วิริยาธิกะพิเศษบันทึก

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย pco-, 7 มิถุนายน 2010.

  1. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    วันนี้วันพระใหญ่ ขึ้น 15ค่ำเดือนเก้าไทย ตรงกับวันสารทจีน พอดี
    แก้วสองแก้วของผมก็อย่างเดิมเมื่อวานตอนค่ำเอาข้าวมาส่ง ฝนก็ตก เขาก็มากัน แล้วก็พากันไปหาดอกไม้บูชาพระ เมื่อกลับถึงบ้านแก้วเล็กบอกจะใส่แจกันตอนเช้า แต่แก้วใหญ่ของผมวันนี้แกนำไปใส่ซะตั้งแต่ก่อนเทียงคืน แก้วเล็กเสียท่าใส่ตอนเช้า

    แล้ววันนี้ก็ไปอยู่เวณเฝ้าวิหาร แล้วก็มีการร่วงคาหน้าที่

    เดี๋ยวมาต่อครับพี่บุญทรง ตอนนี้มาดูงานที่โรงงานแก้วใหญ่โทรมาตามให้ไปรับกลับบ้าน เดี่ยวมาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF4247.JPG
      DSCF4247.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.2 KB
      เปิดดู:
      43
    • DSCF4250.JPG
      DSCF4250.JPG
      ขนาดไฟล์:
      59.1 KB
      เปิดดู:
      30
    • DSCF4249.JPG
      DSCF4249.JPG
      ขนาดไฟล์:
      63.1 KB
      เปิดดู:
      29
    • DSCF4251.JPG
      DSCF4251.JPG
      ขนาดไฟล์:
      58.8 KB
      เปิดดู:
      39
    • DSCF4252.JPG
      DSCF4252.JPG
      ขนาดไฟล์:
      62.3 KB
      เปิดดู:
      41
    • DSCF4253.JPG
      DSCF4253.JPG
      ขนาดไฟล์:
      87.9 KB
      เปิดดู:
      34
    • DSCF4256.JPG
      DSCF4256.JPG
      ขนาดไฟล์:
      74.9 KB
      เปิดดู:
      38
    • DSCF4258.JPG
      DSCF4258.JPG
      ขนาดไฟล์:
      63.2 KB
      เปิดดู:
      35
    • DSCF4259.JPG
      DSCF4259.JPG
      ขนาดไฟล์:
      85.2 KB
      เปิดดู:
      37
    • DSCF4260.JPG
      DSCF4260.JPG
      ขนาดไฟล์:
      86.3 KB
      เปิดดู:
      35
    • DSCF4263.JPG
      DSCF4263.JPG
      ขนาดไฟล์:
      70.1 KB
      เปิดดู:
      28
    • DSCF4264.JPG
      DSCF4264.JPG
      ขนาดไฟล์:
      81.5 KB
      เปิดดู:
      30
    • DSCF4271.JPG
      DSCF4271.JPG
      ขนาดไฟล์:
      124.6 KB
      เปิดดู:
      45
    • DSCF4276.JPG
      DSCF4276.JPG
      ขนาดไฟล์:
      80.9 KB
      เปิดดู:
      34
    • DSCF4279.JPG
      DSCF4279.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78.2 KB
      เปิดดู:
      35
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 กรกฎาคม 2016
  2. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,339
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,286
    ขอให้ พี่ PCO มีความสุข และสำเร็จสมหวังทุกประการเช่นกันครับ สาธุ
     
  3. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814



    :cool:({) l;ylfu8 สวัสดีครับพี่ พีซีโอ พี่ๆน้องๆทุกๆท่าน ผมขอ ประวัติอนุญาติ ประวัติ องค์สมเด็จในสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ไปลงกระทู้ผมหน่อยนะครับ เพื่อให้คนทั่วไปได้อ่าน และจดจำกันไว้ ผมลืมจำได้นิดหน่อยเอง จึงเอาแบบที่พี่เอามานี้แหละ ละเอียดดีครับ:cool:
     
  4. mngo

    mngo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    605
    ค่าพลัง:
    +1,335
    โมทนาสาธุ กับลุงบุญทรงพระเครื่องด้วยครับ สาธุ
     
  5. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    พี่บุญทรงวันนี้ช่วงเช้าผมไปดูแลสั่งงานแล้วแก้วเล็กดูแลต่อ ไปส่งแก้วใหญ่ที่วิหารอยู่เป็นเพื่อนเขาจนบ่ายสามโมง เมื่อไปถึงวิหาร นั่งปั๊ปที่โต๊ะทำงานในวิหารก็มีหนังสือธัมมวิโมกข์เล่มที่33มีเรื่องราวของท่านมาฆมานพฉบับเต็มสมบูรณ์มากแล้วจะเอามาลงไว้ให้นะครับพี่

    ผมเองทำตามท่านตั้งแต่ผมรู้ครั้งแรก เพราะพ่อของผมเองในชาตินี้ก็พาผมทำงานสาธารณะให้กับหมู่บ้านเกิดของตั้งแต่ผมจำความได้ ที่พ่อพาทำคือทางสาธารณะ บ่อน้ำ สระน้ำ สะพานตักน้ำที่หนองน้ำ สารพัดอย่างที่พ่อทำ ที่มันเป็นสาธารณะ ทั้งๆที่พ่อก็มีฐานะลำบากยากจน มันเลยคุ้นเคยเป็นนิสัย ที่เรียกว่าไม่นิ่งดูดาย

    เมื่อมาพบคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ มันก็อย่างกับพบขุมทรัพย์มหาศาล แต่นี้ไปไม่มีคำว่ายากจนเข็ญใจ คำว่าไม่มี คำว่าขัดข้อง คำว่าไม่รู้ คำว่าไม่สามารถ คำว่าที่สองรองใครจะไม่มีอีกเลย จนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน

    พวกเราไปกันแนวนี้นะพี่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทำให้เห็น ให้รู้ เป็นแบบเป็นอย่างแล้ว พวกเราไม่มีความจำเป็นต้องตะกายไปหาที่ใหน สมบัติพ่อให้นี่เหลือล้นจนเกินพอ เราไปมันแบบที่เขาหาว่าโง่นี่แหละ ดีแล้วทำมันเงียบๆคุยกันเบาๆในกลุ่มพวกเราที่คุยอยู่นี้ แต่แหมมันดันได้ยินไปทั้งโลกนี้ และโลกอื่นๆ มันเลยกลายเป็นคนมีพรรคพวกบริษัทบริวารมากในอนาคต เพราะอานิสงค์ที่ทำอะไรที่เป็นคุณเป็นประโยชน์เราก็บอกเราก็ชวนคนอื่นเขา

    หากอานิสงค์ส่งผลอย่างท่านมาฆมานพบ้าง ก็อย่ามาว่าหรืออิจฉาพวกเราเข้าล่ะ

    ท่านมาฆมานพท่านตายจากความเป็นมนุษย์ ไปเป็นท้าวโกสีห์สักเทวราช มีนางสาวฟ้าเป็นบริวาร หนึ่งแสนประจำวิมาณ มีนางฟ้าอื่นๆอีกสองโกฏกับห้าล้านเป็นบริวาร เท่ากับสองพันกับอีกห้าล้านหนึ่งแสน บวกกับท่านแม่อีกสี่ท่าน

    เอาละ ทีนี้คนที่ปรารนานางแก้วในเว๊ปนี้ว่าไง คนที่เข้าใจและศึกษามาก่อนไม่เป็นไรเพราะเขารู้แล้ว ว่าคำว่าแก้วหมายความว่าไง ผมเองมีแค่ไม่กี่สิบ โชว์หน้าเวทีแค่สี่ห้าคน ท่านผู้ชมทำท่าจะโห่ ไอ้โห่ผมน่ะไม่เป็นไร คนที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่าเผลอไปโห่เลยไปถึงท่านมาฆมานพเข้านะครับ เท่ากับโห่พ่อตัวเองคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะวี๊ดว้ายอะไรออกไปดูให้ดีซะก่อน

    พี่บุญทรงผมขอเอาไอ้รถสองคัน มาเทียบกันให้เห็นชัดๆ ไอ้ประเภทรถหวือหวาแบบรถสปอรต เราก็ว่ามันเร็วมันแรง ความเร็วสี่ห้าร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง นั่งไปได้แค่คนสองคนวิ่งไปได้ไม่กี่กิโลหมดแรงหมดน้ำมัน

    กับพี่รถไฟที่พ่อให้ ด่วนความเร็วสูงของผม มันก็มีความเร็วห้าหกร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมงเหมือนกัน แต่รถไฟน่ะมันทรงพลังท้ังบรรทุกได้มาก ทั้งสะดวกสะบายกว่ารถสปอรตเยอะ ทำเป็นเล่นไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 สิงหาคม 2014
  6. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    แมงกะไซร์มันก็เร็วก็แรง เท่มาก จนสาวๆวิ๊ดประสาแมงกะไซร์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    รถยนต์สปอรตมันก็เท่ จนสาวๆวี๊ดเหมือนกันประสารถสปอรต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 สิงหาคม 2014
  8. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    รถไฟที่ทรงพลังแรงรวมทั้งความเร็ว ไม่แพ้รถประเภทใหน สะดวกปลอดภัย สมบัติพ่อให้ที่จะพาหมู่ญาติ
    ของผมไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง อันนี้สาวไม่วี๊ด มันเลยที่จะวี๊ดให้เหนื่อยหรือเจ็บคอ นอนหลับพักผ่อนแบบฝันดี ตลอดการเดินทาง

    แก้วของผมเขาเข้าใจ นั่งนอนไปกับขบวนรถแบบนี้ นั่งที่นั่งตรงใหน นอนที่นอนตรงใหน มันพอๆกันทั้งขบวน

    แก้วเดี่ยวก็ไปแมงกะไซร์ หรือรถสปอร์ต ก็แล้วกัน

    แมงกะไซ์บิดให้ตายก็วิ่งได้ไม่เกินสื่ร้อยกิโมตรต่อชั่วโมง
    รถยนต์สปอรต ไม่เกินห้าร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง
    รถไฟของผมสมบัติพ่อให้ พัฒนากันจนตอนนี้วิ่งได้เกินหกร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง



    เดี๋ยวมาต่อเรื่องรถไฟครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 8484658.jpg
      8484658.jpg
      ขนาดไฟล์:
      212.1 KB
      เปิดดู:
      41
    • 27bullet-train17.jpg
      27bullet-train17.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.9 KB
      เปิดดู:
      25
    • shink11.jpg
      shink11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.7 KB
      เปิดดู:
      28
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 สิงหาคม 2014
  9. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    รถไฟไทยสมบัติพ่อให้

    มีพระบรมราชโองการ "ประกาศสร้างทางรถไฟสยาม แต่กรุงเทพฯ ถึงนครราชสีห์มา" เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433 มีข้อความตอนหนึ่งว่า...
    อ้างถึง
    "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ มีพระราชหฤทัย รำพึงถึงเหตุการ ซึ่งจะทรงทนุบำรุงกรุงสยามให้รุ่งเรืองเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นไป ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมา ระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้เกิดความเจริญ แก่บ้านเมืองได้เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถไฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมือง ซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยาก ให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ ไปมาถึงกันได้สดวกเร็วพลัน การย้ายขนสินค้าไปมา ซึ่งเป็นการลำบาก ก็สามารถจะย้ายขนไปมาถึงกันได้โดยง่าย... เป็นการเปิดโอกาสให้ อาณาประชาราษฎร มีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไป แลทำทรัพย์สมบัติกรุงสยาม ให้มากมียิ่งขึ้น ด้วยทั้งเป็นคุณประโยชน์ ในการบังคับบัญชา ตรวจตราราชการ บำรุงรักษาพระราชอาณาเขตร ให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นศุกข์ได้โดยสดวก อาไศรยเหตุทั้งปวงนี้ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชดำริห์ พร้อมด้วยความคิดท่านเสนาบดี เห็นสมควรจะสร้างทางรถไฟ ตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีห์มา เป็นสายแรก..."
    ในปี พ.ศ.2439 การก่อสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ - นครราชสีมา สำเร็จบางส่วนพอที่จะเปิดการเดินรถได้ ดังนั้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง สถานีกรุงเทพ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่าง กรุงเทพ - อยุธยา ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นต้นไป ในระยะแรกเดินขบวนรถขึ้นล่องวันละ 4 ขบวน มีสถานีรวม 9 สถานี คือ สถานีกรุงเทพ บางซื่อ หลักสี่ หลักหก คลองรังสิต เชียงราก เชียงรากน้อย บางปะอิน และกรุงเก่า ซึ่งการรถไฟฯ ได้ถือเอา "วันที่ 26 มีนาคม" เป็น วันสถาปนากิจการรถไฟ สืบมาจนถึงปัจจุบัน

    ต่อจากนั้นก็ได้เปิดการเดินรถต่อไปอีกเป็นระยะๆ จากอยุธยา ถึง แก่งคอย มวกเหล็ก ปากช่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2443 การสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาได้เสร็จเรียบร้อย และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการเดินรถสายนี้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2443 จากนั้นได้เสด็จโดยขบวนรถไฟประพาส จ.นครราชสีมาด้วย รวมระยะทางจาก กรุงเทพ - นครราชสีมา ทั้งสิ้น 265 กิโลเมตร สิ้นเงินในการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ 17,585,000 บาท

    เมื่อการก่อสร้างทางรถไฟสายแรกสำเร็จลงตามพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงพิจารณาสร้างทางรถไฟสายอื่น ๆ ต่อไป จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระผู้พระราชทานกำเนิดกิจการรถไฟในประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453
     
  10. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    พระโพธิญาณวิริยาธิกะพิเศษ สมบัติพ่อให้
    รถไฟไทย สมบัติพ่อให้ วันหนึ่งจะเอารถไฟพ่อ ไปแต่งซิ่งใส่ล้อแม๊ก ติดเครื่องเสียง แอร์ วิทยุ เทป เอาเป็นตัวท๊อปให้จงได้

    ประวัติรถไฟไทย
    เมื่อ พ.ศ. 2459 สมเด็จพระนางเจ้าควีนวิคตอเรีย พระเจ้าแผ่นดิน ประเทศอังกฤษ ได้โปรดให้ เซอร์ยอน โบว์ริง เจ้าเมืองฮ่องกง เป็นราชทูต เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี และขอทำหนังสือสัญญาใหม่ ได้นำเครื่องราชบรรณาการ "รถไฟเล็ก" และอื่น ๆ มาถวายแด่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    สำหรับรถไฟเล็กนี้ ได้จำลองโดยการย่อส่วนมาจากรถจักไอน้ำ และรถพ่วงโบกี้ ซึ่งเป็นของจริง ที่ใช้วิ่งอยู่ในประเทศอังกฤษ ในเวลานั้น รถไฟเล็กดังกล่าว ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร
    รถไฟเล็กนี้นี่แหละ ที่เป็นเครื่องดลพระราชหฤทัยของ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงฝักใฝ่ในเรื่องรถไฟตั้งแต่วาระนั้นเป็นต้นมา
    จึงอาจกล่าวได้ว่า ชาวอังกฤษเป็นผู้แรกเริ่มให้ความคิดเห็นในเรื่อง การรถไฟแก่คนไทย แต่ในรัชกาลที่ 4 ก็ยังไม่มีการรถไฟขึ้น เพราะยังเป็นของใหม่เกินไปในสมัยนั้น และที่สำคัญที่สุด ก็คือยังไม่เห็นความสำคัญ และจำเป็นของการมีรถไฟนั่งเอง
    <TABLE border=0 width=351 align=center><TBODY><TR><TD width=180>[​IMG]











    </TD><TD width=161>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระบาทสมเด็จ พระจุลจมอเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินินาถ ทรงประกอบพิธีเปิด ทางรถไฟสายนครราชสีมา










    </TD><TD>รถไฟสมัยแรกมี











    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2413 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์ และเมืองเบตาเวีย และเมื่อ พ.ศ. 2418 พระองค์ได้เสด็จประพาศอินเดีย ซึ่งในการเสด็จประพาสทั้งสองคราว พระองค์ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตร การสร้างรถไฟ ที่เมืองเบตาเวีย และได้ประทับรถไฟในประเทศอินเดีย จนเป็นที่ทรงประทับพระราชหฤทัย ของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ทำให้พระองค์ ตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมในด้านการรถไฟตั้งแต่นั้นมา
    <!-- ้history -->
    ครั้นเมือถึง พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระราชโองการ สำรวจพื้นที่เพื่อทำการสร้างทางรถไฟหลวงขึ้น จาก "ประกาศเซอร์เวทางรถไฟ" มีข้อความตอนหนึ่งว่า
    "สมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้า เจ้ากรุงสยาม ทั้งฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ แลดินแดนทั้งหลาย ที่ใกล้เคียง คือ ลาวเฉียง ลาวกาว มลายู กเหรี่ยง ฯลฯ



    .....ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า บัดนี้ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ เลฟ เตแนน เยเนอราล เซอร์ แอคูคลาก รอแยลอินซเนีย กับนายห้างวิลเลี่ยม เฮนรี ปันซาด วิลเยียมเบล แมกตัดคาตผรานซิส วิลเลี่ยมเลาเถอ แลวิลเลี่ยม ชาร์ลส์ ปันชาด เหล่านี้ ตระเตรียมทำการเซอรเวทางรถไฟใหญ่ ที่จะไปจาากรุงเทพฯ ถึงเมืองนครเชียงใหม่ ผ่านไปตามทางบางปอิน กรุงเก่า และตามฝั่งซ้ายลำน้ำปาศัก ไปยังพระพุทธบาทเมืองลพบุรี เมืองนครสวรรค์ เมืองอุตรดิฐ เมืองแพร่ เมืองนครลำปาง แลเมืองลำพูน แลมีทางแยกตามนี้คือ
    1. ตั้งแต่เมืองสระบุรี ไปถึงเมืองนครราชสีมา
    2. ตั้งแต่เมืองอุตรดิฐ ไปยังตำบลท่าเดื่อ
    3. ตั้งแต่เมืองนครเชียงใหม่ ไปยังเมืองเชียงรายและเชียงแสน... ประกาศแต่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ณ วันที่ 6 เดือน 5 ขึ้น 4 ค่ำ ปีชวด ยังเป็นนพศก จุลศักราช 1249 เป็นวันที่ 7066 ฤๅปีที่ 20 รัชกาลประจุบันนี้ฯ
    ต่อมาอีก 3 ปี คือหลังจากที่ทำการสำรวจพื้นที่ เพื่อทำการสร้างทางรถไฟเสร็จแล้ว ก็ได้มีพระบรมราชโองการ "ประกาศสร้างทางรถไฟสยาม แต่กรุงเทพฯ ถึงนครราชสีห์มา" เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433 มีข้อความตอนหนึ่งว่า
    "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ มีพระราชหฤทัย รำพึงถึงเหตุการ ซึ่งจะทรงทนุบำรุงกรุงสยามให้รุ่งเรืองเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นไป ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมา ระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้เกิดความเจริญ แก่บ้านเมืองได้เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถไฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมือง ซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยาก ให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ ไปมาถึงกันได้สดวกเร็วพลัน การย้ายขนสินค้าไปมา ซึ่งเป็นการลำบาก ก็สามารถจะย้ายขนไปมาถึงกันได้โดยง่าย... เป็นการเปิดโอกาสให้ อาณาประชาราษฎร มีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไป แลทำทรัพย์สมบัติกรุงสยาม ให้มากมียิ่งขึ้น ด้วยทั้งเป็นคุณประโยชน์ ในการบังคับบัญชา ตรวจตราราชการ บำรุงรักษาพระราชอาณาเขตร ให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นศุกข์ได้โดยสดวก อาไศรยเหตุทั้งปวงนี้ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชดำริห์ พร้อมด้วยความคิดท่านเสนาบดี เห็นสมควรจะสร้างทางรถไฟ ตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีห์มา เป็นสายแรก..."
    ในการสร้างทางรถไฟสายแรกนี้ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ กรมหมื่นนคราธิปประพันธ์พงษ์ รองเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ประกาศขายหุ้น ลงทุนในการสร้างทางรถไฟหลวง สายนครราชสีมา ให้แก่ประชาชนด้วย ดดยแบ่งเป็นหุ้น ไม่เกิน160,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 1 ชั่ง 20 บาท (100 บาท)
    สำหรับเงินทุน ที่จะใช้ในการก่อสร้างนั้น ปรากฏว่า ได้กำหนดกันไว้ ไม่เกิน 200,000 ชั่ง และกำหนดเวลาสร้าง ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2434 ให้แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2439
    ในที่สุด การสร้างทางรถไฟหลวงสายแรก ก็ได้เริ่มต้นขึ้น โดยกระทรวงโยะาธิการ เจ้าสังกัดกรมรถไฟ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ว่าจ้าง มิสเตอร์ ยี มูเร แคมป์เบลล์ ซึ่งเป็นพ่อค้าใหญ่ในประเทศอังกฤษ เป็นผู้ทำทางรถไฟสายแรก โดยกำหนดวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 เป็นวันที่จะเริ่มพูนดินถมทางรถไฟ
    ครั้นวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 เวลา 17.00 น. เศษ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชพิธีทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟหลวง ณ ปรำพิธี ที่ฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม ตรงข้ามวัดเทพศิรินทราวาส
    เมื่อถึงเวลาพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ประทับที่พระราชบัลลังก์ ท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ทูตานุทูต และชาวต่างประเทศ ที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
    ต่อจากนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขันนริศรานุวัตติวงษ์ เสนาธิบดีกระทรวงโยธาธิการ ได้กราบบังคมทูลรายงาน แล้วพระองค์ ทรงมีพระราชดำรัสตอบ เสร็จแล้วเสด็จพระราชดำเนินจากพระราชบัลลังก์ ประทับที่ตรงดิน ซึ่งจะขุดเป็นพระฤกษ์ มิสเตอร์ มิศเชล ผู้แทนมิสเตอร์แคมป์เบลล์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ทางรถไฟหลวงสายแรก จึงกราบบังคมทูลพระกรุณา เสร็จแล้ว ทูลเกล้าฯ ถวายเสียมเงิน และเกวียนเล็ก สำหรับพระฤษ์ขุดดิน
    ครั้นมีพระราชดำรัสตอบแสดงพระราชหฤทัยยินดีสมควรแล้ว พระองค์ ก็ทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดิน ที่จะขุดเป็นพระฤกษ์ แล้วทรงใช้เสียมเงิน ตักดินเทลงในเกวียนเล็ก ขณะนั้น พระสงฆ์ถวายชัยมงคลคาถา ชาวประโคม ประโคมดุริยดนตรี ทหารถวายคำนับ และบรรเลงเพลงแตรสรรเสริญพระบารมี เมื่อทรงตักดินเทลงในเกวียนพอสมควรแล้ว ก็โปรดฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ ทรงไสเกวียนดินไปตามราง ซึ่งวางไปตามปรำ
    เมื่อถึงที่ต้นทาง ที่จะทำทางรถไฟแล้ว พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเทดินลงถมที่นั้น แล้วคนงานทั้งหลาย จึงได้ลงมือขุดดิน ตามแนวทางที่ได้ปักกรุยไว้

    นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา การก่อสร้างทางรถไฟหลวงสายแรก ก็ได้ทำกันอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ต่อมากรมรถไฟหลวง ซึ่งมี มิสเตอร์ เบทเก เป็นเจ้ากรมรถไฟก็ได้บอกเลิกสัญญารับเหม ที่มิสเตอร์ แคมป์เบลล์ทำหว้ เพราะผู้รับเหมา ไม่ทำตามสัญญา (ผู้รับเหมาสร้างทางรถไฟ ต่อจากมิสเตรอ์ แคมป์เบลล์ ไม่ทราบว่าเป็นใคร เพราะไม่มีรายงานบอกไว้)
    หลังจากที่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธี สร้างทางรถไฟหลวงสายแรกแล้ว ต่อมาอีก 5 ปีเศษ การสร้างทางรถไฟหลวงสายแรก ก็ได้สำเร็จลงตอนหนึ่ง คือ ตอนตั้งแต่ กรุงเทพฯ ถึงกรุงเก่า เป็นระยะทาง 79 กิโลเมตร สิ้นเงินค่าก่อสร้าง ประมาณ 480,000 บาท​

    ดังนั้น จึงจัดให้มีพระราชพิธีเปิดทางรถไฟสายนครราชสีมา ระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่าขึ้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439<TABLE border=0 width=355 align=center><TBODY><TR><TD width=182>
    [​IMG]








    </TD><TD width=163>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    รถไฟปล่องกระโถน กับโบกี้ รุ่นคุณปู่ ​








    </TD><TD>รถด่วน กำลังจะออกจากสถานี รถไฟกรุงเทพฯ




    <TABLE border=0 width=540><TBODY><TR><TD colSpan=2 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE><!-- Start HISTORY --><TBODY><TR style="DISPLAY: list-item" id=TR1><TD>
    ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย​
    ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศทั้งหลายที่เจริญแล้วในโลก นับตั้งแต่สมัยตั้งกรุงสุโขทัยตลอดจนกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงสุโขทัยตลอด จนกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
    พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ซึ่งทรงเป็นประมุขของ ประเทศได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการคมนาคมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำความ รุ่งเรืองมาสู่ชาติเสมือนโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำรงอยู่ และในบรรดาทางเดินของ โลหิตสายนั้นการรถไฟคือทางเดินของโลหิตสำคัญสายหนึ่ง ซึ่งในราชอาณาจักรไทย สมัยก่อน ๆ ยังไม่เคยมีเค้ารูป และโครงการอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะแสดงให้เป็นที่ ปรากฏชัดว่าการคมนาคมทางบกภายในประเทศจะมีการขนส่งโดยทางรถไฟของ รัฐบาลเกิดขึ้นเลย เพราะในเวลานั้นประชาชนยังนิยมใช้สัตว์ เช่น โค กระบือ ม้า ช้าง และเกวียน เป็นพาหนะเพื่อประโยชน์ในการเดินทางและในการลำเลียงสินค้าต่าง ๆ จากถิ่นหนึ่งไปยังอีกถิ่นหนึ่งจนกระทั่งการขนส่งโดยทางรถไฟได้เริ่มมีชีวิตจิตใจขึ้น จนสำเร็จเป็นรูปร่างอันสมบูรณ์ในรัชสมัย " พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตน-โกสินทร์ " โดยมีประกาศ พระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยาม ตั้งแต่ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433
    ก่อนที่การรถไฟหลวงจะถือกำเนิดขึ้นนั้นปรากฏว่าในปีพุทธศักราช 2398 รัฐบาลสหราชอาณาจักรอังกฤษ ให้ เซอร์ จอห์น เบาริง (Ser John Bowring) ผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม พร้อมด้วย มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค (Mr. Harry Smith Parkes) กงสุลเมืองเอ้หมึง เป็นอุปทูล เดินทางโดยเรือรบหลวงอังกฤษเข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิ สัญญาทางราชไมตรีฉบับที่รัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ทำไว้กับรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 ซึ่งในกาลนั้น มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค ได้นำสนธิสัญญาฉบับใหม่ออกไปประทับตราแผ่นดินอังกฤษ แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนสนธิสัญญากับฝ่ายไทย กับอัญเชิญ พระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการของสมเด็จพระนางวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษเข้ามาเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย แด่ พระบาทสมเด็จ-พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 อาทิ รถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริงประกอบด้วย รถจักรไอน้ำ และรถพ่วงครบ ขบวน เดินบนรางด้วยแรงไอน้ำทำนองเดียวกับรถใหญ่ที่ใช้อยู่ในเกาะอังกฤษ (ขณะนี้รถไฟเล็กได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ) ราชบรรณาการในครั้งนั้นสมเด็จพระนางวิคตอเรีย
    ทรงมีพระราชประสงค์จะให้เป็นเครื่องดลพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงคิดสถาปนากิจการรถไฟขึ้นในราชอาณาจักรไทย แต่เนื่องจากในขณะนั้นภาวะเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในฐานะ ไม่มั่นคง และมีจำนวนพลเมืองน้อย กิจการจึงต้องระงับไว้
    [​IMG]
    ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เหตุการณ์ทางด้านการเมือง สืบเนื่องมาจากนโยบายขยาย อาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณแหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคม โดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่ อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑล ชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่ รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อ สร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบล ท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็น ตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม
    พ.ศ. 2430
    เมื่อได้สำรวจแนวทางต่าง ๆ แล้ว รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าจุดแรกที่สมควรจะสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเมืองหลวงของไทยก่อนอื่น คือ นครราชสีมา ดังนั้นในเดือนตุลาคม 2433 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งกรมรถไฟขึ้น สังกัดอยู่ในกระทรวงโยธาธิการ มีพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นเสนาบดี และนาย เค. เบ็ทเก ( K. Bethge ) ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟ พร้อมกันนั้นได้เปิดประมูลสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ - นครราชสีมา เป็นสายแรก ณ ที่ทำการรถไฟกรุงเทพ ปรากฏว่า มิสเตอร์ จี มูเร แคมป์เบล แห่งอังกฤษ เป็นผู้คำประกันประมูลได้ในราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาเป็นเงิน 9,956,164 บาท
    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิ-การว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราช ดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการ สร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึง พระกรุณาธิคุณ
    ในปี พ.ศ.2439 การก่อสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ - นครราชสีมา สำเร็จบางส่วนพอที่จะเปิดการเดินรถได้ ดังนั้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟ ระหว่าง สถานีกรุงเทพ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่าง กรุงเทพ - อยุธยา ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม
    พ.ศ.2439 เป็นต้นไป ในระยะแรกเดินขบวนรถขึ้นล่องวันละ 4 ขบวน มีสถานีรวม 9 สถานี คือ สถานีกรุงเทพ บางซื่อ หลักสี่ หลักหก คลองรังสิต เชียงราก เชียงรากน้อย บางปะอิน และกรุงเก่า ซึ่งการรถไฟฯ ได้ถือเอา " วันที่ 26 มีนาคม " เป็น วันสถาปนากิจการรถไฟ สืบมาจนถึงปัจจุบัน
    ต่อจากนั้นก็ได้เปิดการเดินรถต่อไปอีกเป็นระยะ ๆ จากอยุธยา ถึง แก่งคอย มวกเหล็ก ปากช่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2443 การ สร้างทางรถไฟสายนครราชาสีมา ได้เสร็จเรียบร้อย และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรง เปิดการเดินรถสายนี้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2443 รวมระยะทางจาก กรุงเทพ - นครราชสีมา ทั้งสิ้น 265 กิโลเมตร สิ้นเงินในการ ก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ 17,585,000 บาท
    เมื่อการก่อสร้างทางรถไฟสายแรกสำเร็จลงตามพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงพิจารณาสร้างทางรถไฟสายอื่น ๆ ต่อไป จนกระทั่ง สิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระผู้พระราชทานกำเนิดกิจการรถไฟในประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453
    [​IMG] [​IMG]
    ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแทนพระบรมราชชนก ก็ได้ทรง พิจารณาเห็นว่ากิจการของกรมรถไฟสายเหนือและกรมรถไฟสายใต้ ซึ่งแยกกันอยู่ไม่สะดวกแก่การบังคับบัญชาและบริหารงาน ตลอดจน ไม่เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ดังนั้นเมื่อ
    วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2460 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกิจการรถไฟทั้ง 2 กรม เข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า " กรมรถไฟหลวง " กับได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้พระเจ้าน้องยาเธอ " กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน " ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก
    ในสมัยที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงอยู่นั้น ทรงเล็งเห็นการณ์ไกล และทรงตระหนักดีว่าการใช้รถจักรไอน้ำลากจูงขบวนรถ นอกจากจะไม่สะดวกและประหยัดแล้ว ลูกไฟที่กระจัดกระจายออกมา ยังเป็น อันตรายได้ พระองค์จึงทรงสั่งรถจักรดีเซล จำนวน 2 คันมาจากสวิสเซอร์แลนด์ เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก
    [​IMG] [​IMG]
    ซึ่งรถจักรดีเซลไฟฟ้าคันแรก เลขที่ 21 ได้ออกวิ่งรับใช้ประชาชนเมื่อ พ.ศ.2471 ปัจจุบันรถจักรประวัติศาสตร์คันนี้ยังคงอยู่ การรถไฟฯ ได้นำมาติดตั้งที่ ตึกบัญชาการรถไฟ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ต่อไป และเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้ให้กำเนิด รถจักรดีเซลขึ้นในเมืองไทย
    รถจักรดีเซลทุกคันที่ใช้การอยู่ในการรถไฟฯ ขณะนี้จึงได้ประดับเครื่องหมาย "บุรฉัตร" อันเป็นพระนาม ของพระองค์ ติดที่ด้านข้างของรถจักรดีเซลทุกคันที่สั่งเข้ามา เพื่อเป็นการรำลึกและเทิดพระเกียรติแห่งพระองค์ท่านสืบไป
    [​IMG] [​IMG]
    กิจการรถไฟซึ่งได้เริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 นับตั้งแต่ปี
    พ.ศ.2439 จนกระทั่งสิ้น รัชสมัยของพระองค์ในปี พ.ศ.2453 มีทางรถไฟที่เปิดใช้เดินรถรวมทั้งสิ้น 932 กิโลเมตร และกำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จอีก 690 กิโลเมตร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีทางรถไฟที่เปิดใช้ทั้งหมด 2,581 กิโลเมตร และอยู่ในระหว่าง ก่อสร้างอีก 497 กิโลเมตร
    ส่วนในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ทรงดำเนินรัฐประศาสโนบายในการบำรุงการคมนาคม เช่นเดียวกับรัชกาลก่อน ๆ แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังปั่นป่วน ดังนั้น การก่อสร้างทางรถไฟสมัยนี้จึงเป็นไปได้ อย่างล่าช้า โดยมีทางรถไฟเพิ่มขึ้นใหม่อีก 418 กิโลเมตร
    กิจการรถไฟในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันนทมหิดล รัชการที่ 8 ก็เช่นเดียวกันกับ
    รัชการก่อน ประเทศไทยต้อง ประสบกับสภาวะทางการเงิน และสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การก่อสร้างทางรถไฟไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร โดยมีทางรถไฟก่อสร้างเพิ่ม อีก 259 กิโลเมตร
    [​IMG] [​IMG]
    สำหรับกิจการรถไฟในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการรถไฟประสบภัยสงครามอย่างหนัก ทรัพย์สินทั้งทางอาคาร และรถจักรล้อเลื่อน ได้รับความเสียหายมาก จำต้องเริ่มบูรณะฟื้นฟู ให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว ถ้าจะอาศัยเงินลงทุนจากงบประมาณของรัฐแหล่งเดียวจะไม่ทันการณ์ รัฐบาลจึงต้องขอกู้เงินจากธนาคารโลก มาสมทบ
    ในระหว่างเจรจากู้เงินนั้น ธนาคารโลกได้เสนอให้รัฐปรับปรุงองค์กรของกรมรถไฟหลวง ให้มีอิสระกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารกิจการรถไฟในเชิงธุรกิจ
    ในปี พ.ศ.2494 รัฐบาลสมัย จอมพล.ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาเห็นสมควรจัดตั้งกิจการรถไฟเป็นเอกเทศ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ต่อรัฐสภา และได้มีพระบรมราชโองการให้ตราเป็นพระราช บัญญัติขึ้นไว้ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2494 กรมรถไฟหลวงจึงเปลี่ยนฐานะมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทสาธารณูปการภายใต้ชื่อว่า "การรถไฟแห่งประเทศไทย" ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 เป็นต้นมา โดยการดำเนิน งานอยู่ภายใต้ พรบ.การรถไฟฯ ฉบับ พ.ศ.2494
    คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยขึ้นมีหน้าที่ควบคุม ดูแลกิจการขององค์การประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน คณะกรรมการ อีก 6 คน ผู้ว่าการรถไฟฯ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และรัฐได้มอบเงินจำนวน 30 ล้านบาท ให้เป็นเงินสมทบทุนประเดิมของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีพลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นผู้ว่าการ รถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 ซึ่งในหลักการรัฐ ควบคุมการแต่งตั้งและปลดผู้บริหาร คุมอัตราเงินเดือนพนักงาน คุมอัตราค่าโดยสาร และค่าระวาง คุมการเปิด-ปิดเส้นทางและการบริการ และการควบคุมการลงทุน ทั้งหมด แต่หากดำเนินงานขาดทุน รัฐชดเชยให้เท่าจำนวนที่ขาด
    ปัจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,346 กิโลเมตร โดยเป็นทางคู่ช่วง กรุงเทพ - รังสิต ระยะทาง 31 กิโลเมตร และเป็นทางสามช่วงรังสิต - ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 59 กิโลเมตร โดยมีเส้นทาง ดังนี้

    - ทางสายเหนือ ถึง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 751 กิโลเมตร
    - ทางสายใต้ ถึง จังหวัดนราธิวาส( สุไหลโก-ลก ) ระยะทาง 1,143 กิโลเมตร และสถานีปาดังเบซาร์ ระยะทาง 974 กิโลเมตร
    - ทางสายตะวันออก ถึง จังหวัดสระแก้ว( อรัญประเทศ ) ระยะทาง 255 กิโลเมตร และนิคมอุตสาหกรรมมาบตะพุต ระยะทาง 200 กิโลเมตร
    - ทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึง จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทาง 575 กิโลเมตร และจังหวัดหนองคาย ระยะทาง 624 กิโลเมตร
    - ทางสายตะวันตก ถึง สถานีน้ำตก จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 194 กิโลเมตร
    - ทางสายแม่กลองช่วงวงเวียนใหญ่ - มหาชัย ระยะทาง 31 กิโลเมตร และช่วงบ้านแหลม - แม่กลอง ระยะทาง 34 กิโลเมตร ​
    นอกจากนั้นยังมีการสร้างทางอีกหลายเส้นทาง อาทิ คลองสิบเก้า - บ้านภาชี - แก่งคอย - ศรีราชา - แหลมฉบัง - เขาชีจรรย์ - มาบตาพุด เพื่อให้รับโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกอีกด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 สิงหาคม 2014
  11. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    จอดรถไฟเติมน้ำ เติมฟืนเพื่อเป็นเชื้อเพลิงพลังงานขับเคลื่อนการเดินทางไว้ก่อน กลับไปดูการสร้างทางสาธารณของท่านมาฆ มานพต่อ

    พี่บุญทรง มาต่อเรื่องของท่านมาฆมานพฉบับวัดท่าซุง สำนวนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    ท้าวโกสีย์สักกเทวราช
    โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง ธัมมวิโมกเล่มที่ 30 ปีที่ 4

    ต่อไปนี้ก็จะได้นำเรื่องราวของท้าวโกสีย์สักกเทวราชมาเล่าแก่บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย

    ในตอนนั้นองค์สมเด็จพระบรมโลกษฐ์ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหารองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาทรงปราภท้าวสักกะ คือพระอินทร์ เหตุฉะนั้น องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์จึงได้ตรัสเป็นพระธรรมเทศนาว่า


    "มาตาเปติภะรัง ชันตุง กุเล เชษฐาปัจจายินัง"

    เนื้อความตอนนี้มีความเกี่ยวข้องกับท่านมาฆมานพและบรรดาคณะของท่านที่ตายจากความเป็นคนแล้ว ก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก ท่านมาฆมานพก็ไปเกิดเป็นพระอินทร์ มีนามว่า ท้าวโกสีย์สักกเทวราช มีเวชยันต์วิมานอยู่ท่านกลางเป็นวิมานใหญ่ มีนางฟ้าแวดล้อมตั้ง ๑ แสนองค์ประจำวิมาน

    สำหรับอานิสงค์ท่านพวกท่านทำกันคือ สร้างศาลาเป็นสาธารณะกุศล ต่างคนต่างก็มีวิมานกันคนละหลัง

    สำหรับช้างก็ไปเกิดเป็น เอราวัณเทพบุตร มีวิมานอยู่หนึ่งหลัง

    สำหรับนายช่างไปเกิดเป็น วิษณุกรรมเทพบุตร มีวิมานอีกหนึ่งหลังเหมือนกัน

    เมื่อคณะของท้าวโกสีย์สักกเทราชไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลกแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงตรัสว่านอกจากจะมีวิมานเป็นที่อยู่ สมเด็จพระบรมครูก็ยังกล่าวถึงอานิสงค์ว่าการที่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นพากันปลูก ต้นทองหลาง ให้เป็นที่พักอาศัยของบรรดาปวงชนทั้งหลาย ต้นทองหลางนั้นก็กลายเป็นต้น ปาริชาติ เป็นต้นไม้ทิพย์มีกลิ่นหอมไปทั่วดาวดึงส์เทวโลก


    สำหรับที่ท่านวางแท่นหินที่โคนต้นไม้เป็นที่รองนั่งของคนเดินไปเดินมา อานิสงค์ของการวางแท่นหินเป็นที่อาศัยของคนเดินทาง ก็กลายเป็น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เป็นที่ประทับของท้าวโกสีย์สักกเทวราช

    และการที่ท่านทั้งหลายสร้างสระน้ำไว้คิดว่าคนเดินท่างมาไกลอาจจะร้อนจะได้กินน้ำมีความสบาย อาศัยการขุดบ่อน้ำนี้ก็ไปเกิดเป็น สระโบกขรณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 สิงหาคม 2014
  12. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    สำหรับท่านสุธรรมา ตายจากความเป็นคนก็เกิดเป็นนางฟ้ามีวิมานอยู่หนึ่งหลัง และสำหรับส่วนตัวนอกจากจากนั้นท่านก็เป็นชายาของพระอินทร์ตามเดิม ในสมัยที่เป็นมนุษย์ท่านก็เป็นภรรยาของท่านมาฆมานพ ในเมื่อมาฆมานพไปเกิดเป็นพระอินทร์ก็อาศัยบุญบารมีที่ท่านสุธรรมาสร้างช่อฟ้าสวมหลังคาหลังนั้นเป็นเหตุให้ท่านได้วิมาน ๑ หลังเป็นที่อยู่ของตนและอานิสงค์ที่ท่านสุธรรมาเอาช่อฟ้าไปสวมที่ศาลาหลังนั้นจึงได้เกิดเป็นวิมานหลังหนึ่งเป็นที่ประชุมของเทวดา ซึ่งมีนามว่า สุธรรมา

    สำหรับท่าน สุจิตรา เมื่อตายจากความเป็นคนก็ไปมีวิมานหนึ่งหลังเหมือนกันเป็นชายาของพระอินทร์ด้วยอานิสงค์ของนางที่ได้สร้างสวนดอกไม้ใกล้สระน้ำ หวังว่าคนเดินไปเดินมาเมื่อได้อาบน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้วก็อยากจะมีความสุข อาศัยการทัดทรงดอกไม้หรือว่านำดอกไม้หอมมาดมจะเกิดความสุขอานิสงค์อันนี้เป็นเหตุให้เกิด สวนจิตลดา ขึ้นมาข้างสระโบกขรณี


    สำหรับ ท่านสุนันทา นี้ คิดว่าท่านสุธรรมาเขาก็สร้างช่อฟ้า ท่านสุจิตราเขาก็สร้างสวนดอกไม้ ท่านจึงคิดว่าคนที่เดินไปเดินมาบนทางเปลี่ยวอาจจะมีความหิวโหยในอาหาร ท่านจึงปลูกสวนผลไม้ คือต้นไม้ที่มีผลกินได้ต่างๆ ขึ้นข้างสระโบกขรณีอาศัยที่ท่านทำอย่างนี้เมื่อไปเกิดเป็นนางฟ้าก็เป็นชายาของพระอินทร์เหมือนกัน และเกิดมีสวน นันทวัน เกิดขึ้นเป็นสวนทิพย์เป็นที่รื่นรมย์ของเทวดาทั้งหลาย


    ยังมีอีกคนหนึ่งคือ ท่านสุชาดา เป็นภรรยาคนสุดท้าย ท่านสุชาดานี่มีความรู้สึกว่าสามีทำอะไรเราเป็นภรรยาย่อมได้ด้วย จึงไม่ทำอะไรทั้งหมดนอกจากแต่งตัวให้สวยเป็นที่ชื่นใจของสามี แต่ว่าอานิสงค์ที่ท่านแต่งตัวสวยๆแบบนี้ก็เกิดประโยชน์ ท่านตายจากคนก็ไปเกิดเป็น นกยาง นกยางสีสวย ขนขาว มีเท้าแดง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 สิงหาคม 2014
  13. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    เมื่อท่านมาฆมานพหรือพระอินทร์ได้พิจารณาว่าคนที่ร่วมบุญบารมีกับเราใครหนอที่ไม่มาเกิดพร้อมเรา ก็พิจารณาไปว่าคณะทั้งหมดเกิดเป็นเทวดาทั้งหมด แม้แต่เอราวัณเทพบุตรกับวัฑฒกีย์เทพบุตรเป็นนายช่าง

    สำหรับภรรยาทั้งสามคือ สุธรรมา สุจิตรา สุนันทาก็มาเกิดทั้งหมด ปรากฏว่ายังขาดอีกคนหนึ่งคือ สุชาดา จึงได้พิจารณาด้วยทิพยเนตรอันเป็นทิพย์ ก็ทราบว่าท่านสุชาดาเธอเป็นคนประมาทไม่สร้างบุญ ไม่สร้างกุศลแต่ก็ทำตนเป็นคนดี เวลานี้อาศัยที่ความบาปไม่มีคือเรียกว่า ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฏ เมื่อตายไปแล้วจึงไปเกิดเป็นนกยางหาอาหาร คือปลา กินอยู่ท่ามกลางสระแห่งหนึ่ง


    พระอินทร์หวังจะมีการสงค์เคราะห์ท่านสุชาดาในฐานะที่เคยเป็นภรรยามาก่อน พระองค์จึงได้เสด็จไปในที่นั้นแล้วก็แปลงเป็นปลาว่ายมาใกล้ๆ นกยางสุชาดา

    นกยางสุชาดาเห็นเข้าก็คิดว่าปลาตัวนี้ตัวโตเป็นอาหารอันโอชะ จึงใช้จงอยปากจิกปลาตัวนั้น แต่ปลาตัวนั้นเป็นปลาพระอินทร์ก็ดิ้น ยิ่งดิ้นท่านก็ขยับปากให้แรงขึ้น ในที่สุดพระอินทร์ก็สลัดหลุดแล้วก็แสดงตนเป็นพระอินทร์จึงกล่าวว่า

    สุชาดา เธอเคยเป็นภรรยาของฉันในสมัยที่ฉันเป็นมาฆมานพ ที่ฉันมาในคราวนี้เพื่อจะปรารภ เพราะว่าท่านทั้งสาม คือ สุนันทา สจิตรา สุธรรมา ซึ่งเป็นภรรยาเหมือนกัน เขาทำบุญทำกุศลร่วมกับฉันเขาไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก แต่ว่าเธอกลับมาเกิดเป็นนกยางเพราะไม่ได้สร้างความดี แล้ววมาในขณะนี้ก็ยังจะมาฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพื่อหวังชีวิตของตนฝ่ายเดียว ชีวิตของตนเองเป็นชีวิตเดียวแต่ต้องฆ่าอีกหลายชีวิตเพื่อรักษาตน ผลอันนี้มันเป็นอกุศลเธอไมควรจะทำบาปอีกต่อไป

    และท้าวโกสีย์สักกเทวราชจึงได้กล่าวต่อไปว่า

    เธออยากจะพบเพื่อนเธอทั้งสามไหม?

    ท่านสุชาดาอาศัยกำลังใจของพระอินทร์เป็นทิพย์พูดกันก็รู้เรื่องก็อยากจะพบ พระอินทร์ก็พาไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลกก็ไปบอกท่านทั้งสามให้มาดูว่าเวลานี้สุชาดาเกิดเป็นนกยาง

    ท่านทั้งสาม มีท่านสุธรรมา สุจิตรา สุนันทา มาเห็นเข้าก็เยาะเย้ยชมเชยท่านสุสุชาดา ว่า

    "สุชาดา สมันที่เป็นมนุษย์ ก็เป็นคนสวยเป็นที่โปรดปรานของสามี แต่งตัวสวยทั้งวัน เวลานี้เกิดเป็นนกยางก็สวย จงอยปากก็สวย ขนก็ขาวสะอาด เท้าก็แดง"

    ชมไปชมมาเป็นเหตุในให้ท่านน้อยใจขอให้ท้าวโกสีย์สักกเทราชนำกลับมาที่เดิมใหม่

    ท้าวโกสีย์สักกเทวราชถามเธอว่า

    "เธอเห็นวิมานหรือยัง เห็นสมบัติของความเป็นเทวดาแล้วหรือยัง?"

    ท่านก็ตอบว่า "ท่านก็ตอบว่าเห็นแล้ว"

    พระอินทร์ก็ถามว่า
    "เธออยากจะมีวิมานอยู่บ้างไหม เป็นนกยางอยู่อย่างนี้มันดีหรือไม่ดี?"
    ท่านก็ตอบว่า "ไม่ดี สู้เทวดาไม่ได้"

    ฉะนั้นท้าวโกสีย์สักกเทวราชจึงแนะนำว่า
    "นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เธอจงอย่ากินปลาเป็น ถ้าปลาตายเป็นอาหารเป็นเหยื่อของเราได้เราก็กิน ถ้าสัตว์ยังมีชีวิตอยู่จงอย่ากินเพราะว่ามันบาป จะไม่มีโอกาสไปเกิดเป็นเทวดาจะกลายเป็นตกนรกไป"


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 สิงหาคม 2014
  14. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    ท่านก็ยอมรับคำ นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ก็หาแต่สัตว์ตาย จะพึงกินมันก็หายาก

    มาวันหนึ่งพระอินทร์ท่านก็แปลงเป็นปลาตายลอยน้ำมา ท่านสุชาดาเห็นว่าปลาตายลอยน้ำก็จึงเอาจงอยปากเข้าไปจิก พอจิกปลาก็กลับดิ้น พอดิ้นท่านก็ปล่อย ปลาก็แปลงกายเป็นพระอินทร์ตามเดิม แล้วกล่าวว่า

    "เธอทำอย่างนี้ดีแล้วน้องแก้วถ้าเธอหมดชีวิตความเป็นนกยาง จะได้เป็นเทวดาเพราะการรักษาศีลเป็นเหตุ"

    ตอนนี้สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ก็ทรงตรัสว่าท่านสุชาดาหาอาหารไม่ถนัด ปลาตายมันหายาก แต่ว่าจิตใจของเธอก็ตั้งใจหมายมั่นปั้นมือว่าตายคราวนี้เราเป็นเทวดาแน่ ร่างกายความเป็นนกยางเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่มีความหมาย

    อาศัยที่อาหารของเธอไม่ได้ตามความประสงค์เลี้ยงร่างกายไม่พอไม่ช้าเธอก็ตาย พอตายแล้วก็ยังไม่ได้ไปเกิดบนสวรรค์ เพราะว่าการทำบุญครั้งนั้นจิตใจยังเป็นสัตว์ก็ไปเกิดเป็นลูกของ นายช่างปั้นหม้อ นายช่างปั้นหม้อคนนี้ก็เป็นคนมีฐานะดีมากขั้นคหบดี

    ต่อมาท้าวโกสีย์สักกเทวราชก็พิจารณาว่าเวลานี้ท่านสุชาดาไปใหน ก็ทราบว่าท่านสุชาดาไปเกิดเป็นลูกสาวของนายนายช่างปั้นหม้อ มีฐานะใหญ่โตเป็นคหบดี

    ท้าวโกสีย์สักกเทวราชปรารถนาจะให้เธอรักษาความดีคือทรงศีลห้าให้บริสุทธิ์แต่ความจริงในสมัยที่เกิดเป็นนกยาง พระอินทร์สอนศีลห้าอยู่แล้วจึงได้รักษาศีลห้าข้อ แต่ว่าเวลานั้นนกไม่มีโอกาสที่จะทำอย่างอื่นนอกจากปาณาติบาต อาศัยอารมณ์ใจที่เป็นทิพย์รักษาศีลไว้ได้ดี พอเกิดเป็นลูกสาวช่างปั้นหม้อก็ไปเป็นคนรักษาศีลห้าเป็นปกติ นับตั้งแต่เกิดเป็นต้นมา ก็ไม่เคยล่วงละเมิดศีลห้าข้อใดข้อหนึ่ง

    ฉะนั้นพระอินทร์จึงได้แปลงกายเป็นพราหมณ์แล้วเนรมิตเกวียนเนรมิตวัวสำหรับเดินทางแล้วก็นำทองคำเท่าลูกฟักหนักเท่าตัวคน มาประกาศว่า

    บรรดาประชาชนทั้งหลายมีใครบ้างที่รู้จักศีลห้าประการ และรักษาศีลห้าประการได้ครบถ้วน เราจะมอบทองคำนี้ให้เป็นรางวัล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 สิงหาคม 2014
  15. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    ในสมัยนั้นไม่มีพระพุทธเจ้าแล้วก็ไม่มีพระสงฆ์คนทั้งหมดก็กล่าวศีลห้าผิด ไม่มีใครถูกก็เดาเอาเพราะอยากจะได้ทองคำ

    แต่ข่าวไปถึงลูกสาวช่างปั้นหม้อพอได้ยินข่าวก็ออกมาดู ท้าวสักกเทวราชก็ย่อมรู้ว่าคนนี้เป็นท่านสุชาดาเพราะอารมณ์เป็นทิพย์ จึงถามว่า

    "เธอรู้จักศีลห้าไหม?"
    ท่านสุชาดาก็บอกว่า ฉันรู้จักศีลห้าและฉันปฏิบัติศีลห้าครบถ้วนบริบูรณ์ไม่ขาดสาย
    ท้าวโกสีย์สักกเทวราชจึงได้ถามว่าศีลห้าข้อมีอะไรบ้าง?
    ท่านก็ตอบถูกหมด และท่านก็บอกว่าศีลห้านี่ฉันรักษาบริสุทธิ์ พระอินทร์จึงมอบทองคำเท่าลูกฟักหนักเท่าตัวคนเป็นสมบัติของเธอ เพราะอาศัยที่เธอมีความดีรักษาศีลห้าบริสุทธิ์ เราขอมอบทองคำนี้ให้

    หลังจากนั้นพระอินทร์ก็เนรมิตกายกลับเป็นสภาพเดิมแล้วก็เล่าประวัติตอนต้นว่า
    เธอกับฉันเคยเป็นสามีภรรยากันมาก่อน เดี๋ยวนี้ฉันไปเกิดเป็นเทวดามีนามว่า ท้าวโกสีย์สักกเทวราช มีวิมานเป็นที่อยู่ ขอให้โฉมตรูสุชาดาที่เคยเป็นภรรยามาก่อนปฏิบัติศีลห้าให้ครบถ้วนจนกว่าจะถึงวันตาย ทองคำนี้เก็บไว้จับจ่ายใช้สอยเป็นเสบียงเลี้ยงตัว ไม่ต้องทำบาป ท่านก็ยอมรับ

    เมื่อท่านยอมรับแล้วก็ปฏิบัติศีลห้าได้ดี เมื่อตายจากความเป็นมนุษย์คราวนี้แทนที่จะได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลกก็ไปเกิดเป็นเทวดาเหมือนกัน แต่เป็น ลูกสาวของอสูร ยังเข้าเขตเวชยันต์วิมานไม่ได้

    เมื่อไปเกิดเป็นลูกสาวของอสูรแล้ว ท่านอสูรทั้งหลายก็มีความรู้สึกว่าลูกสาวของเรานี่ก็สาวครบถ้วนบริบูรณ์สมควรจะมีสามี จึงถามลูกสาวว่า

    เธอต้องการใครบ้าง?
    ลูกสาวก็เฉยไม่แสดงความพอใจ ท่านพ่อจึงกล่าวว่า เอาอย่างนี้ไหม พ่อจะเกณฑ์อสูรมาทั้งหมด ถ้าลูกชอบใจคนใหนก็ส่งพวงมาลัยให้แก่คนนั้น ลูกสาวก็ยอมรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 สิงหาคม 2014
  16. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    ความจริงอสูรเขาแปลว่าผู้มีกายอันไม่กล้า ก็เป็นเทดาพวกหนึ่งมีวิมานเป็นทิพย์เหมือนกัน มีร่างกายเป็นทิพย์มีสภาพอยู่อย่างเป็นสุขเหมือนเทดาทั้งหลาย แต่ภาพที่เขาเขียนไว้หน้ายุ่งๆหน้าไม่ค่อยสวย แต่ว่าท่านสุชาดาไปเกิดในฐานะเป็นลูกสาวของอสูรและก็สวยมากเหมือนนางฟ้าธรรมดา

    ท่านกล่าวว่าคนที่จะเป็นอสูรได้ก็เพราะว่าเวลาทำบุญทำกุศล จิตเป็นกุศล แต่เวลาทำบุญในการนั้นมีโทสะบังคับใจอยู่ หมายความว่าเวลาจะรับศีลก็ดีจะให้ทานก็ดีในตอนนี้คนมากวนใจเกิดโมโหขึ้นมานิดหน่อยในเวลานั้น ตายไปก็เป็นเทวดาเหมือนกัน เขาเรียกว่า เทวดาหน้ายุ่ง เรียกว่าอสูร



    เป็นอันว่าท้าวอสูรผู้เป็นบิดาจึงประกาสแก่กสูรทั้งหลายว่า

    ขอให้อสูรทุกคนแต่งตามฐานะที่มีอยู่และก็มาประชุมกันที่นี้ ถ้าลูกสาวของเราขอบใจใครเรายกให้แก่คนนั้น

    ข่าวนี้ล่วงรู้ไปถึงท้าวโกสีย์สักกเทวราช ทราบว่าท่านสุชาดามาเกิดในที่นั้นก็ต้องการจะเลือกคู่ พระองค์จึงได้แปลงกายเป็นอสูรแก่มานั่งอยู่ท้ายบริษัท
    ท่านสุชาดาเดินเลือกคู่เดินเลือกไปเลือกมาก็ไม่ชอบใครเห็นอสูรแก่ก็ชอบใจ เพราะเป็นคู่บารมีกันมาในกาลก่อน ฉะนั้นบังอรจึงได้ส่งพวงมาลัยให้

    เมื่อส่งพวงมาลัยให้แล้วอสูรแก่เห็นท่าว่าได้เปรียบจึงคว้าข้อมือท่านสุชาดาขึ้นเวชยันต์ราชรถ แล้วรีบหนีไปทันทีทั้งนี้ก็เพราะว่าบรรดาอสูรทั้งหลายก็ย่อมมีอารมณ์ใจอันเป็นทิพย์ ถ้าเขารู้ว่าเทวดาไปที่ก็ไม่ถูกกัน จะต้องเกิดสงครามแน่

    เมื่ออสูรแก่คว้าข้อมือท่านสุชาดาขึ้นเวชยันต์ราชรถไปแล้วบรรดาอสูรทั้งหลายก็มีความแปลกใจว่าอสูรตนนี้มาจากใหน เราเป็นอสูรหนุ่มที่รูปร่างหน้าตาดีกว่าแต่ท่านสุชาดาไม่ชอบ จึงตั้งใจพิสูจน์ด้วยอารมณ์เป็นทิพย์ก็ทราบว่าอสูรแก่นี้ไม่ใช่อสูรแท้เป็นอสูรปลอม คือพระอินทร์ จึงได้พากันยกทัพหวังจะจับพระอินทร์และนำท่านสุชาดาคืน แต่จับไม่ทัน พระอินทร์เข้าเขตเวชยันต์วิมานแล้ว เทวดาทั้งหลายก็ออกสกัด

    เป็นอันว่าท่านสุชาดามาเกิดในคราวนี้เป็นเทวดาแล้วก็มาเป็นภรรยาของท้าวโกสีย์สักกเทวราช ไม่มีวิมานเป็นที่อยู่ต้องอาศัยอยู่ในเวชยันต์วิมานกับพระอินทร์

    เรื่องราวของพระอินทร์ก็จบไปตอนหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 สิงหาคม 2014
  17. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    ตอนต่อไปเมื่อท้าวโกสีย์สักกเทวราชพร้อมด้วยเทวดาทั้งหลายรวมกัน ๓๓ คนไปเกิดในที่นั้นสวรรค์ชั้นนั้นจึงมีนามว่าดาวดึงส์

    คำว่าดาวดึงส์ นี่เขาแปลว่า สามสิบสาม ตามภาษา บาลีว่า ตาวติงสา

    ความจริงอสูรเคยอยู่ที่นี้ แต่ว่าเมื่อเทวดาพวกนี้ไปเกิดขึ้น มีรัศมีกายสว่างกว่าอสูรทั้งหลายก็ไม่ชอบใจหวังจะขับไล่เทวดาพวกนี้ แต่ว่าเทวดาพวกนี้มีฤทธิ์มากกว่า จึงจับอสูรทั้งหลายโยนออกไปนอกเขต ไปอยู่เชิงเขา พระสุเมรุ ตอนนี้เทวดากับอสูรก็รบกัน

    ถึงเวลาที่ต้นปาริชาติออกดอกบานมีความหอมหวลยวนใจถึงเขตของอสูร อสูรก็เสียดายพื้นที่ก็ยกทัพขึ้นมารบกับเทวดา วิธีรบก็คือว่าตั้งสนามไว้จุดหนึ่ง ถามปัญหา อย่านึกว่าเทวดากับอสูรจะรบเหมือนคน เขาไม่รบอย่างคนหรอก

    เมื่อถามปัญหากันขึ้นบางครั้งเทวดาก็แพ้บางครั้งอสูรก็แพ้แต่ว่าเทวดาแพ้ก็ไม่ได้แพ้ทั้งหมด ถ้าแพ้ทั้งหมดก็ต้องจากดาวดึงส์ไปหาที่อยู่ใหม่ แต่อาศัยบุญบารมีของเทวดาพวกนี้ดี แพ้ไม่หมดทุกข้อก็ถือว่าแพ้ไม่เด็ดขาด และอสูรก็ทำอย่างนี้อยู่เสมอเป็นการให้เทวดาขาดกำลังใจ

    ฉะนั้นในกาลครั้งหนึ่งพระอินทร์จึงได้เศกธงขึ้นมาผืนหนึ่งเป็นผ้าธงสีเขียวและก็เศกด้วย อิติปิโส คือ บทพระพุทธคุณ พระธรรทคุณ พระสังฆคุณ เศกด้วยอิติปิโสจนจบโดยนึกถึงบารมีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ปักธงไว้ขอบเขตรอบๆกำแพงของวิมานของพระอินทร์และก็สั่งกับเทวดาว่า

    ถ้าหากอสูรขึ้นไปท้ารบ ถ้าพวกท่านทั้งหลายมีจิตอ่อนไหวจงมองดูธงนี้ท่านก็จะชนะ เป็นอันว่านับตั้งแต่บัดนั้นมาเป็นต้นมาพออสูรขึ้นไปท้ารบโดยการถามปัญหาเทวดาก็มองดูธงก่อนแล้วใจก็นึกถึงองค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดา คือพระพุทธเจ้าแล้วก็พระอินทร์ที่เป็นหัวหน้า

    ฉะนั้นการมาท้ารบโดยการถามปัญหา อสูรก็แพ้ทุกที ทำอย่างนี้ถึงสามวาระปรากฏว่าอสูรทั้งหลายไม่ยอมขึ้นมาบนดาวดึงส์เทวโลกอีกต่อไป

    ต่อมาองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสประวัติความเป็นมาว่าท้าวโกสีย์สักกเทวราชองค์นั้น (ไม่ใช่องค์ปัจจุบัน คือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสมณโคดม นั่นเอง


    แล้วก็ท่านสุธรรมาก็คือ พระนางพิมพาราชเทวี แต่อีกสามท่านนี้มาเกิดเป็นภรรยาไม่ทันก็มาเกิดเป็นพี่ๆน้องๆ ลูกของอาบ้าง ลูกของน้าบ้าง แล้วท่านก็กล่าวว่าบรรดาบริษัททั้งหมดสมัยนั้น ก็มาเป็นพุทธบริษัทสมัยนี้ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายการบำเพ็ญกุศลบุญราศรีที่บรรดาท่านทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว จัดว่าเป็นความดีพิเศษ เพราะตามที่กล่าวมานั้นองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสว่าเป็นสมัยที่ว่างจากพระพุทธศาสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 สิงหาคม 2014
  18. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    ท่านมาฆะมานพกับบรรดาเพื่อนทั้งหลายสงค์คราะห์คนจนด้วยการสร้างทางเพื่อความสะดวก แล้วก็สร้างศาลาเพื่อเป็นที่อาศัยพักเหนื่อย สร้างต้นไม้เป็นที่พักร้อนทำแท่นสำหรับเป็นที่นั่ง แท่นก็เอาหินมาวาง ขุดสระน้ำเป็นที่ดื่มอาศัย


    ท่านสุธรรมาสร้างช่อฟ้าสวมศาลเข้าไว้
    ท่านสุจิตราสร้างสวนดอกไม้
    ท่านสุนันทาสร้างสวนผลไม้

    แต่คนทั้งหลายทำบุญอย่างนี้ยังไม่ครบถ้วนเท่าที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทำในเวลานี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกคนบำเพ็ญกุศลเช่นเดียวกับท้าวโกสีย์สักกเทวราช คือวิหารทานเราก็ทำเรื่องน้ำกินน้ำใช้เราก็ทำ คือสร้างประปาที่วัด แล้วก็เรื่องการปลูกต้นไม้เราก็มี

    เป็นอันว่าบุญกุศลในบุญราศรีที่ท่านท้าวโกสีย์สักกเทวราชทำในวันนั้น ไม่เท่าเรา ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเวลานี้เรามีพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้วแต่พระธรรมวินัยก็คือ พระพุทธเจ้า เราได้ให้ทาน ท่านพวกนั้นไม่ได้ให้ทานปกติ เราได้สมาทานศีล เราได้ฟังเทศน์ เราได้เจริญสมถกรรมฐานวิปัสนากรรมฐาน อานิสงค์กุศลบุญราศรีย่อมมากกว่าท้าวโกสีย์สักกเทวราชในเวลานั้น

    ฉะนั้นถ้าหากว่าบรรดาพุทธบริษัททุกท่านรักษาอารมณ์ดีนี้ไว้ อย่างน้อยที่สุดเวลาที่ท่านตายการไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นของไม่ยากตามที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า

    "ธัมโม หเว รักคติ ธัมมจาริง"​

    "ธรรมแลย่อมรักษาบุคคลผู้ประพฤติธรรม"


    เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า ตามที่เล่ามาในเรื่องราวของพระอินทร์ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 สิงหาคม 2014
  19. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814




    :cool:({) lสวัสดีครับ พี่พีซีโอ พี่ๆน้องๆทุกๆท่าน วันนี้ มาขอ ก๊อบปี้ เรื่องของท่านมาฆมานพ ไปไว้ในห้องบอกบุญของผมหน่อยครับ ต้องขอขอบคุณพี่ที่กรุณา นำมาลงให้อ่านกันครับ ความประสงค์ สิ่งใด ที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ได้แล้ว บรรลุแล้ว ทั้งทางโลกและทางธรรม ขอพี่และคณะจงสมเร็จผล อันพึงจะได้ สมความปราถนาทุกๆประการเทอญ ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมธามิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2014
  20. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252
    ข้างบนเป็นเรื่องอานิสงค์ตอนท่านไปเป็นพระอินทร์ แต่ข้างล่างนี้เป็นตอนที่ท่านเป็นมาฆะมานพ นี่ฉบับเต็มสำนวนของหลวงพ่อ

    พระธรรมเทศนา เรื่องมาฆะมานพ

    พระธรรมเทศนา เรื่องมาฆะมานพ
    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    แสดงเมื่อ วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2523
    นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
    มาตาเปติภรัง ชันตุง กุเล เชฏฐาปจายินังติ
    [​IMG]
    ณ โอกาสบัดนี้ อาตมาภาพจะแสดงพระสัทธรรมเทศนา ในอัตตโนบุพพกัมมกถา เพื่อเป็นเครื่องโสรจสรงองคศรัทธาบารมี ที่บรรดา

    นริศราทานบดีทั้งหลายมาพร้อมใจกันบำเพ็ญกุศลประจำปักษ์ คือวันพระขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 วันนี้แต่ความจริงการแสดงพระสัทธรรม
    เทศนาวันนี้ ทีแรกตั้งใจจะแสดงเรื่องเทวาสุรสงคราม แต่ว่าเทวาสุรสงครามนี้ก็ต่อเนื่องกันเนื่องมาจากอัตตโนบุพพกรรม คำว่า
    อัตตโนบุพกรรม ก็หมายความว่า กรรมที่พระพุทธเจ้าทำมาแล้วในกาลก่อน ?กรรมที่เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง จนกระทั่งองค์
    สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสร้างความดีพิเศษ จึงได้ทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณสำหรับวันนี้อารัมภบทจะพูดแต่น้อย ทั้งนี้ก็
    เพราะ ว่าเรื่องราวนี้ยาวมากสงสัยว่าวันนี้เทศน์ไม่จบ เป็นอันว่ามีเนื้อความอยู่ว่า เมื่อถอยหลังจากกัปนี้ไปท่านไม่ได้บอกกัปไว้ว่ากี่กัป มี
    นานพคนหนึ่งมีนามว่า มาฆะมานพ ท่าน มาฆะมานพ คนนี้อยู่เป็นชาวป่า คือเป็นชาวชนบทอยู่ในป่าลึก ทว่าเป็นคนใจดีมีควมดี
    7 ประการ ไอ้ 7 ประการนี่จำไม่ไดหมดอีก ตามพระบาลีที่มีมา มาตาเปติภรัง ชันตุง กุเล เชฏฐาปจายินัง ติ เป็นต้น
    1. ท่านพยายามเลี้ยงบิดามารดาให้มีความสุข
    2. มีความเคารพในบุคคลผู้มีอาวุโสกว่า แม้แต่เขาเกิดก่อนวันเดยวท่านก็มีความเคารพว่าเป็นพี่
    3. มีการให้ทานเป็นปกติ
    4. เป็นคนใจดี
    5. ตัดความตระหนี่

    6. ระงับความโกรธแล้วก็

    7. มีความยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่พูดว่าส่อเสียดเป็นปกติ

    รวมว่า มาฆะมานพ ที่มีความดี 7 ประการ ที่พูดมานี่มันครบหรือเปล่ามันครบ 7 ข้อ ?แต่ตรงหรือไม่ตรงก็ไม่รู้ หือ อาจารย์หง่า ว่าจะมาเทศน์เรื่องหนึ่งขึ้นมาแล้วก็มาเทศน์เรื่องหนึ่งคนละเรื่องเป็นอันว่าท่าน มาฆะมานพ นี้ เป็นคนดีเป็นพิเศษ เรียกว่าขึ้นชื่อว่าความโกรธท่านอาจจะไม่หมด ความโกรธ แต่ว่าเป็นคนระงับความโกรธได้ดี ให้อภัยแก่บุคคลอื่นอยู่เสมอ มีความเคารพในบิดามารดา เลี้ยง ให้ท่านมีความสุขตามฐานะแล้วคนที่มีอายุสูงกว่า นี่ถือว่าเป็นพี่ถือว่าเป็นคนชั้นพ่อ ถือว่าเป็นพ่อ คนชั้นปู่ถือว่าเป็นปู่ ไม่เคยล่วงเกิน ไม่เคย ดีเสมอ บุคคลผู้ใดที่จะมีอายุแก่กว่า แถมใจดีให้ทานเป็นปกติ ระงับความโกรธ ไม่พูดจาส่อเสียด เป็นต้นนับเป็นความดีของท่านเป็นประจำต่อมาในฤดูหนาว ขอโทษ เป็นอันว่าในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ท่านชอบใจจะยืนจะนั่งท่านก็ไปถากถางปัดกวาดให้ดี แล้วก็ไปยืนเล่นนั่งเล่นในที่นั้นบรรดาชาวบ้านทั้งหลายเห็นว่าที่นั้นเป็บทีรื่นรมย์

    น่านั่งน่ายืนก็ไปไล่ มาฆะมานพ ก็ไม่โกรธ ไปถากถางใหม่อีกทำอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา เวลาที่ลมหนาวโชยมาเป็นฤดูหนาว ท่านก็สุมไฟสำหรับจะผิง ชาวบ้านก็ไม่ต้องทำละ พอเข้าไปมึงก็ผิงบ้างกูก็ผิงบ้าง มาผิงมายืนเบียดเสียดกันมากก็เลยผลักไส มาฆะมานพออกไปยืนแทน เป็นอันว่า ท่านก็ไปก่อไฟของท่านใหม่ ท่านทำอย่างนี้เป็นปกติไม่โกรธใคร ไม่ส่อเสียดใคร ไม่ประทุษร้ายใคร ?ต่อมาไอ้สถานที่มันเตียนมาก ๆขึ้น อาศัยทำคราวละเล็กละน้อย เป็นที่อาศัยของปวงชนทั้งหลายมีความสุข เป็นอันว่าคนในหมู่บ้านนั้นนะ มีความสุขเพราะ มาฆะมานพ คนเดียว นี่มันจะเตียนขึ้นมาที่มันจะเกิดความสบายขึ้นมาอาศัยท่า ท่านก็มานั่งคิดในใจว่า การให้ความสุขแก่บุคคลทั้งหลายในตที่เล็กน้อยเท่านี้มันไม่พอสำหรับใจเรา คนที่จะเข้าไปในเมือง ไปจ่ายตลาด ไปเสียภาษีอากรนี่เดินด้วยความลำบาก เพราะต้องบุกป่าฝ่าดง ใช้ทางในระยะเป็นวิถีโค้ง ใช้เวลานานอันตรายย่อมมี ฉะนั้น

    มาฆะมานพ ผู้ใจดี จึงได้คิดจะทำทางเข้าไปสู่เมือง ?จึงได้ใช้เครื่องมือมีมีดกะขวานพร้า เป็นต้น เข้าไปฟันต้นไม้ ?ก็มีคน 32 คน มาถามว่าทำอะไรเพื่อรัก มาฆะมานพ ก็ปรากฏว่า ไอ้คนบ้านเรานี่มันลำบาก เดินไกลจะไปตลาดหรือไปติดต่อทำราชการดี ก็ต้องเดินลัดป่าไปไกลแสนไก เราจะทำทางเดินเข้าไปสู่ใเมือง 32 คนก็ถามว่า ฉันทำด้วยได้ไหม ท่าน มาฆะมานพ ก็บอกว่า ดีซิ คนก็มาร่วมทำกัน ทำทางตัดต้นไม้ปรับพื้นที่ในตัวเสร็จ ไปได้ประมาณครึ่งเส้นทางที่ต้องการ ?แล้วปรากฏว่ามีนายอำเภอท่านหนึ่ง ท่านเป็นคนใจดี เขาเรียก คามโภชก นะ คามโภชก ก็แปลว่านายบ้าน สมัยนี้ก็แปลว่า นายอำเภอ มาถามว่าพวกแกจะทำอะไร ท่าน มาฆะมานพ ก็บอกว่า

    พวกกระผมทำทางไปสู่เมืองขอรับต้องการให้คนที่อยู่ในป่าเข้าเมืองได้โดยสะดวก แกบอกทำได้ ไอ้พวกแกนี่ตัดต้นไม้ทำลายป่านี่ มันมีความผิดตามกฎหมาย ถ้าหากแกจะไม่ให้ฉันจับ ก็ต้องเอาเงินมาเสียให้ฉัน มาฆะมานพ ก็บอกว่ไอ้ผมทำทางนี่ไม่ได้รับค่าจ้างนะครับ ?แล้วก็ฐานะของผมก็เป็นอย่างนี้นี่ ท่านจะให้ผมเอาเงินที่ไหนไปเสียค่าจ้าง ท่านนายอำเภอโมโห ความจริงไอ้คอรัปชั่นหรือการโกงการกินของข้าราชการเลวๆ นี่มันมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ นับจากกัปนี้ไปอีกกี่กัปก็ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าเกิดเป็น มาฆะมานพ ท่านไม่ได้บอกไว้ในบาลี ?เป็นอันว่านายอำเภอคนนี้ไม่ได้รับเงินสินบน หรือว่าค่าจ้างรางวัล ในฐานะที่เป็นนายอำเภอ ความจริงจะเรียกว่า ขอทานอันธพาลมากกว่า

    เหมือนข้าราชการในปัจจุบันก็เหมือนกัน อ๊ะ ไอ้ที่มันโกงชาวบ้านนะควรจะเรียกว่า ขอทานมันก็ยังเล็กไปนะ ขอทานเขายกมือไหว้ เรียกมหาโจรดีกว่า ในคราบของเครื่องแบบผู้มีเกียรติ นายอำเภอคนนั้นจึงได้รายงานให้พระราชาทราบ กราบทูลให้ทรงทราบว่า ไอ้คน 33 คนนี่คิดกบฏ ถากถางทางให้ตรงข้ามมายังพระราชฐานคือพระราชนิเวศน์ หวังจะยกกำลังจากคนในป่าเข้ามายึดประเทศ นั่นเอาเข้านั่นกลายเป็นกบฏไปแล้วเป็นอันว่าพระราชาก็ดีจริงๆ เหมือนกัน ท่านเป็นคนหูหนัก ไอ้หูน่ะหนักใจเบาคำว่าหูหนักนี่หมายความว่า ใครเขาส่งอะไรมาให้ก็รับ ไม่ต้องใคร่ต้องครวญนะไม่ใช่คนหูเบา รับฟังอย่างเดียว แล้วก็เชื่อเลย จึงส่งพวก ตำรวจในสมัยนั้น เขาเรียกราชบุรุษคือคนของพระราชา ไปจับคน 33 คน เข้ามาแล้วก็สอบสวน คน 33 คนก็บอกว่า ไม่ได้กบฏ ทำทางให้คนเดินโดยสะดวก ?แกก็บอกว่า นายอำเภอเขามาแจ้งฉัน แกปฏิเสธเท่าไรฉันก็ไม่เชื่อ ฉะนั้นจะฆ่าให้ตาย ด้วยวิธี

    การฆ่าฟันคอเห็นว่าไม่สมควร จึงจับคนทั้งสามสิบสามมัดให้ยืนขึ้น แล้วก็ใช้ช้างตัวซับมันให้ตกมัน แล้วก็ไล่แทง ช้างมันก็ไม่แทง จึงจับให้นอน หงายทั้งหมด แล้วก็ให้ช้างเข้าไปเหยียบ ช้างก็ไม่ยอมเหยียบ นายอำเภอเขาบอกว่าคนลืมตาช้างกลัวตาท่านจึงสั่งให้เอาผ้าผูกตาเสีย สั่งให้ช้างเข้าไปเหยียบคน ช้างก็ไม่เหยียบ ให้เอาเสื่อลำแพนมาปิดให้หมด สั่งให้ช้างเดินบนนั้น ช้างไสเท่าไรสับเท่าไร ช้างก็ไม่ยอมไปตามเดิม ด้วยความดีขององค์สมเด็จพระจอมไตร และบรรดาคณะอีก 32 คนซึ่งเป็นคนมีใจดี ทำงานเป็นสาธารณะประโยชน์ ฉะนั้นโทษจาการประหารคราวนี้จึงไม่มีผลแล้วก็เป็นเหตุให้เป็นกำลังใจอีกประการหนึ่ง คือ เทวดาก็ดลใจ

    พระราชาซึ่งทรงพิจารณาว่า ธรรมดาช้างตัวนี้เป็นช้างสำหรับทำการรบ แต่ว่าเราใช้เท่าไรเราใช้อย่างไรก็ไม่เคยขัดข้อง?แต่เวลานี้ไม่ทำตามสักอย่างความจริงมันคงจะมีสักอย่างหนึ่งจึงให้เปิดลำแพนเสื่อลำแพนขึ้นมาแก้วมัด แล้วพระบรมกษัตริย์ก็ทวนถามอีกครั้งหนึ่ง เรียกไปถามีละคนละคนในที่ลับ หนังสือเขาไม่ได้บอกนะ หนังสือเขาเรียกไปสอบสวนใหม่ ตอนนี้ท่านบอกว่าเรียกไปทีละคนละคนไปที่ลับตา เธอเทศน์ไปนี่ พวกได้มโนมยิทธิแล้วก็ทำตามไปด้วย จับภาพให้เห็น ครั้นคนทั้ง 33 คน ให้ความตรงกันว่าการทำทางครั้งนี้นะ ไม่ได้ทำเพื่อกบฏ เห็นว่าคนในป่าจะเข้ามาติดต่อกับหน่วยราชการเสียภาษีอากรก็ดี มาจากตลาดก็ดี มีธุรกิจก็ดี มาได้ยาก จึงทำการเพื่อเป็นการสงเคราะห์นายอำเภอตอนนี้กลับเห็นด้วย ดีไม่ตายเสียเถอะ นายอำเภอเห็นด้วยจึงได้ให้รางวัลเป็นกรณีพิเศษแล้วก็สั่งว่าถ้าเจ้าทำความดีอย่างนี้ พระราชานะพระราชาก็บอกว่าเจ้าทำความดีอย่างนี้ เราก็ไม่เอาโทษ เราก็ต้องขออภัย คิดพลาดไปเพราะนายอำเภอทรยศ ถ้าสิ่งใดที่จะทำ

    ทางนะมันขัดข้องด้วยสรรพ วัตถุใดๆ ก็ตามบอกฉัน ฉันได้ทุกอย่างหลังจากนั้นก็มอบช้างตัวนั้นให้มานพ สำหรับไปลากซุงเป็นพาหนะนั่นก็เป็นสัตว์สำหรับลากซุง ช่วยงาน แล้วก็มอบนายอำเภออีกคนหนึ่งพร้อมด้วยครอบครัว ให้เป็นขี้ข้าของคนทั้ง 33?คน แล้วก็มอบนายช่างอีกคนหนึ่งไปช่วยจัดงานทุกอย่างเป็นอันว่างานที่จะเป็นกบฏ กลายเป็นงานดี ?ท่าน 33 คนมา แล้วจึงหารือกับนายช่าง เรียกว่าพยายามอันดับแรกพยายามทำทางให้เสร็จให้เร็วที่สุด เมื่อทำทางได้เร็วที่สุดแล้ว เสร็จเรียบร้อยแล้วท่าน มาฆะมานพ ก็ปรึกษากับเพื่อน ว่าคนเดินทางจากต้นทางถึงปลายทาง เข้าเมืองใช้เวลาระยะทางยาวตั้งหลายสิบโยชน์ เดินมันก็แสนไกล ถ้าเราขุดบ่อ น้ำไว้ได้ก็จะดี ทุกคนก็ตั้งใจ เอ้า ขุดบ่อน้ำก็ขุด

    คนเดินมาระหว่างทางหิวน้ำ ร้อนจัดจะได้อาบน้ำ กินน้ำ ก็ขุดบ่อน้ำขึ้นมาแล้วท่านมาฆะมานพ ก็คิดว่า ไอ้มีบ่อน้ำแล้วมันไม่มีที่พัก ถ้ามีต้นไม้สำหรับที่จะพักอาศัยร่มเงาก็จะดี จึงได้ปลูก ต้นทองหลาง ขึ้นต้นหนึ่งข้าง
    ปากบ่อน้ำ แล้วจะได้นั่งพักสบายท่านคิดว่าไอ้การจะนั่งโคนต้นไม้กับพ้นนี่มันก็ไม่มีไปเอา หิน มาวางเรียงเข้าทำให้ละเอียด ให้เรียบร้อยๆ เท่าที่จะฟังทำได้เป็นแท่นแล้วต่อมาคนก็ได้อาศัยบ่อน้ำ ได้อาศัย ต้นทองหลาง ไอ้อาศัย หิน สำหรับพักระหว่างทาง ได้อาศัยทางเดิน ?ท่าน มาฆะมานพ ก็มาปรึกษากับเพื่อน ว่าเพื่อนเอ๋ย ไอ้หินนี่มันนั่งสบายแต่มันสบายไม่มากนะ เงาทองหลางอาจจะคล้อยไปทางโน้น อาจจะคล้อยไปทางนี้ร่มเงาก็มีประโยชน์น้อย เอาอย่างนี้ดีกว่า สร้างศาลาระหว่างทางสักหลังหนึ่งดีไหมบรรดาเพื่อนทั้งหลายก็พวกประเภทเอาว่างี้ก็แล้วกัน ว่าไงก็ว่าตามกัน สุดแท้แต่หัวหน้า เป็นอันว่าตกลง ให้เพื่อนทำศาลาในท่ามกลางระหว่างทางแล้ว ก็ประกาศกันว่า การทำทางคราวนี้ ทำบุญคราวนี้ ทั้งหมดเราไม่เกี่ยวกับผู้หญิงเลย ?อย่าให้ผู้หญิงเข้ามาร่วมด้วย มันยุ่ง ทั้งนี้เพราะอะไร

    เพราะท่าน มาฆะมานพ น่ะท่านมีเมียตั้ง 4 ?คน แกช่วยกันด่าวันละคำเท่านั้นนะ ล่อตั้ง 4 คน แกช่วยกันด่านละคำเท่านั้นนะ ล่อตั้ง 4 คำนะ ?อาจารย์หง่านะ เหมือนอาจารย์นะ เป็นอันว่าท่านรำคาญผู้หญิง ไม่ยอมให้ผู้หญิงเข้ามาร่วมงาน?ตั้งแต่ต้นจนอวสาน เมื่อสร้างศาลาเสร็จดีได้ช้างตัวนี้นะลากไม้มา แล้วก็ช่วยกันทำงาน ได้นายช่างที่พระราชาพระราชทานมาให้ช่วยทำทีนี้ต่อมาบรรดาภรรยาทั้งสี่ คือ สุธรรมา สุจิตรา?สุนันทา ทั้งสามคนนี่คิดว่าสามีเขาทำบุญ เรื่องบุญนี่ใครทำใครได้ เราก็จะต้องทำมั่งจึงขออนุญาตสามีว่าขอทำบุญร่วมด้วย ท่าน มาฆะมานพ ก็บอก ไม่เอาหรอก พวกเธอมันปากมากฉันรำคาญเต็มที ต่อแต่นี้ไปฉันเลิก มีเมียแล้ว เกิดอีกกี่ชาติกี่ชาติฉันเลิกมีเมีย มันยุ่งสามคนก็คิดว่าดีหล่ะ เขาไม่ให้เราทำ เราก็ต้องทำให้ได้ จึงมีคติตรงข้ามกับ

    นางสุชาดา?นางสุชาดา นี่เป็นลูกของลุงด้วย เป็นภรรยาด้วย คิดว่าถ้าสามีทำอะไรเราก็ได้ด้วยเพราะสามีภรรยาต้องมีส่วนเสมอกัน ฉะนั้นเธอจึงไม่ทำอะไร ได้แต่แต่งตัวสวยๆ เป็นเครื่องยั่วเย้าให้สามีมีความสุขทางกามรมณ์
    สำหรับ นางสุจิตรา ก็คิดว่า ในเมื่อบ่อน้ำมันมีแล้ว คนอาบน้ำล้างหน้าพักผ่อน ถ้ามีดอกไม้เป็นเครื่องประดับหรือมีกลิ่นหอมโชย จะมีความสุข จึงได้สร้าง สวนจิตรลดาวัลย์ ขึ้นบ้างตรงข้างสระนั้น ดอกไม้งามสะพรั่ง มีความสวยสดงดงาม คือจัดไว้ระเบียบ ดอกไม้ชุด ดอกสีเขียวอยู่ตามลำดับของสีเขียวสีแดงอยู่ตามลำดับของสีแดง สีเหลืองอยู่ตามลำดับของสีเหลือง เป็นสวนเป็นเป็นชั้นๆ ไป ไม่คละปนระคนกัน ดอกไม้ต้นไม้ที่มีดอกประเภทไหนอยู่เป็นกลุ่มทำเรียงรายเป็นแถว สวยสดงดงามสำหรับ นางสุนันทา ก็คิดว่า นางสุจิตรา นี่เขาฉลาด เขาทำสวนดอกไม้ได้แต่ว่าไอ้การอาบน้ำแล้วก็ขึ้นมาบนบก ทัดทรวงดอกไม้เป็นของดีเขาทำแล้ว

    แต่สิ่งที่ดีกว่านั้น ทางระยะมันไกลคนเดินทางมามันหิว นางสุนันทา จึงได้ปลูกต้นทำสวนไม้ผลทุกประเภทเท่าที่เธอจะทำได้ จัดว่าเป็นสวนใหญ่ มีมะม่วง พุทราฝรั่ง เป็นต้น เพื่อคนเดินทางได้กินเวลาพักผ่อน ?สำหรับ นางสุธรรมา ก็คิดว่า สุจิตรา เขาสร้างสวนดอกไม้ สุนันทา เขาสร้างสวนไม้ผล ?เรานี่ไม่ได้ทำอะไร มองไปมองมาก็ไปหาที่จะทำไม่ได้ จึงได้คิดสินบนนายช่าง ไอ้นายช่างนี่เองจริงๆ นี่สินบนกันแต่ตอนโน้น ว่านายช่าง ติดสินบนนายช่างนะ ว่าศาลานี้มันต้องทำช่อฟ้า ใช่ไหม ?นายช่างก็บอกว่าใช่ ถ้าอย่างนั้นละก็เธอทำช่อฟ้าให้เหมาะกับไอ้หลังนั้นพอดีแล้วก็จารึกชื่อว่า ?ศาลาสุธรรมา แล้วก็ทำแล้วเก็บหีบห่อไว้ให้เรียบร้อยภายในบ้านของฉัน ท่านให้เงินหนึ่งพันกหาปณะ แล้วก็เวลานี้พวก 33 คน เขาจะทำช่อฟ้า ท่านอย่าทำนะ หานโยบายเอาช่อฟ้านี้ไปสวมให้ได้

    รวมความว่าสร้างศาลาเสร็จ สามสิบสามคน ก็ดีใจว่า เป็นที่พักของคนเดินทางท่านนายช่างก็บอกว่า ไอ้ศาลานี่มันขาดช่อฟ้านะครับ ถาไม่มีช่อฟ้าก็เป็นบ้านโล้นไม่สวย ทั้งสามสิบสองสามสิบสามคนก็บอกว่า ถ้าอย่างนั้นจงไปเอาไม้มาทำช่อฟ้านายช่างก็บอกว่า ไม้สดทำไม่ได้หรอก ต่อมาถ้ามันแห้งแล้วก็หมดสวย พวกกระจกพวกสีมันจะเสียไปหมด หมดความสง่าผ่าเผยจึงได้สั่งให้ซื้อในท้องตลาดความจริงที่ท้องตลาดเขามี แต่ว่าส่งนายช่างไปแบบนี้นี่ มันก็ไม่ได้นายช่างบอกหาแล้วมันไม่เหมาะ มันไม่สวย หาไปหามาถามว่าที่ไหนมันมีล่ะ นายช่างก็เลยบอกว่า เห็นที่บ้าน นางสุธรรมา นะมี มีอยู่ชุดหนึ่ง แต่ว่าจะเข้ากันได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทราบ ท่าน มาฆะมานพ ก็บอกว่า นี่ไอ้งานชิ้นนี้ฉันไม่ต้องการผู้หญิงนะ ฉันรำคาญเต็มทีละผู้หญิงนี่ บ่นก็มาก จู้จี้จุกจิก ท่านนายช่างก็บอกว่าท่านปรารถนาพุทธภูมิ คนที่จะเป็นพระพุทธิจ้าได้น่ะต้อง หนึ่งบริจาคเมียเป็นทาน สองบริจาคลูกเป็นทาน

    ถ้าท่านจะคิดตัดขาดจากผู้หญิงผู้ชายแล้ว แล้วในสมัยที่บารมีจะเต็ม มันก็ขาด ขาดจาก ทานบริจาค ปุตตบริจาค คือให้เมียให้ลูกเป็นทาน มาฆะมานพ ก็เห็นด้วย เอ้า ถ้างั้นไปดู ไปขอซื้อเขาไปแล้วก็เห็นช่อฟ้าสวยงาม มากกว่าท้องตลาด ก็ขอซื้อ นางสุธรรมา บอกฉันไม่ให้ จะซื้อด้วยราคาเท่าไรฉันไม่ให้ แค่ถ้ายอมให้เอาช่อฟ้านี้ไปสวมเฉยๆ ฉันจะให้ มาฆะมานพ ได้รับคำแนะนำจากท่านนายช่างก็บอกว่า มันไม่เป็นไรหรอกขอรับ อานิสงส์ก็ได้อยู่แล้ว แค่ช่อฟ้าไปสวมเท่านี้ เจ้าของจะได้อะไรสักเท่าไร ปล่อยเขาเถอะครับ ท่านสามสิบสามคนนี้ มาฆะมานพเป็นประธานก็ยอมพอแก้ช่อฟ้าออกไปสวมปั๊ป ไอ้คนสามสิบห้าคนทำเกือบตาย ข้างทำด้วยเป็นสามสิบหกปรากฏว่าไม่มีชื่อเป็นเจ้าของ ชื่vปรากฏตามช่อฟ้าว่าศาลาหลังนี้คือ ศาลาสุธรรม ศาลาของนางสุธรรมา นี่แกตีกินสนิท แบบนี้นะ เป็นอันว่าเหลือเวลาอีกห้านาทีไม่จบนะเรื่องนี้ก็ขอสรุปนางสุชาดานี่จะว่ากันทีหลังเป็นอันว่าถึงกาลสมัยทุกคนก็ต่างคนต่างตาย เมื่อตายไปแล้วองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงตรัสว่า อำนาจผลของความดีที่มีจิตประกอบไปด้วย พรหมวิหาร 4 ท่าน มาฆะมานพ

    ก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้น ดาวดึงสเทวโลก มี เวชยันต์วิมาน ตั้งอยู่กลางท่ามกลาง เขตดาวดึงส์ สูงถึงพันชั้น มีนางฟ้าประจำเฉพาะในวิมานแสนท่าน แล้วก็มีนางฟ้าเป็นบริวารเป็นกรณีพิเศษ มีรัศมีกายสว่างไสวมาก ?สำหรับเพื่อนอีกสามสิบสองคน ก็ไปเกิดเป็นเทวดาบนดาวดึงส์เหมือนกันมีวิมานกันอีกคนละหลัง ๆ นี่สร้างศาลาหลังเดียวนะ สำหรับท่านนายช่างก็ไปเกิดเป็นเทพบุตร มีนามว่าวิษณุกรรมเทพบุตร สำหรับช้างตัวที่ใช้แรงงาน ก็ไปเกิดเป็น เอราวัณเทพบุตร แต่ว่านายอำเภอนี่เขาไม่ได้บอกว่าไปอยู่ที่ไหนสำหรับ นางสุธรรมา เมื่อตายไปแล้วก็ไปเกิดเป็นเทพธิดา เป็นเมียของ พระอินทร์ อีกแต่ว่ามีวิมานอีกหนึ่งหลัง เมื่อ นางสุธรรมา ขึ้นไปเป็นนางฟ้า อยู่กับวิมานอีกหนึ่งหลัง คือเป็นภรรยาของ มาฆะมานพ เขาไม่ได้อยู่วิมานเดียวกัน

    ก็ปรากฏว่ามีวิมานพิเศษ เอ ศาลาหลังนั้นมันโผล่ขึ้นไปอีก มีนามว่า ศาลาสุธรรมา เป็นที่ประชุมของเทวดา จนกระทั่งบัดนี้สำหรับนางสุจิตราเมื่อตายขึ้นไปแล้ว ก็มีวิมานอีกหลังหนึ่ง ไปเป็นภรรยา พระอินทร์?เหมือนกัน แต่ทว่ามี สวนจิตลดาวัลย์ ใครขึ้นไปก็จะเห็นใกล้ปาก สระโบกขรณี ที่มีดอกไม้สวยๆ นั่นแหล่ะ เป็นสวนของ นางสุจิตรา ?สำหรับ นางสุนันทา ตายจากคน ขึ้นไปเกิดมีวิมานอีกหนึ่งหลัง แล้วก็มี สวนนันทวัน ?ปรากฏขึ้น สวนนันทวัน นี่ เป็นสถานที่รื่นเริงของเทวดาบน สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มาก แล้วเวลาพระอินทร์ จะพักผ่อนก็มักจะพานางฟ้าไปเที่ยวแถวนี้ ?สำหรับ นางสุชาดา นี้เป็นลูกสาวของลุง เป็นคนสวย ผัวทำไม่ช่วย ตายจากคน ก็เป็นคนสวยเหมือนกัน คือไปเกิดเป็นนกยางๆ นี่ขนมันขาว เท้าแดงสวยมาก ?เอาละบรรดาท่านสาวกของสมเด็จพระผู้มีพระภาค เทศน์แค่นี้มันก็ต้องจบสามสิบนาทีพอดี สำหรับอานิสงส์บุญราศีไม่ต้องอธิบาย มีอยู่ในท้องเรื่องแล้ว ต่อมาเพราะความดีนี้องค์สมเด็จพระประทีปแก้วไม่ยอมละ เป็นอันว่าในที่สุดก็มาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า แต่เรื่องนี้ยังไม่จบนะอธิบายให้ฟัง

    สำหรับการแสดงพระธรรมเทศนา วันนี้ก็ขอยุติพระธรรมเทศนาลงด้วยเวลาแต่เพียงเท่านี้ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้ อาตมาภาพขอตั้งสัตยาธิษฐานอ้างคุณ พระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ ธรรมะรัตนะ และสังฆรัตนะทั้งสามประการ ขอจงดลบันดาลให้ทุกท่านมีแต่ความสุขแต่ความจริงเดี๋ยวก่อน ต่ออีกนิดหนึ่ง อาจารย์หง่า ต่อได้ไหม ขอต่ออีกหน่อยสำหรับ ต้นทองหลาง นะ เดี๋ยวจะขาดไป วันหลังถ้าเทศน์ต่อจะลืม ต้นทองหลาง ไปเกิดเป็น ต้นปาริกชาติมีดอกเป็น
    ดอกไม้สวยมาก อยู่หลัง บุญฑุกัมพลศิลาอาสน์ สำหรับ แท่นหิน ที่ท่านทำนั้น ก็กลายเป็น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เป็นบริเวณกว้างใหญ่ ตั้งอยู่ใกล้ต้น ปาริกชาติ เป็นอาสนะที่พระอินทร์ ประทับ นี่เล่าให้ฟังตอนจบนะ เดี๋ยวจะลืมเสียแล้วในที่สุดนี้ขอทุกท่านจงมี


    แต่ความสุขสวัสดิพิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผล มีความประสงค์สิ่งใด ขอให้ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนาทุกๆ ประการ เอวัง ก็มีด้วย
    ประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 สิงหาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...