ลดกระหน่ำปีใหม่..วัตถุมงคล.ทั่วประเทศ และเกจิอื่นๆ..เริ่มหน้า61เป็นต้นไป

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ญาณวโร นามะ, 26 มิถุนายน 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่680 เหรียญปัญจพุทธามหามงคล ปี 18 ครบรอบ 25 ปี ธนาคารศรีนคร ให้บูชา 300 บาท ***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***
    เหรียญปัญจพุทธามหามงคล(เหรียญพระพุทธเจ้า 5 พระองค์) เนื้อทองแดงน้ำตาล จัดสร้างเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2518 สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบ 25 ปี ธนาคารศรีนคร จัดสร้างโดย คุณไชยทัศน์ เตชะไพบูลย์ หรือ เฮียโป้ยเสี่ย อดีตผู้บริหารธนาคารศรีนคร มาพร้อมบัตรรับรองพระเครื่อง เพื่อยืนยันความแท้ และไม่มีหักซ่อมใดๆทั้งสิ้นในราคาเบาหวิวครับ

    พิธีพุทธาภิเษกโดยพระคณาจารย์สายกรรมฐานร่วมอธิฐานจิต อาทิ
    - พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร
    - หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    - หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
    - หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
    - หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม
    - หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
    - หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
    - หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ
    - หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร
    - หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม เป็นต้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3734.JPG
      SAM_3734.JPG
      ขนาดไฟล์:
      57.9 KB
      เปิดดู:
      107
    • SAM_3735.JPG
      SAM_3735.JPG
      ขนาดไฟล์:
      60.2 KB
      เปิดดู:
      84
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2014
  2. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่681 เหรียญพระพรหม หลวงพ่อมี (พระครูเกษมคณาภิบาล) วัดมารวิชัย จ.อยุธยา "รุ่นดวงเศรษฐี"สร้างปี2535 สภาพเดิมบูชา ให้บูชา 200 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3790.JPG
      SAM_3790.JPG
      ขนาดไฟล์:
      53 KB
      เปิดดู:
      57
    • SAM_3791.JPG
      SAM_3791.JPG
      ขนาดไฟล์:
      55.3 KB
      เปิดดู:
      102
  3. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่682 หลวงพ่อจวน ฐิติโก วัดไก่เตี้ย (หลวงพ่อเณร) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี ให้บูชา 300 บาท***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***

    ท่านเกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พศ.2496 ที่บ้าน ต.วังยาง.ท่านอุปสมบท ปีพศ.2477 วัดเสาธงทอง ศึกษาพระธรรมวินัยกับ พระธรรมปัญญาบดี วัดสามพระยา กทม.สอบได้นักธรรมตรีพศ.2461 และได้นักธรรมโทพศ.2486 ต่อมาสอบได้นักธรรมเอก ได้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดไก่เตี้ย....

    ท่านได้เป็นศิษย์เอก หลวงพ่อหรุ่น วัดเสาธงทอง เป็นศิษย์ หลวงพ่อพริ้ง วัดวรตันทร์และ พระธรรมปัญญาบดี(หลวงพ่อฟื้น)วัดสามพระยา กทม. ท่านเป็นเจ้าตำหรับผู้ริเริ่มสร้างพระเครื่องประเภท พระเณรสุพรรณ หรือชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อเณร....

    ที่มาการสร้างพระหลวงเณรเนื่องจากเมื่อปีพศ.2495 มีคนลักลอบขุดใต้ฐานเจดีย์วัดไก่เตี้ย ท่านเห็นว่าจะรักษาไว้ไม่อยู่ จึงได้ขออนุญาตขุดกรุ ได้พระซุ้มปรางค์เนื้อชิน 80 กว่าองค์ พระโมคคัลลาน์-สาริบุตร พระปรกโพธิ์เนื้อชิน ส่วนมากผุกร่อนหมด ในกรุนั้นพบพระเนื้อชินองค์หนึ่งเป็นพิมพ์เศียรโล้น จึงมีความเห็นว่าควรสร้างพระเศียรโล้นขึ้นมาแทน ได้นำพระเนื้อชินที่ผุกร่อนมาหล่อหลอมใหม่ โดยให้ชื่อพระว่า"หลวงพ่อเณร"(เศียรโล้น)สร้างได้ประมาณ 90 องค์ ด้านหลังเต็มมียันต์อุณาโลมและบางองค์ไม่มี......

    เวลาต่อมาสร้างรุ่น 2 ด้านหลังบุ๋ม 100 องค์ และสร้างรุ่น 3 ด้านหลังบุ๋ม 200 องค์(ปนดีบุกมาก)แจกหมดในเวลาอันสั้น และมาสร้างรุ่น 4 พิมพ์รูปองค์ท่านจะผอมกว่า คราวนี้สร้างมากอีกหน่อย ประมาณ 1800 องค์แต่ก็แจกหมดภายในครึ่งวัน......

    ในเวลาต่อมาหลวงพ่อท่านเห็นว่าลูกศิษย์อีกมากมายที่อยากได้ คราวนี้สร้างเป็นพระเนื้อดินเผาขึ้นมาอีกประมาณ 19 พิมพ์ฯลฯ
    **หมายเหตุ..รุ่นแรกมี หลวงพ่อหรุ่น พรหมสโก วัดเสาธงทองและ หลวงพ่อจวน ปลุกเสก ต่อจากนั้นรุ่นหลังๆ หลวงพ่อจวนปลุกเสกเอง...
    ...ข้อมูลจากหนังสือพระเมืองสุพรรณ ฉบับหอการค้าเมืองสุพรรณ โดย คุณมนัส โอภากุล...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3774.JPG
      SAM_3774.JPG
      ขนาดไฟล์:
      60.9 KB
      เปิดดู:
      79
    • SAM_3775.JPG
      SAM_3775.JPG
      ขนาดไฟล์:
      48.3 KB
      เปิดดู:
      58
    • 3862-3.jpg
      3862-3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.4 KB
      เปิดดู:
      105
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  4. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่683 เหรียญเสมา หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ รุ่น มงคลศิลาฤกษ์ เนื้อทองแดงกะไหล่เงินลงยา จัดสร้างในปี พ.ศ. 2537 2โค๊ต ให้บูชา พีเอมหรือโทรถามครับ
    ***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***
    เหรียญเสมา หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ รุ่น มงคลศิลาฤกษ์ เนื้อทองแดงมีขนาดสูง 4.3 x 2.8 ซ.ม. จัดสร้างในปี พ.ศ. 2537 โดยนิตยสาร ”เซียนพระ” เมื่อปี 2537 มีพิมพ์ย้อนยุคหลวงปู่ทิมแบบต่างๆ รวม 12 พิมพ์ วัตถุมงคลชุดนี้ สร้างในโอกาสวางศิลาฤกษ์ ศาลาวิจิตรธรรมาภิรัตน์ วัดละหารไร่ ทุกองค์ตอกโค้ดเรียบร้อย โดยนิตยสาร ”เซียนพระ” ได้แบ่งบางส่วนมาให้กับผู้จองนิตยสารเซียนพระ ส่วนที่เหลือได้มอบไว้ให้กับทางวัดละหารไร่ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้บูชา หลวงพ่อเชย เจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ได้เป็นธุระในการจัดพิธีพุทธาภิเษกเพื่อให้มีความเข้มขลังเป็นมงคลกับผู้บูชา โดยท่านได้เดินทางไปปรึกษากับหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ซึ่งหลวงปู่คร่ำได้รับเป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษก

    การจัดสร้างครั้งนี้ได้รับมอบมวลสารและจารแผ่นเงิน,ทอง,นากจากหลวงพ่อเชย วัดละหารไร่ ,หลวงปู่บุญ วัดบ้านนา,หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า,หลวงพ่อสวัสด์ วัดกระแสร์บน,หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่,หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ

    พิธีพุทธาภิเษกโดย
    - หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า
    - หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดกระแสร์บน
    - หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่
    - หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ
    - หลวงพ่อเชย เจ้าอาวาสวัดละหารไร่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3794.JPG
      SAM_3794.JPG
      ขนาดไฟล์:
      79.2 KB
      เปิดดู:
      48
    • SAM_3797.JPG
      SAM_3797.JPG
      ขนาดไฟล์:
      68.5 KB
      เปิดดู:
      44
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2014
  5. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่684 หลวงพ่อพระใส พระดีประจำจังหวัดหนองคาย เนื้อกะไหล่ทอง ปี 2544 ผิวหิ้ง ให้บูชา 200 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3778.JPG
      SAM_3778.JPG
      ขนาดไฟล์:
      74.3 KB
      เปิดดู:
      40
    • SAM_3779.JPG
      SAM_3779.JPG
      ขนาดไฟล์:
      61.8 KB
      เปิดดู:
      69
  6. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่685 รูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร จ.สมุทรสงคราม โลหะเก่า ให้บูชา 650 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3801.JPG
      SAM_3801.JPG
      ขนาดไฟล์:
      65.6 KB
      เปิดดู:
      60
    • SAM_3804.JPG
      SAM_3804.JPG
      ขนาดไฟล์:
      79.8 KB
      เปิดดู:
      62
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2014
  7. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    ให้บูชาพระเครื่อง วัตถุมงคล หลากหลายรายการ ค่าจัดส่ง50บาททั่วประเทศครับรับประกันแท้ยินดีคืนเงินเต็มจำนวน โดยไม่มีเงื่อนไขครับ (พระต้องกลับมาสภาพเดิมครับ)
    ท่านที่สนใจโอนเงินได้ที่รายละเอียดที่อยู่ด้านล่าง หลังจากโอนแล้ว รบกวนโทร.หรืออีเมล์มาบอกชื่อที่อยู่สำหรับจัดส่งด้วยครับ
    ติดต่อสอบถามได้ที่
    - Pm
    - เบอร์โทร 0817933946
    ชำระเงินได้ที่
    ธ.กรุงไทย สาขา ศรีย่าน
    ชื่อบัญชี นายวรัญญูเล้ารัตนอารีย์
    เลขที่บัญชี 012-0-14398-4
     
  8. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่686 เหรียญหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต แห่งที่พักสงฆ์สวนทิพย์อายุวัฒนะมงคล 96 ปี สภาพสวย พร้อมกล่องเดิม ให้บูชา พีเอมหรือโทรถามครับ

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต แห่งที่พักสงฆ์สวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี หลวงท่านเป็นศิษย์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่ทั้งพระและคณะญาติโยมในวงกรรมฐานรู้จักท่านเป็นอย่างดี

    ประวัติ(คร่าวๆ) ของหลวงปู่บุญฤทธิ์ ก็เป็นที่น่าสนใจและน่าเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง คือในอดีตนั้นท่านเป็นนักเรียนนอกจบการศึกษาจากต่างประเทศ รู้ดีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ท่านเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการหนุ่มที่มีอนาคตสดใส แต่ด้วยความเลื่อมใสปฏิปทาพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านจึงลาออกจากราชการแล้วบวชและปฏิบัติธรรมแบบถวายชีวิตต่อพระศาสนา ออกธุดงค์อยู่ตามป่าตามเขาโดยตลอด

    องค์ท่านเป็นศิษย์กรรมฐานของ พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ,และออกธุดงค์อยู่ตามป่ากับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม นานถึง 9 ปี ในช่วงหลัง ท่านได้รับบัญชาจากคณะสงฆ์ธรรมยุตให้ท่านไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศ ออสเตรเลีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 30 กว่าปีแล้ว ท่านจึงกลับมายังเมืองไทย และได้อยู่ที่ สวนทิพย์ จ.นนทบุรี เป็นต้นมา
    กับเหรียญหลวงปู่บุญฤทธิ์ สร้างออกแจกงานวัดเกิดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นเนื้อทองแดงผิวไฟแดงๆ ไม่ผ่านการใช้+ กล่องเดิมๆ สภาพสวยเดิมๆ หายากครับ

    วัตถุมงคลที่ระลึกของหลวงปู่บุญฤทธิ์ ไม่ใช่พระเครื่องที่จะเจอในสนามพระสักเท่าไร ส่วนใหญ่จะอยู่กับลูกศิษย์ ลูกหา ที่เก็บไว้บูชากันจึงไม่ได้พบเห็นบ่อยนัก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่687 เหรียญโต๊ะหมู่ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต สวนทิพย์ จ.นนทบุรี
    สภาพสวย รุ่นนี้สร้างน้อย หายากครับ ให้บูชา พีเอมหรือโทรถามครับ


    เหรียญโต๊ะหมู่ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต สวนทิพย์ จ.นนทบุรี
    เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 อายุ 97 ปี เนื้อทองแดงสร้าง 900 องค์
    องค์นี้สร้างเป็นเนื้อทองแดงครับ สภาพสวยผิวไฟเดิมๆ ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 985.jpg
      985.jpg
      ขนาดไฟล์:
      71.2 KB
      เปิดดู:
      65
    • 986.jpg
      986.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.6 KB
      เปิดดู:
      47
  10. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ที่พักสงฆ์สวนทิพย์
    ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี



    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต มีนามเดิมว่า บุญฤทธิ์ จันทรสมบูรณ์ เป็นบุตรชายของหลวงพินิจจินเภท และคุณแส ท่านเกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ เดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ (ปีเถาะ) ณ บ้านท่าอิฐ ตำบลท่าอิฐ อำเภอพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน

    บางส่วนจากหนังสือหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๙
    เรียบเรียงโดย รศ.ดร.ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์

    ๑๒๔
    เรื่องจากหลวงปู่บุญฤทธิ์

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต เป็นศิษย์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่ทั้งพระและโยมในวงพระธุดงคกรรมฐานรู้จักท่านเป็นอย่างดี

    เรื่องราวของหลวงปู่บุญฤทธิ์ น่าสนใจและน่าเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ในอดีตท่านเป็นนักศึกษาปริญญาจากต่างประเทศ เป็นข้าราชการหนุ่มที่มีอนาคตสดใส แต่ด้วยความเลื่อมใสปฏิปทาพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านจึงลาออกจากราชการแล้วออกบวชและปฏิบัติธรรมแบบถวายชีวิตต่อพระศาสนา ออกธุดงค์อยู่ตามป่าตามเขาโดยตลอด

    ท่านเป็นศิษย์กรรมฐานของพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ท่านพ่อลี ธมฺมธโร และออกป่าติดตามหลวงปู่ชอบ ฐานสโม นานถึง ๙ ปี

    ในช่วงหลัง ท่านได้รับบัญชาจากคณะสงฆ์ธรรมยุตให้ท่านไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศออสเตรเลีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ จนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา ๓๐ กว่าปีแล้ว

    นานๆ ท่านจึงจะกลับมาเยี่ยมเมืองไทยสักครั้งหนึ่ง ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาในเมืองไทยได้มีโอกาสกราบไหว้ และศึกษาธรรมปฏิบัติจากท่านนำความปลาบปลื้มและความชุ่มชื่นหัวใจเป็นอย่างยิ่ง (พวกเราได้กราบท่านครั้งหลังสุดในงานถวายเพลิงศพ หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ที่อำเภอสามโคก ปทุมธานี เมื่อ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ นี้เอง ดูหลวงปู่ท่านชรามาก แต่ดูท่านสดใสมาก นั่งรถเข็นให้ศิษย์ที่เป็นฝรั่งเป็นผู้เข็น - ปฐม)

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ได้เปิดเผยเรื่องราวต่างๆ ที่ท่านไปอยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่ชอบ ในป่าเขาทางภาคเหนือ ทำให้พวกเราได้ทราบปฏิปทาและความมหัศจรรย์ต่างๆ ของหลวงปู่มากยิ่งขึ้น

    เรื่องของหลวงปู่บุญฤทธิ์นี้ ผมนำข้อมูลมาจาก ๒ แหล่ง คือบทความในหนังสือโลกทิพย์ ฉบับที่ ๑๓๐ ฉบับแรกของเดือนมิถุนายน ๒๕๓๑ ซึ่งเขียนโดยคุณดำรงค์ ภู่ระย้า กับอีกแหล่งหนึ่งเป็นข้อเขียนของคุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต

    เนื้อหาที่ผมนำเสนอในที่นี้ อยากให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบทั้งเรื่องราวของหลวงปู่บุญฤทธิ์ ผู้เป็นศิษย์ กับปฏิปทาของหลวงปู่ชอบผู้เป็นพระอาจารย์ ไปด้วยกัน เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวอย่างที่พูดกันนั่นแหละครับ

    เรื่องราวที่นำเสนอ จึงมีหลายตอนติดต่อกัน ก็คงต้องขอร้องให้อดทนอ่านกันหน่อยก็แล้วกัน นะครับ ! โดยส่วนตัวผมเรียกท่านว่า หลวงปู่บุญฤทธิ์ แต่เพื่อไม่ให้สับสนจึงขอใช้คำแทนท่านว่า พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ตามที่คุณดำรงค์ ภู่ระย้า กับคุณหญิงสุรีพันธุ์ ท่านใช้เรียกขานก็แล้วกันนะครับ

    เรื่องของหลวงปู่บุญฤทธิ์นั้น คุณดำรงค์ ภู่ระย้า เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า

    “...ตลอดชีวิตในการศึกษาเล่าเรียนมาระดับสูง มีความสามารถในทางโลกหลายๆ อย่าง สามารถประกอบอาชีพการงานให้เกิดความร่ำรวยได้เป็นอย่างดี

    แต่...ทำไม พระภิกษุรูปหนึ่งจึงหลบหนีชีวิตทางโลกเข้ามอบร่างของตนเองสู่แนวทางธรรม ต้องการบวชอุทิศชีวิตแก่พระพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิง ?”

    จากข้อคำถามของคุณดำรงค์ข้างต้น ผมขอตัดย่อมาถึงคำบอกเล่าของพระอาจารย์บุญฤทธิ์เอง ถึงเรื่องราวเบื้องต้นของท่าน ดังนี้

    “อาตมาตอนเป็นนักเรียน ก็ได้รับการศึกษา (ทางพุทธศาสนา) มาบ้างแล้ว เวลานั้นเรียนอยู่ที่โรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล กรุงเทพฯ

    พอได้เรียนรู้ก็เกิดชอบใจ แต่เวลาได้มองเห็นความประพฤติของพระภิกษุก็เกิดสงสัยว่า เอ...ทำไมไม่เหมือนกับที่เราศึกษาเล่าเรียนมา นักธรรมตรีก็สอนไว้ดีมาก (แต่พอ) มองเห็นการปฏิบัติของพระเณร มันไม่เข้ากับหลักการศึกษานั้นเลย !

    แต่อาตมาก็ไม่ละเลยในการศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนา สมัยเป็นเด็กนั้นขยันมากนะ

    ต่อมา ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา (จากหนังสือ) ของอาจารย์ เรียกท่านว่า บาทหลวง (ในศาสนาคริสต์) เพราะมีความสนิทสนม สามารถเข้าได้ถึงห้องท่านเลยทีเดียว

    สาเหตุที่ได้ศึกษา อ่านหนังสือพระพุทธศาสนาแล้วเกิดความเข้าใจดี ก็ของท่านบาทหลวงนี้แหละ ค้นห้องสมุดของท่าน ก็ไปเจอหนังสือเล่มดังกล่าว

    หนังสือตำราเป็นภาษาฝรั่งเศส โอ...เขาอธิบายดีมาก มีคำพูดคำโวหาร ก็เข้าใจดี เหมือนกับอ่านวิสุทธิมรรคนั่นแหละ แต่เป็นเหตุผลภาษาธรรมดาๆ และก็เข้าใจง่าย

    ดูอย่างในปัจจุบันนี้ซี...ทำไมคนไทย อยู่กับพระพุทธศาสนาอยู์ใกล้ครูบาอาจารย์ ทำไมจึงไม่ค่อยจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าก็มิทราบ ?

    เวลาพวกฝรั่งเขาได้อ่านตำราเป็นภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษทั้งที่เขาไม่เคยเห็นพระสงฆ์ ไม่เคยรู้จักประเพณีเลย ครั้นได้อ่านตำราพุทธศาสนา ทำไมเขาเข้าใจได้ ?

    อันนี้แหละ ทำให้อาตมาคิดพิจารณาและก็มั่นใจว่าพวกต่างชาตินั้น ถ้าจะไปสอนหลักพระศาสนากับเขาละก็อย่า-อย่าไปสอนเขาเลยไม่สำเร็จผลหรอก

    แต่ที่สอนเขาได้ก็เพราะเขาภาวนาไม่เป็นเท่านั้น ที่เขาสนใจขณะนี้คือ การภาวนา

    ส่วนนักเทศน์ นักอะไรๆ นั่น อย่าเลย ! เขารู้ดีหมดแล้ว ไม่สำเร็จ !

    ดังนั้น หลังจากได้ศึกษาเล่าเรียนมา ก็สนใจมากในเรื่องภาวนากรรมฐานนี่ชอบใจ อยากพิสูจน์ให้สำเร็จด้วยดี

    นี่ชีวิตสมัยนักเรียนนะ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาทั้งทางโลกและก็ทางธรรม ควบกันมาตลอด ทำให้เข้าใจหลักพระพุทธศาสนาพอสมควร”


    พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน


    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร



    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต


    ๑๒๕
    การเข้ามาทางธรรม

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ท่านศึกษาเล่าเรียนมาระดับสูงจากต่างประเทศ มีความรู้ดีทั้งภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ จบมาแล้วท่านได้ทำงานในกระทรวง และถูกย้ายให้ไปประจำอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ทำให้ท่านได้เข้าสู่ทางธรรม ดังที่ท่านเล่าให้ฟัง ดังนี้

    “ครั้งนั้น อาตมาทำงานอยู่ที่กระทรวงริมคลองหลอดนี่แหละ ทำงานอยู่ปีกว่า นั่งทำงานชั้นบนหน้าห้องปลัดกระทรวง ต่อมาผู้ใหญ่สั่งย้ายออกไปอยู่ที่หนองคาย

    ก็ตอนที่ส่งไปจังหวัดหนองคายนี่แหละ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้น ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ นี้คงไม่ได้บวชหรอก เหตุเพราะไม่เจอพระดี หรือไม่ก็คงตายไปแล้วมั้ง

    พอเขาสั่งย้ายออกไปอยู่หนองคาย พวกเพื่อนๆ ที่ทำงานอยู่ด้วยกันก็บอกว่า “โอ...ไปผูกคอตายดีกว่านะพวกเรา !”

    แหม ! มันก็น่าจะผูกคอตายจริงๆ นะ เวลานั้นเป็นสมัยสงคราม ไฟฟ้าก็ไม่มี ที่ทำงานหลังคาสังกะสี ลำบากมากนะ พ.ศ. ๒๔๘๖ น่ะ

    ก็ไปอยู่ที่นั่น ครอบครัวไม่มี อยู่บ้านหลวง ตอนเช้าก็เดินตามทุ่งนา มองเห็นพระออกบิณฑบาต ก็ไปยืนมองดู คิดว่า “เขามาบวชกันทำไม ?”

    นั่น ! คิดว่า คนมาบวชเป็นพระภิกษุเป็นคนยากจน แน่ะ ! ดูถูกเขานะ มันไม่รู้-เลยคิดไปอย่างนั้น

    ขณะยืนปลงมองดูพระท่านออกรับบิณฑบาตอยู่ ก็คิดไปต่างๆ นานา-เรายังโง่ ไม่รู้ความเป็นจริงอย่างนั้น ก็เพราะว่าแรกๆ มันไม่คิดจะบวชอย่างนี้ ไม่เคยคิดเลย พระพุทธศาสนาก็เรียนรู้อยู่ มิใช่ว่าไม่รู้หลักธรรม

    อาตมาไม่ได้สนใจอะไรเลยเวลานั้น ก็ยังเป็นฆราวาสอยู่นะ ไปทำงานที่จังหวัดหนองคาย

    ทีนี้ขณะมองดูพระภิกษุรับบาตรอยู่นั้น มันก็เกิดความอัศจรรย์ขึ้นกับตัวเอง คือ มีเสียงกระซิบขึ้น

    อันนี้สำคัญมากนะ คนอื่นอาตมาไม่รู้หรอก แต่อาตมามันเป็นอย่างนั้น ที่เขาเรียกว่า สังหรณ์ นั่นแหละ มันเกิดขึ้นกับคนบางคน

    ต่างประเทศเขาศึกษากันมากเรื่องนี้ มันเป็นสิ่งไม่ใช่วัตถุนิยมที่เขาศึกษานั้นมีมาก พวกฝรั่งเขาเรียกว่า SPIRITUAL คือ การศึกษาทางจิตใจ หรือทางใจ กันมาก

    ยิ่งพวกวิญญาณ และก็คนทรงนี่นะ เขาศึกษาเล่าเรียนกันมาก เช่น SPIRITUALITY ความเชื่อเรื่องวิญญาณ และเรื่องจิตใจ นี่ เขาศึกษากันมากมายจริงๆ

    อย่างกับประเทศไทยเรานี้ มักศึกษากันแบบวัตถุนิยมเกินพวกฝรั่งเขามาก จึงเป็นวัตถุนิยมร้อยเปอร์เซ็นต์ไงล่ะ !

    อาตมาเคยไปศึกษามา เขาเอาจริงนะเรื่องเหล่านี้ ทำเป็นตำราออกมา ที่เมืองไทยเราเรียกว่า ปญาณศาสตร์ หรือปรจิตวิทยา เขาเรียนกันในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ เช่นในอังกฤษ ในอเมริกา มีปริญญานะในเรื่องนี้

    ...(พระอาจารย์ท่านยกตัวอย่างการทดลองเรื่องนี้ในต่างประเทศแต่ผมของดเว้นไว้นะครับ)...

    ส่วนเรานั้น ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้ศึกษาไปไกลแล้วฝรั่งเพิ่งจะ ก.ข. เท่านั้น

    ทีนี้ย้อนกลับมาในเรื่องของอาตมา ที่ได้ยินเสียงกระซิบ อันนี้อย่างในพระพุทธศาสนาจัดว่าเป็นผู้มีอุปนิสัยแต่ปางก่อน และเสียงกระซิบนั้นบอกว่า ถ้าเราบวชแล้วก็จะไม่สึก !

    มันแย้งกับความคิดครั้งแรก เมื่อมองดูพระภิกษุสงฆ์ออกรับบิณฑบาตว่า เขามาบวชกันทำไม ?”


    หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต


    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม


    ...พระอาจารย์ยกตัวอย่าง ปรจิตวิทยาของครูบาอาจารย์ลูกศิษย์สายของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต แล้วโยงมาถึงสังคมไทยเรา ว่า

    “อันนี้เราเรียนรู้กันมานานแล้ว เว้นแต่คนไทยไม่ค่อยจะทำจริงกัน เอาแต่ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ไม่ฝึกฝน ใกล้เกลือกินด่างนะ อันนี้กล้าพูด ใครจะโกรธก็ช่างเถิด วัตถุนิยมมากมายเกินฝรั่งจริงๆ ไปดูเถอะ !”

    พระอาจารย์พูดถึงหลวงปู่ชอบ ในตอนนี้ว่า

    “พระอาจารย์ของอาตมาเอง หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ไงล่ะ

    โอ !...จิตท่านว่องไวเหลือเกิน เป็นที่เลื่องลือความฉับไวทางจิตนี่ พวกพระกรรมฐานถือว่า ท่านเป็นรองจากพระอาจารย์ของท่าน คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นั่นเอง จึงเกรงกลัวกันมาก

    อันนี้ยืนยันว่ามีจริงนะ ท่านพ่อลีก็บอกว่าเออๆ...อย่าไปวุ่นกับมันเลย นั่งสมาธิต่อไปเถิด !

    สำหรับอาตมานี่นะ เรื่องเสียงกระซิบนี่มักจะแม่นยำมาก พออยู่นิ่งๆ มันก็บอกปั๊บขึ้นมา

    นั่นแหละ ขณะเห็นพระเดินมาบิณฑบาต ก็นึกว่าบวชมาทำไม มันก็เกิดกระซิบขึ้นมาอย่างนี้นะโยม...”

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ท่านเป็นคนจังหวัดอุตรดิตถ์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ (ปีเถาะ) ณ บ้านท่าอิฐ ต.ท่าอิฐ อ.เมือง

    ญาติโยมได้ถามถึงข้อปฏิบัติ หรือความเกี่ยวข้องในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็กในชีวิตของท่าน ซึ่งท่านเล่าให้ฟังดังนี้

    “ตอนเป็นเด็กน่ะ เริ่มต้นครั้งแรก อาตมาไหว้เทวดา โยมแม่ท่านสอน

    ต่อมาก็สวดมนต์ อิติปิโส ภควาฯ สวดเก่ง แถมยังแถมบทกรรมฐานอีกนะโยม หลับเลยนะโยมมันมากไป

    เดี๋ยวนี้อาตมาไม่ค่อยชอบสวด เอาทางด้านกรรมฐานอย่างเดียว

    อาตมาเกิดบ้านนอกนี่นะ เรื่องไหว้เทวดานี้ทำมาตั้งแต่เด็กๆ เลยทีเดียว...

    การไหว้เทวดานั้นทำก่อนนอนทุกคืนๆ แต่ก็มีผล มีความศักดิ์สิทธิ์มากเหมือนกัน ที่มาเห็นผลนี้ก็ตอนมาอยู่กรุงเทพฯ นะ ตอนนั้นโตแล้ว

    วิธีปฏิบัติก็กราบสามหน แล้วก็ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ผู้มีพระคุณ ครูบาอาจารย์ ก็น้อมนึกเอาเฉยๆ นะ

    พอเติบโตก็ได้พบความอัศจรรย์ คือ ดีแน่ เชื่อได้ เป็นที่พึ่งยามคับขันได้ ตั้งใจให้แน่วแน่-เทวดาช่วยที...ก็เป็นผล เป็นจริงๆ

    เป็นอย่างไรนั้น อาตมาก็อยากให้โยมภาวนาดู ก็จะรู้ความจริง นั่นแหละมันเป็นอย่างนั้น

    แต่ก่อนแม่บังคับให้สวดมนต์คล่องแคล่วดี วิสัยเด็กมันชอบทางนี้อยู่บ้าง

    ถึงว่าอาตมาโชคดีที่เกิดอยู่บ้านนอก ถ้าอาตมาเกิดเป็นเด็กกรุงเทพฯ ก็เสร็จแน่เลย เพราะวัฒนธรรมทางด้านจิตใจมันหายไปหมดแล้ว...” ฯลฯ
    ๑๒๖
    เห็นหลวงปู่ชอบครั้งแรก

    ท่านพระอาจารย์บุญฤทธิ์ ท่านสละชีวิตราชการตั้งแต่ยังหนุ่มแน่น นำตัวเข้าบวช ณ วัดศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เมื่อบวชแล้วท่านก็แสวงหาครูอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน

    “อาตมาเคยเห็นพระธุดงค์แบกกลดบริขาร เดินไปอย่างสงบ มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ ทั้งสายตาและกิริยาที่เดินจึงทำให้เห็นภาพประทับใจ

    ต่อมาเมื่อได้บวชแล้วได้ ๓ พรรษา อาตมาก็เดินทางขึ้นภาคเหนือ ไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นปี พ.ศ. ๒๔๙๓ หลังจากถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต แล้ว

    ตอนไปภาคเหนือนั้น อาตมาอยากจะออกป่าเดินธุดงค์เหลือเกิน ได้ยินพระรุ่นพี่ท่านเล่าอย่างนั้น เล่าอย่างนี้ พูดคุยในเรื่องจิตเรื่องธรรม ก็ทำให้จิตใจฮึกเหิมใหญ่ แต่ก็ยังไม่ได้ออกธุดงค์สักครั้งเดียว

    ก็บังเอิญได้มาพบครูอาจารย์เข้าอีก วันนั้นเป็นวันวิสาขบูชาได้ยินเพื่อนพระด้วยกันบอกว่า

    “คุณอยากจะเดินธุดงค์ คุณควรไปเห็นปฏิปทาของครูบาอาจารย์เสียก่อน วันนี้ท่านจะมาชุมนุมกันที่วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่”

    พอได้ยินแค่นี้ ก็ดีใจมาก ไม่รอช้า รีบเร่งไปเลยทีเดียว เวลานั้นจิตใจมันมีความเลื่อมใสศรัทธามาก

    เมื่อเดินทางไปถึงก็มองเห็นภาพประทับใจเข้าอีก โอ ! น้ำตาคลอเลยทีเดียว

    พระป่าครูอาจารย์ ท่านมาประชุมกันมากมาย ไม่ได้นัดหมายกันหรอก ท่านมาของท่านเองถึง ๙๗ องค์ นั่งเรียงรายกันเต็มลานวัดนั้น มองแล้วมันชื่นตาชื่นใจ นับเป็นมงคลแก่ตนเองมาก

    อาตมาเป็นพระเด็ก ก็เที่ยวซอกแซกไปเรื่อย ถามเพื่อนพระที่บวชก่อน และเคยรู้กิตติศัพท์ของครูบาอาจารย์แต่ละองค์ ท่านก็ตอบให้ฟัง-องค์นั้นชื่อนั้น องค์นี้ชื่อนี้...องค์นั้นจิตท่านว่องไว รู้วาระจิตของผู้อื่นได้หมด คิดอะไรนึกอะไรรู้หมด...

    องค์นั้นท่านก็เก่ง จิตท่านกำหนดรู้ว่องไวมาก...องค์นั้นท่านจะนั่งในป่าเขาลำเนาไพรที่ไหนก็ตาม พวกวิญญาณ เทวดาทั้งหลาย มักจะไปฟังธรรมะจากท่าน องค์นี้ท่านมีกระแสจิตเยือกเย็น ถ้าแม้ท่านไปอยู่แห่งใดกระแสจิตเมตตาของท่านนี้แผ่ไปกว้างไกล ใครมาพบเห็นก็ไม่อยากหนีไปไหน...ฯลฯ

    อาตมาก็ถามดะไปเลย เพราะไม่รู้จักท่านจริงๆ นั่น หลวงปู่แหวน นั่น หลวงปู่ตื้อ

    หลวงปู่ที่ตัวเล็กๆ ผอมดำ นั่นเป็นใคร ? พระเพื่อนก็ไม่รู้จัก เพียงแต่บอกว่า องค์นี้ชอบอยู่แต่ในป่า ไม่ค่อยจะได้พบท่านหรอก ท่านชอบอยู่บนดอยสูงๆ กับพวกกะเหรี่ยง พวกยาง”

    “วันนั้นได้ทำวัตรสวดมนต์กัน เสร็จแล้วก็มีการนิมนต์พระขึ้นเทศน์ นิมนต์หลวงปู่องค์นั้น...นิมนต์พระอาจารย์องค์นี้...ที่สุดก็ประกาศนิมนต์ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เรียกกี่ครั้งๆ ก็เงียบ ไม่มีพระจะเดินไปที่ธรรมาสน์

    อาตมาก็ถามพระป่าองค์หนึ่งว่า พระคุณท่าน พระอาจารย์ชอบน่ะ คือใครกันครับ กระผมเห็นเรียกอยู่นานแล้ว ?

    พระองค์ที่อาตมาถาม ก็พูดว่า “อ้าว ! ก็พระตัวเล็กดำๆ นั่งอยู่แถวต้นๆ นั่นแหละ ท่านหายไปแล้ว ไม่รู้ว่าจะเข้าป่าแล้วมั้งนี่...”

    อาตมาก็มิได้ติดใจอะไรตอนนั้น จะพูดคุยกับครูบาอาจารย์ก็ไม่กล้า ปล่อยเวลาไปทั้งคืนนั้น

    รุ่งเช้า อ้าว ! ท่านเข้าป่ากันหมดแล้ว !


    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ


    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม


    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสฺสเถร (ติสฺโส อ้วน)


    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร


    ๑๒๗
    ไปจำพรรษากับหลวงปู่ชอบ

    หลังจากได้พบพระป่าที่วัดเจดีย์หลวงในครั้งนั้นแล้ว พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ก็เดินทางกลับกรุงเทพฯ ท่านเล่าเรื่องต่อไป ดังนี้

    อาตมาเดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้มาพักอยู่ที่วัดบรมนิวาส ก็ที่วัดนี้ อาตมาได้มาพบกับท่านพ่อลี ธมฺมธโร ท่านมาพักถวายธรรมแด่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสฺสเถร (ติสฺโส อ้วน)

    วันหนึ่ง อาตมาหาโอกาสเข้าไปปรนนิบัติ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ก็ได้ถามขึ้นว่า

    “ท่านอาจารย์ครับ พระอาจารย์ชอบน่ะ คือใครครับผม ?”

    “โอ ! นั่นแหละลูกศิษย์มีอภิญญาของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต....ถามทำไมล่ะ เคยเห็นท่านหรือ ?”

    อาตมาตอบท่านไปว่า “ครับ เคยเห็นท่านที่วัดเจดีย์หลวง...ถ้างั้นกระผมกราบลาท่านอาจารย์ไปเชียงใหม่อีก ขอไปปฏิบัติกับท่านอาจารยชอบ”

    กราบลาแล้ว ก็เป็นอันเก็บบาตร กลด สิ่งต่างๆ อีกครั้ง ขึ้นไปเชียงใหม่ ที่รีบเร่งเพราะได้ยินคำว่า “อภิญญา”

    เรื่อง อภิญญา ฌานสมาบัติ พระนิพพาน นี่ต้องใจมาก ก็เราบวชเข้ามาก็พึงหวังความจริงข้อนี้

    ก่อนออกเดินทาง ท่านเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ท่านก็ทักท้วงว่า

    “อ้าว ! จะไปไหนละ นี่ก็จวนจะเข้าพรรษาแล้ว ท่านจะไปไหน ไม่อยู่จำพรรษาด้วยกันหรือไงกัน ?”

    อาตมาก็เรียนท่านไปว่า “กระผมจะไปจำพรรษากับท่านอาจารย์ชอบ ครับ !”

    “เฮ้ย ! เดี๋ยวก็ถูกหามออกมาจากป่าหรอกนะ ไข้ป่าจะเล่นงานเอา อย่าไปเลย”

    อาตมาไม่ฟังเสียง เดินทางแน่วไปเลย ขึ้นรถไฟไปเชียงใหม่ จิตใจเวลานั้นไม่มีการย่อท้อ หามออกจากป่าก็ช่าง ตายก็ช่าง ขอให้ได้ศึกษาอยู่กับท่านให้ได้อภิญญาก็แล้วกัน มันต้องเรียนเอาให้ได้

    ท่านพระอาจารย์บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ท่านอยู่ในกรุง ทำงานเป็นข้าราชการหลายปี ชีวิตที่เคยอยู่ในความสะดวกสบาย มีน้ำมีไฟสะดวกทุกอย่าง ไม่เคยเดือดร้อนในการอยู่การกิน

    เมื่อต้องไปอยู่ป่าก็จะทำให้เกิดความลำบาก แล้วขณะนี้ ความตั้งใจของพระภิกษุหนุ่ม มุ่งสู่ป่าดงพงไพร ไปอยู่กับพระอาจารย์ผู้ยิ่งยงในการธุดงค์ ใช้ชีวิตแบบป่าๆ อยู่กับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    หลายคนตั้งปัญหาถามว่า “มันจะไหวหรือท่าน ? แน่ใจหรือท่าน ?”

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ บอกกับตัวท่านเองในขณะนั้นว่า “ไม่ลองจะรู้หรือ ! จะหามออกจากป่าอย่างสิ้นท่า หรือว่าจะอยู่ป่าอย่างสะดวกสบายเย้ยกิเลสตัณหา ก็จะรู้กันคราวนี้แหละ”

    พระอาจารย์ เล่าความรู้สึกและเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า

    “ใครๆ เขาห้ามปรามกัน เพราะเกรงว่าอาตมาจะตายเสียก่อน เพราะถ้าไปอยู่กับท่านหลวงปู่ชอบ ละก็ต้องบุกหนักทีเดียว ท่านชอบไปอยู่ป่ากับพวกกะเหรี่ยงพวกยาง

    อาหารการกินก็ไม่ค่อยจะมี กินใบหญ้าใบไม้ แล้วก็ปลาร้าลูกหนูแดงๆ น่ะ

    อาตมาอยากได้อภิญญา ไม่ฟังเสียง แล่นไปจังหวัดเชียงใหม่ ก็ไปพบกับ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระผู้มีพลังจิตสูงองค์หนึ่ง

    เวลานั้นอาตมาไม่รู้ ก็ได้รับการทักท้วงจากท่านว่า “อย่าเพิ่งไปเลย รอหน้าแล้งก่อนเถอะ เวลานี้อากาศชื้น ลำบากมาก เธอจะทนไม่ได้”

    ไม่ฟังเสียง ไปอย่างเดียว เดินทางไปถึงวัดป่าห้วยน้ำริน แวะกราบนมัสการ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านก็ห้ามอีกว่า “อยู่ที่นี่ก่อน อย่าเพิ่งไป !”

    แหม...อาตมาไม่ฟังเสียงท่านผู้เป็นครูบาอาจารย์เลย ตั้งใจไปให้ได้ไม่ย่อท้อ ลำบากก็ช่าง เป็นการทรมานตัวเอง ที่มีโอกาสพบท่านที่วัดเจดีย์หลวงอยู่แล้ว แต่ก็พลาดโอกาสเมื่อวันวิสาขบูชามิหนำซ้ำยังนึกปรามาสท่านเสียอีก

    ฉะนั้น ต้องทำโทษตัวเอง ทรมานให้มันรู้สึกที่ไม่รู้จักอะไรเป็นอะไร

    นั่น คิดอย่างนั้น ก็ทำให้เกิดกำลังใจจะเดินทางไปกราบท่านให้จงได้

    ญาติโยมได้กราบเรียนถามถึงความยากลำบากในครั้งนั้นรวมทั้งก่อนพบองค์หลวงปู่ชอบนั้น ท่านมีความเคารพศรัทธามากน้อยแค่ไหน

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ท่านเล่าดังนี้

    “อ้าว ! ก็จิตมันรู้ได้ทันทีว่า ที่ครูบาอาจารย์ท่านทักท้วงมาตั้งแต่กรุงเทพฯ จนมาถึงเชียงใหม่ ท่านผู้เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ก็ทักท้วงอีก ทำให้อาตมายิ่งแน่ใจในปฏิปทาของท่านหลวงปู่ชอบ ว่าจะต้องเป็นชีวิตที่ลำบากยากแค้นมาก และสถานที่ที่ท่านไปอยู่บำเพ็ญภาวนานั้นจะต้องเป็นสถานที่กันดาร ไปมาลำบาก ขึ้นเขาลงห้วย ยากตลอดทั้งไปและอยู่ทีเดียว

    อาตมาคิดปลงตก ตายเป็นตาย ขอไปตายกับท่านเพื่อเอาอภิญญาให้ได้ จะได้รู้ว่าคนมีอภิญญาน่ะมันเป็นลักษณะไหนกันแน่...”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2014
  11. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    ๑๒๘
    สภาพความเป็นอยู่ที่ผาแด่น

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ เล่าเรื่องการไปอยู่จำพรรษากับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่ผาแด่น ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนั้นต่อไป ดังนี้

    “...เออ ! มันชอบใจคำว่า อภิญญา ท่านพ่อลีพูดจบ อาตมาก็อยากมาให้ถึงเชียงใหม่เลย

    โอ ! ก็เป็นดังที่เขาเล่าลือกันจริงๆ อาตมาดั้นด้นไปจนพบกับท่าน...

    ครั้งนั้นอาตมาไปพบท่านที่ผาแด่น ก็กะอุบายไว้ว่า ไปพบกับหลวงปู่ท่านให้เข้าพรรษาพอดี เพื่อว่าท่านจะได้ไล่เราหนีไม่ได้ ก็มันเข้าพรรษาแล้วนี่นะ

    วางแผนก็ลงล็อกเลยโยม ท่านก็รู้ด้วยจิตแน่ๆ ท่านเห็นหน้าก็ยิ้ม พูดนิดๆ หน่อยๆ

    จากนั้นท่านก็แนะให้ไปพักเลือกเอาสถานที่เหมาะๆ อยู่ภาวนากับท่าน...”

    พระอาจารย์พูดถึงสภาพของผาแด่น ดังนี้

    “เคยได้ยินแต่คนอื่นเล่าถึงความทุกข์ยากลำบากกันดารก็ได้พบครั้งนี้เอง

    ความจริงแล้วมันลำบากยิ่งกว่าคิดเสียอีก โอ...รสชาติมันเหลือหลาย

    อาตมาได้ไปเรียนรู้หมดแล้ว โยมคงไปไม่ไหวนะเวลานี้ (ท่านเล่าให้ฟังเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐) ที่ภูผาแด่น ปัจจุบันมันก็ดีมากแล้ว ไม่ลำบาก ความเจริญคงเข้าถึงกันหมด ไม่มีความยากลำบากเช่นครั้งก่อน

    ตอนนั้น มันสามารถจะทำได้ ปฏิบัติได้ ก็เพราะว่าศรัทธาในองค์ท่าน และก็คิดจะปฏิบัติให้ได้อภิญญาด้วยนะ สู้สุดชีวิตเลย

    เออ ! มันสบายดีเหมือนกัน ถ้าหากเราสามารถปล่อยวางได้...”

    “ระยะแรกที่ได้ไปอยู่ในป่าดงพงไพร โดยเฉพาะที่ผาแด่น มีความยุ่งยากลำบากและกันดาร

    ก็เหมือนตอนเช้า อาตมาเดินตามหลังหลวงปู่ไปบิณฑบาตจากชาวบ้าน ซึ่งก็เป็นพวกยาง เป็นชาวบ้านป่ากลุ่มหนึ่ง ที่เชิงเขา

    ได้รับอาหารบิณฑบาตที่เขาใส่มา ก็อาตมาเป็นพระชาวกรุงนี่ เห็นครั้งแรกก็แทบสะอึก

    อะไรรู้ไหมล่ะ ?

    อาหารเขาง่ายๆ นะ เขาเอาบอนมาปอก แล้วก็ตำกับน้ำ เอาเกลือใส่ปะแล่มๆ บ้าง ใบไม้บางชนิดตำกับเกลือ ใส่น้ำขลุกขลิกบ้าง
     
  12. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    พระประธาน, รูปหล่อหลวงปู่ชอบ ฐานสโม และรูปภาพหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต
    ณ ศาลาการเปรียญ วัดป่าผาแด่น บ้านผาแด่น ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


    ๑๒๘
    สภาพความเป็นอยู่ที่ผาแด่น

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ เล่าเรื่องการไปอยู่จำพรรษากับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่ผาแด่น ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนั้นต่อไป ดังนี้

    “...เออ ! มันชอบใจคำว่า อภิญญา ท่านพ่อลีพูดจบ อาตมาก็อยากมาให้ถึงเชียงใหม่เลย

    โอ ! ก็เป็นดังที่เขาเล่าลือกันจริงๆ อาตมาดั้นด้นไปจนพบกับท่าน...

    ครั้งนั้นอาตมาไปพบท่านที่ผาแด่น ก็กะอุบายไว้ว่า ไปพบกับหลวงปู่ท่านให้เข้าพรรษาพอดี เพื่อว่าท่านจะได้ไล่เราหนีไม่ได้ ก็มันเข้าพรรษาแล้วนี่นะ

    วางแผนก็ลงล็อกเลยโยม ท่านก็รู้ด้วยจิตแน่ๆ ท่านเห็นหน้าก็ยิ้ม พูดนิดๆ หน่อยๆ

    จากนั้นท่านก็แนะให้ไปพักเลือกเอาสถานที่เหมาะๆ อยู่ภาวนากับท่าน...”

    พระอาจารย์พูดถึงสภาพของผาแด่น ดังนี้

    “เคยได้ยินแต่คนอื่นเล่าถึงความทุกข์ยากลำบากกันดารก็ได้พบครั้งนี้เอง

    ความจริงแล้วมันลำบากยิ่งกว่าคิดเสียอีก โอ...รสชาติมันเหลือหลาย

    อาตมาได้ไปเรียนรู้หมดแล้ว โยมคงไปไม่ไหวนะเวลานี้ (ท่านเล่าให้ฟังเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐) ที่ภูผาแด่น ปัจจุบันมันก็ดีมากแล้ว ไม่ลำบาก ความเจริญคงเข้าถึงกันหมด ไม่มีความยากลำบากเช่นครั้งก่อน

    ตอนนั้น มันสามารถจะทำได้ ปฏิบัติได้ ก็เพราะว่าศรัทธาในองค์ท่าน และก็คิดจะปฏิบัติให้ได้อภิญญาด้วยนะ สู้สุดชีวิตเลย

    เออ ! มันสบายดีเหมือนกัน ถ้าหากเราสามารถปล่อยวางได้...”

    “ระยะแรกที่ได้ไปอยู่ในป่าดงพงไพร โดยเฉพาะที่ผาแด่น มีความยุ่งยากลำบากและกันดาร

    ก็เหมือนตอนเช้า อาตมาเดินตามหลังหลวงปู่ไปบิณฑบาตจากชาวบ้าน ซึ่งก็เป็นพวกยาง เป็นชาวบ้านป่ากลุ่มหนึ่ง ที่เชิงเขา

    ได้รับอาหารบิณฑบาตที่เขาใส่มา ก็อาตมาเป็นพระชาวกรุงนี่ เห็นครั้งแรกก็แทบสะอึก

    อะไรรู้ไหมล่ะ ?

    อาหารเขาง่ายๆ นะ เขาเอาบอนมาปอก แล้วก็ตำกับน้ำ เอาเกลือใส่ปะแล่มๆ บ้าง ใบไม้บางชนิดตำกับเกลือ ใส่น้ำขลุกขลิกบ้าง


    ป้ายชื่อวัดป่าผาแด่น อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่




    กุฏิสงฆ์ วัดป่าผาแด่น อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


    เกลือกับพริกตำแล้วเอาน้ำใส่โหรงเหรง ดูแล้วก็ไม่รู้ว่ามันจะเอารสชาติแบบไหนกัน

    บางคราวไปเจอเอาลูกหนูหมักดองด้วยเกลือ เขานำเอามาปรุงอาหารแต่ละครั้งก็เหม็นคลุ้งไปหมด

    แรกๆ อาตมารู้สึกพะอืดพะอม มองดูหลวงปู่ท่านนั่งฉันหน้าตาเฉย เอ ! จะทำอย่างไรดี

    ข้าวเหนียวนั้นไม่มีปัญหาอะไรหรอก กับข้าวนี่ซี มันแสนจะทรมาน ที่สุดก็กล้ำกลืนฉันบ้าง

    หลวงปู่ชอบท่านสอนเสมอๆ ว่า “อาหารบิณฑบาตได้มาก็ฉันไปตามมีตามได้ ฉันพอประทังให้ธาตุขันธ์อยู่ได้ ก็นับได้ว่าดีแล้ว มีพลังในกาบำเพ็ญธรรมต่อไป”

    เอาละ คิดอย่างนั้นนะ ท่านฉันได้ เราก็ต้องฉันได้ !

    อาตมาฉันได้ประมาณหนึ่งเดือน ธาตุขันธ์มันไม่เคย ท้องร่วงถ่ายตลอดทั้งเดือน

    ทำไงดี ? นอนหอบซี่โครงบานๆ มันอ่อนเพลีย ถ่ายมากเหลือเกิน แต่ก็ไม่เป็นไร สู้ได้ !

    วันหนึ่งพวกยางเขาทำพิธีอะไรก็ไม่รู้ในหมู่บ้านเขา เสร็จแล้วงานนี้มีไก่มาถวายเป็นอาหาร พอได้ไก่มา หลวงปู่ท่านก็สั่งพระที่อยู่ด้วยว่า

    “เก็บไว้ให้บุญฤทธิ์ ยามาแล้วคราวนี้”

    ท่านพูดแล้วให้พระไปตามอาตมา ซึ่งพักปักกลดอยู่ก็ไกลพอสมควร เดินไปมาหากันราวๆ กิโลเมตรกว่าๆ

    อาตมาเดินมารับไก่นั้นเป็นอาหารเช้าในวันนั้น มันก็แปลกมาก พออาตมาฉันไก่ที่หลวงปู่บอกว่าเป็นยา อาตมาก็ฉันหมด โรคท้องร่วงก็หายมาตั้งแต่บัดนั้นเลยทีเดียว

    อันนี้เป็นเรื่องอัศจรรย์มากนะ เออ ! ไก่เป็นยาก็ดีเหมือนกันนะโยม”


    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม


    หลวงปู่คำผอง กุสลธโร


    ๑๒๙
    กิจวัตรช่วงอยู่กับหลวงปู่ชอบ

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ไปอยู่จำพรรษากับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ครั้งแรก ที่ภูผาแด่น อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ นั้น ท่านยังเป็นพระบวชใหม่ ที่เรียกว่าพระนวกะอยู่ เพราะเพิ่งบวชได้ ๔ พรรษา

    พระอาจารย์ ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า

    ในปีนั้น อากาศหนาว ความจริงสภาพชีวิตเคยได้สัมผัสกับความหนาวจากประเทศทางยุโรปมาแล้ว แต่ครั้งนั้นอุปกรณ์กันหนาวดูครบครัน

    ครั้งนี้ แม้อากาศจะหนาวไม่เท่ายุโรป แต่อาศัยจีวร อังสะ บางๆ แค่นั้น ก็ย่อมสะท้านเข้าไปถึงจิตใจ นอกจากความหนาวแล้ว ยังมีน้ำค้างพรั่งพรมส่งเสริมความชื้นเยือกเย็นเข้าไปอีก

    กิจวัตรของอาตมาต้องปรนนิบัติหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    อากาศหนาวแค่ไหนก็ตาม ก่อนสว่างอาตมาจะต้องต้มน้ำ ดังนั้นจะต้องก่อไฟเสียก่อน เวลาทำงานจะต้องเงียบนะไม่มีเสียงเลย

    การไปหาฟืนมาสำรองไว้นั้น ทำเวลากลางคืน บนเขาน่ะมันมืดมากนะโยม หาฟืนน่ะต้องค่อยๆ คลำหา แล้วก็เก็บมารวมไว้ ได้มาแล้วต้องมาผ่าไม้ฟืน ตักน้ำถวาย ถังน้ำเป็นสังกะสีต้องเงียบไม่กระทบให้ดัง ต้องมีสติระวังตัวไม่เผลอ

    อาตมาต้มน้ำ-ก่อไฟเสร็จ ก็พอดีใกล้สว่าง ผสมน้ำอุ่นไปถวาย เดินก็ค่อยๆ ทำ กระโถนไม่มีใช้ ต้องตัดไม้ไผ่กระบอกมันเอามาทำกระโถน

    อาตมานำเอาไปเท แล้วก็ล้าง จากนั้นก็ตากแดดไว้พอแห้ง ตอนสายก็กวาดใบไม้ ภาวนาไปด้วย

    การภาวนา หลวงปู่ท่านไม่สอนอะไรมาก เมื่อบอกให้ภาวนา แล้วต่างองค์ก็ต่างภาวนา

    ท่านบอกว่า “ทำจิตให้เหมือนธรรมชาตินี้ เห็นไหมธรรมชาติสงบ วิเวก จิตวิเวกสงบตามไปด้วย”

    แต่เมื่อนั่งภาวนาไปๆ จิตมันแลบออกไปคิดโน่นคิดนี่ หลวงปู่ตามดูจิตรู้ทักเอาว่า

    “เฮ่ย ! บุญฤทธิ์ ทำจิตอย่างนั้นไม่ถูก”

    เมื่อท่านตักเตือนให้ ก็ตั้งสติใหม่ ทำจิตกำหนดรู้เฉพาะหน้า พยายามต่อไป และก็ทำสติไม่ให้พลั้งเผลออีก กำหนดรู้อย่างเดียว


    ศาลาการเปรียญ วัดป่าผาแด่น เป็นศาลาไม้ พื้นเทปูน สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๐
    โดย หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้เดินทางมาร่วมพิธีทำบุญฉลองศาลาการเปรียญเมื่อปี ๒๕๒๑
    ซึ่งหลวงปู่ชอบต้องนั่งรถเข็นบุกป่าฝ่าดงจากตีนเขาขึ้นมาถึงวัด เป็นระยะทางกว่า ๘ ก.ม.


    กุฏิเดิมของ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ณ วัดป่าผาแด่น จ.เชียงใหม่


    กุฏิเดิมของ หลวงปู่คำผอง กุสลธโร ณ วัดป่าผาแด่น จ.เชียงใหม่


    (มีต่อ ๔)
     
  13. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    ๑๓๐
    หมีกินผึ้งและเสียงพญานาค

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ เล่าถึงการไปอยู่ภาวนากับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่ภูผาแด่นต่อไปว่า

    ระยะนั้นพวกป่าไม้เองก็ยังไปไม่ถึง ต้นไม้แต่ละต้นใหญ่มหึมา สองคนโอบไม่รอบ

    หมีไปกินผึ้งแถวกุฏินั่นเอง เสียงบ่นพึมพำทำให้อาตมาเข้าใจในตอนนั้นเอง ที่ว่า บ่นเป็นหมีกินผึ้งนั้นเป็นอย่างไร

    เวลาหมีไปแล้ว มนุษย์ก็ได้อาศัยน้ำผึ้งจากรวงรังเหล่านั้นมา เป็นคิลานเภสัช (ยา) ต่อไป

    พวกผึ้งมาทำรวงรังกันมากบริเวณนั้น

    ท่านเล่าต่อไปว่า สถานที่ที่บำเพ็ญภาวนานั้นเรียกว่า ผาแด่น ใกล้ๆ กันนั้นมีดอยอีกแห่งหนึ่งพวกยางเรียกว่า ผาเด่ง อาตมาขึ้นไปทำความเพียรก็เห็นว่าดีมาก เหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา จึงได้ขออนุญาตจากหลวงปู่ ท่านก็บอกว่า “ดี ไปภาวนาเถิด มันวิเวกดีมาก”

    อาตมาไปทำความเพียรอยู่ (ที่ผาแด่น) นั่งสมาธิมากแล้วก็เดินจงกรม เดินจงกรมที่นี่ดีมากทีเดียว ลมโชยอ่อนๆ แดดไม่ร้อน

    แต่มีอยู่อย่างหนึ่ง อยากจะนำมาเล่าให้โยมได้ฟังกัน

    คือ...ขณะภาวนาอยู่นั้น บางวันได้ยินเสียงดังเหมือนหวูดรถไฟ

    โยมเคยได้ยินไหม หวูดรถจักรไอน้ำน่ะ ดังอย่างนั้นแหละ

    อาตมาสงสัยจึงได้เข้ากราบเรียนถามหลวงปู่ ท่านบอกว่า “นั่นแหละเสียงพญานาค !”

    ญาติโยมถามว่าเสียงนั้นดังมากไหม ทำไมพญานาคจึงเที่ยวไปอยู่ตามป่าดงพงไพรเช่นนั้น ?

    พระอาจารย์ตอบว่า พญานาคมีทุกแห่ง เพราะเป็นวิสัยพวกเทพระดับหนึ่ง นิมิตอยู่ที่ไหนก็ได้ คนส่วนมากเข้าใจว่า พญานาคอยู่ในน้ำเท่านั้น ความจริงเขาก็พวกเทพเหมือนกัน

    เสียงพญานาคที่ร้องนั้นดังมาก จนอากาศส่วนนั้นสะเทือนทีเดียว

    ยามบ่ายๆ หน่อย อากาศดีมาก แสงแดดจะส่องตามทิวเขา ผาต่างๆ ที่สลับซับซ้อน จนเกิดเป็นสีสันที่สวยงามมาก เช่น สีม่วง สีน้ำเงิน สีแสด สีชมพู มองดูงามมากจริงๆ

    อาตมาไปฟังเสียงพญานาคร้องให้ได้ยินหลายครั้ง ถ้าจะพูดว่าเสียงอื่นๆ ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ มันอยู่ในป่าดง เอาเสียงอะไรมาล่ะ ครั้งกระนั้นมีแต่ป่าห่างไกลความเจริญด้วย

    ญาติโยมถามว่า ท่านไม่คิดว่าจะเป็นเสียงร้องของช้างป่าหรือสัตว์ป่าอย่างอื่นบ้างหรือ ?

    พระอาจารย์ ตอบว่า เสียงช้างเสียงเสือนั้นมันร้องก็จำได้ ไม่ใช่สัตว์ป่าพวกนี้แน่ๆ

    อีกอย่างเวลามันร้อง ก็ฟังได้ยินอยู่เสมอจำได้ดี และอาตมาคิดว่าไม่ใช่สัตว์พวกนี้หรอก !


    เส้นเกษาหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต


    ๑๓๑
    เรื่องของอิทธิฤทธิ์ทางใจ

    เป็นที่ทราบกันกว้างขวางว่า หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นพระมีอภิญญา มีอิทธิฤทธิ์ทางใจ ที่เป็นที่ร่ำลือในหมู่พระธุดงคกรรมฐานทั่วไป

    แต่โดยปกติ ครูอาจารย์พระกรรมฐานทั้งหลาย ท่านไม่นิยมเล่นฤทธิ์อำนาจทางจิตใจ เว้นแต่บางกรณีท่านต้องใช้ในการสั่งสอน ในการปราบศิษย์ดื้อ หรือใช้แก้ปัญหาฉุกเฉินในบางครั้งบางคราวบ้างเท่านั้น

    ในกรณีของ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ท่านรับศิษย์ไว้มากมายหลายรูป มีทั้งภิกษุ สามเณร และยังมีอุบาสกติดตามไปอีกส่วนหนึ่งด้วย

    การทำอิทธิฤทธิ์ทางใจนั้นมีหลายหนทาง แม้การกำหนดรู้วาระจิต ของศิษย์ที่คิดผิดไม่ถูกต้องทำนองคลองธรรมก็เป็นวิธีหนึ่งที่เห็นเป็นตัวอย่างมามาก

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ได้เล่าให้ฟังดังนี้

    การเดินธุดงค์ในป่าในเขาลำเนาไพร ขึ้นยอดดอย เทือกเขาเข้าป่าดงพงไพรนั้น หลวงปู่ชอบท่านตักเตือนศิษย์ให้ระวังสังวร มิให้เกิดความประมาท

    หลวงปู่ ท่านพูดถึงการกระทำของพระผู้มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครอง แม้ใครประมาททำความมัวหมองให้แก่จิตใจตนเองมากน้อยแค่ไหนก็ตาม ไม่มีใครๆ เห็นก็ตาม ไม่ได้ยินก็ตาม...

    “...แต่สิ่งอันลึกลับเกินกว่าจิตของมนุษย์ปุถุชนธรรมดาๆ ก็ย่อมรู้เห็นได้ และยังมีอีกมาก เพราะว่าผู้มีจิตละเอียดจริงๆ ยังมีอยู่ จงอย่าปฏิเสธความจริงในข้อนี้”

    ผู้ประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐาน จงทำเพื่อความไม่ประมาท จงสำรวมระวังในทุกอิริยาบถ ทำความงดงามตลอดเวลา

    แต่เมื่อศิษย์คิดผิด ทำผิด หลวงปู่ ท่านจะรู้ก่อน และก็ดักใจศิษย์คนนั้นจนบังเกิดความเกรงกลัวมาก อันนี้อาตมาจึงพยายามเรียนรู้ปรจิตวิชา หรือการกำหนดรู้ใจของผู้อื่นอย่างแม่นยำของท่านให้ได้ อันนี้อาตมาถือว่า เป็นอิทธิฤทธิ์ทางใจอันหนึ่ง เพราะคนธรรมดาๆ คงไม่รู้ผลแน่ๆ

    สำหรับหลวงปู่ชอบ ท่านล่วงรู้ได้อย่างรวดเร็ว ท่านสามารถดักจิตใจของศิษย์ผู้คิดผิด หลงผิด ได้อย่างถูกต้อง ไม่มีผิดเลยสักรายดียว

    มาในระยะหลังๆ นี้ ดูว่าท่านไม่ทักใครอีก ท่านจะปล่อยวางไม่อยากจะทักใครอีก นอกจากนั้นลูกศิษย์ทั้งหลายต่างก็มีความตั้งใจสำรวมระวังให้งดงามมาตลอดอยู่แล้ว

    เรื่องของ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต น่าสนใจและน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ผมหยิบยกบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม มาเสนอเท่านั้น หากสนใจเรื่องราวเพิ่มเติมก็ควรไปอ่านประวัติและคำสอนของท่านโดยตรง แหล่งค้นคว้าที่แน่นอนที่สุดคือ ห้องสมุดของวัดต่างๆ ในสายของพระธรรมยุต เช่น วัดบรมนิวาส วัดบวรนิเวศ วัดอโศการาม เป็นต้น

    ขออภัยครับ ! ผมมานึกได้ทีหลัง ขอโอกาสพูดถึงหลวงปู่บุญฤทธิ์ ก็ตามที่ผมเรียกท่านจริงๆ แถมอีกนิดหนึ่ง คือ ท่านได้อยู่จำพรรษากับหลวงปู่ชอบในสมัยนั้นนานถึง ๙ ปีเพราะ “หลวงปู่ชอบ ท่านได้สร้างวัดป่าผาแด่น วัดป่าโป่งเดือด และวัดป่าปางยางหนาด “โอ ! โยมเอ๋ย แต่ละวัดที่ท่านไปสร้างนั้นอยู่บนเขาสูงทั้งนั้นเลย... โอ ! ท่านเคร่งครัดมากนะโยม หลวงปู่ซอบท่านไม่ค่อยพูดอะไรนัก สอนธรรมะแล้วก็ให้ภาวนาเอาเลย...”

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ท่านใช้ชีวิตส่วนใหญ่ธุดงค์อยู่ในป่าในเขา เคยธุดงค์ลงใต้ ไปสร้างวัดอยู่ในป่าลึกเขตจังหวัดสตูล ท่านล้มป่วยจนถูกหามออกมารักษาในเมือง

    ท่านธุดงค์อย่างอุกฤษฏ์ ในป่าเขาเขตจังหวัดเลย และหลังสุดท่านมาสร้างวัดป่าแม่ฮ่องสอน แล้วได้รับบัญชาให้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศออสเตรเลีย

    ท่านก็อยู่ตั้งวัด และสอนพระศาสนาอยู่ที่ออสเตรเลียตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ มาจนถึงปัจจุบัน นานๆ จึงจะกลับมาเมืองไทยให้ลูกศิษย์ลูกหาได้กราบไหว้สักครั้ง

    นับถึงปีปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๔๘) ท่านมีอายุ ๙๐ ปีครับ

    หมายเหตุ : ปัจจุบัน หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ท่านพำนักจำพรรษาอยู่ ณ ที่พักสงฆ์สวนทิพย์ เลขที่ ๑๗/๙ ถ.สุขาประชาสรรค์ ๒ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐๒-๕๘๓-๔๕๔๐-๒






    บรรยากาศงานมุทิตาสักการะ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ณ ที่พักสงฆ์สวนทิพย์



    .............................................................

    ♥ คัดลอกเนื้อหาประวัติมาจาก ::
    Home Main Page
    ♥ ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ ::
    โดยเฉพาะจากเว็บไซต์ -:-
     
  14. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    กระทู้ในบอร์ดใหม่

    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต
    แสดงกระทู้ - หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต • ลานธรรมจักร

    ประมวลภาพ “หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต”
    แสดงกระทู้ - ประมวลภาพ “หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต” ที่พักสงฆ์สวนทิพย์ • ลานธรรมจักร

    แผนที่ “ที่พักสงฆ์สวนทิพย์” จ.นนทบุรี
    ::
     
  15. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]เส้นเกศาหลวงปู่
     
  16. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่688 เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สวนทิพย์ สวยหายากแล้ว**ชนวนมวลสารเกจิ108รูป เกจิเพียบ*** ให้บูชา พีเอมหรือโทรถามครับ****มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ****
    เหรียญ รุ่นแรกหลวงปู่บุญฤทธิ์ ศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโทได้ขออนุญาตจัดสร้าง เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พศ.๒๕๔๘ ในขณะที่หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปงานมรณภาพครบ ๕๐ วัน
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ จัดสร้างเสร็จ ๑๙ มีนาคม พศ.๒๕๔๙ และได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก ในงาน ๑๕๐ ปี ชาตกาล พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๙ จากนั้น

    ครั้งที่ ๑ บนกุฏิปัทมราช วัดบรมนิวาส วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๙ ได้นำให้หลวงปู่อธิษฐานจิตเดี่ยวหลังเวลาฉันเพล
    ครั้งที่ ๒ ณ ศาลสนิทวงศ์ วัดบรมฯ ในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙
    ครั้งที่ ๓ ณ วัดสิริกมลาวาส ในงานอายุวัฒนมงคล หลวงปู่หลอด ๙ ธันวาคม ๒๕๔๙
    ครั้งที่ ๔ ณ ศาลสนิทวงศ์ฯ วัดบรมฯ ในวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๐
    ครั้งที่ ๕ ณ กุฏิที่พักสงฆ์สวนทิพย์ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พศ.๒๕๕๐ และถวายให้หลวงปู่แจกในวันรุ่งขึ้น (๑๗ กุมภาพันธ์ ๕๐)

    หมาย : การจัดสร้างเหรียญ ได้แกะบล็อก เกินอายุหลวงปู่ไป ๑ ปี คือถวายเมื่อคราวฉลองอายุ ๙๓ ปี แต่ด้านหลังเหรียญ แกะพิมพ์เป็น ๙๔ ปี
    ปล.เวปอ้างอิงการแจกเหรียญ รุ่นแรกของหลวงปู่ (ให้ดูวันที่ ที่หน้าเวป) -:-

    ๑.ชนวนสำคัญ
    - พระยันต์ ๑๐๘ พระยันต์
    - นะ ๑๔ พระยันต์
    - แผ่นจาร พระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป
    (สมเด็จพระญาณสังวร,หลวงตาพวง, หลวงพ่ออุ้น, หลวงพ่อตัด,หลวงพ่อเจือ.หลวงพ่อเอียด, หลวงพ่อเพิ่ม,หลวงพ่อพูน,หลวงพ่อเพี้ยน,หลวงพ่ออั๊บ,หลวงปู่แย้ม เป็นต้น)
    - ชนวนพระนาคปรกแสงอรุณ วัดบรมฯ ปี ๒๔๙๕
    - ชนวนช่อพระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมฯ ปี ๐๘, ปี ๑๒, ปี ๑๗
    - ชนวนพระแก้ว ปี ๒๔๗๕
    - ชนวนวัตถุมงคล ๒๕ พุทธศตวรรษ
    - ชนวนพระกริ่งคุ้มเกล้า ปี ๒๒
    - ชนวนวัตถุมงคล รุ่นฉลอง ๒๐๐ ปี กทม.
    - ชนวนพระกลีบบัวหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดเขาอ้อ ปี ๓๙ และแผ่นจาร
    - ชนวนพระชัยหลังช้าง ภปร สก ปี ๓๐
    - ชนวนพระกริ่งรักษาดินแดน (เจ้าคุณนรฯ)
    - ชนวนพระกรุท่ากระดาน กาญจนบุรี
    - ชนวนเหรียญหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ปี ๙๒
    - ชนวนเหรียญ ๕ อาจารย์วัดสุปัฏฏนาราม อุบลฯ ปี ๑๖
    - ตะกรุดหลวงพ่อป่าน วัดบางนมโค
    - ชนวนหลวงปู่ทวด วัดโพธิ์ฯ ปี ๑๓
    - ชนวนวัตถุมงคล วัดป่าทรงคุณ ปราจีนบุรี ปี ๒๑
    - ชนวนวัตถุมงคล หลวงพ่อโสธร ปี ๓๖
    - ชนวนพระกริ่งตากสินทร์
    - ชนวนวัตถุมงคลหลวงพ่ออิ่มตลอดกาล
    - ชนวนพระพุทธชินราช ปี ๓๕
    - ชนวนพระพุทธชินราช ปี ๓๗
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดแก้วพิจิตร ปราจีนบุรี
    - ชนวนหลวงพ่อหก วัดสะแกซึง
    - ชนวนวัตถุมงคลพระธาตุดอยสุเทพ ปี ๑๘
    - ชนวนพระกริ่งสีลวุฒโฑ (หลวงปู่เส วัดบูรพาราม) ปี ๔๗
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดสิริจันทรนิมิตร (เขาพระงาม) ลพบุรี
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดนิมมานนรดี ปี ๑๔
    - ชนวนวัตถุมงคลพระทิพย์อำนาจ ปี ๓๘
    - ชนวนวัตถุมงคล ๗๐๐ ปี ลายสือไทย
    - ชนวนพระกริ่ง ๖๐ ปี ธรรมศาสตร์
    - ชนวนพระกริ่ง พระสมเด็จจอมสุรินทร์ ปี ๑๓
    - ชนวนพระพุทธปริต ปี ๑๔
    - ชนวนวัตถุมงคลพระเจ้าใหญ่อินแปลง อุบลฯ ปี ๑๖
    - ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศฯ ปี ๘๕
    - ชนวนพระนาคปรกนาสีดา
    - ชนวนพระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศฯ
    - ชนวนวัตถุมงคลบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ หลวงปู่ธรรมรังษี ปี ๔๕
    ๒.ทองชนวน ๑๕๐ พระคณาจารย์
    สมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ (อยู่) วัดสระเกศ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน) วัดมกุฏฯ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น) วัดโพธิ์ฯ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาส)วัดราชบพิธฯ
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ) วัดมหาธาตุฯ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์) วัดพระศรีฯ สมเด็จพระธีรญษณมุนี (สนิท) วัดปทุมคงคา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต) วัดสัมพันธวงศ์ หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปญฺโญ หลวงปู่ชอบ หลวงปู่อ่อนศรี หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม หลวงปู่สาม หลวงปู่คำคะนิง หลวงปู่หลุย หลวงพ่อสุด วัดกาหลง หลวงพ่อคง วัหนองกระจาย หลวงปู่ขาว หลวงปู่มหาปิ่น หลวงปู่วัน หลวงพ่อเต๋ หลวงปู่เปลี้ยหลวงพ่อ มี วัดมารวิชัย หลวงพ่อแดง วัดเขาบรรไดอิฐ หลวงปู่เจ๊ก หลวงปู่ชื่น วัดมาบข่า หลวงพ่อตาบ หลวงปู่กว่า หลวงปู่แหวน หลวงปู่หุ่น วัดบางขวด หลวงปู่คร่ำ หลวงพ่อพุธ หลวงปู่หลอด หลวงปู่ฝั้น
    หลวงปู่หลวง หลวงปู่เหรียญ หลวงปู่บุญมี สิริธโร หลวงพ่อเกษม หลวงปู่จันทร์ เขมิโย หลวงปู่หงษ์ หลวงปู่อ่อน หลวงปู่สมชาย หลวงปู่ธรรมรังษี หลวงปู่ชม วัดเขานันทาราม หลวงปู่เมตตาหลวง หลวงปู่สิม
    หลวงปู่จวน หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต หลวงปู่บัวพา หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม ครูบาพรหมจักรสังวร หลวงพ่ออวยพร หลวงปู่โต๊ะ หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงปู่บุญมี วัดอ่างแก้ว หลวงปู่บุดดา หลวงปู่จันทร์ โสม หลวงปู่จันทร์ วัดบึงเขาหลวง หลวงปู่เส วัดบูรพาราม หลวงพ่อสมบูรณ์ หลวงพ่อสายหยุด วัดอดิสร หลวงปู่ปราโมทย์ วัดป่านิโคธาราม หลวงปู่แสง หลวงปู่โทน วัดเขาน้อยคีรีวัน หลวงปู่ต้น หลวงปู่กิ หลวงปู่ผ่าน หลวงปู่คำพอง หลวงปู่มา ญาณวโร หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ หลวงพ่อทองบัว ตนฺติกโร พระเทพวรคุณ(สิงห์) หลวงปู่ศรีจันทร์ เจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต หลวงปู่ซามา หลวงพ่อคง วัดอินทาราม หลวงพ่อแพ หลวงปู่โง่น หลวงปู่ผล วัดดักคะนนท์ หลวงปู่ห้อม วัดคูหาสวรรค์ หลวงปู่ท่อน หลวงปู่สีทน สีลธโน หลวงปู่พวง หลวงปู่สังข์ วัดท่าช้างใหญ่ หลวงปู่ชา หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ พระศรีสัจจญาณมุณี วัดสุทัศฯ หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว หลวงปู่ดูลย์ พ่อท่านกลั่น วัดเขาอ้อ หลวงปู่สาย เขมธมฺโม หลวงปู่มหาโส หลวงปู่บุญหนา หลวงปู่จันทา หลวงปู่จ้อย
    วัด หนองน้ำเขียว หลวงพ่อมหาสนธ์ หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต พระพรหมมุนี (บู่) หลวงพ่อสาคร หลวงปู่ทิม อิสริโก หลวงพ่ออุตตมะ หลวงปู่พรหมา เขมจาโร หลวงตามหาบัว
    หลวงปู่เพียร หลวงปู่อ่ำ หลวงปู่ขาน หลวงพ่อคำบ่อ หลวงพ่อหยอด หลวงปู่แว่น หลวงปู่ถิร หลวงพ่อรวย หลวงพ่อจรัญ หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หลวงพ่อสินทร์ วัดบ้านนาโพธิ์ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่หลิว ครูบาอินคำ วัดทุ่งฟ้าผ่า ครูบาอิน วัดฟ้าหรั่ง หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร หลวงปู่ขาว วัดหลักสี่ หลวงปู่เปรื่อง หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าฯ พ่อท่านคล้าย หลวงพ่อเชิญ พ่อท่านนอง หลวงพ่อทองพูล หลวงพ่อเปิ่น ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย หลวงปู่กรอง หลวงปู่เขียน วัดถ้ำขุนเณร หลวงปู่ไสว หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน
    หลวง พ่อโอภาสี หลวงพ่อบุญเรือน วัดยางสุทธาราม หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน พ่อท่านสีนวล วัดเกวียนหัก พระครูประสานนรกิจ วัดพระนอนจักรสีห์ พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมณ์)
    วัดบรมฯ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์) หลวงตาแตงอ่อน หลวงพ่อไพบูลย์ หลวงปู่ทา หลวงปู่ทอง วัดสามปลื้ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2014
  17. sriharaj_wit

    sriharaj_wit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +918

    ขอจองครับ
     
  18. sriharaj_wit

    sriharaj_wit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +918
    ขอจองรายการนี้ครับ
     
  19. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รับทราบการจองครับ:cool::cool::cool::cool:
     
  20. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    มีคนอืนนิมนต์แล้วครับ:cool::cool::cool:
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...