ปุจฉา! ฉันทะ และ ตัณหา ความเหมือนที่แตกต่าง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จิตสิงห์, 8 มิถุนายน 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ใช่ๆๆ คงจบยาก
     
  2. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    วรรคสีแดงนี้ ผมเข้าใจอย่างนี้นะ

    พระสารีบุตรท่านบอกว่า ท่านหวังแค่หลุดพ้น แต่ว่าดันได้ สาวกบารมีญาณพ่วงมาด้วย (ปุพเพนิวาสญาณ ทิพจักขุญาณ เจโตปริยญาณ อิทธิวิธี จุตูปปาตญาณ ทิพโสต)

    เหมือนกับ

    พระพุทธองค์ ที่หวังหลุดพ้น แต่ดันได้ สัพพัญญุตญาณพ่วงมาด้วย

    เป็นความเข้าใจ ส่วนตัว ครับผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  3. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    เน้นข้อความให้ใหม่ค่ะ

    :cool:
    ภิกษุ ท. ! ความรู้ข้อนี้เกิดขึ้นแก่เราว่า ภิกษุ ๒ นั้น ๆ
    ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง
    อันมี สมาธิสัมประยุตต์ด้วยฉันทะเป็นประธาน ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ
    ฉันทะของเราย่อมมี
    ความหดเหี่ยวจักไม่มี
    ความหยุดนิ่ง, ความหดอยู่ในภายใน และความฟุ้งไปในภายนอกก็จักไม่มี,
    และเราเป็นผู้มีสัญญาในกาลก่อนและเบื้องหน้าอยู่ด้วย ก่อนนี้เป็นเช่นใด ต่อไปก็เช่นนั้น,
    ต่อไปเป็นเช่นใด ก่อนนี้ก็เช่นนั้น เบื้องล่างเช่นใด เบื้องบนก็เช่นนั้น,
    เบื้องบนเช่นใด เบื้องล่างเช่นนั้น. กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน:

    เธอย่อมอบรมจิตอันมีแสงสว่างด้วยทั้งจิตอันเปิดแล้ว
    ไม่มีอะไรพัวพัน ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้.
     
  4. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    คริๆ :cool:
     
  5. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ยังมีหน้าที่ต้องประกอบฉันทะ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชรามรณะ,
    ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ,
    ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ,
    ...ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ตามที่เป็นจริง;
    เขาพึงประกอบฉันทะ (ความพอใจ) เพื่อให้รู้ ในชรามรณะ,
    ...ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ,
    ...ในความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ,
    ...ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ตามที่เป็นจริง, ดังนี้.


    (ในกรณีแห่งบทว่า ชาติ..ภพ..อุปาทาน..ตัณ หา..เวทนา..ผัสสะ.. สฬายตนะ
    ...นามรูป..วิญญาณ..
    ก็มีคำตรัสอย่างเดียวกันกับคำตรัส ของบทว่า ชรามรณะ ข้างบนนี้
    ตรงกันทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อของสิ่งที่หยิบขึ้นพิจารณา จนกระทั่งถึงบทสุดท้าย
    อันเกี่ยวกับ สังขาร ดังที่มีอยู่ ต่อไปข้างล่างนี้:)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งสังขารทั้งหลาย,
    ...ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร,
    ...ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร,
    ...ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, ตามที่เป็นจริง;
    เขาพึงประกอบฉันทะ เพื่อให้รู้ ในสังขารทั้งหลาย,
    ...ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร,
    ...ในความดับไม่เหลือแห่งสังขาร,
    ...ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, ตามที่เป็นจริง, ดังนี้.


    ------------------------------------------------------

    ฉันท (เปยยาล) วรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๖๑/๓๑๐, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

    http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1588/index.html
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แล้วแต่ จะตัดประโยชน์ตน ครับผม

    การสรรเสริญพระสารีบุตรนั้น ผู้สรรเสริญก็คือ พระพุทธองค์เอง

    มีหลากหลายนัยในการสรรเสริญ แม้ใน หมวดที่ว่า " ธรรมจักร "
    อันมีพระพุทธวัจนะตรัสชี้ว่า มีแต่ เอกบุรุษคือพระพุทธองค์เท่านั้น
    ที่สามารถหมุนธรรมจักรได้ แต่ ท้ายวรรคก็ จบลงด้วยการ สรรเสริญ
    ว่า พระสารียบุตรคือบุคคลอีกผู้หนึ่งที่ หมุน "ธรรมจักร " ได้โดย
    ชอบเสมอพระองค์ทุกประการ

    ส่วนเรื่อง นับเม็ดฝนนั่น พระสารีบุตรไม่ได้นับที่ตก 7 วัน แต่
    " นับที่ตกตลอดกัลป " เสียดายเจอพระสูตรแค่บางส่วน เลย
    ไม่เห็นว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสเชิงว่า ทำได้ยิ่งกว่าพระสารีบุตร
    นั้นมีหรือไม่ เห็นแต่กล่าวว่า " เราก็รู้ได้อย่างนั้น "


    ทีนี้

    ที่จั่วว่า แล้วแต่จะตัดประโยชน์ตน ด้วยการ ถือถ้อยคำของสาวกที่ทรงจำมาผิด
    ( ไม่ได้ผิดเพราะกิเลส ไม่ได้เจตนา แต่ เป็นไป โดย ธาตุ - ว่าด้วยการตัด
    ประโยชน์ตน ) ใครจะ ละลาภละล้วง ลดคุณธรรม กล่าวให้เข้าใจเป็นอื่น
    ล่วงละเมิดดำรัสรับสั่งวินิจฉัยในองค์สมเด็จพัคควัน ก็ตามแต่จะกระทำกันไป

    แต่ให้ดี น้อมไปเถอะ ไม่มีเสียหาย มีแต่ได้

    ดังความที่พระสารีบุตรกล่าวว่า ใครเป็นพหูสูต ก็ มาอยู่บนหัวของท่านได้เลย
    แต่หากใคร คิดจะพาล ก็ขอให้ไปไกลๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2013
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    หรือถ้าคุณจะ กลับไป อ่านภาษาไทย คำว่า

    "พร้อมกับ ............" ว่าเป็นประโยคอย่างไร

    มันเป็น ประโยคเปรียบเทียบ หรือ !?

    มันเป็น อนุประโยคขยายความเหรอ !?

    แล้วใครจะทะลึ่งไปยก "อภิญญาแบบสาวก"
    ไปเทียบกับ "ความเป็นสัพพัญญู "

    ใครเอา "บรรดาโลกียอภิญญา" ไปเทียบ "ความเป็นสัพพัญญู"

    ตะแคงดูใหม่ ละกันเนาะ


    ***********

    การ โอนอ่อน น้อมไป ในสัททาผู้เป็นปฏิสัมภิทา จะเป็นเหตุปัจจัยให้ คุณ !! ได้ความเป็น ปฏิสัมภิทา

    ไม่เห็นประโยชน์อะไรเลย ที่จะ กระเสือกกระสน เฝ้นฝอย เหยียบย่ำ ลดคุณธรรม ให้เป็นอื่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2013
  8. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ไม่แปลกเนอะ ผูกปมให้ผู้อื่นแก้ เสร็จแล้วก็ต้องแก้เอง ^^

    แต่ที่แปลกคือ มีลงท้ายด้วยลูกตลบ
     
  9. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    เนี่ย ดูสิดูอาเฮียเขาคิดว่าคนถามเขารู้ไม่ทันอาเฮีย คิดว่าเขาจะจับผิดอย่างเดียว
    จะคิดว่าเขาตั้งใจถามเพื่อให้อาเฮียร่ายยาวๆแบบเนี้ยคิดไม่ได้เพราะ........
     
  10. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    รากเง่าแห่งอุปาทานขันธ์

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อุปาทานขันธ์ มีแต่เพียงห้าอย่าง คือ
    รูปขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
    เวทนาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
    สัญญาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
    สังขารขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
    และวิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เหล่านี้ เท่านั้นหรือ ?

    ภิกษุ ! อุปาทานขันธ์ มีแต่เพียงห้า อย่าง คือ
    รูปขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
    เวทนาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
    สัญญาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
    สังขารขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
    และวิญญาณขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เหล่านี้ เท่านั้น.


    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้ มีอะไรเป็นรากเง่า เล่าพระเจ้าข้า?"
    ภิกษุ ! อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้ มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นรากเง่าแล.

    - อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.

    http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1153/index.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  11. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    อุปาทานกับอุปาทานขันธ์มิใช่อันเดียวกัน

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
    อุปาทานนั้นเองหรือชื่อว่า ปัญจุปาทานนักขันธ์เหล่านั้น ?
    หรือว่าอุปทาน เป็นอื่นไปจาก ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลายเล่า? พระเจ้าข้า !"

    ภิกษุ ! ตัวอุปาทานนั้น ไม่ใช่ ตัวปัญจุปาทานักขันธ์,
    แต่อุปาทานนั้น ก็มิได้มีในที่อื่นนอกไปจากปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย;
    เพราะว่า ตัวฉันทราคะ ที่มีอยู่ในปัญจุปาทานักขันธ์ นั่นแหละ คือ ตัวอุปาทาน ในที่นี้แล.


    - อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.

    http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1154/index.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  12. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    อุปาทานและที่ตั้งแห่งอุปาทาน

    ภิกษุ ท.! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยมธมฺม)
    และตัวอุปาทาน. พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น.

    ภิกษุ ท.! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งอุปาทาน เป็นอย่างไร?
    และ ตัวอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุ ท.! รูป (กาย) เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน,
    ฉันทราคะ(ความกำหนัดเพราะพอใจ)ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น
    นั่นคือ ตัวอุปาทานในรูปนั้น ;


    ภิกษุ ท.! เวทนา เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน,
    ฉันทราคะใดเข้าไปมีอยู่ในเวทนานั้น
    ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทานในเวทนานั้น;


    ภิกษุ ท.! สัญญา เป็นสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน,
    ฉันทราคะใดเข้าไปมีอยู่ในสัญญานั้น
    ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทานในสัญญานั้น;


    ภิกษุ ท.! สังขาร ทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ,
    ฉันทราคะใดเข้าไปมีอยู่ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น
    ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทานในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น


    ภิกษุ ท.! วิญญาณ เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน,
    ฉันทราคะใดเข้าไปมีอยู่ในวิญญาณนั้น
    ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทานในวิญญาณนั้น.

    ภิกษุ ท.! ขันธ์เหล่านี้ เรียกว่า สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน,
    ฉันทราคะนี้ เรียกว่า ตัวอุปาทาน แล.

    - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๙.

    (ในสูตรอื่นทรงแสดง อุปาทานิยธรรม ด้วยอายตนะภายในหก (๑๘/๑๑๐/๑๖๐)
    และอายตนะภายนอกหก (๑๘/๑๓๖/๑๙๐).

    http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1156/index.html
     
  13. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ปัญจุปาทานขันธ์เพิ่งจะมี เมื่อเกิดเวทนาในปฏิจจสมุปบาท

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุ ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งรูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งจักษุสัมผัส ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
    อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง แล้ว;
    เขาย่อมกำหนัดในจักษุ, กำหนัดในรูปทั้งหลาย, กำหนัดในจักขุวิญญาณ,
    กำหนัดในจักขุสัมผัส, และกำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
    อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง.

    เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว จ้องมองต่ออัสสาทะอยู่,
    ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป;
    และตัณหาของเขาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่
    อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน
    เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา;


    ความกระวนกระวาย (ทรถ) แม้นทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา;
    ความกระวนกระวาย แม้ทางจิตย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา;
    ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา,
    ความแผดเผา แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา;
    ความเร่าร้อน (ปริฬาห)แม้ทางกายย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา,
    ความเร่าร้อน แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา,
    บุคคลนั้นย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย,
    ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งโสตะ ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งเสียงทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งโสตวิญญาณตามที่เป็นจริง, ...ฯลฯ...ฯลฯ...
    บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไป
    ทางกายด้วย, ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งฆานะ ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งกลิ่นทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งฆานวิญญาณตามที่เป็นจริง,...ฯลฯ...ฯลฯ...
    บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกายด้วย,
    ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชิวหา ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งรสทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งชิวหาวิญญาณตามที่เป็นจริง,...ฯลฯ...ฯลฯ...
    บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย,
    ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งกาย ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งกายวิญญาณตามที่เป็นจริง,...ฯลฯ...ฯลฯ..
    บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย,
    ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งมโน ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งมโนวิญญาณตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งมโนสัมผัส ตามที่เป็นจริง,
    เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม
    เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง แล้ว;
    เขาย่อมกำหนัดในมโน, กำหนัดในธัมมารมณ์ทั้งหลาย, กำหนัดในมโนสัมผัส,
    และกำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม
    เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม

    เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดแล้
    ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว จ้องมองต่ออัสสาทะอยู่,
    ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความก่อเกิดต่อไป;
    และตัณหาของเขาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่
    อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน
    เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา;


    ความกระวนกระวาย (ทรถ) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา;
    ความกระวนกระวาย แม้ทางจิตย่อมเจริญ ถึงที่สุดแก่เขา;
    ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา,
    ความแผดเผาแม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา;
    ความเร่าร้อน (ปริฬาห) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา,
    ความเร่าร้อน แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา
    บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย,
    ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิต ด้วย.

    ----------------------------------------------------

    สฬายตนวิภังคสูตร อุปริ.ม. ๑๔/๕๒๑/๘๒๖, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

    http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1557/index.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    MindSoul1

    อ่านตำราทั้งภายนอกและภายในได้บ่อยๆ เนืองๆ

    ผู้นั้นไม่เหินห่างจากฌาน
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาลอง ล่อเป้า กัน ก่อนที่จะ ตกอกตกใจกับ ฉันทะ ว่า ตกลง "ต้องเสพ" หรือ "ต้องละ"

    เพราะในแง่อริยสัจจะ แล้ว มีคำกล่าวไว้ว่า " ต้องละ " มีคำว่า " ต้อง " ปรากฏเข้ามา
    แต่บางตำรา ก็ใช้แค่คำว่า " ควรละ " บางตำรา ใช้แค่ " ละสมุทัย " โดดๆ

    ในปฏิจสมุปบาทก็ระบุว่า " เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี "

    จากพระสูตรข้างบน ระบุว่า " เพราะ มีฉันทราคะ ในขันธ์ จึงมีอุปทาน "

    ก็เลยทำให้เข้าประเด็น กระตู๊ฮู้ " ความเหมือน ที่แตกต่าง "

    ความแตกต่าง จะพิจารณาอย่างไร ก็ต้องพิจารณาด้วยการ วิปัสสนา เข้ามา
    ในระดับของ " นามรูป " จนพอเกิด " นามรูปปริเฉทญาณ " มีจิตตั้งมั่น
    เห็นแต่ สิ่งที่เกิดในกายในใจ เป็นเพียงสภาพ " นามรูป " เข้ามาก่อน หาก
    ยังเห็นเป็น สัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา อยู่ก็เพราะ จิตตั้งมั่นไม่พอ

    เมื่อจิตตั้งมั่นพอ แยกสิ่งที่ถูกรู้ และ ผู้รู้ ล้วนคือ นามรูป เสมอกันหมด ตัว
    เวทนา มันจะแยกออกมาให้ "สัมผัส" ได้

    คำว่า สัมผัสได้ คือเห็น ผัสสะ มี เวทนาเจตสิก เป็น ผัสสะให้รู้ได้ จับต้องได้

    พอภาวนามาถึงตรงนี้ ก็จะขึ้น " นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ " คือ จะเห็น
    ตามพุทธพจน์ที่ระบุว่า ในนามรูป จะประกอบด้วย ......

    " สัญญา+มนสิการ " ก็คือ บริกรรม หากยังเจือเจตนา ก็จะยังใช้ไม่ได้ แต่เมื่อหมด
    เจตนาในการบริกรรม ก็จะเกิดการ แยก "เจตนา" ออกมาเป็นสิ่งถูกรู้ถูกดู

    ตัว " เจตนา " ที่เหมือนสภาพธรรม ดันๆ เป็นกรอบ ขอบเต เป็นดวง เป็นจุด เป็นต่อม
    ตรงนี้แหละที่จะช่วยมาจำแนกความต่างระหว่าง ตัณหา กับ ฉันทะ

    ถ้า เจตนา ยังเข้มข้น ชักชวนให้จิตไหลตามได้ ตกจากการภาวนา
    จิตไม่ตั้งมั่น(เผลอก็เรียก) ก็จะเรียกว่า เห็นสภาวะธรรมคือดวงตัณหา เท่าฟอง
    ไข่ไก่หรือไม่แล้วแต่จะไหลต่อเนื่องไปในอุปทาน

    ถ้า เจตนา ถูกยกขึ้นเป็นสิ่งถูกรู้ ถูกดู ได้เมื่อไหร่ กรรม ก็ไม่เกิด

    เมื่อ กรรมไม่เกิด ก็จะเรียกว่า เข้ามาเห็น กริยาจิต หรือ อาการของจิต

    อาการของจิต ที่แสดงตัวไหลไปใน นามรูป เกาะนามรูป ก่อภพ ก่อชาติ
    มีชรา มรณะ ขึ้นมาก็เพราะมันยังมี " ตัวพลังงาน " ก็ " ฉันทะ " นั่นแหละ

    ดังนั้น มีตัวพลังงาน มีจิต เมื่อไหร่ ก็คือ มีภพ มีชาติ มีชรา มรณะ

    มีตัวพลังงาน เมื่อไหร่ หากเรายึดมั่นถือมั่น ไม่เห็น ความเกิดดับ แส่ส่าย แปรปรวน
    ของพลังงาน เราก็จะไม่เห็น " ฉันทะ " ที่มันทำให้จิตมี อุปทานในกองขันธ์

    ดังนั้น คนที่เห็นว่า จิตเที่ยง จิตเป็นตน ก็จะ ไม่อาจะ ละอุปทาน ได้เลย

    ***********

    เมื่อไหร่ก็ตาม ทียก " ฉันทะ " สภาพธรรม ที่หมดเจตนา แต่ ขันธ์5 ยังทำงาน
    ไปตามกริยา พลังไหลการส่งออก(อนุปาทินสังขาร) บุคคลผู้นั้น ก็จะขึ้น " อุทัพยญาณ "
    เริ่มทวนกระแส แหวก ระดับการภาวนาในปฏิจสมุปบาท เลยขั้น นามรูป ขึ้น
    ไปได้ ...... ( นักภาวนาที่ขึ้น อุทัพยญาณได้ จะเริ่มเห็น สมาธิ3 ที่เป็น สุญญตาสมาธิ อนิมิตสมาธิ และ อัปณิหิตสมาธิ
    อันเป็น สมาธิในพุทธศาสนา ตามการประกาศของ พระสารีบุตร ที่สังคยานาเอาไว้ ครั้งแรก )


    ก็จะ จดจ่ออยู่ในการเพียรเพ่ง " วิญญาณ " หรือ " วิญญาณฐีติ "

    เมื่อตามเห็น วิญญาณฐีติ แล้ว ยังคงละ ฉันทะ ด้วยจิตตั้งมั่น(แบบพระสารีบุตร
    กล่าวว่า ไม่ยินดีในธรรมเครื่องเนิ่นช้า ) ก็จะ แทงทะลุขึ้นไปภาวนาอยูที่
    การเห็น " สังขารทั้งปวง " อันมี อวิชชาเป็นปัจจัย การเจริญปัญญาก็จะ
    ทำได้มาก มากแค่ไหน ก็ว่ากันตาม ศรัทธา พอใจจะอยู่บนศรีษะของ พระสารีบุตร
    ตามคำเชื้อเชิญของท่านหรือไม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  16. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    คริๆๆ ใช่ๆ ความเหมือน ที่แตกต่าง :cool:

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  17. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    :cool:

    ผู้เข้าไปหาย่อมไม่หลุดพ้น
    ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น

    ไม่เข้าไปหาวงจรปฏิจสมุปบาท
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ความแตกต่าง อีกนัยหนึ่ง ที่ ง่ายมาก หากจะแยกระหว่าง ฉันทะ กับ ตัณหา

    ตัณหา นั้น เป็น เจตนาจะกระทำกรรม หรือ มีจิตปักในการได้ อามิส เหนียวแน่น
    แม้นว่าจะทำจนสำเร็จ อภิญญา5 แต่เพราะว่า ตั้งจิตไว้ผิด ทำโดยเจตนา

    ถึงแม้นจะสำเร็จฌาณ ที่เขาว่ากันว่า เป็น อนันตริยกรรมฝ่ายกุศล เวลาตาย
    กรรมที่เคยกระทำฌาณได้ จะให้ผลก่อน คือ ตัดอบาย ทุคติ

    แต่ เหนืออนันตริยะกรรมก็ยังมี อนันตริยะกรรมอื่น เช่น " ไม่เคารพในธรรม
    ไม่เคารพในสงฆ์ ไม่เคารพในพระพุทธ " หรือ บิดเบือนคำสอน บิดเบือน
    คุณของสงฆ์ อ้างเลห์ในสัทธรรม ..... อันนี้ ฌาณ ก็เอาไม่อยู่ ตกนรกได้
    ตามบุคคลาธิษฐานที่ยกมา

    ดังนั้น

    คนมีปัญญา คนฉลาด มีไหวพริบ ปฏิภาณ จะไม่ เสพ ฌาณ ด้วยเจตนาจะเอาอามิส

    ฉลาดแจ่มๆ จะยังคงทำ ฌาณ ให้เกิด แต่ไม่เจือเจตนา ไม่หวังอามิส ซึ่งก็คือ ฉันทะ

    คนโง่เท่านั้น ที่จะเห็น คำว่า ฉันทะ เป็นปัจจัยให้เกิดอุปทาน แล้ว บิดเบือนด้วย
    สัญญาวิปลาส ไม่ยอมประกอบ ฉันทะ ทำ ฌาณ ให้เกิด

    สิ่งใดก็ตาม หากเสพแล้ว เกิดกุศล พระพุทธองค์ตรัสให้เสพมากๆ

    แต่ เสพอย่างไร โดยไม่หวังใน อามิส ตรงนี้จะต้อง หาอุบายอบรมจิต ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง เท่านั้น !!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  19. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เขาใช้ ฉันทะราคะ หรือเปล่า ที่เป็นเหตุของอุปาทาน
    ราคะ ก็เท่ากับ ตัณหา หรือเปล่า ...


    ฉันทะเจตสิก ไปประกอบกับอะไร ก็เป็นความพอใจในอารมณ์นั้น
    ไปประกอบกับมหัคตตจิต ก็เป็นความพอใจในสมาธิ
    แต่ถ้าอยากได้ในอารมณ์นั้น ก็ต้องมี โลภะ ราคะ อะไรแบบนี้ร่วมด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  20. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เยอะเน๊อะ ^^

    ฉันทราคะ

    ฉันท + ราคะ = ตัณหา

    ฉันทะ ในที่นี้ สื่อไปทางฝ่ายไม่ดี นี่ก็ชัดอยู่แล้ว

    ฉันทในระดับกุศล มาในอิทธิบาท และ สัมปธาน ซึ่งสื่อในระดับฝ่ายดี

    นี่ก็ชี้ให้สังเกตุลักษณะสภาพธรรมเฉพาะหน้าเท่านั้น

    เพราะอะไร เพราะว่า หากตั้งจิตไว้ถูก ผลก็ออกมาดี

    หากตั้งไว้ผิด ผลก็ออกมาตรงข้าม


    ทีนี้ในขั้นละเจตนา ไม่ละเจตนา นั้น

    ตอบว่า แค่คิดว่าจะละเจตนา เจตนามันก็เกิดแล้ว โมหะเกิดแล้ว

    มันเป็นธรรมส่วนผล มิใช่มรรค

    มรรคอุปมาเหมือนเครื่องมือสร้างบ้าน เมื่อบ้านเสร็จ ค้อน ตะปู เลื่อยก็ไม่จำเป็น
     

แชร์หน้านี้

Loading...