เรื่องเด่น ตำนานพระอุปคุตเถระ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 10 มิถุนายน 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    LpSompopChotipanyo.jpg
    การทำวัตร-สวดมนต์

    เทศนาธรรมโดย พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
    ประธานสงฆ์แห่งวัดไตรสิกขาทลามลตาราม
    ตำบลบ้านแพด อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

    พิธีกรรมอันหนึ่งที่พวกเราเหล่าพุทธบริษัททำกันมามิได้ขาดตั้งแต่โบราณกาล ก็คือ การทำวัตร-สวดมนต์ หรือเราเรียกสั้นๆ ว่า ไหว้พระ ทำวัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระภิกษุสามเณรด้วยแล้วจะขาดเสียมิได้เลย นอกจากพระภิกษุสามเณรผู้นั้นจะป่วยไข้ หรือผู้รักษาพยาบาลพระภิกษุสามเณรที่เป็นไข้ และผู้ที่อยู่ป่า (อยู่คนเดียวทำคนเดียว) และผู้ที่กำลังเดินทาง

    การทำวัตรสวดมนต์นั้น ถ้าทำให้ถูกต้องประกอบไปด้วยสติปัญญา เข้าใจเหตุผลในข้อความที่คิด ในกิจที่ทำ ในถ้อยคำที่กล่าวอยู่นั้น จักมีคุณานิสงส์มากมายเหลือคณานับ ถึงขนาดเป็นหนทางหนึ่งแห่งการหลุดพ้น ดังที่พระพุทธเจ้าของเราได้ตรัสไว้ใน วิมุตติสูตร ปัณณาสก์ที่ ๑ แห่งปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ ข้อ ๒๖ หน้า ๒๓ ว่าด้วย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ในจำนวน ๕ ประการนั้น มีการฟัง, การเทศน์, การสวดมนต์สาธยาย, การคิดอย่างละเอียด ประการสุดท้ายไม่มีทางเลือกต้องทำสมาธิให้จิตตั้งมั่น แล้วเพ่งลงไปที่ลักษณะอาการของกาย เวทนา จิต ทั้งสามอย่างนี้เรียกว่า “ธรรม”

    เมื่อเห็นธรรมชัดเจนในจิตใจจนไม่สามารถจะยึดมั่นเอาอะไรมาเป็นตัวเราของเราได้ จิตก็ปล่อยวาง ของหนัก คือความทุกข์ทั้งปวงที่แบกไว้ในใจ เห็นความเป็นจริงว่ามันอย่างนั้นเอง จิตก็หลุดพ้น ตามกำลังสติปัญญา จะมากน้อยสั้นยาว ก็แล้วแต่สติปัญญาที่ปล่อยวางได้ เหตุแห่งการหลุดพ้นปล่อยวางนี้มี ๕ ประการให้เราเลือก ดังกล่าวมาแล้ว

    การทำวัตรสวดมนต์ ที่แปลเป็นภาษาของแต่ละคน เพื่อให้ตนเองเข้าใจความหมายและพินิจพิจารณาตามอย่างใจจดใจจ่อ จะก่อให้เกิดทั้งสมาธิและสติปัญญาขึ้นอย่างลึกซึ้ง หากเป็นผู้มีพุทธจริตและปัญญินทรีย์ (ปัญญาเป็นใหญ่) ก็สามารถทำลายความยึดมั่นถือมั่น อันเป็นที่มาแห่งความทุกข์ทั้งปวงลงได้ ไม่มากก็น้อย

    พระศาสดาทรงตรัสไว้ว่า ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน น เหว โข สตฺถา ธมฺมํ เทเสติ อญฺญตธโร วา ครุฏฺฐานิโย สพฺรหฺมจารีนปิ ยถาสุตํ ยถาปริยตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน ปเรสํ เทเสติ อปิจ โข ยถาสุตํ ยถาปริยตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน สชฺฌายํ กโรติ ยถา ยถาภิกฺขเว ภิกฺขุ ยถาสุตํ ยถาปริยตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน สชฺฌายํ กโรติ ตถา ตถา โส ตสฺมึ ธมฺเม อตฺถปฏิสํเวที จ โหติ ธมฺมปฏิสํเวที จ ตสฺส อตฺถปฏิสํเวทิโน ปมุชฺชํ ชายติ ปมุทิตสฺส ปิติ ชายติ ปิติมนสฺส กาโย ปสฺสมฺภติ ปสฺสทฺธกาโย สุขํ เวเทติ สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ อิทํ ภิกฺขเว ตติยํ วิมุตฺตายตนํ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง (ใน ๕ ประการ) พระศาสดาก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร (ไม่ได้ฟังเทศน์ และไม่ได้เทศน์ให้ใครฟังในขณะนั้น) ก็แต่ว่าภิกษุ ย่อมทำการสาธยายธรรมที่ได้สดับมา ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติแล้ว กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓

    ยตฺถ ภิกฺขุโน อปฺปมตฺตสฺส อาตาปิโน ปหิตตสฺส วิหรโต อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิมุจฺจติ อปริกฺขีณา วา อาสวา ปริกฺขยํ คจฺฉนฺติ อนนุปฺปตฺตํ วา อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ อนุปาปุณาติ

    ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีความเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงซึ่งความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยมที่เธอยังไม่บรรลุ นี้คือผลแห่งการทำวัตรสวดมนต์อย่างรู้จักความหมาย ในการสวดนั้นๆ ย่อมส่งผลได้ไกลถึงขนาดความหลุดพ้น อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ท่านผู้รู้ทั้งหลายในสมัยโบราณจึงมีพิธีทำวัตรสวดมนต์มามิได้ขาด อย่างชนิดที่เรียกว่า ทำเป็นประจำเช้า-เย็น จนกลายมาเป็นความเคยชิน เลยเรียกการกระทำนี้ว่า การทำวัตร

    ถ้าจะถามว่า วัตรคืออะไร ? ทำไมจึงต้องทำวัตร ? ทำวัตรนี้เพื่ออะไร ? และทำวัตรโดยวิธีใด ?... อะไร... ทำไม... เพื่ออะไร... และโดยวิธีใด ?

    คำถาม ๔ ข้อนี้ คือคำถามที่ชาวพุทธจะต้องถามและจะต้องรู้คำตอบไปในตัวทุกเรื่องที่มาเกี่ยวข้อง มิฉะนั้น มันจะหนีไม่พ้นความงมงาย ไม่รู้จัก “สิ่งที่ตนคิด กิจที่ตนทำ และคำที่ตนกล่าว” แม้สิ่งที่ตนทำอยู่เป็นประจำก็ยังไม่รู้ว่า คืออะไร ทำไปทำไม ทำเพื่ออะไร และจะทำให้ถูกต้องโดยวิธีใด ไม่สามารถรู้ได้

    การทำวัตรคืออะไร ? วตฺตํ แปลว่า หน้าที่ประจำ เป็นภาษาบาลี มีความเป็นมาจากการเข้าเฝ้าเข้าพบพระพุทธเจ้า เช้า-เย็น เมื่อเข้าเฝ้าต้องกราบต้องไหว้และคอยฟังคำสาธุการ พร่ำพรรณนาถึงพระพุทธคุณมหาศาล ตลอดทั้งพระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ด้วยใจเคารพ เตือนสติสะกิดใจ ค่ำ-เช้า เร้าใจให้เกิดศรัทธปราโมทย์ ตลอดทั้งตอกย้ำซ้ำเตือนถึงคำสั่งสอนที่เป็น พหุลานุสาสนี คือคำสั่งสอนที่พระองค์ทรงพร่ำสอนมาก คือเรื่องขันธ์ทั้ง ๕ จำแนกแยกแยะออกมาให้เห็นว่า ขันธ์ ๕ ทำให้เราเป็นทุกข์ เพราะหลงยึดมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ นี้

    สรุปแล้ว การทำวัตรสวดมนต์ ก็คือการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยกาย คือการกราบไหว้ เข้าเฝ้าด้วยวาจา คือการสวดมนต์สาธยายสรรเสริญพระพุทธคุณ และใคร่ครวญพระธรรมคำสั่งสอนในบทสวดนั้น จนทำให้เกิดปัญญารู้แจ้ง เข้าใจตามเนื้อหาสาระในการสวด จิตใจในขณะนั้นจะมีทั้งสติ สมาธิ ปัญญา เป็นจิตชนิดเดียวกับจิตพระพุทธเจ้า จึงเป็นการเข้าเฝ้าด้วยใจ

    การเข้าเฝ้าทั้งทางกาย วาจา ใจ เมื่อทำบ่อยๆ ก็กลายเป็นนิสัยทำเป็นประจำ จึงมีคำว่า “ทำวัตร” หรือ “ทำกิจวัตร” กิจที่ทำประจำนั่นเอง ฝนตกลงทุกๆ ปี ชาวนาก็ตกกล้า ไถหว่านปักดำตามปรกติ นั่นแหละคือชาวนาทำวัตร หรือวัตรของชาวนา แม่ค้าหาบขนมออกไปขายทุกๆ วัน นั่นแหละคือแม่ค้าทำวัตร หรือวัตรของแม่ค้า ตอนเช้าพระต้องออกบิณฑบาตทุกวัน นั่นแหละคือวัตรของพระ

    ทำไมจึงต้องทำวัตร ? เมื่อเรามีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้วอย่างนี้ เราก็ต้องเข้าใจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างถูกต้องว่าจะเป็นที่พึ่งของเราได้อย่างไร การทำวัตรนั้นนอกจากจะเป็นการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทางกาย วาจา ใจแล้ว ก็ยังเป็นการทบทวนบทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ให้เข้าใจมากขึ้นแล้วๆ เล่าๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก พูดไปสวดไป ใคร่ครวญไป พิจารณาในใจก็จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น เช่นตัวอย่างในบท ธัมมาภิคีติง ตอนหนึ่งว่า

    ธมฺโม กุโลกปตนา ตทธาริธารี
    แปลว่า เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว

    ถ้าเราสวดแต่เพียงภาษาบาลี เราก็ไม่รู้ความหมาย เพียงแต่เกิดศรัทธา แต่ยังไม่ได้เกิดปัญญาความเข้าใจ แต่พอเราแปลเราก็รู้ความหมาย การรู้ความหมายก็ยังไม่เกิดความเข้าใจ เราจะเข้าใจก็ต่อเมื่อขณะที่เราสวดทุกครั้งไป คิดไปใคร่ครวญไปบ่อยๆ เข้า วันหนึ่งเราจะเกิดความรู้สึกสะดุดความคิดตัวเองขึ้นมาว่า เอ! คำว่า เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว มันมีความหมายซ้อนกันอยู่ในตัว

    นั่นคือ มี ๒ “ธรรม” และ ๒ “ทรง” ก่อนที่ธรรมนั้นจะทรงไว้ซึ่งบุคคลนั้นไม่ให้ไปสู่โลกที่ชั่ว บุคคลนั้นต้องเป็นผู้ทรงธรรมไว้ในใจเขาก่อนอย่างเพียงพอ โอ! มันเป็นอย่างนี้ ยิ่งคิดดูสภาพหยาบๆ ทั่วๆ ไป ก็เห็นได้อย่างชัดเจน

    ตัวอย่างเช่น คนหัดสูบบุหรี่ คนหัดเคี้ยวหมาก ดื่มเหล้า เหล่านี้ ก่อนที่จะติดมัน ตกเป็นทาสของมันจนออกไม่ได้โงหัวไม่ขึ้นนั้น บุคคลนั้นต้องหัดสูบบุหรี่จนปวดหัว จนสำลักควันทั้งไอทั้งจาม หัดเคี้ยวหมากจนปากเปื่อยลิ้นเป็นแผล เพราะถูกปูนกัดจนกินข้าวลำบาก หัดกินเหล้าจนหน้าบิดหน้าเบี้ยว จนรากจนอาเจียนคลื่นเหียนเวียนเกล้า หัดไปหัดมาเลยติดมัน ไม่ลืมสูบ ไม่ลืมเคี้ยว ไม่ว่ากลางวันกลางคืน

    โอ! นี้คือสภาพที่ “ทรง” กันไว้ เป็นหมากที่ทรงไว้ซึ่งผู้ทรงหมาก (ผู้เคี้ยวหมาก) จากการตกไปสู่การลืมเคี้ยวหมาก เป็นบุหรี่ที่ทรงไว้ซึ่งผู้ทรงบุหรี่ จากการตกไปสู่การลืมสูบบุหรี่ ลักษณะอาการเช่นนี้แหละหนอ คือความหมายของคำว่า “ธมฺโม กุโลกปตนา ตทธาริธารี เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว” ก็เป็นเช่นนี้ นอกจากนี้แล้ว การทำวัตรสวดมนต์ยังทำให้เราดำรงไว้ซึ่งหลัก “คารวตา” อันเป็นเหตุให้ศาสนาตั้งมั่นยืนนานสืบต่อไป

    การกราบไหว้ทุกเช้าทุกเย็นต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น เป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัยอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย การสาธยายพร่ำพรรณนาถึงพระคุณและอานุภาพอันยิ่งยอดของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างเข้าใจความหมายแล้ว ยิ่งเพิ่มพูนศรัทธาปสาทะ ความเชื่อ ความเลื่อมใส อันเป็นตัวกำลังให้ประกอบคุณงามความดี และคุณค่าของสิ่งทั้งหลาย

    ถ้าเราไม่เคารพ ไม่ศรัทธาในสิ่งใด สิ่งนั้นก็จะหมดคุณค่าสำหรับเรา แม้สิ่งนั้นจะดีงามแค่ไหนก็ตาม เช่น พ่อแม่ พ่อแม่ก็หมดความหมายไร้คุณค่าสำหรับลูกคนนั้น ครูบาอาจารย์ผู้มีคุณต่อศิษย์แต่ศิษย์ขาดความเคารพและศรัทธาครูบาอาจารย์นั้นก็หมดความหมายไร้ค่าสิ้นประโยชน์

    เช่น พระเทวทัตบวชอยู่กับพระพุทธเจ้า แต่ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะหมดศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า อีกคนคือ สุนักขัตตะลิจฉวีบุตร บวชอยู่กับพระพุทธเจ้า เดินตามหลังพระพุทธเจ้าไป แต่ใจกลับหมดศรัทธา หมดความเคารพต่อพระพุทธเจ้า เมื่อเหลือบไปมองเห็นพวกนักบวชเปลือยคลานด้วยเข่า เอามือกอบกินอาหารเข้า ก็เกิดศรัทธานักบวชนอกศาสนาเหล่านั้น ทั้งๆ ที่ตนเองบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา เดินตามหลังพระพุทธเจ้าอยู่แท้ๆ ต้องลาสิกขากับพระพุทธเจ้าแล้วไปบวชกับนักบวชนอกศาสนา เขาเลยไม่ได้ประโยชน์อะไรจากพระพุทธเจ้า ดูเอาเถิดท่านทั้งหลาย นั้นคือ ความไม่มีศรัทธา ไม่มีความเคารพก็หมดคุณค่า ไม่เห็นคุณค่า ไม่เห็นคุณ

    หนุ่มชาวบ้านนอกคนหนึ่ง เคยทำไร่ทำนามาแต่อ้อนแต่ออก อยู่กับทุ่งนาป่าเขามาตลอด แต่พอวันหนึ่งเขาได้ไปในเมือง ไปพบกับแสงสีเสียง เครื่องยั่วย้อมมอมเมาจิตใจให้ใหลหลง เขาได้ดูหนังเรื่องหนึ่ง มันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กบ้านนอก หนีออกจากบ้านไปเผชิญโชคชะตาในเมืองหลวง จนได้รู้จักมักคุ้นกับคนในสังคมเมืองอย่างกว้างขวาง จนวันหนึ่งเขาได้ออกเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ได้เงินเดือนเป็นหมื่นสองหมื่น ชีวิตผิดกันไกลลิบลับกับตอนที่อยู่บ้านนอกทำไร่ทำนา เขากลับบ้านพร้อมด้วยเงินก้อนโต ใช้จ่ายอย่างสะดวกสบาย

    หลังจากนั้น เด็กหนุ่มชาวนาก็กลับมาบ้าน จิตใจเขาห่อเหี่ยวแห้งแล้ง คิดถึงสภาพสังคมเมือง คิดเห็นเรื่องราวในหนัง อยากจะเป็นเหมือนเด็กบ้านนอกคนนั้น คนที่ไปทำงานเมืองนอกนั้น ฝันใฝ่ละห้อยหาอนาคตอันสดใส ท่ามกลางความมืดมนในทุ่งกว้าง เขาหมดศรัทธาในการทำนา เขาอยากไปทำงานเมืองนอก เมื่อศรัทธาหมดมันก็หมดการกระทำ


    (มีต่อ)
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (ต่อค่ะ)
    พระเณรหมดศรัทธาในธรรมวินัยก็ลาสิกขา ข้าราชการหมดศรัทธาในตำแหน่งหน้าที่ก็ไม่เอาใจใส่ ทำไปวันๆ รอคอยให้หมดเวลา ไม่รับผิดชอบ หรือไม่ก็ลาออกเลย เมื่อหมดศรัทธาแล้วก็หมดความเคารพ เมื่อหมดความเคารพ ก็ไม่ต้องทำตาม เมื่อไม่ทำตามแล้ว ก็เหินห่างร้างราหรือเหยียบย่ำทำลายไปเลย

    เช่น บางคนบวชเป็นมหา เล่าเรียนมาจากวัดจนได้เป็นเจ้าเป็นนาย แต่ไม่มีศรัทธา สึกออกมาแล้วไม่เข้าวัดเข้าวา เป็นหัวหน้าในการเหินห่างศาสนา คำว่าวัด คำว่าศาสนา ไม่มีในสำนึกของเขาเลย บางคนซ้ำร้ายไปกว่านั้นยอมขายตัวให้ศาสนาอื่น

    นี้คือ วิกฤตการณ์ ที่เกิดจากความไม่มีศรัทธา ความไม่เคารพ ความสำคัญของศรัทธานี้มีมาก พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

    สทฺธา พนฺธติ ปาเถยฺยํ ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียงหรืออาหารแห่งการกระทำทั้งปวง ถ้าหมดเสบียงแล้ว มันก็ไม่มีแรงทำอะไรเลย หมดแรง

    สทฺธา สาธุ ปติฏฺฐิตา ศรัทธามีอยู่อย่างมั่นคงแล้ว ทำอะไรก็ให้สำเร็จ

    จะปฏิบัติธรรมก็ต้องอาศัยศรัทธาเป็นกำลังเบื้องต้น ไม่หมดศรัทธา ก็ไม่หมดความเพียร เมื่อมีความเพียรอยู่ตลอด มันก็มีสติ เมื่อมีสติปรากฏ สมาธิก็ตั้งมั่น เมื่อสมาธิตั้งมั่น ก็เกิดปัญญา มันจะวิ่งตามกันมาเป็นพรวนเลย เป็นขบวนรถไฟ เมื่อหมดศรัทธามันก็หมดความเพียร มันก็ประมาทขาดสติ หมดสมาธิ ขาดปัญญา ศรัทธาจึงชื่อว่าเสบียงหรือกำลัง ความเสื่อมของศาสนาเริ่มต้นที่เสื่อมศรัทธา

    พี่น้องชาวอิสลามมีความมั่นคงมากในศาสนา ศรัทธาต่อพระอัลเลาะห์ วันหนึ่งๆ ต้องไหว้ ต้องสลาห์วันละ ๕ ครั้ง ความร่ำรวยวัตถุอย่างมหาศาลในยุคเทคโนโลยี ถึงขนาดในประเทศซาอุดิอาระเบียกลางทะเลทรายอันอ้างว้าง ในท่ามกลางเปลวแดดอันแผดเผา บนดินขาดหญ้า... บนฟ้าขาดฝน แต่กลายเป็นชุมชนทุกชาติในค่ายเสรีกลายเป็นนครแห่งการแสวงหาด้วยอำนาจเงินตราเสน่ห์อัสสาทะวัตถุนิยม

    ความเจริญด้วยโภคทรัพย์ถึงขนาดสายการบินในประเทศ เหมือนรถสองแถวบนเส้นทาง รพช. บ้านเรา ความเจริญอย่างรวดเร็วชนิดก้าวลงจากหลังอูฐกลางทะเลทราย โดดขึ้นนั่งจัมโบ้เจทติดแอร์เหินฟ้า เหมือนหลุดออกจากนรกแล้วขึ้นสวรรค์ แต่ถึงขนาดนั้นศรัทธาในพระอัลเลาะห์เจ้าก็ไม่ได้เสื่อมคลาย วิถีชีวิตของพี่น้องชาวมุสลิมทางด้านจิตใจยังมิได้เปลี่ยนแปลง ยังคงกราบไหว้วันละ ๕ ครั้งอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะอยู่ในห้องแอร์ท่ามกลางมักตัป (สำนักงาน) หรือในรถเก๋งติดแอร์ ในแคมป์เลี้ยงอูฐ เลี้ยงแพะ ในร้านค้าซุปเปอร์มาเก็ต เขาจะหยุดทุกอย่างไว้ก่อนชั่วขณะ ยกเวลานั้นเพื่อพระผู้เป็นเจ้า

    สถานีโทรทัศน์ วิทยุ ทุกแห่งทุกช่อง ต้องแพร่ภาพ ขยายเสียง ถ่ายทอดการไหว้ การสลาห์เหมือนกันหมด บริษัทใหญ่ๆ น้อยๆ ต้องมีสถานที่ละหมาด มัสยิดชั่วคราว (วัดชั่วคราว) ทุกแห่ง ตั้งแต่ผู้จัดการถึงกรรมกร ผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องละหมาดสลาห์พร้อมกัน ทุกๆ ชีวิตเสมือนเครือญาติอันเดียวกัน ท่ามกลางอ้อมกอดแห่ง “อิสลามมิกธรรม” น่าสรรเสริญศรัทธายิ่ง เพราะเหตุนั้นแหละ ศาสนาอิสลามจึงมั่นคง เพราะเหตุแห่งศรัทธา ท่านทั้งหลายอย่าได้ไปหัวเราะเยาะหรือล้อเล่น

    พระพุทธเจ้าท่านถือว่าสำคัญมาก ถึงขนาดว่า สทฺธา พนฺธติ ปาเถยฺยํ... ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียง คนโบราณปลูกฝังศรัทธาได้อย่างมั่นคง จนถึงขนาดว่า ฟังเทศน์พระเวสสันดรให้ครบคาถาพันในวันเดียว จึงจะได้เกิดทันพระศรีอาริย์ เก็บดอกบัวบูชาพระรัตนตรัยให้ได้ ๘๔,๐๐๐ ดอก จะเกิดทันพระศรีอริยะเมตตรัย

    คิดดูเถิด... มันจะต้องใช้ศรัทธาสักขนาดไหน มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ดอกบัว ๘๔,๐๐๐ ดอก จะต้องลุยตมลุยโคลนไปเก็บมาบูชา อาตมาว่าไม่ต้อง ๘๔,๐๐๐ ดอก สัก ๘,๐๐๐ ดอกนี้ก็ถึงโลกพระศรีอาริย์แน่

    การฟังคาถาพันในพระเวสสันดรนั้นก็ต้องใช้ศรัทธาชนิดที่เรียกว่า มุทุปสันนา จิตใจอ่อนน้อมนิ่มนวล พร้อมที่จะทำดีได้ทุกประการนี้ มันทำชั่วไม่ได้หรอก ถ้าเปรียบเหมือนทองคำก็เป็นทองคำบริสุทธิ์ ต้มละลายแล้ว พร้อมจะหล่อหลอมเป็นอะไรก็ได้

    ศรัทธาชนิดนี้แหละที่พ่อแม่ของเราได้มีมา ได้รับศาสนามาถึงเรา แต่พวกเราจะรักษาต่อไปได้ไหม ถ้าขาดศรัทธาแล้วมันรักษาไว้ไม่ได้หรอก มันหมดเสบียง พระพุทธเจ้าของเราท่านได้ตรัสไว้กับพระมหากัสสปะที่เชตวัน นครสาวัตถี มีข้อความตอนหนึ่งว่า ดูก่อน กัสสปะ ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมนี้ให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้ โมฆบุรุษ ในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมนี้เลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะล่มก็เพราะต้นหน นายท้าย คนแจวเรือ คนท้าย นั้นแหละทำให้ล่ม

    ดูก่อน กัสสปะ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นเหตุให้พระสัทธรรมฟั่นเฟือนเลือนลางจางหายเสื่อมไป

    เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการอย่างไร คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในศาสนานี้ (ในธรรมวินัยนี้) ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ เหตุ ๕ ประการนี้แหละ จะทำให้พระสัทธรรม ให้พระศาสนาฟั่นเฟือนเลือนลางจางหายไปในที่สุด

    ตรงกันข้าม ถ้าหากพวกเราทั้งหลายยังเคารพยำเกรงต่อพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ ต่อสิกขาการปฏิบัติ ต่อสมาธิการฝึกจิตให้ยิ่งอยู่ พระศาสนาก็ยังตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือนเลือนลางจางหายเสื่อมไป มั่นคงตลอดไป (แปลตามสบายจากสัทธัมมปฏิรูปกสูตร สํ. นิ. ๑๖/๕๓๓-๕๓๔-๕๓๕/๒๖๔ พระไตรปิฎก บาลีสยามรัฐ)

    คิดดูเถิด บุคคลผู้ที่ยังเคารพพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา การฝึกฝนจิตในสมาธินั้น คือคนที่มีศรัทธา ถ้าขาดศรัทธาแล้วความเคารพจะมีมาจากไหน จะมีได้อย่างไร

    เดี๋ยวนี้พวกเราบางคน แม้จะบวชอยู่ในวัดก็ไม่มีศรัทธาในพระศาสนา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ก็มี ถึงขนาดแสดงออกมาทางวาจาว่า หมดสมัยแห่งมรรคผลนิพพาน หนักๆ เข้าประมาทว่า ไม่ศรัทธาในกัมมัฏฐาน ในสมาธิ

    คนชนิดนี้แหละที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า “โมฆบุรุษ” คนว่างจากแก่นสาร พวกเรากำลังเป็นอย่างนี้กันมากขึ้น เพราะขาดศรัทธา เพราะเหตุนั้นคำถามที่ว่า ทำไมจึงต้องทำวัตรเช้า-เย็น ? ก็เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั้นเอง

    ทำวัตรเพื่ออะไร ?

    ๑. เพื่อปลูกฝังศรัทธาทุกเมื่อ ที่กราบลงต่อหน้าพระพุทธรูปนั้น ทำความรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าเรานั่งอยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้า กำลังเข้าเฝ้าทางกาย เปล่งวาจาสรรเสริญพระพุทธคุณ เหมือนเข้าเฝ้าด้วยวาจา ในขณะเดียวกันความคิดวิตกไปทางชั่วต่อเบื้องหน้าพระพักตร์ของพระองค์ มันเป็นความสกปรก ความปรารถนาอันลามกเช่นนั้นไม่สมควรอย่างยิ่ง

    เราจึงต้องตั้งใจกราบไหว้เปล่งวาจาออกมา พร้อมศรัทธาปสาทะ สติสัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญามีพร้อม ถ้าขาดสมาธิมันก็หลงๆ ลืมๆ ตั้งนะโม ๒ หนบ้าง ๔ หนบ้างก็มี พูดผิดๆ ถูกๆ เลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปหมด กราบ ๒ หน ๓ หน ๔ หนก็มี จิตใจในขณะไหว้พระทำวัตรนั้น จะต้องสะอาดด้วยศีล สงบระงับด้วยสมาธิ สว่างไสวด้วยสติปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา มีพร้อมในขณะนั้น เป็นอันว่าเพื่อการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยกาย วาจา ใจ ทุกเมื่อ ปลูกฝังศรัทธาเคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา (การปฏิบัติ) และสมาธิ ทุกเมื่อ

    ๒. ทำวัตรเพื่อบริหารสมอง กำหนดจดจำ ท่องบ่น สาธยายบทพระธรรมให้คล่องปากเจนใจ อันจะนำไปสู่ปัญญาหลังจากใคร่ครวญอย่างละเอียดถี่ถ้วนในใจทุกขณะ อันเป็นเหตุแห่งการหลุดพ้นประการหนึ่งในจำนวน ๕ ประการ

    ๓. เพื่อเป็นการเข้าโรงเรียน เรียนภาษาบาลีแปลไปในตัว เป็นการเจริญปัญญาบารมีไปในตัว

    ๔. เพื่อเป็นการฝึกสมาธิหมู่ เช้า-เย็น เจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อบรมจิตใจให้มีสมาธิอยู่เสมอ เวลาได้สติสัมปชัญญะ สมาธิมีพร้อมกันทั้งหมู่คณะ การสวดพร้อมเพรียงกันกังวานนิ่มนวล ชวนให้เกิดศรัทธาปสาทะยิ่งนัก

    ๕. เพื่อเป็นการสอบทานตัวเอง ทบทวนตักเตือนตนเองอยู่ตลอดไปว่า เราเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี สุปฏิปนฺโน ปฏิบัติตรง อุชุปฏิปนฺโน ปฏิบัติสมควรแก่การกราบไหว้แล้วหรือยัง ? สมควรแก่การจะพ้นจากทุกข์หรือยัง ? สมควรรับของบูชาหรือยัง ? สมควรรับของชาวบ้านหรือไม่ ? สอบถามตัวเองบ่อยๆ อย่างนี้

    ทำโดยวิธีใดไม่น่าจะเป็นปัญหา เมื่อพูดมาถึงขั้นตอนนี้แล้ว แต่ก็ควรทำความเข้าใจให้ยิ่งขึ้นว่าจะทำโดยวิธีใด

    ตามปรกติตั้งแต่โบราณกาลมาเราเคย ทำวัตร กันแต่ภาษาบาลี สวดกันไปโดยไม่รู้ความหมาย แต่ถึงขนาดนั้นก็ยังช่วยให้เกิดศรัทธา รักษาศาสนาให้ตกมาถึงเราจนบัดนี้ ถ้าเราทำวัตรกันโดยแปลเป็นภาษาไทยไปพร้อมกับภาษาบาลี ก็ยิ่งจะทำให้เกิดศรัทธาและปัญญาไปพร้อมกัน อันจะก่อให้เกิดความเข้าอกเข้าใจเป็นสัมมาทิฏฐิ อันจะนำไปสู่มรรค ผล นิพพาน ในที่สุด เพราะฉะนั้น การทำวัตรสวดมนต์จึงมีอานิสงส์มากมายมหาศาล

    ถ้าหากจะให้มีประโยชน์ยิ่งขึ้น ถ้าอยู่กันเป็นหมู่คณะมากๆ เมื่อสัญญานระฆังดังขึ้นก็รีบมารวมกันด้วยอาการสงบ ใครมาถึงก่อนก็นั่งสมาธิคอยก่อน ใครมาทีหลังก็ค่อยเถิบเลี่ยงเข้ามานั่งประจำที่ด้วยความเคารพ โดยไม่ทำให้เกิดเสียงที่จะเกิดอาการรบกวนเพื่อนฝูง พร้อมกันนั่งสมาธิก่อนอย่างน้อย ๑ ชั่วโมง หรือ ๒ ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงสวดมนต์ทำวัตร ขณะที่จิตสงบอยู่เช่นนั้น ถ้อยคำที่เปล่งออกมาด้วยจิตที่สงบระงับ จะไพเราะซาบซึ้งในความหมายด้วยปีติปราโมทย์ จนขนลุกน้ำตาไหลซึมด้วยความปราโมทย์ อิ่มเอิบซาบซ่านด้วยปีติ

    ถ้าทำได้อย่างนี้นับวันแต่จะเจริญในธรรมวินัย ในศาสนา เป็นบุญวาสนาของผู้ได้เข้าใกล้ได้พบเห็นอีกด้วย เพราะเหตุนั้นแหละการทำวัตรจึงจำเป็นต้องทำกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรทำเล่นๆ ควรทำด้วยความเคารพทุกเช้า-ค่ำ ไม่ใช่ทำแต่ในพรรษาเท่านั้น จะต้องทำตลอด เพราะนั้นคือกิจวัตรที่ทำประจำทั้งในพรรษาและนอกพรรษา

    หากบุญกุศลอันใดอันจะพึงเกิดขึ้นจากการเทศนาธรรมในครั้งนี้ ขอให้บุญกุศลส่วนนี้แผ่ไพศาลไปสู่เทพเจ้าเหล่ามนุษย์และปวงสรรพสัตว์ เพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งหลายทุกถ้วนหน้า ขอพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจงสถิตสถาพรจีรังยั่งยืนอยู่ในโลกนี้ชั่วกาลนานเทอญ.


    ------- จบ -------
    ขอบพระคุณที่มา :- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=18485
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    * ชีวิตปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น

    *พระอาจารย์สมภพ เมื่อครั้งยังเยาว์วัยเป็นเด็กที่ระลึกชาติได้ เมื่ออายุได้ ๔ ปี ได้รบเร้าบิดามารดาให้พากลับไปยังบ้านเกิดเดิม ที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อไปถึงท่านก็ทักทายคนแก่เหมือนกับเป็นรุ่นเดียวกัน โดยใช้คำพูดว่า “กู มึง” ทำให้เป็นที่แปลกใจของคนทั่วไป สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ได้ว่าท่านจำเรื่องราวในอดีตได้คือ ท่านถามถึงเหล็กขอที่ใช้บังคับช้างที่ท่านเคยในอดีต และเก็บไว้บนหิ้งพระ ถามใครก็ไม่มีใครรู้ ทุกคนจึงบอกให้ท่านค้นหาเอง ท่านก็เจออยู่ที่เดิมบนหิ้งพระ คนทั่วไปจึงเชื่อว่าท่านระลึกชาติได้ เพราะชาติก่อนท่านเป็นคนเลี้ยงช้าง*
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ตำนานเมืองล้านนาตอนพระอุปคุต
    NIKHOM PHROMMATHEP

    พระอุปคุตเถระผู้มีปาฏิหาริย์ปัจจุบันยังคงมีชีวิตและมีการใส่บาตรพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ด
    ชาวล้านนารู้จักพระอุปคุตในนามผู้ปกป้องคุ้มครองภัยโดยเฉพาะการมีปอยหลวง งานพิธีกรรมของส่วนรวมจะมีการอาราธนาพระอุปคุตขึ้นจากแม่น้ำมาคุ้มครองการจัดงานเพื่อมิให้เกิดภัยและงานลุล่วงไปด้วยดี

    ชาวล้านนามีพิธีกรรมการใส่บาตรพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดหรือเพ็ญวันพุธมาจนปัจจุบัน ในขณะที่การเผยแพร่ข่าวนักข่าวบางท่านยังไม่เข้าใจกลับแพร่ข่าวทำนองว่าผิดวินัยสงฆ์เพราะเป็นเวลากลางคืนตั้งแต่เวลาย่ำตีหนึ่งของวันเป็งปุ๊ดจนถึงราวตีห้า คือประเพณีของชาวล้านนาปฏิบัติกันมา

    พระอุปคุตสำคัญอย่างไร

    แต่ผู้คนขานนามท่านว่าพระอุปคุต เป็นภาษาบาลี หรือภาษาสันสกฤตว่าอุปคุปต์ ซึ่งตรงกับภาษาพี่น้องชาวไตยบางท้องถิ่นขานนามท่านว่า ส่างอุปคุป โดยมีความหมายว่า ผู้คุ้มครองมั่นคง

    พระอุปคุตมีตำนานว่าท่านเป็นชาวปาตลีบุตรกำเนิดหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วราว 218 ปีเมื่อบวชสำเร็จอิญญาต่างๆสามารถแสดงอภินิหารจนเป็นที่เล่าลือถึง ท่านเนรมิตถ้ำแก้วอยู่ในทะเลลึก ครั้งหนึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงจัดพิธีฉลองพระวิหาร(งานปอยหลวง)พระองค์ทรงห่วงว่าจะเกิดเภทภัยต่างๆจึงหาพระสงฆ์ที่มีอิธิฤทธิ์มาคุ้มครองงาน ไม่มีสงฆ์องค์ใดรับปฏิบัติ แต่มีสงฆ์สองรูปอาสาชำแรกมหาสมุทรลงไปนิมนต์พระอุปคุตขึ้นมาคุ้มครองงาน พระอุปคุตรับคำและได้ชำแรกมหาสมุทรขึ้นมาพบพระเจ้าอโศก แต่พระองค์ทรงเห็นว่าพระสงฆ์รูปนี้ร่างบอบบางจะคุ้มครองพญามารได้อย่างไร? เมื่อพระอุปคุตออกบิณฑบาต พระเจ้าอโศกสั่งให้เสนาปล่อยช้างตกมันเข้าทำร้าย พระอุปคุตเห็นจึงสกดช้างหยุดนิ่งดั่งเป็นช้างหิน พระเจ้าอโศกทรงเห็นดังนั้นจึงทรงเข้าไปกราบขอโทษและทรงวางพระทัยในการจัดงาน
    เมื่อมีงานปอยหลวงฉลองพระวิหาร ขณะที่พระอุปคุตแสดงธรรมอยู่นั้นพญามารได้เนรมิตฝนไข่มุกตกลงมาทำให้ผู้คนแตกตื่นจากฟังธรรมออกมาแย่งเก็บไข่มุก ต่อมาอีกวันพระอุปคุตแสดงธรรม พญามารก็บันดาลฝนทองตกลงมาให้ผู้คนแตกตื่นไล่เก็บ ฯลฯ. โอย..พญามารมันแกล้งซะป๊ะอย่างหลากหลายรูปแบบ จนครั้งสุดท้ายพระอุปคุตแสดงธรรมพญามารกลับเนรมิตรเสียงพิณมีนางเทพอัปสรร่ายรำนุ่งน้อยห่มน้อยให้คนสนใจ ยัง...ยังไม่พอ พญามารยังเนรมิตพวงมาลัยไปคล้องคอพระอุปคุต....ดู..ดูมัน สมนามพญามารแท้....โดยเหตุนี้กระมังเมื่อมีงานอะไรจะไปด้วยดีแต่มีอะไรมาขัดขวางผู้คนจึงกล่าวว่า "มารแท้ๆ..." ส่วนพระอุปคุตทราบโดยญาณว่าเป็นเรื่องของพญามาร จึงใช้วิธีเกลือจิ้มเกลือโดยการเนรมิตร่างงูตาย สุนัขตายและร่างคนตายทำเป็นพวงมาลัยพญามารเห็นนึกดีใจจึงออกจากที่ซ่อนมา พระอุปคุตจึงเอาพวงมาลัยร่างงูตายสวมศีรษะ ร่างสุนัขตายสวมคอ และร่างคนตายสวมที่หูเมื่อสวมแล้วพวงมาลัยกลับเป็นร่างเดิมเหม็นคลุ้ง พญามารร้องขอให้พระอุปคุตช่วยเอาออกแต่พระอุปคุตได้นำพญามารไปผูกไว้หลังภูเขารอจนสิ้นงานบุญจึงปล่อยพญามารส่วนพญามารได้สำนึกบาปได้กล่าวขอโทษพระอุปคุตและได้ลาจากไปด้วยความอ่อนน้อมพร้อมความศรัทธาในพระพุทธศาสนา

    เท่าที่เล่ามาโดยสังเขปจึงเป็นความเชื่อต่อกันมาว่าหากวัดใด หมู่บ้านใดจะมีงานบุญกุศล ผู้คนล้านนาจึงอัญเชิญพระอุปคุตมาคุ้มครองงานโดยการร่วมกันไปที่ท่าน้ำหรือทางสามแพร่งเชื่อว่าพระอุปคุตสถิตอยู่ที่นั้นแล้วกล่าวอัญเชิญจนจบทำการเลือกก้อนหินที่อยู่บริเวณนั้นสมมุติเป็นพระอุปขึ้นมาแห่ไปที่วัดหรือที่จะมีพิธีงานเชื่อว่าพระอุปคุตจะคุ้มครองงานจนเสร็จ เมื่องานเสร็จต้องนำหินนั้นไปไว้ที่เดิม

    ในบางท้องถิ่นล้านนาเชื่อว่าพระอุปคุตจะตะแหลง(แปลงร่าง)เป็นสามเณรน้อยขึ้นมาบิณฑบาตรในวันเป็งปุ๊ดหรือเพ็ญพุธ เริ่มตั้งแต่ตีหนึ่งของวันพุธ ผู้คนจึงมักเห็นสามเณรน้อยเดินบิณฑบาตรไปตามถนน ทางสี่แพร่งสามแพร่ง ตลอดจนถนนหนทางตามริมน้ำท่าน้ำต่างๆ จนกระทั่งตี๋นฟ้ายกหรือแสงเงินแสงทองออกมาจึงเนรมิตกายหายไป หากผู้ใดมีบุญบารมีได้ใส่บาตรพระอุปคุตมักทำให้ร่ำรวยเงินทอง ปราศจากภัยทั้งปวง มีสมาธิจิตดีไม่หลงลืม ชีวิตเป็นสุข ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้สร้างพระอุปคุตปางที่นิยมได้แก่ ปางล้วงบาตร หมายถึงกิ๋นบ่เสี้ยงหรือกินไม่หมด ให้คุณทางทรัพย์สินเนืองมากมาย ร่ำรวย ปางห้ามมารให้คุณในทางคุ้มครองป้องกันภัยต่างๆ ปางสมาธิหรือพระบัวเข็มให้คุณในด้านสติปัญญาดี จิตใจผ่องใส ดำเนินชีวิตเป็นสุขด้วยปัญญาปารมี นอกจากสามปางนี้แล้วยังมีปางอื่นๆอีกแล้วแต่ผู้สร้าง อย่างเช่นบางแห่งอาจเห็นองค์พระอุปคุตกับช้างตกมัน เป็นต้น ก็สร้างตามตำนานดังเล่ามาแล้วการบูชาพระอุปคุตมีหลากหลายวิธี มีพระคาถาอัญเชิญพระอุปคุต พระคาถาขอลาภ พระคาถาผูกมารซึ่งสิ่งเหล่านี้นอกจากชาวล้านนาแล้วที่นับถือมากคือพี่น้องชาวมอญ ไทยใหญ่ พม่า ส่วนมากท่านเหล่านี้จะสร้างพระอุปคุตจากผงว่าน กิ่งไม้โพธิ์ที่เรียกว่า "ทักขิณสาขา" หรือไม้เนื้อหอมต่างๆแล้วแต่จะศรัทธากันอย่างไร?. ขออิทธิปาฏิหาริย์พระอุปคุตจงคุ้มครองท่านผู้อ่าน และจงสมจิตอธิษฐานด้วยประการละฉะนี้จิ่มเต๊อะ

    ขอบพระคุณที่มา..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/177684

     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    จิตที่พบกับความสงบ @ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ

    namo 125 :-
    Published on Feb 23, 2017
    รวบรวมวีดีโอในช่อง https://www.youtube.com/user/kancha08...
    ******* ยินดีเป็นอย่างยิ่งให้ท่าน แชร์ โหลด VDO นี้ (และทั้งหมดในช่อง) อันจะเป็นการเผยแพร่ให้ทุกคนได้รับธรรมะเพื่อเป็นกำลังใจแก่ชีวิตและเป็นการผดุงคุณธรรมของโลก

    พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ ประธานสงฆ์แห่ง วัดไตรสิกขาทลามลตาราม และวัดนิพเพธพลาราม ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร ถือว่าเป็นนักปราชญ์แห่งภาคอีสาน ที่ หลายท่านยังไม่รู้จัก จึงถือโอกาสเปิดกรุพระป่า พระนักปฏิบัติ พระนักเทศน์ พระนักปราชญ์แห่งภาคอีสานรูปหนึ่ง พระผู้เสียสละอุทิศตนทำงานเพื่อพระศาสนา รับกิจนิมนต์ไปแสดงธรรมในที่ต่างๆ ทั้งใกล้ทั้งไกลทั้งต่างประเทศ ชีวิตอยู่กับการเดินทางเป็นส่วนมาก การพักผ่อนไม่ค่อยจะพอ ประกอบกับสุขภาพไม่ค่อยจะดี ปัจจุบันพระอาจารย์ พูดได้เหมือนเดิม แต่ก็นั่งรถเข็ญ ก็เดินได้บ้างแต่ใช้ไม้เท้า บทบาทที่เคยเดินทางไปแสดงธรรมตามกิจนิมนต์ก็ไม่มีมากเหมือนแต่ก่อน เพราะร่างกายไม่แข็งแรง ยังเหลือแต่ผลงานเก่าๆ ที่จัดทำเป็น ซีดี วีซีดี ซึ่งเป็นผลงานหลากหลาย แสดงธรรมทุกระดับทั้งโวหารและไหวพริบดีมาก ได้ฟังแล้วจะเห็นความแปลกใหม่อย่างน่าทึ่งมาก ท่านเป็นพหุสูตรจริงๆแต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจ ว่าท่านพูดได้หลายภาษา นอกจากจะพูดได้แล้วยัง เขียน อักษรอีสานโบราณได้ด้วย ประเด็นสำคัญคือ เวลาที่ท่านเทศน์นั้น ก็จะมีหลักฐานการอ้างอิงในพระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่า อย่างนี้ๆจากพระไตรปิฎกเล่มไหน ชื่อเล่มว่าอะไร อยู่หน้าที่เท่าไหร่ วรรคไหน บรรทัดที่เท่าไหร่ กล่าวว่าอย่างไร ท่านผู้ฟังสามารถหาฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ ได้ตามเว็บไซด์ต่างๆ รวมทั้ง Youtube ซึ่งมีผู้นำคำสั่งสอนมาเผยแผ่เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัยได้ฟังเป็นหนทางให้เกิดปัญญา
    ขอบุญกุศลทั้งหลายจงดลให้พระอาจารย์หายจากการเจ็บป่วยทั้งปวง กลับมาเป็นแม่ทัพธรรมเผยแผ่คำสั่งสอนให้เกิดความสงบสุขในโลกด้วยเทอญ สาธุ
    ภาพทีอยู่ในวีดีโอบางส่วน ได้มาจาก facebook ปัจฉา สมณะ ของพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ ฟังธรรมที่ท่านสนใจhttps://www.youtube.com/user/kancha085

     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ท่านเอาซากหมาเน่าไปคล้องไว้ที่คอพญามาร ตำนานพระอุปคุต เถระ ในยุคต้นกำเนิดพระครูโลกอุดร

    ปลดล็อค :- Published on Jun 22, 2017
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,152
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051

แชร์หน้านี้

Loading...