ร่วมทำบุญบูชา มงคลคันกระสุนวิถีสวรรค์มหาพิฆาต(พระเจ้าหน้าครุฑแปลงรูปนามเขย่าสวรรค์) พ่ออาจารย์พล

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.

  1. techapunyo

    techapunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    896
    ค่าพลัง:
    +1,730
    ร่วมเล่นเกมส์

    ประวัติพระสีวลีเถระ
    พระสีวลีเถระ เป็นพระมหาเถระที่มีประวัติค่อนข้างแปลกไปกว่าพระมหาเถระองค์อื่น ๆ ท่านต้องอยู่ในครรภ์พระมารดาอยู่ถึง ๗ ปี กับอีก ๗ วัน ด้วยอำนาจบุรพกรรมตามมาส่งผล และพระพุทธองค์ทรงยกย่องให้เป็นตำแหน่งเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์ แม้พระมารดาคือ พระนางสุปฺปวาสา ผู้เป็นราชบุตรีของเจ้าโกลิยะ ก็ทรงเป็นเอตทัคคะผู้กว่าพระสาวิกาทั้งหลายผู้ถวายสิ่งของอันประณีต การที่พระพุทธองค์ได้ทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะดังกล่าวก็เป็นไปตามความปรารถนาของท่านมาแต่ในอดีต

    ความปรารถนาในอดีต

    ในกัปที่แสน แต่กัปนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในครั้งนั้น ท่านได้เกิดเป็นกษัตริย์ในพระนครหงสวดี ได้ยินพระพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งสาวกของพระองค์ชื่อสุทัสสนะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้มีลาภมาก ดังนั้น ทรงปรารถนาในตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้นิมนต์ พระชินสีห์พร้อมทั้งพระสาวก ให้เสวยและฉันถึง ๗ วัน ครั้น ถวายมหาทานแล้วก็ได้ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้ท่านเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภในอนาคตกาล พระปทุมุตตระบรมศาสดา จึงทรงพยากรณ์ว่าความปรารถนาของท่านนี้จะสำเร็จในกัปที่แสนแต่กัปนี้ไป ท่านจะบังเกิดในนาม สีวลี ได้บวชในสำนักของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าโคตมะ ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระโอกกากราช ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป

    ต่อจากนั้น ท่านก็กระทำกุศลจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้วก็ท่องเที่ยวไปกำเนิดในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ครั้นในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ในกาลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้ถือปฏิสนธิในหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลพระนครพันธุมดี ในสมัยนั้น ท่านเป็นคนโปรดปรานของสกุลหนึ่งในพระนคร และเป็นคนที่หมั่นขยันขวนขวายในกิจการงาน

    สมัยหนึ่งหลังจากที่พระบรมศาสดาเสด็จเที่ยวจาริกไปในชนบท กลับมาสู่พระนครพันธุมดี ครั้งนั้น พระเจ้าพันธุมะซึ่งเป็นพุทธบิดา ได้ทรงเตรียมอาคันตุกทาน เพื่อภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทรงปรารถนาจะทำมหาทานแข่งกับชาวเมือง ในวันใดที่พระราชาเป็นผู้ถวายทาน เหล่ามหาชนก็จะสังเกตดู และในวันรุ่งขึ้นก็จะเตรียมทานให้ยิ่งกว่านั้น และในวันถัดไป พระราชาก็จะถวายให้ยิ่งขึ้นไปอีก จนกระทั่งถึงวันที่ ๖ ซึ่งเป็นวันของชาวเมือง ชาวเมืองเหล่านั้นทั้งหมดได้จัดเตรียมสิ่งของไว้ทุกสิ่ง โดยตั้งใจจะไม่ให้มีสิ่งใดที่ขาดแม้สักสิ่งเดียว จึงได้ตรวจดูทานที่ตนได้เตรียมไว้ก็ไม่เห็นน้ำผึ้งสด มีเพียงน้ำผึ้งที่เคี่ยวแล้ว ชนเหล่านั้นจึงให้คนถือเอาทรัพย์คนละ ๑ พันกหาปนะแล้วส่งไปเฝ้ายังประตูพระนครทั้ง ๔ เพื่อขอซื้อจากผู้ที่มาจากชนบทนอกพระนคร

    ในวันนั้นเอง ท่านเดินทางเข้ายังพระนครด้วยปรารถนาจะเยี่ยมนายบ้าน ในระหว่างทางท่านเห็นรวงผึ้งที่ปราศจากตัวอ่อน ขนาดเท่างอนไถ จึงไล่ตัวผึ้งให้หนีไป แล้วตัดกิ่งไม้ถือรวงผึ้ง ด้วยตั้งใจว่าจะนำไปให้แก่นายบ้าน ฝ่ายผู้ที่ชาวเมืองมอบเงินไปเพื่อหาซื้อน้ำผึ้ง พบท่านถือรวงผึ้งสดเข้ามาจึงขอซื้อในราคาหนึ่งกหาปนะ

    ท่านเกิดความคิดว่า ธรรมดารวงผึ้งนี้ย่อมไม่ถึงค่าน้อยกว่าหนึ่งกหาปนะมาก แต่บุรุษนี้ให้ทรัพย์กหาปณะหนึ่ง เห็นจะมีเหตุเบื้องหลังอยู่ จึงตอบปฏิเสธไป บุรุษนั้นจึงขึ้นราคาให้เป็นสองกหาปนะ ท่านก็ยังปฏิเสธอีก บุรุษนั้นก็ขึ้นราคาไปเรื่อย ๆ จนถึงพันกหาปนะ

    ท่านได้พิจารณาเห็นเป็นเรื่องผิดปกติมากที่ขอซื้อรวงผึ้งสดด้วยราคาถึงพันกหาปนะ จึงได้สอบถามถึงเหตุผล บุรุษผู้นั้นจึงให้เหตุผลว่า พวกชาวพระนครได้ตระเตรียมมหาทาน เพื่อถวายพระวิปัสสีสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีสมณะ ๖ ล้าน ๘ แสนเป็นบริวาร ในมหาทานนั้นยัง ไม่มีน้ำผึ้งดิบอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงขอซื้อ ในราคาเช่นนั้น

    ท่านเห็นเป็นโอกาสที่จะได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่ จึงขอมีส่วนร่วมในมหาทานนั้น บุรุษนั้นไปบอกเนื้อความแก่ชาวเมือง ชาวเมืองทราบในศรัทธาของเขาจึงอนุโมทนา ท่านจึงได้เอากหาปณะที่ตนเก็บไว้เพื่อเสบียงเดินทางจากบ้านไปซื้อเครื่องเทศ ๕ อย่างแล้ว ทำให้ป่น นำเอาน้ำส้มมาจากนมส้มแล้ว คั้นรังผึ้งลงในนั้น ปรุงด้วยจุณเครื่องเทศ ๕ อย่างแล้ว ใส่ลงในบัวตระเตรียมสิ่งนั้นเรียบร้อยแล้ว ถือไปนั่งในที่ไม่ไกลพระทศพล เมื่อมหาชนเป็นอันมากนำเอาสักการะไป เขามองดูวาระที่จะถึงแก่ตนในลำดับ รู้ช่องทางแล้วจึงเข้าเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักการะอันยากไร้นี้เป็นของข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดอาศัยความอนุเคราะห์ข้าพระองค์ รับสักการะนี้เถิด พระศาสดาทรงอนุเคราะห์เขา ทรงรับสักการะนั้นด้วยบาตรศิลา อันท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถวายแล้ว ได้ทรงอธิษฐานให้ไทยธรรมที่ถวายเพียงพอแก่ภิกษุ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า น้ำผึ้งนั้นก็มีเพียงพอแก่พระสาวกทั้งสิ้น

    ครั้นแล้วท่านถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้กระทำภัตกิจ เสร็จแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ด้วยผลแห่งกรรมนี้ ขอข้าพระองค์ พึงเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความเป็นผู้มีลาภ ในภพที่เกิดแล้ว ๆ ดังนี้ พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนกุลบุตร ความปรารถนาของท่านจงสำเร็จอย่างนั้น ดังนี้แล้ว ทรงกระทำภัตตานุโมทนาแก่เขาและชาวเมืองแล้วเสด็จหลีกไป

    บุรพกรรมที่นำไปสู่อเวจีและต้องอยู่ในครรภ์พระมารดา ๗ ปี ๗ วัน

    เมื่อท่านได้สิ้นอายุในสมัยนั้นแล้ว ท่านก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่สิ้นกาลนาน ต่อมาในสมัยหนึ่งท่านได้จุติจากเทวโลก บังเกิดเป็นราชโอรสแห่งพระเจ้ากาสี (อรรถกถาบางแห่งว่า พระเจ้าพรหมทัต) ผู้ครองกรุงพาราณสี ต่อมาพระเจ้าโกศลทรงกรีธากองพลใหญ่มายึดกรุงพาราณสี ทรงปลงพระชนม์พระเจ้ากาสีและได้สถาปนาพระอัครมเหสีของพระราชานั้นให้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ฝ่ายพระราชโอรสของพระเจ้าพาราณสี ในเวลาที่พระบิดาถูกปลงพระชนม์ ได้ทรงหนีออกทางประตูระบายน้ำ รวบรวมญาติมิตรและพวกพ้องของพระองค์ไว้เป็นอันเดียวกัน รวมกำลังโดยลำดับแล้วเสด็จมายังกรุงพาราณสี ตั้งค่ายใหญ่ไว้ในที่ไม่ไกล ทรงส่งพระราชสาสน์ถึงพระราชาองค์นั้นว่า จะคืนราชสมบัติหรือจะรบ

    พระมารดาได้สดับสาสน์ของพระราชกุมารแล้ว จึงส่งพระราชสาสน์ลับแนะนำไปว่า จงอย่ามีการต่อสู้ จงตัดขาดการสัญจรทั่วทุกทิศ โดยการล้อมกรุงพาราณสีไว้ พวกคนในกรุงก็จะพากันลำบากเพราะหมด ไม้ น้ำและอาหาร และจะจับพระราชามาถวายเอง พระราชกุมารได้สดับสาสน์ของพระมารดาแล้ว จึงล้อมประตูใหญ่ทั้ง ๔ ด้านไว้ ๗ ปี แต่การณ์ก็มิได้เป็นอย่างที่ทรงดำริ เนื่องจากพวกคนในกรุงพากันออกทางประตูเล็ก นำเอาไม้และน้ำเป็นต้น มาทำกิจทุกอย่าง

    ครั้นพระมารดาของพระราชกุมารทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงส่งพระราชสาสน์ลับถึงพระโอรส ตำหนิพระโอรสว่า ลูกเราโง่เขลาไม่รู้อุบาย จงปิดประตูน้อยล้อมกรุงไว้ พระราชกุมารทรงสดับพระราชสาสน์ของพระมารดา จึงได้ทรงกระทำอย่างนั้นถึง ๗ วัน ชาวพระนครเมื่อออกไปข้างนอกไม่ได้ วันที่ ๗ จึงได้เอาพระเศียรของพระราชานั้นไปมอบแต่พระราชกุมาร พระราชกุมารได้เสด็จเข้ากรุงยึดราชสมบัติ

    ท่านได้กระทำกรรมนี้แล้ว ในกาลที่สุดแห่งอายุ ไปบังเกิดในอเวจี หมกไหม้อยู่ในนรกตราบเท่ามหาปฐพีนี้หนาขึ้นได้ประมาณโยชน์หนึ่ง

    เพราะผลกรรมที่ล้อมพระนครไว้ถึง ๗ ปีในครั้งนั้น บัดนี้พระองค์จึงอยู่ในโลหิตกุมภี กล่าวคือพระครรภ์ของมารดา ๗ วัน แต่เพราะล้อมกรุงไว้ถึง ๗ วันโดยเด็ดขาด จึงถึงความเป็นผู้หลงครรภ์ถึง๗ วัน ส่วนในอรรถกถาชาดกท่านกล่าวว่า เพราะผลกรรมที่ล้อมกรุงยึดไว้ถึง ๗ วัน พระองค์จึงอยู่ในโลหิตกุมภีถึง ๗ ปีแล้วถึงความเป็นผู้หลงครรภ์ถึง ๗ วัน ก็พระองค์เป็นผู้เลิศด้วยลาภเพราะอานุภาพที่ถวายมหาทานแล้วตั้งความปรารถนาที่บาทมูลของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ขอเป็นผู้เลิศด้วยลาภ และที่ถวายน้ำอ้อยและนมส้มมีค่า ๑,๐๐๐กหาปณะพร้อมชาวเมือง แล้วได้ตั้งความปรารถนาในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ฝ่ายพระนางสุปปวาสา อุ้มครรภ์อยู่ถึง๗ ปี หลงครรภ์อยู่ถึง ๗ วัน เพราะที่ส่งสาสน์ไปว่า พ่อจงล้อมพระนครยึดไว้ พระมารดาและบุตรเหล่านั้น ได้เสวยทุกข์เช่นนี้อันสมควรแก่กรรมของตน ด้วยประการฉะนี้

    กำเนิดในพุทธกาล

    ครั้นพ้นจากนรกอเวจีแล้ว ก็เที่ยวเกิดไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จนถึงสมัยพระพุทธเจ้าของเรานี้ จึงได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของ พระนางสุปปวาสา ราชบุตรีของเจ้าโกลิยะ กษัตริย์พระนครโกลิยะ ซึ่งทรงอภิเษกกับเจ้าศากยวงศ์พระองค์หนึ่ง พระนางนั้นพระบรมศาสดาได้ทรงสถาปนาพระนางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายของมีรสประณีต และได้ทรงปฏิบัติธรรมจนบรรลุโสดาบันปัตติผล

    ด้วยกุศลกรรมแห่งการที่ท่านเป็นผู้เลิศด้วยลาภ เพราะอานุภาพที่ถวายมหาทาน แล้วตั้งความปรารถนาในสมัยแห่งองค์พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ขอเป็นผู้เลิศด้วยลาภ และอานิสงส์ที่ถวายน้ำอ้อยและนมส้มมีค่า ๑,๐๐๐ กหาปณะพร้อมชาวเมือง แล้วได้ตั้งความปรารถนาในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี นับแต่วันที่ท่านถือปฏิสนธิ ก็มีคนถือเอาเครื่องบรรณาการมาให้พระนางสุปปวาสา วันละร้อยเล่มเกวียน ทั้งในเวลาเย็นและในเวลาเช้า

    ครั้งนั้น คนทั้งหลายด้วยความปรารถนาจะลองบุญนั้น จึงให้นางเอามือจับกระเช้าพืช พืชแต่ละเมล็ด ผลิตผลออกมาเป็นพืชตั้งร้อยกำ พันกำ พืชที่หว่านลงไปในที่นาแต่ละกรีส (หน่วยวัดที่นาในสมัยพุทธกาล) ก็เกิดผลประมาณ ๕๐ เล่มเกวียนบ้าง ๖๐ เล่มเกวียนบ้าง แม้ในเวลาขนข้าวใส่ยุ้ง คนทั้งหลายก็ให้นางเอามือจับประตูยุ้ง ด้วยบุญของราชธิดาเมื่อมีคนมารับของไป ของที่พร่องไปนั้นก็กลับเต็มเหมือนเดิม เมื่อคนทั้งหลายพูดว่า บุญของราชธิดา แล้วให้ของแก่ใคร ๆ จากภาชนภัตรที่เต็มบริบูรณ์ ภัตรย่อมไม่สิ้นไป จนกว่าจะยกของพ้นจากที่ตั้ง

    ด้วยผลกรรมของพระนาง ที่ได้ส่งสาส์นลับไปแนะนำพระราชโอรส ร่วมกับวิบากกรรมของพระโอรสในอดีตที่ได้ล้อมกรุงพาราณสีไว้เป็นเวลาถึง ๗ ปี ทำให้เวลาล่วงไปถึง ๗ ปี ก็ยังไม่มีพระประสูติกาล

    ครั้นเมื่อครบกำหนด ๗ ปีแล้ว ด้วยวิบากกรรมร่วมกันของพระนาง กับ พระโอรสที่ได้ปิดล้อมประตูเล็กของกรุงพาราณสีไว้เป็นเวลา ๗ วัน ทำให้ชาวเมืองไม่สามารถออกจากเมืองมาหาอาหารและสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ได้รับความลำบากมาก ทำให้พระนางเสวยทุกข์หนักตลอด ๗ วัน

    พระนางปรารภกับพระสวามีปรารถนาจะถวายทานก่อนที่จะตาย จึงส่งพระสวามีไปเฝ้าพระศาสดาเพื่อไปกราบทูลเรื่องนี้ แล้วนิมนต์พระบรมศาสดา และถ้าพระบรมศาสดาตรัสคำใด ขอให้ตั้งใจจดจำคำนั้นให้ดีแล้วกลับมาบอกพระนาง พระสวามีจึงเดินทางไปแล้วกราบทูลข่าวแด่พระพุทธองค์ พระบรมศาสดาทรงตรัสว่า พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาจงมี ความสุข จงมีความสบาย ไม่มีโรค จงคลอดบุตรที่หาโรคมิได้เถิด พระสวามีได้ยินดังนั้นจึงถวายบังคมพระศาสดา ทรงมุ่งหน้าเสด็จกลับพระราชนิเวศน์

    ในเวลาเมื่อพระบรมสุคตตรัสเสร็จ พระกุมารก็คลอดจากพระครรภ์ของพระนางสุปปวาสาอย่างสะดวก เหล่าพระญาติและบริวารที่นั่งล้อมอยู่เริ่มหัวเราะ ทั้งที่หน้านองด้วยน้ำตา มหาชนยินดีแล้ว ร่าเริงแล้ว ได้ไปกราบทูลข่าวที่น่ายินดีแด่พระสวามีที่กำลังเดินทางกลับ พระราชาทรงเห็นอาการของชนเหล่านั้นทรงดำริว่า พระดำรัสที่พระทศพลตรัสเห็นจะเป็นผลแล้ว พระองค์จึงกราบทูลข่าวของพระทศพลนั้นแด่พระราชธิดา พระราชธิดาตรัสให้พระสวามีไปนิมนต์พระทศพล ตลอด ๗ วัน พระสวามีทรงกระทำดังนั้นและได้มีการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานตลอด ๗ วัน การประสูติของทารก ได้ดับจิตที่เร่าร้อนของพระประยูรญาติทั้งหมด เพราะฉะนั้น พระประยูรญาติจึงเฉลิมพระนามของกุมารนั้นว่า “สีวลีทารก”

    พระสีวลีบวชเมื่อเกิดได้ ๗ วัน

    ตั้งแต่เวลาที่ได้เกิดมาแล้ว ทารกนั้นได้เป็นผู้แข็งแรง อดทนได้ในการงานทั้งปวง เพราะค่าที่อยู่ในครรภ์มานานถึง ๗ ปี ครั้นถึงวันที่ ๗ พระนางสุปปวาสาตกแต่งพระสีวลีกุมารผู้โอรส ถวายบังคมพระศาสดา และพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระกุมารถูกนำเข้าไปสักการะพระสารีบุตรเถระเจ้านั้น พระเถระเจ้าได้กระทำปฏิสันถารกับเธอว่า สีวลี เธอยังจะพอทนได้หรือ ? สีวลีกุมาร ได้ตรัสตอบพระเถระเจ้าว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจะมีความสุขที่ไหนได้เล่า กระผมนั้นต้องอยู่ในโลหกุมภีถึง ๗ ปี

    พระเถระได้กล่าวกะสีวลีทารกนั้นอย่างนี้ว่า ก็ถ้าเธอได้รับความทุกข์ถึงขนาดนั้นแล้ว บวชเสียไม่สมควรหรือ สีวลีตอบว่าถ้าบวชได้ก็จะบวช พระนางสุปปวาสาเห็นทารกนั้นพูดอยู่กับพระเถระ ก็คิดว่าบุตรของเราพูดอะไรหนอกับพระธรรมเสนาบดี จึงเข้าไปหาพระเถระถามว่า บุตรของดิฉันพูดอะไรกับพระคุณเจ้า เจ้าคะ พระเถระกล่าวว่า บุตรของท่านพูดถึงความทุกข์ที่อยู่ในครรภ์ที่ตนได้รับ แล้วกล่าวว่า ถ้าท่านอนุญาต ก็จะบวช

    พระนางสุปปาวาสาตรัสว่า ดีละเจ้าข้า โปรดให้เขาบรรพชาเถิด พระเถระนำทารกนั้นไปวิหาร ให้ ตจปัญจกกัมมัฎฐาน (กรรมฐาน 5 กอง คือ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ) และได้กล่าวว่า สีวลี เราไม่จำต้องให้โอวาทดอก เธอจงพิจารณาทุกข์ ที่เธอเสวยมาถึง ๗ ปีนั่นแหละ ในขณะที่โกนผมปอยแรก พระสีวลีก็บรรลุโสดาปัตติผล และในขณะโกนปอยที่ที่ ๒ ก็บรรลุสกทาคามิผล และในขณะโกนผมปอยที่ ๓ ก็บรรลุอนาคามิผล และก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมกันกับที่โกนผมหมด

    ส่วนอาจารย์บางพวก กล่าวถึงการบรรลุพระอรหัตของพระเถระนี้ไว้ดังนี้ว่า เมื่อพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ให้โอวาทโดยนัยดังกล่าวแล้วข้างต้น เมื่อสีวลีกุมารกล่าวว่า กระผมจักรู้กิจกรรมที่กระผมสามารถจักกระทำได้ (ด้วยตนเอง) ดังนี้ แล้วจึงบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน เห็นกุฏิหลังหนึ่งว่าง (สงบสงัด) จึงเข้าไปสู่กุฏินั้นในวันนั้นแหละ ระลึกถึงทุกข์ที่ตนเสวยแล้วในท้องมารดาตลอด ๗ ปี แล้วพิจารณาทุกข์นั้น ในอดีตและอนาคต โดยทำนองนั้นแหละอยู่ ภพทั้ง ๓ ก็ปรากฏว่า เป็นเสมือนไฟติดทั่วแล้ว สีวลีสามเณรหยั่งลงสู่วิปัสสนาวิถี เพราะญาณถึงความแก่รอบ ทำอาสวะแม้ทั้งปวงให้สิ้นไป ตามลำดับมรรค บรรลุพระอรหัตแล้ว ในขณะนั้นเอง ส่วนพระเถระก็เป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ได้อภิญญา ๖

    พระสีวลีทดลองบุญ

    ในเวลาต่อมา พระบรมศาสดาได้เสด็จไปยังพระนาครสาวัตถี พระสีวลีเถระถวายอภิวาทพระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทดลองบุญของข้าพระองค์ ขอพระองค์จงมอบภิกษุ ๕๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์ พระศาสดาตรัสสั่งว่า จงรับไปเถิด สีวลี ท่านพาภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางบ่ายหน้าไปสู่หิมวันตประเทศ เดินทางผ่านดง เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไทร ที่ท่านเห็นเป็นครั้งแรก ได้ถวายทานตลอด ๗ วัน เทวดาทั้งหลายได้ถวายทานทุก ๆ ๗ วัน ในสถานที่ทั่ว ๆ ไป ที่ท่านเห็นต่างกรรม ต่างวาระ กันดังนี้ คือ

    ท่านเห็นต้นไทรเป็นครั้งแรก เห็นภูเขาชื่อว่าปัณฑวะเป็นครั้งที่ ๒ เห็นแม่น้ำอจิรวดี เป็นครั้งที่ ๓ เห็นแม่น้ำวรสาครเป็นครั้งที่ ๔ เห็นภูเขาหิมวันต์เป็นครั้งที่ ๕ ถึงป่าฉัททันต์ เป็นครั้งที่ ๖ ถึงภูเขาคันธมาทน์เป็นครั้งที่ ๗ และพบพระเรวตะ เป็นครั้งที่ ๘

    ประชาชนทั้งหลาย ได้ถวายทานในที่ทุกแห่งตลอด ๗ วันเท่านั้น ก็ในบรรดา ๗ วัน นาคทัตตเทวราช ที่ภูเขาคันธมาทน์ ได้ถวายบิณฑบาตชนิดน้ำนม (ขีรบิณฑบาต) สลับวันกับ ถวายบิณฑบาตชนิดเนยใส (สัปปิบิณฑบาต) วันเว้นวัน ลำดับนั้นภิกษุสงฆ์จึงถามท่านเทวราช ว่า ของที่ท่านนำมาถวายนั้นเกิดขึ้นได้อย่าไร ในเมื่อ แม่โคนมที่เขารีดนมถวายแด่เทวราชนี้ก็มิได้ปรากฏ การบีบทำน้ำนมส้มก็มิได้ปรากฏ เนาคทัตตเทวราชตอบว่า นี้เป็นอานิสงส์แห่งการถวายสลากภัตรน้ำนมในกาลแห่งพระกัสสปทศพล

    ในกาลต่อมา พระศาสดาทรง เอาเหตุแห่งการที่พระขทิรวนิยเถระจัดการต้อนรับ ให้เป็นอัตถุปบัติ (เหตุเกิดแห่งเรื่อง) ในการที่ทรงแต่งตั้งพระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ ในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์ ในเรื่องนี้ มีเหตุเกิดขึ้นอย่างนี้

    เหตุเกิดแห่งเรื่องที่ทรงแต่งตั้งพระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์

    ในสมัยหนึ่ง พระขทิรวนิยเรวตเถระ ซึ่งเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ได้หนีการแต่งงานที่บิดามารดาจัดการให้ มาขอบวชในสำนักพระภิกษุ ซึ่งมีภิกษุอยู่ประมาณ ๓๐ รูป เหล่าพระภิกษุสอบถามดู ทราบว่าเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ที่ท่านได้เคยแจ้งไว้ก่อนว่าถ้าน้องชายมาขอบวชก็อนุญาตให้บวชได้ จึงได้ทำการบวชให้แล้วส่งข่าวมายังท่านพระสารีบุตร

    ครั้งนั้น เมื่อพระสารีบุตรทราบข่าวดังนั้น จึงกราบทูลพระศาสดาเพื่อขอไปเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าพระเรวตะเริ่มทำความเพียรเจริญวิปัสสนา จึงทรงห้ามพระสารีบุตรถึง ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ เมื่อพระสารีบุตรทูลอ้อนวอนอีก ทรงทราบว่า พระเรวตะบรรลุพระอรหัตแล้วจึงทรงอนุญาตและตรัสว่าจะทรงไปด้วยพร้อมเหล่าพระสาวกอื่น

    ดังนั้น พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร ก็ได้เสด็จออกไปด้วยพระประสงค์ว่าจะไปเยี่ยมพระเรวตะ ครั้นเดินทางมาถึง ณ ที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหนทาง ๒ แพร่ง

    พระอานนเถระกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตรงนี้มีหนทาง ๒แพร่ง ภิกษุสงฆ์จะไปทางไหน พระเจ้าข้า

    พระศาสดาตรัสถามว่า อานนท์หนทางไหน เป็นหนทางตรง

    พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญหนทางตรงมีระยะประมาณ ๓๐ โยชน์ แต่เป็นหนทางที่มีอมนุษย์ ส่วนหนทางอ้อมมีระยะทาง ๖๐ โยชน์ เป็นหนทางสะดวกปลอดภัย มีภิกษาดีหาง่าย

    พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สีวลีได้มาพร้อมกับพวกเรามิใช่หรือ

    พระอานนท์กราบทูลว่า ใช่ พระสีวลีมาแล้วพระเจ้าข้า

    พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นพระสงฆ์จงไปตามเส้นทางตรงนั้นแหละ เราจักได้ทดลองบุญของพระสีวลี

    พระศาสดามีพระภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จขึ้นสู่เส้นทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อจะทรงทดลองบุญของพระสีวลีเถระ

    จำเดิมแต่ที่ได้เสด็จไปตามหนทาง หมู่เทวดาได้เนรมิตพระนครในที่ทุกๆ โยชน์ ช่วยกันจัดแจงพระวิหารเพื่อเป็นที่ประทับและที่อยู่แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

    พวกเทวบุตร ได้ถือเอาข้าวยาคูและของเคี้ยวเป็นต้น ไปเที่ยวถามอยู่ว่า พระผู้เป็นเจ้าสีวลีไปไหน ดังนี้แล้ว จึงไปหาพระเถระ พระเถระจึงให้นำเอาสักการะและสัมมมานะเหล่านั้นไปถวายพระศาสดา พระศาสดาพร้อมทั้งบริวารเสวยบุญของพระสีวลีเถระผู้เดียว ได้เสด็จไปตลอดทางกันดารประมาณ ๓๐ โยชน์

    ฝ่ายพระเรวตเถระทราบการเสด็จมาของพระศาสดา จึงนิรมิต พระคันธกุฎีเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า นิรมิตเรือนยอด ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐ และที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ๕๐๐ พระศาสดาประทับอยู่ใน สำนักของเรวตะเถระนั้นสิ้นกาลประมาณเดือนหนึ่งแล แม้ประทับอยู่ ในที่นั้น ก็เสวยบุญของพระสีวลีเถระนั่นเอง แม้พระศาสดาทรงพาภิกษุสงฆ์ไป เสวยบุญของพระสีวลีเถระ ตลอดการประมาณเดือนหนึ่งนั่นแลอีก เสด็จเข้าไปสู่บุพพาราม ลำดับ

    ในกาลต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้าแล้ว ทรงสถาปนาพระเถระนั้นไว้ในตำแหน่งอันเลิศว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสีวลีเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีลาภ
     
  2. อรหโตพุทโธ

    อรหโตพุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2015
    โพสต์:
    498
    ค่าพลัง:
    +1,017
    ร่วมเล่นเกมส์

    พระอุบาลีเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย

    พระอุบาลีเถระเดิมเป็นนายช่างภูษามาลาหลวงประจำราชสำนัก ออกบวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 6 พระองค์ ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นผู้ทรงจำพระวินัยอย่างแม่นยำ ทำให้เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ท่านจึงได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้วิสัชชนาพระวินัยปิฎกในคราวปฐมสังคายนาเพื่อรวบรวมพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และด้วยการที่ท่านเป็นผู้ทรงจำวินัยอย่างแม่นยำจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้ทรงพระวินัยทรงเป็นผู้ที่ดี

    ในการสังคายนานั้น มีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย โดย พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบัญญัติพระวินัย และ พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม

    เหล่าพระเถระจึงเริ่มปรึกษาและสมมติตนเป็นผู้ปุจฉาวิสัชนา โดยพระมหากัสสปเถระได้ปรึกษาภิกษุทั้งหลายว่าควรจะสังคายนา พระธรรมหรือพระวินัยก่อน ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า สมควรสังคายนาพระวินัยก่อนด้วยเหตุว่า พระวินัยได้ชื่อว่าเป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยยังตั้งอยู่ พระพุทธศาสนาจัดว่ายังดำรงอยู่

    พระมหากัสสปจึงถามถึงผู้ที่สมควรจะเป็นธุระชี้แจงในเรื่องพระวินัย ภิกษุทั้งหลายเห็นสมควรให้ท่านพระอุบาลีเป็นผู้ชี้แจง ด้วยเหตุผลว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั่นเอง ทรงอาศัยวินัยปริยัติ จึงตั้งท่านพระอุบาลีไว้ในเอตทัคคะเลิศกว่าสาวกของเราผู้ทรงวินัยฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงปรึกษากันว่า พวกเราจะถามพระอุบาลีเถระสังคายนาพระวินัย ดังนี้ ลำดับนั้นพระเถระก็ได้สมมติตนเองเพื่อต้องการถามพระวินัย ฝ่ายพระอุบาลีเถระก็ได้สมมติตนเพื่อประโยชน์แก่การวิสัชนา
     
  3. มนต์ธกาต์

    มนต์ธกาต์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2016
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +25
    ร่วมเล่นเกมส์
    พระสารีบุตรเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา

    ในสมัยนั้นไม่ห่างไกลจากกรุงราชคฤห์มากนัก ที่ตำบลนาลันทา มีหมู่บ้านพราหมณ์
    ๒ หมู่บ้าน ชื่อ อุปติสสคาม และโกลิตคาม
    ในหมู่บ้านอุปติสสคาม มีหัวหน้าหมู่บ้านชื่อว่า วังคันตะ ภารยาชื่อว่า นางสารี มีบุตร
    ชื่อว่า อุปติสสะ แต่เพราะเป็นบุตรของนางสารี จึงนิยมเรียกกันว่า สารีบุตร
    ในหมู่บ้านโกลิตคาม มีภารยาของหัวหน้าหมู่บ้านชื่อว่า นางโมคคัลลี มีบุตรชื่อว่า
    โกลิตะ แต่นิยมเรียกกันว่า โมคคัลลานะ ตามชื่อของมารดา
    ทั้งสองตระกูลนี้ มีความเกี่ยวข้องเป็นสหายกันมานานถึง ๗ ชั่วอายุคนดังนั้น มาณพทั้ง
    สอง จึงเป็นสหายกันดุจบรรพบุรุษ มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เข้าศึกษาศิลปะวิทยาในสำนักของ
    อาจารย์คนเดียวกันเมื่อจบการศึกษาก็เป็นเพื่อเที่ยวร่วมสุขร่วมทุกข์ หาความสนุกความสำราญ
    ดูการเล่นมหรสพตามประสาวัยรุ่น และให้รางวัลแก่ผู้แสดงบ้างตามโอกาสอันควร

    เบื่อโลกจึงออกบวช
    วันหนึ่งสหายทั้งสองพร้อมด้วยบริวาร ไปดูมหรสพด้วยกันเช่นเคย แต่ครั้งนี้มิได้มี
    ความสนุกยินดี เบิกบานใจเหมือนครั้งก่อน ๆ เลย ทั้งสองมีความคิดตรงกันว่า “ทั้งคนแสดง
    และทั้งคนดู ต่างก็มีอายุไม่ถึงร้อยปีก็จะตายกันหมด ไม่เห็นมีประโยชน์อะไรเลยกับการหาความ
    สุขความสำราญแบบนี้ เราควรแสวงหาโมกขธรรม จะประเสริฐกว่า” ทั้งสองเมื่อทราบความรู้
    สึกและความประสงค์ของกันและกันแล้ว จึงตกลงกันนำบริวารฝ่ายละครึ่ง รวมได้ ๕๐๐ คน
    ออกบวช และปรึกษากันว่า “พวกเราควรจะไปบวชในสำนักของใคร และอาจารย์ไหนจึงจะดี”

    สมัยนั้น สญชัยปริพาชก เป็นอาจารย์เจ้าสำนักใหญ่ในเมืองราชคฤห์ มีคนเคารพนับถือ
    และมีศิษย์ มีบริวารมากมาย มาณพทั้งสองจึงพากันเข้าไปขอบวช ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาศิลปะ
    วิทยาในสำนักนี้ สำนักของ สญชัยปริพาชก ตั้งแต่มาณพทั้งสองมาบวชอยู่ด้วยแล้วก็เจริญรุ่ง
    เรืองด้วยลาภสักการะ และคนเคารพนับถือมากขึ้น มาณพทั้งสองศึกษาอยู่ในสำนักนี้ไม่นาน ก็สิ้น
    ความรู้ของอาจารย์ เมื่อถามถึงวิทยาการที่สูงขึ้นไปอีก อาจารย์ก็ไม่สามารถจะสอนให้ได้ จึง
    ปรึกษากันว่า:-
    “การบวชอยู่ในสำนักนี้ไม่มีประโยชน์อะไร ลัทธินี้มิใช่ทางเข้าถึง โมกขธรรม เราควร
    พยายามแสวงหาอาจารย์ ผู้สามารถแสดงโมกขธรรมแก่เราได้” ดังนั้น ทั้งสองจึงทำสัญญาต่อ
    กันว่า “ในระหว่างเราทั้งสอง ถ้าผู้ใดได้อมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่กันให้รู้ด้วย”
    วันหนึ่ง พระอัสสชิ ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ ที่พระพุทธองค์ทรงส่งไป
    ประกาศพระศาสนา ได้จาริกมาถึงกรุงราชคฤห์ และเข้าไปบิณฑบาตในเมือง อุปติสสปริพาชก
    ออกจากอารามมาด้วยกิจธุระภายนอกเห็นท่านแสดงออกซึ่งปฏิปทาอันน่าเลื่อมใส จะก้าวไป
    หรือถอยกลับ จะเหยียดแขนหรือพับแขน จะเหลียวซ้ายแลขวา ดูน่าเลื่อมใสเรียบร้อยไปทุก
    อิริยาบถ ทอดจักษุแต่พอประมาณ มีอาการแปลกจากบรรพชิต ที่เคยเห็นมาแต่กาลก่อน อยาก
    จะทราบว่า ท่านบวชในสำนักของใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน แต่ก็มิอาจถามท่านได้เพราะมิใน
    กาลเวลาอันสมควร จึงเดินตามไปห่าง ๆ
    เมื่อพระเถระได้รับอาหารพอสมควรแล้วจึงออกไปสู่ที่แห่งหนึ่งเพื่อทำภัตตกิจ
    อุปติสสปริพาชก จึงได้จัดปูลาดอาสนะ ถวายน้ำใช้น้ำฉัน และคอยเฝ้าปฏิบัติอยู่ เมื่อเสร็จภัตกิจ
    แล้ว จึงกราบเรียนถามด้วยความเคารพว่า:-
    “ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านก็หมดจดผ่องใส
    ท่านบวชในสำนักของใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน และท่านชอบใจธรรมของใคร?”
    พระเถระตอบว่า “ปริพาชกผู้มีอายุ เราบวชจำเพาะพระมหาสมณะศากยบุตรผู้เสด็จออก
    จากศากยสกุล พระองค์เป็นศาสดาของเรา เราชอบใจธรรมของท่าน”

    “พระศาสดาของท่านสอนว่าอย่างไร?"
    พระเถระคิดว่า “ธรรมดาปริพาชกทั้งหลาย ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อพระศาสนา ควรที่เราจะ
    แสดงความลึกซึ้งคัมภีร์ภาพแห่งพระธรรม” จึงกล่าวว่า:-
    “ผู้มีอายุ เราเป็นผู้บวชใหม่ มาสู่พระธรรมวินัยนี้ไม่นาน ไม่สามารถจะแสดงธรรมแก่
    ท่านโดยพิสดารได้ เราจักกล่าวแก่ท่านแต่โดยย่อพอรู้ความ”
    “ท่านสมณะ ท่านจงกล่าวแต่เนื้อความเถิด ข้าพเจ้าต้องการเฉพาะเนื้อความเท่านั้น”
    พระอัสสชิเถระ ได้ฟังคำของอุปติสสปริพาชกแล้ว จึงกล่าวหัวข้อธรรมมีใจความว่า:-
    เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ? ตถาคโต
    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณฯ
    “ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด (เกิดแต่เหตุ)
    พระตถาคตเจ้า ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
    และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
    พระมหาสมณะ ตรัสอย่างนี้”
    อุปติสสะ เพียงได้ฟังหัวข้อธรรมนี้จากพระเถระเท่านั้นก็สำเร็จเป็นพระโสดาบัน เกิด
    ธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมว่า:-
    “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา” ดังนี้
    แล้วถามว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เวลานี้พระบรมศาสดาของเราประทับอยู่ที่ไหน ขอรับ?"
    “ผู้มีอายุ พระองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร”
    “ถ้าอย่างนั้น นิมนต์พระคุณเจ้าไปก่อนเถิด ข้าพเจ้าจะกลับไปหาสหายก่อน และจะพา
    กันไปเฝ้าพระบรมศาสดาต่อภายหลัง”
    อุปติสสะ กราบลาพระเถระแล้ว ทำประทักษิณ ๓ รอบแล้วรีบกลับไปสู่สำนักปริพาชก
    ส่วน โกลิตะ ผู้เป็นสหาย เห็นอุปติสสะเดินมาแต่ไกลด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ผิวพรรณมีสง่า
    ราศีกว่าวันอื่น ๆ จึงคิดว่า “วันนี้ สหายของเรา คงได้พบอมตธรรมเป็นแน่” เมื่อสหายเข้ามาถึง
    จึงรีบสอบถาม ก็ได้ความตามที่คิดนั้น และเมื่ออุปติสสะแสดงหัวข้อธรรมให้ฟัง ก็ได้ดวงตาเห็น
    ธรรมบรรลุเป็น พระโสดาบันเช่นเดียวกัน สองสหายตกลงที่จะพาบริวารไปเฝ้าพระบรมศาสดา
    จึงเข้าไปหาอาจารย์สญชัยปริพาชกชักชวนให้ร่วมเดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยกัน
    แต่อาจารย์สญชัยปริพาชก ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าถือตนว่าเป็นเจ้าสำนักใหญ่มีคนเคารพนับถือ
    มากมาย ไม่สามารถที่จะลดตัวลงไปเป็นศิษย์ใครได้จึงไม่ยอมไปด้วย ปล่อยให้สองสหายพา
    ศิษย์ของตนไปเฝ้าพระบรมศาสดาแต่พอเห็นศิษย์ในสำนักออกไปคราวเดียวกันมากขนาดนั้น
    เห็นสำนักเกือบจะว่างเปล่า เหลือศิษย์อยู่เพียงไม่กี่คน จึงเกิดความเสียใจอย่างแรง และถึงแก่มร
    ณีกรรมในเวลาต่อมา
    อุปติสสะ และ โกลิตะ พร้อมด้วยบริวารพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระเวฬุวัน
    มหาวิหาร ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัทสี่ ได้ทอดพระเนตร
    เห็นสองสหายพร้อมด้วยบริวาร เดินมาแต่ไกล จึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ปริพาชกสองสหายที่กำลังเดินมานั้น คือ คู่อัครสาวก ของตถาคต”
    เมื่อปริพาชกทั้งสองพร้อมด้วยบริวารมาถึงที่ประทับ กราบถวายบังคมแล้วนั่งในที่อัน
    สมควร ได้สดับพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว บรรดาบริวารทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัตตผล เว้นอุ
    ปติสสะและโกลิตะ ผู้เป็นหัวหน้า ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทแก่พวกเธอทั้ง
    หมดด้วยวิธี “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” และทรงบัญญัตินามให้ท่านอุปติสสะว่า “พระสารีบุตร”
    และให้ท่านโกลิตะว่า “พระโมคคัลลานะ” ตามมงคลนามของมารดา
    พระสารีบุตร หลังจากอุปสมบทแล้วได้ ๑๕ วัน ได้ติดตามพระพุทธองค์ ซึ่งเสด็จไป
    ประทับพักที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ วันหนึ่งขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ถ้ำ
    สุกรขาตา ที่ภูเขาคิชกูฏนั้น ปริพาชกผู้หนึ่งนามว่า ทีฆนขะ ซึ่งเป็นอัคคิเวสนโคตร และเป็น
    หลานชายของพระสารีบุตร เที่ยวติดตามหาลุงจนพบ ได้เข้าเฝ้ากราบทูลถามถึง ทิฏฐิ คือ ความ
    เห็นของตนต่อ พระผู้มีพระภาคเข้าว่า:-
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพระองค์ ๆ ไม่ชอบใจหมดทุกสิ่ง”
    “ดูก่อนปริพาชก ถ้าอย่างนั้น ทิฏฐิ คือความเห็นเช่นนั้น ก็ต้องไม่ควรแก่ปริพาชกด้วย
    และปริพาชก ก็ต้องไม่ชอบ ทิฏฐิ นั้นด้วยเหมือนกัน”
    ลำดับต่อจากนั้น พระพุทธองค์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อวา “เวทนาปริคคหสูตร”
    ทรงแสดงถึงเวทนาทั้ง ๓ คือ:-
    ในเวลาใด เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนา เวลานั้น ย่อมไม่ได้เสวยทุกขเวทนา หรือ
    อทุกขมสุขเวทนา (อุเบกขาเวทนา)
    ในเวลาใด เมื่อบุคคลเสวยทุกขเวทมนา เวลานั้น ย่อมไม่ได้เสวยสุขเวทนา หรือ
    อทุกขมสุขเวทนา
    ในเวลาใด เมื่อบุคคลเสวยอทุกขมสุขเวทนา เวลานั้น ย่อมไม่ได้เสวยสุขเวทนา
    หรือ ทุกขเวทมนา
    ขณะที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรด ทีฆนขะ อยู่นั้น พระสารีบุตร
    ได้นั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องหลังพระศาสดา พัดไปพลาง ฟังไปลาง ส่งจิตพิจารณาไปตามกระแส
    พระธรรมเทศนานั้น จิตก็หลุดพ้นจากอาสวกิเลส ที่บุคคลจัดให้คนอื่น ส่วน ทีฆนขะ ตั้งอยู่ใน
    โสดาปัตติผล แสดงตนเป็นอุบาสก ในพระพุทธศาสนา

    ได้รับยกย่องในทางผู้มีปัญญา
    เมื่อพระสารีบุตร ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด
    สามารถแสดงพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร และอริยสัจ ๔ ได้เหมือนพระพุทธองค์ และเป็นกำลัง
    สำคัญของพระบรมศาสดา ในการประกาศเผยแผ่พระศาสนา ดังนั้น ขณะที่พระพุทธองค์
    ประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์นั้น ได้ทรงประกาศยกย่อง พระสารีบุตร ในท่ามกลางสงฆ์ ทรงแต่ง
    ตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้
    ดำรงตำแหน่ง พระอัครสาวกเบื้องขวา

    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทรงยกย่องพระสารีบุตรเถระ อีกหลายประการกล่าวคือ
    ๑. เป็นผู้มีปัญญาอนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตด้วยกัน เช่น สมัยที่พระบรมศาสดาประทับ
    อยู่ที่เมืองเทวทหะ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลลาไปปัจฉาภูมิชนบททรงรับสั่งให้ไปลาพระสารีบุตร
    ก่อน เพื่อท่านจะได้แนะนำสั่งสอน มิให้เกิดความเสียหายในระหว่างการเดินทางและในสถานที่
    ที่ไปนั้นด้วย
    ๒. ยกย่องท่านเป็น “พระธรรมเสนาบดี” ซึ่งคู่กับ “พระธรรมราชา” คือ พระองค์เอง
    ๓. ยกย่องท่านเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที เป็นเลิศ เช่น ท่านนับถือ พระอัสสชิเป็น
    อาจารย์ เพราะท่านเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาด้วยการฟังธรรมจากพระอัสสชิ ทุกคืนก่อนที่ท่านจะ
    นอน ท่านได้ทราบข่าวว่าพระอัสสชิอยู่ทางทิศใด ท่านจะนมัสการไปทางทิศนั้น ก่อนแล้วจึง
    นอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น
    อีกเรื่องหนึ่ง คือ พราหมณ์ชราชื่อ ราธะ มีศรัทธาจะอุปสมบท แต่ไม่มีภิกษุรูปใดรับ
    เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ พระพุทธองค์ตรัสถามในที่ประชุมสงฆ์ว่า “ผู้ใดระลึกถึงอุปการคุณ
    ของพราหมณ์นี้ได้บ้าง” พระสารีบุตรเถระกราบทูลว่า “ระลึกได้ คือ ครั้งหนึ่งราธพราหมณ์ผู้นี้
    ได้เคยใส่บาตร ด้วยข้าวสุกแก่ท่านหนึ่งทัพพี” พระพุทธองค์จึงทรงมอบให้ท่านสารีบุตร เป็น
    พระอุปัชฌาย์อุปสมบทให้แก่ ราธพราหมณ์

    ถูกภิกษุหนุ่มฟ้อง
    พระเถระนับว่าเป็นผู้มีขันติธรรมความอดทนสูงยิ่ง มีจิตสงบราบเรียบ ไม่หวั่นไหว ด้วย
    อารมณ์ต่าง ๆ ดังเรื่องในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต และในธรรมบทว่า:-
    สมัยหนึ่ง พระเถระ เมื่อออกพรรษาแล้วมีความประสงค์จะเที่ยวจาริกไปยังชนบทต่าง ๆ
    กราบทูลลาพระผู้มีพระภาคแล้ว ออกจากพระเชตวนาราม พร้อมกับภิกษุผู้เป็นบริวารของท่าน
    ขณะนั้น ก็มีภิกษุอีกจำนวนมากออกมาส่งพระเถระ และพระเถระก็ทักทายปราศรัยกับภิกษุเหล่า
    นั้น ด้วยอัธยาศัยไมตรีก่อให้เกิดความปีติยินดีแก่พวกเธอเป็นอย่างยิ่ง แต่มีภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระ
    เถระไม่ทันได้สังเกตเห็นจึงมิได้ทักทายด้วย ก็เกิดความน้อยใจและโกรธพระเถระบังเอิญชายฝ้า
    สังฆาฏิของพระเถระ ไปกระทบภิกษุรูปนั้นเข้า โดยที่พระเถระไม่ทราบ ภิกษุรูปนั้นจึงถือเอา
    เหตุนี้เข้าไปกราบทูลฟ้องต่อพระบรมศาสดาว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสารีบุตรเถระ เดินกระทบข้าพระองค์แล้วไม่กล่าวขอโทษ
    เพราะด้วยสำคัญว่าตนเป็นอัครสาวกของพระพุทธองค์พระเจ้าข้า”
    พระพุทธองค์ แม้จะทรงทราบเป็นอย่างดี แต่เพื่อให้เรื่องนี้ปรากฏแก่ที่ประชุมสงฆ์ จึง
    รับสั่งให้พระเถระเข้าเฝ้าแล้วตรัสถามเรื่องราวโดยตลอด
    เปรียบตนด้วยอุปมา ๙ อย่าง
    พระเถระมิได้กราบทูลปฏิเสธโดยตรงในที่ประชุมสงฆ์นั้น แต่ได้อุปมาเปรียบเทียบตน
    เองเหมือนสิ่งของ ๙ อย่าง คือ:-
    ? เหมือนดิน-น้ำ-ไฟ-ลม ซึ่งถูกของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทิ้งใส่ แต่ก็ไม่รังเกียจ
    ไม่เบื่อหน่าย ไม่หวั่นไหว
    ? เหมือนเด็กจัณฑาล ที่มีความสงบเสงี่ยมเจียมตัวอยู่เสมอเวลาเข้าไปยังสถานที่
    ต่าง ๆ
    ? เหมือนโค ที่ถูกตัดเขา ฝึกหัดมาดีแล้ว ย่อมไม่ทำร้ายใคร ๆ
    ? เหมือนผ้าขี้ริ้ว สำหรับเช็ดฝุ่นละอองของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง
    ? เบื่อหน่ายอึดอัดกายของตน เหมือนซากงู (ลอกคราบ)
    ? บริหารกายของตน เหมือนคนแบกหม้อน้ำมันที่รั่วทะลุ จึงมีน้ำมันไหลออกอยู่
    เมื่อพระเถระ กราบทูลอุปมาตนเองเหมือนเด็กจัณฑาล เหมือนผ้าชี้ริ้ว เป็นต้น ภิกษุ
    ปุถุชนถึงกับตื้นตัน ไม่อาจอดกลั้นน้ำตาได้ พระขีณาสพก็เกิดธรรมสังเวช ส่วนภิกษุผู้กล่าวฟ้อง
    ก็เกิดความเร่าร้อนขึ้นในกาย หมอบกราบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แล้วกล่าวขอขมาโทษ
    ต่อพระเถระ

    พระเถระถูกพราหมณ์ตี
    พระเถระผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติคุณธรรมต่าง ๆ ชื่อเสียงฟุ้งขจรไปทั่วชมพูทวีป หมู่
    มนุษย์ทั้งหลายพากันยกย่องสรรเสริญในจริยาวัตรของท่าน คุณธรรมอันเป็นเลิศอีกประการหนึ่ง
    ของพระเถระก็คือ ความไม่โกรธ ไม่มีใครจะสามารถทำให้ท่านโกรธได้ แม้ท่านจะถูกพวก
    มิจฉาทิฏฐิตำหนิ ด่าหรือตีท่านก็ไม่เคยโกรธ ได้มีพราหมณ์คนหนึ่งต้องการจะทดลองคุณธรรม
    ของท่านว่าจะสมจริงดังคำร่ำลือหรือไม่
    วันหนึ่ง พระเถระ กำลังเดินบิณฑบาตในหมู่บ้าน พราหมณ์นั้นได้โอกาสจึงเดินตามไป
    ข้างหลังแล้วใช้ฝ่ามือตีเต็มแรงที่กลางหลังพระเถระ
    พระเถระ ยังคงเดินไปตามปกติ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่แสดงอาการแม้สักว่าเหลียว
    กลับมามองดู
    ขณะนั้น ความเร่าร้อนเกิดขึ้นทั่วสรีระของพราหมณ์นั้น เขาตกใจมากรีบหมอบกราบลง
    แทบเท้าของพระเถระ พร้อมกับกล่าววิงวอนให้พระเถระ ยกโทษให้ พระเถระจึงถามว่า:-
    “ดูก่อนพราหมณ์ นี่อะไรกัน ?"
    “ข้าแต่พระคุณเจ้า กระผมตีท่านที่ข้างหลังเมื่อสักคู่นี้ ขอรับ”
    “ดูก่อนพราหมณ์ เอาล่ะ ช่างเถิด เรายกโทษให้”
    “ข้าแต่พระคุณเจ้า ถ้าท่านยกโทษให้กระผมจริง ก็ขอให้ท่านเข้าไปฉันภัตตาหารใน
    บ้านของกระผมด้วยเถิด”
    พระเถระ ส่งบาตรให้พราหมณ์นั้นแล้วเดินตามเข้าไปฉันภัตตาหารในบ้านของพราหมณ์
    ตามคำอาราธนา
    คนทั้งหลายเห็นพราหมณ์ตีพระเถระแล้ว ก็รู้สึกโกรธ จึงพากันมายืนรอโอกาสเพื่อจะทำ
    ร้ายพราหมณ์นั้น พระเถระเมื่อเสร็จภัตกิจแล้วส่งบาตรให้พราหมณ์ถือเดินตามออกมา คนทั้ง
    หลายเห็นพราหมณ์นั้นถือบาตรเดินตามพระเถระออกมาก็ไม่กล้าทำอะไร ได้แต่พากันพูดว่า
    “พระเถระถูกพราหมณ์ตีแล้วยังเข้าไปฉันภัตตาหารในบ้านของเขาอีก” พระเถระเห็นหมู่คนมี
    ท่อนไม้ในมือยืนรอกันอยู่จึงถามว่า:-
    “ดูก่อนท่านทั้งหลาย นี่เรื่องอะไรกัน ?”
    “ข้าแต่พระคุณเจ้า พราหมณ์ผู้นี้ตีท่าน ดังนั้น พวกเราจะทำร้ายเขาเพื่อเป็นการทำโทษ
    เขา ขอรับ”
    “ก็พราหมณ์ผู้นี้ ตีพวกท่านหรือตีอาตมาเล่า ?”
    “ตีพระคุณเจ้า ขอรับ”
    “เมื่อเขาตีอาตมา และอาตมาก็ยกโทษให้เขาแล้ว ดังนั้น โทษคือความผิดของเขาตึงไม่มี
    พวกท่านจะทำโทษเขาด้วยเรื่องอะไร ?”
    พวกคนเหล่านั้น ฟังคำของพระเถระแล้ว ไม่มีคำพูดอะไรที่จะนำมาโต้แย้งได้ จึงพากัน
    หลีกไป

    พระเถระถูกนันทกยักษ์ทุบ
    สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ส่วนพระ
    ธรรมเสนาบดีสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานเถระ อัครสาวกทั้งสองได้ปลีกตัวจาริกไปอยู่ ณ
    กโปตกันทราวิหาร (วิหารที่สร้างใกล้ซอกเขาซึ่งเป็นที่อยู่ของนกพิราบ)
    ในดิถีคืนเดือนเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง พระสารีบุตรเถระซึ่งปลงผมใหม่ ๆ นั่งเข้าสมาธิ
    อยู่ในที่กลางแจ้ง ขณะนั้นมียักษ์ ๒ ตน ผ่านมาทางนั้น ยักษ์อีกตนหนึ่ง เป็นสัมมาทิฏฐิ เคารพ
    เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ยักษ์นันทกะ เห็นพระเถระแล้วนึกอยากจะตีที่ศีรษะของท่านจึงบอก
    ความประสงค์ของตนกับสหาย แม้ยักษ์ผู้เป็นสหายจะกล่าวห้ามปรามถึง ๓ ครั้งว่า:-
    “อย่าเลยสหาย อย่าทำร้ายสมณศากยบุตรพุทธสาวกเลย สมณะรูปนี้มีคุณธรรมสูงยิ่งนัก
    มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
    ยักษ์นันทกะ ไม่เชื่อคำห้ามปรามของสหาย ใช้ไม้กระบองตีพระเถระ ศีรษะอย่างเต็ม
    แรง ซึ่งความแรงนั้นสามารถทำให้ช้างสูง ๘ ศอก จมดินได้ หรือสามารถทำลายยอดภูเขาขนาด
    ใหญ่ให้ทลายลงได้ และในทันใดนั้นเอง เจ้ายักษ์มิจฉาทิฏฐิ ตนนั้นก็ร้องลั่นว่า “โอ๊ย ! ร้อนเหลือ
    เกิน” พอสิ้นเสียงร่างของมันก็จมลงในแผ่นดิน เข้าไปสู่ประตูมหานรกอเวจี ณ ที่นั้นเอง
    เหตุการณ์ครั้งนี้ พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้เห็นโดยตลอด ด้วยทิพยจักษุ รุ่งเช้าจึง
    เข้าไปหาพระสารีบุตรแล้วถามว่า:-
    “ท่านสารีบุตร ยังสบายดีอยู่หรือ ที่ยักษ์ตีท่านนั้น อาการเป็นอย่างไรบ้าง ?”
    “ท่านโมคคัลลานะ ผมสบายดี แต่รู้สึกเจ็บที่ศีรษะนิดหน่อย”
    พระมหาโมคคัลลานะ ได้ฟังแล้วก็กล่าวว่า “น่าอัศจรรย์จริง ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย
    ท่านสารีบุตรนี่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากจริง ๆ ถูกยักษ์ตีรุนแรงขนาดนี้ ยังบอกว่าเพียงแต่เจ็บที่
    ศีรษะนิดหน่อย”
    ส่วนพระสารีบุตร ก็กล่าวชมพระมหาโมคคัลลานะว่า “ช่างน่าอัศจรรย์ เช่นกัน ท่าน
    โมคคัลลานะ ท่านก็มีฤทธานุภาพมากหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ท่านเห็นแม้กระทั่งยักษ์ ส่วนผมเอง
    แม้แต่ปีศาจคลุกฝุ่นสักตน ก็ยังไม่เคยเห็นเลย”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงสดับเสียงการสนทนาของพระเถระทั้งสอง ด้วยพระโสต
    ทิพย์ จึงทรงเปล่งพุทธอุทานนี้ว่า:-
    “ผู้ใดมีจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดุจภูเขา
    ไม่กำหนัดในอารมณ์อันชวนให้กำหนัด
    ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันชวนให้ขัดเคือง
    ผู้อบรมจิตได้อย่างนี้ ความทุกข์จะมีได้อย่างไร”
    เป็นต้นแบบการทำสังคายนา
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองปาวา ของเจ้ามัลละทั้งหลาย พระพุทธ
    องค์รับสั่งให้พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่หมู่ภิกษุสงฆ์ที่มากระชุมกัน พระเถระเห็นเป็นโอกาส
    อันเหมาะสม จึงยกเรื่องที่เพิ่มเกิดขึ้นแก่พวกนิครนถ์ ซึ่งทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องความเห็นไม่
    ลงรอยกันเกี่ยวกับคำสอนของอาจารย์ผู้ล่วงลับไปแล้ว ขึ้นมาเป็นมูลเหตุ แล้วกล่าวแก่พระสงฆ์
    ในสมาคมนั้นว่า
    “ดูก่อนท่านทั้งหลาย บรรดาธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ท่านทั้งหลายถึงร้อย
    กรองให้เป็นหมวดหมู่ ไม่ควรทะเลอะวิวาทกันด้วยธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์อยู่ยั่งยืนตลอด
    กาลนาน อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มาก เป็นการอนุเคราะห์แก่สัตว์โลก”
    แล้วพระเถระ ก็จำแนกหัวข้อธรรมออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้ ๑๐ หมวด สะดวกแก่การ
    จดจำและสาธยาย และจัดเป็นหมวดย่อย ๆ อีกเพื่อมิให้สับสนแก่พุทธบริษัทในการที่จะนำไป
    ปฏิบัติ นับว่าพระเถระ เป็นผู้มองการณ์ไกล ป้องกันความสับสนแตกแยกของพุทธบริษัทในภาย
    หลัง และการกระทำของพระเถระ ในครั้งนี้ ได้เป็นแบบอย่างของการทำสังคายนาหลังพุทธ
    ปรินิพพานสืบต่อมา

    พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนิพพาน
    ในปัจฉิมโพธิกาล ขณะที่พระบรมศาสดาประทับ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี
    พระสารีบุตรถวายวัตปฏิบัติแด่พระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลลาไปสู่ที่พักของตนนั่งสมาธิเข้า
    สมาบัติ เมื่อออกจากสมาบัติแล้วพิจารณาตรึกตรองว่า “ธรรมดาประเพณีแต่โบราณมา พระบรม
    ศาสดาทรงนิพพานก่อน หรือพระอัครสาวกนิพพานก่อน” ก็ทราบแน่ชัดในใจว่า “พระอัครวาวก
    นิพพานก่อน”
    จากนั้นได้พิจารณาอายุสังขารของตนเองก็ทราบว่า “จะมีอายุดำรงอยู่ได้ อีก ๗ วัน เท่า
    นั้น” จึงพิจารณาต่อไปว่า “เราควรจะไปนิพพานที่ไหนดีหนอ และพระเถระ ก็นึกถึงพระราหุล
    ว่า พระราหุล ไปนิพพานที่ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่ดาวดึงส์เทวโลก
    พระอัญญาโกณฑัญญะ ไปนิพพานที่สระฉัททันต์ ป่าหิมพานต์” ลำดับนั้น พระเถระได้ปรารภ
    ถึงมาดาของตนว่า:-
    “มารดาของเรานี้ ได้เป็นมารดาของพระอรหันต์ถึง ๗ องค์ ถึงกระนั้นก็ยังไม่เลื่อมใสใน
    พระรัตนตรัย แล้วอุปนิสัยมรรคผลจะพึงมีแก่มารดาของเราบ้างหรือไม่หนอ”
    ครั้นพระเถระพิจารณาไปก็ได้ทราบว่า “มารดานั้นมีอุปนิสัยแห่งพระโสดาบัน” จึงตก
    ลงใจที่จะไปนิพพานที่บ้านของตน เพื่อโปรดมารดาเป็นวาระสุดท้าย
    เมื่อคิดดังนี้แล้ว พระเถระได้สั่งให้พระจุนทะ ผู้เป็นน้องชาย ให้ไปแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย
    ผู้เป็นศิษย์ว่า “จะไปเยี่ยมมารดาที่นาลันทา ขอให้ภิกษุทั้งหลายเตรียมบริขารให้พร้อม เพื่อเดิน
    ทางไปด้วยกัน” จากนั้นพระเถระ ก็ทำความสะอาดปัดกวาดกุฏิที่พักอาศัยของตน แล้วออกมายืน
    ดูข้างนอก พลางกล่าวว่า “การได้เห็นที่พักอาศัยครั้งนี้เป็นปัจฉิมทัศนา โอกาสที่จะได้กลับมา
    เห็นอีกนั้นไม่มีอีกแล้ว” เมื่อพระสงฆ์มาพร้อมกันแล้ว พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ก็พาพระ
    สงฆ์เหล่านั้นไปเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลลาว่า:-
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้ ชีวิตของข้าพระองค์เหลืออีก ๗ วัน เท่านั้น ข้าพระองค์ขอ
    ถวายบังคมลาปรินิพพาน ขอพระองค์ทรงพระกรุณาอนุญาตให้ข้าพระองค์สละอายุสังขารใน
    ครั้งนี้ด้วยเถิด พระเจ้าข้า”
    “สารีบุตร เธอจะไปนิพพานที่ไหน ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์จะไปนิพพาน ณ ห้องที่ข้าพระองค์เกิดในเมืองของ
    มารดา พระเจ้าข้า”
    “สารีบุตร เธอจงกำหนดการนั้นโดยควรเถิด สารีบุตร บรรดาภิกษุน้อย ๆ ของเธอ จะ
    ได้เห็นพี่ชายดุจเธอนั้นได้ยากยิ่ง เธอจงแสดงธรรมอันเป็นที่ต้องแห่งความระลึกแก่ภิกษุน้อง ๆ
    ของเธอเหล่านั้นเถิด”
    พระเถระเมื่อได้รับพุทธประทานโอกาสเช่นนั้น จึงแสดงปาฏิหาริย์ เหาะขึ้นไปบน
    อากาศสูง ๑ ชั่วลำตาล จนถึง ๗ ชั่วลำตาลโดยลำดับ แล้วกลับลงมาถวายบังคมพระบรมศาสดา
    ในแต่ละครั้ง จากนั้นจึงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ ท่ามกลางอากาศแล้วลงมาถวายบังคมลา
    พระผู้มีพระภาค คลานถอยออกจากพระคันธกุฎี
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จลุกออกมาส่งพระเถระ ถึงหน้า
    พระคันธกุฎี พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กระทำประทักษิณเวียน ๓ รอบ ประคองอัญชลี
    นมัสการทั้ง ๔ ทิศ พลางกราบทูลลาว่า:-
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในที่สุดอสงไขยแสนกัปล่วงมาแล้ว ข้าพระองค์ได้หมอบลง
    แทบพระบาทแห่งอโนมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตั้งปณิธานปรารถนาพบพระองค์ และแล้ว
    มโนรถของข้าพระพุทธเจ้า ก็สำเร็จสมประสงค์ ตั้งแต่ได้เห็นพระองค์เป็นปฐมทัศนา บัดนี้ การ
    ได้เห็นพระองค์ ผู้เป็นนาถะของข้าพระพุทธเจ้าเป็นปัจฉิมทัศนา โอกาสที่จะได้เห็นพระองค์ ไม่
    มีอีกแล้ว”
    พระเถระ กราบทูลเพียงเท่านี้แล้ว ถวายบังคมออกไปได้ระยะพอสมควรก้มกราบ
    นมัสการลงที่พื้นพสุธา บ่ายหน้าออกจากพระเชตะวันมหาวิหารพร้อมด้วยภิกษุผู้เป็นบริวาร
    ๕๐๐ องค์ ท่านพระเถระเดินทาง ๗ วัน ก็ถึงบ้านนาลันทา หยุดพักภายใต้ร่มไม้ใกล้หมู่บ้านนั้น
    และในเย็นวันนั้น อุปเรวัตตกุมาร ผู้เป็นหลานชายของท่าน ออกมานอกบ้านพบท่านแล้วจึงเข้า
    ไปนมัสการ พระเถระสั่งหลานชายให้ไปแจ้งแก่โยมมารดาให้ทราบว่า “ขณะนี้ท่านมาพักอยู่
    นอกบ้าน ให้จัดห้องที่ท่านเกิดไว้ให้ท่านด้วย”
    ฝ่ายนางพราหมณี มารดาของพระเถระได้ทราบข่าวก็ดีใจคิดว่า “ลูกชายบวชตั้งแต่หนุ่ม
    คงจะเบื่อหน่ายแล้วมาสึกเอาตอนแก่” จึงสั่งให้คนรีบจัดห้องให้พระลูกชายพัก และสถานที่
    สำหรับพระสงฆ์ที่ติดตามมาด้วยเหล่านั้น เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงให้อุปเรวัตตกุมารไปนิมนต์
    พระเถระพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เข้ามาในบ้าน

    เทศน์โปรดโยมแม่แล้วนิพพาน
    ในราตรีนั้น พระเถระเกิดอาพาธอย่างแรงกล้า ถึงกับอาเจียนและถ่ายออกมาเป็นโลหิต
    แต่ก็อดกลั้นด้วยขันติธรรม ได้แสดงธรรมโปรดมารดาพรรณา พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ
    และพระสังฆคุณ ยังมารดาให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
    ได้ชื่อว่ากระทำปฏิการะสนองคุณมารดาดังที่ตั้งใจมา ปิดประตูนรก เปิดประตูสวรรค์ ให้แก่
    มารดาได้สำเร็จ
    ลำดับนั้น พระเถระบอกให้โยมมารดาออกไปข้างนอกแล้วถามพระจุนทะน้องชายว่า
    “ขณะนี้เวลาล่วงราตรีสู่ยามที่เท่าไร ?” พระจุนทะน้องชายตอบว่า “ใกล้รุ่งสว่างแล้ว” จึงสั่งให้
    ไปบอกแก่ภิกษุทั้งหลายให้มาประชุมพร้อมกัน เมื่อทุกท่านมาพร้อมแล้ว ขอให้พระจุนทะช่วย
    พยุงกายลุกขึ้นนั่งแล้วกล่าวว่า:-
    “ดูก่อนอาวุโส ท่านทั้งหลายติดตามข้าพเจ้ามาเป็นเวลา ๔๔ พรรษา แล้ว กายกรรม
    และวจีกรรมอันใดของเรา ที่ท่านทั้งหลายมิชอบใจหากจะพึงมีขอท่านทั้งหลาย จงงดอดโทษ
    กรรมอันนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
    ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นศิษย์ ตอบพระเถระว่า:-
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ติดตามท่านดุจเงาตามตัว มาตลอดกาลประมาณ
    เท่านี้ กรรมอันใดของท่านที่มิชอบใจแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายนั้นไม่มีเลย แต่หากว่าข้าพเจ้าทั้งหลาย
    มีความประมาทพลาดพลั้ง ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอท่านจงงดอดโทษานุโทษนั้น
    แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด”
    เมื่อแสงเงินแสงทอง อันเป็นสัญญาณแห่งรุ่งอรุณปรากฏขึ้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร
    ก็ดับขันธปรินิพพาน ในวันปุรณมีขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๑๒
    ครั้นเมื่อสว่างดีแล้ว พระจุนทะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์และหมู่ญาติ ประกอบพิธีคารวะศพ
    พระเถระแล้วนำไปสู่เชิงตะกอนทำพิธีฌาปนกิจ เมื่อเพลิงดับแล้วพระจุนทะได้นำอัฐิธาตุ และ
    บริขารคือบาตรและจีวรของพระสารีบุตร ไปถวายแด่พระพุทธองค์ ซึ่งก็รับสั่งให้สร้างเจดีย์
    บรรจุอัฐิพระเถระที่ซุ้มประตู แห่งพระเชตะวันมหาวิหารนั้น
     
  4. hinojanlan

    hinojanlan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2013
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +27
    ร่วมเล่นเกม

    ประวัติพระอชิตะ

    อดีตชาติของพระศรีอาริยะเมตไตรยโพธิสัตว์ในสมัยพุทธกาล

    ซึ่งมาบวชในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เพื่อรับพุทธพยากรณ์





    "พระอชิตะ" คือ พระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรู ประสูติแต่พระนางกาญจนาเทวี ซึ่งเป็นพระมารดา เป็นผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้พาบริวาร ๑,๐๐๐ คน ออกบวชเป็นภิกษุ คราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์ครั้งที่สอง

    พระอชิตะเมื่อบวชใหม่ ๆ ได้เป็นผู้รับยุคลพัสตร์ (ผ้า ๒ ผืน)ของ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ซึ่งมีความพิสดารอย่างย่อว่าพระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงเสียพระทัย ที่ตั้งใจจะถวายให้แด่พระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงรับเพราะเพื่ออนุเคราะห์แก่สงฆ์ในอนาคต เพื่อให้ชนทั้งหลายซึ่งเกิดภายหลังให้เกิดจิตคิดการกระทำเคารพสงฆ์ให้จงมาก และทรงอนุเคราะห์แก่พระนางเองเพราะทานที่ให้แด่สงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขย่อมมีพลานิสงส์มากกว่า

    พระนางมหาปชาบดีโคตมีไม่ทรงทราบดำริของพระพุทธองค์จึงเข้าไปหาพระอานนท์ ให้พระอานนท์ทูลถามว่า สาเหตุใดจึงไม่ทรงรับยุคลพัสตร์(ผ้า ๒ ผืน) นั้น กาลต่อมา พระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีสาเหตุใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่รับทรงรับยุคลพัสตร์(ผ้า ๒ ผืน) นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงปาฏิบุคลิกทักษิณาทานโดยพิสดาร แล้วตรัสเทศนาทักษิณาวิภังคสูตร จำแนกประเภทแห่งปาฏิบุคลิกทาน แลสังฆทาน โดยพิสดาร แก่พระอานนท์.เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีได้ทรงทราบในเทศนาทักษิณาวิภังคสูตรในภายหลังแล้ว จึงทรงถือซึ่งภูษาทั้งคู่เข้าไปหาพระสารีบุตรท่านก็ไม่ได้รับ เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะท่านก็ไม่ได้รับ แม้ในที่สุดแห่งพระอสีติมหาสาวกก็ไม่พระรูปใดรับไว้เลย จนกระทั่งองค์สุดท้ายซึ่งเป็นพระนวกะชื่อพระอชิตะท่านจึงรับไว้. ในเวลานั้นพระนางปชาบดีโคตมีก็ทรงน้อยพระทัยว่า พระนางตั้งใจในการทำผ้าทั้งคู่นี้ด้วยว่า จะถวายแด่พระผู้มีพระภาคแต่ก็ไม่ทรงรับ แม้นพระอสีติมหาสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็ไม่ทรงรับแต่มาบัดนี้ พระภิกษุหนุ่มซึ่งเป็นพระนวกะมารับซึ่งผ้าของพระนางพระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระนางเสียพระทัย จึงทรงพระดำริว่า จะทำให้พระนางบังเกิดโสมนัสในวัตถุทานนี้ จึงมีพระพุทธดำรัสเรียกพระอานนท์ว่า ท่านจงไปนำบาตรของตถาคตมา แล้วทรงพุทธาธิษฐานว่าพระอัครสาวกและสาวกทั้งปวงอย่าได้ถือบาตรนี้ได้เลย ให้พระอชิตภิกษุหนุ่มนี้จงถือซึ่งบาตรของตถาคตได้ แล้วทรงโยนบาตรนั้นขึ้นไปบนอากาศ แลบาตรนั้นก็ลอยขึ้นไปในกลีบเมฆอันตธานไปมิได้ปรากฏ ในลำดับ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระอสีติสาวกทั้งหลาย ก็อาสานำบาตรนั้นกลับคืนมา แต่ก็หาไม่พบ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสั่งพระอชิตภิกษุว่า ท่านจงไปนำบาตรของตถาคตมา


    ในลำดับนั้น พระอชิตะได้มีดำริว่า ควรจะเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก พระอสีติมหาสาวกนี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์มีฤทธาอานุภาพมาก แต่มิอาจนำบาตรมาถวายแด่พระพุทธองค์ได้ แลอาตมะนี้ไซร้มีจิตอันกิเลสครอบงำอยู่ แลเหตุไฉนพระบรมครูจึงตรัสสั่งอาตมาให้แสวงหาซึ่งบาตรนั้น จะต้องมีเหตุอันใดอันหนึ่งเป็นมั่นคง จึงรับอาสาที่จะนำบาตรนั้นคืนมาพระอชิตะได้ไปยืนในที่สุดบริษัท มองขึ้นไปบนอากาศแล้วกระทำสัตยาธิษฐานว่า


    “อาตมาบรรพชาในพระพุทธศาสนา ไม่ได้หวังซึ่งลาภยศทั้งหลาย แต่อาตมาบวชประพฤติพรหมจรรย์เพื่อประโยชน์ที่จะตรัสรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง อันอาจสามารถรื้อสัตวโลกให้พ้นจากสงสารทั้งสิ้น หากว่าศีลของอาตมามิขาดทำลายและด่างพร้อยบริสุทธิ์อยู่เป็นอันดี ขอให้บาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าจงมาสถิตในมือของอาตมาด้วยเทอญ”



    พระอชิตะทรงตั้งสัตยาธิษฐานแล้ว จึงเหยียดมือออกไปขณะนั้น บาตรก็ปรากฏตกลงจากอากาศ ประดิษฐานอยู่ที่มือของพระอชิตะ พระอัครมหาสาวกและพระอสีติมหาสาวก ได้มีดำริว่า
    บาตรนี้ควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ควรแก่มหาสาวกทั้งหลายแลภิกษุรูปนี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลเป็นแน่. พระนางประชาบดีโคตมีได้ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็มีความปิติโสมนัสเป็นกำลังด้วยวัตถุทานที่ถวายให้แก่พระอชิตะแล้วกราบทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จคืนพระราชนิเวศน์สถานเมื่อพระอชิตะได้รับผ้าคู่นั้นมาแล้ว เห็นว่า ไม่ควรแก่ท่านจึงนำผ้าผืนหนึ่งไปปูบนเพดานบนพระคันธกุฎี แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า อีกผืนหนึ่งแบ่งเป็น ๔ ท่อน ผูกเป็นม่านห้อยลงในที่สี่มุมแห่งเพดานนั้น แล้วอธิษฐานว่า ขอให้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต.พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า ท่านอชิตภิกษุรูปนี้เป็นพระโพธิสัตว์ จะได้ตรัสรู้เป็นพระเมตไตรยพุทธเจ้าในอนาคต(๑) ในอนาคตวงศ์(๒) เล่าว่า ในภัททกัลปนี้ ชาติสุดท้ายคือชาติที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น พระเมตไตรยพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ทรงผนวชก็ทรงพระนามว่า

    “อชิตะ”
     
  5. po_ood

    po_ood เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +1,035
    พระมหาโมคคัลลานะ

    พระมหาโมคคัลลานเถระ เป็นพระภิกษุอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์มาก คู่กับพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา

    ประวัติ
    พระมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้านในหมู่บ้านโกลิตคาม ได้ชื่อว่า “โกลิตะ” ตามชื่อของหมู่บ้าน มารดาชื่อ โมคคัลลี คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า “โมคคัลลานะ” ตามชื่อของมารดา ท่านเป็นสหายที่รักกันมากับอุปติสสมาณพ (พระสารีบุตร) เที่ยวแสวงหาความสุขความสำราญ ตามประสาวัยรุ่น และพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย นอกจากนี้ยังมีอุปนิสัยใจคอเหมือนกัน และยังได้ออกบวชพร้อมกัน

    สาเหตุที่ได้เป็นเอตทัคคะ
    เมื่อนับถอยหลังไปด้วยระยะเวลาได้หนึ่งอสงไขยกัปและอีกหนึ่งแสนกัปจากภัทรกัปนี้ พระมหาโมคคัลลานะเถระบังเกิดเป็น สิริวัฑฒกุฏมพี อยู่ในตระกูลคฤหบดีมหาศาล และได้เป็นสหายกับ สรทมาณพ (พระสารีบุตรเถระ) ในอดีตชาติ สรทมาณพนั้นคิดจะออกบรรพชาแสวงหาโมกขธรรมจึงไปชวน สิริวัฑฒกุฎุมพี ๆ ปฏิเสธว่าไม่สามารถออกบรรพชาได้ แล้วสรทมาณพออกไปบรรพชาเป็นดาบสพร้อมด้วยบริวารเป็นจำนวนมาก ได้สำเร็จอภิญญา 5 และสมาบัติ 8 ประการ ต่อมาได้กระทำอธิสักการบูชาแด่พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า และตั้งความปรารถนาไว้ในที่เฉพาะพระพักต์เพื่อเป็นอัครสาวกเมื่อได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว พลันหวนนึกถึงสิริวัฑฒกุฎมพีผู้เป็นสหายขึ้นได้ จึงรีบไปที่บ้านของสิริวัฒกุฎมพีแต่ผู้เดียว และได้ชี้แจงให้ผู้เป็นสหายทราบและให้ปรารถนาตำแหน่งทุติยสาวก (สาวกเบื้องซ้าย) ในศาสนาของพระพุทธโคดม เช่นเดียวกับตน
    สิริวัฒกุฎมพี ได้ฟังดังนั้น จึงให้สรทดาบสไปนิมนต์พระพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า มาที่บ้านและทำการถวายมหาทานและเครื่องมหาสักการบูชามากมายตลอดเจ็ดวัน แล้วก็ประนมมือกราบทูลแทบพระบาทพระะอโนมทัสสีพุทธเจ้า ว่า สรทดาบสผู้เป็นสหายของข้าพระองค์ปรารถนาเป็นอัครสาวกของพระบรมศาสดาพระองค์ใด ข้าพระองค์ขอได้เป็นทุติยะสาวกของศาสดาพระองค์นั้นด้วยเถิดพระเจ้าข้าพระอโนมทัสสีพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาดูอนาคตกาลแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของสิริวัฒกุฏมพีจะสำเร็จสมมโนรถ จึงทรงพยากรณ์ว่า เมื่อเวลาล่วงเลยไปหนึ่งอสงไขยกับอีกหนึ่งแสนกัป นับจากกัปนี้ไป เธอจะได้เป็นทุติยสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า
    สิริวัฒกุฎพีรับฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว มีใจร่าเริงยินดีเป็นที่สุด ราวกับว่าความปรารถนานั้นจะสำเร็จในวันพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ฉะนั้น ฝ่ายพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จกลับพระวิหาร พร้อมด้วยพระภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่วันนั้นมาสิริวัฒกุฎมพีได้กระทำกัลยาณกรรมอยู่เป็นประจำตลอดชีวิต ครั้นเขาสิ้นชีวิตแล้วขึ้นไปเกิดในกามาวจรเทวโลก ในวาระแห่งจิตที่ 2 และกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกในชาติต่อมา และในสมัยพระโคดมพระพุทธเจ้านี้ เกิดมาเป็นโกลิตมาณพ เพื่อนของอุปปติสสมาณพ
    เมื่ออุปติสสมาณพได้ไปพบพระอัสสชิในกรุงราชคฤห์ ได้ฟัง "พระคาถาเย ธัมมา" จากพระอัสสชิ ทำให้ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ บรรลุโสดาบัน อุปติสสมาณพได้นำคำสอนของพระอัสสชิไปแจ้งให้โกลิตมาณพทราบ โกลิตมาณพก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นดียวกัน ทั้งสองมาณพได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวนาราม และได้ทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ได้ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุ โกลิตมาณพซึ่งอุปสมบทเป็นพระมหาโมคคัลลานะ บำเพ็ญความเพียรได้ 7 วัน ก็สำเร็จพระอรหันต์ ส่วนอุปติสสมาณพซึ่งอุปสมบทเป็นพระสารีบุตรอุปสมบทได้ 15 วัน จึงสำเร็จพระอรหันต์
    ในวันที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนมาฆะ ในคืนวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทปาติโมกข์แก่จาตุรงคสันนิบาต จากนั้น พระพุทธเจ้าทรงประกาศแต่งตั้งพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา เลิศกว่าผู้อื่นในทางปัญญา พระมหาโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย (ทุติยสาวก) เลิศกว่าผู้อื่นในทางฤทธิ์

    บั้นปลายชีวิต
    พระมหาโมคคัลลานเถระถูกโจรทุบ
    วันเวลาผ่านไปตามลำดับ เข้าสู่ปัจฉิมโพธิกาล ขณะที่ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระพักอยู่ที่กาฬศิลา ในมคธชนบทนั้นพวกเดียรถีย์ ทั้งหลาย มีความโกรธแค้นพระมหาโมคคัลลานเถระ เป็นอย่างมาก เพราะความที่ท่านมีฤทธานุภาพมาก สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ ไปเยี่ยมชมสวรรค์และนรกได้ แล้วนำข่าวสารมาบอกแก่ญาติมิตรของผู้ไปเกิดในสวรรค์และนรกให้ได้ทราบประชาชนทั้งหลายจึงพากันเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทำให้พวกเดียรถีย์ ต้องเสื่อมคลายความเคารพนับถือจากประชาชน ลาภสักการะก็เสื่อมลง ความเป็นอยู่ก็ลำบากฝืดเคือง จึงปรึกษากันแล้วมีความเห็นอันเดียวกันว่า “ต้องกำจัดพระมหาโมคคัลลานะ เพื่อตัดปัญหา” ตกลงกันแล้ว ก็เรี่ยไรเงินทุนจากบรรดาศิษย์ และอุปัฏฐากของตนเมื่อได้เงินมาพอแก่ความต้องการแล้ว ได้ติดต่อจ้างโจรให้ฆ่าพระเถระ
    พวกโจรใจบาป ได้รับเงินสินบนแล้วพากันไปล้อมจับพระเถระถึงที่พัก แต่พระเถระรู้ตัวและหลบหนีไปได้ถึง 2 ครั้งในครั้งที่ 3 พระเถระได้พิจารณาเห็นกรรมเก่า ที่ตนเคยทำไว้ในอดีตชาติติดตามมา และเห็นว่ากรรมเก่านั้นทำอย่างไรก็หนีไม่พ้น จึงยอมให้พวกโจรจับอย่างง่ายดาย และถูกพวกโจรทุบตีจนกระดูกแตกแหลกเหลวไม่มีชิ้นดี พวกโจรแน่ใจว่าท่านตายแล้ว จึงนำร่างของท่านไปทิ้งในป่าแห่งหนึ่ง แล้วพากันหลบหนีไป

    บุพกรรมของพระมหาโมคคัลลานเถระ
    ในอดีตชาติ พระมหาโมคคัลลานเถระ เกิดเป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่ ต่อมาเมื่อเจริญเติบโตขึ้นพ่อแม่ทั้งสองประสบเคราะห์กรรมตาบอดด้วยกันทั้งสองคนเป็นภาระที่ลูกชายคนเดียวต้องปรนนิบัติเลี้ยงดู การงานทุกอย่างทั้งนอกบ้านในบ้านลูกชายจัดการเป็นที่เรียบร้อย พ่อแม่ทั้งสองมิต้องกังวล ต่อมาพ่อแม่เห็นลูกชายอยู่ในวัยที่สมควรจะมีครอบครัวได้แล้ว จึงจัดการสู่ขอหญิงสาวที่มีชาติตระกูลใกล้เคียงกัน ให้มาแต่งงานเป็นคู่ของลูกชายทั้ง ๆ ที่ลูกชายมิได้เต็มใจ เพราะตนเองผู้เดียวก็สามารถปฏิบัติเลี้ยงดูบิดามารดาได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อบิดามารดาเป็นภาระจัดการให้แล้วก็ไม่ขัดความประสงค์ของท่าน
    เมื่อแต่งงานแล้ว ชีวิตครอบครัวที่มีลูกสะใภ้พ่อผัวแม่ผัวอยู่ร่วมกันมาในระยะแรก ๆ ก็ราบรื่นสงบสุขเป็นอย่างดีเมื่อกาลเวลาผ่านนาน ๆ ไป ลูกสะใภ้ก็เริ่มรังเกียจพ่อผัวแม่ผัวที่ตาบอดด้วยกันทั้งสองคน จึงหาวิธีกำจัดท่านทั้งสองด้วยการยุแหย่สามีให้เกลียดชังพ่อแม่ คือ เมื่อสามีออกทำงานนอกบ้านก็แกล้งทำบ้านเรือนให้สกปรกรกรุงรัง เมื่อสามีกลับมาก็ฟ้องว่าพ่อแม่ทั้งสองเป็นผู้กระทำ ตนเองไม่สามารถที่จะทนเห็นทนอยู่ผู้เฒ่าตาบอดทั้งสองคนนี้ได้อีกต่อไปแล้ว
    ระยะแรก ๆ สามีก็ไม่ค่อยเชื่อเท่าไรนักได้แต่รับฟังแล้วก็นิ่งเฉยแต่เมื่อภรรยาพูดบ่อย ๆ และเห็นบ้านเรือนสกปรกมากยิ่งขึ้นจึงเชื่อคำของภรรยา และได้ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรกับคนแก่ตาบอดทั้งสองคนนี้ดี “เอาท่านใส่เกวียนไปฆ่าทิ้งในป่า” ภรรยาเสนอความคิดเห็น สามีแม้จะไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ เพราะตนเป็นคนรักและกตัญญูต่อพ่อแม่มาตลอดแต่เมื่อภรรยารบเร้าไม่รู้จบสิ้น จึงใจอ่อนยอมทำตามที่ภรรยาแนะนำ รุ่งเช้า ได้จัดหาอาหารเลี้ยงดูพ่อแม่เป็นอย่างดีแล้วกล่าวว่า“ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ ญาติที่หมู่บ้านโน้นต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ไปเยี่ยมพวกเราไปกันในวันนี้เถิด”ลูกชายให้พ่อแม่นั่งบนเกวียนแล้วออกเดินทาง พอมาถึงกลางป่าส่งเชือกบังคับโคให้พ่อถือไว้แล้วพูดหลอกว่า “คุณพ่อจับปลายเชือกนี้ไว้ โคจะลากเกวียนไปตามทางนี้ ทราบว่าในป่านี้มีพวกโจรซุ่มอยู่ ลูกจะลงเดินตรวจดูโดยรอบ”
    เมื่อลงเดินได้สักครู่หนึ่ง ก็เปลี่ยนเสียงร้องตะโกนประหนึ่งว่าเสียงโจรดักซุ่มอยู่ แล้วเข้ามาทุบตีทำร้ายบิดามารดา ฝ่ายบิดามารดาเชื่อว่าเป็นโจรจริง ๆ แม้จะถูกทุบตีอยู่ก็ยังร้องบอกให้ลูกรีบหนีไป พ่อแม่แก่แล้วไม่ต้องเป็นห่วง ลูกจงรักษาชีวิตไว้เถิด ลูกชายพอได้ยินเสียงมารดาบิดาร้องบอกให้รีบหนีไปไม่ต้องเป็นห่วงพ่อแม่ ก็กลับคิดไม่ได้ว่า “ตนทำกรรมหนัก พ่อแม่แม้จะถูกเราทุบตีอยู่นี้ ก็ยังร้องคร่ำครวญด้วยความรักและห่วงใยให้เรารีบหนีไปโดยมิได้คำนึงถึงชีวิตของตนเอง” แม้บิดามารดาจะร้องอยู่เช่นนี้ เขาก็ยังกระทำเสียงโจร และทุบบิดามารดาให้ตาย แล้วจึงโยนทิ้งไปในดงแล้วกลับมา
    ลูกชาย เมื่อตายแล้วต้องชดใช้กรรมในนรกเป็นเวลานาน เมื่อพ้นจากนรกแล้วมาเกิดใหม่ ต้องถูกทุบตีจนแหลกละเอียดอีกหลายร้อยชาติ ในชาติสุดท้ายนี้แม้จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ มีฤทธิ์ สามารถจะดำดินล่องหนหายตัวได้ เหาะเหินเดินอากาศได้ แต่ก็ไม่สามารถจะหนีผลกรรมได้ ท่านจึงยอมให้พวกโจรจับทุบจนร่างแหลกเหลวดังกล่าวมานั่นเอง
    กราบทูลลานิพพาน
    พระมหาโมคคัลลานเถระ คิดว่า “เราควรไปกราบทูลลาพระผู้มีพระภาค ก่อนจึง ปรินิพพาน” ดังนี้แล้วก็เรียบเรียงสรีรกายประสานกระดูกด้วยกำลังฌานฤทธิ์ เหาะมาเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลลาปรินิพพาน พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “โมคคัลลานะ เธอจะปรินิพพาน ที่ไหน เมื่อไร ?” “ข้าพระองค์ จะนิพพานที่กาฬศิลาในวันนี้ พระเจ้าข้า” “โมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงแสดงธรรมแก่ตถาคตก่อน ด้วยว่าการได้เห็นพระเถระเช่นเธอนี้ จะไม่มีอีกแล้ว”
    พระเถระได้รับพระพุทธบัญชาเช่นนั้นจึงทำปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศแสดงพระธรรมเทศนาแล้วลงมาถวายอภิวาทกราบทูลลาไปยังกาฬศิลา และปรินิพพาน ณ ที่นั้น ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 หลังจากพระสารีบุตรนิพพานได้ 15 วัน
    พระผู้มีพระภาค เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ทรงเป็นองค์ประธานจุดเพลิงฌาปนกิจศพให้ท่าน ขณะนั้น ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงมาโดยรอบบริเวณ มหาชนพากันประชุมทำ สักการะอัฐิธาตุตลอด 7 วัน พระพุทธองค์โปรดให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ ที่ใกล้ซุ้มประตูแห่งพระเชตะวันมหาวิหารนั้น

    ข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0
     
  6. visa2505

    visa2505 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2007
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +1,092
    โอนแล้วครับตะกรุดจักรพรรดิเงินล้านวันนี้08.40น.
     
  7. ธัญญ์นิธิ

    ธัญญ์นิธิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,794
    ค่าพลัง:
    +6,030
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ

    ประวัติพระมหากัจจายนเถระ
    เอตทัคคะในการเทศนาขยายความแห่งธรรมที่แสดงไว้โดยย่อ ให้พิสดาร


    พระมหากัจจายนเถระ เป็นหนึ่งในพระมหาเถระลำดับแรก ๆ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้รับการบรรพชาโดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา และพระพุทธองค์ทรงยกย่องให้เป็นเอตทัคคะ ทางด้านการเทศนาขยายความแห่งธรรมที่พระพุทธองค์แสดงไว้โดยย่อ ให้พิสดาร โดยพระอรรถกถาจารย์ได้พรรณาไว้ว่า ท่านสามารถทำพระดำรัสโดยย่อของพระตถาคตให้บริบูรณ์ ทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะได้ ชื่อของท่านในพระไตรปิฎกบางแห่งพิมพ์เป็น พระมหากัจจานเถระ


    ความปรารถนาในอดีต
    ประวัติในอดีตชาติของท่าน นอกจากในหลาย ๆ ชาติที่ท่านได้เกิดร่วมสมัยกับพระพุทธองค์เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ดังเช่น
    ได้เกิดเป็น รัชชุคาหกะอำมาตย์ผู้รังวัด เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็น พระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ ใน กุรุธรรมชาดก
    ได้เกิดเป็น กาฬเทวิลดาบส เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบส ใน อินทริยชาดก
    ได้เกิดเป็น กาลเทวละดาบส เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบสโพธิสัตว์ ใน สรภังคชาดก
    ส่วนในชาติที่ท่านได้แสดงถึงความปรารถนาที่จะได้รับตำแหน่งเอตทัคคะดังกล่าวมีดังนี้
    ได้ยินว่า ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระมหากัจจายนเถระนั้นบังเกิดในสกุลคฤหบดีผู้มหาศาล ครั้นเมื่อเจริญวัยแล้ว อยู่มาวันหนึ่งวันหนึ่งได้ไปยังพระวิหารที่พระพุทธปทุมุตตระประทับอยู่ และฟังธรรมอยู่แถวท้ายหมู่พุทธบริษัทในวิหารนั้น ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัสที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้พิสดาร ท่านจึงปรารถนาที่จะได้เป็นอย่างภิกษุนี้ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเช่นนั้นบ้าง
    ดังนั้นท่านจึงนิมนต์พระพระปทุมุตตระพุทธเจ้า และทำการถวายมหาทานอยู่ ๗ วัน แล้วท่านจึงหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แสดงความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งการถวายทานสักการะนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่นใด เพียงแต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือน ภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วัน นับแต่วันนี้
    พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาลด้วยพุทธญาณ ทรงเห็นว่าความปรารถนาของกุลบุตรนี้จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่ากุลบุตรผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จำแนกอรรถแห่งคำที่ตรัสโดยสังเขปให้พิสดาร ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าดังนี้ ครั้นเมื่อทรงพยากรณ์แล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับไป
    ฝ่ายกุลบุตรนั้นบำเพ็ญกุศลตลอดชีพแล้วเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภูมิเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายแสนกัป ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ได้เป็นวิทยาธร เที่ยวไปทางอากาศ ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ซึ่งประทับนั่งในชัฏแห่งป่าแห่งหนึ่ง มีใจเลื่อมใสได้เอาดอกกรรณิการ์มาทำการบูชา ด้วยบุญอันนั้น ท่านจึงเกิดเฉพาะแต่ในสุคติภูมิอย่างเดียว
    ครั้นสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ท่านพระมหากัจจายนเถระก็มาถือปฏิสนธิในครอบครัวหนึ่ง ในกรุงพาราณสี เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านก็ไปยังสถานที่สร้างเจดีย์ทอง จึงเอาอิฐทองมีค่าแสนหนึ่งถวายเป็นพุทธบูชา ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สรีระของข้าพระองค์จงมีวรรณเพียงดังทองในที่ ๆ เกิดแล้วเถิด
    ต่อแต่นั้น ก็กระทำกุศลกรรมจนตลอดชีวิต และได้เวียนว่ายในภูมิเทวดาและมนุษย์ ได้พุทธันดรหนึ่ง ทั้งนี้ด้วยผล ๓ ประการแห่งพุทธบูชานั้น ดังที่กล่าวไว้ใน อปทาน ( ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๒๑) ดังนี้
    ๑. เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
    ๒. เราท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพ คือในเทวดาและมนุษย์ ไม่เกิดในภูมิอื่น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
    ๓. เราเกิดในสองสกุล คือสกุลกษัตริย์และสกุลพราหมณ์ เราไม่เกิดใน สกุลที่ต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
    กำเนิดในพุทธกาล
    ครั้งกาลสมัยพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราอุบัติ ท่านก็ได้มาบังเกิดเป็นบุตรของติปิติวัจฉพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในพระนครอุชเชนี ส่วนผู้เป็นมารดาชื่อจันทนปทุมา ในวันขนานนามท่าน มารดาบิดาปรึกษากันว่าบุตรของตนนั้นมีสรีระมีผิวดั่งทอง จึงขนานนามท่านว่า กาญจนมาณพ ดังนี้
    ครั้นเจริญขึ้นแล้วท่านก็ได้ศึกษาไตรเทพจนจบสิ้น ต่อมาเมื่อบิดาท่านวายชนม์แล้ว-ท่านก็ได้รับตำแหน่งปุโรหิตสืบแทนท่านบิดา โดยนามโคตรว่ากัจจายนะ
    ครั้งหนึ่งพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงประชุมเหล่าอำมาตย์แล้วมีพระราชดำรัสถามว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงบังเกิดขึ้นในโลกแล้ว จะมีผู้ใดสามารถทูลอาราธนาพระพุทธองค์มาได้ อำมาตย์ทูลว่า อาจารย์กาญจนพราหมณ์เท่านั้นที่จะเป็นผู้สามารถทูลอาราธนาพระพุทธองค์มาได้
    พระเจ้าจัณฑปัชโชติจึงให้ตรัสเรียกกัจจายนะอำมาตย์มาเข้าเฝ้าและตรัสสั่งให้ท่านกัจจายนะอำมาตย์ไปยังสำนักของพระพุทธเจ้า และทูลอาราธนามายังวัง กัจจายนะอำมาตย์ทูลขอพรว่า ถ้าอนุญาตให้ท่านได้บวชท่านก็จะไป พระเจ้าจัณฑปัชโชติทรงให้พรตามที่กัจจายนะอำมาตย์ทูลขอ
    เข้าเฝ้าพระพุทธองค์
    กัจจายนอำมาตย์ จึงคัดเลือกผู้ที่จะไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมกับตนเพียง ๘ คน และออกเดินทาง ครั้นเมื่อไปถึง และได้ฟังพระบรมศาสดาทรงแสดงธรรม เมื่อจบเทศนาหมู่อำมาตย์นั้นก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ทั้ง ๘ ท่าน พระบรมศาสดาทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยการเหยียดพระหัตถ์และทรงตรัสว่า เธอ จงมาเป็นภิกษุเถิด, จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด ในทันใดนั้น ผมและหนวดของพระอรหันต์ทั้ง ๘ องค์ก็หายไป บาตร และจีวรก็บังเกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถเหมือนพระเถระตั้งร้อยพรรษาฉะนั้น
    พระอรหันตเถระเหล่านั้นเมื่อกิจของตนถึงที่สุดแล้วก็ไม่นั่งนิ่งอยู่เฉย กล่าวอาราธนาพระพุทธองค์เพื่อเสด็จไปกรุงอุชเชนีเหมือนที่พระกาฬุทายีเถระเคยกระทำ พระศาสดาสดับคำอาราธนาของท่านแล้วทรงพระวินิจฉัยว่า พระกัจจายนะย่อมหวังการไปของเราในชาติภูมิของตน แต่ธรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอาศัยเหตุอันหนึ่ง จึงไม่เสด็จไปสู่ที่ที่ไม่สมควรเสด็จ เพราะฉะนั้นจึงตรัสแก่พระมหากัจจายนเถระว่า
    "ภิกษุ ท่านนั้นแหละจงไป เมื่อท่านไปแล้ว พระราชาจักทรงเลื่อมใส"
    พระมหากัจจายนเถระจึงถวายบังคมพระตถาคต แล้วกลับไปกรุงอุชเชนีพร้อมกับภิกษุทั้ง ๗ รูปที่มาพร้อมกับตนนั้น ในระหว่างทางกลับกรุงอุชเชนี ภิกษุเหล่านั้นได้เที่ยวบิณฑบาตในนิคมชื่อว่า นาลินิคม
    โปรดธิดาเศรษฐีผู้มีผมงาม
    ในนิคมนั้น มีธิดาเศรษฐี ๒ คน คนหนึ่งเกิดในตระกูลเก่าแก่เข็ญใจ เมื่อมารดาบิดาสิ้นชีพไปแล้ว ก็อาศัยเป็นนางนมเลี้ยงชีพ แต่รูปร่างของเธอนั้นบึกบึน ผมยาวเกินคนอื่น ๆ ในนิคมนั้น
    และยังมีธิดาของตระกูลอิศรเศรษฐีอีกคนหนึ่ง เป็นคนไม่มีผม เมื่อก่อนนั้นมาแม้นางธิดาผู้นี้จะขอซื้อผมจากนางผมดกในราคา ๑๐๐ กหาปณะ หรือ ๑,๐๐๐ กหาปณะแก่เธอ ก็ไม่สำเร็จ
    ในวันนั้น ธิดาเศรษฐีผู้มีผมดกนั้นเห็นพระมหากัจจายนเถระมีภิกษุ ๗ รูปเป็นบริวาร เดินมามีบาตรเปล่า คิดว่าภิกษุผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์รูปหนึ่ง มีผิวดังทองรูปนี้เดินไปบาตรเปล่าทรัพย์อย่างอื่นของเราก็ไม่มี แต่ว่าธิดาเศรษฐีผู้ไม่มีผมบ้านโน้นเคยส่งคนมาเพื่อต้องการซื้อผมจากเรา ตอนนี้เราอาจถวายไทยธรรมแก่พระเถระได้ด้วยทรัพย์ที่เกิดจากที่ได้ค่าผมนี้
    เมื่อคิดดังนั้นแล้วจึงส่งสาวใช้ ไปนิมนต์พระเถระทั้งหลายให้นั่งภายในเรือนของตน พอพระเถระนั่งแล้ว นางก็เข้าห้องตัดผมของตน แล้วกล่าวแก่สาวใช้ว่า เจ้าจงเอาผมเหล่านี้ให้แก่ธิดาเศรษฐีบ้านโน้น แล้วเอาของที่นางให้มา เราจะถวายบิณฑบาตแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย สาวใช้ ถือผมนั้นไปยังสำนักของธิดาเศรษฐี.
    ธรรมดาขึ้นชื่อว่าของที่จะขายนั้น จะมีราคาก็ต่อเมื่อผู้ซื้อต้องการขอซื้อ ธิดาเศรษฐีผู้ไม่มีผมคิดว่า เมื่อก่อนเราขอซื้อด้วยทรัพย์เป็นอันมาก แต่นางก็ไม่ยอมขาย แต่บัดนี้ เมื่อนางมาเสนอขายเอง ก็ไม่ได้ตามราคาเดิม จึงให้ไป ๘ กหาปณะเท่านั้น สาวใช้นำกหาปณะไปมอบให้แก่ธิดาเศรษฐีผู้มีผมมาก
    ธิดาเศรษฐีก็จัดบิณฑบาต ๘ ที่ ให้มีค่าที่ละหนึ่งกหาปณะ ถวายแด่พระเถระทั้งหลาย
    พระเถระเล็งดูด้วยฌานแล้ว เห็นอุปนิสัยของธิดาเศรษฐี จึงถามว่าธิดาเศรษฐีไปไหน
    สาวใช้ตอบว่า อยู่ในห้องเจ้าค่ะ
    พระเถระว่า จงไปเรียกนางมาซิ
    ธิดาเศรษฐีก็มาด้วยความเคารพในพระเถระ ไหว้พระเถระแล้วเกิดศรัทธาอย่างแรง อันว่าทานอันบริสุทธิ์นั้นย่อมให้ผลในปัจจุบันชาติทีเดียว เพราะฉะนั้น พร้อมกับการไหว้พระเถระ ผมของนางจึงเกิดขึ้นดังเดิม
    โปรดพระเจ้าจันฑปัชโชต
    ฝ่ายพระเถระทั้งหลายจึงถือเอาบิณฑบาตนั้นเหาะขึ้นไปต่อหน้าธิดาเศรษฐี และเหาะลงยังพระราชอุทยานของพระเจ้าจันฑปัชโชต ชื่ออุทธยานกัญจนะ คนเฝ้าพระราชอุทยานเห็นพระเถระนั้น จึงไปเข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า
    ข้าแต่สมมติเทพ พระคุณเจ้ากัจจายะปุโรหิตของเราบวชแล้ว และกลับมายังอุทยานแล้วพระเจ้าข้า
    พระเจ้าจันฑปัชโชตจึงเสด็จไปยังอุทยาน ไหว้พระเถระผู้กระทำภัตกิจแล้วด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ตรัสถามว่า ท่านเจ้าข้าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนล่ะ
    พระเถระทูลว่า พระองค์มิได้เสด็จมาเอง ทรงส่งอาตมะมา มหาบพิตร
    พระราชาตรัสถามว่าท่านผู้เจริญ วันนี้พระคุณเจ้าได้ภิกษา ณ ที่ไหน
    พระเถระทูลบอกเรื่องที่ธิดาเศรษฐีกระทำทุกอย่างให้พระราชาทรงทราบ ตามถ้อยคำควรแก่ที่ตรัสถาม พระราชาตรัสสั่งให้จัดแจงที่อยู่แก่พระเถระ แล้วนิมนต์พระเถระไปยังนิเวศน์ แล้วรับสั่งให้ไปนำธิดาเศรษฐีมาตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสีแล้ว
    พระราชาทรงกระทำสักการะใหญ่แต่พระมหากัจจายนเถระ มหาชนเลื่อมใสในธรรมกถาของพระเถระ บวชในสำนักของพระเถระ ตั้งแต่นั้น ทั่วพระนครก็รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวพัตรเป็นอันเดียวกัน คลาคล่ำ ไปด้วยหมู่ภิกษุ ฝ่ายพระเทวีนั้นทรงเลื่อมใสในพระมหากัจจายนเถระอย่างยิ่ง ขอพระราชานุญาตสร้างวิหารถวายพระเถระในกัญจนราชอุทยาน พระเถระยังชาวอุชเชนีให้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาแล้ว จึงกลับไปเฝ้าพระศาสดาอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาภายหลังพระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ทรงกระทำพระสูตร ๓ สูตร เหล่านี้คือ มธุบิณฑิกสูตร, กัจจายนเปยยาลสูตร, ปรายนสูตร ให้เป็นอรรถุปบัติเหตุ แล้วทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัสที่ทรงตรัสโดยย่อให้พิสดารแล้ว


    ปรับพุทธบัญญัติบางข้อสำหรับจังหวัดอวันตีทักขิณาบถ
    สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะ พักอาศัยอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีชายผู้หนึ่งชื่อ โสณะอุบาสกได้ฟังธรรมในสำนักของท่านพระมหากัจจายนะ ก็บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา มีจิตตั้งอยู่ในสรณะและศีล จึงได้สร้างวิหารในที่อันสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ ใกล้ปวัตตบรรพต แล้วนิมนต์พระเถระให้อยู่ในวิหารนั้น โสณะอุบาสกได้อุปัฏฐากท่านพระมหากัจจายนะด้วยปัจจัยทั้ง ๔.ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โสณะอุบาสกเป็นอุปัฏฐากของท่านมหากัจจานะ
    ครั้งหนึ่งโสณะอุบาสกได้เดินทางไปยังเมืองอุชเชนีกับหมู่เกวียนเพื่อต้องการค้าขาย ครั้นค่ำลงในระหว่างทางหมู่เกวียนได้หยุดกองเกวียนไว้ในดงเพื่อพักผ่อน โสณะอุบาสกเพื่อหลีกการพักอย่างแออัดจึงหลีกไปนอนที่ท้ายหมู่เกวียน ครั้นใกล้รุ่ง หมู่เกวียนก็เคลื่อนออกเดินทางต่อไปโดยไม่มีใครปลุกโสณะอุบาสก
    ครั้นเมื่อตื่นขึ้น โสณะอุบาสกไม่เห็นใครเลยก็ออกเดินไปตามทางเกวียนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเหนื่อยจึงได้เข้าพักยังต้นไทร ระหว่างทาง ณ ที่นั้นเขาได้พบเปรตตนหนึ่งยืนกินเนื้อของตนเองที่หล่นจากกระดูก โสณะอุบาสกจึงได้ถามถึงกรรมของเปรตที่ทำมาในอดีต
    เปรตนั้นก็เล่าว่า เมื่อชาติก่อนตนเป็นพ่อค้าอยู่ในเมืองภารุกัจฉนคร ได้หลอกลวงเอาของ ของคนอื่นมาเคี้ยวกิน เมื่อมีสมณะเข้าไปบิณฑบาต ตนก็ด่าว่า จงเคี้ยวกินเนื้อของพวกมึงซิ เพราะกรรมนั้นจึงต้องเสวยทุกข์เช่นนี้
    โสณะอุบาสกได้ฟังดังนั้นกลับได้ความสลดใจอย่างเหลือล้น และได้เดินทางต่อไป ก็ได้พบพวกเปรตเล็ก ๒ ตน มีโลหิตดำไหลออกจากปาก จึงถามถึงบุรพกรรมของเปรตนั้นเช่นเดียวกัน ฝ่ายเปรตเหล่านั้น ก็ได้เล่ากรรมของตน แก่โสณะอบาสกนั้น ความว่า
    ในอดีตชาติ ในเวลาที่ยังเป็นเด็ก เปรตเหล่านั้นเลี้ยงชีพด้วยการค้าขายสิ่งของ ในภารุกัจฉนคร เมื่อมารดาของตนนิมนต์พระขีณาสพทั้งหลายให้มาฉัน จึงไปยังเรือนแล้ว ด่าว่า ทำไม แม่จึงให้สิ่งของของพวกเรากับพวกสมณะ ขอให้โลหิตดำจงไหลออกจากปากของพวกสมณะ ผู้บริโภคโภชนะที่แม่ให้แล้วเถิด เพราะกรรมนั้น เด็กเหล่านั้น จึงไปเกิดในนรก หมดกรรมจากนรกแล้ว ก็มาเกิดเป็นเปรต ด้วยเศษแห่งวิบากของกรรมนั้น
    โสณะอุบาสก ได้ฟังดังนั้นก็เกิดความสลดใจอย่างเหลือล้น ครั้นเมื่อเขากลับไปยังกรุงอุชเชนี จึงได้ขอบรรพชาต่อพระมหากัจจายนเถระ ท่านพระมหาเถระพิจารณาแล้วเห็นว่า ญาณของโสณะอุบาสกยังไม่แก่กล้าพอต่อเพศบรรพชิต จึงได้ยับยั้งไว้ถึงสองครั้ง
    ในวาระที่สาม พระเถระพิจารณาเห็นว่าโสณะอุบาสกมีญาณแก่กล้าเพียงพอแล้ว จึงยินยอมให้บรรพชา แต่ว่าในสมัยนั้นการบรรพชาโดยพระสาวกต้องกระทำด้วยองค์ทสวรรค คือต้องหาพระสงฆ์ให้ครบ ๑๐ รูป สมัยนั้น อวันตีชนบทอันตั้งอยู่แถบใต้ มีภิกษุน้อยรูป ท่านพระมหากัจจายนเถระกว่าจะจัดหาพระภิกษุสงฆ์ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ก็ต่อล่วงไปถึง ๓ ปี จึงอุปสมบทให้ท่านพระโสณะได้
    ครั้นเมื่อบวชแล้วได้ระยะหนึ่ง พระโสณะเถระปรารถนาจะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงได้ขออนุญาตต่อพระอุปัชฌาย์คือพระมหากัจจายนเถระ ท่านพระกัจจายนเถระก็อนุญาตพร้อมทั้งสั่งให้ไปกราบทูลขอพระบรมพุทธานุญาต ให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ๕ ข้อ ซึ่งไม่สะดวกแก่พระภิกษุผู้อยู่ในอวันตีชนบท คือ:-
    ๑. จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ขอได้โปรดทรงอนุญาตอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะสงฆ์เพียง ๕ รูปได้ ทั่วปัจจันตชนบท
    ๒. พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ดื่นดาดด้วยระแหง กีบโค ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้พระภิกษุสวมรองเท้าหลายชั้นได้ทั่วปัจจันตชนบท
    ๓. คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถ นิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ ขอได้โปรดทรงอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ทั่วปัจจันตชนบท
    ๔. ในอวันตีทักขิณาบถ ใช้เครื่องลาดที่ทำด้วย หนังแกะ หนังแพะหนังกวาง เป็นปกติธรรมดาเหมือนกับที่ในมัชฌิมชนบท ใช้เครื่องลาดที่ทำด้วยหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง เป็นปกติธรรมดาเช่นกัน ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้ภิกษุได้ใช้ หนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังกวาง ทั่วปัจจันตชนบท
    ๕. เมื่อมีผู้ฝากถวายจีวรให้กับหมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากก็มาบอกแก่ภิกษุชื่อนั้น ๆ ว่า มีคนที่มีชื่ออย่างนี้ ฝากจีวรให้มาถวายแก่ท่าน พวกภิกษุผู้ได้รับคำบอกเล่าเมื่อทราบดังนั้น ก็รังเกียจไม่ยินดีรับจีวรที่มีผู้ฝากมาถวาย โดยคิดว่าจีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้ภิกษุนั้นรับจีวรที่มีผู้ฝากภิกษุอื่นมาถวายได้ โดยให้ถือว่าจีวรนั่นยังไม่ควรนับราตรี ตราบเท่าที่ยังไม่ถึงมือภิกษุผู้ที่เขาเจาะจงถวาย
    พระบรมศาสดาทรงอนุญาตตามที่ พระมหากัจจายนเถระกราบทูลขอ
    ต่อมาพระโสณะเถระท่านนี้ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็น เอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุผู้กล่าวถ้อยคำอันไพเราะ


    ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่ง
    เอตทัคคะ ผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัสที่ทรงตรัสโดยย่อให้พิสดาร
    ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ได้ปรากฏอยู่หลายแห่ง เช่นเมื่อคราวพระพุทธองค์ทรงแสดง มธุปิณฑิกสูตร แก่พระภิกษุหมู่หนึ่ง แต่ได้ทรงแสดงไว้โดยย่อ เหล่าพระภิกษุนั้นเมื่อฟังความโดยย่อเช่นนั้นก็สงสัยว่าใครจะเป็นผู้สามารถเทศนาความโดยละเอียดให้แก่พวกตนได้ ก็นึกถึงพระมหากัจจายนเถระว่าเป็นผู้ที่พระศาสดาทรงยกย่องว่าจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ให้พิสดารได้ จึงได้ไปอาราธนาพระมหากัจจายนเถระให้เทศน์ขยายความในเรื่องดังกล่าว
    พระมหาเถระก็ได้เทศนาบรรยายขยายความอย่างพิสดารให้แก่หมู่ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเมื่อจบแล้ว หมู่ภิกษุจึงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ทูลเรื่องที่พวกตนอาราธนาพระมหากัจจายนเถระให้เทศน์ขยายความพุทธพจน์ที่ทรงแสดงโดยย่อแก่พวกตน พระพุทธองค์ทรงตรัสยกย่องพระมหากัจจายนเถระว่า
    พระมหากัจจายนะเถระเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก แม้หมู่พระสงฆ์เหล่านั้นจะถามเนื้อความนี้กับพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ก็จะพึงเทศนาเนื้อความนั้น เหมือนกับที่พระมหากัจจานะเทศน์แล้วเช่นนั้น
    และใน อุทเทสวิภังคสูตร, มหากัจจายนภัทเทกรัตตสูตร และ อธรรมสูตร พระพุทธองค์ก็ทรงยกย่องพระมหากัจจายนเถระในลักษณะนั้นเช่นเดียวกัน
    นอกจากจะเทศนาขยายความย่อในพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระภิกษุทั้งหลายแล้ว แม้กับพุทธบริษัทเหล่าอื่นมี อุบาสก อุบาสิกา เป็นต้น พุทธบริษัทเหล่านั้นเมื่อประสงค์ที่จะฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสโดยย่อ ให้ได้เนื้อความโดยละเอียดก็พากันมาอาราธนาให้พระมหากัจจายนเถระเทศนาเนื้อความโดยพิสดารให้ฟังเช่นกัน เช่นใน กาลีสูตร ท่านได้แสดงธรรมขยายความแห่งกุมารีปัญหาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยย่อไว้ ให้กับอุบาสิกาชื่อ กาลี ชาวเมืองกุรรฆระฟัง
    ใน หลิททิกานิสูตร สมัยท่านพักอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้กุรรฆรนครแคว้นอวันตีรัฐ คฤหบดีชื่อหลิทกานิ เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะเถระ แล้วอาราธนาให้ท่านได้เทศนาขยายความแห่ง มาคันทิยปัญหา ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยย่อไว้ ให้ฟังโดยพิสดาร
    การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    นอกจากการขยายพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้โดยย่อ ให้พิสดารแล้ว ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากที่ท่านก็ได้ปลูกฝังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวนครอุชเชนีให้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาแล้ว ท่านยังได้เทศน์โปรด พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร แห่งเมืองมธุรา ซึ่งเป็นการเทศนาภายหลังที่พระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ตามที่ปรากฏในมธุรสูตร จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยึดเอาพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะจนตลอดชีวิต
    และเทศน์โปรด สุชาตกุมาร ผู้เป็นเป็นราชโอรสของพระเจ้าอัสสกะ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นอัสสกรัฐ ให้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการเทศนาภายหลังที่พระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้ว เช่นกัน และพยากรณ์ว่าสุชาติกุมารจะสิ้นชีวิตภายในห้าเดือนข้างหน้า และได้ให้พระบรมสารีริกธาตุแก่สุชาติกุมาร โดยให้สุชาตราชกุมาร บูชาพระบรมสารีริกธาตุนี้แล้วจะเป็นประโยชน์แก่ตนเอง สุชาตกุมารได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้น ด้วยของหอมและพวงมาลัย และขวนขวายในการทำบุญให้ทาน เมื่อสิ้นชิวิตแล้ว ได้ไปบังเกิดในสวนนันทวัน ที่ดาวดึงส์เทวโลก และมีราชรถทองเป็นสมบัติ ปรากฎเรื่องใน จูฬรถวิมานสูตร
    สมัยท่านอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ ใกล้พระนครวรรณะ ท่านได้เทศน์โปรด พราหมณ์ที่ชื่อ อารามทัณฑะ จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสน
    สมัยท่านอยู่ที่ป่าคุนทาวัน ใกล้เมืองมธุรา ท่านได้เทศน์โปรด พราหมณ์ที่ชื่อ กัณฑรายนะ จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยึดเอาพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะจนตลอดชีวิต
    สมัยท่านอยู่ ณ อรัญญกุฎี ใกล้มักกรกฏนคร ในอวันตีชนบท ท่านได้เทศน์โปรด พราหมณ์ที่ชื่อ โลหิจจ ผู้เป็นเจ้าสำนัก มีศิษย์มากมาย จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยึดเอาพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะจนตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน


    เกิดร่วมสมัยกับพระโพธิสัตว์
    ท่านได้เกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์อยู่หลายชาติ ดังที่ปรากฏในชาดกต่าง ๆ เช่น
    เกิดเป็นรัชชุคาหกะอำมาตย์ผู้รังวัด พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ ใน กุรุธรรมชาดก
    เกิดเป็นกาฬเทวิลดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นสรภังคดาบส ใน อินทรยชาดก
    เกิดเป็นเทวลดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นสรภังคดาบส ใน สรภังคชาดก


    เรื่องพระโสไรยเถระ

    เศรษฐีบุตรกลับเพศเป็นหญิงแล้วหลบหนี
    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ลูกชายของโสไรยเศรษฐี ในโสไรยนคร นั่งบนยานน้อยกับสหายผู้หนึ่งออกไปจากนคร เพื่อประโยชน์จะอาบน้ำพร้อมกับบริวารเป็นอันมาก ขณะนั้น พระมหากัจจายนเถระ กำลังเดินไปสู่โสไรยนครเพื่อบิณฑบาต รัศมีแห่งสรีระของพระเถระมีสีเหมือนทองคำ ลูกชายของโสไรยเศรษฐี เห็นท่านแล้วจึงคิดว่า สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้ ควรเป็นภริยาของเรา หรือสีแห่งสรีระของภริยาของเรา พึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั้น ในขณะสักว่าเขาคิดแล้วเท่านั้น เศรษฐีบุตรก็กลายเพศไปเป็นหญิง ลูกชายของโสไรยเศรษฐีเกิดความอายจึงลงจากยานน้อยหนีไปทางที่ไปสู่เมืองตักกสิลา
    พวกเพื่อนและพ่อแม่ออกติดตามแต่ไม่พบ
    ฝ่ายพวกสหาย เที่ยวค้นหาข้างโน้นและข้างนี้ ก็ไม่ได้พบ เมื่อตนอาบเสร็จแล้วจึงได้กลับไปสู่เรือน เมื่อถูกถามถึงบุตรเศรษฐี ก็ตอบว่า พวกเขาเข้าใจว่าบุตรเศรษฐีอาบน้ำเสร็จและกลับมาก่อนแล้ว.มารดาและบิดาของเขาเที่ยวตามหาในที่ต่าง ๆ ก็ไม่พบ จึงร้องไห้รำพัน ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลด้วยความสำคัญว่าลูกชายของพวกเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว
    นางเดินตามพวกเกวียนไปเมืองตักกสิลา
    ส่วนลูกชายเศรษฐีที่กลายเป็นเพศหญิง เห็นพวกเกวียนไปสู่เมืองตักกสิลาหมู่หนึ่ง จึงเดินตามไปข้างหลัง ๆ เมื่อพวกหมู่เกวียนเห็นนางเข้าจึงถามว่า "หล่อนเดินตามเกวียนพวกเรามาทำไม ?" นางกล่าวว่า "พวกท่านจงขับเกวียนของท่านไปเถิด ดิฉันจักเดินไป" เมื่อเดินไป ๆ เมื่อยเข้านางจึงได้ถอดแหวนสำหรับสวมนิ้วมือให้เพื่อแลกกับการนั่งไปในเกวียน
    ได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น
    พวกกองเกวียนต่างคิดว่า "ลูกชายเศรษฐีของพวกเราในกรุงตักกสิลายังไม่แต่งงาน เราจะบอกเรื่องหญิงนี้แก่ท่านเพื่อจะได้รางวัล" พวกเขาจึงไปแจ้งเรื่องนี้ ครั้นได้ฟังแล้วลูกชายเศรษฐีจึงให้เรียกนางมา เมื่อนางมาแล้ว บุตรเศรษฐีเห็นว่านางเหมาะกับวัยของตน มีรูปงามน่าพึงใจ ก็เกิดความรักขึ้น จึงได้รับนางไว้เป็นภริยา
    นางคลอดบุตร
    นางอยู่กับบุตรเศรษฐีจนมีบุตรด้วยกัน ๒ คนเมื่อรวมกับบุตรของนางเมื่อครั้งเป็นชายในโสไรยนครอีก ๒ คน ก็รวมเป็น ๔ คน
    นางได้พบกับเพื่อนเก่าแล้วเล่าเรื่องให้ฟัง
    ต่อมาลูกชายเศรษฐีผู้เป็นสหายของนาง (เมื่อครั้งเป็นชาย) เดินทางจากโสไรยนครไปสู่กรุงตักกสิลา ขณะเข้าไปสู่พระนคร ได้ผ่านบ้านของนางซึ่งยืนมองดูผู้คนเดินไปมาบนถนนอยู่บนปราสาทชั้นบน เห็นสหายนั้นก็จำได้ จึงส่งสาวใช้ให้ไปเชิญมา แล้วรับรองและเลี้ยงดูอย่างใหญ่โต สหายนั้นสงสัยจึงถามว่า เราเคยรู้จักกันหรือ นางจึงได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาให้ฟัง
    สหายเก่าของนางจึงแนะให้นางไปขอขมาต่อพระเถระเสีย ขอให้ท่านยกโทษให้
    นางขอขมาพระมหากัจจายนเถระ
    นางจึงเดินทางไปหาพระเถระ เล่าเรื่องและขอให้ท่านยกโทษให้ พระเถระจึงยกโทษให้ ครั้นพอพระเถระ เอ่ยปากยกโทษให้เท่านั้น นางก็กลับเพศเป็นชายดังเดิม
    เมื่อกลับมาเป็นชายแล้ว เขาจึงมอบบุตรที่เกิดกับ เศรษฐีบุตรในกรุงตักกสิลาให้แก่บิดา และออกไปบวชในสำนักพระเถระ ได้นามว่า "โสไรยเถระ" และได้ออกจาริกไปถึงเมืองสาวัตถีกับพระเถระ
    ชาวเมืองสาวัตถีทราบเรื่องเข้าพากันแตกตื่นเข้าไปถามเรื่องราว กี่พวกต่อกี่พวกก็ถามแต่เรื่องนี้จนท่านรำคาญใจจึงหลีกไปนั่งแต่คนเดียว ยืนแต่คนเดียว ท่านเข้าถึงความเป็นคนเดียวอย่างนี้ เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว


    ศิษย์ที่ปรากฎชื่อในพระไตรปิฎก หรือ ใน อรรถกถาของท่าน
    พระวัลลิยเถระ
    พระโสไรยเถระ
    พระโสณะเถระ

    อ้างอิงจาก
     
  8. SIR2010

    SIR2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,968
    ค่าพลัง:
    +5,667
    พระพาหิยเถระ
    เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา

    พระพาหิยะ เกิดในวรรณแพศย์ ตระกูลกุฎุมพี แคว้นพาหิยะ คงจะเรียกชื่อท่านตามชื่อ
    แคว้น เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ประกอบอาชีพค้าขายตามบรรพบุรุษ เนื่องจากมีถิ่นฐานอยู่แถบชายฝั่ง
    ทะเล จึงอาศัยเรือเดินทะเลบรรทุกสุวรรณภูมิ อันตั้งอยู่ในแคว้นกัมโพชะ อินเดียตอนเหนือ ท่า
    จอดเรือรับส่งขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือสุปปารกะ ในอปรันตชนบท
    เรือแตกแต่รอดตาย
    การเดินเรือค้าขายเป็นไปตามปกติตลอดมา แต่วันหนึ่งขณะที่เรือกำลังเล่นอยู่ในทะเล
    ใกล้จะถึงท่าสุปปารกะ ได้มีลมพายุเกิดคลื่นใหญ่ซัดเรืออับปางลงลูกเรือตายทั้งหมด พาหิยะ
    คนเดียวเท่านั้นที่อาศัยเกาะแผ่นกระดานสามารถพยุงกายมิให้จมน้ำตายเป็นเหยื่อปลาในทะเล
    พยายามกระเสือกกระสนประคองกายเข้ามาถึงฝั่งที่ท่าสุปปารกะได้ แต่พาหิยะก็มาถึงท่าเพียงตัว
    เท่านั้น เสื้อผ้าที่สวมใส่หลุดหายไปในทะเล เหลือแต่ร่างกายที่เปลือยเปล่า
    ณ บริเวณท่าเรือสุปปาระกะนั้น มีพ่อค้าประชาชนหนาแน่น เพราะเป็นศูนย์กลางการ
    ขนถ่ายสินค้าและการค้าขาย พาหิยะ นอนหมดแรงอยู่ที่ชายฝั่งทั้งหิวทั้งเพลีย นอนคิดหาหนทาง
    เพื่อเอาชีวิตรอดต่อไป แต่รู้สึกเขินอายที่ร่างกายเปลือยเปล่า ไม่มีสิ่งใดปิดบังร่างกายเลย จึงใช้
    เปลือกไม้บ้างใบไม้บ้าง เท่าที่จะหาได้มาทำเป็นเครื่องปิดบังแทนเครื่องนุ่งห่ม และได้เข้าไป
    อาศัยร่มเงาที่ศาลเทพารักษ์แห่งหนึ่งใกล้ ๆ บริเวณท่าเรือสุปปารกะนั้น พอความเหนื่อยเพลีย
    บรรเทาลงแล้ว จึงถือแผ่นกระเบื้องเที่ยวขออาหารจากชาวบ้าน
    อรหันต์เปลือย
    ในยุคสมัยนั้นคำว่า “พระอรหันต์” เป็นคำที่ประชาชนกล่าวขานกันทั่วไปว่า มีอยู่ที่
    โน่นบ้าง มีอยู่ที่นี่บ้าง แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดได้เคยพบพระอรหันต์จริง ๆ เลย พอได้เห็นพาหิยะผู้นุ่ง
    เปลือกไม้ มีร่างกายผ่ายผอม ถือแผ่นกระเบื้องเดินมาในลักษณะอย่างนั้น ต่างก็พากันเข้าใจว่า
    “นี่แหละ คือ พระอรหันต์” ดังนั้นจึงพากันให้อาหารบริโภคอย่างอุดมสมบูรณ์ พร้อมทั้งเสื้อผ้า
    เครื่องนุ่งห่ม ทำให้พาหิยะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น แต่พาหิยะปฏิเสธไม่ยอมรับเสื้อผ้ามา
    สวมใส่ เพราะเกิดความคิดว่า “ถ้าสวมใส่เสื่อผ้าแล้ว จะทำให้เสื่อมจากลาภสักการะ” อีกทั้งก็
    เริ่มเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์จริง ๆ จึงดำรงชีวิตและปฏิบัติตนไปตามนั้น ใบไม้และ
    เปลือกไม้ที่แห้งไปก็เปลี่ยนใหม่ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้นามต่อท้ายชื่อของท่านว่า “ทารุจิริยะ”
    และเรียกชื่อท่านเต็ม ๆ ว่า “พาหิยทารุจิริยะ” ซึ่งแปลว่า พาหิยะผู้มีเปลือกไม้เป็นเครื่องนุ่งห่ม
    และท่านได้ดำเนินชีวิตโดยทำนองนี้เรื่องมาเป็นเวลานาน

    พระพรหมมาเตือนให้กลับใจ
    วันหนึ่ง ได้มีพระพรหม ผู้เคยเป็นสหายเก่าที่เคยปฏิบัติธรรมร่วมกันในอดีตชาติกับ
    พาหิยะ และได้บรรลุธรรมถึงชั้นอนาคามิผล เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส ได้
    ติดตามดูพฤติกรรมของพาหิยะมาตลอด เห็นว่าสหายกำลังปฏิบัติผิดทาง ดำเนินชีวิตด้วยการลวง
    โลก ซึ่งจะทำให้เขาไปเกิดในทุคติอบายภูมิ จึงลงมาเตือนให้สติว่า
    “พาหิยะ ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ บัดนี้ พระอรหันต์ที่แท้จริงเกิดขึ้นแล้วในโลก ขณะนี้
    พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถีแคว้นโกศล”
    เดินทางทั้งวันทั้งคืน
    พระหิยะ ได้ฟังคำเตือนของพระพรหมผู้เป็นสหายเก่าแล้วเกิดความสลดใจในการกระทำ
    ของตนเอง รู้สึกสำนึกผิดเลิกละการกระทำนั้น และเกิดความปิติยินดีที่ทราบว่า พระพุทธเจ้าเกิด
    ขึ้นแล้วในโลก จึงรีบออกเดินทางจากท่าเรือสุปปารกะ มุ่งสู่เมืองสาวัตถี ซึ่งมีระยะทางถึง ๑๒๐
    โยชน์ (๑๙๒ กม.) ท่านเดินทางทั้งวันทั้งคืนอย่างรีบร้อน เพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาให้เร็วที่สุด
    เพราะไม่รู้แน่ว่าความตายจะมาถึงเมื่อใด ท่านเดินทางมาถึงเมืองสาวัตถี ในเวลารุ่งเช้าแล้วรีบ
    ตรงไปยังพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อได้ทราบว่า ขณะนี้พระบรมศาสดา เสด็จเข้าไปบิณฑบาตใน
    เมือง จึงรีบติดตามไปในเมืองและได้พบพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จบิณฑบาตอยู่ ด้วยความปีติ
    ยินดีอย่างที่สุดได้เข้าไปกราบแทบพระบาทแล้ว กราบทูลขอให้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระพุทธ
    องค์ตรัสห้าวว่า “พาหิยะ เวลานี้ มิใช่เวลาแสดงธรรม”

    ตรัสรู้เร็วพลัน
    พาหิยะ ได้พยายามกราบทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง พระบรมศาสดา จึงทรงแสดงพระธรรม
    เทศให้ฟัง โดยตรัสสอนให้สำรวมอินทรีย์ คือ เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่า
    ได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้มรสก็สักแต่ว่าลิ้มรส และสัมผัสสักแต่ว่าสัมผัสเท่านั้น อย่า
    ยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น และหมั่นสำเหนียกศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่เป็น นิตย์
    พาหิยะ ส่งกระแสจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลในทันที
    ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ในอดีตชาติท่าน
    พาหิยะ ไม่เคยทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสามเณรด้วยบาตรและจีวรเลย เมื่อบวชแล้วบาตรและ
    จีวรที่จะเกิดด้วยบุญฤทธิ์ ก็จะไม่มีจึงรับสั่งให้ท่านไปหาบาตรและจีวรมาให้ครบก่อน และใน
    ขณะที่ท่านกำลังแสวงหาบาตรและจีวรอยู่นั้นได้ถูกอมนุษย์ผู้เคยเป็นศัตรูกันมากแต่อดีตชาติ เข้า
    สิงร่างแม่โคลูกอ่อนวิ่งเข้าขวิดท่านตาย จึงถือว่าท่านนิพพานตั้งแต่ยังไม่ได้บวช
    พระพุทธองค์ เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรเห็นศพของท่านนอนอยู่ริมทาง
    จึงรับสั่งให้ภิกษุที่ติดตามเสด็จมา จัดการฌาปนกิจให้ท่าน และทรงยกย่องท่านในตำแหน่ง
    เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้เร็วพลัน
     
  9. นิติทอง

    นิติทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +585
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ พระมหากัสสปเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์

    พระมหากัสสปะ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ ตระกูลกัสสปะในบ้านมหาติฏฐะ
    แคว้นมคธ ชื่อเดิมของท่านคือ “ปิปผลิ” แต่คนทั่วไปมักเรียกท่านตามวงศ์ตระกูลว่า
    “กัสสปะ” เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี ได้ทำการอาวาหมงคลกับนางภัททกาปิลานี ซึ่งเป็นสาวงาม
    วัย ๑๖ ปี ธิดาของพราหมณ์ตระกูลโกลิยะ ณ เมืองสาคลนคร แคว้นมคธ
    ปิปผลิมาณพถูกแปลงสาร
    เมื่อปิปผลิมาณพ อายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้ปรึกษากันว่าจะหาภรรยาให้แก่บุตรชาย
    จึงได้มอบเงินและทองให้แก่พราหมณ์ ๘ คน เพื่อสืบแสวงหาสาวงานที่มีฐานะเสมอกัน
    พราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวสืบแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ มาจนถึงสาคลนคร ได้พบธิดาของ
    โกลิยพราหมณ์นามว่า “ภัททกาปิลานี” วัย ๑๖ ปี เป็นที่ถูกอกถูกใจยิ่ง จึงสู่ขอกับบิดามารดา
    ของนาง ตกลงแล้วได้มอบสิ่งของเงินและทองหมั้น กำหนดวันอาวาหมงคลแล้วกลับไปแจ้งข่าว
    สารแก่กปิลพราหมณ์
    ปิปผลิมาณพ ได้ทราบข่าวสารนั้นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ เพราะตนไม่มีความปรารถนาจะ
    แต่งงาน จึงหลบเข้าไปในห้อง เขียนจดหมายบรรยายความประสงค์ของตนให้นางทราบว่า
    “ตนไม่ปรารถนาจะแต่งงาน ขอให้นางจงแต่งงานกับชายที่มีชาติตระกูลเสมอกัน และอยู่ครอง
    ชีวิตคู่ด้วยความสุขสำราญเถิด ส่วนข้าพเจ้าจะออกบวช” เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ก็มอบให้คนใช้
    สนิทนำไปส่งให้แก่นางภัททกาปิลานี
    แม้นางภัททกาปิลานีก็มีใจตรงกัน และได้เขียนจดหมายซึ่งมีใจความเหมือนกัน มอบให้
    คนรับใช้นำไปส่งให้แก่ปิปผลิมาณพ บังเอิญคนถือจดหมายทั้งสองฝ่ายมาพบกันระหว่างทาง ทัก
    ทายปราศรัยถามไถ่กิจธุระของกันและกันแล้วนำจดหมายทั้งสองฉบับออกอ่าน ทราบความโดย
    ตลอดแล้วฉีกทำลายทิ้งแล้วเขียนจดหมายขึ้นมาใหม่ บรรยายความรักแก่กันและกันแล้วนำไปส่ง
    ให้แก่เจ้านายของตน การอาวาหมงคลระหว่างคนทั้งสองจึงเกิดขึ้น

    สภาพชีวิตการครองคู่
    ภายหลังจากแต่งงานกันแล้ว การครองคู่ของคนทั้งสองนั้นไม่เหมือนสามีภรรยาคู่อื่น ๆ
    เพราะสักแต่ว่าอยู่ร่วมห้องกันเท่านั้น ต่างก็ไม่มีจิตคิดจะร่วมสังวาสกัน แม้เวลาจะขึ้นเตียงนอนก็
    ขึ้นกันคนละข้าง มีแจกันดอกไม้ตั้งอยู่ตรงกลางเตียง ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองอยู่ร่วมกันนั้น มิ
    ได้สัมผัสถูกต้องกันเลยจึงไม่มีบุตรหรือธิดาสืบสกุล
    เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมแล้ว ทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงานทุกอย่างจึงเป็นภาระของ
    สองสามีภรรยา และเนื่องจากตระกูลทั้งสองเป็นตระกูลมหาเศรษฐีมีทรัพย์มาก เมื่อรวมสอง
    ตระกูลเข้าเป็นตระกูลเดียวกันแล้วทรัพย์สมบัติก็ยิ่งมากมายมหาศาล มีสัตว์เลี้ยงและคนงาน
    จำนวนมาก สองสามีภรรยาต้องบริหารสั่งการทุกอย่าง
    จนกระทั่งวันหนึ่ง ในขณะที่ปิปผลิกำลังตรวจดูทาสและกรรมกรทำงานอยู่ในไร่นา ได้
    เห็นนกกาจิกกินสัตว์น้อยมีไส้เดือนเป็นต้น ก็รู้สึกสงสารและสลดใจที่สัตว์เหล่านั้นต้องตาย
    เพราะตนเป็นเหตุ ส่วนนางภัททกาปิลานี ก็ให้คนนำเมล็ดถั่วงาออกมาตากที่ลานหน้าบ้าน เห็น
    หมู่นกกามาจิกกินตัวหนอนและแมลงต่าง ๆ ก็เกิดความสงสารและสลดใจเช่นกัน เมื่อสองสามี
    ภรรยามีโอกาส อยู่กันตามลำพังได้สนทนาถึงเรื่องความในใจของกันและกันแล้ว จากนั้นทั้งสอง
    ก็มีความคิดตรงกันว่า
    “ผู้อยู่ครองเรือน แม้จะไม่ได้ลงมือทำการงานเอง แต่ก็ต้องคอยรับบาปที่ทาสและ
    กรรมกรทำให้” จึงเกิดความเบื่อหน่ายเพศฆราวาสพร้อมใจกันสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ญาติ
    และบริวาร
    ส่วนทั้งสองสามีภรรยาพากันออกบวช จัดหาผ้ากาสาวพัสตร์และบริขารพากันปลงผม
    แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ อธิฐานเพศบรรพชิตบวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลกแล้วเดินร่วมทาง
    กันไป พอถึงทางสองแพร่งจึงแยกทางกัน ปิปผลิไปทางขวา ส่วนนางภัททกาปิลานี ไปทางซ้าย
    นางเดินทางไปพบสำนักปริพาชกแล้วได้เข้าไปขอบวชในสำนักนั้น เนื่องด้วยขณะนั้น พระผู้มี
    พระภาคยังมิได้ทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา ต่อเมื่อพระนางปชาบดีโคตรมีได้
    บวชแล้ว นางจึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระเถระ ศึกษาพระกรรมฐาน บำเพ็ญ
    วิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล

    อุปสมบทด้วยวิธีโอวาท ๓ ข้อ
    ปิปผลิ เดินทางไปตามลำดับ ได้พบพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับที่ภายใต้ร่มไทร
    ระหว่างกรุงราชคฤห์กับนาลันทา เห็นพุทธจริยาน่าเลื่อมใสแปลกกว่านักบวชอื่น ๆ ที่ตนเคยพบ
    มา ปลงใจเชื่อว่าต้องเป็นพระอรหันต์แน่นอน จึงน้อมกายกราบถวายบังคมแทบพระบาท กราบ
    ทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
    พระพุทธองค์ ประทานการอุปสมบทด้วยวิธีให้รับโอวาท ๓ ข้อ เรียกว่า
    “โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา” โอวาท ๓ ข้อนั้นคือ
    ๑) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุทั้งที่
    เป็นพระเถระผู้เฒ่า ผู้มีพรรษาปานกลาง และทั้งผู้บวชใหม่
    ๒) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักฟังธรรม บทใดบทหนึ่งอันประกอบด้วยกุศลด้วย
    ความตั้งใจฟังโดยเคารพ และพิจารณาจดจำเนื้อความธรรมบทนั้น
    ๓) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจะไม่ละสติไปในกาย คือ พิจารณากายเป็นอารมณ์
    โดยสม่ำเสมอ

    ได้รับยกย่องในทางผู้ทรงธุดงค์
    เมื่อท่านอุปสมบทแล้วทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจากอุปสมบท
    ได้ ๘ วัน พุทธบริษัททั้งหลายรู้จักท่านในนาม “พระมหากัสสะ” ท่านได้ช่วยรับภารธุระอบรม
    สั่งสอนพระภิกษุและพุทธบริษัทอื่น ๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทาน
    ธุดงค์ ๓ ประการ อย่างเคร่งครัด คือ:-
    ๑) ถือการนุ่งห่มบังสุกุลเป็นวัตร
    ๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
    ๓) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
    เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยก
    ย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ทรงธุดงค์
    นอกจากนี้ พระบรมศาสดายังทรงยกย่องท่านในทางอื่น ๆ อีกหลายประการ กล่าวคือ:-
    ครั้งหนึ่ง ท่านติดตามพระพุทธองค์ไปประทับที่ภายใต้ร่มไม้ต้นหนึ่งท่านได้พับผ้า
    สังฆาฏิของท่านเป็น ๔ ชั้นแล้วปูถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่งพระพุทธองค์ตรัสว่า:-
    “กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอนุ่มดี”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์ทรงใช้สอยเถิด พระเจ้าข้า”
    “กัสสปะ แล้วเธอจะใช้อะไรทำสังฆาฏิเล่า ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อข้าพระองค์ได้รับจากพระองค์ ก็จะใช้เป็นสังฆาฏิ
    พระเจ้าข้า”
    ครั้นแล้ว พระบรมศาสดาได้ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าให้แก่ท่าน
    แล้วทรงยกย่องท่านอีก ๔ ประการคือ:-
    ๑) กัสสปะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยตถาคต เป็นผู้มักน้อยสันโดษภิกษุทั้ง
    หลายควรถือเป็นแบบอย่าง
    ๒) กัสสปะ เมื่อเธอเข้าไปใกล้ตระกูลแล้ว ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคน
    ใหม่ ไม่คุ้นเคย ไม่คะนองกาย วาจา และใจ ในสกุลเป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น
    ตั้งจิตเป็นกลางว่า “ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญจงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีจิตเป็นฉันใด ผู้อื่นก็
    มีใจเป็นฉันนั้น”
    ๓) กัสสปะ มิจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น
    ๔) ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านไปใช้สอย ทรงสอนภิกษุให้ประพฤติดีปฏิบัติ
    ชอบ โดยยกพระมหากัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง
    พระเถระขับล่านางเทพธิดา
    ครั้งหนึ่งพระเถระพักอยู่ที่ถ้ำปิปผลิ เข้าฌานสมาบัติอยู่ ๗ วัน ออกจากฌานแล้วเข้าไป
    บิณฑบาต ในบ้านหญิงสาวคนหนึ่งเห็นพระเถระแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้นำข้าวตอกใส่บาตร
    พระเถระแล้วตั้งความปรารถนา ขอเข้าถึงส่วนแห่งธรรมที่พระเถระบรรลุแล้ว พระเถระกล่าว
    อนุโมทนาแก่เธอแล้วกลับยังที่พัก
    ฝ่ายนางกุลธิดานั้นมีจิตเอิบอิ่มด้วยทานที่ตนถวาย ขณะเดินกลับบ้านถูกงูพิษกัดตาย และ
    ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า “ลาชา” (ลาชา = ข้าวตอก) มีวิมานทอง
    ประดับด้วยขันทองห้อยอยู่รอบ ๆ วิมาน ในขันนั้นเต็มด้วยข้าวตอกทองเช่นกัน นางมองดูสมบัติ
    ทิพย์ที่ตนได้แล้วก็ทราบว่าได้มาเพราะถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นบุญเพียงเล็กน้อย
    นางต้องการที่จะเพิ่มผลบุญให้มากยิ่งขึ้น จึงลงจากเทวพิภพเข้าไปปัดกวาดเสานาเสานะและ
    บริเวณที่พักของพระเถระ จัดตั้งน้ำใช้น้ำฉันเสร็จแล้วกลับยังวิมานของตน
    พระเถระคิดว่ากิจเหล่านี้คงจะมีพระภิกษุหรือสามเณรมาทำให้ ในวันที่สองที่สาม นาง
    เทพธิดามาทำเหมือนเดิม แม้พระเถระก็คิดเช่นเดิม แต่พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดและเห็นแสง
    สว่างจากช่องกลอนประตูจึงถามว่า “นั่นใคร ?”
    “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเทพธิดาชื่อลาชา เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน”
    พระเถระคิดว่า หญิงผู้เป็นอุปัฏฐากของเราชื่ออย่างนี้ไม่มี จึงเปิดประตูเห็นนางเทพธิดา
    กำลังปัดกวาดอยู่ จึงสอบถามทราบความโดยตลอดตั้งแต่ต้นแล้ว จึงกล่าวห้ามว่า “กิจที่เธอทำ
    แล้วก็ถือว่าแล้วกันไป ต่อแต่นี้เธอจงอย่างมาทำอีก เพราะในอนาคต จะมีพระธรรมกถึกยกเอา
    เหตุนี้เป็นตัวอย่างอ้างแก่พุทธบริษัททั้งหลาย ว่า “พระมหากัสสปะมีนางเทพธิดามาปฏิบัติใช้
    สอย ดังนั้น เธอจงกลับไปเถิด”
    นางเทพธิด้านอ้อนวอนช้ำแล้วช้ำเล่าว่าขอพระคุณเจ้าอย่างทำให้ดิฉันประสบหายนะเลย
    ขอให้ดิฉันได้ครองสมบัติทิพย์นี้ตลอดกาลนานเถิด
    พระเถระเห็นว่านางเทพธิดาดื้อดึงไม่ยอมฟังคำ จึงโบกมือพร้อมกล่าวขับไล่นางออกไป
    นางลาชาเทพธิดาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จงเหาะขึ้นไปบนอากาศยืนประนมมือร้องไห้เสียดายที่
    ไม่มีโอกาสทำทิพยสมบัติของตนให้ถาวรได้

    พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธานปฐมสังคายนา
    ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อย
    โดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่าน
    กำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าประบรมศาสดา ได้ทราบข่าวจาก
    อาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนพากันร่ำไห้เสียใจ
    รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ
    พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระ
    พุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำ
    อะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว”
    พระเถระ ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระพุทธองค์
    ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็
    คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง”
    ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้
    ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้
    เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป
    สาระสำคัญของปฐมสังคายนา
    ๑) พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย
    ๒) พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย
    ๓) พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม
    ๔) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์
    ๕) พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์
    ๖) กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ

    ข้อมูลจาก www.84000.org/one/1/18.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2016
  10. ออนเนอร์

    ออนเนอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +258
    พระจูฬปันถกเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

    พระจูฬปันถก เป็นน้องชายร่วมมารดาบิดาเดียวกันกับท่านพระมหาปันถก เมื่อพระมหาปันถก สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วได้รับความสุขจากการหลุดพ้นสิ้นกิเลสอาสวะทั้งปวงแล้ว มีความปรารถนาจะให้จูฬปันถก น้องชายมีความสุขเช่นนั้นบ้างจึงไปขออนุญาตจากธนเศรษฐีผู้เป็นตา ซึ่งก็ได้รับอนุญาต

    เมื่อจูฬปันถกได้รับการอุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหาปันถก ผู้เป็นพี่ชายได้สอนคาถาพรรณนาพุทธคุณหนึ่งคาถา ความว่า...

    ปทุมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ
    ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธํ
    องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ
    ตปนุตมาทิจฺจมิวนฺตลฺเข ฯ

    “ดอกปทุมชาติที่ชื่อว่าโกกนุท ขยายกลีบแย้มบานตั้งแต่เวลารุ่งอรุณยามเช้า กลิ่นเกษร หอมระเหยไม่รู้จบเธอจงพินิจดูพระสักยมุนีอังคีรส ผู้มีพระรัศมีแผ่ไพโรจน์อยู่ ดุจดวงทิวากร ส่องสว่างอยู่กลางนภากาศ ฉะนั้น”

    ด้วยคาถาเพียงคาถาเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าพระจูฬปันถก เรียนอยู่นานถึง ๔ เดือนก็ยังจำไม่ได้ ท่านพระมหาปันถกพี่ชาย พยายามเคี่ยวเข็ญอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดก็เห็นว่าท่านเป็น
    คนโง่เขล่าปัญญาทึบ เป็นคนอาภัพในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถจะบรรลุคุณพิเศษเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนาได้ จึงตำหนิประณามท่านแล้วขับไล่ออกจากสำนักไป

    ในวันนั้น หมอชีวกโกมารภัจ ได้กราบอาราธนาพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ไปเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้น ในฐานะที่พระมหาปันถก ผู้มีหน้าที่เป็นภัตตุทเทศก์ ได้จัดนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดในพระอาราม ไปฉันภัตราหารที่บ้านของหมอชีวกโกมารภัจ นั้น เว้นเฉพาะพระจูฬปันถก เพียงรูปเดียวเหลือไว้ในพระอาราม

    พระจูฬปันถก เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในชีวิตและวาสนาของตนเอง คิดว่าตนเองเป็นอาภัพบุคคลในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถที่จะบรรลุโลกุตรธรรมได้ จึงตัดสินใจที่จะสึกออกไปเป็นฆราวาสแล้วทำบุญสร้างกุศลต่างๆตามควรแก่ฐานะ จึงได้หลบออกจากวัดตั้งแต่เช้าตรู่

    ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ได้ทอดพระเนตรเห็นเธอเดินมาจึงตรัสถามว่า:-

    “จูฬปันถก นั้นเธอจะไปไหนแต่เช้าตรู่เช่นนี้ ?”

    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระมหาปันถกได้ขับไล่ข้าพระพุทธเจ้าออกจากอาราม ดังนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจะไปลาสิกขา พระเจ้าข้า”

    “จูฬปัถก เธอมิได้บวชเพื่อที่ชาย เธอบวชเพื่อตถาคตต่างหาก เมื่อพี่ชายขับไล่เธอ เหตุไฉนเธอจึงไม่มาหาตถาคต การกลับไปอยู่ครองเรือนจะมีประโยชน์อะไร มาอยู่กับตถาคตจะประเสริฐกว่า”

    พระบรมศาสดา พาพระจูฬปันถก ไปที่พระคันธกุฏี ประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ผืนเล็ก ๆ ให้เธอผืนหนึ่ง แล้วทรงแนะนำให้เธอบริกรรมด้วยคาถาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ พร้อมกับใช้มือลูบคลำผ้าผืนนั้นไปด้วย เธอรับผ้ามาด้วยความเอิบอิ่มใจ แสวงหาที่สงบสงัดแล้วเริ่มปฏิบัติบริกรรมคาถา ลูบคลำผ้าที่พระพุทธองค์ประทานให้เธอบริกรรมได้ไม่นาน ผ้าขาวที่สะอาดบริสุทธิ์ผืนนั้น ก็เริ่มมีสีคล้ำเศร้าหมองเหมือนผ้าเช็ดมือ จึงคิดขึ้นว่า “ผ้าผืนนี้เดิมทีมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่อาศัยการถูกต้องสัมผัสกับอัตภาพของเรา จึงกลายเป็นผ้าสกปรก เศร้าหมอง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ” แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ยกผ้าผืนนั้นขึ้นเปรียบเทียบกับอัตภาพร่างกายเป็นอารมณ์ ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ คือปัญญาอันแตกฉานมี ๔ ประการคือ
    ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติคือภาษา
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

    ครั้งรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังเรือนของหมอชีวกโกมารภัจ เพื่อเสวยภัตตาหารตามที่หมอชีวกกราบอาราธนาไว้ เมื่อหมอชีวกน้อมนำภัตตาหารเข้าไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ทรงปิดบาตรแล้วตรัสว่า “ยังมีพระภิกษุอีกรูปหนึ่ง อยู่ที่วัด” หมอชีวกจึงส่งคนไปนิมนต์ให้ท่านมาฉันภัตตาหาร

    ขณะนั้น พระจูฬปันถก เพื่อจะประกาศความเป็นพระอรหันต์ของตน ให้ปรากฏ จึงได้เนรมิตพระภิกษุขึ้นถึงจำนวน ๑,๐๐๐ รูป ในพระอารามอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ กัน บ้างก็สาธยายพุทธคุณ บ้างก็ซักจีวร บ้างก็ย้อมจีวร เป็นต้น เมื่อคนรับใช้มาถึงวัดได้เห็นพระภิกษุจำนวนมากมายอย่างนั้น จึงรีบกลับไปแจ้งแก่หมอชีวก พระพุทธองค์ทรงสดับอยู่ด้วย จึงรับสั่งให้คนใช้นั้นไปนิมนต์ท่านที่ชื่อจูฬปันถก
    คนรับใช้ไปกราบนิมนต์ตามพระดำรัสนั้น ด้วยคำว่า “ข้าแต่พระคุณเจ้า พระบรมศาสดารับสั่งให้มานิมนต์พระจูฬปันถก ขอรับ” ปรากฏว่าพระภิกษุทุกรูปต่างก็พูดเหมือนกันว่า “อาตมา ชื่อพระจูฬปันถก” คนรับใช้ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงต้องกลับไปกราบทูลพระบรมศาสดาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีก พระพุทธองค์ ตรัสแนะว่า:-
    “ถ้าพระภิกษุรูปใดพูดขึ้นก่อน เธอจงจับมือภิกษุรูปนั้นไว้แล้วนำท่านมา ส่วนพระภิกษุที่เหลือก็จะหายไปเอง”
    คนรับใช้ ปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำนั้นแล้ว ได้นำพระจูฬปันถก สู่ที่นิมนต์ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระบรมศาสดาทรงมอบให้ท่านเป็นผู้กล่าวภัตตานุโมทนา อันเป็นการเสริมศรัทธาแก่ทายกทายิกา

    บุพกรรมของพระจูฬปันถก
    ในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พระจูฬปันถก ได้บวชเป็นพระภิกษุในครั้งนั้นด้วย ท่านเป็นผู้มีปัญญาดี จำทรงหลักธรรมคำสอนได้เร็วแม่นยำ ท่านเห็นเพื่อนภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งปัญญาทึบท่องสาธยายหัวข้อธรรมเพียงบทเดียวก็จำไม่ได้ จึงหัวเราะเยาะท่าน ทำให้ภิกษุรูปนั้นเกิดความอับอายเลิกเรียนสาธยายหัวข้อธรรมนั้น เพราะกรรมเก่าในครั้งนั้นจึงเป็นผลติดตามให้ท่านมีปัญญาทึบโง่เขลาในอัตภาพนี้

    พระจูฬปันถก สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เป็นกำลังช่วยกิจการพระศาสนาตามความสามารถของท่านและโดยที่ท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในมโนมยิทธิ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

    ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

    จากประวัติของท่าน มีสิ่งที่น่าพิจารณา คือ กรรมที่เกิดจากการปรามาสผู้อื่น แม้เป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย แต่ผลของกรรมก็มีอยู่จริง ดังที่พระจูฬปันถกเถระท่านได้รับ จึงควรที่เราจะตระหนักให้มาก
     
  11. PALA 5

    PALA 5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2014
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +822
    พระอานนท์เถระ
    เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร

    พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระสุกโกทนะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุท
    โธทนะ พระมารดานามว่า พระนางกีสาโคตมี มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา
    (พระราชโอรสของพระเจ้าอา) ออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอนุรุทธะและอุบาลี (ศึกษาประวัติเบื้อง
    ต้นในประวัติของพระอนุรุทธเถระ) เมื่อท่านบวชแล้ว ได้ฟังโอวาทจากพระปุณณมันตานี ได้
    บรรลุเป็นพระโสดาบัน
    ได้รับเลือกเป็นพุทธอุปัฎฐาก
    ในช่วงปฐมโพธิกาลหลังจากตรัสรู้แล้ว ๒๐ พรรษานั้น ยังไม่มีพระภิกษุใดปฏิบัติรับใช้
    พระพุทธองค์เป็นประจำ มีแต่พระภิกษุผลัดเปลี่ยนวาระกันปฏิบัติ เช่น พระนาคสมาละ พระนา
    คิตะ พระอุปวาณะ พระสาคตะ และพระเมฆิยะ เป็นต้น บางคราวการผลัดเปลี่ยนบกพร่อง
    องค์ที่ปฏิบัติอยู่ออกไป แต่องค์ใหม่ยังไม่มาแทน ทำให้พระพุทธองค์ต้องประทับอยู่ตามลำพัง
    ขาดผู้ปฏิบัติ บางครั้งพระภิกษุผู้ปฏิบัติ ก็ดื้อดึงขัดรับสั่งของพระพุทธองค์ เช่น
    ครั้งหนึ่ง เป็นวาระของพระนาคสมาลเถระ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปทางไกล
    พอถึงทาง ๒ แพร่ง พระเถระทราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์เสด็จไปทางนี้เถิด พระเจ้าข้า”
    “อย่าเลย นาคสมาละ ไปอีกทางหนึ่งจะดีกว่า”
    พระนาคสมาละ ไม่ยอมเชื่อฟังพระดำรัส ขอแยกทางกับพระพุทธองค์ ทำท่าจะวาง
    บาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคที่พื้นดิน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
    “นาคสมาละ เธอจงส่งบาตรและจีวรมาให้ตถาคตเถิด”
    พระนาคสมาละ ถวายบาตรและจีวรแด่พระพุทธองค์แล้วแยกทางเดินไปตามที่ตน
    ต้องการ ไปได้ไม่ไกลนักก็ถูกพวกโจรทำร้ายจนศีรษะแตกแล้วแย่งชิงเอาบาตรและจีวรไป ทั้งที่
    เลือดอาบหน้ารีบกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลเล่าเรื่องให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัส
    ว่า
    “อย่าเสียใจไปเลย นาคสมาละ ตถาคตห้ามเธอก็เพราะเหตุนี้”
    พระพุทธองค์ ได้รับความลำบากพระวรกายเพราะถูกปล่อยให้ประทับอยู่ตามลำพัง
    หลายครั้ง จึงมีพระดำรัสรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์เลือกสรรภิกษุทำหน้าที่ปฏิบัติพระองค์เป็นประจำ
    ภิกษุทั้งหลายมีฉันทามติมอบหมายให้พระอานนท์เถระรับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากตลอดกาลเป็น
    นิตย์ ด้วยเห็นว่าท่านเป็นผู้มีสติปัญญา ขยัน อดทน รอบคอบ และเป็นพระญาติใกล้ชิด ย่อม
    จะทราบพระอัธยาศัยเป็นอย่างดี

    พระเถระทูลขอพร ๘ ประการ
    แต่ก่อนที่พระเถระจะตอบรับทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากนั้น ท่านได้กราบทูลขอพร ๘
    ประการ ดังนี้:-
    ๑ ขออย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๒ ขออย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๓ ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
    ๔ ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
    ๕ ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้
    ๖ ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาถึงแล้ว
    ๗ ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใดขอให้ข้าพระองค์เข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยได้เมื่อนั้น
    ๘ ถ้าพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ขอได้โปรดตรัสพระ
    ธรรมเทศนาเรื่องนั้น แก่ข้าพระองค์อีกครั้ง

    พระพุทธองค์ตรัสถามคุณและโทษของพร ๘ ประการ
    พระบรมศาสดา ได้สดับคำกราบทูลขอพรของพระอานนท์เถระแล้ว ได้ตรัสถามถึงคุณ
    และโทษของพร ๘ ประการว่า:-
    “ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นคุณและโทษอย่างไร จึงขออย่างนั้น ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๑-๔ ข้างต้น ก็จะมีคนพูดติฉิน
    นินทา ได้ว่า พระอานนท์ ปฏิบัติบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดา จึงได้ลาภสักการะมากมายอย่าง
    นี้ การปฏิบัติอุปัฏฐากมิได้หนักหนาอะไรเลย
    และถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๕-๗ ก็จะมีคนพูดได้อีกว่าพระอานนท์ จะบำรุง
    อุปัฏฐากพระบรมศาสดาไปทำไม แม้กิจเพียงเท่านี้ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุเคราะห์
    อนึ่ง โดยเฉพาะถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อสุดท้ายแล้ว หากมีผู้มาถามข้าพระองค์ว่า
    ธรรมข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงที่ไหน ถ้าข้าพระองค์ไม่ทราบ เขาก็จะตำหนิได้ว่า
    พระอานนท์ ติดตามพระบรมศาสดาไปทุกหนแห่ง ดุจเงาตามพระองค์ แต่เหตุไฉนจึงไม่รู้แม้แต่
    เรื่องเพียงเท่านี้
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นคุณและโทษ ดังกล่าวมานี้ จึงได้กราบทูลขอพร
    ทั้ง ๘ ประการนั้น พระเจ้าข้า”
    พระบรมศาสดา เมื่อได้สดับคำชี้แจงของพระอานนท์แล้ว จึงประทานสาธุการ และ
    พระราชทานอนุญาตให้ตามที่ขอทุกประการ ตั้งแต่นั้นมา ท่านพระเถระก็ปฏิบัติหน้าที่บำรุง
    อุปัฏฐากพระพุทธองค์ตลอดมา ตราบเท่าถึงเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน

    ยอมสละชีวิตแทนพระพุทธองค์
    พระเถระ ได้ปฏิบัติหน้าที่อุปัฏฐากพระบรมศาสดาด้วยความอุตสาหะมิได้บกพร่อง อีก
    ทั้งมีความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ชีวิตของตนก็ยอมสละแทนพระพุทธองค์ได้ เช่น ในคราว
    ที่พระเทวทัตยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยช้างนาฬาคีรี ด้วยหวังจะให้ทำอันตรายพระพุทธองค์
    ขณะเสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ในขณะที่ช้างนาฬาคีรีวิ่งตรงเข้าหาพระพุทธองค์นั้น
    พระอานนท์เถระผู้เปี่ยมล้นด้วยความกตัญญูและความจงรักภักดี ได้ยอมมอบกายถวายชีวิตเป็น
    พุทธบูชา ได้ออกไปยืนขวางหน้าช้างไว้ หวังจะให้ทำอันตรายตนแทน แต่พระพุทธองค์ได้ทรง
    แผ่พระเมตตาไปยังช้างนาฬาคีรี ด้วยอำนาจแห่งพระเมตตาบารมี ทำให้ช้างสร่างเมาหมดพยศ
    ลดความดุร้ายยอมหมอบถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วลุกขึ้นเดินกลับเข้าสู่โรงช้าง ด้วยอาการ
    อันสงบ

    ได้รับยกย่องหลายตำแหน่ง
    พระอานนท์เถระ ได้ปฏิบัติพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด มิได้ประมาทพลาดพลั้ง ได้ฟัง
    พระธรรมเทศนาทั้งที่ทรงแสดงแก่ตนและผู้อื่น ทั้งที่แสดงต่อหน้าและลับหลัง อีกทั้งท่านเป็นผู้
    มีสติปัญญาทรงจำไว้ได้มาก จึงเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรม พระบรมศาสดาทรงยกย่องท่าน
    ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งปวง ถึง ๕ ประการ คือ เป็นพหูสูต เป็นผู้มีสติ เป็นผู้
    มีคติ เป็นผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก

    ปฐมสังคายนารับหน้าที่สำคัญ
    ในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพาน พระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยัง เป็นพระโสดาบันอยู่ อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีก
    ออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก พระพุทธองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกเธอมาแล้ว ตรัส
    เตือนให้เธอคลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากรณ์ว่า....
    “อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา”
    เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์
    ขีณาสพ จำนวน ๕๐๐ องค์ เพื่อทำปฐมสังคายนา โดยมอบให้พระอานนท์รับหน้าที่วิสัชนาพระ
    สูตรและพระอภิธรรม แต่เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ท่านจึงเร่งทำความเพียรอย่าง
    หนักแต่ก็ยังไม่สำเร็จจนเกิดความอ่อนเพลีย ท่านจึงปรารภที่จะพักผ่อนอิริยาบถสักครู่ จึงเอน
    กายลงบนเตียง ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ท่านก็สำเร็จเป็นพะอรหันต์
    ในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง ๔ อย่าง คือ อิริยาบถยืน
    เดิน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่น ๆ

    ปรินิพพานกลางอากาศ
    พระอานนท์เถระ ดำรงอายุสังขารอยู่นานถึง ๑๒๐ ปี พิจารณาเห็นว่าสมควรที่จะ
    ปรินิพพานได้แล้ว ท่านจึงเชิญญาติทั้งฝ่ายศากยะและฝ่ายโกลิยะ ไปที่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี ซึ่งกั้น
    เขตแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ ก่อนที่จะปรินิพพาน ท่านเหาะขึ้นไปบนอากาศ
    ได้แสดงธรรมสั่งสอนเทวดาและพระประยูรญาติทั้งสองฝ่าย ตลอดทั้งพุทธบริษัทอื่น ๆ เมื่อจบ
    พระธรรมเทศนาแล้วท่านได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า....
    “เมื่ออาตมานิพพานแล้ว ขอให้อัฐิธาตุของอาตมานี้จงแยกออกเป็น ๒ ส่วน จงตกลงที่
    ฝั่งกรุงกบิลพัสดุ์ ของพระประยูรญาติฝ่ายศากยวงศ์ ส่วนหนึ่ง และจงตกที่ฝังกรุงเทวทหะของ
    พระประยูรญาติฝ่ายโกลิยวงศ์ส่วนหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้พระประยูรญาติทั้งสองฝ่ายทะเลาะ
    วิวาทกันเพราะแย่งอัฐิธาตุ”
    ครั้นอธิษฐานเสร็จแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ณ เบื้องบนอากาศ ในท่ามกลางแม่น้ำ
    โรหิณี นั้น เตโชธาตุก็เกิดขึ้น เผาสรีระของท่านเหลือแต่กระดูกและแยกออกเป็น ๒ ส่วน แล้ว
    ตกลงบนพื้นดินของ ๒ ฝั่งแม่น้ำโรหิณีนั้นสมดังที่ท่านอธิษฐานไว้ทุกประการ
    ท่านได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวกที่ได้บรรลุกิเลสนิพพาน และขันธนิพพานแปลกกว่าพระ
    สาวกรูปอื่น ๆ
     
  12. ไปในภพภูมิ

    ไปในภพภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +433
    พระอานนท์

    พระนามเดิม อานันทศากยะ

    พระนามอื่น พระอานนท์, พระอานนท์พุทธะอนุชา, พระอานนทเถระ, พระอานนท์เถระ, เจ้าชายอานันทะ, เจ้าชายอานนท์

    สถานที่ประสูติ เมืองกบิลพัสดุ์

    นามพระบิดา พระเจ้าสุกโกทนะ

    นามพระมารดา พระนางกีสาโคตมี

    วรรณะเดิม กษัตริย์

    ราชวงศ์ ศากยราชวงศ์

    ตำแหน่ง พระบรมพุทธอุปัฏฐาก

    เอตทัคคะ มีสติเป็นเลิศ, มีความทรงจำเป็นเลิศ, มีความเพียรเป็นเลิศ, พหูสูต, ยอดพระพุทธอุปัฏฐาก

    ปรินิพพาน พ.ศ. 40

    สถานที่ปรินิพพาน บนอากาศกลางแม่น้ำโรหิณี (ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ)

    พระอานนท์ เป็นสหชาติและพุทธอุปัฏฐากของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระสาวกอื่นถึง 5 ประการ และเป็นพหูสูต เนื่องจากเป็นผู้ทรงจำพระสูตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ และเป็นผู้ที่สาธยายพระสูตร จนทำให้ปฐมสังคายนาสำเร็จเรียบร้อย

    พระอานนท์ ก่อนจะผนวชนั้น ทรงเป็นเจ้าชายแห่งศากยวงศ์ โดยท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชพระพุทธบิดา พระมารดาของท่านทรงพระนามว่านางกีสาโคตมี พระอานนท์จึงถือว่าเป็นลูกผู้น้องของเจ้าชายสิทธัตถะ และเป็นสหชาติของเจ้าชายสิทธัตถะ (สหชาติ คือ เกิดใน วัน เดือน ปีเดียวกัน กับเจ้าชายสิทธัตถะ) มีอยู่ด้วยกัน 7 ประการ ได้แก่

    1. พระนางพิมพาราหุลมาตา (พระนางพิมพา ต่อมาได้เป็นอัครมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะและให้กำเนิดพระราหุลกุมาร)

    2. ฉันนะอำมาตย์ (บุตรมหาดเล็ก ซึ่งเป็นผู้ตามเสด็จในวันที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออก บรรพชาและต่อมาตามเสด็จออกบวชจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์)

    3. กาฬุทายิอำมาตย์ (บุตรของอำมาตย์ ต่อมาได้ตามเสด็จออกบรรพชาและสำเร็จอรหันต์)

    4. พระอานนท์ (ตามศักดิ์ถือเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระพุทธเจ้า ต่อมาตามเสด็จออกบรรพชาจนสำเร็จอรหันต์และเป็นพระมหาพุทธอุปัฏฐาก)

    5. กันฐกอัศวาร (เป็นม้าทรงที่เจ้าชายสิทธัตถะใช้เสด็จออกจากพระนครเพื่อบรรพชา)

    6. ต้นอัสสัตถะ (ต่อมาเป็นมหาโพธิบัลลังก์ ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับในวันตรัสรู้)

    7. ขุมทรัพย์ 4 ทิศ (อันมีนาม สังขนิธี เอลนิธี อุบลนิธี บุณฑริกนิธี ซึ่งหากพระองค์ดำรงเพศฆราวาสจะมีพระราชทรัพย์ในพระคลังมากมายมหาศาล)

    เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่ 2 ได้เสด็จกลับไปโปรดพระพุทธบิดา และพระญาติวงศ์ศากยะ ณ นครกบิลพัศดุ์ ในครั้งนั้นบรรดาศากยราชได้ทรงเลื่อมใสศรัทธา ต่างได้ถวายพระโอรสของตนให้ออกบวชตามเสด็จ พระอุปัชฌายะของท่าน พระอานนท์ ชื่อพระเวลัฏฐสีสเถระ

    พระอานนท์ครั้นอุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาธรรมจากสำนักของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ไม่นานก็ได้สำเร็จชั้นโสดาบัน

    พระอานนท์ได้กราบทูลขอพร 8 ประการ หากพระพุทธองค์ทรงประทานพร 8 ประการนี้ ท่านจึงจะรับตำแหน่งพุทธุปัฏฐาก ท่านกราบทูลขอพร ว่า
    1. ถ้าจักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์
    2. ถ้าจักไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์
    3. ถ้าจักไม่โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
    4. ถ้าจักไม่ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่ที่ทรงรับนิมนต์ไว้
    5. ถ้าพระองค์จักไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้
    6. ถ้าข้าพระองค์จะพาบริษัทซึ่งมาแต่ที่ไกลเพื่อเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาแล้ว
    7. ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
    8. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอันใดในที่ลับหลังข้าพระองค์จักเสด็จมาตรัสบอกพระธรรมเทศนานั้นแก่ข้าพระองค์อีก

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามถึงโทษและอานิสงส์ที่ทูลขอพร 8 ประการนี้ ท่านได้กราบทูลว่า ถ้าท่านไม่ทูลขอพรข้อ 1-4 ก็จักมีคนพูดได้ว่า ท่านรับตำแหน่งพุทธุปัฏฐาก เพื่อหวังลาภสักการะอย่างนั้น ๆ เพื่อป้องกันปรวาทะอย่างนั้น ท่านจึงได้ทูลขอพร 4 ข้อนี้ ถ้าท่านไม่ทูลขอพรข้อ 5-7 ก็จักมีคนพูดได้ว่า พระอานนท์บำรุงพระศาสดาไปทำไม เพราะกิจเท่านี้พระองค์ก็ยังไม่ทรงสงเคราะห์เสียแล้ว และหากท่านไม่ทูลขอพรข้อ 8 เมื่อมีคนมาถามท่านลับหลัง พระพุทธองค์ว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสที่ไหน? ถ้าท่านตอบเขาไม่ได้ เขาก็จะพูดได้ว่า พระอานนท์เฝ้าติดตามพระผู้มีพระภาคเหมือนเงาของพระองค์อยู่เป็นเวลานาน ทำไมเรื่องเท่านี้ยังไม่รู้?
    ครั้นท่านได้ทูลชี้แจงแสดงโทษในข้อที่ไม่ควรได้ และอานิสงส์ในข้อที่ควรได้อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงทรงประทานพรตามที่พระอานนท์กราบทูลขอทุกประการ ท่านพระอานนท์จึงได้รับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก และได้อุปัฏฐากพระพุทธองค์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงวันเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค เป็นเวลา 25 พรรษา

    พระอานนท์ได้รับการสรรเสริญจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะ (เลิศ) 5 ประการคือ
    1. มีสติ รอบคอบ
    2. มีคติ คือความทรงจำแม่นยำ
    3. มีความเพียรดี
    4. เป็นพหูสูต
    5. เป็นยอดของภิกษุผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า

    ภิกษุอื่น ๆ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะก็ได้รับเพียงอย่างเดียว แต่พระอานนท์ท่านได้รับถึง 5 ประการ ความเป็นพหูสูตของพระอานนท์นั้นนับว่าเป็นคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา กล่าวคือภายหลังพุทธปรินิพพานแล้ว มีภิกษุบางพวกกล่าวติเตียนพระศาสนา ทำให้พระมหากัสสปเถระเกิดความสังเวชในใจว่า ในอนาคตพวกอลัชชีจะพากันกำเริบ ย่ำเหยียบพระศาสนา จำต้องกระทำการสังคายนาพระไตรปิฎกให้เป็นหมวดหมู่ จึงได้นัดแนะพระภิกษุสงฆ์ให้ไปประชุมกันที่กรุงราชคฤห์เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยตลอดเข้าพรรษา

    การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งนั้นได้มีพระมหาเถระ 3 รูปที่มีส่วนสำคัญในการสังคายนา กล่าวคือ

    พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐาก ซึ่งได้รับประทานพรข้อที่ 8 ทำให้ท่านเป็นผู้ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ได้มาก ท่านจึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม

    พระอุบาลี ท่านได้จดจำพระวินัยเป็นพิเศษ มีเรื่องเล่าในพระวินัยปิฏกว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องวินัยแก่พระภิกษุทั้งหลาย และสรรเสริญพระวินัยและสรรเสริญพระอุบาลีเป็นอันมาก ภิกษุทั้งหลายจึงพากันไปเรียนวินัยจากพระอุบาลี ในการสังคายนาครั้งนี้ท่านจึงได้รับหน้าที่วิสัชชนาเกี่ยวกับพระวินัย

    พระมหากัสสปเถระ ซึ่งเป็นเลิศทางธุดงควัตรและเป็นผู้ชักชวนให้สังคายนาพระธรรมวินัย เป็นผู้ถามทั้งพระธรรมและพระวินัย

    ภายหลังจากพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ใกล้วันเข้าพรรษาพระอานนท์จึงได้ออกเดินทางไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อร่วมทำสังคายนา เมื่อถึงแล้ว ท่านได้ทำความเพียรอย่างหนักเพื่อให้สำเร็จอรหัตผลก่อนการทำสังคายนา แต่ก็ยังไม่สำเร็จ เพื่อน ๆ ได้ตักเตือนท่านว่า ในวันรุ่งขึ้นท่านจะต้องเข้าไปนั่งในสังฆสันนิบาตแล้ว ท่านเองเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ขอให้ทำความเพียร อย่าประมาท ในคืนนั้น ท่านได้เดินจงกรม กำหนดกายคตาสติ จนจวบปัจจุสมัยใกล้รุ่ง จึงลงจากที่จงกรม หมายใจจะหยุดนอนพักผ่อนในวิหารสักครู่ แต่พอเอนกายลงนอน ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้าทั้งสองยังไม่พ้นจากพื้น ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในอิริยาบถที่ไม่ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน

    ภายหลังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระอานนท์ได้เที่ยวจาริกสั่งสอนเวไนยสัตว์แทนองค์พระศาสดา จนชนมายุของท่านล่วงเข้า 120 ปี (พ.ศ. 40) ท่านจึงได้พิจารณาอายุสังขารของท่านพบว่า อายุสังขารของท่านนั้นยังอีก 7 วันก็จะสูญสิ้นเข้าสู่พระนิพพาน ท่านจึงพิจารณาว่าท่านจะเข้านิพพาน ณ ที่ใด ก็เห็นว่าที่ปลายแม่น้ำโรหิณี ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์ กับเมืองเทวทหะ เป็นที่เหมาะสม ท่านจึงได้ลาภิกษุสงฆ์ และชนทั้งหลาย จนครบ 7 วันแล้ว ท่านจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์นานาประการ แล้วตั้งจิตอธิษฐานให้กายของท่านแตกออกเป็น 2 ภาค ภาคหนึ่งให้ตกที่ฝั่งกรุงกบิลพัสดุ์ อีกภาคหนึ่งตกที่เทวทหะ แล้วท่านได้เจริญเตโชกสิณ ทำให้เปลวเพลิงบังเกิดในร่างกาย เผาผลาญมังสะและโลหิตให้สูญสิ้น ยังเหลือแต่พระอัฐิธาตุสีขาวดังสีเงิน พระอัฐิธาตุที่เหลือจึงแตกออกป็น 2 ภาค ด้วยกำลังอธิษฐานของท่าน บรรดาพระประยูรญาติและชนที่มาชุมนุมกัน ณ ที่นั้นต่างก็รองรับพระธาตุไว้ แล้วสร้างพระเจดีย์บรรจุไว้ทั้ง 2 ฟากของแม่น้ำโรหิณี
     
  13. origino

    origino Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2012
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +27
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ
    ท่านพระภัทราวุธ เป็นบุตรพราหมณ์ ในนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้วได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาในสำนักของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นต่ามาพราหมณ์พาวรี มีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากตำแหน่งปุโรหิต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ได้ออกบวชเป็นชฏิลประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และอาฬกะต่อกัน ภัทราวุธมาณพได้ติดตามออกบวชด้วยนับเข้าเป็นคนหนึ่งในจำนวนมาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดา ซึ่งประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ

    ภัทราวุธมาณพได้ทูลขอโอกาสถามปัญหา ครั้นพระบรมศาสดาทรงอนุญาตแล้วได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบสองว่า

    คนที่อยู่ตามชนบทต่าง ๆ อยากจะฟังพระวาจาของพระองค์พร้อมกันมาแล้วจากชนบทนั้น ๆ ได้ฟังพระวาจาของพระองค์แล้วจะกลับไปจากที่นี้ ขอพระองค์จงทรงแก้ปัญหาเพื่อชนเหล่านั้นเถิด

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า หมู่ชนนั้นควรจะนำตัณหา ที่เป็นเหตุถือมั่นในส่วนเบื้องบน เบื้องต่ำ และท่ามกลาง ออกให้หมดสิ้นเพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก มารย่อมติดตามเขาได้เพราะสิ่งนั้น ๆ เหตุนั้นภิกษุเมื่อรู้อยู่ เห็นหมู่สัตว์ผู้ติดอยู่ในวัฏฏะอันเป็นที่ตั้งแห่งมารนี้ว่าติดอยู่ เพราะความถือมั่นดังนี้ พึงเป็นคนมีสติไม่ถือมั่นกังวลในโลกทั้งปวง

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหาจบลง ภัทราวุธมาณพ ได้บรรลุพระอรหัตตผล เมื่อจบโสฬสปัญหาพยากรณ์แล้ว ภัทราวุธมาณพพร้อมด้วยมาณพสิบห้าคน ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านพระภัทราวุธดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
     
  14. อนันตภพ

    อนันตภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +2,969
    พระอัสสชิเถระ

    ในพระบาลี มีพระภิกษุชื่อ “อัสสชิ” อยู่ หลายรูป คือ

    พระอัสสชิที่เป็นหนึ่งในภิกษุฉัพพัคคีย์ ซึ่งเป็นกลุ่มสหายชาวกรุงสาวัตถีรวม ๖ คน มาบวชเพื่อหาลาภ ได้ก่อกรรมอันลามกต่าง ๆ เป็นเหตุให้พระบรมศาสดาต้องบัญญัติพระวินัยมากมาย

    อีกรูปหนึ่งคือพระอัสสชิที่ปรากฎชื่ออยู่ใน อัสสชิสูตร ซึ่งเป็นภิกษุอาพาธ ได้ขอให้ภิกษุที่อุปัฏฐากกราบทูลขอให้พระบรมศาสดาเสด็จมาโปรด ครั้นเมื่อเสด็จมาแล้วทรงแสดงธรรมโปรด เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมนั้น พระภิกษุอัสสชิผู้อาพาธก็บรรลุพระอรหันต์

    ส่วนพระอัสสชิที่จะกล่าวในที่นี้ เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ เป็นภิกษุรูปสุดท้ายในหมู่ปัญจวัคคีย์ คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ได้ดวงตาเห็นธรรม ชื่ออัสสชิแปลว่า “ผู้ชนะม้า, ผู้ชำนาญในการบังคับม้า” (เทียบภาษาสันสกฤต อศว-ชิต)

    ท่านเป็นภิกษุรูปที่ ๕ แห่งพุทธกาลนี้ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระประยูรญาติก็ได้จัดพระราชพิธีเฉลิมพระนาม โดยได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาประกอบพิธี โดยถวายผ้าใหม่ให้ครอง และถวายภัตตาหาร ครั้นเสร็จภัตกิจแล้วจึงได้เลือกพราหมณ์ ๘ คน จากพราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้น พราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้คือ รามะ ธชะ ลักขณะ สุชาติมันตี โภชะ สุยามะ โกณฑัญญะ สุทัตตะ ซึ่งพราหมณ์เหล่านี้ก็เป็นกลุ่มที่ได้ทำนายพระสุบิน ในวันที่ทรงประสูตินั่นเอง

    อีก ๒๙ ปีต่อมา เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเห็นโทษในกาม เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ในวันที่พระราหุลกุมารประสูติ จึงได้เสด็จออกทรงผนวช

    ในครั้งนั้นพราหมณ์ ๗ คน ได้สิ้นชีวิตไปแล้ว ส่วนโกณฑัญญมาณพ ซึ่งอายุน้อยกว่าเขาทั้งหมด เมื่อท่านทราบว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหาพวกบุตรพราหมณ์ของพราหมณ์ทั้ง ๗ และชักชวนให้ออกบวชตามเสด็จ แต่ก็มีบุตรพราหมณ์เพียง ๔ คนเท่านั้นที่เห็นดีด้วย บุตรพราหมณ์ทั้ง ๔ คน เหล่านี้ คือ ท่านภัททิยะ ท่านวัปปะ ท่านมหานาม และท่านอัสสชิ

    เมื่อบวชแล้วบรรพชิตทั้ง ๕ นี้อันมีท่านโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า จึงได้มีชื่อว่า พระปัญจวัคคีย์เถระ ก็ได้เที่ยวบิณฑบาตในคามนิคมและราชธานี และได้เดินทางไปอุปัฎฐากพระโพธิสัตว์ ตลอด ๖ ปีที่พระโพธิสัตว์ทรงเริ่มกระทำทุกรกิริยา ด้วยหวังว่า พระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใด ก็จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย ครั้นพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยามิใช่หนทางไปสู่อริยธรรม จึงทรงกลับมาเสวยพระกระยาเช่นเดิม หมู่ปัญจวัคคีย์คิดว่าพระมหาสัตว์ทรงละความเพียรเสียแล้ว จึงหมดความเลื่อมใส เกิดความเบื่อหน่าย พากันละพระองค์เสีย ไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

    ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์ ทรงกลับมาเสวยพระกระยาหารดังปกติ ล่วงมาถึงวันวิสาขบุรณมี ทรงตกลงพระทัยที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุพระมหาอมตธรรมให้ได้ในวันนั้น จึงทรงประทับใต้ร่มมหาโพธิ บ่ายพระพักตร์ไปสู่ด้านตะวันออก นั่งขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียร ทรงกำจัดมารและพลมารและบรรลุธรรมเป็นลำดับ จนกระทั่ง ทรงตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจฉิมยามแห่งราตรีนั้นเอง

    ครั้นเมื่อทรงตรัสรู้แล้ว ก็ทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์สมควรจะแสดงธรรมให้ก่อน จึงทรงพิจารณาถึง อาฬารดาบสและอุททกดาบส ก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่าบุคคลทั้งสองสิ้นชีวิตไปแล้ว เมื่อทรงพิจารณาต่อไปก็ทรงเห็นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้อุปัฏฐากครั้งเมื่อทรงตั้งความเพียร นับว่าเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เรา อีกทั้งโกณฑัญญพราหมณ์ ก็เป็นผู้กระทำกรรมสะสมบารมีมาถึง ๑๐๐,๐๐๐ กัป ก็เพื่อประสงค์จะเป็นผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถบรรลุธรรมก่อนผู้อื่น

    ลำดับนั้น พระศาสดา จึงเสด็จไปยังป่าอิสิปตมฤคทายวัน ที่ปัญจวัคคีย์อาศัยอยู่ ทรงแสดงพระปฐมเทศนาประกาศพระสัมโพธิญาณ ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสพระธรรมเทศนาจบ โกณฑัญญพราหมณ์ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ในวันอาสาฬหปุรณมี เพ็ญกลางเดือน ๘ นั่นเอง

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบด้วยพระญาณว่า ท่านโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว จึงได้ทรงเปล่งพระอุทานว่า “โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ, โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” (อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ, อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ) เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านตั้งแต่นั้นมา

    เมื่อท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรม ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรคแล้ว จึงได้ทูลขอบรรพชาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาก็ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่าธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด

    บัดนั้น ถือว่าโลกมี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบองค์สาม เป็นครั้งแรก

    ในวันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมกถา ทรงให้พระภัททิยเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๒ ในวันแรม ๑ ค่ำ
    ในวันแรม ๒ ค่ำ ทรงให้พระวัปปเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๓
    ในวันแรม ๓ ค่ำ ทรงให้พระมหานามเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๔
    ในวันแรม ๔ ค่ำ ทรงให้พระอัสสชิเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๕
    อนึ่งในวันแรม ๕ ค่ำ ทรงเทศนาอนัตตลักขณสูตร พระปัญจวัคคีย์ทั้งหมดจึงได้บรรลุพระอรหัตผล ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์

    ครั้นปวารณา (คือพ้นพรรษา) แล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงส่งพระอรหันต์สาวก ๖๐ รูป (ปัญจวัคคีย์ ๕ พระยศและสหาย ๕๔ รูป) ออกไปประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก ท่านพระอัสสชิเถระก็ได้ไปเที่ยวเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ในที่ต่าง ๆ ด้วย และต่อมาได้กลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์

    ในเวลานั้น พระสารีบุตรและพระพระโมคคัลลานะ ท่านทั้งสองได้เข้าศึกษาในสำนักของสญชัยปริพาชก เห็นว่ายังไม่สามารถทำให้ถึงอมตธรรมได้ จึงได้ตกลงกันไว้ว่า ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อน ผู้นั้นก็จะบอกแก่อีกคนหนึ่ง

    ต่อมา สารีบุตรปาริพาชกได้เห็นพระอัสสชิ กำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ด้วยกิริยาอันงามน่าเลื่อมใส จึงเข้าไปหาพระอัสสชิ พูดจาปราศรัยกับท่าน พระอัสสิเถระได้กล่าวธรรมปริยายแก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้
    “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม และความดับแห่งธรรม เหล่านั้น”
    พอท่านกล่าวจบพระสารีบุตร ได้เกิดปัญญาเห็นธรรม บรรลุพระโสดาปัตติผล จากนั้น พระสารีบุตรได้นำความไปบอกแก่พระโมคคัลลานะ สหายรัก ตามที่ได้ฟังมาจากท่านพระอัสสชิเถระ พระโมคคัลลานะ ก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันเช่นเดียวกัน ต่อมาท่านทั้งสองพร้อมด้วยบริวารก็ได้ลาอาจารย์สญชัย ไปบวชในสำนักพระพุทธเจ้า และได้เป็นพระอัครสาวกขวาซ้ายของพระพุทธองค์
    เนื่องจากท่านพระอัสสชิเถระเป็นอาจารย์รูปแรกในพระพุทธศาสนาของท่านพระสารีบุตร จึงได้รับความเคารพยกย่องจากท่านพระสารีบุตรมาก พระสารีบุตรนั้น เมื่อใดที่อยู่ในอารามเดียวกันกับพระอัสสชิเถระ เมื่อนั้นท่านจะไปสู่ที่อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน ต่อจากนั้นก็ไปสู่ที่อุปัฏฐากพระเถระ ด้วยท่านมีความเคารพว่า พระผู้มีอายุนี้เป็นบุรพาจารย์ของเราทั้งหลาย เราได้อาศัยท่านผู้มีอายุนี้ จึงได้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า
    แต่ว่าเมื่อใดท่านมิได้อยู่ในอารามเดียวกันกับพระอัสสชิเถระ ท่านก็จะหันหน้าไปยังทิศที่พระอัสสชิเถระอยู่นั้น กระทำการเคารพด้วย เบญจางคประดิษฐ์ แล้วประคองอัญชลีนมัสการ และนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น
     
  15. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ

    ประวัติพระนันทาเถรี

    เอตทัคคะผู้ยินดีในฌาน​


    เจ้าหญิงในศากยวงศ์ที่ชื่อนันทา นั้นมีปรากฏอยู่หลายองค์ เรียกว่า “นันทา” บ้าง “รูปนันทา” บ้าง สุนทรีนันทา” บ้าง “อภิรูปนันทา” บ้าง แต่เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว จะเหลือเพียง ๒ องค์ คือ เจ้าหญิงรูปนันทา และเจ้าหญิงอภิรูปนันทา

    เจ้าหญิงทั้งสองนั้น เจ้าหญิงรูปนันทา เป็นพระธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ และพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระขนิษฐภคินีของเจ้าชายนันทะ ส่วนเจ้าหญิงอภิรูปนันทา นั้น อรรถกถากล่าวว่า เป็นพระธิดาของพระเจ้าเขมกศากยะ มีคู่หมั้นชื่อ เจ้าชายสัจจกุมาร แต่พระคู่หมั้นก็ได้สิ้นพระชนม์ลงในวันหมั้นนั่นเอง

    เรื่องราวของ เจ้าหญิงรูปนันทา และ เจ้าหญิงอภิรูปนันทานี้ ตามอรรถกถาได้กล่าวไว้คล้ายคลึงกันมาก ตั้งแต่ เป็นเจ้าหญิงในศากยวงศ์เหมือนกัน ชื่อคล้ายกัน เป็นผู้มีความงามอย่างยิ่งเหมือนกัน เป็นผู้หลงในความงามของตนเองเหมือนกัน ออกบวชเป็นภิกษุณีโดยไม่ศรัทธาเหมือนกัน และพระบรมศาสดาได้ทรงใช้อุบายในการแสดงธรรมในลักษณะอย่างเดียวกัน จนกระทั่งพระนางทั้งสองบรรลุพระอรหันต์

    ประวัติที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะเป็นประวัติของ เจ้าหญิงรูปนันทา ซึ่งต่อมาได้ออกบวชเป็นพระภิกษุณี และได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุณีทั้งหลายผู้ยินดีในฌาน ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

    ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

    ดังได้สดับมา พระนันทาเถรีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้ถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐี กรุงหังสวดี ต่อมา ขณะเมื่อกำลังฟังธรรมกถาอยู่ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ยินดียิ่งในฌาน จึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์ ได้ถวายมหาทานแด่พระองค์ด้วยมือของตน แล้วตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้นบ้างในสมัยแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นในอนาคต

    ครั้งนั้นพระสุคตเจ้าทรงพยากรณ์ว่า นางจักได้ตำแหน่งที่ปรารถนาดีแล้วนั้น ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้พระศาสดาพระนามว่าโคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก นางจักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักเป็นสาวิกาของพระองค์ มีนามชื่อว่านันทา

    เมื่อได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้วนางก็มีใจยินดีมีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระพิชิตมาร ด้วยปัจจัยทั้งหลายตลอดชีวิต ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ดีนั้นและด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เมื่อละร่างกายมนุษย์แล้ว ก็ได้เวียนว่ายอยู่ในภพภูมิเทวดาและมนุษย์ ตลอดแสนกัป

    ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมหาปชาบดีโคตมี พระมเหสีในพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ มีพระเชษฐาชื่อเจ้าชายนันทะ ทั้งสองพระองค์มีฐานะเป็นน้องต่างพระมารดากับเจ้าชายสิทธัตถะ พระประยูรญาติได้เฉลิมพระนามพระนางว่า รูปนันทา ต่อมาเมื่อทรงเติบใหญ่ขึ้น ก็ทรงพระสิริโฉมเป็นอย่างยิ่ง จนได้ชื่อว่า ชนบทกัลยาณี

    ศากยวงศ์นั้นได้ชื่อว่าเป็นวงศ์ที่มีความบริสุทธิ์แห่งชาติเป็นอย่างยิ่ง จะไม่ยอมอภิเษกกับราชวงศ์อื่นที่ต่ำกว่าเป็นอันขาด และเมื่อเจ้าชายนันทะโตพอที่จะอภิเษกได้แล้ว เมื่อในขณะนั้นไม่มีราชธิดาของราชวงศ์ที่เสมอกันแล้วจึงให้ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงรูปนันทา ผู้เป็นพระกนิษฐภคินีเพื่อรักษาพระวงศ์ให้บริสุทธิ์

    วันที่กำหนดให้เป็นวันวิวาหมงคลของเจ้าชายนันทะ และเจ้าหญิงรูปนันทา นั้น เป็นวันที่ ๓ นับแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติ

    ในวันวิวาหมงคลนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปในงาน เมื่อไปถึงจึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาต จากนั้นเมื่อจะเสด็จกลับ ได้ทรงประทานบาตรในหัตถ์ของนันทกุมาร ตรัสอวยพรแล้วเสด็จลุกจากอาสนะ โดยหาได้ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมารคืนมาไม่

    นันทะพุทธอนุชาออกบวช

    ฝ่ายนันทกุมารนั้น ด้วยความเคารพในพระตถาคต จึงมิอาจทูลว่า “ ขอพระองค์รับบาตรไปเถิด พระเจ้าข้า ” แต่คิดว่า “ พระศาสดา คงจักทรงรับบาตรคืนที่หัวบันได ” แต่เมื่อถึงที่นั้นพระศาสดาก็มิได้ทรงรับ นันทกุมารจึงคิดว่า “ คงจักทรงรับที่ริมเชิงบันได ” แม้ถึงที่นั้นแล้ว พระศาสดา ก็ไม่ทรงรับ นันทกุมารก็คิดว่า “ จักทรงรับที่พระลานหลวง ” แม้ถึงที่นั้นแล้วพระศาสดาก็ไม่ทรงรับ

    พระกุมารปรารถนาจะเสด็จกลับ แต่จำเสด็จไปด้วยความไม่เต็มพระทัย เพราะด้วยความเคารพในพระตถาคต จึงไม่กล้าทูลว่า “ ขอพระองค์ทรงรับบาตรเถิด ” ทรงเดินก็นึกเอาว่า “ พระองค์จักทรงรับในที่นี้ พระองค์จักทรงรับในที่นี้ ” ในขณะนั้นพวกนางข้าหลวงของเจ้าหญิงรูปนันทาเห็นอาการนั้นแล้ว จึงบอกแก่เจ้าหญิงว่า “ พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพานันทกุมารเสด็จไปแล้ว คงจักพรากนันทกุมารจากพระแม่เจ้า ”

    ฝ่ายพระนางรูปนันทาเมื่อได้ยินดังนั้น ทั้งที่ยังทรงเกล้าพระเกศาค้างอยู่ ก็รีบเสด็จไปที่พระบัญชร ทูลกับพระกุมารนั้นว่า “ ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระองค์พึงด่วนเสด็จกลับ ” คำของนางนั้น ประหนึ่งตกไปขวางตั้งอยู่ในหทัยของนันทกุมาร

    แม้พระศาสดา ก็ยังไม่ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมารนั้นเลย ทรงนำนันทกุมารนั้นไปสู่วิหารแล้วตรัสว่า “ นันทะ เธออยากบวชไหม ? ” นันทกุมารนั้น ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า จึงไม่กล้าทูลว่า “ จักไม่บวช ”จึงทูลรับว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จักบวชพระเจ้าข้า ”พระศาสดารับสั่งว่า “ ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น เธอทั้งหลายจงให้นันทะบวชเถิด ”

    ต่อมาพระนันทเถระก็ได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ ภายหลังพระผู้มีพระภาคได้ทรงแต่งตั้งให้ท่านได้เป็น เอตทัคคะผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์

    พระนางรูปนันทาออกทรงผนวช

    ต่อมา เมื่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชเสด็จปรินิพพานแล้ว และเมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีและพระนางพิมพาบวชแล้ว พระนางก็คิดว่า พระเชษฐภาดาของเราทรงละความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าผู้อัครบุคคลในโลก แม้ราหุลกุมารผู้เป็นพระโอรสของพระองค์ก็บวช เจ้าชายนันทราชภัสดาของเราก็ดี พระมหาปชาบดีโคตมีพระมารดาก็ดี พระนางพิมพาพระภคินีก็ดี ก็บวชกันหมดแล้ว บัดนี้ตัวเราจักทำอะไรอยู่ในวังเล่า เราก็ควรจักบวชด้วยเหมือนกัน เธอจึงไปยังสำนักพระมหาปชาบดีโคตมี และทรงผนวช

    พระนางไม่เข้าเฝ้าพระศาสดาเพราะเกรงถูกตำหนิ

    แต่การบวชของพระนางเป็นบวชด้วยความรักพวกพระญาติ ไม่ได้บวชด้วยศรัทธาฉะนั้น ถึงบวชแล้วก็ยังหลงใหลด้วยความเจริญแห่งรูป จึงไม่ไปเฝ้าพระศาสดา ด้วยคิดว่าพระศาสดาทรงตำหนิติเตียนรูป ทรงแสดงโทษในรูปโดยอเนกปริยาย เมื่อพระศาสดาเห็นรูปของเราซึ่งน่าดู น่าเลื่อมใสอย่างนี้แล้ว จะพึงตรัสโทษในรูป

    เมื่อถึงวาระที่จะต้องไปรับพระโอวาท ก็สั่งภิกษุณีรูปอื่นไปแล้วให้นำพระโอวาทมาแสดงแก่พระนาง

    พระนางรูปนันทาเถรีเข้าเฝ้าทรงสดับธรรม

    ในสมัยนั้น พวกชาวพระนครสาวัตถี ถวายทานแต่เช้าตรู่ สมาทานอุโบสถแล้วห่มผ้าสะอาด มีมือถือของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น พอตกเวลาเย็น ก็ประชุมกันฟังธรรมในพระเชตวัน แม้ภิกษุณีสงฆ์ผู้เกิดฉันทะในพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ก็ย่อมไปวิหารฟังธรรม ชาวพระนครสาวัตถีเหล่านั้นครั้นฟังธรรมแล้ว เมื่อกลับเข้าไปสู่พระนคร ก็กล่าวแต่คุณกถาของพระศาสดาเท่านั้นกันอยู่ทั่วไป

    พระนางรูปนันทา ได้สดับคำพรรณนาคุณของพระตถาคตเหล่านั้นจากพวกภิกษุณีและพวกอุบาสิกา จึงทรงดำริว่า "ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวชมเจ้าพี่ของเรานักหนาทีเดียว แม้ในวันหนึ่ง พระองค์เมื่อจะตรัสโทษในรูปของเรา จะตรัสได้สักเท่าไร ? ถ้ากระไร เราพึงไปกับพวกภิกษุณี แต่จะไม่แสดงตนเลย เฝ้าพระตถาคตฟังธรรมแล้วค่อยกลับมา."

    พระนางจึงตรัสบอกแก่พวกภิกษุณีว่า "วันนี้ ฉันจักไปสู่ที่ฟังธรรม."

    พวกภิกษุณีมีใจยินดีว่า "นานนักหนา การที่พระนางรูปนันทาทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว วันนี้พระศาสดา ทรงอาศัยพระนางรูปนันทานี้แล้ว จักทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันวิจิตร" ดังนี้แล้วก็พาพระนางออกไป ตั้งแต่เวลาที่ออกไป พระนางก็ทรงดำริว่าจะไม่แสดงพระองค์เลย

    พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระนาง

    พระศาสดาทรงดำริว่า "วันนี้ รูปนันทาจักมาที่บำรุงของเรา ธรรมเทศนาเช่นไรหนอแล ? จักเป็นที่สบายของเธอ" ทรงทำความตกลงพระหฤทัยว่า "รูปนันทานั่น หนักในรูป มีความเยื่อใยในอัตภาพอย่างรุนแรง การบรรเทาความเมาในรูปด้วยรูปนั่นแล เป็นที่สบายของเธอ ดุจการบ่งหนามด้วยหนามฉะนั้น"

    ในเวลาที่พระนางเข้าไปสู่วิหารจึงทรงนิรมิตหญิงมีรูปสวยพริ้งผู้หนึ่ง อายุราว ๑๖ปี นุ่งผ้าแดง ประดับแล้วด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ถือพัด ยืนถวายงานพัดอยู่ในที่ใกล้พระองค์ด้วยกำลังพระฤทธิ์

    ก็แล พระศาสดาและพระนางรูปนันทาเท่านั้น ทรงเห็นรูปหญิงนั้น

    พระนางเสด็จเข้าไปวิหารพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย ทรงยืนข้างหลังพวกภิกษุณี ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่งในระหว่างพวกภิกษุณี ทรงแลดูพระศาสดาตั้งแต่พระบาท ทรงเห็นพระสรีระของพระศาสดาวิจิตรแล้วด้วยพระลักษณะ รุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ อันพระรัศมีวาหนึ่งแวดล้อมแล้ว ทรงแลดูพระพักตร์อันมีสิริดุจพระจันทร์เพ็ญ ได้ทรงเห็นรูปหญิงยืนอยู่ในที่ใกล้แล้ว

    พระนางทรงแลดูหญิงนั้นแล้ว ทรงแลดูอัตภาพของตน รู้สึกว่าตนเหมือนนางกา ซึ่งอยู่ข้างหน้านางพระยาหงส์ทอง ก็นับแต่เวลาที่พระนางทรงเห็นรูปอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์นั้น พระเนตรทั้งสองของพระนางก็วิงเวียน พระนางมีจิตอันสิริโฉมแห่งสรีรประเทศทั้งหมดดึงดูดไปแล้วว่า "โอ ผมของหญิงนี้ก็งาม โอ หน้าผากก็งาม" ดังนี้ ได้มีสิเนหาในรูปนั้นอย่างรุนแรง

    พระศาสดาทรงทราบความยินดีอย่างสุดซึ้งในรูปนั้นของพระนาง พอเมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงทรงแสดงรูปนั้นให้ล่วงภาวะของผู้มีอายุ ๑๖ ปี มีอายุราว ๒๐ ปี พระนางรูปนันทาได้ทอดพระเนตรมีจิตเบื่อหน่ายหน่อยหนึ่งว่า "รูปนี้ไม่เหมือนรูปก่อนหนอ."

    พระศาสดาทรงแสดงความแปรเปลี่ยนของหญิงนั้นโดยลำดับเทียว คือ เพศหญิงคลอดบุตรครั้งเดียว เพศหญิงกลางคน เพศหญิงแก่ เพศหญิงแก่คร่ำคร่าแล้วเพราะชรา แม้พระนางก็ทรงเบื่อหน่ายรูปนั้น ในเวลาที่ทรุดโทรมเพราะชราโดยลำดับเหมือนกัน ว่า "โอ รูปนี้ หายไปแล้วๆ"

    ครั้นทรงเห็นรูปนั้นมีฟันหัก ผมหงอก หลังโกง มีซี่โครงขึ้นดุจกลอน มีไม้เท้ายันข้างหน้า งกงันอยู่ ก็ทรงเบื่อหน่ายเหลือเกิน

    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแสดงรูปหญิงนั้นให้เป็นรูปอันพยาธิครอบงำ ในขณะนั้นเอง หญิงนั้นทิ้งไม้เท้าและพัดใบตาล ร้องเสียงขรม ล้มลงที่ภาคพื้น จมลงในอุจจาระและปัสสาวะของตน กลิ้งเกลือกไปมา

    พระนางรูปนันทา ทรงเห็นหญิงนั้นแล้ว ทรงเบื่อหน่ายเต็มที

    พระศาสดา ทรงแสดงมรณะของหญิงนั้นแล้ว

    หญิงนั้นกลายเป็นศพพองขึ้นในขณะนั้นเอง สายแห่งหนองและหมู่หนอนไหลออกจากทวารทั้ง ๙ ฝูงสัตว์มีกาเป็นต้นรุมแย่งกันกินแล้ว

    พระนางรูปนันทา ทรงพิจารณาซากศพนั้นแล้ว ทรงเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงว่า "หญิงนี้ถึงความแก่ ถึงความเจ็บ ถึงความตาย ในที่นี้เอง ความแก่ ความเจ็บและความตาย จักมาถึงแก่อัตภาพแม้นี้อย่างนั้นเหมือนกัน."

    และเพราะความที่อัตภาพเป็นสภาพอันพระนางทรงเห็นแล้ว โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงนั่นเอง อัตภาพนั้น จึงเป็นอันทรงเห็นแล้วโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาทีเดียว

    ลำดับนั้น ภพทั้งสามปรากฏแก่พระนางดุจถูกไฟเผาลนแล้ว และดุจซากศพอันเขาผูกไว้ที่พระศอ จิตมุ่งตรงต่อกรรมฐานแล้ว

    พระศาสดาทรงทราบว่า พระนางทรงคิดเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงแล้ว จึงทรงพิจารณาดูว่า "พระนางจักสามารถทำที่พึ่งแก่ตนได้เองทีเดียวหรือไม่หนอแล ?"

    ทรงเห็นว่า "จักไม่อาจ การที่พระนางได้ปัจจัยภายนอกเสียก่อน จึงจะเหมาะ" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ด้วยอำนาจธรรมเป็นที่สบายแห่งพระนาง ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

    "นันทา เธอจงดูกายอันกรรมยกขึ้น อันอาดูร

    ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ไหลออกอยู่ข้างบน ไหลออก

    อยู่ข้างล่าง ที่พาลชนทั้งหลายปรารถนากันนัก;

    สรีระของเธอนี้ ฉันใด สรีระของหญิงนั่น ก็ฉันนั้น,

    สรีระของหญิงนั่น ฉันใด สรีระของเธอนี้ ก็ฉันนั้น:

    เธอจงเห็นธาตุทั้งหลายโดยความเป็นของสูญ อย่า

    กลับมาสู่โลกนี้อีก เธอคลี่คลายความพอใจในภพ

    เสียแล้ว จักเป็นบุคคลผู้สงบเที่ยวไป."

    พระนางนันทาสำเร็จโสดาปัตติผล

    ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภพระนางนันทาภิกษุณี ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล พระนางนันทา ทรงส่งญาณไปตามกระแสเทศนา บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว

    พระศาสดาทรงแสดงวิปัสสนา

    ลำดับนั้น พระศาสดาเพื่อจะตรัสสุญญตกรรมฐาน เพื่อต้องการอบรมวิปัสสนาเพื่อมรรคผลทั้งสามยิ่งขึ้นไปแก่พระนาง จึงตรัสว่า

    "แน่ะนันทา ในสรีระนี้ไม่มีสาระแม้มีประมาณน้อยเลย กายนี้มีเนื้อและเลือดฉาบทาไว้ เป็นที่อยู่ของชราเป็นต้น เป็นเพียงกองกระดูกเท่านั้น ดังนี้" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

    "สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย

    ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะ

    มานะ และมักขะ."

    ในกาลจบเทศนา พระนางรูปนันทาเถรีได้บรรลุพระอรหัตผล.พระธรรมเทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล

    ทรงแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะผู้ยินดีในฌาน

    ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก ภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระนันทเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายผู้ยินดีในฌาน
     
  16. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,153
    ค่าพลัง:
    +16,536
    ก็เล่นเกมส์กันถึงสี่ทุ่มวันพรุ่งนี้นะครับ แล้วเดี๋ยวจะมาเล่าอะไรดีๆให้ฟังกันต่อ:cool:
     
  17. TheEnd

    TheEnd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +822
    ประวัติพระอัสสชิเถระ​


    ในพระบาลี มีพระภิกษุชื่อ “อัสสชิ” อยู่ หลายรูป คือ
    พระอัสสชิที่เป็นหนึ่งในภิกษุฉัพพัคคีย์ ซึ่งเป็นกลุ่มสหายชาวกรุงสาวัตถีรวม ๖ คน มาบวชเพื่อหาลาภ ได้ก่อกรรมอันลามกต่าง ๆ เป็นเหตุให้พระบรมศาสดาต้องบัญญัติพระวินัยมากมาย
    อีกรูปหนึ่งคือพระอัสสชิที่ปรากฎชื่ออยู่ใน อัสสชิสูตร ซึ่งเป็นภิกษุอาพาธ ได้ขอให้ภิกษุที่อุปัฏฐากกราบทูลขอให้พระบรมศาสดาเสด็จมาโปรด ครั้นเมื่อเสด็จมาแล้วทรงแสดงธรรมโปรด เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมนั้น พระภิกษุอัสสชิผู้อาพาธก็บรรลุพระอรหันต์
    ส่วนพระอัสสชิที่จะกล่าวในถึงท่านในเรื่องนี้ เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ เป็นภิกษุรูปสุดท้ายในหมู่ปัญจวัคคีย์ คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ได้ดวงตาเห็นธรรม ชื่ออัสสชิแปลว่า “ผู้ชนะม้า, ผู้ชำนาญในการบังคับม้า” (เทียบภาษาสันสกฤต อศว-ชิต)
    ท่านเป็นภิกษุรูปที่ ๕ แห่งพุทธกาลนี้ ประวัติของท่านจะเริ่มกล่าวความตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติได้ ๕ วัน
    โกณฑัญญพราหมณ์เข้าทำนายพุทธลักษณะ

    ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระประยูรญาติก็ได้จัดพระราชพิธีเฉลิมพระนาม โดยได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาประกอบพิธี โดยถวายผ้าใหม่ให้ครอง และถวายภัตตาหาร ครั้นเสร็จภัตกิจแล้วจึงได้เลือกพราหมณ์ ๘ คน จากพราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้น พราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้คือ พราหมณ์ชื่อรามะ ชื่อธชะ ชื่อลักขณะ ชื่อสุชาติมันตี ชื่อโภชะ ชื่อสุยามะ ชื่อโกณฑัญญะ ชื่อสุทัตตะ ซึ่งพราหมณ์เหล่านี้ก็เป็นกลุ่มที่ได้ทำนายพระสุบิน ในวันที่ทรงประสูตินั่นเอง
    ครั้นเมื่อพราหมณ์ทั้ง ๘ ได้ตรวจดูพระสรีระของพระมหาบุรุษแล้ว มีพราหมณ์ ๗ คน (อรรถกถาบางแห่งบอกว่า ๓ คน) ได้ทำนายออกเป็น ๒ แนว ว่า ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกทรงผนวช จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกส่วนโกณฑัญญมาณพ ซึ่งอายุน้อยที่สุดในหมู่พราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้นทำนายเป็นทางเดียว (อรรถกถาบางแห่งบอกว่า ๕ คน ทำนายเป็นทางเดียว ซึ่งทั้ง ๕ พราหมณ์นี้ก็คือปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นั่นเอง) ว่าพระองค์จะเสด็จออกทรงผนวช แล้วจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกแน่นอน พวกพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกลับไปสู่เรือนของตัวเองแล้วก็ได้ปรารภกับบุตรทั้งหลายว่า ตัวพ่อนั้นอายุมากแล้ว คงจะไม่ได้อยู่ชมพระบารมีของพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ผู้จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ พวกเจ้าเมื่อพระกุมารทรงตรัสรู้แล้วเจ้าจงบวชในพระศาสนาของพระองค์เถิด
    กำเนิดปัญจวัคคีย์

    อีก ๒๙ ปีต่อมา เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเห็นโทษในกาม เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ในวันที่พระราหุลกุมารประสูติ จึงได้เสด็จออกทรงผนวช ในครั้งนั้นพราหมณ์ ๗ คน ได้สิ้นชีวิตไปตามกรรมแล้ว ส่วนโกณฑัญญมาณพ ซึ่งอายุน้อยกว่าเขาทั้งหมด เมื่อท่านทราบว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหาพวกบุตรพราหมณ์ของพราหมณ์ทั้ง ๗ และชักชวนให้ออกบวชตามเสด็จ แต่ก็มีบุตรพราหมณ์เพียง ๔ คนเท่านั้นที่เห็นดีด้วย บุตรพราหมณ์ทั้ง ๔ คน เหล่านี้ คือ ท่านภัททิยะ ท่านวัปปะ ท่านมหานาม และท่านอัสสชิ และท่านโกณฑัญญพราหมณ์จึงได้บวช
    เมื่อบวชแล้วบรรพชิตทั้ง ๕ นี้อันมีท่านโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า จึงได้มีชื่อว่า พระปัญจวัคคีย์เถระ ก็ได้เที่ยวบิณฑบาตในคามนิคมและราชธานี และได้เดินทางไปอุปัฎฐากพระโพธิสัตว์ ตลอด ๖ ปีที่พระโพธิสัตว์ทรงเริ่มกระทำทุกรกิริยา ด้วยหวังว่า พระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใด ก็จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย ครั้นพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยามิใช่หนทางไปสู่อริยธรรม จึงทรงกลับมาเสวยพระกระยาเช่นเดิม หมู่ปัญจวัคคีย์คิดว่าพระมหาสัตว์ทรงละความเพียรเสียแล้ว จึงหมดความเลื่อมใส เกิดความเบื่อหน่าย พากันละพระองค์เสีย ไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
    ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์ ทรงกลับมาเสวยพระกระยาหารดังปกติ ล่วงมาถึงวันวิสาขบุรณมี ทรงเสวยโภชนะอย่างดีที่นางสุชาดาถวาย ทรงลอยถาดทองไปให้ทวนกระแสแม่น้ำตามที่ทรงอธิษฐาน จึงตกลงพระทัยที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุพระมหาอมตธรรมให้ได้ในวันนั้น จึงทรงประทับใต้ร่มมหาโพธิ บ่ายพระพักตร์ไปสู่ด้านตะวันออก นั่งขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียร ทรงกำจัดมารและพลมารและบรรลุธรรมเป็นลำดับ จนกระทั่ง ทรงตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจฉิมยามแห่งราตรีนั้นเอง
    ครั้นเมื่อทรงตรัสรู้แล้ว ก็ทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์สมควรจะแสดงธรรมให้ก่อน จึงทรงพิจารณาถึง อาฬารดาบสและอุททกดาบส ก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่าบุคคลทั้งสองสิ้นชีวิตไปแล้ว เมื่อทรงพิจารณาต่อไปก็ทรงเห็นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้อุปัฏฐากครั้งเมื่อทรงตั้งความเพียร นับว่าเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เรา อีกทั้งโกณฑัญญพราหมณ์ ก็เป็นผู้กระทำกรรมสะสมบารมีมาถึง ๑๐๐,๐๐๐ กัป ก็เพื่อประสงค์จะเป็นผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถบรรลุธรรมก่อนผู้อื่น
    ลำดับนั้น พระศาสดา จึงเสด็จไปยังป่าอิสิปตมฤคทายวัน ที่ปัญจวัคคีย์อาศัยอยู่ เสด็จเข้าไปหาพระปัญจวัคคีย์
    ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    ครั้นทรงพระดำริอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ฯ ฝ่ายปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกล เข้าใจว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อแสวงหาผู้อุปฐาก จึงได้ตกลงกันว่า พระสมณโคดมนี้คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากแล้ว เสด็จมา ณ บัดนี้ พวกเราทั้งหลายไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวรของพระองค์เลย แต่ว่าท่านนี้เกิดในตระกูลใหญ่ เป็นวรรณกษัตริย์ เราควรปูลาดอาสนะที่นั่งไว้ เพื่อพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง ฯ ครั้นพระองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว อาศัยความเคารพที่เคยประพฤติต่อพระองค์ มาบันดาลให้ลืมข้อตกลงที่ทำกันนั้นไว้จนหมดสิ้น ลุกขึ้นต้อนรับพระพุทธองค์ รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปถวาย ดังที่เคยทำมา แต่ยังพูดกับพระองค์ด้วยถ้อยคำไม่เคารพ คือ เรียกโดยการเอ่ยพระนามโดยตรง หรือเรียกโดยใช้คำแทนพระพุทธองค์ว่า อาวุโส ฯ
    พระพุทธองค์ทรงห้ามพวกปัญจวัคคีย์ มิให้เรียกพระองค์เช่นนั้น (ซึ่งถือว่าเป็นการไม่เคารพ ที่ทรงห้ามก็เพื่อจะมิให้เกิดโทษแก่เหล่าปัญจวัคคีย์เหล่านั้น) และทรงตรัสต่อไปว่า ตถาคตได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังธรรมเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เพื่อที่เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้า ก็จักบรรลุถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์
    เหล่าปัญจวัคคีย์ก็ยังไม่เชื่อ ได้กล่าวเป็นเชิงสงสัยในจริยาของพระพุทธองค์ว่า แต่เดิมที่ท่านปฏิบัติ แม้โดยการอดอาหาร กระทำทุกรกิริยาอย่างยิ่งยวด ถึง ๖ ปี ก็ไม่สามารถแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณได้ มาบัดนี้เมื่อท่านคลายความเพียรนั้น กลับมาเป็นผู้มักมาก ท่านจะบรรลุธรรมใด ๆ อย่างไรได้
    พระพุทธองค์ทรงมีพระดำรัสว่า ท่านไม่ได้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเลย ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว และทรงขอให้เหล่าปัญจวัคคีย์ตั้งใจฟังธรรมที่ท่านจะแสดง แต่ปัญจวัคคีย์เหล่านั้นก็ยังได้กล่าวสงสัยในจริยาของพระพุทธองค์อีกถึง ๒ ครั้ง
    จนในครั้งที่ ๓ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตรัสเตือนให้เหล่าปัญจวัคคีย์ทั้งหลาย นึกถึงถ้อยคำของพระพุทธองค์ในครั้งก่อนว่า วาจาที่ท่านกล่าวว่าท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว เช่นนี้ ท่านได้เคยพูดออกมาในกาลก่อนหรือไม่ พวกภิกษุปัญจวัคคีย์จึงระลึกขึ้นได้ว่า พระวาจาเช่นนี้ พระองค์ไม่เคยได้ตรัสมาก่อนเลย จึงพากันตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา ที่พระองค์จะตรัสเทศนาสั่งสอนสืบไป
    ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสแสดง พระปฐมเทศนาประกาศพระสัมโพธิญาณ ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์ ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสพระธรรมเทศนาจบ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ในวันอาสาฬหปุรณมี เพ็ญกลางเดือน ๘ นั่นเอง
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบด้วยพระญาณว่า ท่านโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว จึงได้ทรงเปล่งพระอุทานว่า โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ, โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ (อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ, อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ) เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านตั้งแต่นั้นมา
    ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    ครั้นเมื่อท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรม ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรคแล้ว จึงได้ทูลขอบรรพชาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาก็ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่าธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด
    บัดนั้น ถือว่าโลกมี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบองค์สาม เป็นครั้งแรก
    ในวันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถา ทรงให้พระภัททิยเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๒ ในวันแรม ๑ ค่ำ
    ในวันแรม ๒ ค่ำ ทรงให้พระวัปปเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๓
    ในวันแรม ๓ ค่ำ ทรงให้พระมหานามเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๔
    ในวันแรม ๔ ค่ำ ทรงให้พระอัสสชิเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๕
    อนึ่งในวันแรม ๕ ค่ำ ทรงเทศนาอนัตตลักขณสูตร ให้พระปัญจวัคคีย์ทั้งหมดตั้งอยู่ในพระอรหัตด้วย ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์
    พระสารีบุตรพบพระอัสสชิเถระ

    ครั้นปวารณา (คือพ้นพรรษา) แล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงส่งพระอรหันต์สาวก ๖๐ รูป (ปัญจวัคคีย์ ๕ พระยศและสหาย ๕๔ รูป) ออกไปประกาศพระ ศาสนาเป็นครั้งแรก ท่านพระอัสสชิเถระก็ได้ไปเที่ยวเทศนาโปรด เวไนยสัตว์ในที่ต่าง ๆ ด้วย และต่อมาได้กลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์
    ในเวลานั้น สญชัยปริพาชกอาศัยอยู่ในพระนครราชคฤห์ พร้อมด้วย ปริพาชกผู้เป็นศิษย์หมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน ก็ครั้งนั้น พระสารีบุตรและพระพระโมคคัลลานะท่านทั้งสองได้เข้าศึกษาในสำนักของสญชัยปริพาชก ไม่กี่วันนักก็เรียนจนหมดสิ้นความรู้ของอาจารย์ที่จะสอน ก็เห็นว่าวิชาความรู้ที่ตนเรียนมานี้ยังไม่สามารถทำให้ถึงอมตธรรมได้ จึงได้ทำกติกาไว้ว่า ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อน ผู้นั้นก็จะบอกแก่อีกคนหนึ่ง
    ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอัสสชินุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังในพระนครราชคฤห์ ด้วยมารยาทอันงดงาม น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ สารีบุตรปาริพาชกได้เห็นท่านพระอัสสชิ กำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ด้วยมารยาทอันงามน่าเลื่อมใสเช่นนั้นก็ได้มีความดำริว่า ภิกษุรูปนี้คงเป็นพระอรหันต์ หรือท่านผู้ได้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลก ผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้ แล้วถามว่า ท่านบวชกับใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร? แล้วได้ดำริต่อไปว่า ขณะนี้ยังเป็นเวลาไม่สมควรที่จะถามภิกษุรูปนี้ เพราะท่านกำลังเข้าละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ฉะนั้น เราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไป
    ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ถือบิณฑบาตกลับไป ดังนั้นสารีบุตรปริพาชกจึงเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ ถึงแล้วได้พูด ปราศรัยกับท่านพระอัสสชิ ครั้นผ่านการพูดปราศรัยพอสมควรแล้ว ก็ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นพระเถระได้ปฏิบัติภัตตกิจเสร็จเรียบร้อยแล้วท่านจึงได้ถามท่านพระอัสสชิเถระว่า ท่านบวชกับใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?
    พระอัสสิเถระตอบว่า เราบวชกับพระมหาสมณะศากยบุตร ผู้เสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา และเราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
    สารีบุตรปริพาชก พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?
    พระอัสสิเถระตอบว่า เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ
    สารีบุตรปริพาชก น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการใจความอย่างเดียว
    ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้

    "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
    พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
    และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
    พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้"


    พอท่านกล่าวจบพระสารีบุตร ได้เกิดปัญญาเห็นแจ่มแจ้งว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดาและมี การดับไปเป็นธรรม” ซึ่งเรียกว่า ท่านได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุพระโสดาปัตติผล
    ครั้นท่านพระอัสสชิเถระได้จากไปแล้ว พระสารีบุตรได้นำความไปบอกแก่พระโมคคัลลานะ สหายรัก ตามที่ได้ฟังมาจากท่านพระอัสสชิเถระ พระโมคคัลลานะ ก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันเช่นเดียวกัน ต่อมาท่านทั้งสองพร้อมด้วยบริวารก็ได้ลาอาจารย์สญชัย ไปบวชในสำนักพระพุทธเจ้า และได้เป็นพระอัครสาวกขวาซ้ายของพระพุทธเจ้า

    พระสารีบุตรเคารพพระเถระว่าเป็นอาจารย์

    เนื่องจากท่านพระอัสสชิเถระเป็นอาจารย์รูปแรกในพระพุทธศาสนาของท่านพระสารีบุตร จึงได้รับความเคารพยกย่องจากท่านพระสารีบุตรมาก พระสารีบุตรนั้น เมื่อใดที่อยู่ในอารามเดียวกันกับพระอัสสชิเถระ เมื่อนั้นท่านจะไปสู่ที่อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน ต่อจากนั้นก็ไปสู่ที่อุปัฏฐากพระเถระ ด้วยท่านมีความเคารพว่า พระผู้มีอายุนี้เป็นบุรพาจารย์ของเราทั้งหลาย เราได้อาศัยท่านผู้มีอายุนี้ จึงได้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า
    แต่ว่าเมื่อใดท่านมิได้อยู่ในอารามเดียวกันกับพระอัสสชิเถระ ท่านก็จะหันหน้าไปยังทิศที่พระอัสสชิเถระอยู่นั้น กระทำการเคารพด้วย เบญจางคประดิษฐ์ แล้วประคองอัญชลีนมัสการ และนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น
    ภิกษุทั้งเห็นการกระทำนั้นแล้ว ด้วยความที่ไม่รู้เหตุผลในการกระทำของท่าน จึงเข้าใจผิดว่า พระสารีบุตรเป็นถึงอัครสาวกยังไหว้ทิศอยู่แม้จนทุกวันนี้ สงสัยท่านเห็นจะยังละทิฏฐิของพวกพราหมณ์ไม่ได้ จนกระทั่งพระบรมศาสดาทรงทราบเรื่อง จึงทรงตรัสเล่าถึงเหตุผลของการกระทำของพระสารีบุตรมหาเถระดังกล่าว
    ปล.ที่ผมเลือกพระอัสสชิเถระ เพราะชอบในธรรมที่พระอัสสชิเถระแสดงแก่พระสารีบุตรครับ

    "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
    พระตถาคตทรงแสดงเหตุเเห่งธรรมเหล่านั้นและความดับไปซึ่งธรรมเหล่านั้น"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2016
  18. GreenWall

    GreenWall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +388
    พระปิลินทวัจฉเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา


    พระปิลินทวัจฉะ เป็นบุตรของพราหมณ์ ตระกูลวัจฉโคตร เดิมชื่อว่า “ปิลินทะ” แต่ คนทั่วไปมักเรียกว่า “ปิลินทวัจฉะ” ตามชื่อตระกูลของท่าน เมื่อเจริญวัยได้รับการศึกษาจบไตร เพท ตามลัทธินิยม

    เบื่อโลกจึงออกบวช
    ต่อมา เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตการครองเรือน จึงออกบวชเป็นปริพาชก เที่ยวแสวงหา สำนักอาจารย์ เพื่อศึกษาศิลปวิทยาขั้นสูง ๆ ต่อไป และได้ศึกษาวิชา จูฬคันธาระ ในสำนักของ อาจารย์แห่งหนึ่ง จนสำเร็จสามารถแสดงฤทธิ์เหาะได้ และสามารถล่วงรู้ความ รู้สึกนึกคิดจิตใจ ของผู้อื่นได้ด้วย ทำให้ชื่อเสียงของท่านร่ำลือ ระบือปรากฏไปทั่งกรุงสาวัตถี บ้านเกิดของท่าน ลาภ สักการะก็เกิดขึ้นมากมาย แต่วิชานี้ มีข้อจำกัดว่า ถ้าเข้าไปในเขตแดนที่มีวิชามหาคันธาระ อยู่ด้วย วิชาจูฬคันธาระ นี้ก็จะเสื่อมลง ไม่สามารถแสดงฤทธิ์เหาะได้ และไม่สามารถล่วงรู้จิตใจผู้อื่นได้

    ปิลินทวัจฉปริพาชก ท่องเที่ยวแสดงฤทธิ์ แสดงความสามารถแก่ประชาชนทั้งหลายไป ยังเมืองต่าง ๆ จนมาถึงเมืองราชคฤห์ ชาวเมืองให้ความเคารพ ยกย่องนับถือเป็นจำนวนมาก และ ท่านก็ได้พักอยู่ในเมืองราชคฤห์นั้น

    ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้แล้ว ทรงประกาศเผยแผ่หลักธรรมคำสอน ไปยังคามนิคม ต่าง ๆ จนมาถึงเมืองราชคฤห์ จากนั้นวิชาจูฬคันธาระ ของปิลินทวัจฉะก็เสื่อมลง ท่านรู้ได้ทันที ว่าในเมืองนี้ จะต้องมีวิชามหาคันธาระเกิดขึ้นแล้ว จึงสืบเสาะแสวงหา จนพบพระบรมศาสดา และ ทราบว่าพระองค์มีวิชามหาคันธาระ จึงกราบทูลขอศึกษาวิชานี้

    พระผู้มีพระภาค ก็ทรงยินดีที่จะสอนให้ แต่ว่าผู้เรียนต้องบวชในพระพุทธศาสนาก่อน เพราะวิชานี้จะสอนให้เฉพาะผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ท่านจึงกราบทูลขอบวชในวันนั้น เพื่อที่จะเรียนวิชามหาคันธาระ ตามที่ตนต้องการ

    เมื่อปิลินทวัจฉะ บวชแล้ว ได้พยายามศึกษาวิชามหาคันธาระ ตามที่พระบรมศาสดา ประทานสอนให้ โดยให้ท่านพิจารณาพระกรรมฐาน ตามสมควรแก่อัธยาศัย ท่านได้พยายามอยู่ ไม่นาน ก็ได้สำเร็จวิชามหาคันธาระ ซึ่งก็นับว่าสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา

    มีปกติเรียกคนอื่นว่า “คนถ่อย”
    พระปิลินทวัจฉะ เป็นผู้มีปกติเรียกภิกษุด้วยกัน และคฤหัสถ์ทั้งหลายด้วยถ้อยคำว่า “วสละ” ซึ่งเป็นคำหยาบ หมายถึง “คนถ่อย” โดยมีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้:-

    วันหนึ่ง ท่านเข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ เห็นชายคนหนึ่งถือถาด ใส่ดีปรีเต็มถาด กำลังเข้าไปในเมือง ท่านจึงถามว่า
    “แนะเจ้าคนถ่อย ในถาดของท่านนั้น ถืออะไร ?”
    ชายคนนั้นได้ฟังแล้วก็รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที จึงตอบไปว่า “ขี้หนู ครับท่าน”
    พระปิลินทวัจฉะ ก็พูดเป็นการรับทราบตามคำของชายคนนั้นว่า “อ้อ เจ้าคนถ่อย ของนั้นเป็นขี้หนู”

    ด้วยอำนาจ แห่งคุณความเป็นพระอรหันต์ของพระเถระ และคำพูดไม่ดี อันเกิดจากอกุศล จิตของชายคนนั้น ทำให้ดีปรีในถาดของเขา กลายเป็นขี้หนูไปเสียทั้งหมด เขาตกใจมาก เพราะคิด ขึ้นได้ว่า ยังมีดีปรีอยู่ในเกวียนนอกเมืองอีก เมื่อเขากลับไปดูก็พบว่า ดีปรีกลายเป็นขี้หนูไปทั้งหมด จริง ๆ เขาเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะดีปรีเหล่านั้นเป็นของมีค่ามาก และเขาเตรียมเพื่อจะนำมาขาย ขณะที่เขาแสดงอาการเสียใจและกำลังโกรธพระเถระอยู่นั้น มีอุบาสกคนหนึ่งเดินผ่านมา สอบ ถามได้ทราบความแล้วก็เข้าใจเหตุการณ์โดยตลอด จึงแนะนำขึ้นว่า:-
    “ดูก่อนสหาย ท่านจงถือถาดขี้หนูนี้ ไปยืนรอที่หนทาง ซึ่งพระเถระผ่านมา เมื่อพระเถระ ผ่านมาเห็นแล้วก็จะถามว่า “แน่เจ้าคนถ่อย ในถาดของท่านนั้นคืออะไร ?” ท่านก็จงตอบว่า “ดีปรี ครับท่าน” พระเถระก็จะกล่าวว่า “อ้อ เจ้าคนถ่อย ของนั้นเป็นดีปรี” อย่างนี้แล้ว ท่านก็จะได้ดีปรีกลับคืนมา

    ชายคนนั้นทำตามคำแนะนำของอุบาสก และในที่สุดขี้หนูก็กลับกลายเป็นดีปรีดังเดิม

    พระเถระถูกเพื่อนภิกษุฟ้องพระพุทธเจ้า
    สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ภิกษุ ทั้งหลายพากันเข้าเฝ้าแล้ว กราบทูลกล่าวโทษพระปิลินทวัจฉเถระว่า:-
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระปิลินทวัจฉเถระ มักเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยคำว่า วสละ พระ เจ้าข้า”

    พระบรมศาสดา จึงรับสั่งให้พระภิกษุรูปหนึ่ง ไปเรียกท่านมาแล้วตรัสถามว่า
    “ดูก่อนปิลินทวัจฉะ ได้ทราบว่าเธอมักเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยคำว่า วสละ จริงหรือ ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นจริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

    พระบรมศาสดา ครั้นได้สดับแล้ว จึงตรัสเล่าถึงบุพกรรมในอดีตชาติอันยาวนานของ ท่านให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ถือโทษ โกรธปิลินทวัจฉะเลย ท่านมิได้มีความโกรธแค้น ในตัวเธอทั้งหลายเลย แต่ที่ท่านมักเรียกพวกเธอว่า วสละ นั้น เป็นเพราะในอดีตชาติย้อนหลังไป ๕๐๐ ชาติ ท่านก็มักกล่าวอย่างนั้น มาตลอดกาลช้านาน คำนั้น จึงเป็นอุปนิสัยที่ติดตัวท่านมาตั้งแต่ อดีตชาติ”

    ได้รับยกย่องว่าเป็นที่รักของเทวดา
    พระปิลินทวัจฉเถระ นั้น เป็นผู้มีความสามารถแสดงธรรมแก่เทพยดา ทั้งหลาย ด้วยใน อดีตชาติ ท่านกับสหายเป็นจำนวนมาก ได้รักษาศีลปฏิบัติธรรมร่วมกัน เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดใน สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนตัวท่านเมื่อสิ้นบุญจากสวรรค์แล้ว ได้จุติลงมาเกิดในอัตภาพนี้ ได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์เหล่าเทพยดาทั้งหลาย ผู้เป็นอดีตสหายก็พากันลงมาอาราธนา ให้ท่านแสดงธรรม ให้ฟัง จนทำให้ท่านเป็นที่รักใคร่ของเทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น

    ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา ฯ

    ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
     
  19. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,153
    ค่าพลัง:
    +16,536
    อรุณสวัสดิ์ครับ

    เริ่มเกมส์กันต่อได้เลย:cool:
     
  20. seekerpunch

    seekerpunch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,028
    ค่าพลัง:
    +3,114
    พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญเตโชสมาบัติ

    พระสาคตะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถี เมื่อเจริญเติบโตขึ้นมาได้ฟัง
    พระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดา แล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้วได้บำเพ็ญสมาณธรรมจนได้บรรลุสมาบัติ ๘ ฝึกฝนจนมีความชำนาญในองค์ฌานนั้น ที่ท่านมีความชำนาญเป็นพิเศษก็คือการเข้าเตโชสมาบัติ

    แสดงฤทธิ์ช่วยชาวบ้าน
    สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดา เสด็จจาริกไปตามคามนิคมและชนบทต่าง ๆ พระสาคตะได้
    ตามเสด็จไปด้วย พระพุทธองค์เสด็จถึงท่าเรืออัมพะ ซึ่งอยู่ที่หมู่บ้านภัททวติกะ ใกล้พระนครโกสัมพี แคว้นเจตี ในบริเวณใกล้ ๆ ท่าเรือนั้น มีอาศรมฤาษีชฏิลตั้งอยู่ และชฏิลนั้นนับถือบูชาพญานาคชื่อว่าอัมพติฏฐกะ ซึ่งเป็นสัตว์มีพิษและมีฤทธิ์อำนาจมากกว่าพญานาคทั่วไป สามารถบันดาลให้ดินฟ้าอากาศเป็นไปตามต้องการได้ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล อันเป็นผลมาจากการบันดาลของพญานาคนั้น
    พระสาคตเถระ ทราบความเดือดร้อนของชาวบ้าน เกิดความสงสารจึงได้ช่วยเหลือ ด้วย
    การเข้าไปในโรงไฟที่พญานาคอาศัยอยู่ นั่งขัดสมาธิอธิษฐานจิตในที่ไม่ไกลจากพญานาค ทำให้พญานาคโกรธแล้วพ่นควันพิษใส่ท่าน ท่านก็เข้าเตโชสมาบัติให้เกิดควันไฟใส่พญานาค บันดาลให้เกิดความเจ็บปวดแก่พญานาคทั้งพระเถระและพญานาคได้แสดงอิทธิฤทธิ์เข้าต่อสู้กันหลายประการจนในที่สุดพญานาคก็สิ้นฤทธิ์ไม่สามารถจะทำอะไรพระเถระได้ แต่กลับถูกพระเถระกระทำจนได้รับความเจ็บปวดบอบช้ำ และในที่สุดก็เลิกละการกลั่นแกล้งให้ประชาชนเดือดร้อน ฝนตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านทำไร่ทำนาได้ดี มีความสุขกายสุขใจ และไม่ลืมที่จะระลึกถึงคุณของพระเถระที่ให้การช่วยเหลือ ข่าวสารการที่พระสาคตเถระปราบพญานาค ได้ร่ำลือกันไปทั่วทั้งเมืองเมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ ภัททวติกาคาม ตามสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้วพระพุทธองค์เสด็จไปยังพระนครโกสัมพีและพระสาคตเถระ ก็ตามเสด็จไปด้วยชาวเมืองโกสัมพี ได้ถวายการต้อนรับพระบรมศาสดา อย่างสมพระเกียรติและในส่วนของพระสาคตเถระ ชาวประชาพากันคิดว่า จะถวายสิ่งของที่พระเถระชอบที่สุดและหายากที่สุดในขณะที่เที่ยวปรึกษากันอยู่ว่าจะถวายสิ่งใดดีนั้นพระฉัพพัคคีย์ ได้แนะนำแก่ชาวเมืองว่า “สิ่งที่พระภิกษุชอบที่สุดและหายากที่สุดก็คือ สุราอ่อน ๆ ที่มีสีแดงเหมือนเท้านกพิราบ”

    พระเถระเมาเหล้า
    เช้าวันรุ่งขึ้น พระสาคตเถระเข้าไปบิณฑบาตในเมืองโกสัมพี ชาวเมืองทั้งหลายต่างพา
    กันถวายสุราให้ท่านดื่ม ขณะนั้นยังไม่มีพุทธบัญญัติห้ามภิกษุดื่มสุรา พระเถระจึงดื่มสุราที่ชาวเมืองถวายแห่งละนิดละหน่อย เพื่อเป็นการรักษาศรัทธาของชายเมือง ปรากฏว่ากว่าที่ พระเถระจะเดินบิณฑบาตตลอดหมู่บ้านก็ทำเอาท่านมึนเมาจนหมดสติล้มลงที่ประตูเมือง พระบรมศาสดาเสด็จมาพบท่านนอนสลบหมดสติอยู่อย่างนั้น จึงรับสั่งให้ภิกษุช่วยกันนำท่านกลับที่พัก เมื่อท่านบรรเทาความเมากลับได้สติแล้วพระพุทธองค์ทรงติเตียนในการกระทำของท่าน และทรงบัญญัติพระวินัยห้ามภิกษุดื่มสุราตั้งแต่บัดนั้น ด้วยพระดำรัสว่า “สุราเมรยปาเน ปาจิตฺติยํ แปลว่า (ภิกษุ) เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย” ครั้นรุ่งขึ้น พระเถระมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามปกติแล้ว รู้สึกสลดใจต่อการกระทำของตน จึงเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงงดโทษให้แล้ว กราบทูลลาปลีกตัวจากหมู่คณะแสวงหาที่สงบสงัด บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา
    เมื่อท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ
    ภูเขาคิชฌกูฏ และในขณะนั้น พระสาคตเถระได้ทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก ได้มีชาว
    แคว้นอังคะจำนวนมาก เดินทางมาเพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ท่านได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ดำดินลงไปแล้วโผล่ขึ้นที่ตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ซึ่งชาวอังคะทั้งหลายก็เห็นด้วยสายตาของตนเองโดยตลอด พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระฌาณว่า ชาวแคว้นอังคะเหล่านั้นยังไม่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างทั่วถึงและมั่นคง จึงรับสั่งให้พระสาคตเถระแสดงปาฏิหาริย์ ต่อไปอีก ด้วยการแสดงการยืน เดิน นั่ง และนอนบนอากาศ ซึ่งพระเถระก็ได้แสดงอย่างชำนิชำนาญ และจบลงด้วยการทำให้เกิดควันไฟออกจากกายของท่าน

    ทรงยกย่องพระเถระในตำแหน่งเอตทัคคะ
    ชาวแคว้นอังคะ ทั้งหลายต่างก็อัศจรรย์ในในความสามารถของพระเถระ คิดตรงกันว่า
    “ขนาดพระเถระผู้เป็นสาวก ยังมีความสามารถถึงเพียงนี้ แล้วพระบรมศาสดาผู้เป็นบรมครู จะมีความสามารถถึงเพียงไหน” แล้วพากันกราบถวายบังคมด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
    พระพุทธองค์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกาถา และอริยสัจ ๔ ให้ทุกคน ณ ที่
    นั้น ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลโดยทั่วกัน ลำดับนั้นพระบรมศาสดา จึงทรงประกาศยกย่องพระสาคตเถระ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ชำนาญเตโชสมาบัติ ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้ว และอยู่จวบจนสิ้นอายุขัย ก็ดับขันธปรินิพพาน

    ที่มา http://www.84000.org/one/1/40.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...