิญาณด้วยพระองค์เอง ก็ทรงทราบว่าทั้งสองท่านได้เสียชีวิตแล้ว จึงได้ทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ผู้ที่เคยอุปัฏฐากพระองค์ในระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และทรงทราบด้วยพระญาณว่า ปัญจวัคคีย์พำนักอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์จึงตั้งใจเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพื่อแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ทั้งห้าเป็นครั้งแรก
    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปถึงที่พักของเหล่าปัญจวัคคีย์ ในวันเพ็ญเดือน 8 (อาสาฬหมาส) ปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาแต่ไกล ด้วยเหตุที่ปัญจวัคคีย์รังเกียจว่า "เจ้าชายสิทธัตถะผู้ได้เลิกการบำเพ็ญทุกขกิริยาหันมาเสวยอาหารเป็นผู้หมดโอกาสบรรลุธรรมได้เสด็จมา" จึงได้นัดหมายกันและกันว่า "พวกเราไม่พึงอภิวาท ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ ไม่พึงรับบาตรจีวรของพระองค์ แต่พึงวางอาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนาจะนั่งก็จักประทับนั่งเอง"
    [​IMG] [​IMG]
    เจาคันธีสถูป สถานที่พระพุทธองค์พบปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรกหลังจากตรัสรู้


    ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปถึงกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ พระปัญจวัคคีย์นั้นกลับลืมข้อตกลงที่ตั้งกันไว้แต่แรกเสียสิ้น ต่างลุกขึ้นมาต้อนรับพระพุทธเจ้า รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าจึงประทับนั่งบนอาสนะที่พระปัญจวัคคีย์จัดถวายไว้
    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "เราตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมฤตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร จักทำให้เข้าใจแจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่คนทั้งหลายผู้พากันออกบวชจากเรือนต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง"
    แรกทีเดียวพระปัญจวัคคีย์ยังไม่เชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ จึงค้านถึงสามครั้งว่า "แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษ อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐอย่างสามารถได้เล่า"
    [​IMG] [​IMG]
    รูปปูนปั้นพระพุทธเจ้าแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัจจวัคคีย์ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี


    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "พวกเธอยังจำได้หรือว่า เราได้เคยพูดถ้อยคำเช่นนี้มาก่อน"
    พระปัญจวัคคีย์ จึงได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่ง
    พระพุทธองค์ทรงจึงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเรียกว่า ปฐมเทศนา เป็นการยังธรรมจักรคือการเผยแผ่พระธรรมให้เป็นไปเป็นครั้งแรกในโลก
    เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแสดงพระปฐมเทศนานี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา"
    พระพุทธองค์ทรงทราบความที่พระโกณฑัญญะเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในคำสอนของพระองค์ จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า "อัญญา สิ วตโภ โกฑัญโญ" ท่านผู้เจริญ ท่านโกณฑัญญะ รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า "อัญญา" นี้ จึงได้เป็นคำนำหน้าชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ
    เมื่อท่านพระโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาบันแล้ว จึงได้กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์จึงทรงประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา ว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด"<SUP class=reference id=cite_ref-3>[4]</SUP>
    ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะจึงนับเป็น พระสงฆ์อริยสาวกองค์แรก ในพระพุทธศาสนา ซึ่งวันนั้นเป็นวันเพ็ญ กลางเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน 8 เป็น วันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี "พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์" ครบบริบูรณ์<SUP class=reference id=cite_ref-4>[5]</SUP>

    [แก้] การกำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย

    วันอาสาฬหบูชา ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2501 โดยคณะสังฆมนตรี (มหาเถรสมาคม) ในสมัยนั้น ได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา (ในประเทศไทย) ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) <SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP> โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้น เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AD.E0.B8.B2.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B8.AC.E0.B8.AA.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.86.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.A2.E0.B8.81_1-2>[2]</SUP>
    ไม่ปรากฏหลักฐานในประเทศไทยว่าในสมัยก่อน พ.ศ. 2501 เคยมีการประกอบพิธีอาสาฬหบูชามาก่อน ทำให้การกำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของสำนักสังฆนายกในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดแบบแผนการประกอบพิธีนี้อย่างเป็นทางการ โดยหลังจากปี พ.ศ. 2501 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มมีการรณรงค์ให้มีการประกอบพิธีอาสาฬหบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ร่วมใจกันประกอบพิธีนี้กันอย่างกว้างขวางและแพร่หลายไปทุกจังหวัด จนกลายเป็นพิธีสำคัญของพุทธศาสนิกชนไทยตั้งแต่นั้นมา ดังนั้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น จึงได้ลงมติให้ประกาศกำหนดเพิ่มให้วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีไม่มีอธิกมาส) และวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หลัง (ในปีมีอธิกมาส) เป็นวันหยุดราชการประจำปีอีก 1 วัน<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AD.E0.B8.B2.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B8.AC.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.99.E0.B8.AB.E0.B8.A2.E0.B8.B8.E0.B8.94_6-0>[7]</SUP> เพื่อเป็นการให้ความสำคัญกับวันสำคัญยิ่งของชาวพุทธนี้และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชนที่จะไปประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาด้วยอีกประการหนึ่ง

    [แก้] การประกอบพิธีทางศาสนาในวันอาสาฬหบูชา


    [แก้] พระราชพิธี

    [​IMG] [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


    การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชานี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งเดิมก่อน พ.ศ. 2501 เรียกเพียง การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันเข้าพรรษา<SUP class=reference id=cite_ref-7>[8]</SUP> แต่หลังจากมีการกำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2501 แล้ว<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AD.E0.B8.B2.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B8.AC.E0.B8.AA.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.86.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.A2.E0.B8.81_1-3>[2]</SUP> สำนักพระราชวังจึงได้กำหนดเพิ่มวันอาสฬหบูชาเพิ่มเติมขึ้นมา การพระราชพิธีนี้โดยปกติมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นองค์ประธานในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล และบางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีหลักจะจัดในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศวิหาร และภายในพระบรมมหาราชวัง การสำคัญของพระราชพิธีคือการถวายพุ่มเทียนเครื่องบูชาแก่พระพุทธปฏิมาและพระราชาคณะ รวมทั้งการพระราชทานภัตตาหารแก่พระราชาคณะ ฐานานุกรม เปรียญ ซึ่งรับอาราธานามาฉันภัตตาหารในพระบรมมหาราชวังจำนวน 150 รูป ทุกปี เป็นต้น ซึ่งการพระราชพิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงพระราชศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ขององค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    [แก้] พิธีสามัญ

    [​IMG] [​IMG]
    ชาวพุทธในประเทศไทยนิยมไปเวียนเทียนที่วัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา (ภาพ:การเวียนเทียนในวันอาสาฬหบูชาที่วัดคุ้งตะเภา จังหวัดอุตรดิตถ์)


    การประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเนื่องในวันอาสาฬหบูชาของประชาชนทั่วไปนี้ พุทธศาสนิกชนชาวไทยโดยทั่วไปนิยมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา เวียนเทียนรอบอุโบสถหรือสถูปเจดีย์พุทธสถานต่าง ๆ ภายในวัด เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาในวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
    โดยแนวปฏิบัติในการประกอบพิธีในวันอาสาฬหบูชาตามประกาศสำนักสังฆนายก<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AD.E0.B8.B2.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B8.AC.E0.B8.AA.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.86.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.A2.E0.B8.81_1-4>[2]</SUP> ที่คณะสงฆ์ไทยได้ถือเป็นแบบแผนมาจนถึงปัจจุบันนี้คือ ให้คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนจัดเตรียมสถานที่ก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา โดยมีการทำความสะอาดวัด และเสนาสนะต่าง ๆ จัดตั้งเครื่องพุทธบูชา ประดับธงธรรมจักร และเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก็ให้จัดการแสดงพระธรรมเทศนาตลอดทั้งวัน เมื่อถึงเวลาค่ำให้มีการทำวัตรสวดมนต์และสวดบทพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร มีการแสดงพระธรรมเทศนาในเนื้อหาเรื่องในพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร นำสวดบทสรภัญญะบูชาคุณพระรัตนตรัย และให้พระสงฆ์นำเวียนเทียนบูชาพระพุทธปฏิมา อุโบสถ หรือสถูปเจดีย์ เมื่อเสร็จการเวียนเทียนอาจให้มีการเจริญจิตตภาวนา สนทนาธรรม แต่กิจกรรมทั้งหมดนี้ควรให้เสร็จสิ้นก่อนเวลา 24.00 น. ของวันนั้น เพื่อพักผ่อนเตรียมตัวก่อนเริ่มกิจกรรมวันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) ในวันรุ่งขึ้นต่อไป
    การประกอบพิธีวันอาสาฬหบูชาในปัจจุบันนี้นอกจากการเวียนเทียน ทำบุญตักบาตรฯ ในวันสำคัญแล้ว ยังมีหน่วยงานภาครัฐ องค์กรทางศาสนา และภาคประชาชน ร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นมากมาย เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน เช่น กิจกรรมสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนาวันอาสาฬหบูชา เป็นต้น

    [แก้] สถานที่สำคัญเนื่องด้วยวันอาสาฬหบูชา (พุทธสังเวชนียสถาน)

    <TABLE class=infobox style="CLEAR: right; BORDER-RIGHT: #af4630 3px solid; BORDER-TOP: #af4630 3px solid; FONT-SIZE: 85%; BACKGROUND: #fffee8; FLOAT: right; BORDER-LEFT: #af4630 3px solid; BORDER-BOTTOM: #af4630 3px solid; TEXT-ALIGN: center"><TBODY><TR style="FONT-SIZE: larger; BACKGROUND: #af4630"><TD><SMALL>จุดหมายแสวงบุญใน
    แดนพุทธภูมิ
    </SMALL>
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR style="BACKGROUND: #af4630; COLOR: white"><TH>พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล</TH></TR><TR><TD>ลุมพินีวัน &middot; พุทธคยา
    สารนาถ &middot; กุสินารา
    </TD></TR><TR style="BACKGROUND: #af4630; COLOR: white"><TH>เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล</TH></TR><TR><TD>สาวัตถี &middot; ราชคฤห์
    สังกัสสะ &middot; เวสาลี
    ปัตนะ &middot; คยา
    โกสัมพี &middot; กบิลพัสดุ์
    เทวทหะ &middot; เกสาริยา
    ปาวา &middot; พาราณสี
    นาลันทา
    </TD></TR><TR style="BACKGROUND: #af4630; COLOR: white"><TH>อารามสำคัญในสมัยพุทธกาล</TH></TR><TR><TD>วัดเวฬุวันมหาวิหาร
    วัดเชตวันมหาวิหาร
    </TD></TR><TR style="BACKGROUND: #af4630; COLOR: white"><TH>สถานที่สำคัญหลังพุทธกาล</TH></TR><TR><TD>สาญจิ &middot; มถุรา
    ถ้ำแอลโลลา &middot; ถ้ำอชันตา
    มหาวิทยาลัยนาลันทา
    </TD></TR><TR><TD>แม่แบบ
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันเข้าพรรษา

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



    <DL><DD>บทความนี้เกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา สำหรับเข้าพรรษาความหมายอื่น ดูที่ เข้าพรรษา

    </DD></DL>วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า อยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นศาสนพิธีสำหรับพระภิกษุโดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม เริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

    <TABLE class=toc id=toc summary=เนื้อหา><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>

    [แก้] ประวัติวันเข้าพรรษา

    ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน พระสงฆ์ที่เข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น"ขาดพรรษา"

    แต่หากมีกรณีจำเป็นบางอย่าง พระภิกษุผู้จำพรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เช่น
    1. การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้ภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก ๕ และมารดาบิดา
    2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก ๕
    3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด หรือ การไปทำสังฆกรรม เช่น สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาให้พระผู้ต้องการอยู่ปริวาส เป็นต้น
    4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปให้ทายกได้ให้ทาน รับศีล ฟังเทสนาธรรมได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ ก็จะไปค้างไม่ได้.
    [แก้] ประเภทของการเข้าพรรษา


    การเข้าพรรษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP> คือ
    1. ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
    2. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน
    [แก้] เครื่องอัฏฐบริขารของภิกษุระหว่างการจำพรรษา

    โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น กว่าพระสงฆ์จะหาที่พักแรมได้ บางครั้งก็ถูกฝนเปียกปอน ชาวบ้านผู้ใจบุญจึงถวาย "ผ้าจำนำพรรษา" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยน และยังถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันเป็นพิเศษในช่วงเข้าพรรษา จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

    [แก้] ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ


    <TABLE class=wikitable style="FLOAT: right; MARGIN: 0px 0px 1em 1em"><CAPTION align=center>วันเข้าพรรษา <SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP></CAPTION><TBODY><TR><TH>พ.ศ.</TH><TH>วันที่</TH></TR><TR><TH>2545</TH><TD>25 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2546</TH><TD>14 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2547</TH><TD>1 สิงหาคม</TD></TR><TR><TH>2548</TH><TD>22 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2549</TH><TD>11 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2550</TH><TD>30 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2551</TH><TD>18 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2552</TH><TD>8 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2553</TH><TD>27 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2554</TH><TD>16 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2555</TH><TD>3 สิงหาคม</TD></TR><TR><TH>2556</TH><TD>23 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2557</TH><TD>12 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2558</TH><TD>31 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2559</TH><TD>20 กรกฎาคม</TD></TR><TR><TH>2560</TH><TD>9 กรกฎาคม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
    2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ก็เป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
    3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา
    4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
    5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
    [แก้] การปฏิบัติตนในวันเข้าพรรษา

    [​IMG] [​IMG]
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจิมเทียนพรรษาและเครื่องประกอบ ที่จะนำไปถวายบูชาพระปฏิมายังพระอารามหลวงในฤดูพรรษากาล


    แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณรที่ตนเคารพนับถือ หรือมีการช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น


    มีประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง อีกทั้งมีการ "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

    [แก้] กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา

    [​IMG] [​IMG]
    ประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี


    1. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
    2. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร
    3. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
    4. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ
    5. อยู่กับครอบครัว
    [แก้] อ้างอิง

    1. <LI id=cite_note-0>^ ศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ, ปุริมพรรษา, อ้างอิงจากหน้าเว็บเมื่อ 2 กรกฎาคม 2549
    2. ^ หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).
    [แก้] ดูเพิ่ม

    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 169/1000000Post-expand include size: 8625/2048000 bytesTemplate argument size: 1085/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:40830-0!1!0!!th!2 and timestamp 20080714034530 -->ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/วันเข้าพรรษา".
    หมวดหมู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ | วันสำคัญทางพุทธศาสนา
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เชียนหลี่ซ่งเอ๋อเหมา (千里送鹅毛) : เดินทางพันลี้เพื่อมอบขนหงส์
    http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9510000082753
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>15 กรกฎาคม 2551 19:26 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=290 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=290>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> 千里送鹅毛 (,礼轻情谊重)
    เชียนหลี่ซ่งเอ๋อเหมา (หลี่ชิงฉิงอี้จ้ง)
    เดินทางพันลี้เพื่อมอบขนหงส์ (สิ่งของเบาแต่หนักอึ้งด้วยไมตรี)


    (qiān) อ่านว่า เชียน แปลว่า พัน
    (lǐ) อ่านว่า หลี่ แปลว่า ลี้
    (sòng) อ่านว่า ซ่ง แปลว่า ส่ง มอบ
    (é) อ่านว่า เอ๋อ แปลว่า ห่าน แต่ในที่นี้หมายถึง 天鹅 (tiān é-เทียนเอ๋อ) แปลว่า หงส์
    (máo) อ่านว่า เหมา แปลว่า ขน


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ในรัชสมัยเจินกวนแห่งราชวงศ์ถัง ในแถบดินแดนทางตะวันตกยังมีรัฐนามหุยเหอ ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของราชวงค์ถัง ครั้งหนึ่งหุยเหอต้องการแสดงความภัคดีต่อราชวงศ์ถัง จึงได้ส่งทูตนามว่า “เหมี่ยนโป๋เกา” เป็นตัวแทนนำเครื่องราชบรรณาการที่มีค่าไปมอบให้กับฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ถัง โดยในบรรดาบรรณาการเหล่านั้น สิ่งที่เลอค่าที่สุดกลับเป็นสัตว์ปีกที่หายากยิ่ง นั่นคือหงส์สีขาวบริสุทธิ์ 1 ตัว

    ที่เหมี่ยนโป๋เกาห่วงพะวงที่สุดย่อมเป็นหงส์ขาวตัวนี้ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่ทำให้มันเกิดเป็นอันใดขึ้นมา เขาคงไม่กล้าแบกหน้ากลับไปยังรัฐหุยเหอ ดังนั้นเขาจึงดูแลเอาใจใส่มันเป็นพิเศษ ป้อนน้ำป้อนอาหารแก่หงส์ตัวนี้ไปตลอดทางโดยไม่ยอมให้คลาดสายตา

    วันหนึ่ง เมื่อเหมียนโป๋เกาเดินทางมาถึงริมแม่น้ำเหมี่ยนหยาง หงส์ขาวก็ยืดคออ้าจงอยปากหอบหายใจอย่างหิวกระหาย เขาจึงรีบเปิดกรงอุ้มหงส์ขาวลงไปวางในแม่น้ะเพิ่อให้มันดื่มกินตามอำเภอใจ แต่โดยไม่คาดคิด เมื่อหงส์ขาวกินน้ำจนอิ่มกลับกางปีกบินขึ้นไปบนท้องฟ้าอย่างรวดเร็ว แม้ว่าเหมี่ยนโป๋เกาจะพยายามกระโจนคว้า ก็จับไว้ได้พียงขนของหงส์ขาวเพียงกระจุกเดียวเท่านั้น เขาจึงได้แต่ยืนตะลึงมองหงส์ขาวตัวนั้นบินไปจนลับตา

    จากนั้นเหมี่ยนโป๋เกานิ่งมองขนสีขาวราวหิมะที่หงส์ขาวทิ้งไว้ พลางสมองก็คบคิดปัญหาข้อหนึ่ง “เราจะทำเช่นไรได้ จะหาสิ่งใดไปถวายถังไท่จงฮ๋องเต้แทนหงส์ตัวนี้ ยิ่งไปกว่านั้นจะกลับไปสู้หน้าอ๋องแห่งหุยเหอได้อย่างไร?” คิดไปคิดมา สุดท้ายเหมี่ยนโป๋เกาตัดสินใจเดินทางต่อ โดยนำผ้าไหมมาห่อขนหงส์ที่หลุดร่วงออกมานั้นเอาไว้อย่างดีและนำติดตัวไปด้วย ทั้งยังเขียนบทกวีไว้บนห่อผ้านั้น 1 บท ความว่า

    “หงส์ขาวมอบให้รัฐถัง ข้ามขุนเขาเส้นทางไกล
    ถึงเหมี่ยนหยางกลับสูญหาย ทว่าน้ำใจหุยเหอไม่อาจทิ้งขว้าง
    ไต้เท้าถังผู้เป็นบุตรแห่งสวรรค์ โปรดอภัยเหมี่ยนโป๋เกา
    สิ่งของเบาแต่หนักอึ้งด้วยไมตรี มาพันลี้เพื่อมอบขนหงส์! ”


    เหมี่ยนโป๋เกานำไข่มุก แพรพรรณและขนหงส์ดังกล่าว เดินทางรอนแรมจนถึงเมืองหลวงฉางอัน เมื่อได้พบกับฮ่องเต้ถังไท่จง เหมี่ยนโป๋เกาได้มอบห่อผ้าใส่ขนหงส์และบรรณาการอื่นๆ ให้ฮ่องเต้ถังตามที่ได้รับมอบหมายมา เมื่อถังไท่จงได้อ่านบทกวีและฟังเรื่องราวการเดินทางรอนแรมของเหมี่ยนโป๋เกาก็มิได้โทสะ ทั้งยังเห็นว่าเหมี่ยนโป๋เกาเป็นคนซื่อสัตย์ จึงได้ตกรางวัลให้เขาอย่างงาม

    สำนวน “เชียนหลี่ซ่งเอ๋อเหมา หลี่ชิงฉิงอี้จง” หมายถึง แม้สิ่งของที่มอบให้จะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยแต่ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจและความปรารถนาดีของผู้มอบให้ปัจจุบันมักใช้แค่ “เชียนหลี่ซ่งเอ๋อเหมา” ก็เป็นที่เข้าใจโดยทั่วกัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"DSI"เตือน Forward mail ไม่คิดเสี่ยงติดคุก
    http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9510000083167
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>15 กรกฎาคม 2551 14:14 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> "ดีเอสไอ"เตือนนักเล่นเน็ตที่ชอบส่งต่อข้อความหรือภาพให้คนอื่น พึงระวังและควรพิจารณาให้ดีว่าเข้าข่ายผิดกฏหมายหรือไม่ก่อนส่งต่อ หากเข้าข่ายเสี่ยงติดคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า หลังจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้มา 1 ปี แต่ก็ยังมีคนไม่รู้ และเผลอกระทำผิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการส่งต่ออีเมลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Forward email) ที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือรูปภาพ ซึ่งอาจเป็นการทำผิดกฎหมายมีโทษปรับ-จำคุก สร้างความเดือดร้อนทั้งตนเอง เพื่อนหรือคนใกล้ชิดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งกฎหมายกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    โดยในส่วนของการส่งต่อจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Forward email) ที่มีเนื้อหาข้อความ หรือภาพอนาจารไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ต่างเสี่ยงต่อความผิดทางอาญาได้ ถึงแม้ผู้ส่งจะไม่ได้เป็นคนสร้างอีเมลนั้นขึ้น และไม่ได้เป็นการส่งเพื่อวัตถุประสงค์ในทางไม่ดีก็ตาม เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดไว้ชัดเจนใน มาตรา 14 (5) ว่า “ผู้ใดแจกจ่ายหรือเพื่อแสดงอวดแก่ประชาชน ทำให้แพร่หลายซึ่งเอกสารรูปภาพ เสียง สิ่งลามก ย่อมมีความผิด”

    ดังนั้น ก่อนจะ Forward Mail ไปให้ใครในครั้งต่อไป ควรคิดให้ดีก่อนว่าข้อความและภาพนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือไม่ อาจสร้างความตื่นตระหนก ตกใจกลัว ให้กับคนทั่วไปหรือไม่ อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ สถาบัน หรือเป็นความผิดด้านการก่อการร้ายหรือไม่ รวมทั้งมีภาพอันเป็นลามก หรือไม่

    พ.ต.อ. ญาณพลกล่าวต่อว่า หากคิดว่าใช่แต่ก็ยังเผยแพร่ ส่งต่อ(Forward) ไปยังพรรคพวก เพื่อนฝูง ญาติมิตรด้วยกลับว่าบุคคลเหล่านั้นอาจตกข่าว และท่านเองอาจคิดภูมิใจไปว่าเป็นคนแรกๆ ที่รู้ข่าว และเอื้อเฟื้อต่อญาติมิตร หรือท่านอาจนำข้อความ หรือภาพที่ได้รับมานั้น นำไปเผยแพร่ลงในเว็บบอร์ด ในเว็บไซต์ต่างๆนั้น อาจทำผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และด้วยความไม่รู้ทางเทคนิค อาจนำภัยไปสู่พรรคพวก เพื่อนฝูงที่ได้ส่งข้อความหรือภาพนั้น เพราะปัจจุบันสามารถตรวจสอบได้ง่ายว่าใครส่งต่อไปหาใคร ใครได้รับ แล้วส่งต่อไปหาใคร

    นอกจากนี้ตามกฎหมายใหม่ “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” ได้กำหนดโทษเกี่ยวกับ การนำเข้า-เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสมไว้ คือ (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

    (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

    ดังนั้น ทุกครั้งที่ได้รับอีเมล ข่าว เนื้อความ หรือภาพมาจากอินเทอร์เน็ต ก่อนจะส่งต่อออกไป อย่าลืมคิดให้ดีว่าข้อความหรือรูปภาพนั้นเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันของเราทุกคนเป็นไปในทางสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ต่อสังคม

    Company Related Links :
    กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ผมชอบภาพนี้จังเลยครับ ได้บรรยากาศของวัดยามค่ำคืนที่มีการเวียนเทียนกันในต่างจังหวัด แสงไฟที่โบสถ์สว่าง ประกอบด้วยแสงเทียนคราคร่ำไปด้วยผู้คน บรรยากาศรอบข้างเงียบสงบ มองขึ้นไปบนท้องฟ้า เห็นแสงจันทร์กระจ่าง อากาศเย็นสบาย
    ผมเป็นคนที่ชอบการเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศานามาแต่เด็ก แต่หลายปีมานี้ไม่ได้ไปเวียนเทียนเลยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ปีนี้ ขอไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ,พระธาตุพระอรหันต์ ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีและพระที่บ้าน ไม่เปลืองค่าใช้จ่ายครับ

    .
     
  19. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ครับผมก็คงต้องสวดมนต์ไหว้พระระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ที่บ้าน แทนการไปเวียนเทียนที่วัด
     
  20. kaicp

    kaicp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +1,190
    คุยแล้วครับ

    พี่ ............. ได้โทรมาคุยแล้วครับ คุ้นมาก ๆ เลยครับ
    ต้องขอบคุณด้วยซ้ำที่ทำให้ได้รับข้อมูลเพิ่มมาก จากที่ไม่ได้สนใจมาก่อน
    บังเอิญไม่ค่อยไปแถว......นั้น เลยไม่ทราบข้อเท็จจริงมาก่อน
    เก็บไว้นาน ไม่ทราบว่าเป็นของใคร เพิ่งกระจ่างตอนที่ได้เห็นของจริงในวันนั้น

     

แชร์หน้านี้

Loading...