จุดเริ่มของฌาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 10 พฤษภาคม 2015.

  1. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    สรุป ทำสมาธิ....แต่สติดูกายเวทนาจิต...ได้ไม่ครบ องค์ฌาณ...ก็ไม่เรียกว่า ฝึกฌาณ

    อิอิ
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    45 องศา หมายถึงเดินแอนๆหลัง 45 องศานะครับ (นั่ง-เดินแอ่นหน้าแอ่นหลัง 45 องศา)
     
  3. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ทีนี้ ฝึกสมาธิครบองค์ฌาณ....แต่ไม่ได้ ญาณ นี่สิ....เรื่องใหญ่...ปัญญาไม่เกิด..เพราะติดฌาณ ติดสุข ติดสงบ ไม่ ถอยกลับมาพิจารณา วิตก วิจาร เพื่อ รู้ ไตรลักษณ์
     
  4. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    อันนั้นคนเมาแล่ว..อย่ามั่วครับ ถ้าไม่เคยทำ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    แล้วแอ่นร่างกายยังไงให้มันได้ 45 องศา
     
  6. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ไปมั่ว ที่อื่นไป...กลับไปอ่านใหม่ ทำความเข้าใจให้ถูก ถ้าจะถามต่อ
    ถามแบบนี้ บ้านผมเรียก ถามหา ส้น....teen ครับ:cool:

    ทำตัวให้มันเป็นคน ก็น่าคุยด้วยอยู่นะครับ แต่ทำตัวเหมือนเดรัจฉานนี่...สวะแท้ๆ อิอิ

    คุยภาษาคน เป็นมั้ยครับ..อย่าเกรียน ดิ...
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถามจริงๆเถอะคุณ sianns มีเหตุผลอะไรที่คุณต้องแอนร่างกายให้มันได้ 45 องศา
     
  8. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ตูพูดตอนไหนฟะ ว่าแอ่นร่างกาย...อย่ามั่วสิวะ

    แกคนหรือฟายวะ พูดอย่างนึง สะแหรนไป อย่างนึง
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    คือ ปฏิบัติแบบดูข้างหลังร่างกาย สติอยู่นอกกาย ตามสบายเถอะครับ (deejai)
     
  10. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    เออ แล้วตูพูดว่าแอ่น กาย ตรงไหน...มิทราบ
    แกถึง ถามเรื่อง แอ่นกาย อยู่ได้....ชุ่ยจริงๆ...นิสัย:cool:
     
  11. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,434
    ค่าพลัง:
    +35,014
    ตัวอย่างที่คุณ มาจากดิน นั้น
    นำมาลงยังไม่ถือว่าได้ฌานเลยครับ
    เพราะกำลังที่ทำได้อย่างนั้นมันยังไม่ถึงระดับปฐมฐานเลยครับ
    มันเป็นเพียงแค่กิริยาที่จิตมันสามารถทำงานได้
    พูดง่ายๆว่าจิตเริ่มมีความเป็นทิพย์
    และการทำงานได้ของจิต
    สภาวะนั้นมันแค่กำลังระดับ ขนิกสมาธิก็เห็น
    ก็ทำได้แล้วครับ ส่วนตัวเรียกว่าเป็นสภาวะเอาไว้ซ้อมเฉยๆ
    พอแค่ฮาๆขำๆครับ เพราะถ้ามันเกิดมันจะเกิดในเวลาเสี้ยววินาที
    และมันเกิดได้แม้ว่าเราจะลืมตาด้วยครับ
    ถือว่าเป็นเรื่องที่แสนจะธรรมดาและปกติมากๆ
    เพราะว่าต่อให้ทำได้ทั้งวัน ก็ไม่มีประโยชน์อะไรมากครับ
    ไม่มีทั้งกำลังจิตใช้งานได้ในสภาวะปกติแน่นนอน เรียกพลัง
    งานสัมผัสอะไรก็ไม่ได้ อฐิษจิตใช้งานก็ไม่ได้
    เอาผลที่ได้จากกรรมฐานที่ตนฝึกมา
    ใช้งานอะไรก็ไม่ได้ซักอย่าง
    ยิ่งไปเล่นกับมันมากๆเผลอๆจะหลงตัวเอง
    ซึ่งทำให้เสียเวลามากครับ
    ยกเว้นว่าเราจะรักษาภาพใดภาพหนึ่งๆให้นิ่งๆให้นานได้
    จิตจะเข้าอุปจารสมาธิได้ และก็ยกเรื่องที่เคยวางอารมย์ไว้ก่อน
    ระหว่างวันมาพิจารณาครับ ทำบ่อยๆจะตัดกิเลสตัวนั้นๆได้
    หรือเราเลิกสนใจภาพ และนั่งต่อไปเรื่อย จิตจะพัฒนาระดับ
    สมาธิของมันได้เองอัตโนมัติ. จนกระทั้งภาพเป็นปะกายในตัวเอง
    แล้วไปบังคับตรงนี้ให้ได้ เราถึงจะมีกำลังจิตไว้ใช้งานได้หรือเอาไว้สู้กับกิเลสได้
    หรือรักษาอารมย์ไว้ แล้วอฐิษฐานจิตให้ได้ กำลังจะตกลงเล็กน้อย
    และกลับเข้าอารมย์ภาพเป็นประกายให้ได้. ถึงจะเกิดทางด้านการรับ
    รู้พิเศษแบบต่างๆครับ. หรือถ้าเก่งกว่านั้น ทำให้ภาพหาย
    หมายถึงภาพปะกายในกำลังระดับสูงและกลับขึ้นมา
    ใหม่ให้ได้ และเพิกภาพทิ้ง ถ้ารักษาอารมย์ได้และยกเรื่อง
    พิจารณาได้ จะสามารถตัดกิเลสตัวที่ยกขึ้นพิจารณาได้ถึง
    ในระดับที่ละเอียดครับ
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระอภิธรรม


    การอบรมสมาธิเพื่ออภิญญา

    ๑. ผู้ที่มีอภิญญาได้นั้น ตามปกติต้องเป็นผู้ที่ได้ฌานและมีวสีภาวะจนสามารถเข้าฌานสมาบัติได้ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน ครบถ้วนทั้ง ๙ ฌาน มีบ้างเป็นส่วนน้อยที่ได้เพียง รูปฌานสมาบัติ ๕ ก็มีอภิญญาได้ แต่ว่า ฌานลาภี ที่ได้ไม่ถึงรูปฌานทั้ง ๕ นั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีอภิญญา

    ๒. แม้แต่ ฌานลาภีบุคคลที่ได้ฌานสมาบัติทั้ง ๙ แล้ว จะมีอภิญญาโดยทั่วหน้าก็หาไม่ จะมีอภิญญาได้ก็ต่อเมื่อได้ฝึกฝนอบรมกันเป็นพิเศษอีกถึง ๑๔ นัยก่อน ดังต่อไปนี้

    (๑) กสิณานุโลมโต เข้าฌานตามลำดับกสิณ ชั้นแรกเข้าฌานใดฌานหนึ่งด้วยปฐวีกสิณ ออกแล้วเข้าฌานนั้นด้วยอาโปกสิณ แล้วเตโช วาโย ต่อ ๆ ไปตามลำดับ จนกระทั่งถึงโอทาตกสิณ ฝึกอย่างนี้ตั้ง ๑๐๐ ครั้ง ๑๐๐๐ ครั้ง จนกว่าจะเป็น วสี (ดิน น้ำ ไฟ ลม สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว)

    (๒) กสิณปฏิโลมโต เข้าฌานย้อนกสิณ เริ่มต้นเข้าฌานใดฌานหนึ่งด้วย โอทาตกสิณ ออกแล้ว ย้อนมาเข้าด้วยโลหิตกสิณ ย้อนมาปีตกสิณ ย้อนมานีลกสิณ ย้อนมาต้นเรื่อยไปจนถึงปฐวีกสิณ ฝึกจนให้ชำนิชำนาญเป็นอย่างดียิ่ง

    (๓) กสิณานุโลมปฏิโลมโต เข้าฌานใดฌานหนึ่งตามลำดับกสิณและย้อนกสิณ คือ ทำอย่าง (๑) หนึ่งเที่ยว แล้วทำอย่าง (๒) หนึ่งเที่ยว แล้วทำ (๑), (๒), (๑), (๒), สลับกันเช่นนี้ไปจนกว่าจะเป็นวสี

    (๔) ฌานานุโลมโต เข้าตามลำดับฌาน โดยเริ่มแต่ปฐมฌาน แล้วทุติยฌาน ตติยฌาน เรื่อยไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฝึกอย่างนี้จนเป็นวสี

    (๕) ฌานปฏิโลมโต เข้าย้อนลำดับของฌาน ตั้งต้นที่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วย้อนทวนมา อากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน ทวนมาถึงต้นจนถึง ปฐมฌาน จนกว่าจะเป็นวสี

    (๖) ฌานานุโลมปฏิโลมโต เข้าตามลำดับฌาน และย้อนลำดับฌาน คือ ทำอย่าง (๔) หนึ่งเที่ยว จบแล้วทำอย่าง (๕) หนึ่งเที่ยว แล้วทำ (๔), (๕), (๔), (๕), อย่างละเที่ยวสลับกันไป จนกว่าจะเป็นวสี

    (๗) ฌานุกฺกนฺติกโต เข้าฌานโดยข้ามลำดับของฌาน คือ

    เข้าปฐมฌาน โดยเพ่งปฐวีกสิณ

    ข้ามทุติยฌานไปเข้า ตติยฌาน โดยเพ่งปฐวีกสิณ

    ข้ามจตุตถฌานไปเข้า ปัญจมฌาน โดยเพ่งปฐวีกสิณ

    ข้ามอากาสานัญจายตนฌานไปเข้า วิญญาณัญจายตนฌาน โดยเพ่ง วิญฺญาณํ อนนฺตํ

    ข้ามอากิญจัญญายตนฌานไปเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยเพ่ง เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ

    ต้องฝึกอบรมอย่างนี้จนกว่าจะเป็นวสี

    (๘) กสิณุกฺกนฺติกโต เข้าฌานโดยข้ามลำดับกสิณ คือ

    เพ่งปฐวีกสิณ เข้าปฐมฌาน

    ข้ามอาโปกสิณ เลยไปเพ่งเตโชกสิณ เข้าปฐมฌาน

    ข้ามวาโยกสิณ เลยไปเพ่ง นีลกสิณ เข้าปฐมฌาน

    ข้ามปีตกสิณ เลยไปเพ่ง โลหิตกสิณ เข้าปฐมฌาน

    ฝึกอย่างนี้จนเป็นวสี

    (๙) ฌานกสิณุกฺกนฺติกโต ข้ามทั้งกสิณและข้ามทั้งฌานด้วย คือ

    เพ่ง ปฐวีกสิณ เข้า ปฐมฌาน

    เพ่ง เตโชกสิณ เข้า ตติยฌาน

    เพ่ง นีลกสิณ เข้า ปัญจมฌาน

    เพ่ง วิญฺญาณํ อนฺนตํ เข้า วิญญาณัญจายตนฌาน

    เพ่ง เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ เข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    อบรมจนเป็นวสี

    (๑๐) องฺคสงฺกนฺติโต เข้ารูปฌาน ๕ โดยก้าวล่วงองค์ฌานไปตามลำดับ คือ

    เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าปฐมฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๕

    เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าทุติยฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๔ โดยก้าวล่วงวิตก

    เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าตติยฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๓ โดยก้าวล่วงวิจาร ได้อีก

    เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าจตุตถฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๒ โดยก้าวล่วงปีติ ได้อีก

    เพ่งกสิณเป็นอารมณ์ เข้าปัญจมฌาน ซึ่งมีองค์ฌาน ๒ โดยก้าวล่วงสุข ได้อีก

    ฝึกจนเป็นวสี

    (๑๑) อารมฺมณสงฺกนฺติโต เข้าฌานโดยเปลี่ยนอารมณ์กัมมัฏฐาน คือ เพ่ง ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน

    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง อาโปกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน

    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง เตโชกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน

    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง วาโยกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน

    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง นีลกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน

    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง ปีตกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน

    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง โลหิตกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน

    แล้วเปลี่ยนเป็นเพ่ง โอทาตกสิณ เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน เข้าปฐมฌาน

    ฝึกจนเป็นวสี

    (๑๒) องฺคารมฺมณสงฺกนฺติโต เข้าตามลำดับฌานและตามลำดับกสิณด้วยคือ

    เพ่ง ปฐวีกสิณ เข้า ปฐมฌาน

    เพ่ง อาโปกสิณ เข้า ทุติยฌาน

    เพ่ง เตโชกสิณ เข้า ตติยฌาน

    เพ่ง วาโยกสิณ เข้า จตุตถฌาน

    เพ่ง นีลกสิณ เข้า ปัญจมฌาน

    เพ่ง ปีตกสิณ เพิกปีตกสิณ มีอากาสที่ว่างเปล่า ที่ชื่อว่า อากาสบัญญัติ เพ่งอากาสบัญญัตินี้จนเป็น อากาสานัญจายตนฌาน

    เพ่ง โลหิตกสิณ เพิกโลหิตกสิณ มีอากาสที่ว่างเปล่า แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัตินี้ กลับไปสนใจในอากาสานัญจายตนฌานที่เกิดในสันดานของตน ด้วยการพิจารณาว่า วิญฺญาณํ อนนฺตํ จนเป็น วิญญาณัญจายตนฌาน

    เพ่ง โอทาตกสิณ เพิกโอทาตกสิณ คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัติกลับไปสนใจในนัตถิภาวบัญญัติด้วยการพิจารณาว่า นตฺถิ กิญฺจิ จนเป็นอากิญจัญญายตนฌาน

    เพ่ง อาโลกกสิณ เพิกอาโลกกสิณ คงมีแต่อากาสบัญญัติ แต่ไม่สนใจในอากาสบัญญัติ กลับไปสนใจในอากิญจัญญายตนฌานที่เกิดในสันดานของตน ด้วยการพิจารณาว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ จนเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    ฝึกอบรมจนเป็นวสี

    หมายเหตุ มีข้อสังเกตที่ควรกล่าวตรงนี้ว่า ในการอบรมสมาธินี้ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๑ ได้กล่าวถึงองค์กสิณแต่เพียง ๘ มี ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ ครั้นถึงข้อ ๑๒ นี้กล่าวเลยไปถึง อาโลกกสิณด้วย ทั้งนี้เพราะ

    ก. กสิณทั้ง ๑๐ นั้น อาโลกกสิณนี้สงเคราะห์เข้าใน โอทาตกสิณอยู่แล้ว และอากาสกสิณก็ไม่สามารถที่จะช่วยอุดหนุนแก่การเข้าอรูปฌานได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องกล่าวถึงกสิณทั้ง ๒ คือ อากาสกสิณ และอาโลกกสิณนี้ด้วย

    ข. ในข้อ ๑๒ นี้ แสดงรูปฌานโดยปัญจกนัย จึงมี ๕ ฌาน อรูปฌานอีก ๔ ฌาน รวมเป็น ๙ ฌานด้วยกัน กสิณเพียง ๘ จึงไม่พอ ก็ต้องยกอาโลกกสิณ มา กล่าวด้วย เพื่อให้มีจำนวนพอดีกัน แต่ถ้าจะแสดงรูปฌานโดยจตุกนัย ก็ไม่ต้องกล่าวถึงอาโลกกสิณด้วย

    ค. แม้ว่าอากาสกสิณ ไม่สามารถที่จะอุดหนุนแก่การเข้าอรูปฌาน แต่ก็เป็นกัมมัฏฐานให้เกิดรูปฌานได้ทั้ง ๕ ฌาน และใช้เพ่งเพื่อประโยชน์ในอันที่จะเนรมิตอากาศให้เกิดขึ้นในแผ่นดิน หรือในน้ำ จนสามารถดำดินและอยู่ในน้ำได้

    (๑๓) องฺคววฏฺฐาปนโต กำหนดรู้องค์ฌานไปตามลำดับ คือ

    พิจารณารู้ว่า ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

    พิจารณารู้ว่า ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๔ ได้แก่ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

    พิจารณารู้ว่า ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ ได้แก่ ปีติ สุข เอกัคคตา

    พิจารณารู้ว่า จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ สุข เอกัคคตา

    พิจารณารู้ว่า ปัญจมฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา

    พิจารณารู้ว่า อากาสานัญจายตนฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา

    พิจารณารู้ว่า วิญญาณัญจายตนฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา

    พิจารณารู้ว่า อากิญจัญญายตนฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา

    พิจารณารู้ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานมีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตา

    ทั้งนี้จนกว่าจะเป็นวสี

    (๑๔) อารมฺมณววฏฺฐาปนโต กำหนดรู้อารมณ์กัมมัฏฐาน คือ

    เมื่อเข้าปฐมฌาน โดยมีปฐวีกสิณเป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณารู้ว่า ปฐวีกสิณ นี่แหละเป็นอารมณ์ของปฐมฌาน

    เมื่อเข้าปฐมฌาน โดยมีอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ หรือ โอทาตกสิณ เป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณารู้ว่า กสิณนั้น ๆ แหละเป็นอารมณ์ของปฐมฌาน

    เมื่อเข้า ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน โดยมีกสิณใดเป็นกัมมัฏฐาน ก็พิจารณาว่า กสิณนั้น ๆ เป็นอารมณ์ของฌานนั้น ๆ ตามนัยที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นนี้

    เมื่ออากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีอากาสบัญญัติเป็นอารมณ์

    เมื่อวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามี อากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์

    เมื่ออากิญจัญญายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีนัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์

    เมื่อเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้น ก็พิจารณารู้ว่ามีอากิญจัญญายตนฌาน เป็นอารมณ์

    ทั้งนี้ต้องฝึกฝนอบรมจนเป็นวสี

    สรุปความว่า การอบรมสมาธิเพื่อให้สามารถทำอภิญญาได้ดังที่กล่าวมาแล้วรวม ๑๔ นัยนี้ ก็ประสงค์จะให้ฌานลาภีบุคคลนั้น มีความชำนิชำนาญในกระบวนการเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ให้เข้าฌานได้แคล่วคล่องว่องไว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะก่อให้จิตมีสมาธิเข้มแข็งเป็นพิเศษ เป็นเหตุให้มีอำนาจจนสามารถให้รูปาวจรปัญจมฌานอภิญญาเกิดขึ้นตามความปรารถนา การฝึกฝนอบรมสมาธิให้กล้าแข็งนี้ ฌานลาภีบุคคลจะมีวิธีอื่นใดเพิ่มขึ้นอีกก็ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (3).jpg
      images (3).jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.7 KB
      เปิดดู:
      29
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    (แยกจิตออกไปนอกกายแล้วยกขึ้นไป 45 องศา ...ผมคิดเอาว่าแอ่นกายหรือยังไง)

    การปฏิบัติแบบนี้ เทียบกับหลักไหนได้บ้างครับ

    จะเทียบหลักสติปัฏฐานก็ไม่ใช่ เพราะหลักสติปัฏฐาน .... พิจารณากายในกาย พิจารณาเวทนาในเวทนา ฯลฯ
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อนาคตังสญาณ เป็นญาณที่รู้ในกาลต่อไปทั้งของตนเองและของผู้อื่นว่า จะเป็นไปอย่างนั้น ๆ นับตั้งแต่ล่วงหน้าไปอีก ๗ วัน จนถึงไม่มีที่สุด แล้วแต่กำลังของสมาธิว่าจะมีความสามารถเพียงใด

    --------------------------------------------------------------------------
    ผมบอกตามตรง ผมรู้อายุขัยผู้อื่นและรู้ด้วยว่าจะทำกาละแบบ มีสติ(เหตุปัจจุบัน) หรือ ไม่มีสติ(เหตุปัจจุบันทันด่วน) (รวมบุคคลที่อ่านอยู่ตรงที่นี้ด้วย ผมรู้หมด)

    ที่ผ่านมา ๕ ชีวิตแล้ว เร็วที่สุด ๗ วัน ช้าที่สุด ๓ ปี นั่นเป็นเรื่องเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว มีหลักฐานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ แต่ก็ไม่รู้ว่า เกี่ยวกับ อนาคตังสญาณ นี้หรือไม่

    ถามว่าใช้สมาธิไหม? ใช้ครับ ทั้งๆที่เป็นติรัจฉานวิชา แต่ก็ไม่พ้นทุกข์ บุุคคลที่มีสองอย่างนี้คือ ทิพยจักษุ และ เจโตปริยญาณ คือ มีความสามารถในการณ์พยากรณ์มากกว่าผม ผู้ที่ผมได้พยากรณ์ให้มีประมาณ หลักพันคนที่ผ่านมา(มืออาชีพ ระดับ วาจาสิทธิ์ *บังคับ*)


    ยังมีอีกหลายอย่างเหตุการณ์ฯในด้านจิตวิญญาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มาพิจารณาต่อกัน
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    (เอาใหม่ ขออภัยข้างบนกดปุ่มผิด กลายเป็นแก้ไขไป คือ ต้องการจะบอกอย่างนี้ )

    การลงมือทำ ลงมือปฏิบัติเนี่ยไม่ต้องเอ่ยอ้าง สติ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นต้นดอก ไม่ต้องไม่ต้องพูดเดินหน้าถอยหลัง แต่ขอให้เริ่มต้นปฏิบัติให้ถูก แล้วเมื่อทำถูกแล้วมันเป็นเอง ผู้ปฏิบัติจริงๆ แม้เขาไม่พูดอ้างสักตัวมันก็เป็นฌาน (สมาธิ) ตัวอย่างนี้ มีพูดถึงสติ วิตก วิจารเป็นต้นสักตัวไหม แต่เขาพูดเข้าหลักหมดเลย


     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ------------------------------------------------------------
    ทุกอย่างต้องควบคู่กันทั้งหมด จะทิ้งอย่างอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เรื่องนี้เคยนอบน้อมนำมากล่าวแล้ว ไม่อย่างนั้นปริยัติจะหายสาบสูญไปหมด พระพุทธศาสนาจะหายไป ถ้ามีแต่ผู้ปฎิบัติหวังแต่เพียงผลในปฎิเวธ
    เรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอง ที่จะหายไปก่อนคือ พระสูตร "มหาปัฎฐาน"
    รู้ปฎิบัติปฎิเวธ แต่สอนปริยัติไม่ได้ รักษาพระสูตรไม่ได้ แต่ปริยัติสามารถรักษาปฎิบัติได้ รักษาปฎิเวธได้

    กวางก็มีหลายเผ่าพันธุ์ หาใช่กวางมีเพียงเผ่าพันธุ์เดียว ไม่รู้จักตำราเทียบเคียงดูลักษณะกวาง จะรู้ได้ไหม?ว่ามันเป็นกวาง หรือ ละมั่ง เนื้อทราย กวางเขา กวางป่า ตามะแน


    รู้แต่ว่ากวาง นั้นไม่พอ และถ้ารู้ว่ากวางคือกวาง นั่นคือ ยอมรับปริยัติไปในตัวแล้ว แต่ไม่รู้ตัวว่ากลืนลงคอไปแล้ว

    คำกล่าวนี้จึงตกไป

    อุปมาหากตอนนี้ทิ้งตำรากันหมดทั้งโลก คือทำให้หายไปหมด อีกไม่นานจะได้เห็นโคตรภูสงฆ์อย่างแน่นอน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2015
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ต่อ

    "เพราะพระตถาคตทรงเห็นภาวะมีกิเลสเป็นเครื่องกั้น อันเป็นฐานะและอฐานะ
    แห่งการบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะและการไม่บรรลุ ของเวไนยสัตว์ ด้วยฐานา
    ฐานญาณก่อนทีเดียว

    เพราะทรงเห็นฐานะแห่งความเห็นชอบเป็นโลกิยะ และ
    ทรงเห็นความเป็นฐานะแห่งความเห็นผิดดิ่งลงไป ลำดับนั้น ทรงเห็นภาวะมี
    วิบากเป็นเครื่องกั้นของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยกรรมวิปากญาณ

    เพราะทรงเห็นเหตุปฏิสนธิสาม ทรงเห็นภาวะมีกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยสัพพัตถคามินี
    ปฏิปทาญาณ

    เพราะทรงเห็นความไม่มีแห่งอนันตริยกรรม ทรงเห็นจริยพิเศษเพื่อทรงแสดงธรรม
    ที่สมควรแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีความอาลัยอย่างนี้ ด้วยอเนกธาตุนานาธาตุญาณ
    เพราะทรงเห็นความเป็นไปต่างๆแห่งธาตุ ลำดับนั้น
    ทรงเห็นอธิมุตติของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยนานาธิมุตติกตาญาณ เพื่อแม้ไม่
    ทรงประกอบความเพียรก็ทรงแสดงพระธรรม ด้วยอำนาจแห่งอธิมุตติ ลำดับ
    นั้น เพื่อทรงแสดงธรรมตามสติ ตามกำลัง แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติ
    ได้เห็นแล้วอย่างนี้ ย่อมทรงเห็นความที่สัตว์มีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ด้วยอินทริย
    ปโรปริยัตติญาณ

    เพราะทรงเห็นความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น
    เป็นธรรมชาติแก่กล้าและอ่อน ก็ถ้าความที่เวไนยสัตว์เหล่านั้นมีอินทรีย์ที่
    กำหนดรู้แล้วอย่างนี้หย่อนและยิ่ง ย่อมอยู่ในที่ไกล เพราะความที่เวไนยสัตว์
    เป็นผู้ชำนาญในฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น แต่เข้าถึงได้รวดเร็ว ด้วย
    อิทธิพิเศษนั้นเทียว และครั้นเข้าถึงแล้ว ก็เข้าถึงชั้นบุรพชาติ ของสัตว์เหล่า
    นั้น ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เมื่อทรงเห็นสมบัติจิตพิเศษ ด้วยเจโต
    ปริยญาณ อันทรงบรรลุโดยอานุภาพทิพยจักษุ ชื่อว่า ทรงแสดงธรรม เพื่อ
    ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะความที่พระองค์ทรงปราศจากความหลุ่มหลงด้วย
    ปฎิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยอานุภาพแห่งอาสวักขยญาณ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    แต่ผมรู้ ว่า นี่คือสติปัฏฐานสี่..ที่ดี ที่สุด....:cool:
    ทำไม่เป็น ไม่เคยฝึกทำ...ก็คิดเอาเอง ไปเถอะ...เบื่อพวก..กวนบาทา
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ไหนลองว่ามาให้ครบสี่สิครับ เป็นสี่ได้ยังไง

    ตัวอย่างนี้ก็ :'(

    สติสตังไม่อยู่ในกาย แนะเอาไปวางไว้นอกกาย คิกๆๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...