เรื่องเด่น น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันปิยมหาราช

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 23 ตุลาคม 2023.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,929
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    ?temp_hash=d1e397bf897aff1c4aa79f2af4a72e89.jpg




    วันปิยมหาราช 23 ตุลาคมของทุกปี พสกนิกรชาวไทยน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผู้มีพระราชสมัญญานาม “สมเด็จพระปิยมหาราช” อันหมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน
    วันนี้ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ...ผ่านมาแล้ว 113 ปี นับจากวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 จนถึง 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566..

    วันนี้ วันจันทร์ ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566
    ตรงกับ "วันปิยมหาราช" วันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
    พระองค์ได้พัฒนาสยามประเทศจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า “พระปิยมหาราช” หรือพระพุทธเจ้าหลวง
    กราบสาธุ ...การเลิกทาส และ การเลิกไพร่ เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการยกเลิกระบบที่คนชั้นสูงตั้งขึ้น เพื่อกดขี่ราษฎรให้ทำงานรับใช้หรือส่งทรัพย์สินให้โดยไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด...
    กราบน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันประมาณค่ามิได้ของคนไทย... กราบอนุโมทนาบุญกุศล บุญบารมีท่านยิ่งใหญ่มหาศาลล้นฟ้า...
    เราจะพ้นจากการเป็นทาส ก็ต่อเมื่อ
    1. โดยการหาเงินมาไถ่ถอน
    2. การบวชเป็นสงฆ์โดยได้รับความยินยอมจากนายทาส
    3. ไปการสงครามและถูกจับเป็นเชลย หลังจากนั้น สามารถหลบหนีออกมาได้
    4. แต่งงานกับนายทาสหรือลูกหลานของนายทาส
    5. ไปแจ้งทางการว่านายทาสเป็นกบฏ และผลสืบสวนออกมาว่าเป็นจริง
    6. การประกาศไถ่ถอนจากพระมหากษัตริย์ ในช่วงของการเลิกทาส “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124″ ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไท ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448
    กราบสาธุครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,929
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    jpgsdc-nni-p4tntx8a-y1vporxz0b-_nc_ohc-ocuwfvdy1oax99mxll-_nc_zt-23-_nc_ht-scontent-fbkk22-1-jpg.jpg
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,929
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    1f4cd.png #ไม่มีรัชกาลที่๕ไทยก็เป็นขี้ข้าฝรั่งเศส



    ในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๕๐
    สาเหตุที่ ร.๕ ทรงเลือกเมืองตราด และทรงสละนครวัดให้ฝรั่งเศส


    คนไทยจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่า ทำไมร.๕ ทรงทิ้งนครวัด ทะเลสาบ และพื้นที่ ๕๐,๐๐๐ ตร.กม.เพื่อแลกกับเมืองตราด ที่มีพื้นที่เพียง ๒,๘๑๙ ตร.กม. เท่านั้น
    ส่งประวัติศาสตร์นี้ให้ลูกหลานอ่าน จะได้รับทราบพระราชหฤทัยของรัชกาลที่ ๕ จะได้ไม่ถูกชักจูงให้ทำร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์
    ชาวไทยทุกคนภูมิใจกันว่า ประเทศของเราไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก แต่ประวัติศาสตร์ก็ต้องจารึกไว้ว่าพี่น้องร่วมชาติของเราในจังหวัดจันทบุรีต้องตกอยู่ใต้การยึดครองของฝรั่งเศสถึง ๑๐ ปี ส่วนจังหวัดตราดยิ่งกว่านั้น ต้องทำพิธีมอบเมืองให้ตกไปรวมอยู่ในอินโดจีนของฝรั่งเศส เป็นเวลา ๒ ปี ๖ เดือน
    รัชกาลที่ ๕ จึงทรงตัดสินพระราชหฤทัยสละนครวัด สิ่งมหัศจรรย์ของโลก และทะเลสาปเสียมราฐ อันกว้างใหญ่อุดมสมบูรณ์เลี้ยงคนได้ทั้งอินโดจีน ซึ่งรวมอยู่ในเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ มีพื้นที่ถึง ๕๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร เพื่อแลกกับเมืองตราด ซึ่งมีพื้นที่เพียง ๒,๘๑๙ ตารางกิโลเมตรคืนมา ก็เพราะทรงเห็นว่าสิ่งมีค่าเหนือกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด ก็คือ “คน”
    ทรงรักคนไทยยิ่งกว่าพื้นที่กว้างใหญ่แต่ผู้คนพื้นเมืองเป็นชาวเขมร
    พื้นที่ซึ่งทรงสละไปนั้นประชาชนที่อยู่เป็นชาวเขมร แต่ประชาชนในจังหวัดตราดเป็นคนไทย ในวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๔๗ ที่เราถูกบังคับให้ทำพิธีมอบเมืองตราดให้แก่ฝรั่งเศส นอกจากยื่นเอกสารต่อกันแล้ว มีการชักธงช้างลงจากยอดเสาหน้าศาลากลางจังหวัด แล้วชักธงชาติฝรั่งเศสขึ้นสู่ยอดเสาแทน ทหารฝรั่งเศสเป่าแตรทำความเคารพนั้น บรรดาข้าราชการไทยที่ต้องไปทำพิธีอันแสนหดหู่นี้พากันน้ำตาซึม รีบหันหลังกลับลงเรือมกุฏราชกุมารกลับพระนคร โดยมีข้าราชการของจังหวัดตราดและเกาะกงอาศัยกลับเข้าพระนครด้วย
    จนในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๕๐ ในการรับมอบจังหวัดตราดคืนจากฝรั่งเศส พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ) ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเคยเป็นผู้ทำพิธีมอบให้ฝรั่งเศสไว้เมื่อเกือบ ๓ ปีก่อนไปทำพิธีรับมอบด้วยตนเอง
    เมื่อตราดกลับเข้ามาอยู่ในอ้อมกอดของพี่น้องไทยอีก ราษฎรที่ทิ้งถิ่นมาก็อยากกลับไปสู่ถิ่นเดิม บางคนได้ขายที่ดินไปก่อนที่จะย้ายมา หรือจำนองไว้แล้วปล่อยให้หลุดมือ รัฐบาลก็ช่วยซื้อหรือไถ่ถอนคืนให้ ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกเว้นการเก็บภาษีและการเกณฑ์ทหารเป็นเวลาถึง ๕ ปีให้แก่ชาวจังหวัดตราด เป็นการเรียกขวัญและกำลังใจให้ชาวตราดกลับคืนมา
    ในขณะที่รัฐบาลสยามรับมอบจังหวัดตราดคืนจากฝรั่งเศสนั้น เป็นเวลาที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสยุโรป ได้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว จึงมีพระราชประสงค์จะเสด็จเยี่ยมชาวจังหวัดจันทบุรีและตราด ฉะนั้น ก่อนที่จะเสด็จกลับคืนสู่พระนคร เรือพระที่นั่งมหาจักรีจึงได้แวะที่จังหวัดตราดในเช้าวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐ ครั้นในเวลา ๑๑.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมพลเรือ ประทับเรือกลไฟที่ทหารเรือจัดถวาย มาถึงปากน้ำจังหวัดตราด แล่นไปตามลำน้ำโดยมีราษฎรโห่ร้องถวายพระพรตลอดสองฝั่งและแจวเรือตามเสด็จ
    ณ พลับพลาที่ท่าเรือ มีพระสงฆ์ ๑๕๐ รูปถวายพระพรชัยมงคล และราษฎรมาเฝ้าอย่างล้นหลามด้วยความปิติยินดี พระบริรักษ์ภูธร (ปิ๋ว บุนนาค) ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้อ่านคำถวายพระพรชัยมงคล มีข้อความตอนหนึ่งว่า
    “..อันน้ำใจของประชาชนชาวเมืองตราด เมื่อได้แลเห็นพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐเวลานี้ ความปิติยินดีก็เต็มตื้นเต็มอกไปทั่วหน้า พ้นวิสัยที่จะพรรณนาด้วยถ้อยคำให้ทรงทราบได้ว่า ความยินดีที่ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในครั้งนี้มีแก่ชาวจังหวัดตราดสักเพียงใด ถ้าจะมีที่เปรียบได้ก็แต่ด้วยความยินดีของพระชาลีและนางกัณหา เมื่อได้กลับไปพบเห็นพระเวสสันดรและนางมัทรี..”
    พระพุทธเจ้าหลวงมีดำรัสตอบ มีข้อความตอนหนึ่งว่า
    “..ดูกรประชาชนอันเป็นที่รักของเรา ถ้อยคำซึ่งเจ้าทั้งหลายได้มอบฉันทะให้กล่าวเฉพาะหน้าเราเวลานี้ เป็นที่จับใจอย่างยิ่ง สมัยเมื่อเราต้องพลัดพรากเขตแดนอันเป็นที่พึงพอใจ ซึ่งเราได้ใส่ใจบำรุงอยู่ แลเมื่อนึกถึงประชาชนทั้งหลาย อันเป็นที่รักใคร่คุ้นเคยของเรา ต้องได้รับความเปลี่ยนแปลง อันประกอบไปด้วยความวิบัติไม่มากก็น้อย ย่อมมีความเสร้าสลดใจเป็นอันมาก
    เพราะฉะนั้น ครั้นเมื่อได้รับโทรเลขจากเมืองตราดในเวลาที่เราอยู่ในประเทศยุโรป เป็นสมัยที่เรามารวมอยู่กันอีก จึงมีความยินดีอย่างยิ่ง มีความปรารถนาที่จะใคร่มาเห็นเมืองนี้แลเจ้าทั้งหลาย เพื่อจะได้ระงับความลำบากอันใด ซึ่งจะเกิดขึ้นด้วยความเปลี่ยนแปลง แลเพื่อจะได้ปรากฏเป็นที่มั่นใจแก่เจ้าทั้งหลายว่า การทั้งปวงจะเป็นที่มั่นคงยืดยาวสืบไป
    เจ้าทั้งหลายผู้ที่ละทิ้งภูมิลำเนา จะได้กลับเข้ามาถิ่นฐานแลที่ได้เว้นการทำมาหากิน จะได้มีใจอุตสาหะทำมาหากินให้บริบูรณ์ดังแต่ก่อน แลทวียิ่งขึ้น ซึ่งเจ้าทั้งหลายคิดเห็นว่า เราเหมือนบิดาที่พลัดพรากจากบุตรจึงรีบมาหานั้น เป็นความคิดอันถูกต้องแล้ว ขอให้เชื่ออยู่ในใจเสมอสืบไปในเบื้องหน้า ดังเช่นที่คิดเห็นในครั้งนี้ ว่าเราคงจะเป็นเหมือนบิดาของเจ้าเสมอตลอดไป ย่อมยินดีด้วยในเวลาที่มีความสุข แลช่วยปลดเปลื้องอันตรายในเวลามีภัยได้ทุกข์..”
    หลังจากทรงเสด็จเยี่ยมเยียนชาวตราดและจันทบุรีแล้ว ขวัญกำลังใจของประชาชนทั้ง ๒ จังหวัดก็กลับคืนมา มีพลังที่จะประกอบอาชีพสร้างบ้านสร้างเมืองต่อไป
    ธ ส ถิ ต ใ น ด ว ง ใ จ ต ร า บ นิ รั น ด ร์
    น้อมศิระกราน กราบแทบพระยุคลบาท
    สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
    อันหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า
    fb. Once Upon A Time
    พสกนิกรชาวไทยผู้จงรัก และภักดี
    เรื่องเล่าจากภาพ :
    "รัชกาลที่ ๕ กับซาร์สุดท้ายแห่งรัสเซีย ๒"
    คณะของซาเรวิชนิโคลาสที่เดินทางมาสยามระหว่างวันที่ ๒๐-๒๔ มีนาคม ๒๔๓๔ ไม่ใช่คณะนักเดินทางจากรัสเซียคณะแรก
    ก่อนหน้านั้น ก็มีคณะนักเดินทาง นักสำรวจจากรัสเซีย ก็ได้มาเยี่ยมเยือนสยามประปราย จนต่อมา รัสเซียได้ส่งคณะนายทหารเรือเข้ามากระชับสัมพันธไมตรีอีกสองวาระ คือในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ และในปี พ.ศ. ๒๔๒๕
    ทางสยามก็ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในการมาเยือนครั้งที่ ๒ ผู้แทนจากรัสเซีย พลเรือตรี อัสลันเบกอฟ ได้มีโอกาสเข้าร่วมในงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๐๐ ปี และเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย
    อย่างไรก็ตาม รัสเซียก็ยังแทบจะไม่รู้จักสยามอยู่ดี ตามบันทึกของเจ้าชายอุคทอมสกี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้ติดตามซาเรวิชและเป็นผู้จดบันทึกเรื่องราวในการเดินทางครั้งนี้ เขียนไว้เมื่อมาถึงสยามว่า
    "...เราบ่ายหน้าสู่สยามประเทศ ดินแดนแห่งนี้แทบไม่เป็นที่รู้จักสำหรับเราเลย เราน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับแอฟริกากลางหรือชาวปาปัวนิวกินีดีกว่าด้วยซ้ำ..."
    แต่เมื่อถึงเวลาที่คณะซาเรวิชต้องออกเดินทางจากสยาม ในบันทึกของเจ้าชายอุคทอมสกี้ กลับเขียนไว้ว่า
    "...พรุ่งนี้แล้วที่พวกเราจำจะต้องกล่าวคำอำลาจากดินแดนแห่งความสุขนี้ไป ภาพอันน่าอัศจรรย์และตื่นเต้นมากมายที่เราได้เห็นตลอดสัปดาห์นี้ จะยังคงอยู่ในความทรงจำตลอดไป การจากประเทศสยามไปในคราวนี้ เหมือนกับต้องแยกจากเพื่อนสนิทที่เรารู้จักมักคุ้นมานาน และจะทำให้พวกเราอาลัยมาก"
    จากคนที่ห่างเหินกลายมาเป็นเพื่อนสนิท
    สยามทำอะไรในห้าวันนั้นบ้าง
    "ราวกับรับซาเรวิช"
    เป็นประโยคเปรียบเปรยติดปากผู้คนในสมัยนั้น เมื่อต้องการสัพยอกใครต่อใครที่ทำอะไรใหญ่โตหรูหรา เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่อลังการของการจัดการต้อนรับซาเรวิชในครั้งนั้น
    นับตั้งแต่เรือพระที่นั่งผ่านสันดอนปากแม่น้ำเข้ามายังท่าเทียบเรือ (ท่าราชวรดิฐ) ที่ประดับประดาอย่างงดงาม มีแผ่นป้ายเขียนต้อนรับเป็นภาษารัสเซีย เขียนโดยชาวลัตเวียที่มาแสวงโชคอยู่ที่นี่ กองทหารเกียรติยศสยามบรรเลงเพลงชาติรัสเซียรับเสด็จ
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายการต้อนรับซาเรวิชอยู่ใต้ซุ้มประตู
    หลังจากนั้นก็ทูลเชิญเสด็จสู่พระบรมมหาราชวัง มีการถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่ง มหาจักรีบรมราชวงศ์ อันเป็นเครื่องราชฯ ชั้นสูงสุดของไทย ที่สงวนไว้เฉพาะผู้มีกำเนิดเป็นเจ้านายชั้นสูงแก่ซาเรวิชด้วย เป็นการแสดงถึงความยินยอมพร้อมใจรับซาเรวิชเป็นสมาชิกของครอบครัวจักรี
    ในระหว่างที่ซาเรวิชประทับอยู่ที่สยามนั้น พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ ๓ แห่งรัสเซียก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เซนต์แอนดรูชั้นที่หนึ่ง อันเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของรัสเซียแด่รัชกาลที่ ๕ เช่นกัน
    ซาเรวิชได้มีโอกาสเสด็จฯ ไปเยี่ยมชมสถานสำคัญต่างๆ ในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็น วัดพระแก้ว ภูเขาทอง พระบรมมหาราชวัง แต่ที่เป็นไฮไลท์สำคัญจริงๆ อยู่ที่อยุธยา
    คณะจากรัสเซียได้เดินทางไปยังพระราชวังบางปะอิน มีการจัดงานปิกนิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชทานการรับรองในลักษณะของการปิกนิกแบบไทย ไปกันเป็นหมู่คณะราว ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ คน มีเรือเข้าร่วมขบวนเสด็จนับร้อย และที่สำคัญที่สุดคือ การจัดพระราชพิธีคล้องช้างที่เพนียด เป็นพระราชพิธีคล้องช้างที่สมบูรณ์แบบที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด และถือเป็นครั้งสุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์
    ในบันทึกของฝั่งรัสเซีย โดยเจ้าชายอุคทอมสกี้
    มองการต้อนรับที่พระราชวังบางปะอินนี้อย่างไร
    "...ห้องพักของพวกเราอบอวลด้วยกลิ่นหอมอ่อนๆ ของพันธุ์พฤกษา และน้ำอบอันรัญจวนใจ ความเป็นเจ้าของบ้านผู้เอื้อเฟื้อแบบชาวสยามนี้ เราเคยอ่านในบันทึกของนักเดินทางมาบ้าง แต่ก็เพิ่งจะค้นพบด้วยตัวเอง ในวันนี้มันคงเป็นความประทับใจที่คงจะลืมไม่ได้ง่ายนัก"
    "...ความประทับใจอย่างหนึ่งที่เราได้รับจากที่นี่ เกิดขึ้นราว ๕ โมงเย็นวันนี้ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมาพร้อมด้วยเจ้านายเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ ตลอดจนข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดทั้งหลาย ทุกคนลงไปยังลานกว้างหน้าพระที่นั่ง
    ตรงลานกว้างมีประชาชนมารอเข้าเฝ้าเป็นจำนวนมาก ถึงเป็นการรับเสด็จอย่างเรียบง่าย แต่ทุกคนก็กระทำด้วยน้ำใสใจจริง เป็นการแสดงความรู้สึกอันบริสุทธิ์ใจของผู้คนที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการเมืองเลย
    ...สัญชาตญานของชาวสยามผู้มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของพวกเขาเป็นอานิสงส์ที่ถูกเผื่อแผ่ไปยังองค์รัชทายาทของรัสเซียด้วย
    ภาพของการพบปะฉันมิตรและการแสดงความรักใคร่เห็นอกเห็นใจกันที่บางปะอิน ระหว่างสมเด็จพระบรมฯ กับชาวบ้านธรรมดาจะเป็นสักขีพยานให้รำลึกอยู่เสมอว่า มิตรภาพอันบริสุทธิ์ระหว่างเราชาวรัสเซียและชาวสยาม จะดำรงอยู่สืบไปชั่วกาลนาน ในความทรงจำของพวกเราและเขาทั้งหลาย...
    ...ต่อจากนั้น ก็มีชาวบ้านทั้งชายและหญิงอายุต่างๆ กัน...หอบหิ้ว "ของขวัญ" เข้ามาทูลเกล้าถวาย...ของที่นำมาถวายนั้นถึงจะเป็นของที่ไม่มีราคาค่างวด แต่ก็เป็นของที่ดีที่สุดที่พวกเขามีบางคนนำนกป่าหรือสัตว์เลี้ยงชนิดต่างๆ ใส่กรงมา บางคนมีผ้าทอแบบพื้นบ้าน บางคนมีหมอนอิง ที่ไม่ค่อยมีสมบัติอะไรก็ยังอุตส่าห์เก็บผักหรือผลไม้ชนิดงามๆ มาถวายเพื่อไม่ให้เสียกำลังใจ...
    ชาวบ้านทั้งหลายนี้คลานเข้ามาใกล้พระเจ้าแผ่นดินของพวกเขาอย่างเงียบสงัด...
    ทั้งๆ ที่มีคนจำนวนมากถึงสองพันคน
    พวกเขาทั้งหมดกก้มศีรษะลงกราบราวกับนัดกันไว้ วางของขวัญไว้เบื้องหน้า ...เท่านี้ก็เพียงพอสำหรับองค์สมเด็จพระบรมฯ (ซาเรวิช) ของเราที่พลอยได้รับความเคารพนับถือไปด้วย ทั้งที่ไม่มีใครรู้จักพระองค์เลย
    ...และเมื่อพวกเขาได้รับสัญญาณจากพระเจ้าอยู่หัวให้นำของขวัญเข้ามาใกล้พระองค์ ของทั้งหมดที่อาจดูมีราคาเพียงเล็กน้อย กลับกลายเป็นของมีค่ายิ่งในขณะนั้น
    แม้แต่รอยยิ้มพิมพ์ใจจากใบหน้าอันบริสุทธิ์ของพวกเขา ยังมีอำนาจพอที่จะทำให้บรรดานกและสัตว์เล็กๆ ทั้งหลาย มีความสำคัญขึ้นมาในทันทีทันใด
    มันเป็นภาพที่ทำให้เราตรึงอยู่กับที่.."
    เครดิต : ประวัติศาสตร์ชาติไทย
    (เครดิต ... Thai Tribune)
    พระอาจารย์น้ำ ฌานรโต
    Uc4Vuys03HOXvalE4V32MBLPanAytqboY&_nc_ohc=tsjO55_WgqEAX8rUPVH&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg
    =AZUdhU-ebnoG8Vo96MuY_rBVQP8PbZNB55K-XskF3s1TDefCNfDazM-289VL38ZbuSB5f5C34aEm2DG4XapCzqyR7MinqdsjLf2yRNnMmNFItkraDTaNfgFSqjIWxjNMtZWGPFI8Lf2Uetlj7csWSnRieTzl0g3ggQO6NhjnPU8xqEbljeCoKfwsCY6A7lAsxY0&__tn__=*bH-R']
    =AZUdhU-ebnoG8Vo96MuY_rBVQP8PbZNB55K-XskF3s1TDefCNfDazM-289VL38ZbuSB5f5C34aEm2DG4XapCzqyR7MinqdsjLf2yRNnMmNFItkraDTaNfgFSqjIWxjNMtZWGPFI8Lf2Uetlj7csWSnRieTzl0g3ggQO6NhjnPU8xqEbljeCoKfwsCY6A7lAsxY0&__tn__=*bH-R']

    kl26mPTCiZMpk8Kttk91bQtQ3uQ7iSCfy&_nc_ohc=QL0dhUsgqiIAX_yuD_N&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg
    =AZUdhU-ebnoG8Vo96MuY_rBVQP8PbZNB55K-XskF3s1TDefCNfDazM-289VL38ZbuSB5f5C34aEm2DG4XapCzqyR7MinqdsjLf2yRNnMmNFItkraDTaNfgFSqjIWxjNMtZWGPFI8Lf2Uetlj7csWSnRieTzl0g3ggQO6NhjnPU8xqEbljeCoKfwsCY6A7lAsxY0&__tn__=*bH-R']
    =AZUdhU-ebnoG8Vo96MuY_rBVQP8PbZNB55K-XskF3s1TDefCNfDazM-289VL38ZbuSB5f5C34aEm2DG4XapCzqyR7MinqdsjLf2yRNnMmNFItkraDTaNfgFSqjIWxjNMtZWGPFI8Lf2Uetlj7csWSnRieTzl0g3ggQO6NhjnPU8xqEbljeCoKfwsCY6A7lAsxY0&__tn__=*bH-R']

    pp0XQcFEAQyu7w4faPvYkUh4QZiCWobST&_nc_ohc=i9KFmMPRqKYAX_PSu9W&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-6.jpg
    =AZUdhU-ebnoG8Vo96MuY_rBVQP8PbZNB55K-XskF3s1TDefCNfDazM-289VL38ZbuSB5f5C34aEm2DG4XapCzqyR7MinqdsjLf2yRNnMmNFItkraDTaNfgFSqjIWxjNMtZWGPFI8Lf2Uetlj7csWSnRieTzl0g3ggQO6NhjnPU8xqEbljeCoKfwsCY6A7lAsxY0&__tn__=*bH-R']
    =AZUdhU-ebnoG8Vo96MuY_rBVQP8PbZNB55K-XskF3s1TDefCNfDazM-289VL38ZbuSB5f5C34aEm2DG4XapCzqyR7MinqdsjLf2yRNnMmNFItkraDTaNfgFSqjIWxjNMtZWGPFI8Lf2Uetlj7csWSnRieTzl0g3ggQO6NhjnPU8xqEbljeCoKfwsCY6A7lAsxY0&__tn__=*bH-R']

    =AZUdhU-ebnoG8Vo96MuY_rBVQP8PbZNB55K-XskF3s1TDefCNfDazM-289VL38ZbuSB5f5C34aEm2DG4XapCzqyR7MinqdsjLf2yRNnMmNFItkraDTaNfgFSqjIWxjNMtZWGPFI8Lf2Uetlj7csWSnRieTzl0g3ggQO6NhjnPU8xqEbljeCoKfwsCY6A7lAsxY0&__tn__=*bH-R'] FH9Bsb4dxwVklBe6idqAHTUfePidqZWpyQ-w11CiUGpx_e06KtOcgaxi-f6_Y&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg

    *************************
    ที่มา
    https://web.facebook.com/profile.php?id=100008986503613&locale=th_TH
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,929
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +70,548
    TqF0A0WCDhTjtfzHRyNFeBLNb_tBHSGbLSDYY73CVMI&_nc_ohc=bTeqnactY0QAX-IQRal&_nc_ht=scontent.fbkk22-8.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...