ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    รายงานวันนี้ (17พค.64)
    FB_IMG_1621257242496.jpg FB_IMG_1621257245052.jpg
    ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9,635 ราย
    มีผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 9 ราย

    ติดเชื้อในประเทศ 9,626 ราย
    ค้นหาเชิงรุก 953 ราย
    เป็นผู้ป่วยในระบบบบริการและสอบสวนโรค 1,820 ราย
    เป็นผู้ป่วยในเรือนจำ 6,853 ราย
    เป็นผู้ป่วยในกทม. 4,704 ราย
    เป็นผู้ป่วยในปริมณฑล 567 ราย
    เป็นผู้ป่วยในจังหวัดอื่นๆ 4355 ราย
    หายป่วย 1,397 ราย
    มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 25 ราย


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    หมอจุฬาฯเผยไม่พบรายงานจังหวัดติดโควิด อาจไม่ใช่ไม่มีหรือติดเชื้อน้อย

    https://www.hfocus.org/content/2021/05/21665

    #hfocus #โควิด

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    การแพร่ระบาดอย่างหนักของโรคไวรัสโควิด-19 ทำให้ประเทศอินเดียเผชิญกับภาวะติดเชื้อราดำ (Mucormycosis) ซึ่งปกติเป็นโรคที่พบน้อยมากๆ

    มีรายงานแพทย์ในประเทศอินเดียพบโรคติดเชื้อราดำบ่อยขึ้น ที่บริเวณโพรงจมูก ไซนัส ลุกลามเฉียบพลันเข้ากระดูก เบ้าตา และสมองในคนที่กำลังป่วยหรือหายป่วยจากโรคโควิด-19 การรักษาโรคติดเชื้อราดำยากมาก ต้องให้ยาฆ่าเชื้อราทางเส้นเลือดเป็นเวลานาน บางคนต้องผ่าตัดกระดูก และเอาลูกตาออก ผู้ป่วยภาวะติดเชื้อจากราดำมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก

    เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เชื้อราจะปล่อยสปอร์ล่องลอยอยู่ในอากาศ (ดูรูปภาพสปอร์หลายชนิดของราดำ) เมื่อคนหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราเข้าไปในโพรงอากาศในจมูก ไซนัส เชื้อราจะเจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็วในคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ

    ปัจจุบันแพทย์ทั่วโลกให้สเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบของปอดจากโรคไวรัสโควิด-19 การให้สเตียรอยด์ ถ้าให้ขนาดสูง และเป็นเวลานาน มีผลเสียทำให้ภูมิต้านทานต่ำ และน้ำตาลในเลือดสูง เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อราดำ

    วิธีป้องกันการติดเชื้อราดำ คือป้องกันตัวเองไม่ให้ป่วยจากโรคไวรัสโควิด-19 ด้วยการรีบไปฉีดวัคซีนกันทุกคน

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    การเรียนรู้บทเรียนความผิดพลาดจากการระบาดของ COVID-19 ในอินเดีย
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 15/05/21

    สิ่งที่เกิดขึ้นในอินเดียคงสร้างความหวาดหวั่นให้แก่ผู้คนในหลายๆแห่งทั่วโลก ถึงความโหดรัาย ภัยของโรคระบาดใหญ่ Covid-19 สิ่งที่ Covid-19 ทำกับอินเดียให้อยู่ในสภาพที่เลวร้ายขนาดนี้ มีบทเรียนหลายๆอย่างที่เราจะต้องรีบเรียนรู้เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้สิ่งที่เกิดขึ้นในอินเดียไม่มาเกิดขึ้นในไทย ในขณะที่เรากำลังรับภาระที่หนักมากขึ้นในการระบาดระลอกสามในประเทศไทย

    บทเรียนที่หนึ่งจากอินเดียคือการเมือง ประเทศอินเดียจัดเป็นประเทศประชาธิปไตยใหญ่ที่สุดของโลกด้วยพลเมืองจำนวน 1,400 ล้านคนเท่ากับประเทศสังคมนิยมอย่างจีน การจัดการการระบาดของ Covid-19 ที่ล้มเหลวของอินเดียสร้างความอับอายให้ระบบประชาธิปไตยเมื่อได้เห็นถึงความสำเร็จของจีนที่จัดการโรคระบาดได้อย่างเป็นระบบ เด็ดขาด ตามแบบฉบับสังคมนิยม

    การจัดการที่ล้มเหลวของ Covid-19 ในอินเดียเกิดจากความผิดเพี้ยนของระบบประชาธิปไตย ความจริงรัฐบาล Modi เป็นรัฐบาลมีอำนาจที่มากที่สุดในรอบ 30 ปีของอินเดียเพราะชัยชนะติดต่อกันหลายๆครั้งมีเสียงในสภาอยู่มาก ในระดับรัฐพรรคของนาย Modi ก็สามารถชนะการเลือตั้งได้เป็นส่วนใหญ่ แต่นาย Modi บริหารอำนาจที่ได้มาจากระบอบประชาธิปไตยไม่เป็น แต่งตั้งรัฐมนตรีสาธารณสุขที่ไร้ความสามารถ รัฐมนตรีสาธารณสุขผู้มีความเชื่อว่าปัลสาวะวัวรักษา Covid-19 ได้

    นายก Modi จัดการการระบาดในระลอกได้ดีโดยทำการ lockdown ถึง 2 ครั้ง แต่ก็ปล่อยให้การระบาดจากเมืองใหญ่แพร่ไปทั่วชนบทของอินเดีย โดยไม่มีการวางแผนที่ดี ปล่อยให้แรงงานนับล้านอพยพจากเมืองใหญ่เมื่อตกงานเพราะ Covid-19 กลับบ้านในชนบทพร้อมนำ COVID-19 กลับไปท้องถิ่น

    รัฐบาล Modi ยังไม่มีวิสัยทัศน์ในเรื่องการผลิตวัคซีน ทำให้วัคซีนขาดแคลนทั้งๆที่เคยเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก

    รัฐบาลอินเดียวางแผนผิดพลาด เพราะบังคับให้ serum institute of india ผลิตและขายวัคซีน COVID 19 คือ Covishield ด้วยราคาถูกคือให้ขายในราคา 200 rupee ต่อ dose จากที่บริษัทเสนอไป ที่ราคา1,000 rupee ( 13 ดอลลาร์) ต่อ dose ทำให้บริษัทขาดเงินทุนซื้อวัสดุดิบและขยายกำลังการผลิตจาก 60 ล้านต่อวันเป็น 100ล้าน doseต่อวันไม่ได้ ขณะนี้กลายเป็นว่าอินเดียจะต้องสั่งเข้าวัคซีนเพื่อเพิ่มจำนวนวัคซีนที่จะใช้ในประเทศ อินเดียฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ 9% ของประชาชน

    อินเดียประเทศที่สามารถผลิตวัคซีนได้เอง เคยฉีดวัคซีนได้วันละ 3 ล้าน dose คิดจำนวนที่ฉีดมากเป็นอันดับสามรองจากอเมริกาและจีน แต่ระยะหลังฉีดได้น้อยลงเพราะขาดแคลนวัคซีน รัฐบาล Modi ประเมินจำนวนวัคซีนที่จะใช้ผิดพลาด

    ความผิดพลาดสำคัญที่สุดคือรัฐบาลปล่อยให้มีการรวมตัวรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เพราะเป็นห่วงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แทนที่จะเป็นห่วงชีวิตของประชาชนจำนวนมาก

    รัฐบาลอินเดียมีอำนาจเหลือล้นเพราะคะแนนเสียงที่ได้ในสภา แต่บริหารอำนาจไม่เป็น เป็นตัวอย่างที่เราจะต้องเรียนรู้ความสำคัญของการบริหารอำนาจที่มีอยู่ในระบบประชาธิปไตยในยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤติ ในยามฉุกเฉิน สิ่งที่เราเห็นก็คือประเทศสังคมนิยมเก่าอย่างจีน เวียดนาม และยุโรปตะวันออกกในช่วงเเรกของการระบาดของ COVID-19 ใช้อำนาจได้อย่างดี อย่างเด็ดขาดตามระบบสังคมนิยม

    ความจริงในระบอบประชาธิปไตยรัฐบาลก็สามารถใช้อำนาจที่เด็ดขาด และมี line command ที่ชัดเจน ไม่แตกกระจายได้ แต่ต้องขึ้นอยู่ที่ความสามารถของผู้นำและนักการเมืองที่อยู่ในระบบ
    ดังจะเห็นได้จากในภาวะวิกฤติสงครามโลกครั้งที่สอง อังกฤษประเทศประชาธิปไตยโชคดีที่ได้ Siir Winston Churchil เป็นผู้นำ เพราะมีความสามารถมีวิสัยทัศน์ และในภาวะวิกฤตินักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลของอังกฤษสามัคคีกันเพื่อช่วยบ้านเมืองให้อยู่รอด

    นายก Modi ของอินเดียบริหารอำนาจผิดพลาดยอมให้ชาวอินเดียที่เป็นฮินดูรวมตัวกันนับแสนนับล้านคนรวมตัวกันทำพิธีโดยไม่สั่งห้าม เพราะกลัวเสียคะแนนเสียง แต่ประนามคนมุสลิมที่นับถืออิสลาม 3,000 คนที่รวมตัวกันในพิธี Ramadon

    ในพิธี Kumbl Mela ในตอนต้นเดือนเมษายนที่รัฐอุตตรวิหาร มีคนมารวมกันถึง 9 ล้านคนภายในเวลา 3 วัน และมี superspreaader เดินทางกลับบ้านด้วยรถไฟที่แออัดนำเชื้อ COVID 19 สายพันธ์ใหม่ไปแพร่ทั่วประเทศ

    ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนรัฐมนตรีสาธารณสุขถึงอันตรายของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในตอนปลายเดือนมีนาคม แต่ท่านรัฐมนตรีไม่ให้ความสนใจเพราะช่วงนั้นตัวเลขคนติดเชื้อใหม่ลดลงมาก

    ประชาชนในรัฐ วนาราษี ซึ่งเป็นถิ่นของนายก Modi แสดงความโกรธเเค้นรัฐบาลนาย Modi ที่ปล่อยให้คนป่วย คนตายจาก COVID-19 จำนวนมาก จากการที่เคยเป็นที่นิยมของประชาชน ความผิดพลาดทำให้ประชาชนโกรธเเค้นโดยเฉพาะคนชั้นกลางซี่งมีเสียงดัง เขารู้สึกว่าถูกรัฐบาลทอดทิ้ง ปกติคนชั้นล่างของอินเดียก็เคยชินกับการทอดทิ้งโดยรัฐบาลอยู่แล้ว

    รัฐบาลนาย Modi ยังอนุมัติเงินจำนวนมากสร้างรัฐสภาและบ้านพักของคณะรัฐมนตรี และยังเปลี่ยนนโยบายการพึ่งตัวเอง เปิดรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

    บทเรียนจากอินเดียอีกบทก็คือการที่ประชาชนบางส่วนไม่มาฉีดวัคซีนในเข็มที่สอง อินเดียฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ประชาชนได้ 9% แต่ฉีดวัคซีนได้ครบสองเข็มเพียง 2%

    ปัญหาการขาดแคลนออกซิเจนในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทำให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ออกซิเจนต้องหยุดทำงาน ประชาชนต้องช่วยเหลือตัวเองด้วยการซื้อหาถังออกซิเจน ออกซิเจนหาซื้อได้ยากขึ้นและราคาแพงขึ้น

    บทเรียนที่เราต้องเรียนรู้กคือจะต้องหาวิธีให้ประชาชนมาฉีดเข็มที่สองให้ได้มากที่สุด การฉีดเข็มสองมีความสำคัญมากสำหรับผู้ฉีดวัคซีน Sinovac เพราะการฉีดเพียงเข็มเดียวให้ประสิทธิภาพตำ่มากเพียง 16%

    ในวันแรกของการฉีดวัคซีนในอินเดีย ในวันที่ 12 มกราคม 2021 มีคนมาฉีดวัคซีน 191,000 คน แต่ 4 สัปดาห์ต่อมาคนที่มาตามนัดเพื่อฉีดวัคซีนเข็มที่สอง มาตามนัดเพียง 4%

    อินเดียไม่เรียนรู้จากบทเรียนการระบาดใหญ่ของ Spanish Flu ในอินเดียเมื่อ 100 ปีก่อนที่ทำให้คนอินเดียเสียชีวิตจำนวนมาก

    สภาพการเผาศพในกรุงอินเดีย Delhi สะท้อนภาพให้เห็นสภาพที่เกิดขึ้นที่เมีอง Mumbai เมื่อหนึ่งร้อยปีก่อนเมื่อเกิดการระบาดของ Spanish Flu 1918 เป็น De ja vu อ้นหลอกหลอน น่าเศร้าใจ

    เมื่อ 100 ปีที่แล้ว ทหารอินเดียกลับจากยุโรปนำ Spanish flu มาระบาดที่อินเดีย ในยุคที่ไม่มีวัคซีน ไม่มีการสื่อสารที่ดี การแพทย์ที่ล้าหลัง คนอินเดียตายไป 18 ล้านคน ก็เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ herd immunity โรคระบาดก็สงบลง

    การระบาดเริ่มที่เมืองท่า Bombay หรือ mombai เมืองที่มีประชาชนหนาแน่นที่สุด การระบาดครั้งนั้น คนอินเดีย 6% จำนวน 18 ล้านคนตาย ทุกบ้านใน Bombay มีคนป่วย ด้วยเหตุที่ประชาชนอยู่ หนาแน่น การแพทย์และสุขอนามัยไม่ดี เจ้าอาณานิคมชาวอังกฤษไม่สนใจดูแลคนอินเดีย คนตายใน Bombay นอนกองเป็นพเนิน ฟืนมีไม่พอจะเผาศพ

    การระบาดเรื่มต้นในเดือน มิถุนายน 1918 ถึงต้นเดือน กรกฎาคม 1918 คนตายวันละ 230 คน ซึ่งสภาพช่างเหมือนกรุง Delhi ในขณะนี้

    จำนวนคนป่วยในอินเดียในปี 1919 มีมากกว่าประชาชนในยุโรปทั้งหมด

    การระบาดระลอกใหม่ในไทยทำให้เราต้องเรียนรู้และระวังไม่ให้เกืดข้อผิดพลาดเหมือนอินเดีย

    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ฉีดวัคซีน Sinovac เพื่อชาติ
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 16/05/21

    ในขณะที่รัฐบาลมีวาระแห่งชาติ รณรงค์ให้ประชาชนมาฉีดวัคซีนCOVID-19 เพื่อต่อสู้กับภัย COVID-19 ที่กำลังบีบคั้นรุมเร้าเข้ามา

    จนถึงในขณะนี้รัฐบาลมีวัคซีนเป็นตัวเลือกให้ประชาชนอยู่ 2 ชนิดคือวัคซีน Sinovac จากจีนและวัคซีน AstraZeneca ซึ่งประชาชนไม่มีสิทธิเลือก รัฐเป็นผู้กำหนด

    ไทยได้วัคซีน Sinovac มาแล้ว 2 ล้าน dose และกำลังจะได้เพิ่มเติมอีก 3.5 ล้าน dose และจีนจะแถมให้อีก 500,000 dose รวมทั้งหมด 6 ล้าน dose จะเป็นวัคซีนที่ไทยมีอยู่ในมือเเน่ๆ

    เกิดกระแส dramaของวัคซีน Sinovac ในเรื่องประสิทธิ์ภาพของวัคซีน Sinovac ทั้งข่าวจริงข่าวปลอม

    มีผู้หวังดีทั้งหลาย ทั้งนักการเมือง นักวิชาการได้ออกมาช่วยกันอธิบายปกป้องวัคซีน Sinovac ในเรื่องประสิทธิภาพ รวมทั้งสถานทูตจีน วิธีการที่ดีที่สุดคือต้องทำให้เกิดความไว้ใจ และมีความน่าเชื่อถือ

    ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือให้ข้อมูลที่โปร่งใสและละเอียดในทุกแง่ทุกมุม เพื่อให้ให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เนื่องจากไม่มีวัคซีน COVID-19 ตัวใดที่สมบูรณ์แบบ วัคซีน Sinovac ก็เช่นกัน การพยายามจะให้ข้อมูลจากแหล่งเดียว แง่เดียวเกินไปจะทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ

    ปัญหาของข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac ที่ออกมาหลากหลายไม่เหมือนกัน ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจว่าตัวเลขที่ออกมาจะต้องคำนึงถึงปัจจัยประกอบ และจะเอามาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ตัวเลขที่บราซิลและชิลีมีปัจจัยเรื่องเชื้อกลายพันธ์

    การศึกษาจากการใช้จริงยิ่งมีความน่าเชื่อถือมากกว่าตัวเลขที่ได้จากการศึกษาใน phase 3 การศึกษาในประเทศที่มีการระบาดที่รุนแรง จำนวนคนติดเชื้อมากย่อมให้ภาพที่ชัดเจนของประสิทธิภาพที่แท้จริง

    การศึกษาที่มีการอ้างถึงกันมากว่าวัคซีน Sinovac ไม่มีประสิทธิผลคือการศึกษาที่บราซิลว่ามีประสิทธิภาพเพียง 50.4 % แต่บราซิลมีปัจจัยเรื่องเชื้อกลายพันธ์

    เมื่อพูดถึงประสิทธิภาพของวัคซีนต้องพูดถึงระยะเวลาหลังฉีดวัคซีนและผลหลังเข็มแรกและหลังเข็มที่สองจะได้เข้าใจสภาวะภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ในแต่ละช่วงเวลาซึ่งจะต่างกันในแต่ละวัคซีน จะได้ระแวดระวังตัวมีความตระหนักถึงสภาวะของภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ว่าในแต่ละช่วงเป็นเช่นไร ไม่ใช้พอฉีดวัคซีนแล้วเหมือนได้ยาวิเศษจะทำอะไรต่ออะไรได้ทันที

    การได้วัคซีน Sinovac จะต้องเข้าใจว่าเนื่องจากจากเป็นวัคซีนเชื้อตายการตอบสนองในการสร้างภูมิคุ้มกันจะช้ามากจะเทียบกับวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่คือ mRNA หรือ adenovirus vector ไม่ได้ โดยเฉพาะหลังเข็มแรกตามระยะเวลา ภูมิคุ้มกันจะขึ้นได้ดีต่อเมื่อได้รับการกระตุ้นเข็มที่สอง 2-3 อาทิตย์

    การศึกษาที่ชิลีประเทศที่มีการระบาดหนัก มีเชื้อกลายพันธ์ แต่ศึกษาจำนวนคนฉีดวัคซีนถึง 10.5ล้านคนมีระดับการป้องกันที่ตำ่เพียง 16% หลังฉีดวัคซีนเข็มเเรกไปสองอาทิตย์ แต่จะไต่ระดับขึ้นถึง 67 % 2 อาทิตย์หลังเข็มที่สอง

    แต่การศึกษาที่สมุทรสาครในไทยโดยศาตราจารย์ยง ภู่สุวรรณ ในจำนวนคนไข้เป็นหลักร้อย และประเทศไทยมีการระบาดน้อยกว่าชิลีมาก จะใด้ตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac ค่อนข้างดี เช่นเดียวกับการศึกษาจากโรงพยาบาลพญาไท 3 ที่ฉีดวัคซีนให้บุคลากรทางการแพทย์

    ตัวเลขสำคัญที่ควรต้องอ้างอิงคือตัวเลขจากชิลีหลังจากฉีดเข็มที่สอง ในการฉีดไป 10.5ล้านคน เป็นตัวเลขที่ WHO นำมาอ้างอิงด้วยคือ หลังฉีดวัคซีน Sinovac เข็มที่สองจะมีภูมิคุ้มกันที่จะไม่ทำให้ติดเชื้อแบบมีอาการ 67% ป้องกันไม่ให้ตาย 80 % ป้องกันไม่ให้ป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล 85%

    การศึกษาล่าสุดจากประเทศอินโดนีเซียประเทศที่มีการระบาดรุนแรง แต่ยังไม่มีปัญหาเรื่องไวรัสกลายพันธุ์ในบุคลากรทางกรแพทย์ 25,375 คน หลังจากฉีดวัคซีน Sinovac เข็มที่สองจะป้องกันไม่ให้ตาย 100 % ป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก 96%

    สิ่งที่พอมองเห็นภาพได้ก็คือในไทยซึ่งยังไม่มีปัญหาเรื่องไวรัสกลายพันธุ์ การฉีดวัคซีนเข็มที่สองค่อนข้างแน่นอนที่จะไม่ทำให้ตายหรือป่วยหนัก แต่ถ้าไวรัสกลายพันธุ์จากอินเดียบุกข้ามแดนมาสถานการณ์อาจเปลี่ยนไป

    หลังจากฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรกยังต้องระแวดระวังตัวเป็นอย่างมาก ถึงอย่างไรก็ดีถึงแม้จะสร้างภูมิคุ้มกันได้ช้าก็ยังดีกว่าไม่มี และดีกว่ารอวัคซีนชั้นดีจากตะวันตกซึ่งกว่าจะได้มาก็อีกหลายๆเดือน ระหว่างที่รอก็ไม่มีภูมิคุ้มกันอะไร สู้ฉีดวัคซีน Sinovac ไว้ก่อนจะดีกว่าภูมิคุ้มกันก็จะค่อยๆสร้างขึ้นมา อย่างที่พูดกันว่า วัคซีนที่ดีที่สุดก็คือวัคซีนที่ฉีดได้เร็วที่สุด อย่ามัวรีรอ มาฉีดวัคซีน Sinovac กันเถอะ

    วัคซีนจีนกลายเป็นความหวังและแหล่ง supply หลักของประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลางเพราะอินเดียที่เคยเปึนแหล่ง supply สำคัญเกิดปัญหาในการผลิตและต้องเก็บไว้ใช่เองจากปัญหาการระบาดหนัก

    วัคซีนชั้นดีจากตะวันตกก็ต้องรอจนกว่าประเทศตะวันตกจะใช้จนพอเพียงแล้ว ซึ่งก็คงต้องรออีกหลายๆเดือน และอาจต้องรอนานขึ้นถ้ามีการฉีดวัคซีนเข็มที่สามในประเทศตะวันตก และบริษัทผลิตวัคซีนต้องทุ่มกำลังไปผลิตวัคซีนสำหรับไวรัสกลายพันธุ์

    จีนจึงส่งออกวัคซีน Covid 19 เป็นอันดับหนึ่ง จำนวนกว่า 115 ล้าน dose ในปลายเดือนมีนาคม 2021 นอกจากรายได้ที่ได้เป็นกอบเป็นกำจากวัคซีนของจีนแล้ว สิ่งสำคัญจีนใช้วัคซีน Covid 19 แผ่อิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศหรือที่เรียกว่า วัคซีน Diplomacy มีประเทศที่ให้การรับรองวัคซีนจีนแล้ว 70 ประเทศ

    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กรเป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    การลังเล ไม่ยอมฉีดวัคซีน COVID-19 ปัญหาใหญ่ของการต่อสู้กับ COVID-19
    โดย นายแพทย์ ยงค์เลียงอุดม
    Published 17/05/21

    ในขณะที่หลายๆคนในประเทศต่างๆทั่วโลกกำลังดิ้นรนที่จะรับการฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อจะได้มีเกราะป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ในขณะนี้อัตราการตายจาก COVID-19 โดยเฉลี่ยทั้งโลกอยู่ที่ 2.1% ของไทยอยู่ที่ 0.52%

    แต่ก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความลังเลที่จะยอมรับการฉีดวัคซีนเนื่องจากกลัวปัญหาแทรกซ้อนจากวัคซีนมากกว่ากลัวที่จะป่วยจะตายจาก COVID-19

    ประเทศไทยก็ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับประชาชนที่ยังมีความลังเลอยู่จำนวนมาก จะเห็นได้จากจำนวนคนที่มาลงทะเบียนฉีดวัคซีนที่น้อยอย่างคาดไม่ถึงคือ 500,00 คนในกรุงเทพ สำหรับโครงการ ฉีดวัคซีน 16 ล้านคนใน phrase ต่อไป จนนายกรัฐมนตรีต้องประกาศการฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ และปรับนโยบายโดยรับ walk in เพื่อจะเพิ่มจำนวนคนฉีดวัคซีน

    ที่ฮ่องกงมีคนจำนวนมากไม่ยินยอมฉีดวัคซีนจีนที่รัฐบาลจัดสรรให้เพราะความไม่ไว้วางใจรัฐบาลจีน.

    ความไว้วางใจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การให้ข้อมูลที่จริง ตรงไปตรงมา บอกปัญหาที่แท้จริงให้แก่ประชาชนในทุกแง่ทุกมุมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่มีวัคซีนที่สมบูรณ์แบบ ยิ่งวัคซีน COVID-19 แต่ละชนิดยังใหม่ ยังไม่เคยใช้จริงมาก่อน ข้อมูลเปลี่ยนเป็นรายวัน อย่าพยายามเบี่ยงเบนหรือพูดจากข้อมูลแหล่งเดียว เพราะข้อมูลที่ประชาชนได้รับ ในปัจจุบันมีมากมายหลายทาง ถ้าเกิดความไม่เชื้อถือในรัฐบาลแล้วการทำงานในขั้นตอนต่อไป จะยากยิ่งขึ้น

    ผลสำรวจของสถาบัน Pewn ในอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน 2020 พบว่ามีคนอเมริกา 35% ลังเลที่จะฉีควัคซีน แต่ในขณะนี้เมื่อมีการใช้จริงและผลแทรกซ้อนมีไม่มากจำนวนคนก็มาฉีดวัคซีนมากขึ้น

    ในการสำรวจในหน่วยทหารแห่งหนึ่งในอเมริกาในปลายปี 2020 พบว่ามีหนึ่งในสามของหน่วยยินยอมที่จะฉีดวัคซีน COVID-19

    จากผลสำรวจของสถาบัน IPSO ประเทศจีนมีประชาชนเพียงหนึ่งในห้าที่จะไม่ยินยอมฉีดวัคซีน COVID

    จากผลสำรวจของ Gallap poll ทำการสำรวจทั่วโลก พบว่ารัสเซียและยุโรปตะวันออกมีคนลังเลที่จะฉีดวัคซีน Covid 19 มากที่สุด สาเหตุเพราะไม่ไว้ใจวัคซีน Spunik Vของรัสเซีย

    การสำรวจในประเทศ Africa กลุ่ม subsahara พบว่ามีประชาชน 80% ที่ยังลังเลในการฉีดวัคซีน

    สำหรับผลสำรวจในประเทศที่มีการระบาดหนัก อินเดียประชาชน 82 % ยินยอมที่จะฉีดวัคซีน บราซิลยินยอมฉีดวัคซีนจำนวน 70% แต่อเมริกาการยินยอมอยู่ที่ 53% จากตัวเลขนี้พอจะมองออกว่า การเห็นคนเจ็บและตายทำให้มีความกระตือรือร้นที่อยากจะมีเกราะกำบังคือวัคซีนมากขึ้น

    ที่ออสเตรเลียพอจะเริ่มฉีดวัคซีนในวันที่ 1 มีนาคม ก็มีผู้มาเดินขบวนต่อต้านการฉีดวัคซีนจากกลุ่มต่อต้านวัคซีน antivaxxer จากผลสำรวจ มี 27 % ของคนออสเตรเลียที่ยังลังเลในการที่จะฉีดวัคซีน มีคนยินยอมฉีดวัคซีน จำนวน 73 %

    การต่อสู้กับการลังเลต่อการฉีดวัคซีนที่สำคัญ ก็คือการต่อสู้กับขบวนการต่อต้านวัคซีน ซึ่งเป็นขบวนการใหญ่ พวกต่อต้านวัคซีนมี website นับร้อยแห่งโดยเฉพาะในอเมริกา พวกนี้ได้ทำให้การรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกมีปัญหามาแล้ว

    ขบวนการต่อต้านการฉีดวัคซีนยังถูกผสมโรงจากการเมืองระหว่างประเทศ รัสเซียพยายามปล่อย fake news เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของวัคซีนจากชาติตะวันตก

    ปัญหาใหญ่อีกประเด็นคือบุคลากรส่วนหนึ่งที่ทำงานในสถานที่พักพื้นและดูแลคนชรา ไม่ยินยอมฉีดวัคซีน COVID-19 ซึ่งมีบางประเทศจะไม่ยอมจ้างให้ทำงานดูแลผู้สูงอายุ ถ้าไม่ยอมฉีดวัคซีน

    มีบริษัทหลายๆบริษัทออกมาประกาศแล้วว่าจะไม่จ้างงานถ้าไม่ฉีดวัคซีน

    ปัญหาของการไม่ยินยอมฉีดวัคซีนมีหลากหลาย

    ประการที่หนึ่งก็คือกลัวว่าประสิทธิภาพไม่ดีพอ ปัญหานี้เกิดขึ้นกับวัคซีน Sinopharm และวัคซีน Sinovac จากจีน

    ประการที่สองมีความกลัวที่จะติดเชื้อจาก COVID-19 น้อยลง เนื่องจากจำนวนคนป่วยเริ่มลดลง จะเห็นได้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอินเดีย ในช่วงต้นปี 2021 และที่ไต้หวันซึ่งมีอัตราการฉีดวัคซีนตำ่กว่า 1% เนื่องจากไม่มีผู้ติดเชื้อในไต้หวันเลยเป็นเวลา 1 ปี

    คนป่วยเป็น COVID-19 ได้ลดลงเป็นอย่างมากในอินเดียในตอนต้นปี 2021 เมื่อเทียบกับปลายปี 2020 ทำให้ความกังวลใจของคนอินเดียที่จะป่วยจาก COVID-19 น้อยลง จึงไม่มาตามนัดของการฉีดวัคซีน ตัวเลขคนติดเชื้อต่อวันในอินเดียลดเป็น 10,000คนต่อวัน ในเดือนมกราคม 2021 จากที่เคยสูงถึง 90,000คนต่อวัน ในช่วงเดือนกันยายน 2020

    ประการที่สามคือเกิดจากความกลัวในอาการแทรกซ้อนหรือการแพ้วัคซีน วัคซีน AstraZeneca เคยมีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นในความปลอดภัยจาก EU เนื่องจากปัญหาเรื่องลิ่มเลือดในเส้นเลือดในสมองอุดตัน

    ข้อมูลที่ได้รับและทำให้ลังเลไม่ยอมฉีดวัคซีนมีทั้งข้อมูลจริง และข้อมูลที่เป็น fake news แต่ปัญหาใหญ่คือไม่เช้าใจอย่างถ่องแท้ถึงข้อแทรกซ้อนของวัคซีน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับประชาชนทั้วไป และมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ตลอดเวลาหลังจากใช้จริง

    ส่วนใหญ่ข้อแทรกซ้อนก็มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยและประโยชน์จากวัคซีนจะมีมากกว่าความเสี่ยงจากข้อแทรกซ้อนของวัคซีน ก็เป็นสิ่งที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ที่สำคัญการที่จะทำให้ประชาชนเชื้อใจได้ต้องอธิบายด้วยข้อมูลที่เป็นจริง ตรงไปตรงมา ไม่เช่นนั้นจะทำยิ่งเกิดความไม่เชื่อมั่นมากขึ้น

    ไทยเราก็มีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นในวัคซีนเหมือนประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพเมืองสำคัญ ในวันที่ 10 พฤษภาคม มีคนมาลงทะเบียนฉีดวัคซีนแค่ 500,000 คน ในขณะที่ลำปางภายใต้การนำของผู้ว่าหมูป่า และการทำงานของ อสม ทำให้มีคนเชื่อมั่นมาลงทะเบียนฉีดวัคซีนถึง 200,000 คน จนนายกต้องประกาศให้การฉีดวัคซีน COVID-19 เป็นวาระแห่งชาติ

    แม้แต่อเมริกาก็ใช้เงินนับร้อยล้านดอลลาร์เพื่อรณรงค์เพื่อให้เกิดความเชื่อใจในวัคซีน

    การลังเลต่อการฉีดวัคซีน สถานที่ฉีดวัคซีนเริ่มว่างเปล่า ไม่คึกคักเหมือนช่วงแรก การเข้ามาฉีดวัคซีนสามารถทำได้เลยในหลายๆแห่งโดยไม่ต้องนัดหมาย อัตราการฉีดวัคซีนได้ลดลงในช่วงสุดท้าย ในวันที่ 12 พฤษภาคม อัตราการฉีดวัคซีนได้ลดลงเหลือวันละ 2.1 ล้าน dose จากที่เคยฉีดได้ถึงวันละ 4 ล้าน dose ในเดือนเมษายน

    ในอเมริกามีการสร้างเเรงจูงใจ โดยการให้ incentive เช่นการแจกเบียร์ แจกลอตเตอรี่ ขึ้นทางด่วนฟรี แจกโบนัสหรือแจกเงิน

    ผู้ว่าการรัฐ Ohio แจก Lottery พิเศษมีโอกาสได้เงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สำหรับผู้มาฉีดวัคซีน

    การอนุญาติ ให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้วไม่ต้องสวม mask ในอเมริกาจะทำมีผู้มาฉีดวัคซีนมากขึ้น เช่นเดียวกันกับ vaccine passport จะทำให้มีผู้มาฉีดวัคซีนมากขึ้นเช่นกัน vaccine passport บังคับให้ต้องฉีดวัคซีนถ้าต้องเดินทาง หรือเมื่อต้องร่วมกิจกรรมหมู่มาก เช่นการเข้าชม concert และการเข้าชมภาพยนตร์

    วัคซีน COVID-19 ที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มที่ลังเลเหล่านี้คือวัคซีนที่ฉีดครั้งเดียว และไม่ต้องนัดมาฉีดเข็มที่สองอีก วัคซีน Johnson & Johnson ที่ฉีดเพียงเข็มเดียวก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงพอ CDC ของอเมริกาโล่งอกเป็นอย่างมากที่ FDA อนุมัติวัคซีน J&Jให้ใช้ได้ หลังจากมีข่าวเรื่องลิ่มเลือดอุดตันในสมอง แต่หลังจากข่าวเรื่องปัญหาของวัคซีน J&J อัตราการฉีดวัคซีนก็ลดตำ่ลง

    สำหรับประเทศไทยในต่างจังหวัดก็คงต้องหวังพึ่งอาสาสมัครสาธารณสุข ในการเข้าถึงทำความเข้าใจกับชาวบ้าน

    ถึงอย่างไรก็ตามการบรรลุภูมิคุ้มกันหมู่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนด้วยจำนวนที่เพียงพอ การต่อสู้กับการลังเลไม่ยินยอมฉีดวัคซีนจึงเป็นปัญหาสำคัญของหลายๆประเทศ และของโลก

    ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 อย่างไต้หวันทำให้ประชาชนลังเลที่จะฉีดวัคซีน ไต้หวันมีอัตราการฉีดวัคซีนตำ่กว่า 1% ในที่สุด COVID-19 ก็เล็ดลอดเข้ามาในไต้หวัน คนติดเชื้อในวันที่ 15 พฤษภาคม จำนวน 180 คน ตราบใดที่ไม่เกิดภูมิคุ้มกันหมู่จากวัคซีนก็ลำบากที่จะอยู่ประเทศเดียวในโลกที่มีการระบาดของ Covid 19

    มาฉีดวัคซีนกันเถิดเพื่อตัวเราเอง เพื่อครอบครัวและสังคม อย่าปล่อยให้ความกลัวความลังเลมาหยุดยั้งการฉีดวัคซีน อย่าปล่อยให้ความกลัวที่มาจากข่าวลือ ข่าวปลอมมาทำลายความเชื่อมั่น ศึกษาข้อมูลจากแหล่งที่เชื้อเถือได้เพื่อขจัดความลังเล

    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    โรงพยาบาลกรุงเทพ
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    คนไข้รายนี้มาด้วยอาการของปอดอักเสบ มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน แต่ทำ nasal swab PCR 5 ครั้ง ไม่พบเชื้อ COVID อาจารย์อมรชัยจึงทำการส่องกล้องหลอดลมปอด นำน้ำล้างปอดมาตรวจ PCR ผลปรากฎว่าพบเชื้อ COVID จนได้
    ผู้ป่วย COVID ที่มีอาการมาหลายวัน เชื้อจะอพยพจากจมูกลงไปในปอด จึงตรวจ nasal sawb ไม่พบเชื้อ หากรายนี้เห็นว่าตรวจ nasal swab ไม่พบเชื้อ แล้ว admit เข้าไปรวมกับผู้ป่วยโรคอื่นในหอผู้ป่วยปกติ จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของ COVID ไปสู่แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยอื่นในหอผู้ป่วยได้

    #ข่าวว่าพรุ่งนี้มีอีกหนึ่งราย
    #ใครไม่เกี่ยวอยู่บ้านดีกว่า
    #วอร์ดแตกเพราะแหกกฎ
    #PMKPCCM
    ------
    FB_IMG_1621257812159.jpg FB_IMG_1621257814209.jpg
    #COVID_ส่องกล้องหลอดลมไปทำไม?
    ดูเหมือนไม่สมเหตุผล เพราะการส่องกล้องเอาน้ำไปล้างปอดทำให้ออกซิเจนลดลงอีก แถมยังสิ้นเปลืองกล้องส่องหลอดลมแบบใช้แล้วทิ้งซึ่งราคาแพง
    ผู้ป่วยรายนี้มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยโควิดชัดเจน มาด้วยไข้ เอ็กซเรย์ปอดมีฝ้าเล็กน้อย ตรวจ Swabเบื้องต้นเป็นลบ ถูกadmit เป็น PUI case อยู่หลายวัน รักษาเหมือนปอดอักเสบอาการไม่ดีขึ้น จนเอ็กซเรย์ปอดเริ่มมีฝ้ามากขึ้น ไข้ยังไม่ลง ถูก Swab ระหว่างทางมาหลายครั้งผลก็ยังเป็นลบ แต่ทีมหมอติดเชื้อและหมอปอดบอกว่าเหมือนโควิด ไม่สามารถเบิกยาต้านไวรัสได้เพราะผลการตรวจเป็นลบตลอด สเตียรอยด์ก็ไม่กล้าให้เพราะยังไม่เริ่มยาต้านไวรัส สุดท้ายก็ต้องส่องกล้องล้างน้ำในปอดมาตรวจ และพบว่าเป็นโควิดลงปอด กว่าจะเริ่มการรักษาได้
    #ใครไม่เกี่ยวอยู่บ้านดีกว่า
    #PMKPCCM

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Common uncommon complication of COVID pneumonia
    ในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วย critical COVID pneumonia หลายรายมีภาวะ pneumomediastinum, pneumothorax และ subcutaneous emphysema มีทั้งเกิดในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจและไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ
    ผู้ป่วย 4 รายเกิดขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ 2 ใน 4 รายนี้ มีปัญหาเรื่อง ET tube obstruction ผู้ป่วย 1 รายมีภาวะ invasive fungal infection ร่วมด้วย
    ผู้ป่วย 1 รายเกิดหลังจาก extubate และใช้ HFNC
    ผู้ป่วย 1 รายเกิดขณะใช้ helmet NIV
    ผู้ป่วย 1 รายเกิดขณะใช้ NIV
    ส่วนใหญ่เกิดในสัปดาห์ที่สองและสามของการป่วย ผู้ป่วย 3 รายได้รับการใส่ ICD ส่วนที่เหลือเป็น conservative treatment มีผู้ป่วย 1 รายการดำเนินโรคแย่ลงและเสียชีวิตในที่สุด
    จากที่ review case report serie ที่ใหญ่สุดจาก NY พบ pneumomediastinum 35% และผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 66%

    #PMKPCCM
    #ใครไม่เกี่ยวอยู่บ้านดีกว่า

    FB_IMG_1621257886736.jpg

    ผู้ป่วยชาย 78 ปี เกิดภาวะ pneumomediastinum หลัง extubate และหายใจด้วย HFNC

    FB_IMG_1621257888734.jpg

    ผู้ป่วยหญิง 73 ปี เกิด pneumothorax ขณะใช้ helmet NIV

    FB_IMG_1621257891180.jpg

    ผู้ป่วยชาย 68 ปี เกิด subcutaneous emphysema ขณะ ใช้เครื่องช่วยหายใจ

    FB_IMG_1621257893312.jpg

    ผู้ป่วยหญิง 52 ปี เกิด pneumomediastinum และ subcutaneous emphysema ขณะใช้ NIV

    FB_IMG_1621257895324.jpg

    ผู้ป่วยหญิง 86 ปี เกิด pneumothorax ขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ รายนี้มี invasive fungal infection เกิด large cavity ร่วมด้วย

    FB_IMG_1621257897488.jpg

    ผู้ป่วยหญิง 60 ปี เกิด pneumomediastinum ขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2021
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ถ้าจะเป็นหนังก็เรียกว่าไม่ยอมจบง่ายๆ
    ‍⚕️‍⚕️
    การรักษาผู้ป่วย COVID pneumonia ดีขึ้นอย่างเพิ่งรีบดีใจ เหมือน episode ก่อนที่เล่าให้ฟังว่าพอเรารักษา pulmonary phase ให้ antiviral + steroids อาการปอดอักเสบดีขึ้น จะวางใจเหมือนรักษาผู้ป่วย pneumonia ทั่วไปไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายมี hyperimmune response ปอดอักเสบกลับมาแย่ลง ต้องกลับไปเพิ่ม steroids หรือให้ยาลดการอักเสบอื่นๆ จนกระทั่งอาการผู้ป่วยดีขึ้น ไม่ต้องใช้ oxygen ช่วย คิดว่าจบ episode II คราวนี้คนไข้น่าจะหายจริงๆแล้ว แต่ว่าอีกสองสัปดาห์ถัดมาหลังหยุด steroids ผู้ป่วยกลับมาด้วยอาการเหนื่อยมากขึ้น ไม่มีเสมหะ มี desaturation ทำ CXR มี infiltration กลับเพิ่มขึ้นมา ผลเลือดไม่มีลักษณะของการติดเชื้อ เรียกได้ว่าเข้าสู่ episode III
    ตกลงในปอดเป็นอะไรแน่
    1.จะเป็น virus ที่ยังไม่หายกลับมาใหม่
    2.จะเป็นการติดเชื้อ bacteria หรือเชื้อรา
    3.จะเป็น non-infection inflammation เช่น OP/AFOP
    ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเป็น COVID มาก็เดือนกว่าแล้ว โอกาสเป็นข้อ 1 ค่อนข้างน้อย ในข้อสองถ้าจำได้ ก่อนที่จะมีการระบาดของ COVID เรามีผู้ป่วย severe influenza pneumonia หลายราย ที่เกิด invasive fungal infection ตามมา ใน COVID จะมีเหมือนกันหรือไม่ แถมผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการรักษาด้วย steroids ค่อนข้างนาน แต่ถ้าเป็นข้อ 3 การรักษาก็ต้องให้ steroids กลับเข้าไปใหม่ จะไปคนละทางกับข้อ 2 เลย
    อ.อมรชัย หัวหน้าแผนกโรคปอดฯ เลยบอกว่าพี่อายุมากแล้ว เดี๋ยวผมจัดการให้ ว่าแล้วก็คุยกับผู้ป่วยว่าจำเป็นต้องทำการส่องกล้องหลอดลม และเนื่องจากค่าออกซิเจนในเลือดค่อนข้างต่ำ จึงจะขอใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อป้องกันภาวะออกซิเจนที่จะลดลงตอนที่ส่องกล้องลม กล้องที่ใช้ในผู้ป่วย COVID จะเป็นแบบ disposable เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะทำความสะอาด
    ผลการตรวจ BAL PCR for SARS CoV2 not detected
    Transbronchial biopsy ที่ RB5 ผลชิ้นเนื้อเข้าได้กับ acute fibrinous and organizing pneumonia (AFOP)
    สรุปผู้ป่วยรายนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Acute Fibrinous and Organizing Pneumonia ที่เกิดตามหลัง COVID ให้การรักษาด้วย i.v. methylprednisolone
    FB_IMG_1621258449665.jpg
    #PMKPCCM
    #ใครไม่เกี่ยวอยู่บ้านดีกว่า

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ผู้ป่วย COVID with acute fibrinous and organizing pneumonia (AFOP) ที่ได้รับการส่องกล้องหลอดลมเมื่อวันศุกร์ หลังจากให้การรักษาด้วย methyprednisolone 2 วัน ค่า SpO2 ดีขึ้น อาการเหนื่อยลดลง สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ หลังถอดท่อช่วยหายใจ Dr.Joe ให้ respiratory support ด้วย HFNC FiO2 0.4 ได้ SpO2 97%

    ผู้ป่วย COVID ที่เกิด OP/AFOP อาการจะแตกต่างจากช่วงที่เป็น cytokine release syndrome (CRS) คือการอักเสบจะไม่รุนแรง ไม่เป็นลักษณะ storm แต่จะมีอาการเหนื่อย desaturation CXR หรือ CT จะพบ multifocal consolidation มากกว่าที่จะเป็น groud glass opacity และช่วงเวลาที่เกิดมักจะเป็นหลังสัปดาห์ที่สามของโรค ซึ่งเป็นช่วงที่ลดหรือหยุด steroids แล้ว เพราะฉะนั้นการทำ hemoperfusion การให้ anti-IL6 หรือ anti TNF จะไม่ได้ประโยชน์ การรักษาที่แนะนำทาง US ให้ methylprednisolone 500mg-1g/d x 3D แล้วต่อด้วย dexamethasone หรือ prednisolone 0.5-1 mg/kg/d แล้วแต่ความรุนแรง (ยังไม่มีขนาดแนะนำที่ชัดเจน) ผู้ป่วยรายนี้ได้รับ methylprednisolone 500mg/d

    ผู้ป่วย critical COVID ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจะมีอัตราการเสียชีวิต 20-50% ขึ้นอยู่กับจำนวนเตียง ICU ที่สามารถรองรับได้ (ความหมายของเตียงดูได้จากโพสก่อนๆ) ยอดผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยที่สูงขึ้นก็จะมีผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤตมากขึ้นไปด้วย มาช่วยกันลดความสูญเสียโดยทำตามคำแนะนำ สวมแมส ล้างมือ งดทำกิจกรรมรวมกลุ่ม และรับฉีดวัคซีน

    #PMKPCCM
    #ใครไม่เกี่ยวอยู่บ้านดีกว่า

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    RCPT จากกรรมการบริหารถึงสมาชิก
    ปีที่ 2 ฉบับที่ 10 วันที่ 16 พฤษภาคม 2564

    ราชวิทยาลัยฯ สนับสนุนทุกท่านรับการฉีดวัคซีนโควิด-19

    กรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยได้แถลงจุดยืน (position statement) เรื่องวัคซีนโควิด-19 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนในประเทศไทยรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 กันอย่างถ้วนหน้า โดยมีความเห็นว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ดีที่สุด คือวัคซีนที่ท่านสามารถได้รับการฉีดเร็วที่สุด และสนับสนุนให้สมาชิกของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ทุกท่านรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อลดการเจ็บป่วยและลดการกักตัว อันจะทำให้ประสิทธิภาพของระบบการรักษาพยาบาลลดลง และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับแพทย์สาขาอื่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย รวมทั้งประชาชนในการยอมรับการรับวัคซีนโควิด-19 (อ่านประกาศฉบับเต็มได้ที่ http://www.rcpt.org/index.php/home.html)

    ร่วมประชุมวิชาการปลายตุลาคมอย่างปลอดภัยจากโควิด-19

    ตามที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยจะจัดการประชุมวิชาการประจำปี 2564 ในวันที่ 28-30 ตุลาคม พ.ศ.2564 ที่โรงแรมดุสิตธานี พัทยา โดยเป็นการประชุมรูปแบบผสมผสาน (hybrid) ระหว่างการประชุมในสถานที่ (onsite) และการประชุมแบบทางไกล (online) นั้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ มีความปลอดภัยและความสบายใจในการร่วมการประชุมฯ และการร่วมพิธีรับวุฒิบัตรฯ รวมทั้งป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ประชุมคณะอนุกรรมการจัดการประชุมจึงมีมติ ดังนี้
    1. ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ในสถานที่ ขอความร่วมมือรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อนการประชุม
    2. ผู้ลงทะเบียนเข้าประชุมที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ขอความร่วมมือเข้าร่วมการประชุมแบบทางไกล
    3. ผู้ติดตามของผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมฯ หากต้องการเข้ามาในบริเวณงาน ต้องมีการลงทะเบียนและขอความร่วมมือรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เช่นกัน
    4. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่จัดประชุมฯ และพนักงานโรงแรมดุสิตธานี พัทยา ขอความร่วมมือรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อนการประชุม


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ลองทำกราฟข้อมูลการครองเตียง และการเสียชีวิตของผู้ปวยโควิด-19 จากที่ ศบค.รายงานตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย. 64 จนถึง 16 พ.ค. 64 เป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ มาสรุปให้เห็นภาระงานของการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามนี้ครับ

    มีการนอนใน รพ.สนาม สำหรับผู้ป่วยไม่มีอาการหรืออาการน้อย (สีเขียว) เพิ่มขึ้น 3 เท่า ทำให้สัดส่วนผู้ป่วยที่เข้ารับรักษาใน รพ.สนามเทียบกับผู้ป่วยที่รับไว้ทั้งหมด เพิ่มขึ้น 2 เท่าจาก 19% เป็น 28% แสดงว่า รพ.สนามช่วยลดภาระของ รพ.ต่าง ๆ ได้มากทีเดียว

    เตียงให้นอนใน รพ.สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหรือมีโรคร่วม (สีเหลือง) เพิ่มขึ้นไม่ได้มากนัก อยู่ที่ประมาณ 20,000+ ราย

    ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก (สีแดง) เพิ่มขึ้น 3 เท่า

    ผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (สีแดงเข้ม)เพิ่มขึ้น 4 เท่า

    ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น (สีดำ) ประมาณ 2 เท่า

    ที่แสดงให้ดูเป็นเพียงภาพรวมทั้งประเทศ แต่ความรุนแรงของการระบาด และการนอนโรงพยาบาลยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่ ทำให้สถานการณ์ในกรุงเทพและปริมณฑลย่ำแย่กว่าภาพรวมของประเทศมาก

    ตอนนี้รัฐบาลประกาศผ่อนคลายมาตรการแล้ว ในขณะที่สถานการณ์ทั้่งจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น และภาระของโรงพยาบาลต่าง ๆ ยังไม่มีวี่แววที่จะดีขึ้น และดูเหมือนจะแย่ลงอีก พวกเราคงช่วยกันดูแลตัวเอง ด้วยการอยู่บ้าน เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ ใส่หน้ากากอนามัยกันอย่างเข้มข้น และอย่าลืมจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วไปฉีดกันทันทีเมื่อมีโอกาสกันนะครับ

    ช่วยกันครับ เราจะต้องผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

    พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์
    ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมพล.ต.ถนัดพล โกศัยเสวี รองแม่ทัพภาคที่ 3 นพ.จตุชัย มณีรัตน์ สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ พล.ต.วุฒิไชย อิศระ รองเจ้ากรมการแพทย์ทหารบก นายสุรศักดิ์ เผื่อนคำ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางเชียงใหม่ และนายอรรถวุฒิ พึ่งเนียม นายอำเภอแม่แตง แถลงชี้แจงข้อเท็จจริงและรายละเอียด กรณีผู้ต้องขังในเรือนจำกลางเชียงใหม่
    ติดโควิด 3,929 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 6,469 คน ทั้งที่ใช้มาตรการ Bubble & Seal ซึ่งจำนวนดังกล่าว แทบจะเท่ากับยอดผู้ติดเชื้อสะสมของทั้งจังหวัดในการระบาดระลอกเดือนเม.ย. ที่จากข้อมูลรายงานสรุปของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ณ วันที่ 16 พ.ค.64 พบมีจำนวนทั้งสิ้น 4,000 คน

    นายเจริญฤทธิ์ เปิดเผยว่า จากการตรวจพบผู้ติดเชื้อและระบาดในเรือนจำกลางเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ปิด จึงนำมาตรการควบคุมโรคแบบปิด หรือมาตรการ Bubble & Seal เป็นระยะเวลา 28 วัน พร้อมจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางเชียงใหม่ โดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลรักษาผู้ติดเชื้อด้วยมาตรฐานเดียวกับประชาชนทั่วไป ขณะเดียวกันทำการคัดกรองตรวจหาผู้ติดเชื้อในผู้ต้องขังทุกคน เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนที่สุด และตรวจหาภูมิคุ้มกันผู้ต้องขังทุกคนทุก 14 วัน เพื่อให้มั่นใจว่า จะเหลือผู้ต้องขังที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน เพียงไม่เกิน10 % และเรือนจำปลอดเชื้อ

    จากการดำเนินการที่ผ่านมา ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และตามแผนจะสามารถส่งมอบคืนพื้นที่ ให้เรือนจำกลางเชียงใหม่ได้ในวันที่ 28 พ.ค.64 ส่วนตัวเลขจำนวนผู้ต้องขังติดเชื้อกว่า 3,000 คนนั้น ยืนยันทุกคนอยู่ภายใต้การดูแลรักษาอย่างดี ขณะที่ผู้พ้นโทษยังจะต้องได้รับการกักตัวอีก 14 วันใน local quarantine หรือสถานที่ที่จัดไว้ให้ เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ต้องขังสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติและไม่ส่งผลกระทบกับชุมชน

    นพ.จตุชัย เปิดเผยว่า การดำเนินการตามมาตรการ Bubble & Seal ในเรือนจำกลางเชียงใหม่ เป็นการควบคุมโรคในพื้นที่ปิด เพื่อจำกัดไม่ให้มีการระบาดระหว่างแดน เป็นเวลา 28 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.64 โดยเร่งตรวจคัดกรองเชิงรุกหาผู้ติดเชื้อในผู้ต้องขังทุกคนและเร่งให้การรักษา พร้อมจัดตั้งโรงพยาบาลสนามที่มีศักยภาพสูงในการรักษาคนไข้ ซึ่งตลอดช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาสามารถดูแลรักษาผู้ติดเชื้อได้เป็นอย่างดี มีเพียง 6 รายเท่านั้นที่อาการหนักจำเป็นต้องส่งตัวรักษาในโรงพยาบาลหลัก

    ขณะที่การตรวจหาภูมิคุ้มกันจะทำหลังกักตัวครบ 14 วัน 2 รอบ ซึ่งตามทฤษฎีจะเหลือผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเพียง 10% โดยเวลานี้เหลืออีกประมาณ1สัปดาห์จะครบ และทำการตรวจหาเชื้อและภูมิคุ้มกันผู้ต้องขังทุกคน ซึ่งจะใช้เวลาอีก 5 วัน จากนั้นจะสามารถส่งมอบคืนพื้นที่ให้ได้ในวันที่ 28 พ.ค.64 ตามแผน ทั้งนี้ย้ำว่า จำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำกลาง ไม่มีผลต่อการพิจารณาปรับระดับพื้นที่ควบคุมของจังหวัดเชียงใหม่ เพราะเป็นการระบาดในพื้นที่ปิดและไม่ได้สะท้อนสถานการณ์ที่แท้จริง

    พล.ต.วุฒิไชย กล่าวว่า มีผู้ต้องขังที่มีภูมิคุ้มกันแล้ว 24.27% ทั้งนี้มั่นใจว่า เมื่อครบ 28 วัน การดำเนินงานจะประสบผลตามเป้าหมายในการควบคุมโรค ทำให้เรือนจำกลางเชียงใหม่ปลอดเชื้อโควิด-19 ปลอดภัยสำหรับผู้ต้องขังทุกคน และไม่มีเชื้อเล็ดลอดแพร่สู่ภายนอก พร้อมส่งมอบคืนพื้นที่ให้กับทางเรือนจำกลางเชียงใหม่ได้ ส่วนประเด็นตัวเลขผู้ต้องขังติดเชื้อโควิด-19นั้น ยอมรับว่า จำนวนมากกว่า 3,000 ราย อย่างไรก็ตามมองว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะเป็นตัวเลขที่มีความเคลื่อนไหว แต่ประเด็นสำคัญยืนยันว่า ทุกคนได้รับการดูแลอย่างดีและไม่มีเชื้อเล็ดลอดออกมา

    ด้านนายสุรศักดิ์ ยืนยันว่า ขณะนี้ควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดในเรือนจำกลางเชียงใหม่ได้แล้ว เรือนจำกลางเชียงใหม่เป็นเรือนจำความมั่นคงสูงสุดมี 10 แดน เริ่มเกิดเหตุจากแดน 4 ที่เป็นแดนแรกรับ มีการตรวจหาเชื้อและกักตัว โดยแยกขังผู้ต้องขังใหม่อย่างน้อย 14 วัน ในห้องที่มี 7 ห้อง ซึ่งระหว่างที่แยกขังนั้น ยังมีการไปทำกิจกรรมในแดนอื่น ทำให้เกิดการระบาด โดยจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ต้องขอโทษทุกฝ่ายและถือว่าเป็นประสบการณ์สำคัญว่า จากนี้การกักตัวเพียง 14 วันอาจจะไม่เพียงพอ และอาจต้องทำการตรวจหาเชื้อทุกวัน พร้อมกันนี้ยืนยันผู้ต้องขังที่ติดเชื้อทุกคน ได้รับการดูแลอย่างดีด้วยมาตรฐานสาธารณสุข เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป

    พล.ต.ถนัดพล เปิดเผยว่า การระบาดที่เกิดขึ้นในเรือนจำกลางเชียงใหม่ เกิดจากญาติที่ไปเยี่ยมผู้ต้องขังนำเชื้อเข้าไป จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาด ยืนยันสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้แล้ว
    #คุณหมอขอบอก #ข่าวสดออนไลน์

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    “คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน” ของกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนด้วยข้อมูลที่ถูกต้องทางการแพทย์ และมีความรู้ที่เพียงพอในการตัดสินใจเข้ารับการฉีดวัคซีน ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยระบุถึง

    การเตรียมความพร้อม ก่อนระหว่าง และหลังการฉีดวัคซีน มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

    1.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนและขั้นตอนการรับบริการให้เข้าใจ

    2.สำรวจตนเองหากเจ็บป่วย มีไข้สูงในวันนัดหมายฉีดวัคซีน ควรแจ้งขอเลื่อนการฉีดออกไปก่อน

    3.เมื่อถึงวันนัดหมาย ควรไปถึงสถานที่ฉีดก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาที

    4.ตรวจสอบข้อมูลยืนยันตัวบุคคลลงทะเบียนผ่านไลน์ “หมอพร้อม” ในโทรศัพท์มือถือให้เรียบร้อย

    5.ให้ข้อมูลสุขภาพอย่างละเอียดและถูกต้อง เช่น ประวัติการแพ้ยา วัคซีน อาหาร สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ

    6.หลังได้รับวัคซีนควรเฝ้าระวังอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างน้อย 30 นาที

    7.เมื่อได้รับวัคซีนเข็มแรกควรเตรียมตัว สำหรับการนัดหมายฉีดวัคซีน เข็มที่ 2

    8.ทุกคนต้องสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง และล้างมือทั้งก่อน ระหว่าง หลัง การฉีดวัคซีน

    สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ เกิดขึ้นได้กับการฉีดวัคซีนทุกชนิด ถือเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่เป็นสัญญาณแสดงว่า ร่างกายกำลังถูกกระตุ้นให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน คือ

    1.อาการไม่พึงประสงค์ทั่วไป ได้แก่ ปวด บวม มีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ส่วนใหญ่หายได้เองใน 24-48 ชั่วโมง บรรเทาได้ด้วยการกินยาลดไข้ แก้ปวด พักผ่อน ดื่มน้ำ

    2.อาการไม่พึงประสงค์ที่ควรพบแพทย์ เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองวัคซีนมากเกินไป มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากอาจเกิดกับผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีน มักเกิดภายใน 30 นาที หลังการฉีด
    อาการที่พบ ได้แก่ ไข้สูงกินยาก็ไม่ลด หน้ามือเป็นลม ความดันเลือดต่ำ แน่นหน้าอก หายใจขัด รักษาให้หายได้ ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

    อย่างไรก็ตาม วัคซีนที่ได้รับการรับรอง และขึ้นทะเบียนแล้วถือว่าผ่านการพิสูจน์ว่า มีประโยชน์มากกว่าโทษ และไม่ก่อผลข้างเคียงรุนแรง หรือพบในอัตราที่ต่ำมาก

    ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดคู่มือวัคซีนสู้โควิดฯ ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ ได้ที่ http://ssss.network/2uq08 และติดตามข้อมูลเพิ่มได้ที่ www.thaihealth.or.th/ไทยรู้สู้โควิด
    #คุณหมอขอบอก #สสส

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า นายแมตต์ แฮนค็อก รัฐมนตรีสาธารณสุขอังกฤษ ออกมาประกาศเตือนว่า โควิดสายพันธุ์อินเดีย สามารถ “แพร่กระจายรวดเร็วราวไฟป่า” ในกลุ่มประชาชนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน

    ขณะที่สำนักสาธารณสุขอังกฤษ ระบุว่า มีผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์อินเดีย ในอังกฤษเพิ่มมากกว่า 2 เท่า มีจำนวน 1,313 ราย จากที่สัปดาห์ก่อนมี 520 ราย

    อย่างไรก็ตาม อังกฤษยังจะผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ในวันนี้ต่อไปตามแผน โดยผับ บาร์ ร้านอาหารเปิดให้บริการในอาคารได้ เช่นเดียวกับโรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ โรงแรม และพื้นที่สำหรับเด็ก ส่วนการรวมตัวในที่สาธารณะจำกัดจำนวนสูงสุด 30 คน ส่วนพื้นที่ในอาคารไม่เกิน 6 คน หรือ 2 ครัวเรือน

    #ข่าวต่างประเทศ #ข่าวโมโน29 #Mono29News #Mono29 #india #covid #โควิด #โรคระบาด #อินเดีย #อังกฤษ

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    17.05.21

    Gratulerer med dagen Norge! 17 Mai

    แอด มีเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ วันที่ 17 พฤษภาคม มาฝากกันค่ะ

    21 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันที่ 17 พฤษภาคม

    1.วันรัฐธรรมนูญนอร์เวย์ และ วันชาติของ นอร์เวย์ ถือเป็นวันหยุดประจำปี ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันเฉลิมฉลองที่ระลึกถึงเหตุการณ์วันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1814 ที่ ชาวนอร์เวย์ มีรัฐธรรมนูญ เป็นของตนเอง

    2.วันที่ 17 พฤษภาคม (Syttende Mai) ถือเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ด้วยเครื่องแต่งกายที่มีสีสัน เป็นเอกลักษณ์ที่เรียกว่า Bunads รวมทั้ง การเดิน ขบวนพาเหรด , ดนตรี และ การกิน ไอศกรีม แบบไม่อั้น!

    3.17 พฤษภาคม เป็นวันที่มีความสำคัญมากทาง ประวัติศาสตร์ สำหรับ ชาวนอร์เวย์ และ ลูกหลานของ ชาวนอร์เวย์ ทั่วโลกไม่น้อยไปกว่า วันประกาศอิสรภาพ ใน อเมริกา

    4.เหตุที่เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 17 พฤษภาคม (Syttende Mai) ของทุกปี เนื่องมาจาก การลงนาม รัฐธรรมนูญ ของ ประเทศ นอร์เวย์ ในวันที่ 17 พฤษภาคม 1814 ที่เมือง Eidsvoll จึงทำให้วันนี้กลายมาเป็นวันหยุดสำคัญประจำชาติ นอร์เวย์

    5.ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1397 - ค.ศ 1814 ประเทศ นอร์เวย์ เคยเป็น สหภาพกับ ประเทศเดนมาร์ก (Unionen mellom Danmark og Norge) ยาวนานถึง 417 ปี : รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมใด้จาก http://samfunnskunnskap.no/?page_id=815&lang=th

    6.นักเขียน ชื่อดัง Henrik Wergeland เป็นหนึ่งใน ชาวนอร์เวย์ คนแรกๆที่ต้องการทำให้วันที่ 17 พฤษภาคม เป็น วันแห่งการเฉลิมฉลองของชาติ และ เขายังเป็นผู้เขียน เพลงชาติสำหรับเด็ก Vi ere en nasjon, vi med (We are a nation, we too) เป็นคนแรกอีกด้วย

    7.ตลอดช่วงเวลาที่ Henrik Wergeland มีชีวิตอยู่นั้น เขาได้รับการขนานนามว่า "Syttende Mai King"

    8.Nicolai Wergeland บิดาของ Henrik Wergeland เป็นหนึ่งใน 112 คนที่เข้าร่วมประชุมที่เมือง Eidsvoll เพื่อ เขียน และลงนามใน รัฐธรรมนูญ ของ ประเทศ นอร์เวย์

    9.รัฐธรรมนูญ ของ ประเทศ นอร์เวย์ มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตั้งแต่เริ่มใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ 1814 หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ รัฐธรรมนูญ ในปี ค.ศ. 1851 นั่นคือ การให้สิทธิเสรีภาพแก่ ชาวยิว อย่างเต็มที่ และในทุกวันนี้ ผุ้คนใน นอร์เวย์ ทุกคนมีสิธิ และ ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน โดยไม่มีการแบ่งแยก เชื้อชาติ, เพศ และ ศาสนา

    10.ขบวนพาเหรดสำหรับเด็กๆ (barnetog) ที่เริ่มเดินขบวนในวันที่ 17 พฤษภาคมครั้งแรก เกิดขึ้นในปี 1870 ขณะนั้นมีเพียงเด็กผู้ชายประมาณ 200 คนในปีแรก ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปเด็ก ๆ ทั้งเด็กชาย และ เด็กหญิง ได้เข้าร่วมการเดินขบวนในทั่วทุกภาคของประเทศ อีกความสำคัญหนึ่งของ Syttende Mai นั้นถือว่า "วันเด็กแห่งชาติ” อีกด้วย

    11.เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมานานกว่า 100 ปีแล้ว เนื่องด้วย พระมหากษัตริย์ และ สมาชิก ราชวงศ์ นอร์เวย์ หลายพระองค์ เสด็จพระราชดำเนิน โบกมือให้เด็ก ๆ และ พสกนิกรเฝ้าฯรอรับเสด็จ จากระเบียงของ พระราชวัง ใน ออสโล มีช่วงที่ มิได้ทำพิธีการตามธรรมเนียมนี้ นั่นคือ เมื่อครั้ง ประเทศ นอร์เวย์ ตกอยู่ภายไต้การยึดครองของ เยอรมันนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในระหว่างปี ค.ศ 1940-1944

    12.วงดนตรี ของโรงเรียน ที่เล่นในขบวนแห่ Syttende Mai เป็นครั้งแรก ในปี 1902 ถูกก่อตั้งขึ้นใน เดือน กันยายน 1901

    13.การเล่นดนตรี และ วงดนตรี เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เด็กๆ นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย และ สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก ๆ ประเทศ นอร์เวย์มีเด็ก ๆ มากกว่า 27,000 คน ที่เป็นสมาชิกของวงดนตรี และ เมื่อถึงวันที่ 17 พฤษภาคม พวกเขาก็ออกมาเล่นดนตรีเพื่อเฉลิมฉลองในขบวนพาเรด

    14.ชาวนอร์เวย์ เริ่มสวมชุด bunads ที่ทำจากเครื่องแต่งกายพื้นบ้านของแต่ละภาค ที่เรารู้จักในทุกวันนี้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมเมื่อ 100 กว่าปีก่อน

    15.Bunads ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ มาจาก เสื้อผ้าที่ เกษตรกรชาวนอร์เวย์ สวมใส่ในช่วงงานเทศกาลต่างๆเมื่อปี 1800

    16.Hulda Garborg เป็น นักเขียน, นักประพันธ์,นักเขียนบทละครกวี, นักเต้นพื้นเมือง, และ อาจารย์สอนละคร เธอเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อประเพณีการแต่งกายพื้นเมืองในนอร์เวย์ เธอชอบสวม หมวกปานามา และ ถุงมือ กับชุด bunads ของเธอ

    17.ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 การแต่งตัวเด็กๆด้วยชุด bunads เพื่อเต้นรำในวงหรือ leikarringar ได้รับความนิยมอย่างมาก

    18.เป็นเวลากว่า 140 ปีมาแล้ว ที่เด็กๆ ได้ร้องเพลงชาติ “ Ja, vi elsker dette landet” แปลว่า“Yes, we love this country” ที่เขียนคำร้องขึ้นโดย Bjørnstjerne Bjørnson และประพันธ์ทำนองโดย Rikard Nordraak ในปี 1859

    19.ในช่วงการถูก เยอรมันนี เข้ายึดครอง ประเทศ นอร์เวย์ ในช่วงระหว่างปี 1940 และ 1945 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, 17 เมื่อถึงวันที่ 17 พฤษภาคม ผู้คนที่เข้าร่วมขบวนพาเหรดถูกห้าม มิให้ใส่เสื้อผ้าที่มีสีของธงชาติ นอร์เวย์

    20.ธงชาติ ของ ประเทศ นอร์เวย์ สีแดง สีขาว และ สีน้ำเงิน กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความ เข้มแข็ง ยิ่งกว่าเก่า ของ ประเทศ นอร์เวย์ ใน วันแห่งการปลดปล่อย (Liberation Day) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 หลังจากที่ การยึดครอง ของ เยอรมันนี ได้สิ้นสุดลง ในสงครามโลกครั้งที่ 2

    21.ชาว นอร์เวย์ จะทาน ไอศกรีม ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม มากกว่าปรกติ 5 - 10 เท่า เมื่อเทียบกับวันอื่น ๆ ของปี เป็นวันที่เด็ก ๆ และผู้ใหญ่ สามารถกิน ไอศกรีม ได้มากเท่าไหร่ก็ใด้ตามที่พวกเขาต้องการ

    ..............

    อ่านรวมข่าว & มาตรการโคโรนา ของ ประเทศนอร์เวย์
    http://norgetiltak.blogspot.com

    อ่าน นอร์เวย์สไตล์วาไรตี้
    https://www.blockdit.com/norwaystyle

    อ่าน คำคมข่าวนอร์เวย์
    https://www.facebook.com/norgeutrykk

    #นอร์เวย์ #ข่าวนอร์เวย์ #norway #รายงานข่าวประจำวัน
    .
    แปลภาษาไทยโดย Facebook เรื่องแปล - ข่าวนอร์เวย์
    https://www.facebook.com/whatisgoingoninnorway

    บรรณาณุกรม :
    https://no.wikipedia.org/wiki/«Eidsvold_1814»

    https://en.wikipedia.org/wiki/Norwegian_Constitution_Day

    ประวัติศาสตร์ประเทศนอร์เวย์โดยย่อ (Kort om Norges historie) :
    http://samfunnskunnskap.no/?page_id=815&lang=th

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เตือน ระวังแพ้ น้ำยาทาเล็บ สถาบันโรคผิวหนังชี้ สีแดงเสี่ยงสุด

    17 พ.ค. 64 กรมการแพทย์ สถาบันโรคผิวหนัง เตือนอันตรายจาก น้ำยาทาเล็บ เป็นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง อุบัติการณ์ เป็น 1 – 3 เปอร์เซ็นต์ ในผู้ใช้บริการและผู้ที่ประกอบอาชีพ สีที่มีการแพ้บ่อยคือ สีแดง พร้อมแนะวิธีป้องกันและการรักษาที่ถูกวิธี

    ทั้งนี้ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การทาสีเล็บโดยทั่วไป สีที่มีการแพ้บ่อยคือ สีแดง สารเคมีที่พบการแพ้บ่อยที่สุดคือ โทซิลาไมด์ ฟอร์มาดีไฮด์เลซิน เบนโซฟรีโนน ไดบิลทิลทาลเลตฟอร์มาดีไฮด์ ส่วนการต่อเล็บแบบอะคริลิค มักแพ้ส่วนประกอบของกาว เรียกว่า cyanoacrylate ส่วนประกอบในขั้นตอนการรองพื้น และขั้นตอนการเคลือบเล็บสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้บ่อยคือ methacrylate ส่วนการทาสีเจล มีสาร methacrylate ก่อภูมิแพ้เช่นเดียวกับการต่อเล็บอะคริลิค

    อย่างไรก็ตาม แพทย์หญิง มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า อาการแพ้สังเกตได้หลังจากทาเล็บ 1 – 2 วัน รอบเล็บที่แพ้จะบวม แดง คัน ชาที่ปลายนิ้ว รวมถึงบริเวณที่เล็บไปสัมผัส เช่น รอบตา ริมฝีปาก ใบหน้า ลำคอ เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้ไปสัมผัสบริเวณดังกล่าว ในการต่อเล็บอะคริลิค และการทาสีเจล อาจมีอาการเล็บแห้ง หลุด ลอก เล็บเปลี่ยนสีได้

    Source : #AmarinTV #ข่าววันนี้ #ข่าว

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เซ็น ค้ำประกัน ให้ญาติ สุดท้ายถูกบังคับคดี จ่อโดนยึดบ้าน

    หนุ่มพิการโปลิโอแต่กำเนิดสุดช้ำ วอนผู้ที่พ่อเคยเซ็น ค้ำประกัน ให้เห็นใจ หลังถูกบังคับคดียึดบ้าน พร้อมอยากเตือนเป็นอุทาหรณ์ จะเซ็นค้ำให้ใคร คนนั้นควรมีความรับผิดชอบ

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2564 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายวิเชียร ยอรัมย์ อายุ48 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่47/1หมู่12 ต.กันจุ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นผู้พิการโปลิโอแต่กำเนิด ได้ร้องเรียนต่อผู้สื่อข่าวว่า บ้านที่พักอาศัย ลักษณะบ้านไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูง ซึ่งเป็นสมบัติของฝ่ายแม่ โดยมีพ่อเป็นเจ้าบ้าน แต่ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว 1 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งได้มีจดหมายจากสำนักงานบังคับคดีมาติดประกาศขายทอดตลาด โดยในตอนแรกนั้นตนกับน้องชาย ก็ต่างสงสัยกันมากว่าเกิดอะไรขึ้น จึงโทรไปสอบถามที่บังคับคดี ก็ได้ความว่า

    ตอนที่พ่อตนยังมีชีวิตอยู่ ได้เป็นผู้เซ็นค้ำประกันให้ "อา" ออกรถยนต์ แต่ต่อมาอาปล่อยรถโดนยึดและเขาได้ขายเข้าตลาด โดยต้องเสียส่วนต่างประมาณเจ็ดหมื่นบ่าท ซึ่งระหว่างนั้น ทางครอบครัวไม่รู้เรื่อง และไม่มีจดหมาย หรือเอกสารอะไรมาแจ้งเตือนอะไรเลย อยู่ๆ ก็มีหมายมาติดแบบนี้ จึงได้ติดต่อสอบถามไปทางผู้เป็นอา แต่เขาก็ได้แต่เฉยๆ ไม่ยอมรับผิดชอบอะไร ทำให้ตนซึ่งเป็นผู้พิการ ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก

    อีกทั้งน้องชาย จากที่เคยทำงานในบริษัทฯที่มั่นคง มีเงินเดือนสม่ำเสมอ แต่ก็ต้องยอมลาออกมา เพราะพากันวิ่งเต้น ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ เกรงว่าบ้านที่อยู่อาศัยจะถูกยึด ล่าสุดได้ไปที่สำนักงานบังคับคดี และได้บอกความจริงกับเขาว่า ตนไม่มีเงินก้อนทั้งหมด เพราะตัวเองก็พิการ จะหาเงินที่ไหนมาจ่าย โดยทางบังคับคดี ก็เห็นใจ จึงได้ข้อสรุปยอมให้ผ่อน เดือนล่ะ 4,000 บาท โดยเริ่มจากเดือนนี้ ซึ่งตนก็ยังไม่รู้ว่าจะทำวิธีไหน ถึงจะมีเงินเดือนละ 4,000 บาท ไปจ่ายเขา เพราะลำพังรายได้จากเบี้ยคนพิการ ก็แค่เดือนละ 800 บาทเท่านั้น ส่วนแฟนของตน ก็ป่วยเป็นโรคไต ไม่สามารถทำงานหนักอะไรได้ โดยบางเดือน ก็ต้องขอผ่อนค่าไฟ เพราะไม่มีจริงๆ จึงอยากวอนให้ผู้ที่พ่อตนเคยไปเซ็นค้ำ ได้โปรดเห็นใจ ควรรับผิดชอบกับเรื่องราวดังกล่าวด้วย เพราะตนกับน้องชายนั้น ไม่รู้เรื่องด้วยเลย และอยากให้ทางไฟแนนซ์ ควรจะตามกับคนซื้อเป็นหลัก

    จากการสอบถาม นายวิเชียร ยอรัมย์ อายุ48 ปี เปิดเผยว่า ตนเองนั้นไม่รู้เรื่องมาก่อน คือแต่ก่อนทางพ่อของตนนั้นได้ไปเซ็นค้ำรถให้กับอา ซึ่งที่ผ่านมา มีการขึ้นศาลกันหรือเปล่าก็ไม่รู้ แล้วอยู่ๆ ก็มีหมายศาลบังคับคดีมาสั่งยึดบ้าน โดยตนกับน้องไม่รู้เรื่องเลย ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ทั้งที่ไม่รู้เรื่องอะไรด้วย หากต้องถูกยึดบ้าน ก็ไม่รู้จะไปอยู่ไหน อีกทั้งในตอนนี้ พ่อได้เสียไปแล้วประมาณ 1 ปี แต่กลับมีหมายศาลมาติดหน้าบ้าน ในหมายนั้นเขียนประมาณว่าจะยึดบ้าน ซึ่งตนเองนั้นพิการด้วย ทำงานไม่ได้ รายได้มีแค่เงินเดือนพิการแค่ 800 บาท และเงินจากพี่น้องบ้างเล็กๆ น้อยๆ บางเดือนก็ค้างค่าน้ำค่าไฟ ก็มี อยากจะฝากเตือนคนที่จะซื้อรถ ถ้าหากไม่สามารถใช้หนี้ที่ตัวเองสร้างไว้ได้ก็อย่าไปปล่อยให้คนที่เซ็นค้ำให้เดือดร้อนเลย ไม่อยากให้คนอื่นโดนแบบนี้

    Source : #AmarinTV #ข่าววันนี้ #ข่าว

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    โควิดเชียงใหม่ พุ่งระทึก สั่งเข้ม 4 ตำบล ห้ามรวมตัวมากกว่า 10 คน ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท

    โควิดเชียงใหม่ พุ่งระทึก สั่งเข้ม 4 ตำบล ห้ามรวมตัวมากกว่า 10 คนขึ้นไป เว้นเป็นกิจกรรมทางราชการ

    ประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เผยแพร่ข้อมูลจากประกาศของทางจังหวัด เรื่อง 4 ตำบล อันได้แก่ ต.ทุ่งต้อม ต.แม่นะ ต.เชิงดอย ต.ยางเปียง ห้ามจัดงานหรือกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 10 คน ขึ้นไป ภายหลังสั่งล็อกดาวน์ หมู่บ้านสันจิกุ่ง สันป่าตอง

    นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 73/2564 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 จึงออกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 56/2564 เรื่อง มาตรการควบคุมการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก เฉพาะบางพื้นที่ โดยระบุว่า

    "ห้ามจัดงานหรือกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 10 คน ขึ้นไป ในพื้นที่ ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด และพื้นที่ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย เว้นแต่เป็นการจัดกิจกรรมของทางราชการ ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด สำหรับมาตรการอื่น ๆ ให้ถือปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 53/2564 เรื่อง มาตรการควบคุมการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2564"

    ก่อนหน้านี้จงหวัดเชียงใหม่มีประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดพื้นที่ควบคุมการเข้า-ออก 2 พื้นที่ ได้แก่ บ้านไร่ ต.หารแก้ว อ.หางดง และ หย่อมบ้านห้วยน้ำฮาก ต.แม่นะ อ.เชียงดาว และเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 64 จังหวัดเชียงใหม่มีประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ (ฉบับที่ 10) เรื่องกำหนดพื้นที่ควบคุมการเข้า-ออก โดยขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ งดการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ บ้านสันจิกุ่ง หมู่ที่ 7 ต.ทุ่งต้อม อ.สันป่าตอง และขอความร่วมมือประชาชนบ้านสันจิกุ่ง งดเดินทางออกนอกหมู่บ้าน ให้อยู่ในบ้าน และงดกิจกรรมรวมกลุ่ม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15-28 พ.ค. 64

    ทั้งนี้คำสั่งฯ ที่ 64/2564 บังคับใช้ระหว่างวันที่ 17-30 พฤษภาคม 2564 และหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

    Source : #AmarinTV #ข่าววันนี้ #ข่าว
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,977
    ค่าพลัง:
    +97,149
    UPDATE: ‘ธปท.’ เผยไตรมาสแรกปีนี้ แบงก์พาณิชย์มีกำไร 4.38 หมื่นล้านบาท ลดลง 12% ส่วนสินเชื่อยังชะลอตัว
    .
    สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1 ปี 2564 ว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2564 จำนวน 43.8 พันล้านบาท ลดลง 12.02% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน โดยหลักจากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่ลดลง
    .
    ทั้งนี้ หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า กำไรสุทธิปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายเงินสำรองที่ลดลงจากการกันสำรองในระดับสูงในปี 2563 ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.80% จากไตรมาสก่อนที่ 0.32%
    .
    ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) ลดลงมาอยู่ที่ 2.43% จากไตรมาสก่อนที่ 2.52%
    .
    ไตรมาส 1 ปี 2564 ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 3,017.2 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ที่ 20% เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 823.4 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL Coverage Ratio) อยู่ที่ 149.7% และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ 186.5%
    .
    ภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1 ปี 2564 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 3.8% เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2563 จาก 5.1% ในไตรมาสก่อนหน้า แบ่งเป็น
    .
    1. สินเชื่อธุรกิจ (มีสัดส่วน 64.3% ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ 3% เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2563 โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ชะลอตัวลงจากการเร่งใช้สินเชื่อในช่วงเดียวกันของปีก่อนเพื่อเสริมสภาพคล่อง และส่วนหนึ่งเป็นผลจากการระดมทุนผ่านธนาคารพาณิชย์แทนตลาดการเงินที่มีความผันผวนสูงในช่วงต้นปีที่แล้ว ขณะที่ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ ส่งผลให้สินเชื่อ SMEs หดตัวในอัตราท่ี ลดลง แม้ไม่รวมผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan)
    .
    2. สินเชื่ออุปโภคบริโภค (มีสัดส่วน 35.7% ของสินเชื่อรวม) ขยายตัว 5.3% เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2563 และปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 4.4% โดยหลักจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ที่อยู่อาศัยที่ปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะแนวราบ ประกอบกับการส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการ และผลบวกจากมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมของภาครัฐ
    .
    ขณะที่สินเชื่อรถยนต์ชะลอตัวตามยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ยังคงหดตัวจากปีก่อน ด้านสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ได้รับผลจากการระบาดในช่วงแรก และสินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวได้จากความต้องการสภาพคล่องในภาคครัวเรือน ซึ่งบางส่วนเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันผ่าน Online Platform และบัตรกดเงินสด
    .
    ด้านคุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1 ปี 2564 ยังคงได้รับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหน้ีและการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดช้ันลูกหนี้ โดยยอดคงค้างสินเช่ือด้อยคุณภาพ (Non-Performing Loan: NPL หรือ Stage 3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 537.1 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 3.10% ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (Significant Increase in Credit Risk: SICR หรือ Stage 2) อยู่ที่ 6.41% ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 6.62%
    .
    ธปท. ประเมินว่าระบบธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็ง โดยมีเงินกองทุน เงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง สามารถรองรับความต้องการสินเชื่อ และความผันผวนของเศรษฐกิจในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้
    .
    ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นช่วยชะลอการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์
    .
    “แนวโน้มสินเชื่อมองว่ามีโอกาสขยายตัวได้ โดยได้รับอานิสงส์จากโครงการสินเชื่อฟื้นฟูเป็นสำคัญ ส่วนแนวโน้ม NPL มีความเป็นห่วงต่อกลุ่มบริการ ประกอบด้วย ธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยว ขนส่งนักท่องเที่ยว สายการบิน รวมถึงกลุ่มที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ร้านอาหารและภัตตาคาร แต่เชื่อว่าเมื่อเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการสำหรับร้านอาหาร ผู้ประกอบการน่าจะดีขึ้น” สุวรรณีกล่าว
    .
    ด้านนโยบายการจ่ายปันผลนั้น ธปท. อยู่ระหว่างการพิจารณา โดยจะต้องดูถึงฐานะของธนาคารพาณิชย์ ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น ผู้ฝากเงิน และผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งจะมีการชี้แจงในรายละเอียดต่อไป
    .
    อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co/wealth/
    #TheStandardWealth

    —————————————————

    ไม่พลาดข่าวไฮไลต์ประจำวัน มาเป็นเพื่อนกับ THE STANDARD WEALTH ในไลน์ คลิก https://lin.ee/xfPbXUP

     

แชร์หน้านี้

Loading...