เรื่องเด่น สมาธิสัมโพชฌงค์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 19 มกราคม 2022.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,076
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    ?temp_hash=ea0694462f33e7d562fc0204fef46173.jpg


    TlxGD4oVrrEIItSQ0CbErGfr5O6WItUe0yqVra8Tcpkbet0J_enIjQmqquSoc&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-8.jpg


    สมาธิสัมโพชฌงค์เกิดเพราะเหตุปัจจัย
    ********************
    สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้ โดยนัยมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต (บาลีว่า สมาธินิมิต) อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตทั้งสองนั้น นี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์เต็มที่แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.
    ในนิมิตเหล่านั้น สมถะนั่นแล ชื่อว่าสมถนิมิตและอัพยัคคนิมิต เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน.
    ธรรมเป็นเหตุเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์
    อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการย่อมเป็นทางเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ
    ๑. ทำวัตถุให้สละสลวย
    ๒. การปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ
    ๓. ฉลาดในนิมิต
    ๔. ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง
    ๕. ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
    ๖. ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง
    ๗. เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย
    ๘. เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
    ๙. คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ
    ๑๐. พิจารณาและวิโมกข์
    ๑๑. น้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น.


    อธิบายธรรม ๑๑ ประการ
    ในธรรม ๑๑ ประการนั้น เฉพาะการทำวัตถุให้สละสลวย และการปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
    ความฉลาดในการกำหนดกสิณนิมิตเป็นอารมณ์ ชื่อว่าฉลาดในนิมิต. การประคองจิตไว้ ด้วยการตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์ในสมัยที่จิตหดหู่ เพราะมีความเพียรย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น ชื่อว่าประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง.
    การข่มจิตไว้ ด้วยการตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในสมัยที่จิตฟุ้งซ่าน เพราะปรารภความเพียรมากเกินไปเป็นต้น ชื่อว่าข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม.
    คำว่า ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรร่าเริง อธิบายว่า สมัยใด จิตไม่แช่มชื่นเพราะมีปัญญาและความเพียรอ่อนไป หรือเพราะไม่บรรลุสุขที่เกิดแต่ความสงบ สมัยนั้น ก็ทำจิตให้สลดด้วยพิจารณาสังเวควัตถุเรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด ๘ ประการ.
    เรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด ๘ ประการ คือ
    ๑. ชาติ ๒. ชรา ๓. พยาธิ ๔. มรณะ
    ๕. ทุกข์ในอบาย
    ๖. ทุกข์ในอดีตมีวัฏฏะเป็นมูล
    ๗. ทุกข์ในอนาคตมีวัฏฏะเป็นมูล
    ๘. ทุกข์ในปัจจุบันมีการแสวงหาอาหารเป็นมูล.
    อนึ่ง การทำความเลื่อมใสให้เกิด ด้วยมาระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันนี้ก็เรียกว่าการทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง.
    ชื่อว่า เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย อธิบายว่า สมัยใด จิตอาศัยการปฏิบัติชอบ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน แช่มชื่น เป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนินในสมถวิถี สมัยนั้นไม่ต้องขวยขวายในการประคอง ข่มและทำจิตให้ร่าเริง เหมือนสารถีไม่ต้องขวนขวาย ในเมื่อม้าวิ่งเรียบฉะนั้น อันนี้เรียกว่าเพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย.
    การเว้นบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่บรรลุอุปจาระหรืออัปปนา ให้ห่างไกล ชื่อว่าเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ.
    การเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจารภาวนา หรืออัปปนาภาวนา ชื่อว่าคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ.
    ความเป็นผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดสมาธิ ในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้น ชื่อว่าน้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์.
    ด้วยว่า เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นย่อมเกิดได้.
    เมื่อภิกษุรู้ชัดว่า ก็สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=5
    #สมาธิสัมโพชฌงค์

    https://web.facebook.com/TipitakaStudies
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,076
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา
    ***********
    [๙๘๒] ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว
    พึงกำจัดความพอใจในธรรมเหล่านี้
    ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล
    เป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด
    ...................
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25...
    บทว่า กาเลน โส สมฺมา ธมฺมํ ปริวีมํสมาโน ภิกษุนั้นพิจารณาธรรมโดยชอบโดยกาลอันสมควร คือภิกษุนั้นพิจารณาธรรมอันเป็นสังขตธรรมทั้งหมดโดยนัยมีความไม่เที่ยงเป็นต้นตามกาล ดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วโดยนัยมีอาทิว่า เมื่อยกระดับจิตขึ้นก็เป็นกาลของสมาธิ.
    บทว่า เอโกทิภูโต วิหเน ตมํ โส ภิกษุนั้นมีจิตแน่วแน่พึงกำจัดความมืดเสีย คือภิกษุนั้นมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเพื่อกำจัดความมืดมีโมหะเป็นต้นทั้งหมดเสีย ไม่มีสงสัยในข้อนี้.
    ........
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสารีปุตตสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=423
    ***********
    หมายเหตุ ศึกษาพึงเพิ่มเติมใน สารีปุตตสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    ว่าด้วยกาลแห่งสมถะและวิปัสสนา
    คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
    โยคี ใด ยกจิตไว้ในกาล(หนึ่ง)
    ข่มจิตในอีกกาลหนึ่ง ทำจิตให้รื่นเริงตามกาล
    ตั้งจิตให้มั่นในกาลเพ่งดูจิตตามกาล
    โยคีนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล
    การยกจิต ควรมีในกาลไหน
    การข่มจิตควรมีในกาลไหน
    กาลสำหรับทำจิตให้รื่นเริงควรมีในกาลไหน
    และกาลแห่งสมถะเป็นเช่นไร
    บัณฑิตย่อมแสดงกาลสำหรับเพ่งดูจิตของโยคีไว้อย่างไร
    การยกจิตควรมีในเมื่อจิตย่อหย่อน
    การข่มจิตควรมีในเมื่อจิตฟุ้งซ่าน
    โยคีควรทำจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงทุกเมื่อ
    จิตรื่นเริง ไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่านย่อมมีในกาลใด
    ในกาลนั้นก็เป็นกาลแห่งสมถะ
    ใจพึงยินดีอยู่ภายในโดยอุบายนี้เอง
    เมื่อใดจิตตั้งมั่น เมื่อนั้นโยคีพึงรู้จิตที่ตั้งมั่น แล้วพึงเพ่งดูจิต
    นักปราชญ์รู้จักกาล ทราบกาล ฉลาดในกาล
    พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต โดยควรแก่กาล อย่างนี้
    คำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
    คำว่า ธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า ภิกษุนั้น ... เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ซัดส่าย คือ สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ รวมความว่า เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น
    คำว่า ภิกษุนั้น ... พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ภิกษุพึงขจัด พึงกำจัด คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะโทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืด
    เพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต อันทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
    ……………..
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=16
    และดูเพิ่มใน อรรถกถาสารีปุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=881...


    tJD2_PuHxzv8_&_nc_ohc=zADDY3cSDJ0AX-y_ZdV&tn=6cH58Tvc5DnXEYO9&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-7.jpg
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,076
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อบรรลุความเป็นพระอรหันต์
    ***************
    ...ส่วนในกายานุปัสสนานี้ ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้น มีความประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้วบรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแล ให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี) ด้วยอาการ ๕ อย่าง กล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง สมาปัชชนะ การเข้า อธิฏฐานะ การตั้งใจ วุฏฐานะ การออก และ ปัจจเวกขณะ การพิจารณา แล้ว กำหนด รูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้าแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา.
    ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
    แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป.
    อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้นครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ในบรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุและทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.
    อีกอย่างหนึ่ง เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลมย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้นของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกและกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
    ครั้น เธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.
    เธอนั้น ข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณากลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ) กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึงภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปในสรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
    เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปานกรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.
    ................
    สมันตปาสาทิกา มหาวิภังคอรรถกถา
    วิ.มหา.อ. (ไทย) ๒/๓๗๐-๓๗๑ มหามกุฏ ฯ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=176&p=2
    ADRmdw3DBqwkDO_BODZ5QYRYUxFx_2Ukq&_nc_ohc=Xra9zyKe6OwAX85CLWB&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-8.jpg
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,076
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,154
    ค่าพลัง:
    +70,588
    โพชฌงคบรรพ
    อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรคมหาสติปัฏฐานสูตร

    หน้าต่างที่ ๕ / ๖



    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนาโดยอายตนะภายในภายนอก อย่างละ ๖ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยโพชฌงค์ จึงตรัสว่า ปุน จปรํ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในโพชฌงค์ทั้งหลาย คือในองค์ของสัตว์ผู้ตรัสรู้.
    บทว่า มีอยู่ คือมีพร้อมอยู่ โดยการได้มา.
    บทว่า สติสัมโพชฌงค์ ได้แก่ สัมโพชฌงค์ กล่าวคือสติ.
    พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า สัมโพชฌงค์ นี้ดังนี้
    พระโยคาวจรตรัสรู้ จำเดิมแต่เริ่มวิปัสสนา หรือพระโยคาวจรนั้นตื่นลุกขึ้นจากกิเสสนิทรา หรือแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ด้วยธรรมสามัคคี ๗ มีสติเป็นต้นอันใด ธรรมสามัคคีอันนั้น ชื่อว่าสัมโพธิ. องค์ของผู้ตื่นนั้น หรือธรรมสามัคคีเครื่องปลุกให้ตื่นนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่าสัมโพชฌงค์. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สัมโพชฌงค์ กล่าวคือสติ. แม้ในสัมโพชฌงค์ที่เหลือ ก็พึงทราบความแห่งคำตามนัยนี้แล.
    บทว่า ไม่มีอยู่ คือ ไม่มีเพราะไม่ได้มา.
    วินิจฉัยในคำว่า ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิด เพราะเหตุใดเป็นต้น ดังต่อไปนี้
    ก่อนอื่น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดตามนัยอันมาในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในสติสัมโพชฌงค์นั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางไพบูลย์จำเริญบริบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไปแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว.
    ในธรรมเหล่านั้น สตินั้นแหละชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์. โยนิโสมนสิการมีลักษณะดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ ในอารมณ์นี้แล้ว สติสัมโพชฌงค์ก็เกิด.


    ธรรมเป็นเหตุเกิดสติสัมโพชฌงค์
    อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๔ ประการ เป็นทางเกิดสติสัมโพชฌงค์ คือ
    ๑. สติสัมปชัญญะ
    ๒. การเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม
    ๓. การคบหาบุคคลผู้มีสติมั่นคง
    ๔. ความน้อมจิตไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น.


    ก็สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดด้วยสติสัมปชัญญะในฐานทั้ง ๗ มีก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ด้วยการงดเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม เช่นเดียวกับกาตัวเก็บอาหาร ด้วยการคบหาบุคคลผู้มีสติมั่นคง เช่นเดียวกับพระติสสทัตตเถระและพระอภัยเถระเป็นต้น และด้วยความเป็นผู้มีจิตโน้มน้อมไปเพื่อตั้งสติในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้น.
    ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็สติสัมโพชฌงค์นั้นอันเกิดแล้วด้วยเหตุ ๔ ประการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
     

แชร์หน้านี้

Loading...