เรื่องเด่น พระอรหันต์ มี 4 ประเภท จึงแสดงฤทธิ์ได้แตกต่างกัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 14 มิถุนายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    c_oc=AQmFHAT6lf92jUN9wxq1nMhWf2HMbVW0fE6Q_KSt9msvy1GANSiR9onSyd2aQKD5YTs&_nc_ht=scontent.fbkk2-4.jpg



    พระอรหันต์ มี 4 ประเภท จึงแสดงฤทธิ์ได้แตกต่างกัน



    ขอบคุณ https://www.youtube.com/@Namo_Saiboon
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    c_oc=AQmFHAT6lf92jUN9wxq1nMhWf2HMbVW0fE6Q_KSt9msvy1GANSiR9onSyd2aQKD5YTs&_nc_ht=scontent.fbkk2-4.jpg




    ๔. อรหันตสูตรที่ ๑
    ว่าด้วยพระอรหันต์เป็นผู้เลิศในโลก
    [๑๕๒] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง
    ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น
    ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นควรเห็นตามความเป็นจริง
    ด้วยปัญญาอันชอบ อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา
    ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
    กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อมรู้ชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้
    มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก กว่าสัตตาวาส
    และภวัคคภพ.
    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา
    ประพันธ์ต่อไปว่า
    [๑๕๓] พระอรหันต์ทั้งหลาย มีความสุขหนอ เพราะท่านไม่มีตัณหา
    ตัดอัสมิมานะได้เด็ดขาด ทำลายข่ายคือโมหะได้แล้ว. พระอรหันต์
    เหล่านั้น ถึงซึ่งความไม่หวั่นไหว มีจิตไม่ขุ่นมัว ท่านเหล่านั้นไม่แปด
    เปื้อนแล้ว ด้วยเครื่องแปดเปื้อนคือตัณหาและทิฏฐิในโลก เป็นผู้
    ประเสริฐ ไม่มีอาสวะ. เป็นสัตบุรุษ เป็นพุทธบุตร เป็นพุทธโอรส
    กำหนดรู้เบญจขันธ์มีสัทธรรม ๗ เป็นโคจร ควรสรรเสริญ. ท่านมหา
    วีรบุรุษ ผู้สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ ศึกษาแล้วในไตรสิกขา
    ละความกลัวและความขลาดได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมท่องเที่ยวไป โดย
    ลำดับ. ท่านมหานาคผู้สมบูรณ์ด้วยองค์ ๑๐ ประการ มีจิตตั้งมั่น
    ประเสริฐสุดในโลก ท่านเหล่านั้นไม่มีตัณหา. มีอเสขญาณเกิดขึ้นแล้ว
    มีร่างกายนี้เป็นครั้งสุดท้าย ไม่ต้องอาศัยผู้อื่น ในคุณที่เป็นแก่นสารแห่ง
    พรหมจรรย์. ท่านเหล่านั้นไม่หวั่นไหวเพราะมานะ หลุดพ้นจากภพใหม่
    ถึงอรหัตภูมิแล้ว ชนะเด็ดขาดแล้วในโลก. ท่านเหล่านั้นไม่มีความ
    เพลิดเพลินอยู่ในส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง เป็นพุทธ
    ผู้ยอดเยี่ยมในโลก ย่อมบันลือสีหนาท.
    จบ สูตรที่ ๔.
    **************************************************
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    จูฬปันถกเถรคาถา
    (พระจูฬปันถกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)

    [๕๕๙] พระผู้มีพระภาคได้เสด็จมา ณ ที่นั้น
    ทรงลูบศีรษะเรา ทรงจับแขนเรา พาเข้าไปสู่สังฆาราม
    [๕๖๐] พระศาสดาทรงอนุเคราะห์เรา
    ได้ทรงประทานผ้าเช็ดพระบาท ด้วยรับสั่งว่า
    เธอจงอธิษฐานผ้าที่สะอาดนี้ให้มั่นคง ณ ที่สมควร
    [๕๖๑] เราฟังพระดำรัสของพระองค์
    ยังยินดีอยู่ในพระศาสนา
    ได้ทำสมาธิให้เกิดเพื่อบรรลุประโยชน์สูงสุด
    [๕๖๒] เรารู้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่มาก่อน
    ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
    เราบรรลุวิชชา ๓
    ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
    [๕๖๓] ปันถกเถระเนรมิตตนหนึ่งพัน
    นั่งในอัมพวันที่น่ารื่นรมย์
    จนถึงเวลาเขามานิมนต์
    [๕๖๔] ลำดับนั้น พระศาสดาทรงใช้ทูต
    ให้ไปบอกเวลาฉันอาหารแก่เรา
    เมื่อทูตบอกเวลาฉันแล้ว
    เราก็ได้เหาะไปเฝ้า
    [๕๖๕] ถวายบังคมพระยุคลบาทพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
    ทีนั้น พระศาสดาทรงรับรองเราผู้ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่
    [๕๖๖] ปันถกเถระเป็นผู้ควรบูชาของชาวโลกทั้งมวล
    เป็นผู้ควรรับของที่เขานำมาบูชา
    เป็นเนื้อนาบุญของหมู่มนุษย์ ได้รับทักษิณาแล้ว

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต]
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๓๗}
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๒. สีหาสนิวรรค๔. จุลลปันถกเถราปทาน (๑๔)



    ๑๔. อรรถกถาจูฬปันถกเถราปทาน๑- ____________________________
    ๑- บาลีเป็นจุลลปันถกเถระ.

    อปทานของท่านพระจูฬปันถกเถระมีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.
    แม้พระเถระรูปนี้ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ พระองค์ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ.
    เนื้อความที่ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวด้วยอำนาจอัตถุปปัตติเหตุ ในเรื่องนี้ได้กล่าวไว้แล้วทั้งหมดในเรื่องของพระมหาปันถก ในอัฏฐกนิบาตนั่นแล.
    ส่วนเนื้อความที่แปลกกันมีดังนี้ว่า
    พระมหาปันถกเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ คิดว่าทำอย่างไรหนอ เราจึงจะสามารถให้จูฬปันถกะดำรงอยู่ในความสุขอย่างนี้บ้าง. ท่านจึงเข้าไปหาธนเศรษฐีผู้เป็นตาของตนแล้วกล่าวว่า โยมมหาเศรษฐี ถ้าโยมอนุญาต อาตมภาพก็จะให้จูฬปันถกะบวช. โยมมหาเศรษฐีพูดว่า ให้เขาบวชเถอะพระคุณเจ้า. พระเถระจึงได้ให้จูฬปันถกะนั้นบวชแล้ว.
    จูฬปันเถระนั้น เมื่อดำรงมั่นอยู่ในศีล ๑๐ ได้ดีแล้ว จึงเล่าเรียนคาถาในสำนักของพี่ชายว่า
    ดอกบัวโกกนุทะ มีกลิ่นหอม บานแต่เช้าตรู่ พึงมีกลิ่นยังไม่
    สิ้นไป ฉันใด เธอจงทอดทัศนาการดูพระอังคีรสผู้ไพโรจน์
    อยู่ ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงในกลางหาว ฉันนั้น ดังนี้.
    โดยล่วงไป ๔ เดือน ก็ยังไม่สามารถจะเรียนจำคาถานี้ได้. แม้ที่ได้เล่าเรียนแล้วก็ยังไม่ติดอยู่ในใจได้.
    ลำดับนั้น พระมหาปันถกะจึงกล่าวกะเธอว่า จูฬปันถกะเอ๋ย! เธอช่างอาภัพในพระศาสนานี้เสียจริงๆ เวลาผ่านไปตั้ง ๔ เดือนก็ยังไม่สามารถจะเรียนจำแม้คาถาสักคาถาหนึ่งได้ ก็แล้วเธอจักให้กิจแห่งบรรพชิตถึงที่สุดได้อย่างไร ไป! เธอจงออกไปเสียจากที่นี้.
    พระจูฬปันถกะนั้นพอถูกพระเถระพี่ชายประณามขับไล่ จึงได้ไปยืนร้องไห้อยู่ใกล้กับซุ้มประตู.
    ก็ในสมัยนั้น พระศาสดาประทับอยู่ในชีวกัมพวันวิหาร.
    ลำดับนั้น หมอชีวกใช้ให้คนไปนิมนต์ว่า เธอจงไปนิมนต์พระศาสดาพร้อมกับพระภิกษุ ๕๐๐ รูปมา.
    ก็ในสมัยนั้น ท่านพระมหาปันถกะกำลังเป็นภัตตุทเทสก์อยู่. พระมหาปันถกะนั้น พอได้รับนิมนต์จากหมอชีวกว่า ขอท่านจงรับ ภิกษาเพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป จึงพูดว่า เว้นพระจูฬปันถกะเสีย ภิกษุที่เหลืออาตมภาพรับได้. พระจูฬปันถกะพอได้ฟังคำนั้นแล้วได้แต่เสียใจเป็นอย่างยิ่ง.
    พระศาสดาได้ทรงทราบถึงความทุกข์ใจของเธอ จึงทรงดำริว่า เราต้องใช้อุบายแล้ว จูฬปันถกะจึงจักตรัสรู้ได้ ดังนี้ แล้วแสดงพระองค์ในที่อันไม่ไกลเธอนัก ตรัสถามว่า ปันถกะ เธอร้องไห้ทำไม? พระจูฬปันถกะกราบทูลว่า พระพี่ชายขับไล่ข้าพระองค์พระเจ้าข้า,
    พระศาสดาตรัสว่า ปันถกะเอ๋ย! อย่าคิดมากไปเลย. เธอบวชในศาสนาของเรา มานี่ มารับผ้าผืนนี้ไป แล้วจงทำบริกรรมในใจว่า รโชหรณํ รโชหรณํ (ผ้าเช็ดธุลี ผ้าเช็ดธุลี) ดังนี้แล้ว จึงได้ประทานท่อนผ้าสะอาดอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ให้.
    ท่านนั่งใช้มือลูกคลำบริกรรมท่อนผ้าที่พระศาสดาทรงประทานให้มาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ ดังนี้. เมื่อท่านบริกรรมลูบคลำผ้าผืนนั้นไปมา ผ้าสะอาดก็กลายเป็นเศร้าหมอง เมื่อท่านบริกรรมลูบคลำไปอีก ผ้าสะอาดก็กลายเป็นเช่นกับผ้าเช็ดหม้อข้าว, เพราะมีญาณอันแก่กล้า ท่านจึงคิดอย่างนี้ว่า แต่เดิมมาท่อนผ้าผืนนี้ก็บริสุทธิ์สะอาด เพราะอาศัยสรีระอันมีวิญญาณครองนี้ จึงได้กลายเป็นอย่างอื่นเศร้าหมองไป ฉะนั้น ผ้าผืนนี้เป็นอนิจจังอย่างไร แม้จิตก็คงเป็นอย่างนั้นแน่ จึงเริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไป ยังฌานในนิมิตนั้นนั่นแลให้เกิดขึ้นแล้ว ทำฌานให้เป็นบาท เริ่มเจริญวิปัสสนาก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ๔.
    พอท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้วเท่านั้น พระไตรปิฎกและอภิญญา ๕ ก็ติดตามมาแล้ว.
    พระศาสดาได้เสด็จไปพร้อมกับภิกษุ ๔๙๙ รูปแล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดจัดไว้ในนิเวศน์ของหมอชีวก. แต่พระจูฬปันถกะไม่ได้ไป เพราะพระพี่ชายของตนไม่ยอมรับนิมนต์เพื่อภิกษาแก่ตน.
    หมอชีวกเริ่มจะถวายข้าวยาคู. พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ปิดบาตรเสีย เมื่อหมอชีวกกราบทูลถามว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่รับภิกษาพระเจ้าข้า จึงได้ตรัสตอบว่า หมอชีวก ภิกษุที่วิหารยังมีอยู่อีกรูปหนึ่ง.
    หมอชีวกนั้นจึงได้ใช้คนไปว่า พนาย เจ้าจงไปพาพระคุณเจ้าที่นั่งอยู่ในวิหารมา. แม้พระจูฬปันถกเถระก็นั่งเนรมิตภิกษุขึ้น ๑,๐๐๐ รูปแต่ละรูปไม่เหมือนกัน ด้วยทั้งรูปร่างและกิริยาท่าทาง. พอคนใช้เห็นว่าภิกษุในวิหารมีเป็นจำนวนมาก จึงกลับไปบอกหมอชีวกว่า ภิกษุสงฆ์ในวิหารมีมากกว่าภิกษุสงฆ์ที่มาในบ้านนี้ ผมไม่รู้จักพระคุณเจ้าที่ใช้ให้ไปนิมนต์มา.
    หมอชีวกกราบทูลถามพระศาสดาว่า ภิกษุที่นั่งอยู่ในวิหารชื่ออะไร พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสว่า ชื่อว่าจูฬปันถกะ ชีวก.
    หมอชีวกจึงใช้คนไปใหม่ว่า พนาย เธอจงไปถามว่า พระภิกษุรูปไหนชื่อว่าจูฬปันถกะ แล้วจงพาภิกษุรูปนั้นมา.
    คนใช้นั้นไปยังวิหารแล้วถามว่า ท่านขอรับ ภิกษุรูปไหนชื่อว่าจูฬปันถกะ. ภิกษุทั้ง ๑,๐๐๐ รูปจึงตอบพร้อมๆ กันว่า เราชื่อจูฬปันถกะ เราชื่อจูฬปันถกะ. คนใช้นั้นจึงกลับมาอีกแล้ว บอกให้หมอชีวกทราบเรื่องนั้น.
    เพราะค่าที่ตนรู้ตลอดสัจจะ หมอชีวกจึงทราบโดยนัยว่า พระคุณเจ้า ชะรอยว่าจะมีฤทธิ์แน่ จึงสั่งคนใช้ว่า พนาย เธอจงไปพูดว่า พระศาสดามีรับสั่งให้ท่านทั้งหลาย เฉพาะพระคุณเจ้ารูปที่ขานรับก่อนมาหา แล้วเธอจงจับที่ชายจีวร.
    คนใช้นั้นไปยังวิหารแล้วได้กระทำตามสั่ง. ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุที่เนรมิตทั้งหลายก็อันตรธานหายไป. คนใช้จึงได้พาพระเถระไปแล้ว.
    ขณะนั้น พระศาสดาจึงทรงรับข้าวยาคู และของอื่นต่างชนิดมีของขบเคี้ยวเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว จึงทรงรับสั่งให้ท่านพระจูฬปันถกะ กระทำอนุโมทนา.
    พระจูฬปันถกะนั้นเป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา กระทำอนุโมทนาด้วยการยังพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกให้กระเพื่อม จับพระอัธยาศัยของพระศาสดา คล้ายๆ กับว่าจับเอาภูเขาสิเนรุมากวนคนลงไปยังมหาสมุทรฉะนั้น.
    เมื่อพระทศพลกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว เสด็จไปยังพระวิหาร จึงมีถ้อยคำพูดเกิดขึ้นในโรงธรรมสภาว่า ช่างน่าอัศจรรย์เหลือเกิน อานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ได้ทรงแสดงฤทธิ์มากมายอย่างนี้ ทั้งๆ ที่จูฬปันถกะไม่สามารถจะเรียนจำคาถาหนึ่ง ในระยะเวลา ๔ เดือนได้ ก็บันดาลให้เป็นไปได้โดยขณะอันรวดเร็วทีเดียว ดังนี้
    ความจริงก็เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในนิเวศน์ของหมอชีวก ทรงทราบว่า จิตของพระจูฬปันถกะมั่นคงดีแล้วอย่างนั้น วิปัสสนาดำเนินไปสู่วิถีแล้ว ดังนี้ ทั้งๆ ที่ประทับนั่งอยู่นั่นแล ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ เมื่อจะแสดงว่า ปันถกะ ท่อนผ้าเก่าผืนนี้ยังไม่เศร้าหมองเกลื่อนกล่นด้วยธุลีเท่าไรนัก แต่ว่าสิ่งที่เศร้าหมองเป็นธุลีในพระธรรมวินัยของพระอริยเจ้า ยิ่งไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ดังนี้แล้ว
    จึงได้ตรัสพระคาถา ๓ พระคาถาเหล่านี้ว่า
    ราคะชื่อว่า ธุลี แต่ละออง ท่านไม่เรียกว่า ธุลี คำว่า
    ธุลี นั่นเป็นชื่อของราคะ ภิกษุเหล่านั้นละธุลีนั้นได้เด็ดขาด
    แล้ว อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงปราศจากธุลี.
    โทสะชื่อว่า ธุลี ฯลฯ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ทรง
    ปราศจากธุลี.
    โมหะชื่อว่า ธุลี ฯลฯ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ทรง
    ปราศจากธุลี.
    ในเวลาจบพระคาถา พระจูฬปันถกะได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ๔.
    พระศาสดาได้ทรงสดับถ้อยคำเจรจาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว เสด็จมาประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกำลังสนทนาเรื่องอะไรกัน เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จูฬปันถกะตั้งอยู่ในโอวาทของเราแล้วได้รับสมบัติคือโลกุตระในบัดนี้ ส่วนในกาลก่อนได้เพียงสมบัติคือโลกิยะเท่านั้น ดังนี้.
    ภิกษุเหล่านั้นพากันกราบทูลอ้อนวอน จึงได้ตรัสจูฬเศรษฐีชาดกไว้แล้ว.
    ในกาลต่อมา พระศาสดามีหมู่พระอริยเจ้าแวดล้อม ประทับนั่งบนธรรมาสน์แล้ว ทรงแต่งตั้งพระจูฬปันถกะนั้นไว้ในตำแหน่งที่เลิศแห่งพวกภิกษุผู้เนรมิตกายที่สำเร็จด้วยใจ และผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงใจ.
    พระจูฬปันถกะนั้นพอได้รับตำแหน่งแต่งตั้งอย่างนี้แล้ว จึงระลึกบุพกรรมของตนเอง ด้วยอำนาจแห่งปีติและโสมนัส เมื่อจะประกาศอ้างถึงความประพฤติที่เคยมีมาในกาลก่อน จึงได้กล่าวคาถาเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.
    สองบทเบื้องต้นในคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.
    บทว่า คณมฺหา วูปกฏฺโฐ โส ความว่า พระศาสดาทรงพระนามว่าปทุมุตตระพระองค์นั้น เสด็จหลีกออกจากหมู่ภิกษุหมู่มาก พระองค์เดียวโดยลำพัง เสด็จเข้าไปยังที่อันสงัด. ในกาลครั้งเมื่อเรายังเป็นดาบส ได้อยู่คือได้สำเร็จการอยู่อาศัย หมายความว่า ได้อยู่ด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ในหิมวันตประเทศ ได้แก่ที่ใกล้กับภูเขาหิมาลัย.
    บทว่า อหมฺปิ ฯ เป ฯ ตทา ความว่า ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเสด็จเข้าไปอยู่อาศัยยังหิมวันตประเทศ.
    เชื่อมความว่า ในครั้งนั้น ถึงตัวเราก็อยู่ในอาศรมที่ได้สร้างไว้ใกล้กับหิมวันตประเทศ คือในอรัญวาสีอันได้นามว่าอาศรม เพราะเป็นที่สงบจากอันตราย คือสิ่งที่จะเบียดเบียนทางกายและจิต โดยรอบด้าน.
    บทว่า อจิราคตํ มหาวีรํ เชื่อมความว่า เราได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระผู้นำชาวโลก คือผู้เป็นประธาน ผู้มีความเพียรมาก ผู้มาแล้วไม่นานนัก,
    อธิบายว่า เพิ่งได้เสด็จมาถึงในขณะนั้นนั่งเอง.
    บทว่า ปุปฺผฉตฺตํ คเหตฺวาน ความว่า ก็เมื่อจะเข้าไปหาอย่างนั้น จึงกั้นร่มทำด้วยดอกไม้ บุบังด้วยดอกไม้มีดอกปทุมและดอกอุบลเป็นต้น เข้าไปกั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐแก่นรชนทั้งหลาย คือเข้าไปใกล้.
    บทว่า สมาธึ สมาปชฺชนฺตํ เชื่อมความว่า เราได้กระทำอันตรายแก่ผู้นั่งเข้ารูปาวจรสมาธิฌาน.
    บทว่า อุโภ หตฺเถหิ ปคฺคยฺห เชื่อมความว่า เราได้ใช้มือทั้งสองข้างยกฉัตรดอกไม้ อันตกแต่งจัดแจงดีแล้วนั้นขึ้นถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
    บทว่า ปฏิคฺคเหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระทรงรับ คือทรงเอื้อเฟื้อรับฉัตรดอกไม้ที่เราได้ถวายแล้วนั้นเป็นอย่างดี.
    บทว่า สตปตฺตฉตฺตํ ปคฺคยฺห ความว่า พระดาบสได้ถือฉัตรดอกไม้ ที่บุบังด้วยดอกปทุมทั้งหลายหลายร้อยกลีบ โดยที่ดอกปทุมแต่ละดอกมีกลีบนับเป็นร้อยๆ กลีบ ได้ถวายแก่เราโดยอาการอันเอื้อเฟื้อ.
    บทว่า ตมหํ กิตฺตยิสฺสามิ ความว่า เราจักระบุชื่อดาบสนั้น คือจักกระทำให้ปรากฏ. ท่านทั้งหลายจงฟังถ้อยคำ คือจงตั้งใจฟังถ้อยคำของเราผู้กำลังพูดอยู่เถิด.
    บทว่า ปญฺจวีสติกปฺปานิ เชื่อมความว่า ด้วยการได้ถวายฉัตรดอกไม้นี้ จักได้เป็นท้าวสักกะ ครอบครองเทวสมบัติ ในภพดาวดึงส์ตลอด ๒๕ ครั้ง.
    บทว่า จตุตฺตึสติกฺขตฺตุญฺจ ความว่า จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมนุษยโลกตลอด ๓๔ ครั้ง.
    บทว่า ยํ ยํ โยนึ ความว่า ย่อมระลึกได้ถึงชาติในกำเนิดมนุษย์เป็นต้น.
    อธิบายว่า ดอกปทุมจักทรงไว้ กั้นไว้ซึ่งเธอผู้ตั้งอยู่ คือนั่งอยู่หรือยืนอยู่ ในอัพโภกาสคือที่ว่าง ในกำเนิดนั้นๆ.
    บทว่า ปกาสิเต ปาวจเน ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงประกาศ คือแสดงพระไตรปิฎกทั้งสิ้น จักได้คือเข้าถึงความเป็นมนุษย์คือชาติแห่งมนุษย์.
    บทว่า มโนมยมฺหิ กายมฺหิ ความว่า ชื่อว่ามโนมยะ เพราะอรรถว่าเกิดด้วยใจ คือด้วยฌานจิต. อธิบายว่า จิตย่อมเป็นไปด้วยประการใด เขาจะให้กายเป็นไป คือกระทำให้มีคติจิตเป็นไปอย่างนั้น. ในเพราะกายอันสำเร็จด้วยใจนั้น ดาบสนั้น จักมีชื่อว่าจูฬปันถกะผู้สูงสุด คือเป็นผู้เลิศ.
    คำที่เหลือเป็นคำที่รู้ได้ง่าย เพราะท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
    บทว่า สรึ โกกนทึ อหํ ความว่า เราลูบคลำท่อนผ้าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิรมิต ระลึกถึงดอกบัวชื่อโกกนท.
    บทว่า ตตฺถ จิตฺตํ วิมุจฺจิ เม ความว่า จิตของเราสดชื่นน้อมไปในดอกบัวชื่อว่าโกกนท.
    เชื่อมความว่า ลำดับนั้น เราบรรลุพระอรหัตแล้ว.
    เชื่อมความว่า บรรลุถึงบารมี คือที่สุดในกายอันสำเร็จด้วยใจ คืออันมีคติแห่งจิต ในที่ทุกสถานคือที่ทั้งปวง.
    คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. จบอรรถกถาจูฬปันถกเถราปทาน
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    [​IMG]
    [​IMG]

    [155] ปฏิสัมภิทา 4 (ปัญญาแตกฉาน - analytic insight; discrimination)
    1. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ปรีชาแจ้งในความหมาย, เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล - discrimination of meanings; analytic insight of consequence)
    2. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม, ปรีชาแจ้งใจหลัก, เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ - discrimination of ideas; analytic insight of origin)
    3. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ, ปรีชาแจ้งในภาษา, รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ - discrimination of language; analytic insight of philology)
    4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ, ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ, มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์ - discrimination of sagacity; analytic insight of ready wit; initiative; creative and applicative insight)

    A.II.160;
    Ps.I.119;
    Vbh.294. องฺ.จตุกฺก. 21/172/216;
    ขุ.ปฏิ. 31/268/175;
    อภิ.วิ. 35/784/400.


    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=155
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์
    วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


    บัดนี้ พึงทราบปฏิสัมภิทาวิภังค์ในลำดับแห่งสิกขาบทวิภังค์นั้นต่อไป.
    คำว่า ๔ เป็นคำกำหนดจำนวน.
    คำว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉาน.
    อธิบายว่า ก็เพราะข้างหน้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นต้น แปลว่า ญาณ (ปัญญา) ในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการแตกฉานของใครๆ เลย นอกจากเป็นการแตกฉานของญาณ (ปัญญา) เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงสงเคราะห์เนื้อความนี้ว่า การแตกฉานของญาณ ๔ นี้ลงในบทว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ดังนี้.
    ปฏิสัมภิทาในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา. อธิบายว่า ญาณ (ปัญญา) อันถึงความรู้แตกฉานในอรรถ เพื่อสามารถทำการวิเคราะห์ (แยกแยะ) อรรถชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.
    จริงอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรม เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ธรรมชาติต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในการกล่าวซึ่งนิรุตติธรรม เพื่อสามารถกระทำวิเคราะห์นิรุตติ (คือภาษาชนิดต่างๆ) ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในปฏิภาณ (คือไหวพริบในการโต้ตอบได้ฉับพลันทันที) เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ปฏิภาณชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงปฏิสัมภิทาทั้งหลายตามที่ทรงตั้งไว้ จึงตรัสคำว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ (แปลว่า ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา).
    อธิบายคำว่าอัตถะ บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถ เมื่อว่าโดยสังเขป ได้แก่ ผลของเหตุ (ผลอันเกิดแต่เหตุ).
    จริงอยู่ ผลของเหตุนั้น พึงเป็นของสงบ (คือปราศจากกิเลส) พึงถึงพึงบรรลุได้ด้วยสามารถแห่งเหตุฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อัตถะ.
    เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้คือ
    ๑. สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
    ๒. พระนิพพาน
    ๓. อรรถแห่งภาษิต
    ๔. วิบาก
    ๕. กิริยา.
    เมื่อพิจารณาอรรถนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในอรรถนั้นๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา.
    อธิบายคำว่าธัมมะ คำว่า ธมฺม เมื่อว่าโดยสังเขปแล้ว ได้แก่ ปัจจัย.
    จริงอยู่ เพราะปัจจัยนั้นย่อมจัดแจง ย่อมให้ธรรมนั้นๆ เป็นไปด้วย ให้ถึงด้วย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ธัมมะ แต่เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว
    บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ
    ๑. เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันยังผลให้เกิดขึ้น
    ๒. อริยมรรค
    ๓. ภาษิต (วาจาที่กล่าวแล้ว)
    ๔. กุศล
    ๕. อกุศล.
    เมื่อพิจารณาธรรมนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรมนั้น ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา.
    อธิบายคำว่าธัมมนิรุตติ (ภาษาของสภาวะ) พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า ญาณในการกล่าวซึ่งธัมมนิรุตติ ดังนี้.
    สภาวนิรุตติ (ภาษาอันเป็นสภาวะ) อันใด ย่อมเป็นไปในอรรถด้วย ในธรรมด้วย เมื่อพิจารณากระทำศัพท์ (เสียง) อันเป็นสภาวนิรุตตินั้นในเพราะการกล่าวอันนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา.
    นิรุตติปฏิสัมภิทานี้เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่ามีเสียงเป็นอารมณ์ หาชื่อว่ามีบัญญัติเป็นอารมณ์ไม่.
    ถามว่า เพราะเหตุไร?
    ตอบว่า เพราะฟังเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่.
    จริงอยู่ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เมื่อมีผู้กล่าวว่า ผสฺโส ดังนี้ ย่อมทราบว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ หรือว่าเมื่อผู้อื่นกล่าวว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ดังนี้ ก็ย่อมรู้ว่า นี้ไม่ใช่สภาวนิรุตติ ดังนี้.
    แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้นั่นแหละ.
    ถามว่า ก็ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมรู้ หรือย่อมไม่รู้ซึ่งเสียงแห่งพยัญชนะที่เป็นนาม อาขยาตและอุปสรรคอื่นๆ
    ตอบว่า ในกาลใดฟังเสียงเฉพาะหน้า ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่ ในกาลนั้นจักรู้ได้แม้ซึ่งคำนั้นแต่ต้น ดังนี้. แต่ว่า ข้อนี้มีผู้คัดค้านว่า นี้ไม่ใช่กิจของปฏิสัมภิทา ดังนี้แล้วได้ยกเอาเรื่องพระเถระมากล่าวว่า
    ได้ยินว่า พระเถระชื่อว่าติสสทัตตะ ถือเอาสลากอันเป็นวิการแห่งทองที่โพธิมณฑลแล้วปวารณา (คือหมายความว่าเปิดโอกาส หรืออนุญาตให้ภิกษุขอฟังภาษาต่างๆ ตามที่ต้องการ) แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยคำว่า ในบรรดาภาษา ๑๘ อย่าง ข้าพเจ้าจักกล่าวด้วยภาษาไหน ดังนี้ ก็คำปวารณานั้น พระเถระท่านตั้งอยู่ในการศึกษาจึงได้ปวารณา มิใช่ตั้งอยู่ในปฏิสัมภิทาแล้วกล่าวปวารณา.
    ด้วยว่า พระเถระนั้น ท่านให้บุคคลบอกแล้วๆ ท่านก็เรียนเอาภาษานั้นๆ เพราะความที่ท่านมีปัญญามาก ถัดจากนั้นมาท่านจึงปวารณาอย่างนี้ เพราะตั้งอยู่แล้วในการศึกษาเล่าเรียน.
    ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตวโลก ก็แลครั้นท่านกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำในที่นี้ต่อไปอีกว่า ธรรมดาว่า สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเรียนภาษา ดังนี้. จริงอยู่ มารดาและบิดาให้ลูกน้อยนอนที่เตียงหรือที่ตั้งในเวลาที่ลูกยังเป็นทารก แล้วพูดซึ่งกิจนั้นๆ เด็กทั้งหลายย่อมกำหนดภาษาของมารดาหรือของบิดาว่า คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว เมื่อกาลผ่านไปๆ พวกเด็กย่อมรู้ภาษาแม้ทั้งหมด. มารดาเป็นชาวทมิฬ บิดาเป็นชาวอันธกะ เด็กที่เกิดแต่ชนทั้งสองนั้น ถ้าเขาฟังถ้อยคำของมารดาก่อน เขาจักพูดภาษาทมิฬก่อน ถ้าฟังถ้อยคำของบิดาก่อน เขาจักพูดภาษาชาวอันธกะก่อน. แต่เมื่อไม่ได้ฟังถ้อยคำของชนแม้ทั้งสอง ก็จักกล่าว (พูด) ภาษาของชนชาวมคธ. ทารกแม้ใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่นชื่อว่ากล่าวอยู่ไม่มีในป่าใหญ่นั้น ทารกแม้นั้น เมื่อจะยังวาจาให้ตั้งขึ้นตามธรรมดาของตน ก็จักกล่าวภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.
    ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง คือ
    ๑. ในนิรยะ (นรก)
    ๒. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน
    ๓. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)
    ๔. ในมนุษยโลก
    ๕. ในเทวโลก
    ในภาษาของสัตว์ทั้งหลาย ภาษา ๑๘ อย่างนอกจากภาษาของชนชาวมคธ มีภาษาของคนป่า ของชาวอันธกะ ของชาวโยนก ของทมิฬตามที่กล่าวแล้วเป็นต้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ภาษาของชนชาวมคธกล่าวคือเป็นโวหารของพรหม เป็นโวหารของพระอริยะตามความเป็นจริง ภาษานี้ภาษาเดียวเท่านั้นไม่เปลี่ยนแปลง. แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรงยกพระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นด้วยภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.
    ถามว่า เพราะเหตุไร?
    ตอบว่า ก็เพราะเพื่อจะนำมาซึ่งอรรถ (ประโยชน์) ได้โดยง่าย.
    จริงอยู่ การเข้าถึงคลองกระแสแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผน ด้วยภาษาแห่งชนชาวมคธย่อมเป็นการมาอย่างพิสดารแก่ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. คือว่า เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้วนั่นแหละ อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย. ก็การที่บุคคลท่องแล้วๆ เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่าการบรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชน เพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้นแม้มาก ย่อมไม่มี. พระอริยสาวกผู้ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาหามีไม่.
    คำว่า ญาเณสุ ญาณํ (แปลว่า ความรู้ในญาณทั้งหลาย) ได้แก่ เมื่อเธอพิจารณากระทำญาณในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้ว ญาณอันถึงความรู้แตกฉาน ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา ดังนี้.
    อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ (ภูมิ) ๒ อย่าง และย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ อย่าง.
    ถามว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ ๒ เป็นไฉน?
    ตอบว่า ในฐานะ ๒ คือ เสกขภูมิและอเสกขภูมิ.
    ในฐานะ ๒ นั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระแม้ทั้ง ๘๐ รูปถึงประเภทอเสกขภูมิ คือ ได้แก่ปฏิสัมภิทาของพระสารีบุตรเถระ ของพระมหาโมคคัลลานเถระ ของพระมหากัสสปเถระ ของพระมหากัจจายนเถระ ของพระมหาโกฏฐิตเถระเป็นต้น. ปฏิสัมภิทาของผู้ถึงเสกขภูมิ คือของพระอานันทเถระ ของจิตตคหบดี ของธัมมิกอุบาสก ของอุบาลีคหบดี ของนางขุชชุตตราอุบาสิกาเป็นต้น ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมถึงการแยกออกในภูมิทั้งสองเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
    ถามว่า ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ เป็นไฉน?
    ตอบว่า ด้วยอธิคมะ ด้วยปริยัติ ด้วยสวนะ ด้วยปริปุจฉา ด้วยปุพพโยคะ.
    ในเหตุ ๕ เหล่านั้น พระอรหัต ชื่อว่าอธิคมะ.
    จริงอยู่ เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    พระพุทธพจน์ ชื่อว่าปริยัติ.
    จริงอยู่ เมื่อเรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์อยู่ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    การฟังพระธรรม ชื่อว่าสวนะ.
    จริงอยู่ เมื่อฟังธรรมอยู่โดยเคารพ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    อรรถกถา ชื่อว่าปริปุจฉา.
    จริงอยู่ เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งอรรถแห่งพระบาลีอันตนเรียนมาแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    ความเป็นพระโยคาวจรในกาลก่อนคือ ความที่กรรมฐานอันตนบริหารแล้วโดยนัยแห่งการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา (หรณปัจจาหรณวัตร) ในอดีตภพ ชื่อว่าปุพพโยคะ.
    จริงอยู่ เมื่อหยั่งลงสู่ความเพียรมาแล้วในกาลก่อน ปฏิสัมภิทาทั้งหลายก็ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น พึงทราบปฏิสัมภิทาทั้งหลายของพระติสสเถระผู้เป็นบุตรแห่งกุฎุมภี ชื่อปุนัพพสุ ได้เป็นธรรมบริสุทธิ์แล้วด้วยการบรรลุพระอรหัต ดังนี้.
    ได้ยินว่า พระติสสเถระนั้นเรียนพระพุทธพจน์ในตัมพปัณณิทวีป (คือในเกาะของชนผู้มีฝ่ามือแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลังกาทวีป) แล้วไปสู่ฝั่งอื่นเรียนเอาพระพุทธพจน์ในสำนักของพระธัมมรักขิตเถระ ชาวโยนก เสร็จจากการเรียนก็เดินทางมาถึงท่าเป็นที่ขึ้นเรือ เกิดความสงสัยในพระพุทธพจน์บทหนึ่ง จึงเดินทางกลับมาสู่ทางเดิมอีกประมาณ ๑๐๐ โยชน์ เมื่อไปสู่สำนักของอาจารย์ในระหว่างทางได้แก้ปัญหาแก่กุฎุมภีคนหนึ่ง กุฎุมภีผู้นั้นมีความเลื่อมใสได้ถวายผ้ากัมพลมีค่าแสนหนึ่ง พระติสสเถระนั้นนำผ้ามาถวายอาจารย์ อาจารย์ของพระเถระนั้นทำลายผ้าซึ่งมีราคาถึงแสนหนึ่งนั้นด้วยมีด แล้วให้ทำเป็นของใช้ในที่เป็นที่สำหรับนั่ง.
    ถามว่า การที่อาจารย์ทำอย่างนั้น เพื่อประโยชน์อะไร?
    ตอบว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนผู้เกิดมาในภายหลัง.
    ได้ยินว่า อาจารย์นั้นมีปริวิตกว่า ในอนาคตกาล เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายจักสำคัญถึงการปฏิบัติอันตนให้บริบูรณ์แล้ว โดยการพิจารณาถึงมรรคอันพวกเราบรรลุแล้ว (หาใช่มีความกังวลอย่างอื่นไม่). แม้พระติสสเถระก็ตัดความสงสัยได้ในสำนักของอาจารย์ แล้วจึงไป ท่านก้าวลงที่ท่าแห่งเมืองชื่อ ชัมพุโกล ถึงวิหารชื่อว่าวาลิกะ ในเวลาเป็นที่ปัดกวาดลานพระเจดีย์ ท่านก็ปัดกวาดลานพระเจดีย์. พระเถระทั้งหลายเห็นที่เป็นที่อันพระติสสเถระนั้นปัดกวาดแล้ว จึงคิดว่า ที่นี้เป็นที่ปัดกวาดอันภิกษุผู้มีราคะไปปราศแล้วทำการปัดกวาด แต่เพื่อต้องการทดลอง จึงถามปัญหาต่างๆ พระติสสเถระนั้นก็กล่าวแก้ปัญหาอันภิกษุเหล่านั้นถามแล้วทุกข้อ เพราะความที่ตนเป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลายดังนี้.
    ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระและของพระนาคเสนเถระ ได้บริสุทธิ์แล้วด้วยปริยัติ. ปฏิสัมภิทาของสามเณร ชื่อสุธรรม ได้บริสุทธิ์แล้วด้วยการฟังธรรมโดยเคารพ.
    ได้ยินว่า สามเณรนั้นเป็นหลานของพระธัมมทินนเถระผู้อยู่ในตฬังครวาสี ในขณะที่ปลงผมเสร็จก็บรรลุพระอรหัต เมื่อท่านกำลังนั่งฟังธรรมในโรงวินิจฉัยธรรมของพระเถระผู้เป็นลุงนั่นแหละ ได้เป็นผู้ชำนาญพระไตรปิฎกแล้ว.
    ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระผู้กล่าวอรรถ (ปริปุจฉา) ด้วยพระบาลีอันตนเรียนมา ได้เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว. อนึ่ง พระโยคาวจรในปางก่อนบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร (วัตรคือการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา) แล้วขวนขวายกรรมฐานอันเหมาะสม มีปฏิสัมภิทาอันถึงความบริสุทธิ์แล้ว มิได้สิ้นสุด (มีมากมาย).
    ก็บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น เหตุ ๓ เหล่านี้ คือ ปริยัติ สวนะ ปริปุจฉา เป็นเหตุ (เครื่องกระทำ) ที่มีกำลัง แก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน. ปุพพโยคะ เป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยที่มีกำลัง) แก่อธิคม (การบรรลุพระอรหัต).
    ถามว่า ปุพพโยคะเป็นปัจจัยที่มีกำลังแก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน หรือไม่?
    ตอบว่า เป็น แต่มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะปริยัติคือพระพุทธพจน์ สวนะคือการฟังธรรม ปริปุจฉาคือการสอบถามอรรถธรรมในกาลก่อน จะมีหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อว่าโดยปุพพโยคะแล้ว เว้นจากการพิจารณาสังขารทั้งหลายในกาลก่อนด้วย ในกาลปัจจุบันด้วย ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ชื่อว่าหามีได้ไม่.
    อนึ่ง ปุพพโยคะในกาลก่อน และในกาลปัจจุบันนี้ เมื่อรวมกันเข้ามาสนับสนุนแล้ว ย่อมทำปฏิสัมภิทาให้บริสุทธิ์. วรรณนาสังคหวาระ จบ.๑- ____________________________
    ๑- สังคหวาระ หมายถึงวาระที่กล่าวรวมกัน.

    บัดนี้ เพื่อจำแนกปฏิสัมภิทาทั้งหลายโดยนัยแห่งการแสดงประเภทแห่งการสงเคราะห์ อรรถและธรรมทั้ง ๕ วาระเหล่าใดเหล่าหนึ่งในสังคหวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มปเภทวาระ (คือวาระที่มีชนิดต่างกัน) โดยนัยเป็นต้นว่า จตสฺโส (แปลว่า ปฏิสัมภิทา ๔) ดังนี้อีก. วาระนั้นมี ๕ อย่างด้วยสามารถแห่งสัจจวาระ เหตุวาระ ธัมมวาระ ปัจจยาการวาระ ปริยัตติวาระ.
    ในวาระเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจจวาระไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่พระนิพพานเป็นธรรมที่บรรลุได้ด้วยปัจจัยแห่งทุกข์ซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น ว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงถึงความที่อริยมรรคอันนำมาซึ่งพระนิพพานอันเป็นเหตุ อันยังผลให้เกิดขึ้นว่าเป็นธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา).
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเหตุวาระ๒- ไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่เหตุทั้งหลายอันยังผลให้เกิดอันใดอันหนึ่งว่าเป็นธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงถึงความที่ผลของเหตุว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา). ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงก่อน โดยไม่เป็นไปตามระเบียบอันว่าด้วยลำดับแห่งเหตุและผลที่ทรงตั้งไว้.
    ____________________________
    ๒- เหตุวาระ ปฏิสัมภิทา ๔ คือ อัตถ ...ธัมม ... นิรุตติ ... ปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระผู้มีพระภาคเจ้าอธิบายธัมมะ (เหตุ) ก่อนอัตถะ.

    อนึ่ง ธรรมเหล่าใดอันต่างด้วยรูปและอรูปธรรม (ขันธ์ ๕) อันเกิดขึ้นแล้วมีแล้วจากเหตุนั้นๆ เพื่อแสดงซึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงซึ่งความที่เหตุอันเกิดขึ้นแห่งรูปและอรูปธรรมนั้นๆ ว่าเป็นธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสธัมมวาระไว้.
    ก็เพื่อแสดงซึ่งธรรมมีชราและมรณะเป็นต้นว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และซึ่งความที่ธรรม คือชาติ (การเกิด) กล่าวคือเหตุเกิดขึ้นแห่งชราและมรณะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปัจจยาการวาระ.
    ลำดับนั้น เพื่อแสดงซึ่งภาษิตนั้นๆ กล่าวคือพระปริยัติ และซึ่งความที่อรรถแห่งภาษิตที่พึงบรรลุได้ด้วยปัจจัยกล่าวคือภาษิต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปริยัตติวาระ ในข้อนี้ อรรถแห่งภาษิตนั้นที่จะรู้ได้ ย่อมรู้ได้ด้วยภาษิต ฉะนั้น พระองค์จึงทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงแสดงก่อนอัตถปฏิสัมภิทา โดยมิได้แสดงไปตามลำดับแห่งเนื้อความภาษิตที่พระองค์ตรัสไว้.
    อนึ่ง เพื่อแสดงประเภทแห่งพระปริยัติธรรมว่า ในปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นไฉน. จึงตรัสปฏิสัมภิทา (คือวาระที่วกกลับมาชี้แจง) เป็นคำถามเป็นประธาน. ในวาระที่วกกลับมาชี้แจงนั้น ทรงถือเอาแบบแผนทั้งหมดโดยไม่เหลือ ด้วยองค์ ๙#- ซึ่งมีคำว่าสุตตะเป็นต้นว่า เป็นธัมมปฏิสัมภิทา ทรงถือเอาแบบแผนทั้งหมดสิ้นเชิง โดยการแสดงมิให้เหลือ ด้วยสามารถแห่งภาษิตในที่แม้นี้ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ ดังนี้ ว่าเป็นอัตถปฏิสัมภิทา ดังนี้แล.
    ____________________________
    #- องค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ.
    สุตตันตภาชนีย์ จบ.
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระอรหันต์ 4 ประเภท

    **************************************


    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    [​IMG]
    [​IMG]

    [62] อรหันต์ 4, 5, 60 (an Arahant; arahant; Worthy One)
    1. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน — bare-insight-worker)
    2. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา 3 — one with the Threefold Knowledge)
    3. ฉฬภิญฺโญ (ผู้ได้อภิญญา 6 — one with the Sixfold Superknowledge)
    4. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา — one having attained the Analytic Insights)

    พระอรหันต์ทั้ง 4 ในหมวดนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประมวลแสดงไว้ในหนังสือธรรมวิภาคปริจเฉทที่ 2 หน้า 41 พึงทราบคำอธิบายตามที่มาเฉพาะของคำนั้นๆ

    แต่คัมภีร์ทั้งหลายนิยมจำแนกเป็น 2 อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น 5 อย่างบ้าง ที่เป็น 5 คือ
    1. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา — one liberated by wisdom)
    2. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ — one liberated in both ways)
    3. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3 — one possessing the Threefold Knowledge)
    4. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6 — one possessing the Sixfold Superknowledge)
    5. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 — one having gained the Four Analytic Insights)

    ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น 2 คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน 5 ประเภท) พระเตวิชชะ กับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ทั้งนั้น แต่ท่านแยกพระอุภโตภาควิมุตไว้เป็นข้อหนึ่งต่างหาก เพราะพระอุภโตภาควิมุตที่ไม่ได้โลกียวิชชาและโลกียอภิญญา ก็มี ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้งสี่ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่าและการบรรลุอรหัต.
    พระอรหันต์ทั้ง 5 นั้น แต่ละประเภท จำแนกโดยวิโมกข์ 3 รวมเป็น 15 จำแนกออกไปอีกโดยปฏิปทา 4 จึงรวมเป็น 60 ความละเอียดในข้อนี้จะไม่แสดงไว้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ ผู้ต้องการทราบยิ่งขึ้นไป พึงดูในหนังสือนี้ฉบับใหญ่

    ดู [61] อรหันต์ 2; [106] วิชชา 3; [155] ปฏิสัมภิทา 4; [274] อภิญญา 6.

    Vism. 710. วิสุทธิ. 3/373;
    วิสุทธิ.ฏีกา 3/657.
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระยสเถระ

    พระยสเถระ เป็นหนึ่งในพระมหาเถระลำดับแรก ๆ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้รับการบรรพชาโดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยเป็นพระสงฆ์องค์ที่ ๖ ของโลก โดยได้รับการบวช จากพระบรมศาสดา ต่อจากกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ ๕ องค์ มารดาของพระเถระก็คือ นางสุชาดา เสนียธิดาผู้ถวายข้าวมธุปายาสแด่พระบรมศาสดา เมื่อครั้งทรงตัดสินพระทัยเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ในตอนเช้าวันวิสาขบุรณมี ถือเป็นพระกระยาหารมื้อก่อนที่จะทรงบรรลุพระโพธิญาณเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมานางได้ฟังธรรมจากพระบรมศาสดาก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผลในวันนั้น ภายหลังต่อมา พระศาสดาเมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้นี้ไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถึงสรณะ

    พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ ดังนี้

    บุรพกรรมในสมัยพระสุเมธพุทธเจ้า

    ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ท่านได้เกิดเป็นนาคราชผู้มีอานุภาพมาก ได้นำภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไปยังนาคภพของตนแล้ว ได้ถวายมหาทาน ได้ถวายไตรจีวรที่มีค่ามากให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอง ได้ถวายคู่แห่งผ้า และเครื่องสมณบริขารทั้งปวงอันมีค่ามากแก่พระภิกษุรูปละคู่ ในครั้งนั้นพระสุเมธพุทธเจ้า ได้ตรัสพยากรณ์ท่านดังนี้

    บุคคลใด อังคาสเราด้วยข้าวและน้ำ ให้เราเหล่านี้ทั้งหมดอิ่มพอแล้ว เราจะสรรเสริญผู้นั้น พวกท่านจงฟังเรากล่าวเถิด

    ตลอดกาล ๑,๘๐๐ กัป ผู้นั้นจักชื่นชมยินดีอยู่ในเทวโลก จักชื่นชมอยู่ในความเป็นพระราชา ๑,๐๐๐ ครั้ง แล้วจักเป็นพระเจ้าจักพรรดิ์ เมื่ออุบัติในกำเนิดใด ก็อุบัติแต่ในกำเนิดเทวดาและมนุษย์เท่านั้น

    ในกัปที่สามหมื่น พระมหาบุรุษพระนามว่า โคตมะ โดยพระโคตร จักทรงสมภพในพระราชวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกากราช จักเป็นพระศาสดาในโลก เขาจักเป็นทายาทในธรรมของพระองค์ เพราะกำหนดรู้อาสวะทั้งสิ้นแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน

    เมื่อหมดอายุขัยแล้ว ก็ท่องเที่ยวไปในภูมิเทวดาและภูมิมนุษย์ทั้งหลาย วนเวียนอยู่เช่นนั้นตลอดสามหมื่นกัป

    บุรพกรรมในสมัยพระสิทธัตถพุทธเจ้า

    ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ท่านได้เกิดเป็นบุตรเศรษฐี ได้นำเอารัตน ๗ ประการบูชารอบต้นมหาโพธิ์

    เมื่อหมดอายุขัยแล้ว ก็วนเวียนเที่ยวตายเกิดอยู่ในเทวโลกและมนุษย์โลก

    บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

    ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ นามว่า กัสสปะ ก็ได้บวชในพระศาสนา ได้บำเพ็ญสมณธรรม เมื่อหมดอายุขัยแล้ว ก็วนเวียนเที่ยวตายเกิดอยู่ในเทวโลกและมนุษย์โลก

    กำเนิดเป็นยสกุลบุตรในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้มาเกิดเป็นบุตรของเศรษฐีผู้มีสมบัติมาก ในกรุง พาราณสี มารดาของท่านเป็นธิดาเศรษฐี ชื่อนางสุชาดา ผู้ถวายข้าวปายาส ผสมน้ำนมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า บิดามารดาตั้งชื่อว่า ยสะ เป็นผู้ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ยสะนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ หลังหนึ่งสำหรับอยู่ในฤดูหนาว หลังหนึ่งสำหรับอยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งสำหรับในฤดูฝน

    เมื่อเขาอยู่ในปราสาทฤดูฝน ตลอดทั้ง ๔ เดือนในฤดูฝน ก็จะมีนักดนตรีสตรีล้วนบำเรออยู่ มิได้ลงมายังพื้นปราสาทชั้นล่างเลย

    เมื่อเขาอยู่บนปราสาทประจำฤดูหนาวตลอด ๔ เดือน ทั่วทั้งปราสาทก็จะปิดบานประตูหน้าต่างอย่างสนิทดี และเขาก็จะอยู่ประจำบนปราสาทนั้นนั่นแล

    เมื่อเขาอยู่บนปราสาทประจำฤดูร้อน ปราสาทนั้นก็จะเป็นปราสาทที่เต็มไปด้วยบานประตูและหน้าต่างมากมาย อยู่ประจำบนปราสาทนั้นนั่นแล กิจการงานที่เกี่ยวกับการนั่งเป็นต้น บนภาคพื้นไม่มี เพราะมือและเท้าของเขาละเอียดอ่อน เขาลาดพื้นให้เต็มไปด้วย ปุยนุ่นและปุยงิ้วเป็นต้นแล้ว จึงทำการงานบนหมอนที่รองพื้นนั้น

    วันหนึ่ง ท่ามกลางความเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้ง ๕ ที่กำลังบำเรอขับกล่อมอยู่ ยสกุลบุตรก็ม่อยหลับไปก่อน ฝ่ายนางบำเรอที่กำลังขับกล่อมด้วยเสียงเพลงและดนตรีอยู่นั้น เมื่อเห็นผู้เป็นนายหลับไปแล้วก็หยุดการบรรเลงขับกล่อมล้มตัวลงนอนบ้าง ครั้นเวลาจวนสว่าง ยสกุลบุตร ก็ตื่นขึ้นมาก่อนจึงได้พบเห็นบริวารของตนนอนหลับใหล บางนางก็มี พิณอยู่ที่รักแร้ บางนางก็มีตะโพนอยู่ที่ข้างลำคอ บางนางก็มีเปิงมางอยู่ที่รักแร้ บางนางก็สยายผม บางพวกก็มีน้ำลายไหล บางพวกก็บ่นเพ้อละเมอ บางพวกก็นอนแบมือคล้ายซากศพในป่าช้า

    ครั้นได้มองเห็นแล้ว โทษจึงได้ปรากฏชัดแก่ยสกุลบุตรนั้น จิตเบื่อหน่ายแล้วมีความดำรงมั่น ลำดับนั้นแล ยสกุลบุตร จึงได้เปล่งอุทานว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ที่นี่วุ่นวายหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย ที่นี่ขัดข้องหนอ

    ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า

    ยสกุลบุตรจึงสวมรองเท้าทองคำเดินไปยังประตูนิเวศน์ เดินออกจากบ้านไปยังประตูพระนคร จนได้เข้าไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

    ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกขึ้นในเวลาเช้ามืด ทรงจงกรมอยุ่ ได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรแต่ไกลเทียว จึงเสด็จลงจากที่จงกรม ประทับนั่งบนบัญญัตตาอาสน์ ทรงได้ยินเสียง ยสกุลบุตร ที่ได้เปล่งอุทานในที่ไม่ไกลจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ดังนี้ว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ที่นี่วุ่นวายหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย ที่นี่ขัดข้องหนอ ดังนี้

    บรรลุพระโสดาบัน

    เมื่อได้ยินดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสกะยสกุลบุตรนั้นว่า ยสะ ที่นี่แลไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ยสะ เธอจงมานั่งเถิด เราจักแสดงธรรม ให้เธอฟัง ยสกุลบุตรเมื่อได้ยินดังนั้น ก็เกิดความยินดี ด้วยได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง จึงถอดรองเท้าทองคำออกแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ก็นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโดยได้ตรัสแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษของกามทั้งหลาย ความต่ำช้าคือสังกิเลส แล้วทรงประกาศอานิสงส์ในเนกธัมมะ แก่ยสกุลบุตร ครั้นเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงทราบว่าขณะนี้ยสกุลบุตรนั้นมี จิตอันสมควร มีจิตอ่อนโยน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตร่าเริง มีจิตแจ่มใสแล้ว จึงได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงเอง อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ยสกุลบุตรก็บรรลุโสดาบัน บังเกิดจิตอันปราศจากธุลี จิตอันปราศจากมลทิน คือธรรมจักษุขึ้น ณ ที่นั่งนั้นนั่นเอง รู้ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีเหตุเป็นแดนเกิด สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับเป็นธรรมดา

    แสดงธรรมโปรดเศรษฐีผู้บิดาเป็นอุบาสกรูปแรกของโลก

    รุงเช้า นางวิสาขา มารดาของยสกุลบุตรนั้นไปยังปราสาท มองไม่เห็น ยสกุลบุตร จึงเข้าไปหาท่านเศรษฐีคฤหบดี พอเข้าไปหาแล้วจึงกล่าวกะท่าน เศรษฐีคฤหบดีนั่นว่า ท่านคฤหบดี ยสะ บุตรของท่านไม่อยู่ที่ปราสาท ท่านเศรษฐีคฤหบดี จึงส่งพวกทูตม้าเร็วไปติดตามทั่วทั้ง ๔ ทิศแล้ว ตัวท่านเองก็เข้าไปตามหาบุตรยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ก็ได้พบแต่รองเท้าทองคำที่ยสกุลบุตรถอดไว้ จึงได้ติดตามเข้าไป

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นเศรษฐีคฤหบดี ผู้มาแต่ที่ไกลทีเดียว จึงทรงมีพระดำริว่า เราพึง แสดงฤทธิ์ให้เศรษฐีคฤหบดีผู้นี้มองไม่เห็นยสกุลบุตรที่นั่งอยู่ที่นี่ แล้วจึงได้แสดงฤทธิ์อย่างที่ทรงดำริไว้

    เมื่อเศรษฐีคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมองไม่เห็นบุตรตน ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เห็นยสกุลบุตรบ้างไหม? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านคฤหบดี เชิญนั่งก่อน ท่านนั่งแล้วในที่นี้ ก็จะพึงได้เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ แล้วในที่นี้ เศรษฐีคฤหบดีจึงคิดว่า นัยว่าเรานั่งแล้วในที่นี้เท่านั้น จักได้เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่แล้วในที่นี้เป็นแน่ ดังนี้แล้ว จึงร่าเริงดีใจ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่เศรษฐีคฤหบดีผู้นั่งอยู่แล้ว ณ ที่สมควรนั้นแล ฯลฯ

    เมื่อจบพระธรรมเทศนาท่านเศรษฐีคฤหบดีก็ได้เป็นผู้มีความเชื่อในคำสั่งสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระดำรัสน่ายินดียิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสน่ายินดียิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือจุดไฟให้สว่างไสวในที่มืด ด้วยคิดว่า รูปทั้งหลายย่อมปรากฏแก่คนนัยน์ตาดี ดังนั้นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ ฉันนั้นเช่นกัน ทรงแสดงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายแล้วแล ข้าแต่พระ องค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมเจ้า และพระภิกษุ สงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์ขอถึงสรณะจนตลอดชีวิต

    ท่านเศรษฐีนั้น ได้เป็นอุบาสก (ผู้กล่าวถึงสรณะ ๓) คนแรกในโลกดังนี้

    ยสกุลบุตรบรรลุพระอรหัต

    เมื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตรอยู่นั้น ยสกุลบุตรก็ได้พิจารณาถึงภูมิธรรมดาตามที่ตนเห็นแล้ว ตามที่ตนทราบแล้ว จิตก็หลุดพ้นจากอาสาวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น บรรลุเป็นพระอรหันต์ ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่ายสกุลบุตรบรรลุพระอรหันต์แล้วจึงทรงพระดำริว่า บัดนี้ ยสกุลบุตรจิตหลุดพ้น แล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น ยสกุลบุตรไม่สมควรเวียนมาเพื่อ ความเป็นคนเลว เพื่อบริโภคกามคุณ เหมือนคนครองเรือนในกาลก่อนอีก ถ้ากระไรเราพึงระงับฤทธิ์ที่กำบังตานั้นเสีย

    ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงระงับฤทธิ์นั้นเสียแล้ว ท่านเศรษฐีคฤหบดีจึงได้เห็นยสกุลบุตรนั่งอยู่ตรงนั้นเอง ครั้นเมื่อได้เห็นบุตรจึงได้กล่าวว่า พ่อยสะเอ๋ย! มารดาของเจ้า กำลังได้ประสบ ความเศร้าโศกปริเทวนาการมา เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาเถิด ยสกุลบุตรมิได้ตอบคำเศรษฐีผู้เป็นบิดา แต่ได้แลดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสกะท่านเศรษฐีคฤหบดีนั้นว่า ท่านคฤหบดี ท่านจะเห็นเป็นอย่างไร ธรรมที่ยสกุลบุตรได้เห็นแล้ว ได้ทราบแล้ว เหมือนกับท่าน แต่เมื่อยสกุลบุตรนั้น พิจารณาถึงภูมิธรรมตามที่ตนเห็นแล้ว ตามที่ตนทราบแล้ว จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น เขาเป็นผู้สมควรที่จะกลับมาเพื่อความเป็นคนเลว เพื่อบริโภคกามคุณ เหมือนคนครองเรือนในกาลก่อนอย่างนั้นหรือ ?

    ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า มิใช่ ยสกุลบุตรเป็นผู้ไม่สมควรเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เพื่อบริโภคกามคุณ เหมือนกับคนครองเรือน ในกาลก่อนเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเป็นลาภของยศกุลบุตรแล้วหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยสกุลบุตรได้ดีแล้วหนอ

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงรับนิมนต์เสวยภัตตาหาร ในวันพรุ่งนี้ พร้อมด้วยยสกุลบุตรเถิด

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพแล้ว

    ครั้นแล้วท่านเศรษฐีคฤหบดีจึงได้ทูลลากลับไป จากนั้น ยสกุลบุตร จึงได้กราบทูลขอบวชต่อพระ ผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงโปรดประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่ยสกุลบุตรโดยตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด แล้วได้ตรัสว่า ธรรมเรากล่าวไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด พระวาจานั้นแลได้เป็นอุปสมบทของท่านยสกุลบุตรนั้น

    มารดาและภรรยาเก่าของพระยสได้ธรรมจักษุ

    รุ่งเช้าวันต่อมา พระผู้มีพระภาคผู้มีท่านพระยสเป็นปัจฉาสมณะ (พระติดตาม) เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเศรษฐีผู้คหบดี ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย ลำดับนั้น มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสพากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถาแก่นางทั้งสอง คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทรามและความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกจากกาม ตรั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นางทั้งสองมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนา ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ก็ได้เกิดแก่นางทั้งสอง นางทั้งสองก็ได้บรรลุโสดาบัน ณ ที่นั่งนั้นเอง

    ครั้นแล้ว มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสก็ได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ หม่อมฉันทั้งสองนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำหม่อมฉันทั้งสองว่า เป็นอุบาสิกาผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

    ก็มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยส ได้เป็นอุบาสิกา กล่าวอ้างพระรัตนตรัยเป็นชุดแรกในโลก

    ครั้งนั้น มารดาบิดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสได้อังคาสพระผู้มีพระภาคและท่านพระยส ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตนๆ จน ทรงให้ห้ามภัต ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้มารดาบิดา และภรรยาเก่าของท่านพระยส เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้วเสด็จลุกจากอาสนะกลับไป

    สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของพระยสออกบรรพชา

    สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของท่านพระยส คือ วิมล ๑ สุพาหุ ๑ ปุณณชิ ๑ ควัมปติ ๑ ซึ่งเป็นบุตรของสกุลเศรษฐีสืบๆ มา ในพระนครพาราณสี ได้ทราบข่าวว่า ยสกุลบุตรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้ว ครั้นทราบดังนั้นแล้วได้ดำริว่า ธรรมวินัยและบรรพชาที่ยสกุลบุตรที่กระทำลงไปนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาท่านพระยส ท่านจึงพาสหายคฤหัสถ์ทั้ง ๔ นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานโอวาทสั่งสอนสหายของข้าพระองค์เหล่านี้

    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทรามและความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา พวกเขาก็บรรลุโสดาบัน ณ ที่นั่งนั้นเอง จากนั้นท่านทั้ง ๔ จึงได้ทูลขอบบรรพชา อุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาค.พระผู้มีพระภาคจึงทรงโปรดประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่ท่านทั้ง ๔ โดยทรงตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด

    พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านทั้ง ๔ เหล่านั้น

    ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา เมื่อจบพระธรรมเทศนา จิตของภิกษุเหล่านั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.บรรลุเป็นพระอรหันต์

    สมัยนั้น จึงมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๑๑ องค์

    สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คน ของพระยสออกบรรพชา

    สหายคฤหัสถ์ของท่านพระยส เป็นชาวชนบทจำนวน ๕๐ คน เป็นบุตรของสกุลเก่าสืบๆ กันมา ได้ทราบข่าวว่า ยสกุลบุตร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ครั้นทราบดังนั้นแล้วได้ดำริว่า ธรรมวินัยและบรรพชาที่ยสกุลบุตรที่กระทำลงไปนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาท่านพระยส ท่านจึงพาสหายคฤหัสถ์ทั้ง ๕๐ นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานโอวาทสั่งสอนสหายของข้าพระองค์เหล่านี้

    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทรามและความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา พวกเขาก็บรรลุโสดาบัน ณ ที่นั่งนั้นเอง จากนั้นท่านทั้ง ๕๐ จึงได้ทูลขอบบรรพชา อุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาค.พระผู้มีพระภาคจึงทรงโปรดประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่ท่านทั้ง ๕๐ โดยทรงตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด

    พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านทั้ง ๕๐ เหล่านั้น

    ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา เมื่อจบพระธรรมเทศนา จิตของภิกษุเหล่านั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.บรรลุเป็นพระอรหันต์

    สมัยนั้น จึงมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ องค์

    บุรพกรรมของชน ๕๕ คนมียสกุลบุตรเป็นต้น

    วันหนึ่งพระศาสดา ทรงประชุมพระสาวกที่พระเวฬุวัน ทรงประทานตำแหน่งพระอัครสาวกแก่พระเถระทั้งสองแล้วทรง แสดงพระปาติโมกข์ เหล่าภิกษุบางพวกจึงกล่าวติเตียนว่า

    “พระศาสดา ประทานตำแหน่งแก่พระอัครสาวกทั้งสองโดยเห็นแก่หน้า พระองค์เมื่อจะประทานตำแหน่งอัครสาวก ควรประทานแก่พระปัญจวัคคีย์ผู้บวชเป็นพวกแรกสุด พ้นจากพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ก็ควรประทานแก่ภิกษุ ๕๕ รูป มีพระยสเถระเป็นประมุข พ้นจากภิกษุเหล่านั้น ก็ควรประทานแก่พระพวกภัทรวัคคีย์ พ้นจากภิกษุเหล่านั้น ก็ควรประทานแก่ภิกษุ ๓ พี่น้อง มีพระอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น แต่พระ ศาสดาทรงละเลยภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เมื่อจะประทานตำแหน่งอัครสาวก ก็ทรงเลือกหน้า ประทานแก่ผู้บวชภายหลังเขาเหล่านั้น”

    พระศาสดาตรัสถามภิกษุทั้งหลายถึงเรื่องที่พวกภิกษุเหล่านั้นพูดกันอยู่ ภิกษุทั้งหลายทูลเรื่องที่ตนพูดกัน พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย เราหาเลือกหน้าให้ตำแหน่งแก่พวกภิกษุไม่ แต่เราให้ ตำแหน่งที่แต่ละคน ๆ ตั้งจิตปรารถนาไว้แต่ปางก่อนแล้ว ๆ นั่นแล” และพระศาสดาทรงเล่าถึงบุรพกรรมของชนเหล่านั้น โดยเล่าถึงบุรพกรรมของยสกุลบุตรและสหายอีก ๕๔ คนไว้ดังนี้

    กลุ่มพระยสกุลบุตรทั้ง ๕๕ คนนั้น เคยตั้งจิตปรารถนาพระอรหัต ไว้ในสำนักพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง และปฏิบัติทำกรรมที่เป็นบุญไว้เป็นอันมาก ครั้งหนึ่งในสมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น เขาเหล่านนั้นเป็นสหายกัน ร่วมเป็นพวกกันทำบุญโดยเที่ยวจัดแจงศพคนไร้ที่พึ่ง วันหนึ่ง พวกเขาพบศพหญิงตายทั้งกลม จึงตกลงกันว่าจะเผาเสีย จึงนำศพนั้นไปป่าช้า เมื่อนำศพมาถึงป่าช้าแล้ว ยสกุลบุตรกับเพื่อนอีก ๔ คน จึงอยู่ที่ป่าช้านั้นเพื่อจัดการเผาศพ ส่วนเพื่อนที่เหลืออีก ๕๐ คนก็กลับไป

    ในขณะที่ทำการเผาศพหญิงตายทั้งกลมอยู่นั้น ยสกุลบุตรได้ใช้หลาวเขี่ยศพนั้นเพื่อพลิกศพกลับไปกลับมาให้โดนไฟทั่ว ๆ ขณะที่เอาไม้เขี่ยร่างศพอยู่นั้นก็ได้พิจารณาศพที่ถูกเผา ได้อสุภสัญญาแล้ว เขาจึงแสดงอสุภสัญญาแก่สหายอีก ๔ คนนั้นว่า “นี่เพื่อน ท่านจงดูศพนี้ มีหนังลอกแล้วในที่นั้น ๆ ดุจรูปโคด่าง ไม่สะอาด เหม็น น่าเกลียด ” สหายทั้ง ๔ คนนั้นก็ได้อสุภสัญญาในศพนั้น แล้วคนทั้ง ๕ นั้นเมื่อเผาศพเสร็จแล้วจึงได้นำอสุภสัญญาที่ปรากฏแก่ตนนั้น ไปบอกแก่สหายที่เหลือ ส่วนยสกุลบุตรนั้นเมื่อกลับถึงเรือนแล้วก็ได้บอกแก่มารดาบิดาและภรรยา คนทั้งหมดนั้นก็เจริญอสุภสัญญาแล้ว

    นี้เป็นบุพกรรมของคน ๕๕ คน มียสกุลบุตรเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้นในสมัยปัจจุบัน ความที่เห็นว่าในเรือนของตน ที่เกลื่อนไปด้วยสตรีเป็นดุจป่าช้าจึงเกิดแก่ยสกุลบุตร และด้วยอุปนิสัยสมบัติแห่งอสุภสัญญาที่เคยได้มานั้น การบรรลุคุณวิเศษจึงเกิดขึ้นแก่พวกเขาทั้งหมด คนเหล่านี้ได้รับผลที่ตนปรารถนาแล้วเหมือนกัน ด้วยประการอย่างนี้ หาใช่พระบรมศาสดาเลือกหน้าแต่งตั้งให้ไม่
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระกังขาเรวตเถระ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ยินดีในฌาน

    พระมหาเถระที่ชื่อ “เรวตะ” นี้ในพระบาลีมีอยู่ ๒ รูป คือ

    ๑. พระกังขาเรวตะ เอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ยินดีในฌาน และ

    ๒. พระเรวตขทิรวนิยเถระ เอตทัคคะมหาสาวกเลิศทางผู้อยู่ป่าเป็นวัตร

    ประวัติในตอนนี้เป็นเรื่องของพระกังขาเรวตเถระ ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดา ให้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ยินดีในฌาน และการที่พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งท่านให้เป็นเอตทัคคะเช่นนั้น นอกจากเหตุที่ ท่านได้เข้าสมาบัติเป็นส่วนมาก มีความชำนาญอันสั่งสมไว้ในฌานทั้งหลาย ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน แล้ว เท่านั้น แต่ยังเนื่องจากท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป อีกด้วย ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

    ความปรารถนาในอดีต

    กระทำมหาทานแด่พระปทุมุตตระพุทธเจ้า

    ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมมุตตระ ท่านได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ แห่งกรุงหังสวดี ครั้นเติบใหญ่เรียนจบไตรเพทแล้ว วันหนึ่งท่านได้ไปยังสำนักของพระปทุมมุตตระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม ได้เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้ยินดีในฌาน ท่านปรารถนาจะได้ตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานตลอด ๗ วัน ครั้นเมื่อครบ ๗ วันแล้ว จึงตั้งความปรารถนาของตนกับพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ ๗ วันก่อนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงได้สถาปนาภิกษุองค์ใดไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้ยินดีในฌาน ในอนาคตกาล ข้าพระองค์ก็พึงเป็นเหมือนภิกษุรูปนั้น คือ พึงเป็นผู้เลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้ยินดีในฌาน ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูด้วยอนาคตังสญาณแล้ว ทรงทราบว่าความปรารถนาของเขาจักสำเร็จผล จึงทรงพยากรณ์ว่า ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านจักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าเรวตะ ในอนาคตกาล เขาจักเกิดในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ในชื่อว่า เรวตตะ ท่านจักได้ฐานันดรนี้สมดังมโนรถความ ปรารถนา ทรงพยากรณ์ดังนี้แล้วเสด็จกลับ

    เขาได้ทำบุญไว้เป็นอันมากจนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์


    กำเนิดวรรณกษัตริย์ ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในมนุษยโลก ในสกุลกษัตริย์ ในโกลิยนคร มีทรัพย์มากมายมั่งคั่งสมบูรณ์ ในคราวที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธรรมเทศนาในพระนครกบิลพัสดุ์ ท่านได้ไปยืนฟังธรรมกถาของพระทศพลอยู่ท้ายกลุ่มของพุทธบริษัทในพระวิหาร ได้เกิดความศรัทธาเลื่อมใส จึงได้ขอบรรพชา ครั้นเมื่อได้อุปสมบทแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสบอกกัมมัฎฐานแล้ว ท่านได้กระทำบริกรรมในฌานอยู่ เป็นผู้ได้ฌาน กระทำฌานนั้นแหละให้เป็นบาท บรรลุพระอรหัตตผล พร้อมด้วย วิชชา ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖


    เหตุที่พระเถระได้ชื่อว่ากังขาเรวตะ

    ในพระบาลี พระเถระที่ชื่อ “เรวตะ” มี ๒ รูป คือ พระขทิรวนิยเรวตะ และ พระกังขาเรวตะ

    พระขทิรวนิยเรวตะ นั้นท่านเป็นน้องชายของพระสารีบุตร เหตุที่ท่านได้ฉายาว่า เรวตขทิรวนิยะ เพราะท่านได้หนีญาติมาอยู่ในป่าตะเคียน ก่อนที่ท่านจะบวช ขทิระ แปลว่า ต้นตะเคียน วินยะ แปลว่า อยู่ป่า ต่อมาท่านได้รับการสถาปนาจากพระพุทธองค์เป็น เอตทัคคมหาสาวกเลิศทางผู้อยู่ป่าเป็นวัตร

    ส่วนพระกังขาเรวตะนั้น ภายหลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ขณะที่ท่านยังเป็นปุถุชน ยังมิได้บรรลุพระอรหัตผลนั้น ท่านเป็นผู้มักสงสัย ถามว่า พระภิกษุรูปอื่นที่มีความสงสัยไม่มีหรือ ? ตอบว่า มี แต่พระเรวตะเถระนี้ แม้ในสิ่งที่สมควร ก็เกิดสงสัย มีความสงสัยเป็นปกติปรากฏชัดแจ้ง ทั้งในสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ (กัปปิยะ= เป็นของควร, อกัปปิยะ = เป็นของไม่ควร) และท่านเป็นต้นเหตุให้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัยอยู่หลายเรื่องเช่น

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ เหตุบัญญัติพระวินัย

    พระพุทธานุญาตงบน้ำอ้อย

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครสาวัตถีตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพุทธดำเนินไปทางพระนครราชคฤห์ ท่านพระกังขาเรวตะได้แวะเข้า โรงทำงบน้ำอ้อยในระหว่างทาง เห็นเขาผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย จึงรังเกียจว่า งบน้ำอ้อยเจืออามิส เป็นอกัปปิยะ ไม่ควรจะฉันในเวลาวิกาล ดังนี้ จึงพร้อมด้วยบริษัทไม่ฉันงบน้ำอ้อย แม้พวก ภิกษุที่เชื่อฟังคำท่านก็พลอยไม่ฉันงบน้ำอ้อยไปด้วย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

    พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย เพื่อประสงค์อะไร?

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เพื่อประสงค์ให้เกาะกันแน่น พระพุทธเจ้าข้า

    พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนทั้งหลายผสม แป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย เพื่อประสงค์ให้เกาะกันแน่น งบน้ำอ้อยนั้นก็ยังถึงความนับว่างบน้ำอ้อยนั่นแหละ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันงบน้ำอ้อยตามสบาย

    พระพุทธานุญาตถั่วเขียว

    ท่านพระกังขาเรวตะ ได้เห็นถั่วเขียวงอกขึ้นในกองอุจจาระ ณ ระหว่างทาง แล้วรังเกียจว่า ถั่วเขียวเป็นอกัปปิยะ แม้ต้มแล้วก็ยังงอกได้ จึงพร้อมด้วยบริษัทไม่ฉันถั่วเขียว แม้พวกภิกษุที่เชื่อฟังคำของท่านก็พลอยไม่ฉันถั่วเขียวไปด้วย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถั่วเขียวแม้ที่ต้ม แล้วก็ยังงอกได้ เราอนุญาตให้ฉันถั่วเขียวได้ตามสบาย.

    ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มักสงสัยอยู่เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันทั่วไปในหมู่พระภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น คำว่า “กังขา” จึงถูกเรียกรวมกับชื่อเดิมของท่านว่า “กังขาเรวตะ” หมายถึง พระเรวตะผู้ชอบสงสัย

    ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

    ครั้นเมื่อท่านได้อุปสมบทแล้ว บรรลุพระอรหัตแล้ว โดยมากท่านจะเข้าสมาบัติ ได้เป็นผู้มีชำนาญที่สั่งสมแล้วในฌานทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน พิจารณาอยู่ ซึ่งกังขาวิตรณวิสุทธิ ของตน คือความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิดนามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ

    เพราะเหตุที่ท่านมีความสงสัยเป็นปกติมานาน ท่านจึงนั่งพิจารณาอริยมรรคที่ตนบรรลุแล้วนั้น ให้หนักแน่นว่า เราละความสงสัยเหล่านี้ได้เด็ดขาด เพราะอาศัยมรรคธรรมนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ในสมัยนั้น ท่านพระกังขาเรวตะนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง พิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิของตนอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่นัก พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่านพระกังขาเรวตะ นั่งพิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิของตนอยู่ จึงได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า

    ความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดในอัตภาพนี้ หรือในอัตภาพอื่น

    ในความรู้ของตน หรือในความรู้ของผู้อื่น

    บุคคลผู้เพ่งพินิจ มีความเพียร ประพฤติพรหมจรรย์อยู่

    ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นได้ทั้งหมด ฯ

    ต่อมาภายหลังพระศาสดาทรงถือเอาคุณอันนี้ สถาปนาท่านไว้ใน ตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน

    พระเถระโปรดนางเปรตให้พ้นทุกข์

    เรื่องของนางเปรตผู้เป็นมารดาของนายอุตตระนี้ มีดังต่อไปนี้ :-

    เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อปฐมมหาสังคายนาได้กระทำแล้ว ท่านพระมหากัจจายนะ พร้อมด้วยภิกษุ ๑๒ รูป อยู่ ในราวป่าแห่งหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงโกสัมพี ก็สมัยนั้น อำมาตย์ คนหนึ่งของพระเจ้าอุเทน ได้สิ้นชีวิตลง ก่อนที่จะสิ้นชีวิต อำมาตย์นั้นได้มีหน้าที่เป็นผู้ดูแลเรื่องราวต่างในพระนคร ครั้นอำมาตย์นั้นสิ้นชีวิตลง พระราชาจึง รับสั่งให้เรียกอุตตรมาณพผู้เป็นบุตรของอำมาตย์นั้นมา แล้ว ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเดียวกับที่บิดาเคยดำรงอยู่ รับสั่งว่า เจ้าจงดูแลการงาน ให้เหมือนกับที่บิดาเจ้าได้จัดการไว้

    อุตตรมาณพนั้น รับพระดำรัสแล้ว วันหนึ่ง ได้พานายช่างทั้งหลายไปในป่า เพื่อเสาะหาไม้ไว้สำหรับซ่อมแซมพระนคร จึงเข้าไปยัง ที่อยู่ของท่านพระมหากัจจายนะ ในที่นั้น ได้แลเห็นพระเถระผู้ทรงบังสุกุลจีวร นั่งสงบเงียบอยู่ในที่นั้น ก็บังเกิดความเลื่อมใสในอิริยาบถ จึงได้กระทำปฏิสันถารแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระเถระได้แสดงธรรมแก่อุตตรมาณพนั้น เมื่อได้สดับธรรมแล้วอุตตรมาณพนั้นก็เกิดความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย จึงตั้งอยู่ในสรณะ แล้วนิมนต์พระเถระด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายจงรับภัตตาหารเพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้ โดยความอนุเคราะห์กระผมเถิด. พระเถระรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ เธอกลับจากที่นั้นแล้วไปยังพระนคร และได้บอกแก่อุบาสกเหล่าอื่นว่า ข้าพเจ้าได้นิมนต์พระเถระเพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ก็ขอเชิญท่าน ทั้งหลายมายังโรงทานของข้าพเจ้าด้วย

    ในวันที่ ๒ เวลาเช้าตรู่ เธอให้จัดอาหารอันประณีต แล้วก็ไปแจ้งให้พระเถระทราบ เมื่อพระเถระทั้งหลายมาถึง ก็จัดแจงกระทำการต้อนรับ นิมนต์ให้ขึ้นเรือน เมื่อพระเถระและภิกษุทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่ลาดด้วยเครื่องปูลาด อันเป็นของมีค่ามาก ทำการบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และธูป ถวายภัตตาหารแด่พระเถระทั้งหลาย เมื่อพระเถระกระทำอนุโมทนาภัตรเสร็จแล้ว จึงถือบาตรตามส่งออกจากนคร เมื่อจะกลับ ก็ปวารณานิมนต์พระเถระให้มารับภัตต์ที่เรือนของเขาเป็นนิตย์ เขาอุปัฏฐากพระเถระอยู่อย่างนี้ ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน ฟังธรรมแล้วตั้งอยู่ ในโสดาปัตติผล และได้สร้างวิหารถวาย ทั้งกระทำให้ญาติ ของตนทั้งหมดเลื่อมใสในพระศาสนา

    ฝ่ายมารดาของมิได้มีจิตเลื่อมใสด้วยมีความตระหนี่ ได้บริภาษบุตรชายว่า เจ้าให้สิ่งไรแก่พวกสมณะ สิ่งนั้นจงกลายเป็นโลหิตแก่เจ้าในปรโลก แต่นางให้หางนกยูงกำหนึ่งในวันฉลองวิหาร เมื่อนางสิ้นชีวิตลง นางก็ไปเกิดเป็นเปรต แต่เพราะนางอนุโมทนาทานด้วยกำหางนกยูง นางจึงมีผมดำสนิท มีปลายตวัดขึ้น ละเอียดและยาว ในคราวที่นางจะดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา น้ำนั้นก็กลับกลายเป็นเลือดไปเสีย นางถูกความหิวกระหายครอบงำ เที่ยวไปสิ้น ๕๕ ปี วันหนึ่ง ได้เห็น พระกังขาเรวตเถระนั่งพักกลางวัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา จึงเอาผมของตนปิดตัวเข้าไปหา ขอน้ำดื่ม

    พระเถระกล่าวว่า :-ท่านก็จงตักเอาน้ำจากแม่น้ำคงคานั้นดื่มเถิด จะมาขอดื่มกะเราทำไม

    นางเปรตกล่าวว่า :- ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าดิฉันตักน้ำในแม่น้ำคงคานี้เอง น้ำนั้นก็จะกลายเป็นโลหิต

    พระเถระถามว่า :- ท่านได้กระทำกรรมชั่วอะไรไว้หรือ น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลายเป็นโลหิต

    นางเปรตตอบว่า :- ดิฉันมีบุตรคนหนึ่งชื่ออุตตระ เป็นอุบาสก มีศรัทธา เขาได้ถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่งและคิลานปัจจัย แก่พระสมณะทั้งหลาย ด้วยความไม่พอใจของดิฉัน ดิฉันถูกความตระหนี่ครอบงำแล้ว ด่าเขาว่า เจ้าอุตตระ เจ้าถวาย จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง และคิลานปัจจัยแก่สมณะทั้งหลาย ด้วยความไม่พอใจของเรานั้น จงกลายเป็นเลือดปรากฏแก่เจ้าในปรโลก เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลายเป็นโลหิตปรากฏแก่ดิฉัน

    เพื่อที่จะโปรดนางเปรตนั้นให้ได้พ้นทุกข์ ท่านพระเรวตะ ได้ถวายน้ำดื่มแก่ภิกษุสงฆ์ อุทิศแก่นางเปรตนั้น และเมื่อท่านไปบิณฑบาต เมื่อได้รับภัตต์แล้ว ก็ได้ถวายภัตต์แก่ภิกษุทั้งหลาย และท่านก็ยังถือเอาผ้าบังสุกุลที่ได้จากกองขยะเป็นต้น ซักแล้วทำให้ เป็นฟูกและหมอน ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย ทั้งหมดนี้ก็ได้อุทิศให้แก่นางเปรต ด้วยเหตุนี้นางเปรตนั้นจึงได้ทิพยสมบัติ แล้วนางจึงไปยังสำนักพระเถระ แสดงทิพยสมบัติที่ตนได้แก่พระเถระ พระเถระจึงเล่าเรื่องนางเปรตนั้นแก่บริษัท ๔ ผู้มายังสำนักตน แล้วแสดงธรรกถา มหาชนจึงเกิด ความสังเวชและทำตนเป็นผู้ปราศจากความตระหนี่ และยินดียิ่งในการทำกุศลธรรม มีทานและศีลเป็นต้น


    พระเถระโปรดพระสัมมัชชนเถระ

    พระสัมมัชชนเถระ เมื่อครั้งยังเป็นพระปุถุชน ยังไม่บรรลุมรรคผลอันใด โดยปกติก็เป็นผู้ขยันในการเที่ยวกวาดขยะในที่ต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงกาลเวลา วันหนึ่ง พระสัมมัชชนเถระนั้น ถือไม้กวาด ไปสู่สำนักของพระเรวตเถระ ผู้นั่งอยู่ในที่พัก แล้วกล่าวว่า

    “พระเถระนี้เป็นผู้เกียจคร้านมาก บริโภคของที่ชนถวายด้วยศรัทธา แล้วมานั่งอยู่ ควรที่จะถือเอาไม้กวาดแล้วกวาดที่แห่งหนึ่ง จะไม่ดีกว่าหรือ ?”

    พระเรวตเถระคิดว่า “เราจักให้โอวาทแก่เธอ” ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า “มานี่แน่ะ คุณ”

    พระสัมมัชชนเถระ : อะไร ? ขอรับ

    พระเรวตเถระ : ท่านจงไปอาบน้ำแล้วจงมา พระสัมมัชชนเถระก็ได้ทำอย่างนั้นแล้ว จึงมานั่งอยู่ข้างหนึ่งของพระเถระ

    ลำดับนั้น พระเรวตเถระจึงกล่าวว่า

    “คุณ ธรรมดาภิกษุเที่ยวกวาดอยู่ตลอดทุกเวลานั้นไม่ควร แต่การที่ภิกษุกวาดแต่เช้าตรู่แล้ว เที่ยวบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตแล้ว มานั่งในที่พัก สาธยายอาการ ๓๒ เริ่มตั้ง ความสิ้น ความเสื่อมในอัตภาพแล้ว ลุกขึ้นกวาดในเวลาเย็น จึงควร ภิกษุไม่กวาดตลอดกาลเป็นนิตย์ ”

    พระสัมมัชชนเถระนั้นตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระแล้ว ไม่นานเท่าไรก็บรรลุพระอรหัต แต่การที่พระเถระหันมาบำเพ็ญเพียรแทนที่จะเที่ยวกวาดอยู่ทั้งวัน ก็ได้ทำให้ที่นั้นๆ ได้เกิดรกรุงรัง

    ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงได้กล่าวกะพระสัมมัชชนเถระนั้นว่า

    “สัมมัชชนเถระผู้มีอายุ ที่นั้นๆ รกรุงรัง เพราะเหตุไรท่านจึงไม่กวาดเล่า ?”

    พระสัมมัชชนเถระกล่าวตอบกับภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ กระผมทำอย่างนั้น ในเวลาประมาท บัดนี้ กระผมเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

    ภิกษุทั้งหลายจึงได้มากราบทูลแด่พระศาสดาว่า “พระเถระนี้ พยากรณ์ อรหัตตผล.” พระศาสดาจึงตรัสว่า “จริงอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเรา เที่ยวกวาดอยู่ในเวลาประมาทในกาลก่อน แต่บัดนี้ บุตรของเรายับยั้งอยู่ ด้วยความสุขซึ่งเกิดแต่มรรคผล จึงไม่กวาด” ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา นี้ว่า:

    “ก็ผู้ใดประมาทในก่อน ภายหลังไม่ประมาท,

    ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างได้

    เหมือนดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น.”
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระสุภูติเถระ
    เอตทัคคมหาสาวกผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส
    เอตทัคคมหาสาวกผู้เป็นทักขิไณยบุคคล


    การที่ท่านพระสุภูติเถระ ท่านนี้ได้รับการสถาปนาจากพระบรมศาสดา ให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุสาวกทั้งหลาย ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส และผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ถึง ๒ ประการนั้นก็เนื่องด้วย ๒ เหตุคือ โดยเหตุเกิดเรื่อง คือ พระมหาสาวกองค์นั้น ได้แสดงความสามารถออกมาให้ปรากฏในเรื่องทั้งสองได้อย่างชัดแจ้ง และอีกเหตุหนึ่งก็คือเนื่องด้วยท่านได้ตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้นตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

    บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ ในกาลก่อนหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จอุบัติขึ้น ท่านเกิดเป็นบุตรเศรษฐี ในพระนครหงสาวดี ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในนครหังสวดี วันขนานนามท่าน พวกญาติขนานนามว่า นันทมาณพ (ในบางแห่งกล่าวว่าชื่อ โกสิยะ) ครั้นเติบใหญ่ขึ้นแล้ว เป็นพราหมณ์ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบ ไตรเพท มีมาณพ ๔๔,๐๐๐ เป็นบริวาร

    ต่อมานันทมาณพนั้นได้พิจารณาไตรเพทเห็นว่าไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร หาสาระอะไรมิได้ จึงไปยังเชิงเขาออกบวชเป็นฤๅษีพร้อมกับมาณพ ๔๔,๐๐๐ แล้ว

    ท่านเมื่อบวชแล้วก็มีชฎิล ๔๔,๐๐๐ เป็นบริวาร ท่านทำอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้บังเกิดแล้ว บอกกสิณบริกรรมแก่ชฎิลเหล่านั้นด้วย ชฎิลเหล่านั้นตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน ก็บำเพ็ญจนได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ทุกรูป

    กาลเวลาล่วงไป จนเมื่อพระปทุมุตตระทศพลทรงอุบัติ และบรรลุปรมาภิสัมโพธิญาณ ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร ทรงประทับอยู่ ณ กรุงหงสวดี วันหนึ่งพระทศพลนั้นทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอรหัตตูปนิสัยของเหล่าบริษัทของนันทดาบส และความปรารถนาทั้งสองของนันทดาบส (ที่ปรารถนาจะเป็นเอตทัคคะผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส และเอตทัคคะผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้จะทรงบังเกิดในกาลภายหน้า) จึงชำระสรีระแต่เช้าตรู่ ถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง เสด็จไปพระองค์เดียว ในเวลาที่เหล่าศิษย์ของนันทดาบสออกไปแสดงหาผลไม้ในป่า ทรงประทับยืนอยู่ที่ประตูบรรณศาลาของนันทดาบส

    ฝ่ายนันทดาบสแม้ไม่ทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว แต่เมื่อแลเห็นพระทศพลทรงประทับยืนอยู่นั้นก็ทราบได้ว่า บุรุษผู้นี้น่าจะเป็นคนพ้นโลกแล้ว เหมือนความสำเร็จแห่งสรีระของพระองค์ ซึ่งประกอบด้วยจักกลักษณะ หากครองเรือนก็จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หากออกบวชก็จักเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ดังนี้ จึงถวายอภิวาทพระทศพล ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดมาประทับทางนี้ แล้วท่านก็ปูลาดอาสนะถวาย

    พระตถาคตประทับนั่งแสดงธรรมแก่นันทดาบส ขณะนั้นพวกชฎิลเหล่าศิษย์เมื่อได้ผลาหารตามต้องการแล้วก็กลับมา ด้วยหมายว่า จักให้ผลหมากรากไม้ในป่าที่ประณีต ๆ แก่อาจารย์ ส่วนที่เหลือจักบริโภคเอง ดังนี้ เห็นพระทศพลประทับนั่งบนอาสนะสูง แต่อาจารย์นั่งบนอาสนะต่ำ ต่างก็สนทนากันว่า พวกเราคิดกันว่า ในโลกนี้ไม่มีใครที่ยิ่งกว่าอาจารย์ของเรา แต่บัดนี้ปรากฏว่า บุรุษนี้ผู้เดียวให้อาจารย์ของเรานั่งบนอาสนะต่ำ ตนเองนั่งบนอาสนะสูง มนุษย์นี้ทีจะเป็นใหญ่หนอ ดังนี้ ต่างถือตะกร้าพากันมา

    นันทดาบสเกรงว่า ชฎิลเหล่านี้จะพึงไหว้เราในสำนักพระทศพล จึงกล่าวว่าท่านทั้งหลายอย่าไหว้เรา ท่านผู้นี้เป็นบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก เป็นผู้ควรที่ท่านทุกคนพึงไหว้ได้ ท่านทั้งหลายจงไหว้บุรุษผู้นี้ ดาบสทั้งหลายคิดว่า อาจารย์นั้นถ้าไม่รู้ ก็คงไม่พูด จึงถวายบังคมพระบาทแห่งพระตถาคตเจ้า นันทดาบสกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย เราไม่มีโภชนะอย่างอื่นที่สมควรถวายแด่พระทศพล เราจักถวายผลหมากรากไม้ในป่านี้ จึงเลือกผลาผลที่ประณีต ๆ บรรจงวางไว้ในบาตรของพระพุทธเจ้า พระศาสดาเสวยผลไม้แล้ว ต่อจากนั้น ดาบสเองกับเหล่าศิษย์จึงฉัน

    พระศาสดาเสวยเสร็จแล้วทรงพระดำริว่า พระอัครสาวกทั้ง ๒ จงพาภิกษุแสนรูปมา ในขณะนั้น พระมหาวิมลเถระอัครสาวกรำลึกว่าพระศาสดาเสด็จไปที่ไหนหนอ จึงทราบว่า พระศาสดาทรงประสงค์ให้ท่านไปเฝ้า จึงพาภิกษุแสนรูปไปเฝ้าถวายบังคมอยู่ พระดาบสกล่าวกับเหล่าศิษย์ว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราไม่มีสักการะอื่น ทั้งภิกษุสงฆ์ก็ยืนอยู่ลำบาก เราจักปูลาดบุปผาสนะถวายภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประธาน ท่านทั้งหลายจงไปนำเอาดอกไม้ที่เกิดทั้งบนบก ทั้งในน้ำมาเถิด ในทันใดนั้นเอง ดาบสเหล่านั้น จึงนำเอาดอกไม้อันสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมาจากเชิงเขาด้วยอิทธิฤทธิ์ แล้วปูลาดอาสนะดอกไม้ ประมาณหนึ่งโยชน์แก่พระพุทธเจ้า ปูลาดอาสนะดอกไม้ประมาณ ๓/๔ โยชน์ แก่พระอัครสาวกทั้งสอง ปูลาดอาสนะดอกไม้ประมาณกึ่งโยชน์เป็นต้น แก่เหล่าภิกษุที่เหลือ ปูลาดอาสนะดอกไม้ประมาณ ๒๕ วาแก่ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์

    ครั้นปูลาดอาสนะทั้งหลายอย่างนี้แล้ว นันทดาบสจึงประคองอัญชลี ตรงพระพักตร์ของพระตถาคต แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์เสด็จขึ้นยังอาสนะดอกไม้นี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว พระอัครสาวกทั้งสองและเหล่าภิกษุที่เหลือ ก็นั่งบนอาสนะอันถึงแก่ตน ๆ พระศาสดาทรงเข้านิโรธสมาบัติด้วยพระประสงค์ว่า ผลใหญ่จงมีแก่ดาบสเหล่านั้น ฝ่ายพระอัครสาวกทั้งสองและเหล่าภิกษุที่เหลือ รู้ว่าพระศาสดาทรงเข้านิโรธสมาบัติ จึงพากันเข้านิโรธสมาบัติ พระดาบสได้ยืนกั้นฉัตรดอกไม้แด่พระศาสดาตลอด ๗ วัน พระ ดาบสนอกนี้ฉันมูลผลาหารจากป่าแล้ว ในเวลาที่เหลือก็ได้ยืนประคองอัญชลีอยู่

    ในวันที่ ๗ พระศาสดาทรงออกจากนิโรธสมาบัติ ทรงเห็นดาบสทั้งหลายยืนล้อมอยู่ จึงตรัสเรียกพระสาวกผู้บรรลุเอตทัคคะในความเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ คือองค์ของภิกษุอยู่โดยไม่มีกิเลส และองค์แห่งภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หมู่ฤๅษี นี้ ได้กระทำสักการะใหญ่ เธอจงกระทำอนุโมทนาบุปผาสนะแก่หมู่ฤๅษี เหล่านี้ ภิกษุนั้นรับพระพุทธดำรัสแล้วพิจารณาพระไตรปิฎกกระทำอนุโมทนา เวลาจบเทศนาของภิกษุนั้น พระศาสดาทรงเปล่งพระสุระเสียงดุจเสียงพรหมแสดงธรรมด้วยพระองค์เอง เมื่อจบเทศนา ชฎิล ๔๔,๐๐๐ รูปทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัต เว้นแต่นันทดาบสไม่อาจทำการแทงตลอดในพระธรรมนั้น การที่นันทดาบสไม่ได้บรรลุคุณพิเศษ เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน ได้ยินว่า นันทดาบสนั้นจำเดิมแต่เริ่มฟังธรรม ในสำนักของพระเถระผู้อยู่อย่างปราศจากกิเลส ได้เกิดจิตตุปบาทขึ้นว่า โอหนอ แม้เราพึงได้คุณอันสาวกนี้ได้แล้ว ในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งผู้จักเสด็จอุบัติในอนาคตกาล ด้วยปริวิตกนั้น นันทดาบสจึงไม่สามารถทำการแทงตลอดมรรคและผลได้ จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุผู้ที่แสดงธรรมก่อนนี้ ชื่อว่าอย่างไร ในศาสนาของพระองค์

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นันทดาบส ภิกษุนี้เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ คือองค์ของภิกษุอยู่โดยไม่มีกิเลส และองค์แห่งภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในศาสนาของเรา นันทดาบสหมอบแทบบาทมูล กระทำความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยผลแห่งบุญกุศลที่ข้าพระองค์ทำมา ๗ วันนี้ ข้าพระองค์พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ คือองค์ของภิกษุอยู่โดยไม่มีกิเลส และองค์แห่งภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต เหมือนดังภิกษุรูปนี้ พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาล ก็ทรงทราบว่าความปรารถนาของนันทดาบสนั้นสำเร็จโดยหาอันตรายมิได้ แล้วทรงพยากรณ์ว่า

    ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคตกาลพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ คือองค์ของภิกษุอยู่โดยไม่มีกิเลส และองค์แห่งภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในศาสนาของพระองค์ แล้วตรัสกะดาบสผู้บรรลุพระอรหัตว่า เอก ภิกขโว จงเป็นภิกษุมาเถิดดังนี้ ดาบสทุกรูปมีผมและหนวดอันตรธานไป ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นเช่นกับพระเถระ ๑๐๐ พรรษาพระศาสดาทรงพาภิกษุสงฆ์เสด็จกลับพระวิหาร ฝ่ายนันทดาบสก็บำรุงพระตถาคตจนตลอดชีวิต บำเพ็ญแต่กัลยาณกรรมตามกำลัง เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายแสนกัป

    นันทดาบสได้ยืนประคองอัญชลีแล้วอุทิศเฉพาะพระศาสดา และภิกษุสงฆ์จนกระทั่งลับคลองจักษุ ในเวลาต่อมา ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาฟังธรรมตามกาลเวลา มีฌานไม่เสื่อมแล้วทีเดียว ทำกาละไปบังเกิดในพรหมโลก และจุติจากพรหมโลกนั้นแล้วบวชอีก ๕๐๐ ชาติได้เป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็นวัตร

    กำเนิดในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

    แม้ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เมื่อท่านเกิดมาก็ได้บวช เป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ให้บริบูรณ์แล้ว ได้ยินว่า ผู้ที่ไม่ได้บำเพ็ญวัตรนี้ ชื่อว่าจะบรรลุถึงความเป็นพระมหาสาวกไม่ได้เลย ท่านบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร อยู่ถึง ๑๒๐ ปี ทำกาละแล้วบังเกิดในภพดาวดึงส์ ในเทวโลกชั้นกามาพจร

    กำเนิดในสมัยพระศากยโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ก็นันทดาบสนั้น เสวยทิพยสมบัติด้วยสามารถแห่งการเกิด สลับกันไปในดาวดึงส์พิภพด้วยประการฉะนี้ จุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้วเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และเป็นเจ้าประเทศราชในมนุษย์โลก นับได้หลายร้อยครั้ง เสวยมนุษย์สมบัติอันโอฬาร ต่อมาในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เกิดเป็นน้องชายของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในเรือนสุมนเศรษฐี ณ กรุงสาวัตถี ได้มีนามว่า สุภูติ

    อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างเชตวันมหาวิหารถวาย

    สมัยหนึ่งท่านเศรษฐีได้ไปสู่นครราชคฤห์ เพื่อธุรกิจการค้า และได้ไปพักอยู่กับท่านเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์คนหนึ่ง ซึ่งเป็นพี่เขยของท่าน ในวันที่ท่านไปถึงนั้น ท่านได้เห็นท่านเศรษฐีเจ้าของบ้าน กำลังตระเตรียมอาหารเพื่อถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธองค์เป็นประธาน ท่านจึงทราบว่า มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว ท่านก็เกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง อยากจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้ามาก ในวันรุ่งขึ้นเมื่ออนาถปิณฑิกเศรษฐีได้พบพระบรมศาสดาแล้ว พระองค์ได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาโปรด ท่านเศรษฐีก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต

    ครั้นในวันรุ่งขึ้น ท่านได้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระพุทธองค์ และพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระพุทธองค์เสวยเสร็จแล้ว ท่านเศรษฐีได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปจำพรรษาที่นครสาวัตถีบ้าง ครั้นท่านเศรษฐีได้ทำธุรกิจในนครราชคฤห์เสร็จก็ออกเดินทางกลับไปยังนครสาวัตถี เมื่อไปถึงนครสาวัตถี ก็เที่ยวตรวจดูสถานที่อันเหมาะสมที่จะเป็นพระอาราม จึงเลือกได้สวนของเจ้าเชต แล้วขอซื้อด้วยราคา ๑๘ โกฏิ และสิ้นค่าก่อสร้างวิหาร หอฉัน ฯลฯ ต่าง ๆ รวมทั้งหมดสิ้นเงินอีก ๑๘ โกฏิ วิหารนี้มีชื่อว่า เชตวนาราม เพราะเป็นสวนของเชตกุมารมาก่อน

    ครั้นพระพุทธองค์ได้ประทับอยู่ในนครราชคฤห์ พอสมควรแล้ว ก็เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึงนครเวสาลี ทรงพักอยู่ที่นั้นพอสมควรแล้วเสด็จจาริกต่อไปจนถึงนครสาวัตถี ประทับ ณ เชตวนาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านเศรษฐีได้ถวายพระอารามแก่สงฆ์ในวันรุ่งขึ้นนั้นเอง

    ในวันที่พระพุทธองค์ทรงรับพระเชตวนารามนั้นเอง เป็นวันที่ สุภูติกุฏุมพีนี้ได้ไปพร้อมกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้ฟังธรรม และได้ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อท่านอุปสมบทแล้วกระทำมาติกา ๒ บทให้แคล่วคล่อง
    ให้บอกกัมมัฏฐานให้ บำเพ็ญสมณธรรมในป่าเจริญวิปัสสนา

    กระทำเมตตาฌานให้เป็นบาท บรรลุอรหัตแล้วพร้อมคุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖


    ในวันเดียวกันนั้นเอง ก็เป็นวันที่นันทกมานพ ชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้ฟังธรรม และได้ออกบวชเป็นบรรพชิต คือท่านพระนันทกเถระ ต่อมาก็ได้บรรลุอรหัตผล ภายหลังพระพุทธเจ้าทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ให้โอวาทสอนภิกษุณี

    พระเจ้าพิมพิสารปวารณาจะสร้างกุฏิถวายแล้วทรงลืม

    พระสุภูติเถระนี้ เมื่อบรรลุพระอรหัตอันเป็นที่สุดของผลแห่งบารมีที่ตนได้บำเพ็ญมา เป็นผู้ฉลาดเปรื่องปราชญ์ในโลก เที่ยวจาริกไปตามชนบทเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ชนหมู่มาก ถึงกรุงราชคฤห์แล้วโดยลำดับ

    พระเจ้าพิมพิสาร ทรงสดับการมาของพระเถระแล้ว เสด็จเข้าไปหา ทรงไหว้แล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในที่นี้แหละ ข้าพเจ้าจะสร้างที่อยู่ถวายดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไปแล้วก็ทรงลืมเสีย พระเถระเมื่อไม่ได้เสนาสนะก็ยังกาลให้ผ่านไปในอัพโภกาส (กลางแจ้ง) ด้วยอานุภาพของพระเถระฝนไม่ตกเลย

    มนุษย์ทั้งหลาย ถูกภาวะฝนแล้งบีบคั้นคุกคาม จึงพากันไปทำการร้องทุกข์ ที่ประตูวังของพระราชา พระราชาทรงใคร่ครวญว่า ด้วยเหตุอะไรหนอ ฝนจึงไม่ตก แล้วทรงพระดำริว่า ชะรอยพระเถระจะอยู่กลางแจ้ง ฝนจึงไม่ตก แล้วรับสั่งให้สร้างกุฏีมุงด้วยใบไม้ถวายพระเถระแล้วรับสั่งว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในบรรณกุฏีนี้แหละ ไหว้แล้วเสด็จหลีกไป พระเถระไปสู่กุฏีแล้วนั่งขัดสมาธิบนอาสนะที่ปูลาดด้วยหญ้า ในครั้งนั้น ฝนหยาดเม็ดเล็ก ๆ ตกลงมาทีละน้อย ๆ ไม่ยังสายธารให้ชุ่มชื่นทั่วถึง

    ลำดับนั้น พระเถระประสงค์จะบำบัดภัยอันเกิดแต่ฝนแล้งแก่ชาวโลก เมื่อจะประกาศความไม่มีอันตรายที่จะเกิดแก่ตัวท่าน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุภายในหรือวัตถุภายนอกก็ตาม ท่านจึงกล่าวคาถาว่า

    กระท่อมของเรามุงแล้ว สะดวกสบายปราศจากลม

    ดูก่อนฝน ท่านจงตกตามสบายเถิด

    จิตของเราตั้งมั่นแล้ว หลุดพ้นแล้ว

    เรามีความเพียรเครื่องเผากิเลสอยู่

    ดูก่อนฝน ท่านจงตกเถิด ดังนี้

    พระศาสดาทรงสถาปนาท่านเป็นเอตทัคคะ

    พระเถระนี้ ขึ้นสู่ตำแหน่งเอตทัคคะ ๒ อย่าง คือ เลิศในทางอรณวิหารี และเลิศในทางทักขิไณย

    จริงอยู่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นท่านเรียกว่า รณะ ผู้มีปกติอยู่โดยหากิเลศมิได้นั้น จึงเรียกว่า อรณวิหาร อรณวิหารนั้นมีอยู่แก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า ผู้มีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้ พระสุภูติเถระเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้เหล่านั้น

    จริงอยู่พระขีณาสพ แม้เหล่าอื่น ก็ชื่อว่า อรณวิหารี ถึงอย่างนั้นพระสุภูติเถระก็ได้ชื่ออย่างนั้นก็ด้วยพระธรรมเทศนา ภิกษุเหล่าอื่น เมื่อแสดงธรรมย่อมกระทำเจาะจงกล่าวคุณบ้าง โทษบ้าง ส่วนพระเถระเมื่อแสดงธรรมก็แสดงไม่ออกจากข้อกำหนดที่พระศาสดาแสดงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้

    ที่เป็นเลิศในทางทักขิไณยนั้น ได้มีคำพูดกล่าวว่าพระธรรมเสนาบดี ยังวัตถุให้บริสุทธิ์ ส่วนพระสุภูติเถระยังทักขิณาให้บริสุทธิ์ ซึ่งก็เป็นจริงอย่างนั้น พระธรรมเสนาบดีเที่ยวบิณฑบาต ยืนอยู่ใกล้ประตูเรือน กำหนดในบุพภาคแล้ว เข้านิโรธจนกว่าบุคคลทั้งหลายนำภิกษามาถวาย จึงออกจากนิโรธแล้วรับไทยธรรม ส่วนพระสุภูติเถระนั้น ท่านเข้าเมตตาฌานเหมือนอย่างนั้น ออกจากเมตตาฌานแล้วจึงรับไทยธรรม

    พระขีณาสพทั้งหลายเหล่าอื่นก็ชื่อว่า พระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ เช่นกัน แต่ถึงอย่างนั้น พระสุภูติเถระนั้น แม้ในขณะที่กำลังบิณฑบาต ก็เข้าฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์ เมื่อออกจากสมาบัติแล้ว จึงจะรับภิกษาในเรือนทุกหลัง ที่ท่านทำเช่นนั้นด้วยปรารถนาว่าทายกผู้ถวายภิกษาจักมีผลมาก ด้วยว่าทานที่จักมีผลมากนั้นต้องบริสุทธิ์ทั้งผู้ให้และผู้รับ แม้ทางด้านผู้รับจะไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น เพราะท่านทราบอยู่แล้วว่าท่านเป็นพระขีณาสพแล้ว แต่ท่านก็ยังทำด้วยความปรารถนาดีต่อทายกผู้ถวาย เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ท่านปฏิบัติในข้อ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณายิ่งกว่าผู้อื่น

    พระศาสดาทรงอาศัยเหตุ ๒ อย่างนี้ จึงสถาปนาท่านไว้ในภิกษุ ผู้ควรแก่ทักษิณา แลตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้มีปกติอยู่โดยไม่มีกิเลส
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคมหาสาวกผู้แสดงธรรมได้วิจิตร

    ในพระบาลีปรากฏพระเถระที่มีนามว่า “กัสสปะ” อยู่หลายองค์ จึงต้องมีการกำหนดชื่อให้แตกต่างกัน คือ

    ๑ พระมหากัสสปะ ท่านเป็นพระมหาเถระที่ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ มีอาวุโสมาก จึงเรียกกันว่า มหากัสสปะ

    ๒ พระอุรุเวลกัสสปะ ท่านบวชเป็นฤษีตำบลอุรุเวลา จึงได้ชื่อว่า อุรุเวลกัสสปะ

    ๓ พระนทีกัสสปะ ท่านบวชเป็นฤษีอยู่ที่คุ้งมหาคงคานที จึงได้ชื่อว่า นทีกัสสปะ

    ๔ พระคยากัสสปะ ท่านบวชเป็นฤษีอยู่ที่คยาสีสประเทศ จึงได้ชื่อว่า คยากัสสปะ

    ๕ พระกุมารกัสสปะ เพราะท่านบวชตั้งแต่เวลาที่เป็นเด็ก จึงได้ชื่อว่า กุมารกัสสปะ

    การที่ท่านพระกุมารกัสสปเถระ ท่านนี้ได้รับการสถาปนาจากพระบรมศาสดา ให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุสาวกทั้งหลาย ผู้แสดงธรรมได้วิจิตร นั้นก็เนื่องด้วยเหตุ ๒ ประการคือ อัตถุปปัติเหตุ (เหตุเกิดเรื่อง) คือ เมื่อจะกล่าวธรรมกถา ก็ยกเอาคาถาแค่สี่บทมาตั้ง แล้วนำเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุผลมาประกอบเข้ากับบทเหล่านั้น ทำให้พระไตรปิฎกซึ่งเป็นพระพุทธดำรัส มีทั้งแบบต่ำและแบบสูงแสดงอยู่ อีกทั้งพระธรรมกถานั้นจะพร้อมไปด้วยอุปมาและเหตุทั้งหลาย กล่าวเสียอย่างวิจิตรทีเดียว และอีกเหตุหนึ่งก็คือเนื่องด้วยท่านได้ตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้นตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

    บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านเกิดเป็นบุตรเศรษฐี ในพระนครหงสาวดี วันหนึ่งท่านได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ได้ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายหมู่พุทธบริษัท ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศ แห่งภิกษุผู้กล่าวธรรมได้ วิจิตร ท่านก็ปรารถนาจะได้อยู่ในตำแหน่งเช่นนั้นบ้างในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในอนาคต จึงได้นิมนต์พระตถาคตแล้ว ประดับประดามณฑปให้สว่างไสวด้วยรัตนะนานาชนิด ด้วยผ้าอันย้อมด้วยสีต่าง ๆ ถึง ๗ วัน แล้วเอาดอกไม้ที่สวยงามต่าง ๆ ชนิดบูชา แล้วแสดงความปรารถนาในตำแหน่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาแล้วเห็นว่าความปรารถนาของเขาหาอันตรายมิได้ จึงได้ทรงพยากรณ์ดังนี้

    ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดามีนามว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้มีจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักได้เป็นสาวกของพระศาสดามีนามว่า กุมารกัสสปะ เพราะอำนาจดอกไม้ และผ้าอันวิจิตรกับรัตนะ เขาจักถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตร

    จากนั้นเขากระทำกรรมอันเป็นกุศลอยู่เป็นนิจ ครั้นสิ้นชีวิตแล้วก็ท่องเที่ยวอยู่ในภูมิเทวดาและภูมิมนุษย์ทั้งหลาย

    บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

    ต่อมา ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ได้ออกบวชหลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ในเวลาต่อมาเมื่อพระศาสนาใกล้จะเสื่อมสิ้นลง เขาและภิกษุอีก ๖ รูป มองเห็นความเสื่อมในการประพฤติของบริษัท ๔ ก็พากันสังเวชสลดใจ คิดว่า ตราบใดที่พระศาสนายังไม่เสื่อมสิ้นไป พวกเราจงเป็นที่พึ่งแก่ตนเองเถิด จึงพากันไปสักการะพระสุวรรณเจดีย์สูงหนึ่งโยชน์ที่มหาชนได้ร่วมกันสร้างเมื่อครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว ได้มองเห็นภูเขาสูงชันลูกหนึ่ง จึงชวนกันขึ้นไปปฏิบัติธรรมอยู่บนภูเขาลูกนั้น โดยตั้งใจว่าถ้าไม่สำเร็จมรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะยอมสิ้นชีวิตอยู่บนนั้น แล้วจึงตัดไม้ไผ่มาทำเป็นพะอง (บันไดไม้) เพื่อปีนป่ายขึ้นไปตามหน้าผาของภูเขานั้น เมื่อทั้งหมดพากันขึ้นไปยังยอดสูงของภูเขาลูกนั้นแล้ว ก็ผลักพะองให้ตกหน้าผาไปเพื่อไม่ให้มีทางกลับลงมาได้ แล้วต่างก็บำเพ็ญสมณธรรมอยู่บนนั้น

    ในบรรดาภิกษุทั้ง ๗ รูปเหล่านั้น พระเถระผู้อาวุโสสูงสุด ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยอภิญญา ๖ ในคืนนั้นเอง ครั้นรุ่งเช้าพระมหาเถระจึงไปสู่ หิมวันตประเทศด้วยฤทธิ์ ล้างหน้าที่สระอโนดาต เที่ยวไปบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป ฉันอาหารเสร็จแล้วได้ไปยังที่อื่นต่อไป ได้ภัตตาหารเต็มบาตรแล้ว เอาน้ำที่ สระอโนดาตล้างหน้าแล้วและเคี้ยวไม้สีฟันชื่อ อนาคลดา แล้วจึงนำภัตและสิ่งของเหล่านั้นมายังพระภิกษุเหล่านั้นที่ยังไม่บรรลุธรรมอันวิเศษ แล้วกล่าวว่า อาวุโส ทั้งหลาย บิณฑบาตนี้ผมนำมาจากแคว้นอุตรกุรุ น้ำและไม้สีฟันนี้นำมาจากหิมวันตประเทศ ท่านทั้งหลายจงฉันภัตตาหารนี้บำเพ็ญ สมณธรรมเถิด ผมจะอุปัฏฐากพวกท่านอย่างนี้ตลอดไป ภิกษุเหล่านั้นได้ฟัง แล้วจึงกล่าวว่า พระคุณเจ้าขอรับ พระคุณเจ้าทำกิจเสร็จแล้ว พวกกระผม แม้เพียงสนทนากับพระคุณเจ้าก็เสียเวลาอยู่แล้ว บัดนี้ ขอพระคุณเจ้าอย่ามาหา พวกกระผมอีกเย.พระมหาเถระนั้นเมื่อไม่สามารถจะให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอม ได้โดยวิธีได ๆ ก็หลีกไป

    แต่นั้นบรรดาภิกษุเหล่านั้นรูปหนึ่ง โดยล่วงไป ๒-๓ วันได้เป็น พระอนาคามีได้อภิญญา ๕ ภิกษุนั้นก็ได้ทำเหมือนอย่างเช่นที่พระเถระที่บรรลุพระอรหัตทำเหมือนกัน ครั้นถูกภิกษุที่เหลือที่ยังไม่บรรลุธรรมใด ๆ ห้ามก็กลับไปเช่นเดียวกัน.ภิกษุที่เหลือ ๕ องค์นั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ จากวันที่ขึ้นไปสู่ภูเขาก็ยังไม่บรรลุคุณวิเศษไร ๆ จึงมรณภาพแล้วก็ไปเกิดในเทวโลก ฝ่ายพระเถระผู้เป็นขีณาสพก็ปรินิพพานในวันนั้นนั่นเอง ท่านที่เป็นพระอนาคามีได้บังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส เทพบุตรทั้ง ๕ เสวยทิพยสมบัติใน สวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ ชั้นกลับไปกลับมา

    กำเนิดเป็นกุมารกัสสปะในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในมนุษยโลก

    ในบรรดาชน ๕ คนเหล่านั้น คนหนึ่งไปเป็น โอรสเจ้ามัลละนามว่าปุกกุสะ (ต่อมาได้พบพระพุทธองค์ ได้ฟังธรรมและประกาศตนเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต) คนหนึ่งชื่อว่า พาหิยทารุจิริยะ คนหนึ่งชื่อว่าทัพพมัลลบุตร (ต่อมาได้ออกบวชและบรรลุเป็นพระอรหันต์เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าภิกษุผู้จัดแจงเสนาสนะ ) และคนหนึ่งชื่อว่า สภิยปริพพาชก (ต่อมาได้พบพระพุทธองค์ ทูลขอบรรพชาและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง)

    อีกคนหนึ่งมาเกิดในกรุงตักกสิลา แคว้นคันธาระ ชื่อว่ากุมารกัสสปะ มารดาของพระเถระนั้น เป็นธิดาของเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ มีกุศลมูลอันสั่งสมมาแต่เดิมเป็นอันมาก กำเนิดมาเป็นปัจฉิมภวิกสัตว์ (สัตว์ผู้มีภพนี้เป็นภพสุดท้าย-จะไม่มาเกิดอีก) มีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตอยู่เต็มในหทัยของนาง

    ครั้นเมื่อเติบใหญ่แล้วธิดาของเศรษฐีนั้นไม่ยินดีในการครองเรือน มีความประสงค์จะบวชอยู่เป็นนิตย์ จึงกล่าวกะบิดามารดาว่า "ข้าแต่คุณพ่อและคุณแม่ จิตในของข้าพเจ้าไม่ยินดีในฆราวาส ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนา อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ท่านทั้งหลาย จงให้ข้าพเจ้าบวชเถิด"

    บิดามารดากล่าวว่า "แม่ เจ้าพูดอะไรอย่างนั้น ตระกูลเรานี้มีทรัพย์สมบัติมาก และเจ้าก็เป็นธิดาคนเดียวของเราทั้งหลาย เจ้าไม่ควรจะบวช"

    นางแม้จะอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่ได้อนุญาตให้บรรพชาจากบิดามารดา จึงคิดว่า ช่างเถอะ เราจะรอต่อไปจนกระทั่งเราแต่งงาน เมื่อแต่งงานแล้วเราจะขออนุญาตสามีเพื่อออกบวช

    นางเจริญวัย แต่งงานแล้วไปอยู่ในตระกูลของสามี ซึ่งเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ครองเหย้าเรือน ต่อมานางก็ตั้งครรภ์ โดยที่นางไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ในครั้งนั้น ก็เกิดมีงานนักขัตฤกษ์ขึ้นในพระนครเป็นงานใหญ่ ชาวพระนครทั้งสิ้นพากันเล่นงานนักขัตฤกษ์ ทั่วทั้งพระนครก็ได้มีการประดับประดาตกแต่งเหมือนดังเทพนคร

    แม้งานนักขัตฤกษ์นั้นจะยิ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น แต่นางก็ไม่สนใจประดับประดาร่างกายตนให้สวยงาม เที่ยวไปด้วยการแต่งกายตามปรกตินั่นเอง สามีจึงกล่าวกะนางว่า "นี่เธอ พระนครทั้งสิ้นมีงานนักขัตฤกษ์ที่ยิ่งใหญ่ถึงเพียงนี้ แต่เธอไม่ปฏิบัติร่างกาย ไม่ทำการตกแต่ง เพราะเหตุใดหรือ ?"

    นางจึงกล่าวว่า "ข้าแต่พี่ท่าน ร่างกายนั้นเต็มด้วยซากศพ ๓๒ ประการทีเดียว ประโยชน์อะไรด้วยร่างกายนี้ที่ประดับแล้ว เพราะกายนี้ เทวดา พรหมไม่ได้นิรมิต ไม่ใช่สำเร็จด้วยทองด้วยแก้วมณี แต่เต็มไปด้วยคูถ ไม่สะอาด มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด มีการขัดสีและการนวดฟั้นเป็นนิตย์ และมีการแตกทำลายและการกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา เป็นเหตุแห่งความโศก เป็นที่อยู่อาศัยแห่งโรคทั้งปวง เป็นที่รับของเสียภายใน ไหลออกภายนอกเป็นนิตย์ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอนหลายตระกูลมีความตายเป็นที่สุด"

    "ข้าแต่พี่ท่าน ข้าพเจ้าจักประดับประดาร่างกายนี้ไปเพื่ออะไร การกระทำความประดับกายนี้ ย่อมเหมือนกระทำจิตรกรรมภายนอกหม้อคูถ"

    เศรษฐีบุตรได้ฟังคำของนางดังนั้นจึงกล่าวว่า "เธอเห็นโทษทั้งหลายแห่งร่างกายนี้ เพราะเหตุใดจึงไม่บวช"

    นางกล่าวว่า "ข้าแต่พี่ท่าน ถ้าท่านยอมให้ข้าพเจ้าได้บวช ก็จะบวชวันนี้แหละ"

    เศรษฐีบุตรกล่าวว่า "ดีแล้ว ฉันจักให้เธอบวช" แล้วจึงบำเพ็ญมหาทาน แล้วนำไปสำนักของภิกษุณีด้วยบริขารเป็นอันมาก

    นางได้บวชในสำนักของภิกษุณีผู้เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต ครั้งนั้น เมื่อครรภ์ของนางแก่แล้ว ภิกษุณีทั้งหลายเห็นความที่อินทรีย์ทั้งหลายแปรเป็นอื่นไป ความที่หลังมือและเท้าบวม และความที่ท้องใหญ่ขึ้น จึงถามนางว่า นี่รูปร่างเธอเหมือนสตรีมีครรภ์ นี่เป็นเรื่องอย่างไรกัน ? ภิกษุณีนั้นกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องใด แต่ศีลของข้าพเจ้ายังบริบูรณ์อยู่

    ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นจึงนำนางภิกษุนั้นไปยังสำนักของพระเทวทัต ถามพระเทวทัตว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า กุลธิดานี้ไม่สามารถทำให้สามีโปรดปรานได้จึงได้บรรพชา ก็บัดนี้ ครรภ์ของนางปรากฏ ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมไม่รู้ว่ากุลธิดานี้ได้ตั้งครรภ์ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ หรือในเวลาบวชแล้ว บัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายจะกระทำอย่างไร"

    เพราะความที่ตนไม่รู้ และเพราะขาดขันติ เมตตา และความเอ็นดู พระเทวทัตจึงคิดอย่างนี้ว่า "ความครหานินทาจักเกิดแก่เราว่า ภิกษุณีผู้อยู่ในฝ่ายของพระเทวทัตมีครรภ์ แต่พระเทวทัตกลับเพิกเฉยเสีย เราให้ภิกษุณีนี้สึกจึงจะควร"

    พระเทวทัตนั้นก็ไม่ได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนรอบคอบ กล่าวว่า พวกท่านจงให้ภิกษุณีนั้นสึกเสีย ภิกษุณีเหล่านั้นฟังคำของพระเทวทัตแล้ว ลุกขึ้นไหว้แล้วไปยังสำนัก

    ภิกษุณีสาวเมื่อทราบว่าพระเทวทัตตัดสินให้ตนสึกเสียจากเพศบรรพชิต จึงกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายว่าท่านทั้งหลาย พระเทวทัตเถระไม่ใช่พระพุทธเจ้า เรามิได้บรรพชาในสำนักของพระเทวทัต เราบรรพชาในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบุคคลเลิศในโลก อีกประการหนึ่ง การบรรพชาของเรานั้นกว่าจะเกิดขึ้นได้ก็ยากยิ่งนัก ท่านทั้งหลายอย่าทำให้การบรรพชานั้นอันตรธานหายไปเสียเลย มาเถิดท่านทั้งหลาย จงพาเราไปยังพระเชตวัน ในสำนักของพระศาสดา ภิกษุณีทั้งหลายจึงพาภิกษุณีสาวนั้นไปจากกรุงราชคฤห์สิ้นหนทาง ๔๕ โยชน์ถึงพระเชตวันมหาวิหารโดยลำดับ ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ

    พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุณีนี้ตั้งครรภ์ในเวลาเป็นคฤหัสถ์เป็นแน่ แต่ถึงเป็นอย่างนั้น พวกเดียรถีย์จักได้โอกาสว่า พระสมณโคดมพาภิกษุณีที่พระเทวทัตทิ้งแล้วเที่ยวไปอยู่ เพราะฉะนั้น เพื่อจะตัดถ้อยคำนี้ ควรจะวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ในท่ามกลางบริษัทซึ่งมีพระราชาอยู่ด้วย

    ในวันรุ่งขึ้น จึงให้ทูลเชิญพระเจ้าโกศล และเชิญมหาอนาถบิณฑิกเศรษฐี จุลอนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขามหาอุบาสิกา และตระกูลใหญ่ ๆ อื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง ครั้นในเวลาเย็น เมื่อบริษัททั้ง ๔ ประชุมกันแล้ว จึงตรัสเรียกพระอุบาลีเถระมาว่า เธอจงไปชำระกรรมของภิกษุณีสาวนี้ ในท่ามกลางบริษัท ๔

    พระเถระทูลรับพระดำรัสแล้ว จึงไปยังท่ามกลางบริษัท นั่งบนอาสนะที่เขาตกแต่งไว้เพื่อตน แล้วให้เรียกนางวิสาขาอุบาสิกามาตรงเบื้องพระพักตร์ของพระราชา ให้รับอธิกรณ์นี้ว่า "ดูก่อนวิสาขา ท่านจงไป จงทำให้รู้โดยถ่องแท้ว่า ภิกษุณีสาวนั้นบวชในเดือนโน้น วันโน้น แล้วจงรู้ว่าเธอมีครรภ์นี้ก่อนหรือหลังบวช"

    มหาอุบาสิการับคำแล้วจึงให้กั้นม่านขึ้น นางและนางภิกษุณีสาวนั้นอยู่ในม่าน นางได้ตรวจดูที่สุดมือ เท้า สะดือ และท้องของภิกษุณีสาว ภายในม่าน นับเดือนและวัน รู้ว่านางได้ตั้งครรภ์ในภาวะเป็นคฤหัสถ์โดยถ่องแท้ จึงไปยังสำนักของพระเถระแล้วบอกเนื้อความนั้น

    ครั้งนั้น พระเถระได้ทำให้ความเป็นผู้บริสุทธิ์ของนางให้ปรากฏขึ้นในท่ามกลางบริษัทแล้ว พระศาสดาได้ทรงสดับเรื่องนั้นแล้วตรัสประทานสาธุการว่า ท่านพระอุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ถูกต้องดีแล้ว

    นางภิกษุณีนั้นเมื่อเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วจึงไหว้ภิกษุสงฆ์และถวายบังคมพระศาสดา แล้วไปยังสำนักนั่นแล พร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย ต่อมา เมื่อนางภิกษุณีครรภ์แก่แล้ว ได้คลอดบุตรผู้มีอานุภาพมาก

    ครั้นวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปโดยใกล้ ๆ สำนักของภิกษุณี ได้ทรงสดับเสียงทารก จึงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลาย อำมาตย์ทั้งหลายรู้เหตุนั้นจึงกราบทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพ ภิกษุณีสาวนั้นคลอดบุตรแล้ว นั่นเสียงของบุตรภิกษุณีสาวนั้นนั่นเอง"

    พระราชาตรัสว่า "แน่ะอำมาตย์ ชื่อว่าการปรนนิบัติทารกเป็นเครื่องกังวลสำหรับภิกษุณีทั้งหลาย พวกเราจักปรนนิบัติทารกนั้นเอง"

    พระราชาทรงให้มอบทารกนั้นแก่หญิงฟ้อนทั้งหลาย ให้เติบโตโดยการบริหารดูแลอย่างกุมาร ก็ในวันตั้งชื่อกุมารนั้น ได้ตั้งชื่อว่ากัสสป

    ในเวลามีอายุ ๗ ขวบ กุมารกัสสปนั้นก็ได้บวชในสำนักของพระศาสดา พอมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ก็ได้อุปสมบท แต่เพราะท่านบวชเวลายังเป็นเด็กรุ่น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "พวกเธอจงเรียกกัสสปมา จงให้ผลไม้หรือของขบฉันอันนี้แก่กัสสป"

    พวกภิกษุสงสัยก็ทูลถามว่า "กัสสปองค์ไหน พระเจ้าข้า" ตรัสว่า "กุมารกัสสป กัสสปองค์เด็ก นะสิ"

    เพราะได้รับขนานนามอย่างนี้ ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ถูกเรียกว่า กุมารกัสสป แม้ในเวลาที่ท่านแก่เฒ่าแล้ว

    อีกนัยหนึ่ง คนทั้งหลาย จำหมายท่านว่ากุมารกัสสป เพราะเหตุที่เป็นบุตรชุบเลี้ยงของพระราชาก็มี

    อยู่มาวันหนึ่ง พระตถาคตเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายแล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ภิกษุทั้งหลายรับพระโอวาทแล้ว ปฏิบัติธรรมอยู่ในที่พักของตน ในเวลาเย็น จึงมาประชุมกันในโรงธรรมสภา นั่งพรรณนาพระพุทธคุณว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตทำคนทั้งสอง คือ พระกุมารกัสสปเถระและพระเถรีให้พินาศ เพราะความที่ตนไม่รู้ และเพราะความไม่มีขันติและเมตตาเป็นต้น แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นปัจจัยแก่ท่านทั้งสองนั้น เพราะพระองค์เป็นพระธรรมราชา และเพราะทรงถึงพร้อมด้วยขันติพระเมตตา และความเอ็นดู

    พระศาสดาเสด็จมายังโรงธรรมสภา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าด้วยเรื่องพระคุณของพระองค์เท่านั้น แล้วกราบทูลเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ

    พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นปัจจัยและเป็นที่พึงแก่ชนทั้งสองนี้ ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นแล้วเหมือนกัน

    ภิกษุทั้งหลายจึงทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อต้องการให้เรื่องนั้นแจ่มแจ้ง

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงชาดกเรื่อง นิโครธมิคชาดก

    ครั้นจบแล้วพระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นที่พึ่งอาศัยของพระเถรีและพระกุมารกัสสป ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้เป็นที่พึงอาศัยแล้วเหมือนกัน ก็ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า เนื้อชื่อสาขะในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต แม้บริษัทของเนื้อสาขะนั้น ก็ได้เป็นบริษัทของพระเทวทัตนั่นแหละ แม่เนื้อในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถรี ลูกเนื้อในครั้งนั้นได้เป็นพระกุมารกัสสป พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วนพระยาเนื้อชื่อว่านิโครธ ได้เป็นเราเองแล

    มารดาพระกุมารกัสสปบรรลุพระอรหัต

    ตลอดระยะเวลา ๑๒ ปี ตั้งแต่วันที่พระเจ้าโกศลได้นำพระเถระนั้นไปอุปถัมภ์แล้ว นางภิกษุณีผู้เป็นมารดา ผู้มีทุกข์เพราะบุตรโดนพรากไปจากอก น้ำตาไหลออกจากนัยน์ตาทั้งสองของนางตลอด ๑๒ ปี นางเมื่อเดินออกไปเพื่อบิณฑบาต ก็เดินบิณฑบาตด้วยหน้าอันชุ่มไปด้วยน้ำตาทีเดียว วันหนึ่ง ระหว่างที่นางเดินอยู่บนถนนเพื่อบิณฑบาต พร้อมกับรำลึกถึงบุตรของตนอยู่ ก็ได้พบพระเถระในระหว่างทาง

    ครั้นพอเห็นพระเถระที่ตนรำลึกถึงอยู่ตลอดเวลา จึงร้องว่า “ลูก ลูก” วิ่งเข้าไปเพื่อจะจับพระเถระ ซวนกายล้มลงแล้ว นางมีถันหลั่งน้ำนมอยู่ ลุกขึ้นมีจีวรเปียก ไปจับพระเถระ

    พระเถระจึงคิดว่า “ถ้าเราจักพูดกับมารดานี้ด้วยถ้อยคำอันไพเราะแล้ว นางจักฉิบหายเสีย เราจักเจรจากับมารดานี้ ด้วยคำอันกระด้างเทียว”

    คิดดังนั้นแล้วพระเถระจึงกล่าวกะนางภิกษุณีผู้เป็นมารดานั้นว่า “ท่านมัวเที่ยวทำอะไรอยู่ ? จึงไม่อาจตัดแม้มาตรว่าความรักได้”

    นางคิดว่า “โอ ถ้อยคำของพระเถระหยาบคาย ” จึงกล่าวว่า “พ่อ พ่อพูดอะไร ?”

    พระเถระก็กล่าวเหมือนอย่างเดิมนั้นนั่นแหละ

    นางภิกษุณีจึงคิดว่า “เราไม่อาจอดกลั้นน้ำตาไว้ได้สิ้น ๑๒ ปี เพราะเหตุแห่งบุตรนี้ แต่บุตรของเรานี้ มีหัวใจกระด้าง ประโยชน์อะไรของเราด้วยบุตรนี้”

    จึงหักใจ ตัดความเสน่หาในบุตรแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตผลในวันนั้นนั่นเอง

    ท้าวมหาพรหมมาแสดงอุบายถามปัญหาธรรม ๑๕ ข้อ

    จำเดิมแต่บวชแล้ว ท่านก็บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน และศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวจนะ.แต่ก็ยังไม่ได้มรรคผลอันใด กล่าวถึงพระเถระที่ร่วมปฏิบัติธรรมอยู่บนยอดเขาในชาติก่อนสมัยพระกัสสปพุทธเจ้าครั้งกระโน้น และบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี เมื่อสิ้นชีวิตลงก็ได้ไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ตรวจดูพรหมสมบัติของตน ก็นึกรำลึกถึงเรื่องราวก่อนที่ตนจะมาเกิดในพรหมโลก รำลึกถึงเรื่องที่ตนขึ้นไปยังภูเขาก็เพื่อนสหธรรมิก เห็นที่บำเพ็ญสมณธรรมแล้ว จึงนึกถึงสถานที่ที่คนที่เหลืออีก ๖ คนไปเกิด ก็รู้ว่าท่านหนึ่งปรินิพพานแล้ว และรู้ว่า นอกนี้อีก ๕ คนไปบังเกิดในเทวโลกชั้นกามาวจร

    ครั้นเวลาต่อมาก็ได้รำลึกถึงคนทั้ง ๕ เหล่านั้นอีก ก็สงสัยว่าเวลานี้คนทั้ง ๕ เหล่านั้นไปบังเกิดในที่ไหนหนอ เมื่อตรวจดูจึงได้เห็นพระกุมารกัสสป คิดว่า สหายของเรากำลังลำบากในการเจริญวิปัสสนา เราจักไปแสดงทางแห่งวิปัสสนาแก่เธอ กระทำอุบายให้บรรลุมรรคผล ดังนี้แล้ว จึงแต่งปัญหาขึ้น ๑๕ ข้อ แล้วไปปรากฏกายในสถานที่อยู่ของพระกุมารกัสสปเถระ ในเวลาหลังเที่ยงคืน พระเถระเห็นแสงสว่างจากรัศมีของท้าวมหาพรหม จึงถามว่า ใครอยู่ที่นั่น มหาพรหมตอบว่า เราคือ พรหม ผู้กระทำสมณธรรมกับท่านมาแต่ก่อน บรรลุอนาคามิผล แล้วบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส พระเถระถามว่า ท่านมาด้วยการงานอะไรเล่า มหาพรหมบอกปัญหาเหล่านั้น เพื่อแสดงเหตุที่ตนมา แล้วกล่าวว่า ท่านจงเล่าเรียนปัญหาเหล่านี้ เมื่ออรุณขึ้น ก็จงเข้าไปเฝ้าพระตถาคต ถวายบังคมแล้วทูลถาม ด้วยว่านอกจากพระตถาคตแล้ว ผู้อื่นที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ ไม่มีดอก แล้วก็กลับไปยังพรหมโลกตามเดิม

    วันรุ่งขึ้น พระเถระจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลถามปัญหาตามที่มหาพรหมได้กล่าวไว้ ดังนี้

    ดูกรภิกษุ จอมปลวกนี้พ่นควันในกลางคืน ลุกโพลงในกลางวัน

    พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงเอาศาตราไปขุดดู

    สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นลิ่มสลักจึงเรียนว่า ลิ่มสลักขอรับ

    พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกลิ่มสลักขึ้นเอาศาตราขุดดู

    สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นอึ่ง จึงเรียนว่า อึ่งขอรับ

    พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะเจ้าจงยกอึ่งขึ้น เอาศาตราขุดดู

    สุเมธะเอาศาตราขุดลง ได้เห็นทาง ๒ แพร่ง จึงเรียนว่า ทาง ๒แพร่ง ขอรับ

    พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงก่นทาง ๒ แพร่งเสีย เอาศาตราขุดดู

    สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นหม้อกรองน้ำด่าง จึงเรียนว่า หม้อกรองน้ำด่าง ขอรับ

    พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้น เอาศาตราขุดลง

    สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นเต่า จึงเรียนว่าเต่าขอรับ

    พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะเจ้าจงยกเต่าขึ้น เอาศาตราขุดดู

    สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นเขียงหั่นเนื้อ จึงเรียนว่า เขียงหั่นเนื้อ ขอรับ

    พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกเขียงหั่นเนื้อขึ้น เอาศาตราขุดดู

    สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นชิ้นเนื้อ จึงเรียนว่าชิ้นเนื้อ ขอรับ

    พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกชิ้นเนื้อขึ้น เอาศาตราขุดดู

    สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นนาค จึงเรียนว่า นาคขอรับ

    พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า นาคจงอยู่ เจ้าอย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทำความนอบน้อมต่อนาค

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (๑) อะไรหนอ ชื่อว่า จอมปลวก (๒) อย่างไรชื่อว่า พ่นควันในกลางคืน (๓) อย่างไรชื่อว่า ลุกโพลงในกลางวัน (๔) อะไรชื่อว่า พราหมณ์ (๕) อะไรชื่อว่า สุเมธะ (๖) อะไรชื่อว่า ศาตรา (๗) อย่างไรชื่อว่า การขุด (๘) อะไรชื่อว่า ลิ่มสลัก (๙) อะไรชื่อว่า อึ่ง (๑๐) อะไรชื่อว่า ทาง ๒ แพร่ง (๑๑) อะไรชื่อว่า หม้อกรองน้ำด่าง (๑๒) อะไรชื่อว่า เต่า (๑๓) อะไรชื่อว่า เขียงหั่นเนื้อ (๑๔) อะไรชื่อว่า ชิ้นเนื้อ (๑๕) อะไรชื่อว่า นาค ดังนี้?

    พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ปัญหา ๑๕ ข้อ

    พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า

    ดูกรภิกษุ

    จอมปลวก นั่นเป็นชื่อของกายนี้ อันประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ ซึ่งมีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยง ต้องอบรม ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา

    อย่างไรชื่อว่าพ่นควันในกลางคืนนั้น ดูกรภิกษุ ได้แก่การที่บุคคลปรารภการงานในกลางวัน แล้วตรึกถึง ตรองถึงในกลางคืน นี้ชื่อว่าพ่นควันในกลางคืน

    อย่างไรชื่อว่าลุกโพลงในกลางวัน นั้น ดูกรภิกษุ ได้แก่การที่บุคคลตรึกถึงตรองถึง (การงาน) ในกลางคืน แล้วย่อมประกอบการงานในกลางวัน ด้วยกาย ด้วยวาจา นี้ชื่อว่าลุกโพลงในกลางวัน

    พราหมณ์ นั้น เป็นชื่อของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    สุเมธะ นั้น เป็นชื่อของเสขภิกษุ

    ศาตรา นั้นเป็นชื่อของปัญญาอันประเสริฐ

    จงขุด นั้นเป็นชื่อของการปรารภความเพียร

    ลิ่มสลัก นั้น เป็นชื่อของอวิชชาอธิบายดังนี้พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดั่งศาตรา ยกลิ่มสลักขึ้น คือจงละอวิชชาเสีย จงขุดมันขึ้นเสีย

    อึ่ง นั้น เป็นชื่อแห่งความคับแค้นด้วยอำนาจความโกรธ อธิบายดังนี้ พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดั่งศาตรา ยกอึ่งขึ้นเสีย คือจงละความคับแค้นด้วยอำนาจความโกรธเสีย จงขุดมันเสีย

    ทาง ๒ แพร่ง นั้น เป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉา อธิบายดังนี้ พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตราก่นทาง ๒ แพร่งเสีย คือจงละวิจิกิจฉาเสีย จงขุดมันเสีย

    หม้อกรองน้ำด่าง นั้น เป็นชื่อของนิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ อธิบายดังนี้ พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา ยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นเสีย คือจงละนิวรณ์ ๕ เสีย จงขุดขึ้นเสีย

    เต่า นั้น เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ อธิบายดังนี้ พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา ยกเต่าขึ้นเสียคือ จงละอุปาทานขันธ์ ๕ เสีย จงขุดขึ้นเสีย

    เขียงหั่นเนื้อ นั้น เป็นชื่อของกามคุณ ๕ คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสตกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ .. รสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .. โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกายน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อธิบายดังนี้พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา ยกเขียงหั่นเนื้อเสีย คือ จงละกามคุณ ๕ เสีย จงขุดขึ้นเสีย

    ชิ้นเนื้อ นั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ อธิบายดังนี้ พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา ยกชิ้นเนื้อขึ้นเสีย คือ จงละนันทิราคะ จงขุดขึ้นเสีย

    นาค นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้ขีณาสพ อธิบายดังนี้ นาคจงหยุดอยู่เถิด เจ้าอย่าเบียดเบียนนาค จงทำความนอบน้อมต่อนาคดังนี้.

    พระเถระเล่าเรียนโดยทำนองที่พระศาสดาตรัสไว้ ไปป่าอันธวันเจริญวิปัสสนาแก่กล้า จิตจึงพ้นจากอาสวะกิเลส ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานโดยประการทั้งปวง ก็บรรลุพระอรหัต

    เหตุบัญญัติเรื่องการนับอายุครบบวช

    สมัยหนึ่ง ท่านพระกุมารกัสสปเมื่อมีอายุครบ ๒๐ ปี (รวมอายุที่อยู่ในครรภ์มารดา) จึงได้อุปสมบท ต่อมาท่านได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ก็เรามีอายุครบ ๒๐ ทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบท จะเป็นอันอุปสมบทหรือไม่หนอ

    ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกใดเกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว อาศัยจิตดวงแรก วิญญาณดวงแรกนั้นนั่นแหละเป็นความเกิดของสัตว์นั้น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรมีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์

    ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคมหาสาวกผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร

    ในอรรถกถามหาเวทัลลสูตร ได้กล่าวไว้ว่า พระเถระผู้มีปัญญามากนั้น เมื่อตั้งปัญหาขึ้นเองแล้วจะตัดสินปัญหานั้นเสียเอง ก็สามารถแต่งพระสูตรนั้นตั้งแต่เริ่มต้นให้จบได้ ก็แหละบางคนอาจตั้งปัญหาขึ้นได้ แต่ตัดสินไม่ได้ บางคนตัดสินได้ แต่ตั้งขึ้นไม่ได้ บางคนไม่ได้ทั้งสองอย่าง บางคนก็ได้ทั้งสองอย่าง ในคนเหล่านั้น มีพระเถระที่เป็นได้ทั้งสองอย่างอยู่หลายองค์ทีเดียว พระเถระหลายรูปที่บรรลุฐานะพิเศษในศาสนานี้คือ พระสารีบุตรเถระ พระมหากัจจายนเถระ พระปุณณเถระ พระกุมารกัสสปเถระ พระอานนท์เถระ และพระมหาโกฏฐิกเถระ

    ในส่วนของพระกุมารกัสสป อรรถกถานั้นกล่าวว่า

    ภิกษุที่มีปัญญาน้อย เมื่อจะกล่าวธรรมกถาก็ดำเนินไปอย่างสะเปะสะปะ เหมือนคนตาบอดถือไม้เท้าเดินสะเปะสะปะ และเหมือนคนไต่สะพานไม้ที่เดินไปได้เพียงคนเดียว. แต่ผู้มีปัญญามาก ยกเอาคาถาแค่สี่บทมาตั้ง แล้วชักเอาข้อเปรียบเทียบแลเหตุผลมารวมทำให้พระไตรปิฎกซึ่งเป็นพระพุทธดำรัส ซึ่งมีทั้งแบบต่ำและแบบสูงแสดงอยู่. ก็เพราะความเป็นผู้มีปัญญามาก พระกุมารกัสสปเถระ จึงยกเอาคาถาแค่สี่บทมาตั้ง แล้วนำเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุผลมาประกอบเข้ากับบทเหล่านั้น ทำให้พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพระพุทธดำรัส มีทั้งแบบต่ำและแบบสูงแสดงอยู่ เหมือนทำให้ดอกไม้ห้าสีบานอยู่ในสระธรรมชาติ หรือเหมือนจุดตะเกียงน้ำมัน พันไส้ให้โพลงอยู่บนยอดเขาสิเนรุ ฉะนั้น

    อรรถกถาอีกแห่งหนึ่งกล่าวว่า

    ท่านพระเถระเมื่อจะกล่าวธรรมกถา แก่บริษัท ๔ ไม่ว่าบริษัทจะมากก็ตาม หรือไม่มากก็ตาม พระธรรมกถานั้นจะพร้อมไปด้วยอุปมาและเหตุทั้งหลาย กล่าวเสียอย่างวิจิตรทีเดียว นั้น เมื่อครั้งท่านแสดงสูตรประดับประดาอุปมาต่าง ๆ เป็นอันมาก แก่เจ้าปายาสิ จนเจ้าปายาสิ ละทิฏฐิที่ผิดเสียได้ พระศาสดาทรงทำ พระสูตรนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติต้นเรื่อง จึงทรงสถาปนาท่านไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดเหล่าภิกษุสาวกผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร ในพระศาสนานี้แล

    พระเถระกับการถือธุดงควัตร

    เล่ากันมาว่า พระมหากุมารกัสสปเถระ ผู้ถือโสสานิกังคธุดงค์อยู่ในป่าช้ามาตลอด ๖๐ ปี ภิกษุอื่นแม้แต่รูปเดียวก็ไม่รู้ ด้วยเหตุ นั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า

    เราอยู่ในป่าช้ามาตลอด ๖๐ ปีรวด ภิกษุผู้เป็นเพื่อน ก็ไม่รู้เรา โอเราเป็นยอดของผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร

    เกิดร่วมสมัยกับพระโพธิสัตว์

    ท่านได้เกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์ ดังที่ปรากฏในชาดก คือ

    เกิดเป็นลูกนางเนื้อ พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นพระยาเนื้อชื่อว่านิโครธ ใน นิโครธมิคชาดก

    พระเถระโปรดเจ้าปายาสิให้พ้นจากมิจฉาทิฏฐิ

    เรื่องที่พระเถระทรมานเจ้าปายาสิ ปรากฏอยู่ในปายาสิราชัญญสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่มีความสำคัญอีกสูตรหนึ่งเกี่ยวกับ ความเห็นผิดว่า ชาติหน้าไม่มี ผลบุญบาปกรรมไม่มี ฯ เป็นพระสูตรที่พระเถระใช้วิธีแต่งนิทานอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบให้เข้าใจ ซึ่งวิธีดังกล่าวได้เป็นแบบอย่างให้แก่พระอรรถกถาจารย์ในรุ่นหลัง ได้นำแบบอย่างมาใช้ขยายความในพระสูตรในกาลต่อมา เช่น ในมิลินท์ปัญหา เป็นต้นฯ พระสูตรนี้ไม่ค่อยมีใครรู้จักชื่อสูตรเท่าไร แต่มีความสำคัญน่าศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งกล่าวถึงพระกุมารกัสสปได้แสดงแก่พระเจ้าปายาสิซึ่งครองเสตัพยนคร ดังมีความย่อดังนี้

    สมัยหนึ่ง ท่านพระกุมารกัสสปเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เมื่อถึงนครแห่งชาวโกศลชื่อเสตัพยะ ท่านพระกุมารกัสสปก็ได้พักอยู่ ณ ป่าไม้สีเสียดด้านเหนือนครเสตัพยะ

    ก็สมัยนั้น เจ้าปายาสิ ผู้ครองเสตัพยนครซึ่งคับคั่งด้วยประชาชน และหมู่สัตว์ สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ซึ่งเป็นราชสมบัติอันพระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชทานปูนบำเหน็จให้ เจ้าปายาสินั้นมีความเห็นอันผิด ๆ ว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่วไม่มี ฯ

    พราหมณ์และคฤหบดีชาวนครเสตัพยะ ซึ่งเคยได้ยินกิตติศัพท์อันงามของท่านกุมารกัสสปองค์นั้นว่า เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำอันวิจิตร มีปฏิภาณดี เป็นพระอรหันต์ เมื่อได้ทราบข่าวว่า ท่านพระกุมารกัสสปะ สาวกของพระสมณโคดม เที่ยวจาริกมาถึงนครเสตัพยะพักอยู่ ณ ป่าไม้สีเสียด ด้านเหนือนคร ก็คิดว่าการได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายย่อมเป็นการดี จึงพากันออกจากนครเป็นหมู่ๆ บ่ายหน้าทางทิศอุดรไปยังป่าไม้ สีเสียด ฯ

    สมัยนั้น เจ้าปายาสิทรงพักผ่อนอยู่ ณ ปราสาทชั้นบน ได้เห็นพราหมณ์และคฤหบดี พากันออกจากนครเป็นหมู่ๆ บ่ายหน้าไปทางทิศอุดร จึงเรียกนายนักการมาถามว่า พวกเหล่านั้นไปไหนกัน ฯ

    นายนักการทูลตอบว่า พวกนั้นพากันไปเพื่อดูท่านกุมารกัสสป ผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดมฯ

    เจ้าปายาสิ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเข้าไปบอกพวกเขาว่า ขอให้ท่านทั้งหลายจงรอก่อน เจ้าปายาสิจะเข้าไปหาพระสมณกุมารกัสสปด้วย เมื่อก่อนนี้พระกุมารกัสสปได้ทำให้พราหมณ์และคฤหบดี ผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม เหล่านี้ให้เข้าใจว่า โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ พ่อนักการ ความจริงนั้น โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่วไม่มี ฯ

    นักการจึงไปดำเนินการตามรับสั่งของเจ้าปายาสิ ฯ

    ลำดับนั้น เจ้าปายาสิแวดล้อมด้วยชาวนครเสตัพยะ จึงเสด็จเข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปยังป่าไม้สีเสียด แล้วได้ตรัสกะท่านพระกุมารกัสสปอย่างนี้ว่า

    "ดูกรท่านกัสสป ข้าพเจ้ามีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ"

    ท่านพระกุมารกัสสปถวายพรว่า "ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะขอย้อนถามบพิตรว่า พระจันทร์ และพระอาทิตย์นี้อยู่ในโลกนี้หรือในโลกหน้า เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ฯ"

    เจ้าปายาสิ : ดูกรท่านกัสสป พระจันทร์และพระอาทิตย์นี้ อยู่ในโลกหน้า มิใช่ โลกนี้ เป็นเทวดา ไม่ใช่มนุษย์ ฯ

    ท่านพระกุมารกัสสป : ดูกรบพิตร ถ้าอย่างนั้น ก็ต้องเป็นอย่างนี้ว่าโลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดี ทำชั่วมีอยู่ ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสป กล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ายังคง มีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด เกิดขึ้นไม่มี ผลวิบาก ของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ

    ท่านพระกุมารกัสสป : ดูกรบพิตร ก็เรื่องซึ่งเป็นเหตุให้บพิตรยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ ฯ

    กถาว่าด้วยโทษของอกุศลกรรมบท

    เจ้าปายาสิ : ดูกรท่านกัสสป เหล่าชนที่ข้าพเจ้ารู้จักในโลกนี้ ที่เป็นคนชั่ว ประพฤติชั่ว เมื่อคนเหล่านั้นป่วยหนัก ข้าพเจ้าเข้าไปหาคนเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย มีสมณะพวกหนึ่งกล่าวว่า บุคคลที่ทำชั่ว เมื่อตายก็ย่อมตกนรก พวกท่านก็เป็นผู้ประพฤติชั่ว เมื่อท่านตายเมื่อไร ขอจงมาบอกเรา พวกเหล่านั้นก็รับคำ แต่คนพวกนั้นเมื่อตายลงแล้ว ก็ไม่เห็นมีผู้ใดมาบอกเราเลยว่า โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่

    ดูกรท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเหตุให้ ข้าพเจ้ายังคงมี ความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ

    กถาว่าด้วยข้ออุปมาด้วยโจร

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะขอย้อนถามบพิตรในข้อนี้ ว่าเมื่อท่านจับโจรร้ายได้ รับสั่งให้นำตัวไปประหารชีวิต โจรนั้นขอผ่อนผันจากนายเพชฌฆาตว่า ขอท่านจงรอจนกว่าข้าพเจ้าจะได้ไปแจ้งแก่ ญาติมิตรของข้าพเจ้าก่อน นายเพชฌฆาตนั้นจะผ่อนผันให้ หรือจะพึงตัดศีรษะโจรผู้กำลังอ้อนวอนอยู่ ฯ

    เจ้าปายาสิ : ดูกรท่านกัสสป ที่แท้นายเพชฌฆาตจะพึงตัดศีรษะโจร นั้นผู้กำลังอ้อนวอนอยู่ทีเดียว ฯ

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ก็โจรซึ่งเป็นมนุษย์ยังไม่ได้รับความผ่อนผันในนายเพชฌฆาตผู้เป็น มนุษย์เช่นนั้นเลย ชนผู้ประพฤติชั่วเหล่านั้น เมื่อตายแล้ว ไฉนจะได้รับการผ่อนผันจากนายนินยบาลในนรกเล่าว่าจักขอผ่อนผันให้มาแจ้งแก่ท่านเสียก่อนว่า โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น มีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสป กล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น เรื่องอื่นที่ทำให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด เกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของ กรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี เปรียบดังเรื่องนี้ฯ

    กถาว่าด้วยอานิสงส์ของกุศลกรรมบท

    ดูกรท่านกัสสป เหล่าชนที่ข้าพเจ้ารู้จักในโลกนี้ ที่เป็นคนดี ประพฤติอยู่ในศีล เมื่อคนเหล่านั้นป่วยหนัก ข้าพเจ้าเข้าไปหาคนเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย มีสมณะพวกหนึ่งกล่าวว่า บุคคลที่ทำดี เมื่อตายก็ย่อมจะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ พวกท่านก็เป็นคนดี ประพฤติอยู่ในศีล เมื่อท่านตายเมื่อไร ขอจงมาบอกเรา พวกเหล่านั้นก็รับคำ แต่คนพวกนั้นเมื่อตายลงแล้ว ก็ไม่เห็นมีผู้ใดมาบอกเราเลยว่า โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่

    ดูกรท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเหตุให้ ข้าพเจ้ายังคงมี ความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ

    กถาว่าด้วยอุปมาด้วยหลุมคูถ

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมาจักยกอุปมาถวายบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษตกลงไปในหลุมอุจจาระจมจนมิดศีรษะ เมื่อได้ช่วยบุรุษนั้นขึ้นมาแล้ว ขัดล้างชำระกายจนสะอาด ประพรมเครื่องหอมต่าง ๆ ให้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่อันวิจิตร แล้วเชิญขึ้นสู่ปราสาทบำรุงด้วยกามคุณ ๕ ท่านคิดว่าบุรุษนั้นจะยอมลงสู่หลุมอุจจาระอีกหรือไม่ และเพราะเหตุไรฯ

    เจ้าปายาสิ : บุรุษนั้นย่อมไม่ปรารถนาลงสู่หลุมอุจจาระอีกเป็นแน่ เพราะหลุมอุจจาระทั้งไม่สะอาด ทั้งมีกลิ่นเหม็น ทั้งน่าเกลียด ทั้งเป็นสิ่งปฏิกูล ฯ

    พระกัสสปเถระ : ฉันนั้นแหละ บพิตร พวกมนุษย์นับเป็นผู้ไม่สะอาด ทั้งนับว่าเป็นสิ่งปฏิกูลของ พวกเทวดา กลิ่นมนุษย์ย่อมเหม็นฟุ้งไปในหมู่เทวดาตลอดร้อยโยชน์ เหล่าชนที่เป็นคนดี ประพฤติอยู่ในศีลเมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์แล้ว พวกเขาจักมาทูลพระ องค์ได้ละหรือว่า โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ดูกรบพิตร โดยปริยายของบพิตรนี้แล ต้องเป็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรม ที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสป กล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น เรื่องอื่นที่ทำให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด เกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของ กรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี เปรียบดังเรื่องนี้ฯ

    กถาว่าด้วยอานิสงส์ศีล ๕

    ดูกรท่านกัสสป เหล่าชนที่ข้าพเจ้ารู้จักในโลกนี้ ที่เป็นคนดี ประพฤติอยู่ในศีล เมื่อคนเหล่านั้นป่วยหนัก ข้าพเจ้าเข้าไปหาคนเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย มีสมณะพวกหนึ่งกล่าวว่า บุคคลที่ทำดี เมื่อตายก็ย่อมจะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ พวกท่านก็เป็นคนดี ประพฤติอยู่ในศีล เมื่อท่านตายเมื่อไร เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ขอจงมาบอกเรา พวกเหล่านั้นก็รับคำ แต่คนพวกนั้นเมื่อตายลงแล้ว ก็ไม่เห็นมีผู้ใดมาบอกเราเลยว่า โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่

    ดูกรท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเหตุให้ ข้าพเจ้ายังคงมี ความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะขอย้อนถามบพิตรในข้อนี้ ร้อยปีของมนุษย์เป็นวันหนึ่งคืนหนึ่ง ของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ พันปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ บุคคลที่ประพฤติอยู่ในศีล เมื่อตายก็ย่อมจะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถ้าพวกเขาคิดอย่างนี้ว่า รอเวลาที่พวกเราซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ตลอดสองคืนสองวัน หรือสามคืนสามวันก่อน จะพึง ไปทูลเจ้าปายาสิว่า โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ พวกเขาจะพบท่านหรือไม่หนอ ฯ

    เจ้าปายาสิ : หามิได้ ท่านกัสสป ด้วยว่า พวกเราถึงจะทำกาละไปนานแล้วก็จริง แต่ใครเล่า บอกความข้อนี้แก่ท่านกัสสปว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ หรือว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนเท่านี้ พวกเรามิได้เชื่อต่อท่านกัสสปว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ หรือว่าพวกเทวดาชั้น ดาวดึงส์มีอายุยืนเท่านี้ ฯ

    กถาว่าด้วยอุปมาด้วยคนบอดแต่กำเนิด

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิด เขา จะพึงพูดอย่างนี้ว่า รูปสีดำ สีขาว ฯลฯ รูปดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ ฯลฯ ไม่มี ผู้ที่เห็นรูปสีดำ สีขาว ฯลฯ รูปดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ก็ไม่มี เราไม่รู้สิ่งนี้ เราไม่เห็นสิ่งนี้ เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นจึงไม่มี ดูกรบพิตร บุคคลจะพึงพูดดังนั้น หรือหนอ ฯ

    เจ้าปายาสิ : หามิได้ ท่านกัสสป รูปเหล่านั้นมีอยู่ ผู้ที่เห็น รูปเหล่านั้นก็มีอยู่ ดูกรท่านกัสสป บุคคลนั้น จะพึงพูดว่า เราไม่รู้สิ่งนี้ เพราะฉะนั้นสิ่งนั้นจึงไม่มี ดังนี้หาได้ไม่ ฯ

    พระกัสสปเถระ : ฉันนั้นแหละ บพิตร บพิตรย่อมปรากฏเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด ดูกรบพิตร สมณพราหมณ์พวกใด อยู่เสนาสนะอันสงัดในป่า เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์แล้ว ย่อมแลเห็นทั้งโลกนี้ทั้งโลกหน้า และเหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยประการฉะนี้แล หาเหมือนดังที่บพิตรทรงทราบด้วยมังสจักษุนี้ไม่ ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสป กล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น เรื่องอื่นที่ทำให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด เกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของ กรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี เปรียบดังเรื่องนี้ฯ

    กถาว่าด้วยสมณพราหมณ์ผู้มีศีล

    ดูกรท่านกัสสป ข้าพเจ้าได้เห็นสมณพราหมณ์ในโลกนี้ ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ยังประสงค์จะมีชีวิตอยู่ ไม่ประสงค์จะตาย ยังปรารถนาความสุข เกลียดความทุกข์ ข้าพเจ้ามี ความคิดเห็นว่า ถ้าท่านสมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมพวกนี้ทราบว่า เมื่อเราตายไปจากโลกนี้แล้วคุณงามความดีจักมีเช่นนี้แล้ว พวกท่านสมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมพวกนี้ ก็จะทำการฆ่าตัวตายเสีย (เพื่อที่จะได้รับผลแห่งความดีนั้น) แต่เพราะเหตุที่ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม พวกนี้ไม่ทราบว่า เมื่อเราตายไปจากโลกนี้แล้ว คุณงามความดีจักมี ฉะนั้น จึงยังประสงค์จะมีชีวิตอยู่ ไม่ประสงค์จะตาย ยังปรารถนา ความสุข เกลียดความทุกข์

    นี้แหละ ท่านกัสสป จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ

    กถาว่าด้วยอุปมาด้วยพราหมณ์มีเมีย ๒ คน

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร พราหมณ์คนหนึ่ง มีภริยาสองคน ภริยาคนหนึ่งมีบุตรมีอายุได้ ๑๒ ปี ภริยาอีกคนหนึ่งก็ตั้งครรภ์ จวนจะคลอด พราหมณ์นั้นก็ตายโดยกระทันหัน เด็กหนุ่มนั้นจึงได้เรียกร้องในทรัพย์มรดกของบิดา นางพราหมณีก็ขอร้องให้รอจนกว่านางจะคลอด เพื่อดูว่าลูกที่ออกมาจะเป็นหญิงหรือเป็นชาย ถ้าเป็นชาย เขาก็ควรได้รับมรดกส่วนหนึ่ง ถ้าเป็นหญิงก็จักเป็นหญิงในตระกูล เด็กหนุ่มนั้นต่อมาก็ได้พูดเรื่องนี้กับแม่เลี้ยงอีกเป็นครั้งที่สอง นางก็ยังคงยืนคำเดิม จนกระทั่งตรั้งที่สาม เมื่อเด็กหนุ่มพูดเรื่องนี้ขึ้นมาอีก นางพราหมณีนั้น ถือมีดเข้าไปในห้อง แหวะท้องตน เพื่อจะดูว่าบุตรเป็นชายหรือหญิง

    นางพราหมณีได้ทำลายตน ชีวิต ครรภ์และทรัพย์สมบัติ เพราะนางพราหมณีเป็นคนพาล ไม่ฉลาด แสวงหามรดกโดยอุบายไม่แยบคาย ได้ถึงความพินาศ ฉันใด บพิตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นคนพาล ไม่ฉลาด แสวงหาโลกหน้าด้วยอุบายไม่แยบคาย จักถึงความพินาศ เหมือนนางพราหมณีผู้เป็นคนพาล ไม่ฉลาด แสวงหามรดกโดยอุบายไม่แยบคาย ได้ถึงความพินาศ ฉะนั้น

    ดูกรบพิตร สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ย่อมจะไม่บ่มผลที่ยังไม่สุกให้รีบสุก และ ผู้เป็นบัณฑิตย่อมรอผลอันสุกเอง อันชีวิตของสมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ต่างจากคนอื่นๆ ทั่วไป คือว่า สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ยิ่งอยู่นานเท่าใด ท่านย่อมสร้างบุญได้มากเท่านั้น และปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก เพื่อ อนุเคราะห์โลก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสป กล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น เรื่องอื่นที่ทำให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด เกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของ กรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี เปรียบดังเรื่องนี้ฯ

    ดูกร ท่านกัสสป เมื่อราชบุรุษของข้าพเจ้าจับโจรผู้ประพฤติชั่วหยาบมามอบต่อข้าพเจ้าเพื่อตัดสินลงโทษ ข้าพเจ้าจึงให้นำบุรุษนั้นใส่หม้อใบใหญ่ทั้งเป็น ปิดฝา เอาเชือกรัด เอาดินเหนียวพอก แล้วเผาไฟ เมื่อบุรุษนั้นตายแล้ว จึงให้ยกหม้อนั้นลงแล้วค่อย ๆ เปิดปากหม้อ ตรวจดูว่า บางทีจะได้เห็นชีวะของบุรุษนั้นออกมาบ้าง พวกเราไม่ได้เห็นชีวะของเขาออกมาเลย ดูกรท่านกัสสป อย่างนี้แหละ เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ

    กถาว่าด้วยอุปมาด้วยคนนอนฝัน

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะขอย้อนถามบพิตรในข้อนี้ บพิตรบรรทมกลางวัน ทรงรู้สึกฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ พื้นที่อันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บ้างหรือ ฯ

    เจ้าปายาสิ : เคยฝัน ท่านกัสสป ฯ

    พระกัสสปเถระ : ในเวลานั้น หญิงค่อม หญิงเตี้ย นางพนักงานภูษามาลา หรือกุมาริกา คอยรักษา บพิตรอยู่หรือ ฯ

    เจ้าปายาสิ : อย่างนั้น ท่านกัสสป ฯ

    พระกัสสปเถระ : คนเหล่านั้นเห็นชีวะของบพิตรเข้าหรือออกบ้างหรือเปล่า ฯ

    เจ้าปายาสิ : หามิได้ ท่านกัสสป ฯ

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ก็คนเหล่านั้น มีชีวิตอยู่ ยังมิได้เห็นชีวะของบพิตรผู้ยังทรงพระชนม์อยู่ เข้าหรือออกอยู่ ก็ไฉนบพิตรจักได้ทอดพระเนตรชีวะของผู้ที่ทำกาละไปแล้ว เข้าหรือออกอยู่เล่า ดูกรบพิตร อย่างนี้แหละ ต้องเป็นอย่างนี้ว่า โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสป กล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น เรื่องอื่นที่ทำให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด เกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของ กรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี เปรียบดังเรื่องนี้ฯ

    อ้างการชั่งโจร

    ดูกร ท่านกัสสป เมื่อราชบุรุษของข้าพเจ้าจับโจรผู้ประพฤติชั่วหยาบมามอบต่อข้าพเจ้าเพื่อตัดสินลงโทษ ข้าพเจ้าจึงให้เอาตาชั่ง ชั่งบุรุษนี้ผู้ยังมีชีวิตอยู่ แล้วเอาเชือกรัดให้ขาดใจตาย แล้วเอาตาชั่ง ชั่ง อีกครั้งหนึ่ง เมื่อบุรุษนั้นยังมีชีวิตอยู่ย่อมเบากว่า อ่อนกว่า และควรแก่การงานกว่า แต่เมื่อเขาทำกาละแล้ว ย่อมหนักกว่า กระด้างกว่า และ ไม่ควรแก่การงานกว่า ดูกรท่านกัสสป อย่างนี้แหละ เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเอาตาชั่ง ชั่งก้อนเหล็กที่เผาไว้วันยังค่ำ จนลุกแดงแล้ว ต่อมาเอาตาชั่ง ชั่งเหล็กนั้น ซึ่งเย็นสนิทแล้ว เมื่อเทียบกันแล้วเมื่อไรที่ เหล็กก้อนนั้นจะเบากว่า อ่อนกว่า คือเมื่อติดไฟลุกแดงอยู่ หรือว่าเมื่อเย็นสนิทแล้ว ฯ

    อุปมาด้วยก้อนเหล็กร้อน

    เจ้าปายาสิ : ดูกรท่านกัสสป เมื่อใดก้อนเหล็กนั้น ติดไฟทั่วลุกแดงแล้ว เมื่อนั้น จึงจะเบากว่า อ่อนกว่า แต่เมื่อใดก้อนเหล็กนั้น เย็นสนิทแล้ว เมื่อนั้น จึงจะหนักกว่า กระด้างกว่า ฯ

    พระกัสสปเถระ : ฉันนั้นแหละบพิตร เมื่อใด กายนี้ประกอบด้วยอายุ ไออุ่นและวิญญาณ เมื่อนั้น ย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า แต่ว่า เมื่อใด กายนี้ไม่ประกอบด้วยอายุ ไออุ่น และวิญญาณ เมื่อนั้น ย่อมหนักกว่า กระด้างกว่า ไม่ควรแก่การงานกว่า ดูกรบพิตร เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องเป็นอย่างนี้ว่า โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรม ที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสป กล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น เรื่องอื่นที่ทำให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด เกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของ กรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี เปรียบดังเรื่องนี้ฯ

    อ้างการค้นหาชีวะของโจรที่ตายแล้ว

    ดูกรท่านกัสสป เมื่อราชบุรุษของข้าพเจ้าจับโจรผู้ประพฤติชั่วหยาบมามอบต่อข้าพเจ้าเพื่อตัดสินลงโทษ ข้าพเจ้าจึงให้ประหารชีวิตเสียให้ตาย แต่อย่าให้ผิวหนัง เนื้อเอ็น กระดูก และเยื่อในกระดูกชอกช้ำ บางทีจะได้เห็นชีวะ ของบุรุษนั้นออกมาบ้าง เมื่อบุรุษนั้นเริ่มจะตาย ข้าพเจ้าสั่งบุรุษพวกนั้นว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงผลักบุรุษนี้ให้นอนหงาย บางทีจะได้เห็นชีวะ ของเขาออกมาบ้าง บุรุษพวกนั้นผลักบุรุษนั้นให้นอนหงาย พวกเรามิได้เห็นชีวะของเขาออกมาเลย ข้าพเจ้าจึงสั่งบุรุษพวกนั้นว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงพลิกบุรุษนี้ให้นอนคว่ำลง จงพลิกให้ นอนตะแคงข้างหนึ่ง จงพลิกให้นอนตะแคงอีกข้างหนึ่ง จงพยุงให้ยืนขึ้น จงจับเอาศีรษะลง จงทุบด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาตรา จงลากมาข้างนี้ จงลากไป ข้างโน้น จงลากไปๆ มาๆ บางทีจะได้เห็นชีวะของบุรุษนั้นออกมาบ้าง บุรุษพวกนั้นลากบุรุษนั้นมาข้างนี้ ลากไปข้างโน้น ลากไปๆ มาๆ พวกเรามิได้เห็น ชีวะของเขาออกมาเลย

    ตาของเขาก็ดวงนั้น แหละ แต่เขาเห็นรูปด้วยตาไม่ได้ หูก็อันนั้นแหละ แต่เขาก็ได้ยินเสียงด้วยหูไม่ได้ จมูกก็อันนั้นแหละ แต่เขาก็ได้กลิ่นด้วยจมูกไม่ได้ ลิ้นก็อันนั้นแหละ แต่เขาก็รู้รสด้วยลิ้นไม่ได้ กายก็อันนั้น แหละ แต่เขาก็ได้รู้สัมผัสด้วยกายไม่ได้

    ดูกรท่านกัสสป อย่างนี้แหละ เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ

    อุปมาด้วยคนเป่าสังข์

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร คนเป่าสังข์คนหนึ่ง ถือเอาสังข์ไปยังบ้านป่าชายแดน ยืนอยู่กลางบ้าน เป่าสังข์ขึ้น ๓ ครั้ง แล้ววางสังข์ไว้ที่แผ่นดิน นั่งอยู่ พวกชาวบ้านเมื่อได้ยินเสียงสังข์ก็เกิดความตื่นเต้นว่าเสียงอะไรหนอ ช่างเพราะถึงเพียงนี้ ช่างจับจิตถึงเพียงนี้ จึงถามคนเป่าสังข์นั้นว่าเป็นเสียงอะไร คนเป่าสังข์ ตอบว่า นั่นเป็นสังข์

    พวกชาวบ้านจึงจับสังข์นั้นหงายขึ้นแล้วบอกว่า พูด ซิพ่อสังข์ พูดซิพ่อสังข์ สังข์นั้นหาได้ออกเสียงไม่ พวกเขาจับสังข์นั้นให้คว่ำลง จับให้ตะแคงข้างหนึ่ง จับให้ตะแคงอีกข้างหนึ่ง ชูให้สูง วางให้ต่ำ เคาะด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาตรา ลากมาข้างนี้ ลากไปข้างโน้น ลากไปๆ มาๆ แล้วบอกว่า พูดซิ พ่อสังข์ พูดซิ พ่อสังข์ สังข์นั้นหาได้ออกเสียงไม่ ลำดับนั้น คนเป่าสังข์คิดว่า พวกมนุษย์ชนบทเหล่านี้ ช่างโง่เหลือเกิน จักแสวงหา เสียงสังข์โดยไม่ถูกทางได้อย่างไรกัน เมื่อชาวบ้านพวกนั้นกำลังมองดูอยู่ เขาจึงหยิบสังข์ขึ้นมาเป่า ๓ ครั้ง แล้วถือเอาสังข์นั้นไป ชาวบ้านพวกนั้นก็ได้พูดกันว่า ท่านทั้งหลาย นัยว่าเมื่อใด สังข์นี้ประกอบด้วยคน ความพยายาม และลม เมื่อนั้น สังข์นี้จึงจะออกเสียง แต่ว่าเมื่อใด สังข์นี้มิได้ประกอบด้วยคน ความพยายาม และลม เมื่อนั้น สังข์นี้ไม่ออกเสียง

    ฉันนั้นเหมือนกัน บพิตร เมื่อใด กายนี้ประกอบด้วยอายุ ไออุ่นและวิญญาณ เมื่อนั้น กายนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาได้ ฟังเสียง ด้วยหูได้ ดมกลิ่นด้วยจมูกได้ ลิ้มรสด้วยลิ้นได้ ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายได้ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจได้ แต่ว่าเมื่อใดกายนี้ไม่ประกอบด้วยอายุ ไออุ่นและวิญญาณ เมื่อนั้น เห็นรูปด้วยนัยน์ตาไม่ได้ ฟังเสียงด้วยหูไม่ได้ ดมกลิ่นด้วยจมูกไม่ได้ ลิ้มรสด้วยลิ้นไม่ได้ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายไม่ได้ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจไม่ได้ ดูกรบพิตร เมื่อเป็นเช่นนี้แหละก็ต้องเป็นอย่างนี้ว่า โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่ สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสป กล่าวอย่างนั้นก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น เรื่องอื่นที่ทำให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด เกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของ กรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี เปรียบดังเรื่องนี้ฯ

    ดูกรท่านกัสสป เมื่อราชบุรุษของข้าพเจ้าจับโจรผู้ประพฤติชั่วหยาบมามอบต่อข้าพเจ้าเพื่อตัดสินลงโทษ ข้าพเจ้าจึงให้เชือดผิวหนังของบุรุษ นี้ บางทีจะได้เห็นชีวะของบุรุษนั้นบ้าง พวกเขาเชือดผิวหนังของบุรุษ นั้น พวก เรามิได้เห็นชีวะของเขาเลย ข้าพเจ้าจึงบอกบุรุษพวกนั้นว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน จง เชือดหนัง เฉือนเนื้อ ตัดเอ็น ตัดกระดูก ตัดเยื่อในกระดูกของบุรุษนี้ บางที จะได้เห็นชีวะ ของบุรุษนั้นบ้าง พวกเขาตัดเยื่อในกระดูกของบุรุษนั้น พวกเรามิได้ เห็นชีวะของเขาเลย ดูกร ท่านกัสสป เช่นนี้แหละ เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมี ความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ

    อุปมาด้วยเด็กก่อไฟ

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร ชฏิลผู้บำเรอไฟผู้หนึ่ง อยู่ในกุฎี ณ ที่ชายป่า วันหนึ่งมีหมู่เกวียนหมู่หนึ่งมาพักอยู่คืนหนึ่ง ในที่ใกล้อาศรมชฎิล แล้วรุ่งขึ้นจึงเดินทางต่อไป ชฎิลผู้นั้นคิดขึ้นว่า ถ้ากระไร เราควรจะเข้าไปในที่ ที่หมู่เกวียนนั้นพัก บางทีจะได้เครื่องอุปกรณ์อะไรในที่นั้นบ้าง ชฎิลผู้นั้นจึงเข้าไปยังที่ที่หมู่เกวียนนั้นพัก ครั้นแล้วจึงได้เห็นเด็กอ่อนโดนเขาทิ้งนอนอยู่ ครั้นเห็นเกิดสงสารจึงได้นำมาเลี้ยงไว้จนโต อายุย่างเข้า ๑๐ ปี หรือ ๑๒ ปี

    วันหนึ่งชฎิลผู้บำเรอไฟ มีธุระบางอย่างในชนบท จึงได้บอกทารกนั้นว่าตนจะไปยังชนบท ทารก เจ้าพึงบำเรอไฟ อย่าให้ไฟดับ ถ้าไฟดับ นี้มีด นี้ฟืน นี้ไม้สีไฟ เจ้าพึงก่อไฟแล้วบำเรอไฟเถิด เขาสั่งทารกนั้นอย่างนี้แล้ว ได้ไปยังชนบท เมื่อทารกนั้นมัวเล่นเสีย ไฟดับแล้ว ทารกนั้นนึกขึ้นได้ว่า บิดาได้บอกเราไว้ให้บำเรอไฟ อย่าให้ไฟดับ ถ้าว่าไฟดับ เจ้าพึงก่อไฟเถิด ทารกนั้นจึงเอามีดถากไม้สีไฟ ด้วยเข้าใจว่า บางทีจะพบไฟบ้าง เขาไม่พบไฟเลย จึงผ่าไม้สีไฟออกเป็น ๒ ซีก แล้วผ่าออกเป็น ๓ ซีก ๔ ซีก ๕ ซีก ๑๐ ซีก ๒๐ ซีก แล้วเกรียกให้เป็นชิ้นเล็กๆ ครั้นแล้ว จึงโขลกในครก ครั้นโขลกแล้วจึง โปรยในที่มีลมมาก ด้วยเข้าใจว่า บางทีจะพบไฟบ้าง เขาไม่พบไฟเลย

    เมื่อชฎิลนั้นทำธุระในชนบทเสร็จแล้ว จึงกลับมายังอาศรมของตน ครั้นแล้วได้กล่าวกะทารกนั้นว่า พ่อ ไฟของเจ้าดับเสียแล้วหรือ ทารกนั้นตอบว่า ข้าแต่คุณพ่อ ขอประทานโทษเถิด กระผม มัวเล่นเสียไฟจึงดับ กระผมจึงทำอย่างนี้ อย่างนี้ แต่กระผมไม่พบไฟ เลย ลำดับนั้น ชฎิลผู้บำเรอไฟ นั้นได้มีความคิดว่า ทารกนี้ช่างโง่เหลือเกิน ไม่เฉียบแหลม จักแสวงหาไฟโดยไม่ถูกทางได้อย่างไรกัน เมื่อทารกนั้นกำลังมองดูอยู่ ชฎิลนั้นหยิบไม้สีไฟมาสีให้เกิดไฟแล้ว ได้บอกทารกนั้นว่า เขาติดไฟกันอย่างนี้ ไม่เหมือนอย่างเจ้าซึ่งยังเขลา ไม่เฉียบแหลม แสวงหาไฟโดยไม่ถูกทาง

    ดูกรบพิตร บพิตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังทรงเขลา ไม่เฉียบแหลม ทรงแสวงหาปรโลกโดยไม่ถูกทาง ขอบพิตรจงทรงเปลี่ยนความคิดที่ผิดนั้นเสียเถิด ขอบพิตรจงทรงปล่อยวางความคิดที่ผิดนั้นเสียเถิด ความคิดที่ผิดนั้นอย่าได้มีแก่บพิตร เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานเลย ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสปะกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้ายังไม่อาจจะเปลี่ยนความคิดที่ผิดนี้เสียได้ก็เพราะพระราชาทั้งหลายทรงรู้จักข้าพเจ้าว่า มีทิฐิเชื่อว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ท่านกัสสป ถ้าข้าพเจ้าเปลี่ยนความคิดนี้เสียก็จักมีผู้ว่าข้าพเจ้าได้ว่า ช่างโง่เขลาเหลือเกิน เชื่อในสิ่งที่ผิดมาโดยตลอด ข้าพเจ้าก็จักคงความเชื่อนั้นไว้ ฯ

    อุปมาด้วยพ่อค้าเกวียน

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร ดูกร บพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว พ่อค้าเกวียนหมู่ใหญ่ มีเกวียนประมาณพันเล่ม ได้เดินทางไกลไปยังชนบท เมื่อพ่อค้าเกวียนหมู่นั้นไป เสบียงกรังก็หมดเปลืองไปโดยรวดเร็ว ในหมู่นั้นมีนายกองเกวียน ๒ คนได้ปรึกษากันว่า หมู่เกวียนเรานี้มีเกวียนประมาณพันเล่ม ถ้ารวมกันอยู่ เสบียงก็จะหมดเปลืองไปโดยรวดเร็ว พวกเราควรจะแยกหมู่เกวียนหมู่ใหญ่นี้ออกเป็น ๒ หมู่ หมู่ละ ๕๐๐ เล่มแล้วแยกกันเดินทาง พ่อค้าเกวียนก็ทำดังนั้น นายกองเกวียนคนแรกออกหมู่เกวียนไปก่อน เมื่อขับไปได้สองสามวัน ก็ได้เห็นบุรุษผิวดำ นัยน์ตาแดง ผูกสอดแล่งธนู ทัดดอกกุมุท มีผ้าเปียก ผมเปียก แล่นรถอันงดงามมีล้อเปื้อนตมสวนทางมา จึงได้ถามขึ้นว่า ดูกรท่าน ในหนทางข้างหน้า ฝนตกมากหรือ ฯ

    อย่างนั้นท่าน ในหนทางมีน้ำบริบูรณ์ หญ้า ฟืน และน้ำมีมาก พวกท่านจงทิ้งเสบียงของเก่าเสียเถิด เกวียนจะได้เบา จะไปได้รวดเร็ว วัวเทียมเกวียนก็ไม่ลำบาก ลำดับนั้น นายกองเกวียนจึงได้ทิ้งเสบียงของเก่า ขับหมู่เกวียนไป ตลอดทางที่ผ่านไปก็หาเสียงหาน้ำมิได้ ถึงความวอดวายด้วยกันทั้งหมด

    เมื่อนายกองเกวียนพวกที่สองรู้สึกว่า บัดนี้หมู่เกวียนแรกนั้นออก ไปนานแล้วจึงบรรทุกเสบียงและน้ำไปเป็นอันมาก แล้วขับหมู่เกวียนไป เมื่อขับไปได้สองสามวัน ก็เห็นบุรุษ ผิวดำ นัยน์ตาแดง ผูกสอดแล่ง ธนู ทัดดอกกุมุท มีผ้าเปียก ผมเปียก แล่นรถอันงดงามมีล้อ เปื้อนตมสวนทาง มา ครั้นแล้ว จึงได้ถามขึ้นเช่นกับที่นายกองเกวียนหมู่แรกถามนั่นแหละ และก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน

    นายกองเกวียนที่สองคิดว่า บุรุษนี้มิใช่มิตร มิใช่ญาติของพวกเรา พวกเราจะเชื่อบุรุษนี้ได้อย่างไร เราไม่ควรทิ้งเสบียงของเก่าเสียแล้วขับเกวียนไปพร้อมทั้งสิ่งของตามที่ได้นำมา พวกเกวียนเหล่านั้นก็ได้เห็นหมู่เกวียนที่ได้ถึงความวอดวายเท่านั้น ลำดับนั้น นายกองเกวียนเรียกพวกเกวียนมาบอกว่า นี้คือหมู่เกวียนนั้นได้ถึงแก่ความวอดวายแล้ว ทั้งนี้ เพราะนายกองเกวียนนั้นเป็นคนโง่เขลา ถ้าอย่างนั้น ในหมู่เกวียนของพวกเรา สิ่งของชนิดใด มีสาระน้อยจงทิ้งเสีย ในหมู่เกวียนหมู่นี้ สิ่งของชนิดใดมีสาระมาก จงขนเอาไปเถิด พวกเกวียน พวกนั้นรับคำนายกอง เกวียนนั้นแล้ว จึงทิ้งสิ่งของชนิดมีสาระน้อยในเกวียนของตนๆ ขนเอาไปแต่สิ่งของมีสาระมาก ข้ามทางกันดารนั้นไปได้โดยสวัสดี ทั้งนี้ เพราะนายกองเกวียนนั้นเป็นคนฉลาด

    ดูกรบพิตร บพิตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังทรงเขลา ไม่เฉียบแหลม ทรง แสวงหาปรโลกโดยไม่ถูกทาง จักถึงความวอดวาย เหมือนบุรุษนายกองเกวียนฉะนั้น ชนเหล่าใดสำคัญผิดคิดว่าทิฐิของบพิตร เป็นสิ่งที่ควรฟัง ควรเชื่อถือ ชนเหล่านั้นก็จักถึงความวอดวาย เหมือนพ่อค้าเกวียนพวกนั้น ฉะนั้น

    ขอบพิตรจงทรงเปลี่ยนความคิดที่ผิดนั้นเสียเถิด ขอบพิตรจงทรงปล่อยวางความคิดที่ผิดนั้นเสียเถิด ความคิดที่ผิดนั้นอย่าได้มีแก่บพิตร เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานเลย ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสปะกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้ายังไม่อาจจะเปลี่ยนความคิดที่ผิดนี้เสียได้ก็เพราะพระราชาทั้งหลายทรงรู้จักข้าพเจ้าว่า มีทิฐิเชื่อว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ท่านกัสสป ถ้าข้าพเจ้าเปลี่ยนความคิดนี้เสียก็จักมีผู้ว่าข้าพเจ้าได้ว่า ช่างโง่เขลาเหลือเกิน เชื่อในสิ่งที่ผิดมาโดยตลอด ข้าพเจ้าก็จักคงความเชื่อนั้นไว้ ฯ

    อุปมาด้วยคนลี้ยงสุกร

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร บุรุษผู้เลี้ยงสุกรคนหนึ่งได้ออกจากบ้านของตนไปยังบ้านอื่น ได้เห็นอุจจาระแห้งเป็นอันมากซึ่งเขาทิ้งไว้ในบ้านนั้น ครั้นแล้วเขาได้มีความคิดขึ้นว่าอุจจาระแห้งเป็นอันมากซึ่งเขาทิ้งไว้นี้ เป็นอาหารสุกรของเรา ถ้ากระไร เราควรขนอุจจาระแห้งไปจากที่นี้ เขาปูผ้าห่มลงแล้ว โกยเอาอุจจาระแห้ง แล้วผูกให้เป็นห่อทูนศีรษะเดินไป ในระหว่างทาง ฝนห่าใหญ่ก็ตกลงมา เขาเปรอะเปื้อนอุจจาระตลอดผมถึงปลายเล็บเท้า เดินพาเอาห่ออุจจาระซึ่งล้นไหลออกจากห่อไป พวกชาวบ้านเห็นแล้ว ก็พูดว่า ท่านเป็นบ้าหรือเปล่า ท่านเสียจริตหรือหนอ ไหนท่านจึงเปรอะเปื้อนไปด้วยอุจจาระตลอดถึงปลายเล็บ จะนำเอาห่ออุจจาระซึ่งล้นไหลอยู่ไปทำไม บุรุษนั้นตอบว่า พวกท่านนั่นแหละเป็นบ้า พวกท่านเสียจริต ความจริงสิ่งนี้เป็นอาหารสุกรของเรา

    ดูกรบพิตร บพิตรก็เหมือนบุรุษผู้ทูนห่ออุจจาระนั้นเหมือนกัน ขอบพิตรจงทรงเปลี่ยนความคิดที่ผิดนั้นเสียเถิด ขอบพิตรจงทรงปล่อยวางความคิดที่ผิดนั้นเสียเถิด ความคิดที่ผิดนั้นอย่าได้มีแก่บพิตร เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานเลย ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสปะกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้ายังไม่อาจจะเปลี่ยนความคิดที่ผิดนี้เสียได้ก็เพราะพระราชาทั้งหลายทรงรู้จักข้าพเจ้าว่า มีทิฐิเชื่อว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ท่านกัสสป ถ้าข้าพเจ้าเปลี่ยนความคิดนี้เสียก็จักมีผู้ว่าข้าพเจ้าได้ว่า ช่างโง่เขลาเหลือเกิน เชื่อในสิ่งที่ผิดมาโดยตลอด ข้าพเจ้าก็จักคงความเชื่อนั้นไว้ ฯ

    อุปมาด้วยนักเลงสกา

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร นักเลงสกาสองคนเล่นสกากัน คนหนึ่งกลืนกินเบี้ยแพ้ ที่แล้วๆ มาเสีย นักเลงสกาคน ที่สองได้เห็นนักเลงสกานั้นกลืนกินเบี้ยแพ้ที่แล้วๆ มา ครั้นแล้วได้พูดว่า ดูกรสหาย ท่านชนะ ข้างเดียว ท่านจงให้ลูกสกาแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักเซ่นบูชา นักเลงสกาคนนั้นรับคำแล้ว จึงมอบลูกสกาให้นักเลงสกานั้น ลำดับนั้น นักเลงสกาคนที่สอง เอายาพิษทาลูกสกาแล้วพูด กะนักเลงสกาคนที่หนึ่งว่า มาเถิดสหาย เรามาเล่นสกากัน นักเลงสกาคนที่หนึ่งรับคำ แล้วนักเลงสกาเหล่านั้นเล่นสกากันเป็นครั้งที่สอง แม้ในครั้งที่สองนักเลงสกาคนที่หนึ่งก็กลืนกินเบี้ยแพ้ที่แล้วๆ มาเสีย นักเลงสกาคนที่สอง เห็นดังนั้นจึงพูดว่า

    บุรุษกลืนกินลูกสกาซึ่งอาบด้วยยาพิษมีฤทธิ์กล้ายังหารู้สึกไม่ นักเลงชั่วเลวผู้น่าสงสารกลืนยาพิษเข้าไป ความเร่าร้อนจักมีแก่ท่าน ดังนี้ ฯ

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร บพิตรก็เหมือนนักเลงสกาอย่างนั้นเหมือนกัน ขอบพิตรจงทรงเปลี่ยนความคิดที่ผิดนั้นเสียเถิด ขอบพิตรจงทรงปล่อยวางความคิดที่ผิดนั้นเสียเถิด ความคิดที่ผิดนั้นอย่าได้มีแก่บพิตร เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานเลย ฯ

    เจ้าปายาสิ : ท่านกัสสปะกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้ายังไม่อาจจะเปลี่ยนความคิดที่ผิดนี้เสียได้ก็เพราะพระราชาทั้งหลายทรงรู้จักข้าพเจ้าว่า มีทิฐิเชื่อว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ท่านกัสสป ถ้าข้าพเจ้าเปลี่ยนความคิดนี้เสียก็จักมีผู้ว่าข้าพเจ้าได้ว่า ช่างโง่เขลาเหลือเกิน เชื่อในสิ่งที่ผิดมาโดยตลอด ข้าพเจ้าก็จักคงความเชื่อนั้นไว้ ฯ

    อุปมาด้วยสหายสองคน

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร ชนบทแห่งหนึ่งตั้งขึ้นแล้ว ครั้งนั้น สหายผู้หนึ่งเรียกสหายมาบอกว่า มาไปกันเถิดเพื่อน เราจักเข้าไปยังชนบทนั้น บางทีจะ ได้ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในชนบทนั้นบ้าง สหายคนที่สองรับคำ แล้ว เขาทั้งสองเข้าไปยังชนบท ถึงถนนในบ้านแห่งหนึ่งแล้ว ได้เห็น เปลือกป่านที่เขาทิ้งไว้มากมายที่ตำบลบ้านนั้น ครั้นแล้วสหายคนที่หนึ่งได้บอกสหายอีกคนหนึ่งว่า สหาย นี้เปลือกป่านเขาทิ้งไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงผูกเอาเปลือกป่านไปมัดหนึ่ง และฉันจักผูกเอาเปลือกป่านไปมัดหนึ่ง คนทั้งสองจึงถือเอามัดเปลือกป่านเข้าไปยังถนนในบ้านอีกแห่งหนึ่ง ได้เห็นด้ายป่านที่เขาทิ้งไว้มากมาย สหายคนที่หนึ่งจึงบอกสหายอีกคนหนึ่งว่า เราจะเอาเปลือกป่านไปทำไม ด้ายป่านนี้เขาทิ้งไว้มากมาย เราจงทิ้งเปลือกป่านเสียเถิดแล้วเอามัดด้ายป่านไป สหายอีกคนตอบว่า มัดเปลือกป่านนี้ เราเอามาไกล แล้วยังมัดไว้ดีแล้วด้วย เราไม่เอาละ ฯ

    สหายคนที่หนึ่งจึงทิ้งมัดเปลือกป่านเสียแล้วถือเอามัดด้ายป่านไป คนทั้งสองนั้นเข้าไปยังถนนในบ้านอีกแห่งหนึ่ง ได้เห็นผ้าป่านที่เขาทิ้งไว้มากมาย สหายคนที่หนึ่งจึงบอกสหายคนที่สองว่า เราจะเอาเปลือกป่านหรือด้ายป่านไปทำไม ผ้าป่านเหล่านี้เขาทิ้งไว้มากมาย เราทั้งสองจงถือเอามัดผ้าป่านไป สหายคนที่สองตอบว่า มัดเปลือกป่านนี้เราเอามาไกลแล้ว ทั้งมัดไว้ดีแล้วด้วย เราไม่เอาละ ฯ

    ลำดับนั้น สหายคนที่หนึ่งนั้น ทิ้งมัดด้ายป่านแล้ว ถือมัดผ้าป่านไป สหายทั้งสองเข้าไปยังถนนในบ้านอีกแห่งหนึ่ง ได้เห็นเปลือกไม้โขมะ ได้เห็น ด้ายเปลือกไม้โขมะ ได้เห็น ผ้าเปลือกไม้โขมะ ได้เห็นลูกฝ้าย ได้เห็นด้ายฝ้าย ได้เห็นผ้าฝ้าย ได้เห็นเหล็ก ได้เห็นโลหะ ได้เห็นดีบุก ได้เห็นสำริด ได้เห็นเงิน ได้เห็นทอง ที่เขาทิ้งไว้มากมายในถนนในบ้านนั้น ครั้น แล้วสหายคนที่หนึ่งจึงบอก สหายคนที่สองว่า สหาย เราจะเอาไปทำไมกับ เปลือกป่าน หรือด้ายป่าน หรือผ้าป่าน หรือเปลือกไม้โขมะ หรือด้ายเปลือกไม้โขมะ หรือผ้าเปลือกไม้โขมะ หรือลูกฝ้าย หรือด้ายฝ้าย หรือผ้าฝ้าย หรือเหล็ก หรือโลหะ หรือดีบุก หรือ สำริด หรือเงิน นี้ทองที่เขาทิ้งไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้นท่านจงทิ้งมัดเปลือกป่านเสียเถิด และฉันก็จักทิ้งห่อเงินเสีย เราทั้งสองจักถือเอาห่อทองไป สหายคนที่สองตอบว่า มัดเปลือกป่านนี้เราเอามาไกลแล้ว ทั้งมัดไว้ดีแล้วด้วย เราไม่เอา ฯ

    สหายนั้นทิ้งห่อเงิน ถือเอาห่อทองไป สหายทั้งสองนั้นเข้าไปยังบ้านของ ตนๆ แล้ว ในเขาทั้งสองนั้น สหายผู้ถือเอามัดเปลือกป่านไป มารดา บิดา บุตร ภริยา มิตร สหาย หาได้พากันยินดีไม่ และเขาไม่ได้รับความ สุขโสมนัสซึ่งเกิดจากเหตุที่ได้จากเปลือกป่านนั้นมา ส่วนสหายที่ถือเอาห่อทองไป นั้น มารดา บิดา บุตร ภริยา มิตร สหาย พากันยินดี และเขายังได้รับความสุขโสมนัสซึ่งเกิดจากเหตุที่ถือเอาห่อทองนั้นมา ฯ

    ดูกรบพิตร บพิตรก็เหมือนบุรุษผู้ถือ มัดเปลือกป่านนั้นเหมือนกัน ขอบพิตรจงทรงเปลี่ยนความคิดที่ผิดนั้นเสียเถิด ขอบพิตรจงทรงปล่อยวางความคิดที่ผิดนั้นเสียเถิด ความคิดที่ผิดนั้นอย่าได้มีแก่บพิตร เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานเลย ฯ

    เจ้าปายาสิละทิฏฐิ

    เจ้าปายาสิ : ด้วยข้อความอุปมาข้อก่อนๆ ของท่านกัสสป ข้าพเจ้าก็มีความ พอใจยินดี ยิ่งแล้ว แต่ว่าข้าพเจ้าใคร่จะฟังปฏิภาณในการแก้ปัญหาที่วิจิตรเหล่านี้ จึงพยายามโต้แย้งคัดค้านท่านกัสสปอย่างนั้น

    ข้าแต่ท่านกัสสปผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ดังนี้

    ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอท่านกัสสป จงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง สรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

    ข้าพเจ้าปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงชี้แจงวิธีบูชายัญ อันจะเป็นประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนาน ฯ

    พระกัสสปเถระ : ดูกรบพิตร ยัญที่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือเหล่าสัตว์ต่างๆ ต้องได้รับ ความพินาศ และปฏิคาหก เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด การงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด เช่นนี้ ย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่ ไม่มีความรุ่งเรือง ใหญ่ ไม่แพร่หลายใหญ่

    เปรียบเหมือนชาวนาถือเอาพืชและไถไปสู่ป่า เขาพึงหว่านพืชที่หัก ที่เสีย ถูกลมและ แดดแผดเผาแล้ว อันไม่มีแก่น ยังไม่แห้งสนิท ลงในนาไร่อันเลว ซึ่งเป็นพื้นที่ไม่ดี มิได้แผ้วถางตอและหนามให้หมด ทั้งฝนก็มิได้ตกชะเชย โดยชอบตามฤดูกาล พืชเหล่านั้นจะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์หรือ? ชาวนาจะพึงได้รับผลอันไพบูลย์หรือ ฯ

    เจ้าปายาสิ : หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านกัสสป ฯ

    พระกัสสปเถระ : ฉันนั้นเหมือนกัน บพิตร ยัญที่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือเหล่า สัตว์ ต่างๆ ต้องถึงความพินาศ และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจา ผิด การงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด เช่นนี้ ย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่ ไม่มีความรุ่งเรืองใหญ่ ไม่แพร่หลายใหญ่ ฯ

    ดูกรบพิตร ส่วนยัญที่มิต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือเหล่าสัตว์ ต่างๆ ไม่ต้องถึงความพินาศ และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ เช่นนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองใหญ่ แพร่หลายใหญ่

    เปรียบเหมือนชาวนาถือเอาพืชและไถไปสู่ป่า เขาพึงหว่าน พืชที่ไม่หัก ไม่เสีย ไม่ถูกลมแดดแผดเผา อันมีแก่นแห้งสนิท ลงในนาไร่อันดี เป็นพื้นที่ดี แผ้ว ถางตอและหนามหมดดีแล้ว ทั้งฝนก็ตกชะเชยโดยชอบตามฤดูกาล พืชเหล่านั้น จะพึงถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์หรือหนอ ชาวนาจะพึงได้รับผลอันไพบูลย์หรือ ฯ

    เจ้าปายาสิ : เป็นอย่างนั้น ท่านกัสสป ฯ

    พระกัสสปเถระ : ฉันนั้นเหมือนกัน บพิตร ยัญที่มิต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือ เหล่าสัตว์ ต่างๆ ไม่ต้องถึงความพินาศ และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ เช่นนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองใหญ่ แพร่หลายใหญ่ ฯ

    เจ้าปายาสิเริ่มให้ทาน

    นับแต่นั้นมา เจ้าปายาสิ เริ่มให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพกและยาจกทั้งหลาย แต่ในทานนั้นท่านได้ให้โภชนะเช่นนี้ คือปลายข้าว ซึ่งมีน้ำผักดองเป็นกับข้าว และได้ให้ผ้าเนื้อหยาบ มีชายขอดเป็นปมๆ เมื่อเจ้าปายาสิสิ้นพระชนม์ลงจึงได้ไปบังเกิดเป็นเทวดาเพียงชั้นจาตุมหาราช เนื่องเพราะเจ้าปายาสิมิได้ให้ทานโดยเคารพ มิได้ให้ทานด้วยมือของตน มิได้ให้ทานโดยความนอบน้อม ให้ทานอย่างทิ้งให้ ดังนี้
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระวักกลิเถระ เอตทัคคมหาสาวกผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา ฯ

    ควรจะได้ทราบว่าการที่พระวักกลิเถระได้รับการสถาปนาในตำแหน่งที่เป็นเลิศเช่นนั้น ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ มีเรื่องอันเป็นอัตถุปปัตติเหตุ คือเหตุเกิดเรื่อง ศรัทธาของคนอื่น ๆ มีแต่ต้องทำให้เพิ่มขึ้น ส่วนของพระเถระกลับต้องทำให้ลดลง และ ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังเนื่องจากท่านได้ตั้งปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

    กระทำมหาทานแด่พระปทุมุตตระพุทธเจ้า

    พระเถระนี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ นับย้อนไปแสนกัป นับแต่ภัทรกัปนี้เมื่อครั้งสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตระ ท่านเกิดในครอบครัวผู้มีตระกูล ครั้นเติบใหญ่แล้ว วันหนึ่งท่านได้ไปฟังพระธรรมเทศนา ณ พระวิหาร ได้ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายหมู่พุทธบริษัทนั้น ท่านเห็นพระบรมศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้น้อมไปในศรัทธา ก็ปรารถนาจะได้ตำแหน่งเช่นนั้นบ้าง จึงถวายทานต่อพระบรมศาสดาและพระสาวกตลอดทั้ง ๗ วัน ครั้นแล้วได้ตั้งความปรารถนาของท่านไว้ต่อพระบรมศาสดา ขอให้ท่านได้เป็นเช่นเดียวกัน กับภิกษุผู้ยิ่งด้วยศรัทธาธิมุตติที่พระองค์ทรงชมเชยว่า เป็นเลิศกว่าภิกษุอื่นในพระศาสนานี้เถิด พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นความปรารถนานั้นไม่มีอันตราย จึงได้ทรงพยากรณ์ในท่ามกลางบริษัทว่า

    มาณพผู้นี้ ในอนาคตกาล จักได้เป็นพระสาวกของพระโคดมผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายศรัทธาธิมุตติ เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม จักเป็นผู้เว้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง รวบรวมโภคทรัพย์ทุกอย่าง มีความสุขท่องเที่ยวไป

    ในที่กัปที่แสนนับแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามว่า โคดม ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก มาณพผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นสาวกของพระศาสดามีนามว่า วักกลิ

    แต่นั้นมา เพราะผลกรรมที่เหลือนั้น และเพราะตั้งเจตจำนงไว้ เมื่อท่านสิ้นชีวิตลง ก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ วนเวียนตายเกิดไปในเทวภูมิและมนุษยภูมิ

    กำเนิดในสมัยพระศากยโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ในภพสุดท้ายในบัดนี้ท่านมาเกิดในสกุลเศรษฐี อันมั่นคั่งสมบูรณ์มีทรัพย์มากมาย ในพระนครสาวัตถี มารดาบิดาได้ตั้งชื่อขาว่า วักกลิ เมื่อครั้งท่านยังเป็นทารก มารดาของท่านหวั่นเกรงภัยจากปิศาจจะมารุกรานทารกผู้เป็นบุตร จึงได้ถวายทารกนั้นแด่พระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงได้ทรงรับ วักกลิทารกไว้ในพระอุปถัมภ์

    ตั้งแต่นั้นมาเมื่อท่านอยู่ในความดูแลใต้เบื้องบาทของพระบรมศาสดา จึงเป็นผู้พ้นจากความป่วยไข้ทุกอย่าง อยู่โดยสุขสำราญ ท่านติดที่จะอยู่ใกล้พระบรมศาสดา เว้นจากพระสุคตเสียงเพียงครู่เดียวก็ร้องหา พอท่านอายุได้ ๗ ขวบก็ออกบวชเป็นบรรพชิต

    อรรถกถาวักกลิเถราปทาน กล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ท่านเกิดในสกุลพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อเจริญวัยแล้ว ได้เล่าเรียนไตรเพทจนจบในศิลปศาสตร์ของพวกพราหมณ์ทั้งหมด วันหนึ่งท่านเห็นพระศาสดาแวดล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกอยู่ในกรุงสาวัตถี ก็หลงในพระรูปของพระบรมศาสดา ท่านคิดว่าถ้าอยู่แต่ในบ้าน ก็จะไม่ได้เห็นพระศาสดาได้บ่อย ๆ เท่าที่ต้องการ เมื่อคิดดังนั้นแล้ว จึงได้ออกบวชในสำนักของพระศาสดา และเมื่อบวชแล้ว ด้วยความที่ประสงค์จะเห็นพระรูปของพระบรมศาสดาอยู่ตลอดเวลา จึงยอมละหน้าที่และกิจวัตรทั้งหลาย มีการสาธยายและมนสิการในพระกัมมัฏฐานเป็นต้นเสีย ไปเฝ้าดูอยู่แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น เว้นเฉพาะเวลาขบฉัน และเวลากระทำสรีรกิจเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลือ ก็จะไปยืนอยู่ในที่ที่สามารถจะเห็นพระทศพลได้

    ครั้งนั้น พระศาสดาทรงทราบว่าท่านยินดีในพระรูปของพระองค์ แต่มิได้ทรงตรัสอะไรด้วยทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของท่านอยู่ ต่อเมื่อทรงทราบว่าญาณของท่านถึงความแก่กล้าแล้ว จึงตรัสโอวาทว่า

    ดูก่อนวักกลิ

    จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการที่เธอต้องมาดูร่างกายอันเปื่อยเน่านี้

    วักกลิเอย ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา

    ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม

    วักกลิ เห็นธรรมจึงจะชื่อว่าเห็นเรา

    พระวักกลินั้น แม้จะได้ฟังพระพุทธโอวาทจากพระศาสดาอย่างนั้น ก็ไม่สามารถที่จะละการดูพระศาสดาไปทำกิจอย่างอื่นได้เลย

    พระบรมศาสดาทรงขับไล่พระวักกลิ

    ลำดับนั้น เมื่อใกล้กาลที่จะจำพรรษา พระศาสดาทรงพระดำริว่า ภิกษุนี้ไม่ได้ความสังเวชจักไม่ตรัสรู้ ดังนี้ แล้ว จึงเสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ ครั้นถึงวันเข้าพรรษา จึงขับไล่พระเถระด้วยตรัสว่า หลีกไป วักกลิ พระเถระถูกพระศาสดาทรงขับไล่ จึงไม่อาจจะอยู่ในที่พร้อมพระพักตร์ได้ จึงคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยความเป็นอยู่ของเรา ที่จะไม่เห็นพระศาสดา จะมีชีวิตอยู่ไปทำไม ดังนี้แล้ว จึงขึ้นสู่ภูเขาคิชฌกูฏ ไปยังเงื้อมหน้าผาสูง

    พระศาสดาทรงทราบความเป็นไปนั้นของเธอแล้ว ทรงดำริว่า ภิกษุนี้ถ้าไม่ได้รับการปลอบโยนจากเรา ก็จะทำให้อุปนิสัยแห่งมรรคและผลที่มีอยู่เต็มแล้วนี้พินาศไป ดังนี้แล้วทรงจึงทรงเปล่งรัศมีไปแสดงพระองค์ให้ปรากฏอยู่เบื้องล่างหน้าแห่งผาสูงนั้น แล้วตรัสพระคาถาว่า:-

    ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์

    เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จะพึงบรรลุบทอันสงบ

    อันเข้าไประงับสังขารเป็นสุขได้ ดังนี้

    ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า

    “มาเถิด วักกลิ เธออย่ากลัว จงแลดูพระตถาคต

    เราจักยกเราขึ้น เหมือนบุคคลพยุงช้างตัวจมในเปือกตมขึ้นฉะนั้น

    มาเถิด วักกลิ เธออย่ากลัว จงแลดูพระตถาคต

    เราจักยกเธอขึ้น เหมือนบุคคลที่ช่วยพระจันทร์ที่ถูกราหูจับฉะนั้น”

    พระเถระได้เห็นพระบรมศาสดาปรากฏพระองค์อยู่เบื้องล่างแห่งหน้าผานั้น ความปิติ โสมนัสใจอย่างท่วมท้นก็บังเกิดขึ้นด้วยความปรารถนาอย่างรุนแรงที่จะได้เฝ้าพระพุทธองค์ในทันที ไม่เห็นวิธีที่จะไปได้โดยรวดเร็ว จึงวิ่งลงมาทางหน้าผาที่สูงหลายร้อยชั่วคน ก็ลงมาอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์พระบรมศาสดาโดยสะดวก ด้วยพระพุทธานุภาพ

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ครั้นเมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านจึงได้บรรลุอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔


    ประวัติเมื่อตอนท่านจะบรรลุพระอรหัตในอีกทางหนึ่ง

    ในอรรถกถาวักกลิเถราปาน ได้เล่าถึงประวัติเมื่อตอนท่านจะบรรลุพระอรหัตไว้อีกทางหนึ่งดังนี้

    พระวักกลิพอได้รับพระโอวาทจากพระศาสดา โดยนัยเช่นที่กล่าวไว้เบื้องต้นแล้ว เป็นต้นว่า ดูก่อนวักกลิ จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการที่เธอต้องมาดูร่างกายอันเปื่อยเน่านี้ ฯลฯ ดังนี้แล้ว ก็ขึ้นไปเจริญวิปัสสนาอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ แต่เพราะความที่ท่านมีศรัทธาหนักมากไป วิปัสสนาจึงไม่หยั่งลงสู่วิถี ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ได้ทรงประทานให้เธอชำระกัมมัฏฐานเสียใหม่ แต่พระวักกลินั้นก็ยังไม่สามารถที่จะทำวิปัสสนาให้ถึงที่สุดได้เลยทีเดียว

    ต่อมาท่านก้เกิดอาพาธเนื่องด้วยลม เพราะความบกพร่องแห่งอาหาร (ท้องว่าง) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าท่านเกิดอาพาธเนื่องด้วยโรคลมเบียดเบียน จึงเสด็จไปในที่นั้น เมื่อจะตรัสถาม จึงตรัสว่า

    ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ในป่าใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปราศจากโคจร เป็นที่เศร้าหมอง ถูกโรคลมครอบงำจักทำอย่างไร

    พระเถระได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว จึงกราบทูลด้วยคาถา ๔ คาถาว่า

    ข้าพระองค์จะทำปีติและความสุขอันไพบูลย์ให้แผ่ไปสู่ร่างกาย ครอบงำปัจจัยอันเศร้าหมอง อยู่ในป่าใหญ่

    จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และโพชฌงค์ ๗ อยู่ในป่าใหญ่

    เพราะได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ปรารถนาความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ มีความพร้อมเพรียงกัน มีความเห็นร่วมกัน ข้าพระองค์จึงจักอยู่ในป่าใหญ่

    เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้มีพระองค์อันฝึกแล้ว มีพระหฤทัยตั้งมั่น จึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้านตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน อยู่ในป่าใหญ่ ดังนี้

    พระเถระพยายามเจริญวิปัสสนาอย่างนี้ จึงได้บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔

    ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสัทธาธิมุติ

    ครั้งในกาลต่อมา พระศาสดาทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสัทธาธิมุต ดังนี้แล

    พระบรมศาสดาโปรดพระเถระเมื่อครั้งอาพาธหนัก

    ในพระไตรปิฎกฉบับที่ ๑๗ (พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค) ได้กล่าวถึงประวัติของท่านไว้ค่อนข้างจะแปลกออกไปจากที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ในครั้งนั้น พระวักกลิเถระเมื่อปวารณาออกพรรษาแล้ว ท่านได้ออกเดินทางมาเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะที่เดินทางมาถึงกลางพระนครราชคฤห์นั้น ท่านก็เกิดอาพาธหนัก เท้าทั้งสองข้างก้าวไม่ออก พวกชาวเมืองแถวนั้น นำท่านนอนไปในวอ หามท่านไปไว้ในโรงที่ทำงานของช่างหม้อเหล่านั้น แต่มิใช่เป็นโรงที่เขาพักอาศัยกัน

    ครั้งนั้น ท่านพระวักกลิ เรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้ว กล่าวขอให้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลวักกลิภิกษุอาพาธเป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา ขอทูลเชิญพระผู้มีพระภาคทรงอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาท่านวักกลิถึงที่อยู่เถิด

    ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านวักกลิแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่านพระวักกลิถึงที่อยู่ ท่านพระวักกลิ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วก็ลุกขึ้นจากเตียง

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระวักกลิว่า “อย่าเลย วักกลิเธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะเหล่านี้ ที่เขาปูลาดไว้มีอยู่ เราจะนั่งที่อาสนะนั้น”

    พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระวักกลิว่า “ดูกรวักกลิ เธอพอทนได้หรือ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่าทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ ท่านพระวักกลิกราบทูลว่า

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ทุกขเวทนาของข้าพระองค์แรงกล้า มีแต่กำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย กาลนานมาแล้ว ข้าพระองค์ประสงค์จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แต่ว่าในร่างกายของข้าพระองค์ ไม่มีกำลังพอที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้”

    พระพุทธองค์ตรัสว่า

    “อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร? ดูกรวักกลิผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม วักกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม วักกลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?”

    พระวักกลิทูลตอบว่า “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”

    พระพุทธองค์ “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?”

    พระวักกลิทูลตอบว่า “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า”

    พระพุทธองค์ “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?”

    พระวักกลิทูลตอบว่า “ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

    พระพุทธองค์ “เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?”

    พระวักกลิทูลตอบว่า “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”

    พระพุทธองค์ “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?”

    พระวักกลิทูลตอบว่า “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า”

    พระพุทธองค์ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?”

    พระวักกลิทูลตอบว่า “ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

    พระพุทธองค์ “เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระวักกลิด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ทรงลุกจากอาสนะ เสด็จไปยังภูเขาคิชฌกูฏ

    เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พระวักกลิได้เรียกภิกษุอุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้ว ขอให้หามท่านไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ด้วยท่านคิดว่า ท่านเป็นพระภิกษไม่สมควรจะสิ้นชีวิตในบ้านคน อันจะนำความลำบากมาให้แก่เจ้าบ้าน ภิกษุอุปัฏฐากเหล่านั้นจึงอุ้มท่านพระวักกลิขึ้นเตียง หามไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดา ๒ องค์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว เทวดาองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า วักกลิภิกษุ คิดเพื่อความหลุดพ้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า ก็วักกลิภิกษุนั้นหลุดพ้นดีแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่แท้ เทวดาเหล่านั้น ได้กราบทูลอย่างนี้แล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว ก็หายไป ณ ที่นั้นเอง

    ครั้นรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งให้นำข้อความที่เทวดา ๒ องค์ที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เมื่อกลางคืนเล่าถวายพระบรมศาสดาให้ท่านพระวักกลิฟัง แล้วรับสั่งให้บอกแก่พระวักกลิว่า พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านอย่างนี้ว่า อย่ากลัวเลย วักกลิ อย่ากลัวเลย วักกลิ จักมีความตายอันไม่ต่ำช้าแก่เธอ จักมีกาลกิริยาอันไม่เลวทรามแก่เธอ ภิกษุเหล่านั้น รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาท่านพระวักกลิถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านวักกลิว่า อาวุโส วักกลิ ท่านจงฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค และคำของเทวดา ๒ องค์

    เมื่อท่านพระวักกลิเรียกภิกษุอุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า มาเถิดอาวุโส ท่านจงช่วยกันอุ้มเราลงจากเตียง เพราะว่า ภิกษุผู้นั่งบนอาสนะสูงเช่นเราไม่บังควรฟังคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค ภิกษุเหล่านั้น รับคำของท่านพระวักกลิแล้ว ก็ช่วยกันอุ้มท่านพระวักกลิลงจากเตียงแล้ว จึงเล่าพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค และคำของเทวดา ๒ องค์แก่พระวักกลิ

    พระวักกลิกล่าวว่า อาวุโส ถ้าเช่นนั้น ท่านจงช่วยทูลพระผู้มีพระภาคด้วยว่า

    วักกลิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนักได้รับทุกขเวทนา บัดนี้ไม่เคลือบแคลงแล้วว่า รูปไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด (ที่) ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ (สิ่งนั้น) มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ท่าน

    ท่านไม่เคลือบแคลงแล้วว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่สงสัยว่า สิ่งใด (ที่) ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ (สิ่งนั้น) มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความพอใจก็ดี กำหนัดก็ดี ความรักใคร่ก็ดี ในสิ่งนั้น มิได้มีแก่ท่าน ดังนี้

    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระวักกลิแล้วกลับไป

    ครั้งนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้น กลับไปไม่นาน ท่านพระวักกลิก็นำเอาศาตรามาได้ยินว่า พระเถระเป็นผู้มีมานะจัด มองไม่เห็นการกลับฟุ้งขึ้นมาอีก แห่งกิเลสทั้งหลาย (ที่ถูกข่มไว้ได้ด้วยสมาธิและวิปัสสนา) จึงสำคัญว่าท่านเป็นพระขีณาสพแล้ว และคิด ต่อไปอีกว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ เราจะอยู่ไปทำไม เราจักเอามีดมาฆ่าตัวตาย เมื่อคิดดังนั้นแล้วจึงได้เอามีดที่คมมาเฉือนก้านคอ ทันใดนั้น ทุกขเวทนาก็เกิดขึ้นแก่ท่าน ขณะนั้นท่านจึงทราบว่าตนเองยังเป็นปุถุชนอยู่ เลยรีบคว้าเอากัมมัฏฐานข้อเดิมมาพิจารณาเนื่องจากว่าท่านยังไม่ได้ละทิ้งกัมมัฏฐาน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วมรณภาพในทันที

    ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงถ้วยคำที่พระวักกลิฝากมากราบทูลพระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคเมื่อได้ฟังคำที่พระวักกลิฝากมากราบทูลแล้วจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า เราจะพากันไปยังที่อยู่ของพระวักกลิ แล้วจึงได้เสด็จไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พร้อมด้วยภิกษุเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงที่นั้นแล้ว ได้ทอดพระเนตรเห็น ร่างของท่านพระวักกลินอนอยู่บนเตียงแต่ไกลเทียว ในเวลานั้นก็ ปรากฏเป็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอกลอยไปมาทั่วทุกทิศ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมองเห็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไปมาทั่วทุกทิศหรือไม่? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าเห็น พระเจ้าข้า

    พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละคือมารใจหยาบช้า ค้นหาวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ด้วยคิดว่าวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งไหนหนอ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรมีวิญญาณไม่ได้ตั้งอยู่ ปรินิพพานแล้ว
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระปิงคิยเถระ

    บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตระพุทธเจ้า

    ในกัปนับจากภัทรกัปนี้ไปแสนหนึ่ง พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตระ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ได้ทรงทำให้มหาชนเป็นอันมาก ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้

    ในสมัยนั้น ท่านได้เกิดเป็นบุตรเศรษฐีอยู่ในนครหงสวดี เพียบพร้อมแวดล้อมอยู่ด้วยกามคุณทั้งหลาย ในกาลนั้น ท่านอาศัยอยู่ในปราสาท ๓ หลัง ใช้สอยโภคสมบัติมากมาย แวดล้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้องอยู่ในปราสาทนั้น นักดนตรีอันประกอบด้วยเครื่องประโคมอย่างดีมาประโคมท่าน หญิงทั้งปวงบำเรอท่าน

    สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตระ พร้อมด้วยภิกษุขีณาสพประมาณแสนรูป เสด็จดำเนินไปตามถนนด้วยกัน ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่างโชติช่วงด้วยพระรัศมี เมื่อพระองค์ผู้นำของโลกกำลังเสด็จ ไป กลองทั้งปวงยังดังก้องอยู่ รัศมีของพระองค์สว่างไสวดุจพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น ขณะนั้น พระรัศมีของพระศาสดาได้ส่องเข้าไปทางช่องหน้าต่าง ส่งแสงสว่างจ้าเข้าไปภายในเรือนของท่าน ท่านเห็นรัศมีของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กล่าวกะพวกสหายและบริวารว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเสด็จมาถึงถนนนี้เป็นแน่แล้ว ท่านจึงรีบลงจากปราสาท แล้วได้ไปสู่ถนน ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า แล้วกราบทูลดังนี้ว่า ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระทรงอนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระมุนีพระองค์นั้นพร้อมด้วยพระอรหันต์แสนรูปทรงรับนิมนต์

    ครั้นท่านนิมนต์พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้นำพระองค์มาสู่เรือนของตน อังคาสพระมหามุนีให้ทรงอิ่มหนำ ด้วยข้าวและน้ำในเรือนนั้น ท่าน ได้บำรุงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ด้วยการขับร้องและดนตรี พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ประทับนั่งอยู่ภายในเรือน ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดบำรุงเราด้วยดนตรี แลได้ถวายข้าวน้ำแก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

    คนผู้นี้จักเป็นผู้มีอาหารมากมาย มีเงิน มีโภชนะ เสวยรัชสมบัติผู้เดียวในทวีปทั้ง ๔ จักสมาทานศีล ๕ ยินดีในกรรมบถ ๑๐ ครั้นสมาทานแล้วก็ประพฤติ ยังบริษัทให้ศึกษา นางสาวแสนคน อันประดับประดาสวยงาม จักบรรเลงดนตรีบำเรอผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการบำรุง ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัป จักได้เป็นจอมเทวดา เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๖๔ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๔ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้

    ในแสนกัลปแต่กัลปนี้ พระ ศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จัก เสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือเป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักเป็น ผู้เล่าเรียน รู้จบไตรเทพ จักเที่ยวแสวงหาประโยชน์อันสูงสุดอยู่ใน แผ่นดิน ในกาลนั้น และภายหลัง เขาบวชแล้ว อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักยินดียิ่งในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม ผู้นี้จักยังพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมศากยบุตรให้โปรดปราน เผากิเลสทั้งหลาย แล้ว จักได้เป็นพระอรหันต์

    ท่านได้กระทำกรรมดีจนตลอดชีวิต ครั้นละจากภพมนุษย์นี้ไปแล้ว ก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิมนุษย์และเทวดา

    บุรพกรรมสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

    ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ท่านเกิดเป็นศิษย์คนหนึ่ง ของอาจารย์ผู้เป็นช่างไม้คนหนึ่งชาวกรุงพาราณสี ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ทางด้านช่างไม้อย่างไม่มีใครเทียบในสำนักอาจารย์ของตน ช่างไม้นั้นมีศิษย์ ๑๖ คน ศิษย์คนหนึ่ง ๆ มีศิษย์คนละ ๑,๐๐๐ คน รวมอาจารย์และศิษย์เหล่านั้นเป็น ๑๖,๐๑๗ คนอย่างนี้ ทั้งหมดนั้นอาศัยอยู่ในกรุงพาราณสี เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการเอาไม้ในแถบภูเขามาสร้างเป็นปราสาทชนิดต่าง ๆ แล้วผูกแพนำมาขายยังกรุงพาราณสีทางแม่น้ำคงคา หากพระราชาทรงต้องการก็จะสร้างปราสาทชั้นเดียว หรือเจ็ดชั้นถวาย หากไม่ทรงต้องการ ก็จะขายคนอื่นเลี้ยงบุตรภรรยา

    ลำดับนั้นวันหนึ่ง อาจารย์ของศิษย์เหล่านั้นคิดว่า เราไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการเป็นช่างไม้ได้ตลอดไป เพราะถึงคราวแก่ตัวลงก็จะทำงานนี้ได้ยาก จึงเรียกศิษย์ทั้งหลายมาบอกว่า นี่แน่ะท่านทั้งหลาย พวกท่านจงไปนำต้นไม้ที่มีแก่นน้อยมีน้ำหนักเบา เช่นต้นมะเดื่อเป็นต้นมาให้เรา ศิษย์เหล่านั้นรับคำแล้วต่างก็ ไปนำมา อาจารย์นั้นเอาไม้นั้นมาประดิษฐ์เป็นรูปนกแล้วใส่เครื่องกลไกเข้าไปภายในนกนั้น นกไม้ยนต์นั้นก็สามารถบินขึ้นสู่อากาศดุจพญาหงส์ เที่ยวไปเบื้องบนป่าแล้วบินลงเบื้องหน้าศิษย์ทั้งหลาย

    ลำดับนั้น อาจารย์จึงถามศิษย์ทั้งหลายว่า นี่แน่ะท่านทั้งหลาย เราทำพาหนะไม้เช่นนี้ได้ ก็จะสามารถยึดราชสมบัติได้ การเลี้ยงชีพด้วยศิลปะการเป็นช่างไม้ลำบาก ศิษย์เหล่านั้นจึงได้ดำเนินการตามที่อาจารย์สั่ง ครั้นสำเร็จแล้วจึงได้แจ้งให้อาจารย์ทราบ ลำดับนั้นอาจารย์จึงปรึกษากับพวกศิษย์ว่า เราจะยึดราชสมบัติที่ไหนก่อน พวกศิษย์ตอบว่า ยึดราชสมบัติกรุงพาราณสีซิ ท่านอาจารย์ อาจารย์กล่าวว่า อย่าเลยพวกท่าน ไม่ดีดอก เพราะแม้พวกเราจะยึดราชสมบัติกรุงพาราณสีได้ ก็จะไม่พ้นจากการพูดถึงอาชีพเดิมของเราคือช่างไม้ว่า เราเป็นพระราชาช่างไม้ เรามีพระยุพราชช่างไม้ ชมพูทวีปออกใหญ่โต เราไปที่อื่นกันเถิด

    ลำดับนั้น พวกศิษย์พร้อมด้วยลูกเมียขึ้นนกยนต์พร้อมด้วยอาวุธ มุ่งหน้าไปหิมวันตประเทศ เข้าไปยังนครหนึ่งในหิมวันต์ แล้วพากันบุกเข้าไปถึงพระราชมณเฑียรนั่นเองด้วยนกยนต์ ศิษย์เหล่านั้นก็สามารถยึดราชสมบัติในนครนั้นได้โดยง่าย จากนั้นจึงอภิเษกอาจารย์ไว้ในฐานะพระราชา ชื่อว่าพระเจ้ากัฏฐวาหนะ นครนั้นจึงได้ชื่อว่า กัฏฐวาหนคร

    พระราชากัฏฐวาหนะได้ทรงดำรงอยู่ในธรรม ทรงตั้งพระยุพราช และทรงตั้งศิษย์ทั้ง ๑๖ คน ไว้ในตำแหน่งอาจารย์ พระราชาทรงสงเคราะห์ศิษย์เหล่านั้นด้วยสังคหวัตถุ ๔ จึงเป็นแคว้นที่มั่งคั่ง สมบูรณ์และไม่มีอันตราย ทั้งชาวเมืองชาวชนบทนับถือพระราชาและข้าราช การเป็นอย่างยิ่ง พูดกันว่า พวกเราได้พระราชาที่ดี ข้าราชบริพารก็เป็นคนดี

    อยู่มาวันหนึ่ง พวกพ่อค้าจากมัชฌิมประเทศ นำสินค้ามาสู่กัฏฐวาหนนคร และนำเครื่องบรรณาการไปเฝ้าพระราชา พระราชาตรัสถามว่า พวกท่านมาจากไหน พวกพ่อค้าทูลว่า ขอเดชะ มาจากกรุงพาราณสีพระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามเรื่องราวทั้งหมด ณ กรุงพาราณสีนั้นแล้วตรัสว่า พวกท่านจงนำมิตรภาพของเราไปทูลกับพระราชาของพวกท่านเถิด พ่อค้าเหล่านั้นรับพระราชดำรัสแล้ว พระราชาพระราชทานเสบียงแก่พวกพ่อค้าเหล่านั้น เมื่อถึงเวลาไปยังตรัสชี้แจงด้วยความใส่พระทัย

    พวกพ่อค้ากลับไปกรุงพาราณสีได้กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระราชาตรัสว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเราจะงดเก็บส่วยของพ่อค้าที่มาจากแคว้นกัฏฐวาหะ แล้วทรงให้ป่าวประกาศว่า พระราชากัฏฐวาหนะจงเป็นพระสหายของเรา พระราชาทั้งสองได้เป็นมิตรกันโดยไม่ได้เห็นกันเลย แม้พระราชากัฏฐวาหนะ ก็ทรงให้ป่าวประกาศไปทั่วนครว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ท่านจงงดเก็บส่วยของพ่อค้าที่มาจากกรุงพาราณสี และควร ให้เสบียงแก่พวกเขาด้วย

    ลำดับนั้นพระเจ้าพาราณสี ทรงส่งพระราชสารไปถวายแด่พระเจ้ากัฏฐวาหนะว่า หากมีอะไรแปลก ๆ อันสมควรเพื่อจะเห็น เพื่อจะฟังในชนบทนั้นเกิดขึ้นเพื่อให้ข้าพระองค์ได้เห็นและได้ฟังบ้าง ก็ขอได้โปรดพระราชทานพระกรุณาด้วย พระราชกัฏฐวาหนะทรงส่งพระ ราชสารตอบถวายพระราชาพาราณสีเหมือนกัน พระราชาทั้งสองทรงกระทำกติกากันอยู่อย่างนั้น

    คราวหนึ่ง พระราชากัฏฐวาหนะได้ผ้ากัมพลเนื้อละเอียดยิ่งนัก มีค่ามากเหลือเกิน มีสีคล้ายรัศมีพระอาทิตย์อ่อน ๆ พระราชากัฏฐวาหนะทอดพระเนตรเห็นผ้ากัมพลเหล่านั้น ทรงดำริว่า เราจักส่งไปให้สหายของเราจึงให้ช่างทำงา สลักผอบงา ๘ ใบ เอาผ้ากัมพลใส่ลงในผอบเหล่านั้น ผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ๆ ยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอก ก็สามารถบรรจุลงในผอบงาใบเล็ก ๆ ได้ จากนั้นจึงให้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับครั่งทำก้อนครั่งกลมหุ้มข้างนอก เอาครั่งเป็นก้อนกลม ๘ ก้อนใส่ไว้ในสมุก เอาผ้าพันไว้ประทับตราแล้วทรงส่งอำมาตย์ไป รับสั่งว่า พวกท่านจงนำไปถวายพระราชาพาราณสี และทรงจารึกพระอักษรว่า บรรณาการนี้ อันหมู่อำมาตย์ท่ามกลางพระนครพึงสนใจ และส่งให้พวกอำมาตย์นำ ไปถวายแด่พระเจ้าพาราณสี

    พระเจ้าพาราณสีทรงอ่านคำจารึกแล้วรับสั่ง ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ ทรงแกะตราประทับแล้วคลี่ผ้าพันออก เมื่อเปิดสมุกก็ทรงเห็นก้อนครั่งกลม ๘ ก้อน พระเจ้าพาราณสีทรงอายว่าสหายของเราส่งก้อนครั่งกลมให้เรา คล้ายกับให้เด็กอ่อนเล่นก้อนครั่งกลม จึงทรงทุบก้อนครั่งก้อนหนึ่ง ณ พระที่นั่งของพระองค์ ทันใดนั้นเอง ครั่งก็ แตกออก ผอบงาจึงตกมาแล้วแยกออกเป็นสองส่วน ทอดพระ เนตรเห็นผ้ากัมพลอยู่ข้างใน จึงทรงเปิดผอบอื่น ๆ ออกดู ในผอบแต่ละใบได้บรรจุผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ๆ ยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอกเหมือน ๆ กัน มหาชนเห็นดังนั้นต่างก็ได้มีความพอใจว่า พระราชากัฏฐวาหนะ ซึ่งเป็นพระอทิฏฐสหาย (สหายที่ไม่เคยเห็นกัน) ของพระราชาของเราทรงส่งบรรณาการเช่นนี้มาถวาย การทำไมตรีเช่นนี้สมควรแล้ว พระราชารับสั่งให้เรียกพ่อค้ามาตีราคาผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ๆ พ่อค้าเห็นผ้ากัมพลนั้นแล้วกราบทูลว่า ผ้ากัมพลทั้งหลายนี้ประมาณค่ามิได้เลย ลำดับนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงดำริว่า การส่งบรรณาการตอบแทน ก็ควรจะส่งให้เหนือกว่าบรรณการที่ส่งมาถวาย สหายของเราส่งบรรณาการหาค่ามิได้มาให้เรา เราควรจะส่งอะไรให้สหายดีหนอ

    ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะทรงอุบัติขึ้นแล้ว ประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสี ครั้งนั้นพระราชาได้มีพระราชดำริว่า สิ่งอื่นจะ สูงสุดยิ่งกว่าพระรัตนตรัยไม่มี เอาเถิด เราจะส่งข่าวว่าพระรัตนตรัยเกิดขึ้นแล้ว แก่สหาย พระเจ้าพาราณสีนั้น ตรัสให้จารึกคาถานี้ว่า

    พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นพร้อมแล้วในโลก

    เพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งปวง

    พระธรรม เกิดขึ้นพร้อมแล้วในโลก

    เพื่อความสุขแก่สัตว์ทั้งปวง

    พระสงฆ์เกิดขึ้นพร้อมแล้วในโลก

    เป็นบุญเขต ที่ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า ดังนี้

    และให้จารึกการปฏิบัติของภิกษุรูปหนึ่งตราบเท่าถึงพระอรหัต ด้วยชาดสีแดงลงบนแผ่นทอง ใส่ลงในสมุกทำด้วยแก้ว ๗ ประการ ใส่สมุกนั้นลงในสมุกทำด้วยแก้วมณี ใส่สมุกทำด้วยแก้วมณีลงในสมุกแก้วตาแมว ใส่สมุกแก้วตาแมวลงในสมุกทับทิม ใส่สมุกทับทิมลงในสมุกทองคำ ใส่สมุกทองคำลงในสมุกเงิน ใส่สมุกเงินลงในสมุกงาช้าง ใส่สมุกงาช้างลงในสมุกไม้แก่น ใส่สมุกไม้แก่นลงในหีบ เอาผ้าพันหีบแล้วประทับตราพระราชลัญจกร ทรงให้นำช้างเมามันตัวประเสริฐ มีธงทองคำประดับด้วยทองคำ คลุมด้วยตาข่ายทองให้ตกแต่งบัลลังก์บนช้างนั้น แล้วยกหีบวางไว้บนบัลลังก์ กั้นเศวตฉัตร บูชาด้วยของหอมและดอกไม้ทุกชนิด ขับเพลงสรรเสริญหนึ่งร้อยบท ด้วยกังสดาลทุกชนิด เคลื่อนไป แล้วทรงให้ตกแต่งทางตลอดระยะไปจนถึงเขตรัฐสีมาของพระองค์ แล้วทรงนำไปด้วยพระองค์เอง เสด็จประทับอยู่ ณ ทางนั้น

    ทรงนำไปจนถึงเขตรัฐสีมาของพระราชากัฏฐวาหนะ พระราชากัฏฐวาหนะได้ทรงสดับข่าวนั้น ก็เสด็จมาต้อนรับ ทรงกระทำการต้อนรับเหมือนเช่นที่พระราชาแห่งกรุงพาราณสีทรงกระทำ แล้วทูลเชิญให้เสด็จเข้าพระนคร รับสั่งให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ และพวกชาวพระนคร ทรงเปลื้องผ้าพันออก ณ พระลานหลวง ทรงเปิดหีบทอดพระเนตรเห็นสมุกในหีบ แล้วทรงเปิดหีบทั้งหมดตามลำดับ ทอดพระเนตรเห็นจารึกบนแผ่นทองคำ ทรงพอพระทัยว่า สหายของเราทรงส่งรัตนบรรณาการ ซึ่งหาได้ยากอย่างยิ่งตลอด แสนกัป พวกเราได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟังว่า พุทโธ โลเก อุปปนโน พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลกดังนี้

    ทรงดำริว่า ถ้ากระไรเราควรจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และฟังพระธรรม ดังนี้แล้วตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลายมารับสั่งว่า ได้ยินว่า พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ อุบัติแล้วในโลก พวกท่านคิดว่าควรจะทำอะไร อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ประทับอยู่ ณ ที่นี้แหละ พวกข้าพระองค์จักไปฟังข่าวดู พระเจ้าข้า

    ลำดับนั้น อำมาตย์ ๑๖ คน พร้อมด้วยบริวาร ๑๖,๐๐๐ คน ถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ผิว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก พวกข้าพระพุทธเจ้าก็คงไม่มีการกลับมาเห็นอีก หากว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงอุบัติ พวกข้าพระพุทธเจ้าก็จักกลับมา กราบทูลดังนั้นแล้วก็ถวายบังคมลาแล้วก็พากันเดินทางไป ฝ่ายพระเจ้าหลานเธอของพระราชาพระองค์หนึ่ง ถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไป พระราชาตรัสว่า เมื่อเจ้าทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ ณ ที่นั้นแล้ว จงกลับมาบอกเราด้วย พระเจ้าหลานเธอรับพระบัญชาแล้วจึงได้ไป พวกเขาแม้ทั้งหมดไปตลอดทางพักเพียงราตรีเดียว ก็ถึงพระนครพาราณสี

    ในระหว่างที่พวกอำมาตย์ยังเดินทางไปกรุงพาราณสีนั่นเอง ยังไม่ทันถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จดับขันธปรินิพพานไปเสียก่อนแล้ว เมื่อเหล่าอำมาตย์มาถึง พวกเขาก็เที่ยวไปจนทั่ววิหาร แลเห็นเหล่าพระสาวกอยู่กันพร้อมหน้า จึงถามว่าใครเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน พระสาวกเหล่านั้นจึงบอกแก่พวกเขาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้ว เหล่าอำมาตย์จึงถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พระโอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานไว้ยังมีอยู่หรือไม่ พระสาวกเหล่านั้นกล่าวว่า มีอยู่ อุบาสก คือพึงตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย พึงสมาทานศีล ๕ พึงเข้าอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ พึงให้ทาน พึงปฏิบัติธรรม

    อำมาตย์เหล่านั้นครั้นได้ฟังแล้วพากันบวชทั้งหมด เว้นแต่อำมาตย์ผู้เป็นพระเจ้าหลานเธอนั้น อำมาตย์ผู้เป็นพระเจ้าหลานเธอ ถือ เอาบริโภคธาตุ (ต้นโพธิ์ บาตรและจีวร เป็นต้น ชื่อว่า บริโภคธาตุ) มุ่งหน้ากลับไปยังแคว้นกัฏฐวาหนะ พระเจ้าหลานเธอนี้ถือเอาธมกรก (หม้อกรองน้ำ) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และพาพระเถระรูปหนึ่งผู้ทรงธรรมและวินัยไปยังพระนครโดยลำดับ ได้กราบทูลพระราชาว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลกและเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้กราบทูลถึงโอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานไว้ พระราชาเสด็จเข้าไปหาพระเถระฟังธรรมแล้วรับสั่งให้สร้างวิหาร ประดิษฐานพระเจดีย์ ปลูกต้นโพธิ์ ทรงดำรงอยู่ในพระรัตนตรัย และ ศีล ๕ เป็นนิจ ทรงเข้าอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ทรงให้ทาน ทรงดำรงอยู่ตราบเท่าอายุแล้วไปยังบังเกิดในกามาวจรเทวโลก แม้อำมาตย์ ๑๖,๐๐๐ คน ก็พากันบวช แล้วมรณภาพเยี่ยงปุถุชน ยังไม่ได้มรรคผลอันใด แล้วได้ไปเกิดเป็นบริวารของพระราชาผู้เป็นเทวดานั้นนั่นเอง
    สมัยพระสมณโคดมพุทธกาล

    เมื่อเวลาผ่านไปพุทธันดรหนึ่ง ในภัทรกัป สมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรายังไม่ทรงอุบัติ พระราชาและอำมาตย์เหล่านั้นที่บังเกิดเป็นเทวดาเสวยสุขอยู่ในเทวโลกก็ได้จุติลงมาเกิดในโลกมนุษย์

    พระราชาและอำมาตย์เหล่านั้นที่บังเกิดเป็นเทวดาเสวยสุขอยู่ในเทวโลกก็ได้จุติจากเทวโลก

    พระราชาเกิดเป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้ามหาโกศลผู้เป็นพระชนกของพระเจ้าปเสนทิ มีชื่อว่า พาวรี ประกอบด้วย มหาปุริสลักษณะ ๓ ประการ ได้เล่าเรียนวิชาพราหมณ์จนจบไตรเทพ ครั้นเมื่อบิดาล่วงลับไปก็ได้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตแทน

    ส่วนอำมาตย์ผู้ใหญ่ ๑๖ คนนั้น ในภพสุดท้ายนี้ หนึ่งในนั้นก็ถือปฏิสนธิในครอบครัวพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาได้ตั้งชื่อว่า ปิงคิยะ และอำมาตย์ผู้ใหญ่ที่เหลืออีก ๑๕ คน และอำมาตย์ที่เป็นบริวารอีก ๑๖,๐๐๐ คน ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่กรุงสาวัตถีนั้นนั่นเอง

    ท่าน ปิงคิยะเมื่อมีอายุพอจะศึกษาศิลปวิทยาแล้ว บิดามารดาจึงนำไปฝากเป็นศิษย์คนหนึ่งในจำนวนศิษย์ ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ซึ่งท่านและศิษย์ผู้ใหญ่อีก ๑๕ คนนั้นต่างก็มีศิษย์คนละ ๑,๐๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๑๖,๐๐๐ คน

    เมื่อพระราชามหาโกศลได้เสด็จสวรรคต พระเจ้าปเสนทิจึงได้อภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ พาวรีพราหมณ์ก็ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทินั้นอีก พระราชาได้พระราชทานสิ่งของที่พระชนกพระราชทานไว้ และสมบัติอื่นแก่พาวรีปุโรหิตเป็นอันมาก พระราชานั้นเมื่อยังทรงพระเยาว์ ก็ได้เรียนศิลปะในสำนักของพาวรีปุโรหิตเหมือนกัน

    พาวรีปุโรหิตออกบวช

    ลำดับนั้น พาวรีได้ทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์จักบวช พระราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์ เมื่อท่านดำรงอยู่ก็เหมือนบิดาของข้าพเจ้ายังอยู่ ท่านอย่าบวชเลย พาวรีทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์จักบวชแน่พระเจ้าข้า พระราชาเห็นว่าไม่ทรงสามารถห้ามได้ จึงทรงขอร้องว่า ขอท่านจงบวชอยู่ในพระราชอุทยานนี้เถิด ข้าพเจ้าจะได้เห็นทุกเย็นและเช้า อาจารย์พร้อมด้วย ศิษย์ ๑๖ คน กับบริวารอีก ๑๖,๐๐๐ คน ได้บวชเป็นดาบสอยู่ในพระราชอุทยาน พระราชาทรงบำรุงด้วยปัจจัย ๔ เสด็จไปทรงอุปัฏฐากอาจารย์นั้น ทุกเวลาเย็นและเวลาเช้า

    พราหมณ์พาวรีย้ายสำนักออกไปนอกพระนคร

    อยู่มาวันหนึ่งศิษย์ทั้งหลายกล่าวกะอาจารย์ว่า การอยู่ใกล้พระนครมีเครื่องพัวพันมาก ท่านอาจารย์เราไปหาโอกาสที่ไม่มีชนรบกวนเถิด ชื่อว่าการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นประโยชน์มากแก่บรรพชิตทั้งหลาย อาจารย์ รับว่า ดีละ จึงไปทูลพระราชา พระราชาตรัสห้ามถึง ๓ ครั้งก็ไม่สามารถจะห้ามได้ จึงพระราชทานกหาปณะ ๒๐๐,๐๐๐ กหาปณะ รับสั่งกะอำมาตย์ทั้ง หลายว่า พวกเจ้าทรงสร้างอาศรมถวาย ในที่ที่คณะฤๅษีปรารถนาจะอยู่เถิด แต่นั้นอาจารย์พร้อมด้วยชฏิล ๑๖,๐๐๐ เป็นบริวาร ได้รับอนุเคราะห์จากพวก อำมาตย์จึงออกจากอุตตรชนบท มุ่งหน้าไปทักษิณชนบท

    ครั้นเมื่อพาหมู่คณะเดินทางมาถึงบริเวณใกล้พรมแดนใน ระหว่างสองแคว้น คือ แคว้นอัสสกะและแคว้นมุฬกะซึ่งเป็นภุมิประเทศที่ แม่น้ำโคธาวารีแยกออกเป็นสองสาย แล้วมาบรรจบกันอีกครั้งหนึ่ง เกิดเป็นเกาะกว้างยาวประมาณ ๓ โยชน์ เกาะทั้งหมดปกคลุมไปด้วยป่ามะขวิด เมื่อก่อน ณ บริเวณนั้นสรภังคดาบสเป็นต้นได้อาศัยอยู่

    อาจารย์เห็นเช่นนั้นแล้วจึงประกาศแก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า ประเทศนี้เป็นที่อยู่ของสมณะมาก่อน ประเทศนี้สมควรแก่นักบวช พวกอำมาตย์จึงได้ให้ทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ แก่พระเจ้าอัสสกะ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ให้แก่พระเจ้ามุฬกะ เพื่อการครอบครองถือเอาภูมิประเทศนั้น พระราชาทั้งสองนั้นได้พระราชทานที่บริเวณเกาะนั้นและบริเวณอื่นประมาณ ๒ โยชน์ รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๕ โยชน์ ซึ่งอยู่ในระหว่างเขตรัฐสีมาของพระราชาเหล่านั้น พวกอำมาตย์ก็ได้สร้างอาศรม ณ ที่นั้นแล้วและให้นำทรัพย์มาจากกรุงสาวัตถีมาจัดตั้งเป็นโคจรคามเสร็จแล้วพากันกลับไป

    พาวรีพราหมณ์และเหล่าศิษย์ ทั้ง ๑๖,๐๑๖ คนก็เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยการเที่ยวภิกขาและผลไม้ ต่อมาก็ได้มีชาวบ้านซึ่งเลื่อมใสในวัตรของพราหมณ์ เข้ามาปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอยู่บนที่ดินของพราหมณ์เหล่านั้น โดยได้รับอนุญาตจากพวกพราหมณ์ เกิดเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ชาวบ้านที่อาศัยพราหมณ์พาวรีนั้นก็เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยผลอันเกิดจากการกสิกรรม ครั้นครบรอบปีเหล่าชาวบ้านก็รวบรวมเงินจากแต่ละครอบครัวเพื่อเป็นส่วยให้แก่พระราชา และถือเอาส่วยนั้นไปเฝ้าพระเจ้าอัสสกะ ทูลกับพระราชาว่า ขอพระองค์ทรงรับส่วยนี้เถิด พระเจ้าอัสสกะตรัสว่า เราไม่รับ พวกท่านจงนำไปถวายอาจารย์เถิด พวกชาวบ้านก็นำส่วย ๑๐๐,๐๐๐ นั้นมามอบต่อพาวรีพราหมณ์

    พาวรีพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเราต้องการเงินทอง ก็ไม่พึงสละทรัพย์สินมากมายของเราออกบวช พวกท่านจงรับเอากหาปณะของพวกท่านคืนไปเสีย พวกชาวบ้านบอกว่า พวกเราจะไม่ยอมรับทรัพย์ที่พวกเราบริจาคแล้วอีก ยิ่งไปกว่านั้นพวกเราจะนำทรัพย์มาให้ท่านทำนองนี้ทุก ๆ ปี ถ้าท่านไม่รับเพื่อประโยชน์ตนเองละก็ ขอท่านจงรับกหาปณะเหล่านี้ไว้ให้ทานก็แล้วกัน พราหมณ์จึงยอมรับทรัพย์ดังกล่าวไว้ โดยเก็บไว้ในเพื่อการให้ทานแก่ผู้กำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจก

    อาจารย์นั้นกระทำมหายัญคือ คือการให้ทานจากทรัพย์ดังกล่าวเป็นประจำทุก ๆ ปี ปีละครั้งอย่างนี้ กิติศัพท์การทำมหาทานของพราหมณ์พาวรีก็กระจายไปทั่วชมพูทวีป

    พราหมณ์พาวรีโดนพราหมณ์ผู้มาขอรับทานสาปแช่ง

    ครั้งนั้น ในหมู่บ้านทุนนวิตถะ ในแคว้นกลิงคะ นางพราหมณีสาว ผู้เป็นภริยาของพราหมณ์เฒ่าผู้เกิดมาในวงศ์ของชูชกพราหมณ์ ได้ทราบข่าวการทำทานดังกล่าวของพราหมณ์พาวรี จึงลุกขึ้นเตือนพราหมณ์ผู้เป็นสามีว่า เขาว่า พาวรีกำลังให้ทาน ท่านจงไปรับบริจาคเงินทองมาจากที่นั้น พราหมณ์นั้นถูกพราหมณีพูดดังนั้นก็ไม่อาจทนอยู่ได้จึงได้ออกเดินทางไปยังสำนักของพราหมณ์พาวรี ครั้นเมื่อไปถึง ก็เป็นวันที่พราหมณ์พาวรีได้กระทำมหาทานไปเสียแล้วตั้งแต่เมื่อวันวาน ซึ่งเมื่อให้ทานแล้ว พราหมณ์พาวรีก็เข้าบรรณศาลากำลังนอนนึกถึงทานที่ตนได้กระทำไปนั้น

    ครั้นเข้าไปถึงก็พูดว่า “ท่านพราหมณ์ โปรดให้ทานแก่ข้าเถิด ท่านพราหมณ์โปรดให้ทานแก่ข้าเถิด”

    พาวรีพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านมาไม่ถูกเวลา เราให้ทานแก่พวกยาจกที่มาถึงไปแล้ว บัดนี้ไม่มีกหาปณะดอก”

    พราหมณ์พูดว่า “ท่านพราหมณ์ ข้าไม่ต้องการกหาปณะมากมายเลย ข้าขอเพียง ๕๐๐ กหาปณะ ”

    พาวรีพราหมณ์ “ท่านพราหมณ์ ๕๐๐ กหาปณะก็ไม่มี เมื่อถึงเวลาให้ทานครั้งหน้า ท่านจึงได้”

    พราหมณ์พูดว่า “ก็เวลาท่านให้ทาน ข้าจักมาได้อย่างไร” แล้วจึงทำกลอุบายเพื่อให้พาวรีพราหมณ์เกิดความกลัว โดยก่อทรายเป็นสถูปใกล้ประตูบรรณศาลา โรยดอกไม้สีแดงไปรอบ ๆ ทำปากขมุบ ขมิบเหมือนบ่นมนต์แล้วพูดว่า “เมื่อเราขอ แล้วท่านไม่ให้ไซร้ ในวันที่ ๗ ศีรษะของท่านจะแตก ๗ เสี่ยง”

    พราหมณ์พาวรีฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ก็เกิดสะดุ้งหวาดกลัว เป็นผู้มีทุกข์ซูบซีด ไม่บริโภคอาหาร เมื่อเป็นผู้เต็มไปด้วยความทุกข์อย่างนี้ ใจก็ไม่ยินดีในการบูชาเทพและเทวดาทั้งหลาย

    เทวดาบอกปริศนาธรรม

    เทวดาผู้สถิตอยู่ ณ บรรณศาลานั้น เห็นพราหมณ์พาวรีมีทุกข์สะดุ้งหวาดหวั่น จึงเข้าไปหาพราหมณ์พาวรีแล้วได้กล่าวว่า พราหมณ์นั้นไม่รู้จักศีรษะ เป็นผู้หลอกลวง ต้องการทรัพย์ ไม่มีความรู้ในในเรื่อง ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ฯ

    พราหมณ์พาวรีถามว่าบัดนี้ ท่านรู้จักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอก ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะฟังคำของท่าน ฯ

    เทวดาตอบว่าแม้เราก็ไม่รู้ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป เราไม่มีความรู้ในธรรมทั้ง ๒ นี้ ปัญญาเป็นเครื่องเห็นธรรมอันเป็นศีรษะและธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ย่อมมีเฉพาะในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ

    พราหมณ์พาวรีถามว่า ในปัจจุบันนี้ มีใครเล่าในปฐพีมณฑลนี้ที่รู้ ขอท่านเทวดาจงบอกบุคคลผู้รู้ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไปนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด ฯ

    เทวดาบอกเรื่องพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ

    เทวดาตอบว่าดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคผู้ศากยบุตร ลำดับพระวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช มีพระรัศมีรุ่งเรือง เป็นนายกของโลกเสด็จออกผนวชจากพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ทรงบรรลุอภิญญาและทศพลญาณครบถ้วน ทรงมีพระจักษุในสรรพธรรม ทรงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง ทรงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นตรัสรู้แล้วในโลก มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรม ท่านจงไปทูลถามพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเถิด พระองค์จักตรัสพยากรณ์ข้อความนั้นแก่ท่าน ฯ

    พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำว่า สัมพุทโธ ก็เป็นผู้มีใจเฟื่องฟู ความโศกสลดก็เบาบางลงไป และเกิดปีติอันท่วมท้น มีใจชื่นชมเบิกบานเกิดความโสมนัส จึงถามเทวดานั้นว่า พระโลกนาถประทับอยู่ในคามนิคมหรือในชนบทไหน ข้าพเจ้าจะไปนมัสการพระบรมศาสดาได้ในที่ใด ฯ

    เทวดาตอบว่าพระชินเจ้าผู้ศากยบุตร ทรงมีพระปัญญามาก มีพระปัญญาประเสริฐกว้างขวาง ทรงปราศจากธุระ หาอาสวะมิได้ องอาจกว่านระ ทรงรู้ธรรมเป็นศีรษะและธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ประทับอยู่ในมณเฑียรของชนชาวโกศลในพระนครสาวัตถี ฯ

    พราหมณ์พาวรีส่งศิษย์ ๑๖ คนไปเฝ้าพระศาสดา

    ลำดับนั้น พราหมณ์พาวรี เรียกพราหมณ์ทั้งหลายซึ่งเป็นศิษย์มาสั่งว่า ดูกรมาณพทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาเถิด เราจักบอกแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังคำของเรา บัดนี้ พระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ท่านทั้งหลายจงรีบไปเมืองสาวัตถี เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์เถิด ฯ

    พราหมณ์ผู้เป็นศิษย์ทั้งหลายซักถามว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ บัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เห็นแล้วจะพึงรู้ว่า ท่านผู้นี้เป็นพระสัมพุทธเจ้าได้อย่างไรเล่า ขอท่านจงบอกสิ่งที่จะทำให้ข้าพเจ้าทั้งหลายจะได้รู้จักพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด ฯ

    พราหมณ์พาวรีกล่าวว่า ก็มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษ ที่ท่านทั้งหลายเล่าเรียนมามาแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่พราหมณาจารย์ทั้งหลายพยากรณ์ไว้ว่า ถ้ามหาปุริสลักษณะนั้น มีอยู่ในวรกายของพระมหาบุรุษใด พระมหาบุรุษนั้น จะเป็นได้ ๒ อย่างเท่านั้น คือ ถ้าพระมหาบุรุษนั้นอยู่ครองเรือน จะพึงเป็นพระบรมมหาจักรพรรดิ์ จะทรงมีชัยชนะทั่วปฐพีนี้ จะทรงปกครองโดยธรรม ด้วยไม่ต้องใช้อาชญาไม่ต้องใช้ศาตรา ถ้าออกบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม

    พราหมณ์พาวรีสั่งให้ศิษย์ถามปัญหา ๗ ข้อกับพระศาสดา

    เมื่อท่านทั้งหลายเห็นพระมหาบุรุษผู้ประกอบไปด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการดังนี้ ท่านทั้งหลายก็จงกล่าวถามในใจ ถึง ๑. ชาติ (อายุ) ๒. โคตร ๓. ลักษณะ ๔. มนต์ และ ๕. ศิษย์เหล่าอื่นอีก และถามถึงปริศนาธรรมเรื่อง ๖. ธรรมอันเป็นศีรษะ และ ๗. ธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ถ้าว่าท่านนั้นเป็นพระพุทธเจ้าจริงแท้แล้ว ท่านก็จักตอบปัญหาที่ท่านทั้งหลายกล่าวถามในใจ ด้วยวาจาได้ ฯ

    พราหมณ์มาณพผู้เป็นศิษย์ ๑๖ คน คือ อชิตะ ๑ ติสสเมตเตยยะ ๑ ปุณณกะ ๑ เมตตคู ๑ โธตกะ ๑ อุปสีวะ ๑ นันทะ ๑ เหมกะ ๑ โตเทยยะ ๑ กัปปะ ๑ ชตุกัณณี ๑ ภัทราวุธะ ๑ อุทยะ ๑ โปสาลพราหมณ์ ๑ โมฆราช ๑ ปิงคิยะ ๑ ได้ฟังคำของพราหมณ์พาวรีแล้วก็ลาอาจารย์ กระทำประทักษิณแล้ว บ่ายหน้าต่อทิศอุดร มุ่งไปยังที่ตั้งแห่งแคว้นมุฬกะ เมืองมาหิสสติ

    ในคราวนั้น พราหมณ์ทั้ง ๑๖ คนได้เดินทางผ่านเมืองอุชเชนี เมืองโคนัทธะ เมืองเวทิสะ เมืองวนนคร เมืองโกสัมพี เมืองสาเกต จนถึงเมืองสาวัตถี

    พระบรมศาสดาเสด็จออกจากกรุงสาวัตถีเพื่อบ่มอินทรีย์ของเหล่าพราหมณ์ให้แก่กล้า

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ศิษย์ของพาวรีพราหมณ์ทั้ง ๑๖ คน มาพร้อมด้วยมหาชนเป็นอันมาก ทรงพระดำริว่า อินทรีย์ของพราหมณ์เหล่านั้นยังไม่แก่กล้าเพียงพอ อีกทั้งถิ่นนี้ก็ยังไม่เป็นที่สบายเหมาะแก่พราหมณ์ทั้งหลาย ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า ปาสาณกเจดีย์ในเขตแคว้นมคธเป็นที่สบายเหมาะแก่พราหมณ์เหล่านั้น ถ้าเราแสดงธรรมในที่นั้น มหาชนก็จักบรรลุธรรม อีกทั้งพวกพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อเดินทางผ่านเข้าไปยังเมืองต่าง ๆ ก็จะมีมหาชนตามมามากยิ่งขึ้นไปอีก ผู้บรรลุธรรมก็จักมีมากขึ้น จะเป็นประโยชน์อันมหาศาล

    ครั้นทรงพระดำริเช่นนั้นแล้ว จึงทรง เสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ออกจากกรุงสาวัตถีบ่ายพระพักตร์ไปยังกรุงราชคฤห์ ก่อนที่พวกพราหมณ์จะมาถึง พวกพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อก็มาถึงกรุงสาวัตถี เข้าไปสู่วิหาร เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ครั้นทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีไปแล้ว ก็พากันเข้าไปถึงพระคันธกุฏี ได้เห็นรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แน่ใจว่า เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าแน่แล้ว เพราะจากลักษณะของรอยพระบาทเป็นรอยของผู้หมดกิเลสแล้ว เมื่อทราบดังนั้นแล้วจึงได้ออกเดินทางตามพระบรมศาสดาไป

    พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าสู่พระนครมีเสตัพยนครและกรุงกบิล พัสดุ์ เมืองกุสินารา เมืองมันทิระ เมืองปาวาโภคนคร เมืองเวสาลี เมืองราชคฤห์ เป็นต้นตามลำดับ หมู่พราหมณ์ทั้ง ๑๖ คนก็ได้เดินทางพร้อมทั้งศิษย์ ๑๖,๐๐๐ คน ผ่านตามเมืองที่พระบรมศาสดาเสด็จผ่าน ผ่านเข้าเมืองใด มหาชนในเมืองเหล่านั้นก็ออกเดินทางติดตามมาอีกเป็นอันมากเพื่อจะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา

    จนกระทั่งเสด็จไปถึงปาสาณกเจดีย์ แขวงเมืองราชคฤห์ ก็ทรงหยุดประทับอยู่ ณ ที่นั้น พวกเหล่าพราหมณ์และมหาชนก็ได้ตามพระบรมศาสดาจนถึงปาสาณกเจดีย์ ครั้นได้ฟังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ ณ ที่นี้ ก็เกิดปิติ ปราโมทย์พากันขึ้นภูเขาไปสู่พระเจดีย์นั้น เหมือนบุคคลผู้กระหายน้ำย่อมยินดีต่อน้ำเย็น เหมือนพ่อค้ายินดีต่อลาภใหญ่ และเหมือนบุคคลถูกความร้อนแผดเผายินดีต่อร่มเงา ฉะนั้น

    ก็ในขณะนั้นพระผู้มีพระภาค แวดล้อมด้วยหมู่พระภิกษุสงฆ์ ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ ประหนึ่งราชสีห์บันลือเสียงกังวานกระหึ่มอยู่ในป่า

    อชิตมาณพทูลถามปัญหาโดยถามในใจ

    อชิตมาณพได้เห็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระรัศมีเรื่อเรืองเหลืองอ่อน ถึงความบริบูรณ์ดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ลำดับนั้นอชิตมาณพได้เห็นพระมหาปุริสลักษณะทั้ง ๓๒ ประการในพระกายของพระผู้มีพระภาคนั้นแล้วก็มีความร่าเริง ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ทูลถามปัญหาในใจว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกอ้าง (ชาติ) อายุ โคตร พร้อมทั้งลักษณะ และขอได้ตรัสบอกการถึงความสำเร็จในมนต์ทั้งหลายแห่งอาจารย์ของข้าพระองค์เถิด พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพระองค์ย่อมบอกมนต์กะศิษย์มีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ก็พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของท่านนั้น มีอายุร้อยยี่สิบปี ชื่อพาวรีโดยโคตรลักษณะในกายของพราหมณ์พาวรีนั้นมี ๓ ประการ พราหมณ์พาวรีนั้นเรียนจบไตรเพท ในตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ คือ คัมภีร์อิติหาสพร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภศาสตร์ ถึงซึ่งความสำเร็จในธรรมแห่งพราหมณ์ของตน ย่อมบอกมนต์กะมาณพ ๕๐๐ ฯ

    อชิตมาณพทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน ขอพระองค์จงบอกลักษณะทั้งหลายของพราหมณ์พาวรี ขอทรงบอกเพื่อมิให้ข้าพระองค์มีความสงสัยเถิด ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมาณพ พราหมณ์พาวรีนั้น ย่อมปกปิด หน้าผากของตนด้วยลิ้นได้ มีขนขึ้นเป็นรูปอุณณาโลมชาติในระหว่างคิ้ว มีคุยหฐานอยู่ในฝัก ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ฯ

    มหาชนทั้งหลาย ไม่ได้ยินเสียงใครที่ถามปัญหานั้นเลย เมื่อได้ฟังคำตอบที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แล้ว เกิดความพิศวง มีความโสมนัสประนมอัญชลี แล้วสรรเสริญว่า พระผู้มีพระภาคเป็นอะไรหนอ เป็นเทวดาหรือเป็นพรหม หรือเป็นท้าวสุชัมบดีจอมเทพ จึงได้ทราบถึงปัญหาอันมีผู้ถามในใจ ฯ

    อชิตมาณพ ครั้นได้สดับการพยากรณ์ปัญหา ๕ ข้อแล้ว เมื่อจะทูลถาม ปัญหาสองข้อที่เหลือจึงกราบทูลว่า

    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ท่านพราหมณ์พาวรีถามถึงธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ขอพระองค์ตรัสพยากรณ์ข้อนั้นกำจัดความสงสัยของพวกข้าพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์เสียเถิด ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านจงรู้เถิดว่า อวิชชาชื่อว่าธรรมเป็นศีรษะ วิชชาประกอบด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ ชื่อว่าเป็นธรรมเครื่องให้ศีรษะตกไป

    เพราะอวิชชาเป็นความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ เป็นศีรษะแห่งสังสารวัฏ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อวิชชาชื่อว่าธรรมเป็นศีรษะ

    อนึ่ง เพราะอรหัตมรรควิชชา (วิชชาในอรหัตมรรค) ประกอบ ด้วย ศรัทธาสติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ อันเกิดร่วมกับตนยังศีรษะให้ตกไป เพราะเข้าถึงธรรมเป็นศีรษะด้วยความตั้งอยู่ในรสอันเดียวกันของอินทรีย์ทั้งหลาย

    ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิชชาเป็นธรรมเครื่องให้ศีรษะตกไป.

    ลำดับนั้น อชิตมาณพมีความโสมนัสเป็นอันมาก เบิกบานใจ กระทำหนังเสือเหลืองเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงแทบพระบาทยุคลด้วยเศียรเกล้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ ผู้มีพระจักษุ พราหมณ์พาวรี พร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลายขอไหว้พระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาค ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรมาณพ พราหมณ์พาวรีพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ถึงความสุขเถิด ครั้นตรัสแล้วจึงทรงปวารณาว่า จงถามความสงสัยทุก ๆ อย่างของพราหมณ์พาวรี หรือของท่านเถิด

    อชิตมาณพครั้นเห็นพระพุทธองค์ประทานพระวโรกาสให้ทูลถามปัญหาที่สงสัยเช่นนั้น ก็นั่งลงประนมอัญชลี ทูลถามปัญหาต่อพระตถาคต ณ ที่นั้น ตามที่ปรากฎในอชิตมาณวกปัญหานิทเทส

    ครั้นเมื่อจบพระคาถาที่พระพุทธองค์ตรัสตอบปัญหา อชิตมาณพ พร้อมด้วยเหล่าศิษย์ทั้ง ๑,๐๐๐ คนก็บรรลุพระอรหัตเป็นเอหิภิกขุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ มีผม ๒ องคุลี นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค และโสดาปัตติมรรคก็บังเกิดขึ้นแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน

    ในบรรดาศิษย์ทั้ง ๑๖ คนนั้น โมฆราชมาณพถือตัวว่าเป็นผู้มีความรู้ยิ่งกว่าทุกคน ท่านคิดว่า อชิตมาณพนี้เป็นหัวหน้าของศิษย์ทุกคน เราไม่ควรถามปัญหาก่อน เพราะความเคารพในตำแหน่งผู้นำของอชิตมาณพนั้น ท่านจึงไม่ถามก่อน ครั้นเมื่ออชิตมาณพนั้นถามปัญหาแล้ว จึงถามปัญหาต่อพระศาสดาเป็นคนที่สอง

    พระศาสดาทรงดำริว่า โมฆราชมาณพเป็นคนถือตัว ทั้งญาณของเขาก็ยังไม่แก่กล้าเต็มที่ ควรจะต้องทำให้ความถือตัวของเขาค่อย ๆ หมดไป จึงตรัสว่า โมฆราชเธอจงคอยก่อน ให้คนอื่น ๆ ถามปัญหาก่อน

    โมฆราชมาณพนั้น ครั้นถูกห้ามโดยพระศาสดาเช่นนั้น ก็คิดว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ เราเข้าใจว่า ไม่มีคนที่จะเป็นบัณฑิตเกินกว่าเรา ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถ้าไม่ทรงทราบความในใจ ย่อมไม่ตรัส พระศาสดาคงจักทรงเห็นโทษในการถามของเราเป็นแน่ เมื่อคิดได้ดังนั้นจึงนิ่งเสีย

    จากนั้น ติสสเมตเตยยพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๒

    จากนั้น ปุณณกพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๓

    จากนั้น เมตตคูพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๔

    จากนั้นโธตกพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๕

    จากนั้นอุปสีวพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๖

    จากนั้นนันทพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๗

    จากนั้นเหมกพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๘

    จากนั้นโตเทยยพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๙

    จากนั้นกัปปพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๑๐

    จากนั้นชตุกัณณิกพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๑๑

    จากนั้นภัทราวุธพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๑๒

    จากนั้นอุทยพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๑๓

    จากนั้นโปสาลพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๑๔

    จากนั้นโมฆราช พราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๑๕

    เมื่อจบพระคาถาที่พระพุทธองค์ตรัสตอบปัญหาแก่พราหมณ์แต่ละท่านนั้น พราหมณ์ท่านนั้นพร้อมด้วยเหล่าศิษย์ทั้ง ๑,๐๐๐ คนก็บรรลุพระอรหัตเป็นเอหิภิกขุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ มีผม ๒ องคุลี นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคอยู่

    ปิงคิยะทูลถามปัญหาของตน

    จากนั้นก็ถึงลำดับของปิงคิยพราหมณ์ เป็นลำดับที่ ๑๓ ปิงคิยะเ มื่อจะทูลถามความสงสัยของตน จึงถามปัญหาว่า

    ข้าพระองค์เป็นคนแก่แล้ว มีกำลังน้อย ผิวพรรณเศร้าหมองนัยน์ตาทั้งสองของข้าพระองค์ไม่ผ่องใส (เห็นไม่จะแจ้ง)หูสำหรับฟังก็ไม่สะดวก ขอข้าพระองค์อย่างได้เป็นคนหลงฉิบหายเสียในระหว่างเลยขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์ควรรู้ ซึ่งเป็นเครื่องละชาติและชราในอัตภาพนี้เสียเถิด ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า

    ดูกรปิงคิยะ ชนทั้งหลายได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้เดือดร้อนอยู่ เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังเป็นผู้ประมาทก็ย่อยยับอยู่เพราะรูปทั้งหลาย

    ดูกรปิงคิยะเพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นคนไม่ประมาทละรูปเสียเพื่อความไม่เกิดอีก ฯ

    ท่านปิงคิยะฟังเทศนาข้อปฏิบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ตราบเท่าถึงพระ อรหัตนี้ ก็ยังไม่บรรลุคุณวิเศษ เพราะชรา มีกำลังน้อย เมื่อจะทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเทศนาแก่ท่านอีก จึงทูลว่า

    ทิศใหญ่สี่ ทิศน้อยสี่ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ รวมเป็นสิบทิศ สิ่งไรๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังไม่ได้ทราบ หรือไม่ได้รู้แจ้ง มิได้มี

    ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์ควรรู้ เป็นเครื่องละชาติและชราในอัตภาพนี้เถิด ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ดูกรปิงคิยะ เมื่อท่านเห็นหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้วเกิดความเดือดร้อน อันชราถึงรอบข้าง

    ดูกรปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นคนไม่ประมาทละตัณหาเสีย เพื่อความไม่เกิดอีก ฯ

    จบเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ ท่านปิงคิยะได้ตั้งอยู่ ในอนาคามิผล.มิได้บรรลุพระอรหัตเหมือนเช่นพราหมณ์คนอื่น ๆ นัยว่า ท่านปิคิยะนั้นคิดอยู่ในระหว่างที่พระบรมศาสดาเทศนาอยู่ว่า พาวรีพราหมณ์ผู้เป็นลุงของเรา ไม่ได้ฟังเทศนาอันมีปฏิภาณวิจิตรอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านปิงคิยะจึงไม่สามารถบรรลุพระอรหัตได้ เพราะความฟุ้งซ่านด้วยความมีเยื่อใยในพาวรีพราหมณ์ผู้เป็นลุงของตน. แต่พราหมณ์ผู้เป็นศิษย์ทั้ง๑,๐๐๐ คนของท่านปิงคิยะก็ได้บรรลุพระ อรหัต ทั้งหมดได้เป็นอหิภิกขุ ผู้ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ด้วยประการฉะนี้
    พระปิงคิยเถระแจ้งข่าวแก่พาวรีพราหมณ์

    จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุ ๑๖,๐๐๐ รูปก็ได้เสด็จไปยัง กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้น ท่านปิงคิยะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์จะไปบอกพาวรีพราหมณ์ ถึงการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า เพราะข้าพระองค์ได้ปฏิญาณแก่พาวรีพราหมณ์ไว้เช่นนั้น

    ครั้นเมื่อท่านปิงคิยเถระได้รับพระอนุญาตจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เดินทางไปถึงฝั่งแม่น้ำโคธาวรีด้วยยานพาหนะ แล้วจึงเดินต่อไปด้วยเท้ามุ่งหน้าไปยังอาศรมของพาวรีพราหมณ์ ครั้นเมื่อพาวรีพราหมณ์เห็นท่านปิงคิยะเดินมาด้วยเพศของภิกษุ ก็สันนิษฐานเอาว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลก จึงถามท่านปิงคิยะนั้นว่า พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้วหรือ

    ท่านปิงคิยะตอบว่า ถูกแล้วพราหมณ์ พระ พุทธเจ้าประทับนั่ง ณ ปาสาณกเจดีย์ ทรงแสดงธรรมแก่พวกเรา

    พาวรีพราหมณ์บอกว่า ข้าพเจ้าจักฟังธรรมของท่าน. แล้วพาวรีพราหมณ์ พร้อมด้วยบริษัทก็ได้บูชาท่านปิงคิยะด้วยสักการะเป็นอันมาก แล้วให้ปูอาสนะ ท่านปิงคิยะนั่งบนอาสนะนั้นแล้วกล่าวสรรเสริญพระคุณอังยิ่งใหญ่แห่งพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ครั้นเวลาจบคาถาสรรเสริญคุณของพระพุทธองค์นี้ พระผู้มีพระภาคซึ่งทรงประทับอยู่ ณ นครสาวัตถีนั้นเอง ได้ทรงทราบว่าความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของพระปิงคิยะและพราหมณ์พาวรีได้เกิดขึ้นแล้ว จึงทรงทรงเปล่งพระรัศมีดุจทองออกไปยัง ณ ที่อาศรมของพาวรีพราหมณ์ พระปิงคิยะกำลังนั่งพรรณนาพระพุทธคุณแก่พราหมณ์พาวรีอยู่ ได้เห็นพระรัศมีแล้วคิดว่า นี้อะไร เหลียวแลไป ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประหนึ่งประทับอยู่เบื้องหน้าตน จึงบอกแก่พราหมณ์พาวรีว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว

    พราหมณ์พาวรีได้ลุกจากอาสนะประคองอัญชลียืนอยู่ แม้พระผู้มีพระภาค เมื่อทรงแผ่พระรัศมีแสดงพระองค์แก่พราหมณ์พาวรีแล้ว ทรงทราบถึงธรรมอันเป็นที่สมควรแก่พระปิงคิยะและพราหมณ์พาวรีทั้งสองจึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

    ดูกรปิงคิยะ พระวักกลิ พระภัทราวุธะ และพระอาฬวีโคดม ได้บรรลุอรหัตด้วยศรัทธาธุระ ฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาลง ฉันนั้น


    ดูกรปิงคิยะเมื่อท่านน้อมลงด้วยศรัทธา ปรารภวิปัสสนา โดยนัยเป็นต้นว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ก็จักถึงนิพพาน อันเป็นฝั่งโน้นแห่งวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมัจจุราช ฯ

    เมื่อจบเทศนา ท่านปิงคิยะตั้งอยู่ในอรหัตผล พาวรีพราหมณ์ตั้งอยู่ ในอานาคามิผล ส่วนบริษัท ๕๐๐ ของพาวรีพราหมณ์ได้เป็นโสดาบัน
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระภคุเถระ

    กระทำมหาทานแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า

    พระเถระรูปนี้ ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตระ ท่านพระภคุเถระนี้ เกิดอยู่ในตระกูลสูง เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ท่านได้บูชาพระธาตุทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นด้วยดอกไม้ทั้งหลายด้วยจิตอันเลื่อมใสศรัทธา ด้วยบุญกรรมนั้น เมื่อท่านสิ้นชีวิตแล้ว ก็ได้บังเกิดเป็นเทพในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี และเวียนว่ายตายเกิดไป ๆ มา ๆ ในระหว่างเทวโลก และมนุษยโลก

    กำเนิดเป็นเจ้าภคุศากยะในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    พระบรมศาสดาทรงอุบัติ

    เมื่อพระโพธิสัตว์ของเราจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต มาถือปฏิสนธิในครรภ์ของอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช และประสูติออกมาทรงพระนามว่าเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านก็มาถือปฏิสนธิเป็น เจ้าภคุ แห่งศากยวงศ์ เป็นเพื่อนเล่นกับเจ้าศากยอีกหลายพระองค์ เช่น เจ้าอนุรุทธ เจ้าภัททิยะ เจ้ากิมพิละ เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงเจริญวัยโดยลำดับ ทรงครองเรือนอยู่ ๒๙ ปี แล้วทรงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ทรงยับยั้งที่โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ ประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ทรงกระทำการอนุเคราะห์โลก ครั้นเมื่อพระเจ้าสุทโธทนทรงสดับข่าวว่าพระบรมศาสดามายังกรุงราชคฤห์ จึงทรงรับสั่งให้อำมาตย์กาฬุทายี ไปนิมนต์พระบรมศาสดา อำมาตย์กาฬุทายีก็ได้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา แล้วพระกาฬุทายีเถระทูลวิงวอนให้เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดายัง ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ในครั้งนั้นทรงทำพระธรรมเทศนาอันวิจิตรแก่พระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ เมื่อทรงอนุเคราะห์พระญาติแล้ว ทรงให้ราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ไม่นานนัก ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปจาริกในมัลลรัฐแล้วเสด็จกลับมายังอนุปิยอัมพวัน

    ขัติยศากยกุมารออกบวชตามเสด็จ

    สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงประชุมศากยะสกุลทั้งหลายตรัสให้แต่ละตระกูลในศากยราชวงศ์ส่งขัตติยกุมารออกบวชตามเสด็จ ในครั้งนั้นเล่ากันว่า ขัตติยกุมารถึงพันองค์จึงออกผนวชโดยพระดำรัสครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อขัตติยกุมารโดยมากเหล่านั้นผนวชแล้ว เหล่าพระญาติเห็นศากยะ ๖ พระองค์นี้ คือ ภัททิยราชา อนุรุทธ อานันทะ ภคุ กิมพิละ และ เทวทัต ยังมิได้ผนวชจึงสนทนากันว่า “พวกเรายังให้ลูก ๆ ของตนบวชได้ ศากยะทั้ง ๖ นี้ มิใช่พระญาติหรือจึงมิได้ทรงผนวช”

    เจ้าภคุออกบวชพร้อมด้วยศากยะทั้งห้า

    เมื่อทรงได้โอกาสตามที่เหล่าพระญาติปรารภข้างต้น จึงได้ทรงออกผนวชตามเสด็จพระพุทธองค์ พร้อมกับเจ้าชายแห่งศากยวงศ์อีก ๕ พระองค์ ครั้งนั้น จึงได้เดินทางออกจากกรุงกบิลพัสดุ์โดยกระบวนพยุหยาตรา ให้เป็นเสมือนเสด็จประพาสราชอุทยาน โดยในครั้งนั้น นายอุบาลีภูษามาลาก็ได้ตามเสด็จด้วยในฐานะมหาดเล็กคนสนิท ครั้นย่างเข้าพรมแดนอื่นแล้ว ก็สั่งให้กระบวนตามเสด็จกลับทั้งหมด ทรงพระดำเนินตามลำพัง ๖ พระองค์ต่อไป พร้อมด้วยนายอุบาลีภูษามาลา เมื่อเห็นว่าได้มาไกลพอสมควรแล้วทั้ง ๖ พระองค์จึงได้ส่งนายอุบาลีภูษามาลากลับและทรงเปลื้องเครื่องประดับออก เอาภูษาห่อแล้วมอบให้กับนายอุบาลีเพื่อใช้เป็นทรัพย์ในการเลี้ยงชีพต่อไป

    ครั้งนั้น นายอุบาลีผู้เป็นภูษามาลา ก็ได้เดินทางกลับพร้อมห่อเครื่องประดับที่ได้รับมานั้น เมื่อเดินทางมาได้ระยะหนึ่งก็ฉุกใจคิดว่า ถ้าเรากลับไปแล้ว เจ้าศากยะในกรุงกบิลพัสดุ์ก็จะคิดว่าเราลวงเจ้าชายมาประหารแล้วชิงเอาเครื่องประดับตกแต่งมา ก็ศากยกุมารทั้ง ๖ นี้ยังทรงผนวชได้ ไฉนเราจึงจะบวชบ้างไม่ได้เล่า เขาจึงแก้ห่อเครื่องประดับแล้วเอาเครื่องประดับนั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แล้วพูดว่า ของนี้เราให้แล้ว ผู้ใดเห็น ผู้นั้นจงนำไปเถิด แล้วเดินตามไปเฝ้าศากยกุมารเหล่านั้น ศากยกุมารเหล่านั้น ทอดพระเนตรเห็นอุบาลีผู้เป็นภูษามาลา เดินกลับมาจึงรับสั่งถามว่ากลับมาทำไม

    นายอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาจึงเล่าความให้ทราบ เหล่าขัติยกุมารก็เห็นด้วย จึงพาอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลขอบวช โดยทรงขอให้พระพุทธองค์ บวชให้นายอุบาลีนี้ก่อน ด้วยเหตุเพื่อลดมานะความถือตัวของตนเองที่เป็นวงศ์กษัตริย์ เมื่อบวชหลังนายอุบาลีก็ต้องทำความเคารพผู้ที่บวชมาก่อน แม้ผู้นั้นจะเคยเป็นมหาดเล็กรับใช้ก็ตาม

    พระผู้มีพระภาคจึงโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ

    ศากยะทั้งหกบรรลุคุณพิเศษ

    ครั้นบวชแล้ว ท่านพระภัททิยะได้เป็นพระอรหัตถ์เตวิชโช โดยระหว่างพรรษานั้นนั่นเอง ท่านพระอานนท์ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระเทวทัตได้บรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน.ส่วนท่านพระอนุรุทธะ และท่านพระกิมพิละ ออกบำเพ็ญเพียรอยู่ ณ ป่าไม้ไผ่ ชื่อ ปราจีนวังสทายวัน (อุปักกิเลสสูตร) บางแห่งว่า ป่าโคสิงคสาลวัน (จูฬโคสิงคสาลสูตร) ร่วมกับท่านพระนันทิยะ ต่อมาไม่นานท่านก็ทำวิปัสสนากรรมฐาน จนบรรลุเป็นอรหัตแล้ว ได้สำเร็จวิชชา ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖

    ท่านภคุเถระได้ออกบำเพ็ญเพียรอยู่ ณ บ้านพาลกโลณการกคาม

    เมื่อครั้งเกิดเหตุเรื่องภิกษุชาวโกสัมพีเกิดความแตกแยกกัน พระพุทธองค์ทรงห้ามปรามก็ไม่เชื่อฟัง จึงเกิดเป็นเหตุให้พระบรมศาสดา ทรงอนุโมทนาเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างมีสามัคคีของพระเถระทั้งสาม คือพระอนุรุทธเถระ พระกิมพิลเถระ และพระนันทิยเถระ เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ภิกษุเหล่านั้น ดังนี้

    โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ภิกษุสงฆ์ในวัดโฆสิตาราม เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงการวิวาทกัน ย่อมแสดงกายกรรม วจีกรรม อันไม่สมควรต่อกันและกัน ทำปรามาสกันด้วยมือในโรงอาหาร ในละแวกบ้าน ชาวบ้านทั้งหลาย ก็พากันติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลาย จึงได้เกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะ ถึงการวิวาท แสดงกายกรรมวจีกรรม อันไม่สมควรต่อกันและกัน เล่าภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านติเตียนก็ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

    พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ถึงเรื่องดังกล่าวว่าจริงหรือไม่ เหล่าภิกษุ ทูลรับว่า เป็นจริงอย่างนั้น พระพุทธองค์จึงทรงติเตียนแล้วทรงห้ามถึง ๓ ครั้ง เหล่าภิกษุนั้นก็ยังคงดื้อดึงไม่เชื่อฟัง

    พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า ภิกษุเหล่านี้หัวดื้อนักแล เราจะให้ภิกษุเหล่านี้เข้าใจกัน ทำไม่ได้ง่ายเลย ดังนี้ แล้วเสด็จปลีกพระองค์ เสด็จพระดำเนินไปจำพรรษา ณ โคนไม้รังใหญ่ ในป่ารักขิตวัน เขตตำบลบ้านปาริไลยกะนั้นเพียงพระองค์เดียว

    พระศาสดาเสด็จจาริกไปตามลำดับคามและนิคม ทรงพระดำริว่า เราจักเยี่ยมภิกษุผู้เที่ยวอยู่แต่ผู้เดียวก่อน ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปยังพาลกโลณการามแล้วทรงแสดงอานิสงส์ในการเที่ยวอยู่แต่ผู้เดียว แก่ท่านภคุเถระในที่นั้น ตลอดปัจฉาภัตร (เวลาหลังอาหาร คือหลังเที่ยง) และตลอดราตรี ๓ ยาม ในวันรุ่งขึ้นมีท่านภคุเถระเป็นปัจฉาสมณะ (พระผู้ติดตาม) เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต แล้วพระพุทธองค์จึงทรงให้ท่านภคุเถระกลับ ณ ที่ตรงนั้นนั่นแล แล้วเสด็จพุทธดำเนินไปทางปราจีนวังสทายวัน ที่ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ พักอยู่ ด้วยทรงทราบว่าท่านทั้ง ๓ นั้น อยู่บำเพ็ญธรรมร่วมกันอย่างมีสามัคคีดียิ่ง

    การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จเยี่ยมพระภคุเถระ ซึ่งออกบำเพ็ญธรรมอยู่ผู้เดียว และทรงแสดงอานิสงส์ของการอยู่แต่ผู้เดียว และการที่ทรงเสด็จไปเยี่ยมเหล่าภิกษุ ๓ องค์ซึ่งอยู่ร่วมกันอย่างมีสามัคคีอันดียิ่งนั้น และทรงสรรเสริญการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีนั้น ก็เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่เหล่าภิกษุกรุงโกสัมพีที่ขัดแย้งกันนั้น ให้เห็นความสำคัญของการออกบำเพ็ญธรรมอยู่ผู้เดียว ดังเช่นการบำเพ็ญธรรมของพระภคุเถระ แต่ถ้าจะอยู่เป็นหมู่คณะก็ต้องอยู่อย่างสามัคคีพร้อมเพรียงกันดังเช่นท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ ปฏิบัติอยู่

    พระภคุเถระบรรลุอรหัต

    ในเวลาที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จเยี่ยมพระภคุเถระที่บำเพ็ญธรรมอยู่ในพาลกโลณกคาม ตามที่เล่าถึงข้างต้นนั้นนั้น เป็นเวลาที่ท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ในครั้งนั้น พระบรมศาสดาได้ทรงชื่นชมถึงการอยู่โดดเดี่ยวของท่านแล้วตรัสถามว่า ภิกษุ เธอเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่บ้างหรือ ครั้นเมื่อได้ฟังพระพุทธดำรัสตรัสถามดังนั้น เพื่อที่จะประกาศการอยู่ด้วยความไม่ประมาทของท่าน ท่านจึงกราบทูลเล่าเรื่องการปฏิบัติจนกระทั้งบรรลุพระอรหัตถวายพระบรมศาสดาดังนี้ว่า

    วันหนึ่ง พื่อจะบรรเทาความที่ถูกถีนมิทธะ (ความง่วง) ครอบงำ ท่านจึงออกจากวิหาร ขึ้นสู่ที่จงกรม แต่ด้วยความง่วงที่เกิดขึ้นท่านจึงล้มลง ณ ที่พื้นของทางจงกรมนั่นแหละ ครั้นเมื่อรู้สึกตัวแล้วท่านจึงได้ลูบเนื้อลูบตัวแล้วทำการเดินจงกรมต่อไปอีก โดยได้เจริญสติให้มั่นคง นำเอาการล้มนั้นนั่นแหละมาพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) จนกระทั่งอาทีนวโทษ (โทษแห่งร่างกายซึ่งมีอาพาธต่าง ๆ เป็นอันมาก) ปรากฏขึ้นแก่ท่าน ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้น จิตของท่านก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส บรรลุพระอรหัตพร้อมวิชชา ๓
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระราธเถระ เอตทัคคมหาสาวกผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง

    การที่ท่านพระราธเถระ ท่านนี้ได้รับการสถาปนาจากพระบรมศาสดาให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุสาวกทั้งหลายผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง นั้นก็เนื่องด้วยเหตุ ๒ ประการคือ โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ คือพระมหาสาวกองค์นั้น ได้แสดงความสามารถออกมาให้ปรากฏในเรื่องการเป็นผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง และอีกเหตุหนึ่งก็คือเนื่องด้วยท่านได้ตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้นตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

    บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    นับจากภัทรกัปนี้ถอยไปแสนกัป พระพิชิตมารพระนามว่า ปทุมุตระ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้น ท่านได้มาเกิดเป็นพราหมณ์ชาวพระนครหงสวดี ครั้นเติบใหญ่ ได้เล่าเรียนจนจบไตรเพทแล้ว วันหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคในพระวิหาร ได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังทรงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้มีปฏิภาณ แล้วได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ครั้งนั้นท่านได้บำเพ็ญมหาทาน และได้ทำการสักการบูชาแด่พระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์อย่างโอฬาร แล้วหมอบศีรษะลงแทบพระบาท กราบทูลตั้งความปรารถนาจะตั้งอยู่ในฐานันดรเช่นภิกษุรูปนั้นบ้างในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในอนาคต ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านว่า ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืนเถิด ปณิธานความปรารถนาของท่านจงสำเร็จเถิด สักการะที่ท่านทำในเรากับพระสงฆ์ ก็จงมีผลไพบูลย์ยิ่งเถิด

    ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดมซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พราหมณ์นี้ จักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้นเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าราธะ พระนายกจักทรงแต่งตั้งท่านว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ

    ท่านได้สดับพุทธพยากรณ์นั้นแล้วก็ยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตาบำรุงพระพิชิตมารในกาลนั้นตลอดชีวิต เพราะท่านเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา และด้วยกรรมที่ท่านได้ทำไว้ดี แล้วนั้น อีกทั้งด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เมื่อท่านละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ เพราะกรรมนั้นนำไปท่านจึงเป็นผู้ถึงความสุขในทุกภพ

    บุรพกรรมในสมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้า

    ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านก็มีโอกาสได้ทำกุศลแด่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นโดยวันหนึ่ง ท่านเห็นพระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตอยู่ในถนน ก็บังเกิดมีมีใจเลื่อมใส จึงได้ถวายผลมะม่วงอันมีรสหวาน แด่พระผู้มีพระภาค.ด้วยบุญกรรมนั้น เมื่อท่านละร่างมนุษย์แล้ว ท่านจึงไปบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยว เวียนไปมาอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    กำเนิดเป็นราธพราหมณ์ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ครั้งพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านถือปฏิสนธิในสกุลพราหมณ์ ที่ยากจนขาดเครื่องนุ่งห่ม และอาหาร ในกรุงราชคฤห์ บิดามารดาขนานนาม ว่าราธมาณพ เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือน ครั้งหนึ่งท่านได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งแก่ท่านพระสารีบุตร ต่อมาในเวลาแก่ตัวลง ถูกลูกเมียลบหลู่ เขาคิดว่าเราเป็นผู้ที่ลูกเมียไม่ต้องการ เราจักเลี้ยงชีพอยู่ในสำนักของภิกษุทั้งหลาย แล้วไปสู่วิหาร ดายหญ้า กวาดบริเวณวัด ถวายวัตถุมีน้ำล้างหน้าเป็นต้น อยู่ในวัดแล้ว แม้ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้นก็ได้สงเคราะห์เธอแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ปรารถนาจะให้บวช ด้วยเห็นว่า เป็นคนแก่ เป็นพราหมณ์แก่เฒ่า ไม่สามารถจะบำเพ็ญวัตรปฏิบัติได้ เพราะฉะนั้นครั้งนั้น ท่านผู้เป็นคนยากเข็ญจึงเป็นผู้มีผิวพรรณเศร้าหมอง

    ราธพราหมณ์มีอุปนิสัยพระอรหัต

    ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์นั้นในพระญาณแล้ว ทรงเห็น อุปนิสสยสมบัติ ความถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัยแห่งพระอรหันต์ของท่าน ครั้นในเวลาเย็นจึงเสด็จเที่ยวจาริกไปในบริเวณวัด เสด็จไปสู่ที่อยู่ของ พราหมณ์แล้วตรัสถามว่า พราหมณ์ เธอเที่ยวทำอะไรอยู่? ท่านกราบทูลว่า ข้าพระองค์ทำวัตรปฏิบัติแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ พระเจ้าข้า

    พระศาสดา เธอได้การสงเคราะห์จากสำนักของภิกษุเหล่านั้น หรือ?

    พราหมณ์ ได้พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้แต่เพียงอาหาร แต่ท่านไม่ให้ข้าพระองค์บวช ด้วยเห็นว่าข้าพระองค์แก่แล้ว

    พระสารีบุตรเป็นผู้กตัญญูกตเวที

    พระศาสดารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสถามความนั้นแล้ว จากนั้นทรงถามว่า ภิกษุทั้งหลาย มีใคร ๆ ระลึกถึงคุณของพราหมณ์นี้ได้ มีอยู่บ้างหรือ? พระสารีบุตรเถระกราบทูลว่า ข้าพระองค์ระลึกได้ เมื่อข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์ พราหมณ์นี้ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกถึงคุณของพราหมณ์นี้ได้ เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ดีละๆ สารีบุตร เธอเป็นคนกตัญญู เธอจงบวชให้พราหมณ์นี้ พราหมณ์นี้ต่อไปจักเป็นผู้ควรบูชา

    ในครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงให้ ราธพราหมณ์บรรพชาแล้วให้อุปสมบทอีก โดยวิธีที่เรียกว่า ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา โดยทรงประกาศยกเลิกการอุปสมบทด้วยวิธีไตรสรณคมน์ ที่พระองค์ทรงอนุญาตไว้แต่เดิมแล้ว ทรงกำหนดวิธีโดยให้ภิกษุประชุมให้ครบองค์กำหนด ในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่า สีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องความที่จะรับคนผู้จะบวชนั้นเข้าหมู่ โดยความยินยอมของภิกษุทั้งปวงผู้เข้าประชุมเป็นสงฆ์นั้น ในครั้งนั้นพระสารีบุตรเถระ เป็นพระอุปัชฌาย์รูปแรก และพระราธะเป็นภิกษุผู้ได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีนี้เป็นรูปแรก และการอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมนี้ได้ถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

    พราหมณ์บวชแล้วเป็นคนว่าง่าย

    เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระบวชให้ราธพราหมณ์แล้ว ท่านก็คิดว่า พระศาสดาทรงให้พราหมณ์ผู้นี้บวชด้วยความเอื้อเฟื้อ ไม่สมควรดูแลพราหมณ์ผู้นี้ด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ จึงพาพระราธเถระไปอยู่ที่ใกล้หมู่บ้าน

    ณ ที่นั้น เนื่องจากท่านเป็นพระบวชใหม่ ท่านจึงไม่ค่อยได้รับบิณฑบาต ท่านพระสารีบุตรเห็นดังนั้น จึงให้พระราธะนั้นเป็นปัจฉาสมณะ (ภิกษุผู้ติดตาม) ของท่าน พระสารีบุตรเถระได้ให้ที่อยู่ที่ท่านได้แม้เป็นที่ดีเลิศ ให้บิณฑบาตอันประณีตที่ท่านได้ แก่พระราธะนั้น ในเวลานั้นท่านพระราธเถระได้เสนาสนะอันสบาย และโภชนะอันประณีต

    พระสารีบุตรเถระพาท่านหลีกไปสู่ที่จาริกแล้ว กล่าวพร่ำสอนท่านเนือง ๆ ว่า “สิ่งนี้ คุณควรทำ สิ่งนี้ คุณไม่ควรทำ” เป็นต้น ท่านราธเถระได้เป็นผู้ว่าง่าย มีปกติรับเอาโอวาทโดยเคารพแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อท่านปฏิบัติตามคำที่พระเถระพร่ำสอนอยู่ รับกรรมฐานในสำนักท่านเถระ

    พระเถระบรรลุพระอรหัต

    วันหนึ่งท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้เห็นอย่างไรจึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ดูกร ราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้

    อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่านั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา.

    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขาร เหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือใกล้

    อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

    ดูกรราธะ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอก ฯลฯ

    ท่านพระราธะพิจารณาตามธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสสั่งสอน ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย


    ต่อมาพระเถระจึงพาท่านไปสู่สำนักพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่

    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกะท่านแล้ว ตรัสว่า “สารีบุตร ศิษย์ของเธอเป็นผู้ว่าง่ายแลหรือ?”

    พระเถระ อย่างนั้น พระเจ้าข้า เธอเป็นผู้ว่าง่ายเหลือเกิน เมื่อโทษไร ๆ ที่ข้าพระองค์แม้กล่าวสอนอยู่ ไม่เคยโกรธเลย

    พระศาสดา สารีบุตร เธอเมื่อได้ศิษย์เช่นนี้ จะพึงรับศิษย์ได้ประมาณเท่าไร?

    พระเถระ ข้าพระองค์พึงรับได้มากทีเดียว พระเจ้าข้า

    พวกภิกษุสรรเสริญพระสารีบุตรและพระราธะ

    ภายหลังวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า ได้ยินว่า พระสารีบุตรเถระเป็นผู้กตัญญูกตเวที ระลึกถึงผู้อุปการะแม้เพียงภิกษาทัพพีหนึ่ง ท่านก็บวชให้พราหมณ์ผู้ตกยากนั้นแล้ว แม้พระราธเถระเองก็เป็นผู้อดทนต่อโอวาท ท่านย่อมเป็นผู้ควรแก่การให้โอวาทเหมือนกันแล้ว

    ภิกษุควรเป็นผู้ว่าง่ายอย่างพระราธะ

    พระศาสดาทรงปรารภพระราธเถระ ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุควรเป็นผู้ว่าง่ายเหมือนราธะ แม้อาจารย์ชี้โทษกล่าวสอนอยู่ ก็ไม่ควรโกรธ อนึ่ง ควรเห็นบุคคลผู้ให้โอวาท เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์ให้ฉะนั้น” ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

    บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าวนิคคหะ ชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้

    พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต (เพราะว่า)

    เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มีโทษที่ลามก

    ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

    เมื่อท่านได้บรรลุธรรมอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ เนื่องเพราะท่านเป็นผู้เพลิดเพลิน เที่ยววนเวียนไปมาอยู่ในสำนักของพระบรมศาสดาสดับพระพุทธดำรัสโดยเคารพ อันเป็นเหตุให้มีความเข้าใจพระธรรมเทศนาของพระศาสดาอย่างแจ่มแจ้ง แท้จริง พระธรรม เทศนาใหม่ๆ ของพระทศพล อาศัยความปรากฏขึ้นแห่งปฏิภาณอันแจ่มแจ้งของพระเถระ อันเป็นเหตุให้ท่านแสดงซ้ำซึ่งพระธรรมเทศนาของพระศาสดาได้ทันที ฉะนั้น ต่อมา พระศาสดาเมื่อกำลังทรง สถาปนาพระเถระทั้งหลายไว้ในตำแหน่งทั้งหลายตามลำดับ จึงทรงสถาปนาท่านพระราธเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่า ภิกษุสาวกผู้ประกอบด้วยปฏิภาณ แล

    พระเถระเป็นพระอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคและพระสารีบุตร

    ท่านได้เคยเป็นพุทธอุปัฏฐากอยู่ระยะหนึ่ง ในสมัย ๒๐ ปีแรก ต้นพุทธกาล เมื่อครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่มีพระอุปัฏฐากประจำ บางคราว พระนาคสมาละถือบาตรและจีวรตามเสด็จ บางคราวพระนาคิตะ บางคราวพระอุปวาณะ.บางคราวพระสุนักขัตตะ บางคราวจุนทสมณเทส บางคราวพระสาคตะ บางคราวพระเมฆิยะ

    พระอรรถกถาจารย์ได้เล่าถึงความไม่เหมาะสมของพระอุปัฏฐากบางองค์ ซึ่งเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ทรงปรารภพุทธอุปัฏฐากประจำ ซึ่งต่อมาก็คือพระอานนท์เถระ ซึ่งเป็นพุทธอุปัฏฐากต่อมาจนตลอดพระชนม์ชีพ ไว้ดังนี้

    บรรดาพระอุปัฏฐากไม่ประจำเหล่านั้น ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเดินทางไกลกับพระนาคสมาลเถระ ถึงทางสองแพร่ง พระเถระลงจากทางทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จะไปทางนี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านว่า มาเถิดภิกษุ เราจะไปกันทางนี้ พระเถระทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงถือทางพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะไปทางนี้ แล้วเริ่มจะวางบาตรจีวรลง ที่พื้นดิน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอามาสิภิกษุ ทรงรับบาตรจีวรแล้วเสด็จดำเนินไป

    เมื่อภิกษุรูปนั้นเดินทางไปตามลำพัง พวกโจรก็ชิงบาตรจีวรและตีศีรษะแตก ท่านคิดว่า บัดนี้ก็มีแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งของเราได้ ไม่มีผู้อื่นเลย แล้วมายังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งที่โลหิตไหล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า นี่อะไรกันล่ะภิกษุ ก็ทูลเรื่องราวถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปลอบว่า อย่าคิดเลย ภิกษุ เราห้ามเธอ ก็เพราะเหตุอันนั้นนั่นแหละ

    อนึ่ง ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังบ้านชันตุคาม ใกล้ปาจีนวังสมฤคทายวัน กับพระเมฆิยเถระ แม้ในที่นั้น พระเมฆิยะเที่ยวบิณฑบาตไปในชันตุคาม พบสวนมะม่วงน่าเลื่อมใส ริมฝั่งแม่น้ำ ก็ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์โปรดรับบาตรจีวรของพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะทำสมณธรรม ที่ป่ามะม่วงนั้น แม้ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามสามครั้งก็ยังไป ถูกอกุศลวิตกเข้าครอบงำ ก็กลับมาทูลเรื่องราวถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านว่า เรากำหนดถึงเหตุของเธออันนี้แหละ จึงห้าม แล้วเสด็จดำเนินไปยังกรุงสาวัตถีตามลำดับ
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระมหาปันถกเถระ เอตทัคคะเลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา

    พระเถระรูปนี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ไว้เป็นอันมาก และการที่พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งท่านให้เป็นเอตทัคคะเช่นนั้น ด้วยเหตุ ๒ ประการคือ เหตุที่ท่านมีคุณอันยิ่งกว่าเหล่าภิกษุทั้งหลายในเรื่องดังกล่าว นอกจากนั้นยังเนื่องมาจากการที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป อีกด้วย ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

    บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    ก็ในอดีตกาลครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ มีกุฎมพี ๒ พี่น้อง เป็นชาวเมืองหงสวดี เลื่อมใสในพระศาสดาไปฟังธรรมในสำนักพระศาสดาเป็นนิตย์ วันหนึ่งกำลังฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดากำลังตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางสัญญา แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในที่สุด ๗ วันแต่วันนี้ไปพระองค์ทรงแต่งตั้งภิกษุใดไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางสัญญา ในศาสนาของเราดังนี้ ขอด้วยพลังแห่งกุศลธรรมที่สั่งสมไว้นี้ แม้ข้าพระองค์ก็พึงเป็นผู้เลิศในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล เหมือนภิกษุนั้นเถิด

    พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตก็ทรงเห็นว่า ความปรารถนาท่านจะสำเร็จโดยหาอันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตในที่สุดแห่งแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ จักทรงอุบัติขึ้น พระองค์จักสถาปนาเธอไว้ในฐานะนั้นดังนี้ ทรงกระทำอนุโมทนา แล้วเสด็จกลับไป

    แม้น้องชายของท่านในวันหนึ่ง เห็นพระศาสดาทรงสถาปนา ภิกษุผู้ฉลาดด้วยองค์ ๒ ได้แก่การนิรมิตร่างกายที่สำเร็จด้วยใจ และความเป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะก็กระทำบุญกุศลเหมือนอย่างนั้น กระทำความปรารถนาที่จะเป็นเช่นภิกษุนั้น พระ ศาสดาก็ทรงพยากรณ์ท่านเช่นเดียวกัน แล้วทั้ง ๒ พี่น้องนั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้กระทำการะบูชาด้วยทองที่พระเจดีย์ที่บรรจุพระสรีระ

    กำเนิดเป็นมหาปันถกในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ได้ยินว่า ธิดาของธนเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ กระทำการลักลอบได้เสียกับทาสของตนเอง แล้วก็กลัวว่าเรื่องจะปิดเอาไว้ไม่อยู่ก็จะเป็นอันตรายแก่ตนและสามี จึงได้คิดที่จะไปยังถิ่นที่ไม่มีคนรู้จัก จึงได้รวบรวมเอาแต่ของที่สำคัญ ๆ แล้วก็หนีออกไปจากเมืองนั้น ต่อมานางก็เกิดตั้งครรภ์ ครั้นเมื่อครรภ์แก่จัด นางจึงปรารถนาจะกลับไปคลอดยังตระกูลของตน แต่เมื่อครั้นนางปรึกษากับสามี สามีก็ผัดผ่อนเรื่อยมา จนกระทั่งครรภ์แก่จัด นางจึงตัดสินใจออกจากเรือนของตนเดินทางไปยังตระกูลของนาง แล้วได้สั่งความไว้กับเพื่อนบ้านว่าให้บอกสามีว่าตนจะไปคลอดยังตระกูลของนาง ครั้นเมื่อสามีของนางเดินทางกลับมาถึงบ้านก็ทราบว่านางเดินทางไปยังตระกูลตนก็ได้ติดตามไป และไปทันกันในระหว่างทาง และนางก็ได้คลอดบุตรในระหว่างทางนั้นเอง ทั้งสองจึงได้ตัดสินใจเดินทางกลับด้วยเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะกลับไปยังตระกูลของนางผู้เป็นภรรยาเนื่องจากนางก็ได้คลอดเสียแล้ว สองสามีภรรยาตั้งชื่อ บุตรว่า ปันถกะ เพราะทารกนั้นเกิดในระหว่างทาง ต่อมาอีกไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์บุตรอีกคนหนึ่ง เรื่องก็เป็นอย่างเดิมอีก คือบุตรคนที่สองก็ได้เกิดระหว่างทางเช่นเดียวกัน เขาจึงตั้งชื่อบุตรที่เกิดก่อนว่า มหาปันถก บุตรที่เกิด ที่หลังว่า จุลปันถก

    มารดาส่งบุตรทั้งสองไปอยู่กับตา

    เมื่อชนเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น เด็กมหาปันถกะได้ยินเด็กอื่น ๆ เรียก อา ลุง ปู่ ย่า จึงถามว่ามารดาว่า แม่จ๋า เด็กอื่น ๆ เรียกปู่ เรียกย่า ก็ญาติของพวกเราในที่นี้ไม่มีบ้างหรือ นางตอบว่า จริงสิ ลูก ญาติของเราในที่นี้ไม่มีดอก แต่ในกรุงราชคฤห์ ตาของเจ้าชื่อธนเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์นั้นมีญาติของเจ้าเป็นอันมาก เด็กก็ถามว่า เพราะเหตุไรเราจึง ไม่ไปกันในกรุงราชคฤห์นั้นละแม่ นางผู้เป็นแม่ก็มิได้เล่าเรื่องสาเหตุที่ตนต้องออกมาอยู่ที่นี้มาแก่บุตร แต่ครั้นเมื่อบุตรพูดบ่อย ๆ เข้านางจึงบอกสามีว่า เด็ก ๆ เหล่านี้รบเร้าเหลือ เกิน ถ้าเรากลับไปแล้วพ่อแม่ของเราเห็นแล้วจักกินเนื้อเราหรือ มาเถอะ เราจะพาเด็ก ๆ ไปรู้จักสกุลตายาย แต่สามีนางกล่าวว่า ฉันพาเธอและลูก ๆ ไปยังตระกูลเธอได้ แต่ฉันไม่อาจอยู่สู้หน้ากับบิดา มารดาของเธอได้ นางผู้เป็นภรรยาจึงกล่าวว่า ดีละนาย เราควรให้เด็ก ๆ เห็นตระกูลตา ด้วยอุบายอย่างหนึ่งจึงควร ทั้งสองคนจึงพาทารกไปจนถึงกรุงราชคฤห์ เมื่อถึงแล้วได้พักที่ศาลาแห่งหนึ่งใกล้ประตูนคร มารดาเด็กจึงได้ส่งข่าวไปบอกแก่มารดาบิดาว่า ตนได้พาบุตร ๒ คนมา อันว่าสัตว์ที่เวียนว่ายอยู่ ในสงสารวัฎ ชื่อว่าจะไม่เป็นบุตรจะไม่เป็นธิดากันไม่มี มารดาบิดาของนางเมื่อได้ฟังข่าวนั้นแล้วก็ส่งคำตอบไปว่า คนทั้งสองมีความผิดต่อตระกูลมาก ทั้ง ๒ คนไม่อาจอยู่ในตระกูลได้ จงเอาทรัพย์เท่านี้ไปและจงไปอยู่ยังสถานที่ที่เหมาะสมเถิด แต่จงส่งเด็กๆ มาให้เรา ธิดาเศรษฐีรับเอาทรัพย์ที่มารดาบิดาส่งไป แล้วมอบเด็กทั้ง ๒ ไว้ในมือคนที่มาส่งข่าวแล้วนั้น ตั้งแต่นั้นมาเด็กทั้ง ๒ นั้นเติบ โตอยู่ในตระกูลของตา

    มหาปันถกออกบวช

    ในเด็กทั้งสองคนนั้น จุลปันถก ยังเป็นเด็กเล็กนัก ส่วนมหาปันถกไปฟังธรรมกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากับคุณตา เมื่อเขาฟังธรรมต่อพระพักตร์พระศาสดาอยู่เป็นประจำ จิตก็น้อมไปในบรรพชา เกิดศรัทธา ฟังธรรมแล้ว เพราะค่าที่ตนสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เป็นผู้มีความประสงค์จะบรรพชา เขาจึงพูดกับตาว่า ถ้าตาอนุญาต หลานจะออกบวช ตากล่าวว่า พูดอะไรพ่อ การบรรพชาของเจ้าเป็นความเจริญทั้งแก่เราแลทั้งแก่ โลกทั้งสิ้น เจ้าจงบวชเถิดพ่อ ดังนี้แล้วก็พากันไปยังสำนักพระศาสดา ท่านตานั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระศาสดาแล้ว พระศาสดาจึงตรัสมอบภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งว่า เธอจงให้ทารกนี้บวชเถิด พระเถระบอกตจปัญจกกัมมัฎฐานแก่ทารกนั้นแล้ว เมื่อเขาบรรพชาแล้ว เล่าเรียนพระพุทธพจน์ได้เป็นจำนวนมาก พอมีอายุครบ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว ทำมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยพิเศษ เป็นผู้ได้อรูปฌาน ๔ ออกจากอรูปฌาน ๔ นั้นแล้ว ก็พยายามยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต

    พระมหาปันถกเถระบวชน้องชาย

    ท่านพระมหาปันถกเถระยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน ความสุขในมรรค ความสุข ในนิพพาน จึงคิดว่า เราอาจให้ความสุขชนิดนี้แก่จุลปันถกะได้ไหม หนอ แต่นั้นจึงไปยังสำนักของเศรษฐีผู้เป็นตา กล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ถ้าโยมอนุญาต อาตมาจะให้จุลปันถกะบวช เศรษฐีกล่าวว่า จงให้บวชเถิดท่าน ขณะนั้นจุลปันถกมีอายุได้ ๑๘ ปี พระเถระให้จุลปันถกะบวชแล้วให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ สามเณรจุลปันถกะ ด้วยความเป็นคนเขลา ซึ่งเป็นบุรพกรรมเมื่อครั้งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระจุลลปันถกบวชอยู่ แล้วได้ทำการหัวเราะเยาะภิกษุผู้เขลารูปหนึ่ง ในเวลาที่ภิกษุรูปนั้นเรียนอุเทศ ภิกษุนั้นละอาย เพราะการเย้ยหยันนั้นจึงไม่เรียนอุเทศ ไม่ทำการสาธยาย เมื่อพระเถระผู้พี่ชายให้เรียนคาถาบทหนึ่งบทเดียวว่า

    เชิญท่านดูพระอังคีรส ผู้รุ่งเรืองอยู่

    ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ในอากาศ

    เหมือนดอกปทุมวิเศษชื่อโกกนุทะ

    มีกลิ่นหอมบานอยู่แต่เช้าไม่ปราศจากกลิ่นฉะนั้น

    เป็นเวลา ๔ เดือนก็ไม่สามารถท่องจำได้

    พระมหาปันถกเถระขับไล่น้องชาย

    ท่านพยายามเรียนคาถานี้อย่างเดียวเวลาก็ล่วงไปถึง ๔ เดือน คราวนั้น พระมหาปันถกะกล่าวกะท่านว่า ปันถกะเธอเป็นคนอาภัพ ในศาสนานี้ เธอจำคาถาแม้บทเดียวก็ไม่ได้เป็นเวลาถึง ๔ เดือน เธอจะทำกิจของบรรพชิตให้สำเร็จได้อย่างไร เธอจงออกไปจากวิหารนี้เสีย แล้วท่านพระเถระก็ปิดประตู ท่านถูกพระเถระขับไล่จึงไปยืนร้องไห้อยู่ ณ ท้ายพระวิหาร เพราะไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ และเพราะความรักในพระพุทธศาสนา

    ความที่ท่านพระเถระขับไล่สามเณรจุลปันถกนั้น ต่อมาภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระมหาปันถกะได้กระทำเช่นนี้ ชะรอยความโกรธนั้นย่อมเกิดมีขึ้นแม้แก่พระขีณาสพทั้งหลาย”

    พระศาสดาทรงทราบเรื่องที่ภิกษุพูดกันจึงเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?” เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องที่ตนพูดกันอยู่ จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย แต่บุตรของเราทำกรรมนั้นเพราะความที่ตนเป็นผู้มุ่งอรรถเป็นเบื้องหน้า และเพราะเป็นผู้มุ่งธรรมเป็นเบื้องหน้า”

    พระพุทธเจ้าโปรดจุลปันถกะ

    สมัยนั้น พระศาสดา ทรงเข้าอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับ อยู่ในชีวกัมพวันสวนมะม่วงของหมอชีวก ในคราวนั้น พระมหาปันถกได้เป็นพระภัตตุเทสก์ผู้แจกภัต หมอ ชีวกโกมารภัจถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากไปอัมพวันของตน บูชาพระศาสดา ครั้นเมื่อฟังธรรมแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระทศพลแล้วเข้าไปหาพระมหาปันถกถามว่า ท่านผู้เจริญ ในสำนักของพระศาสดา มีภิกษุเท่าไร ? พระ มหาปันถกกล่าวว่า มีภิกษุ ประมาณ ๕๐๐ รูป หมอชีวกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ ท่านจงพาภิกษุ ๕๐๐ รูปมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ไปรับภิกษาใน นิเวศน์ของผม พระเถระกล่าวว่า พระจุลลปันถกเป็นผู้เขลา มีธรรมไม่งอกงาม อาตมภาพจะนิมนต์เพื่อภิกษุที่เหลือ ยกเว้นพระจุลลปันถกนั้น

    พระจุลปันถกะได้ฟัง คำนั้นก็โทมนัสเหลือประมาณ พระศาสดาทรงเห็นพระจุลลปัณถกะ ร้องไห้อยู่ ทรงดำริว่า จุลปันถกะเมื่อเราไปจักบรรลุอรหัต จึงเสด็จ ไปแสดงพระองค์ในที่ที่ไม่ไกลแล้วตรัสว่า ปันถกะ เธอร้องไห้ ทำไม

    พระจุลลปันถกะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระพี่ชายฉุดคร่าข้าพระองค์ออก ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์จะไปด้วยคิดว่าจัก เป็นคฤหัสถ์ พระศาสดาตรัสว่า จุลลปันถกะ การบรรพชาของเธอชื่อว่ามีในสำนักของเรา เธอถูกพระพี่ชายฉุดคร่าออกไป เพราะเหตุไรจึงไม่มายังสำนัก ของเรา มาเถิด เธอจะได้ประโยชน์อะไรกับความเป็นคฤหัสถ์ เธอจงอยู่ในสำนักของเรา แล้วทรงพาพระจุลลปันถกะไป ให้พระจุลลปันถกะนั้นนั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ตรัสว่า จุลลปันถกะ เธอจงผินหน้าไปทางทิศตะวันออก จงอยู่ ในที่นี้แหละ ลูบคลำผ้าท่อนเก่าไปว่า รโชหรณํ รโชกรณํ ผ้าเป็นเครื่องนำธุลีไป ผ้าเป็นเครื่องนำธุลีไป แล้วทรงประทานผ้าเก่าอันบริสุทธิ์ซึ่งทรงเนรมิตขึ้นด้วยฤทธิ์

    จุลปันถกะสำเร็จพระอรหัต

    ท่านนั่งเอามือคลำผ้าท่อนเล็กที่พระศาสดาประทานนั้น ภาวนาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ เมื่อท่านลูบคลำอยู่ เช่นนั้น ผ้าผืนนั้นก็เศร้าหมอง เมื่อท่านลูบคลำอยู่บ่อย ๆ ก็กลายเป็นเหมือนผ้าเช็ดหม้อข้าว ท่านอาศัยความแก่กล้าแห่งญาณ เริ่มตั้งความสิ้นไป และความเสื่อมไปในผ้านั้น คิดว่า ผ้านี้โดยปกติสะอาดบริสุทธิ์ เพราะอาศัยอุปาทินนกสรีระ จึงเศร้าหมอง แม้จิตนี้ก็มีคติเป็น อย่างนี้เหมือนกัน

    พระศาสดาทรงทราบว่า จิตของจุลลปันถกะขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว จึงตรัสว่า จุลลปันถกะ เธออย่ากระทำ ความสำคัญว่า ท่อนผ้าเก่านั่นเท่านั้นเป็นของเศร้าหมองย้อมด้วยฝุ่นธุลี แต่ ธุลีคือราคะเป็นต้นเหล่านั้นมีอยู่ในภายใน เธอจงนำธุลีคือราคะเป็นต้นนั้นไปเสีย แล้วทรงเปล่งโอภาสเป็นผู้มีพระรูปโฉมปรากฏเหมือนประทับนั่งอยู่เบื้องหน้า ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

    ราคะเรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่าธุลี คำว่า ธุลีเป็นชื่อของราคะ

    ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี

    โทสะ เรียกว่าธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโทสะ

    ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี

    โมหะ เรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโมหะ

    ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้วย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี

    ในเวลาจบคาถา พระจุลปันถกะบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

    ได้ยินว่า ในอดีตชาติกาลก่อน พระจุลลปันถกะนั้นเป็นพระราชา กำลังทำประทักษิณพระนคร เมื่อพระเสโทไหลออกจากพระนลาต จึงเอาผ้าขาวบริสุทธิ์เช็ดพระนลาต ผ้านั้นได้เศร้าหมองไป พระราชานั้นทรงได้อนิจจสัญญา ความหมายว่าไม่เที่ยง ว่าผ้าอันบริสุทธิ์เช่นนี้ เกิดเศร้า หมองก็เพราะร่างกายนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ด้วยเหตุนั้น ผ้าที่เป็นเครื่องนำธุลีออกไปจึงเป็นปัจจัยวิปัสสนาแก่พระจุลลปันถกะนั้น

    ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

    ต่อมาพระศาสดาประทับนั่งเหนือธรรมาสน์ ทรงสถาปนาพระมหาปันถกเถระไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฎฎะ และทรงสถาปนาพระจุลปันถกเถระ ไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฎะ ผู้เนรมิตกายมโนมัยได้

    บรรดาทั้งสองรูปนั้น พระจุลปันถกเถระท่าน กล่าวว่าเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฎะ เพราะได้รูปาวจรฌาน ๔ พระมหาปันถกเถระท่านกล่าวว่า เป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฎฎะ เพราะเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ

    พระมหาปันถกะ ชื่อว่า ผู้ฉลาดใน ปัญญาวิวัฎฎะ เพราะเป็นผู้ฉลาดในวิปัสสนา

    อนึ่ง ในภิกษุ ๒ รูปนี้ รูปหนึ่งฉลาดในลักขณะสมาธิ รูปหนึ่งฉลาดในลักขณะแห่งวิปัสสนา

    อนึ่ง รูปหนึ่งฉลาดในการหยั่งลงสมาธิ รูปหนึ่งฉลาดในการหยั่ง ลงสู่วิปัสสนา

    อีกนัยหนึ่ง ใน ๒ รูปนี้ รูปหนึ่งฉลาดในการย่อองค์ รูปหนึ่งฉลาดในการย่ออารมณ์

    อีกนัยหนึ่ง องค์หนึ่งฉลาดในการ กำหนดองค์ องค์หนึ่งฉลาดในการกำหนดอารมณ์

    อีกอย่าง หนึ่ง พระจุลปันถกเถระ เป็นผู้ได้รูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌานแล้วบรรลุพระอรหัต ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฎะ พระมหาปัณถกะเป็นผู้ได้อรูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌานแล้วบรรลุพระอรหัต ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฎฎะ
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระโสภิตเถระ เอตทัคคมหาสาวกผู้ได้บุพเพนิวาสญาณ

    พระเถระที่ชื่อ “โสณะ” นี้ ในพระบาลีปรากฏอยู่ ๕ ท่านด้วยกันคือ

    ๑ พระขุชชโสภิตเถระ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในนครปาฏลีบุตร ได้ มีนามว่าโสภิตะ แต่เพราะเป็นผู้ค่อมเล็กน้อย จึงปรากฏ ชื่อว่าขุชชโสภิตะ นั่นเทียว ท่านเจริญวัยแล้ว เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้บวช ในสำนักของท่านพระอานนทเถระ ได้บรรลุพระอรหัต

    ๒ พระโสภิตเถระ ตามประวัติที่จะกล่าวในเรื่องนี้

    ควรจะได้ทราบว่าการที่ท่านการที่ท่านพระโสภิตเถระ ท่านนี้ได้รับการสถาปนาจากพระบรมศาสดา ให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุสาวกทั้งหลาย ผู้ได้บุพเพนิวาสญาณนั้นก็เนื่องด้วยเหตุ ๒ ประการคือ โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญในเรื่อง บุพเพนิวาสญาณเป็นพิเศษ และอีกเหตุหนึ่งก็คือ เนื่องด้วยท่านได้ตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้นตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

    บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลแห่งหนึ่ง ในพระนคร หงสาวดีเจริญวัยแล้ว ดำรงเพศเป็นฆราวาส วันหนึ่ง พระศาสดาทรง แสดงธรรมแก่หมู่ชนเป็นอันมาก เห็นพระศาสดาทรงตั้ง ภิกษุรูปหนึ่ง ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้บุพเพนิวาสญาณ จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้บุพเพนิวาสญาณในศาสนาพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต กระทำความปรารถนามุ่งตำแหน่งนั้น

    กำเนิดในสมัยพระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สุเมธะ ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ เมื่อเติบใหญ่แล้ว ได้เล่าเรียนในภาควิชาการและ ศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ทั้งหลายสำเร็จแล้ว มีใจน้อมไปในเนกขัมมะ จึงได้ละฆราวาสวิสัย แล้วบวชเป็นดาบส สร้างอาศรมไว้ที่ชัฏแห่งป่า ณ ทิศทักษิณ แห่งภูเขาหิมวันต์ ยังชีพด้วยด้วยมูลผลาผลในป่า คือด้วยเหง้ามันและผลไม้ ไม่เบียดเบียนใคร ๆ อยู่เพียงคนเดียว

    ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ประกาศธรรมสัจจะอยู่ ท่านมิได้สดับข่าวพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น และก็ไม่มีใครที่จะบอกกล่าวให้ท่านรู้ ต่อเมื่อเวลาล่วงไปได้ ๘ ปี ท่านจึงได้สดับข่าวความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า จึงละอาศรมแล้วเดินทางเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ที่ภัททวดีนคร (บางแห่งว่าจันทวดีนคร) ท่านพักอยู่ในบ้าน และนิคมแห่งละคืน จึงถึงภัททวดีนคร ท่านได้ไปถวายบังคมพระชินเจ้า ทำหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วสรรเสริญพระผู้มีพระภาคด้วยคาถา ๖ คาถาแล้ว ประนมกรอัญชลียืนนิ่งอยู่ในเวลานั้น พระพุทธเจ้าประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีใจเลื่อมใส ได้กล่าวสรรเสริญญาณของเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

    ผู้นี้จะรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๗๗ กัป จักเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติอยู่ในเทวโลก ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเกิน ๑๐๐ ครั้ง และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ เมื่อเขาเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ ก็จักเป็นผู้ตั้งมั่นในบุญกรรม จักเป็นผู้มีความดำริแห่งใจไม่บกพร่อง มีปัญญากล้า ในสามหมื่นกัป พระศาสดาทรงพระนามว่า โคตมะซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้นี้จักไม่มีความกังวล ออกบวชเป็นบรรพชิต จักบรรลุพระอรหัต แต่อายุ ๗ ขวบ

    กำเนิดในสมัยพระศากยโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ในพุทธปบาทกาลนี้ ได้มาบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในเวลาที่ท่านมีอายุได้เพียง ๗ ปีเท่านั้นก็มีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เกิดจิตศรัทธา จึงได้ออกบวชแล้วเจริญวิปัสสนา ต่อเวลาไม่นานนักก็ได้เป็นพระ อรหันต์ พร้อมคุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ และได้เป็นผู้มีวสี คือการปฏิบัติจนช่ำชองชำนาญเป็นพิเศษในบุพเพนิวาสญาณ

    พระศาสดาทรงสถาปนาท่านเป็นเอตทัคคะ

    ครั้งหนึ่งท่านพระโสภิตะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราระลึกชาติได้ห้าร้อยกัลป์ ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระโสภิตะ จึงกล่าวอย่างเช่นนั้น ท่านพระโสภิตะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม แล้วภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชาตินี้ของโสภิตะมีอยู่ แต่มีชาติเดียวเท่านั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสภิตะ พูดจริง โสภิตะ ไม่ต้องอาบัติ

    ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า ชาตินี้ของโสภิตะมีอยู่ แต่มีชาติเดียวเท่านั้นแล ทรงหมายความว่า ชาติที่พระโสภิตะกล่าวว่าระลึกได้ ๕๐๐ กัป นั้นเป็นเพียงชาติเดียวของพระโสภิตะซึ่งในชาตินั้นท่านมีอายุได้ ๕๐๐ กัป เรื่องมีอยู่ว่า

    ในอดีตชาติ พระโสภิตะนี้ บวชในลัทธิเดียรถีย์ ยังสัญญีสมาบัติให้บังเกิดแล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมในขณะที่สิ้นชีวิตจึงไปบังเกิดในอสัญญีภพ ซึ่งเป็นอัตภาพอันไม่มีจิตในระหว่างจุติและ ปฏิสนธิ ซึ่งมีอายุกว่า ๕๐๐ กัป ครั้นจุติจากอสัญญีภพนั้นแล้วก็มาอุบัติในมนุษยโลกเป็นพระโสภิตเถระในชาตินี้ เมื่อท่านบรรลุพระอรหัต พร้อมวิชชา ๓ แล้วนั้น เมื่อระลึกถึงบุพเพนิวาสญาณ ของตนโดยลำดับ ได้เห็นจนถึงอจิตตกปฏิสนธิ (ปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นจิตดวงแรกในภพใดภพหนึ่ง) ในอสัญญภพ จากนั้นก็ไม่เห็นจิตตประวัติตลอด ๕๐๐ กัป ท่านไม่อาจระลึกถึงอัตภาพอันไม่มีจิตในระหว่างจุติและ ปฏิสนธิทั้ง ๒ ได้ จึงได้กำหนดโดยนัยว่า เราบังเกิดในอสัญญีภพแน่นอน พระโสภิตเถระนั้นกำหนดได้อยู่อย่างนี้ ได้กระทำสิ่งที่ทำได้ยาก เหมือนกับการแสดงรอยเท้าในอากาศ

    สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาผู้มีอายุยืน ชื่อว่า อสัญญสัตว์มีอยู่ พระโสภิตะจุติจากอสัญญภพนั้นแล้วมาบังเกิดในภพนี้ เธอย่อมรู้ภพนั่น โสภิตะย่อมระลึกได้

    พระศาสดาทรงทำเหตุนี้ให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องแล้ว ทรง สถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ระลึกบุพเพนิวาสญาณ
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระเมฆิยเถระ

    แม้พระเถระนี้ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ได้กระทำกุศลไว้ในภพนั้น ๆ ไว้เป็นอันมากดังนี้

    บุรพกรรมในสมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้า

    ในกัปที่ ๙๑ ถอยไปนับแต่ภัทรกัปนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้บังเกิดในตระกูลอันใหญ่ ครั้นเมื่อเติบโตแล้ว ในวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรลุถึงความสิ้นสุดแห่งพุทธกิจแล้ว จึงทรงปลงอายุสังขาร เป็นธรรมดาเมื่อพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารก็จะเกิดเหตุมหัศจรรย์คือเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ เกิดความขนพองสยองเกล้าน่าพึงกลัว ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือขึ้น มหาชนได้สะดุ้งตกใจกลัวแล้ว

    ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช ทรงเข้าใจเหตุการณ์นั้นอย่างแจ้งชัดจึงทรงยังมหาชนให้เบาใจ ว่า ภัยไม่มีในหมู่สัตว์ ท่านทั้งหลายจงมีอารมณ์ตั้งมั่น ทำใจให้สงบเถิด เหตุแผ่นดินไหวนี้เป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงอายุสังขาร เมื่อมหาชนได้ทราบเหตุนั้นแล้ว ก็ได้ถึงความสังเวช กุลบุตรนี้ สดับพุทธานุภาพ ในที่นั้นแล้ว เกิดความเคารพนับถืออย่างมากในพระศาสนา เสวยปีติโสมนัสอย่างโอฬาร ประกาศพระพุทธานุภาพว่า โอพระพุทธเจ้า โอพระธรรม โอความถึงพร้อมแห่งสัตถุศาสน์หนอ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร แผ่นดินก็หวั่นไหว ดังนี้ด้วยบุญกรรมแห่งความสำคัญมั่นหมายในพระพุทธเจ้านั้น เขาท่องเที่ยวไปในภูมิเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    ในกัปที่ ๑๔ แต่ภัทรกัปนี้ท่านได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชผู้ประเสริฐมีนามว่า สมิตะ มีพลมาก

    กำเนิดเป็นเมฆิยมาณพในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านมีกำเนิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในพระนครกบิลพัสดุ์ ได้นามว่า เมฆิยะ เมฆิยมาณพนั้น เจริญวัยแล้ว บวชในสำนักของพระบรมศาสดา อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าอยู่

    ใน ปฐมโพธิกาล ช่วงระยะ ๒๐ ปีแรก นับแต่ที่ได้ทรงตรัสรู้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีพระอุปฐากประจำ บางคราว พระนาคสมาละถือบาตรและจีวรตามเสด็จ บางคราวพระนาคิตะ บางคราวพระอุปวาณะ บางคราวพระสุนักขัตตะ บางคราวจุนทสมณเทส บางคราวพระสาคตะ บางคราว ท่านพระราธะ บาง คราวพระเมฆิยะ

    ในบรรดาท่านเหล่านั้น หลาย ๆ ท่านก็ไม่สามารถที่จะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้อย่างเหมาะสม เช่น

    ท่านพระนาคิตเถระ โดยที่ท่านมีร่างอ้วน ในการที่จะลุก หรือนั่งเป็นต้นก็อุ้ยอ้ายอืดอาด เพราะพระเถระมีร่างกายหนักจึงดูราวกะว่า ไม่ค่อยจะเคลื่อนไหวได้ การอุปัฏฐากพระบรมศาสดานั้นก็ไม่คล่องตัว ในบางครั้งหลานชายของท่านที่เป็นสามเณรชื่อว่า สีหะ จึงได้กระทำการอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเองแทนท่าน

    ท่านพระราธเถระนั้นเมื่อท่านอุปสมบทก็เมื่ออายุได้ ๘๐ ปี แล้ว การอุปัฏฐากพระบรมศาสดาจึงไม่สะดวกนัก

    ส่วนท่านพระนาคสมาลเถระนั้น มีเรื่องเล่าว่า

    บางคราวพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางไกล กับพระนาคสมาละเถระ เสด็จถึงทางสองแพร่ง พระเถระหลีกออกจากทางกราบ ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จะไปตามทางนี้

    ทีนั้นพระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสกะพระเถระนั้นว่า มานี่ ภิกษุเราจะไปทางนี้ พระเถระนั้นกราบ ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์รับบาตรและจีวรของพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะไปตามทางนี้ แล้วก็เตรียมจะวางบาตรและจีวรลงบนพื้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะพระเถระนั้นว่า นำมาเถิด ภิกษุ แล้วทรงรับบาตรและ จีวรเสด็จไป เมื่อภิกษุนั้นไปอีกทางหนึ่ง พวกโจรชิงบาตรและจีวรไป และ ตีศีรษะ ภิกษุนั้นคิดว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา ไม่มีผู้อื่นแล้ว ได้มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งที่เลือดไหล เมื่อพระผู้มีระภาคเจ้าตรัสว่า นี่อะไร ภิกษุ จึงกราบทูลเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส กะภิกษุนั้นว่า อย่าคิดไปเลยภิกษุ เราห้ามเธอถึงเหตุนั้นแล้วทรงปลอบภิกษุนั้น

    พระเมฆิยะไม่ฟังคำพระผู้มีพระภาค

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ จาลิกบรรพต ใกล้เมืองจาลิกาก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะเข้าไปบิณฑบาตในชันตุคาม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเมฆิยะ เธอจงสำคัญกาลที่ควรในบัดนี้

    ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังชันตุคาม ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในชันตุคามเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ท่านพระเมฆิยะเดินเที่ยวพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันอันน่าเลื่อมใสน่ารื่นรมย์ โดยที่ในอดีตกาล บริเวณนั้นเป็นพระราชอุทยาน ที่พระเถระเคยเกิดมาเป็นพระราชาและครอบครองมา ตลอด ๕๐๐ ชาติ ตามลำดับ ด้วยเหตุนั้น จิตของพระเถระนั้นจึงน้อมไปเพื่อจะอยู่ในที่นั้น ในขณะเพียงแค่ได้เห็นเท่านั้น ครั้นเห็นแล้ว ได้มีความคิดดังนี้ว่าอัมพวันนี้ช่างน่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์หนอ ควรเพื่อบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการความเพียร ถ้าพระผู้มีพระภาคพึงอนุญาตเรา เราพึงมายังอัมพวันนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร

    ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตในชันตุคาม ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในชันตุคามเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อข้าพระองค์เดินเที่ยวพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันอันน่าเลื่อมใสน่ารื่นรมย์ ครั้นเห็นแล้ว ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อัมพวันนี้น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์หนอควรเพื่อบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการความเพียร ถ้าพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตเรา เราพึงมายังอัมพวันนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร ถ้าพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์พึงไปยังอัมพวันนั้นเพื่อบำเพ็ญเพียร เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว

    พระผู้มีพระภาคสดับคำของพระเถระแล้ว ทรงใคร่ครวญอยู่ ทรงรู้ว่าญาณของพระเถระนั้น ยังไม่แก่กล้าก่อนดังนี้ จึงได้ตรัสห้ามท่านพระเมฆิยะว่า ดูกรเมฆิยะจงรออยู่ก่อน เราอยู่คนเดียว เธอจงรออยู่จนกว่าภิกษุรูปอื่นมาแทนตัว ฯ

    แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่มีกิจอะไรที่จะพึงทำให้ยิ่ง ไม่มีการสั่งสมอริยมรรคที่ทรงทำแล้ว ข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่ง ยังมีการสั่งสมอริยมรรคที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ข้าพระองค์พึงไปยังอัมพวันเพื่อบำเพ็ญความเพียร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเมฆิยะ จงรออยู่ก่อน เราอยู่คนเดียว เธอจงรออยู่จนกว่าภิกษุรูปอื่นมาแทนตัว ฯ

    แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่มีกิจอะไรที่จะพึงทำให้ยิ่ง ไม่มีการสั่งสมอริยมรรคที่ทรงทำแล้ว ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่ง ยังมีการสั่งสมอริยมรรคที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคพึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์พึงไปยังอัมพวันนั้นเพื่อบำเพ็ญความเพียร พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรเมฆิยะ เราจะพึงว่าอะไรเธอผู้กล่าวอยู่ว่า บำเพ็ญเพียร ดูกรเมฆิยะ เธอจงสำคัญกาลที่ควรในบัดนี้ ฯ

    ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตให้เธอไปในที่นั้น ? เพราะพระองค์ทรงอนุญาตด้วยทรงพระดำริว่า เมฆิยะนี้ถึงแม้เราไม่อนุญาต ก็ยังจะละเราไปอยู่นั่นแหละ อีกทั้งเธอก็จะมีความคิดเป็นอย่างอื่นไปว่าชะรอยพระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่อนุญาตให้เราไป เพราะประสงค์ให้เป็นผู้ปรนนิบัติ ซึ่งถ้าให้เธอคิดเช่นนั้น ก็จะทำให้ไม่เป็นประโยชน์ เกิดทุกข์ตลอดกาลนานแก่เธอ

    พระเมฆิยะถูกอกุศลวิตกเข้าครอบงำ

    ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปยังอัมพวัน อาศัยอัมพวันนั้น นั่งพักกลางวันอยู่ บนแผ่นศิลามงคล ซึ่งวางอยู่ ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง แผ่นศิลานั้นก็เป็นแผ่นศิลาแผ่นเดียวกับที่พระเถระเมื่อครั้งอดีตที่เคยเป็นพระราชาติดต่อกันมา ๕๐๐ ชาติเคยนั่งอยู่ในอุทยานนี้แหละ พร้อมกับทรงเล่นกีฬาและการละเล่นต่าง ๆ แวดล้อมด้วยสาวสนมนางใน ตั้งแต่เวลาที่ท่านพระเถระนั่งลงบนแผ่นศิลานั้นก็ปรากฏเหมือนภาวะแห่งสมณะเพศได้หายไป แต่ทรงเพศเป็นพระราชาเหมือนเมื่อครั้งในอดีต นั่งบนบัลลังก์อันควรค่ามากภายใต้เศวตฉัตร ครั้นเมื่อท่านยินดีสมบัตินั้น กามวิตกก็เกิดขึ้น

    ขณะนั้นเองท่านได้เห็น เหมือนเห็นโจร ๒ คนถูกจับพร้อมด้วยของกลาง ที่ราชบุรุษนำมายืนต่อเบื้องพระพักตร์ พยาบาทวิตกเกิดขึ้นด้วยอำนาจการสั่งให้ฆ่าโจรคนหนึ่ง และวิหิงสาวิตก (ความคิดในทางทำลายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ) เกิดขึ้นด้วยอำนาจการสั่งให้จองจำโจรคนหนึ่ง

    เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านได้เป็นผู้ถูกครอบงำด้วยอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตกวิหิงสาวิตก เกิดความฟุ้งซ่านเป็นอันมาก ท่านพระเมฆิยะจึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาก็ยังถูกอกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกครอบงำ ฯ

    พระเถระเมื่อฟุ้งซ่านไปด้วยมิจฉาวิตกอย่างนี้ เมื่อไม่อาจทำกรรมฐานให้เป็นสัปปายะ จึงเห็นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นกาลไกล ได้เห็นเหตุอันน่าอัศจรรย์นี้หนอ จึงทรงห้าม คิดว่า เราจักกราบทูลเหตุนี้แด่พระทศพล จึงลุกขึ้นจากอาสนะที่นั่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลเรื่องของตน

    พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมโปรดพระเถระ

    เมื่อท่านนั่งกราบทูลเรื่องราวของตนอย่างนี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมอันเป็นสัปปายะ สำหรับบ่มวิมุตติแก่เธอ จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีความโดยสรุปดังนี้

    ดูกรเมฆิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรมประการที่ ๑

    เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระแลโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒

    เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเครื่องขัดเกลากิเลส เป็นไปเพื่อเป็นที่สบายในการเปิดจิต เพื่อเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา ศีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา นี้เป็นธรรมประการที่ ๓

    เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม นี้เป็นธรรมประการที่ ๔

    เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมประการที่ ๕

    ดูกรเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า

    ต่อแต่นั้น เมื่อจะตรัสบอกกรรมฐานแห่งพระอรหัต จึงตรัสว่า

    ดูกรเมฆิยะ ก็แลอันภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้วพึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ

    พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ

    พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท

    พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก

    พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อเพิกถอนอัสมิมานะ

    ดูกรเมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพาน อันเป็นที่เพิกถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะในปัจจุบันเทียว ฯ

    พระเถระบรรลุธรรม

    ลำดับนั้น เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเมฆิยเถระตั้งอยู่ในโอวาทนั้น เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระอุปสีวเถระ

    บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตระพุทธเจ้า

    แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้มากมายในภพนั้น ๆ ในกัปนับจากภัทรกัปนี้ไปแสนหนึ่ง พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตระ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ได้ทรงทำให้มหาชนเป็นอันมาก ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้

    ในสมัยนั้น ท่านพระเถระได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว ละเพศฆราวาส บวชเป็นฤาษี สร้างอาศรม สร้างบรรณศาลาอย่างสวยงาม ณ ที่ใกล้ภูเขาชื่ออโนมะ อันมีอยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ ณ ที่นั้นมีแม่น้ำไหลอยู่ มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ กอปทุมและกออุบลเป็นอันมาก ย่อมเกิดที่ท่าน้ำอันชุ่มชื้นอยู่ในป่าหิมวันต์ ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ลาดเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยดอกสาละแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งบนเครื่องลาดอันนั้น

    พระเถระในครั้งนั้นมีศิษย์ผู้เป็นฤๅษีเป็นอันมาก บรรดาศิษย์เหล่านั้นล้วนเป็นผู้มีอานุภาพมาก ฤาษีเหล่านั้น ย่อมเหาะไปได้ในอากาศ นำเอาน้ำใหม่และไม้สำหรับทำฟืนใส่ไฟมา ศิษย์บางพวกไปสู่อุตตรกุรุทวีป ต่างนำเอาอาหารจากทวีปนั้น มาบริโภคร่วมกัน เมื่อฤๅษีทั้งหมดผู้มีเดชอย่างนี้เหาะไปในอากาศพร้อมกัน ป่าทั้งป่าย่อมปรากฏกระหึ่มด้วยเสียงหนังสัตว์ที่ตนนุ่งห่มนั้นสะบัดกับอากาศ

    ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควรรับเครื่องบูชา ได้เสด็จเข้ามาในป่าที่ท่านอาศัยอยู่ ครั้นพระพุทธองค์เสด็จมาใกล้ จึงทรงรับบาตรจากพระพุทธอุปัฎฐาก แล้วเสด็จเข้ามาเพื่อภิกษา ท่านได้เห็นพระพุทธองค์เสด็จเข้ามา จึงปูลาดเครื่องลาดหญ้าแล้วเกลี่ยด้วยดอกรัง ทูลเชิญพระสัมพุทธเจ้าประทับนั่งแล้ว ท่านด้วยความทั้งดีใจและสลดใจ ได้รีบขึ้นไปบนภูเขา นำเอากฤษณามา ได้เก็บเอาขนุนอันมีกลิ่นหอม ผลโตประมาณเท่าหม้อ ยกขึ้นบ่าแบกมา เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาพระองค์นั้น

    ท่านได้ถวายผลขนุนแก่พระพุทธเจ้าแล้วบูชาพระองค์ด้วยกฤษณาอันมีกลิ่นหอม ท่านมีจิตเลื่อมใสโสมนัสยิ่งนัก ได้ถวายบังคมพระพุทธองค์

    พระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงประทับนั่งในท่ามกลางพวกฤๅษี ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดได้ถวายผลขนุน กฤษณา และอาสนะแก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

    โภชนาหารดังจะรู้จิตคนผู้นี้ จักเกิดขึ้นทั้งในบ้าน ในป่า ที่เงื้อมเขาหรือใน ถ้ำ คนผู้นี้บังเกิดในเทวโลกหรือในมนุษยโลก จักอิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วย โภชนาหารและผ้าผ่อน คนผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักเป็นผู้มีโภคสมบัติร้อยล้านแสนโกฏิท่องเที่ยวไป จักรื่นรมย์อยู่ใน เทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัป จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง จักเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๗๑ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอัน ไพบูลย์โดยคณานับมิได้

    ในแสนกัปต่อไปภายหน้า พระศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้จักเป็นทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น จักได้เป็นสาวกของพระศาสดาโดยมีนามชื่อว่า อุปสีวะ จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

    ท่านได้กระทำกรรมดีจนตลอดชีวิต ครั้นละจากภพมนุษย์นี้ไปแล้ว ก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิมนุษย์และเทวดา

    บุรพกรรมสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

    มีเรื่องอยู่ว่า ครั้งอดีตกาลสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า มีช่างไม้คนหนึ่งชาวกรุงพาราณสี มีความรู้ทางด้านช่างไม้อย่างไม่มีใครเทียบในสำนักอาจารย์ของตน ช่างไม้นั้นมีศิษย์ ๑๖ คน ศิษย์คนหนึ่ง ๆ มีศิษย์คนละ ๑,๐๐๐ คน รวมอาจารย์และศิษย์เหล่านั้นเป็น ๑๖,๐๑๗ คนอย่างนี้ ทั้งหมดนั้นอาศัยอยู่ในกรุงพาราณสี เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการเอาไม้ในแถบภูเขามาสร้างเป็นปราสาทชนิดต่าง ๆ แล้วผูกแพนำมาขายยังกรุงพาราณสีทางแม่น้ำคงคา หากพระราชาทรงต้องการก็จะสร้างปราสาทชั้นเดียว หรือเจ็ดชั้นถวาย หากไม่ทรงต้องการ ก็จะขายคนอื่นเลี้ยงบุตรภรรยา

    ลำดับนั้นวันหนึ่ง อาจารย์ของศิษย์เหล่านั้นคิดว่า เราไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการเป็นช่างไม้ได้ตลอดไป เพราะถึงคราวแก่ตัวลงก็จะทำงานนี้ได้ยาก จึงเรียกศิษย์ทั้งหลายมาบอกว่า นี่แน่ะท่านทั้งหลาย พวกท่านจงไปนำต้นไม้ที่มีแก่นน้อยมีน้ำหนักเบา เช่นต้นมะเดื่อเป็นต้นมาให้เรา ศิษย์เหล่านั้นรับคำแล้วต่างก็ ไปนำมา อาจารย์นั้นเอาไม้นั้นมาประดิษฐ์เป็นรูปนกแล้วใส่เครื่องกลไกเข้าไปภายในนกนั้น นกไม้ยนต์นั้นก็สามารถบินขึ้นสู่อากาศดุจพญาหงส์ เที่ยวไปเบื้องบนป่าแล้วบินลงเบื้องหน้าศิษย์ทั้งหลาย

    ลำดับนั้น อาจารย์จึงถามศิษย์ทั้งหลายว่า นี่แน่ะท่านทั้งหลาย เราทำพาหนะไม้เช่นนี้ได้ ก็จะสามารถยึดราชสมบัติได้ การเลี้ยงชีพด้วยศิลปะการเป็นช่างไม้ลำบาก ศิษย์เหล่านั้นจึงได้ดำเนินการตามที่อาจารย์สั่ง ครั้นสำเร็จแล้วจึงได้แจ้งให้อาจารย์ทราบ ลำดับนั้นอาจารย์จึงปรึกษากับพวกศิษย์ว่า เราจะยึดราชสมบัติที่ไหนก่อน พวกศิษย์ตอบว่า ยึดราชสมบัติกรุงพาราณสีซิ ท่านอาจารย์ อาจารย์กล่าวว่า อย่าเลยพวกท่าน ไม่ดีดอก เพราะแม้พวกเราจะยึดราชสมบัติกรุงพาราณสีได้ ก็จะไม่พ้นจากการพูดถึงอาชีพเดิมของเราคือช่างไม้ว่า เราเป็นพระราชาช่างไม้ เรามีพระยุพราชช่างไม้ ชมพูทวีปออกใหญ่โต เราไปที่อื่นกันเถิด

    ลำดับนั้น พวกศิษย์พร้อมด้วยลูกเมียขึ้นนกยนต์พร้อมด้วยอาวุธ มุ่งหน้าไปหิมวันตประเทศ เข้าไปยังนครหนึ่งในหิมวันต์ แล้วพากันบุกเข้าไปถึงพระราชมณเฑียรนั่นเองด้วยนกยนต์ ศิษย์เหล่านั้นก็สามารถยึดราชสมบัติในนครนั้นได้โดยง่าย จากนั้นจึงอภิเษกอาจารย์ไว้ในฐานะพระราชา ชื่อว่าพระเจ้ากัฏฐวาหนะ นครนั้นจึงได้ชื่อว่า กัฏฐวาหนคร

    พระราชากัฏฐวาหนะได้ทรงดำรงอยู่ในธรรม ทรงตั้งพระยุพราช และทรงตั้งศิษย์ทั้ง ๑๖ คน ไว้ในตำแหน่งอาจารย์ พระราชาทรงสงเคราะห์ศิษย์เหล่านั้นด้วยสังคหวัตถุ ๔ จึงเป็นแคว้นที่มั่งคั่ง สมบูรณ์และไม่มีอันตราย ทั้งชาวเมืองชาวชนบทนับถือพระราชาและข้าราช การเป็นอย่างยิ่ง พูดกันว่า พวกเราได้พระราชาที่ดี ข้าราชบริพารก็เป็นคนดี

    อยู่มาวันหนึ่ง พวกพ่อค้าจากมัชฌิมประเทศ นำสินค้ามาสู่กัฏฐวาหนนคร และนำเครื่องบรรณาการไปเฝ้าพระราชา พระราชาตรัสถามว่า พวกท่านมาจากไหน พวกพ่อค้าทูลว่า ขอเดชะ มาจากกรุงพาราณสีพระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามเรื่องราวทั้งหมด ณ กรุงพาราณสีนั้นแล้วตรัสว่า พวกท่านจงนำมิตรภาพของเราไปทูลกับพระราชาของพวกท่านเถิด พ่อค้าเหล่านั้นรับพระราชดำรัสแล้ว พระราชาพระราชทานเสบียงแก่พวกพ่อค้าเหล่านั้น เมื่อถึงเวลาไปยังตรัสชี้แจงด้วยความใส่พระทัย

    พวกพ่อค้ากลับไปกรุงพาราณสีได้กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระราชาตรัสว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเราจะงดเก็บส่วยของพ่อค้าที่มาจากแคว้นกัฏฐวาหะ แล้วทรงให้ป่าวประกาศว่า พระราชากัฏฐวาหนะจงเป็นพระสหายของเรา พระราชาทั้งสองได้เป็นมิตรกันโดยไม่ได้เห็นกันเลย แม้พระราชากัฏฐวาหนะ ก็ทรงให้ป่าวประกาศไปทั่วนครว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ท่านจงงดเก็บส่วยของพ่อค้าที่มาจากกรุงพาราณสี และควร ให้เสบียงแก่พวกเขาด้วย

    ลำดับนั้นพระเจ้าพาราณสี ทรงส่งพระราชสารไปถวายแด่พระเจ้ากัฏฐวาหนะว่า หากมีอะไรแปลก ๆ อันสมควรเพื่อจะเห็น เพื่อจะฟังในชนบทนั้นเกิดขึ้นเพื่อให้ข้าพระองค์ได้เห็นและได้ฟังบ้าง ก็ขอได้โปรดพระราชทานพระกรุณาด้วย พระราชกัฏฐวาหนะทรงส่งพระ ราชสารตอบถวายพระราชาพาราณสีเหมือนกัน พระราชาทั้งสองทรงกระทำกติกากันอยู่อย่างนั้น

    คราวหนึ่ง พระราชากัฏฐวาหนะได้ผ้ากัมพลเนื้อละเอียดยิ่งนัก มีค่ามากเหลือเกิน มีสีคล้ายรัศมีพระอาทิตย์อ่อน ๆ พระราชากัฏฐวาหนะทอดพระเนตรเห็นผ้ากัมพลเหล่านั้น ทรงดำริว่า เราจักส่งไปให้สหายของเราจึงให้ช่างทำงา สลักผอบงา ๘ ใบ เอาผ้ากัมพลใส่ลงในผอบเหล่านั้น ผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ๆ ยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอก ก็สามารถบรรจุลงในผอบงาใบเล็ก ๆ ได้ จากนั้นจึงให้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับครั่งทำก้อนครั่งกลมหุ้มข้างนอก เอาครั่งเป็นก้อนกลม ๘ ก้อนใส่ไว้ในสมุก เอาผ้าพันไว้ประทับตราแล้วทรงส่งอำมาตย์ไป รับสั่งว่า พวกท่านจงนำไปถวายพระราชาพาราณสี และทรงจารึกพระอักษรว่า บรรณาการนี้ อันหมู่อำมาตย์ท่ามกลางพระนครพึงสนใจ และส่งให้พวกอำมาตย์นำ ไปถวายแด่พระเจ้าพาราณสี

    พระเจ้าพาราณสีทรงอ่านคำจารึกแล้วรับสั่ง ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ ทรงแกะตราประทับแล้วคลี่ผ้าพันออก เมื่อเปิดสมุกก็ทรงเห็นก้อนครั่งกลม ๘ ก้อน พระเจ้าพาราณสีทรงอายว่าสหายของเราส่งก้อนครั่งกลมให้เรา คล้ายกับให้เด็กอ่อนเล่นก้อนครั่งกลม จึงทรงทุบก้อนครั่งก้อนหนึ่ง ณ พระที่นั่งของพระองค์ ทันใดนั้นเอง ครั่งก็ แตกออก ผอบงาจึงตกมาแล้วแยกออกเป็นสองส่วน ทอดพระ เนตรเห็นผ้ากัมพลอยู่ข้างใน จึงทรงเปิดผอบอื่น ๆ ออกดู ในผอบแต่ละใบได้บรรจุผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ๆ ยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอกเหมือน ๆ กัน มหาชนเห็นดังนั้นต่างก็ได้มีความพอใจว่า พระราชากัฏฐวาหนะ ซึ่งเป็นพระอทิฏฐสหาย (สหายที่ไม่เคยเห็นกัน) ของพระราชาของเราทรงส่งบรรณาการเช่นนี้มาถวาย การทำไมตรีเช่นนี้สมควรแล้ว พระราชารับสั่งให้เรียกพ่อค้ามาตีราคาผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ๆ พ่อค้าเห็นผ้ากัมพลนั้นแล้วกราบทูลว่า ผ้ากัมพลทั้งหลายนี้ประมาณค่ามิได้เลย ลำดับนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงดำริว่า การส่งบรรณาการตอบแทน ก็ควรจะส่งให้เหนือกว่าบรรณการที่ส่งมาถวาย สหายของเราส่งบรรณาการหาค่ามิได้มาให้เรา เราควรจะส่งอะไรให้สหายดีหนอ

    ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะทรงอุบัติขึ้นแล้ว ประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสี ครั้งนั้นพระราชาได้มีพระราชดำริว่า สิ่งอื่นจะ สูงสุดยิ่งกว่าพระรัตนตรัยไม่มี เอาเถิด เราจะส่งข่าวว่าพระรัตนตรัยเกิดขึ้นแล้ว แก่สหาย พระเจ้าพาราณสีนั้น ตรัสให้จารึกคาถานี้ว่า

    พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นพร้อมแล้วในโลก

    เพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งปวง

    พระธรรม เกิดขึ้นพร้อมแล้วในโลก

    เพื่อความสุขแก่สัตว์ทั้งปวง

    พระสงฆ์เกิดขึ้นพร้อมแล้วในโลก

    เป็นบุญเขต ที่ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า ดังนี้

    และให้จารึกการปฏิบัติของภิกษุรูปหนึ่งตราบเท่าถึงพระอรหัต ด้วยชาดสีแดงลงบนแผ่นทอง ใส่ลงในสมุกทำด้วยแก้ว ๗ ประการ ใส่สมุกนั้นลงในสมุกทำด้วยแก้วมณี ใส่สมุกทำด้วยแก้วมณีลงในสมุกแก้วตาแมว ใส่สมุกแก้วตาแมวลงในสมุกทับทิม ใส่สมุกทับทิมลงในสมุกทองคำ ใส่สมุกทองคำลงในสมุกเงิน ใส่สมุกเงินลงในสมุกงาช้าง ใส่สมุกงาช้างลงในสมุกไม้แก่น ใส่สมุกไม้แก่นลงในหีบ เอาผ้าพันหีบแล้วประทับตราพระราชลัญจกร ทรงให้นำช้างเมามันตัวประเสริฐ มีธงทองคำประดับด้วยทองคำ คลุมด้วยตาข่ายทองให้ตกแต่งบัลลังก์บนช้างนั้น แล้วยกหีบวางไว้บนบัลลังก์ กั้นเศวตฉัตร บูชาด้วยของหอมและดอกไม้ทุกชนิด ขับเพลงสรรเสริญหนึ่งร้อยบท ด้วยกังสดาลทุกชนิด เคลื่อนไป แล้วทรงให้ตกแต่งทางตลอดระยะไปจนถึงเขตรัฐสีมาของพระองค์ แล้วทรงนำไปด้วยพระองค์เอง เสด็จประทับอยู่ ณ ทางนั้น

    ทรงนำไปจนถึงเขตรัฐสีมาของพระราชากัฏฐวาหนะ พระราชากัฏฐวาหนะได้ทรงสดับข่าวนั้น ก็เสด็จมาต้อนรับ ทรงกระทำการต้อนรับเหมือนเช่นที่พระราชาแห่งกรุงพาราณสีทรงกระทำ แล้วทูลเชิญให้เสด็จเข้าพระนคร รับสั่งให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ และพวกชาวพระนคร ทรงเปลื้องผ้าพันออก ณ พระลานหลวง ทรงเปิดหีบทอดพระเนตรเห็นสมุกในหีบ แล้วทรงเปิดหีบทั้งหมดตามลำดับ ทอดพระเนตรเห็นจารึกบนแผ่นทองคำ ทรงพอพระทัยว่า สหายของเราทรงส่งรัตนบรรณาการ ซึ่งหาได้ยากอย่างยิ่งตลอด แสนกัป พวกเราได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟังว่า พุทโธ โลเก อุปปนโน พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลกดังนี้

    ทรงดำริว่า ถ้ากระไรเราควรจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และฟังพระธรรม ดังนี้แล้วตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลายมารับสั่งว่า ได้ยินว่า พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ อุบัติแล้วในโลก พวกท่านคิดว่าควรจะทำอะไร อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ประทับอยู่ ณ ที่นี้แหละ พวกข้าพระองค์จักไปฟังข่าวดู พระเจ้าข้า

    ลำดับนั้น อำมาตย์ ๑๖ คน พร้อมด้วยบริวาร ๑๖,๐๐๐ คน ถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ผิว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก พวกข้าพระพุทธเจ้าก็คงไม่มีการกลับมาเห็นอีก หากว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงอุบัติ พวกข้าพระพุทธเจ้าก็จักกลับมา กราบทูลดังนั้นแล้วก็ถวายบังคมลาแล้วก็พากันเดินทางไป ฝ่ายพระเจ้าหลานเธอของพระราชาพระองค์หนึ่ง ถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไป พระราชาตรัสว่า เมื่อเจ้าทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ ณ ที่นั้นแล้ว จงกลับมาบอกเราด้วย พระเจ้าหลานเธอรับพระบัญชาแล้วจึงได้ไป พวกเขาแม้ทั้งหมดไปตลอดทางพักเพียงราตรีเดียว ก็ถึงพระนครพาราณสี

    ในระหว่างที่พวกอำมาตย์ยังเดินทางไปกรุงพาราณสีนั่นเอง ยังไม่ทันถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จดับขันธปรินิพพานไปเสียก่อนแล้ว เมื่อเหล่าอำมาตย์มาถึง พวกเขาก็เที่ยวไปจนทั่ววิหาร แลเห็นเหล่าพระสาวกอยู่กันพร้อมหน้า จึงถามว่าใครเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน พระสาวกเหล่านั้นจึงบอกแก่พวกเขาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้ว เหล่าอำมาตย์จึงถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พระโอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานไว้ยังมีอยู่หรือไม่ พระสาวกเหล่านั้นกล่าวว่า มีอยู่ อุบาสก คือพึงตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย พึงสมาทานศีล ๕ พึงเข้าอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ พึงให้ทาน พึงปฏิบัติธรรม

    อำมาตย์เหล่านั้นครั้นได้ฟังแล้วพากันบวชทั้งหมด เว้นแต่อำมาตย์ผู้เป็นพระเจ้าหลานเธอนั้น อำมาตย์ผู้เป็นพระเจ้าหลานเธอ ถือ เอาบริโภคธาตุ (ต้นโพธิ์ บาตรและจีวร เป็นต้น ชื่อว่า บริโภคธาตุ) มุ่งหน้ากลับไปยังแคว้นกัฏฐวาหนะ พระเจ้าหลานเธอนี้ถือเอาธมกรก (หม้อกรองน้ำ) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และพาพระเถระรูปหนึ่งผู้ทรงธรรมและวินัยไปยังพระนครโดยลำดับ ได้กราบทูลพระราชาว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลกและเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้กราบทูลถึงโอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานไว้ พระราชาเสด็จเข้าไปหาพระเถระฟังธรรมแล้วรับสั่งให้สร้างวิหาร ประดิษฐานพระเจดีย์ ปลูกต้นโพธิ์ ทรงดำรงอยู่ในพระรัตนตรัย และ ศีล ๕ เป็นนิจ ทรงเข้าอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ทรงให้ทาน ทรงดำรงอยู่ตราบเท่าอายุแล้วไปยังบังเกิดในกามาวจรเทวโลก แม้อำมาตย์ ๑๖,๐๐๐ คน ก็พากันบวช แล้วมรณภาพเยี่ยงปุถุชน ยังไม่ได้มรรคผลอันใด แล้วได้ไปเกิดเป็นบริวารของพระราชาผู้เป็นเทวดานั้นนั่นเอง

    สมัยพระสมณโคดมพุทธกาล

    เมื่อเวลาผ่านไปพุทธันดรหนึ่ง ในภัทรกัป สมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรายังไม่ทรงอุบัติ พระราชาและอำมาตย์เหล่านั้น ที่บังเกิดเป็นเทวดา เสวยสุขอยู่ในเทวโลกก็ได้จุติลงมาเกิดในโลกมนุษย์

    พระราชาและอำมาตย์เหล่านั้นที่บังเกิดเป็นเทวดาเสวยสุขอยู่ในเทวโลกก็ได้จุติจากเทวโลก

    พระราชาเกิดเป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้ามหาโกศลผู้เป็นพระชนกของพระเจ้าปเสนทิ มีชื่อว่า พาวรี ประกอบด้วย มหาปุริสลักษณะ ๓ ประการ ได้เล่าเรียนวิชาพราหมณ์จนจบไตรเทพ ครั้นเมื่อบิดาล่วงลับไปก็ได้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตแทน

    ส่วนอำมาตย์ผู้ใหญ่ ๑๖ คนนั้น ในภพสุดท้ายนี้ หนึ่งในนั้นก็ถือปฏิสนธิในครอบครัวพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาได้ตั้งชื่อว่า อุปสีวะ และอำมาตย์ผู้ใหญ่ที่เหลืออีก ๑๕ คน และอำมาตย์ที่เป็นบริวารอีก ๑๖,๐๐๐ คน ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่กรุงสาวัตถีนั้นนั่นเอง

    ท่าน อุปสีวะเมื่อมีอายุพอจะศึกษาศิลปวิทยาแล้ว บิดามารดาจึงนำไปฝากเป็นศิษย์คนหนึ่งในจำนวนศิษย์ ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ซึ่งท่านและศิษย์ผู้ใหญ่อีก ๑๕ คนนั้นต่างก็มีศิษย์คนละ ๑,๐๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๑๖,๐๐๐ คน

    เมื่อพระราชามหาโกศลได้เสด็จสวรรคต พระเจ้าปเสนทิจึงได้อภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ พาวรีพราหมณ์ก็ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทินั้นอีก พระราชาได้พระราชทานสิ่งของที่พระชนกพระราชทานไว้ และสมบัติอื่นแก่พาวรีปุโรหิตเป็นอันมาก พระราชานั้นเมื่อยังทรงพระเยาว์ ก็ได้เรียนศิลปะในสำนักของพาวรีปุโรหิตเหมือนกัน

    พาวรีปุโรหิตออกบวช

    ลำดับนั้น พาวรีได้ทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์จักบวช พระราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์ เมื่อท่านดำรงอยู่ก็เหมือนบิดาของข้าพเจ้ายังอยู่ ท่านอย่าบวชเลย พาวรีทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์จักบวชแน่พระเจ้าข้า พระราชาเห็นว่าไม่ทรงสามารถห้ามได้ จึงทรงขอร้องว่า ขอท่านจงบวชอยู่ในพระราชอุทยานนี้เถิด ข้าพเจ้าจะได้เห็นทุกเย็นและเช้า อาจารย์พร้อมด้วย ศิษย์ ๑๖ คน กับบริวารอีก ๑๖,๐๐๐ คน ได้บวชเป็นดาบสอยู่ในพระราชอุทยาน พระราชาทรงบำรุงด้วยปัจจัย ๔ เสด็จไปทรงอุปัฏฐากอาจารย์นั้น ทุกเวลาเย็นและเวลาเช้า

    พราหมณ์พาวรีย้ายสำนักออกไปนอกพระนคร

    อยู่มาวันหนึ่งศิษย์ทั้งหลายกล่าวกะอาจารย์ว่า การอยู่ใกล้พระนครมีเครื่องพัวพันมาก ท่านอาจารย์เราไปหาโอกาสที่ไม่มีชนรบกวนเถิด ชื่อว่าการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด เป็นประโยชน์มากแก่บรรพชิตทั้งหลาย อาจารย์ รับว่า ดีละ จึงไปทูลพระราชา พระราชาตรัสห้ามถึง ๓ ครั้งก็ไม่สามารถจะห้ามได้ จึงพระราชทานกหาปณะ ๒๐๐,๐๐๐ กหาปณะ รับสั่งกะอำมาตย์ทั้ง หลายว่า พวกเจ้าทรงสร้างอาศรมถวาย ในที่ที่คณะฤๅษีปรารถนาจะอยู่เถิด แต่นั้นอาจารย์พร้อมด้วยชฏิล ๑๖,๐๐๐ เป็นบริวาร ได้รับอนุเคราะห์จากพวก อำมาตย์จึงออกจากอุตตรชนบท มุ่งหน้าไปทักษิณชนบท

    ครั้นเมื่อพาหมู่คณะเดินทางมาถึงบริเวณใกล้พรมแดนใน ระหว่างสองแคว้น คือ แคว้นอัสสกะและแคว้นมุฬกะซึ่งเป็นภุมิประเทศที่ แม่น้ำโคธาวารีแยกออกเป็นสองสาย แล้วมาบรรจบกันอีกครั้งหนึ่ง เกิดเป็นเกาะกว้างยาวประมาณ ๓ โยชน์ เกาะทั้งหมดปกคลุมไปด้วยป่ามะขวิด เมื่อก่อน ณ บริเวณนั้นสรภังคดาบสเป็นต้นได้อาศัยอยู่

    อาจารย์เห็นเช่นนั้นแล้วจึงประกาศแก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า ประเทศนี้เป็นที่อยู่ของสมณะมาก่อน ประเทศนี้สมควรแก่นักบวช พวกอำมาตย์จึงได้ให้ทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ แก่พระเจ้าอัสสกะ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ให้แก่พระเจ้ามุฬกะ เพื่อการครอบครองถือเอาภูมิประเทศนั้น พระราชาทั้งสองนั้นได้พระราชทานที่บริเวณเกาะนั้นและบริเวณอื่นประมาณ ๒ โยชน์ รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๕ โยชน์ ซึ่งอยู่ในระหว่างเขตรัฐสีมาของพระราชาเหล่านั้น พวกอำมาตย์ก็ได้สร้างอาศรม ณ ที่นั้นแล้วและให้นำทรัพย์มาจากกรุงสาวัตถีมาจัดตั้งเป็นโคจรคามเสร็จแล้วพากันกลับไป

    พาวรีพราหมณ์และเหล่าศิษย์ ทั้ง ๑๖,๐๑๖ คนก็เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยการเที่ยวภิกขาและผลไม้ ต่อมาก็ได้มีชาวบ้านซึ่งเลื่อมใสในวัตรของพราหมณ์ เข้ามาปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอยู่บนที่ดินของพราหมณ์เหล่านั้น โดยได้รับอนุญาตจากพวกพราหมณ์ เกิดเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ชาวบ้านที่อาศัยพราหมณ์พาวรีนั้น ก็เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยผลอันเกิดจากการกสิกรรม ครั้นครบรอบปีเหล่าชาวบ้านก็รวบรวมเงินจากแต่ละครอบครัวเพื่อเป็นส่วยให้แก่พระราชา และถือเอาส่วยนั้นไปเฝ้าพระเจ้าอัสสกะ ทูลกับพระราชาว่า ขอพระองค์ทรงรับส่วยนี้เถิด พระเจ้าอัสสกะตรัสว่า เราไม่รับ พวกท่านจงนำไปถวายอาจารย์เถิด พวกชาวบ้านก็นำส่วย ๑๐๐,๐๐๐ นั้นมามอบต่อพาวรีพราหมณ์

    พาวรีพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเราต้องการเงินทอง ก็ไม่พึงสละทรัพย์สินมากมายของเราออกบวช พวกท่านจงรับเอากหาปณะของพวกท่านคืนไปเสีย พวกชาวบ้านบอกว่า พวกเราจะไม่ยอมรับทรัพย์ที่พวกเราบริจาคแล้วอีก ยิ่งไปกว่านั้นพวกเราจะนำทรัพย์มาให้ท่านทำนองนี้ทุก ๆ ปี ถ้าท่านไม่รับเพื่อประโยชน์ตนเองละก็ ขอท่านจงรับกหาปณะเหล่านี้ไว้ให้ทานก็แล้วกัน พราหมณ์จึงยอมรับทรัพย์ดังกล่าวไว้ โดยเก็บไว้ในเพื่อการให้ทานแก่ผู้กำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจก

    อาจารย์นั้นกระทำมหายัญคือ คือการให้ทานจากทรัพย์ดังกล่าวเป็นประจำทุก ๆ ปี ปีละครั้งอย่างนี้ กิติศัพท์การทำมหาทานของพราหมณ์พาวรีก็กระจายไปทั่วชมพูทวีป

    พราหมณ์พาวรีโดนพราหมณ์ผู้มาขอรับทานสาปแช่ง

    ครั้งนั้น ในหมู่บ้านทุนนวิตถะ ในแคว้นกลิงคะ นางพราหมณีสาว ผู้เป็นภริยาของพราหมณ์เฒ่าผู้เกิดมาในวงศ์ของชูชกพราหมณ์ ได้ทราบข่าวการทำทานดังกล่าวของพราหมณ์พาวรี จึงลุกขึ้นเตือนพราหมณ์ผู้เป็นสามีว่า เขาว่า พาวรีกำลังให้ทาน ท่านจงไปรับบริจาคเงินทองมาจากที่นั้น พราหมณ์นั้นถูกพราหมณีพูดดังนั้นก็ไม่อาจทนอยู่ได้จึงได้ออกเดินทางไปยังสำนักของพราหมณ์พาวรี ครั้นเมื่อไปถึง ก็เป็นวันที่พราหมณ์พาวรีได้กระทำมหาทานไปเสียแล้วตั้งแต่เมื่อวันวาน ซึ่งเมื่อให้ทานแล้ว พราหมณ์พาวรีก็เข้าบรรณศาลากำลังนอนนึกถึงทานที่ตนได้กระทำไปนั้น

    ครั้นเข้าไปถึงก็พูดว่า “ท่านพราหมณ์ โปรดให้ทานแก่ข้าเถิด ท่านพราหมณ์โปรดให้ทานแก่ข้าเถิด”

    พาวรีพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านมาไม่ถูกเวลา เราให้ทานแก่พวกยาจกที่มาถึงไปแล้ว บัดนี้ไม่มีกหาปณะดอก”

    พราหมณ์พูดว่า “ท่านพราหมณ์ ข้าไม่ต้องการกหาปณะมากมายเลย ข้าขอเพียง ๕๐๐ กหาปณะ”

    พาวรีพราหมณ์ “ท่านพราหมณ์ ๕๐๐ กหาปณะก็ไม่มี เมื่อถึงเวลาให้ทานครั้งหน้า ท่านจึงได้”

    พราหมณ์พูดว่า “ก็เวลาท่านให้ทาน ข้าจักมาได้อย่างไร” แล้วจึงทำกลอุบายเพื่อให้พาวรีพราหมณ์เกิดความกลัว โดยก่อทรายเป็นสถูปใกล้ประตูบรรณศาลา โรยดอกไม้สีแดงไปรอบ ๆ ทำปากขมุบ ขมิบเหมือนบ่นมนต์แล้วพูดว่า “เมื่อเราขอ แล้วท่านไม่ให้ไซร้ ในวันที่ ๗ ศีรษะของท่านจะแตก ๗ เสี่ยง”

    พราหมณ์พาวรีฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ก็เกิดสะดุ้งหวาดกลัว เป็นผู้มีทุกข์ซูบซีด ไม่บริโภคอาหาร เมื่อเป็นผู้เต็มไปด้วยความทุกข์อย่างนี้ ใจก็ไม่ยินดีในการบูชาเทพและเทวดาทั้งหลาย

    เทวดาบอกปริศนาธรรม

    เทวดาผู้สถิตอยู่ ณ บรรณศาลานั้น เห็นพราหมณ์พาวรีมีทุกข์สะดุ้งหวาดหวั่น จึงเข้าไปหาพราหมณ์พาวรีแล้วได้กล่าวว่า พราหมณ์นั้นไม่รู้จักศีรษะ เป็นผู้หลอกลวง ต้องการทรัพย์ ไม่มีความรู้ในในเรื่อง ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ฯ

    พราหมณ์พาวรีถามว่าบัดนี้ ท่านรู้จักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอก ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะฟังคำของท่าน ฯ

    เทวดาตอบว่าแม้เราก็ไม่รู้ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป เราไม่มีความรู้ในธรรมทั้ง ๒ นี้ ปัญญาเป็นเครื่องเห็นธรรมอันเป็นศีรษะและธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ย่อมมีเฉพาะในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ

    พราหมณ์พาวรีถามว่า ในปัจจุบันนี้ มีใครเล่าในปฐพีมณฑลนี้ที่รู้ ขอท่านเทวดาจงบอกบุคคลผู้รู้ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไปนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด ฯ

    เทวดาบอกเรื่องพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ

    เทวดาตอบว่าดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคผู้ศากยบุตร ลำดับพระวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช มีพระรัศมีรุ่งเรือง เป็นนายกของโลกเสด็จออกผนวชจากพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ทรงบรรลุอภิญญาและทศพลญาณครบถ้วน ทรงมีพระจักษุในสรรพธรรม ทรงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง ทรงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นตรัสรู้แล้วในโลก มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรม ท่านจงไปทูลถามพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเถิด พระองค์จักตรัสพยากรณ์ข้อความนั้นแก่ท่าน ฯ

    พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำว่า สัมพุทโธ ก็เป็นผู้มีใจเฟื่องฟู ความโศกสลดก็เบาบางลงไป และเกิดปีติอันท่วมท้น มีใจชื่นชมเบิกบานเกิดความโสมนัส จึงถามเทวดานั้นว่า พระโลกนาถประทับอยู่ในคามนิคมหรือในชนบทไหน ข้าพเจ้าจะไปนมัสการพระบรมศาสดาได้ในที่ใด ฯ

    เทวดาตอบว่าพระชินเจ้าผู้ศากยบุตร ทรงมีพระปัญญามาก มีพระปัญญาประเสริฐกว้างขวาง ทรงปราศจากธุระ หาอาสวะมิได้ องอาจกว่านระ ทรงรู้ธรรมเป็นศีรษะและธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ประทับอยู่ในมณเฑียรของชนชาวโกศลในพระนครสาวัตถี ฯ

    พราหมณ์พาวรีส่งศิษย์ ๑๖ คนไปเฝ้าพระศาสดา

    ลำดับนั้น พราหมณ์พาวรี เรียกพราหมณ์ทั้งหลายซึ่งเป็นศิษย์มาสั่งว่า ดูกรมาณพทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาเถิด เราจักบอกแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังคำของเรา บัดนี้ พระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ท่านทั้งหลายจงรีบไปเมืองสาวัตถี เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์เถิด ฯ

    พราหมณ์ผู้เป็นศิษย์ทั้งหลายซักถามว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ บัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เห็นแล้วจะพึงรู้ว่า ท่านผู้นี้เป็นพระสัมพุทธเจ้าได้อย่างไรเล่า ขอท่านจงบอกสิ่งที่จะทำให้ข้าพเจ้าทั้งหลายจะได้รู้จักพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด ฯ

    พราหมณ์พาวรีกล่าวว่า ก็มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษ ที่ท่านทั้งหลายเล่าเรียนมามาแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่พราหมณาจารย์ทั้งหลายพยากรณ์ไว้ว่า ถ้ามหาปุริสลักษณะนั้น มีอยู่ในวรกายของพระมหาบุรุษใด พระมหาบุรุษนั้น จะเป็นได้ ๒ อย่างเท่านั้น คือ ถ้าพระมหาบุรุษนั้นอยู่ครองเรือน จะพึงเป็นพระบรมมหาจักรพรรดิ์ จะทรงมีชัยชนะทั่วปฐพีนี้ จะทรงปกครองโดยธรรม ด้วยไม่ต้องใช้อาชญาไม่ต้องใช้ศาตรา ถ้าออกบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม

    พราหมณ์พาวรีสั่งให้ศิษย์ถามปัญหา ๗ ข้อกับพระศาสดา

    เมื่อท่านทั้งหลายเห็นพระมหาบุรุษผู้ประกอบไปด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการดังนี้ ท่านทั้งหลายก็จงกล่าวถามในใจ ถึง ๑. ชาติ (อายุ) ๒. โคตร ๓. ลักษณะ ๔. มนต์ และ ๕. ศิษย์เหล่าอื่นอีก และถามถึงปริศนาธรรมเรื่อง ๖. ธรรมอันเป็นศีรษะ และ ๗. ธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ถ้าว่าท่านนั้นเป็นพระพุทธเจ้าจริงแท้แล้ว ท่านก็จักตอบปัญหาที่ท่านทั้งหลายกล่าวถามในใจ ด้วยวาจาได้ ฯ

    พราหมณ์มาณพผู้เป็นศิษย์ ๑๖ คน คือ อชิตะ ๑ ติสสเมตเตยยะ ๑ ปุณณกะ ๑ เมตตคู ๑ โธตกะ ๑ อุปสีวะ ๑ นันทะ ๑ เหมกะ ๑ โตเทยยะ ๑ กัปปะ ๑ ชตุกัณณี ๑ ภัทราวุธะ ๑ อุทยะ ๑ โปสาลพราหมณ์ ๑ โมฆราช ๑ ปิงคิยะ ๑ ได้ฟังคำของพราหมณ์พาวรีแล้วก็ลาอาจารย์ กระทำประทักษิณแล้ว บ่ายหน้าต่อทิศอุดร มุ่งไปยังที่ตั้งแห่งแคว้นมุฬกะ เมืองมาหิสสติ

    ในคราวนั้น พราหมณ์ทั้ง ๑๖ คนได้เดินทางผ่านเมืองอุชเชนี เมืองโคนัทธะ เมืองเวทิสะ เมืองวนนคร เมืองโกสัมพี เมืองสาเกต จนถึงเมืองสาวัตถี

    พระบรมศาสดาเสด็จออกจากกรุงสาวัตถีเพื่อบ่มอินทรีย์ของเหล่าพราหมณ์ให้แก่กล้า

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ศิษย์ของพาวรีพราหมณ์ทั้ง ๑๖ คน มาพร้อมด้วยมหาชนเป็นอันมาก ทรงพระดำริว่า อินทรีย์ของพราหมณ์เหล่านั้นยังไม่แก่กล้าเพียงพอ อีกทั้งถิ่นนี้ก็ยังไม่เป็นที่สบายเหมาะแก่พราหมณ์ทั้งหลาย ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า ปาสาณกเจดีย์ในเขตแคว้นมคธเป็นที่สบายเหมาะแก่พราหมณ์เหล่านั้น ถ้าเราแสดงธรรมในที่นั้น มหาชนก็จักบรรลุธรรม อีกทั้งพวกพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อเดินทางผ่านเข้าไปยังเมืองต่าง ๆ ก็จะมีมหาชนตามมามากยิ่งขึ้นไปอีก ผู้บรรลุธรรมก็จักมีมากขึ้น จะเป็นประโยชน์อันมหาศาล

    ครั้นทรงพระดำริเช่นนั้นแล้ว จึงทรง เสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ออกจากกรุงสาวัตถีบ่ายพระพักตร์ไปยังกรุงราชคฤห์ ก่อนที่พวกพราหมณ์จะมาถึง พวกพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อก็มาถึงกรุงสาวัตถี เข้าไปสู่วิหาร เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ครั้นทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีไปแล้ว ก็พากันเข้าไปถึงพระคันธกุฏี ได้เห็นรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แน่ใจว่า เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าแน่แล้ว เพราะจากลักษณะของรอยพระบาทเป็นรอยของผู้หมดกิเลสแล้ว เมื่อทราบดังนั้นแล้วจึงได้ออกเดินทางตามพระบรมศาสดาไป

    พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าสู่พระนครมีเสตัพยนครและกรุงกบิล พัสดุ์ เมืองกุสินารา เมืองมันทิระ เมืองปาวาโภคนคร เมืองเวสาลี เมืองราชคฤห์ เป็นต้นตามลำดับ หมู่พราหมณ์ทั้ง ๑๖ คนก็ได้เดินทางพร้อมทั้งศิษย์ ๑๖,๐๐๐ คน ผ่านตามเมืองที่พระบรมศาสดาเสด็จผ่าน ผ่านเข้าเมืองใด มหาชนในเมืองเหล่านั้นก็ออกเดินทางติดตามมาอีกเป็นอันมากเพื่อจะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา

    จนกระทั่งเสด็จไปถึงปาสาณกเจดีย์ แขวงเมืองราชคฤห์ ก็ทรงหยุดประทับอยู่ ณ ที่นั้น พวกเหล่าพราหมณ์และมหาชนก็ได้ตามพระบรมศาสดาจนถึงปาสาณกเจดีย์ ครั้นได้ฟังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ ณ ที่นี้ ก็เกิดปิติ ปราโมทย์พากันขึ้นภูเขาไปสู่พระเจดีย์นั้น เหมือนบุคคลผู้กระหายน้ำย่อมยินดีต่อน้ำเย็น เหมือนพ่อค้ายินดีต่อลาภใหญ่ และเหมือนบุคคลถูกความร้อนแผดเผายินดีต่อร่มเงา ฉะนั้น

    ก็ในขณะนั้นพระผู้มีพระภาค แวดล้อมด้วยหมู่พระภิกษุสงฆ์ ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ ประหนึ่งราชสีห์บันลือเสียงกังวานกระหึ่มอยู่ในป่า

    อชิตมาณพทูลถามปัญหาโดยถามในใจ

    อชิตมาณพได้เห็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระรัศมีเรื่อเรืองเหลืองอ่อน ถึงความบริบูรณ์ดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ลำดับนั้นอชิตมาณพได้เห็นพระมหาปุริสลักษณะทั้ง ๓๒ ประการในพระกายของพระผู้มีพระภาคนั้นแล้วก็มีความร่าเริง ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ทูลถามปัญหาในใจว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกอ้าง (ชาติ) อายุ โคตร พร้อมทั้งลักษณะ และขอได้ตรัสบอกการถึงความสำเร็จในมนต์ทั้งหลายแห่งอาจารย์ของข้าพระองค์เถิด พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพระองค์ย่อมบอกมนต์กะศิษย์มีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ก็พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของท่านนั้น มีอายุร้อยยี่สิบปี ชื่อพาวรีโดยโคตรลักษณะในกายของพราหมณ์พาวรีนั้นมี ๓ ประการ พราหมณ์พาวรีนั้นเรียนจบไตรเพท ในตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ คือ คัมภีร์อิติหาสพร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภศาสตร์ ถึงซึ่งความสำเร็จในธรรมแห่งพราหมณ์ของตน ย่อมบอกมนต์กะมาณพ ๕๐๐ ฯ

    อชิตมาณพทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน ขอพระองค์จงบอกลักษณะทั้งหลายของพราหมณ์พาวรี ขอทรงบอกเพื่อมิให้ข้าพระองค์มีความสงสัยเถิด ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมาณพ พราหมณ์พาวรีนั้น ย่อมปกปิด หน้าผากของตนด้วยลิ้นได้ มีขนขึ้นเป็นรูปอุณณาโลมชาติในระหว่างคิ้ว มีคุยหฐานอยู่ในฝัก ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ฯ

    มหาชนทั้งหลาย ไม่ได้ยินเสียงใครที่ถามปัญหานั้นเลย เมื่อได้ฟังคำตอบที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แล้ว เกิดความพิศวง มีความโสมนัสประนมอัญชลี แล้วสรรเสริญว่า พระผู้มีพระภาคเป็นอะไรหนอ เป็นเทวดาหรือเป็นพรหม หรือเป็นท้าวสุชัมบดีจอมเทพ จึงได้ทราบถึงปัญหาอันมีผู้ถามในใจ ฯ

    อชิตมาณพ ครั้นได้สดับการพยากรณ์ปัญหา ๕ ข้อแล้ว เมื่อจะทูลถาม ปัญหาสองข้อที่เหลือจึงกราบทูลว่า

    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ท่านพราหมณ์พาวรีถามถึงธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ขอพระองค์ตรัสพยากรณ์ข้อนั้นกำจัดความสงสัยของพวกข้าพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์เสียเถิด ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านจงรู้เถิดว่า อวิชชาชื่อว่าธรรมเป็นศีรษะ วิชชาประกอบด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ ชื่อว่าเป็นธรรมเครื่องให้ศีรษะตกไป

    เพราะอวิชชาเป็นความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ เป็นศีรษะแห่งสังสารวัฏ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อวิชชาชื่อว่าธรรมเป็นศีรษะ

    อนึ่ง เพราะอรหัตมรรควิชชา (วิชชาในอรหัตมรรค) ประกอบ ด้วย ศรัทธาสติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ อันเกิดร่วมกับตนยังศีรษะให้ตกไป เพราะเข้าถึงธรรมเป็นศีรษะด้วยความตั้งอยู่ในรสอันเดียวกันของอินทรีย์ทั้งหลาย

    ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิชชาเป็นธรรมเครื่องให้ศีรษะตกไป.

    ลำดับนั้น อชิตมาณพมีความโสมนัสเป็นอันมาก เบิกบานใจ กระทำหนังเสือเหลืองเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงแทบพระบาทยุคลด้วยเศียรเกล้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ ผู้มีพระจักษุ พราหมณ์พาวรี พร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลายขอไหว้พระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาค ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรมาณพ พราหมณ์พาวรีพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ถึงความสุขเถิด ครั้นตรัสแล้วจึงทรงปวารณาว่า จงถามความสงสัยทุก ๆ อย่างของพราหมณ์พาวรี หรือของท่านเถิด

    อชิตมาณพครั้นเห็นพระพุทธองค์ประทานพระวโรกาสให้ทูลถามปัญหาที่สงสัยเช่นนั้น ก็นั่งลงประนมอัญชลี ทูลถามปัญหาต่อพระตถาคต ณ ที่นั้น ตามที่ปรากฎในอชิตมาณวกปัญหานิทเทส

    ครั้นเมื่อจบพระคาถาที่พระพุทธองค์ตรัสตอบปัญหา อชิตมาณพ พร้อมด้วยเหล่าศิษย์ทั้ง ๑,๐๐๐ คนก็บรรลุพระอรหัตเป็นเอหิภิกขุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ มีผม ๒ องคุลี นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค และโสดาปัตติมรรคก็บังเกิดขึ้นแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน

    ในบรรดาศิษย์ทั้ง ๑๖ คนนั้น โมฆราชมาณพถือตัวว่าเป็นผู้มีความรู้ยิ่งกว่าทุกคน ท่านคิดว่า อชิตมาณพนี้เป็นหัวหน้าของศิษย์ทุกคน เราไม่ควรถามปัญหาก่อน เพราะความเคารพในตำแหน่งผู้นำของอชิตมาณพนั้น ท่านจึงไม่ถามก่อน ครั้นเมื่ออชิตมาณพนั้นถามปัญหาแล้ว จึงถามปัญหาต่อพระศาสดาเป็นคนที่สอง

    พระศาสดาทรงดำริว่า โมฆราชมาณพเป็นคนถือตัว ทั้งญาณของเขาก็ยังไม่แก่กล้าเต็มที่ ควรจะต้องทำให้ความถือตัวของเขาค่อย ๆ หมดไป จึงตรัสว่า โมฆราชเธอจงคอยก่อน ให้คนอื่น ๆ ถามปัญหาก่อน

    โมฆราชมาณพนั้น ครั้นถูกห้ามโดยพระศาสดาเช่นนั้น ก็คิดว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ เราเข้าใจว่า ไม่มีคนที่จะเป็นบัณฑิตเกินกว่าเรา ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถ้าไม่ทรงทราบความในใจ ย่อมไม่ตรัส พระศาสดาคงจักทรงเห็นโทษในการถามของเราเป็นแน่ เมื่อคิดได้ดังนั้นจึงนิ่งเสีย

    จากนั้น ติสสเมตเตยยพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๒

    จากนั้น ปุณณกพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๓

    จากนั้น เมตตคูพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๔

    จากนั้น โธตกพราหมณ์ก็ได้ทูลถามปัญหาของตนเป็นลำดับที่ ๕

    เมื่อจบพระคาถาที่พระพุทธองค์ตรัสตอบปัญหาแก่พราหมณ์แต่ละท่านนั้น พราหมณ์ท่านนั้นพร้อมด้วยเหล่าศิษย์ทั้ง ๑,๐๐๐ คนก็บรรลุพระอรหัตเป็นเอหิภิกขุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ มีผม ๒ องคุลี นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคอยู่

    อุปสีวะทูลถามปัญหาของตน

    จากนั้นก็ถึงลำดับของ อุปสีวพราหมณ์ เป็นลำดับที่ ๖ อุปสีวะเมื่อจะทูลถามความสงสัยของตน จึงถามปัญหาว่า

    แต่พระองค์ผู้ศากยะ ข้าพระองค์ผู้เดียวไม่อาศัยธรรมหรือบุคคลอะไรแล้ว ไม่สามารถจะข้ามห้วงน้ำใหญ่คือกิเลสได้

    ข้าแต่พระองค์ผู้สมันตจักษุ ขอพระองค์จงตรัสบอกที่หน่วงเหนี่ยว อันข้าพระองค์พึงอาศัยข้ามห้วงน้ำคือกิเลสนี้ แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ดูกรอุปสีวะ

    ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อาศัยอารมณ์ว่า ไม่มี ดังนี้แล้วข้ามห้วงน้ำคือกิเลสเสียเถิด

    ท่านจงละกามทั้งหลายเสีย เป็นผู้เว้นจากความสงสัย เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาให้แจ่มแจ้งทั้งกลางวันกลางคืนเถิด ฯ

    อุปสีวมาณพทูลถามว่า

    ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวงละสมาบัติอื่นเสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญาวิโมกข์ (คืออากิญจัญญายตนสมาบัติ ธรรมเปลื้องสัญญา) เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว พึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นแลหรือ ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ดูกรอุปสีวะ ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวงละสมาบัติอื่นเสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญาวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหวพึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้น ฯ

    อุปสีวมาณพทูลถามว่า

    ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักษุ ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว พึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นสิ้นปีแม้มากไซร้ ผู้นั้นพึงพ้นจากทุกข์ต่างๆ ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นแหละ พึงเป็นผู้เยือกเย็น หรือว่าวิญญาณของผู้เช่นนั้น พึงเกิดเพื่อถือปฏิสนธิอีก ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ดูกรอุปสีวะ มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ไม่ถึงการนับ เปรียบเหมือนเปลวไฟอันถูกกำลังลมพัดไปแล้ว ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่ถึงการนับ ฉะนั้น ฯ

    อุปสีวมาณพทูลถามว่า

    ท่านผู้นั้นถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ท่านผู้นั้นไม่มีหรือว่าท่านผู้นั้นเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยความเป็นผู้เที่ยง ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัสพยากรณ์ความข้อนั้นให้สำเร็จประโยชน์แก่ข้าพระองค์เถิด เพราะว่าธรรมนั้นพระองค์ทรงรู้แจ้งแล้วด้วยประการนั้น ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ดูกรอุปสีวะ ท่านผู้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีประมาณ ชนทั้งหลายจะพึงกล่าวท่านผู้นั้นด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นใด กิเลสมีราคะเป็นต้นนั้นของท่านไม่มี
    เมื่อธรรม (มีขันธ์เป็นต้น)ทั้งปวง ท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งหมดก็เป็นอันท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว ฯ

    จบเทศนาท่านก็บรรลุพระอรหัตพร้อมกับชฎิล ๑๐๐๐ คน บริวารของตน หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่นน้ำ ผม และหนวดของอุปสีวพราหมณ์และเหล่าศิษย์ทั้ง ๑,๐๐๐ หายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุอรหัต อุปสีวพราหมณ์และเหล่าศิษย์ทั้ง ๑,๐๐๐ นั้น เป็นเอหิภิกขุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ มีผม ๒ องคุลี นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระนาลกเถระ

    การที่ท่านพระนาลกเถระ ท่านนี้ได้รับโอวาทจากพระบรมศาสดาในเรื่องการปฏิบัติโมเนยยปฏิปทา ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสว่าเป็นปฏิปทาที่ทำได้โดยยาก ทำให้เกิดความยินดีได้ยาก และท่านได้สมาทานการปฏิบัติดังกล่าวอย่างอุกฤษฏ์ ซึ่งการปฏิบัติโมเนยยปฏิปทาอย่างอุกฤษฏ์นี้ ในพุทธธันดรหนึ่ง จะมีพระที่ปฏิบัติโมเนยยปฏิปทาอย่างอุกฤษฏ์ได้เพียงท่านเดียว และในพุทธันดรนี้พระเถระที่ปฏิบัติได้ก็คือท่านพระนาลกเถระผู้นี้เอง ที่เป็นดังนั้นเนื่องด้วยท่านได้ตั้งความปรารถนาในการนั้นไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

    บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เมื่อท่านได้เกิดมาและเติบใหญ่แล้ว วันหนึ่งท่านได้เห็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ปฏิบัติโมเนยยปฏิปทา (ปฏิบัติเพื่อความเป็นมุนี) จึงปรารถนาที่จะเป็นเช่นนั้นบ้างจึงตั้งความปรารถนาและบำเพ็ญบารมีตลอดแสนกัป เพื่อผลดังกล่าว

    กำเนิดเป็นนาลกมาณพในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านมีกำเนิดในวรรณะพราหมณ์ เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ เป็นบุตรของน้องสาวของท่านอสิตฤๅษี บิดามารดาเรียกชื่อว่า นาลกะ ตระกูลของท่านเป็นตระกูลใหญ่มี ทรัพย์ได้ ๘๗ โกฏิ

    ประวัติอสิตฤๅษีผู้เป็นลุงของพระเถระ

    อสิตฤษีนี้เป็นปุโรหิตของ พระเจ้าสีหหนุพระชนกของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้เป็นอาจารย์บอกศิลปะแต่ครั้ง พระเจ้าสุทโธทนะยังมิได้ครองราชย์ย์ ครั้นครองราชย์แล้วพระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็นปุโรหิต เมื่ออสิตพราหมณ์เข้ามารับราชการในพระราชวังทุกเวลาเย็นและเวลาเช้า พระเจ้าสุทโธทนะก็มิได้ทรงทำความเคารพเหมือนเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ทรงกระทำเพียงยกพระหัตถ์ประนมเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามราชประเพณีของเจ้าศากยะทั้งหลายที่ได้อภิเษกแล้ว

    ต่อมาอสิตปุโรหิตเบื่อหน่ายด้วยการรับราชการ จึงกราบทูลพระมหาราชว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์จะบรรพชาพระเจ้าข้า พระราชาทรงทราบว่าอสิตปุโรหิตมีความแน่วแน่ที่จะออกบวช จึงตรัสขอร้องว่า ท่านอาจารย์ ถ้าเช่นนั้น ขอให้ท่านอาจารย์อยู่ในอุทยานของข้าพเจ้าเถิด โดยที่ข้าพเจ้าจะไปเยี่ยมท่านอาจารย์เสมอ ๆ ปุโรหิตรับกระแสพระดำรัสแล้ว บรรพชาเป็นดาบส พระราชาทรงอุปถัมภ์อยู่ในส่วนนั่นเอง ดาบสกระทำกสิณบริกรรมยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว ตั้งแต่นั้นมา อสิตดาบสนั้นก็ไปฉันในราชตระกูล แล้วไปพักกลางวัน ณ ป่าหิมพานต์ หรือบนสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา หรือในนาคพิภพเป็นต้น แห่งใดแห่งหนึ่ง

    อสิตฤๅษีทำนายลักษณะพระกุมารสิทธัตถะ

    วันหนึ่งขณะที่ท่านฤๅษีนั่งพักผ่อนกลางวันในดาวดึงส์พิภพอยู่นั้น ก็เห็นเหล่าเทวดา ขับระบำรำฟ้อน มีใจชื่นชม มีปีติโสมนัสอย่าง เหลือเกินนั้น ก็แปลกใจเพราะไม่เคยเห็นเหล่าเทวดามีปิติโสมนัสอย่างเหลือเกินเช่นนี้มาก่อน จึงถามถึงสาเหตุนั้นกับเหล่าเทวดา เทวดาทั้งหลายก็ตอบท่านฤๅษีว่า บัดนี้พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะอุบัติขึ้นแล้ว ต่อไปพระองค์จักประทับนั่งที่ลานแห่งต้นโพธิแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้าประกาศพระธรรมจักร พวกข้าพเจ้าต่างยินดีเพราะเหตุนี้ว่า พวกเราจักได้เห็นพระพุทธองค์ และจักได้ฟังพระธรรมของพระองค์

    ดาบสนั้นฟังคำของเหล่าเทวดาแล้ว ก็ลงจากเทวโลกทันที ตรงเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ได้ยินว่าพระราชโอรสของพระองค์อุบัติแล้ว อาตมภาพอยากเห็นองค์พระกุมาร พระราชาจึงมีรับสั่งให้พาพระราชกุมารมา แล้วทรงอุ้มไปเพื่อให้นมัสการดาบส พระบาททั้งสอง ของพระโพธิสัตว์กลับไปประดิษฐานอยู่บนชฎาของดาบส

    ความจริงนั้น ชื่อว่าพระมหาสัตว์จะพึงไหว้ใครนั้นไม่มี ถ้าคนผู้ไม่รู้วางศีรษะของพระโพธิสัตว์ที่เท้าของดาบส ศีรษะของดาบสนั้นพึงแตกออก ๗ เสี่ยง ดาบสคิดว่า เราไม่สมควรทำตนให้พินาศเช่นนั้น จึงลุกจากอาสนะแล้วยกมือไหว้พระโพธิสัตว์ พระราชาทอดพระเนตรเห็นเหตุอัศจรรย์นั้น จึงทรงไหว้บุตรของตน

    ดาบสนั้นระลึกได้ชาติ ๘๐ กัป คือ ในอดีต ๔๐ กัป ในอนาคต ๔๐ กัป เห็นลักษณสมบัติของพระโพธิสัตว์ จึงใคร่ครวญดูว่า เธอจักได้ เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่หนอ ทราบว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยมิต้องสงสัย ท่านเห็นว่าพระราชบุตรนี้เป็นอัจฉริยบุรุษ จึงได้ยิ้มขึ้น ต่อนั้นจึงใคร่ครวญต่อไปว่า เราจักได้ทันเห็นความเป็นพระพุทธเจ้านี้หรือไม่หนอ ก็เห็นว่า เราจักไม่ได้ทันเห็น จักตายเสียก่อน แล้วจักไปบังเกิดในอรูปภพ ซึ่งที่นั้น แม้พระพุทธเจ้าตั้งร้อยพระองค์ก็ดี ตั้งพันพระองค์ก็ดี ก็ไม่สามารถที่จะเสด็จไปโปรดเพื่อให้เราตรัสรู้ได้ แล้วคิดว่าเราจักไม่เห็นอัจฉริยบุรุษผู้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นนี้ เราจักมีความเสื่อมใหญ่ คิดถึงตรงนี้แล้วก็ร้องไห้ออกมา พระราชาทรงเห็นดังนั้นแล้วจึงเรียนถามว่า ท่านนั้น เมื่อสักครู่ก็หัวเราะออกมา แล้วกลับมาร้องไห้อีกเล่า ข้าแต่ท่านดาบส อันตรายอะไรจักเกิด แก่พระลูกเจ้าของพวกเราหรือ ดาบสตอบว่า พระกุมารจักไม่มีอันตราย จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย

    ครั้นเมื่อทรงถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงร้องไห้ออกมาเล่า ดาบสตอบว่า เราเศร้าโศกถึงตนว่า จักไม่ได้ทันเห็นพระมหาบุรุษผู้เป็นพระ พุทธเจ้าเช่นนี้ ความเสื่อมใหญ่จักมีแก่เราดังนี้ จึงได้ร้องไห้

    อสิตฤๅษีจัดการให้หลานชายออกบวชเป็นดาบส

    ต่อจากนั้นเมื่อออกมาจากพระราชวังแล้ว อสิตฤษี รู้ด้วยกำลังปัญญาของตนว่าตนมีอายุน้อย จึงพิจารณาว่า ในวงญาติของเรามีใครบ้างจักได้เห็นความเป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้มองเห็นนาลกทารกผู้เป็นหลาน เป็นผู้ได้สะสมบุญไว้ตั้งแต่ ศาสนาพระปทุมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า และคิดว่านาลกมาณพถ้าเติบใหญ่ขึ้นพอมีปัญญาแล้วจะตั้งอยู่ในความประมาท ท่านนั้นเพื่อจะอนุเคราะห์นาลกมาณพนั้น จึงไปยังเรือนของน้องสาว แล้วถามว่า นาลกะ บุตรของเจ้าอยู่ไหน นางผู้เป็นน้องสาวตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า เขาอยู่ในเรือน ท่านดาบสจึงสั่งให้เรียกเขามา เมื่อนาลกมาณพมาแล้ว ท่านดาบสก็พูดกับเขาว่า นี่แน่ะพ่อ บัดนี้พระราชโอรสอุบัติแล้วในตระกูลของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชเป็นหน่อพุทธางกูร พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อล่วงได้ ๓๕ ปี เจ้าจักได้เห็นพระองค์ เจ้าจงบวชในวันนี้ทีเดียว

    ในอนาคตเมื่อเจ้าได้ยินคำว่า “พุทโธ” ดังระบืออยู่ทั่วไปแล้ว นั่นหมายความว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ย่อมทรงเปิดเผยทางปรมัตถธรรม เจ้าจงไปเข้าเฝ้าพระองค์แล้วทูลถามด้วยตนเอง ในสำนักของพระองค์ แล้วจงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเถิด

    นาลกมาณพคิดว่า ลุงคงจักไม่ชักชวนเราในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ทันใดนั้นนั่นเองให้คนซื้อผ้ากาสาวพัสตร์ และบาตรดินจากตลาด ให้ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ประคองอัญชลีบ่ายหน้าไปทางพระโพธิสัตว์ ด้วยกล่าวว่า บุคคลผู้สูงสุดในโลกพระองค์ใด ข้าพเจ้าขอบวชอุทิศบุคคลนั้น แล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เอาบาตรใส่ถุง คล้องที่ไหล่แล้วไปยังหิมวันตประเทศบำเพ็ญสมณธรรม

    นาลกดาบสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

    นาลกดาบสนั้นเป็นผู้สั่งสมบุญไว้ ได้บำเพ็ญเพียรเป็นดาบส รักษาอินทรีย์รอคอยพระชินสีห์อยู่ ครั้นเมื่อเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุสัมโพธิญาณ โดยลำดับแล้วทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐในกรุงพาราณสี เหล่าเทวดาทั้งหลายก็ได้โมทนาสาธุการไปตลอดสามโลก นาลกดาบสนั้นรอคอยอยู่อย่างนั้น เมื่อได้ยินข่าวอันพวกเทวดาผู้หวังประโยชน์แก่ตนพากันมาบอกแล้วจึงได้เดินทางไปเฝ้าพระชินสีห์ผู้องอาจกว่าฤๅษีแล้ว ในเวลาที่ได้เห็นพระองค์ จิตเลื่อมใสอย่างสูงสุดก็บังเกิดขึ้นในใจของดาบสนั้น

    ครั้นเมื่อได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาแล้ว นาลกดาบสกล่าวว่า อสิตฤษีผู้เป็นลุงของข้าพระองค์ รู้ว่าพระกุมารนี้จัดบรรลุทางแห่งสัมโพธิญาณ ท่านได้บอกกะข้าพระองค์ว่า ท่านจงฟังประกาศว่า พุทโธ ในกาลข้างหน้า ผู้บรรลุสัมโพธิญาณย่อมประพฤติมรรคธรรมดังนี้ วันนี้ข้าพระองค์ได้รู้ตามคำของอสิตฤๅษีว่า คำที่ท่านกล่าวนั้นเป็นคำจริง เพราะการได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าในบัดนี้เป็นพยานในคำพูดของท่าน เพราะเหตุนั้น ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์ ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทาอันสูงสุดของมุนี ผู้แสวงหาการเที่ยวไปเพื่อภิกษา แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ

    พระพุทธเจ้าทรงแสดงโมเนยยปฏิปทาแก่นาลกดาบส

    เมื่อนาลกดาบสได้กราบทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงความที่ปฏิปทาของมุนีทำได้ยาก และทำให้ยินดีได้ยาก โดยมีพระประสงค์จะให้นาลกดาบสเกิดอุตสาหะ จึงตรัสว่า

    เอาเถิดเราจักบอกปฏิปทาของมุนีนั้นแก่ท่าน ท่านจงช่วยเหลือตนด้วยการทำให้เกิดความเพียร สามารถทำสิ่งที่บุคคลทำได้ยาก ทำให้เกิดความยินดีได้ยากแก่เธอ เพราะในการปฏิบัติตามปฏิปทาอย่างอุกฤษฏ์นั้น สาวกรูปเดียวเท่านั้นของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ย่อมทำได้และทำให้เกิดได้

    พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการละกิเลสอันเข้าไปผูกพันกับชาวบ้าน จึงตรัสว่า

    พึงกระทำการด่าและการไหว้ในบ้านให้เสมอกัน เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ต่างกัน พึงรักษาความประทุษร้ายแห่งใจ คือ เขาด่าแล้วถึงรักษาความประทุษร้ายแห่งใจ เขาไหว้แล้วพึงประพฤติเป็นผู้สงบ ไม่มีความเยื่อหยิ่ง ไม่พึงมีความฟุ้งซ่านว่า พระราชายังไหว้เรา ดังนี้

    จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรื่อง ศีล คือความสำรวมในปาติโมกข์โดยสังเขป ด้วยหัวข้อคือการเว้นจากเมถุนและการเว้นจากฆ่าสัตว์แก่นาลกดาบสและทรงแสดงความสำรวมอินทรีย์ โดยย่อดังนี้

    พึงเป็นผู้สงบไม่มีความเย่อหยิ่งเป็นอารมณ์

    มุนีละกามทั้งหลายทั้งที่ดีแล้ว งดเว้นจากเมถุนธรรมไม่ยินดียินร้าย ในสัตว์ทั้งหลาย

    พึงกระทำตน ให้เป็นอุปมาว่า เราฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น สัตว์เหล่านี้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น ดังนี้แล้ว ไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า

    จากนั้น เมื่อจะทรงแสดงความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะจึงตรัสว่า

    มุนีละความปรารถนาและความโลภในปัจจัยที่ปุถุชนข้องอยู่แล้ว เป็นผู้มีจักษุ พึงปฏิบัติปฏิปทาของมุนีนี้

    พึงข้ามความทะเยอทะยานในปัจจัย ซึ่งเป็นเหตุแห่งมิจฉาชีพที่หมายรู้กันว่านรกนี้เสีย

    บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงศีล คือการบริโภคปัจจัยด้วยหัวข้อเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณใน การบริโภค และปฏิปทาตราบเท่าถึงการบรรลุพระอรหัตโดยทำนองนั้น ก่อนจึงตรัสว่า

    ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่เห็นแก่ท้องมีอาหารพอประมาณ พึงรู้จักประมาณในการบริโภค ไม่บริโภคเพื่อเล่นดังนี้ แม้เป็นผู้มีอาหารพอประมาณอย่างนี้ ก็พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ด้วยมีความปรารถนาน้อย ๔ อย่าง คือ ปัจจัย ธุดงค์ ปริยัติ และอธิคม

    บัดนี้ เมื่อจะตรัสถึงการสมาทานธุดงค์แล้ววัตรเกี่ยวกับเสนาสนะ อันจบลงด้วยการบรรลุพระอรหัตของภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทานั้น จึงตรัสตรัสธุดงค์ ๑๓ แก่พระนาลกเถระ

    มุนีนั้นเที่ยวไปรับบิณฑบาตแล้ว พึงไปยังชายป่า เข้าไปนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้

    พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นนักปราชญ์ คือสมบูรณ์ด้วยปัญญา

    ยินดีแล้วในป่า ไม่พึงยินดีในเสนาสนะใกล้บ้าน

    พึงทำจิตให้ยินดียิ่ง เพ่งฌานอยู่ที่โคนต้นไม้ คือไม่พึงขวนขวายโลกิยฌานอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้พึงทำจิตให้ยินดียิ่ง เพ่งแม้ด้วยโลกุตรฌานที่สัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นต้นที่โคนต้นไม้นั้น แล

    ครั้นเมื่อรุ่งเช้าแล้ว ควรเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเรือน ไม่พึงรับนิมนต์เข้าไปฉันในบ้าน

    ไม่พึงเที่ยวไปในสกุลโดยรีบร้อน คือไม่ควรเกี่ยวข้องกับเรื่องของคฤหัสถ์ ไม่คล้อยตามไปกับเขา เช่นมีการร่วมเศร้าโศกด้วยเป็นต้น

    ตัดถ้อยคำเสียแล้ว ไม่พึงกล่าววาจาเกี่ยวด้วยการแสวงหาของกิน คือไม่ควรกล่าวอะไร ๆ เลย เพื่อต้องการปัจจัย

    มุนีนั้นคิดว่า เราได้สิ่งใด สิ่งนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ เราไม่ได้ก็เป็นความดี ดังนี้แล้ว เป็นผู้คงที่เพราะการได้และไม่ได้ ทั้งสองอย่างนั้นแล ย่อมก้าวล่วงทุกข์เสียได้

    มุนีมีบาตรในมือเที่ยวไปอยู่ ไม่เป็นใบ้ ก็สมมุติว่าเป็นใบ้ ไม่พึงหมิ่นทานว่าน้อย ไม่พึงดูแคลนบุคคลผู้ให้

    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์แห่งปฏิปทาจึงตรัสว่า

    ก็ภิกษุผู้ไม่มีตัณหา ตัดกระแสร์กิเลสได้แล้ว ละกิจน้อยใหญ่ ได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน ฯ

    บัดนี้ เนื่องเพราะพระนาลกเถระ เพราะฟังคาถาเหล่านี้แล้วคิดว่า ชื่อว่าปฏิปทาของมุนีมีเพียงเท่านั้น ก็ทำได้โดยง่าย ไม่ยากนัก สามารถบำเพ็ญได้ด้วยความลำบากเล็กน้อย ดังนี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า ปฏิปทาของมุนีทำได้ยากแก่พระนาลกเถระ จึงตรัสว่า เราจักบอกปฏิปทาของมุนีแก่ท่านอีก

    ภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทาของมุนี

    พึงเป็น ผู้มีคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ คือเมื่อได้ปัจจัยโดยชอบธรรมแล้ว พึงบริโภคโดยรักษาจิตให้พ้นจากกิเลส เหมือนการเลียคมมีดโกนที่มีหยาดน้ำผึ้ง ย่อมกินโดยระมัดระวัง เพราะเกรงลิ้นจะขาดฉะนั้น

    พึงบรรเทาความอยากในรส พึงเป็นผู้สำรวมที่ท้อง เพราะไม่เสพปัจจัยที่เกิดขึ้นด้วยทางอันเศร้าหมอง

    มีจิตไม่ย่อหย่อน เป็นผู้มีจิตไม่เกียจคร้าน เพราะทำให้มั่นคงในการบำเพ็ญกุศลธรรมเป็นนิจ

    และไม่พึงคิดมาก โดยวิตก ถึงญาติ ชนบท และเทวดา

    เป็นผู้ไม่มีกลิ่นดิบ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว มีพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือเป็นผู้ไม่มีกิเลส อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้วในภพไหน ๆ พึงเป็นผู้มีไตรสิกขา และศาสนาพรหมจรรย์ทั้งสิ้นเป็นที่ ไปในเบื้องหน้าทีเดียว

    พึงศึกษาเพื่อการนั่งผู้เดียว คือพึงศึกษาเพื่อความเป็นผู้เดียวในทุกอิริยาบถ และเพื่อประกอบภาวนาที่สมณะพึงอบรม ท่านกล่าวถึงกายวิเวกด้วยการนั่งผู้เดียว กล่าวถึงจิตวิเวกด้วยการอบรมของสมณะ

    ท่านผู้เดียวแลจักอภิรมย์ความเป็นมุนีที่เราบอกแล้วโดยส่วนเดียว ทีนั้น จงประกาศไปตลอดทั้งสิบทิศ ท่านได้ฟังเสียงสรรเสริญของนักปราชญ์ทั้งหลายผู้เพ่งฌาน ผู้สละกามแล้ว แต่นั้น พึงกระทำหิริและศรัทธาให้ ยิ่งขึ้นไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นสาวกของเราได้


    พระเถระบรรลุอรหัต

    พระนาลกเถระครั้นฟังดังนั้นแล้ว ได้เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยใน ฐาน ๓ คือในการเห็น ๑ ในการฟัง ๑ ในการถาม ๑ เพราะเมื่อจบเทศนา พระนาลกเถระนั้นมีจิตเลื่อมใสถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าไปสู่ป่า

    ไม่เกิดความโลเลว่า ทำอย่างไรดีหนอเราจะพึงได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก นี้คือ ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในการเห็นของพระนาลกเถระนั้น

    อนึ่งไม่เกิด ความโลเลว่า ทำอย่างไรดีหนอเราจะพึงได้ฟังพระธรรมเทศนาอีก นี้คือความเป็น ผู้มีความปรารถนาน้อยในการฟังของพระนาลกเถระนั้น

    อนึ่งไม่เกิดความโลเลว่า ทำอย่างไรดีหนอ เราจะพึงได้ถามโมเนยปฏิปทาอีก นี้คือความเป็นผู้ปรารถนาน้อยในการถามของพระนาลกเถระนั้น

    พระนาลกเถระนั้นเป็น ผู้มีความปรารถนาน้อยอย่างนี้ จึงเข้าไปยังเชิงภูเขา ไม่อยู่ตลอดสองวัน ณ ไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ไม่นั่งตลอดสองวัน ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ไม่เข้าไปบิณฑบาตตลอดสองวัน ณ บ้านแห่งหนึ่ง คือไม่อยู่ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกินกว่าหนึ่งวัน พระนาลกเถระเที่ยวจากป่าสู่ป่า จากต้นไม้สู่ต้นไม้ จากบ้านสู่บ้าน ปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแล้วตั้งอยู่ในผลอันเลิศ


    พระเถระปรินิพพาน

    เพราะภิกษุผู้บำเพ็ญโมเนยปฏิปทาอย่างอุกฤษฏ์ จะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ เดือนเท่านั้น บำเพ็ญอย่างกลางจะมีชีวิตอยู่ได้ ๗ ปี บำเพ็ญอย่างอ่อนจะมีชีวิตอยู่ได้ ๑๖ ปี พระนาลกเถระนี้บำเพ็ญอย่างอุกฤษฏ์ ฉะนั้นจะอยู่ได้ ๗ เดือน รู้ว่าตนจะสิ้นอายุจึงอาบน้ำ นุ่งผ้า คาดผ้าพันกาย ห่มสังฆาฏิสองชั้น บ่ายหน้าไปทางพระทศพล ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ประคองอัญชลี ยืนพิงภูเขาหิงคุลิกะ ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    พระผู้มีพระภาค เจ้าครั้นทรงทราบว่า พระนาลกเถระปรินิพพานแล้ว จึงเสด็จไป ณ ภูเขานั้น พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ กระทำฌาปนกิจให้เก็บพระธาตุไปบรรจุยังเจดีย์แล้วเสด็จกลับ ด้วยประการฉะนี้
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...