ร่วมทำบุญบูชา สำเร็จสิทธิพระที่นั่งมหาบัลลังก์(ปรารถนาเป็นหนึ่งกุณฑธานเถระ) พ่ออาจารย์พล

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.

  1. ปฏิภาณ บดส

    ปฏิภาณ บดส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +132
    พระเจ้าตนหลวง "วัดศรีโคมคำ อ.เมือง จ.พะเยา “วัดศรีโคมคำ” ตั้งอยู่เลขที่ ๖๙๒ ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ริมกว๊านพะเยา กว๊านพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ ๑ ในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำที่มีธรรมชาติงดงาม อยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากบังข้างหลังสูงตระหง่านอย่างงดงามตา คำว่า “กว๊าน” ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง “บึง” มีเนื้อที่ ๑๒,๘๓๑ ไร่ มีความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร ลึกที่สุด ๔ เมตร เป็นแหล่งประมงน้ำจืด และเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ กว่า ๕๐ ชนิด เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลานิลปลาไน ฯลฯ ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด พะเยาสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึก จากพ่อพันธุ์ในบ่อเลี้ยงเป็นผลสำเร็จ เป็นแห่งแรกของโลกในปี พ.ศ.๒๕๔๔ สามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาบึกได้เป็นแสนตัว ส่วนหนึ่งได้ปล่อยลงสู่กว๊านพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบ กว๊านพะเยาเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ในยามเย็นชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊าน เป็นภาพที่สวยงามมาก ซึ่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นและผู้มาเยือน จนอาจกล่าวได้ว่า หัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่ ‘กว๊านพะเยา
    “วัดศรีโคมคำ” เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และวัดพัฒนาตัวอย่าง ชาวเมืองพะเยาทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง” ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “พระเจ้าตนหลวง” โดยสร้างขึ้นในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๐๓๔-๒๐๖๗ “พระเจ้าตนหลวง” เป็นพระประธานเก่าแก่ในพระวิหารหลวง ศิลปะเชียงแสนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร และสูง ๑๖ เมตร สร้างจากอิฐมอญผสมกับปูนขาว ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง ตามตำนาน พระเจ้าตนหลวงสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๓๔ โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น เจ้าอาวาสรูปแรกที่ปรากฏในตำนาน คือ พระธรรมปาล ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่มีสมุดข่อยบันทึกว่า วัดศรีโคมคำ เป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่ยุคหลัง บ้านเมืองตกอยู่ในสงคราม ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมือง ที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอาราม รกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองคือ พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยจากจังหวัดลำพูน มาเป็นประธาน ในการสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จนสำเร็จบริบูรณ์ กระทั่งเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง นอกจากนี้ ยังมี พระอุโบสถกลางน้ำ ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นโดยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งมวลจากทั่วประเทศ โดยมี “นิยม สิทธหาญ” มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ “จินดา สหสมร” สถาปนิกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันออกแบบ ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติและวิถีชีวิตผู้คน ฝีมือของ “อังคาร กัลยาณพงศ์” ศิลปินแห่งชาติ และ “ภาพตะวัน สุวรรณกูฏ”“พระเจ้าตนหลวง” หรือ “พระเจ้าองค์หลวง” มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในช่วงเดือนหกของทุกปี ประมาณเดือนพฤษภาคม ตรงกับวันวิสาขบูชา จะมี งานนมัสการพระเจ้าตนหลวง หรือ เทศกาล “แปดเป็ง” จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง เมื่อครั้งสมัยที่ยุคทองทางพระพุทธศาสนาของล้านนา ประชาชนจึงเชื่อว่าพระเจ้าตนหลวง คือ ตัวแทนของพระพุทธเจ้า ใครที่ได้มากราบสักการะแล้ว จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลอยู่ดีมีสุขตลอดไป
     
  2. techapunyo

    techapunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    896
    ค่าพลัง:
    +1,730
    พระพุทธสิหิงค์ "วัดพระพุทธสิหิงค์" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "วัดหึงค์" นั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 5 ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง แต่สิ่งที่เด่นที่สุดของวัดแห่งนี้ กลับเป็นพระประธาน ซึ่งก็มีชื่อ เหมือนกับชื่อวัด คือ "พระพุทธสิหิงค์"

    แต่องค์ที่พุทธศาสนิกชนกราบไหว้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ถือเป็นองค์ใหม่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนองค์เก่าที่สูญ หายไป ซึ่งแม้จะมีขนาดและรูปทรงที่แตกต่างกันมาก แต่ความศรัทธาของชาวตรังกลับมิเคยเลือนหาย

    วัดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยพระนางเลือดขาว พระชายาของอดีตเจ้าเมืองพัทลุง ซึ่งมีที่มาปรากฏในตำนานของจังหวัดพัทลุง และนิทานพื้นบ้านหลายแห่งในภาคใต้ เนื่องจากเธอเป็นสตรีที่มีใจบริสุทธิ์และศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างศาสนสถานถวายไว้เป็นจำนวนมากมาย โดยเฉพาะในจังหวัดต่างๆ ที่พระนางนำขบวนเดินทางผ่านไป รวมทั้ง "วัดพระพุทธสิหิงค์" ในจังหวัดตรัง
     
  3. warodomsathan

    warodomsathan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,123
    ค่าพลัง:
    +1,032
    ขอร่วมเล่นเกมส์ด้วยครับ

    หลวงพ่อยิ้ม (วัดนางกุย ตั้งอยู่เลขที่ ๓๐ ม. ๕ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา)
    เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่แกะสลักจากไม้สักทองและลงรักปิดทองอย่างสวยงาม เป็นพระเก่าแก่อยู่คู่กับวัดนางกุยมาช้านาน จากคำบอกกล่าวเล่าขานของคนเก่าแก่ว่า สมัยก่อน หลวงพ่อยิ้มได้ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยามาติดอยู่บริเวณหน้าวัด ทางเจ้าอาวาสและชาวบ้านได้อัญเชิญหลวงพ่อยิ้มไปประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดนางกุย

    หลวงพ่อยิ้ม ประดิษฐานอยู่ด้านขวามือของพระประธาน ใครเข้าไปกราบสักการะแล้วคงอดอมยิ้มไม่ได้ เพราะ หลวงพ่อยิ้มจะยิ้มรับผู้มาเยือนเสมอ

    หลวงพ่อยิ้ม เป็นการเฉลิมพระนาม (ตั้งชื่อ) ตามลักษณะเด่นบางประการของพระพุทธรูป คือ "รอยยิ้ม"

    [​IMG]
     
  4. นวลลดา

    นวลลดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    446
    ค่าพลัง:
    +687
    ร่วมเล่นเกมส์ค่ะ ที่ไปบ่อยวัดลาดกระบังที่ ๓ หรือวัด ๓ มีพระพุทธรูปในโบสถ์ ชื่อว่าหลวงพ่อขาว คนละแวกนี้รู้จักดี ศักดิ์สิทธิ์มาก และ วัดหัวคู้ มีหลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา พระพุทธรูปองค์ใหญ่ โบสถ์นี้มีทางให้เดินลอดใต้โบสถ์สะเดาะเคราะห์ต่อชะตาด้วยค่ะ
     
  5. naiburit

    naiburit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    740
    ค่าพลัง:
    +578
    วัดถ้ำผาปู่หรือถ้ำเพียงดิน

    ภายในวัดมีพระธาตุบรรจุอัฐิของหลวงปู่คำดี ปภาโส ผู้ค้นพบวัดแห่งนี้ ภายในวัดมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่อยู่ใต้ภูเขาหิน มีพระพุทธรูปประดิษฐ์อยู่ภายในถ้ำ และมีหินงอก หินย้อย บริเวณภายนอกถ้ำเป็นแหล่งอาศัยของค่างแว่น ชะนี และลิง การเดินทาง ใช้เส้นทางเลย-เชียงคาน ออกจากตัวเมืองเลยไปประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอท่าลี่ 3 กิโลเมตร
    [​IMG]
     
  6. PALA 5

    PALA 5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2014
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +822
    [​IMG]


    พระชัยเมืองนครราชสีมา

    เลขทะเบียน อ.ย.๒๕ แบบศิลปะ/อายุสมัย อยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐

    ชนิด สำริด ขนาด หน้าตักกว้าง ๑๕.๓ เซนติเมตร สูง ๒๒.๒ เซนติเมตร

    สถานที่เก็บรักษา ห้องศิลปะอยุธยา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

    พระชัยเมืองนครราชสีมา พระชัยลงอักขระขอม ลงอักขระขอม ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19-20 สร้างขึ้นเป็นมงคลในการศึกสงคราม (เช่น พระชัยหลังช้างและพระชัยอัญเชิญไปในเรือรบสำหรับนำทัพ) และการพระราชพิธี (เช่น พระชัยพิธี) พระชัยอัญเชิญไปในการทัพ เพื่อประสบชัยชนะแก่อริราชศัตรู และอัญเชิญในการพิธี เพื่อปราศการรบกวนเบียดเบียนบีฑาและความสัมฤทธิ์ผลแห่งพิธีกรรมองค์พระชัยลง อักขระขอมเป็นหัวใจพระคาถาบูชาพระพุทธเจ้า หมายถึง ชัยชำนะโดยยึดถือคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย

    พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานเตี้ย พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวสอดอยู่ใต้ชายรัดประคด พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเบิกกว้าง กรอบพระพักตร์มีไรพระศกสองเส้น ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีทำเป็นรูปคล้ายหม้อน้ำ แบบศิลปะที่เรียกกันว่า “พระพุทธรูปอู่ทอง ๒” มีจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี รูปแบบอักษรประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๑ ที่องค์พระโดยรอบ

    ด้านหน้า

    ที่พระอังสะกุฎด้านซ้ายจารึกตัวอักษร จ ที่พระนลาฏจารึกตัวอักษร ภ ที่พระศอ จารึกอักษร ก ที่พระอังสะกุฎด้านขวาจารึกตัวอักษร ส

    ที่พระอุระด้านซ้ายและขวา แถวที่ ๑ จารึกอักษร ๖ ตัว คือ อุ ก ส ถ สา รํ แถวที่ ๒ จารึกอักษร ๗ ตัว คือ พ ก อุ ก ผ สา รํ แถวที่ ๓ จารึกอักษร ๓ ตัว คือ อิ สวา สุ ย่อมาจากอิติปิโส ภควา, สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ หัวใจพระรัตนตรัย พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

    ด้านข้าง

    พระพาหาซ้าย จารึกอักษร ๔ ตัว คือ น ม พ ท ที่พระพาหาด้านขวา จารึกอักษร ๔ ตัว คือ จ พ ก ส

    ด้านหลัง

    ตามแนวสังฆาฏิตั้งแต่พระอังสากุฎด้านซ้ายลงมา จารึกอักษร ๕ ตัว คือ น โม พุทฺ ธา ย

    คำว่า จะ ภะ กะ สะ โบราณเรียกว่า คาถากาสลัก ในคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะ แต่งโดยท่านรัตนปัญญาเถระ ให้ความหมายไว้ว่า กำเนิดจาก พุทธธรรมมงคลสูงสุด ๓๘ ประการ อักษรแต่ละตัว ย่อจากพุทธสุภาษิต ดังนี้

    จ ย่อมาจาก จช ทุชฺชนสํสคฺคํ จงหลีกเลี่ยงการคบคนพาล

    ภ ย่อมาจาก ภช สาธุสมาคมํ จงคบหาสมาคมกับคนดี

    ก ย่อมาจาก กร ปุญฺมโหรตฺตํ จงทำความดีทุกวัน ทุกคืน ทุกลมหายใจ

    ส ย่อมาจาก สร นิจฺจมนิจฺจตํ จงระลึกถึงความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอนของสิ่งทั้งปวงตามธรรมชาติ

    คำว่า “นโม พุทฺธาย” นั้น เป็นคาถาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ จารึกย่อนามพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ที่ทรงอุบัติในภัทรกัลป์นี้ คือ

    น หมายถึง พระกุกกุสันโธ ใช้เขียนแทนอาโปธาตุ ธาตุน้ำ มีกำลัง ๑๒

    โม หมายถึง พระโกนาคม ใช้เขียนแทนปฐวีธาตุ ธาตุดิน มีกำลัง ๒๑

    พุท หมายถึง พระกัสสปะ ใช้เขียนแทนเดโชธาตุ ธาตุไฟ มีกำลัง ๖

    ธา หมายถึง พระสมณะโคดม ใช้เขียนแทนวาโยธาตุ ธาตุลม มีกำลัง ๗

    ย หมายถึง พระศรีอารยเมตไตรย ใช้เขียนแทนอากาศธาตุ มีกำลัง ๑๐

    เมื่อรวมกำลังธาตุทั้ง ๕ ก็จะเป็นคุณพระพุทธเจ้า ๕๖ การที่ใช้นามของพระพุทธเจ้าเขียนเป็นพระคาถาในยันต์ของพระเกจิอาจารย์แต่ละองค์จึงนิยมคำว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” มาใช้เป็นพระคาถาและเรียกว่า คาถาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ หรือ แม่ธาตุใหญ่ มีพุทธคุณเหนือยันต์ทั้งปวง รวมทั้งมีความเชื่อสืบต่อกันว่า ผู้ใดที่ท่องหรือบริกรรมพระคาถาบทนี้ด้วยจิตอันสงบและมั่นคงแล้ว จะมีพุทธคุณคุ้มครองครอบจักรวาล

    พระชัย หรือ พระไชย เป็นพระพุทธรูปสำคัญมาแต่บรรพกาล ปรากฏในพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นต้นมา โดยกล่าวกันว่าตำนานการสร้างเป็นของสมเด็จพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ที่เรียกว่าพระชัย เพราะมีความหมายว่า ชัยชนะ เนื่องด้วยแต่เดิมมีความมุ่งหมายเพื่ออัญเชิญไปในกองทัพยามออกศึกสงครามเพื่อชัยชนะ สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีความหมายว่าปราบมารได้ชัยชนะ ต่อมาพระชัยยังได้อัญเชิญใช้ในพิธีกรรม เรียกว่าพระชัยพิธี สำหรับขจัดมาร อุปสรรค อำนวยให้พิธีกรรมสำเร็จผล

    สามารถไปกราบไหว้บูชาองค์พระชัยจำลอง ได้ที่วัดป่าสาลวัน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7%20budda.jpg
      7%20budda.jpg
      ขนาดไฟล์:
      117.4 KB
      เปิดดู:
      952
  7. SIR2010

    SIR2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,948
    ค่าพลัง:
    +5,647
    หลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร สูงประมาณ 2 เมตร 80 เซนติเมตร หล่อด้วยทองเหลืองปิดทอง ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดเพชรสมุทรวรวิหารหรือที่เรียกว่าวัดบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวเมืองแม่กลอง หรือจังหวัดสมุทรสงคราม
     
  8. nostradamod

    nostradamod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2011
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +226
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ

    "หลวงพ่อวัดไร่ขิง"
    ประวัติของหลวงพ่อวัดไร่ขิงนี้มีอยู่หลายแบบด้วยกัน บ้างก็ว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิงลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี และชาวบ้านได้นำขึ้นประดิษฐานที่วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และเรียกท่านว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” บ้างก็เล่าว่า ในสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตรในพ.ศ.2394 และครองวัดศาลาปูนวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านไปที่วัดไร่ขิง และกล่าวกับเจ้าอาวาสวัดไร่ขิงว่า โบสถ์ใหญ่โต แต่พระประธานเล็กไปหน่อย
    เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงจึงกราบเรียนท่านว่า วัดไร่ขิงเป็นวัดจนๆ ไม่สามารถสร้างพระพุทธรูปใหญ่โตได้ เมื่อทราบดังนั้นท่านจึงบอกว่าที่วัดของท่านมีพระอยู่องค์หนึ่งให้เจ้าอาวาสไปอัญเชิญมาได้ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงจึงเดินทางไปยังวัดศาลาปูน และอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวลงแพที่ใช้ไม้ไผ่มัดล่องลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยา เข้าแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน) จนกระทั่งถึงวัดไร่ขิง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถตั้งแต่นั้นมา
    และในวันที่ชาวบ้านทำพิธีอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นจากแพไม้ไผ่ ตรงกับวันสงกรานต์พอดี ขณะที่กำลังอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นจากแพนั้น แสงแดดที่ส่องแรงก็กลายเป็นเมฆดำ มีฟ้าร้องฝนตกโปรยปรายลงมา ทำให้คนที่อยู่ ณ ที่นั้นเกิดความชื่นใจ เชื่อว่าหลวงพ่อจะช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป
    ทุกวันนี้ที่อุโบสถของหลวงพ่อวัดไร่ขิงก็จะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนจากทุกสารทิศที่มีความศรัทธามากราบไหว้อยู่ไม่ขาด โดยเฉพาะผู้ที่มีทุกข์ร้อนเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ก็มักจะนำน้ำมนต์ของหลวงพ่อไปอาบหรือดื่มเพื่ออธิษฐานให้หายจากโรคภัย
     
  9. po_ood

    po_ood เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +1,035
    พระทองคำใหญ่ 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”
    “พระวิหารสมเด็จพระพุทธมหามงคลบพิตร” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “วิหารน้ำน้อย” วิหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงเสด็จมาทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีการสร้างพระวิหาร ทับพระทองคำใหญ่องค์เดิมที่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    “พระวิหารสมเด็จพระพุทธมหามงคลบพิตร” มีประวัติก่อนการก่อสร้างที่เล่าขานกันมานานไว้ว่า สมัยที่หลวงพ่อฤาษีเดินทางไปสงเคราะห์ลูกหลานพุทธบริษัททางภาคใต้ครั้งแรก พ.ศ.2518 โดยมีหลวงปู่สิมพุทธจาโร วัดถ่ำผาปล่อง หลวงปู่ธรรมชัย วัดทุ่งหลวง ร่วมไปด้วยที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง พัทลุงและสงขลา เมื่อมาถึงสงขลาคณะของหลวงพ่อเดินทางไปถึง สามแยกควนเนียง มีเทวดาเครื่องทรงแพรวพราวสวยงาม ปรากฏกายหน้ารถต้อนรับหลวงพ่อและเหนือศรีษะของเทวดาองค์นั้น มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยอยู่เป็นนิมิตสะดุดตา
    เมื่อหลวงพ่อท่านเข้าที่พักตอนกลางคืน ขณะเอนกายลงนอนมีพรหมองค์หนึ่งมานั่งอยู่ปลายเท้าและบอกกับหลวงพ่อว่า “จะมาบอกเรื่องพระใหญ่” แล้วเล่าให้หลวงพ่อฟังว่ามีพระพุทธรูปทองคำเนื้อเก้า เป็นทองแท้ฝั่งอยู่ใต้ดิน (ที่บ้านน้ำน้อย) สร้างในสมัยสุโขทัย ซึ่งในสมัยนั้นสร้างพระทองคำใหญ่ 3 องค์ด้วยกัน ขนาดเล็กกว่ากันลดขนาดลงมานิดหน่อยตามลำดับแต่ละองค์ สามารถถอดออกประกอบได้เป็น 9 ชิ้น ไม่มีโลหะเจือปน
    ซึ่งพระพุทธรูปทองคำองค์ใหญ่สุด ท่านบอกว่า ขณะนี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร คือ หลวงพ่อพระสุทธสุโขทัยไตรมิตร อยู่ประจำภาคกลางของประเทศใน จ.กรุงเทพฯองค์ที่ 2 เล็กกว่าองค์แรกเล็กน้อย ขนาดหน้าตักเกือบ 3 เมตร เดิมประดิษฐานอยู่ในตัวเมืองสงขลาเป็นพระประจำภาคใต้ ขณะนี้อยู่ใต้ดินใต้วิหารบ้านน้ำน้อย องค์ที่ 3 เล็กกว่าองค์ที่ 2 เป็นองค์น้องสุดใน 3 องค์ แต่น้ำหนักเป็นตันด้วยทองคำแท้ๆ องค์นี้อยู่ในลำน้ำโขงตรงกลางแม่น้ำแบ่งเขตแดนไทยกับชาติอื่น
    พระพุทธรูปองค์ที่ 2 อยู่ที่เมืองสงขลามาตลอด จนถึง พ.ศ.2310 ที่กรุงศรีอยุธยาเสียเมืองแก่พม่า พวกพม่าทำลายวัดวาอารามเอาพระพุทธรูปสำคัญๆ ลอกเอาทองคำกลับเมืองตนมากมาย ข่าวนี้ได้แพร่ไปถึงภาคใต้ ชาวเมืองสงขลารู้ข่าวจึงระดมคนแอบนำพระพุทธรูปทองคำล้วนทั้งองค์ล่องไปตามลำ น้ำทางเรือหาทำเลซ่อนองค์พระ เมื่อไปถึงบ้านน้ำน้อยเห็นทำเลเหมาะเพราะเป็นป่าทึบ จึงเกณฑ์คนกว่าสามร้อยคนช่วยกันขุดหลุมลึกกว้าง 5 วา แล้วสร้างกำแพงอิฐโดยรอบยารอยต่อกันน้ำซึมเข้าลักษณะคล้ายๆ สี่เหลี่ยมผืนผ้า บรรจุอัญมณีเครื่องประดับมีค่ามากมายไว้กับองค์พระเป็นพุทธบูชา แล้วเก็บงำเป็นความลับสุดยอดจนคนต่อๆ มาไม่มีใครรู้
    จนลุถึง พ.ศ.2518 จึงนำความมาบอกหลวงพ่อฤาษี เพราะท่านบอกว่าคณะเราเป็นนักบุญแท้ไม่ทอดทิ้งงานพระพุทธศาสนา จึงขอให้สร้างเจดีย์หรือสถูปบนดินเหนือองค์พระ กันไม่ให้คนเดินข้ามเศียรพระ จะเป็นโทษแก่พวกเขา นอกจากนี้สมัยก่อนโน้นหลวงพ่อก็เป็นผู้ร่วมสร้างพระทองคำทั้งสามองค์ด้วย พระพุทธรูปทั้งสององค์ทั้งในดินและในน้ำ ท่านบอกว่าเมื่อถึงเวลาคือประชาชนมีจิตใจดี มีศีลธรรมมากกว่านี้ ทั้งสององค์จะปรากฎขึ้นมาเอง ถ้านำขึ้นมาก่อนจะมีโทษมากกว่าประโยชน์ เพราะความโลภของคนและหลวงพ่อบอกว่าสำคัญมากสำหรับแดนดิน ไม่ควรนำขึ้นมาเป็นอันขาด
    และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินไปที่วิหารน้ำน้อยและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เศียรพระพุทธรูปองค์ใหม่นี้ (องค์เดิมในดิน มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในพระอุระ) ตอนนั้นมีพระอริยเจ้าที่มีขันธ์ 5 ไปร่วมพิธีอีก 6 องค์ นอกจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำแล้ว ก็มี หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร หลวงปู่ชุ่ม โพธิ์โก หลวงปู่บุดดา ถาวโร หลวงปู่ครูบาธรรมชัย หลวงปู่ครูบาชัยวงษา และหลวงปู่พระมหาอำพัน ส่วนการกระทำพิธีบวงสรวง อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในวิหารครั้งแรกนั้น มีหลวงปู่สิม หลวงปู่ครูบาธรรมชัย และหลวงพ่อฤาษีดำเนินการ
    ภายในพระวิหารนอกจากจะประดิษฐาน“พระพุทธมหามงคลบพิตร” ก็ยังมีรูปหล่อของหลวงพ่อฤาษีลิงดำและหลวงปู่ปาน ที่คณะศิษย์ได้อันเชิญมาจาก วัดท่าชุง จ.อุทัยธานี เพื่อให้ผู้คนได้ร่วมสักการะ จะมีเทียนแพ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ไว้ให้บูชาพระซึ่งสามารถทำบุญได้ตามศรัทธา หากใครอยากตรวจดวงชะตาก็สามารถเสี่ยงเซียมซี่ได้ และทางด้านขวามือของพระวิหารจะมีตู้หนังสือพระสุตตันตปิฎก ให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาอ่านศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ ทั้งนี้เมื่อมองทั่วพระวิหารจะเห็นว่ามีรูปปั้นจตุมหาราชอยู่ทั้ง 4 มุม คือ ท้าววิวุฬหก ท้าววิรูปักษ์ ท้าวเวสสุวัณ และท้าวธตรัฐ
    โดยพระวิหารสมเด็จพระพุทธมหามงคลบพิตร ตั้งอยู่ที่ ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (ถนนสายเก่า หาดใหญ่-สงขลา) และเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 17.00 น.
    ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9570000005736
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2016
  10. danaitorn

    danaitorn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2015
    โพสต์:
    331
    ค่าพลัง:
    +251
    "พระพุทธนาคน้อย" วัดประยูรวงศาวาส เชิงสะพานพุทธกรุงเทพ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพระวิหาร ถูกอัญเชิญมาจากสุโขทัยพร้อมกับพระศรีศากยมุนีวัดสุทัศน์ซึ่งเรียกว่าพระพุทธนาคใหญ่ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นที่นับถือกันมาก ครั้งหนึ่งที่ทำงานมีปัญหาทราบว่าจะถูกย้ายไปที่อื่น ได้ไปขอพรจากท่าน ไม่น่าเชื่อในวันถัดไปคำสั่งออกปรากฏว่าไม่ถูกย้ายได้อยู่ที่เดิม ศักดิ์สิทธิ์จริงๆ
     
  11. origino

    origino Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2012
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +27
    รวมเล่นเกมส์ครับ
    พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง วัดมหาวนาราม
    พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง (อินแปลง) เป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตร สูงประมาณ 5 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทอง คำว่า “อินแปง” ภาษาไทยอีสาน “แปง” แปลว่า “เฮ็ด ว่า ทำ” ก็หมายความว่า พระเจ้าใหญ่องค์นี้ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญสร้าง พระอินทร์เป็นผู้ประทานเฮ็ดไว้ให้เห็นเป็นมิ่งมงคล ทุกวันเพ็ญเดือน 5 (เมษายน) ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรมหาชาติชาดกและสรงน้าพระเป็นประจา พร้อมปิดทอง ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนถึงทุกวันนี้

    ประวัติเล่าสืบต่อกันของพระพุทธรูปองค์นี้ "พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง" มีมากมาย ตั้งแต่การสร้างว่า พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง มีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ โดยองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดอินแปงมหาวิหาร นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ปัจจุบันมีอายุประมาณพันกว่าปี พระพุทธรูปอีกองค์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทร์แปลง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งก็มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระเจ้าใหญ่อินแปง วัดอินแปงมหาวิหาร ประเทศลาว ส่วนองค์สุดท้าย คือ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 183 ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี (หรือทุ่งศรีเมือง) ประมาณ 1 กิโลเมตร ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะขึ้นมาเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2521
     
  12. Cajun

    Cajun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2015
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +265
    ร่วมเล่นเกมส์

    หลวงพ่อกลับ พระพุทธรูปสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง ราวพุทธศักราช 2185 มีชื่อเรียกทั่วไปว่า "หลวงพ่อกลับ" กลับร้ายกลายเป็นดี ประดิษฐาน ณ ศาลา 80 ปี วัดตาลเอน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
     
  13. Akkra1978

    Akkra1978 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +1,486
    พระประธานยิ้มรับฟ้า (พระประธานวัดระฆัง กรุงเทพฯ)

    พระประธานยิ้มรับฟ้าเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ (ขัดสมาธิราบ) วัสดุเนื้อทองสำริดลงรักปิดทอง หน้าตักกว้างประมาณ 4 ศอก ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก 3 องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท กั้นด้วยเศวตฉัตร 9 ชั้น (เดิมเป็นฉัตรกั้นพระเมรุของรัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์ทรงขอให้นำไปถวายพระประธานวัดระฆังฯ เมื่อ พ.ศ.2352 ต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนเศวตฉัตรจากผ้าตาดขาว มาเป็นผ้าขาวลายฉลุปิดทอง โดยใช้โครงของเก่า และมีการเปลี่ยนผ้าอีกครั้งใน พ.ศ.2504 โดยรัชกาลปัจจุบัน)

    พระประธานยิ้มรับฟ้าองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก มีเรื่องเล่าขานสืบมาว่า ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า "ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆังฯ พอเข้าประตูโบสถ์ พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที" กับทั้งยังได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกแด่พระประธาน เป็นเครื่องหมายแห่งความพอพระราชหฤทัย พระพุทธรูปองค์นี้ไม่มีนามเฉพาะ แต่สืบเนื่องจากเรื่องราวดังกล่าวก็ทำให้มีผู้ขนานนามว่า "พระประธานยิ้มรับฟ้า"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. ออนเนอร์

    ออนเนอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +258
    พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย

    เป็นพระพุทธรูปหยกเขียวใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ บนศาลา ภ.ป.ร. วัดธรรมมงคล แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร

    ประวัติ
    เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔ เวลาตีสาม พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล ได้นิมิตเห็นหยกสีเขียวบริสุทธิ์ก้อนใหญ่ที่สุดในโลก กำเนิดขึ้นแล้ว (ซึ่งหลวงพ่อใช้เวลารอคอยถึง ๕ ปี) เป็นเวลาเดียวกับที่มีการค้นพบหยกก้อนมหึมา น้ำหนัก ๓๒ ตัน ในเหมืองทอง ที่เมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริทิชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ขุดค้นพบโดย นายจอห์น สกัลเลอร์ สันนิษฐานว่าหยกก้อนนี้กำเนิดที่ยอดเขาคิงส์เม้าท์เท่น แล้วเคลื่อนตัวมาที่บ่อทองคำ คำนวณการเดินทางของก้อนหยกมาถึงบ่อทองคำโดยประมาณ ๘,๐๐๐ ถึง ๑๐,๐๐๐ ปี หลวงพ่อจึงได้ให้ลูกศิษย์ติดต่อขอซื้อมาเป็นกรรมสิทธิ์และดำเนินการส่งลงเรือเพื่อนำมาประเทศไทยในเดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ โดยเรือชื่อ “Luanhe” ถึงวัดธรรมมงคลในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๕

    หยกก้อนนี้แบ่งเป็น ๒ ส่วน

    ส่วนที่ ๑ นำมาแกะสลักเป็นองค์พระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑.๖๖ เมตร สูง ๒.๒๐ เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชทานพระนามว่า “พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย”

    ส่วนที่ ๒ นำมาแกะสลักเป็นพระอวโลกิเตศวร โพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม) ประทับยืนประทานพรสูง ๒.๒๐ เมตร

    ดำเนินการแกะสลัก โดยช่างผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงของโลก คือ นายซีซี่ สมาอิล, นายเปาโล เวี้ยกจิ, นายซารีฟ ทัฟฟิก จากประเทศอิตาลี เนื่องจากเป็นหยกเนื้อดี มีความแข็งสูง จึงต้องใช้เวลานานถึง ๑๒ เดือนจึงแล้วเสร็จ กลายเป็นปฏิมากรรมที่ทำด้วยหยกสีเขียวบริสุทธิ์ และใหญ่ที่สุดในโลก งดงามล้ำค่าหาประมาณมิได้ มีอยู่เพียงองค์เดียว จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลก

    รวมมูลค่าก้อนหยกและค่าใช้จ่ายที่ใช้ไป ทั้งสิ้น ๒๙,๕๒๘,๒๐๐ บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. popconn

    popconn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +114
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ
    พระองค์ที่ไปทีไร ก็รู้สึกท่านยิ้มให้สบายใจทุกทีคือ หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรครับ
    เดิมทีพระองค์นี้ท่านได้ถูกนำมาจากสุโขทัย โดยเป็นปูนทั้งองค์ เป็นพระประธานวัดพระยาไกรมาเนินนาน หลังจากวัดพระยาไกรเสื่อมโทรมลงไม่มีใครดูแล ทางสยามจึงให้ต่างชาติเข้ามารื้อถอนและทำเป็นโรงเลื่อยไม้
    ื่ทางเจ้าคณะแขวงเห็นว่าไม่สมควรที่จะให้ต่างชาติเข้ามารื้อถอนและปล่อยพระปูนองค์ใหญ่ไว้กลางแจ้ง จึงจัดแจงย้ายพระมาที่วัดไตรมิตร ระหว่างนั้นมีบางวัดได้ขอพระองค์นี้ไปเป็นพระประธานบ้าง หรือเจ้าอาวาสได้ติดต่อจะมอบให้บ้าง ก็มีเหตุให้ไม่ได้ย้ายไปต่างๆนาๆ จนกระทั่งวิหารวัดไตรมิตรเสร็จ จึงย้ายพระปูนองค์นี้เข้าวิหาร แต่เนื่องจากน้ำหนักมาก ทำให้ลวดสลิงขาด พระปูนกระแทกพื้นอย่างแรง จนทำให้กระเทาะออก เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรมาตรวจสอบจึงพบว่าพระเนื้อในเป็นทองคำบริสุทธิ์เนื้อเจ็ดทั้งองค์ หนักร่วม 5000 กิโลกรัม และได้ประดิษฐานที่วัดไตรมิตรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2016
  16. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    8,097
    ค่าพลัง:
    +16,623
    อรุณสวัสดิ์ครับ

    ร่วมเล่นเกมส์กันต่อได้เลย ตะกรุดตัวนี้ดีมากๆพกง่ายจริงๆลงเอวก็ได้ไว้ในกระเป๋ากางเกงก็ได้ ผมว่าสะดวกดี
     
  17. พลานุภาพ

    พลานุภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +244
    ร่วมเล่นเกมส์ครับ
    หลวงพ่อโสธร หรือ หลวงพ่อพระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษ ปางขัดสมาธิเพชร แต่ได้เสริมแต่งขึ้นจากเดิมโดยพอกปูน ลงรักปิดทองให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว พระเนตรเนื้อเลียนแบบพระสมัยล้านช้าง หรือที่เรียกว่า ”พระลาว” ได้บูรณะหรือสร้างขึ้นในปลายกรุงศรีอยุธยา หรือต้นสมัยรัตนโกสินทร์
     
  18. มนต์ธกาต์

    มนต์ธกาต์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2016
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +25
    ร่วมเล่นเกมส์
    พระไสยา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ไปกราบไหว้ ทำให้รู้สึกถึงสงบสบายใจดีมากครับ เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยมีอายูกว่า ๗๐๐ ปีเป็นพระศิลาโบราณปางพระเจ้าเข้านิพพาน ครั้งราชวงศ์พระร่วงสมัยสุโขทัย องค์พระยาวจาก พระบาทถึงพระจุฬา ๖ ศอก ๑ คืบ ๕นิ้ว พระรัศมี ๑ คืบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อัญเชิญ มาจาก วัดพระพายหลวง เมืองสุโขทัยเก่า ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ได้ประดิษฐานไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในวิหารพระศาสดา มุขหลัง วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร วิหารเดียวกับพระศาสดา
     
  19. nightman161

    nightman161 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +97
    ร่วมเล่นเกมครับ

    หลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว)

    มีเรื่องราวที่เล่าขานกันมานานแล้วในครั้งโบราณว่าในกาลครั้งนั้นยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย มีพระพุทธรูปลอยน้ำมา3องค์ที่แม่น้ำบางปะกง พอมาถึงบริเวณสถานที่ แห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกชื่อว่าอะไรก็ไม่ประจักษ์ ก็มีชาวบ้านเห็นพระพุทธรูปลอยน้ำมาทั้ง 3 องค์เกิดเอะอะโวยวายขึ้นให้ช่วยกันอัญเชิญขึ้นมาบนฝั่ง ด้วยการเอาเรือออกไป อัญเชิญ ด้วยการช่วยกันยกขึ้นเรือแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะยกเอาขึ้นมาไม่ไหว จึงเปลี่ยนวิธีการเป็นเอาเชือกเส้นใหญ่ไปคล้ององค์พระทั้ง3องค์อย่างแน่นหนา แล้วให้ชาว บ้านที่มีอยู่ชักลากดึงจะเอาขึ้นมาบนฝั่งน้ำ ทำอย่างไรก็ไม่สำเร็จเพราะแรงชาวบ้านที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมายนั้น

    ไม่อาจจะฉุดดึงรั้งเอาองค์พระทั้ง3องค์ที่ลอยปริ่มๆน้ำอยู่ขึ้นมาได้ไม่สำเร็จ เพราะเชือกขาด รั้งเอาไว้ไม่อยู่ ประกอบกับ กระแสน้ำเกิดปาฏิหาริย์ปั่นป่วนขึ้นมาเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทำให้พระพุทธรูปทั้ง3องค์จมหายลับสายตาไปท่ามกลาง ความเสียดายของผู้คนที่มีอยู่ ซึ่งเห็นเหตุการณ์อย่างชัดเจน พากันยกมือไหว้ท่วมศีรษะ บางคนก็พูดว่าไม่มีบุญเพียงพอที่จะ อัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง3องค์ขึ้นมาได้

    ผู้คนในสมัยนั้นโจษขานกันไปต่างๆนานาพากันคิดว่าอย่างนั้นคิดว่าอย่างนี้ไปจนบางทีก็เลยเถิดไปไหนต่อไหน บ้างก็ว่า เทวดาฟ้าดินไม่โปรด หลวงพ่อก็ไม่ยอมมาประดิษฐานอยู่บนฝั่งน้ำ หากอัญเชิญขึ้นมาได้แล้ว ก็จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดทันที เรื่องราวการโจษขานกันไปมากมายนี้เลยทำให้ชาวบ้านพากันเรียกสถานที่ ที่พระพุทธรูปทั้ง3 องค์ มาสำแดงปาฏิหาริย์ ลอยวนเวียนไปมาว่า "สามพระทวน" เรียกกันเรื่อยไปนานเข้าก็เพี้ยนกลายเป็น "สัมปทวน" กันไปในที่สุด

    จากนั้นต่อมาพระพุทธรูปทั้ง3องค์ที่ลอยน้ำมาในแม่น้ำบางปะกงก็ล่องลอยกันไปเรื่อยๆ องค์หนึ่งลอยไปทางบางพลี ไปผุดขึ้นที่ลำคลองวัดบางพลี ชาวบ้านอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานเอาไว้ที่วัดบางพลีได้โดยง่าย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะพระพุทธรูปองค์นี้ท่านต้องการจะประดิษฐานอยู่ ณ ที่ตรงนี้ก็ได้

    อีกองค์หนึ่งลอยออกไปที่บริเวณบ้านแหลมสมุทรสงคราม ชาวบ้านตีอวนได้องค์พระขึ้นมาแล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน ที่วัดบ้านแหลม หรือในปัจจุบันคือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร

    อีกองค์หนึ่งผุดขึ้นมาที่หน้าวัดเสาธงทอนหรือ "วัดโสธร"ที่แม่น้ำบางปะกงชาวบ้านช่วยกันฉุดลากขึ้นมาด้วยเชือก อีกเช่นเดียวกันแต่ก็ไม่สำเร็จไม่อาจจะอัญเชิญขึ้นมาบนบกได้ มีผู้เสนอให้ไปเชิญอาจารย์ผู้ที่มีความรู้ ทางด้านเวทมนต์คาถามา เพื่อทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมาจากกระแสน้ำให้ได้ซึ่งก็เป็นผลสำเร็จ เมื่ออาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณท่านนั้นตั้งศาล เพียงตาขึ้นมาตามโบราณพิธีแล้วเอาสายสิญจน์ไปคล้องเอาไว้ที่พระหัตถ์ ตอนนี้เองปรากฏว่าอัญเชิญเอาขึ้นมาบนฝั่งน้ำ ริมตลิ่งของวัดเสาธงทอนได้อย่างง่ายดายมาก แต่เมื่อเอาเชือกเส้นใหญ่ไปคล้องผูกมัดองค์ท่านแล้วดึงเข้ามาไม่เป็นผลอะไรเลย นับว่าเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดของผู้ที่พบเห็นเป็นอันมาก

    เมื่อนำพระพุทธรูปที่ลอยน้ำขึ้นมาได้ ชาวบ้านก็อัญเชิญเข้าไปประดิษฐานเอาไว้ในพระอุโบสถทันทีรวมกับพระพุทธรูป องค์อื่นๆที่มีอยู่ พระพุทธรูปองค์นี้ปรากฏว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยลงรักปิดทองเอาไว้ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นลักษณะ ของพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง คือศิลปะของเวียงจันทร์ ซึ่งมีการสร้างพระพุทธรูปลักษณะเช่นนี้กันทั่วไปที่ล้านช้าง และหลวงพระบางและเมืองอื่นๆที่ภูมิภาคแถบนี้ ดูได้จากพระพุทธรูปลักษณะเดียวกันที่เวียงจันทร์ และหลวงพระบางตลอดจนอินโดจีน รวมทั้งทางภูมิภาคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ชาวบ้านเลยพากันถือ เป็นเรื่องสำคัญมากที่ได้ พระพุทธรูปองค์สำคัญนี้มาพากันมากราบไหว้กันมากมาย

    ในครั้งกระโน้นเล่าลือกันไปทุกสารทิศทีเดียวพากันเรียกท่านว่า"หลวงพ่อโสธร"ตามชื่อวัดที่เปลี่ยนมาจาก "เสาธงทอน" แล้วก็เป็น "หลวงพ่อโสธร"มาตราบกระทั่ง ปัจจุบัน.

    "หลวงพ่อโสธร" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแปดริ้วหรือจังหวัดฉะเชิงเทราโดยแท้จริงตลอดมา "หลวงพ่อพุทธโสธร" หรือ "หลวงพ่อโสธร" หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง1.48 เมตร เท่าที่มองเห็นองค์หลวงพ่อโสธรอยู่ในปัจจุบันนี้

    ผู้รู้เล่าว่าองค์จริงของหลวงพ่อพุทธโสธรนั้นเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ที่องค์เล็กกว่าที่เห็นกันอยู่ แต่เนื่องจาก หลวงพ่อโสธรเป็นพระพุทธรูปที่มีรูปลักษณ์งดงามมาก มีผู้เกรงว่าจะเป็นอันตรายอาจจะมีผู้ใจบาปมากระทำมิดีมิร้ายได้ จึงจัดการสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขึ้นใหม่แล้วเอาองค์จริงของหลวงพ่อโสธรประดิษฐานไว้ข้างในไม่ให้ใครเห็นจนบัดนี้.
     
  20. ไปในภพภูมิ

    ไปในภพภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +433
    ร่วมเล่นเกมครับ

    พระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา

    ไม่ปรากฏหลักฐานชัดว่าสร้างในรัชกาลใดแห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างใน สมัยอยุธยาตอนต้น เพราะพระพักตร์แม้จะมีลักษณะค่อนข้างเป็นวงรีแล้ว แต่ก็ยังคงเห็นเค้าพระพักตร์เป็นเหลี่ยมอยู่ ซึ่งเป็นพุทธลักษณะแบบอยุธยาตอนต้น เมื่อพิจารณาถึงเส้นพระขนงที่โค้ง ก็จะพบว่าเป็นศิลปที่ ผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยอีกด้วย องค์พระก่อด้วยอิฐแล้วหุ้มสำริดแผ่น นับเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดองค์ หนึ่งของไทย

    จากหลักฐานมีอยู่ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2146 พระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชะลอหลวงพ่อวัดมงคลบพิตร จากด้านตะวันออกของวังหลวงมาไว้ทางด้านตะวันตก ณ ที่ประดิษฐานปัจจุบัน และยังได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระมณฑปที่มีลักษณะเช่นเดียวกับมณฑปพระพุทธบาทสระบุรีสวมไว้ด้วย

    ในสมัยพระพุทธเจ้าเสือ เกิดอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑป เกิดไฟไหม้พังลงมาต้องพระศอของพระมงคล บพิตรหัก พระองค์จึงโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อเครื่องบนออกแล้วสร้างใหม่เป็นพระวิหาร แต่คงทำเครื่องยอดอย่าง มณฑปของเดิม ต่อมาในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศน์เป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์ และได้รื้อยอดมณฑปเดิมเปลี่ยนเป็นพระวิหาร วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟเผาผลาญ ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2310 จนเครื่องบนของพระวิหารพังลงมา ถูกพระเมาฬีและพระกรขวาขององค์พระชำรุด พระยาโบราณราชธานินทรเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้บูรณะซ่อมแซมให้คืนดี

    สำหรับพระวิหารที่ชำรุดหักพังเกือบจะโดยสิ้นเชิงนั้น ได้บูรณะขึ้นใหม่อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2499 โดย นายอูนุ นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าในขณะนั้น ได้บริจาคเงินจำนวนสองแสนบาท ร่วมกับฝ่ายรัฐบาลไทยอีกสองแสนห้าหมื่นบาท
     

แชร์หน้านี้

Loading...