1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ?temp_hash=2e04f37aa4cec5a992de5f98b95ce6aa.jpg








    1. #หลวงปู่ใหญ่แถลงไขให้ลูกหลานรู้ทันมาร #แต่อย่าโกรธเกลียดมาร_ขอจงมีพรหมวิหารและสังคหวัตถุต่อมาร

    2. #วิสัยมารทำไมชอบเล่นงานรังแกสัตว์อื่นที่ทำท่าว่าจะออกไปจากอำนาจครอบงำของตน !!??
    --------------
    มารมักเข้าใจว่าความคิดเห็น-การปฏิบัติ ของตน คือความถูกต้องชอบธรรม ทั้งที่มารเองยังคงมีพฤติกรรมอยู่ในข่ายมิจฉาทิฐิ-อวิชชา แต่มารไม่รู้ตัว ใครมาชี้แนะมารจะไม่ยอมรับ

    มารจะไม่ยอมเข้าใจความลึกซึ้งของพรหมวิหารหรือเมตตาธรรมเลย ดังที่หลวงปู่ใหญ่จะได้อ้างอิงพุทธมนต์จากพุทธดำรัสของพระบรมศาสดามากล่าวอรรถาธิบาย ดังนี้ คือ........

    ในกรณียเมตตสูตร มีความตอนหนึ่งกล่าวถึงการเกิดสันติสุขแท้จริงในมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายว่า

    "สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
    ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด

    นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
    สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น

    นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
    อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย

    พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ.
    ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธ และด้วยความคับแค้นใจ

    มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข.
    มารดาถนอมลูกคนเดียว ผู้เกิดในตน ด้วยยอมสละชีวิตตายแทนได้ฉันใด

    เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง.
    ุบุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์อื่น ๆ ฉันนั้น"

    หลวงปู่ใหญ่จักแปลความหมายให้ชัดเจนเป็นภาษาอย่างปัจจุบัน ก็คือ สัตว์ทั้งหลายไม่ควรดูหมิ่นดูแคลนกันอันจะเป็นต้นทางให้เกิดการเบียดเบียนบ่อนทำลายล้างกัน ก่อเวรต่อกันและกันอย่างฉกาจฉกรรจ์ยิ่งขึ้นไปจนมิอาจยุติได้. สัตว์โลกพึงมีเมตตาที่แท้จริงต่อกันอันจะเป็นเครื่องค้ำจุนโลกมิให้แตกทำลายตามพุทธสุภาษิตที่ว่า "โลโก ปตฺถมฺภิกา เมตฺตา = เมตตาธรรมค้ำจุนโลก" นั่นก็คือ เมตตาจิตที่มีต่อกันของสรรพสัตว์นั้นจะต้องเสมือนดั่งมารดาที่รักบุตรคนเดียวดั่งดวงใจสามารถสละชีวิตตายแทนได้

    มารมักเข้าใจว่าตนคือผู้ปกปักรักษาความถูกต้องชอบธรรม ทั้งที่มารเองมีพฤติกรรมละเมิดความถูกต้องชอบธรรมอยู่เป็นนิสัย เช่น การไม่มีพรหมวิหาร 4 ไม่มีสังคหวัตถุ 4 ต่อสัตว์ทั้งหลาย เช่น การใช้วาจา "อปิยโวหาร" ในการไปละเมิด ด่าทอ จาบจ้วง เสียดสี หยาบคาย สาดเสียเทเสีย กล่าวหาโดยไม่พยายามเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้อื่น. แม้แต่หลักธรรมที่มารอ้างว่ารู้นั้น มารก็หาได้รอบรู้จริงจนถึงขั้นรู้-ตื่น-เบิกบาน, ชำระจิตตนให้ สะอาด-สว่าง-สงบ ไม่. เพราะวิสัยมารมักไม่ศึกษา-ปฏิบัติอย่างละเอียดถี่ถ้วน ได้แต่อ้างเข้าข้างตนเองว่าตนเป็นผู้ปกปักรักษาความถูกต้องชอบธรรมตามฐานจิตมิจฉาทิฐิของตน(โดยเข้าใจเอาเองว่าสัมมาทิฐิ) เท่านั้น.

    ลูกหลานเอ๊ย.. ตามหลักพระสัทธรรมแล้ว กระแสพลังความเป็นมารนั้นมีอยู่ในทุกปุถุชน หากแต่มีมากน้อยแตกต่างกันไป. ปุถุชนใดมีความเป็นมารอยู่ในตนมากย่อมแสดงพฤติกรรมออกมาชัดเจน คือ ความหยาบกระด้างทางวาจาและอากัปกิริยา ซึ่งบุคคลวิสัยมารเหล่านี้มักเข้าใจผิดคิดเอาเองว่า ยิ่งแสดงความหยาบกระด้างปรามาสเยาะเย้ยเสียดแทงผู้อื่นได้มากเพียงใด ยิ่งแสดงถึงความเป็นผู้มีบารมีใหญ่โตเหนือผู้อื่น. แต่หารู้ไม่ว่าตนเป็นเพียงมารตัวเล็กที่สุด เป็นทาสช่วงใช้ของมาร ในระดับที่ต่ำที่สุด เท่านั้น.

    ส่วนคนที่มีความเป็นมารในตำแหน่งใหญ่โตขึ้นมาอีกหน่อย มักมีพฤติกรรมแฝงเร้นไม่แสดงออกถึงความเป็นมารชัดเจน มักแอบซ่อนไม่แสดงตนโจ่งแจ้งในการไปเบียดเบียนผู้อื่นทางกายทางวาจา แต่จะใช้วิธีการแยบยลในการเบียดเบียนหรือสั่งการให้ลูกสมุนทำบาปแทนตน โดยมีมารที่มีตำแหน่งใหญ่กว่ายิ่ง ๆ ขึ้นไปบัญชาการจิตใจให้คิดให้ลงมือกระทำตามที่มารตัวใหญ่สุดต้องการ

    มารตัวใหญ่สุด ก็คือ พญามาร ผู้อยู่บนสวรรค์ชั้น 6 ชั้นสูงสุด นามว่า "ปรนิมมิตตวสวตี" แปลว่า สวรรค์ที่เทวดาไม่ต้องเนรมิตอะไรเพราะมีผู้เนรมิตให้ ซึ่งก็คือ เทวดาในชั้นรองลงมา นามว่า "นิมมานรตี" แปลว่า เทวดาที่เป็นผู้เนรมิตให้.

    พญามาร คือ ผู้ยึดครองและติดยึดความสบายเหนือยิ่งสัตว์อื่นใดทั้งสิ้น

    โดยปกติผู้สบายโดยทั่วไปจะต้องเนรมิตเอง เมื่อเนรมิตแล้วจะมีผู้รับใช้ตอบสนองความต้องการ แต่นี่แม้แต่เนรมิตเองก็ไม่ต้อง มีผู้เนรมิตให้ จึงเรียกว่าสบายเหนือสบาย นะลูกหลานเอ๊ย

    เมื่ออยู่ในภาวะ ปรนิมมิตตวสวตี คือ สบายเหนือสบายจนเคยตัว. พญามารและลูกสมุนจึงมักผยองพองอัตตา ด้วยเข้าใจผิดคิดว่าความสบายเหนือสบายของตัวคือความถูกต้องชอบธรรม สัตว์ใดประพฤติบำเพ็ญตนไม่เป็นไปตามทิฐิของตนจะต้องถูกลงโทษ

    ชาวพุทธโดยทั่วไปมักไม่รู้ว่า โบราณจารย์ท่านตั้งชื่อสวรรค์ไว้เป็นปริศนาธรรมเพื่อสะท้อนปัญหาโลกและจักรวาลที่มารเป็นผู้ครอบงำอยู่บนสวรรค์ชั้นสูงสุด. โดยมากมักเข้าใจว่า มารจะต้องอยู่ในอบายภูมิชั้นล่างสุด เช่น นรก เป็นต้น. น้อยคนนักที่จะรู้และเข้าใจลึกซึ้งว่า มารแท้จริงอยู่บนสวรรค์ชั้นสูงสุดดังหลวงปู่ใหญ่ได้พรรณนามา

    พญามารและผองมารยังมีวิสัยที่ลึกลับซับซ้อนอีกมากมายเกินกว่าจะพรรณนา ยังมีมารขาวและมารดำ.. หลวงปู่ใหญ่ขอให้ลูกหลานรู้ทันเพียงหลักใหญ่เท่านี้ก่อน รู้ทันแล้วก็อย่าโกรธขึ้ง ไม่พอใจ เคียดแค้นมาร เพราะจะทำให้เรากลายเป็นมารเสียเอง.. นะลูกหลานเอ๊ย

    คุณของมารก็มีหากจะมองในแง่ดี คือ มารเป็นอุปสรรคทำให้พระโพธิสัตว์ได้มีโอกาสสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้า ให้กัลยาณชนได้บำเพ็ญตนบรรลุสู่อริยชนจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์. ดังคำกล่าวที่คุ้นเคยกันทั่วไปว่า "มารไม่มี บารมีไม่เกิด"

    แต่สำหรับปุถุชนคนส่วนใหญ่แล้ว มารมักก่อโทษให้โดยประการต่าง ๆ นานา เช่น มักมาล่อหลอกชักชวนให้เป็นพวกเดียวกับมาร ให้ดำเนินชีวิตแบบมาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปุถุชนคนใดจะอ่อนแอหรือเข้มแข็งเพียงใด. ถ้าอ่อนแอ ขาดการศึกษาและปฏิบัติตามหลักอริยสัจ 4 และอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมตกเป็นพวกหรือเป็นเหยื่อมารอย่างแน่นอน

    หากลูกหลานคนใดเกรงเภทภัยจากมาร ไม่ต้องการตกเป็นพรรคพวกหรือเป็นเหยื่อมาร หลวงปู่ใหญ่จะชี้ข้อปฏิบัติอย่างง่ายที่สุดเป็นพื้นฐานเบื้องต้น คือ หากผู้ใดมีจิตใจรักสงบ ใส่ใจแต่จำเพาะเรื่องการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น มีจิตมุทิตาอนุโมทนา ไม่สอดส่ายเพ่งเล็งจับผิดผู้อื่น มารจะเข้าแทรกแซงได้ยากมาก

    โดยแท้จริงแล้ว มารเป็นภพภูมิและสภาพจิตที่น่าสังเวชที่สุด ควรที่ผู้ทรงคุณธรรมจนถึงโลกุตรธรรมจะได้แผ่บุญกุศลให้มากที่สุด แต่มารบางจำพวกก็ไม่ยอมรับบุญกุศล เพราะทิฐิมานะสูง หมกอยู่ในอวิชชาดิ่งด่ำเกินกว่าจะถอนตนออกมาได้

    การที่พญามารแลเหล่าสมุนมารแห่งสวรรค์ ปรนิมมิตตวสวตี จะถอดถอนตนออกจากความเป็นมารได้ พวกเขาจะต้องประสบทุกข์เข็ญอย่างมหาศาลเกินขนาดที่มนุษย์จะคาดหมายได้ กล่าวคือ จะต้องประสบพิบัติภัยถึงขนาดที่เหล่ามารจะต้องสูญสิ้นถิ่นครอบงำอาศัยของตน คือโลกมนุษย์และสวรรค์ทุกชั้นถูกไฟประลัยกัลป์ผลาญพร่า จากนั้นจะมีอภิมหาอุทกภัยท่วมท้นไปจนปริ่มชั้นอกนิษฐ์ธาดาพรหม นั่นแล มารจึงจะเกิดสำนึกมุ่งจะเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นได้สักคราครั้งหนึ่ง

    แต่ก็อาจเป็นคราครั้งหนึ่งที่ไม่ยั่งยืน เพราะเมื่อพญามารตนเก่าสูญสิ้นความเป็นมาร ก็จะมีมารเกิดใหม่ มาเถลิงตำแหน่งพญามารตนใหม่ ตามวัฏจักรแห่งมหาจักรวาลอันไพศาลนี้ นะลูกหลานเอ๊ย ๚
    ---------------
    #ธรรมเทศนาหลวงปู่เทพโลกอุดร.
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร.


    *************************


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2018
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ?temp_hash=3b5dce7f88d6845b2344ca55d346468c.jpg



    พรหมวิหาร 4
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ?temp_hash=8f208b88ce5a13284afe97aa0f9163a6.jpg



    วันนี้ วันพระวันธรรมสวนะ แรม๑๕ค่ำ เดือน๘


    ทำจิตใจให้ผ่องใส ขอให้ทุกท่านอยู่ดี มีสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงนำคาถาของท่านพระอาจารย์ชาญณรงค์ ศิริสมบัติ หรือ ท่านอภิชิโตภิกขุ ศิษย์ของหลวงตาดำในดงและเป็นศิษย์น้องหลวงปู่เทพโลกอุดร นำบทสวดมาถ่ายทอดเพื่อใช้รักษาโรค มีดังนี้

    นะโม๓จบ
    “สมุหะคัมภีรัง อะโจระภะยัง อะเสสะโต โส ภควา พุทโธหยุด ธัมโมหยุด สังโฆหยุด โรคภัยทั้งหลายจงหยุด หยุดด้วย นะโมพุทธายะ”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    ไปได้รูปมาจากไหนครับอาจารย์เปล่งบารมีมากครับ
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    22154542_1242320799246727_3213380098574149000_n.jpg






    หลวงปู่ทั้งสอง คือ หลวงปู่ใหญ่ และ หลวงปู่อุปคุต ทำงานประสานกันมานานแล้วนะ ลูกหลานทุกคน ทุกวันนี้ยิ่งประสานกันอย่างแนบสนิทยิ่งขึ้น เพราะจักรภพนี้เปลี่ยนพญามารที่เคยผจญพระพุทธเจ้าไปแล้ว เป็นพญามารใหม่ที่มีฤทธิ์เดชร้ายแรงกว่าเดิม. พญามารองค์เก่าถูกหลวงปู่อุปคุตท่านทรมานจนเปลี่ยนทิฐิอุปนิสัยเป็นพระโพธิสัตว์ผู้แสวงพุทธภูมิ .. แล้วหลวงปู่ใหญ่จะเล่าเรื่องนี้ให้ลูกหลานฟังในกาลต่อไป๚ .. ณ บัดนี้จงร่วมกันอนุโมทนาสาธุ นะลูกหลานเอ๊ย
    -----------------
    #หลวงปู่เทพโลกอุดร.
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    บอกเล่าให้ลูกหลานรู้ไว้ ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกแต่งโดยหลวงปู่เทพโลกอุดร.

    ตามประวัติเล่าขานสืบทอดมาบอกว่า ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรค์โลก จารเป็นอักษรขอม จารึกไว้ในใบลาน โบราณาจารย์จึงได้แปลเป็นอักษรไทย หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง - ศิษย์หลวงปู่ใหญ่) ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก มีคำกล่าวในหนังสือนำนั้นว่า "ผู้ใดมียอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกไว้ประจำบ้านเรือน มีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลกและป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ทำมาหากินเจริญ ฯลฯ"

    ต่อไปนี้คือ บทสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก บทประพันธ์โดย หลวงปู่เทพโลกอุดร ร้อยเรียงจากใจความสำคัญที่สุดในพระไตรปิฎก. มีอานุภาพมหาศาล แม้สวดคาถาอื่นใดทุกวันเป็นเวลาร้อยปียังสู้สวดพระคาถานี้เพียง 1 จบมิได้ อานิสงส์ครอบจักรวาล ให้ลูกหลานจงหมั่นสวดด้วยใจเคารพบูชา นะลูกหลานเอ๊ย๚ (ฉบับที่หลวงปู่ใหญ่เผยแพร่คราวนี้มีแปลเป็นภาษาไทยให้คนยุคนี้เข้าใจด้วย)
    ------------------------
    ๑. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง วะตะ โสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วะตะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา สุคะโต วะตะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู วะตะโสภะคะวา ฯ

    ๒. อะระหันตัง สะระณังคัจฉามิ อะระหันตัง สิระสานะมามิ สัมมาสัมพุทธัง สะระณังคัจฉามิ, สัมมาสัมพุทธัง สิระสานะมามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณังคัจฉามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสานะมามิ, สุคะตัง สะระณังคัจฉามิ, สุคะตัง สิระสานะมามิ โลกะวิทุง สะระณัง คัจฉามิ, โลกะวิทุง สิระสานะมามิ

    ๓. อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโร วะตะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา สัตถารัง เทวะมะนุสสานัง วะตะโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา พุทโธ วะตะโสภะคะวา ฯ

    ๔. อะนุตตะรัง สะระณังคัจฉามิ อะนุตตะรัง สิระสานะมามิ ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณังคัจฉามิ, ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสานะมามิ, สัตถาเทวะมะนุสสานัง สะระณังคัจฉามิ, สัตถาเทวะมะนุสสานัง สิระสานะมามิ พุทธัง สะระณังคัจฉามิ พุทธัง สิระสา นะมามิ อิติปิโสภะคะวา ฯ

    ๕. อิติปิโสภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ฯ อิติปิโสภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ฯ

    ๖. อิติปิโสภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน ฯ

    ๗. อิติปิโสภะคะวา ยามา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา ตุสิตา ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา นิมมานะระติ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ

    ๘. อิติปิโสภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ

    ๙. อิติปิโสภะคะวา ปัญจะมะฌานะ อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา ฉัฏฐะมะฌานะ วิญญานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา สัตตะมะฌานะ อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโนฯ อิติปิโสภะคะวา อัฏฐะมะฌานะ เนวะสัญญานายะตะนะ อะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ

    ๑๐. อิติปิโสภะคะวา โสตาปัตติมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา สะกิทาคามิปัตติมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา อะนาคามิปัตติมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะปัตติมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ

    ๑๑. อิติปิโสภะคะวา โสตาอะระหัตตะผะละธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา สะกิทาคามิอะระหัตตะปัตติผะละธาตุ สัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ อิติปิโสภะคะวา อะนาคามิอะระหัตตะปัตติผะละ ธาตุสัมมาทิยานะสัมปันโน ฯ

    ๑๒. กุสะลาธัมมา อิติปิโสภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ชมภูทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ ปัญจะพุทธา นะมามิหัง อาปามะจุปะ ทีมะสังอังขุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะสุเห ปาสายะ โสโส สะสะ อะอะอะอะนิ เตชะสุเนมะภูจะนาวิเว อะสัมวิสุโล ปุสะพุภะ อิสะวาสุ สุสะวาอิ กุสะลาธัมมา จิตติวิอัตถิ ฯ

    ๑๓. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญจะ อิสะโรธัมมา ฯ

    ๑๔. กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ จาตุมะหาราชิกา อิสะโร กุสะลาธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอู ยาวะ ตาวะติงสา อิสะโร กุสะลาธัมมา นันทะปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ยามาอิสะโร กุสะลาธัมมา พรหมมา สัททะปัญจะ สัตตะสัตตา ปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ฯ

    ๑๕. ตุสิตา อิสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ฯ

    ๑๖. นิมมานะระติ อิสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถาเทวะมะนุสสานัง ตะถะยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ฯ

    ๑๗. ปะระนิมมิตตะอิสสะโร กุสะลาธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะ ปะผะยาวะชีวัง พุทธัง สะระณังคัจฉามิ ฯ

    ๑๘. พรหมมาอิสสะโร กุสะลาธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลาโภ กะลากะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

    ๑๙. นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

    ๒๐. อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมมะสาวัง มะหาพรหมมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิ วิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุ ฯ

    ๒๑. สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง จะตุวิสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

    ๒๒. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา ฯ

    ๒๓. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม

    ๒๔. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม

    ๒๕. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

    ๒๖. นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง ฯ

    ๒๗. นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะหาโย นะโม อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอะ วันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระนะ อาระปะขุธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ

    ๒๘. (บทอธิษฐานให้ประจักษ์ผล) สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา วินัสสันตุ ๚
    ------------
    สวดแล้ว พึงเจริญจิตตาม #คำแปล เถิด

    ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

    ๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า

    ๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส

    ๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า

    ๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

    ๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

    ๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ

    ๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน

    ๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

    ๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

    ๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล

    ๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร

    ๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

    ๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

    ๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

    ๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

    ๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี

    ๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน

    ๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

    ๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

    ๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

    ๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

    ๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

    ๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

    ๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

    ๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง

    ๒๘. (บทอธิษฐานให้ประจักษ์ผล) ความทุกข์ทั้งปวง ภัยทั้งปวง โรคร้ายทั้งปวง จงพินาศไปทั้งสิ้นเถิด ๚
    -----------------
    หลวงปู่เทพโลกอุดร.
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    หมั่นสวดยอดพระกันฑ์ไตรปิฎกให้ได้ทุกวัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...