เวลานั่งสมาธิแล้วง่วงมีวิธีแก้ไหมค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Gatz, 12 กรกฎาคม 2008.

  1. Gatz

    Gatz สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +5
    เวลานั่งสมาธิแล้วง่วงมีวิธีแก้ไหมค่ะ

    คือตั้งใจอยากนั่งสมาธิให้ได้จริงๆ ><

    ขอบคุณค่ะ^^
     
  2. kingdomha

    kingdomha Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +26
    เป็นเหมือนกันคับพอผมนั่งได้ที่ก็หลับรู้สึกตัวสะดุ้งขึ้นมาเลยแล้วก็นั่งต่อก็หลับสะดุ้งเลยอ่ะแล้วต้องนอนไปในที่สุดๆๆๆ^^!!!
     
  3. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    ลองอดทนดูค่ะ แต่ถ้าไม่ไหวก็นอนพัก สังขารฝืนยากค่ะ

    นอกจากการนั่งสมาธิแล้ว การฝึกให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาไม่ว่านั่ง ยืน นอน ความคิดต่างๆ ก็จะยิ่งเจริญก้าวหน้าในทางธรรมนะคะ

    สู้ๆค่ะ

    ^-^
     
  4. nerazzurriboyz1908

    nerazzurriboyz1908 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    713
    ค่าพลัง:
    +763
    ลองเปลี่ยนท่าดูครับ เช่นยืน เดิน ไม่ก็ล้างหน้า ถ้าไม่หายก็นอนพักให้เพียงพอ
     
  5. s_arch

    s_arch Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +90
    ง่วงก็นอนเลยครับ ถ้าร่างกายต้องการพักผ่อน จิตเป็นสมาธิมันจะไม่ง่วง ถ้าจะแก้จริงๆ ก็สลับมาเดินจงกรมแทนก็ได้ครับ
     
  6. Gatz

    Gatz สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +5
    คือ ยืน เดิน หรือทำกิจกรรมอื่นมันก็ไม่ง่วงน่ะค่ะ แต่นั่งสมาธิทีไร นั่งไปนั่งมาหลับทุกที > < แต่หลับไปพัก พอรู้ตัวขณะที่หลับตาอยู่ ก็จะนั่งสมาธิไปต่อ เหมือนเดิม

    ขอบคุณทุกความคิดเห็นน่ะค่ะ จะลองนำไปปฏิบัติดูค่ะ^^
     
  7. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ก็นอนสมาธิไปเลยซิครับ สมาธิจะคล้ายๆ กึ่งหลับกึ่งตื่น
     
  8. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,667
    ค่าพลัง:
    +9,239
    พระท่านเคยสอนให้ลืมตาค่ะ มองลงต่ำ แต่ยังคงอยู่ในท่าเดิม หรือหายใจยาว ๆ แบบถอนหายใจ รู้สติ รู้ตัวแล้วก็ปฏิบัติต่อไปค่ะ ไม่ไหวจริง ๆ ก็ให้เปลี่ยนอริยาบถค่ะ เดินจงกรมเป็นอริยบถที่ใช้ได้ดีค่ะ
    ขออนุโมทนา ที่มีความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติค่ะ
     
  9. เด็กน้อยรักธรรม

    เด็กน้อยรักธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +81
    ลองตั้งสมาธิใหม่ ตั้งใจ ท่องพุธโธขณะหายใจเข้าออก
    หรือเรียกว่ากำหนดลมหายใจอ่ะค่ะ ท่องไปด้วยทำสมาธิไปด้วย
    ก้อน่าจะแก้ได้นะคะ ให้มีสติตลอดนะคะ สู้ๆ
    เป็นกำลังใจให้นะคะ
     
  10. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ตั้งใจ รู้ ตื่น เบิกบาน สติอยู่กับ คำบริกรรม หรือ ลมหายใจ เข้า-ออก แล้วแต่กรณี ลืมตาทำก่อนจนกว่าจะชำนาญ นึกได้เมื่อไร ทำเมื่อนั้น ไม่ต้องรอไหว้พระสวดมนต์เสร็จหรอก ได้ทุกสถานที่ เมื่อยามว่าง...
     
  11. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ขอตอบมั่งนะครับ

    ผมว่าลองเพ่งความง่วงไปเลยดีกว่าครับ สลับกับนั่งสมาธิปกติ

    ง่วงเมื่อไหร่ก็เพ่งความง่วง ถ้ายังไม่ง่วงมากก็ทำสมาธิปกติไปก่อน
     
  12. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    การนั่งสมาธิแล้วหลับ หัวใจก็มาจาก การพอใจ สุขใจ กับความสงบที่เกิดขึ้น

    ทำให้จิตค่อยๆ คล้อยไปทางโมหะ จะมีอาการหนักๆ มึน ซึมๆ ถ้าหลับตานั่ง
    ตอนกลางวันจะเห็นเหมือนหมอกดำเกิดเป็นจังหวะๆ จนกว่าจะเต็มในทัศนะ
    ที่หลับตา ก็จะผล่อยหลับ บางครั้งก็จะวูบลงไป เหมือนตกเหว เป็นอาการตก
    ภวังค์ หรือ หลับนั้นแหละ เป็นการทำสมาธิที่ไม่ดี ไม่ให้ความก้าวหน้าอะไร
    แม้จะให้ความสงบ สุข แต่ก็เท่าๆกับนอนพักผ่อน

    ซ้ำร้าย ตอนที่เข้าภัวงค์ ช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่สัญญาเก่าแทรกได้ บางคนจึงอาจ
    มีนิมิตแปลกๆ จริงแล้วก็คือ ฝัน แต่เป็นการฝันในท่านั่งสมาธิ ก็ยิ่งทำให้อุปาทาน
    ไปว่าได้นิมิต ทั้งๆที่เป็นฝันอันเดียวกับที่เรานอนตอนกลางคืน อาการที่รียกว่าผี
    อำก็เกิดขึ้นได้ด้วย อันนี้จะให้ผลเสียหนักเข้าไปอีก กลายเป็นโทษ หรือ เกลียดกลัว
    การทำสมาธิไปเลย แต่ไม่หนักเท่า โทษการปฏิบัติธรรม ไปคิดว่าเราปฏิบัติธรรม
    ไม่ได้เพราะมีเจ้ากรรมนายเวรอะไรมากั้น ก็เรียบร้อย วิปปลาสไป จริงๆแล้วก็อัน
    เดียวกับที่เราโดนผีอำตอนนอน ซึ่งไม่ต้องทำอะไรมาก แค่ขำๆกับสัญญาสังขาร
    แล้วก็ใช้ชีวิตตามปรกติไป

    วิธีแก้การนั่งสมาธิแล้วง่วง

    จะเห็นว่า มีอาการ หนักๆ ซึมๆ เคลิ้มๆ เนื่องจากพอใจในความสงบ เป็นความรู้
    สึกตัวเดียวกันกับการอยากนอน เพราะชอบใจที่ตื่นมาแล้วจะสุข สงบ ได้ผักผ่อน
    หลีกหนีโลกไปช่วงหนึ่ง

    ดังนั้น ให้ตั้งสติระลึกดูอารมณ์ ว่ามีความพอใจในความสงบกำลังเกิดขึ้นไหม

    ถ้ามี มันจะเคลิ้มๆ ซึมๆ พอใจลึกๆ หรือเริ่มแขนขาหนักไหม ร่างกายยังคงรูป หรือเริ่มโรยตัวลง
    ถ้าระลึกทัน และถูกต้อง จะสว่าง เหมือนเราสดชื่นขึ้นมาขณะหนึ่ง เหมือนเรานั่งเรียนวิชา
    ภาษาไทยแล้วระลึกตัวได้ว่าเคลิ้ม แล้วตามันจะสว่างโพลงแป๊ปนึง ถ้าเราละลึกได้ถูก
    ต้องก็จะตื่นเลย แต่ถ้ายังไม่ทัน ก็จะผล่อยหลับลงอีก หนังตาหนักลงอีก ก็ทำไปเรื่อยๆ
    ดูเรื่อยๆ กำกับการนั่งสมาธิตามรูปแบบไปด้วย

    บางครั้ง การตารู้ ตามรู้สึก เกิดจากการจงใจ ร่างกายจะดีดกลับ เช่น เรารู้ตัวว่าโรย
    ตัว หลังงอ เราจะเด้งตรงจนตัวเกร็ง แบบนี้ให้รู้สึก ระลึกไว้ด้วยว่า จงใจทำ จงใจระ
    ลึกรูป ทำให้เกิดความคิด และเจตนาที่ผลักให้เกิดกริยาที่เขม็งเกลียวออกไป

    ถ้าระลึกตัว มีสติถูกตัว อาการปรับร่างกาย หรือ อาการตื่นจะค่อยเป็นค่อยไป จะทำ
    ให้ไม่เกิดหงุดหงิดซ้อน ที่เรานั้งสมาธิไม่ได้ มันจะแทรกถ้าเผลอไปจงใจรู้สึกตัว

    ก็ให้คอยตรวดูอารมณ์เหล่านี้ การทำสมาธิครั้งนั้นๆ ก็จะมี สติ คอยกำกับการทำสมาธิ

    การทำสมาธิครั้งนั้นจะให้โอกาสเป็นสัมมาสมาธิได้มากขึ้น

    * * * *

    มีอีกอย่าง สำหรับคนทำสมาธิก่อนจะนอน

    ถ้าไม่สามารถตามระลึกอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ หลังการเลิกนั่งสมาธิทุกครั้ง
    ห้ามล้มตัวลงนอน ให้ลุกขึ้นไปทำกิจกรรมอะไรสักอย่างก่อน ให้ตื่นตัวก่อน
    แล้วค่อยกลับมานอน แบบนี้ก็จะใช้ได้ เป็นการอบรมจิต หรือ ฝึกสติเหมือน
    กัน แต่ตามหลังเยอะไปหน่อย แต่ก็เพื่อระลึกการง่วง การซึมนั่นเอง ให้ดี
    ต้องระลึกขณะทำ แต่ถ้าระลึกไม่ทัน ก็ทำตามหลังก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2008
  13. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
  14. เชน

    เชน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +1,037
    นั่งหลับตาแล้ว ง่วง ก็เปลี่ยนมานั่งลืมตาสิ............มันไม่ต่างกันหรอก...เพราะความสงบมันเกิดที่จิตไม่ได้เกิดที่กาย เข้าใจนะ
     
  15. สวนะ

    สวนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +201
    ขณะที่นั่งปฏิบัติอยู่นั้น ให้จิตเป็นตัวพิจารณาเป็นสำคัญค่ะ
    หากง่วง..รู้สึกฝืนทนที่จะปฏิบัติต่อ..ให้หยุดทันที..
    อย่าฝืนจนเกิดภาวะแห่งทุกข์
    หากจิตขณะนั้นต้องการพักผ่อนด้วยการนอน..ก็ต้องนอนพักค่ะ
    แต่จะนอนสมาธิได้ก็เป็นการดี เพราะจิตใต้สำนึกของคุณ
    ยังปรารถนาที่จะทำสมาธิในแต่แรก..แต่ยังไม่บรรลุดังที่ตั้งใจไว้
    เพียงขอให้จิตปฏิบัติแล้วสงบ เจริญอานาปาณสติ แม้ในท่าหลับก็เป็นสมาธิได้ค่ะ
    ..คาดว่าเป็นการฝึกปฏิบัติเบื้องต้นของ จขกท.
    หากคุณ Gatz ลองพยายามในครั้งต่อๆไป
    ก็สามารถพัฒนาจิตในขั้นที่สูงขึ้นไปได้นะคะ..อย่าท้อ..คอยเป็นกำลังใจค่ะ

    แต่ไม่แนะนำให้นอนในห้องพระนะคะ
    ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำไว้ โดยเฉพาะผู้หญิง
    เพราะเราอาจควบคุมอากัปกิริยาในขณะนอนไม่ได้
    อาจไม่สำรวม.. หากต้องการเพียงคลายเมื่อยก็ลอง
    นอนท่าสีหไสยาส เสมือนราชสีห์ที่ครึ่งนอนครึ่งนั่ง
    มีพร้อมลุกเสมอนั่นเอง(นอนตะแครงขวา) ซึ่งสำรวมและสุภาพกว่าค่ะ


     
  16. guitargun

    guitargun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2007
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +137
    ข้อเสียของการนั่งลืมตาก้คือเห็นครับ เมื่อเห็นก็คิดตาม ตามแล้วก็เขว เขวแล้วก็ส่าย ตามธรรมชาติของคน ถ้าลืมตานี้ผมว่าเหมาะสำหรับคนที่ฝึกมาก่อนแล้วครับ.
     
  17. guitargun

    guitargun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2007
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +137
    อ่านมาจากหนังสือของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านอ้างถึงแนวปฏิบัติของพระพุทธเจ้าในอุบายแก้ง่วงของพระองค์ ซึ่งพอจะเรียบเรียงเท่าที่จำได้ดังนี้ครับ

    ท่านว่า ให้ แหย่หู มองท้องฟ้าไปไกลๆกว้างๆ ล้างหน้า ลุกเดิน สุดท้ายคือเลิกเลย พักผ่อนครับ จำไม่ได้ว่าอันไหนก่อนหลัง หรืออาจจะมีมากกว่านี้แต่จำไม่ได้ แต่ที่นำมาก็เท่าที่จำได้ครับ เพราะอ่านนานแล้ว และปฏิบัติมาแล้ว เห็นผลกับตัวครับ.
    ....ลองหาในพระไตรปิฏกดูครับ ตามแนวของพระพุทธเจ้าที่ท่านปฏิบ้ติครับ.

    ผิดพลาดประการใด โปรดอภัย
    guitargunsolo@hotmail.com
     
  18. aero1

    aero1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +54
    โมคคัลลานะสูตร

    ท่านมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์ผู้เป็นนายบ้านชื่อว่า โกลิตะ มารดาชื่อนางโมคคัลลี แต่เดิมชื่อว่า โกลิตะ ตามโคตรแห่งบิดา และถูกเรียกชื่อเพราะ เป็นบุตรนางโมคคัลลีว่า โมคคัลลานะ พอเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว พวกภิกษุเรียกกันว่า พระโมคคัลลานะ ทั้งนั้นท่านเกิดใน โกลิตคามไม่ห่างจากเมืองราชคฤห์ สมัยเป็นเด็กได้เป็นสหายที่รักใคร่กันกับอุปติสสมาณพ ผู้มีอายุคราวเดียวกัน และตระกูลของทั้งสองนั้นมั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์และบริวารเท่า ๆ กัน มีความคุ้นเคยสนิทสนมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เมื่อโกลิตมาณพเจริญวัยขึ้นก็ได้ำปศึกษาเล่าเรียนศิลปะด้วยกันกับอุปติสสมา ณพ แม้จะไปเที่ยวหรือไปทำธุระอะไรก็มักจะไปด้วยกันอยู่เสมอ จนกระทั่งเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาก็บวชพร้อมกัน ต่างกันแต่ว่าได้ดวงตาเห็นธรรมครั้งแรกนั้นไม่พร้อมกัน เรื่องราวต่าง ๆ ก่อนอุปสมบทคล้าย ๆ กับพระสารีบุตรตามที่ได้บรรยายมาก่อนหน้านี้

    หลังจากอุปสมบทแล้ว ๗ วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ เกิดความอ่อนใจนั่งโงกง่วงอยู่ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงสั่งสอน และแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วง ๘ ประการ คือ
    ๑. โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไร ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก จะละความง่วงนั้นได้
    ๒. หากยังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาแล้วด้วยใจของเธอเอง จะละความง่วงได้
    ๓. หากยังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาโดยพิสดาร จะละความง่วงได้
    ๔. หากยังละไม่ได้ เธอควรยอนหูทั้งสองข้างและลูบด้วยฝ่ามือ จะละความง่วงได้
    ๕. หากยังละไม่ได้ เธอควรลุกข้นยืน ลูบนัยน์ตาด้วยน้ำ เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ จะละความง่วงได้
    ๖. หากยังละไม่ได้ เธอควรทำในใจถึงอาโลกสัญญา คือความสำคัญในแสงสว่าง ตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน มีจิตใจแจ่มใสไม่มีอะไรห่อหุ้ม ทำจิตอันมรแสงสว่างให้เกิด จะละความง่วงได้
    ๗. หากยังละไม่ได้ เธอควรอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายว่าจะเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีจิตไม่คิดไปภายนอก จะละความง่วงได้
    ๘. หากยังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ คือนอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ตั้งใจว่าจะลุกขึ้น พอเธอตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้น ด้วยการตั้งใจว่าจะไม่ประกอบสุขในการนอน จะไม่ประกอบสุขในการเอนหลัง จะไม่ประกอบสุขในการเคลิ้มหลับ
    ครั้นตรัสสอนอุบาย สำหรับระงับความง่วงอย่าง นี้แล้ว ทรงสั่งสอนให้สำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราจักไม่ชูงวง (คือการถือตัว) เข้าไปสู้ตระกูล จักไม่พูดคำที่เป็นเหตุให้คนเถียงกัน เข้าใจผิดต่อกัน และตรัสสอนให้ยินดีด้วยที่นั่งที่นอนอันเงียบสงัด และควรเป็นอยู่ตามลำพังสมณวิสัยไ เมื่อตรัสสอนอย่างนี้แล้ว พระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า "โดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนเกษมจากโยคะธรรม เป็นพรหมจารีบุคคลยิ่งกว่าผู้อื่น มีที่สุดกว่าผู้อื่น ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไ พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า "โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไดเสดับแล้วว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เธอทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันวิเศษ ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงได้ เธอได้ประสบเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี เธอพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นด้วปัญญาเป็นเครื่องหน่าย เป็นเครื่องดับ เป็นเครื่องสละ คืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น สิ่งอะไร ๆ ในโลกไม่มีความสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้ด้วยตนเอง และทราบชัดว่า ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำอย่างนี้อีกมิได้มี ว่าโดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แหละ ภิกษุได้ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา" ท่านพระโมคคัลลานะได้ปฏิบัติตามโอวาท ที่พระบรมศาสดาตรัสสั่งสอน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้น

    ครั้นได้สำเร็จเป็นพระ อรหันต์แล้ว พระโมคคัลลานะได้เป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามที่พระองค์ทรงดำริให้สำเร็จเพราะท่านเป็นผู้มีฤทธิ์มาก จึงได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระบรมศาสดาว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางเป็นผู้มีฤทธิ์" และทรงยกย่องว่าเป็นคู่พระอัครสาวก คู่กันกับพระสารีบุตรในการอุปการะภิกษุผู้เข้ามาบวชในพระธรรมวินัย ดังกล่าวในประวัติพระสารีบุตรว่า สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ยังบุตรให้เกิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบน ที่สูงกว่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีคำยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย พระธรรมเทศนา ของพระโมคคัลลานะไม่ค่อยจะมีที่เป็นโอวาทให้แก่ภิกษุสงฆ์มีเพียงแต่อนุมาน สูตร ซึ่งว่าด้วยธรรมินทำให้คนเป็นผู้ว่ายากหรือง่าย ในมัฌิมนิกายกล่าวว่า ท่านพระโมคคัลลานะเข้าใจในนวกรรมคือการก่อสร้าง เพราะฉนั้นเมื่อนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างบุพพาราม ในเมืองสาวัตถี พระบรมศาสดารับสั่งให้ท่านเป็นนวกัมมาธิฏฐายี คือผู้ควบคุมการก่อสร้าง
    ท่านพระ โมคคัลลานะ ปรินิพพานก่อนพระบรมศาสดา มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านพำนักอยู่ ณ ตำบลกาฬศิลา แคว้นมคธ พวกเดียรถีย์ปรึกษากันว่า บรรดาลาภสักการะ ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่พระบรมศาสดาในครั้งนั้น ก็เพราะอาศัยพระโมคคัลลานะ เพราะสามารถนำข่าวในสวรรค์และนรกมาแจ้งแก่มนุษย์ ชักนำให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใส ถ้าพวกเรากำจัดพระโมคคัลลานะเสียได้แล้ว ลัทธิของพวกเราก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้น ลาภสักการะต่าง ๆ ก็จะมาหาพวกเราหมด เมื่อปรึกษากันดังนั้นแล้วจึงจ้างโจรผู้ร้ายให้ลอบฆ่าพระโมคคัลลานะ เมื่อโจรมาท่านพระโมคคัลลานะทราบเหตุนั้นจึงหนีไปเสียสองครั้ง ครั้งที่สามท่านพิจารณาเห็นว่ากรรมตามทันจึงไม่หนี พวกโจรผู้ร้ายจึงได้ทุบตีจนร่างกายแหลกเหลว ก็สำคัญว่าตายแล้ว จึงนำร่างท่าน ไปซ่อนไว้ในพุ่มไม้แห่งหนึ่งแล้วพากันหนีไป ท่านพระโมคคัลลานะยังไม่มรณะ เยียวยาอัตภาพให้หายด้วยกำลังฌานแล้วเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา แล้วทูลลากลับปรินิพพาน ณ ที่เกิดเหตุ ในวันเดือนดับ เดือน ๑๒ หลังพระสารีบุตร ๑๕ วัน สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จไปทำฌาปนกิจแล้วรับสั่งให้นำอัฐิธาตุ มาก่อเจดีย์บรรจุไว้ ณ ที่ใกล้ประตูวัดเวฬุวัน

    ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นเลิศทางฤทธิ์
    ใน หมู่สงฆ์ของพระศาสนาาแห่งพระศรีศากยมุนีโคดมนี้ พระภิกษุนามท่านพระมหาโมคคัลลานะนั้นชื่อว่ามีฤทธิ์มาก เว้นเสียแต่พระผู้มีพระภาคแล้วหาผู้ทัดเทียมมิได้ การไปเยือนเทวโลกและพรหมโลกด้วยมหิทธิฤทธิ์ของท่านนั้นสำเร็จได้โดยไม่ยาก ลำบาก ดังที่ในพระสูตรที่ ยกมาวันนี้กล่าวถึงท่าน(หรือพระภิกษุผู้มีฤทธิ์ท่านอื่นๆ)ที่ไปเยือนเทวโลก แล้วแลเห็นเทวดาผู้มีรัศมีอันสว่างไพโรจน์งดงามเป็นที่ยิ่ง อาศัยในปราสาทหรือวิมานอันงดงามเปล่งรัศมีงามจับตา ดูเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้สอบถามถึงบุพกรรมของเทวดาเหล่านั้นที่เป็นเหตุแห่ง ความเป็นสหายกับเทวดา จะยกตัวอย่างว่าในพระสูตรที่5 คุตติลวิมาน ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้สอบถามเทวดาในที่นั้นถึงบุพกรรม ได้คำตอบว่าเทวดาบางองค์เมื่อยังเป็นมนุษย์ได้ถวายน้ำอ้อยงบแก่ภิกษุ บ้างถวายผลมะพลับสุกแก่ภิกษุ บ้างถวายแตงโมผลหนึ่งแก่ภิกษุ บ้างถวายฟักทองผลหนึ่งแก่ภิกษุ ฯลฯ ตามที่พระเถระบรรยายถึงความสุขในเทวโลกนั้น ก็ดังท่านผู้มีศรัทธาจะอ่านและเห็นว่าเป็นสุขอันโอฬารปานใดทั้งที่เป็นผลจาก การทำทานแต่เพียงพอประมาณเท่านั้น ข้อนี้เป็นเพราะท่านเหล่านั้นทำทานด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์ และการที่บุคคลจะมีศรัทธาอันบริสุทธิ์นั้นก็มิใช่เรื่องง่าย ดังเราจะเห็นว่าบุคคลในมนุษยโลกนี้มักจะปิดกั้นศรัทธามิให้เกิดขึ้นด้วย ทิฏฐิ

    ที่มา: พระสุตตันตปิฎก เล่ม 18 ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ<table width="94%" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="postbody" valign="top">
    </td></tr><tr><td>
    </td></tr></tbody></table>
     
  19. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ขอตอบแบบกวนๆนะว่า

    ก็อย่านั่งตอนง่วงสิครับ

    เปลี่ยนเวลานั่ง
    เปลี่ยนท่านั่ง (หลังตรง หน้ามองตรง)
    เปลี่ยนอิริยาบถ (ยืน เดิน นั่ง นอน)
    เปลี่ยนสถานที่ (ไปนั่งที่วัดบ้าง สวนป่าบ้าง)
     
  20. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ขออนุโมทนา

    อารมณ์ง่วงเป็นความหลง

    ผมแนะนำให้ฟังธรรมะโดย
    หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
    ในหัวข้อ

    ธรรมบรรลุ (ไม่ติดไม่ขัดไม่ข้องไม่คา)
    ไม่ใช่ตรงที่คอยติดหรือคอยหลุด
    ไม่หลงดิ้นรนไปซะเอง
    เลิกดันทุรัง ก็เลิกทุกข์

    ท่านสามารถศึกษาธรรมะโดย
    หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
    เพิ่มเติมได้ที่


    หากท่านโหลดไม่ได้
    สามารถขอรับได้ที่ลิงค์ข้างล่างครับ

    ขออนุโมทนา

    [​IMG]

    ณ.โอกาศนี้ ขอน้อมองค์คุณ

    พระพุทธะอรหันต์ พระมหาพุทธะอรหันต์
    พระอรหันต์ พระมหาอรหันต์
    พระโพธิสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์
    จงบันดาลให้ทุกท่าน
    ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา
    ลุล่วงพ้นทุกข์ ตามพุทธะประสงค์ ตรงต่อพระนิพพาน
    ในชาติปัจจุบันกาลนี้ด้วยเทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...