กรรมฐานที่เหมาะกับนักธุรกิจนักศึกษา(หลวงปู่พุธ ฐานิโย)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 4 พฤษภาคม 2012.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ปัญญาเห็นชัด ถึงสภาวะธรรมที่ปรากฏ
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    การพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความตั้งใจ
    โดย ยึดเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    เป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ

    คิด พิจารณาซ้ำๆซากๆ อยู่นั้น
    จนจิตของท่านคล่อง ต่อการพิจารณา
    แล้วย่อมจะเกิดมีความสงบ
    มีปิติ มีความสุข
    สามารถดำเนินจิตเข้าไปสู่สมาธิตามขั้นตอนได้
    เช่นเดียวกันกับบริกรรมภาวนาพุทโธ
    หรือ ยุบหนอ พองหนอ เป็นต้น

    เพราะ ฉะนั้น เข้าใจว่า การปฏิบัติ แบบนี้
    หรือ การพิจารณาธรรมมะแบบนี้
    เข้าใจว่า จะไม่มีอุปสรรคอันใด ขัดขวาง
    เมื่อเวลาท่านอยู่ว่างๆ ไม่ได้ทำอะไร
    เอาวิชาความรู้ของท่านนั้นมาเป็นอารมณ์ของจิต
    มาเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ
    ตั้งใจกำหนดพิจารณาไปตามเรื่องราวที่ท่านได้เรียนมา

    ซึ่งท่านสามารถที่จะจดจำ
    สามารถที่จะพิจารณาได้กว้างขวางพิศดารเพียงใดแค่ไหน
    พิจารณาไปตามภูมิแห่งความรู้ของท่านที่เรียนมาแล้ว
    แล้วก็สามารถที่จะทำจิตให้สงบลงเป็นสมาธิได้

    เมื่อเวลาท่านทำงาน
    เอาจิตไปจดจ้องอยู่ที่งาน
    จะเป็นงานอะไรก็ได้ เอาจิตไปรู้อยู่ที่งานที่ท่านทำ
    เอาสติไประลึกอยู่ที่งาน ที่ท่านทำ
    ด้วยความจดจ้อง ด้วยความตั้งใจ

    จิตกับสติ อย่าให้พรากจากกัน
    ให้จดจ้องอยู่ที่งานที่ท่านทำนั้น

    แล้วงานนั้นจะกลายเป็นอารมณ์ของจิต
    เป็นเครื่องรู้ของจิตเป็นเครื่องระลึกของสติ
    เป็นฐานสร้างสติ ให้เป็น มหาสติปัฏฐานได้
    สามารถที่จะยังสมาธิ ให้มีปีติ มีความสุข
    แหล่ะมีความสงบละเอียด
    ไปตามขั้นตอนของสมาธิได้

    วิธีการปฏิบัติแบบนี้

    เข้าใจว่า จะเหมาะสมกับ นักศึกษา แหล่ะ นักธุรกิจ

    (อ่านต่อตอนต่อไป)​
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ( ต่อจากตอนที่แล้ว )

    ตามที่ เราเคยได้ยินได้ฟัง
    เกี่ยวกับการอบรมจิต อบรมกรรมฐาน
    เห็นจะเป็น เพราะว่า

    พระคุณเจ้า ครูบาอาจารย์ ที่ท่าน ให้การอบรมสั่งสอน
    ท่านเรียนมาแต่ในสายศาสนา ในสายธรรมมะ
    บางทีท่านอาจจะเข้าใจว่า วิชาความรู้ ที่เรียนมานั้น
    ไม่ใช่ธรรมมะ ที่ควรเป็นคู่ของใจ หรือ เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน
    ท่านจึงได้อบรมสั่งสอนแต่บริกรรมภาวนาบ้าง

    หรือ
    ให้สร้าง อะไรเป็นดวงแก้ว ดวงแหวนอะไรขึ้นมาบ้าง<O:p</O:p

    แหล่ะก็มุ่ง ตรง ต่อการเห็นรู้ต่างๆ ซึ่งเป็นภาพนิมิต<O:p</O:p

    หรือ ความรู้ที่ผุดขึ้นมา ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา

    อันนี้เข้าใจว่า จะอยู่ในวงแคบมากเกินไป
    แม้ว่า ผู้ภาวนา อาจจะสร้างนิมิต
    เป็นดวงอะไรขึ้นมาได้ก็ตาม
    หรือ อาจจะเห็นภาพนิมิตต่างๆก็ตาม
    หรือ สามารถที่จะทำจิตให้บรรดาล
    เกิดภูมิความรู้ขึ้นมามากมายก่ายกองสักเพียงใดก็ตาม<O:p</O:p

    แต่สิ่งเหล่านั้นจะเป็นแต่เพียง สภาวะธรรม
    เป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติเท่านั้น<O:p</O:p

    แต่ถ้าใครไปยึดเอาความรู้ความเห็น ความเป็นเช่นนั้น<O:p</O:p

    เป็นสาระแก่นสารในการปฏิบัติ
    ไม่ยึดเอา ตัวสติ ที่มีความมั่นคง
    ซึ่งสามารถรู้เท่าทันเหตุการณ์ภายในจิต
    ทั้งภายนอกแหล่ะภายในได้
    ก็ยังชื่อว่า ยังจับหลักการปฏิบัติไม่ได้แน่นอน<O:p</O:p

    เพราะฉะนั้น
    สมาธิอันใด ที่เราฝึกฝนอบรมแล้ว
    ที่สามารถ
    ที่จะเอาไปใช้ในกิจการงานต่างๆได้
    เช่น
    อย่างจะใช้พลังจิต ในการศึกษา
    ใช้พลังจิตในการวิจัยอะไรต่างๆ
    หรือ
    ใช้พลังจิตในการทำงาน
    คือความ มีสติ จดจ้อง อยู่ในสิ่งที่เราคิด เราทำ เราพูด
    ตลอดทุกอิริยาบท มีสติ ตามรู้ตามเห็น
    ตามทันความเคลื่อนไหวกาย วาจา แหล่ะใจได้ตลอดเวลา
    อันนี้ต่างหากซึ่งเป็นจุดที่เราต้องการ ในการปฏิบัติ <O:p</O:p


    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 พฤษภาคม 2012
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)​

    ทีนี้

    ถ้าหากว่า ท่านปฏิบัติว่าโดยแนวที่
    วิตก ถึงวิชาความรู้ ที่ท่านเรียนมา
    แล้วเอามาเป็นอารมณ์ของใจ
    ทำสติ ทำจิตรู้อยู่ที่สิ่งนั้น แล้วทำสติรู้อยู่กับสิ่งนั้น
    แล้ว จิต กับ สตินี้ ไม่ให้พรากจากกัน
    จนสามารถ ค้นคิดพิจารณาทำจิตให้สงบลงเป็นสมาธิ
    มี ปิติ มีความสุขเกิดขึ้นมาได้ผลที่จะพึงได้

    หนึ่ง ทำให้ท่านมีความรู้ความเข้าใจ
    ในวิชาการที่ท่านเรียนมาแล้วนั้นกระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น
    แหล่พิศดารกว้างขวางยิ่งขึ้น<O:p</O:p

    ประการที่สอง
    เมื่อท่านนึกถึงสิ่งที่ท่านจะต้องคิดเวลาใด
    จิตของท่านจะไปจดจ้อง
    สติของท่านจะไปตามรู้ตามรู้สิ่งที่ท่านคิด
    แล้วความคิดของท่านจะเกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ
    สมรรถภาพของจิต ของท่าน
    สามารถที่จะปฏิวัติไปสู่การค้นคว้าพิจารณา
    สิ่งที่ท่านต้องการรู้ได้โดยอัตโนมัติ
    อันนี้เป็นผลอันหนึ่ง<O:p</O:p

    ประการที่ สาม
    สามารถทำจิตของท่านให้สงบ มีสมาธิ มีปิติ มีความสุข <O:p</O:p

    ประการที่สี่
    สามารถแก้ไขปัญหาหัวใจของท่านเองได้
    สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันได้
    สามารถแก้ไขปัญหางานการที่ท่านทำและรับผิดชอบอยู่ได้
    นี่คือผลที่จะพึงเกิดขึ้นในการปฏิบัติดังที่กล่าวมาแล้วนี้<O:p</O:p

    อาตมะขอให้หัวข้อว่าการปฏิบัติกรรมฐานแบบนี้
    เรียกว่า ปฏิบัติกรรมฐานชนิดที่ไม่มีอุปสรรค์ใดๆ มาขัดขวาง
    เพราะเราเอาวิชาความรู้แหล่ะงานการที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน
    จะเป็นอะไรก็ได้ มาเป็นอารมณ์ของจิตมาเป็นเครื่องระลึกของสติ

    รวมความแล้วว่า

    ท่านคิดอะไรทำสติ
    ท่านทำอะไรก็ทำสติ
    ท่านพูดอะไรก็ทำสติ
    ทำสติอย่างเดียวเท่านั้น
    ในเมื่อท่านอบรมสติของท่านให้มีสมรรถภาพเข้มแข็งขึ้น
    โดยธรรมชาติ ของจิต ของคนเราเนี๊ยะ
    ในเมื่อจิตมีสิ่งรู้สติมีสิ่งระลึก
    ย่อมสามารถสร้างจิตให้เกิดความสงบ
    แหล่ะมี สติ สัมปชัญญะดีขึ้นเรื่อยๆ

    ในขั้นแรกก็สามารถจะมีสติเพียงแค่ยับยั้ง<O:p</O:p

    ในเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ
    ถ้าสติตัวนี้เพิ่มกำลังขึ้นเป็น สติพละ
    ก็สามารถที่จะทรงตัวอยู่ได้ ในสภาพปกติในเมื่อถูกอารมณ์มากระทบ

    ถ้าสติเพิ่มกำลังขึ้นเป็น สตินทรี
    ในเมื่อมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นภายในจิตทั้งภายนอกและภายใน
    จิตของท่านจะสามารถปฏิวัติไปสู่การค้นคว้า
    การพิจารณาเอง โดยที่ท่านไม่ได้ตั้งใจ
    <O:p</O:p

    แหล่ะ ผลสุดท้าย
    สติของท่านจะกลายเป็นสติวินะโย

    จิตของท่าน มีสติเป็นผู้นำ
    พอนึกถึงเรื่องอะไรปั๊ป สติมันจะตามทัน<O:p</O:p

    ทุกอิริยาบท ทุกลมหายใจ สติจะมาจดจ้องอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แหล่ะ ใจ<O:p</O:p

    เมื่อมีอะไรผ่านเข้ามา สติจะรู้ทันทันที นอกจากจะรู้ทันแล้ว
    ยังสามารถจะวิจัย วิจาร เรื่องนั้นๆให้เกิดผลลัพธ์ขึ้นมาได้เป็นที่พอใจ<O:p</O:p

    (อ่านต่อตอนต่อไป)<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 พฤษภาคม 2012
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    วันนี้
    ขอเสนอแนะ วิธีทำสมาธิ โดยเอาอารมณ์ในปัจจุบัน

    หรือ

    เอาวิชาความรู้ ที่ท่านเรียนมา มาเป็นอารมณ์
    แหล่ะ พร้อมๆกันนั้น

    ท่านไม่ต้องไปนึกว่า

    สิ่งนี้ไม่เที่ยง สิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้เป็นอนัตตา

    สิ่งนี้เป็นของปฏิกูล สิงนี้เป็นของน่าเกลียด

    สิ่งนี้เป็นของโสโครก ไม่ต้องไปนึกอะไรทั้งนั้น


    แม้เรื่องราวที่ ไม่มีคำว่า ธรรมมะ เจือปนอยู่ก็ตาม

    สิ่งเหล่านั้นเป็นสภาวะธรรมทั้งนั้น

    ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นสภาวะธรรม
    สิ่งนั้นก็ควรที่จะเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ

    เพื่อย้ำให้ท่านเข้าใจอย่างลึกซึ้งลงไป

    ขอตั้งปัญหา ถามว่า
    ที่ท่านเรียนรู้วิชาความรู้มา ทุกสาขาวิชา ตามที่ท่านเรียนจบมาแล้ว

    ท่านอาศัย การดูด้วยตาใช่มั๊ย ?

    การเห็นด้วยตาคือการอ่าน

    การได้ยินด้วยหูคือมีผู้สอน

    การสัมผัสด้วยกายคือใช้มือเขียน

    ถ้าสิ่งนั้น มีกลิ่น มีรส ท่านก็สัมผัสด้วยลิ้น

    แล้วจิตของท่านเก็บเอาไว้เป็นความรู้ สะสมความรู้ไว้
    จนกระทั่ง จนสามารถ มีภูมิความรู้ อยู่ในระดับ ปัญญาชน
    จนสามารถ เอาวิชาความรู้นั้น ไปสอบเอาใบประกาศนียบัตร
    ตามขั้นภูมินั้นๆ ที่ท่านเรียนผ่านมา

    ดังนั้น ในฐานะสิ่งเหล่านี้
    เป็นสิ่งที่ผ่านเข้ามา ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายแหล่ะใจ

    เราเห็นด้วยตา
    เราได้ยินด้วยหู

    เราสัมผัสด้วยกาย
    แหล่ะเราจดจำไว้ด้วยจิตด้วยใจ

    สิ่งนั้น จึงเป็น สภาวะธรรม

    ซึ่งได้ในคำว่า " สัพเพธรรมมาอนัตตา "
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็น อนัตตา ด้วยกันหมดทั้งสิ้น

    แม้ว่าคำว่า ธรรมมะ จะไม่มีเจือปนอยู่ก็ตาม

    ถ้าหากว่า ท่านพยายามที่จะปฏิบัติ ตามแนวทางที่เสนอแนะนี้
    จะไม่มีอุปสรรค์ใดๆมาขัดขวางการปฏิบัติของท่าน

    จะมีอยู่อย่างเดียว ก็คือ

    ความพากเพียรพยามน้อยเท่านั้นเอง

    วันนี้ ขอกล่าวธรรมมะพอเป็นคติเตือนใจสำหรับท่านผู้ฟังเพียงแค่นี้
    แล้วก็ขอฝากท่านทั้งหลายไว้พิจารณา
    แล้วก็พยายาม ปฏิบัติตามแนวทางดังที่ ได้เสนอแนะนี้
    ถ้าหากว่าท่านผู้ใดปฏิบัติได้ผลอย่างไร
    ท่าจะกรุณาจดหมายให้ทราบด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

    เพราะในสมัยปัจจุบันนี้
    การปฏิบัติธรรมเนี๊ยะ
    รู้สึกว่า ใครๆก็อ้าง ว่า

    มีอุปสรรค์

    ไม่ว่างบ้างละ

    งานมากบ้างล่ะ

    เพราะฉะนั้น

    จึงเสนอแนะ ให้เอา วิชาความรู้แหล่ะงานการที่เรียนมา
    แหล่ะทำอยู่นั่นแหล่ะเป็นอารมณ์ของกรรมฐาน

    เพราะสิ่งนั้น

    สามารถที่จะเป็นเครื่องหมายแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ตามพระไตรลักษณ์ได้

    ในเมื่อ หู ตา จมูก ลิ้นกายใจ มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    สิ่งที่ผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายแหล่ะใจ ก็ย่อมเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    แหล่ะ สภาวะธรรม ทั้งหลายเหล่านั้น
    เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ยึดเป็นหลัก

    คือ เป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ

    ในเมื่อจิตของเรามีเครื่องรู้ สติมีเครื่องระลึก
    แม้จะมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น รู้อยู่เพียงอย่างเดียว
    เราก็สามารถที่จะรู้อะไรดีดี กว้างขวาง พิศดาร ออกไปได้
    โดยไม่มีวงจำกัดขอบเขต

    ดังนั้น

    จึงขอฝาก คติไว้ สำหรับ ท่านผู้ฟังเพียงแค่นี้
    ในท้ายที่สุดนี้ ขอความปราถนาดี
    แหล่ะ ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย
    จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบความสำเร็จ
    ในสิ่งที่ตนปราถนาโดยทั่วกัน
    ขอยุติเพียงแค่นี้

    (จบไฟล์นี้เพียงแค่นี้)
    นิพพาน นิพพาน นิพพาน​
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    คุณ นวะจิต ลองอ่านคำแนะนำของหลวงปู่พุธ ฐานิโยดูครับ
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
     

แชร์หน้านี้

Loading...