ปุจฉา! ฉันทะ และ ตัณหา ความเหมือนที่แตกต่าง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จิตสิงห์, 8 มิถุนายน 2013.

  1. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ฉันทะ คือ ความพอใจ ความน้อมไป ความยินดี ความต้องการ ความชอบใจ....

    ตัณหา คือ ความพอใจ ความน้อมไป ความยินดี ความต้องการ ความชอบใจ....

    ธรรมทั้งสองนี้ คงไม่ยากนัก สำหรับนักดูจิต

    จะรู้ได้อย่างไร ขณะนี้คือฉันทะ ขณะนี้คือตัณหาหนอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  2. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    [​IMG]

    jittinon
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  3. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ลองดูครับหลวงพี่ ผมว่าขณะนั้นดูไม่ออกครับ
    อาการยินดีที่ปรากฏหากติดตามมาถึงจะพอทราบได้ว่ายินดีอย่างไร
    พอจะนึกคำว่าอิ่ม ได้ครับ
    ฉันทะคือพออิ่มแต่ก็ต้องกินอีกเมื่อหิว
    ตันหาคือไม่รู้จักอิ่มต้องการเพิ่มไม่มีสุด
     
  4. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    สาธุ จริงอยู่อาจดูไม่ออกโดยเวทนา

    แต่หากโยนิโสเป็นเหตุให้กุศลเกิด ความพอใจนั้นย่อมเป็นฉันทะ

    หากอโยนิโสเป็นเหตุให้อกุศลเกิด ความพอใจนั้นย่อมเป็นตัณหา

    นี่ก็ว่าตามหลักการ
     
  5. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ทีนี้ จึงเป็นเรื่องของการฝึกสติ
    สติสามารถระลึกได้ทัน รู้กุศล อกุศล
    ตรงนี้ครับ จึงจะพิจารณาได้ทันว่าฉันทะอย่างไร
    ตัญหาอย่างไร
    ไปต่อที่
    สัมมัปปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 คือ การมุ่งมั่นทำความชอบ มี 4 ประการ

    1.สังวรปทาน คือ เพียรระงับการกระทำอกุศล ไม่ให้เกิดขึ้น ( เพียรระวัง )
    2.ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่กำลังกระทำอยู่ ( เพียรละ )
    3.อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ( เพียรรักษา )
    4.ภาวนาปทาน คือ เพียรฝึกฝนบำรุงกุศลธรรม ให้เจริญยิ่งขึ้น ( เพียรเจริญ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2013
  6. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    สัมมัปปทาน 4 ?

    กลับมาที่ความอิ่มก่อน

    ยิ่งได้ยิ่งเสพ ยิ่งอร่อยยิ่งกิน

    เพราะมีแรงจูงใจอื่น เช่น รสอร่อย กลัวตาย กลัวอด กินแล้วจะเป็นนั่นเป็นนี่ จึงก่อภพ ภวตัณหา เมื่อกินแล้วก็ทุกข์กับมัน

    ฉันทะ ความต้องการกิน ความพอใจในการกิน โดยเข้าใจเหตุแห่งความหิว การกินเป็นผลของความดับหิว แม้อาหารนั้นไม่อร่อย ก็ไม่ได้ไปทุกข์กับสิ่งนั้น

    คล้ายๆรู้ว่าผักมีประโยชน์แม้ไม่ชอบก็ตาม

    ซึ่งก็ต้องมีหลัก โยนิโส รู้เหตุรู้ผลในการกระทำ

    ในทางปฏิบัติเป็นเรื่อง สีลวิสุทธิ รู้เหตุรู้ผลในธรรม

    การสำรวมอินทรีย์ ไม่ให้อกุศลเกิด เป็นเรื่อง จิตวิสุทธิ
     
  7. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ฉันทะ
    1. ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน
    (เป็นกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในคำว่า กามฉันทะ ที่เป็นกุศลเช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔)
    2. ฉันทะ ที่ใช้เป็นคำเฉพาะ มาเดี่ยวๆ โดยทั่วไปหมายถึงกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ
    ได้แก่ กัตตุกัมยตาฉันทะ คือ ความต้องการที่จะทำหรือความอยากทำ(ให้ดี);
    ตรงข้ามกับ ตัณหาฉันทะ คือ ความอยากเสพ อยากได้ อยากเอาเพื่อตัว ที่เป็นฝ่ายอกุศล


    ตัณหา ๑- ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา มี ๓ คือ
    ๑. กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่
    ๒. ภวตัณหา ความทะยากอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่
    ๓. วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย

    (ตัดความหมายอื่นออกไปเพราะไม่เนื่องด้วยเนื้อหา)
    จาก http://www.84000.org/tipitaka/dic/

    ใครที่บอกว่า ฉันทะคือตัณหา ก็บอกได้ถ้าบอกโดยนัยของฉันทะที่แปลว่าความพอใจ
    แต่ถ้าบอกโดยนัยของธรรมะ นั้นว่าอย่างนั้นไม่ได้
    โดยมากเป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้วว่า ฉันทะไปสูง ตัณหาไปต่ำ
     
  8. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ทำอะไรก็ตามให้ทำด้วยฉันทะมันจะเกิดสมาธิ..หากทำด้วยตัณหา มันเครียด..!:cool:
     
  9. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    มันเครียด..!:cool:
     
  10. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ตัว กับ เงา

    ตัณหา เป็น ตัว
    ฉันทะ เป็น เงา

    ตัว ขยับ
    เงา จึง ขยับตาม

    ตัว หยุด
    เงา จึง หยุด
     
  11. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ เป็นธรรมฝ่ายมรรคญาณ

    ประกอบด้วย ฉันทะ ซึ่งอยู่ในอิทธิบาท ๔

    นี้คือความสำคัญ ของฉันทะ นี้คือหยดน้ำในทะเล

    หากตั้งทิฏฐิไว้ผิดตั้งแต่เริ่ม ผลก็คือเอาความอยากไปเพียร ข้อนี้ลุมลึกนัก
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ฉันทะ เปรียบเหมือน แขนที่ยื่นออกไป
    โลภะ เปรียบเหมือน มือที่กำไว้

    ฉันทะเป็นผู้ใคร่จะกระทำ อุปมาเหมือนบุคคลเรี่ยไร ไปสร้าง กุฏิ ศาลา เป็นต้น
    มีความต้องการได้มา แต่มิได้หวังเอามาเป็นสมบัติของตน เพียงเพื่อเอามาแล้วสลัดออกไป คือไม่ยึดไม่เกาะ ไม่กำ

    ส่วนตัณหานั้น คือความอยากได้มาเป็นสมบัติของตน ยึดเกาะอย่างเหนียวแน่น ไม่ยอมปล่อย
    ที่ไม่ยอมปล่อยเพราะอะไร คือ เมื่อตัณหาเกิดขึ้นแล้วอุปาทานก็เกิดขึ้นด้วย
    (เพราะองค์ธรรมของตัณหากับอุปาทาน คือ โลภะ ตัวเดียวกัน)
    ส่วนฉันทะนั้นไม่มีอุปาทาน จึงแยกเพื่อให้เห็นความแตกต่าง ฉันทะ กับ โลภะ
     
  13. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาวายามะเป็นไฉน

    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมให้เกิด ฉันทะ พยายาม
    ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้

    เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น ๑
    เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเสีย ๑
    เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น ๑
    เพื่อความตั้งมั่นไม่ฟั่นเฝือ เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ และ
    บริบูรณ์ของกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ นี้เรียกว่าสัมมาวายามะ

    E-Tipitaka | Read

    :cool:

    ฉันทะ เป็นมูลเหตุแห่งความพ้นทุกข์

    :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  14. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์

    ทุกข์ใด ๆ อันจะเกิดขึ้นในอนาคต
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์

    และทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์”.


    สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๓/๖๒๗.

    :cool:

    ฉันทะ เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์

    ความหมายตามที่เข้าใจของพุทธวจนที่ยกมา คือ
    มีฉันทะตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แล้วเข้ายึดถือเอา

    :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  15. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    อนุปทวรรค
    ๑. อนุปทสูตร (๑๑๑)


    [๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ

    [๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นบัณฑิต มี
    ปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญา
    ทำลายกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน ในการเห็น
    แจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น เป็นดังต่อไปนี้ ฯ


    [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่ ก็ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร
    ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ
    อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้ง
    ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ
    เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มี
    แก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน
    พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัด
    ว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
    ให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

    ...

    E-Tipitaka | Read
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภารทวาชะ การตั้งตนไว้ในธรรม (ปธาน)เป็นธรรมมีอุปการะ มากแก่การตามบรรลุถึงความจริง ถ้าบุคคลไม่ตั้งตนไว้ในธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึง ตามบรรลุถึงความจริงได้ เพราะเหตุที่เขาตั้งตนไว้ในธรรม เขาจึง บรรลุถึงความจริง เพราะเหตุนั้น การตั้งตนไว้ในธรรม เขาจึงบรรลุถึงความจริง เพราะเหตุนั้น การตั้งตนไว้ในธรรม จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง..........................ภารทวาชะ การพิจารณาหาความสมดุลยืแห่งธรรม(ตุลนา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตั้งตนไว้ในธรรม ถ้าบุคคลไม่พบความสมดุลย์แห่งธรรมนั้นแล้วไซร้เขาก็ไม่พึงตั้งตนไว้ในธรรม เพราะเหตุที่เขาพบซึ่งความสมดลย์แห่งธรรม เขาจึงตั้งตนไว้ในธรรม เพราะเหตุนั้น การพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตั้งตนไว้ในธรรม..........................ภารทวาชะ อุสสาหะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม ถ้าบุคคลไม่พึงมีอุสสาหะ แล้วไซร้ เขาไม่พึงพบซึ่งความสมดุลย์แห่งธรรม เพราะเหตุที่เขามีอุสสาหะ เขาจึงพบความสมดุลย์แห่งธรรม เพราะเหตุนั้น อุสสาหะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่การพิจาณณา หาความสมดุลย์แห่งธรรม ...................... ภารทวาชะ ฉันทะ เป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่อุสสาหะ ถ้าบุคคลไม่พึงยังฉันทะ ให้เกิดแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงมีอุสสาหะ เพราะเหตุที่ฉันทะ เกิดขึ้น เขาจึงมีอุสสาหะ เพราะเหตุนั้น ฉันทะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่ อุสสาหะ.................................ภารทวาชะ ความที่ธรรมทั้งหลาย ทนได้ต่อกาเพ่งพินิจ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลาย ไม่พึงทนต่อการเพ่งพินิจแล้วไซร้ ฉันทะก็ไม่พึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ ฉันทะจึงเกิด เพราะเหตุนั้น ความที่ธรรมทั้งหลาย ทนต่อการเพ่งพินิจ ฉันทะจึงเกิด เพราะเหตุนั้น ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ......................ภารทวาชะ ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่ง อรรถ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ ถ้าบุคคลไม่เข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถแล้วไซร้ ธรรมทั้งหลายก็ไม่พึง ทนต่อการเพ่งพินิจ เพราะเหตุที่บุคคลเข้าไปใคร่ครวญซึงอรรถะ ธรรมทั้งหลายจึงทนต่อการเพ่งพินิจ เพราะเหตุนั้น การเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ.............................ภารทวาชะ การทรงไว้ซึ่งธรรม เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ ถ้าบุคคลไม่ทรงไว้ซึ่งธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่อาจเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะได้ เพราะเหตุที่เขาทรงธรรมไว้ได้เขาจึงเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะได้ เพราะเหตุนั้น การทรงไว้วึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ..................................ภารทวาชะ การฟังซึ่งธรรม เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม ถ้าบุคคลไม้่พึงฟังธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงทรงธรรมไว้ได้ เพราะเหตุที่เขาฟังซึ่งธรรม เขาจึงทรงธรรมไว้ได้ เพราะเหตุนั้น การฟังซึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2013
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ภารทวาชะ การเงี่ยลงซึ่งโสตะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าบุคคลไม่เงี่ยลงซึ่งโสตะ แล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงฟังซึ่งธรรมได้ เพราะเหตุที่เขาเงี่ยลงซึ่งโสตะ เขาจึงฟังธรรมได้ เพราะเหตุนั้น การเงี่ยลงซึ่งโสตะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังซึ่งธรรม............................ภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้ เป็นธรรมมีอุปการระมากแก่การเงี่ยลงซึ่งโสตะ ถ้าบุคคลไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้แล้วไซร้ เขาก้ไม่พึงเงี่ยลงซึ่งโสตะ เพราะเหตุที่เขาไปนั่งใกล้ เขาจึงเงี่ยลงซึ่งโสตะได้ เพราะเหตุนั้น การเขเาไปนั่งใกล้ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยลงซึ่งโสตะ........................ภารทวาชะ การเข้าไปหา เป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าบุคคลไม่เข้าไปหาแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้ได้ เพราะเหตุที่เขาเข้าไปหา เขาจึงไปนั่งใกล้ได้ เพราะเหตุนั้น การเขเาไปหาจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้............................ภารทวาชะ สัทธา เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้า สัทธา ไม่พึงเกิดแล้ว ไซร้ เขาจะไม่พึงเข้าไปหา เพราะเหตุที่สัทธาเกิดขึ้น เขาจึงเข้าไปหา เพราะเหตุนั้น สัทธาจึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา-----ม.ม.13/601-608/655-659...:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2013
  18. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....ถ้าดูในอภิธรรม ฉันทะ เป็น ปฎินนกเจตสิก 6 คือเกิดได้กับทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง มีดังนี้ 1วิตก 2 วิจาร 3อธิโมกข์ 4วิริยะ 5ปิติ 6ฉันทะ..........ส่วนโลภะ จัดอยู่ใน อกุศล เจตสิก 10...........:cool:
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ......................ต้องรู้จัก หรือ จำได้ หรือ แยกได้ ถึง ลักษณะ ของ เจตสิก นั้นนั้น อันมีลักษณะเฉพาะ หรือ ความต่าง นั้นเอง.....:cool:
     
  20. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    สัพเพ ธรรมา อนัตตา


    ตัณหา เป็น ตัว
    ฉันทะ เป็น เงา

    ตัวหนีลงนรก เงาก็ตามไป
    ตัวกระโดดขึ้นสวรรค์ เงาก็ตามไป

    ตัวใสจ้า ส่องแสงจะไล่เงา เงาก็ใสจ้าขึ้นมาบ้างแล้วจ้ายิ่งกว่าตัว ซะอีก
    ตัวตกใจ หนีไปชั้นพรหม เงาก็ตามไปชั้นพรหม

    ตัวไปจนมุมที่แถวสุทธาวาส เงาจึงแยกร่างจากเดิม1 เพิ่มอีก36 รวมเป็น37 แล้วเข้าล้อมตัวไว้
    เงาส่ง ผู้แทนของเงา ชื่อ ป. เข้าไปหาตัว แล้วเขกกะบาลตัวหนึ่งครั้ง ตัวจึงแตกสลายไป

    เงาก็ รวมจาก37กลับเป็น1 อีก แล้วหล่นลง กลายเป็น ลูกมะม่วง จากนั้นไม่นานลูกมะม่วง ก็หายไปอีก

    นิทาน เรื่อง สัพเพ-ธรรมา-อนัตตา ก็จบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...