วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขออนุญาตคุณธร ต่อ การปฏิบัติจริงจากประสบการณ์ในการเจริญ กรรมฐาน สี่สิบกอง ตามแนวทางที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนสืบต่อกันมา ได้ครับผม

    ขออานิสงค์แห่งธรรมทานที่ทุกๆท่านร่วมจิตเป็นกัลยาณมิตรต่อกันนั้นจงส่งผลให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพุทธประสงค์ดำรงมั่นคงในสัมมาทิษฐิ ก้าวหน้าในการปฏิบัติโดยถ้วนทั่วกันด้วยเทอญ
     
  2. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ผมก็เพิ่งจะเริ่มปฏิบัติครับ ขออนุญาติแนะนำนิดหน่อยนะครับ ทุกครั้งที่ทำบุญ หรือทำอะไรก็แล้วแต่ ให้ตั้งจิตอธิฐาน อาราธนาขอบารมีองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
    พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระอรหันต์ทุกๆ พระองค์ มหาโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์ โพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์ และผลบุญคุณงามความดีของข้าพเจ้าตั้งแต่ต้นกัปล์จนถึงปัจจุบัน
    จงมารวมกัน แล้วก็ตั้งจิตแผ่ไปถึง คนในครอบครัว ศัตรู คนที่เราไม่ชอบ คนที่ชอบหาเรื่องเรา เจ้ากรรมนายเวร เทวดาประจำตัว คนที่เรารู้จักทุกคน แผ่บ่อยๆ ทุกครั้งที่ทำสมาธิ
    สวดมนต์ หรือทำบุญ ตักบาตร แล้วเค้าอาจจะค่อยๆ เปลี่ยนท่าที ไปครับ

    เรื่องการปฏิบัติ เด๋วมีผู้เชี่ยวชาญ มาบอกครับ ผมยังไม่เชี่ยวชาญ แต่ในกระทู้นี้ พี่ chdhorn ก็แนะนำไว้ก่อนโพสต์คุณนิดเดียวเองครับ ทำสมาธิไม่จำเป็นต้องตั้งท่าก็ได้ครับ
    เพราะในชีวิตจริง เราแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสมาธิมาใช้เลย เพราะเราชินกับการทำสมาธิแค่ตอน นั่งที่บ้าน
     
  3. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384

    สวัสดีค่ะคุณรัศมีดารา...

    ขอแนะนำหน่อยนะคะ... การที่คุณโดนคนในครอบครัวขัดขวางไม่ให้ปฏิบัติธรรมนั้น นอกจากจะเป็นมารทดสอบความตั้งใจของคุณตามที่คุณเข้าใจแล้ว... ในอีกส่วนหนึ่ง... นั่นเป็นผลจากกรรมเก่าของคุณด้วยค่ะ...

    คุณคงจะเคยขัดขวางการทำบุญ ปฏิบัติกรรมฐานของคนอื่นเขามา ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม... สิ่งที่คุณควรจะทำ คือ

    ๑. จับลมสบายตามวิธีที่คุณถนัด

    ๒. จับภาพพระให้ใสสว่างมากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้... ทรงอารมณ์ใจนี้ไว้สักระยะ... พร้อมกับน้อมจิตยอมรับนับถือองค์พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด ไม่มีที่พึ่งอื่นใดจะประเสริฐไปกว่านี้อีกแล้ว... เสร็จแล้วนึกให้เห็นภาพตัวเองก้มลงกราบที่พระบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน และถ้าทำได้ให้น้อมนึกแยกกายไปกราบพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และครูบาอาจารย์ทั้งหลายพร้อมๆ กัน (บนพระนิพพาน หรือเท่าที่เห็นภาพในจิตของเรา)

    ๓. กราบขอขมากรรมต่อองค์พระรัตนตรัย โดยการอธิษฐานว่า...
    "- ข้าแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ หากข้าพระพุทธเจ้าได้เคยคิดประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อองค์พระรัตนตรัย อันมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระธรรม องค์พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย อีกทั้งครูบาอาจารย์ทั้งหลาย พรหมเทพเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ขอองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน... ได้โปรดอดโทษทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพเจ้านับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"
    ก้มลงกราบพระบาทพระองค์ท่านอีกครั้ง

    ๔. น้อมนึกถึงศีลที่คุณเองถือปฏิบัติอยู่... ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ก็ตาม... (โดยปกติ เวลาที่ใช้ชีวิตประจำวันคุณอาจถือศีล ๕ อยู่ แต่ในจิตลึกๆ แล้วๆ คุณอาจอยากถือศีล ๘ เป็นชีวิตจิตใจ... ดังนั้นเวลาปฏิบัติกรรมฐานคุณสามารถอาราธนาถือศีล ๘ ได้โดยกำหนดถือเฉพาะในช่วงเวลาที่คุณกำลังทำสมาธิอยู่ได้ เมื่อปฏิบัติธรรมเสร็จ คุณก็กลับมาถือศีล ๕ ตามเดิม... ไม่เสียทั้งทางโลกและทางธรรมค่ะ) โดยน้อมนึกว่า...
    "ณ ขณะนี้ ศีล ๕ (๘) ของข้าพเจ้าสมบูรณ์ บริบูรณ์ดีทุกประการ... ข้าพเจ้าไม่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ได้ลักขโมยผู้ใด ไม่ได้ผิดลูกผัว - เมียใคร ไม่ได้พูดโกหกมดเท็จใดๆ ไม่ได้เสพสุราของมึนเมา หรือเล่นการพนันแต่อย่างใด... (ไม่ได้ทานอาหารหลังเที่ยง, ไม่ได้ใช้เครื่องไล้ของหอม เว้นจากการฟ้อนรำ ดูสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่ได้ใช้เครื่องประดับตกแต่งใดๆ, ไม่ได้นอนบนที่นอนสูงใหญ่)"

    ๕. หลังจากนั้นให้คุณน้อมนึก อโหสิกรรมให้แก่ผู้ที่เคยล่วงเกินคุณมา
    "- ข้าพเจ้าอโหสิกรรม ยกโทษให้แก่ พรหม-เทพเทวา สรรพสัตว์สิ่งมีชีวิต มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายที่เคยล่วงเกินข้าพเจ้ามาด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี ในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ข้าพเจ้าไม่ถือโทษโกรธเคืองใดๆ ทั้งสิ้น และขอให้พวกท่านทั้งหลายมีความสุขกาย สุขใจ พ้นจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งมวล มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงที่สุดแห่งธรรม และมีพระนิพพานเป็นที่สุดด้วยเทอญ"

    ๖. เมื่ออโหสิกรรมให้ผู้อื่นเสร็จแล้ว... ให้คุณน้อมนึกถึงกุศลผลบุญ อีกทั้งความดีงามทั้งหลายที่คุณเคยสร้างมาดีแล้วให้มารวมตัวกันที่ดวงจิตของคุณ (นึกให้เห็นดวงจิตของคุณสว่างไสวแพรวพราว) พร้อมกับอธิษฐาน ขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรของคุณ ดังนี้...
    "- ข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศส่วนกุศลผลบุญที่ข้าพเจ้าได้เคยกระทำมาตั้งแต่ต้นกัปต้นกัลป์ จนมาถึงปัจจุบันนี้ และที่จะทำต่อไปในอนาคต... ให้แก่ท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย... ขอให้ทุกๆ ท่านมาร่วมกันอนุโมทนาและได้รับซึ่งกุศลผลบุญเหล่านี้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน...
    (ตอนนี้ให้นึกเห็นรัศมีความสว่างของกุศลผลบุญ ความดีงามทั้งหลายจากดวงจิตของเราแผ่ออกไปคลุมร่างของเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา)
    - และข้าพเจ้าขออโหสิกรรมต่อท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินพวกท่านไปด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ขอให้พวกท่านทั้งหลายได้โปรดอโหสิกรรมทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพเจ้านับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ"

    ๗. ท้ายที่สุดให้คุณน้อมนึกถึงความสุข สดชื่น ความอิ่มเอม เปรมปรีด์ ความดีงามทั้งหลายที่คุณเคยสร้างมาดีแล้วอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งกุศลผลบุญทั้งหลาย พรหมวิหารสี่ และอภัยทานที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในดวงจิตของคุณให้มารวมตัวกัน (นึกให้เห็นดวงจิตของคุณสว่างไสวแพรวพราว) พร้อมกับอธิษฐานแผ่เมตตาอัปปมาณฌานว่า...
    "- ข้าพเจ้าขอน้อมถวายส่วนกุศลผลบุญ อีกทั้งพรหมวิหารสี่ อันมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมอภัยทาน แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ องค์พระธรรม องค์พระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ ต่อกันมาโดยมี... (ใส่ชื่อครูบาอาจารย์ที่คุณเคารพลงไป) เป็นที่สุด อีกทั้งท่านพ่อ ท่านแม่ ท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย บูรพกษัตริย์ไทย บรรพชนไทย นักรบไทยทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน... พรหมเทพเทวา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีท่านท้าวจตุมหาราช และท่านพญายมราชเป็นที่สุด...
    - ขอทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน ได้โปรดมาร่วมกัน รับและอนุโมทนาในส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายเหล่านี้ และขอได้โปรดมาเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลผลบุญในครั้งนี้ของข้าพเจ้าด้วยเทอญ...
    (น้อมนึกให้เห็นว่าในมือคุณมีดอกบัวแก้วสว่างไสวแพรวพราว ซึ่งเกิดจากกุศลผลบุญของคุณมารวมตัวกันเป็นดอกบัวนั้น... แล้วน้อมถวายแด่ทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน)
    - และข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศส่วนกุศลผลบุญ อีกทั้งพรหมวิหารสี่ อันมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมอภัยทาน ให้แก่เหล่าสรรพสัตว์สิ่งมีชีวิต มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล อนันตจักรวาลนี้... ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี... ขอให้ทุกๆ ท่านจงมาร่วมกันอนุโมทนาและรับซึ่งส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายเหล่านี้เฉกเช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าจะพึงได้รับนับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน... ขอให้ทุกๆ ท่านมีดวงตาเห็นธรรม และเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลันเทอญ"


    ต่อจากนี้ขอคุยกับคุณรัศมีดาราในเรื่องวิธีการปฏิบัติกรรมฐานของคุณกันสักหน่อยค่ะ...

    ความจริงแล้วเวลาที่เราปฏิบัติธรรมนั้น ไม่จำเป็นที่เราจะต้องตั้งท่านั่งทำสมาธิ สงบ อยู่แต่ในห้องพระเท่านั้นนะคะ... ถ้าคุณมีเวลา สะดวก ปลอดโปร่ง แล้วคุณทำได้ นั่นถือเป็นสิ่งที่ดีค่ะ...

    แต่ถ้าคุณไม่สะดวก ขอแนะนำวิธีดังนี้ค่ะ...

    ๑. ทำตามขั้นตอนข้างบน ทั้ง ๗ ข้อ ในตอนเช้า และก่อนนอนทุกวัน... (อ่านดูอาจจะรู้สึกว่า ยาวมาก คงต้องใช้เวลานานมาก... แต่จริงๆ แล้ว เมื่อคุณทำจนชิน มันจะใช้เวลาไม่นานเลยค่ะ... และถ้าคุณชำนาญมากๆ เพียงแค่เริ่มตั้งแต่จับลมสบาย จับภาพพระใส จนกระทั่งแผ่เมตตานั้น ใช้เวลาไม่ถึง ๑๐ นาที (หรือน้อยกว่านั้น) ก็ทำได้ค่ะ... คือนึกเห็นแต่ภาพ โดยไม่ต้องมีคำอธิษฐาน เพราะทุกสิ่งล้วนผนึกแนบแน่นอยู่กับดวงจิตของคุณอยู่แล้วค่ะ... แต่คงต้องใช้เวลา และความเพียรอยู่สักหน่อย)... เมื่อทำครบหมดทั้ง ๗ ข้อแล้ว ถ้าคุณยังมีเวลาเหลือ... ก็ให้ทำสมาธิตามวิธีที่คุณถนัด... แต่ต้องบอกตัวเองก่อนว่า... โดยปกติ เวลาประมาณเท่านี้ จะมีคนมาเรียกเรา ดังนั้น ให้ตั้งจิตว่าถ้ามีคนมาเรียกคุณ... คุณจะไม่นึกโกรธ หรือหงุดหงิดอะไร... พร้อมกับทำใจให้โล่ง โปร่งเบา สบายไปเรื่อยๆ

    ๒. เมื่อคุณอาบน้ำชำระล้างร่างกายทุกครั้ง... ให้พิจารณาวิปัสสนาในข้อ ความสกปรก ความไม่เที่ยงแท้ ของสังขารร่างกาย (พิจารณาให้จิตนึกเห็นภาพตามไปด้วยทุกครั้ง) พิจารณาว่า ร่างกายมันเป็นถุงอุจจาระ ปัสสาวะ เคลื่อนที่ได้ มันสวยงามจริงหรือ

    ๓. ก่อนที่คุณจะทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มใดๆ... ให้คุณนึกน้อมให้เห็นภาพว่าคุณกำลังน้อมถวายอาหารและเครื่องดื่มนั้นๆ แด่องค์พระรัตนตรัย... จับภาพนั้นไว้สักพัก แล้วขอน้อมลาอาหารนั้นมาทานเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวคุณเอง และขอให้พระท่านช่วยสงเคราะห์เสกอาหารนั้นให้เป็นอาหารทิพย์ มีสรรพคุณเป็นยาวิเศษ รักษาสารพัดโรคในกายคุณ ทั้งที่คุณรู้ และไม่รู้ว่ามีอยู่...
    เสร็จแล้วก่อนจะทานอาหารนั้นๆ อีกอึดใจหนึ่ง ก็นำธรรมะข้อ อาหาเรปฏิกูลสัญญามาใช้ ว่าอาหารที่เราเลือกแล้วเลือกอีกนั้นมันสะอาด หรือสกปรก สภาพความเป็นจริงของมันเป็นอย่างไรบ้าง

    ๔. เวลาที่มีอะไรมากระทบกับจิต ทำให้จิตคุณหวั่นไหว ไม่ว่าจะเป็นอาการดีใจ เสียใจ หงุดหงิด ไม่พอใจใดๆ ก็ตาม... ให้พิจารณาวิปัสสนาในข้อ อริยสัจสี่ ว่าชีวิตเป็นทุกข์อย่างไรบ้าง เราจะต้องเพิ่มทุกข์ให้กับตัวเองอีกหรือ สังขารร่างกายของเรามันก็ไม่เที่ยงแท้ จะตายวันตายพรุ่งก็ไม่รู้ เราจะมามัวโกรธ เกลียด รำคาญใจคนอื่นด้วยเรื่องอะไร โลกธรรมทั้ง ๘ ก็ล้วนเป็นของไม่เที่ยง เราจะไปยึดไปถือมันด้วยสาเหตุใด...

    ๕. ถ้าเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย... ก็น้อมนำสังขารร่างกายมาพิจารณาว่า มันเป็นรังของโรค มันทุกข์ หรือมันสุข

    ๖. คุณสามารถเลือกนำข้อธรรมะมาพิจารณาได้ตลอดทั้งวัน ตามที่คุณต้องการ

    ๗. แต่ถ้าเมื่อไหร่คุณอยากมีอารมณ์สบายๆ ก็สามารถจับลมหายใจสบายๆ ตามที่คุณถนัด หรือนึกเห็นภาพพระตลอดเวลาที่คุณต้องการก็ได้ค่ะ...

    หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับคุณรัศมีดารา และท่านอื่นๆ บ้างนะคะ...

    ขอให้ทุกท่านมีดวงตาเห็นธรรม และเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลันด้วยเทอญ
     
  4. Untila of life

    Untila of life Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +37
    สาธุ...ขออนุโมทนากับทุกๆบุญ ทุกๆความดี และทุกๆกุศลด้วยเถิด
     
  5. malee123

    malee123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2008
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +2,843
    อ้างถึงข้อความคุณ natural
    "คนไม่มีของจะอวด ชอบอวด
    กามตัณหา ความอยากได้อยากมี
    ภวตัณหา ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่
    ภวตัณหา ความอยากไม่เป็นนั่นเป็นนี่"


    *****************************
    ขอประทานโทษจ้า ขอสอบทานคำ ว่าถูกต้องหรือไม่?
    "ภวตัณหา ความอยากไม่เป็นนั่นเป็นนี่"
    น่าจะเป็นคำว่า "วิภวตัณหา" ใช่หรือไม่?
    ถ้าคำเดิมถูกต้อง ต้องกราบขอขมาที่ได้ล่วงเกินมา ณ ที่นี้ด้วย
    ขออโหสิกรรมจ้าาา และขอสาธุ....อนุโมทนากับทุก ๆ ท่าน
     
  6. malee123

    malee123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2008
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +2,843
    (ping-love สงสัยจัง ภัยพิบัติอะไรอ่ะ ไม่รู้จริง ๆ ช่วยอธิบายหรือเล่าให้ฟังหน่อยดิ๊ น้า...หน่อยเดียวก็ยังดี :'(
     
  7. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    รายละเอียดเยอะมากลองตามอ่านจากกระทู้อื่นๆ ดูก็ได้ค่ะ
     
  8. ตุ๊กตาแก้ว

    ตุ๊กตาแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    557
    ค่าพลัง:
    +3,265
  9. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ขอประทานโทษค่ะอาจารย์ และทุกๆ ท่าน...

    พอดี เจ้าหลานสาวตัวน้อยแกดุ๊กดิ๊ก จุ๊กจิ๊ก ซนมาก ไม่อยู่นิ่งเลยค่ะ... เหมือนจับปูใส่กระด้งเลย... เลยต้องพิมพ์ไป หยุดไป... สมาธิไม่ต่อเนื่อง เกรงจะพลาด เลยต้องค้างไว้แค่นั้นก่อนค่ะ...

    เพื่อประโยชน์กับทุกๆ ท่าน เรามาเริ่มกันต่อเลยนะคะ... (ขออนุญาตนำส่วนที่เริ่มไว้มารวมให้เป็นเรื่องเดียวกันนะคะ)

    ......................................................................

    เอาล่ะค่ะ...

    ก่อนที่เราจะมาเริ่มกรรมฐาน ๔๐ กองกัน... ธรขอทบทวนวิชชาพื้นฐานบางเรื่องกันก่อนนะคะ...

    การจับลมสบาย
    หมายถึง - อาการที่ร่างกายของเรามีลมหายใจที่ละเอียด เบา โล่งที่สุด
    ในขณะที่จิตของเราก็จะ นิ่ง เบา สบาย ปลอดโปร่งที่สุดเช่นกัน...

    การจับลมสบาย เป็นผลมาจากการที่เราฝึกสังเกตลมหายใจตามฐานต่างๆ ซึ่งเรียกกันว่า การฝึกอานาปานสติ (เบื้องต้น) ในที่นี่จะขอแนะนำเพียง 3 ฐานเท่านั้น...

    ๑. การจับลมหายใจ ๑ ฐาน (ปลายจมูก)

    สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ ให้ท่านนั่งสบายๆ อย่าเครียด อย่าเกร็ง ปล่อยลมหายใจตามสบาย คอยดูลมหายใจ เข้า - ออก (อย่าบังคับลมหายใจให้ เข้า - ออก ตามที่เราต้องการ) เมื่อหายใจ เข้า ภาวนา "พุท" เมื่อหายใจ ออก ภาวนา "โธ" วางอารมณ์ใจเบาๆ สบายๆ ไม่ต้องอยากรู้ อยากเห็น หรือคาดหวังใดๆ ทั้งสิ้น ให้เป็นเพียง "ผู้ดู" เพียงอย่างเดียว

    ดูลมหายใจที่กระทบตรงปลายจมูก (สำหรับบางท่าน ลมจะกระทบตรงริมฝีปากบน) ตามดูลมจนใจเบา สบาย รู้สึกโล่ง โปร่ง ไม่ว่าจะเกิดอาการอะไรขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แสง สี หรือนิมิตใดๆ ไม่ต้องสนใจ สิ่งที่ต้องทำเพียงอย่างเดียว คือ ดูตรงจุดที่ลมกระทบ ถ้าคำภาวนาจะหายไปก็ไม่เป็นไร ปล่อยคำภาวนาทิ้งไป ไม่ต้องกังวล

    เมื่อทำได้แล้วให้อธิษฐานว่า
    "ขอให้ข้าพเจ้าได้ และเข้าถึง ซึ่งอานาปานสติ ลมหนึ่งฐานนี้ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าต้องการ ทุกชาติไป นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"


    ๒. การจับลมหายใจ ๓ ฐาน (ปลายจมูก หน้าอก ท้อง)

    วิธีการปฏิบัติเหมือนการจับลม ๑ ฐาน เพียงแต่คราวนี้เราใช้จิตสังเกตุจับดูลมหายใจ...
    - ที่ผ่านปลายจมูก ไหลเรื่อยมากระทบตรงหน้าอก แล้วไปสุดที่ท้อง เวลาหายใจเข้า พร้อมกับภาวนา "พุท"
    - เมื่อหายใจออก ให้ตามดูลมที่เคลื่อนที่ย้อนกลับขึ้นมา จากท้อง มายังอก แล้วผ่านปลายจมูกออกไป พร้อมกับภาวนา "โธ"... ทำจนจิตเบาสบาย

    เมื่อทำได้แล้วให้อธิษฐานว่า
    "ขอให้ข้าพเจ้าได้ และเข้าถึง ซึ่งอานาปานสติ ลมสามฐานนี้ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าต้องการ ทุกชาติไป นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"


    ๓. การจับลมหายใจตลอดสาย

    เมื่อผ่านการจับลมสามฐานมาจนชำนาญสักระยะ... จิตจะเริ่มเห็นว่าแท้ที่จริงแล้ว ลมหายใจของเรามีการไหลผ่าน เข้า - ออก เป็นสาย (คล้ายสายน้ำไหล) และอาการที่เราเคยจดจ้องกับฐานทั้งสามนั้นจะค่อยๆ เบาลงๆ เป็นการเห็นแค่เพียงลมไหลผ่านไปเท่านั้น...

    ให้ตามดูลมที่ไหลพลิ้วผ่านเหมือนเส้นไหม หรือสายน้ำนั้นไปเรื่อยๆ ทั้งเข้าและออก จนใจสบาย เบา โล่ง โปร่ง

    เมื่อทำได้แล้วให้อธิษฐานว่า
    "ขอให้ข้าพเจ้าได้ และเข้าถึง ซึ่งอานาปานสติ ลมปราณตลอดสายนี้ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าต้องการ ทุกชาติไป นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"

    ๔. การจับลมหายใจตลอดสายแล้วนำไปประยุกต์ใช้

    เมื่อจับลมหายใจตลอดสายได้แล้ว เราสามารถนำวิชชานี้ไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายแนว... อาทิเช่น

    - การดึงลมปราณธรรมชาติมาเสริมพลังลมปราณของเราเอง โดยการขอพลังธรรมชาติจากแม่พระธรณีและธรรมชาติทั้งหลาย...

    โดยส่วนตัวแล้ว ธรได้ขอพลังเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยค่ะ คือ ขอพลังธาตุดิน จากแม่พระธรณี... ขอพลังธาตุน้ำ จากแม่พระคงคา... ขอพลังธาตุลม จากแม่พระพาย... ขอพลังธาตุไฟ จากแม่พระเพลิง... และขอรับพลังธรรมชาติทั้งหมดทั้งมวลที่มีปรากฏอยู่ แต่ต้องเป็นพลังธาตุเฉพาะที่เป็นสัมมาทิฐิเท่านั้น

    - การดึงลมปราณจากจักรวาลมาเสริมพลังลมปราณของเราเอง โดยการขอพลังจากเจ้าแห่งจักรวาลทั้งหลาย... และเช่นเดียวกันค่ะ... ขอรับพลังจักรวาลทั้งหมดทั้งสิ้นที่มีปรากฏอยู่ แต่ต้องไม่เป็นอันตรายต่อธาตุขันธ์ และกระทบกับกายละเอียดและดวงจิตของเรา และที่สำคัญที่สุดต้องเป็นพลังจักรวาลที่เป็นสัมมาทิฐิเท่านั้น

    เมื่อได้พลังมาทั้งหมด ๓ สายแล้ว... พลังลมปราณของเราเอง พลังธรรมชาติ พลังจักรวาล... ให้เรานึกเห็นพลังทั้งสามสายนั้นหมุนวนเป็นเกลียวสอดประสานรับกัน พันรัดรอบซึ่งกันและกันอย่างแผ่วเบา พลิ้วไหวดุจดังเชือกไหมที่เบาพลิ้ว แล้วผ่านจมูกเข้ามาในร่างกายของเรา... ลมทั้งสามสายนั้นจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว...
    เมื่อหายใจเข้ามาในร่างกายของเรา ให้นึกให้สายลมนั้นช่วยฟอกธาตุขันธ์ของเราให้สะอาด บริสุทธิ์ และเสริมพลังลมปราณและร่างกายของเราให้แข็งแรง... และเมื่อหายใจออกให้นึกว่าสายลมนั้นได้ชะล้างธาตุ สิ่งไม่ดีที่เป็นโทษ และโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายในร่างกายของเราออกไปเป็นสายสีเทา - ดำ...

    เมื่อทำได้แล้วให้อธิษฐานว่า
    "ขอให้ข้าพเจ้าได้ และเข้าถึง ซึ่งอานาปานสติ ลมปราณตลอดสาย พร้อมการดึงพลังธรรมชาติ และพลังจักรวาลนี้ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าต้องการ ทุกชาติไป นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ...
    และข้าพเจ้าขอตั้งจิตนำวิชชานี้ไปเพื่อใช้ในการปรับธาตุขันธ์ของข้าพเจ้า และช่วยเหลือสรรพสัตว์ และบำเพ็ญบารมี ด้วยความจริงใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นในหนทางแห่งสัมมาทิฐิ...
    หากแม้นข้าพเจ้าผิดสัจจะ มีจิตคิดร้าย มีจิตที่เป็นมิจฉาทิฐิ นำวิชชานี้ไปใช้ในทางที่ผิดต่อชาติ ศาสนา พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชชาแล้วไซร้ ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้เรียนวิชชานี้สำเร็จ ถึงสำเร็จก็ขอให้วิชชาที่ได้มานี้ถูกส่งกลับคืนไปจนหมดสิ้น...
    แต่หากข้าพเจ้าใช้วิชชานี้ในทางที่ถูกที่ควร ขอให้ข้าพเจ้าจงเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าทั้งทางโลก ทางธรรมด้วยเทอญ"

    ๕. การจับลมหายใจตลอดสายแล้วนำไปประยุกต์ใช้ (สำหรับท่านที่ได้วิชชามโนมยิทธิ)

    สำหรับท่านที่ได้วิชชามโนมยิทธิ ท่านสามารถฝึกขั้นก้าวหน้าได้โดยการอาราธนาขอบารมีจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านให้ทรงเมตตาดึงปราณจากพระนิพพานลงมาผสมผสานรวมกับลมหายใจ พลังธรรมชาติ พลังจักรวาล... รวมลมทั้ง ๔ สาย ให้เป็นหนึ่งเดียว... นึกให้ลมหายใจที่เป็นหนึ่งเดียวนี้มีลักษณะเป็นละอองเพชรใสระยิบระยับแพรวพราว...
    เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้ว ให้ช่วยเพิ่มในเรื่องการฟอกธาตุขันธ์ของเราให้ใสบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส และอวิชชา... จิตจะสัมผัสได้เลยว่าอทิสมานกายของเราใสขึ้น สว่างขึ้น... (ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้อัฐิของพระอรหันต์ท่านใสเป็นแก้ว... เนื่องจากอารมณ์ และสภาวะแห่งพระนิพพานที่ท่านได้สัมผัส ได้ช่วยล้างธาตุขันธ์กายหยาบให้มีความบริสุทธิ์นั่นเอง)

    เมื่อทำได้แล้วให้อธิษฐานว่า
    "ขอให้ข้าพเจ้าได้ และเข้าถึง ซึ่งอานาปานสติ ลมปราณตลอดสาย พร้อมการดึงพลังธรรมชาติ พลังจักรวาล และดึงปราณจากพระนิพพาน นี้ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าต้องการ ทุกชาติไป นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ...
    และข้าพเจ้าขอตั้งจิตนำวิชชานี้ไปเพื่อใช้ในการปรับธาตุขันธ์ของข้าพเจ้า และช่วยเหลือสรรพสัตว์ และบำเพ็ญบารมี ด้วยความจริงใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นในหนทางแห่งสัมมาทิฐิ...
    หากแม้นข้าพเจ้าผิดสัจจะ มีจิตคิดร้าย มีจิตที่เป็นมิจฉาทิฐิ นำวิชชานี้ไปใช้ในทางที่ผิดต่อชาติ ศาสนา พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชชาแล้วไซร้ ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้เรียนวิชชานี้สำเร็จ ถึงสำเร็จก็ขอให้วิชชาที่ได้มานี้ถูกส่งกลับคืนไปจนหมดสิ้น...
    แต่หากข้าพเจ้าใช้วิชชานี้ในทางที่ถูกที่ควร ขอให้ข้าพเจ้าจงเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าทั้งทางโลก ทางธรรมด้วยเทอญ"


    การฝึกจับลมอานาปานสตินี้ ขอให้ทุกท่านพยายามทำในอิริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน... หรือถ้าท่านใดใช้ฝึกจับลมขณะที่กำลังออกกำลังกายได้จะยิ่งเป็นการดีมาก เพราะสมาธิจะคงตัว ไม่เสื่อมง่ายๆ อีกทั้งเวลาที่ใช้งานจริง เราต้องทำให้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ ทุกอิริยาบถ ทั้งหลับตา ลืมตา ไม่ต้องตั้งท่าหลับตานั่งทำสมาธิเพียงอย่างเดียว... เพราะในยามคับขันจะเข้าสมาธิไม่ทัน...

    ส่วนสาเหตุที่ต้องนำอธิษฐานกำกับไว้ทุกครั้งนั้นก็เพื่อเป็นการ "ปักหมุด" จารึกไว้ในจิตให้ติดตัวไปทุกภพทุกชาติ... ถ้าไม่มีการอธิษฐานกำกับแล้ว ถึงแม้เราจะเป็นพุทธภูมิที่บำเพ็ญบารมีมามากมายก็เถอะ แต่วิชชาที่เคยได้ในอดีตชาติกลับไม่สามารถมารวมตัวกันได้ในชาตินี้ เพราะไม่ได้ตั้งจิตอธิษฐานกำกับเอาไว้เพื่อนำกลับมาใช้ต่อไปนั่นเอง...

    อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อจับลมแต่ละฐาน

    - ลมหนึ่งฐาน
    ... สำหรับบางท่านลมหายใจจะนิ่ง เบา สบาย ลมหายใจจะทิ้งช่วงนานขึ้น อารมณใจเบาสบาย
    ... ในขณะที่บางท่านอาจรู้สึกว่ามีช่องว่างระหว่าง พุท - โธ (ลมเข้า - ออก) กว้างมากเกินไป ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จิตฟุ้งซ่านได้ง่าย... ขอให้ลองพยายามตั้งใจ (แต่ไม่ใช่เกร็ง หรือไปบังคับลมหายใจ) ตั้งสติดูจิตที่ลมกระทบให้แน่วแน่... แต่ถ้าซัดซ่ายจริงๆ ให้จับลมสามฐานแทน... จิตจะแนบกับลมหายได้มากกว่า

    - ลมสามฐาน
    ... บางท่านจิตจะรัดตัวขึ้น สติตามลมได้กระชับขึ้น แต่จะมีอาการสะดุดของจิตในจุดกระทบของลมแต่ละฐาน... แต่จิตจะตัดความสนใจภายนอกได้มากกว่า และดีกว่าการจับลมหนึ่งฐาน เนื่องจากต้องใช้อารมณ์ที่ตั้งมั่น และใช้กำลังใจในการจับลมมากกว่านั่นเอง
    ... สำหรับบางท่านเมื่อจับๆ ไป อาจจับลมได้เพียงแค่สองฐาน ก็ไม่เป็นไร ขอให้ทำต่อไปเรื่อยๆ จิตก็จะค่อยๆ เบาสบายขึ้นเอง

    - ลมตลอดสาย
    ... จิตจะมีความเพลิดเพลินกับลมหายใจมากกว่าสองวิธีแรก ลมหายใจจะละเอียด ประณีต เบา สบาย เรียบเนียนมากกว่าด้วย

    - ลมตลอดสายแบบประยุกต์ใช้วิชชา
    ... ในกรณีที่นำวิชชามาประยุกต์นี้ สำหรับบางท่านอาจรู้สึกว่าเป็นการหนัก ต้องใช้กำลังใจในการทำสูง... ถ้าลองพยายามทำดูแล้ว กลับทำให้จิตหนัก เครียด ไม่ โล่ง โปร่ง เบา สบาย แล้ว ขอให้เลือกเฉพาะเพียงสามวิธีแรกที่ใช้แล้ว ใจเบาสบายมากที่สุดค่ะ
    ... และเนื่องจากการจับลมแบบนี้ เป็นกรรมฐานอานาปานสติควบอุปสมานุสติกรรมฐาน... ดังนั้นท่านที่ปรารถนาซึ่งมรรคผล พระนิพพานแล้ว ขอให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า "ข้าพเจ้าจะขอไม่คลาดจากพระนิพพานในทุกลมหายใจ เข้า - ออก นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ"

    .............................................................


    เมื่อแต่ละท่านนำวิชชานี้ไปปฏิบัติกันดูแล้ว ได้ผลเป็นอย่างไร ช่วยนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังกันบ้างนะคะ...

    ขอให้ทุกๆ ท่านมีความเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป และเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลันด้วยเถิด...
     
  10. Median

    Median เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +348
    พี่chdhronครับ ผมขออนุญาตCOPYและPRINTข้อความข้างบนและวิธีปฏิบัติกรรมฐานก่อนหน้านี้ที่พี่ได้พิมพ์ไว้ ไปอ่านและเผยแผ่นะครับ

    ***ผมจำได้ว่าในช่วงหน้าแรกพี่Kananunแนะนำให้ไหว้ครูบาอาจารย์ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติจริงๆด้วยรึเปล่าครับไม่แน่ใจ
    ***ขอถามถึงท่านั่งครับ ว่าจำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิอย่างเดียวรึเปล่าครับเนื่องจากว่านั่งขัดสมาธิแล้วปวดขานั่งได้ไม่นานถ้าผมนั่งหย่อนขาจากเก้าอี้แล้วจะนั่งได้นานขึ้นครับ
    ขออนุโมทนาด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2008
  11. tam220t

    tam220t ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +537
    ขอขอบคุณทุกท่านที่ตอบเรื่อง สวรรค์ครับ ทีนี้ ผมสงสัยมานานแล้วว่าที่บอกว่าเอาจิตจับพระนิพพาน หรือขณะจิตออกจากร่างได้ยินบ่อยครั้ง นั้น เป็นอย่างไร ทำยังไงครับ สำหรับคนที่ไม่ได้มโนมยิทธิ ที่ผมคิดในหัวแต่ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ก็คือ
    -1.จินตนาการว่าพระนิพพานน่าจะเป็นอย่างนั้นมีอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เหมือนคิดถึงฝรั่งเศสตามคำบอกกล่าวเล่าขานกันมาหรือเห็นรูป โดยยังไม่เคยได้ไปเองแต่ก็พอนึกถึงก็จะปรากฏฝรั่งเศสในหัวได้ เป็นแบบนี้รึเปล่าครับ
    หรือ
    -2.ก่อนตายที่ยังพอควบคุมสติได้ ให้พิจรณาข้อธรรมต่างๆที่ได้รู้มาที่สำคัญๆก็ ขันธ์5แท้จริงแล้วไม่มี ทุกสิ่งเป็นเพียงแค่เหตุปัจจัยทั้งหลายมาประกอบกันเท่านั้น ตายก็แค่เหตุการณ์ธรรมดาที่เคยผ่านมาแล้วเป็นอนันต์ครั้ง ครั้งนี้ขอเป็นสุดท้ายไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของเหตุปัจจัยทั้งหลายอีก ตายครั้งนี้ขอให้ดับสูญสิ้นสนิทไปเลย แล้วก็วางเฉยกับทุกๆอย่างจนจิตออกจากร่าง

    ผมสับสนระหว่างสองวิธีนี้ หรือว่าไม่ถูกทั้งสองวิธีครับ
     
  12. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ผมขอแนะนำนะครับ ไม่รู้ว่าจะถูกไหม
    -ให้เรานึกถึงบุญที่ได้เคยทำมา นึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า
    แล้วอธิษฐานว่า "องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน เข้าสู่สถานที่แห่งใด ข้าพระพุทธเจ้า ขอตามเสด็จองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าสู่สถานที่และสภาพแห่งพระนิพพาน เช่นเดียวกันด้วยเทอญ" คอนเซ็ปนี้
    -จากนั้นท่องไปเลย นิพพานัง สุขัง ปรมัง แปลว่า นิพพานเป็นบรมสุข จนกว่าจิตจะออกจากร่าง
    -จะพิจารณาให้ไม่อยากเกิดด้วยก็ยิ่งดี ตามความสามารถ
    -ที่อยากให้อธิษฐานแบบนี้ เพราะ สำหรับคนที่ไม่ทราบว่าพระนิพพานหน้าตาเป็นยังไง จะได้สามารถเข้าถึงพระนิพพานอันเดียวกันกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    -เพราะว่าคุณคงจะไม่อยากไปเข้าถึงพระนิพพานประเภทที่ผิดๆ ที่ไม่ตรงกับคำสอนของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น พระนิพพานสูญหาย เป็นต้น
     
  13. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ยินดีอย่างยิ่งค่ะที่จะนำไปอ่านและเผยแผ่ต่อไป... พี่ต้องขอขอบพระคุณน้องMedianด้วยซ้ำไปค่ะ ที่ช่วยๆ กันเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านน่ะค่ะ... อนุโมทนาด้วยค่ะ...

    ส่วนเรื่องไหว้ครู... พี่จะนำมาแนะนำเป็นเรื่องต่อไปน่ะค่ะ... อยากให้จับลมสบายกันให้ได้ก่อน... สมาธิจะได้คงตัวกัน... เมื่อทำพิธีไหว้ครูแล้ว แต่ละท่านจะได้น้อมนึกถึงครูบาอาจารย์ท่านได้ชัดเจนแจ่มใสน่ะค่ะ...

    สำหรับหัวข้อที่จะนำมาแนะนำใหม่นั้น... พี่อาจจะไม่ได้เรียงลำดับตามที่อาจารย์คณานันท์ท่านเคยสอนเอาไว้นะคะ... แต่รับรองได้ค่ะว่าจะพยายามไม่ให้ตกหล่นเรื่องใดๆ เอาไว้... (ถ้ามีการตกหล่นจริงๆ ก็จะเสริมให้จนครบถ้วนบริบูรณ์ค่ะ


    การทำสมาธิ... เราสามารถทำได้ทุกอิริยาบถค่ะ... นั่ง เดิน ยืน นอน เข้าสุขา ทานอาหาร ดูหนัง ฟังเพลง... ถ้าชำนาญมากๆ คุยกันอยู่ยังทำได้เลยค่ะ... แต่ถ้าต้องการทำเป็นเรื่องเป็นราว นั่งกันเป็นชั่วโมง ครึ่งชั่วโมง... จะนั่งเหยียดขา (ไม่แนะนำให้หันเท้าเข้าหาพระนะคะ) นั่งเก้าอี้ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ... ได้ทั้งนั้นแหละค่ะ... ขอให้นั่งปฏิบัติ แล้วจิตเราสงบ เบา สบาย โล่ง โปร่ง... เป็นอันใช้ได้ค่ะ

    อนุโมทนากับการตั้งใจปฏิบัติธรรมด้วยค่ะ
     
  14. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    มีมาเสริมเรื่องการฝึกลมปราณแบบเต๋าสำหรับสุภาพสตรีครับ อาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชานี้ อายุ 69ปีแล้วแต่ยังดูหนุ่มเหมือนอายุเพียง สี่สิบกว่าปี ไม่มีผมหงอก ผิวหนังตึง เดินเหิรคล่องตัว ลองไปฝึกกันดูครับ ไม่ยากเกินวิสัยพวกเรา

    ด้วยจิตคารวะ กราบขออนุญาติ ท่านปรมาจารย์ เต๋า หมวกดำ
    การรักษาโรค และ สุขภาพด้วยกายบริหารแบบจีนโบราณ
    และสมดุลแห่งร่างกายและอาหาร

    ในสมัยโบราณประมาณเวลากว่า 4,000 ปี ล่วงมาแล้ว
    ชาวจีน ได้พยายามคิดค้นวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้คน
    ทั่วไปมีสุขภาพแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรค และ หายจาก
    ความเจ็บป่วยโดยเร็วกายบริหารก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้รับ
    การคิดค้น พัฒนาและถ่ายทอดต่อเนื่องกันมาโดยอาศัย
    หลักการทางแพทย์จีนโบราณเป็นพื้นฐานสำคัญ
    กายบริหารแบบจีนโบราณนั้นมีรูปแบบที่ไม่ยุ่งยากและ
    สามารถเรียนรู้ได้โดยง่าย ท่านอาจจะเลือกปฏิบัติเพียง
    บางท่าตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะยังผล
    ให้ท่านมีสุขภาพดีหายจากความเจ็บป่วยได้เร็ว และ
    ที่สำคัญคือ มีอายุยืนยาว

    ท่ากายบริหารรับพลังจากดวงจันทร์

    ท่ากายบริหารนี้พบอยู่ในตำราชื่อ "ยุนจิคิเคียน"
    ซึ่งเขียนขึ้นราวต้นศตวรรษที่สิบเอ็ดท่ากายบริหารนี้
    จะต้องทำการฝึกในตอนกลางคืนขณะที่พระจันทร์
    ขึ้นเต็มดวง ให้ผู้ฝึกอยู่ในท่ายืนตรง เท้าทั้งสองข้าง
    แยกห่างจากกันเท่ากับช่วงหัวไหล่ สายตาจ้องมอง
    อยู่ที่ดวงจันทร์ แขนทั้งสองข้างกางออกให้อยู่ใน
    ลักษณะคล้ายกับจะโอบกอดพระจันทร์ ยืนสงบนิ่ง
    ชั่วครู่แล้วจึงเริ่มควบคุมลมหายใจเข้าออกให้ยาวสุด
    อย่างสม่ำเสมอ (หายใจเข้าออกทางจมูก)
    แปดครั้งและทุกครั้งที่สูดลมหายใจเข้านั้นให้
    ทำความคิดเหมือนว่ากำลังหายใจดูดซับเอาพลัง
    จากดวงจันทร์เข้าไปด้วย ทั้งหมดให้ทำสามรอบ
    ท่านี้ช่วยเสริมสร้างพลังหยินของร่างกายให้สมบูรณ์
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคุณสุภาพสตรี

    ขอส่งกุศลทั้งหลายให้แด่ ท่านปรมาจารย์ เต๋า หมวกดำ ด้วยเทอญ.
     
  15. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ขออนุญาตทุกๆ ท่าน นำคำแนะนำที่เพิ่งลงไปไม่นานนี้มาอ้างถึงอีกสักครั้ง แล้วจะอธิบายเพิ่มเติมนะคะ... เพราะแสดงว่าที่แนะนำไปอาจจะยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร... จึงทำใหคุณtam220t ยังเกิดความสับสนอยู่ค่ะ...

    สำหรับการที่จะเข้าพระนิพพานนั้น...

    จิตจะต้องถูกฝึกมาแล้วเป็นอย่างดี ซึ่งก็แยกย่อยออกไปได้หลายวิธี...

    แต่วิธีที่ง่ายที่สุด ลัดตัดตรงที่สุด คือ...

    1. ไม่สงสัย เชื่อมั่น และเคารพพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด (สุดจิตสุดใจ) ตลอดชีวิต ... ซึ่งความเชื่อนี้ รวมไปถึงพระธรรมคำสอนในข้อที่ว่า...
    นิพพานัง ปรมัง สุขัง... พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
    นิพพานัง ปรมัง สูญญัง... พระนิพพานเป็นที่ที่สูญจากกิเลส จากอวิชชาทั้งมวล

    จากพระธรรมทั้ง ๒ ประโยคนี้... ทำให้เราเชื่อมั่นได้ว่า พระนิพพานเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านประทับอยู่จริง... เมื่อเราเชื่อมั่นอย่างสุดจิตสุดใจว่า พระนิพพานมีจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระองค์อยู่จริง... การที่เราจะได้มโนมยิทธิหรือไม่นั้น... ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด... สิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือ ความเชื่อมั่น...

    เช่น การที่มีคนฝรั่งเศส มาแนะนำเราว่า การที่จะไปให้ถึงประเทศฝรั่งเศสนั้น คุณต้องเลี้ยวขวา ๒ ที ตรงไปอีก ๕๐๐ เมตร เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา แล้วคุณจะถึงประเทศฝรั่งเศส... ในกรณีนี้ ไม่มีความจำเป็นเลยว่าคุณจะต้องมีภาพของประเทศฝรั่งเศสนี้อยู่ในหัวของคุณหรือไม่...

    สิ่งที่คุณต้องทำ ก็คือ เริ่มออกเดินทางไปตามเส้นทางที่ชาวฝรั่งเศสท่านนั้นได้บอกเอาไว้... ถ้าคุณเลี้ยวผิด หรือไม่เชื่อว่าประเทศฝรั่งเศสนั้นจะมีอยู่จริง ไม่เชื่อว่าคนที่บอกคุณนั้นเป็นชาวฝรั่งเศส... คุณก็จะไม่มีวันถึงประเทศฝรั่งเศส...

    เฉกเช่นเดียวกัน... องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านได้บอก แนะนำเส้นทาง... วิธีการเดินทาง... อุปสรรคต่างๆ ที่จะต้องพบเจอระหว่างทาง... วิธีการแก้ไขอุปสรรคต่างๆ เหล่านั้น... ฯลฯ เอาไว้แล้วอย่างละเอียดพร้อมมูล ถึงวิธีการที่จะทำให้พวกเราทุกๆ คน ไปให้ถึงซึ่งพระนิพพาน...

    สิ่งที่พวกเราต้องทำ (และต้องเริ่ม และรีบกระทำกันให้เร็วที่สุด) ก็คือ...

    เชื่อมั่นว่าพระนิพพานมีอยู่จริง...

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านมีอยู่จริง...

    พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ประทับอยู่บนพระนิพพานจริง...

    เมื่อเชื่อมั่นในสิ่งเหล่านี้แล้ว... ให้ลงมือปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนที่พระองค์ท่านทรงชี้แนะเอาไว้...

    สิ่งนั้นคือ ขั้นตอนต่างๆ ที่ลัดที่สุด เร็วที่สุด ตัดตรงที่สุด ซึ่งมีดังนี้...

    2. มีศีล 5 (เป็นอย่างน้อย)

    3. ทุกครั้งที่ทำความดี (ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด หรือยิ่งใหญ่เพียงไหนก็ตาม) ให้อธิษฐานว่า...
    ด้วยกุศลผลบุญนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าสู่พระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด... ภพภูมิอื่นใด ไม่ว่าจะเป็น อบายภูมิ โลกมนุษย์ สวรรค์ พรหม หรืออรูปพรหมก็ตาม ข้าพเจ้าไม่ปรารถนา... ข้าพเจ้าปรารถนาเพียงพระนิพพานเป็นที่สุด... ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น...


    4. พิจารณานึกถึงความตายอยู่เสมอ พร้อมกับพิจารณาให้เห็นว่าสังขารร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆ เรา เราไม่มีในสังขารร่างกายนี้ สังขารร่างกายนี้ไม่มีในเรา... นึกน้อมพิจารณาจนจิตยอมรับสภาพตามความเป็นจริง... และมีการปล่อยวางในสังขารร่างกายนี้

    5. พิจารณาตัดขันธ์ 5 และพิจารณาถึงความทุกข์ ความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ... เมื่อทุกข์ขนาดนี้แล้ว มีแต่โรคภัยไข้เจ็บแบบนี้ ต้องกระทบกระทั่งกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ไม่พอใจทั้งหลาย ต้องพลัดพรากจากคนที่เรารักและคนที่รักเรา... สิ่งเหล่านี้มันทุกข์ใช่ไหม... เมื่อทุกข์ขนาดนี้แล้วเรายังอยากที่จะเวียนว่ายตายเกิดอีกหรือไม่


    6. เมื่อพบความจริงของชีวิตแล้ว... ต่อมาให้จิตเชื่อมั่น และ จับที่พระนิพพานซึ่งเป็นที่ประทับแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่สุด...
    (ไม่ว่าเราจะได้มโนมยิทธิหรือไม่ก็ตาม)... หมั่นทำความดี ละเว้นความชั่ว และอธิษฐานให้บ่อยๆ ทำจนจิตชิน จนเขาภาวนาของเขาเองได้ยิ่งดี ว่า...
    สังขารร่างกายนี้เป็นทุกข์ เป็นรังของโรค มีแต่ความสกปรกโสโครก น่าเบื่อหน่าย... ถ้าข้าพเจ้าตายลงเมื่อไหร่ ขอให้ดวงจิตของข้าพเจ้าพุ่งตรงสู่พระนิพพานเป็นที่สุดด้วยเถิด และขอให้ข้าพเจ้าได้พบองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าบนพระนิพพานนั้นโดยทันทีด้วยเถิด


    ข้อสำคัญของการเข้าพระนิพพาน คือ จิตจะต้องเกิดอาการเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 อย่างจริงๆ จัง... ดังนั้น ต้องมีการพิจารณาตัดขันธ์ 5 พิจารณาถึงความตาย ความทุกข์ทั้งหลาย อยู่เสมอๆ ... พิจารณาบ่อยๆ วันละหลายๆ ครั้งได้ก็จะดีมาก...

    แต่เมื่อพิจารณามากเข้าๆ จิตอาจจะเบื่อจนนึกอยากจะฆ่าตัวตาย...

    ดังนั้นเราจึงต้องพิจารณาสมทบเข้าไปว่า...
    ถึงสังขารร่างกายนี้เป็นทุกข์ น่าเบื่อหน่าย... แต่ข้าพเจ้าจะยังคงรักษาธาตุขันธ์นี้ต่อไป เพื่อยังประโยชน์ต่อสรรพชีวิตอื่น และธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ตราบจนกว่าจะถึงอายุขัยของข้าพเจ้าเอง

    เสร็จแล้วพยายามพิจารณาทุกสิ่งให้เป็น "ธรรมดา" ยอมรับสภาพของชีวิตตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น...

    เมื่อใกล้ตายจิตจะมารวมตัวกันเองโดยไม่ต้องบังคับ... เพราะจิตมีความชินกับการที่จิตเราจับอยู่ที่พระพุทธองค์ และพระนิพพานเสมอ... ให้เชื่อมั่นว่า... ตายเมื่อไหร่เราขึ้นพระนิพพานแน่นอน...

    ....................................

    ส่วนที่คุณtam บอกว่า... ตายครั้งนี้ขอให้ดับสูญสิ้นสนิทไปเลย แล้วก็วางเฉยกับทุกๆอย่างจนจิตออกจากร่าง...

    ตรงนี้ค่อนข้างจะล่อแหลมกับการไปค้างติดอยู่ที่ อรูปพรหมมาก... เพราะผู้ที่จะไปอยู่ที่อรูปพรหมได้นั้น... ท่านเชื่อกันว่า ทุกข์เกิดเพราะมีสังขารร่างกายนี้ ดังนั้นถ้าไม่มีสังขารร่างกายนี้ คือ ขอให้สังขารร่างกาย หรือ จิตนี้ดับสูญสิ้นสนิทไปเลย... ก็คงต้องไปลอยไปลอยมาเป็นพรหมลูกฟัก... ไม่มีอายตนะทิพย์ใดๆ ที่จะสามารถรับพระธรรมจากพระโอษฐ์ขององค์พระทศพลได้โดยตรง... อรูปพรหมบางท่านต้องลอยเคว้งอยู่แบบนั้น นานแสนนาน ถึงมีพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาตรัสรู้ผ่านไปแล้วหลายพระองค์ ก็ยังลอยอยู่แบบนั้น... นับว่าเสียเวลา เสียโอกาสอย่างมากมายจริงๆ...

    และต้องขอบอกว่า... ถ้าเวลาที่มีชีวิตอยู่ โดยปกติ แล้วไม่เคยที่จะพิจารณาให้เห็นสังขารร่างกายตามสภาพที่เป็นจริง หรือไม่เคยอธิษฐานที่อยากจะเข้าพระนิพพานเลย... หรือเคยพิจารณาแต่ก็นานๆ ครั้งนั้น... นับว่าเสี่ยงมาก ประมาทมาก ที่หวังว่าเมื่อใกล้ตายแล้ว เราจะยังมีสติดีพอที่จะมาเริ่มพิจารณาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ และเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุด...

    เพราะขนาดหลายๆ ท่าน... ที่พิจารณาสิ่งเหล่านี้อยู่เป็นประจำ... เมื่อใกล้ตาย... เกิดอาการเจ็บปวดที่สังขารร่างกายจนสุดจะทานทน... สติที่ว่าฝึกมาดีแล้ว ยังขาดสะบั้นลง... ถ้าไม่ถึงกับลงอบายภูมิ เพราะจิตเกิดมาขุ่นมัวเอาก่อนตาย... ก็นับว่าบุญโขแล้วค่ะ...

    ดังนั้นอย่ารอจนถึงเวลานั้นเลยค่ะ... ตอนนี้ยังมีเวลาอยู่... ยังมีลมหายใจอยู่... เริ่มปฏิบัติกรรมฐาน ฝึกจิต ฝึกใจเสียตั้งแต่ตอนนี้จะดีกว่าค่ะ...

    ขอให้ทุกๆ ท่านมีดวงตาเห็นธรรม เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป และเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลันด้วยเทอญ
     
  16. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
  17. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    พี่ธร อธิบายละเอียดยิบเลย สุดยอดครับ

    หลักฐานอย่างดีเลยว่า ทำไมผู้เฒ่าคนแก่สมัยก่อน ถึงปลูกฝังชีวิต ของครอบครัว และคนในชุมชนหรือหมู่บ้านในประเทศไทย ให้อยู่กับวัด เวลามีงานอะไรสำคัญๆ ในหมู่บ้าน

    หรือครอบครัวก็จะต้องมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับวัด นั่นเพราะ กุศโลบายของ คนสมัยก่อน อยากให้เรามีจิตที่แนบกับวัด แนบกับพระพุทธเจ้า อย่างน้อยๆ ก่อนตายนึกถึงวัดนึกถึงพระพุทธรูป

    ได้ท่านก็ไม่ตกอบายภูมิ ส่งที่ปลูกฝังกันมาอย่างช้านาน เราคนไทยควรจะช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพื่อลูกหลานจะได้ไม่คลาดจากเส้นทางของพระพุทธองค์
     
  18. tam220t

    tam220t ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +537
    ขอถามอีกครับ เรื่องอาการเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 คนปกติทั่วไปเมื่อใช้คำว่าเบื่อก็มักแสดงถึงความไม่มีความสุขซึ่งก็คือไม่พอใจกับสิ่งที่เราเป็นอยู่ซึ่งต้องมีกิเลสอยู่แน่นอน ผมสงสัยว่า ถ้าเราเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 ก็เท่ากับว่า เราไม่มีความสุขไม่พอใจอยู่ในขณะที่พิจรณาขันธ์ 5นั้น ผมว่ามันต้องมีความแตกต่างระหว่างคำว่าเบื่อหน่ายทั้งสองนี้ แต่ผมยังไม่ทราบครับ พี่ๆช่วยอธิบายด้วยครับ กลัวว่าจะพิจรณาแล้วเกิดทุกข์แล้วพาเข้าอบายภูมิแทน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2008
  19. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ขอบคุณน้องtam มากค่ะ... คำถามที่ถามๆ มาล้วนมีประโยชน์อย่างมากต่อทุกๆ ท่านที่สนใจปฏิบัติธรรมกัน... แต่เมื่อทราบ และเข้าใจแจ่มแจ้งดีแล้ว... อย่าลืมนำไปเป็นข้อปฏิบัติด้วยนะคะ... เพราะการเข้าใจคำอธิบายของคนอื่น (ซึ่งก็คือยังเป็นทฤษฎีสำหรับเราเองอยู่) ผลที่เข้าใจ หลายๆ ครั้งมันจะไม่เหมือนกับการที่เราลงมือปฏิบัติด้วยตัวของเราเองค่ะ...

    อาการเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 สามารถแบ่ง (อย่างหยาบๆ) ออกได้เป็นหลายขั้น คือ...

    1. ขั้นยังไม่เบื่อ แต่ชักเริ่มอยากจะเบื่อ...
    เป็นขั้นที่เราเริ่มหัดทำสมาธิมาได้สักพักหนึ่ง (หรือเป็นช่วงเวลาที่จิตเขาถึงวาระ ที่จะต้องเริ่มพิจารณา)... เมื่อมีท่านอื่นๆ หรือครูบาอาจารย์แนะนำว่า... พิจารณาตัดขันธ์ 5 ดูสิ... ดีนะ มีประโยชน์นะ... ช่วงนี้ เราจะไปยึดเอาสัญญา ความจำได้หมายรู้ของคนอื่นมาคิด พิจารณา

    เราก็ เอ๊! ตัดขันธ์ 5 เป็นอย่างไรนะ ต้องทำอย่างไรบ้างนะ... ฟังอาจารย์สอนดีกว่า... หาหนังสืออ่านดูดีกว่า... รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง... ฯลฯ

    เอ! ชีวิตมันก็สุขดีนี่น่า... คนที่พิจารณานี่สงสัยจะเป็นพวกคนที่ชอบมองโลกในแง่ร้ายแน่เลย... ไม่เห็นจะมีอะไรน่าเป็นทุกข์ขนาดนั้นเลย... จำเจนัก ก็แค่เปลี่ยนที่เที่ยว ที่กิน... เดี๋ยวมันก็หายเบื่อเองแหละ... ฯลฯ

    แต่ เอ! พอกลับมาถึงบ้าน... ความเบื่อหน่ายมันก็ยังอยู่อยู่ดีแหละ... เอ! หรือชีวิตมันเป็นทุกข์จริงๆ... ฯลฯ

    2. ขั้นเบื่อๆ อยากๆ...
    เมื่อเริ่มคิดถึง ในข้อที่ 1 มากเข้าๆ... อาการเบื่อหน่ายจะค่อยๆ สะสมเข้ามาในดวงจิตทีละนิด ละนิด... เราเริ่มสังเกตุเห็นความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรงของตัวเราเอง (หรือจากการเห็นคนรอบข้าง มีปัญหาไม่หยุดหย่อน)

    โอ๊ย! เบื่อจังเลย... ทะเลาะกับแฟนอีกแล้ว... (u) มีแฟนนี่มันน่าเบื่อจริงๆ... จะทำอะไรทีก็ต้องคอยโทรเช็คอยู่นั่นแหละ... เฮ้อ! อยู่ที่ทำงานก็โดนนายด่า... เวรเอ๊ย! นี่มันแฟนหรือแม่กันแน่นี่ จะไปกินเหล้ากับเพื่อนหน่อยก็ไม่ได้... จะไปเที่ยวกับเพื่อนเพศชายคนอื่นก็ไม่ได้ น่ารำคาญจริง... โอ้ย! ยายปากปาร้านั่นเม้าท์เราให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นฟังอีกแล้ว... โอ๊ย! อยากกินข้าวขาหมูจังเลย ไม่ได้สิ ไม่ได้ เดี๋ยวอ้วน ไม่สวย เดี๋ยวแฟนทิ้ง... โอ้โฮ! ทำไมข้าวของมันแพงจังเลย เงินเดือนจะไม่พอใช้อยู่แล้วนี่... จะสวดมนต์นั่งสมาธิก็ไม่ได้ แฟนบอกว่าเดี๋ยวกลัวเราบวชไม่สึก.. แหม! มีแต่เรื่องน่าเบื่อหน่ายทั้งนั้น... ฯลฯ

    นี่แหละน้าที่พระท่านว่า ชีวิตเป็นทุกข์ เลิกกับแฟนเสียได้ก็ดีแล้ว อยู่คนเดียวปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ ดีกว่า... ขันธ์ 5 ของเราก็หนักอยู่แล้ว ไหนจะโรคภัยไข้เจ็บ ไหนจะสกปรกโสโครก เราจะเอาขันธ์ 5 ของคนอื่นมาช่วยแบกไปทำไมกัน... ฯลฯ
    อ๊อดๆๆๆๆๆ... ที่รักจ้ะ ผมเอาดอกไม้ที่คุณชอบมาให้(f) อย่าโกรธกันเลยนะ ผมขอโทษ เราออกไปดูหนังแล้วกินข้าวกันดีไหมจ้ะ... [Embarrass มีแฟนก็ดีเหมือนกันเนอะ โชคดีจังที่ยังไม่เลิกกันจริงๆ... เอ้า! นี่โบนัสของปีนี้ - แหม! ค่อยยังชั่วหน่อย ไปเที่ยวทะเลดีกว่า... ฯลฯ

    แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อยเข้าๆ อาการเบื่อหน่าย อาการเครียด (ของจริงจากประสบการณ์จริง) จะเริ่มก่อตัวมากขึ้นๆ...

    3. เบื่อจนอยากจะบ้า หรืออยากจะฆ่าตัวตาย...
    เมื่ออาการเบื่อหน่ายมีการสะสมตัวมากเข้าๆ จนกลายเป็นความเครียด... หลายๆ คนจึงถึงขั้นสติแตก หรือฆ่าตัวตายได้เลย...

    4. เบื่อแบบผู้ปฏิบัติธรรม เห็นโลกตามสภาพความเป็นจริง
    ตรงจุดนี้เองที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้เรารู้จักพิจารณาปล่อยวาง ให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเรื่องปกติธรรมดา" เป็นเรื่องธรรมดาสากลของสรรพชีวิตทั้งหลาย ดังนั้น จึงควรวางกำลังใจว่า รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น ร้อน หนาว ได้ยิน มีคนชม มีคนด่า ก็สักแต่ว่า... แล้วอย่าปรุงแต่งเพิ่ม

    เช่น... เมื่อมีคนชม ก็ยิ้มรับ ขอบคุณ แล้วพอ... ไม่ต้องคิดว่า แหม! นี่เขาจริงใจกับเราไหมนี่ โอ๊ย! เขาคงพอใจเรามากเลยนะนี่... ไม่ต้องปรุง ไม่ต้องแต่ง... เพราะไม่แน่ว่า เพียงแค่ผ่านไปอีกสัก 5 นาที ถ้าคนๆ เดียวกันนั่นเกิดเห็นกิริยาอาการของเราบางอย่างที่เขาไม่ชอบใจขึ้นมา เขาอาจจะเดินกลับมาด่าเราให้ได้อายเพื่อนฝูงประชาชีก็ได้... ถ้าอากาศมันร้อนนัก ก็ดื่มน้ำเย็นแทน เปิดพัดลมบ้าง แต่ถ้าทำไม่ได้ จะนั่งดูลมหายใจของตัวเองให้เพลินๆ ก็ดี ประเดี๋ยวเดียวก็จะลืมอาการที่อากาศร้อนไปได้...

    สรุป คือ ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างตามสภาพที่มันเป็น... อย่าไปบังคับให้คน สรรพสิ่ง หรือเหตุการณ์ต่างๆ เป็นไปตามที่ใจเรานึกอยากให้เป็น... ขนาดร่างกายของเราเอง เรายังบังคับให้มันดูดี ไม่เจ็บไม่ป่วย ไม่แก่ไม่ไข้ ตามที่ใจเราอยากให้เป็นไม่ได้เลย... แล้วการจะไปบังคับคนอื่น สิ่งอื่น สภาวะอื่นนี่... ต้องเรียกว่า เราฝืนกฏธรรมชาติมากๆ เลย... ชีวิตมันถึงเป็นทุกข์ ไม่รู้จบสิ้น...

    นอกจากนั้น ให้พิจารณาว่า... ตราบใดที่เรายังไม่ถึงอายุขัย เราจะไม่ทำลาย ทำร้ายตัวเองเด็ดขาด... เราจะเอาเวลาที่เรามีอยู่นี้ ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อพระพุทธศาสนา ต่อตัวเอง (แต่ไม่เบียดเบียนใครอื่น) ต่อครอบครัว ต่อสังคม ต่อประเทศชาติ ต่อโลก และต่อทุกภพภูมิ ทั่วสากลจักรวาลนี้ โดยไม่มีประมาณ...

    ถ้าตายลงเมื่อไหร่... เราจะไม่ไปยังที่อื่นใด ไม่ว่าจะเป็น อบายภูมิก็ดี มนุษย์ภูมิก็ดี เทวภูมิก็ดี รูปพรหมภูมิก็ดี อรูปพรหมภูมิก็ดี... ขอให้ดวงจิตของเราพุ่งตรงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด... เราจะไปกราบนมัสการองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บนพระนิพพานนั้นทันที...

    การวางกำลังใจแบบนี้ได้... ไม่ใช่ของง่าย... แต่ก็ไม่เกินความรู้ ความสามารถ ความพยายาม ของผู้ที่ตั้งใจจริงไปได้... ขอให้มั่นใจ เชื่อมั่น และตั้งใจจริงเท่านั้น...

    ขอให้ทุกๆ ท่านมีดวงตาเห็นธรรม เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป และเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลันด้วยเทอญ
     
  20. Lazaza

    Lazaza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +5,549
    ไม่ได้เป็นผู้รู้นะคะ แต่คำถามนี้มันก็เคยเกิดกับตัวเอง และเราก็ใช้เวลา
    ในการหาคำอธิบายให้ตัวเองอยู่พอสมควร ถึงวันนี้มันจะเริ่ม
    ชัดเจนขึ้นมาหน่อย สำหรับตัวเอง แต่ก็ยอมรับว่าอธิบายให้
    ผู้อื่นฟังได้ยากมากนะคะ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมเลย
    จะไม่เข้าใจเลย

    ต้องเกริ่นก่อนว่า เคยคิดอยากจะบวช เดี๋ยวนี้ก็ยังคิดอยู่
    แปลกนะคะ นักบวชเนี่ย ใครๆก็ให้ความเคารพ พ่อแม่เรา
    ก็กราบไหว้ แต่พอลูกสาวอยากจะบวช กลับกลายเป็น
    อะไรที่มีภาพพจน์ไม่ค่อยดีในสายตาคนอื่น

    เค้าจะรู้สึกเหมือนว่า เราเป็นคนมีปัญหา อยากหนีปัญหา
    ล้มเหลวในชีวิต อกหักรักคุด ยิ่งถ้าเราบอกว่าเบื่อด้วยแล้ว
    โอ้โห.. ไปกันใหญ่ ทั้งๆที่เราเป็นคนที่ง่ายๆ สบายๆ

    เราเลยต้องมาค้นตัวเองเป็นการใหญ่ ว่าไอ้กาการที่เบื่อนี่
    มันคืออะไร ถ้ามันเป็นอย่างที่เค้าเข้าใจ มันน่าจะรู้สึก
    ไม่เอาแล้ว ไม่อยากจะอยู่แล้ว ...มันปะปนไปด้วยความทุกข์
    และมันก็ยังเป็นสิ่งที่มีคู่... หมายความว่า ถึงเราจะเบื่อ
    แต่มันก็เป็นอาการที่เราไม่อยากได้อย่างหนึ่ง แต่อยากได้
    อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถึงแม่ว่าสิ่งที่อยากได้ มันจะเป็นธรรมชาติ
    เป็นการสงบวิเวก แต่ความอยากนี้ ก็ยังอยู่บนกฏของความ
    ไม่เที่ยง จะมีความทุกข์เป็นที่สุดนะคะ

    เอ..ดิฉันเลยต้องค้นต่อว่าความเบื่อในความรู้สึกที่ว่า
    มันน่าจะเป็นอย่างไร .. มันก็มาตกลงตรงคำว่า "เข้าใจ"
    เข้าใจและเห็นในความไม่แน่นอนของสรรพสิ่ง
    พอเห็นอย่างนั้นแล้ว มันก็ไม่ยึดติดน่ะค่ะ มันก็พอละได้บ้าง
    ดิฉันยังไม่ได้ถึงขั้นละอารมณ์ได้หรอกนะคะ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
    เราจะไม่เพลินในอารมณ์นาน ดิฉันไม่ใช่ไม่รู้สึกรู้สา แต่แทนที่
    มันจะระเบิดเป็น 2-3 ชั้น บางทีมันมาแค่ชั้นเดียว แล้วก็สลาย
    บางทีมันก็จบอยู่ข้างใน คนนอกแทบไม่สังเกตเห็น

    ในทำนองเดียวกัน หน้าที่ทุกอย่างที่ควรต้องทำ เราก็ต้องทำ
    ให้ดี หรือถ้าจะไม่ทำ ก็ต้องมีทางออกที่ดี ไม่ใช่ทางออกที่
    เอาเฉพาะตัวเองสบาย เอ่อ...อธิบายก็ชักยืดยาว อย่างที่ว่านะคะ
    ดิฉันไม่ใช่ผู้รู้ ได้แต่รู้สึกตามที่พยามฝึกเอง อธิบายเป็นคำพูดลำบาก
    ก็ถือว่าแชร์ประสบการณ์นะคะ เผื่อจะรู้สึกคล้ายกัน

    ทั้งนี้ทั้งนั้น คงต้องให้ผู้ที่ท่านฝึกจนชัดเจนดีแล้ว
    ช่วยอธิบายให้กระจ่างกว่านี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...