อยากทราบว่าของเก่าติดตัวหมายความว่าไง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ong303, 26 มกราคม 2018.

  1. ong303

    ong303 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +5
    อยากทราบว่า ผมตื่นขึ้นมาช่วง ตี 2 จะตี3 พอผมมองดูตรงน่าประตู่กระจก ผมเห็นวง กลมด้านในเป็นสีดำๆ ผมเห็นแบบนี้ มันหมายความว่าไงคับ ผมอยากให้ผู้รู้ ช่วยอธิบายด้วยคับ แต่ก่อน ย่าผมเสีย ผมรู้ว่า ตอนนั่นผมนอน ในห้องแต่ไม่ได้นอนน่าศพ ผมรู้ว่าผมหนาวขนลุก พอผมไปถาม พ่อแม่ ที่นอนน่าศพ พ่อแม่บอกว่า ไม่หนาว แต่ผมหนาวเหมือนยูใน ตู้แช่เย็น เลยคับ
     
  2. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ความถนัด ชำนาญ
     
  3. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    เคยฟังมาว่า เมื่อเราเข้าสมาธิได้ถึง ฌาน 4

    สิ่งที่เราเคยฝึก เคยเรียน ที่ถูกปิดเอาไว้ จะเริ่มใช้ได้ในชาติปัจจุบันครับ

    ฌาน 4 มาก กลับมามากครับ

    ก็ต้องลองพิสูจน์เอาเองครับ
     
  4. Khobkhoon

    Khobkhoon ''พระองค์เดียว''

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2018
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3

    (ขอบอกก่อนว่า ไม่ใช่ผู้รู้ค่ะ) แต่มีผู้มีปัญญามากกว่า ''' บอกเราแบบนี้เหมือนกัน'' แต่เดิมที่ไม่รู้และไม่เข้าใจ แต่ ณ ปัจจุบันพอเข้าใจได้บ้าง นั่งกรรมฐานไปเรื่อยๆ จะได้คำตอบเอง งงเอง มีคำถามเองแต่ไม่มีผู้ตอบ บางทีมีผู้ตอบโดยไม่ได้ถาม และก็เป็นทุกข์ กับสิ่งที่ งง นั้นมากมายหาสาเหตุไม่ นานหลายวัน เดือน ปี ไม่อยากมี ไม่อยากได้ สุดท้าย นิ่ง เฉย ปล่อยวาง เลย(แต่นั่งกรรมฐานต่อไป) ค่ะ
     
  5. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ผลของกรรมที่สั่งสมไว้ครับคือของที่ติดตัวมา

    จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม

    การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ
    1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
    2. อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
    3. อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อ ๆ ไป
    4. อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
    จำแนกตามหน้าที่ของกรรม
    กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ

    1. ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด
    2. อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม
    3. อุปปีฬิกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน
    4. อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว
    จำแนกลำดับการให้ผลของกรรม
    กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล 4 อย่าง

    1. ครุกรรม หรือ ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม) หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม จัดเป็นกรรมที่หนักที่สุด ให้ผลเร็วและแรง มีทั้งฝ่ายที่เป็นกุศลคือฝ่ายดีและฝ่ายที่เป็นอกุศลคือฝ่ายไม่ดี ครุกรรมที่เป็นกุศลได้แก่ฌานสมาบัติ ๘ ผู้ได้ฌานสมาบัติชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายกุศลที่ดีที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมได้เกิดในพรหมโลกทันที ส่วนครุกรรมที่เป็นอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม ๕ มี ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา เป็น ผู้ทำอนันตริยกรรมชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายอกุศลที่ร้ายแรงที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมเกิดในนรกทันที ครุกรรมย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นเสมอ อุปมาเหมือนวัวแก่มีกำลังน้อย แต่ยืนอยู่ตรงปากประตูคอกพอดี ย่อมจะออกจากคอกได้ก่อนวัวหนุ่มอื่นๆ ทั้งหลาย ฉะนั้น[2]
    2. พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม
    3. อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น
    4. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม (กตตฺตา-สิ่งที่เคยทำไว้, วา ปน-ก็หรือว่า, กมฺม-กรรม) หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว นอกจากกรรม 3 อย่างข้างต้น, ฏีกากล่าวว่า กรรมนี้ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป กรรมนี้จึงจะให้ผล เป็นกรรมทั้งฝ่ายดีและไม่ดีที่ทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่มีเจตนาจะให้เป็นอย่างนั้น กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ภาษาวินัยว่าเป็นอจิตตกะ ทำไปก็สักแต่ว่าทำ แม้มีโทษก็ไม่รุนแรง ถือว่าเป็นกรรมที่มีโทษเบาที่สุดในบรรดากรรมทั้งหลาย ถ้าไม่มีกรรมที่หนักกว่าเช่นพหุลกรรม หรือต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล กรรมข้อนี้ ท่านเปรียบเหมือนคนบ้ายิงลูกศร เพราะคนปกติที่ไม่มีฤทธิ์จะไม่รู้เลยว่า เป็นกรรมอะไรที่จะมาให้ผลนำเกิด เนื่องจากทำไว้ในอดีตชาตินั่นเอง[2]
    จำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม
    กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) แสดงที่ตั้งแห่งผลของกรรมสี่อย่าง เป็นการแสดงกรรมโดยอภิธรรมนัย (ข้ออื่น ๆ ข้างต้นเป็นการแสดงกรรมโดยสุตตันตนัย)
    1. อกุศลกรรม
    2. กามาวจรกุศลกรรม
    3. รูปาวจรกุศลกรรม
    4. อรูปาวจรกุศลกรรม
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ที่เห็นในกระจก บอกว่าจิตเคยทำงานได้
    แบบมีเส้นสายนำครับ และถ้าจิตแบบนี้
    มันจะไปรับรู้ในเรื่องของพลังงานทั้งภายในและภายนอกได้ครับ
    คือ ปกติจิตเราจะทำงานได้
    จะมีลักษณะบอกอยู่ ๒ อย่างคือ ๑.มีแสงนำ(คือเห็นเป็นสี
    ต่างๆได้ร้อยแปด) ๒.มีเส้นสายนำ(เห็นคลื่น เห็นควัน เห็น
    อากาศคล้ายคลื่นไหวหรือวิ่งได้) หรือ ๓ ทั้งแสงและสีนำ
    (เราก็จะเห็นเป็นภาพ)พอนึกออกนะครับ
    ซึ่งพวกนี้ มันเกิดได้ปกติ ในระดับกำลังสมาธิไม่มาก
    เพียงแค่ระดับอุปจารสมาธิก็เกิดได้แล้ว ลองสังเกตุดู
    เวลาเข้าห้องน้ำ ทำตานิ่งๆ ก็เห็นอากาศคลื่นที่ได้แล้ว
    พวกนี้ ไม่ใช่คุณวิเศษวิอะไรเลยครับ แต่มีประโยชน์
    เอาไว้ใช้ซ้อมใช้งาน เพื่อไปเล่นกับ ปฏิภาคนิมิต
    ในกำลังสมาธิระดับสูง ในช่วงการฝึกกรรมฐานที่ขึ้น
    ด้วยภาพเฉยๆครับ.......

    และอาการหนาว หรือขนลุก นั้นเป็น กิริยาพื้นฐานเบสิก
    เบื้องต้นมาก ของจิตที่รับรู้เรื่องพลังงานได้ครับ
    ย้ำว่าเป็นกิริยาเบื้องต้น พูดง่ายๆว่า ถ้ายังรู้สึกที่กาย
    และส่งผลต่อความรู้สึก และส่งผลให้กายเกิดเวทนาได้อยู่
    นั้นหละเค้าเรียกพื้นฐานครับ....

    คือ ปกติถ้าจะรับรู้ว่าใครตาย ก็จะรู้เลย เห็นภาพเลย หรือท่านนั้นมาหามาบอก หรือเห็นใคร
    มารับ หรือไม่ก็ได้ยินเสียงเรียกชื่อเล่นเรา เสียงไอ อะไรประมาณนี้ แต่จะไม่มีผลต่อร่างกายอะไร
    คือ ที่เล่ามาให้ฟังทั้งหมด คือว่า ไม่มีอะไรในกอไฝ่ เป็น
    เบสิค มากๆครับ ที่ไม่จำเป็นต้องฝึกอะไรมาเลยก็เกิดขึ้นได้ครับ

    สรุป เรียกว่า เป็นกิริยาที่บอกว่า จิตเคยทำอะไรมาได้บ้าง
    และเป็นกิริยาที่เกิดได้ปกติทั่วไป เหมือนมีกางเกงตัวหนึ่ง
    ตอนนี้เราแค่มองดูกางเกง ยังไม่ได้หยิบมัน ยังไม่ได้นำมาสวม
    ยังไม่ได้ รูดซิบ ติดกระดุม หรือต้องใส่เข็มขัดรัดอะไร
    พอมองภาพรวมออกนะครับ
    อย่าไปคิดว่า เป็นอะไรพิเศษ เพราะบอกไปแล้ว
    พวกกิริยา ระดับเริ่มต้นที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรแบบนี้
    หากเผลอไปยึด อาจจะทำให้เราปฏิบัติได้ข้า เพราะมันแต่ไปสนใจ ให้ความสำคัญมัน จะทำให้เราหลงทาง
    และหลงตัวเองได้อย่างไม่น่าเชื่อ
    ทั้งๆที่จิตเรายังไม่มีความสามารถอะไรได้เลย
    ก็จะหลงแต่สัมผัสเบสิคพวกนี้ได้และยึดมั่นได้ครับ
     
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ของเก่า หรือกรรมฐานเก่า

     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เมื่อจิตเข้าฌาน4ได้เต็มกำลัง ฌานจะตกลงที่อุปจารสมาธิ
    และนิมิตกรรมฐานเดิม จะปรากฏ ให้จิตจับนิมิตกรรมฐานเดิม
    เมื่อจิตจับนิมิตกรรมฐานเดิมเป็นฌาน 4 กรรมฐานเดิมตก
    นิมิตกรรมฐานใหม่ปรากฏ เป็นแบบนี้เรื่อยไปจนหมดของเก่า
    ท่านหลวงพ่อเล่าว่า ท่าทำอานาปานสติเป็นฌาน4 ฌานตก
    ภาพไฟปรากฏ ก็หมายถึงกสินไฟ จับภาพไฟเป็นฌาน4
    กสินไฟตก กสินกองอื่นๆขึ้นมาเรื่อยๆจนเกือบจะครบถ้วน
    หลวงพ่อปาน สั่งห้ามฝึกต่อของเก่า เพราะไม่ให้หลวงพ่อฤษีลิงดำ
    เป็นพระอภิญญา หลวงพ่อปานสั่งให้เป็นเตวิชโช
    นี้คือ การกลับมาของกรรมฐานที่เคยได้ในชาติก่อน
    ท่านได้เกิดความสงสัย ไปเรียนถามหลวงพ่อต่างๆ
    ที่หลวงพ่อปานแนะนำว่า เป็นพระอภิญญา หลายๆรูป
    ก็กล่าวว่า เป็นเช่นนั้น ถูกต้อง ในเรื่องกรรมฐานเก่า
    บอกเล่ากันฟัง
     
  9. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระอาจารย์กล่าวว่า "การฝึกกสิณต้องใช้ให้ได้ผลก่อน ถ้ายังใช้ผลไม่ได้ยังไม่ถือว่าได้จริง อย่างถ้าเราใช้วาโยกสิณ เราอยู่ตรงนี้ตั้งใจว่าเราจะไปบ้าน กำหนดจิตเข้าสมาธิตั้งใจอธิษฐานว่าเราจะไปบ้าน คลายสมาธิออกมาอธิษฐานใหม่ แล้วตัวเราไปอยู่ที่บ้านเลย นั่นคือใช้วาโยกสิณได้ผล

    (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนมิถุนายน ๒๕๕๗
     

แชร์หน้านี้

Loading...