ปุจฉา! ฉันทะ และ ตัณหา ความเหมือนที่แตกต่าง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จิตสิงห์, 8 มิถุนายน 2013.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ใครชอกช้ำ ??
    ทำไมต้องชอกช้ำ...

    ที่กล่าวมา ไม่สังขารรึ
    สรุปชาวบ้าน นี่ระลึกตามสัญญาที่ถูกหรือผิด เป็นสัมมาปฏิปทาไปเชียว...


    เราก็กล่าวตามเจตนาเท่าที่ไม่เข้าไปผูกเป็นภาระ ส่วนคนอื่นเขามั่นใจกับคำตอบคำสรุปของเขา จะจริงไม่จริงนี่อีกส่วน
    ส่วนที่จะเราสนใจจะต้องไปค้นต่อ เช่นกุศลจิตแปดดวงประกอบด้วยฉันทะเจตสิกไหม
    แล้วถึงระดับใดบ้าง ที่จริงค้นไม่ยาก
    แต่อันนี้มันเป็นเรื่องส่วนตัว เพราะตอนนี้ยุ่งมาก
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พูดอย่างกะ อภิญญาฝึกง่าย ..
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เรื่อง ขี้เกียจ อันนี้มันเป็นกันทุกคน

    แต่คนที่ ภาวนาเป็น แล้ว เห็น ความขี้เกียจ แล้ว ยกขี้เกียจ ขึ้นเป็น องค์
    ธรรมในการเห็น จะจัดเป็น ธรรมมานุปัสสนาไปในตัว เป็นการยก ถีนะมิททะ
    ยก " นิวรณ์บรรพ " ซึ่งแน่นอนว่า ต้องเห็นความดับ

    เมื่อนิวรณ์ดับ จิตจะต้องเกิดปิติ ...

    ทีนี้ ความเคยชินเดิมๆ ในรส อเนญชาสมาบัติ จะทำให้เรา เผลอคว้า อุเบกขา
    หรือมีอาการ ชะเง้อจะเสพ อุเบกขา

    ให้ยกการเห็น การชะเง้อ การไคว่คว้า การยื่นแขน(จิต)ไปคว้า นามรูป (อภิสังขาร)
    ไว้ด้วย เพราะ เป็นการ เพียรผิด

    เพราะหากตามเห็น ขี้เกียจมันดับ อย่างถูกต้อง จิตจะปิติ แล้วจะไป ปัสสัทธิ ไม่ใช่ อุเบกขา

    หากไม่ยก ปัสสัทธิ ขึ้นเห็น เราจะเห็นเวลา ธรรมวิจัยย ไม่เกิด

    ตรงนี้จึงเรียกว่า จิตเป็นกุศลแล้ว(ตามเห็น นิวรณ์บรรพได้แล้ว) แต่ โลภะแทรก
    ไปคว้าอุเบกขา ทำให้ผลิกเป็นอกุศล(ในแง่ของ ขวางมรรค ) แต่ถ้าเห็นปัสสัทธิ
    เข้ามา จะถือว่า " จิตเดินปัญญา "

    สรุปคือ ขี้เกียจ ก็รู้ รู้ รู้ลูกเดียว
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ไม่ได้กล่าว ว่า อภิญญา ฝึกง่าย

    หากจะ ต่อว่าให้ถูก ต้องกล่าวว่า

    พูดอย่างกะ อภิญญาได้มาเหมือนลาภ ตามธาตุ ตามปราถนา( ในสมัยโน้นนน
    ที่แนบแน่นด้วย ศรัทธา และ กัลยาณธรรมต้นธาตุที่ถูกต้อง )

    ตรงนี้ หากยกเป็น อินทรีย์ เรียกว่า เห็น " ศรัทธาอินทรีย์ "

    จิตหากไม่มี ศรัทธา มันจะไม่เชื่อว่า " สิ่งดีๆ ย่อมได้มาโดย ลาภ " อันมี
    เหตุปัจจัยจาก ต้นธาตที่ถูกต้อง

    พอไม่ ศรัทธา มันจะผลิกเป็น โลภ กูอยากมี อภิญญา หลังจากนั้น ก็ ค้นคว้า ( เอาเอง )
    โดยหลงไปตาม การฟังตามๆกันไป ( ไม่ใช่ ศรัทธาอินทรีย์ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2013
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อนึ่ง

    เราอาจเคยได้ยินตามๆกันมาว่า

    ปฏิสัมภิทาญาณ จะมีได้ ต้องฝึก ฌาณให้ครบ 8 ก่อน แล้วจึงฝึกต่อ ปฏิสัมภิทา

    ตรงนี้เวลาคนมากล่าวว่า นี้เป็น ปฏิสัมภิทามรรค ก็จะเกิดอาการ ปฏิเสธ เพราะ
    เข้าใจไปว่า ก็kuยังไม่สำเร็จ ฌาณ8 เลย ku จะมี ปฏิสัมภิทา ได้อย่างไร

    อันนี้ ก็ต้องย้อนแย้งด้วย

    พระสารีบุตร ที่เป็น ปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาเสมอพระพุทธองค์ มีอภิญญาไหม
    ( แต่ในเชิงการภาวนา จิตพระสารีบุตร ได้ผัสสะ ฌาณครบทั้ง 9 เพียงแต่
    ตัดรากคือ ฉันทะ ทำให้ไม่เสพเป็น สมาบัต )


    พระอานนท์ ที่เป็นเพียง โสดาบัน แต่เป็น ปฏิสัมภิทาญาณ ตั้งแต่ต้น แล้ว
    มาเร่ง อภิญญา กายคตาสติที่หลัง ( เพราะต้องเข้าร่วม สังคยานา )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2013
  6. คัน

    คัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +67
    ปัญญาเสมอพระพุทธองค์

    แก้ไขมั๊ยคุณนิวรณ์
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ดีละ ดีละ เช่นนั้น เราจะแก้ เมื่อเราแก้แล้ว ก็ขอให้คุณ พึงแก้ ด้วย


    คาถาสุภาษิตของพระสารีบุตรเถระ
    พระสารีบุตรเถระ ครั้นสำเร็จแห่งสาวกบารมีญาณ ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรมเสนาบดี
    อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทำประโยชน์แก่หมู่สัตว์ วันหนึ่งเมื่อพยากรณ์อรหัตผลโดยมุขะ คือ
    ประกาศความประพฤติของตนแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาความว่า

    [๓๙๖] ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล สงบระงับ มีสติ มีความดำริชอบ ไม่ประมาท
    ยินดีแต่เฉพาะกรรมฐานภาวนาอันเป็นธรรมภายใน มีใจมั่นคงอย่างยิ่ง
    อยู่ผู้เดียว ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าภิกษุ
    ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารจะเป็นของสดหรือของแห้งก็ตาม ไม่ควรติดใจจน
    เกินไป ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ มีสติอยู่ การ
    บริโภคอาหารยังอีก ๔-๕ คำจะอิ่ม ควรงดเสีย แล้วดื่มน้ำเป็นการ
    สมควรเพื่ออยู่สบายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว อนึ่งการนุ่งห่มจีวรอันเป็น
    กัปปิยะ นับว่าเป็นประโยชน์ จัดว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุผู้มีใจ
    เด็ดเดี่ยว การนั่งขัดสมาธินับว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุ ผู้มีใจเด็ด
    เดี่ยว

    ภิกษุรูปใดพิจารณาเห็นสุข โดยความเป็นทุกข์ พิจารณาเห็น
    ทุกข์โดยความเป็นลูกศรปักอยู่ที่ร่าง ความถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนใน
    อทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้มีแก่ภิกษุนั้น จะพึงติดอยู่ในโลกอย่างใด
    ด้วยกิเลสอะไร

    ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกเกียจคร้าน มีความเพียร
    เลวทราม ได้สดับน้อย ไม่เอื้อเฟื้อ อย่าได้มาในสำนักของเราแม้ใน
    กาลไหนๆ เลย จะมีประโยชน์อะไรด้วยการให้โอวาทบุคคลเช่นนั้นใน
    หมู่สัตว์โลกนี้ อนึ่ง ขอให้ภิกษุผู้เป็นพหูสูต เป็นปราชญ์ตั้งมั่นอยู่ใน
    ศีล ประกอบใจให้สงบระงับเป็นเนืองนิตย์ จงมาประดิษฐานอยู่บน
    ศีรษะของเราเถิด

    ภิกษุใดประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า ยินดีในธรรมเครื่อง
    เนิ่นช้า ภิกษุนั้นย่อมพลาดนิพพานคันเป็นธรรมเกษมจาก
    โยคะอย่างยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุใด ละธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ยินดี
    ในอริยมรรคอันเป็นทางไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้น ย่อมบรรลุ
    นิพพานอันเป็นธรรมเกษม จากโยคะอย่างยอดเยี่ยม

    พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในสถานที่ใด เป็นบ้านหรือป่า
    ก็ตามที่ดอนหรือที่ลุ่มก็ตามสถานที่นั้นเป็น
    ภูมิสถานที่น่ารื่นรมย์ คนผู้แสวงหากามย่อมไม่ยินดีใน
    ป่าอันน่ารื่นรมย์เช่นใด ท่านผู้ปราศจากความกำหนัด จักยินดีในป่าอัน
    น่ารื่นรมย์เช่นนั้น เพราะท่านเหล่านั้นไม่เป็นผู้แสวงหากาม บุคคลควร
    เห็นท่านผู้มีปัญญาชี้โทษมีปกติกล่าวข่มขี่ เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้
    ควรคบบัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่าเมื่อคบกับบัณฑิตเช่นนั้น ย่อมมีแต่
    ความดีไม่มีชั่วเลย ปราชญ์ก็ควรโอวาทสั่งสอน ควรห้ามผู้อื่นจากธรรม
    ที่มิใช่ของสัตบุรุษ แต่บุคคลเห็นปานนั้น ย่อมเป็นที่รักใคร่ของสัตบุรุษ
    เท่านั้น ไม่เป็นที่รักใคร่ของอสัตบุรุษ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้แล้ว
    มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมแก่ผู้อื่นอยู่ เมื่อพระองค์กำลังทรงแสดง
    ธรรมอยู่ เราผู้มุ่งประโยชน์ตั้งใจฟัง การตั้งใจฟัง ฟังของเรานั้น
    ไม่ไร้ประโยชน์

    เราเป็นผู้หมดอาสวะ เป็นผู้หลุดพ้นพิเศษ เราไม่
    ได้ตั้งความปรารถนาเพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพจักขุญาณ เจโตปริยญาณ
    อิทธิวิธี จุตูปปาตญาณ ทิพโสตญาณ อันเป็นธาตุบริสุทธิ์ มาแต่ปางก่อน
    เลย แต่คุณธรรมของสาวกทั้งหมดได้มีขึ้นแก่เรา พร้อมกับการบรรลุ
    มรรคผล เหมือนคุณธรรม คือ พระสัพพัญญุตญาณ ได้มีแก่พระพุทธ
    เจ้า
    ฉะนั้น

    มียักษ์ตนหนึ่งมากล่าวว่า มีภิกษุหัวโล้นรูปหนึ่งชื่ออุปติสสะ
    เป็นพระเถระผู้อุดมด้วยปัญญา ห่มผ้าสังฆาฏินั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนไม้
    สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้กำลังเข้าสมาบัติอันไม่มีวิตกในขณะ
    ถูกยักษ์ตีศีรษะ ก็ยังประกอบด้วยธรรมคือความนิ่งอย่างประเสริฐ ภูเขา
    หินล้วนตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ฉันใด ภิกษุย่อมไม่หวั่นไหวเหมือน
    ภูเขาเพราะสิ้นโมหะ ก็ฉันนั้น ความชั่วช้าเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อม
    ปรากฏเหมือนเท่าก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า แก่ภิกษุผู้ไม่มีกิเลส
    เครื่องยั่วยวน แสวงหาความสะอาดเป็นนิตย์ เราไม่ยินดีต่อความตาย
    และชีวิต เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะจักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อ
    ความตายและชีวิต รอคอยเวลาตายอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลา
    ทำงาน ฉะนั้น ความตายนี้มีแน่นอนในสองคราว คือ ในเวลาแก่
    หรือในเวลาหนุ่ม ที่จะไม่ตายเลยย่อมไม่มี

    เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญแต่สัมมาปฏิบัติเถิด
    ขอจงอย่าได้ปฏิบัติผิดพินาศเสียเลย ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่าน
    ทั้งหลายไปเสีย เมืองที่ตั้งอยู่ชายแดน เขาคุ้ม
    ครองป้องกันดีทั้งภายนอกและภายในฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงคุ้มครอง
    ตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้มีขณะ
    อันล่วงเลยไปเสียแล้ว ต้องพากันไปเศร้าโศกยัดเยียดอยู่ในนรก ภิกษุ
    ผู้สงบระงับ งดเว้นโทษเครื่องเศร้าหมองใจได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูด
    ด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาปธรรมได้เหมือนลมพัดใบไม้ล่วง
    หล่นไปฉะนั้น

    ภิกษุผู้สงบระงับ งดเว้นจากโทษเครื่องเศร้าหมอง
    ใจได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ได้ลอยบาปธรรม
    เสียได้ เหมือนลมพัดใบไม้ล่วงหล่นไป ฉะนั้น ภิกษุผู้สงบระงับละเว้น
    กองกิเลสและกองทุกข์ ที่เป็นเหตุทำให้เกิดความคับแค้น มีใจผ่องใส
    ไม่ขุ่นมัว มีศีลงาม เป็นนักปราชญ์ พึงทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลไม่ควร
    คุ้นเคย ในบุคคลบางพวกจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม หรือเบื้องต้น
    เขาจะเป็นคนดี ตอนปลายเป็นคนไม่ดีก็ตาม

    นิวรณ์ ๕ คือกามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ เป็นธรรมเครื่อง
    เศร้าหมองจิต สมาธิของภิกษุผู้มีปกติชอบอยู่ด้วยความไม่ประมาท

    ไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยมีผู้สักการะ ๑ ด้วยไม่มี
    ผู้สักการะ ๑

    นักปราชญ์เรียกบุคคลผู้เพ่งธรรมอยู่เป็นปกติ พากเพียรเป็นเนืองนิตย์
    พิจารณาเห็นด้วยปัญญาสุขุม สิ้นความยึดถือและความ
    ยินดีว่า เป็นสัตบุรุษ มหาสมุทร ๑ แผ่นดิน ๑ ภูเขา ๑ และ
    แม้ลม ๑ ไม่ควรเปรียบเทียบความหลุดพ้นกิเลสอย่างประเสริฐของพระ
    ศาสดาเลย พระเถระผู้ยังพระธรรมจักรอันพระศาสดาให้เป็นไปแล้ว
    ให้เป็นไปตาม ผู้มีปัญญามาก มีจิตมั่นคง เป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดินและ
    ไฟย่อมไม่ยินดียินร้าย ภิกษุผู้บรรลุปัญญาบารมีธรรมแล้ว มีปัญญา
    เครื่องตรัสรู้มาก เป็นนักปราชญ์ผู้ใหญ่ ไม่ใช่เป็นคนเขลา ทั้งไม่เหมือน
    คนเขลา เป็นผู้ดับความทุกข์ร้อนได้ทุกเมื่อ ท่องเที่ยวไปอยู่ เรามีความคุ้น
    เคยกับพระศาสดามาก

    เราทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระหนักลงได้แล้ว
    ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพแล้ว ท่านทั้งหลาย
    จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นอนุศาสนีย์ของเรา เรา
    พ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว จักปรินิพพาน.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2013
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ฉันทะความพอใจในอารมณ์ หากเกิดกับอกุศลจิต
    ไม่แน่..ถ้าขยันให้ความชั่วก็ดีความหลงก็ดี เข้ามาใส่ตัวบ่อยๆ ก็คงไม่ดีนะ

    หรือว่าไม่แน่นะ ถ้าเราฉันทะแม้ในกุศลจิต แต่ไม่ฉลาดในสิ่งที่ทำ
    ทำแล้วได้อะไร คุ้มไหม มันถึงต้องมี จิตตะ วิมังสา..
    คือ เอาพอสำเร็จตน ก็พอ หรือเปล่า ???
    การปล่อยวาง นี่ก็ต้องดูกำลังตนส่วนหนึ่งด้วย

    [๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม

    ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้
    อันความลบหลู่ครอบงำ มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑ เป็นผู้แสวงโทษ มีจิตกระทบ
    ในผู้แสดงธรรม มีจิตกระด้าง ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑ เป็นผู้มีความ
    ถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย
    ธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม
    คือ ความถูกในกุศลธรรม.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัท-
    ธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม

    ธรรม ๕ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑
    เป็นผู้อันความลบหลู่ไม่ครอบงำ ไม่มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑ เป็นผู้ไม่แสวงโทษ ไม่มีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม ไม่มีจิตกระด้าง ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑
    ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อ
    หยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม.
    จบตติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2013
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ไปค้นมาล่ะ
    ก็ยากกว่าที่คิดไว้มาก เพราะฉันทะเจตสิกจะเกิดร่วมกับจิต 69 ดวง
    คือ โลภมูลจิต8 โทสะมูลจิต2 กามโสภณจิต24
    และรวมถึง มหคคตจิต27 และโลกุตตรจิต8 ด้วย... :'(

    ไม่ร่วมเพียง..อเหตุกจิต18 โมหะมูลจิต2

    ดังนั้น ฉันทะเจตสิกหากไม่เกิดร่วมกับอกุศลจิตแล้ว
    ก็อยู่ถึงฝ่ายโลกุตตรจิตด้วย

    ห่างไกล จากคำว่า ฉันทะ ราคะ นันทิ
    เพราะฉันทะตัวนั้น คงจะมีเจตสิกอื่นๆร่วมในอารมณ์นั้นๆอีกมาก..

    ปริจเฉทที่ ๒ - thepathofpurity
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2013
  10. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑

    ฉันทสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

    [๑๓๒] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ
    ฯลฯ

    จบ สูตรที่ ๓

    E-Tipitaka | Read
     
  11. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาวายามะเป็นไฉน

    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมให้เกิด ฉันทะ พยายาม
    ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้

    เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น ๑
    เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเสีย ๑
    เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น ๑
    เพื่อความตั้งมั่นไม่ฟั่นเฝือ เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ และ
    บริบูรณ์ของกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ นี้เรียกว่าสัมมาวายามะ ฯ

    E-Tipitaka | Read
     
  12. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ก่อนตรัสรู้๑

    ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้
    ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความสงสัยเกิดขึ้นว่า อะไรหนอ เป็นหนทาง
    เป็นข้อปฏิบัติเพื่อความเจริญแห่งอิทธิบาท
    ?

    ภิกษุ ท. ! ความรู้ข้อนี้เกิดขึ้นแก่เราว่า ภิกษุ ๒ นั้น ๆ
    ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง
    อันมี สมาธิสัมประยุตต์ด้วยฉันทะเป็นประธาน ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ
    ฉันทะของเราย่อมมี
    ความหดเหี่ยวจักไม่มี
    ความหยุดนิ่ง, ความหดอยู่ในภายใน และความฟุ้งไปในภายนอกก็จักไม่มี,
    และเราเป็นผู้มีสัญญาในกาลก่อนและเบื้องหน้าอยู่ด้วย ก่อนนี้เป็นเช่นใด ต่อไปก็เช่นนั้น,
    ต่อไปเป็นเช่นใด ก่อนนี้ก็เช่นนั้น เบื้องล่างเช่นใด เบื้องบนก็เช่นนั้น,
    เบื้องบนเช่นใด เบื้องล่างเช่นนั้น. กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน:

    เธอย่อมอบรมจิตอันมีแสงสว่างด้วยทั้งจิตอันเปิดแล้ว
    ไม่มีอะไรพัวพัน ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้.


    (ข้อต่อไปอีก ๓ ข้อก็เหมือนกัน แปลกแต่ชื่อแห่งอิทธิบาท เป็นวิริยะ
    จิตตะ วิมังสา, เท่านั้น พระองค์ทรงพบการเจริญอิทธิบาท ด้วยวิธีคิดค้นอย่างนี้).
    .
    -------------------------
    ๑. ปฐมสูตร อโยคุฬวรรค มหาวาร. สํ.๑๙/๓๖๒/๑๒๐๕.
    ๒. นักบวชชนิดภิกษุนั้น มีอยู่ก่อนพระองค์อุบัติ.

    http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/489/index.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2013
  13. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ^น่าพิจารณาตรงนี้ครับ
    *ประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง*

    ภิกษุ ท.! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

    ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบ พร้อมด้วยธรรม
    เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอันอาศัยฉันทะเป็นปธานกิจ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน
    ประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยวิริยะเป็นปธานกิจ ; ย่อม
    เจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยจิตตะเป็น
    ปธานกิจ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิ
    อาศัยวิมังสาเป็นปธานกิจ ; (กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับการระวัง การละ การทำให้เกิดมี และการ
    รักษา).
    http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/2482/index.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มิถุนายน 2013
  14. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ๕. สัมมัปปธานสังยุต
    ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔

    [๑๐๙๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัส
    ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
    เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
    เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
    เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป
    เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล.

    [๑๐๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน
    บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔
    ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๑๐๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มาก ซึ่งสัม-
    *มัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
    เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป
    เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล
    ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

    ปาจีนนินนสูตร ๖ สูตร สมุททนินนสูตร ๖ สูตร ๒ อย่าง เหล่านั้น
    อย่างละ ๖ สูตร รวมเป็น ๑๒ สูตร เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าวรรค (พึง
    ขยายความคังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุต ด้วยสามารถสัมมัปปธาน)
    จบ วรรคที่ ๑
    ๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร
    ๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร
    (พึงขยายความอัปปมาทวรรคด้วยสามารถสัมมัปปธาน)
    จบ วรรคที่ ๒


    [๑๐๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่
    การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้อย่างนั้น
    แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔
    ฉันนั้นเหมือนกัน.
    [๑๐๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔
    กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด
    พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
    เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งอยู่
    เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์
    แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔
    กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล
    (พึงขยายความพลกรณียวรรคด้วยสามารถสัมมัปปธานอย่างนี้).
    จบ วรรคที่ ๓


    [๑๐๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ
    การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.
    [๑๐๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
    เพื่อความสิ้นไป เพื่อความละซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อไม่ให้บาปอกุศลที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมี
    ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
    เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.


    [๑๐๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์เป็นส่วน
    เบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.

    [๑๐๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
    เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕
    เหล่านี้แล สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ตั้งจิตไว้
    เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย
    เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
    กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.
    (พึงขยายความออกไป เหมือนเอสนาวรรค)

    จบ สัมมัปปธานสังยุต

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=6258&Z=6305&pagebreak=0
     
  15. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ใช่ค่ะการเดินมรรค ยังต้องประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง
     
  16. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พอมาดูดู เพิ่งสังเกตุ เรื่องสมาธิที่คู่กับอิทธิบาท4
    พอย่อยมาที่ มีสมาธิอันอาศัยฉันทะเป็นปธานกิจ
    สมาธิตรงนี้น่าสนใจครับ
     
  17. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ๕. สัมมัปปธานสังยุต ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔
    คือคำตอบค่ะ คริๆ :cool:
     
  18. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ทีนี้พอลองระลึกดู
    ความต่างระหว่าง ฉันทะ กับตัญหา ทำให้เห็นชัดขึ้น
    ในขณะประกอบ ถึงลักษณะที่ปรากฏคู่ขณะทำกิจ
    อืม ฟุ้งๆ
    มาต่อที่ *อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง*
    ^_^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มิถุนายน 2013
  19. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    เทศน์อบรมฆราวาส
    ณ กุฏิหลวงตา สวนแสงธรรม กรุงเทพฯ
    เมื่อค่ำวันที่ ๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙
    ธรรมของพระเรวัตตะมาดลบันดาล

    พระเรวัตตะนี้ท่านเป็นพระอรหันต์ เป็นน้องชายของพระสารีบุตร ดูว่าลูกของนางสารีหรืออะไร มีลูกชายดูว่าเป็นพระอรหันต์ตั้งสองสามองค์ พระสารีบุตร-พระเรวัตตะ แล้วองค์ไหนอีกนะ มีถึงสามองค์ได้เป็นพระอรหันต์ พระสารีบุตรนี้กระเทือนโลกด้วยความเฉลียวฉลาดรอบคอบ การเทศนาว่าการต่างๆ ยกทางด้านเอตทัคคะเลิศให้ในทางปัญญา พระพุทธเจ้าทรงตั้งเอตทัคคะให้เลิศในทางปัญญา พระโมคคัลลาน์ให้เลิศในทางฤทธิ์ทางเดช เหาะเหินเดินฟ้า ดำดินบินวนได้เหมือนนก ว่าอย่างนั้นเถอะน่ะ

    พระสารีบุตรนี่เฉลียวฉลาดฝนตกเจ็ดวันสามารถนับเม็ดฝนได้หมดทุกเม็ด คือฝนตกเจ็ดวันเจ็ดคืน ไม่ใช่ปัญญาเราเขาเรียกปัญญาคอมพิวเตอร์หรืออะไรไม่รู้แหละ ทุกวันเขาเรียกคอมพิวเตอร์พิวแต้อะไร นี่ละปัญญาญาณนับได้หมดเลย นอกจากนั้นยังได้ถูกตำหนิพระพุทธเจ้าอีก ว่าโอ้ยไอ้ปัญญาของเธอฝนตกเจ็ดวันเจ็ดคืนเรานับได้หมดทุกเม็ด อย่ามาพูดมันขี้ปะติ๋ว เราตถาคตให้มันตกตั้งกัปตั้งกัลป์เรานับพรึบเดียวรู้หมดทุกเม็ดทุกหยดทุกหยาดเลย นั่น นี่ละพระญาณหยั่งทราบ เรียกว่าพุทธวิสัย พระวิสัยของพระพุทธเจ้ากับสาวกนั้นต่างกัน แม้จะบริสุทธิ์เหมือนกันก็ตาม นิสัยวาสนามีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงต่างกันเป็นธรรมดา

    เพราะฉะนั้นบรรดาสาวกทั้งหลายที่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้ว จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าตั้งเป็นเอตทัคคะว่าเลิศคนละทิศละทาง ๘๐ องค์ที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งให้เป็นเอตทัคคะคือเลิศคนละทิศละทาง เริ่มตั้งแต่พระสารีบุตร พระโมคคัลลาน์ พระอานนท์ไปเรื่อยๆ พระสารีบุตรเลิศทางความเฉลียวฉลาด เลิศทางปัญญา พระโมคคัลลาน์เลิศทางฤทธาศักดานุภาพ ส่วนพระอานนท์นี้เลิศถึงห้าสถาน เป็นพุทธอุปัฏฐาก เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมามากต่อมากพระอานนท์ จากนั้นก็มี ๘๐ องค์

    ท่านทรงตั้งตามนิสัยวาสนาของผู้ดำเนินตนบำเพ็ญมาอย่างไร ผลปรากฏขึ้นให้เห็นชัดเจน ท่านไม่ตั้งแบบสุกเอาเผากิน พอใจใครก็ตั้ง ไม่พอใจใครก็เหยียบย่ำทำลายพระพุทธเจ้าไม่มี ตั้งตามหลักตามเกณฑ์อย่างนั้น มาตลอดกาลไหนๆก็เหมือนกัน จนกระทั่งมาสมัยปัจจุบันครูบาอาจารย์นี้เด่นคนละทิศละทาง อย่างปัจจุบันนี้ก็เหมือนกันมีเด่นคนละทิศละทาง แต่ไม่เรียกว่าเลิศเท่านั้น ว่าเด่น องค์เด่นทางนั้น องค์นั้นเด่นทางนั้น ท่านมีวี่แววอยู่ในองค์ของท่านๆ ให้เด่นกว่าเพื่อน บรรดาบารมีที่สร้างมาก็มาเด่นอยู่ตรงนั้นๆ องค์นี้เด่นทางนั้น องค์นั้นเด่นทางนั้น เป็นมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้แหละ สมมุติว่าเป็นพระอรหันต์ด้วยกันก็ตาม องค์นั้นเด่นทางนั้น เด่นกว่าเพื่อนก็มีอย่างพระสารีบุตร-โมคคัลลาน์ คือการสร้างบารมีนี้ได้แก่การสร้างความดี ไม่ไปอยู่ที่ไหน การสร้างความดีไม่ว่าบาปว่าบุญนะ

    http://palungjit.org/threads/ไม่มีอานุภาพใดที่จะเหนือกรรมดีกรรมชั่วไปได้.383799/
     
  20. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ขอบคุณค่ะ

    เรื่องนี้คงง่ายกว่า นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา... :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...