ข้อดี ของ อากาสกสิณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 10 พฤศจิกายน 2008.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG]

    -ได้ชื่อว่าทำตามโอวาทของพระพุทธเจ้า ดังที่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๒ พระพุทธองค์ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญอากาสกสิณแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งอากาสกสิณนั้นเล่า

    - เมื่อฝึกชำนาญแล้ว ทำให้ภาวะหยาบ ภาวะที่เป็นฝ้ามัวบดบังรายละเอียดในกายหายไป เหลือแต่ความโปร่งใสแบบเดียวกับอากาศ เกื้อกูลต่องานมนสิการปฏิกูลในร่างมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งสามารถหลีกเลี่ยงอุปสรรคอื่นๆที่บั่นทอนประสิทธิภาพการรู้แสงและการเห็นรูปที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะพระอนุรุทธไว้ได้ทั้งหมด เรียกว่าได้เครื่องมือส่องสำรวจร่างกายชิ้นเยี่ยมไว้ในมือแบบหยิบฉวยมาใช้งานกันทันใจ

    - ระหว่างฝึกอากาสกสิณ แม้ยังไม่ได้ผล ก็ทำให้รู้จักสภาพจิตของตนเอง แยกแยะออกระหว่างคิดฟุ้งกับนิ่งรู้ รวมทั้งว่างแบบเฉยเมย ว่างแบบอากาศ และว่างแบบปล่อยวางจากการเห็นกายใจไม่ใช่ตัวตน เมื่อสามารถแยกแยะออก ก็จะไม่หลงไปติดกับปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางจิต

    - เป็นเครื่องอยู่ที่มีความแข็งแรง เหมือนบ้านสร้างอย่างดีทนแดดทนฝน หากเปรียบลมหายใจเป็นราวเกาะให้เริ่มยืนได้สำหรับผู้หัดใหม่ ก็ต้องเปรียบอากาสกสิณเหมือนหลุมหลบภัยกิเลสหยาบทั้งหลายสำหรับผู้มีกำลังแล้วพอสมควร


    - มีความเห็นอารมณ์ชัดทั่ว เพราะรูปธรรมทั้งหลายย่อมหยาบกว่าอากาศ เมื่อเราสามารถล็อกจิตไว้กับช่องว่างอันเป็นธาตุละเอียด จิตก็ย่อมมีคุณภาพและประสิทธิภาพเกินพอจะหวนกลับไปรู้ธาตุหยาบอื่นๆได้ง่าย และนั่นก็ทำให้หลุดจากอารมณ์ยึดติดแบบโลกๆ เห็นอารมณ์แบบโลกๆเป็นเพียงของหยาบ และมีกำลังใจอยากภาวนาเป็นอย่างมาก เมื่อทำอากาสกสิณได้ ก็จะเห็นโอกาสปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ให้แจ่มแจ้งตลอดสาย เช่นถ้าหากใครเดินจงกรมหลังถอนจิตจากอากาสกสิณทันที จะพบข้อแตกต่างระหว่างสติธรรมดา กับความตั้งมั่นรู้ของจิตที่ทรงคุณภาพยิ่งยวด


    - มีอานิสงส์เช่นความสามารถในการบำบัดบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างง่ายๆ เพียงทำอากาสกสิณเข้าไปที่จุดเจ็บปวดหรือเจ็บป่วย ก็ทุเลาหรือหายเร็วอย่างน่าอัศจรรย์


    - อันตรายหรือผลข้างเคียงด้านลบจากความสำเร็จในอากาสกสิณนั้นแทบไม่มี หรือไม่มีเลย ทั้งนี้เพราะจิตที่ผูกอยู่กับความว่างแบบอากาศย่อมไม่พล่านอยากในอาการ "อยากเห็น" หรือ "อยากเล่น"

    แม้แต่โอกาสที่จะไปพัวพันกับสิ่งกระทบจิตในระดับละเอียดก็น้อยกว่ากรรมฐานชนิดอื่น

    ที่มา หนังสือมหาสติปัฏฐานสูตร ของ คุณดังตฤณ หน้า 189

    หรือที่ http://dungtrin.com/sati/chapter07.html
     
  2. Nyan Vitee

    Nyan Vitee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +68
    หวัดดีท่าน สันโดษ
    ได้อ่านแล้ว ลูกขอกราบพระศาสดา

    ผมเริ่มต้นฝึก อากาสกสิณ ตั้งแต่ยังรุ่น ๆ อยู่อ่ะครับ สนุกดี
    ลูกขอกราบอาจารย์แม่พิมพา ทองเกลาจากระยะไกล

    อาจารย์แม่สั่งสอนพวกเราเยอะแยะเหลือเกิน คิดถึงศิษย์พี่ ศิษย์น้อง ศิษย์ป้า ทุกท่านนะครับ หวังว่าท่านทั้งหลายคงสุขสบายกันดี

    ศิษย์ป้าเคยบอกว่า แม่ไม่ปล่อยให้พวกเราเป็นอะไรไปง่าย ๆ หรอก
    กราบครูบาอาจารย์ครับ
     
  3. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    อากาส หรือ อากาศ ที่มาแปลกันว่าลมนั้น

    ที่จริงตามบาลี อากาส แปลว่าช่องว่าง

    ทั้ง วาโยกสิณหรือกสิณลม และ อากาสกสิณ
    จัดอยู่ในกสิณ 10 ดังนี้
    ภูตกสิณ คือ ดิน(ปฐวี) น้ำ(อาโป) ลม(วาโย) ไฟ(เตโช)
    วรรณกสิณ คือ เขียว(นีล) เหลือง(ปีต) แดง(โลหิต) ขาว(โอทาต)
    กสิณอื่นๆ คือ แสงสว่าง(อาโลก) ช่องว่าง (อากาศ-ปริสฉินนากาส)


    และถ้าถึงขั้นไม่มีรูป
    จัดเป็นอรูปฌานขั้น 1 ใน อรูปฌาน 4 ขั้น คือ
    อากาสานัญจายตนะ (ช่องว่างไม่สิ้นสุด) - มีหลายคนนั่งสมาธิเข้าอรูปขั้นนี้โดยไม่รู้ตัวนะ
    วิญญาณัญจายตนะ (วิญญาณไม่สิ้นสุด) - อันนี้ก็มีคนเข้าได้มาก จะทำให้ตาทิพย์เปิด
    อากิญจัญญายตนะ (ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์แม้แต่วิญญาณ)
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ (มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

    ;welcome2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2008
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาเสริม

    อากาสานัญจายตนะ ที่ว่า บางคนก็ไม่รู้ตัวว่าทำได้ ทำอยู่ ก็คือกลุ่มที่ทำวิปัสสนา
    โดยเอาปัญญานำสมาธิ ยกเอาอารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด ในปัจจุบันมาตามรู้ ตามดู
    ที่เรียกกันตามความนิยมตอนนี้คือ ดูจิต ซึ่งก็คือการดูอาการของจิต(เจตสิก) เพื่อการ
    เห็นปรมัตถ์ธรรม แต่เนื่องจากมันเป็นส่วนของนาม(นามรูป - มโนสังขาร ) ทำให้
    เมื่อดูไปเรื่อยๆจะเกิดการแยกรู้ระหว่าง รูป กับ นาม และผลของช่องว่างที่เกิดขึ้น
    ระหว่างช่วงแยก รูป กับ นาม ก็มักจะกลายไปเป็นความว่างที่เป็นช่องว่าง เป็นอากาศ
    เช่น เมื่อภาวนาดูจิตจนเริ่มชำนาญแล้ว พอตาไปกระทบรูป สิ่งของ จะไม่เกิด
    การสำคัญว่านั้นคือสิ่งของ จิตจะไม่ขานชื่อของสิ่งนั้น อีกนัยหนึ่งก็คือ เห็นเป็น
    ของว่างไม่ต่างจากอากาศ และเมื่อทำจิตใจหนักแน่นไปกับการกระทบรูปข้างนอก
    จนเพลิน จนลืมกายลืมใจ จิตก็จะเข้าสู่ อากาสาวิญญจนะ ไปเองโดยไม่รู้ตัว เพราะ
    ตัณหาได้เข้าแทรก เกิดความชอบใจในความว่างที่เกิดขึ้น จิตไปคิดว่ามันคือความสุข
    ที่อาศัย รู้ไม่ทันว่าจิตไปจับความว่าง

    หากดูไม่ทันอีก แต่พอเห็นได้บ้างว่า ความว่างที่จิตไปจับมันไม่เที่ยง มีเข้ามีออก มี
    ว่างมีฝุ้งซ่านสลับจิตอาจจะเผลอไปเห็นว่า วิญญาณ(การรู้ความว่าง)เป็นตัวปัญหา
    เลยเปลี่ยนสิ่งที่จิตรู้ไปรู้วิญญาณแทนความว่าง โดยไม่ทันตัณหาที่เกิดขึ้นทำให้
    เห็นผิดคิดว่าหากทำให้วิญญาณหายไปก็คงจะดี เลยไปจ้องใส่ตัววิญญาณเข้า ทำ
    บ่อยๆ จิตจะยินดีในความว่างที่ยิ่งกว่าอากาสา ก็จะเริ่มเข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะ
    อย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว(ขาดสติ) เข้าไปอีก

    แต่พอเห็นว่า มันก็มีเข้ามีออกเหมือนเดิม ไม่ใช่นิพพานแน่ๆ หากยังมีเข้ามีออก
    แต่ส่วนใหญ่มาถึงตรงนี้แล้วจะเอ๊ะใจว่าไม่ใช่นิพพานจะยากขึ้นแล้ว เพราะผลของ
    วิบากในการเข้าฌาณจะส่งผลนาน หากทำอย่างไม่มีสติเจริญอยู่ด้วยจะยิ่งงมโข่ง
    ไปเลย แต่ถ้าเอ๊ะใจเห็นว่ามีเข้ามีออกก็อาจจะไปเห็นว่าเพราะจิตนั้นแหละตัวดี ที่
    มันไปมีวิญญาณเข้าไปรู้ ก็จะมาเพ่งตัวจิตจนเกิดความว่างที่ละเอียดเข้าไปอีก หาก
    ไม่ทันตัณหาที่เห็นสุขในความว่างยิ่งกว่า สำคัญว่านิพพานก็จะติดหนักเข้าไปอีก
    หากมีสติก็พอเห็น แต่ถ้าภาวนาอย่างขาดสติก็ยิ่งไปกันใหญ่ หากยังคงเดินหน้า
    เผิดถอนความว่างผิดทางไปอีกคราวนี้ก็จะถึงขั้นไปยินดีกับการที่เพ่งจิต(ธาตุอย่างหนึ่ง)
    จนสัญญามันอ่อนลงจนเหมือนดับ ก็จะกลายเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ (มีสัญญาก็ไม่
    ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

    สติ จึงจำเป็นในทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ

    หากทำอะไรอย่างขาด สติ แล้ว โอกาสที่ผิดพลาดจะมีสูง แต่ถ้าทำได้อย่าง
    มีสติแล้ว หยุดรู้ทันที่ อากาสาวิญญาจนะ นั้นแหละพอแล้ว และดีที่สุด เป็นที่
    พออาศัยต่อการทำความสงบของจิต เพื่อให้จิตมีกำลังออกมาเจริญวิปัสสนา
    ต่อได้ ไม่เนิ่นช้าเกินไป

    ของจริงนั้นอยู่ที่การทำ นิพพานให้แจ้ง ไม่ใช่ไปทำฌาณให้แจ้งซึ่งผลของการ
    แจ้งในฌาณก็แค่ได้ของเล่นออกมาเล่น ไม่ใช่ทำให้เห็นของจริง(นิพพาน) แต่
    อย่างใด มันไม่เกี่ยวกันเลย
     
  5. ติ่งส้ม

    ติ่งส้ม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2020
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +18
    อานิสงค์ดีครับ บำบัดบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บได้
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    ขอพูดถึงแค่ในส่วน ของการใช้กสิณรักษาโรคนะครับ

    กรณีการรักษาร่างกายด้วยกสิณนะครับ
    แบบการใช้พลังงานของกสิณที่ได้จาก
    จากการฝึกกรรมฐานกองนี้มานะครับ


    เราจะใช้ในส่วน ของพลังงานกสิณ ครับ
    ที่สามารถใช้กสิณช่วยรักษาแล้วบรรเทาได้นั้น
    ก็เพราะว่า พลังงานของกสิณนี้เข้าไปปรับสมดุลย์
    อวัยวะชิ้นนั้นๆ หรือ ร่างกายบริเวณนั้น
    ให้มีความสมดุลย์เหมือนปกติ
    สมดุลย์คือ ถ้าขาดก็เพิ่ม
    ถ้าเกินก็ลด โดยปกติแล้ว ที่จะใช้หลักๆ
    ก็คือ กสิณไฟ กสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม...
    เรียกว่า เป็นการรักษาในระบบของธาตุครับ

    ธาตุที่รวมเป็นร่างกาย ประกอบด้วยหลักๆ คือ
    ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ และยังมีจิตธาตุ
    และวิญญานธาตุ ส่วนอากาศธาตุมีอยู่แล้วปกติภายนอกครับ



    ส่วนกสิณอากาศจะไม่ได้ใช้ในการรักษาโดยตรงนะครับ
    แต่เป็นส่วนที่ช่วย ในการถ่ายเทธาตุต่างๆ
    จากภายนอกเข้าไป ยังอวัยวะนั้นๆ
    หรือ ถ่ายเทธาตุจากภายในของอวัยวะนั้นๆ ออกไปภายนอก



    และในกรณีที่ รักษาโรคต่างๆ นั้น
    ยังไม่พบว่า ใช้กสิณอากาศในการรักษาเฉพาะจุดได้นะครับ

    แต่กสิณอากาศเป็นธาตุสำคัญที่ขาดไม่ได้เช่นกัน
    เพราะไม่งั้น ตัววิญญานธาตุก็ไม่สามารถเดินทางได้
    เพราะวิญญานธาตุ เป็นตัวสำคัญที่ใช้เชื่อม ระหว่างพลังงาน
    กสิณจากภายนอก เพื่อเข้าไปยังอวัยวะภายใน
    รวมทั้งธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของร่างกาย
    ไม่ว่า ที่สร้างทั้งจากภายนอกและภายในครับ


    ยกเว้นกรณีด้วย ที่จะใช้กสิณอากาศในการช่วยรักษาเบาเทาโรคได้
    ก็ต่อเมื่อ ทำอาปาฯ แล้ว ดึงเป็นก้อนมวลพลังงาน ให้อยู่บนฝ่ามือ
    ได้ก่อน แล้วนำฝ่ามือนั้น ไปใกล้บริเวณ อวัยวะที่จะทำการรักษา
    จนกระทั่งมีความรู้สึกว่า มวลพลังงานนั้นหนาแน่นขึ้น
    แล้ว เอามวลพลังงานนั้น ไปเผากับเปลวไฟ ที่จุดจากเทียนสีขาว

    ซึ่งก็มีเทคนิคในการฝึกอยู่ หากเห็นว่า มีประโยชน์
    ในอนาคตจะนำมาลงให้อ่าน
    เพราะวิธีนี้ เหมาะสำหรับการใช้รักษาตัวเองครับ
     
  7. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252

แชร์หน้านี้

Loading...