ไขปริศนา เงื่อนงำ ที่ตั้ง "ชมพูทวีป" และ "ลังกาทวีป" ตั้งอยู่ที่ไหนกันแน่?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 8 พฤษภาคม 2016.

  1. พาทัศน์

    พาทัศน์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +86
    ความหมายคือ เสาหินอโศกอยู่ที่อินเดียใช่หรือเปล่านะครับ ถ้าใช่นะครับการสังคยานาในครั้งพระเจ้าอโศก ก็น่าจะเป็นอินเดีย แล้วในสมัยพุทธกาล ศาสนาขององค์ศาสดาก็ยังไม่ได้เเบ่งฝ่ายนะครับ ที่คุณเอกว่า ฉะนั้น การสังคายนา ของภิกษุเหล่าอื่น นอกจากเถรวาท จึงไม่ได้มีนัยยะ ผมว่าไม่น่าจะถูกนะครับ

    แล้วเลยไปถึงขอความอนุเคราะห์คุณเอกเล่าเรื่อง พุทธรูปบามียัน กับคัมภีร์ในพิพิธภัณฑ์ที่นอร์เวย์ที่ได้จากถ้ำบารียันด้วยนะครับ
     
  2. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    พระเจ้าอโศก ตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาท ระบุศักราช การขึ้นครองราชย์ การสังคายนา ตรงกันครับ แม้แต่ตำนานการสร้างพระธาตุเจดีย์ ทั้งในพม่า ทางเหนือของไทย และ ฝั่งลาว ตรงกันทั้งสิ้น

    พระเจ้าอโศก ตามที่ บรรพบุรุษของเราบันทึกไว้ ประสูติ วันเพ็ญเดือน 6 พุทธศักราช 188 ครับ ก่อนพระเจ้า เทวานัมปิยทัสสีที่อินเดียเกิด ถึง เกือบ 50 ปี..

    ครองราชย์ พ.ศ. 218 ดังอรรถกถา ว่า

    [พระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช]
    ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพินทุสารมีพระราชโอรส ๑๐๑ พระองค์ พระเจ้าอโศกทรงสั่งให้สำเร็จโทษพระราชโอรสเหล่านั้นเสียทั้งหมด ยกไว้แต่เจ้าติสสกุมาร ผู้ร่วมพระมารดาเดียวกันกับพระองค์. ท้าวเธอเมื่อสั่งให้สำเร็จโทษ ยังมิได้ทรงอภิเษกเลย ครองราชย์อยู่ถึง ๔ ปี ต่อล่วงไปได้ ๔ ปี ในปีที่ ๑๘ ถัดจาก ๒๐๐ ปี แต่ปีปรินิพพานของพระตถาคตมา จึงทรงถึงการอภิเษกเป็นเอกราช ในชมพูทวีปทั้งสิ้น.

    ความหมายของผมคือ "พระเจ้าอโศกมหาราช ในอรรถกถา อยู่ในแผ่นดินไทยครับ" การสังคายนา ครั้งที่ 3 จึงเกิดขึ้นในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน....

    ก่อนการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ทั้ง พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ทั้ง พระมหินทเถระ ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ก็ได้เรียนพระไตรปิฎกและอรรถกถา ที่ยกขึ้นแต่ครั้ง สังคายนา ครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่ง "ในอินเดียไม่เคยมีคัมภีร์พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท ไม่มีคัมภีร์ที่เป็นภาษาบาลี ไม่เคยมีจารึกหลักธรรมที่เป็นภาษาบาลีเลย ครับ"

    อรรถกถา ประกอบ..

    [สามเณรติสสะเรียนพระพุทธพจน์พร้อมทั้งอรรถกถา]
    ติสสะ ทั้งที่ยังเป็นสามเณรเทียว เรียนเอาพระพุทธพจน์ทั้งหมดพร้อมทั้งอรรถกถา เว้นพระวินัยปิฎก. ก็ในเวลาอุปสมบทแล้วยังไม่ได้พรรษาเลย ได้เป็นติปิฎกธร (ผู้ทรงไตรปิฎก). พระอาจารย์และพระอุปัชฌายะมอบพระพุทธพจน์ทั้งสิ้นไว้ในมือของพระโมคคลีบุตรติสสเถระแล้ว ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุก็ปรินิพพาน.
    ฝ่ายพระโมคคลีบุตรติสสเถระเจริญกรรมฐานแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์ ในสมัยต่อมา บอกสอนพระธรรมและพระวินัยแก่ภิกษุเป็นอันมาก.

    กับ

    พระมหินทเถระได้บรรลุพระอรหัตเวลาอุปสมบท
    ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ในมณฑลอุปสมบทนั้นนั่นแล. พระอาจารย์แม้ของพระนางสังฆมิตตาราชธิดา ชื่อว่าพระอายุปาลิตเถรี ส่วนพระอุปัชฌายะ ชื่อพระธัมมปาลิตเถรี. ได้ยินว่า คราวนั้น พระนางสังฆฆิตามีพระชนมายุได้ ๑๘ ปี. ภิกษุสงฆ์ยังพระนางสังฆมิตตานั้นผู้พอบรรพชาแล้ว ให้ดำรงอยู่ในสิกขา ในโรงสีมานั้นนั่นแล.
    เวลาที่พระโอรสและพระธิดาทั้ง ๒ องค์ผนวช พระราชาทรงอภิเษกครองราชย์ได้ ๖ ปี. ภายหลังตั้งแต่เวลาที่ทรงผนวชแล้ว พระมหินทเถระก็ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมและพระวินัย อยู่ในสำนักพระอุปัชฌายะของตนนั่นเอง ได้เรียนเอาเถรวาททั้งหมด พร้อมทั้งอรรถกถา ที่ท่านสงเคราะห์ด้วยพระไตรปิฎก ซึ่งขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๒ คราว จบในภายใน ๓ พรรษา แล้วได้เป็นปาโมกข์ (หัวหน้า) ของพวกภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ผู้เป็นอันเตวาสิกแห่งอุปัชฌายะของตน. คราวนั้น พระเจ้าอโศกธรรมราชทรงอภิเษกครองราชย์ได้ ๙ ปี.

    ...

    ดังนั้น จึงไม่มีการสังคายนา พระไตรปิฎก ครั้งที่ 3 ที่ อินเดีย และแว่นแคว้น 8 แคว้น จาก ทั้งหมด 9 แคว้น ที่นักวิชาการ สันนิษฐาน และลงความเห็นว่าตั้งอยู่ที่ไหน จึง "ผิดทั้งหมด" ครับ

    ...

    พระพุทธรูปบามิยัน หรือ คัมภีร์ที่ทางนอร์เวย์ ได้ไปจากอัฟกานิสถาน ไม่มีภาษาบาลีครับ..ไม่มีหลักธรรมชั้นสูง ตามพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท....มีผู้พยายามแปลอยู่หลายปี และพยายาม จะดึงลง สู่ เรื่อง คำสอน "อบายมุข 6" ครับผม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2016
  3. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    อันนี้ไม่เข้าใจจริงๆนะครับ
    ก่อนอืนทำความเข้าใจกับคุณเอกก่อนว่าที่เขียนไม่ได้แกล้งหรือประชดแต่อย่างไรเพียงแต่อยากทราบเรื่องราวต่างๆผมก็แค่ศึกษาพุทธศาสนาอย่างผิวๆนะครับ

    ที่ผมว่าไม่เข้าใจคือทำไมคุณเอกเน้นการสังคยนาของเถรวาทในเมื่อสมัยก่อนพุทธศาสนาไม่ได้เเบ่งลัทธิ จริงอยู่ที่คุณพาทัศถามคุณเอกว่าครั้งทีมีการบันทึกนะมีการรวมกันหลายฝ่ายทั้งพระเเละคน. และเริ่มมีการแบ่งแยกนิกายตอนนั้นแต่ก็น่าจะเป็นหลักฐานชิ้นนึงได้นะครับ
    และเรื่องพระพุทธรูปที่อัฟกัน เรื่องคัมภีร์ ตามคำแปลของผู้เชี่ยวชาญของญี่ปุ่นในครั้งที่มีการพยายามรวบรวมครั้งสุดท้าย ก็มีการกล่าวเกี่ยวกับศาสนาพุทธอยู่นะครับ
    ที่สำคัญ. คือในการเดินทางค้าขายสมัยก่อนตรงนี้เป็นเส้นทางค้าขายที่สำคัญระหว่างจีนกับตะวันออกกลาง การเดินทางก็จะไปเป็นคาราวานและมักจะมีผู้อาศัยติดตามไปด้วยอาจจะมีพระสงฆ์ไปกับหมู่คณะ ทีนี้เส้นทางค้าขายตรงนั้นไม่ได้ผ่านมาทางสุวรรณภูมิจวบจังหวะกับอายุก็พอๆกับการสังคยานาทำให้คิดเอาเองได้ว่าน่าจะมาจากอินเดียครับ

    งั้นแค่นี้ก่อนนะครับผมต้องเดินทางพอดีหวังว่าคงได้คุยกับคุณเอกต่อนะครับ
     
  4. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ครับผม บางที รีบๆ ตอบคำถามในเวลาจำกัด อาจตกหล่น ไม่ครบถ้วนได้

    ที่บอกว่า ไม่มีนัยยะ ของผม หมายถึงว่า ไม่ได้บ่งบอกว่า การมีการสังคายนา ที่แคชเมียร์ จะเป็นหลักฐานว่า "พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นที่อินเดีย" ครับ

    การที่พระพุทธศาสนา จะเผยแผ่จากจุดเริ่มต้น-Original ไป ถึงจุดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจีน เกาหลี ปากีสถาน อัฟฟานิสถาน หรืออาจไกลไปถึงยุโรป และอเมริกา แล้วมีการสังคายนา ก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยัน ว่า "พระพุทธศาสนามีจุดเริ่มต้นที่อินเดีย"

    แต่กลับ เป็นหลักฐาน ว่าประเทศแถบนั้น ไม่เคยรู้จักหรือสัมผัสพระพุทธศาสนาอันบริสุทธิ์ เป็น เถระ-วาทะ ที่ ถ่ายทอดรักษา พุทธพจน์ ด้วยภาษาบาลีเท่านั้นครับ เช่นเดียวกับคัมภีร์เก่าแก่ ที่มีการพบทั่วทั้งอินเดีย-อัฟฟกานิสถาน-แคชเมียร์ ปากีสถาน

    ดังจะเห็นว่า คัมภีร์ ที่มีการนำไปเผยแผ่ในเมืองจีน ที่ได้ไปจากอินเดีย สมัย พระเจ้าฮั่นเม่งตี่ หรือ สมัยพระถังซัมจั๋ง ล้วนเป็นคัมภีร์ของฝ่ายมหายาน ที่ใช่ตามพระไตรปิฎก และอรรถกถา ที่ เป็นอย่างสยามประเทศ พม่า มอญ ลาว สืบรักษากันมาครับ

    ในอรรถกถา อาจไม่ได้เรียกว่า "แบ่งลัทธิ" แต่ใช้คำว่า "แยกนิกาย" ดังว่า

    ในร้อยแห่งปีที่ ๒ คือ ภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี อาจริยวาทคือลัทธิแห่งอาจารย์ ทั้งหมดรวม ๑๘ นิกาย คือ ๑๒ นิกายที่แยกมาจากเถรวาทเหล่านี้ และนิกายอาจริยวาท ๖ ที่แตกแยกมาจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะทั้งหลาย ฉะนี้แล.
    คำว่า นิกาย ๑๘ นิกายก็ดี ตระกูลอาจารย์ ๑๘ ตระกูลก็ดี เป็นชื่อของนิกายที่กล่าวมาแล้วเหล่านั้น นั่นแหละ. อนึ่งบรรดานิกาย ๑๘ นิกายเหล่านั้น ๑๗ นิกาย บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่แตกแยกกันมา ส่วนเถรวาท บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่ไม่แตกกัน.

    เหตุผล ที่ผม ไม่ยอมรับนิกายอื่น นอกจากเถรวาท เพราะผมเชื่อตาม "อรรถกถา" ครับ ที่ว่า

    ๓. ภิกษุทั้งหลายผู้ทำมหาสังคีติ ได้ทำความขัดแย้งไว้ในพระศาสนา ทำลายสังคายนาเดิม แล้วทำการรวบรวมธรรมวินัยไว้เป็นอีกอย่างหนึ่ง.
    ๔. ภิกษุเหล่านั้นได้แต่งพระสูตรที่สังคายนาไว้แล้วให้เป็นอย่างอื่น และทำลายอรรถและธรรมในพระวินัยในนิกายทั้ง ๕ ด้วย.
    ๕. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้แม้ซึ่งธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วโดยปริยายและทั้งโดยนิปปริยาย ไม่รู้อรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำไว้แล้วและทั้งไม่รู้จักอรรถที่ควรแนะนำ.
    ๖. ภิกษุเหล่านั้นๆ ได้กำหนดอรรถไว้เป็นอย่างอื่นจากอรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยหมายเอาอย่างหนึ่ง ได้ยังอรรถมากมายให้พินาศไปเพราะฉายาแห่งพยัญชนะ.
    ๗. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งพระสูตรบางอย่างและพระวินัยอันลึกซึ้งเสีย แล้วแต่งพระสูตรเทียม พระวินัยเทียมทำให้เป็นอย่างอื่น.
    ...

    ดังที่เรียนครับ คัมภีร์โบราณที่เก็บรักษาที่นอร์เวย์ ปัจจุบัน น่าถูกนำมา แสดงหรือประดิษฐาน ที่วัดสระเกศ อยู่ในตอนนี้...มีความพยายามจะอ่านและแปล ให้ ลงกับ เรื่อง "อบายมุข 6" บางที่ ยกเอาพระสูตร เรื่องอบายมุข 6 ที่เป็นบาลี มาเขียนอธิบาย ชวนให้คนอ่าน เข้าใจว่า "คัมภีร์โบราณนั้นเขียนเป็นภาษาบาลี" ทั้งที่ "ไม่ใช่เลย"

    ต่างกับ จารึก ที่มีการค้นพบในพม่า ไทย ในลาวยังไม่เคยได้ยินนะครับ..ตัวอย่างในไทยที่ ซับจำปา จ.ลพบุรี เป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุมากกว่า 1500 ปี (ตามที่เขาว่าก่อนก็ได้...จริงๆ ผมอยากเรียกว่ามอญโบราณมากกว่า และอาจจะมีอายุมากกว่ายนั้น แต่เนื่องจากไม่มีศักราชระบุ จึงยังไม่ขอแย้ง) ที่จารึกเป็นภาษาบาลี..เป็นหลักธรรมขั้นสูง

    โดย จารึกเสาแปดเหลี่ยมหลักนี้ ประกอบด้วยคาถาจากพระไตรปิฎกที่สำคัญ ๔ คาถา คือ (๑) คาถาเย ธมฺมาฯ (๒) คำพรรณนาถึงพระอริยสัจ ๔ (๓) พุทธอุทาน (๔) คาถาธรรมบท

    ..

    ไม่แน่ หาก พบจารึกอื่น เพิ่มเติม จากการขุดค้นในรอบใหม่ ที่ยังรองบประมาณอยู่...อาจเป็นเครื่องยืนยันว่า เสาศิลา 8 เหลี่ยม ธรรมจักรศิลา ที่พบในไทย ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ตะวันออกจรดตะวันตก จะเป็น "จารึกร่วมสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อ 2,300 กว่าปีมาแล้ว" ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2016
  5. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เรื่อง คัมภีร์โบราณจากอัฟกานิสถาน.. มีว่า

    เรื่องเกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2536-2538 ชาวอัฟกานิสถานในเมืองบามิยันซึ่งหลบหนีภัยสงครามตาลีบัน ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในถํ้าต่างๆ บริเวณหุบเขาบามิยัน และได้พบพระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณ พวกเขาได้หอบหิ้วพระคัมภีร์หลบหนีการตรวจค้นและการทำลายของกลุ่มตาลีบัน เดินทางจากอัฟกานิสถานสู่ปากีสถาน ผ่านเทือกเขาฮินดูกูษและช่องแคบไคเบอร์ ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 เจนส์ บราร์วิก ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีแห่งศูนย์การศึกษาก้าวหน้า ประเทศนอร์เวย์ ได้ไปเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ ณ เมืองไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ผู้ร่วมประชุมคนหนึ่งได้เล่าให้เขาฟังว่า แซม ฟ็อกก์ พ่อค้าของเก่าแห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ขายชิ้นส่วนเอกสารโบราณของพุทธศาสนาชุดแรกจำนวน 108 ชิ้นให้แก่ มาร์ติน สเคอเยน (Martin Schoyen) ผู้อำนวยการและเจ้าของสถาบันอนุรักษ์สเคอเยน (Conservation Institute of Schoyen) ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เอกสารโบราณที่ใหญ่ที่สุดของโลก พอได้ยินดังนั้น ศาสตราจารย์บราร์วิกก็เกิดความสนใจอย่างแรงกล้า จึงได้ไปพบกับสเคอเยนเพื่อขอศึกษาเอกสารโบราณดังกล่าว ซึ่งสเคอเยนก็ยินดีให้ความร่วมมือ และยังบอกเล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้าที่ฟ็อกก์จะขายเอกสารโบราณให้เขานั้น ฟ็อกก์ได้ติดต่อนักโบราณคดีชื่อ ลอเร แซนเดอร์ ให้ช่วยเขียนอธิบายความเป็นมาของเอกสารโบราณเหล่านี้ ซึ่งเมื่อแซนเดอร์นำไปวิเคราะห์ก็พบว่า เอกสารโบราณเหล่านี้ถูกจารึกขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เขียนด้วยตัวอักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 540-940 (พุทธศตวรรษที่ 6) เป็นพระคัมภีร์ในพุทธศาสนาที่ว่าถึงพระสูตร พระวินัย ตลอดจนจารึกเหตุการณ์ต่างๆ หลากหลาย บางเรื่องก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่เอกสารอีกหลายชิ้นมีเรื่องราวที่ไม่เคยปรากฏให้โลกรู้มาก่อน และเรียกได้ว่าเป็นเอกสารสำคัญหรือ “พระธรรมเจดีย์” ที่เก่าแก่ที่สุดของพุทธศาสนา (ที่มีหลักฐานเหลืออยู่) มีอายุกว่า 2,000 ปี โดยเชื่อกันว่า เกิดขึ้นโดยการจารึกของเหล่าพระอรหันตสาวก

    ...

    ข้อสังเกต
    1. ข่าวบอกว่า เอกสารโบราณเหล่านี้ถูกจารึกขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต
    2. ข่าวบอกว่า เอกสารโบราณเหล่านี้ถูกเขียนด้วยตัวอักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี)

    ซึ่งดังที่ ผมบอก ภาษาที่รักษาพุทธพจน์ ไม่ตกหล่น แปรเปลี่ยนความหมาย คือ "ภาษาบาลี" ในประเทศสยาม แม้จะมีการแปลเป็นไทย แต่ พระไตรปิฎกฉบับสังคายนา สมัยพระเจ้ากรุงธน ที่รวบรวมหรือยืมมาจากเมืองนครศรีธรรมราช หรือฉบับสังคายนาสมัยรัชกาลที่ 1 ก็เป็นภาษาบาลี อักษรขอม เพื่อรักษา "พุทธพจน์" เอาไว้ให้ครบถ้วน ไม่ตกหล่น

    และอยากให้พิจารณา เวลาให้ข่าว เขียนข่าว ที่ว่า เขียนด้วยอักษรพราหมี ผมดูยังไง ขี้ตาดู เพ่งตาดู มันก็ไม่เหมือน อักษรพราหมีที่เสาศิลาของพระเจ้าเทวานัมปิยะทัสสี (ที่เขาจับแพะชนแกะว่าเป็นพระเจ้าอโศก) คงเห็นว่า "อักษรพราหมี เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย และเป็นต้นกำเนิดแม้แต่ อักษรไทย ว่างั้น"

    ซึ่ง ที่ผมทราบมา...ตอนแรกที่เขาพยายามอ่าน จารึกที่พบในอินเดียนั้น ทีแรกเขาก็ไม่ได้คิดว่าเป็น "พระเจ้าอโศกมหาราช" ครับ เพราะ เขาคิดว่า เป็นจารึกของ "พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ" กษัตริย์ลังกา ร่วมสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช...แต่หลักฐานมันโยงกันไม่ได้ เพราะ ในคัมภีร์ "มหาวงศ์" นั้น "พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ" กษัตริย์ลังกา ครองราชย์อยู่ในราว พ.ศ. 236 (ที่พระมหินทเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะลด พ.ศ. ก็ไม่ได้ จะเพิ่ม พ.ศ. ก็ไม่ได้) ก็เลยจับแพะโยนแกะโยน "พระเจ้าเทวานัมปิยะทัสสี" ในเสาศิลา และจารึก ตามถ้ำ เงื้อมภูเขา ให้เป็น พระเจ้าอโศกมหาราช รวมทั้ง ยกเสาศิลารูปสิงห์ที่ขุดเจอให้เป็นเสาอโศก...แล้ว ต้องเรียงลำดับ Timeline ต่อจาก พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่เข้ามาตีอินเดีย ราว พ.ศ. 222 ตามด้วยพระเจ้าปู่ พระเจ้าพ่อของพระเจ้าอโศก จนมาถึงพระเจ้าอโศก ที่เกิด พ.ศ. 240 ครองราชย์ราว 270 (หลังการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3)...

    ถ้าเชื่อตามเขา ต้องแก้ พ.ศ. ใน อรรถกถา แก้ตำนาน แก้พงศาวดาร ที่มีอยู่ใน พม่า มอญ ไทย ลาว หมด ครับ...ผมจึงปฏิเสธไม่เอาด้วยหรอกครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ที่อินเดีย มีนกหัสดีลิงค์มั๊ย? ที่อินเดีย รู้จักหน้าตานกหัสดีลิงค์มั๊ย?

    วันนี้ ฟังบรรยายธรรม มาในรถ เก็บเรื่องได้ 2-3 ประเด็น ที่เกี่ยวกับเมือง โกสัมพี

    เรื่องแรก....ที่อินเดีย มีนกหัสดีลิงค์มั๊ย?

    ตามอรรถกถา การเกิดขึ้นของพระเจ้าอุเทน


    ได้ยินมาว่า ในพระนครโกสัมพี พระราชาพระนามว่า ปรันตปะ
    ทรงครองราชย์อยู่. พระราชมเหสีมีพระครรภ์แก่ทรงนั่งห่มผ้ากัมพลมีสีแดง
    ผิงแดดอ่อนอยู่กับพระราชาที่ชายพระตำหนัก. มีนกหัสดีลิงค์ตัวหนึ่ง สำคัญว่า
    เป็นชิ้นเนื้อบินมาโฉบเอา (พระนาง) ไปทางอากาศ. พระนางเกรงว่านกจะ
    ทิ้งพระองค์ลง จึงทรงเงียบเสียงเสีย. นกนั้นพาพระนางไปลงที่ค่าคบไม้ ณ เชิง
    เขาแห่งหนึ่ง. พระนางจึงทมพระหัตถ์ทำเสียงดังขึ้น. นกก็ตกใจหนีไปแล้ว
    พระนางก็คลอดพระโอรสบนค่าคบไม้นั้นนั่นแล. เมื่อฝนตกลงมาในกลางคืน.
    เวลายามสาม พระนางจึงเอาผ้ากัมพลห่มประทับนั่งอยู่. และในที่ไม่ไกลเชิงเขา
    นั้น มีดาบสรูปหนึ่งอาศัยอยู่. ด้วยเสียงร้องของพระนางนั้น ดาบสจึงมายัง
    โคนไม้เมื่ออรุณขึ้น ถามพระนางถึงชาติ แล้วพาดบันใดให้นางลงมา พาไป
    ยังที่อยู่ของตนให้ดื่มข้าวยาคู. เพราะทารกถือเอาฤดูแห่งเมฆและฤดูแห่งภูเขา
    เกิดแล้ว จึงตั้งชื่อว่า อุเทน.

    ...

    แต่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ของเรา ตั้งแต่เชียงตุง ไล่เรียงลงมา จนถึง กำแพงเพชร ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นที่ตั้ง "กรุงโกสัมพี" เขารู้จัก "นกหัสดีลิงค์" นะ เรื่องราวในอรรถกถานี้ นี่ยุค พุทธกาลนะ ไม่ใช่ชาดก กำเนิดพระเจ้าอุเทน แห่งโกสัมพี-กำแพงเพชร

    และ ที่ "เชียงใหม่" ก็มีเรื่องเล่าว่า..

    วัดหนองสะลิง เดิมเรียกว่า วัดหนองหัสดีลิงค์ นกหัสดีลิงค์เป็นชื่อนกชนิดหนึ่งตามตำนานล้านนามีลักษณะตัวเป็นนกหัวคล้ายช้างเป็นนกที่มีกำลังมากสามารถบินจากโลกไปถึงสวรรค์ได้

    ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า นกหัสดีลิงค์ ได้บินมาจาก วัดพระธาตุดอยน้อย ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบัน นกหัสดีลิงค์ได้มาเล่นน้ำในหนองน้ำนี้เป็นประจำ จนเกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ตามตำนานสมัยนั้นเรียกว่าหนองนกหัสดีลิงค์ ด้วยกาลเวลาผ่านมานานชาวบ้านมีหลากหลายภาษาจึงเรียกเป็นหนองสะลิง ปัจจุบัน

    มันแปลกดีนะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ที่อินเดีย ไม่มีตัวหนังสือ ที่เก่าไปถึงสมัยพุทธกาล โกสัมพี จึงไม่ได้อยู่อินเดีย

    ประเด็น ที่ 2

    ที่อินเดีย ไม่เคยมีตัวอักษร/ตัวหนังสือ ที่เก่าไปถึงสมัยพุทธกาล เพราะ เขาบอกว่า อักษรพราหมี เก่าสุด อายุ ประมาณ 200 ปีหลังพุทธกาล

    ตามที่เขาว่า..

    อักษรพราหมี
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) เป็นต้นกำเนิดของอักษรในอินเดียมากมาย รวมทั้งอักษรเขมรและอักษรทิเบตด้วย พบในอินเดียเมื่อราว พ.ศ. 43 มีความคล้ายคลึงกับอักษรอราเมอิกหรืออักษรฟินิเชีย อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่ามาจากอักษรสินธุหรือฮารัปปา ที่ใช้ตั้งแต่ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรพราหมีพบครั้งแรก ในจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะ ในช่วง พ.ศ. 273 – 311

    อักษรเทวนาครี
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    อักษรเทวนาครี

    อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; อังกฤษ: Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย

    แล้ว เรื่องที่เกิดที่ "โกสัมพี" บอกอะไรให้รู้ ให้เราฉุกคิดได้บ้างมั๊ย?

    ตั้งแต่นั้นมา โรคทางใจก็เกิดแก่เศรษฐีนั้น สมัยนั้น เศรษฐีนั้นกินไม่
    ได้ด้วยโรคทางใจนั้น ครุ่นคิดว่า ควรจะเห็นความพินาศของศัตรูของบุตรเรา
    ด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเขียนหนังสือขึ้นฉบับหนึ่ง เรียกนายโฆสกะ
    มาสั่งด้วยปากว่า เจ้าจงถือหนังสือนี้ไปหาคนทำงานของพ่อที่มีอยู่บ้านชื่อ
    โน้น จงบอกว่า ได้ยินว่า ท่านจงรีบทำเรื่องที่มีอยู่ในหนังลือ ระหว่างทาง
    จงไปเรือนเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อคามิกเศรษฐีสหายของพ่อ กินอาหารแล้ว
    พึงไป แล้วได้มอบสาสน์ให้ไป นายโฆสกะนั้นไหว้เศรษฐีแล้ว รับหนังสือ
    ออกไป ระหว่างทางไปถึงสถานที่อยู่ของคามิกเศรษฐีแล้ว ถามถึงเรือน
    ของเศรษฐี ยืนไหว้คามิกเศรษฐีนั้น ซึ่งนั่งอยู่นอกซุ้มประตูกำลังให้ช่าง
    แต่งหนวดอยู่ เมื่อถูกถามว่า พ่อเอ๋ย เข้ามาแต่ไหนล่ะ จึงตอบว่า ท่าน
    พ่อ ผมเป็นบุตรโกสัมพิยเศรษฐี ขอรับ. คามิกเศรษฐีนั้นก็ร่าเริงยินดีว่า
    บุตรเศรษฐีสหายเรา. ขณะนั้น ทาสีคนหนึ่งของธิดาเศรษฐี นำดอกไม้
    มาให้ธิดาเศรษฐี. ลำดับนั้น เศรษฐีจึงกล่าวกะทาสีนั้นว่า พักงานนั้น
    ไว้เสีย จงล้างเท้าพ่อโฆสกะ จัดที่นอนให้. ทาสีนั้นก็ทำตามคำสั่งแล้วไป
    ตลาด นำดอกไม้มาให้ธิดาเศรษฐี. ธิดาเศรษฐีเห็นทาสีนั้นแล้วก็ดุนางว่า
    วันนี้ เจ้าชักช้าอยู่ข้างนอกนานนัก โกรธแล้วจึงกล่าวว่า เจ้ามัวทำอะไรใน
    ที่นั้นตลอดเวลาเท่านี้ ทาสีกล่าวว่า แม่เจ้าอย่าพูดเลยเจ้าค่ะ ดิฉันไม่เคยเห็น
    ชายหนุ่มรูปงามเห็นปานนี้เลย เขาเป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐี
    สหายบิดาของแม่เจ้า ดิฉันไม่อาจกล่าวถึงรูปสมบัติของเขาได้ ดิฉันกำลัง
    จะไปนำดอกไม้มา ท่านเศรษฐีก็ใช้ให้ดิฉันล้างเท้าชายหนุ่มคนนั้น ให้
    จัด ที่นอนให้ ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงชักช้าอยู่ข้างนอกเสียนาน เจ้าค่ะ. ธิดา
    เศรษฐีแม้นั้น ได้เคยเป็นแม่เรือนของชายหนุ่มนั้น ในอัตภาพที่ ๔
    เพราะเหตุนั้น ตั้งแต่ได้ฟังคำของทาสีนั้น ก็ไม่รู้สึกตัวว่ายืน ไม่รู้สึกตัวว่า
    นั่ง นางก็พาทาสีนั้นไปยังที่นายโฆสกะนั้นนอนอยู่ มองดูเขากำลังหลับ
    เห็นหนังสือที่ชายผู้ สงสัยว่านั่นหนังสืออะไร ไม่ปลุกชายหนุ่มให้ตื่น
    หยิบหนังสือเอามาอ่าน ก็รู้ว่า ชายหนุ่มผู้นี้ถือหนังสือฆ่าตัวไปด้วยตนเอง
    จึงฉีกหนังสือนั้น. เมื่อชายหนุ่มนั้นยังไม่ตื่น ก็เขียนหนังสือ [เปลี่ยน
    ความเสียใหม่ ] ว่า ท่านจงส่งสาสน์ของเราไปว่า เราส่งบุตรไปยังสำนัก
    ท่าน คามิกเศรษฐีสหายเรามีธิดาเจริญวัยแล้ว ท่านจงรีบรวบรวมทรัพย์
    ที่เกิดในที่อาณาบริเวณของเรา ถือเอาธิดาของคามิกเศรษฐี ทำการมงคล
    แก่บุตรของเรา ด้วยทรัพย์ทุกอย่าง ๆ ละ ๑๐๐ แล้ว เมื่องานมงคล
    เสร็จ ท่านจงส่งสาสน์ให้เราทราบว่า ทำการมงคลแล้วด้วยวิธีนี้ เรา
    จักรู้กิจที่พึงทำแก่ท่านในที่นี้ ใส่ตราหนังสือนั้นแล้วก็ผูกไว้ที่ชายผ้าเหมือน
    เดิม ชายหนุ่มแม้นั้นอยู่บ้านคามิกเศรษฐีนั้นวันหนึ่งแล้ว รุ่งขึ้นก็อำลา
    เศรษฐีไปยังบ้านของคนทำงานมอบหนังสือนั้นให้ คนทำงานอ่านหนังสือ
    แล้ว ก็ให้ประชุมชาวบ้านกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย อย่าสนใจเราเลย นาย
    ของเราส่งข่าวมายังสำนักเราว่า จงนำเด็กหญิงมาด้วยทรัพย์ทุกอย่าง ๆ
    ละ ๑๐๐ แก่บุตรคนโตของตน พวกท่านจงรีบรวบรวมทรัพย์ที่เกิดในที่
    นี้มา แล้วก็จัดการพิธีมงคลเครื่องสักการะ. [แต่งงาน] ทุกอย่าง ส่งข่าว
    แก่คามิกเศรษฐีให้รับแล้ว ให้ตกลงงานมงคล [สมรส] ด้วยทรัพย์
    ทุกอย่าง ๆ ละ ๑๐๐ แล้วส่งหนังสือถึงโกสัมพิกเศรษฐีว่า ข้ารู้ข่าวใน
    หนังสือที่ท่านส่งไปแล้ว ก็กระทำกิจอย่างนี้ ๆ เสร็จแล้ว.
    ...

    ด้วยตรรกะนี้ ที่อินเดีย ไม่เคยมีตัวอักษร/ตัวหนังสือ ที่เก่าไปถึงสมัยพุทธกาล เพราะ เขาบอกว่า อักษรพราหมี เก่าสุด อายุ ประมาณ 200 ปีหลังพุทธกาล ผมจะสามารถ คิดได้มั๊ยครับว่า โกสัมพี ไม่ได้อยู่อินเดีย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2016
  8. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ซากโบราณสถาน ที่กำแพงเพชร อาจจะวัดเก่า ที่ 3 เศรษฐีชาวกรุงโกสัมพี สร้างไว้

    ประเด็น ที่ 3

    ข้อความจากอรรถกถา มีว่า..

    ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน
    พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่งพ่อค้าเกวียน ในกรุงสาวัตถี
    มารดาบิดาได้ตั้งชื่อท่านว่า ราชทัตตะ เพราะอาราธนาท้าวเวสวัณมหาราช
    ได้มา. ท่านเจริญวัยแล้วเอาเกวียน ๕๐๐ เล่มบรรทุกสินค้า ได้ไปยัง
    กรุงราชคฤห์โดยการค้าขาย.


    และ ข้อความ จากอรรกถาอื่น มีว่า..

    ต่อมา พระศาสดาของพวกเราทรงบังเกิดในโลกอาศัย
    กรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกเศรษฐีนำสินค้า
    ที่ผลิตในกรุงสาวัตถีไปยังเรือนของราชคฤห์เศรษฐีสหายของตน
    ทราบว่าพระศาสดาทรงอุบัติแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาซึ่งประทับ
    อยู่ ณ สีตวัน
    ด้วยการเฝ้าครั้งแรกนั่นเอง ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
    แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาให้เสด็จมายังกรุงสาวัตถี ให้สร้าง
    วิหารด้วยการบริจาคทรัพย์แสนหนึ่ง ๆ ทุก ๆ โยชน์ตลอดทาง
    ๔๕ โยชน์
    ซื้อที่อุทยานของพระราชกุมารนามว่าเชต ประมาณ ๑๘
    กรีสด้วยเครื่องนับของหลวงในกรุงสาวัตถี โดยเรียงทรัพย์โกฏิหนึ่ง
    สร้างวิหารในที่ที่ซื้อนั้น ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

    และ จากอรรถกถาชาลิสูตร มีว่า

    ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้นเกิดปิติปราโมทย์ว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้า
    เกิดขึ้นแล้ว ประสงค์จะไปสู่กรุงสาวัตถี จากนั้นพากันไปสู่กรุงโกสัมพีด้วย
    คิดว่า เศรษฐีผู้บำรุงมีอุปการะมากแก่พวกเรา พวกเราจักบอกเนื้อความนี้แก่
    เศรษฐีแม้เหล่านั้น ผู้อันเศรษฐีทั้งหลายกระทำสักการะมากมาย จึงกล่าวว่า
    พวกเราจะไปในเวลานั้นเทียว. ผู้อันเศรษฐีทั้งหลายกล่าวว่า ท่านรีบร้อน
    อะไรหนอ ในกาลก่อนพวกท่านจะอยู่ตลอดสี่เดือนจึงไป ได้บอกประวัตินั้น.
    และครั้นเศรษฐีทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน ถ้าอย่างนั้นพวกเราจะไปพร้อม
    กัน จึงกล่าวว่าพวกเราจะไป ขอให้พวกท่านคอยตามมา แล้วไปสู่กรุงสาวัตถี
    บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้บรรลุพระอรหัต. ฝ่ายเศรษฐี
    เหล่านั้นมีเกวียนคนละ ๕๐๐ เล่มเป็นบริวารไปสู่กรุงสาวัตถี ได้ทำกิจมีทาน
    เป็นต้น ทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์เสด็จมาสู่กรุงโกสัมพี
    กลับมาสร้างวัดสามแห่ง.
    ในเศรษฐีเหล่านั้น กุกุกุฏเศรษฐีสร้างวัดชื่อว่า
    กุกกุฏาราม ปาวาริกเศรษฐีสร้างวัด ชื่อ ปาวาริกัมพวัน ท่านโฆษิตเศรษฐี
    สร้างวัดชื่อโฆษิตาราม. ท่านหมายถึงโฆษิตารามนั้น จึงกล่าวว่า โกสุมฺ-
    พิยํ วิหรติ โฆสิตาราเม ดังนี้.

    และ ข้อความจากพระไตรปิฎก มีว่า

    [๓๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ตาม
    พุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์
    เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึง
    กรุงราชคฤห์แล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่
    พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์นั้น.

    ...

    พิจารณา จากข้อความที่ยกมาจาก พระไตรปิฎก และอรรถกถา...ทำให้ทราบว่า จาก "กรุงโกสัมพี" สามารถเดินทาง ไปมาหาสู่ ระหว่าง โกสัมพี กับสาวัตถีได้ โดยสะดวก และจาก กรุงโกสัมพี ไปราชคฤห์ ได้โดยสะดวก

    แม้ การเดินทาง จากกรุงสาวัตถี กับกรุงราชคฤห์ ระยะทาง 45 โยชน์ หรือ 720 กิโลเมตร ด้วยกองเกวียน 500 เล่ม ก็เป็นไปโดยสะดวก
    ...

    และจาก ข้อมูล ที่ได้รวบรวมมา และจาก 2 ประเด็น ก่อนหน้านี้ ที่ คิดว่า "โกสัมพีไม่ได้อยู่ที่อินเดีย" แต่ อยู่ในประเทศไทย จึงเกิดเป็นข้อสมมติฐาน เส้นทางเดินทาง ไปมาหาสู่ หรือเพื่อการพาณิชย์ ค้าขาย ระหว่างกัน เป็นดัง แผนภาพเส้นทาง ดังภาพประกอบนี้ โดย

    เมืองสาวัตถี ตั้งอยู่ที่ เมือง Bilin รัฐมอญ ประเทศพม่า
    เมืองโกสัมพี ตั้งอยู่ในพื้นที่ จังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทย
    เมืองราชคฤห์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

    ใครจะไปรู้นะครับว่า...ซากปรักหักพังของโบราณสถาน ที่กระจายอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร หรือนอกเขตคูเมือง อาจจะมี ซากของวัดเก่า ที่ 3 เศรษฐีชาวกรุงโกสัมพี ได้สร้างเอาไว้ แล้ว คนยุคต่อๆ มา ได้ สรา้งเสริม เติมต่อๆ กันมา ก็เป็นไปได้

    ย้ำ...นี่คือข้อสมมติฐาน ที่รอเวลา จะหาหลักฐานมายืนยันครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2016
  9. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    อันนี้ ก็ขอ บันทึก และเขียนไว้ก่อน..ถ้าเป็นดั่งสมมติฐานของผม ก็ต้องมี "หลักฐาน" แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะไม่มีทางได้พบ "หลักฐาน" ครับ

    ดังที่ทราบครับ ว่าผมค้นคว้า เรื่อง "พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในแผ่นดินไทย"

    และในสมัยพุทธกาล แต่ละแว่นแคว้น มีการใช้ "ตัวหนังสือ" กันแล้ว มีการส่งสาส์น ถึงกัน ในระดับ พระราชา มหากษัตริย์ หรือแม้แต่ในระดับชาวบ้าน ดังที่ยกตัวอย่างมาล่าสุด...

    แต่ที่อินเดีย "เขาไม่สามารถหาหลักฐานตัวอักษรที่เก่าแก่ขนาดนั้นได้" เพราะ "อักษรพราหมีคืออักษรที่เก่าที่สุด ที่เขาบอกว่า อยู่ตามเสาศิลาของพระเจ้าเทวานัมปิยทัสสี"

    ส่วน การจดจารพระไตรปิฎก เป็นลายลักษณ์อักษร ...เดี๋ยวคงมีอีก shot ครับ ที่จะกล่าวถึง

    เพราะ ฉะนั้น เมื่อ ไม่มีตัวหนังสือในสมัยพุทธกาลในอินเดีย ...ก็ต้อง Note ไว้

    กลับมาที่ ถ้าพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นในไทย แล้วเรามี "อักษรสมัย-ตัวหนังสือ" มั๊ย?

    ผมตอบว่า "มี" แต่ ต้องทำลายกรอบ กำแพง กะลา เพดาน ที่ครอบเอาไว้ ว่า เราเพิ่่งมีตัวหนังสือใช้ เมื่อ 1400 กว่าปี หลังจากได้รับการถ่ายทอดการเขียนตัวหนังสือ จาก "อินเดียไต้-ราชวงศปัลลวะ"

    นั่น คือ การที่เราจะต้องได้พบ "จารึกที่ระบุ ศักราช ที่ย้อนไปถึงยุคนั้นให้ได้ หรือ เก่ากว่า พ.ศ. 1100 ให้ได้"

    ตัวหนังสือนั้น มี 2 ชนิดครับ เพราะ

    ในสมัยพุทธกาล มีมหาอำนาจ หรือชาติพันธุ์ ที่ทรงอิทธิพล อยู่ 2 ฝ่ายคือ แคว้นโกศลกับแคว้นเล็กแคว้นน้อย ซึ่งเป็นชาวมอญโบราณ ใช้อักษรมอญโบราณ...กับแคว้นมคธกับแคว้นเล็กแคว้นน้อย ซึ่งเป็นชาวขอมโบราณ ใช้อักษรขอม หรืออักษรมคธ ก็คืออักษรบาลี ที่ใช้บันทึกพุทธพจน์ สืบๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง..แต่แคว้นมคธ ที่มีเมืองหลวงคือราชคฤห์ ได้ร้างลงไป น่าจะก่อน พ.ศ. 400 กว่าๆ ที่มีการบันทึกอรรถกถาเป็นลายลักษณ์อักษร ว่า "เมืองราชคฤห์ ได้ร้างไปแล้ว" ดังว่า..

    บทว่า ราชคเห ได้แก่ เมืองที่มีชื่ออย่างนั้น. จริงอยู่ เมืองนั้น
    เรียกว่า ราชคฤห์ เพราะเป็นเมืองที่พระราชาทั้งหลายมีพระเจ้ามันธาตุ และ
    พระเจ้ามหาโควินทะเป็นต้น ทรงปกครอง. ในคำว่า ราชคฤห์ นี้ พระอาจารย์
    ทั้งหลาย พรรณนาประการอย่างอื่นบ้าง. จะมีประโยชน์อะไร ด้วยประการ
    เหล่านั้นเล่า ?. คำว่า ราชคฤห์ นี้ เป็นชื่อของเมืองนั้น. แต่เมืองนี้นั้น
    เป็นเมืองในครั้นพุทธกาล และจักรพรรดิกาล. ในกาลที่เหลือ เป็นเมืองร้าง
    ถูกยักษ์หวงห้ามคือเป็นป่าเป็นที่อยู่ของพวกยักษ์เหล่านั้น ท่านพระอุบาลีเถระ
    ครั้งแสดงโคจรคามอย่างนั้นแล้ว จึงแสดงสถานเป็นที่เสด็จประทับ.

    ..

    สิ่งที่ผมรอคอยคือ การค้นพบจารึก ที่ยังไม่เคยค้นพบ หรืออาจจะพบแล้ว แต่ไม่ถูกอ่าน...ในส่วนที่ ระบุศักราช..

    ซึ่งเป็น อักษรมอญโบราณ ที่เขาเรียกปัลลวะ นั่นแร่ะ กับ "อักษรขอม" ครับ

    ตาม พื้นที่ต่างๆ ที่คาดว่า เป็นที่ตั้ง 16 มหาชนบท ในชมพูทวีป โดยเฉพาะ ที่ เมือง Bilin ,กาญจนบุรี,กำแพงเพชร,ลพบุรี,นครราชสีมาและชัยภูมิ

    ส่วนภาคใต้ที่คาดว่า จะเป็นที่ตั้งของลังกาทวีป ควรจะได้พบในพื้นที่ อ. สทิงพระ อ. สิงหนคร อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา และใน อ.ยะรัง ปัตตานี กับ อ.เมือง จ.ยะลา ครับ

    ...

    เพราะฉะนั้น อย่างเพิ่งปลงใจเชื่อ จนกว่า จะได้พบหลักฐาน มายืนยัน และพิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ด้วยตนเอง ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    อักขระ เลข ยันต์ ของชาวสยาม อาจนับเป็นเบาะแสที่น่าสนใจ

    วันนี้ ขอเอาข้อความ จากการสนทนา กับผู้สนใจด้านประวัติศาสตร์ทางภาคใต้ มาแปะไว้ เพื่อเป็นการรวบรวมฐานข้อมูล ครับ

    ธนบดี.."ตำนานพระเจ้าเลียบโลก" ของทางล้านนา ลาว และอีสาน หรือ "พยาเทสะจารี" ของมอญ นี้..ได้บันทึกว่า ..

    ด้วยเหตุว่า พระมหาสัคคิเถระ อันอยู่ในเมืองพุกาม และพระมหาโพชฌงค์เถระชาวเมืองกุสินาราพระเถระทั้งสององค์นี้มีความรู้แตกฉาน ในห้องพระไตรปิฏก ซึ่งได้ศึกษาเล่าเรียนมาอย่างช่ำชองแล้ว พระเถระทั้งสองก็ชักชวนกันไปศึกษาการพระศาสนาในลังกาทวีป ซึ่งในสมัยนั้น พระพุทธศาสนายังกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ในลังกาทวีป พระเถระทั้งสองได้อาศัยสำเภาไปกับพ่อค้า ก็ไปถึงเมืองลังกาทวีป ได้พักอยู่วัดแห่งหนึ่งซึ่งมีนามว่า วัดเสลาราม และในวัดนั้นเองพระเถระทั้งสองได้พบศิลาจารึกนั้นยาว ๗ วา หนา ๓ วา ปรากฏว่าพระยาอินทร์ ได้ให้เปจจสีลาเทพบุตรมาแกะสลักให้ปรากฏแก่คน และเทพยดาพระมหากษัตริย์ในรุ่นหลังต่อไป

    นั่นก็คือจารึก ที่เรียกว่า "พยาเทสะจารี" คือ การจาริกเทศนาของพระพุทธเจ้า ซึ่ง จารึกอยู่ในแผ่นหิน เมื่ออ่านดู เห็นว่า เป็นเรื่องราวที่ พระพุทธเจ้าเสด็จมายังในดินแดนมอญ และล้านนาไทย ไปถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง และ 2 ฝั่งโขง..จึงได้คัดลอกมา..และมีการเผยแพร่ ต่อๆ ไป..สืบมาจนถึงวันนี้

    ดังนั้น ถ้าลังกา อยู่ที่ภาคใต้ของไทยดังว่า เราอาจจะได้พบ "จารึกดังกล่าว" หรือ จารึกอื่นๆ ครับผม

    อ.พยุง ..ขอบพระคุณครับ ที่ได้ให้ข้อมูลถึงความน่าจะเป็นตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เท่าที่พอจะทราบจารึกในภาคใต้ท่ีเก่าแก่มากๆ คืออักษรปัลลวะตามพระพิมพ์ดินดิบอายุ 1300 ปี หรือจารึกที่แคว้นเวลเลสลี่ มลรัฐไทรบุรี ของมหานวิกกะนาม"พุทธคุปต์"ภาษาสันสกฤตตัวอักษรปัลลวะที่เอ่ยถึงว่าเขามาจากประเทศดินแดง(พัทลุง?) ก็มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10 นี่คือข้อจำกัดที่นักวิชาการในภาคใต้กำลังศึกษาอยู่ อย่างเช่น การสัมมนาเมื่อ 2546 ที่ นครศรีธรรมราช เรื่อง "The Original of Budddism in Southeast Asia : Pennisula " Bharma and Buddhist Archaelogical Artifacts" ซึ่งระบุว่าศาสนาพุทธมาถึงสุวรรณภูมิในพุทธศตวรรษที่ 4 เท่านั้น เมื่อท่านนำเสนอว่าศาสนาพุทธเกิดในประเทศไทยที่ฝรั่งอย่างมองค์ซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์เรียกขานสยามประเทศว่า "ชมพูทวีป" หรืออินเดียโบราณ ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งถึงความน่าจะเป็นไปได้มากทีเดียว ขอสนับสนุนงานวิจัยชิ้นนี้ครับ ส่วนจารึกในภาคใต้ที่มีอายุมากกว่านั้นก็ต้องค้นคว้ากันต่อไปครับ

    ธนบดี..สำนักเขาอ้อ อายุ 2000 ปี ย่อมต้องมีเรียน อักขระเลขยันต์..ลองพิจารณาข้อสังเกตนี้ของผมนะครับ (ซึ่งผมได้สอบถามไปที่ ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา ม.ศิลปากร ไว้)
    ....
    อาจารย์ครับ...ถามเบาๆ นะครับ นอกตำราวิชาการ เขาว่า

    ในประเทศไทย อักษรขอมถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในงานด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ อักษรขอมที่ใช้เขียนภาษาบาลีเรียก อักษรขอมบาลี ส่วนที่ใช้เขียนภาษาไทยเรียก อักษรขอมไทย ซึ่งมีอักขรวิธีต่างจากอักษรขอมกลุ่มอื่นๆ ต่อมา อักษรขอมไทยถูกแทนที่ด้วยอักษรไทย ส่วนอักษรขอมบาลียังคงใช้เขียนภาษาบาลีเรื่อยมา
    ...

    ในฐานะที่อาจารย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญเครื่องรางและยันต์เขมร..

    อาจารย์มีความเห็นอย่างไรหรือเปล่าครับ ว่า ทำไมอักษรขอมที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะจึง "มีความขลังความศักดิ์สิทธิ์" แต่ ทำไม อักษรปัลลวะ ที่เป็นต้นแบบ ถึงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือ ไม่มีใครเอามาเขียนเป็นยันต์ครับ?

    ธนบดี...วิวัฒนาการ การเขียนยันต์/สักยันต์ นี่เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ...แล้วทำไม ยันต์ จึง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ พระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาไปได้..เช่น

    อักขระ มะ อะ อุ

    ทั้งสามอักขระ นั้นมีข้อความปรากฏ ใน พระสติปัฏฐาน ในวิธีทำสันโดด ด้วยเป็นบทต้น

    มีข้อความว่า มะ คือ โชตินี

    อะ ได้แก่ พระแสง

    อุ ได้แก่พระฉัพพรรณรังสี


    สำหรับ อักขระทั้ง 3 องค์นี้ มีความหมายเป็นบทนอบน้อม และ บทนำ ในส่วน พระอาจารย์ ของ พระอาจารย์

    ได้อธิบายความหมายของอักขระทั้ง 3 นี้ ดังนี้

    มะ ย่อ มาจาก มหาปุริสะ หรือ พระมหาบุรุษ ผู้เปี่ยมด้วยบารมีด้วยการการบำเพ็ญ 30 ทิศ มี ศีล เป็น

    พื้นฐาน มะ ในที่นี้ แทนความหมาย คือ ศีล อันเป็นบาทแรกแห่งการภาวนาทั้งปวง

    อะ ย่อมาจาก อาโลโก หรือ แสงสว่าง มีความหมายอันเกิดจากจิตที่เป็นสมาธิ เพราะสมาธิ ในขั้นต้นนั้น

    ต้องปรากฏแสงสว่าง อันเรียกว่า สี หรือ รัศมี ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากอำนาจ สมาธิ ดังนั้น อะ แทนความ

    หมาย คือ สมาธิ อันเป็นบาทที่สอง ของการภาวนา

    อุ ย่อมาจาก อุตมปัญญา ก็หมายถึงปณิธาน สูงสุด ในพระพุทธศาสนา นั้นคือ ปัญญา ซึ่งปัญญาในการ

    ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นลักษณะพิเศษซึ่งไม่ปรากฏในหมู่ พระสาวก ในคือพระสัพพัญญุุตญาณ

    ซึ่งเป็นคุณของพระพุทธเจ้า อันปรากฏแก่ หมู่ชน ด้วย ฉัพพันณรังสี เฉพาะพระพุทธองค์เท่านั้น

    ดังนั้น อักขระ มะ คือ ศีล อะ คือ สมาธิ อุ คือ ปัญญา

    ดังนั้นอักขระ ทั้ง 3 นี้ จักได้ใช้ประจำ ไม่เอามาใช้ในตัวใด ตัวหนึ่ง เพราะมีคุณอนันต์

    ธนบดี..ใครกันนะ ที่เป็นคนเขียนตำราพระเวท แต่แรกเริ่ม ก่อนที่ อ.เทพ หรือคณาจารย์อื่นๆ จะรวบรวมเรียบเรียง นี้ครับ??

    อ. พยุง..ผมขอสารภาพว่ามีความรู้เรื่องเครื่องรางของขลังแค่ปลายอ้อปลายแขมจากการเป็นนักวิจัยร่วม ตามรอยเขาอ้อสรรพยาบรรพตแห่งปักษ์ใต้ เองครับคงไม่บังอาจเป็นผู้รู้ครับ ท่านธนบดีไปไกลกว่าผมมากครับ

    ธนบดี...ไปไกลออกทะเลเลย 5555
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ขอความรู้ ท่านผู้ชำนาญประวัติศาสตร์ อินเดีย-ศรีลังกา

    จาก "ที่มาพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก" ดังที่ คัดลอกมา ข้างล่าง ที่ ระบุว่า ใน พุทธศักราช ๒๐๕๐ “พระเจ้าอนุรุทธธรรมราช” เสวยราชสมบัติในเมืองหงสาวดีราชธานี ได้ส่งพระสงฆ์ไปสืบศาสนา...ยังที่ต่างๆ โดย

    นิมนต์พระสงฆ์รูปหนึ่ง ให้ท่านไปเมืองราชคฤห์ที่พระมหากัสสปเถรเจ้านิพพาน
    และ
    นิมนต์ พระมหาสามีธรรมรส ผู้มีพรรษาได้ ๒๐ พรรษา ให้ไปยังเมืองลังกาทวีป

    ที่ผม จะขอความรู้ จาก ท่านผู้ชำนาญประวัติศาสตร์ อินเดีย-ศรีลังกา คือ ในช่วง พ.ศ. ๒๐๕๐ นั้น ทั้งอินเดีย และศรีลังกา "พระพุทธศาสนายังรุ่งเรืองอยู่หรือไม่?" สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่อยู่หรือเปล่า?

    และ "มหาเสลอาราม” หรือ “วัดพระหิน” คือวัดไหน อยู่ที่ไหน ในประเทศศรีลังกา "จารึก อันเป็นที่มาของตำนานพระเจ้าเลียบโลก ยังอยู่มั๊ย?"

    .........

    ที่มาพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก

    (แหล่งที่มา : นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ๑ ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง กัณฑ์ที่ ๑๑ ตอน ความพิสดารพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก “ศิลาจารึก พระบาทพระธาตุในลังกาทวีป” (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่ : ลานนาการพิมพ์, หน้า ๑๙๒-๑๙๖ ) กล่าวว่า


    “…ตำนานพระบาทและพระธาตุของพระพุทธเจ้านี้ เทวดาพระอินทร์และพระพรหมพระอรหันต์ทั้งหลาย ได้เฝ้ารักษาพระธาตุเจ้าทั้งหมดไว้และได้กำหนดชื่อพระบาทและพระธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ในกระดานหินประดิษฐานไว้ในเมืองลังกาทวีป หินก้อนนั้นยาว ๒๐ ศอก กว้าง ๕ ศอก (บางฉบับว่า กว้าง ๔ ศอก หนา ๕ ศอก ยาว ๑๕ ศอก) ในที่ประดิษฐานแผ่นหินนั้นเคยเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประทับเป็นครั้งแรก เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จไปเมืองลังกาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วในปีเต่าสัน (ปีวอก) เดือน ๖ เพ็ญ หลังจากนั้น ๑ ปี คนทั้งหลายจึงพากันไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในเมืองลังกาที่นั้นซึ่งเป็นกัลยาณมิตรกับด้วยพระเจ้าอโศกราช แล้วขอเอาพระศาสนาไปเผยแพร่ในลังกาทวีปพระเจ้าอโศกราชจึงทรงอาราธนานิมนต์พระมหินทเถรผู้เป็นราชโอรสให้เป็นประธานแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ชักชวนพระอรหันต์ทั้งหลายนำเอาพระพุทธศาสนาพระธาตุและไม้ศรีมหาโพธิ์ไปประดิษฐานไว้ในเมืองลังกา คนทั้งหลายก็พร้อมใจกันสร้างมหาวิหารครอบแผ่นหินที่เป็นตำนานของพระธาตุและพระบาทไว้ สถานที่นั้นจึงเป็นวัดปรากฏชื่อว่า "มหาเสลอาราม” คือ “วัดพระหิน” นั้นแล

    เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้แล้วพระองค์ก็เสด็จดับขันธปรินิพพานไป เมื่อพระองค์นิพพานไปแล้วได้ ๒๐๕๐ พรรษา มีพระยาธรรมิกราชพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า “พระเจ้าอนุรุทธธรรมราช” เสวยราชสมบัติในเมืองหงสาวดีราชธานี พระองค์มีพระทัยเลื่อมใสศรัทธา มีพระประสงค์ใคร่รู้ว่า “ศาสนาของพระพุทธเจ้าที่ประดิษฐานไว้ ๑๐๑ เมืองในชมพูทวีปนี้ จะมีเมืองใดบ้างที่ยังคงเจริญรุ่งเรืองอยู่” พระองค์จึงทรงอาราธนานิมนต์พระเถระเจ้าทั้งหลายรวม ๑๐๑ รูป ต่างรูปต่างก็จำพระไตรปิฎกทั้งสิ้นให้ท่านได้เดินทางไปตลอด ๑๐๑ เมือง คือนิมนต์ให้ท่านไปดูในเมืองราชคฤห์ที่พระมหากัสสปเถรเจ้านิพพาน ๑ รูป ที่เมืองวิเทหะอันพระจุลกัสสปนิพพาน ๑ รูป และนิมนต์ให้ไปเมืองต่างภาษาอันได้ ๑๐๑ ภาษา ทุกเมืองเมืองละ ๑ รูป

    สำหรับ พระมหาสามีธรรมรส ผู้มีพรรษาได้ ๒๐ พรรษา พระองค์นิมนต์ว่า “ขอพระคุณเจ้าไปดูพระพุทธศาสนาพระบาทและพระธาตุเจ้าเมืองลังกาทวีป ให้ได้รู้ได้เห็นคุณวิเศษที่มีในเมืองลังกาทวีปนั้นโดยแจ่มแจ้งทุกประการแล้วโปรดกรุณากลับคืนมาชี้แจงให้ข้าพเจ้าทราบทุกประการเถิด" แล้วจึงรับสั่งให้คนทั้งหลายทำเรือสำเภาให้มั่นคงดีแล้วจึงนิมนต์พระมหาสามีเจ้าไปถึงแล้ว จึงเข้าไปพักอยู่ วัดหลวงพระหิน อันเป็นที่ประทับอยู่แห่งพระมหาสังฆราชานายก สมเด็จพระมหาสังฆราชตรัสถามว่า “ดูราท่านธรรมรสผู้มีอายุ ท่านเดินลงมาถึงประเทศบ้านเมืองที่นี้ ท่านมีความประสงค์สิ่งใด”

    พระมหาสามีธรรมรสทูลว่า “ข้าแด่พระมหาสังฆนายก ในกาลบัดนี้มีพระยาธรรมิกราชองค์หนึ่งปรากฏขึ้น ทรงพระนามว่า “พระเจ้าอนุรุทธธรรมราช” ถวายราชสมบัติเป็นเอกราชใหม่ๆ พระองค์มีพระทัยปสาทศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาประสงค์จะยกย่องเชิดชูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองในเมืองหงสาวดีราชธานี จึงมีพระทัยใคร่ทรงทราบว่าพุทธศาสนาที่ประดิษฐานอยู่ในสกลชมพูทวีป ๑๐๑ เมืองนั้นยังมีเมืองใดที่พระพุทธศาสนายังเจริญรุ่งเรือง จึงอาราธนานิมนต์พระมหาเถรเจ้าทั้งหลาย ๑๐๑ รูป ให้ไปดูในเมืองต่างๆ เมืองละ ๑ รูป ๑๐๑ ภาษา อันเป็นมหานครนั้นทุกแห่ง ให้ข้าพเจ้ามาสู่ลังกาทวีปที่นั้นเดินทางมาทางทะเลเป็นเวลา ๖ เดือน จึงมาถึง ประสงค์เพื่อจะมานมัสการพระธาตุและรอยพระบาทและดูพระพุทธศาสนาในเมืองลังกาทวีปนี้”

    มหาสังฆราชจึงตรัสว่า “สาธุ สาธุ ดีดีแท้แล ดูราท่านธรรมรส ท่านได้เข้ามาถึงที่นี้ประสงค์เพื่อจะมานมัสการพระสรีรธาตุและพระบาท ตลอดถึงไม้ศรีทักขิณสาขามหาโพธิ์นั้น เป็นการดีแก่ท่านยิ่งนัก แต่โดยแท้ พระบาท พระธาตุและไม้ศรีมหาโพธิ์อันประเสริฐ ก็มีอยู่ในชมพูทวีปโน้นเป็นอันมาก เพราะว่า เมื่อพระสัมพัญญูพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ทรงพาพระอรหันต์ทั้งหลายเสด็จจาริกไปโปรดเวยไนยสัตว์ทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงไว้พระบาทและพระเกศาธาตุในที่ต่างๆ และทรงพยากรณ์ไว้ว่าพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วให้นำเอาพระธาตุไปประดิษฐานไว้ในบ้านใหญ่บ้านน้อยและบ้านใหญ่เมืองน้องทั้งหลาย”

    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์ พระอินทร์และพระเจ้าอโศกราชได้พร้อมกันอัญเชิญพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานไว้ในที่ที่พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ทุกแห่ง เทวดาทั้งหลายที่อยู่เฝ้ารักษาพระบาทและพระบรมธาตุ เขาก็เอาชื่อบ้านชื่อเมืองประเทศชื่อถ้ำหรือชื่อภูเขาอันเป็นที่ประดิษฐานพระบาทหรือพระธาตุทั้งสิ้นในชมพูทวีปมาเขียนไว้ในฝาผนังวิหารด้วยถ้อยคำว่าพระบาทหรือพระธาตุชื่อนี้ชื่อนั้นประดิษฐานไว้ในเมืองชื่อนั้นในบ้านชื่อนี้ในป่าชื่อนี้ในดอยชื่อนี้ในถ้ำคูหาชื่อนี้ได้เขียนสารตราไว้ในวิหารที่นี้ ท่านใคร่รู้ใคร่เห็นจงไปอ่านเอาเถิด”

    พระมหาสังฆราชวัดพระหิน เมื่อตรัสบอกเช่นนั้นแล้ว จึงนำเอาหนังสือตำนานพระบาทและพระธาตุที่ประดิษฐานไว้ใน ๑๐๑ เมือง ในชมพูทวีปทั้งสิ้นนั้นมาให้พระมหาสามีธรรมรสได้อ่าน เมื่อท่านอ่านได้ดูแล้วก็รู้ทุกแห่งว่า “พระธาตุพระพุทธเจ้า” ที่ประดิษฐานอยู่ในเมืองหงสาวดีมี ๕๒ แห่ง ประดิษฐานอยู่ในบริเวณเมืองหริภุญชัยมี ๒๓ แห่ง กับรอยพระพุทธบาทอีก ๑๒ แห่ง พระบรมธาตุและรอยพระพุทธบาทที่มีในเมืองไทยทั้งหมด ๗๐ แห่ง ท่านก็รู้แจ่มแจ้งทุกแห่งทุกที่ตั้ง ๑๐๑ เมือง แล้วท่านพระมหาสามีก็คิดว่า “ตำนานพระบรมธาตุและพระพุทธบาทที่มีใน ๑๐๑ เมืองนั้น หากว่าเราจะเขียนเอาไปทั้งหมด ก็ไม่อาจจะไปนมัสการได้ทุกแห่ง เพราะว่าอยู่ห่างไกลยิ่ง เราจะเขียนเอาเฉพาะที่เราสามารถจะไปนมัสการกราบไหว้ถึงเท่านั้นเถิด” เมื่อท่านคิดเช่นนี้แล้วท่านจึงได้เขียนตำนานพระธาตุและพระบาทเอาที่อยู่ในเมืองใกล้ๆ คือตำนานพระธาตุและพระบาทที่มีอยู่ในเมืองยวนและเมืองหริภุญชัยนครทั้งสิ้น ตลอดถึงตำนานพระธาตุพระบาทที่มีอยู่ในเมืองลื้อเมืองไทยทั้งมวล (คือเมืองลื้อเมืองไต)

    ท่านพระมหาสามีธรรมรสอยู่จำพรรษาในลังกาทวีป ๑ พรรษา แล้วจึงขึ้นเรือสำเภากลับคืนมาเมืองหงสาวดี ใช้เวลาเดินทางนาน ๖ เดือน แล้วก็เทศนาบอกกล่าวเรื่องราวต่างๆ ที่ท่านได้รู้ได้เห็นและได้นมัสการมาให้แก่พระเจ้าอนุรุทธธรรมราชทุกประการ จากนั้นท่านก็ได้จาริกออกเดินทางไปนมัสการกราบไหว้รอยพระพุทธบาทและพระบรมธาตุในเมืองหงสาวดีราชธานีทุกแห่ง แล้วก็เดินทางไปไหว้พระพุทธบาทและพระบรมธาตุในเมืองลื้อในเมืองไทยทุกแห่ง ตามที่ตำนานได้กล่าวถึง จนกระทั่งมาถึงดอยเกิ้งคำเมืองหอด (อำเภอฮอด ในปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่) ท่าหัวเคียน ในเวลานั้นมีพระเถรรูปหนึ่งชื่อว่า มหาโพธิสมภาร ท่านเป็นลูกชาวนาวาการ คือช่างทำเรือ ท่านอยู่ในอาวาสใกล้เชิงเขาดอยเกิ้งคำที่นั้น มีพรรษาได้ ๖๐ พรรษา ได้ยินข่าวว่า พระมหาธรรรสเมืองหงสาวดีได้ไปเมืองลังกาทวีป ท่านได้ตำนานพระบาทพระธาตุมา เมื่อมาถึงเมืองหงสาวดีแล้วท่านก็ได้เที่ยวจาริกไปไหว้บูชาพระบาทพระธาตุทั้งหลาย จนกระทั่งมาถึงที่นี้ ตำนานพระบาทพระธาตุอันวิเศษนั้นเป็นของหายากยิ่ง เราควรขอลอกเขียนเอาเถิด" เมื่อรำพึงเช่นนี้แล้ว จึงเข้าไปสู่สำนักมหาเถรชาวมอญองค์นั้น แล้วก็ขอลอกเขียนเอาตำนานพระบาทพระธาตุเรื่องนี้ไว้ เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ท่านได้ลอกเขียนเอาในปีกำเม็ด (มะแม) จุลศักราช ๘๘๔ (พ.ศ.๒๐๖๖) เดือน ๗ ดับวันอังคาร ไทยรวายยี

    นับตั้งแต่นั้นต่อมา เจ้าไทยคือพระภิกษุหรือบุคคลใด มีเจตนาจักใคร่คัดลอกเขียนเอาไว้ ก็ให้ลอกเขียนเอาทั้งหมดทุกตัวอักษรหมดสิ้นถ้อยคำที่มีอยู่ไม่ให้เหลือแม้แต่ตัวเดียว หากว่าไม่มีความอุตสาหะเขียนลอกให้หมดถ้อยคำได้ก็ไม่ควรจะคัดลอกเอาเป็นการดีที่สุด เพราะจะทำให้เรื่องราวขาดหายเป็นกระท่อนกระแท่นไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่ง ผู้ใดจะลอกเขียนเอา ให้ฟังคำตักเตือนของเราผู้ชื่อว่าโพธิสมภารนี้เถิด จึงจะเป็นการดียิ่ง

    ต่อจากนั้นมา ยังมีพระมหาเถรองค์หนึ่งชื่อว่า อรัญญิกวัตร ท่านมีปรกติอยู่ในป่าท่านได้คัดลอกเอาจากสำนักพระมหาเถรโพธิสมภาร ในปีเบิกไส้ (มะเส็ง) จุลศักราชได้๘๙๐ เดือน ๗ แรม ๘ ค่ำ วันเสาร์ไทยว่าวันกัดไส้

    ต่อจากนั้น พระมหาสามีเชตวัน ก็ได้คัดลอกเอาตำนานเรื่องนี้ จากสำนักพระมหาวัดป่าเจ้าองค์นั้นคือ พระอรัญญิกวัตรในปีเบิกใจ้ (ปีชวด)

    ต่อจากนั้น พระมหาธรรมจุฬ อยู่เมตตาในวัดสนุก ท่านก็ได้คัดลอกสืบเอาแต่สำนักพระมหาสามี วัดป่าเชตวัน ในปีเบิกใจ้(ปีชวด)

    ต่อจากนั้นมา พระอนุรุทธ อยู่วัดมหาธาตุ ในเมืองหริภุญชัยนคร ได้คัดลอกเอาจากพระมหาสามี วัดป่าเชตวัน ในปีล้วงเหม้า(เถาะ) จุลศักราช ๘๙๓ เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ วันศุกร์ไทยว่าวันยี

    ต่อจากนั้นมา พระมหาสังฆราชเจ้า วัดในเมืองลำพูน ก็ได้คัดลอกเอาจากพระมหาอนุรุทธเถร

    ต่อจากนั้นมา อโนรสภิกขุ ก็ได้คัดลอกสืบต่อจากพระมหาสังฆราชละพูน (ลำพูน)

    ต่อจากนั้นมาอุบาสกผู้หนึ่งชื่อว่า พวกปวง ก็คัดลอกสืบต่อจากสำนักอโนรสภิกขุ วัดบ้านงวก เมืองลังเมืองเชียงใหม่

    ต่อจากนั้นมา พระมหาเถรเจ้าองค์หนึ่งได้คัดลอกเขียนต่อจากอุบาสกพวกปวง

    ต่อจากนั้นมา พระมหาเถรธรรมจุฬา ได้คัดลอกเขียนต่อจากพระมหาเถรเจ้าองค์นั้น

    ต่อจากนั้นมาอุบาสกผู้หนึ่งได้คัดลอกสืบต่อเอาจากพระมหาเถรธรรมจุฬา ในปีเมืองไส้ (มะเส็ง)ศักราช ๙๐๙ เดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ วันอังคาร ไทยเมืองเหม้า ฤกษ์ได้ ๑ ตัวชื่อว่า ภรณี

    ต่อจากนั้นมา พระพุทธวังสะเถร ได้ตัดลอกสืบต่อจากอุบาสกผู้นั้น

    ต่อจากนั้นมาลูกศิษย์ของท่านพุทธวังสะเถร ชื่อว่า สุวรรณภิกขุ ได้คัดลอกเขียนต่อจากพระพุทธวังสเถร

    ต่อจากนั้นมา พระมหาสังฆราชศรีสองเมือง ผู้มีชื่อว่า นาคเสน อยู่วัดบ้านดอกคำ เมืองหย้อบุญเหนือ ได้คัดลอกสืบเอาจากพระอินทปัญญาเถร ในปีกดยี (ขาล) ถึงปีล้วงเหม้า (เถาะ) จุลศักราช ๙๙๖ เดือน ๖ ขึ้น ๒ ค่ำ วันพฤหัสบดี ไทยเบิกยี เสร็จในเวลาเย็น

    ต่อจากนั้นมา พระมหาขนานน้อย ก็คัดลอกเขียนต่อจากพระมหาสังฆราชศรีสองเมือง ในปีก่าเหม้า (เถาะ) จุลศักราช ๑๐๒๕ เดือนออก ๙ ค่ำ วันจันทร์ ไทยกัดเหม้า เวลาพลบค่ำ

    ต่อจากนั้นมา พระมหาเถรปัญญาเถร ชาวเชียงรุ้งเมืองลื้อ ท่านมาอยู่เมตตาสั่งสอนศรัทธาทั้งหลายอยู่วัดบ้านแหลงเมืองลา ได้คัดลอกจากเจ้ามหาขนานน้อย ในปีเบิกสัน (วอก) จุลศักราช ๑๑๓๐ เดือน ๙ ขึ้น ๖ ค่ำไทยเบิกสะง้า เวลาเที่ยงวัน

    ต่อจากนั้นมาเป็นเวลานานมากมีพระภิกษุรูปหนึ่งนามว่า โกวิทา ได้มาขอคัดลอกจากพระมหาปัญญาวุฒิ ครั้งในปีกาบสะง้า (มะเมีย) จุลศักราช ๑๑๓๖ เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ

    ต่อจากนั้นมาพระราชครูองค์หนึ่งนามว่า มหาปัญญาวิเศษ ได้คัดลอกสืบต่อจากพระมหาโกวิทา

    ต่อจากนั้นมา มหาพลปัญโญภิกขุ ได้คัดลอกเขียนต่อมา

    ต่อจากนั้นมาอุบาสกผู้หนึ่งชื่อว่า ปัญญา เป็นชาวบ้านผองเมืองลวง ได้คัดลอกเขียนจากพระมหาพลปัญโญภิกขุในปีรวายสี (มะโรง) จุลศักราช ๑๑๔๓ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำ

    ต่อจากนั้นมา พระมหาเกสโรภิกขุ อยู่วัดบ้านฝายเมืองลวง ได้คัดลอกเขียนจากหนังสือของปัญญาอุบาสก ในปีเบิกสะง้า (มะเมีย) จุลศักราช ๑๑๖๐ เดือน ๙ ขึ้น ๒ ค่ำ วันอังคาร ไทยกาบเส็ด ฤกษ์ตัวที่ ๑๘

    ต่อจากนั้นมา พระมหาวินทภิกขุ อยู่เมืองลัวะ มาอยู่ประจำเป็นราชครูอยู่ในเมืองบ้านยู้ ได้คัดลอกเขียนออกมาเพื่อให้คฤหัสถ์และนักบวชทั้งหลายได้อ่านได้ฟัง เพื่อให้เขาเกิดความเชื่อความเลื่อมใสในพระศาสนา คัดลอกสำเร็จในปีล้วงเล้า (ระกา) จุลศักราช ๑ อธิกมาสเดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันพุธไทยดับไส้ เวลาเย็นเป็นเวลาเย็นเป็นการแล้วเสร็จแห่งหัตถกรรมคือการคัดลอกเพื่อให้เป็นที่เจริญรุ่งเรืองแก่พระศาสนาตราบสิ้น ๕๐๐๐ พรรษา

    ต่อจากนั้นมามีกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า “ชินวังสมหาราช” เสวยราชสมบัติในมหารัฐคือเมืองหลวง ได้คัดลอกสืบต่อจากสำนักพระมหาเถรเจ้า ที่อยู่ภัททลีอารามคือวัดป่ากล้วย เมืองสิงห์ ปีกุดสะง้า (มะเมีย) จุลศักราช ๑๑๖๒ เดือน ๑๒ แรม ๖ ค่ำ วันพุธ เวลาสายได้ฤกษ์ตัวที่ ๗

    ต่อจากนั้นมาอุบาสกทั้งหลายที่เป็นศรัทธาวัดบ้านก้อน เมืองน่าน ได้รู้เห็นตำนานพระธาตุและพระบาทก็บังเกิดโสมนัส จึงปรึกษากันแล้วติดตามตำนานเรื่องนี้ ไปถึงภูมินทอาราม(วัดภูมินทร์) และวัดต่างๆ ในเมือง ขอคัดลอกเขียนเรียนต่อ เริ่มตั้งแต่เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ วันอาทิตย์ จุลศักราช ๑๑๗๔ คัดลอกเสร็จสมบูรณ์ในโลหชาเลนอาราม ในวันเดือน ๑๒ แรม ๑๕ ค่ำ วันศุกร์ ไทยกาบไจ้ได้ฤกษ์ตัวที่ ๑๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2016
  12. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    สืบหาร่องรอย "พระเจ้าอโศก" จากพงศาวดารสยามและมอญ

    เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ในตำนาน พงศาวดาร หรือบันทึกเหตุการณ์ของมอญและไทย ปรากฏใน “คำให้การชาวกรุงเก่า” ซึ่งเป็นหนังสือพงศาวดารประวัติศาสตร์ ที่ได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆ สมัยครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากคำให้การของเชลยศึกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไป สมัยเสียกรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 เชื่อว่าต้นฉบับเป็นภาษารามัญที่ถูกแปลเป็นภาษาพม่า และไทย ตามลำดับ นั้น มีอยู่ตอนหนึ่ง น่าสนใจ บันทึกไว้ว่า...
    ครั้น แล้วพระองค์เสด็จจากเขาสุวรรณบรรพต ไปยังตำบลบ้านพ่อแอ่งในข้างทิศตะวันตก ตำบลนั้นมีบึงใหญ่แห่งหนึ่ง ใกล้บึงนั้นมีพฤกษชาติใหญ่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านใบอันสมบูรณ สมเด็จพระพุทธองค์ก็ทรงกระทำปาฏิหาริย์อยู่เหนือยอดพฤกษชาตินั้น คือทรงนั่ง ทรงไสยาสน์ ทรงพระดำเนิรจงกรม แลทรงยืน บนยอดกิ่งไม้ใหญ่ มีพระอิริยาบถทั้งสี่เปรปรกติมิได้หวั่นไหว ในขณะนั้น ฝ่ายพฤกษเทพยดาทั้งหลายได้เห็นปาฏิหารของพระองค์เปนมหัศจรรย์ดังนั้น ก็บังเกิดปีติโสมนัสเลื่อมใสในพระคุณของพระองค์ จึงนำผลสมอดีงูแลผลสมอไทยอันเปนของเทพโอสถ มากระทำอภิวาท น้อมเข้าไปถวายแด่พระพุทธองค์ ในขณะนั้นพระองค์ทอดพระ เนตรเห็นแพะเล็กตัวหนึ่งอยู่ในที่ใกล้ ก็ทรงแย้มพระโอษฐ ฝ่ายพระอานนทเถรพุทธอนุชาเห็นพระองค์ทรงแย้มพระโอษฐให้ปรากฏดังนั้น จึงกราบทูลถามถึงเหตุแห่งการแย้มพระโอษฐว่าจะมีเปนประการใด สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าจึงตรัสพยากรณ์ว่า ไปในอนาคตกาลเบื้องหน้า แพะเล็กตัวนี้จะได้บังเกิดเปนกษัตริย์ครองราชย์สมบัติในประเทศนี้ จะมีเดชานุภาพมาก แลจะได้ทำนุบำรุงบทวลัญช์อันเปนรอยพระบาท กับรูปฉายาปฏิมากรของเราตถาคตสืบไป
    ครั้น ล่วงกาลนานมา สมเด็จพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระพุทธศักราชล่วงได้ ๒๑๘ ปี จึงบังเกิดพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้ครองราชย์สมบัติในกรุงปาตลีบุตรมหานคร พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมีการสร้างพระอาราม พระสถูปเจดีย์ แลขุดบ่อสระเปนต้น เปนอันมาก พระองค์ได้เสด็จประพาสทั่วไปในสกลชมพูทวีปตราบเท่าถึงเมืองสังขบุรี เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติอยู่ในเมืองนั้นต่อไป พระองค์มีมหิทธิฤทธิเดชานุภาพมากล้ำเลิศกว่ากษัตริย์ทั้งหลาย ได้ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้ถาวรรุ่งเรืองไปทั่วสกลชมพูทวีป ในคราวหนึ่งพระองค์ได้ตรัสแก่เสนาอำมาตย์ราชมนตรีทั้งปวงของพระองค์ว่า พระองค์ได้มาบังเกิดเปนกษัตริย์ทั้งนี้ ด้วยบุญญาบารมีกฤดาธิการของพระองค์ตามพระพุทธทำนายซึ่งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ นั้นทุกประการ
    --------------------
    จาก “คำให้การชาวกรุงเก่า” ข้างต้นนี้ จะเห็นว่า ชาวกรุงเก่า ในสมัยนั้น เชื่อและถ่ายทอดกันมา ว่า “พระเจ้าอโศก” ที่คนทั่วๆไป เข้าใจว่าเป็นกษัตริย์ปกครองอยู่ประเทศอินเดีย ได้มาปกครองแผ่นดิน “ในประเทศนี้” คือที่ ๆ พระพุทธองค์เสด็จมาพยากรณ์ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจาก “เขาสุวรรณบรรพต” ที่ จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย
    จริงหรือ? ที่พระเจ้า อโศกจะเสด็จมาจากอินเดีย หรือ แท้ที่จริง "พระเจ้าอโศกมหาราช" ไม่ได้ เป็นกษัตริย์ อยู่ที่อินเดีย แต่ เป็นกษัตริย์ที่ปกครองอยู่ในดินแดนแถบประเทศไทยนี่เอง
    เพราะ ในพม่า และไทย มีเรื่องราวที่ พระเจ้าอโศก ได้เสด็จไปสร้าง "พระธาตุเจดีย์" หลายแห่ง เพื่อประดิษฐาน "พระบรมสารีริกธาตุ" ในแผ่นดินพม่าและไทย ซึ่ง ตรงกับ เรื่องราวของ "พระเจ้าอโศก สร้างสถูป 84,000 องค์ ดังในอรรถกถา ที่ว่า...
    ว่าด้วยพระสถูป ๘๔๐๐๐ องค์
    ต่อ มาภายหลัง เมื่อครั้งอโศกกุมารเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระธรรมราชาพระนามว่าอโศก ทรงรับพระบรมธาตุเหล่านั้นไว้แล้ว ได้ทรงกระทำให้แพร่หลาย. ทรงกระทำให้แพร่หลายอย่างไร ? พระเจ้าอโศกนั้น อาศัยนิโครธสามเณร ทรงได้ความเลื่อมใสในพระศาสนา โปรดให้สร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหารแล้ว ตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า โยมให้สร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหารแล้ว จักได้พระบรมธาตุมาจากไหนเล่า ท่านเจ้าข้า. ภิกษุสงฆ์ทูลว่า ถวายพระพรพวกอาตมภาพฟังมาว่า ชื่อว่าที่เก็บพระบรมธาตุมีอยู่ แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน.พระราชาให้รื้อพระเจดีย์ในกรุงราชคฤห์ ก็ไม่พบ ทรงให้ทำพระเจดีย์คืนดีอย่างเดิมแล้ว ทรงพาบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปยังกรุงเวสาลี แม้ในที่นั้น ก็ไม่ได้ ก็ไปยังกรุงกบิลพัศดุ์ แม้ในที่นั้น ก็ไม่ได้แล้วไปยังรามคาม เหล่านาคในรามคาม ก็ไม่ยอมให้รื้อพระเจดีย์. จอบที่ตกต้องพระเจดีย์ ก็หักเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ในที่นั้นก็ไม่ได้ ก็ไปยังเมืองอัลลกัปปะเวฏฐทีปะ ปาวา กุสินารา ในที่ทุกแห่งดั่งกล่าวมานี้ รื้อพระเจดีย์แล้วก็ไม่ได้พระบรมธาตุเลย ครั้นทำเจดีย์เหล่านั้นให้คืนดีดั่งเดิมแล้ว ก็กลับไปยังกรุงราชคฤห์อีก ทรงประชุมบริษัท ๔ แล้วตรัสถามว่า ใครเคยได้ยินว่า ที่เก็บพระบรมธาตุ ในที่ชื่อโน้น มีบ้างไหม. ในที่ประชุมนั้น พระเถระรูปหนึ่ง อายุ ๑๒๐ ปี กล่าวว่า อาตมาภาพก็ไม่รู้ว่า ที่เก็บพระบรมธาตุอยู่ที่โน้น แต่พระมหาเถระบิดาอาตมภาพ ให้อาตมภาพครั้งอายุ ๗ ขวบ ถือหีบมาลัย กล่าวว่า มานี่ สามเณร ระหว่างกอไม้ตรงโน้น มีสถูปหินอยู่เราไปกันที่นั้นเถิด แล้วไปบูชา ท่านพูดว่า สามเณร ควรพิจารณาที่ตรงนี้. ถวายพระพร อาตมภาพรู้เท่านี้ พระราชาตรัสว่า ที่นั่นแหละ แล้วสั่งให้ตัดกอไม้ แล้วนำสถูปหินและฝุ่นออก ก็ทรงเห็นพื้นโบกปูนอยู่ แต่นั้นทรงทำลายปูนโบกและแผ่นอิฐแล้วเสด็จสู่บริเวณตามลำดับ ทอดพระเนตรเห็นทรายรัตนะ ๗ ประการ และรูปไม้ (หุ่นยนต์) ถือดาบ เดินวนเวียนอยู่ ท้าวเธอรับสั่งให้เหล่าคนผู้ถือผีมา แม้ให้ทำการเส้นสรวงแล้ว ก็ไม่เห็นที่สุดโต่งสุดยอดเลย จึงทรงนมัสการเทวดาทั้งหลายแล้วตรัสว่า ข้าพเจ้ารับพระบรมธาตุเหล่านี้แล้วบรรจุไว้ในวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหาร จะทำสักการะ ขอเทวดาอย่าทำอันตรายแก่ข้าพเจ้าเลย.
    ท้าว สักกะเทวราช เสด็จจาริกไปทรงเห็นพระเจ้าอโศกนั้นแล้ว เรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อเอ๋ย พระธรรมราชาอโศก จักทรงนำพระบรมธาตุไป เพราะฉะนั้น เจ้าจงลงสู่บริเวณไปทำลายรูปไม้ (หุ่นยนต์) เสีย วิสสุกรรมเทพบุตรนั้น ก็แปลงเพศเป็นเด็กชาวบ้านไว้จุก ๕ แหยม ยืนถือธนูตรงพระพักตร์ของพระราชาแล้ว ทูลว่า ข้าจะนำไป มหาราชเจ้า. พระราชาตรัสว่านำไปสิพ่อ. วิสสุกรรมเทพบุตรจับศรยิงตรงที่ผูกหุ่นยนต์นั้นแล ทำให้ทุกอย่างกระจัดกระจายไป. ครั้งนั้น พระราชาทรงถือตรากุญแจ ที่ติดอยู่ที่เชือกผูกทอดพระเนตรเห็นแท่งแก้วมณีและเห็นอักษรจารึกว่า ในอนาคตกาล เจ้าแผ่นดินที่ยากจนถือเอาแก้วมณีแท่งนี้แล้ว จงทำสักการะพระบรมธาตุทั้งหลาย ทรงกริ้วว่า ไม่ควรพูดหมิ่นพระราชาเช่นเราว่า เจ้าแผ่นดินยากจน ดังนี้แล้วทรงเคาะซ้ำ ๆ กันให้เปิดประตู เสด็จเข้าไปภายในเรือนประทีปที่ตามไว้เมื่อ ๒๑๘ ปี ก็โพลงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง ดอกบัวขาบก็เหมือนนำมาวางไว้ขณะนั้นเอง เครื่องลาดดอกไม้ก็เหมือนลาดไว้ขณะนั้นเอง เครื่องหอมก็เหมือนเขาบดวางไว้เมื่อครู่นี้เอง. พระราชาทรงถือแผ่นทอง ทรงอ่านว่า ต่อไปในอนาคตกาล ครั้งกุมารพระนามว่า อโศก จักเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระธรรมราชาพระนามว่า อโศก ท้าวเธอจักทรงกระทำพระบรมธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลาย ดังนี้ แล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้า มหากัสสปเถระเห็นตัวเราแล้วทรงคู้พระหัตถ์ซ้ายปรบกับพระหัตถ์ขวา. ท้าวเธอเว้นเพียงพระบรมธาตุที่ปกปิดไว้ในที่นั้น ทรงทำพระบรมธาตุที่เหลือทั้งหมดมาแล้ว ปิดเรือนพระบรมธาตุไว้เหมือนอย่างเดิม ทรงทำที่ทุกแห่งเป็นปกติอย่างเก่าแล้ว โปรดให้ประดิษฐานปาสาณเจดีย์ไว้ข้างบน บรรจุพระบรมธาตุไว้ในวิหาร ๘๔,๐๐๐ วิหาร
    ------------------

    แล้วเพื่อนๆ หล่ะ คิดว่า "พระเจ้าอโศก" ตามคำให้การของชาวกรุงเก่า เป็นพระองค์เดียวกับ ที่อุปถัมภ์การสังคายนา และเป็นพระองค์เดียวกับที่ได้ไป ขุดค้นหาพระบรมสารีริกธาตุ แล้วสร้าง สถูปเจดีย์ 84,000 องค์ ใน "พระอรรถกถา" หรือไม่?

    ชาวรามัญ หรือ ชาวมอญ น่าจะมีความสัมพันธ์หรือศรัทธา ในพระเจ้าอโศกมาก ดังประเพณีที่อาจจะเรียกว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลก คือ การ "ทำบุญตักบาตรน้ำผึ้ง" ก็สืบเนื่องมาจาก "พระเจ้าอโศก"ดังว่า...

    การทำบุญตักบาตรน้ำผึ้งของคนมอญ น่าจะมาจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนา อานิสงส์หรือผลบุญที่ได้จากการถวายน้ำผึ้งมีสูง ในตำนานทางพระพุทธศาสนากล่าวถึงผลบุญจากการถวายน้ำผึ้งว่า ครั้งพระทีปังกรพุทธเจ้า มีพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งอาพาธใคร่จะได้น้ำผึ้งมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำยา แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สามารถที่จะแสวงหารังผึ้งและน้ำผึ้งมาได้ เพราะจะทำผิดพระวินัย วันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้นจาริกไปบิณฑบาตในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ระหว่างทางมีชายยากจนคนหนึ่งเกิดจิตศรัทธาอยากจะถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า แต่เพราะความยากจนไม่มีอาหารอื่นใดที่จะพอถวายเป็นทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ มีเพียงน้ำผึ้งที่ตัวเองได้มาจากป่า เขาจึงถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

    แต่แล้วก็บังเกิดสิ่งมหัศจรรย์ เมื่อชายผู้นั้นรินน้ำผึ้งลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า น้ำผึ้งกลับเพิ่มขึ้นมากจนล้นบาตร

    ขณะนั้น มีหญิงสาวชาวบ้านผู้หนึ่งกำลังทอผ้าอยู่ได้เห็นน้ำผึ้งล้นจากบาตรเปื้อนมือพระปัจเจกพุทธเจ้า นางรีบน้ำผ้าที่ตัวเองทอไว้มาถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เพื่อรองบาตรกันเปื้อนและใช้ซับน้ำผึ้งมิให้เปื้อนมือพระปัจเจกพุทธเจ้า

    หญิงชายทั้งสองเมื่อสิ้นชีวิตไปได้เกิดเป็นผู้มีอำนาจ มั่งคั่งด้วยยศศักดิ์ทรัพย์ศฤงคาร ชายเกิดเป็นมหาราชามีอำนาจยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป คือพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายหญิงนั้นเกิดเป็นพระมเหสีของพระเจ้าอโศกมหาราช

    อันเนื่องมาจากอดีตนิทานฉะนี้ ชาวมอญจึงได้ถือเป็นประเพณีสืบๆ ต่อกันมาตราบเท่าทุกวันนี้

    แปลกมั๊ยหล่ะ ที่คนมอญ ทำไมจึงสืบทอดเรื่องราวเหล่านี้ต่อมา หรือว่า "พระเจ้าอโศมหาราชคือบรรพชนของชาวมอญ" นั่นเอง

    นอกจากนี้ ยังมีเค้า เรื่องพระเจ้าอโศก กับพระควัมบดี บุตรชาวรามัญ เมืองสะเทิม ใน เรื่อง "ราชาธิราช" ว่า..

    จักดำเนินความในเรื่องราวพระเจ้าราชาธิราชนั้น กล่าวโดยลักษณะบุพเหตุความเบื้องต้นเป็นสังเขป ใจความว่า ยังมีพระมหาเถรองค์หนึ่งเป็นพระอรหันต์ มีนามปรากฏว่า พระควัมบดี เป็นบุตรรามัญชาวเมืองสะเทิม พระผู้เป็นเจ้าประกอบด้วยพระอรหัตคุณ คือ ได้อภิญญาหก แลจตุสัมภิทาญาณทั้งสี่ แลมารดาของพระมหาเถระเจ้านั้นถึงแก่มรณภาพ พระผู้เป็นเจ้าเล็งดูด้วยทิพจักษุญาณ แจ้งว่ามารดายังหาได้ไปบังเกิดในเทวโลกไม่ ยังท่องเที่ยวถือปฏิสนธิกำเนิดเป็นมนุษย์อยู่ บัดนี้ ไปบังเกิดในรามัญประเทศ พระผู้เป็นเจ้ามีความปรารถนาจะให้เป็นประโยชน์แก่มารดาแลกษัตริย์เศรษฐีคหบดีพราหมณ์ประชาราษฎรหญิงชายชาวเมือง จึงเข้าฌานสมาบัติ มีอภิญญาเป็นบาท ออกจากฌานแล้วก็สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์เหาะมายังเมืองสะเทิม สมเด็จพระเจ้าอโศกราชบรมบพิตรได้เห็นพระปาฏิหาริย์ของพระผู้เป็นเจ้า ก็เลื่อมใสในอรหัตคุณ แล้วพระเจ้าอโศกราชจึงตรัสถามพระมหาเถรว่า เมื่อพระศรีสรรเพชญบรมโลกาจารย์มีพระชนมายุเสด็จทรมานอยู่นั้น มีพระพุทธบัณฑูรทำนายไว้ประการใดบ้าง พระมหาเถระเจ้าถวายพระพรตามกระแสพระพุทธพยากรณ์ตรัสทำนายไว้ว่า เมื่อพระองค์ยังมีพระชนม์อยู่นั้น เสด็จมาในอรัญประเทศที่นี้อันชื่อว่า ป่าเมาะตะมะ ยังมีมหายักษ์ทั้งแปดเห็นสมเด็จพระพุทธเจ้ามีพระรูปสิริวิลาสงามหาที่สุดมิได้ ประดับไปด้วยฉัพพรรณรังสีเลื่อมประภัสสรเปล่งออกจากพระกายข้างละวา มหายักษ์ทั้งแปดเห็นแล้วก็เลื่อมใสยินดี จึงเก็บเอาใบพลวงมาแปดใบ กระทำเป็นเพดาน เอาศิลามีพรรณอันขาวมากระทำเป็นพระแท่น อาราธนาสมเด็จพระพุทธเจ้าให้เสด็จนิสีทนาการเหนือเศวตรบัลลังก์ศิลาแล้ว มหายักษ์ทั้งแปดจึงเก็บเอาผลพะวาป่ามากระทำเป็นน้ำอัฐบานถวายสมเด็จพระพุทธเจ้า แล้วจึงเอาน้ำมันมาตามเป็นประทีบถวายสมเด็จพระพุทธเจ้า สมเด็จพระพุทธเจ้าจึงตรัสพระธรรมเทศนาโปรดมหายักษ์ทั้งแปด ยังยักษ์ทั้งแปดให้ตั้งอยู่ในสรณาคมน์แลศีลห้า แล้วทรงทำนายแก่มหายักษ์ทั้งแปดว่า ดูกร มหายักษ์ ผลานิสงส์ที่ท่านทั้งปวงได้กระทำพุทธบูชาแก่ตถาคตในครั้งนี้ จะให้ผลแก่ท่านให้ได้เสวยทิพยสมบัติมนุษยสมบัติไปในอนาคต นานไปท่านทั้งแปดจะได้เกิดเป็นพระมหากษัตราธิราช กอปรด้วยตบเดชะอันล้ำเลิศประเสริฐ แลประเทศป่าอันนี้จะมีพระมหากษัตริย์องค์หนึ่งเสด็จมาสร้างพระนครชื่อว่า เมืองเมาะตะมะ แลสมเด็จพระพุทธเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาแก่มหายักษ์แล้ว ก็เสด็จไปโปรดสัตว์ทั้งปวง เมื่อพระองค์มีพระชนม์ได้แปดสิบพรรษาก็เสด็จเข้าสู่พระนิพพาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เมืองปิบผลิวัน ของโมริยกษัตริย์ อยู่ที่ไหน? ระวังแขกปล้น

    ข้อความจากอรรถกถา มีว่า..

    [๑๖๐] พวกเจ้าโมริยะเมืองปิปผลิวัน ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค
    เสด็จปรินิพพานในเมืองกุสินารา จึงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า
    พระผู้มีพระภาคเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระ
    พระผู้มีพระภาคบ้าง จักได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค
    พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราตอบว่า ส่วนพระสรีระพระผู้มีพระภาคไม่มี เราได้
    แบ่งกันเสียแล้ว พวกท่านจงนำพระอังคารไปแต่ที่นี่เถิด พวกทูตนั้น นำพระ
    อังคารไปจากที่นั้นแล้ว ฯ
    [๑๖๑] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหีบุตร
    ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในพระนครราชคฤห์
    พวกกษัตริย์ลิจฉวีเมืองเวสาลี ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มี
    พระภาคในเมืองเวสาลี พวกกษัตริย์ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ก็ได้กระทำพระสถูป
    และการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกบิลพัสดุ์ พวกกษัตริย์ถูลีเมือง
    อัลกัปปะ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมือง
    อัลกัปปะ พวกกษัตริย์โกลิยะเมืองรามคาม ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง
    พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองรามคาม พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ ก็ได้
    กระทำพระสถูป และการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวฏฐทีปกะ พวก
    เจ้ามัลละเมืองปาวา ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค
    ในเมืองปาวา พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง
    พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ ก็ได้กระทำสถูปและ
    การฉลองตุมพะ พวกกษัตริย์โมริยะเมืองปิปผลิวัน ก็ได้กระทำพระสถูปและการ
    ฉลองพระอังคารในเมืองปิปผลิวัน ฯ
    พระสถูปบรรจุพระสรีระมีแปดแห่ง เป็นเก้าแห่งทั้งสถูปบรรจุตุมพะ
    เป็นสิบแห่งทั้งพระสถูปบรรจุพระอังคาร ด้วยประการฉะนี้ การแจกพระธาตุและ
    การก่อพระสถูปเช่นนี้ เป็นแบบอย่างมาแล้ว ฯ

    และ จาก "ประวัติพระธาตุขามแก่น" มีว่า
    ประวัติพระธาตุขามแก่น

    พระธาตุขามแก่น เป็นเจดีย์ที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ องค์พระธาตุขามแก่น ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจติยภูมิ อำเภอน้ำพอง ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นไปตามถนนขอนแก่น - ยางตลาด เลี้ยวซ้ายบริเวณบ้านพรหมนิมิตร อำเภอเมืองขอนแก่น ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นเจดีย์ที่สำคัญที่รู้จักกันดีแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เป็นจุดยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่อีสานอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม และพระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร ไม่ปรากฏอายุการสร้างที่แน่นอน
    พระธาตุขามแก่น มีประวัติความเป็นมาเป็นเรื่องเล่าสืบขานกันมาช้านาน ว่าภายหลังจากที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพานในวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ที่กรุงกุสินารา เมื่อพระองค์ดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระเจ้า พร้อมด้วยราชบริพาร ได้มานมัสการถวายพระเพลิง เมื่อถวายพระเพลิงแล้วก็ประกาศให้กษัตริย์ในชนบทต่างๆมารับแจกพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า กษัตริย์นครต่างๆ เมื่อได้รับแจกแล้วก็นำไปประดิษฐานไว้ในเมืองของตน เว้นแต่นครที่อยู่ในปัจจันตประเทศ (ประเทศที่อยู่ห่างไกลมัชฌิมประเทศ) จึงมิได้รับแจก
    ครั้งต่อมา โฆริยกษัตริย์ เจ้าผู้ครองเมืองโฆรีย์ ที่อยู่ในปัจจันตประเทศ อยู่ห่างไกลกรุงกุสินาราซึ่งได้นามเมืองว่าเมืองกัมพูชา (เขมรเดี๋ยวนี้) รับทราบข่าวมารับแจกพระสารีริกธาตุ (กระดูก)ไม่ทัน เพราะมีการแจกไปหมดแล้ว เหลือแต่พระอังคาร (เถ้าถ่านที่เผาศพ) จึงได้แต่พระอังคาร กษัตริย์โฆริยะจึงนำพระอังคารบรรจุไว้ในกระอูบทอง เพื่อจะนำกลับนครโฆรีย์ ไปสักการะบูชา
    ครั้นกาลเวลาล่วงเลยไป 3 ปี พระมหากัสสปเถระเจ้า ประสงค์ที่จะนำเอาพระอุรังคะธาตุของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานไว้ในภูกำพร้า (คือ พระธาตุพนมปัจจุบันี้) จึงได้จัดการก่อสร้างพระธาตุพนมขึ้น
    เมื่อกษัตริย์โฆริยะพร้อมด้วยพระอรหันต์ในเมืองโฆรีย์ทราบข่าว จึงมีศรัทธาที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่ได้รับมา ไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนมร่วมกับพระอุรังคะของพระพุทธเจ้า จึงได้อัญเชิญพระอังคารของพระพุทธเจ้ามุ่งหน้าไปพระธาตุพนม พร้อมด้วยพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ และยังมีพระยาหลังเขียว เจ้านครพร้อมด้วยราชบริพารอีก 90 คน ออกเดินทางไปยังภูกำพร้าสถานที่ประดิษฐานพระธาตุพนม
    การเดินทางได้พากันมุ่งหน้ามาทางทิศเหนือ แต่พอมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่ง (ที่ตั้งพระธาตุขามแก่นปัจจุบัน) เป็นเวลาค่ำพอดี ประกอบกับภูมิประเทศที่ราบเรียบ มีห้วยสามแยก น้ำไหลผ่านรอบๆดอน ภายในบริเวณนั้นมีต้นมะขามใหญ่ต้นหนึ่งตายล้มลงแล้ว เปลือกกะพี้กิ่งก้านสาขาไม่มี เหลือแต่แก่นข้างในเท่านั้น จึงได้ใช้เป็นที่เก็บรองรับพระอังคารของพระพุทธเจ้า
    ครั้นรุ่งเช้าก็ออกเดินทางต่อ แต่เมื่อไปถึงปรากฎว่าการก่อสร้างพระธาตุพนมได้เสร็จเรียบร้อยแล้วจะเอาอะไรเข้าบรรจุอีกไม่ได้ คณะจึงได้แต่เพียงพากันนมัสการพระธาตุพนม แล้วเดินทางกลับถิ่นเดิม แต่เมื่อเดินทางมาถึงดอนมะขาม ที่เคยพักแรมเดิม (ที่ตั้งองค์พระธาตุขามแก่นปัจจุบัน) เห็นต้นมะขามที่ตายล้มแล้วนั้น กลับลุกขึ้นผลิดอกออกผล แตกกิ่งก้าน สาขา มีใบเขียวชะอุ่มแลดูงามตายิ่งนัก จะเป็นด้วยนิมิตหรืออำนาจอภินิหารของพระอังคารพระพุทธเจ้าก็มิทราบได้ คณะพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์และพระยาหลังเขียว จึงได้ตกลงเห็นดีในการก่อสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม บรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าไว้พร้อมด้วยเงินทอง แก้วแหวนแสนสารพัดนึก โดยทำเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์ เข้าบรรจุไว้ในพระธาตุนี้ เมื่อการก่อสร้างเสร็จ พระยาหลังเขียวก็จัดการสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้น บริเวณใกล้ๆกับพระธาตุนั้น มีกำแพงทั้ง 4 ทิศ ( ซึ่งซากศิลากำแพงที่หักพังยังมีหลักฐานอยู่ห่างจากองค์พระธาตุประมาณ 25 เส้น ) ส่วนพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ก็จัดการสร้างวัดวาอารามขึ้น คือ วิหารและพัทธสีมา เคียงคู่กับพระธาตุ เหตุการณ์เป็นดังนี้ จึงปรากฎนาม "พระธาตุขามแก่น" และเมื่อกาลเวลาล่วงเลยมา พระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ได้ดับขันธ์ปรินิพพานในสถานที่นี้ทุกองค์ สรีระธาตุของท่านทั้ง 9 ก็ได้บรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็ก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุใหญ่ ด้วยเหตุนี้ประชาชนจึงนิยมเรียกพระนามพระธาตุบ้านขามว่า "ครูบา ทั้ง 9 เจ้ามหาธาตุ" จนถึงปัจจุบัน

    ...

    และจาก "นิราศพระแท่นดงรัง" ที่ พระพุทธองค์ทรงปรินิพพาน ที่พระแท่นดงรัง และถวายพระเพลิงพระบรมสรีระศพ ที่เขาถวายพระเพลิง ตำบลพระแท่น จังหวัดกาญจนบุรี

    จึงเป็นที่มาของการ "เดา" ว่า "เมืองปิปผลิวัน ของกษัตริย์โมริยะ" ที่ได้ส่วนแบ่งพระอังคารธาตุ จาก เมือง "กุสินารา@กาญจนบุรี" มา แล้วตั้งใจจะเอาไปร่วมบรรจุที่ธาตุพนม โดยเดินทางผ่านที่ตั้ง พระธาตุขามแก่น นั้น "อยู่ที่ไหน?"

    ผมไม่คิดว่า เมืองโมรีย์ จะอยู่กัมพูชา..เพราะ
    1. ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์เสด็จ ไปแผ่นดินกัมพูชา สมัยนั้น ยังเป็นแค่เกาะโคกธลอก (โคกหมัน)
    2. ถ้ามาจากกัมพูชา จะไปธาตุพนม ไม่จำเป็นต้อง อ้อมขึ้นไปพระธาตุขามแก่น

    แล้วเพื่อนๆ คิดว่า เมืองปิบผลิวัน หรือเมืองโมรีย์ ควรจะอยู่ที่ไหน?

    เมืองปิบผลิวัน ของโมริยกษัตริย์ อยู่ที่ไหน? ต้องรีบหาหลักฐาน ก่อนที่แขกจะปล้นไป เหมือนที่ปล้นเมืองอุกกลาปะ ที่ตั้ง "เจดีย์ชเวดากอง" ซึ่ง 2 พี่น้องตปุสสะ-วิภัลลกะ เดินทางจากที่นี่ไปค้าขายต่างประเทศ และได้เข้าเฝ้าถวายสัตตุก้อน สัตตุผง ซึ่งแขกบอกว่า อยู่แคว้น "โอริสสา"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2016
  14. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    หรือเมืองโมริยะ จะอยู่ห้วยโมง-เวียงนกยูง ที่ หนองคาย?

    แต่ คิดไปคิดมา อาจจะเป็นที่นี่นะ "ห้วยโมง-เวียงนกยูง" อ.ท่าบ่อ-เขตกิ่ง อ. โพธิ์ตาก หนองคาย?

    พงศาวดารเมืองหนองคาย และประวัติศาสตร์พื้นเมืองหนองคาย ฉบับสมบูรณ์ที่สุด อ้างอิงจาก www.nongkhaitrip.com

    การตั้งถิ่นฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์

    บริเวณลุ่มน้ำโมง (ห้วยโมง) อ.ท่าบ่อ พบว่ามีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ มีชื่อเรียกว่า "แหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน" อยู่ที่ตำบลโคกคอน อำเภอท่าบ่อ หม้อดินโบราณที่ได้จากแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน เป็นชนิดที่ไม่มีสี แต่มีลายเล็บขูด ลายเชือกทาบ นอกจากนี้ยังพบเครื่องประดับหินแก้วทั้งลูกปัด กำไล เศษสำริด จำนวนมาก ชาวบ้านบางคนมีเครื่องมือหินพวก ขวานหินขัด หัวธนูหิน เครื่องมือหินเหล่านี้น่าจะมีมาก่อนยุคบ้านเชียง รอบโบสถ์วัดศรีสะอาดกลางหมู่บ้าน มีเสมาหินสมัยทวาราวดีและครกหินใหญ่ที่น่าจะเป็นเบ้าหลอมโลหะ เชื่อว่าคนโบราณบ้านโคกคอนแห่งนี้ จะต้องสัมพันธ์กับภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีแน่นอน ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นยังพบ "เหรียญเงินฟูนัน" อายุประมาณ ๒ พันปีด้วย ซึ่งเหรียญเงินชนิดนี้เคยมีการพบที่เมืองออกแก้วทางเวียดนามใต้ ปากแม่น้ำโขงก่อนออกทะเล และที่เมืองอู่ทองโบราณ จังหวัดสุพรรณบุรีและเมืองนครชัยศรีโบราณ จังหวัดนครปฐมก็พบ การพบเหรียญเงินสมัยฟูนันเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีมีพัฒนาการมา ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนต่อเนื่องมาถึงยุคตอนต้นประวัติศาสตร์ด้วย ทั้งยังมีการติดต่อเชื่อมโยงทางสังคมกับดินแดนอื่นด้วย นอกจากนี้ยังพบกระดูกมนุษย์กระจายอยู่ทั่วไปตามแหล่งโบราณคดีนี้ ส่วนเศษเครื่องปั้นดินเผาที่ถือว่าเป็นยุคแรก ๆ นี้ พบมากในเขตตอนเหนือของจังหวัดหนองคาย และทางตอนเหนือของจังหวัดหนองคายยังเป็นแหล่งถลุงโลหะสมัยโบราณ มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโลหะ หนองคายพบที่ ภูโล้น อ.สังคม ซึ่งเป็นแหล่งทำเหมืองแร่ทองแดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อีกแห่งหนึ่งคือบ้านหนองบัว ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ พบว่าเป็นแหล่งถลุงแร่โลหะขนาดใหญ่พอสมควร

    การตั้งถิ่นฐานในสมัยตอนต้นประวัติศาสตร์

    เมื่อชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำโขงได้มีพัฒนาการทั้งทางสังคม การเมือง การปกครอง มาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ก็ปรากฏว่ามีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของคนในหนองคาย หนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีลายลักษณ์อักษรกล่าวถึงบ้านเมืองในแถบจังหวัดหนองคาย-เวียงจันทน์ มาตั้งแต่ยุคเจนละหรือฟูนัน และมีการปกครองที่เป็นอิสระจากอาณาจักรอื่น แต่มีการติดต่อกับอาณาจักรใกล้เคียงมาโดยตลอด ดังแสดงให้เห็นในโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบมากอยู่ในเขตจังหวัดหนองคายรวม ทั้งฝั่งนครเวียงจันทน์ ทั้งยังมีหลักฐานจากลายลักษณ์อักษรที่อาณาจักรใกล้เคียงและประเทศโพ้นทะเล ติดต่อด้วยได้บันทึกไว้ถึงบ้านเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณหนองคาย-เวียงจันทน์ ดังที่ รศ.ดร.ธิดา สาระยา ได้วิเคราะห์ถึงประวัติศาสตร์อีสานไว้ในเรื่องอาณาจักรเจนละว่า "ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๔ ชี้ว่าบ้านเมืองบริเวณทางตอนเหนือ ซึ่งเป็นดินแดนแห่งขุนเขาและลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของอาณาจักรเจนละ ซึ่งเรียกว่าพวกเจนละบก

    จังหวัดหนองคายนี้มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติ ศาสตร์อย่างแน่นอนโดยมีพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมต่อเนื่องมาโดยตลอด จนถึงยุคที่มีหลักฐานชัดเจนทางโบราณคดี เช่น ศิลาจารึก ศิลปกรรมในโบราณสถาน โบราณวัตถุยุคต่าง ๆ ปรากฏหลงเหลือเป็นร่องรอยของยุคสมัยแต่ละยุคสมัย โดยที่ผู้คนหรือชุมชนมีการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยไปตามภาวะ เหตุการณ์ทางการเมืองการปกครอง มาตามลำดับ โดยเฉพาะเป็นช่วงประวัติศาสตร์อีสานโบราณที่ตรงกับยุคเจนละของโบราณ (ตามคำเรียกในเอกสารจีน) ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔–๑๕ ช่วงลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางแถบจังหวัดหนองคาย-เวียงจันทน์ ที่มีเอกสารจีน เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า "เจนละบก"

    ช่วงการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มประชากรในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๖ ต่อเนื่องและซ้อนทับกันในเรื่องของการรับอิทธิพลความเชื่อ ศาสนา จึงเรียกช่วงเวลานี้ว่าสมัยทวาราวดี โดยมีหลักฐานทางศิลปกรรมของเจนละปะปนอยู่ในช่วงกลางสมัยทวาราวดี แล้วจึงปรากฏอิทธิพลศิลปะขอมและลพบุรี ในช่วงทวาราวดีตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ ๑๖–๑๙) ชนพื้นเมืองแถบหนองคาย - เวียงจันทน์ อุดรธานี ได้รับเอาอิทธิพลความเชื่อของขอมอย่างเต็มที่ ทั้งนี้หมายถึงการยอมรับอำนาจการปกครองของชนชาติขอมทางด้านลุ่มแม่น้ำโขงตอน ล่างด้วย จนกระทั่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙–๒๐ อำนาจขอมเสื่อมลงจึงปรากฏกลุ่มประชากรล้านช้างอพยพมาตั้งมั่นอยู่ที่ลุ่มแม่ น้ำโขงตอนนี้ตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน

    พัฒนาการในประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองกับชื่อบ้านนามเวียง

    พัฒนาการในประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองกับชื่อบ้านนามเวียง ในสมัยประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่บนพื้นที่จังหวัดหนองคาย มีลำดับความเป็นมาและอายุต่างๆ กัน ดังนี้

    เวียงคำ-เวียงคุกคู่แฝดเวียงจันทน์ ปรากฏชื่อเรียกทางฝั่งหนองคายปัจจุบันว่า "เวียงคุก" ที่อำเภอเมืองติดเขตอำเภอท่าบ่อ อยู่ตรงข้ามกับเมืองเวียงคำ (เมืองซายฟอง) ทางฝั่งลาว ทั้งเวียงคำ-เวียงคุก น่าจะเป็นเมืองเดียวกัน พบหลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุร่วมสมัยกันทั้งสองฝั่ง มีทั้งเสมาหินทวาราวดีลพบุรี ต่อเนื่องถึงล้านช้าง

    ความสำคัญของเวียงคำ - เวียงคุก นี้นับเป็นแหล่งศึกษาพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของคนหนองคายโบราณในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๔–๒๐ โดยเฉพาะช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบหลักฐานที่เกี่ยวกับอำนาจการปกครองเหนือดินแดนนี้ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทั้งฝั่งเวียงคำ - เวียงคุก ทั้งนี้ตามหลักฐานปรากฏว่าฝั่งเวียงคุกของไทย (ชื่อเต็มคือเวียงคุคำ ที่หมายถึง ครุตักน้ำ ต่อมา "คุคำ" กร่อนเสียงเป็น "คุค" และ "คุก" ดังในปัจจุบัน เข้าใจว่าเวียงคุกคำในปัจจุบันก็คือเวียงคำในอดีตนั่นเอง) รวมทั้งที่ตั้งของวัดพระธาตุบังพวนซึ่งอยู่ถัดจากฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามา ๕ กิโลเมตร มีซากวัดและพระสถูปเจดีย์รูปแบบต่าง ๆ รวม ๑๐๐ กว่าแห่ง ที่จะทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของศิลปะล้านช้างได้ดี กว่าที่อื่น

    เวียงงัว ปรากฏชื่อในตำนานพระอุรังคธาตุว่าพระรัตนเถระและจุลรัตนเถระได้นำพระบรมธาตุ เขี้ยวฝาง ๓ องค์มาประดิษฐานไว้ที่โพนจิกเวียงหัว "งัว" คือวัวในสำเนียงภาคกลางและเชื่อว่าเป็นพื้นที่ในตำบลบ้านฝาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เล่าสืบต่อกันมาถึงตำนานสำคัญของชุมชนโบราณแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนหนองคาย รวมทั้งภูพระบาทในจังหวัดอุดรธานีด้วยก็มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของชุมชนแถบ นี้เช่นกัน

    พระธาตุเวียงงัว เป็นรูปแบบศิลปแบบปะโค(สำเนียงเขมรว่าเปรียะโค)ของเขมรโบราณ พ.ศ. ๑๔๒๐ – ๑๔๔๐ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕) มีทั้งเทวาลัย ภาพสลักหิน และประติมากรรมหินในกัมพูชาต่อเนื่องจากศิลปะแบบกุเลน (จามกับชวา) มีประสาทปะโค โลเลย บากอง เป็นต้น และคงส่งอิทธิพลขึ้นมาถึงโพนจิกเวียงงัวด้วย เสียดายที่เทวรูปหิน ประติมากรรมสำคัญ บางวัดนำปูนพอกแปลงเป็นพระพุทธรูปแล้วแต่จากรูปถ่ายเก่าที่ผู้สนใจเคยถ่าย ไว้ ผู้เชี่ยวชาญเขมรดูแล้วปรากฏว่าเป็นศิลปะแบบปะโค

    เวียงนกยูง อยู่ติดห้วยโมง เขตกิ่งอำเภอโพธิ์ตาก มีเสมาหินยุคทวาราวถึง ๕๒ ชิ้น ซึ่งได้ขนย้ายไปไว้ที่วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ ปรากฏชื่อปากโมงหรือห้วยโมงนี้ ในตำนานพระอุรังคธาตุว่า “หมื่นนันทอาราม มีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพมาตั้งอยู่ปากห้วยนกยูงหรือปากโมงก็เรียก” ห้วยโมงมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาภูพานแดนที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์ภู พระบาท จากหลักฐานโบราณสถานโบราณวัตถุต่าง ๆ ตามเส้นทางนี้พบว่ามีความเชื่อมโยงกันอยู่มากและน่าจะเป็นถึงเส้นทางการค้า ในสมัย “สามเหลี่ยมทองคำโบราณ” ด้วย “โมง”ไม่มีในภาษาถิ่นอีสานแต่ในภาษาของชาวโส้(กะโซ่ ข่าโซ่) ซึ่งพูดภาษาตระกูลมอญ – เขมร (ยังมีคนชาวโส้อาศัยอยู่ที่อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย) มีคำว่า “โหม่ง” แปลว่า “นกยูง” และที่โบสถ์พระเจ้าองค์ตื้อ อำเภอท่าบ่อ ซึ่งเดิมห้วยโมงมาออกแม่น้ำโขงตรงนี้มีเจดีย์สำคัญเป็นที่หมายเรียกว่า “ธาตุนกยูง”

    เปงจานนครราช กิ่งอำเภอรัตนวาปีปัจจุบัน บริเวณที่ทำการนิคมสร้างตนเอง มีเสมาหินขนาดใหญ่เหลืออยู่ชิ้นหนึ่งที่เหลือรอดจากการกวาดทิ้งลงแม่น้ำโขง เมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าพ่อเปงจาน” มีอายุอยู่ในยุคทวาราวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่ฐานมีอักษรปัลลวะอินเดียจารึกไว้ แต่เลอะเลือนจนอ่านไม่ได้ ยังมีร่องรอยของเมืองโบราณอยู่ทั่วบริเวณริมแม่น้ำโขงเป็นแนวยาวถึง 10 กิโลเมตร เมื่อลองขุดลึกลงไปใต้บริเวณนี้เพียงไม่กี่นิ้วก็พบซากกองอิฐกองอยู่ มาก สันนิษฐานได้เลยว่าน่าจะเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่และมีความสำคัญมากแห่งหนึ่ง

    ...

    เพราะที่ ท่าบ่อ หนองคาย มี เรื่องราวที่เกี่ยวพันกับ พระมหากัสสปะ มีเค้ามูลให้สืบต่อ ว่า..


    ประวัติหลวงปู่ใหญ่หนองกก

    วัดกัสสปมธุโรมเป็นวัดเก่าแก่มีอายุประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าปี ตามประวัติและความเป็นมาตามหนังสืออุรังคธาตุกล่าวไว้ว่า พระอรหันต์ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๔ องค์ คือ พระพุทธลักขิตเถระ พระธรรมลักขิตเถระ พระสังฆลักขิเถระ และพระมหากัสสปะเถระ ได้รำพระบรมสารีริกธาตุ(กระดูก) ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้ามาที่บ้านหนองกก เพราะพระพุทธองค์ทรงสั่งไว้ว่าให้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่ภูหลวง โดยภูหลวงนี้จะมีห้องน้ำใหญ่อยู่ข้างๆ พอมาถึงบ้านหนองกกแลเห็นหนองน้ำใหญ่ก็เข้าใจว่าเป็นภูหลวงจึงทำการจัดสร้างโบสถ์ สร้างพระประธานองค์ใหญ่ขึ้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ในบันทึกโคตรเหง้าศักราชของเรา

    วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ในบันทึกโคตรเหง้าศักราชของเรา

    อ่านแล้ว มีใครรู้สึกประหลาดใจบ้างหรือไม่ ทำไม โคตรเหง้าศักราชของเรา จึงรู้รายละเอียด วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่มากกว่า ที่มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก

    ต้องขออภัย ที่ผมไม่ได้มีอุตสาหะ ในการที่จะพิมพ์ขึ้นมา ให้ได้อ่าน เป็นข้าความ ได้แต่ ถ่ายภาพและขีดเส้นใต้เน้น ข้อความที่อยากให้อ่านมา เท่านั้นครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2016
  16. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นชาวรามัญ ไม่ใช่แขกอินเดีย!!!!

    พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นชาวรามัญ ไม่ใช่แขกอินเดีย!!!!

    เงื่อนงำจาก ...ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ก่อนที่ ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงไป...

    ตรงตาม ประวัติศาสตร์โหราศาสตร์ ที่ว่า...

    ต่อมา ในปี พ.ศ. ๙๕๖ พระพุทธโฆษะ (ในตำราโหราศาสตร์ไทย เรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์) ชาวเมืองโกศล เมืองสุธรรมาวดี (เมืองทาตัน) ในรามัญประเทศ (Tailanga – ประเทศพม่าหรือเมียนมาร์ ในปัจจุบัน) ผู้เดิมเป็นศิษย์แห่งมหาฤาษีปตัญชลิ แล้วต่อมาได้บวชอยู่ในสำนักของท่านมหาสถวีระ เรวตะ และเป็นผู้แต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรคอันเลื่องชื่อ ได้เดินมายังเมือง นครไชยบุรี เชียงแสน แคว้นโยนก เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู มหาศักราช ๓๓๕ พร้อมกับได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุ ๑๖ องค์ มาถวายแก่พระเจ้าพังคราช ซึ่งได้จัดสร้างพระสถูปเจดีย์ พระธาตุจอมทองและพระธาตุดอย กิติ ขึ้น
    พระพุทธโฆษาจารย์ท่านนี้ เป็นผู้แต่งคัมภีร์อรรถสาลินี (อัฏฐสาลินี) ซึ่งได้กล่าวพยากรณ์ ว่าด้วย การโคจรดาววิปริต พักร์ มณฑ์ เสริด ที่ใช้กันอยู่ในตำราโหราศาสตร์ไทยนี่เอง

    แต่ ลังกาจะอยู่ที่ไหน...เงื่อนงำนี้ อาจจะต้องแกะรอย จาก "แผนที่โบราณนี้"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2016
  17. zipp

    zipp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +141
    ความหลงในสงสารบทที่ 11 20 นิยายธรรมะ หลวงพ่อจรัญ
    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/opWRXl278GU" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    นาฑีที่๒.๒๖
     
  18. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

    ผมพยายาม ที่จะเลี่ยง ไม่นำความเห็นคำของครูบาอาจารย์ มาอ้างอิง ในระยะหลังๆ เนื่องจาก หมื่นเหม่ ที่จะเป็นการปรามาส เพราะ ครูบาอาจารย์บางรูป บางองค์ ที่ว่า เป็นพระอริยบุคคล หรือแม้ว่า ได้ยินว่าท่านมี อภิญญา แต่ จริงๆ แล้ว ท่านก็ไม่ได้รู้ทุกสิ่งทั้งหมด

    ผมจึง พยายาม หาหลักฐานอ้างอิง ที่เป็นสิ่งที่ใครๆ ที่ไม่ต้องมีฤทธิ์ อภิญญา แต่ขอเพียงแต่ มี "สติ ปัญญา พิจารณา ใคร่ครวญ" ได้ตัวเอง ก็จะสามารถ เห็น สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง..

    เรื่องที่ว่า จะมีคนมาเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ ว่า พระพุทธเจ้าอยู่ในประเทศไทย ดังในเสียงอ่านหนังสือ นั้น

    ผมได้ พยายามที่จะหาโอกาส ได้เรียนถามเรื่องนี้ กับพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ แต่ไม่มีโอกาส ครั้งหลังสุด ก่อนท่านจะมรณภาพ ก็ได้ตั้งใจจะไปกราบเรียนถามท่าน แต่สุขภาพท่านไม่ค่อยดีมากแล้ว จึงได้แต่ เขียนจดหมาย กราบเรียนถามท่านไว้...จนท่านมรณภาพ จึงไม่ได้ความกระจ่าง ในสิ่งที่อยากจะกราบเรียนถามท่าน

    เรื่อง พระพุทธศาสนาในถิ่นไทย (และพม่า) แม้แต่สังเวชนียสถานในประเทศไทย บรรพบุรุษ บรรพชน ของเรา บันทึกไว้ มาเป็นร้อย หรือหลายร้อยปี แล้วครับ ก่อนที่ผมจะเกิดมา ในปี 2513

    ผม จึงมาคลี่คลาย และมาทำความกระจ่าง ในสิ่งที่บรรพบุรุษบันทึกไว้ และ ทำให้สอดคล้อง ตรงตาม "พระไตรปิฏกและอรรถกถา" เท่านั้น

    จึงเรียนชี้แจงมา ณ ที่นี้ ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    พิสูจน์ความเชื่อ สถานที่ปรินิพพาน ตามความเชื่อของบรรพชนคนสยาม

    เพื่อ พิสูจน์ความเชื่อของบรรพชนคนสยาม ของเรา เกี่ยวกับ สถานที่ปรินิพพาน ที่ "วัดพระแท่นดงรัง" และถวายพระเพลิง ที่ "เขาถวายพระเพลิง" ที่ ต.พระแท่น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี นั้น

    หาก ยังไม่สามารถ ค้นพบจารึก หรือหลักฐาน อย่างอื่น ในบริเวณวัดพระแท่นดงรัง หรือที่เขาถวายพระเพลิง...เราอาจต้องหาพยานแวดล้อมอื่น โดยพิจารณา จาก ข้อความในอรรถกถา "มหาปรินิพพานสูตร" ดังนี้

    [๑๕๒] สมัยนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราประชุมกันอยู่ที่สัณฐาคารด้วยเรื่องปรินิพพานนั้นอย่างเดียว ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปยังสัณฐาคารของพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ครั้นเข้าไปแล้ว ได้บอกแก่พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด พวกเจ้ามัลละกับโอรส สุณิสาและประชาบดี ได้ทรงสดับคำนี้ของท่านพระอานนท์แล้ว เป็นทุกข์เสียพระทัย เปี่ยมไปด้วยความทุกข์ในใจ บางพวกสยายพระเกศา ประคองหัตถ์ทั้งสองคร่ำครวญอยู่ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมา ดุจมีบาทอันขาดแล้ว ทรงรำพันว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลกอันตรธานเสียเร็วนัก ดังนี้ ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราตรัสสั่งพวกบุรุษว่า ดูกรพนาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงเตรียมของหอมมาลัยและเครื่องดนตรีทั้งปวง บรรดามีในกรุงกุสินาราไว้ให้พร้อมเถิด พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราทรงถือเอาของหอมมาลัยและเครื่องดนตรีทั้งปวงกับผ้า ๕๐๐ คู่ เสด็จเข้าไปยังสาลวันอันเป็นที่แวะพักแห่งพวกเจ้ามัลละ และเสด็จเข้าไปถึงพระสรีระพระผู้มีพระภาค ครั้นเข้าไปถึงแล้วสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอม ดาดเพดานผ้า ตกแต่งโรงมณฑล ยังวันนั้นให้ล่วงไปด้วยประการฉะนี้ ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้มีความดำริว่า การถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาคในวันนี้พลบค่ำเสียแล้ว พรุ่งนี้เราจักถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา พระสรีระพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอม ดาดเพดานผ้า ตกแต่งโรงมณฑล ยังวันที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ที่หก ให้ล่วงไป ครั้นถึงวันที่เจ็ดพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้มีความดำริว่า เราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอมจักเชิญไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนคร ถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาคทางทิศทักษิณแห่งพระนครเถิด ฯ
    [๑๕๓] สมัยนั้น มัลลปาโมกข์ ๘ องค์ สระสรงเกล้าแล้วทรงนุ่งผ้าใหม่ด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักยกพระสรีระพระผู้มีพระภาค ก็มิอาจจะยกขึ้นได้ ลำดับนั้นพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ข้าแต่ท่านอนุรุทธะ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ให้มัลลปาโมกข์ ๘ องค์นี้ ผู้สระสรงเกล้าแล้ว
    ทรงนุ่งผ้าใหม่ ด้วยตั้งใจว่า เราจักยกพระสรีระพระผู้มีพระภาคก็มิอาจยกขึ้นได้ ฯ
    อ. ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกท่านอย่างหนึ่ง ของพวกเทวดาอย่างหนึ่ง ฯ
    ม. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ความประสงค์ของพวกเทวดาเป็นอย่างไร ฯ
    ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกท่านว่า เราสักการะ เคารพนับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอม จักเชิญไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนครถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาคทางทิศทักษิณแห่งพระนคร ความประสงค์
    ของพวกเทวดาว่า เราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอมอันเป็นทิพย์ จักเชิญไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วเข้าไปสู่พระนครโดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทวารทิศบูรพา แล้วถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาค ที่มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพาแห่งพระนคร ฯ
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิด ฯ

    ....

    เมื่อพิจารณา จาก ข้อความในอรรถกถา ข้างต้นแล้ว ...ที่ว่า "มกุฏพันธเจดีย์ อยู่ทางทิศบูรพา หรือทิศตะวันออก ของเมืองกุสินารา" แล้ว แสดงว่า "ที่ตั้งเมืองกุสินารา จะต้องอยู่ทางทิศตะวันตก ของเขาถวายพระเพลิง ที่ วัดพระแท่นดงรัง"

    ซึ่งจากภาพถ่ายทางอากาศ...ในเวลานี้ จะเห็นว่า ไม่มีร่องรอยของ คัน คูเมือง เช่นดังที่เรามักเห็นตามเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ทั่วๆ ไป

    เพราะฉะนั้น ..จึงเป็นเรื่องท้าทายมาก ที่เรา จะต้องขุดหาหลักฐาน "ซากเมืองกุสินารา กลางทุ่งนา ในป่ารัง"..

    โพสต์นี้...จึงบันทึกไว้ หากว่า มีการขุดค้นพบ "ซากเมืองโบราณ สิ่งก่อสร้าง องค์อาคาร" ที่อยู่ ฟากตะวันตกของ เขาถวายพระเพลิงครับ จะได้รู้ว่า นั่นหล่ะ คือ ซากเมืองกุสินารา สมัยพุทธกาลครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2016
  20. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เรือสำเภาจากท่า พะโค หรือมะริด ไปศรีลังกาได้มั๊ย?

    ฝากไว้ ให้ช่วยคิดด้วยนะครับ

    เรือสำเภาจากท่า พะโค หรือมะริด ไป-กลับ ศรีลังกาได้มั๊ย?

    เพราะผม พิจารณาแล้ว เส้นทางเดินเรือสำเภา สมัย พระญาณคัมภีร์ จากเชียงใหม่ กับสมัย คณะทูตจากหงสาวดี ไป-กลับ ลังกา น่าจะ ล่องเรือมาที่ภาคใต้ของประเทศไทย ตาม "สมุดภาพไตรภูมิ" เขียนไว้ มากกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...