จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=p2Rch6WvPJE]Toni Braxton - Un-Break My Heart - YouTube[/ame]
    Only you guys
    Un-break my heart again!
    555+
     
  2. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=yd1uEvyzCmM]Celine Dion - My Heart Will Go On (with dialogue from the film "Titanic") - YouTube[/ame]
    The Titanic sank!
    555+
    ถึงเรือจะจม แต่อย่าให้จิตจมตามกิเลสเรานะจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มีนาคม 2013
  3. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ความกลัวเกิดจากอะไร
    ถ้าคนเราไม่มีร่างกายซะอย่างเดียว ก็จะไม่มีอะไรน่ากลัวแน่
    ความกลัวเกิดจากอวิชชา ธรรมะอะไรๆ ก็เหมารวมอวิชชาทั้งหมด
    ความกลัวเกิดจากอุปาทานขันธ์ ที่เราหลงไปยึดติด
    ยึดมั่นถือมั่น ว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา
    แต่ถ้าเราสลัดทิ้งอวิชชา อุปาทาน ความหลง ความเห็นผิด
    เราก็จะไม่มี คำว่า น่ากลัว อีกต่อไปแล้ว
    แต่ถ้าผู้ใดยังละขันธ์ ๕ ไม่เด็ดขาด ความกลัวต่างๆก็จะปรากฎอยู่ร่ำไป
    แหม๊! ธรรมะนี่ ก็เหมือนเส้นผมบังภูเขาเลยเน๊อะ
    แค่เราหลง เราเข้าใจผิดแค่นิดเดียว คนละเรื่องเดียวกันเลย
    เหมือนคนตาย แท้ที่จริงแล้วเราก็ต้องตายเหมือนกัน แต่ดันกลัวผีซะงั้น
    คนที่ตายก่อนเรา เขาแค่เป็นผีรุ่นพี่
    ถ้าเราตายบ้าง เขาจับเราไปนอนโลงเดียวกัน ก็ยังนอนกันได้ตลอดทั้งคืน
    นั่นเป็นเพราะอะไร ถ้าไม่ใช่ อวิชชา มิจฉาทิฎฐิ
    บางคนตอบว่า ไร้สติ ไร้วิญญาณ ก็เลยไม่กลัว
    คนตายหรือสัตว์ตายก็เหมือนกัน คนตาย ก็คือร่างไร้วิญญาณ
    คนส่วนใหญ่ที่ยังไม่ตายก็มักกลัวผี แต่คนตายเหมือนกันก็จะไม่กลัวกัน
    แต่ผีก็กลัวคนเป็นเหมือนกันนะ เพราะกลัวไม่มีคนทำบุญ ทำทานให้

    เพราะฉะนั้น เมื่อเราหลงมาเกิดก็อย่าไปกลัว อย่าหนีความทุกข์
    อย่าไปหนีความจริง ยอมรับความจริง ตราบใดที่เรามีขันธ ๕
    ไม่มีใครหนีทุกข์พ้น เพราะร่างกายก็คือ ตัวทุกข์ดีๆนี่เอง
    ยกเว้น เจริญกรรมฐานจนออกจากทุกข์ตนเอง เท่านั้น
    เมื่อเข้าใจทุกข์ ย่อมเข้าใจธรรมะ เวลาอยู่ก็เป็นสุข เวลาไปก็สุคติ

    พอแร๊ะ ยิ่งพูดมากก็ยิ่งออกทะเล เดี๋ยวใครๆ เรียกไม่ได้ยิน เห่อๆ
     
  4. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...หลวงพ่อปานท่านให้โอวาท...ไว้ว่า...

    ...ผู้ใดมีความโลภสิ้นแล้ว...ไม่มีความยึดร่างกายนี้...

    ...เป็นเราเป็นของเรา...บรรเทาความโกรธลงได้...

    ...มีสติเย็นแล้ว...ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสมณะ...

    ...เป็นภิกษุ...เป็นผู้ปฏิบัติธรรม...

    ...ผู้นั้นเป็นผู้เข้าถึงธรรม...ถึงซึ่งความเป็นพระ อยู่ข้างในจิตในใจ...

    ...ท่านกล่าวไว้ถึงผู้ปฏิบัติดี มีความศัรทธาในพระพุทธศาสนา...และเป็นผู้ศึกษา และค้นหาตัวตนเจ้าของ...

    ...ผู้นั้นแหละที่เข้าถึงรสพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า...

    ...น้อมกราบหลวงพ่อปาน โสนันโทด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะสาธุ...

    ...http://palungjit.org/threads/จิตพร้อม-รับภัยพิบัติ.334019/page-638#
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2013
  5. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...อ่านธรรมะขององค์หลวงตาแล้ว อดใจไม่ได้ที่จะต้องนำมาเป็นธรรมทาน...

    ...นี่แหละท่านถามว่า...นอนเฝ้าอริยสัจกันอยู่ทำไม?...

    ...ท่านกล่าวว่ามรรค...อยู่ที่ไหนในเวลานี้...หรือร่วงโรยไปตามพระสรีระของพระพุทธเจ้า

    แล้วหรอ...ก็พระพุทธเจ้ากับเรามันละคน...ไม่ใช่คนเดียวกันอริยสัจอันเดียวกัน จะร่วงโรย

    ไปตามท่านอย่างไรกัน...แยกให้ถูกซิ แยกอริยสัจ อริยสัจท่าน อริยสัจเรา มันคนละอย่าง

    ...คนละอริยสัจนี่...การปรินิพพาน นั่นหมายถึง...พระสรีระพระพุทธเจ้าสลายจากส่วนผสม

    ลงไปเท่านั้น...หลักธรรมหลักวินัยที่เป็นทางเดินอันถูกต้องดีงามเพื่อถึงจุดมุ่งหมายปลาย

    ทางนั้น...ประทานไว้แล้วที่กายที่จิตของเราทุกคนจะบกพร่องที่ตรงไหน พิจารณาให้ดี...

    ...นี่เหมือนองค์ศาสดาประทานอยู่ตลอดเวลา...เป็นคำพูดที่สดๆ ร้อนๆ เพราะเป็น...

    ...สวากขาตธรรม...ตรัสไว้ชอบ...และตรัสลงที่กายที่ใจของเรานี้...แม้พระพุทธองค์...

    ...จะมาประทานพระโอวาทเสียเอง...ก็ไม่ประทานนอกเหนือไปจากหลักธรรมหลักวินัย

    ที่ทรงประทานไว้แล้วเลย...จึงว่าเป็นศาสดาแทนองค์ตถาคต...ท่านถึงได้รับสั่งสอนอย่าง

    นั้น...กาย ใจของเราเป็นปัจจุบัน...อริยสัจ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคเป็นหลักแห่ง...

    ...สัจธรรม...ซึ่งมีกายมีใจเป็นที่อยู่เป็นที่แห่งสัจธรรม...ประทานโอวาทที่ประทานลงที่นี่

    ...ร่วงโรยไปไหน...เวลานี้มีอยู่กับตัวของเราทุกคนนอกจากตายเสียเท่านั้นก็เรียกว่า...

    ...สัจธรรมของเราที่ร่วงโรยไปแล้ว...ทำงานอะไรไม่ได้แล้ว...

    ...นี่เราทำได้อยู่พิจารณาลงไปที่ว่ามรรค มี สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นต้น

    สัมมาสมาธิ...เป็นที่สุด...รวมลงแล้วเรียกว่าเครื่องประหารปราบปรามกิเลสทุกประเภท...

    ...ไม่นอกเหนือไปจากมรรคที่กล่าวนี้ไปได้เลย...สดๆ ร้อนๆ อยู่มิใช่เหรอที่ไม่สดไม่ร้อน

    ก็คือคนตายแล้ว...อริยสัจก็ร่วงโรยไปด้วย...ผู้ยังอยู่ อริยสัจก็ยัง สดๆ ร้อนๆ อยู่นั่นเอง...

    ...รีบขุดค้นขึ้นมาทำประโยชน์...กันเสีย...นอนเฝ้าอยู่ทำไม?...

    (พระธรรมคำสอนของ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านได้ฝากไว้)

    ...เมื่อวันที่๓๑ ก.ค ๒๕๒๕ คัดจากหนังสืออริยสัจ ขององค์หลวงตามหาบัว...

    ...ลูกขอน้อมกราบและน้อมรับพระธรรมคำสั่งสอนขององค์ท่านด้วยเศียรเกล้า...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2013
  6. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    "การเจริญสติ"


    พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

    ถาม: คุณครูจะบอกให้ฟังอยู่เสมอว่า ศึกษาธรรมะแล้วชีวิตของทุกๆคนจะดีมีความสุข เป็นอย่างนั้นใช่ไหมเจ้าคะ

    ศึกษาธรรมะนะ? ดีแล้วล่ะ?
    คนไหนมีธรรมะก็ชีวิตมีความมั่นคง?
    เราไม่รู้อนาคตของแต่ละคนนะว่าเราจะเผชิญอะไรในชีวิตบ้าง?
    การที่เราเรียนธรรมะไว้ เหมือนเราสร้างต้นทุนให้ตัวเองไว้ เพื่อจะต่อสู้กับชีวิต?
    แต่ละคนๆ นะกว่าจะตั้งหลักได้ ตั้งตัวได้?
    บางคนล้มลุกคลุกคลาน บางคนตั้งหลักตั้งตัวไม่ได้ทั้งชาติเลย?
    แต่ถ้าเรามีธรรมะไว้นะ ชีวิตเรามีระเบียบมีแบบแผน?
    ไม่ค่อยตุปัดตุเป๋ออกนอกลู่นอกทาง โอกาสที่จะตั้งเนื้อตั้งตัวได้ก็เยอะหน่อย

    อยู่กับโลกบางทีเราระวังเต็มที่แล้ว? อยู่ๆก็เกิดเหตุการณ์ซึ่งเราไม่คาดฝัน?
    ในโลกนี้เต็มไปด้วยเรื่องที่คาดฝันไปไม่ถึง มันนำความทุกข์มาให้เรา?
    เช่นเราอยู่ดีๆ พ่อแม่เราตายไป อะไรอย่างนี้ก็เป็นไปได้?
    หรือว่ามีครอบครัว แฟนเรานอกใจเรา ก็เป็นไปได้?
    ทำงานไปแล้วตกงาน หรือกิจการล้มละลาย ก็เป็นไปได้?
    มีลูกแล้วลูกเกเร ทำความหายนะให้ ทำความทุกข์ให้พ่อให้แม่ ก็เป็นไปได้อีก?
    อยู่ดีๆยังแข็งแรงอยู่นะอยู่ๆ ก็เจ็บป่วยขึ้นมา เป็นมะรงมะเร็ง เด็กๆก็เป็นนะไม่ใช่ไม่เป็น?
    หลวงพ่อเคยเห็นที่สถาบันมะเร็ง เด็กเล็กๆเลยก็เป็นมะเร็ง?
    เพราะงั้นในชีวิตเราเนี่ยะเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่แน่นอน

    งั้นเราต้องศึกษาธรรมะเอาไว้?
    ถ้าคนไหนมีธรรมะไว้เนี่ยะ เราจะสามารถอยู่กับความไม่แน่นอนได้อย่างที่มีความมั่นคงพอสมควร?
    ยิ่งถ้าเรามีธรรมะมากๆนะ เรารู้สึกแน่นอนเลยที่ใจเราจะไม่ทุกข์?
    โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ แต่ใจเราจะไม่ทุกข์
    นี่ถ้าภาวนาสำเร็จนะ ถึงที่สุดจริงๆแล้วจะไม่ทุกข์อีกแล้ว

    งั้นเราก็ต้องสร้างต้นทุนให้ตัวเองไว้ด้วยการศึกษาธรรมะเอาไว้?
    การศึกษาธรรมะเนี่ยะไม่ใช่การศึกษาอะไรที่ยากๆหรอก?
    อย่าไปคิดว่าธรรมะเป็นเรื่องยากๆ ธรรมะเป็นเรื่องห่างไกล
    ธรรมะนี่ต้องเรียนอีกหลายชาติถึงจะสำเร็จ ไม่ใช่เลย?
    ถ้าพวกเราเข้าใจหลักที่พระพุทธเจ้าสอนนะ เราจะพัฒนาจิตใจได้อย่างรวดเร็วมากเลย?
    ใช้เวลาไม่นานหรอก บางคนใช้เวลาเดือนเดียวนะ?
    เรียนกับหลวงพ่อเดือนนึง ใจก็เปลี่ยนแปลงไปมากเลย?
    เคยมีความทุกข์มากๆเลยก็เหลือทุกข์น้อยๆ เคยทุกข์นานๆก็เหลือทุกข์สั้นๆ?
    จิตใจมันมีความอบอุ่น จิตใจมีความมั่นคง

    คนในโลกนี้นะ? ทุกวันนี้คนไม่มีความอบอุ่นเลย?
    ความมั่นคงก็ไม่มีหรอก ทุกอย่างเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากเลย?
    ความอบอุ่นก็ไม่มี ครอบครัวแตกกระจัดกระจายไป?
    แต่ถ้าเรามีธรรมะแล้ว นอกจากมีความมั่นคงแล้ว เรายังอบอุ่นด้วย?
    มันมีความสุขอยู่ได้ด้วยตัวเอง สมมุติเราเป็นลูกกำพร้า เราก็มีความสุขนะ?
    เพราะเรารู้ว่าพ่อแม่ ที่แท้จริงอีกท่านหนึ่งของเราก็ยังอยู่คือพระพุทธเจ้า?
    พระพุทธเจ้าไม่ได้ทอดทิ้งเรานะ อยู่ในใจเรานี้เอง?
    ใจของเราเข้าถึงธรรมะแล้วก็จะเจอพระพุทธเจ้า?
    ท่านถึงบอก ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา?
    พวกเราไม่ได้เจอร่างกายของพระพุทธเจ้า?
    แต่ว่าถ้าเราเข้าใจธรรมะ เราจะเจอพระพุทธเจ้าตัวจริง?

    คนไหนได้ธรรมะแล้วจะรู้สึก มีชีวิตมีความอบอุ่น ไม่ว้าเหว่ ไม่ขาดที่พึ่งที่อาศัย

    เราก็ต้องค่อยๆฝึก ค่อยๆเรียนธรรมะนะ?
    การเรียนธรรมะไม่ใช่ยากอะไรหรอก?
    เราอย่าไปวาดภาพว่าการปฏิบัติธรรมคือการนั่งสมาธินะ?
    เราอย่าไปวาดภาพว่าการปฏิบัติธรรมคือการเดินจงกรม?
    ต้องเดินสวยๆ ต้องเดินนานๆ ไม่เกี่ยวกันเท่าไหร่หรอก?
    การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม เป็นแค่รูปแบบของการปฏิบัติ?
    เหมือนเครื่องแบบนักเรียนเท่านั้นเอง?
    ดูสวยๆ แต่เนื้อแท้คือการมีสติของเรา?
    จิตเรามีสติจริงไหม จิตเรามีสัมมาสมาธิ มีความตั้งมั่นจริงไหม?
    เราสามารถเจริญปัญญาได้ถ้ามีสติแล้วก็มีสัมมาสมาธิ นี่เป็นเนื้อแท้ของการปฏิบัติ


    การมีสติเนี่ยะ? ไม่ใช่ว่าต้องเดินจงกรมอยู่ถึงมีสติ ต้องนั่งสมาธิอยู่ถึงมีสติ?
    เราทำอะไรอยู่ก็มีสติได้นะ ถ้าค่อยๆฝึกไป?
    เข้าห้องน้ำนี่ก็มีสติได้ นั่งถ่ายไป ท้องผูก ท้องไม่ผูก อะไรอย่างนี้ก็เจริญสติได้?
    จะกินข้าวเราก็มีสติได้ ทำอะไรๆเราก็มีสติได้?
    ยกเว้นเวลาเรียนหนังสือนะ เวลาเรียนหนังสือเนี่ยะไม่ใช่เวลาเจริญสติปัฏฐาน?
    แต่ต้องมีสติเรียนสิ่งที่อาจารย์สอน คนละอันกัน

    คำว่า "เจริญสติ" ที่หลวงพ่อพูดถึง หมายถึง สติปัฏฐาน

    ได้แก่สติที่คอยรู้กายรู้ใจ

    สติที่คอยรู้กายรู้ใจเรียกว่า สติปัฏฐาน

    สติที่รู้อารมณ์อื่นๆเรียกว่าสติธรรมดา


    เวลาเราเรียนหนังสือ เวลาเราทำงานที่ต้องคิดเนี่ยะ เราใช้สติธรรมดา จดจ่ออยู่กับการเรียน
    แต่เวลาที่เหลือเนี่ยะ พยายามมีสติปัฏฐาน

    สร้างสติปัฏฐานคือคอยรู้สึกตัวไว้
    คอยรู้สึกกาย คอยรู้สึกใจไปเรื่อย

    ถ้ารู้สึกได้นะ ความทุกข์มันจะค่อยๆหายไปเอง

    พวกเราสังเกตไหม กิเลสมันเกิดทั้งวัน?
    พวกนักเรียนที่เรียนมาแล้วเคยเห็นไหม กิเลสมันเกิดได้เรื่อยๆ?
    เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็หลง?
    เดี๋ยวฟุ้งซ่าน เดี๋ยวหดหู่ เดี๋ยวลังเลสงสัย?
    ใจเรานี่หมุนไปเรื่อยๆนะ เดี๋ยวกิเลสตัวนั้นเกิด กิเลสตัวนี้เกิด?
    ทุกคราวที่ใจเราทำงานขึ้นมาเนี่ยะ ภาษาพระเรียกว่า ภพ (ภ.สำเภา พ.พาน - ภพ นะ)?
    เวลาจิตใจเราหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไป ทำงานปรุงแต่งอะไรไป ก็เรียกว่ามันสร้างภพไปเรื่อย

    ภพมีสองส่วน ภพหนึ่งเรียก ภพโดยการเกิด?
    อย่างเราตอนนี้เราเกิดในภพของมนุษย์?
    ภพของมนุษย์นี้เรียกว่าเป็นกามภพ?
    ถ้าเราเข้าฌานก็เป็นรูปภพอรูปภพ?
    นี่เป็นภพโดยการเกิดเรียกว่าอุปัตติภพ?
    ตัวนี้ตอนนี้เรามีอยู่แล้ว เราเป็นภพของมนุษย์?
    เราเกิดเป็นมนุษย์ เรียกว่าเป็นภพใหญ่ของมนุษย์ มีภพใหญ่เป็นมนุษย์

    แต่มันยังมีภพอีกชนิดหนึ่งนะ เรียกว่ากรรมภพ?
    กรรมภพนี่คือการที่จิตทำงานขึ้นแต่ละคราวแต่ละคราว?
    เมื่อไหร่จิตใจเรามีความโลภขึ้นมานะ ขณะนั้นร่างกายเราเป็นมนุษย์จริง แต่ใจเราเป็นเปรต?
    เวลามีความโลภ สังเกตไหมใจมีความสุขหรือความทุกข์ นึกออกไหม?
    เวลาเราอยากโน้นอยากนี้ ใจเรามีความทุกข์นะ?
    เวลาเรามีความโกรธขึ้นมาเนี่ยะ ใจเราก็อยู่ในภพที่เป็นสัตว์นรก?
    สัตว์นรกเนี่ยะจิตใจไม่แช่มชื่นไม่เบิกบาน เจือด้วยโทสะเจือด้วยความทุกข์ตลอดเวลา?
    เวลาเรามีความโกรธ หรือเวลาเรามีความทุกข์ เราสุขไหม? เราไม่สุขใช่ไหม?
    เพราะงั้นเป็นภพของเปรตมีความโลภ เราก็มีความทุกข์นะ?
    ภพของสัตว์นรก มีโทสะ มีความโกรธขึ้นมา เราก็มีความทุกข์?
    เป็นภพของสัตว์เดรัจฉาน ใจลอย ตัวนี้ดูยากละ?
    โมหะ ใจลอยไป ดูยาก หลงๆไปวันหนึ่งๆนะ ดูยากแล้วว่าเป็นตัวทุกข์ นี้ต้องค่อยๆฝึกก่อน?

    ทีแรกก็จะเห็นภพที่มีโทสะ ก็เห็นได้ง่ายว่าเป็นทุกข์?
    ภพที่มีความโลภขึ้นมา เห็นได้ง่ายว่ามีความทุกข์?
    ถ้าใจของเราเป็นบุญเป็นกุศลขึ้นมานะ เราก็เป็นภพของมนุษย์?
    ใจเรามีความสุข อยู่กับความสุข มีความละอายบาป เกรงกลัวต่อบาป เราก็อยู่ในภพเทวดา?
    ร่างกายเรายังเป็นคนอยู่ แต่ใจเราเป็นเทวดา?
    บางทีเราทำสมาธินะ ร่างกายเราเป็นคน ใจเราเป็นพรหม เป็นพระพรหม เงียบๆสงบ

    ใจเรานี้แหละ? เสวยภพโน้น เสวยภพนี้?ตลอดเวลา?
    เปลี่ยนภพตลอด คือเปลี่ยนสภาวะ?
    พูดคำว่าภพแล้วงง เปลี่ยนมาเป็นว่ามันเป็นสภาวะต่างๆ?
    เดี๋ยวใจเราก็มีสภาวะที่เป็นสุข เดี๋ยวใจก็มีสภาวะเป็นทุกข์?
    เดี๋ยวใจโลภ ใจโกรธ ใจหลง ใจฟุ้งซ่าน ใจหดหู่?
    บางภพหรือบางสภาวะเนี่ยะ ดูง่ายว่าเป็นทุกข์?
    บางภพที่ละเอียดประณีต บางสภาวะที่ละเอียดประณีต ดูยากว่าเป็นทุกข์ ต้องภาวนากันนานๆ?

    อย่างใจของพรหมเนี่ยะ ดูยากที่สุดเลยว่าเป็นภพ?
    มันมีความสุข มันมีความสงบ มีอุเบกขาอยู่อย่างนั้น ดูยาก?
    ใจอื่นๆนะก็ดูง่ายหน่อย ใจเทวดาก็ดูยากมีความสุขเยอะไป?
    เวลาพวกเรามีความสุข เรารู้สึกไหมเรามักจะเผลอ?
    เรามักจะเพลินในความสุข เรามักจะลืมกายลืมใจ?
    งั้นพวกเทวดาเนี่ยะ เผลอๆเพลินๆ ไปเรื่อยๆส่วนใหญ่นะ?
    ยกเว้นว่าเคยศึกษาธรรมะมาก่อนนะ เป็นเทวดาแล้วก็ภาวนาได้อีก?
    ถ้าไม่เคยศึกษามาก่อนก็หลงๆไปวันหนึ่งๆไม่มีสาระอะไร

    เวลาที่เราเป็นคนเนี่ยะ? ใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา?
    มีภพทีไร มีทุกข์ทุกที นี่พระพุทธเจ้าบอกอย่างนี้?
    มีภพทีไร ก็เป็นทุกข์ทุกที?
    เห็นไหมเราโลภขึ้นมาทีหนึ่ง จิตมีความโลภขึ้นมา?
    นี่เป็นจิตโลภ เป็นจิตของเปรต เราก็มีความทุกข์?
    บางทีเรามีความคิดความเห็นนะ เราว่าต้องอย่างนี้ๆนะ คนอื่นไม่เชื่อเราเราโมโหเลยนะ ?

    พยายามบังคับคนอื่นให้เชื่อตามเรา เรายึดในความคิดความเห็นของเรา?
    ก็เป็นภพชนิดหนึ่งชื่อว่าอสุรกาย พวกเจ้าทิฏฐิ เจ้ามานะ เจ้าความเห็น?
    งั้นอสุรกายเยอะนะ ลูกศิษย์หลวงพ่อเนี่ยะ?
    พวกเรียนหนังสือมากเนี่ยะ พวกอสุรกายนะ อสุรกายจำแลงมา?
    งั้นบางทีก็เป็นเปรต โลภโน่นโลภนี่อยากโน่นอยากนี่ เช่นอยากได้มือถือใหม่?
    ..ฯลฯ..เห็นคนอื่นมีเราอยากจะได้?
    เห็นไหมใจที่มีความอยากขึ้นมาก็มีความทุกข์?
    ใจที่เห็นคนอื่นของเขาดีกว่านะ อิจฉาเค้า?
    นี่มีความทุกข์อีก เป็นโทสะ ตัวอิจฉา?
    งั้นใจเรานี่หมุนเวียนที่จะสร้างความทุกข์ขึ้นมาแผดเผาตัวเองอยู่ตลอดเวลา?
    ห้ามได้ไหม ห้ามไม่ได้นะ ใจจะโลภก็ห้ามไม่ได้ ใจจะโกรธก็ห้ามไม่ได้?
    ใจจะหลง ใจจะฟุ้งซ่าน ใจจะหดหู่ ใจจะลังเลสังสัย ห้ามไม่ได้ เราบังคับมันไม่ได้จริงหรอก

    แล้วทำอย่างไรเราถึงจะสู้กับกิเลสไหว?
    พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้ทันนะ คอยรู้ทัน
    ต่อไปนี้ง่ายๆเลยนักเรียนทั้งหลาย?
    ใจเราโลภขึ้นมา ใจเรามีความอยากขึ้นมา เราก็รู้ทันว่าตอนนี้อยากแล้ว?
    ใจเราโกรธขึ้นมา หรือใจเรากลัว หรือใจเราอิจฉา หรือใจเรากังวล นี่เป็นตระกูลโทสะนะ?
    หวงแหน นี่ตระกูลโทสะ โทสะเกิดขึ้นในใจเราก็คอยรู้ทัน?
    ใจลอยไป ใจฟุ้งซ่านไป ใจหดหู่ไป นี่พวกโมหะ เราก็รู้ทันนะ ใจมันซึมๆไป เราก็รู้ทัน?
    ต่อไปนี้ง่ายๆเลย การปฏิบัติธรรมต้องไปวาดภาพว่าต้องไปนั่งสมาธิมากๆ ไปเดินจงกรมมากๆ?
    หัดเจริญสติในชีวิตประจำวันให้มาก

    การเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้แหละ คือหัวใจของกรรมฐานเลย หัวใจของการปฏิบัติ
    ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ?
    ครูบาอาจารย์บอกมาอีกทีหนึ่งว่าหลวงปู่มั่นสอนท่านมากัน?
    หลวงปู่มั่นสอนบอกว่า ทำสมาธิมาก นั่งลูกเดียวเลย?
    ไม่ทำอย่างอื่นเลย นั่งเอาความสงบอย่างเดียวเลย?
    ท่านบอกว่าทำสมาธิมาก เนิ่นช้า?
    คิดพิจารณามาก พิจารณาธรรมะมากๆนะ ฟุ้งซ่าน?
    หัวใจสำคัญของการปฏิบัติธรรมนะคือการเจริญสติ?
    มีสติในชีวิตประจำวันนี้ เราจะยืน เราจะเดิน เราจะนั่ง เราจะนอนนะ?
    ใจเราเป็นยังไงเราคอยรู้ทันไปเรื่อย คอยรู้ทันใจของเรา?

    พอรู้บ่อยๆ เราจะเห็นเลย เดี๋ยวใจก็เสวยภพนี้ เดี๋ยวใจเราก็เสวยภพนี้?

    เดี๋ยวใจเราก็เป็นเปรต เดี๋ยวใจเราก็เป็นอสุรกาย เจ้าความคิดเจ้าความเห็น?
    เดี๋ยวใจเราก็เป็นสัตว์นรก มีความทุกข์ขึ้นมา เดี๋ยวใจเราก็แช่มชื่น เป็นบุญเป็นกุศลนะ ก็เป็นเทวดาขึ้นมา?
    มีศีลมีธรรมเป็นมนุษย์เป็นเทวดา ใจเราเข้าถึงความสงบ บางช่วงใจเราเข้าถึงความสงบ ใจเราก็เป็นพระพรหม?
    นี่ใจเราหมุนไปเรื่อยๆ ให้เราคอยรู้ทันใจนะ เราจะเห็นว่าใจเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา?
    ใจไม่ว่าจะเป็นยังไงนะ มันหาความสุขความสบายที่แท้จริงไม่ได้ แต่ตัวนี้ดูยากนิดนึง?
    โดยเฉพาะจิตที่ละเอียดที่ประณีต เป็นภพที่ละเอียดที่ประณีตนี่ดูยากว่าเป็นตัวทุกข์ เราจะเป็นหยาบๆก่อน

    งั้นเบื้องต้นนะใจเราโกรธขึ้นมาเราดูเลย? เห็นไหมใจมันดิ้นเร่าๆ หาความสุขไม่ได้เลย?
    ใจมันโลภขึ้นมา รู้ทันเลย ใจมันดิ้นเร่าๆ หาความสุขไม่ได้?
    คอยรู้ทันใจตัวเองไป อย่าไปบังคับนะ อย่าไปห้ามมัน อย่าไปควบคุมมัน ให้รู้ลูกเดียวเลย

    วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒?
    สวนสันติธรรม
     
  7. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713

    ขออนุโมทนาค่ะ คุณภู...ใช่เลยค่ะการเจริญสติภาวนานั้น

    เพื่อเป็นการเริ่มต้นที่จะทำตนให้...มีจิตมีใจให้คิดถึงพระ...ถ้าเราฝึกได้...

    ...นั่นแหละ คือการฝึก ที่ให้ตนเอง...เมื่อเราเสียเงินซื้อตั๋วพร้อมแล้วที่จะ...

    ...เดินทางนั้น...เป้าหมายปลายทางที่เราตั้งใจไว้ก็จะถึงที่ ที่เราได้ฝึกฝน...

    ...มาด้วยความศรัทธาและตั้งใจ...แต่ระหว่างที่ปฏิบัติให้ทำไปโดยไม่ต้อง...

    ...หวังว่ามันจะถึงเมื่อไร ให้ทำไปปฏิบัติไปเป็นกิจและทำต่อเนื่อง เมื่อถึง...

    ...เวลาแล้วผลของการกระทำนั้นๆ...จะมาแบบไม่ให้เรารู้ตัวมาก่อน คือ ผลนั้น...

    ...จะมาแบบเป็นอัตโนมัติ...ความเป็นอัตโนมัตินี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้เข้าใจ...

    ...ในจิตในใจของผู้ปฏิบัติ...ว่าอาหารทิพย์นี้รับประทานแล้วอิ่มไปตลอดจนถึง...

    ...การเดินทางและถึงจุดหมายปลายทาง...นั่นคือถึงนิพพานเลย...รู้แล้ว เห็นแล้วกับตนเอง...

    ...ซึ่งเหตุการนี้ได้พบแล้วกับผู้เขียน...คือได้พบนิพพานบนดินค่ะ...ใช่เลยค่ะไม่ใช่พระ แต่จิตใจนั้นต่างหากสาธุค่ะคุณภู...

    ...ผู้เขียนจึงนำมาเล่าสู่กันฟังถึงการเดินทางของตนเองตลอดสายถึงแม้บางครั้งจะติดบ้างแต่ก็ไม่เคยถอยค่ะ...

    ...ขอบพระคุณค่ะที่ติดตามอ่านหวังว่าคงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะค่ะสาธุ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อยากจะบอกว่า..(อั้ยย่ะ!)
    เรื่องจิตคนเรานั้นสำคัญมาก!

    การเข้าใจธรรมะ ได้จากการอ่าน การสดับตรับฟัง
    แต่การเข้าถึงธรรมะกันจริงๆ จะต้องนำไปสู่ธรรมปฎิบัติ
    คือการนำจิตไปเดินตามอริยมรรค เท่านั้น ทางอื่นไม่มี
    เพราะฉะนั้น การเข้าใจธรรมะเฉยๆ มิอาจปล่อยวางอะไรได้ทั้งหมด
    แต่ถ้าอยากปล่อยวางได้ทั้งหมด ปล่อยวางได้อย่างสนิทใจ
    เราจะต้องเข้าให้ถึงธรรมะ โดยการปฎิบัติธรรม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น
    การเข้าถึงธรรมะ ก็หมายความว่าการสำเร็จธรรม มีดวงตาเห็นธรรมเป็นอย่างต่ำ
    มิได้หมายรวมถึงสิ่งภายนอกจิตใจ หรือไปนุ่งขาวห่มขาวกัน
    หวังเพื่อจะเข้าให้ถึงธรรมะ เพื่อจะปล่อยวางอะไรได้อย่างสนิทใจกันได้สักทีเดียว
    เราต้องอาศัยเวลาในการเจริญสติ สมาธิและปัญญา ไปทีละขั้น ไปทีละตอน
    เหมือเราเดินขึ้นบันไดบ้าน จากชั้นแรกไปชั้นสอง ชั้นสาม ชั้นสี่ เป็นต้น

    สำหรับผู้ที่จะเอาดีเรื่องมรรคผลนิพพาน
    ก่อนที่เราจะลงมือปฎิบัติ ระหว่างปฎิบัติ ปฎิบัติสำเร็จหรือมีดวงตาเห็นธรรมแล้วก็ตาม
    เรื่องศีลนั้นสำคัญมาก(สำคัญที่สุด)
    เพราะศีลเป็นบันไดขั้นแรกสุด เป็นรากฐานสำคัญของโครงสร้างทั้งหมด
    ผู้ปฎิบัติได้โปรดอย่ามองข้าม หวังเอาแต่ภาวนา คือจะเอาแต่สมาธิ ปัญญา
    แต่สุดท้ายก็ไปไม่ถึงไหน เพราะจิตตัวเดียว
    ศีลของผู้ปฎิบัติไม่ครบบริบูรณ์ ก็มักมีนิวรณ์เข้ามารบกวนจิต
    ผู้ปฎิบัติมีนิวรณ์ ก็เสมือนมีศัตรู เพราะในระหว่างการปฎิบัติ จิตนั้นสำคัญมาก
    เมื่อจิตใจเราไม่สงบนิ่ง ไม่สงบสุข การปฎิบัติธรรมก็มักจะล้มเหลวตามไปด้วย
    เพราะฉะนั้นผู้ปฎิบัติจะต้องให้ความสำคัญไปทีละขั้น ทีละตอน
    ให้ความสำคัญเรื่องศีลของตนเองก่อนเลย ต่อไปค่อยว่าเรื่องภาวนา
    การภาวนาสำคัญที่สุด ก็ตรงที่สติเราเกิดต่อเนื่องหรือไม่
    เพราะถ้าสติเกิดไม่ต่อเนื่อง ก็จะมีผลโดยตรงกับสมาธิและปัญญาของจิต
    และท้ายที่สุด เมื่อปัญญาไม่เกิดกับจิตอย่างต่อเนื่อง มักมีผลโดยตรงกับวิปัสสนา
    เมื่อจิตไม่หรือขาดการวิปัสสนา ปัญญาญาณหรือญาณต่างๆก็ไม่เกิดขึ้นแน่นอน
    เมื่อปัญญาญาณหรือญาณไม่เกิด ไม่มี คำว่า สุญญตา วิมุตติ พระนิพพาน
    เป็นอันต้องจบสิ้นลงตามไปด้วย
    เพราะฉะนั้น จิตเราก็ไม่พ้น ไม่อิสระจากรูป-นาม จิตไม่สามารถอยู่เหนือขันธ์ ๕
    หรือไม่สามารถละขันธ์ ๕ ได้เด็ดขาด
    เพราะฉะนั้น คำว่าทุกข์ ก็ยังปรากฎอยู่กับผู้นั้น แต่อาจจะเบาบางลงมาก

    สำหรับผู้ที่มีญาณ(ยาน)ก็มักจะได้เปรียบผู้ที่มีฌาน(ชาน)
    ผู้ที่มีฌาน(ชาน)ก็มักได้เปรียบผู้ที่มีสติหรือสมาธิธรรมดา
    ผู้ที่มีสติ แต่ก็ยังดีกว่าผู้ที่ชอบเผลอสติ หรือไม่มีสติเลย

    สรุปแล้ว ผู้ปฎิบัติควรเจริญสติธรรมดาๆ ให้เป็นสัมปชัญญะ
    และเมื่อมีสติมากแล้ว ก็พยายามพัฒนาสมาธิให้เป็นสัมมาสมาธิ
    นั่นก็หมายความว่า ให้ผู้ปฎิบัติจะต้องทรงฌานเป็นนิจ (ตามมรรคข้อที่๘)
    เมื่อปัญญาหรือตัวรู้เกิดต่อเนื่อง มีผลทำให้จิตเราเข้าสู่โหมดวิปัสสนาอัตโนมัติ
    ปัญญาญาณหรือญาณของผู้ปฎิบัติ ก็จะเกิดขึ้นช่วงนี้แหล่ะ
    ถามว่ามีญาณมีประโยชน์อันใด ญาณหรือยานนี้จะเป็นเสมือนพาหนะ
    ที่จะนำจิตของผู้ปฎิบัติเคลื่อนเข้าไปสู่วิมุตติ คือความหลุดพ้น
    แต่ตัวญาณนี้มักจะประกอบไปด้วย นิมิตหรืออภิญญาต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน
    แต่ถ้าผู้ปฎิบัติมีปัญญามาก ก็จะสามารถปล่อยวางนิมิตหรืออภิญญาได้โดยง่ายดาย
    เพราะปัญญาเป็นผู้รู้ แต่ปัญญาญาณหรือญาณเป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอด
    ญาณนี้มักจะแสดงเป็นรูปหรือนาม มีลักษณะโปร่งใส มีความทะลุทะลวงสูง
    เพราะฉะนั้นจึงไม่มีกิเลสตัวใด จะไปปิดกั้น ปิดบัง คำว่า ญาณนี้ไปได้เลย

    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม
    ขอให้ทุกดวงจิตเข้าถึงซึ่งพระตถาคต พระนิพพาน ตามแต่ใจปรารถนาทุกประการด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มีนาคม 2013
  9. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ( มรดกหลวงพ่อเก็บ)

    ...ท่านสอนไว้ว่า...สติเหมือนดวงตา...

    ...ปัญญาเหมือนแสงสว่าง...หากพร้อมสองอย่าง...

    ...ชีวิตจะว่างจากทุกข์...มีความคิด มีสติอยู่เสมอ...

    ...ตำรา...นำหน้าคนโง่...ตามหลังคนฉลาด...

    ...ผู้มีสติ...และมีปัญญา...ย่อมเจอโอกาส...

    ...พระธรรมคำสอนของพระครูวิบูลเมธาจารย์ หลวงพ่อเก็บ เจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์

    จังหวัดสุพรรณบุรี. คัดจากหนังสือมรดกหลวงพ่อเก็บ.

    ...ลูกขอน้อมรับพระธรรมคำสอนของท่านและน้อมกราบท่านด้วยเศียรเกล้าค่ะ...
     
  10. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    " ประวัติพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ฉบับมหาบารมี"

    ...บุคลิกและคำสอน...พระครูบาเจ้าศรีวิชัย จะมีบุคลิกปกติสงบสำรวมไม่แสดงตัวโอ้อวด

    ดีวิเศษ ไม่มีมายาสาไถย ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมเพทุบาย...ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะไมมีการ

    ปลุกเสกเลขยันต์...วัตถุมงคลจำหน่ายรูปเหรียญ ไม่มอมเมาให้ผู้คนลุ่มหลงงมงาย

    ฉกฉวยโอกาสค้าขายเอาเปรียบเห็นแก่ผลประโยชน์จากลาภสักการะ อันผิดวิสัยของ

    สมณะผู้อยู่ในศีล กินอยู่ตามธรรมชีวิตท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง...จะพูดน้อยเสียงค่อนข้าง

    แหบเบา...แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าถ้าท่านได้พูดอะไรไปแล้ว เน็ด (ว่ากันอย่างนั้น) ถือว่า

    ถ้อยคำของท่านเต็มไปด้วยพลังคุณค่าสาระเป็นสัจจธรรม (คำไหนคำนั้น) เช่น เมื่อ

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าตรัสถามแบบลองภูมิว่า "พระศรีวิชัยเธอถือศีลอะไร? ท่านตอบ

    อย่างไม่ลังเลแต่ชัดเจนว่า "ถือศีล ๔ ขอรับ" โดนพระบ้านนอกตอบแบบพลิกตำรา

    ไม่ทันถึงกับงุนงงเอาเหมือนกัน...จึงตรัสถามย้ำอีกว่า " เอ้า" อะไรกันพระภิกษุจะต้อง

    ถือศีลเท่าไรกันแน่?...ท่านก้มกราบด้วยความน้อบน้อมแล้วตอบว่า "ถือปาริสุทธิศีล ๔"

    ทำเอาสมเด็จพระสังฆราชถึงกับอมยิ้ม...ชื่นชมในปฏิภาณความชื่อตรงความบริสุทธิ์

    (ปาริสุทธิศีล ๔ คือ ๑. สังวรในพระปาฏิโมกข์ ๒. อินทรีย์สังวร ๓.อาชีพบริสุทธิ์ ๔.

    พิจารณาปัจจเวกขณ์) คำพูดคำสอนของท่านถึงจะสั้นแต่ทรงคุณค่าประดุจเพชรเม็ดงาม

    ...เช่น "ศีลเป็นเครื่องชำระให้เกิดความสะอาดบริสุทธิ์ทำให้หัวใจหยุดความรุ่มร้อน

    สงบเย็นลงได้การที่จะเอาน้ำจากแม่น้ำใหญ่ทุกสายในโลก...นำมาอาบชำระ หรือฝนจะตก

    ลงมาสักกี่ร้อยห่าเย็นและหนาวสักปานใด...ก็ไม่อาจชำระและทำให้เกิดความบริสุทธิ์ ซึ่ง

    จะทำให้หัวใจสงบเยือกเย็นลงได้...มีแต่ศีลเท่านั้นเป็นเครื่องบรรเทา และกำจัดชำระสิ่งที่

    เป็นมลทินทั้งหลาย...ทำให้ชาวโลกนี้มีความสุขสงบร่มเย็นดุจแดนสวรรค์"

    ...นี่คือประวัติของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่ผู้เขียนได้นำมาเป็นธรรมทาน และเล่าสู่กันฟังค่ะ...

    ...ลูกขอน้อมไหว้สากราบพระคุณเจ้าครูบาศรีวิชัย กราบองค์ท่านด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013
  11. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    ตอบคำถามบางข้อของคฤหัสถ์


    ถาม ก็บางคนเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน ยังหนาด้วย รัก ชัง หลง ควรจะเจริญภาวนาด้วยหรือ?
    ตอบ จะเป็นคฤหัสถ์ครองเรือนฯ ก็ตาม ไม่ใช่คฤหัสถ์ ครองเรือนฯก็ตาม ก็ควรเจริญภาวนาเป็นอย่างยิ่ง
    ถาม คฤหัสถ์ผู้ไม่หน่ายในกาม ทั้งหลาย ถ้าเจริญ ภาวนาเดินตามทางเส้นนี้ เห็นจะไม่เป็นผลกระมัง เพราะใจยังไม่หน่าย ?
    ตอบ อย่าได้กล่าวเช่นนั้นเลย ผู้ไม่หน่ายในกามทั้งหลาย เสียอีก ควรจะเดินตามทางสายนี้ให้มากๆ
    ถาม ทำไมจึงเป็นอย่างนั้นเล่า ?
    ตอบ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ผู้ที่ไม่หน่ายนั้นเป็นผู้ติดรส แห่งความสุข ผู้ติดรสความสุข ก็คือผู้อยู่ใกล้นิพพานนั่นเอง ผู้อยู่ใกล้นิพพาน ย่อมทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน ได้โดยง่าย และเร็ว
    อนึ่ง หรือผู้ที่ติดรสความสุข ก็คือผู้ที่ติดรสนิพพาน ก็ว่าได้ เพราะคำว่านิพพานๆ เป็นชื่อของความสุข
    ความจริงสุขที่ติดกันอยู่นั้นเป็นของมีอยู่ แต่อยู่เหนือโลก ยังแต่ว่าผู้ติดสุขไม่ได้ติดตามสุขเท่านั้น ติดตามกันแต่เหยื่อ จึงไม่ได้สุข

    ถาม ทำไมคนเราจึงติดสุขกัน ?
    ตอบ เพราะสุขมีรสอันไม่ตาย เป็นอมตะ ไม่เปลี่ยนแปลง ดั่งห้วงสมุทรมีรสเดียวคือ ความเค็ม
    ถาม ที่ว่าสุขอยู่เหนือโลกนั้น หมายความว่าอยู่ บนฟ้า เหนือแผ่นดินอย่างนั้นหรือ ?
    ตอบ เหมือนอยู่บนฟ้าเหนือแผ่นดิน แต่ไม่ใช่อยู่บนฟ้า เหนือแผ่นดิน กล่าวคืออยู่ที่ความว่างเปล่า แห่งจิต เหมือนความนึกคิดนั่นเอง
    ถาม ถ้าอย่างนั้นคำว่าโลก โลกก็คือความนึกคิดนั่นซิ ?
    ตอบ ถูกแล้ว หมายถึงนึกคิด ตามนัยนี้ฯ
    ถาม ตามธรรมดาคนเราย่อมนึกคิดอยู่เสมอมิใช่หรือ ไฉนผู้ปฏิบัติจะทำให้ปราศจากความนึกคิด มิผิดหลักธรรมดาไปหรือ ?
    ตอบ ถูกแล้วผิดหลักธรรมดา แต่ผิดหลักธรรมดาของผู้ ไม่ปฏิบัติ ถูกตามหลักธรรมดาของผู้ปฏิบัติ
    ถาม ถ้าคนเราไม่มีนึก ไม่มีคิด มิเป็นคนตายหรือ ?
    ตอบ ไม่ใช่คนตาย
    ถาม ถ้าคนเราไม่มีนึกไม่มีคิด ก็เป็นคนนอนหลับใช่ไหม ?
    ตอบ ไม่ใช่คนนอนหลับตามนัยนี้
    ถาม ถ้าคนเราไม่มีนึก ไม่มีคิด มิมืดตื้อหรือ ?
    ตอบ ไม่มืดตื้อ ผู้ที่เข้าใจว่ามืดตื้อนั้น ก็เท่ากับว่าผู้นั้นไม่ เคยเห็นความ สว่างของพระอาทิตย์เลย แล้วหลงงม อยู่กับความสว่างของตะเกียงนั่นเทียว
    ถาม ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ?
    ตอบ ก็กลางคืนคู่กับกลางวันมิใช่หรือท่านฯ ข้อนี้แลฉันใด ชนผู้ไม่ได้เดินทางเอก ตามหลักภาวนาแล้วก็เหมือนอยู่ในความมืด คือกลางคืน ส่วนชนผู้เดินทางเอก ตามหลักภาวนาแล้ว ก็เหมือนอยู่ในความสว่าง คือกลางวัน เป็นดังเช่นนี้แหละท่าน
    ถาม ความสว่างของผู้เจริญภาวนาหลุดพ้นแล้ว จะไม่มืด บ้างเลยเจียวหรือ ?
    ตอบ ไม่มืดเลย มีแต่ความสว่างฝ่ายเดียว
    ถาม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
    ตอบ ฟังก่อนท่าน การที่ท่านจับอยู่กับแผ่นดินนี้มิใช่หรือ จึงต้องมีกลางคืนบ้าง กลางวันบ้าง ก็หากว่าท่านมีมนต์วิเศษ ทำแผ่นดินนี้ให้แหลกละลายให้หมดไปได้ หรือว่าหลีกห่างออกจากแผ่นดิน ไปอยู่กับพระอาทิตย์ได้ ท่านก็จะไม่เห็นกลางคืนเลย จะเห็นแต่กลางวันฝ่ายเดียวเท่านั้น
    จิตผู้อัน ต่อยสังขารให้แหลกละลาย ไหม้หมด ไปได้ก็ฉันนั้นฯ

    ถาม ถ้าคนผู้เจริญภาวนา ยังต่อยสังขารให้แหลกละลาย ไหม้หมดไปไม่ได้ จะมีผลอย่างไรบ้าง ?
    ตอบ อย่าได้ถามถึงผลเลย ชื่อว่าการเจริญภาวนาแล้ว ย่อมมีผลมี อานิสงส์ทุกเมื่อ ยิ่งเดินก็ยิ่งได้ ยิ่งไป ก็ยิ่งถึง
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภาวนา เมื่อบุคคลเจริญแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่ ภาวนา เมื่อจะเปรียบเทียบกับผลบุญเหล่าอื่น คือ ทาน ศิล แล้วก็พึงได้ในคำว่า
    พันน้ำบ่อทราย ไม่เท่าหนึ่งน้ำแม่ พันน้ำแม่ไม่เท่าหนึ่งน้ำสมุทร
    ข้อนี้ก็หมายความว่า พันแห่งทาน ไม่เท่าหนึ่ง แห่งศิล พันแห่งศิล ไม่เท่าหนึ่งแห่ง ภาวนา

    [​IMG]
    ถาม เมื่อเราทำจิตให้หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวงแล้ว มิเป็นอันว่า ไม่ต้องรู้อะไรกันหรือ ?
    ตอบ รู้อะไรๆ ได้ทุกอย่าง
    ถาม ถ้ารู้อะไรๆ ได้ทุกอย่างแล้วไซร้ ความที่รู้นั้นไม่ใช่ รู้ด้วยความนึกคิดดอกหรือ ไม่ใช่สังขารดอกหรือ ?
    ตอบ จะว่ารู้ด้วยความนึกคิดก็ใช่ จะว่าไม่รู้ด้วยความนึกคิดก็ใช่ จะว่าสังขารก็ใช่ จะว่าไม่ใช่สังขารก็ใช่
    ถาม ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ?
    ตอบ ที่ว่าอย่างนี้ก็เพราะว่า ความนึกคิดนั้นมันแตกกันไปคนละอย่าง ต่างกันไปคนละนัย ความนึกคิดของผู้ที่ยังไม่หลุดพ้นนั้น เป็นความนึกคิดที่ชุ่มด้วยยางเหนียว และจมอยู่ในความมืด คิดนึกอันใดก็คิดอันนั้น ไม่รู้อันนั้น จมลงไปในอันนั้น ไม่เห็นรอบอันนั้นเหมือนต้นไม้ที่มีราก หรือเหมือนน้ำที่หยาดลงไปในแผ่นดิน
    ส่วนความนึกคิดของผู้ที่หลุดพ้นแล้วนั้น เป็นความนึกคิดที่ตรงกันข้าม ด้วยมีความสว่างฉายอยู่รอบ นึกคิดอันใดก็รู้อันนั้น เพราะความรู้นั้นครอบงำเสียแล้ว ซึ่งความนึกคิดนั้น แม้นึกคิดอันใดก็ไม่ติดไม่จม เหมือนต้นไม้ที่ไม่มีราก หรือเหมือนน้ำที่หยาดลงไปในใบบอน
    อนึ่งความนึกคิดของผู้หลุดพ้นแล้วนั้น แม้จะนึกคิดขึ้นที่เรียกว่าสังขาร ความนึกคิดนี้ ก็เป็นเพียง กิริยากรรมเท่านั้น และใช้นึกคิดขึ้นก็เพื่อประโยชน์ ไม่ทำให้เดือดร้อน เช่นเดียวกับไฟที่ผู้จุดขึ้น เพื่อใช้ในการหุงต้มเป็นต้น เมื่อเสร็จแล้วๆ ก็ให้ดับไฟเสียฉะนั้น

    ถาม ก็ไฟเป็นของร้อนมิใช่หรือ ?
    ตอบ จริงอยู่ไปเป็นของร้อน แต่ผู้จุดขึ้นนั้นย่อมแตกต่างกัน ผู้ที่ไม่รู้ซิ จุดขึ้นก็ไม่รู้ตัวจุดไฟขึ้น ครั้นจุดขึ้นก็ไม่ใช่ผล ครั้นจุดขึ้นแล้วก็ไหม้ตัวเอง และไหม้สิ่งต่างๆ อันเป็นของๆตัว และจุดขึ้นแล้ว ก็ดับ ไม่ได้ด้วย ฉะนั้น ความนึกคิดแม้จะเป็นดังว่า ไฟก็ยังแตกต่างกันไกลดังนี้ฯ
    ถาม นิมิตตารมณ์ คืออะไร ?
    ตอบ นิมิตตารมณ์ คือสิ่งที่ปรากฏแก่ใจ มีรูปเป็นต้น
    ถาม จิตกับใจ ต่างกัน หรือเหมือนกัน ?
    ตอบ ต่างกันโดยคำที่ร้องเรียก เหมือนกันโดยเนื้อความ
    ถาม ต่างกันโดยคำที่เรียกเหมือนกัน โดยเนื้อความนั้นอย่างไร? มีอุปมาอย่างไร ?
    ตอบ มีอุปมาได้ดังนี้ เช่นมีของชนิดหนึ่ง ลักษณะสัณฐานคล้ายขวดใส่น้ำ บุคคลเอาน้ำเชื้อเพลิงใส่ข้างใน แล้วทำชนวนล่อ ออกมาอีกข้างหนึ่ง สำหรับจุด ในยามมืด ชนจำพวกหนึ่งเรียกร้องสิ่งนี้ว่า ตะเกียง อีกจำพวกหนึ่งเรียกว่าโคม
    ที่แท้ก็ของอันเดียวกันนั่นเอง ต่างกันแต่คำที่เรียกร้อง เหมือนกันโดยเนื้อความ ดังนี้ฯ

    ถาม สังขารกับวิญญาณ ไม่ใช่หมายอันเดียวกันดอกหรือ และสังขารมีลักษณะอย่างไร ? วิญญาณมีลักษณะเป็นอย่างไร ?
    ตอบ ไม่ใช่หมายอันเดียวกันดอก สังขารมีลักษณะแล่นไป วิญญาณมีลักษณะตามรู้
    ถาม จิตกับสังขาร ไม่ใช่อันเดียวกันดอกหรือ ? ได้ยินว่า จิตก็นึกคิด สังขารก็นึกคิด ฟังดูก็ใกล้กัน ?
    ตอบ ไม่ใช่หมายอันเดียวกันดอก ฟังดูก็ใกล้กันจริง ไม่ใช่แต่เพียงฟังใกล้กันเท่านั้น แม้ตัวจริงแห่งจิต และสังขารก็ใกล้กัน
    จริงอยู่จิตก็นึกคิด สังขารก็นึกคิด แต่ก็ไม่ใช่อันเดียวกัน เพียงแต่สังขารหากไม่มีจิต สังขารก็เกิดขึ้นไม่ได้ สังขารที่เกิดขึ้นก็คือจิตนั่นเอง เป็นผู้นึกคิดขึ้น และเมื่อสังขารดับ จิตก็หลุดพ้น ดังนั้นจึง เรียกสังขารว่าความนึกคิด เรียกจิตว่าผู้นึกคิด ความนึกคิดกับผู้นึกคิด จึงไม่ใช่อันเดียวกัน

    ถาม เมื่อจิตปราศจากนึกคิดหลุดพ้นแล้ว จะเป็นอะไร ? เรียกว่าอะไร ?
    ตอบ เมื่อจิตปราศจากนึกคิดหลุดพ้นแล้ว ก็ไม่เป็นอะไรแล้ว และก็เรียกว่า จิตปราศจากนึกคิดหลุดพ้นแล้วนั่นเอง หรือจะเรียกว่าอย่างอื่นก็ได้ แต่ความจริงหมดสมมุติแล้ว ลูบคลำไม่ได้
    ถาม ข้อที่ว่า สังขารดับวิญญาณก็ดับ วิญญาณดับจิตก็หลุดพ้น ข้อนี้พอจะอุปมาได้ไหม ?
    ตอบ พอจะอุปมาได้อยู่
    ถาม ถ้าอย่างนั้น ขออุปมาให้หายความข้องใจหน่อย ?
    ตอบ ถ้าอย่างนั้น ก็จงตั้งใจฟังให้ถี่ ดังต่อไปนี้
    เหมือนมีพรานคนหนึ่ง เสาะจับปลาในหนองน้ำกับด้วยมือข้างหนึ่ง ถือคบไฟตามส่องในท่ามกลาง แห่งกลางคืน พรานนั้นเสาะจับแล้วจับเล่าซึ่งปลาใส่ถุงของตน เพลินจับอยู่จนไม่รู้สึกตัว แท้จริง สิ่งที่พรานเพลินเสาะจับอยู่นั้น หาใช่ปลาไม่ ล้วนแต่งูพิษทั้งสิ้น ปลาไม่มีในหนองน้ำนั้น แต่พรานนั้นก็ยังเมาเสาะจับเพลินอยู่ เพราะเข้าใจว่าปลา และปลามีในหนองน้ำนั้น เธอมัวเมาเสาะจับอยู่จนสว่างแจ้ง จวบพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว เธอจึงสลัดปลาเสียสิ้น ละเลิกการเสาะจับปลา แม้คบไฟที่ตามส่องอยู่ในมือนั้น จะมีประโยชน์อะไรอีกเล่า ก็เมื่อสว่างแจ้งเป็นกลางวันแล้ว ไฟนั้นจึงให้ดับไปตามเธอจึงเป็นผู้ไม่เสาะจับปลาในหนองน้ำนั้นแล
    ก็อาการที่พรานสละสลัด เลิกจากการเสาะจับปลาในหนองน้ำนั้น อันนี้อุปมาเช่นกับสังขารดับไป คบไฟที่ให้ดับตามไปนั้น อันนี้อุปมาเช่นกับ วิญญาณดับไปตาม ส่วนพรานที่เป็นผู้สละสลัดเลิกจากการเสาะจับปลาอยู่ อันนี้อุปมาเช่นกับจิตที่หลุดพ้นแล้วมีอยู่
    สังขารดับ วิญญาณดับ จิตหลุดพ้น ดังมีอุปมา ฉะนี้แลฯ

    ถาม มรรค แปลว่ากระไร ?
    ตอบ แปลว่า ทาง
    ถาม ผู้ที่เจริญภาวนา จะต้องเจริญมรรคทั้ง ๘ ให้ครบถ้วนทุกองค์ไหม ?
    ตอบ ต้องเจริญให้ครบถ้วนทุกองค์
    ถาม ถ้าอย่างนั้น คฤหัสถ์ผู้ทำศิลให้หมดจดทุกองค์ยังไม่ ได้ ก็ยังเจริญภาวนาไม่ได้ซิ ?
    ตอบ อย่าได้คิดอย่างนั้นเลย ผู้เจริญภาวนาก็คือ ผู้ที่เจริญมรรค ๘ นั่นแล้ว มรรค ๘ จะอื่นจากใจไปไม่มี ฉะนั้นมรรคทั้ง ๘ ก็คือตัวภาวนานั่นเอง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า มคฺคานฏฐงฺคิโก เสฎโฐ
    หนทางอันประเสริฐประกอบด้วยองค์ ๘ เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นหนทางอันเดียว
    ดังนั้นภาวนาก็คือทางอันเดียวประกอบด้วยองค์ ๘
    นั่นแหละ องค์ ๘ ก็คือทางอันเดียวนั่นแหละได้

    ตามโคลงบท นี้ทีเดียว
    สเปาคำลำเดี่ยวนั้น แลนา
    ช้อนช่วยชนประชา รอดม้วย
    ส่งสู่ฝั่งพารา แดนเกษม
    ชาติพยาธิ์แก่ด้วย รอดพ้น นาเฮ
    บรรยายธรรม โดย พระคุณเจ้า ดาบส สุมโน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    เรื่องของวิปัสสนาญาณ..(หลวงพ่อฤาษีฯ)

    [​IMG]


    เรื่องของวิปัสสนาญาณ..

    การขึ้นต้นของการเจริญพระกรรมฐาน ถ้าเอากันเต็มแบบจริง ๆ ท่านให้ใช้วิปัสสนาญาณก่อน คือว่าใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน ให้คิดถึงไตรลักษณญาณ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันดับแรก ท่านให้คิดถึงความเป็นจริงของไตรลักษณญาณ

    1. ทุกขัง การเกิดมาในโลก การมีชีวิตของคนและสัตว์มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ที่มันทุกข์ก็เพราะอาการต่าง ๆ มันไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง มันไม่มีการทรงตัว ความทุกข์มันมีมาตั้งแต่เด็ก ความหิวก็เป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายก็เป็นทุกข์ การประกอบกิจการทุกอย่างเหน็ดเหนื่อยก็เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ และในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์ มีความทุกข์ตั้งแต่เด็ก ต่อมาเป็นผู้ใหญ่และก็แก่ตายในที่สุด มีความทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง ต่อไปก็อนัตตาตามลำดับ

    2. อนัตตา คิดตามความเป็นจริงว่าคนหรือสัตว์ก็ดีที่เกิดมาในโลกนี้ ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมดทั้งโลก เราก็ตายเหมือนกัน

    -เรื่องของวิปัสสนาญาณนั้น ส่วนสำคัญถ้าจะกล่าวให้ละเอียดก็คือ ตอนต้นที่จะเริ่มทำสมาธิ ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกคนใช้กำลังปัญญาก่อน ปัญญานี่เป็นส่วนหนึ่งของวิปัสสนาญาณ อันดับแรกใช้ปัญญาของสมาธิ โดยการใช้อารมณ์เมตตาจิต เมตตาความรัก กรุณา ความสงสาร แผ่เมตตาไปในจักรวาลทั้งปวง คือทั้งโลก ให้มีความรู้สึกว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั้งหมด

    -กรุณาความสงสาร ถ้าคนหรือสัตว์ก็ตามเขามีความทุกข์ ถ้าไม่เกินวิสัยที่เราจะพึงช่วยได้ เราจะช่วยให้เขามีความสุข ตั้งใจตามนี้ไว้ก่อนเป็นอันดับแรก

    เมื่อจิตมีอารมณ์โปร่ง มีความสุขดีแล้ว ต่อไปให้นึกถึงด้านวิปัสสนาญาณขั้นอ่อน มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า โลกนี้มีแต่ความไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกอย่างไม่เที่ยงไม่มีการทรงตัว เราเองเกิดจากท้องมารดาใหม่ ๆ เป็นเด็กเล็ก ต่อมาก็เปลี่ยนแปลง กลายเป็นเด็กใหญ่ เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นวัยกลางคน จนมาเป็นคนแก่ เป็นเพราะมันไม่เที่ยง ขณะที่ทรงร่างกายอยู่มันก็ไม่เที่ยง มีการป่วยไข้ไม่สบายเป็นปกติ ที่อาการไม่เที่ยงทำให้เราเป็นทุกข์ ในที่สุดพึงเข้าใจว่าในที่สุดเราก็ต้องตาย

    ก่อนตายเราก็เลือกทางไปว่าเราจะไปทางไหน ถ้าเราไปสวรรค์ เพียงแค่ให้ทานก็ได้ รักษาศีลก็ได้ ถ้าจะไปพรหมโลก ก็ต้องเจริญสมาธิจิตให้ได้ญาณสมาบัติ แต่ถ้าต้องการนิพพาน ก็ต้องให้เข้าใจตามความเป็นจริงด้วยปัญญา มีความเข้าใจว่าโลกนี้เป็นทุกข์ หาความสุขไม่ได้ ร่างกายมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ถ้าเรายังมีร่างกายแบบนี้ เราก็มีแต่ความทุกข์ไม่สิ้นสุด ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าการเกิดมีร่างกายแบบนี้จะมีกับเราชาตินี้ชาติเดียวเป็นชาติสุดท้าย เราไม่ต้องการเกิดแบบนี้อีก เราต้องการนิพพาน

    -ความจริงศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี สามประการนี้จะแยกกันไม่ได้ บางท่านบอกว่า สุกขวิปัสสโกไม่ต้องใช้สมถะเลย ใช้แต่วิปัสสนาญาณตัวเดียว อันนี้ผิด ถ้าพูดอย่างนี้แสดงว่า ท่านผู้พูดไม่ได้อะไรเลย อันแรกปรับปรุงศีลให้ดี เมื่อปรับปรุงศีลดีแล้วสมาธิก็ทรงตัว เมื่อสมาธิทรงตัวปัญญามันก็เกิด ที่เป็นพื้นฐานของการเจริญฌาน และวิปัสสนาญาณ

    -เราปฏิบัติวิปัสสนาญาณจริง ๆ ให้เริ่มต้นด้วยการสมาทานศีล แล้วก็ทำจิตเป็นสมาธิ โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกก่อน เมื่อรู้ลมเข้าออก ก็ใช้คำภาวนาตาม พอจิตเริ่มเป็นสุข ต่อไปก็ใช้ปัญญาพิจารณา การใช้ปัญญาพิจารณานี่จะไม่ทรงตัวนาน ประเดี๋ยวจิตก็เริ่มฟุ้งซ่าน ถ้าจิตเริ่มฟุ้งซ่านก็ทิ้งวิปัสสนาญานเสีย จับสมถะภาวนาใหม่ คือรู้ลมหายใจเข้าออกใหม่ ต้องสลับกันไปสลับกันมาแบบนี้ ถ้าจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัทสามารถทรงตัวถึงปฐมฌานเพียงใด เวลานั้นการกำจัดกิเลสขั้นพระโสดาบันและสกิทาคามีก็มีขึ้น

    สรุปได้ว่า ถ้าจะทำวิปัสสนาญาณ ให้เริ่มจับลมหายใจเข้าออกก่อน กับคำภาวนา พอจิตเริ่มเป็นสุข พอใจเริ่มสบาย ๆ ก็ใช้ปัญญา ทิ้งภาวนาเสีย ใช้ปัญญาพิจารณา แต่ยังรู้ลมเข้าออกอยู่ ขณะใดที่ยังรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก และพิจารณาไปด้วย เวลานั้นจิตเป็นสมาธิ มีกำลังที่จะต่อสู้กับนิวรณ์ได้ จึงกล่าวได้ว่า การทำวิปัสสนาพื้นฐานเดิมจริง ๆ ต้องมีศีลก่อน เมื่อจิตมีศีลแล้วก็ต้องทรงสมาธิ ถ้าศีลและสมาธิไม่มี วิปัสสนาญาณไม่มีผล กำลังใจจะไม่สามารถตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ ฉะนั้น คำว่าวิปัสสนาญาน ซึ่งแปลว่า รู้แจ้งเห็นจริง เป็นบทที่ใช้ปัญญาโดยเฉพาะ แต่ใช้เฉพาะปัญญาจริง ๆ นี่ไม่ได้ จะต้องมีศีลกับสมถะพร้อมวิปัสสนาญาน

    -บุคคลผู้บวชมา 100 ปี และก็มีศีลบริสุทธิ์ทุกสิกขาไม่บกพร่อง แต่ว่าไม่เคยเจริญสมาธิจิต ท่านมีศีลครบก็จริง แต่ทว่าไม่เคยทำสมาธิจิต ไม่เคยระงับนิวรณ์ บวชมามากอย่างไร ถึงมีศีลบริสุทธิ์ก็สู้บุคคลที่ทำจิตว่างจากกิเลส วันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่งไม่ได้ อานิสงส์มากกว่ากัน ทั้งนี้ก็เพราะว่า ศีลถ้าว่ากันถึงศีลจริง ๆ ก็มีอานิสงส์แค่กามาวจรสวรรค์ ถ้าหากว่าท่านผู้นั้นไม่ปฏิบัติในสีลานุสสติกรรมฐาน แค่ระวังสิกขาบท จะไปเป็นพรหมไม่ได้

    ประการที่ 2 คือไม่สามารถจะควบคุมอารมณ์ให้ระงับนิวรณ์ได้ เห็นไหมกิเลสหยาบยังท่วมทับใจอยู่ แต่ที่ทรงอยู่ได้เพราะเป็นการระวังตัวไว้เฉพาะเวลาเท่านั้นเอง สำหรับสมาธิจิต แต่ความจริงคำว่าจิตว่างจากกิเลส จะว่าถึงสมาธิอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องวิปัสสนาญาณควบคู่กันด้วย เฉพาะสมาธิจิตจริง ๆ สามารถไปเกิดเป็นพรหมได้ ถ้ามีวิปัสสนาญาณควบคุม แม้แต่วันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่งก็ก้าวเข้าใกล้นิพพานเข้าไปทุกที สามารถเป็นพระอริยเจ้าได้ โดยเฉพาะพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบันก็ดี สกิทาคามีก็ดี ทั้งสองท่านมีสมาธิไม่สูง มีปัญญาไม่มาก ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย แต่มีศีลบริสุทธิ์

    -เวลาเจริญวิปัสสนา เขาต้องใช้สมถะคุม ถ้าไม่ใช้สมถะคุมก็ไหลลงนรกไป เพราะถ้าไม่ใช้สมถะคุมมันไปไม่ได้ อันดับแรก เขาเข้าฌานให้เต็มที่ จิตตั้งอยู่ในอุเบกขารมณ์ ทรงฌานให้สบาย ใช้เวลาเท่าไรก็ตาม รู้สึกว่าสบาย จิตทรงอารมณ์มั่น ถอยหลังจิตมาถึงอุปจารสมาธิ ก็มาพิจารณาขันธ์ 5 หรือว่าพิจารณาภาพกสิณ เทียบกับขันธ์ 5 ก็ได้ จะพิจารณาร่างกายในขันธ์ 5 ในรูปลักษณะของวิปัสสนาญาณ 9 ก็ได้ ในลักษณะของอริยสัจก็ได้ เป็นต้นว่า

    พิจารณาดูกายเรามันทรงตัวดีหรือเปล่า ร่างกายของเราเป็นปัจจัยของความสุขหรือความทุกข์ อันดับแรกให้ดูว่าร่างกายของเรามีอะไรบ้าง ขั้นแรก กายของเรามีธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ เข้ามาผสมกัน รวมกันเข้ามาเป็นกาย แล้วก็มีอากาศธาตุและวิญญาณธาตุเข้ามาผสมให้เกิดความรู้สึก แล้วก็มีจิตเข้าสถิตสิงอยู่ในกาย คือ มีการเคลื่อนไหวได้ แต่ส่วนทั้งหมดนี้มันไม่เที่ยง ที่ว่าไม่เที่ยงเพราะว่ามีการไม่ทรงตัวแท้จริง มันมีการเกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง ตัวเล็กแปลงเป็นโตขึ้นมาทีละน้อย ๆ เมื่อโตถึงที่สุด ถึงความเป็นหนุ่มเป็นสาว แล้วก็ทรุดตัวลง ค่อย ๆ ทรุดตัวทีละน้อย ๆ ทุกวัน กลางคนแล้วก็เป็นคนแก่ตายไป ในที่สุดที่เราจะเห็นว่าร่างกายของเราที่ไม่มีการทรงตัว ในที่สุดมันก็พัง

    ในเมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือร่างกายเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ เมื่อมีลมปราณอยู่เพียงใด มีแต่ความทุกข์ เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหิว เดี๋ยวกระหาย อยากมีผัว อยากมีเมีย อยากมีลูกมีหลาน อยากได้ทรัพย์ หาความพอไม่ได้ จนกระทั่งแก่จะตายหายใจไม่ไหวยังไม่นึกว่าจะตาย อยากโน่น อยากนี่ไม่มีวันจบ นี่สภาพของการเกิดมาภายใต้อำนาจของกิเลสตัณหา นี่มันไม่ดี มันมีแต่ความทุกข์ ร่างกายมันต้องตายและพังไปในที่สุด มีแต่ความสกปรก ไอ้คนที่เกิดมาในโลกนี้ กายของใครมันวิเศษกว่ากันมีไหม ไม่มี ทุกคนสกปรกหมด นี่หาความไม่ดีของร่างกายให้ปรากฎ จะเห็นว่ามันประกอบไปด้วยความทุกข์ พระอรหันต์ทั้งหลายพิจารณาร่างกายแบบนี้จึงวางร่างกายเสียได้

    เมื่อพิจารณาวิปัสสนาตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เมื่อพิจารณาไป จิตพอจะเริ่มเฝือ อารมณ์จะทรงตัวไม่ได้ ก็ทิ้งวิปัสสนาญาณเข้าหาฌาน 4 ใหม่ พักอารมณ์สบายแล้ว พออารมณ์เป็นอุเบกขารมณ์ มันไม่นึกอะไร มันทรงตัวเลย สบายมีกำลัง ถอยหลังมาถึงอุปจารสมาธิพิจารณาใหม่ เพียงเท่านี้ ไม่ช้าไม่นานเท่าไร กำลังใจจะเกิดรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง คือปัญญามันเกิด ตอนนี้ไปว่ากันตรงวิปัสสนาญาณ นี่บารมีอย่างกลางไม่เกิน 7 เดือนเป็นพระอรหันต์

    -การตัดกิเลสจริง ๆ ต้องใช้วิปัสสนาญาณ ถ้าฌานสมาบัติของท่านดี วิปัสสนาญาณมีความคมกล้า ก็สามารถตัดกิเลสได้เร็ว โดยมากคนจะเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ เพราะอารมณ์ที่ทรงฌานจริง ๆ มันมีอารมณ์หนักและก็แน่นหนามาก คนจะติดตรงนี้ จิตมีกำลังสูง ที่เข้าใจว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์เพราะอะไร เพราะเจอะรูปที่สวย เคยชอบมันก็เฉย มีสภาพเฉยหมด เฉยนี่เป็นสภาพหนักแน่ของจิต นี่เป็นอารมณ์ของฌานโลกีย์ ก็มีหลายท่านเจออาการแบบนี้ ก็นึกว่าท่านบรรลุมรรคผลขั้นสูง เป็นพระอรหันต์ ต่อมาไม่ช้าฌานเสื่อมลง ความรู้สึกต้องการในรูป เสียง กลิ่น รส ก็เกิดขึ้น...ดังนั้น สมถะและวิปัสสนากรรมฐานจึงต้องไปด้วยกัน ขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้

    สรุปก็คือ ก่อนที่จะคำนึงถึงวิปัสสนาญาณก็จงทำใจให้มีความสุขด้วยอำนาจของสมาธิจิตก่อน เมื่อจิตมีสมาธิดีแล้ว ก็ใช้ปัญญาพิจารณาให้ปรากฎ เมื่อพิจารณาไปแล้ว ถ้าหากยังเห็นไม่พอเพราะจิตมันซ่าน ก็ดับความรู้สึกในการพิจารณาเสีย กลับมาภาวนาและทรงจิตให้หยุดในอารมณ์เดิมก่อนให้จิตสบายเป็นสมาธิ ทำสลับกันไปสลับกันมา

    -การพิจารณาวิปัสสนาญาณควรมุ่งตัดกิเลสเป็นตอน ๆ ไป ถ้าตอนใดคิดว่าจะละให้เด็ดขาดก็ยังละไม่ได้ ก็ไม่ย้ายข้อที่ตั้งใจจะละต่อไปในข้ออื่น ๆ ต้องย้ำซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่ในข้อนั้น จนเห็นว่าตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบแล้ว จึงเลื่อนไปพิจารณาละข้อต่อไป อย่าทำแบบสุกเอาเผากิน คราวเดียวมุ่งละหมดทั้ง 10 หรือคราวละหลาย ๆ ข้อ ถ้าทำอย่างนั้นจะเป็นพวกโมฆกรรม คือทำไม่ได้ผลไป การเจริญวิปัสสนาต้องเจริญเพื่อมรรคผล อย่าทำแบบคิดว่าพอเป็นอุปนิสัยเท่านั้น ถ้ารู้ตัวว่าจะไม่เอาจริงก็อย่าเข้ามายุ่ง ทำให้ศาสนาเสื่อมทรามเลย

    -วิปัสสนาญาณ นี่คือตัวปัญญา เกิดขึ้นได้เมื่อมีสมาธิเกิดขึ้น จิตใจระงับนิวรณ์ อารมณ์ก็เยือกเย็น กิเลสระงับ เวลานั้นกิเลสในใจเรายังไม่ฟู ไม่ดิ้นรน ระงับตัว มันนอนนิ่ง เมื่อกิเลสนอนนิ่ง จิตเป็นสุข ปัญญาด้านตัดกิเลสก็จะเกิดเอง

    ดังนั้น ไอ้การทรงฌานที่เป็นฌานโลกีย์มันก็ไม่แน่เหมือนกัน พระพุทธเจ้ายังเรียกว่าเป็นอนิยตบุคคล จะถือว่าตายแล้ว มีคติดิ่งไปสู่สุคติโดยเฉพาะก็ยังไม่ได้ มันจะสลายตัวเมื่อไรก็ได้ เรียกว่าฌานประเภทลูกผีลูกคนเอาแน่อะไรไม่ได้นัก เมื่อทำจิตเข้าถึงฌานสมาบัติแล้วก็ต้องเร่งรัดวิปัสสนาญาณ อย่างเลวที่สุด ก้าวจิตเข้าไปสู่พระโสดาบันให้ได้ อย่างนี้ องค์สมเด็จพระประทีปแก้วถือว่าเป็นผู้มีคติแน่นอน ตายแล้วไปสวรรค์แน่ ตายแล้วไปพรหมแน่ สุดแต่เราต้องการจะไป


    -วิปัสสนาญาณที่พิจารณากันมานั้น ท่านสอนไว้เป็นสามนัย คือ

    1. พิจารณาตามแบบวิปัสสนาญาณ 9 ตามนัยวิสุทธิมรรค

    2. พิจารณาตามนัยอริยสัจ 4

    3. พิจารณาขันธ์ 5 ตามนัยพระไตรปิฎกที่มีมาในขันธวรรค

    ทั้งสามนัยนี้ ความจริงก็มีอรรถ คือความหมายเป็นอันเดียวกัน โดยท่านให้เราเห็นว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน ท่านแยกไว้เพื่อเหมาะแก่อารมณ์ของแต่ละท่าน เพราะบางท่านชอบค่อยทำไปตามลำดับ ตามนัยวิปัสสนาญาณ 9 เป็นการค่อยปลดค่อยเปลื้องตามลำดับทีละน้อย ไม่หนักอกหนักใจ บางท่านก็ชอบพิจารณาตามแบบอริยสัจ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเองแลเะนำมาสอนปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ท่านเหล่านั้นได้มรรคผลเป็นปฐมก็เพราะได้ฟังอริยสัจ แต่ทว่าทั้งสามนี้ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน คือให้เห็นอนัตตาในขันธ์ 5 เหมือนกัน ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค และในขันธวรรค ในพระไตรปิฎกว่า ผู้ใดเห็นขันธ์ 5 ผู้นั้นก็เห็นอริยสัจ ผู้ใดเห็นอริยสัจ ก็ชื่อว่าเห็นขันธ์ 5

    -จงอย่าลืมว่า ก่อนพิจารณาทุกครั้งต้องเข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารสมาธิ แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ว วิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรดีไปกว่านั่งนึกนอนนึก แล้วในที่สุดก็เลิกนึก ถ้าใครสามารถทรงฌานได้ดี เวลาเจริญวิปัสสนาญาณมันรู้สึกว่าง่ายบอกไม่ถูก ถ้าฌาน 4 เต็มอารมณ์แล้ว เราจะใช้วิปัสสนาญาณ ก็ถอยหลังมาถึงอุปจารสมาธิ เราจะต้องตัดตัวไหนล่ะ ตัดราคะ ความรักสวยรักงาม เราก็ยกอสุภกรรมฐานขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ ยกกายคตานุสสติกรรมฐานขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ เปรียบเทียบกันว่าไอ้สิ่งที่เรารักน่ะ มันสะอาดหรือว่ามันสกปรก

    กำลังของฌาน 4 นี่เป็นกำลังที่กล้ามาก ปัญญามันเกิดเอง เกิดชัด มีความหลักแหลมมาก ประเดี๋ยวเดียวมันเห็นเหตุผลชัด พอตัดได้แล้วมันไม่โผล่นะ รู้สภาพยอมรับความเป็นจริงหมด เห็นคนปั๊บไม่ต่างอะไรกับส้วมเดินได้ จะเอาเครื่องหุ้มห่อสีสันวรรณะขนาดไหนก็ตาม มันบังปัญญาของท่านพวกนี้ไม่ได้ แต่ถ้าได้สมาธิไม่ถึงฌาน 4 ก็ให้เข้าฌานจนเต็มกำลังสมาธิที่ได้ เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้ว ค่อย ๆ คลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้น อย่าละโมบโลภมากทำทีละขั้น ๆ นั้นจนเกิดเป็นอารมณ์ประจำใจไม่หวั่นไหว เป็นเอกัคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบ แล้วจึงค่อยเลื่อนไปฌานต่อไปเป็นลำดับ ทุกฌานปฏิบัติอย่างเดียวกัน ทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้ เมื่อยังไม่ผ่านการกระทบจริง ต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้

    -เรื่องญาณต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงยืนยันเป็นของมีจริง แต่ขออย่างเดียว อย่าให้บรรดาท่านพุทธบริษัทเอาแต่คิดกับอ่านตำรา แล้วก็พูด แค่นี้มันใช้ไม่ได้ อย่าลืมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าต้องใช้อารมณ์เป็นสำคัญ ให้ปรับปรุงอารมณ์ ไม่ใช่ปรับปรุงวัตถุ พิจารณากายคตานุสสติกรรมฐานตัวเดียว คือพิจารณาขันธ์ 5 ร่างกาย ว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเรา ให้เข้าใจ แล้วก็ถอยหลังไปดูร่างกายที่เราทิ้งมาแล้ว มันเป็นอะไรมาบ้าง เป็นสัตว์บ้าง เป็นคนบ้างเท่าไร ดูให้มันช่ำใจ จะเกิดความเชื่อในตัวเอง แล้วก็ท่านที่ไม่ต้องเกิดอีกมีบ้างไหม อันนี้ไม่ยาก ถ้าสร้างอารมณ์เข้าถึงโคตรภูญาณ อันนี้เราจะใช้ทิพจักขุญาณเห็นพระนิพพานได้อย่างแจ่มใสแล้วก็ชัดเจน ถ้าอารมณ์ของท่านยังไม่ถึงโคตรภูญาณเพียงใด อย่าเพิ่งพูดไปนะเรื่องนิพพาน แล้วก็ยังไม่ได้ทิพจักขุญาณด้วย ไม่ได้โคตรภูญาณด้วย ยังไม่ต้องพูดกันเรื่องนิพพาน พูดเท่าไรผิดเท่านั้น ไม่ต้องห่วง ไม่พูดไม่ผิดดีกว่า

    -การจะตัดนิวรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวรูปมันก็ตัดง่าย เราเอาความรู้ความสามารถของเราที่มีอยู่ในด้านอภิญญา เอามาใช้เป็นเครื่องประกอบ
    อันดับแรก เอาอทิสมานกายยกใจขึ้นไปที่พระจุฬามณีเจดียสถาน พอไปถึงที่นั่นแล้วจะเห็นว่า กายใจในที่นั้นมันเป็นนามธรรม เทวดาหรือพรหมทั้งหมดเป็นกายนามธรรม พระอริยเจ้าที่เราเห็นเป็นนามธรรม ทุกคนไม่ปวดไม่เมื่อย ไม่ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ไม่มีอะไรทั้งหมด สบายทุกอย่าง โรคภัยไข้เจ็บไม่มี และถ้าเราไปด้วยกำลังที่หนักแน่น มันก็ไม่เจ็บไม่ปวดไม่เมื่อยเหมือนกัน การไปก็คล่องตัว นึกปั๊บเดียวมันก็ถึง นี่กำไรในการที่ไม่มีขันธ์ 5

    ถ้าเราจากที่นั้นไป ถ้าเราจะไปพรหมนึกปั๊บเดียว แค่นึกก็ถึงพรหม ไปเห็นสภาพของพรหมมีความสุขสงัดคำว่าแก่ไม่มี คำว่าป่วยว่าตายไม่มี นอกจากวาระมันจะถึงมันก็เคลื่อนไป ต่อไปถ้าไปถึงพระนิพพาน เราก็เหยียดหยามทั้งหมด ทั้งมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก เพราะที่นั้นเป็นแดนที่เต็มไปด้วยความสุขจริง ๆ แล้วเรามองลงมาดูข้างล่าง ถึงนิพพานก็ได้ ถึงเทวดาหรือพรหมก็ได้ มองมาดูมนุษย์ ถ้ามองมาดูมนุษย์แล้วก็จะเห็นสภาพของเมืองมนุษย์ที่มันเต็มไปด้วยสิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะเกลื่อนกล่นไปด้วยการงาน มีความสกปรกโสโครกหาที่แน่นอนไม่ได้ ร่างกายที่เราทิ้งไปมันก็เหมือนตอไม้ซึ่งไม่มีประโยชน์ ร่างกายนี่ไม่ช้าก็พัง สิ่งที่เราจะทรงได้จริง ๆ ก็คือ อารมณ์ที่เราไปสวรรค์ ไปพรหม ไปพระนิพพาน

    -วิธีการตัดง่าย ๆ ก็ใช้กำลังของทิพจักขุญาณ มองดูกายในของเราให้เป็นปกติ เห็นร่างกายเราดูข้างใน เห็นร่างกายคนอื่น เราก็ดูข้างในอีก มองลึกเข้าไปเห็นน้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ ภายในร่างกายว่ามันเต็มไปด้วยความโสโครก ตัวนี้เป็นตัวสมถภาวนา

    สำหรับด้านวิปัสสนาภาวนา ก็ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาว่าร่างกายของคนนี้ กายของเราก็ดี มันไม่ทรงอยู่แค่นี้ ขณะที่ทรงอยู่มันเต็มไปด้วยความสกปรก ต้องประกอบการงานเหน็ดเหนื่อย มันก็มีความป่วยไข้ไม่สบายเข้ามาแทรกอยู่เสมอ ทำให้เราป่วยมากขึ้น นอกจากนั้นร่างกายมันต้องพัง พังแล้วเราก็อยู่ไม่ได้ เราต้องไป ก็คิดอย่างนี้เสมอ

    เห็นหน้าคนเมื่อไร อย่ามองหน้า อย่ามองผิว มองทะลุเข้าไปในท้องเลย ทะลุหนังเข้าหาเนื้อ ทะลุเนื้อเข้าหาตับ ไต ไส้ ปอด มองต่อไปถึงความแก่ ความป่วย ความตาย ในที่สุดใจของเรามีความเบื่อหน่ายในกาย ถ้าใจของเราไม่ต้องการกายเมื่อไร เรียกว่า กายคตานุสสติกรรมฐาน ท่านเป็นอริยเจ้าเบื้องสูง คือ เป็นพระอรหันต์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013
  13. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    (ต่อ)​

    -วิปัสสนาญาณนี้ ในระยะต้นให้ควบคุมอารมณ์ใจอยู่ในอำนาจของสมถภาวนา ให้นานที่สุดที่จะทรงได้ เมื่อทรงอยู่ได้ด้วยดีแล้ว ต่อไปก็ใช้อารมณ์สมาธินี้พิจารณาขันธ์ 5 เห็นว่าขันธ์ 5 นี้เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขอะไรไม่ได้ แล้วก็สลายตัวไปในที่สุด เป็นอันว่าขันธ์ 5 นี้ แม้เราจะปรนเปรอขนาดไหนก็ตาม มันก็ไม่ตามใจเรา เราไม่ต้องการให้มันแก่ มันก็จะแก่ เราไม่ต้องการให้มันป่วย มันก็จะป่วย เราไม่ต้องการให้มันพลัดพรากจากเรา หรือเราพลัดพรากจากมัน เราก็ทำไม่ได้ ในที่สุด เราไม่ต้องการอยากให้ตายมันก็ตาย ห้ามไม่ได้ ขันธ์ 5 คือร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา นี่ว่าโดยย่อ เราพิจารณาขันธ์ 5 การเจริญวิปัสสนาญาณก็มีอยู่หลายแบบด้วยกัน แต่ก็รวมอยู่ในขันธ์ 5 ว่าเป็นโทษเป็นทุกข์ จะพิจารณาแบบไหนก็ตาม ถ้าเลยขันธ์ 5 ไปไม่ใช่วิปัสสนาญาณ

    -เห็นคนที่เขาเดินผ่านไปผ่านมา ดูข้างนอกแล้วมองข้างใน ว่าร่างกายของเขาเต็มไปด้วยความสะอาดหรือเต็มไปด้วยความสกปรก คนสวยที่เขาต้องการประคับ-ประคองกันมันน่าประคับประคองตรงไหน มันไม่มีอะไรที่ควรแก่การประคับประคองเลย เพราะสภาวะของเขามีสภาพไม่ต่างกับถุงอุจจาระ มันเป็นของเหม็น มันห่ออยู่ข้างใน ถ้าลักษณะหน้าตาผิวพรรณสวย ก็นึกว่าเอาผ้าแพรห่ออุจจาระ ถ้าลักษณะผิวพรรณข้างนอกไม่สวย ก็แสดงว่าเอาผ้าดิบมาห่ออุจจาระ หรือกระสอบห่ออุจจาระ คิดถึงความรังเกียจในร่างกายของเราและของเขา ให้อารมณ์มันทรงตัว และคิดต่อไปว่า คนทั้งหลายเราก็ดี เขาก็ดี จะทรงสภาพอยู่อย่างนี้หรือ ในที่สุดมันก็ตายหมด ทำอารมณ์ใจให้ทรงตัวอย่างนี้เป็นปกติ อย่าสนใจคำนินทาและสรรเสริญ อย่าสนใจโลกธรรม 8 ประการ มันมาอย่างไรก็ให้มันไปอย่างนั้น อย่าไปยุ่งกับมัน อย่าถือเป็นสาระเป็นแก่นสาร

    -เมื่อมาเจริญวิปัสสนาญาณ ขั้นพิจารณาขันธ์ 5 หรือในอริยสัจ 4 พอมาพิจารณาอารมณ์อย่างนี้เข้า จิตกลับมีความเบาขึ้น ความแน่นสนิทน้อยลงไป ตอนนี้นักเจริญกรรมฐานใหม่ ๆ ที่ยังมีอารมณ์เข้าไม่ถึงมักจะไม่ชอบใจ คิดว่าอารมณ์สมาธิมีความหนักแน่นน้อยเกินไป มีความเข้าใจว่าอารมณ์ใจของเราเสื่อมจากความดีไปเสียแล้วก็ได้

    เมื่ออารมณ์อย่างนี้เกิดขึ้น จงสร้างความรู้สึกของใจเสียใหม่ให้มันถูกต้องว่า การเจริญพระกรรมฐานเราต้องการอะไรกัน ความจริงที่ถูก การเจริญพระกรรมฐานเรามีความต้องการตัดอำนาจของราคะ ความรักในเพศ ตัดอำนาจโลภะ ความปรารถนาอยากได้ทรัพย์สินต่าง ๆ ตัดอำนาจโทสะและพยาบาท การจองล้างจองผลาญ การคิดประทุษร้ายบุคคลอื่นให้ถึงความพินาศ ตัดอำนาจของโมหะ ความหลง โดยคิดว่าร่างกายนี้มันเป็นของเรา เป็นของเรา ทรัพย์สินต่าง ๆ เป็นเรา เป็นของเรา ถือเราถือเขาเป็นสำคัญ ให้ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็น ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ นึกเห็นตามความจริง ถ้าเราเห็นตัวเราแล้วก็เห็นบุคคลอื่น ดูหาความจริงให้พบจนกระทั่งจิตสลด คิดว่าร่างกายของคนและสัตว์เต็มไปด้วยความสกปรกจริง ๆ ร่างกายของคนและสัตว์มีทุกข์จริง ๆ ร่างกายของคนและสัตว์หาความเที่ยงไม่ได้จริง ๆ มันมีการสลายตัวไปในที่สุด ไม่มีใครกล้าจะแสดงว่าเราเป็นเจ้าของร่างกายจริงจังโดยการบังคับให้ทรงตัวได้ ในเมื่อร่างกายมันไม่ดีอย่างนี้ เราจะไปเมามันเพื่อประโยชน์ในโลกีย์วิสัยทำไม

    -เมื่อร่างกายมันเป็นของสกปรก เป็นของไม่เที่ยง มีอนัตตาคือสลายตัวไปในที่สุด จิตก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ผูกพันในรูปกายใด ๆ ทั้งหมด จะเป็นที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม เห็นว่าไม่เป็นสาระ หรือว่าไม่เป็นแก่นสาร มีแต่ความสกปรก เครื่องประดับที่แต่งกายเป็นของหลอกลวงไม่มีอะไรดี ผ้าผ่อนท่อนสไบหามาแล้วอย่างดี สีสดสวย เดี๋ยวก็ทรุดโทรม ความจริงนึกว่าสวมแล้วก็เก็บ จะใช้ใหม่ก็ต้องซัก ต้องฟอก นี่แสดงว่ามันสกปรก เครื่องอาภรณ์ต่าง ๆ ก็คอยปัดคอยสีขัดเกลา ทำลายสิ่งสกปรกอยู่เสมอ ทีนี้อะไรมันเป็นของสะอาด เป็นอันว่าวัตถุก็ดี สิ่งที่มีชีวิตก็ดีมันก็ของไม่สะอาดทั้งหมด จิตคิดอย่างนี้ให้มันปกติ จิตก็ตัดความรักเสียได้ เพราะความรักที่มันเกิด เราเข้าใจว่ามันดี เข้าใจว่ามันสวย เข้าใจว่ามันสะอาด อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของตัณหา ดึงไปอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น การทำลายอารมณ์รักภายในใจเสียได้เป็นอารมณ์วิปัสสนาญาณ ต้องมีอารมณ์ให้ทรงอยู่เป็นปกติ

    จงจำไว้ว่า อารมณ์ใดที่ประกอบไปด้วยความรัก ประกอบไปด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลง อันนั้นพระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นอารมณ์ของดิรัจฉาน ดิรัจฉานก็หมายความว่า ไปขวาง คือมันขวางจากความดี เราจึงควรตัดความโลภด้วยการให้ทาน ตัดความโกรธด้วยการเจริญพรหมวิหาร 4 ตัดความหลงด้วยการยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ไม่หวั่นไหวในเมื่อร่างกายมันจะเป็นอะไรเกิดขึ้น และจงมีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ คือเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริงด้วยความจริงใจ เมื่อเคารพแล้วก็ปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน โดยการพิจารณากายของเราว่าไม่ดี ไม่มีการทรงตัว ความรักด้วยอำนาจของตัณหามันก็จะน้อยลงไป หรือไม่ก็หมดลงเลย ส่วนความโลภ ให้พิจารณาว่า จะตะเกียกตะกายไปเพื่อประโยชน์อะไร เราตายแล้วมันก็ไม่ไปกับเรา และความโกรธอยากจะฆ่าเขา ก็ให้พิจารณาว่า เราและเขาก็จะต้องตายเหมือนกัน จะไปฆ่าให้เสียเวลาทำไม เพราะฆ่าไม่ฆ่ามันก็ต้องตายอยู่แล้วนั่นเอง ทีนี้ความหลงนั่นเป็นของกู นี่เป็นของกู แม้แต่ร่างกายของเรามันยังไม่เป็นของกูเลย แล้วร่างกายคนอื่น วัตถุอื่น มันจะเป็นของเราหรือ วิธีการตัดเขาตัดที่ตรงนี้

    -ให้พิจารณาเป็นปกติเสมอว่า ร่างกายมันจะแก่ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะป่วยถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะตายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ของรักของชอบใจที่พลัดพรากจากเราไปก็ถือว่าเป็นธรรมดา ธรรมดามันเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน ให้คิดเสียว่าเมื่อร่างกายมันพังเมื่อไร เราไปนิพพานเมื่อนั้น ตั้งใจไว้เพียงเท่านี้ หากว่าชาตินี้ถ้าไม่สามารถจะไปนิพพานได้ ถ้าอารมณ์ใจท่านเป็นอย่างนี้แล้ว ดีไม่ดีไปพักอยู่แค่เทวดาหรือพรหมไม่กี่วัน เพียงแค่พระศรีอาริย์ตรัส เห็นหน้าพวกท่านเข้า พระพุทธเจ้าท่านจะเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐาน หรือปฏิกูลบรรพฉับพลันทันที เพราะองค์สมเด็จพระชินสีห์รู้ทุนเดิมของเรา ถ้าฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระทศพลเพียงกัณฑ์เดียว อย่างเลวที่สุดได้พระโสดาบัน ถ้าฟังซ้ำอีกทีก็ได้อรหัตผล

    ตัวอย่างก็มีเยอะที่ปรากฎในพระพุทธประวัติ ดังเช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับท่านพาหิยะว่า “พาหิยะ เมื่อเธอเห็นรูปแล้วจงทำจิตเพียงสักแต่ว่าเห็น” พระพุทธเจ้าตรัสเพียงเท่านี้ ปรากฎว่า พระพาหิยะสำเร็จพระอรหัตผลพร้อมไปด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ท่านสำเร็จได้อย่างไร ทั้งนี้เพราะว่ากำลังใจพระพาหิยะพร้อมแล้วที่จะรับคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อฟังก็เกิดความเข้าใจ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ความที่ท่านตรัสว่า “พาหิยะ เธอเห็นรูปแล้วจงทำความรู้สึกแต่เพียงว่าสักแต่ว่าเห็น” ก็หมายความว่า เธอจงอย่าสนใจในรูป เมื่อรูปเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ รูปเป็นทุกขัง สภาวะของรูปไม่มีการทรงตัว แล้วก็รูปเป็นอนัตตา มีการสลายตัวไปในที่สุด อันนี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาญาณ

    -พระพุทธเจ้าบอกรูปไม่เที่ยง รูปเป็นทุกข์ เมื่อรูปไม่เที่ยงก็ทำให้มันเป็นเรื่องของรูป รูปมันเป็นทุกข์ ก็ให้มันเป็นเรื่องของรูป ใจเราจงอย่าทุกข์ แล้วก็ในที่สุด รูปมันเป็นอนัตตา ก็ให้มันเป็นเรื่องของรูป สำหรับใจของเราต้องเป็นนิจจัง คือมีอารมณ์เที่ยง ใจของเราให้มันเป็นสุขัง คือมีอารมณ์เป็นสุข ใจของเรามันเป็นอัตตา คือมีการทรงตัว ความจริงใจมีสภาพเที่ยง เราจะเห็นได้ว่าคนและสัตว์ที่ตาย มันตายแต่กาย ใจมันไม่ได้ตาย ถ้าใจมันตายด้วย การขึ้นสวรรค์ การลงนรก การเป็นพรหม ไปนิพพานมันก็ไม่มี สภาพของใจมันเป็นสภาพเที่ยง เป็นธรรมชาติอันหนึ่งที่มีสภาพไม่รู้จักการสลายตัว แต่ทว่าเราต้องระมัดระวังใจของเราให้มันมีอารมณ์ผ่องใส อารมณ์ของใจอย่าให้ขุ่นมัว เพราะเราจะดีหรือชั่วมันอยู่ที่ใจ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ

    -ถ้าบุคคลใดใช้ปัญญาหรือสมาธิเป็นเครื่องพิจารณากาย จะเห็นว่าร่างกายนี้ สภาวะความเป็นจริงมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราเองไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายไม่ใช่เรา มันคนละส่วนกัน คนที่ตายจากความเป็นคนไปแล้ว ไปเกิดบนสวรรค์บ้าง ไปเป็นพรหมบ้าง ไปนิพพานบ้าง ไปเกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานบ้าง อย่างนี้เป็นต้น ทุกคนไม่ได้เอาร่างกายไป เขาไปแต่อทิสมานกาย คือกายภายใน ร่างกายภายนอกเป็นแค่เปลือกนอกเท่านั้น ขอบรรดาท่านทั้งหลายจงจำไว้ว่า รูปเป็นอนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้ แล้วรูปก็เป็นทุกขัง มันเต็มไปด้วยความทุกข์ เราไม่ควรยึดถือรูปของเรา ไม่ควรยึดถือรูปของบุคคลอื่น เราไม่ควรยึดถืออะไร ๆ ทั้งหมดในโลกว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา

    ควรทำใจของเราให้ออกห่างจากความปรารถนาในรูป เมื่อเราตัดอารมณ์รักในรูปทุกอย่างเสียแล้ว มีความเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ ที่ความทุกข์มีเกิดขึ้นมาแก่เราทุกขณะที่มีอยู่ในเวลานี้ เพราะอาศัยร่างกายเป็นเหตุ เรามีจิตรังเกียจ คิดว่าไม่ว่ารูปคน รูปสัตว์ รูปวัตถุ เป็นปัจจัยของความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ เมื่อจิตใจของท่านหลุดลอยในการเกาะรูป หรือบุคคลใดวางร่างกายภายในคือร่างกายของเราเสียได้ วางร่างกายภายนอกคือกายของบุคคลอื่นเสียได้ วางวัตถุธาตุใด ๆ เสียได้ทั้งหมด ท่านก็เป็นพระอรหันต์ มันเป็นของไม่ยาก เมื่อตายจากความเป็นคนเมื่อไร ก็ไปนิพพานเมื่อนั้น

    -เรื่องของร่างกาย ถ้าจะพิจารณาโดยใช้อำนาจของปัญญา เราจะเห็นว่าร่างกายของเราและบุคคลอื่นก็ดี เต็มไปด้วยความสกปรก ยกตัวอย่างน้ำลายในปาก ถ้าหากเรายังไม่บ้วนออกมานี่ เราอมไว้ เราไม่รู้สึกรังเกียจ และแถมกลืนได้ แต่พอบ้วนออกมาแล้วมือไม่กล้าแตะน้ำลายของใคร น้ำลายของเราเอง อยู่ในปากสะอาด พอออกมาดันสกปรกเสียได้ และอาหารที่จะกินเข้าไปเราเลือกแล้วเลือกอีก ถ้าไม่ดีไม่ชอบใจ ไม่กิน พอถ่ายออกมาเป็นอุจจาระ ไม่เอาเสียแล้ว นี่เป็นอันว่าร่างกายของคนเรา ถ้าพิจารณากันไปมันสกปรก

    ดังนั้น เราจะเอาจิตเข้าไปพัวพันร่างกายของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์อะไร และแม้แต่ร่างกายของเราก็เหมือนกัน มันเพียงแต่ว่าเป็นแดนสำหรับที่เราอาศัยเท่านั้น เราจะไม่หลงใหลใฝ่ฝันในรูปกายจนเกินสมควร และก็รู้อยู่เสมอว่าร่างกายของเราสกปรก ร่างกายของคนอื่นก็สกปรก มันสกปรกไม่สกปรกเปล่า ในที่สุดมันก็พังทลายเหมือนผีตายทั้งหลายนั่นแหละ ความจริงเราต้องการความสะอาด เราไม่ต้องการความสกปรก เมื่อจิตของเราเห็นว่า อัตภาพร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดีสกปรก ความรักความปรารถนา ความใคร่มันก็หมดไป เพราะว่าไม่มีใครต้องการความสกปรก นี่เป็นการใช้วิปัสสนาญาณทางหนึ่ง

    -ถ้าเราไม่มีร่างกายเสียอย่างเดียว อาการอย่างนี้มันไม่ปรากฎจิตมันก็กำหนดไว้เลยว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ความเกิดจะไม่มีสำหรับเราอีก การเกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี เราไม่ต้องการ หรือว่าการที่จะมีอารมณ์พิสมัยว่า โลกมนุษย์สวยสดงดงาม เทวโลก พรหมโลก สวยสดงดงาม มันเป็นที่น่าอยู่ ไม่มีสำหรับเรา เราต้องการอย่างเดียวคือความดับไม่มีเชื้อ คือสามโลกไม่ต้องการทั้งหมด จิตที่เราจะพึงกำหนดไว้ก็คือ ไม่มีกาย แล้วก็มีพระนิพพานเป็นที่ไป จึงกล่าวได้ว่า ความต้องการประคับประคองร่างกายเป็นความโง่ของจิต ทำไมเราจึงโง่ ที่เราโง่เพราะเรามีนายบังคับ นายของเรา 4 คน ปราบยาก ไม่มีใครสามารถจะปราบให้มันราบคาบได้ นอกจากหนีไป นาย 4 คนก็คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม

    กิเลส แปลว่าความเศร้าหมองของจิต เรียกง่าย ๆ ว่า ความเลวของจิต

    ตัณหา เมื่อความรู้สึกมันเลว ความต้องการเลวเกิดขึ้น ตัณหาก็เกิด

    จิตที่เป็นกิเลส เห็นของเลวเป็นของดี เห็นของดีเป็นของเลว มันกลับกัน ชอบของเลว ๆ ชอบของสกปรก เห็นของสกปรกว่าเป็นของสะอาด อย่างร่างกายคน ร่างกายสัตว์ ไปดูเถอะไม่มีส่วนไหนสะอาดเลย เต็มไปด้วยน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ เสลด น้ำลาย ทุกอย่างที่มันมีอยู่ในร่างกาย ถ้าหลั่งไหลออกมาเราก็รังเกียจทั้งหมด แต่จิตคิดอยากได้ร่างกายคนอื่นเพื่อร่วมอยู่กับเรามันยังมีอยู่ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะมันโง่ และท่านที่ทำให้เราโง่ก็คือกิเลสที่เป็นนามธรรมมันเสี้ยมสอน

    -ถ้าเจริญอสุภกรรมฐานแล้วไม่ต้องไปไหนละ ถ้าเราต้องการสุกขวิปัสสโก เดินสายเดียวเลย มันจะมีอารมณ์เข้าจุด อันดับแรกที่สุดที่จะกระทบหนักก็คือ พระอนาคามี ทำไมถึงว่าอย่างนั้น ทำไมไม่บอกว่าต้องเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามีก่อน ความจริงเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามีเหมือนกัน แต่อารมณ์มันเร็วเกินไป

    พอจิตเข้าสู่โคตรภูญาณ เห็นว่าโลกเป็นทุกข์ โลกเต็มไปด้วยความสกปรก สมบัติที่เรารักที่สุดก็คือร่างกาย สกปรกแบบนี้หาความดีอะไรไม่ได้ ทีนี้จิตใจที่มีความต้องการในร่างกายของเราน่ะเกือบไม่มี ในเมื่อความต้องการร่างกายเราไม่มีแล้ว เราจะต้องการร่างกายของใคร ไม่มีหรอก เรารักตัวเราเองมากที่สุด ยิ่งกว่ารักคนอื่น อารมณ์ตัวนี้เป็นอารมณ์ตัดราคะ เมื่อตัดราคะจริต มันก็ตัดกามราคะ ความปรารถนาในกาม อารมณ์ที่เข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้า เป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี ทิ้งไปเลย มันไปถึงอนาคามีเลย

    -ชีวิตมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป แก่ลงไปในขั้นกลาง และมีความตายในที่สุด เมื่อคนเราเกิดแล้วตายเหมือนกันหมด ธรรมใดที่ทำให้บุคคลเกิดแล้วตายมี ธรรมที่ทำให้บุคคลเกิดแล้วไม่ตายก็ต้องมีอยู่ เพราะว่าตายแล้วมันก็เกิดใหม่ เกิดแล้วก็มาลำบากลำบนแล้วก็ตาย ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในตำรา อยู่กับความจริง ถ้าจิตใจของเราเข้าถึงความเป็นจริง ก็ชื่อว่าจิตของเราเข้าถึงธรรมะของพระพุทธเจ้า อันดับแรก ให้เห็นว่าร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก อันนี้เป็นสมถภาวนา ต่อไปเห็นการเกิดและการเสื่อมของร่างกาย จนกระทั่งมีความเบื่อหน่ายว่าร่างกายสกปรก เราก็ไม่ชอบใจ ร่างกายมีความเสื่อม เราก็ไม่ชอบใจ ตัวนี้เป็นวิปัสสนาภาวนา ต่อไปก็ทำจิตวางเฉยในร่างกาย คือร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของคนอื่นก็ดี ตัวนี้เป็นการตัดวิปัสสนาตัวปลาย เป็นอารมณ์พระอรหันต์

    ดังนั้น เราจะเข้าถึงความดีได้ก็เพราะอาศัยการฝึกฝนตนคือจิต คำว่าตนในที่นี้ได้แก่จิต ไม่ใช่ร่างกาย คือเอาจิตของเราเข้าไปเกาะความดีเข้าไว้ ธรรมส่วนใดที่จะทำให้เราเข้าถึงพระนิพพานได้ เราก็ทำส่วนนั้น ธรรมส่วนสำคัญที่เราจะเห็นได้ง่ายก็คือ ตัดรากเหง้าของกิเลส ได้แก่ โลภะ ความโลภ เราตัดด้วยการให้ทาน ทำจิตให้ทรงอยู่เสมอว่า เราจะให้ทานเพื่อทำลายโลภะ ความโลภ แล้วความโลภจะได้ไม่เกาะใจ อีกประการหนึ่ง รากเหง้าของกิเลสก็ได้แก่ ความโกรธ เมื่อจิตเราทรงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ เพื่อเป็นการหักล้างความโกรธ ความพยาบาทมันก็ไม่มี ประการที่ 3 โมหะ ความหลง ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ เป็นรากเหง้าใหญ่ เป็นตัวบัญชาการให้เกิดความรัก ความโลภ ความโกรธ ถ้าหลงไม่มีเสียอย่างเดียว เราตัดความหลงได้อย่างเดียว เราก็ตัดได้หมด การตัดตัวหลงตัดอย่างไร ตัดตรงมรณานุสสติกรรมฐาน ก็คิดเสียว่าคนและสัตว์เกิดมาแล้ว ก็มีความตายไปในที่สุด วัตถุต่าง ๆ ที่เป็นสมบัติของโลก มันมีการเกิดก่อตัวขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็สลายตัวไปในที่สัดเหมือนกัน วัตถุเรียกว่าพัง คนและสัตว์เรียกว่าตาย

    -สังขารุเปกขาญาณ คือว่า ทำใจวางเฉยยอมรับนับถือความเป็นจริง เรามีหน้าที่ที่จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติกันอย่างนั้น เพื่อเป็นการระงับทุกขเวทนา อย่างเช่น ตื่นขึ้นมาก็ต้องล้างหน้า ไม่ต้องการก็ล้าง ถึงเวลาจะกินก็กิน ก่อนที่จะได้กินต้องหา ก็ต้องหาทุกสิ่งทุกอย่าง ถือว่าทำตามหน้าที่ แต่ร่างกายอัปรีย์ที่สร้างความเร่าร้อน สร้างความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และมันเองก็เต็มไปด้วยความสกปรกอย่างนี้ จิตเราก็คิดไว้ว่า ก่อนจะเกิดเรามันโง่ ถ้าเราไม่โง่ เราไม่ยึดถือกิเลสตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม เป็นสมบัติของเรา ประจำจิตใจเรา เราก็ไม่ได้เกิด เราก็ไปนิพพาน ในเมื่อเราโง่มาแล้ว เราก็จะไม่โง่ต่อไป คิดไว้ในใจคือ สังขารุเปกขาญาณ เขาคิดอย่างนี้ คิดว่าอะไรเราจะเกิดขึ้นมากับร่างกายก็ตามที และอะไรจะเกิดขึ้นมากับอารมณ์ก็ตาม ถือว่าช่างมัน มันธรรมดาของมันเป็นอย่างนั้น เราก็ทำไปทุกอย่าง ทำตามหน้าที่เท่านั้น มันหิวก็หาให้กินตามหน้าที่ มันร้อนเอาความเย็นให้มัน ระงับทุกขเวทนาตามหน้าที่ มันหนาวหาความอบอุ่นให้ตามหน้าที่ มันป่วยไข้ไม่สบาย รักษากายนี้ตามหน้าที่ คือตามหน้าที่หมายถึงว่า ระงับทุกขเวทนาชั่วคราว แต่ว่าจิตใจของเราไม่มีความต้องการในมันอีก

    -สังขารุเปกขาญาณ อารมณ์มันเฉยทุกอย่าง ความรู้สึกน่ะมี ไม่ใช่ไม่คิด คนถ้ายังมีลมหายใจอยู่มันต้องคิด แล้วถ้าถามว่าเฉยอย่างไร ก็ตอบว่า อารมณ์มันเฉย ความรักในเพศไม่เกิดขึ้น ความเกลียดไม่เกิดขึ้น คือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย ธาตุ 4 เข้ามาประชุมกันแบบนี้ มีอาการ 32 มีความสกปรกโสโครก เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ทุกข์ เป็นทุกข์ อนัตตา สลายตัว เมื่อมีความรู้สึกอย่างนี้มันเฉย มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน ร่างกายเป็นหน้าที่ของร่างกาย จิตใจเป็นหน้าที่ของจิตใจ ร่างกายจะแก่ก็เป็นหน้าที่ของร่างกาย ใจไม่ต้องไปช่วยมันแก่ ร่างกายจะป่วยก็เป็นหน้าที่ของร่างกาย ไม่ใช่ใจจะช่วยมันป่วย ร่างกายจะตายเป็นหน้าที่ของร่างกาย ไม่ใช่หน้าที่ของใจ ใจไม่ต้องไปช่วยมันตาย จงวางอารมณ์เสีย ใครเขาจะยังไงก็ช่าง เขาจะดี เขาจะชั่ว เขาจะเลว เขาจะอย่างไรก็ตามเถอะ ไม่สนใจ เห็นหน้าคน เราคิดไว้เสมอว่า เป็นคนที่เราควรแก่การปรานี เห็นหน้าสัตว์ก็คิดว่าเป็นสัตว์ควรแก่การปรานี พยายามไม่ถือตน คนและสัตว์ก็ตาม ถือว่ามีธาตุ 4 คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟเสมอกัน มีอาการ 32 เหมือนกัน มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน สร้างอารมณ์ให้เป็นสังขารุเปกขาญาณในวิปัสสนาญาณ อย่างนี้ การระงับการถือตัวถือตนย่อมเป็นของไม่ยาก

    -ขอพูดย่อ ๆ อารมณ์ที่ทำนี่ ไม่ใช่ต้องนั่งหลับตา ท่านเดินไปเดินมา นั่งทำอะไรอยู่ นอนอยู่ ยืนอยู่ แล้วก็เดินอยู่ ทำอะไรก็ตาม มองดูสภาพของความจริง เห็นต้นหญ้าที่มันร่วงโรยลงไปก็คิดว่า โอหนอ ชีวิตของคนเราก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน ก็คิดมันวนไปวนมา ถอนกำลังใจให้มันติด คือว่าเมื่ออาการอย่างนั้นเกิดขึ้น เราเห็นอะไรขึ้น ถ้าอาการของความทุกข์เกิดขึ้น ความขัดข้องเกิดขึ้น เราก็เฉย ที่เรียกว่าสังขารุเปกขาญาณ มันอะไรจะมาก็ช่างมัน มันจะแก่ก็เชิญแก่ ใจสบาย ๆ ถือว่าหนีความแก่ไม่ได้ ถ้าความป่วยไข้ไม่สบายมันเกิดขึ้น ทุกขเวทนามันมีเราก็ต้องรักษา ใจเราก็เฉย รักษาหายก็หาย ไม่หายก็ช่างมัน อยากตายเมื่อไหร่ก็เชิญ เกิดมาเพื่อตาย ใช้สังขารุเปกขาญาณ เฉยทั้งอาการที่เข้ามากระทบกระทั่งจิต ในด้านของโลกีย์วิสัย เฉยทั้งคำชม เฉยทั้งคำนินทา เฉยทั้งได้มา เฉยทั้งเสื่อมไป ไอ้การชมการสรรเสริญก็ดี การด่าการนินทาก็ดี เราไม่ได้เป็นไปตามปากเขา เราจะดีหรือจะชั่วมันอยู่ที่กำลังใจของเราเท่านั้น รวบรวมกำลังใจไว้อย่างนี้ เราก็เฉยต่ออาการทั้งหมด ไม่มีอะไรสนใจ ช่างมัน

    ถ้าจะถามว่า ถ้าทำจิตได้อย่างนี้ยังสูบบุหรี่ไหม ยังกินหมากไหม ยังจะต้องใช้ของที่เคยใช้กับร่างกายไหม ก็ต้องตอบว่าใช้ตามปกติ เขาไม่ได้ติด แต่ร่างกายต้องการ เหมือนกับพระพุทธเจ้าที่ท่านเป็นพระพุทธเจ้าแล้วยังฉันภัตตาหาร เรื่องอะไรที่ประสาทต้องการเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องบำรุงประสาท เพื่อเราจะเอาไว้ใช้ประโยชน์ เหมือนกับคนที่ลงเรือรั่วเพื่อหวังจะข้ามฟาก ถ้าขณะใดที่ยังอาศัยเรืออยู่ เมื่อน้ำมันรั่วขึ้นมาเราก็ต้องอุด มันผุตรงไหนก็ต้องทำนุบำรุงซ่อมแซม ไม่ใช่ว่าปล่อยให้มันรั่วให้มันพังไปจนกว่าเราจะขึ้นฝั่งได้ สิ่งสำคัญคือการยอมรับนับถือกฎของธรรมดา อย่าใช้อารมณ์ฝืนกฎธรรมดา อารมณ์จิตของเราจะเป็นสุข

    -ขอท่านทั้งหลายผู้หวังดีกับตัวเอง พิจารณาทุกลมหายใจเข้าออก เตือนใจของตนเองไว้ว่า วันไหนมันหลงในร่างกายของเราบ้างไหม ว่าร่างกายของเราแข็งแรงดี สวยสดงดงาม ผิวพรรณผ่องใสมีไหม ถ้ามีจงรู้ว่านั่นโง่เต็มทีแล้ว เป็นอารมณ์ของอบายภูมิ วันไหนที่เราเห็นร่างกายคนอื่นมันสวยมีไหม ถ้ามีแสดงว่าเราโง่เต็มที เราพึงคิดไปว่าไอ้เจ้าโง่ตัวนี้เราไม่คบ เพราะร่างกายมันเป็นอย่างไร เรารู้อยู่แล้ว เราก็สกปรก คนอื่นก็สกปรก ร่างกายมันไม่ใช่เรา มันเป็นบ้านเช่าชั่วคราว สังขารุเปกขาญาณ ใช้ให้เป็นอารมณ์ วางเฉยต่อสิ่งที่เข้ามากระทบ มีจิตใจจับเฉพาะอย่างเดียวคือนิพพาน ทำศีลให้บริสุทธิ์ ทำสมาธิให้ตั้งมั่น ใช้ปัญญายอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง ไม่ดิ้นรน มีอารมณ์สบาย ถ้าทำได้แค่นี้ท่านก็เป็นอรหันต์ มันไม่ยาก คิดไว้ทุกวัน คิดไว้เสมอทุกวัน ทุกลมหายใจเข้าออก ตื่นขึ้นมาแล้วก็ดูกายสกปรก ดูกายไม่เที่ยง ดูกายเป็นทุกข์ ดูกายเป็นอนัตตา อารมณ์มันจะชิน จะเป็นปกติ ในที่สุดมันก็เปลื้องได้

    -ความเบื่อหน่ายในร่างกาย เบื่อในการเกิด เป็นนิพพิทาญาณในวิปัสสนาญาณ ถ้าท่านคิดใคร่ครวญในรูปสมถะให้เห็นเป็นซากศพอยู่เสมอ และใคร่ครวญหากฎธรรมดาควบคู่กันไป คือเมื่อเกิดความทุกข์อันเกิดแต่การป่วยไข้หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจ หรือความแก่เฒ่าเข้ามารบกวน ท่านก็วางใจเฉยเสีย ไม่ดิ้นรนกระเสือกกระสน โดยคิดว่า ที่เป็นเรื่องธรรมดา เกิดมามันก็ต้องเจ็บไข้ไม่สบาย มีลาภแล้วลาภมันก็เสื่อมได้ มียศแล้วยศมันก็สิ้นได้ มีสุขแล้วทุกข์มันก็มีได้ มีคนสรรเสริญแล้วคนนินทาก็มีได้ เกิดแล้วก็ต้องตายได้ ทุกอย่างมันธรรมดาแท้ ๆ จนจิตชินต่ออารมณ์ มีอะไรที่เป็นทุกข์เกิดขึ้นก็รู้สึกว่าเป็นปกติ ไม่ดิ้นรนหวั่นไหวอย่างนี้ ท่านเรียกว่าได้สังขารุเปกขาญาณในวิปัสสนาญาณ เป็นคุณธรรมที่ใกล้ความเป็นผู้บรรลุพระโสดาบันแล้ว

    -การใช้วิปัสสนาญาณ ถ้ายังไม่ถึงนิพพิทาญาณเพียงใด ก็ชื่อว่าอารมณ์ของบรรดาท่านพุทธบริษัทยังไม่มีผลในวิปัสสนาญาณ นิพพิทาญาณที่เป็นตัวแรกที่เข้าถึงผล แต่ผลที่เข้าถึง ตอนแรกอย่าคิดว่ามันจะทรงตัว เอาแค่เบื่อเล็กน้อย เฉพาะเวลาใหม่ ๆ เบื่อตลอดเวลาไม่ได้นะ หรือว่าจะบังคับให้เบื่อตลอดเวลามันจะไม่เบื่อตลอดเวลา บางครั้งเราจะมีความรู้สึกเบื่อในร่างกายของเราเอง เอาร่างกายเป็นสำคัญ แล้วก็บางครั้งมันก็ไม่เบื่อ อารมณ์เบื่อมันจะน้อยกว่าอารมณ์ไม่เบื่อก็ช่างมัน ถือว่ามีความเบื่อก็แล้วกัน ให้คิดเสียว่า ถ้าเรายังไม่สิ้นกิเลสเพียงใด การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะยังมีอยู่ ตายจากความเป็นคนมาเกิดเป็นคนก็ยังดี ส่วนใหญ่ก็ไปอบายภูมิ ไปสวรรค์หรือพรหมก็มีน้อย ไปเกิดในอบายภูมิมีนรก เป็นต้น ก็ทุกข์หนักกว่านี้ ก็รวมความว่า ถ้าเราเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ก็ไม่สิ้นทุกข์ ฉะนั้นการเกิดประเภทนี้เป็นของน่าเบื่อ นี่เรียกว่านิพพิทาญาณ

    -ถ้าทำใจสบาย จิตเข้าถึงฌาน 4 หรือ ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ก็ตาม เวลาที่จิตสงัด ปัญญามันจะเกิดเอง มันจะบอกชัด มันจะมีความเบื่อหน่ายในร่างกายขึ้นมาเอง มีความรู้สึกว่าร่างกายนี่มันไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีการทรงตัวเพราะอะไร เพราะเมื่อมีความเกิดขึ้นแล้วก็มีความป่วย ความตาย ในขณะที่ทรงกายอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ หากความสุขไม่ได้ เราจะบริหารในขณะที่ทรงกายอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ เราจะบริหารร่างกายสักเพียงใดก็ตาม ร่างกายก็เต็มไปด้วยความทรุดโทรมอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 คือร่างกายเสีย นี่ตัวปัญญามันจะเห็น

    ปัญญามันจะสอนต่อไปว่า ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการเกิดอีกต่อไปแล้ว ก็ตัดรากเหง้าของกิเลสทั้ง 3 ประการทิ้งเสียให้หมด คือตัดอำนาจของความโลภด้วยการให้ทาน ตัดรากเหง้าของความโกรธด้วยการเจริญเมตตาบารมี และตัดรากเหง้าของความหลงด้วยการพิจารณาหาความจริงของขันธ์ 5 ปัญญามันจะเห็นชัดว่า ร่างกายเป็นแค่เพียงธาตุ 4 ไม่มีการทรงตัว มีการเปลี่ยนแปลง ภายในเต็มไปด้วยความสกปรก นี่มันจะบอกชัด ปัญญามันดีกว่านี้มาก ถ้ามันได้ถึงจริง ๆ

    -จิตต้องปล่อยให้เป็นนิพพิทาญาณจริง ๆ เห็นคนก็ดี เห็นสัตว์ก็ดี เห็นผู้หญิงก็ตาม เห็นผู้ชายก็ตาม ให้พิจารณาเป็นอสุภกรรมฐาน เห็นตามความเป็นจริงว่า คนทั้งหลายเหล่านี้ไม่ช้าก็เป็นศพ และเวลานี้ก็มีสภาพเหมือนศพเดินได้ เพราะอะไร เพราะเลยผิวหนังเข้าไปไม่มีอะไร หาอะไรที่สะอาด หาอะไรที่น่ารัก ดูน่าชื่นใจไม่มี มันเป็นสิ่งโสโครกด้วยประการทั้งปวง นี่ว่ากันถึงอารมณ์ของอสุภกรรมฐาน ถ้าเราเจริญอสุภกรรมฐาน ถ้าเราเข้าถึงฌาน 4 จริง ๆ อารมณ์จิตจะเห็นว่าร่างกายปรากฎว่าเป็นของน่าเกลียด โสโครก ไม่ว่าร่างกายของเราหรือกายของบุคคลอื่น เมื่อรู้ว่าศพเน่า ศพเหม็น ไม่น่ารัก ไม่น่าดู แบบนี้หนัก ๆ เข้า จิตมันจะเกิดความเบื่อหน่าย ว่าร่างกายเขาก็ไม่เป็นเรื่อง ร่างกายเราก็ไม่เป็นเรื่อง ร่างกายบุคคลอื่นก็ไม่เป็นเรื่อง ไม่น่ารักน่าชมตรงไหนเลย เรื่องอะไรที่เราจะมาหลงใหลใฝ่ฝันในร่างกายเพื่อประโยชน์อะไร

    ร่างกายของเรามีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไป แล้วก็สลายไปในที่สุด เมื่อความสลายปรากฎมีมาเมื่อไรก็ปรากฎว่า สิ่งสกปรกทั้งหลายมันก็หลั่งไหลออกมาแบบนี้ ร่างกายของเรา ของคนทั้งหมดนี่น่าเกลียดจริง ๆ ตัวนี้เอาความเบื่อหน่ายปรากฎเป็นวิปัสสนาญาณไปในด้านวิปัสสนาญาณ ทีแรกจริง ๆ พิจารณาว่าศพตายอืด เหม็น ที่เป็นสมถะ แล้วตัวสมถะตัวนี้มันก็วิ่งไปหาวิปัสสนาญาณเอง โดยไม่ต้องตั้งขึ้นมาใหม่ อันนี้มีความสำคัญมาก

    มันจะเกิดเป็นนิพพิทาญาณ เมื่อวิปัสสนาญาณปรากฎเป็นด้านนิพพิทาญาณแล้ว ต่อมาสังขารุเปกขาญาณก็ปรากฎ เมื่อเราเบื่อทั้งหมดแล้ว เบื่อทั้งกายเรา และเบื่อทั้งกายคนอื่น มันเบื่อหมด หาความสวยไม่ได้ หาความดีไม่ได้ หาความสะอาดไม่ได้ แล้วต้องการมันทำไม ความต้องการในร่างกายมันก็ไม่มีอยู่ จิตมันก็เฉย ความดิ้นรนประสงค์ในร่างกายเรา ร่างกายบุคคลอื่นไม่มีแล้ว ก็เป็นการวางเฉย การวางเฉยตัวนี้คือสังขารุเปกขาญาณ ดังนั้นข้อสำคัญ เราต้องควบขคุมกำลังใจของเราในด้านนิพพิทาญาณ พิจารณาตามความเป็นจริง วิปัสสนานี่เขาเอาจิตเข้าไปจับหาความเป็นจริงกัน ไม่ใช่ฝืนความจริง..

    หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013
  14. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    ติดสุข ในฌานและสมาธิ


    มิจฉาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีมิจฉาสติ

    สัมมาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีสัมมาสติ

    มิจฺฉาสติสฺส มิจฺฉาสมาธิ ปโหติ

    สมฺมาสติสฺส สมฺมาสมาธิ ปโหติ

    (อวิชชาสูตร ๑๙/๑)

    ติดสุข หมายถึง การติดเพลินหรือติดใจอยากในความสุขความสบาย อันเกิดขึ้นจากอำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ สุขนี้จึงหมายถึงสุขที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสในข้อ ๕ และยังครอบคลุมถึงอาการเหล่านี้ด้วยคือ ติดปีติ หมายถึง ติดเพลินหรือติดใจอยากในความอิ่มเอิบหรือซาบซ่าน ติดอุเบกขา หมายถึง ติดเพลินหรือติดใจอยากในความสงบ หรือติดเอกัคคตารมณ์ หมายถึง จิตแช่นิ่งคือจิตจดจ่อหรือจดจ้องแช่นิ่งอยู่ภายใน ติดนิมิต คือติดเพลินยึดถือในนิมิตทั้งหลาย สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นอาการของการไปเสพจนติดใจอยากในผลอันเกิดแต่ฌานหรือสมาธิ จึงเกิดการกระทำทั้งโดยมีสติรู้ตัว รวมทั้งโดยไม่รู้ตัวโดยการเลื่อนไหลไปแม้ในวิถีจิตตื่น(ในชีวิตประจำวัน)อยู่เสมอๆ

    คือ การพยายามให้อาการขององค์ฌานสมาธิดังกล่าวคงอยู่ คงเป็น ดังเช่น อาการกระทำจิตส่งใน ล้วนเกิดขึ้นเพราะอวิชชาจึงเป็นไปอย่างผิดๆ และปัญหาใหญ่ยิ่งคือผู้ที่เป็นจะไม่รู้ตัว และเมื่อรู้ตัวก็แก้ไขไม่ได้เสียแล้ว อาการเหล่านี้ต้องใช้การโยนิโสมนสิการ กล่าวคือ ใช้ปัญญาพิจารณาโดยละเอียดอย่างแยบคาย หรือย้อนระลึกอดีตจึงจะทราบได้ ทั้งหมดนี้เรียกรวมๆกันว่า ติดสุขบ้าง ติดฌานบ้าง ติดสมาธิบ้าง หรือมิจฉาสมาธิบ้าง มิจฉาฌานบ้าง ดังนั้นฌานสมาธิอันดีงามที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติวิปัสสนาให้เกิดปัญญาญาณ จึงกลับกลายเป็นมิจฉาฌาน หรือมิจฉาสมาธิอันให้โทษ

    ผู้ที่เจริญปฏิจจสมุปบาทอันเป็นกระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นของทุกข์ได้แจ่มแจ้ง ย่อมพิจารณาได้ว่า ภพ ชาติ ในปฏิจจสมุปบาทที่เกิดเมื่อใดเป็นทุกข์เมื่อนั้นแม้ในปัจจุบันชาตินี้ ย่อมครอบคลุมถึงรูปภพอันเกิดแต่รูปฌาน และอรูปภพอันเกิดแต่อรูปฌาน กล่าวคือ เมื่อใดที่กลับกลายเป็นนันทิความติดเพลินความเพลิดเพลินความอยากอันคือเกิดตัณหาในเวทนาคือสุขเวทนาความรู้สึกสุข,สงบ,สบายอันเกิดแต่อำนาจหรือกำลังของฌานสมาธิ เมื่อนั้นฌานสมาธิที่แม้จัดว่ามีประโยชน์ยิ่งในการปฏิบัติ เป็นองค์มรรคของการปฏิบัติ ก็จะกลับกลายเป็นมิจฉาสมาธิ,มิจฉาฌานอันให้โทษ เป็นการดำเนินไปตามวงจรของทุกข์ปฏิจจสมุปบาทโดยทันที

    ย่อมไม่ใช่สัมมาสมาธิหรือสัมมาฌานในองค์มรรคแห่งการปฏิบัติอีกต่อไป เป็นมิจฉาสมาธิหรือมิจฉาฌานโดยไม่รู้ตัวทีเดียว และเป็นตัวทำให้เกิดทุกข์ขึ้นเสียเองอีกในภายหน้าอย่างแสนสาหัส จึงเป็นสิ่งที่ควรรู้เพื่อจะได้ไม่ไปปฏิบัติอย่างให้เกิดนันทิ(ตัณหา)ความติดเพลินจนเกิดทุกข์ กล่าวคือเกิดการติดสุขในฌานสมาธิอันยังให้เป็นทุกข์ขึ้นนั่นเอง ซึ่งมักแสดงออกด้วยอาการจิตส่งใน กระบวนธรรมของจิตที่ไปติดเพลิน จึงเป็นการดำเนินไปในกระบวนธรรมของการเกิดขึ้นของทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ดังนี้

    อวิชชาสังขาร อันย่อมเป็นสังขารกิเลสด้วยอวิชชาและอาสวะกิเลส คือฌานสมาธิที่สังขารปรุงขึ้นแม้โดยไม่รู้ตัวเพราะติดใจในความอร่อย วิญญาณนาม-รูปสฬายตนะ ผัสสะ เวทนาเป็นสุขเวทนาจากอำนาจของสมาธิและฌาน คือความสงบ ความสุข ความสบายต่างๆ นันทิเกิดการติดเพลินขึ้นอันคือตัณหาอุปาทาน ภพ คือรูปภพหรืออรูปภพตามที่สังขารขึ้นโดยไม่รู้ตัว ชาติ การเกิดของทุกข์ ชรา จึงวนเวียนกระทำต่างๆแต่ล้วนแฝงอยู่ในอำนาจของฌานสมาธิโดยไม่รู้ตัว ดังนี้ จนมรณะคือดับไป และโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส......แล้วก็วนเวียนเกิดวงจรของทุกข์ปฏิจจสมุปบาทขึ้นใหม่อีก......

    สาเหตุก็คือ มักเกิดจากฝึกสติ แต่เป็นมิจฉาสติ จึงเกิดมิจฉาสมาธิขึ้น กล่าวคือ ตั้งใจฝึกสัมมาสติ แต่ไปจดจ่อกับอารมณ์เดียว ดำเนินอยู่เช่นนี้ทุกครั้งที่ปฏิบัติ จึงขาดการพัฒนาสติต่อไปในการระลึกรู้เท่าทันในสิ่งอื่นๆที่ท่านต้องการให้ระลึกรู้เท่าทันยิ่ง คือ เวทนา จิต ธรรม, จิตจึงไปแน่วแน่ในอารมณ์เดียวจนเป็นสมาธิจนเกิดการติดเพลินใน ปีติบ้าง สุขบ้าง ความสงบบ้าง จิตแช่นิ่งบ้าง จึงเป็นมิจฉาสมาธิเนื่องจากติดเพลินและขาดการวิปัสสนา กล่าวคือไม่ได้ใช้สติไปในทางปัญญาเพื่อให้เกิดนิพพิทา เมื่อถอนออกจากความสงบสบายจากฌานสมาธิแล้วนั่นเอง แต่กลับไปจดจ่อแช่นิ่งเลื่อนไหลไปในความสุขสงบสบายที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว, และอาจเกิดจากการเข้าใจผิดๆด้วยอวิชชา ดังเช่นว่า ได้ทำวิปัสสนาแล้ว แต่ไม่ได้ทำ เพียงแต่ทำสมาธิหรือการบริกรรมหรือท่องบ่นโดยไม่ได้ใช้สติปัญญาพิจารณาหาเหตุหาผลในธรรมอย่างจริงจังแต่อย่างใด

    หรือทำไปเพราะการหวังผลไปใช้ประโยชน์ในทางโลกๆโดยไม่รู้ตัว จึงก่อเป็นโทษรุนแรงที่เกิดต่อธาตุขันธ์และจิตโดยตรงในภายหน้า และยังให้ไม่สามารถดำเนินต่อไปในธรรมได้อีกด้วย(วิปัสสนูปกิเลส) และยังก่อให้เกิดความเจ็บป่วยทางกาย ตลอดจนความทุกข์ทางใจเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอย่างมากมายทวีคูณในภายหน้าจนทนไม่ไหว และข้อสำคัญคือเป็นไปโดยไม่รู้ตัว, และไม่รู้ว่าเป็นเพราะเหตุอันใดอีกด้วย หรือแม้รู้ตัว แต่ควบคุมบังคับไม่ได้เสียแล้ว คือเกิดการกระทำอยู่เสมอๆโดยควบคุมไม่ได้

    ติดสุข ติดสมาธิ ติดฌาน จึงหมายครอบคลุมถึง การติดเพลินหรือติดใจอยากในองค์ฌานต่างๆหรือผลของสมาธิ อย่างแนบแน่นด้วยอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง เมื่อเกิดการติดใจอยาก จึงยึดติด ยึดมั่น แอบเสพสุข เสพสบาย เสพความสงบในผลอันเกิดแต่อำนาจของสมาธิหรือฌานเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือเกิดไปยึดติดพึงพอใจด้วยอาการจิตส่งในเพราะไปติดใจอยาก จึงจดจ้องจดจ่ออยู่ที่ความสบาย ความอิ่มเอิบ ความซาบซ่าน ที่เกิดแต่กายบ้าง หรือจับอยู่ที่ความสงบ หรือความสุข ความสบายอันเกิดแก่ใจบ้าง อันบังเกิดขึ้นจากอำนาจขององค์ฌานต่างๆหรือความสงบในสมาธิ จนเกิดการเสพติดในรสอร่อยของความสุข ความสบาย ความอิ่มเอิบ ความซาบซ่าน หรือความสงบต่างๆเหล่านั้น จึงไปติดในสุขบ้าง ปีติบ้าง อุเบกขาหรือความสงบบ้าง หรือเอกัคคตาแต่เป็นแบบแช่นิ่งๆอยู่ภายในบ้าง

    อันล้วนเป็นผลที่บังเกิดขึ้นแก่กายและจิตที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมาธิหรือฌาน แต่เป็นมิจฉาสมาธิหรือมิจฉาฌานแบบผิดๆ สาเหตุใหญ่มักเป็นเพราะความไม่รู้ในคุณ,โทษอย่างแจ่มแจ้ง(อวิชชา) ดังนั้นเมื่อปฏิบัติฌานหรือสมาธิแล้ว เมื่อถอนจากวามสงบสบายออกมาแล้ว ก็ไม่ได้ดำเนินการวิปัสสนาหรือใช้ปัญญาพิจารณาธรรมอย่างจริงจังให้แจ่มแจ้งเลย อันมัวแต่คิดไปว่าการบริกรรมท่องบ่นในธรรมนั้นเป็นการพิจารณา จึงเกิดการติดเพลิน(นันทิ-อันเป็นตัณหา)เพราะเป็นความสุขความสบาย อันเป็นที่พึงพอใจโดยธรรมชาติอยู่แล้วของชีวิต และเมื่อปล่อยให้เกิดการเลื่อนไหลหรือจิตส่งในไปตามกําลังอํานาจของความสุขสบายต่างๆก็เพราะอวิชชา จึงเกิดเป็นตัณหาในที่สุดโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงย่อมดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท จนเป็นอาสวะกิเลสที่สั่งสมไว้ แล้วไปเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาจึงเกิดหรือจึงมีสังขารตามที่ได้สั่งสมนั้นโดยไม่รู้ตัวเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จึงกระทำเองโดยไม่ตั้งใจและไม่สามารถหยุดยั้งได้

    สาเหตุใหญ่ๆก็มาจากความสุข ความสบาย ความสงบที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดจากความความเชื่อ,ความเข้าใจผิดๆว่าปฏิบัติแล้วได้บุญได้กุศลโดยตรง, หรือเพราะคิดว่าได้ปฏิบัติโดยถูกต้องแล้วคือตามความเชื่อความเข้าใจผิดๆที่ว่ายิ่งปฏิบัติมากยิ่งเกิดปัญญา ตามที่กล่าวอ้างสืบทอดกันมาว่า สมาธิยังให้เกิดปัญญา แต่ไปเข้าใจผิดคิดว่า ปฏิบัติฌาน,สมาธิแล้วปัญญาจักเกิดขึ้น ดังนี้เป็นต้น เพราะตามความเป็นจริงนั้น สมาธิเป็นบาทฐานให้เกิดปัญญา หมายถึง นำเอาผลของสมาธิที่เกิดขึ้นคือทําให้จิตสงบ กายสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะปราศจากนิวรณ์ ๕ จึงก่อเป็นกําลังแห่งจิตไปใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนาคือพิจารณาธรรม อันจะยังให้เกิดปัญญาหรือสัมมาญาณหรือความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในอันที่จักยังให้เกิดสัมมาวิมุตติอันพ้นทุกข์อย่างแท้จริงและถูกต้อง เยี่ยงนี้สมาธิหรือฌานก็จักยังคุณอันยิ่งใหญ่

    กล่าวคือแทนที่จะเป็นสัมมาสมาธิชนิดที่มีสติอยู่อย่างต่อเนื่องอันถูกต้องดีงาม อันเป็นกำลังอันสำคัญยิ่งในการปฏิบัติ และการพิจารณา เพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาให้เกิดปัญญา คือใช้เป็นกําลังของจิตอันเกิดขึ้นเนื่องจากกายและจิตสงบระงับจากอํานาจกิเลสตัณหาด้วยกําลังอํานาจของสัมมาสมาธิชั่วขณะ คือนําไปเป็นกำลังของจิตทั้งในการปฏิบัติ หรือในการพิจารณาธรรมที่บังเกิดแก่จิตหรือสงสัยให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้และถูกต้อง, แต่เกิดสติขาดเลื่อนไหลลงสู่ภวังค์หรือสมาธิ,ฌานเสมอๆและมิได้ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างจริงจัง จึงเกิดการเพลิดเพลินยังเกิดการไปยึดติดพึงพอใจในรสชาติอันเอร็ดอร่อยของความสุขความสงบ อันรับรู้สัมผัสได้ทั้งจากทางกายและทางจิตของฌาน,หรือมิจฉาสมาธิโดยไม่รู้ตัวเพราะนันทิหรือตัณหา

    หรือเพราะไม่รู้(อวิชชา) ทําให้จิตส่งในไปคอยแอบเสพรสอยู่รํ่าไปตลอดเวลาทั้งขณะที่รู้ตัวและโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยไม่รู้ตัวโดยการเลื่อนไหลไปเองตามธรรมชาติของจิต จนในที่สุดกลายเป็นองค์ธรรมสังขารที่ได้เคยชิน,สั่งสม,อบรม,ประพฤติ,ปฏิบัติไว้(สังขารในปฏิจจสมุปบาท)ที่สามารถกระทำหรือเกิดขึ้นเองโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เกิดการเลื่อนไหลจมแช่อยู่ในสมาธิฌานหรือองค์ฌานต่างๆ อย่างเบาๆ แต่เกือบตลอดเวลาได้เอง แทบทุกขณะจิต แม้แต่ในขณะหลับ อันจักต้องเป็นเช่นนั้นเอง และบางครั้งจากการกระทําบางอย่างโดยไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติของทุกข์) เช่น นำไปใช้งานในทางที่ผิด หรือทางโลกๆ, มักจมแช่หรือแช่นิ่งอยู่ภายในนั้นโดยไม่รู้ตัว อันยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอันเป็นผลร้ายต่อผู้ปฏิบัติอย่างรุนแรงในที่สุด, ดังมีคำกล่าวของเหล่าพระอริยเจ้าในเรื่องมิจฉาฌานสมาธิไว้ดังนี้

    "การบำเพ็ญจิตให้สงบจนเกิดกำลังแล้ว ก็ไม่ควรที่จะทำความสงบอย่างเดียว เพราะถ้าทำแต่ความสงบไม่พิจารณาทุกขสัจจ์ ก็จะเป็นเฉพาะฌาน ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิผิด ไม่พ้นทุกข์ ต้องพิจารณาทุกข์จึงจะพ้นทุกข์" (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    ในหนังสือ"อตุโล ไม่มีใดเทียม" ได้มีการกล่าวถึงพลังจิตหรือสมาธิไว้ดังนี้ "พลังจิตที่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงหลังจากเกิดสมาธินั้น หมายถึงว่า จิตนั้นจะยกสภาวะธรรมขึ้นมาพิจารณาไตร่ตรองให้เกิดวิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาแล้วปัญญานั้นก็จะแจ่มแจ้งดีกว่าจิตที่ไม่เกิดสมาธิ หรือจิตที่ไม่มีสมาธิ" (น. ๒๒๒)

    "พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบไม่ได้ แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น มันก็ได้แค่นั้นแหละ ยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัดภพ ชาติ ตัณหา อุปาทานได้ ให้ละสุขนั่นเสียก่อน แล้วพิจารณาขันธ์๕ให้แจ่มแจ้งต่อไป" (น.๔๙๕)

    มีผู้อยากฟังความคิดความเห็นเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของหลวงปู่ และยกบุคคลมาอ้างว่าท่านผู้นั้น ท่านผู้นี้ระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ

    หลวงปู่ว่า

    "เราไม่เคยสนใจเรื่องอย่างนี้ แค่อุปจารสมาธิก็เป็นไปได้แล้ว ทุกอย่างมันออกไปจากจิตทั้งหมด อยากรู้อยากเห็นอะไร จิตมันบันดาลให้รู้ให้เห็นได้ทั้งนั้น และรู้ได้เร็วเสียด้วย หากพอใจเพียงแค่นี้ ผลที่ได้ก็คือ ทําให้กลัวการเวียนว่ายตายเกิดในภพที่ตํ่า แล้วก็ตั้งใจทําดี บริจาคทาน รักษาศีล แล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน พากันกระหยิ่มยิ้มย่องในผลบุญของตัว, ส่วนการที่จะขจัดกิเลสเพื่อทําลาย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงนั้น อีกอย่างหนึ่งต่างหาก" (น.๔๙๙)

    ในหนังสือส่องทางสมถวิปัสสนาของหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี ก็ได้มีกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ทั้ง ๒ ทาง คือแบบสมถะหรือสมาธิล้วนๆ และอีกแบบหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า แนวนี้เดินสมํ่าเสมอกว่าแนวสมถะล้วนๆ คือ แนวสมถวิปัสสนา กล่าวคือใช้สมาธิเป็นบาทฐานของวิปัสสนานั่นเอง ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้ "บริกรรมหรือเพ่งอย่างนั้นเหมือนกัน(หมายถึงเหมือนสมถะ) แต่ไม่ให้จิตสงบ คือน้อมจิตให้เข้าไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว(เช่นในข้อธรรม หรือนิมิตอันดีงามถูกต้องเช่นอสุภหรือธาตุ นำมาเป็นกสิณ) เพ่งพิจารณานิมิตนั้นให้เป็นธาตุหรือเป็นอสุภ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์เป็นต้น เมื่อเห็นชัดแล้วจิตจะรวมลงไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว หรือจะเป็นสมาธิ หรือจะเกิดปัญญาให้สลดสังเวชก็ได้ พูดย่อๆ เรียกว่าหัดสมถะเป็นไปพร้อมกันกับวิปัสสนา"

    "ฌาน ได้แก่ การเพ่ง และเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว จะเป็นกสิณ หรืออะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่ข้อสำคัญจะต้องให้จิตจับจ้องอยู่ในเฉพาะอารมณ์อันนั้นเป็นใช้ได้ เบื้องต้นจะต้องตั้งสติควบคุมจิตให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างแน่นแฟ้น เมื่อจิตถอนออกจากอารมณ์อื่นมารวมอยู่ในอารมณ์อันเดียวเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เสวยความสุขอันไม่เคยได้รับมาแต่ก่อน จิตก็จะยินดีและน้อมเข้าไปสู่เอกัคคตารมณ์อย่างยิ่ง เรียกว่าเพ่งเอาความสุขอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์เป็นอารมณ์ของฌานต่อไป จนเป็นเหตุให้เผลอตัวลืมสติไปยึดมั่นเอาเอกัคคตาว่าเป็นของบริสุทธิ์และดีเลิศ จิตตอนนี้จะรวมวูบเข้า ภวังค์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับเผลอสติ หรือลืมสติไปเสียเลยอยู่พักหนึ่ง แล้วจึงรู้สึกตัวขึ้นมา

    แต่ผู้ที่เคยเป็นบ่อยและชำนาญแล้ว จะมีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกันแต่เป็นไม่แรง และนิมิตหรือความรู้อะไรจะเกิดก็มักเกิดในระยะนี้ เมื่อนิมิตและความรู้เกิดขึ้นแล้ว จิตที่อยู่ในเอกัคคตานั้นจะวิ่งตามไปอย่างง่ายดาย จิตที่อยู่ในเอกัคคตารมณ์เป็นของเบาและไวต่ออารมณ์มาก (อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวในการกระทบเช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิดต่างๆ) ที่เรียกว่า จิตส่งใน เป็นภัยต่อผู้เจริญฌานอย่างยิ่ง บางทีอาจทำให้เสียผู้เสียคนไปก็มี ฌานมีเอกัคคตารมณ์เป็นเครื่องวัดในที่สุด แต่ไม่มีปัญญาจะพิจารณาสังขารให้เห็นเป็นพระไตรลักษณญาณได้ กิเลสของผู้ได้ฌานก็คือมานะแข็งกระด้างทิฐิถือรั้นเอาความเห็นของตัวว่าเป็นถูกทั้งหมด คนอื่นสู้ไม่ได้ เรื่องนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของฌานหรือทิฐินิสัยเดิมของแต่ละบุคคลอีกด้วย ผู้ที่ผ่านเรื่องนั้นมาด้วยกันแล้วหรือมีจิตใจสูงกว่าเท่านั้นจึงจะแก้และแสดงให้เขาเห็นจริงตามได้ ถ้าแก้ไม่ตกก็เสียคนไปเลย" จาก โมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    "....แล้วการที่เรามาใช้ปัญญาพิจารณา เหตุผลต่างๆ ที่จิตใจมันยึดมั่นถือมั่นอยู่นั้น อันนั้นมันเป็นวิธีการที่จะละอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นให้หมดไปสิ้นไป แต่ลำพังสมาธินั้น เพียงแต่ระงับความอยากความหิวไปได้ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นเอง ส่วนที่จะละความอยากความหิวให้มันขาดเด็ดออกไปจากจิตใจได้ ต้องอาศัยปัญญา....ปัญญานั้นก็ต้องเกิดจากสมาธิ (เป็นฐานกำลัง ไม่ใช่จากสมาธิโดยตรงๆ)....ฯ." จาก บุญญาพาชีวิตรอด โดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    "..ผู้ที่เป็นสมาธิ ถ้าไม่ออกพิจารณาทางด้านปัญญา จะเป็นสมาธิอยู่อย่างนั้นตลอดไป จนกระทั่งวันตาย ก็หาเป็นนิพพานได้ไม่ หาเป็นปัญญาได้ไม่.." จาก หลักเกณฑ์การปฏิบัติสมาธิ - ปัญญา (๓ พ.ศ. ๒๕๔๑) โดย พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน..

    (http://www.nkgen.com/724.htm)
     
  15. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    จิตคนเราก็เหมือนลิง
    เหมือนค่าง

    จิตที่ยังไม่ได้ฝึกฝนหรือเจริญกรรมฐาน มักไม่อยู่นิ่ง ชอบวิ่งตามความรู้สึกนึกคิด
    มิได้ผิดแผกแตกต่างแต่อย่างใด แต่เป็นไปตามปกติธรรมชาติทุกประการ
    จิตที่ฝึกฝนมาดีย่อมไม่วิ่งตามความรู้สึกนึกคิด ไม่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ใด
    ไม่วิ่งตามกิเลสตนหรือกิเลสผู้อื่น ไม่วิ่งตามกระแสโลก
    เพราะสุดท้าย ทุกธรรมคงหนีไม่พ้น คำว่า ไตรลักษณ์

    แต่ถ้าเราเข้าใจธรรมะ เราก็จะสนุกกับการตามดู ตามรู้ภายในของตน
    ธรรมะเป็นเรื่องของบุญกุศลบารมี เป็นเรื่องของความสุข ความสบายใจ
    แต่ทำไม๊ พวกเราไม่ชอบเข้ามาเรียนรู้ เข้ามาดูจิตตน
    แต่ถ้าหากเราเข้าใจหรือเข้าถึงจิตตน เราก็จะชอบธรรมะไปโดยปริยาย
    ธรรมะมิได้เป็นสิ่งที่ไกลตัวเรา แท้ที่จริงธรรมะก็อยู่รอบกายใจของเรานี่แหล่ะ
    แค่ทำไม๊ พวกเรามัวแต่ไปยุ่งเรื่องของคนอื่น สิ่งอื่น ที่มิใช่เรื่องจิต
    เห็นมีแต่จิตเป็นของแท้ นอกนั้นสมมุติทั้งสิ้น มีแต่สุขชั่วคราว ทุกข์ถาวร
    แต่ถ้าใครไปยุ่งเกี่ยว เห็นมีแต่ทุกข์ทั้งสิ้น
    เพราะฉะนั้น ก่อนที่เราจะเห็นธรรม เราต้องเห็นความทุกข์ของตนเองก่อน

    แต่ถ้าใครยังมองไม่เห็นทุกข์ของตน แสดงว่ายังหลงติดสุขกับทางโลก
    ผู้ใกล้จะหมดวาระกรรม ก็จะเริ่มเห็นทุกข์ เห็นธรรม
    เพียงแต่รอกำลังใจเท่านั้น ที่อยากจะปฎิบัติธรรม
    อยากจะหลุดพ้นทุกข์นี้เสียที นั่นก็แสดงว่า เราเริ่มเบื่อหน่ายแล้ว
    จิตก็จะเริ่มเข้าถึง คำว่า นิพพิทาญาณแล้ว
    คำว่า ความเบื่อหน่ายในอารมณ์ต่างๆ เป็นวิภวตัณหา เช่น ความไม่พอใจ เซ็ง
    เป็นความร้อนจากตัณหาต่างหาก หาใช่เป็นญาณไม่
    นิพพิทาญาณ เป็นหนึ่งในวิปัสสนาญาณ ๙ ในการเจริญอริยมรรค
    คือต้องเป็นผู้เห็นความเกิด-ดับของรูป-นามเสียก่อน
    แล้วจึงจะเห็นภพชาติ เห็นความยึดติดในอารมณ์ต่างๆ ในสังขาร
    ว่าเราไปยึดติดทำไม เพราะสภาวะนั้นมันเป็นทุกข์
    เมื่อญาณปัจจุบันเกิดความเบื่อหน่าย ก็จะหันหน้าออกจากทุกข์อย่างรวดเร็ว
    สรุปนิพพิทาญาณ ก็คือ เห็นภัยที่จิตเข้าไปยึดในสังขาร

    ความเบื่อหน่ายของปุถุชน คืออารมณ์ที่มันค้างอยู่ แต่มิได้เอาจิตออกมาจากความเบื่อหน่าย
    ก็เลยจะหาทางปลีกวิเวก หนีไปบวช นั่นก็แสดงว่ายังไม่รู้เท่าทันในอารมณ์ ในสังขาร
    สำหรับเรื่องการปล่อยวาง ถ้าเราใช้เวลาในการปล่อยวางนาน นั่นแสดงว่า
    รอปัญญาในการวิปัสสนาก่อน อันนี้เขาเรียกว่า มรรค
    แต่ถ้าผล ก็คือไม่ต้องรอเวลา หรือปล่อยวางได้เดี๋ยวนี้เลย
    เพราะจิตเราไม่ไปยึดติดในอารมณ์ต่าง ในสังขารแล้ว

    คอยสังเกตการปฎิบัติของเราให้ดี เดี๋ยวจะเห็นมรรคผลชัดเจน


    -ค่างห้สี-
    [​IMG]
     
  16. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261

    ผมติดมาช่วงหนึ่ง แต่ไม่นานมาก...จิตเกาะพระจนเข้าฌานประกอบกับช่วงนั้น ผ่อนอาหารมาหลายวันด้วย กำลังฌานสมาธิเลยเต็มที่ จิตจดจ่อในอารมย์เดียวไม่พิจารณาอย่างอื่น ไม่ทำอย่างไรเลย แช่อยุ่ในฌานอย่างเดียว ทั้งหลับทั้งตื่น เป็นอยู่หลายวัน ไม่เจริญสติ(สติปัฏฐานสี่)ไม่ทำอย่างไรเลย นิ่งอยุู่อย่างนั้น ตอนนั้นยังเข้าใจไปว่าเข้าฌานจนนิ่งสงบแล้วจะเกิดปัญญา ได้ญานต่างๆ..จนครูบาอาจารย์ที่นับถือท่านหนึ่ง ท่านสงสารคงจะทนดูไม่ได้ เลยกระทุ้งให้ออกมาอย่าให้ติดอยู่ในฌานนาน ในตอนนั้นไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องออกมาเลย เพราะสงบ สบาย เป็นสุข อะไรก็กระทบเข้ามาถึงใจได้ยากกว่าปกติ ..แต่ก็เชื่อท่านนะ พิจารณาย้อนดูแล้ว ก็เห็นจุดบกพร่องของตนจริงๆ ตามที่ท่านบอกไว้ทุกอย่าง เลยนำจิตมาเดินปัญญา เจริญสติปัฏฐานสี่(ได้บ้างไม่ได้บ้าง) แต่จิตก็ค่อยๆคลายจากอาการที่แช่นิ่งอยุ่ในฌาน

    ดังนั้นการที่จะให้จิตทรงฌานแช่อยู่อย่างนั้น แล้วจะเกิดปัญญาจนหลุดพ้นได้นั้น ยากมากๆ นอกจากผู้มีบุญสะสมและทำมาแล้วอย่างมากในชาติก่อนๆ คนทั่วๆไปเมื่อปฏิบัติจนได้ฌานสมาธิ ก็ต้องนำจิตเดินปัญญา ตามแนวทางของพระพุทธองค์ และครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านมาแล้ว เป็นแนวทางปฏิบัติ...

    ผมจึงขออนุญาตนำประสบการณ์มาบอกกล่าวเพื่อเป็นตัวอย่างให้ท่านอื่นๆที่เพิ่งปฏิบัติได้ทราบไว้เป็นข้อมุลบ้าง เพื่อเป็นบทเรียนให้ทราบถึงข้อผิดพลาดต่างๆที่ผมได้ผ่านมา.. สำหรับผมยังจะต้องปฏิบัติเพื่อล้างกิเลสให้ออกจากใจ ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนวทางของพระพุทธองค์ ไปอีกต่อๆไป.. สำหรับท่านใดที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ผมขออนุโมทนา สาธุด้วยครับ


    โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา

    “ดูก่อนอานนท์! ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย
    ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013
  17. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คุณapichai53 กล่าวถึงสมาธิหรือฌาน
    งั้นผมก็กล่าวถึง วิปัสสนาญาณไปพร้อมกันเลย
    แหม๊ คำว่า ฌาน เป็นเสมือนของหวานสำหรับนักภาวนาอยู่แล้ว
    หรือว่าปฎิเสธกัน ติดได้ แต่อย่านานนัก เดี๋ยวจะหมดลมเสียก่อน
    แต่ถ้านักภาวนาได้ฌานแล้ว ก็ขอให้ไปต่อวิปัสสนากันเลย


    วิปัสสนาญาณ
    1) คำว่า วิปัสสนา แปลว่า รู้แจ้งเห็นจริง เป็นบทที่ใช้ปัญญาโดยเฉพาะใช้ปัญญาจริงๆ นี่ไม่ได้พื้นฐานเดิมจริงๆ ต้องมีศีลมาก่อน
    เมื่อจิตมีศีลแล้ว ก็ต้องทรงสมาธิ ถ้าไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีวิปัสสนาญาณ ไม่มีผล กำลังใจจะไม่สามารถตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ ฉะนั้นคำว่า วิปัสสนาญาณก็ต้องบวกศีลกับสมาธิด้วย หรือที่เรียกว่าบวกศีลกับสมถะพร้อมวิปัสสนาญาณ
    2) วิปัสสนาญาณที่พิจารณากันมานั้น ท่านสอนไว้เป็น 3 นัยคือ
    2.1 พิจารณาตามแบบ วิปัสสนาญาณ 9 ตามนัยวิสุทธิมรรค
    2.2 พิจารณาตามนัย อริยสัจ 4
    2.3 พิจารณาขันธ์ 5 ตามใน พระไตรปิฎก ที่มีมาใน ขันธวรรค
    ทั้ง 3 นัยนี้ความจริงก็มีอรรถ คือ ความหมายเป็นอันเดียวกัน โดยท่านให้เห็นว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน ท่านแยกไว้เพื่อเหมาะแก่อารมณ์ของแต่ละท่าน เพราะบางท่านชอบค่อยทำไปๆ ตามลำดับตามนัย วิปัสสนาญาณ 9 เพราะเป็นการค่อยปลดค่อยเปลื้องตามลำดับทีละน้อย ไม่หนักอกหนักใจ บางท่านก็ชอบพิจารณาตามแบบ อริยสัจ นี่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเองและนำมาสอน ปัญจวัคคีย์ เป็นครั้งแรก ท่านเหล่านั้นได้มรรคผลเป็นปฐม ก็เพราะได้ฟัง อริยสัจ แต่ทว่าทั้งสามนี้ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ ให้เห็นอนัตตาในขันธ์ 5 เหมือนกัน ท่านกล่าวไว้ใน วิสุทธิมรรค และใน ขันธวรรค ใน พระไตรปิฏก ว่า ผู้ใดเห็นขันธ์ 5 ผู้นั้น ก็เห็นอริยสัจ ผู้ใดเห็น อริยสัจ ก็ชื่อว่าเห็นขันธ์ 5
    3) เวลาปฏิบัติวิปัสสนาญาณจริงๆ ให้เริ่มต้นด้วยการสมาทานศีล แล้วก็ทำจิตเป็น สมาธิ โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกก็ใช้คำภาวนาตามพอจิตเริ่มเป็นสุขเป็นสุข ต่อไปก็ใช้ปัญญาพิจารณา การใช้ปัญญาพิจารณานี่จะไม่ทรงตัวนาน ประเดี๋ยวจิตก็เริ่มฟุ้งซ่าน ถ้าจิตเริ่มฟุ้งซ่านก็ทิ้งวิปัสสนาญาณเสีย จับสมถภาวนาใหม่ คือรู้ลมหายใจเข้าออกใหม่ ต้องสลับกันไปสลับกันมาแบบนี้ ถ้าจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัท สามารถทรงตัวถึงปฐมฌานเพียงใด เวลานั้นเวลานั้นการกำจัดกิเลสขั้นพระโสดาบันและพระสกิทาคามีก็มีขึ้น ก็ขอแนะนำเท่านี้นะ เอาแต่เพียงว่า ถ้าจะทำวิปัสสนาญาณ ให้เริ่มจับลมหายใจเข้าออกก่อน กับคำภาวนา พอจิตเริ่มเป็นสุขพอใจเริ่มสบายๆ ก็ใช้ปัญญา ทิ้งภาวนาเสีย ใช้ปัญญาพิจารณา แต่ยังรู้ลมเข้าออกอยู่ ขณะใดที่ยังรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก และพิจารณาไปด้วย เวลานั้นจิตเป็นสมาธิ มีกำลังที่จะต่อสู้กับนิวรณ์ได้
    4) ก่อนที่จะคำนึงถึงวิปัสสนาญาณ ก็จงทำใจให้มีความสุขด้วยอำนาจของสมาธิจิตก่อน เมื่อจิตมีสมาธิดีแล้ว ก็ใช้ปัญญาพิจารณาให้ปรากฏ เมื่อพิจารณาไปแล้ว ถ้าหากยังเห็นไม่พอ เพราะจิตมันซ่าน ก็ดับความรู้สึกในการพิจารณาเสีย กลับมาภาวนาและทรงจิตให้หยุดในอารมณ์เดิมก่อน ให้จิตสบายเป็นสมาธิ ทำสลับกันไปสลับกันมา
    5) ถ้าใครสามารถทรงฌานได้ดี เวลาเจริญวิปัสสนาญาณนี่มันรู้สึกว่าง่ายบอกไม่ถูก เมื่อถึงฌาน 4 เต็มอารมณ์แล้ว เราจะใช้วิปัสสนาญาณก็ถอยหลังมาถึงอุปจารสมาธิ เราจะต้องตัดตัวไหนละ ตัดราคะ ความรักสวยรักงาม เราก็ยก อสุภกรรมฐาน ขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ ยก กายคตานุสสติกรรมฐาน ขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ เปรียบเทียบกันว่าไอ้สิ่งที่เรารักน่ะ มันสะอาดหรือมันสกปรก กำลังของฌาน 4 นี่เป็นกำลังที่กล้ามาก ประเดี๋ยวเดียวมันเห็นเหตุผลชัด พอตัดได้แล้วมันไม่โผล่นะ รู้สภาพ ยอมรับสภาพเป็นจริงหมด เห็นคนปั๊บไม่ต่างอะไรกับส้วมเดินได้ จะเอาเครื่องหุ้มห่อสีสันวรรณะขนาดไหนก็ตาม มันบังปัญญของท่านพวกนี้ไม่ได้
    6) เราจะเข้าถึงความดีได้เพราะอาศัยการฝึกฝนตน คือจิต คำว่า ตน ในที่นี้ได้แก่จิต ไม่ใช่ร่างกาย คือเอาจิตของเราเข้าไปเกาะความดีเข้าไว้ ธรรมส่วนใดที่จะทำให้เราเข้าถึงพระนิพพานได้เราก็ทำส่วนนั้น ธรรมส่วนสำคัญที่เราจะเห็นได้ง่าย คือ ตัดรากเหง้าของกิเลส ก็ได้แก่ โลภะ ความโลภ เราตัดด้วยการให้ ทาน ทำจิตให้ทรงอยู่เสมอว่าเราจะให้ทานเพื่อทำลาย โลภะ ความโลภ แล้วความโลภจะได้ไม่เกาะใจ อีกประการหนึ่งรากเหง้าของกิเลสก็ได้แก่ ความโกรธ เมื่อ จิตเราทรง พรหมวิหาร 4 เป็นปกติ เพื่อเป็นการหักล้างความโกรธ เมื่อจิตเราทรง พรหมวิหาร 4 ความโกรธความพยาบาทมันก็ไม่มี ประการที่ 3 โมหะ ความหลง ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ เป็นรากเหง้าใหญ่ เป็นตัวบัญชาการให้เกิดความรัก ความโลภ ความหลง ถ้าหลงไม่มีเสียอย่างเดียว เราตัดความหลงได้อย่างเดียว เราก็ตัดได้หมด การตัดตัวหลง ตัดอย่างไร ตัดตรงมรณานุสสติกรรมฐาน ก็คิดเสียว่าคนและสัตว์เกิดมาแล้ว ก็มีความตายไปในที่สุด วัตถุต่าง ๆ ที่เป็นสมบัติของโลก มันมีการเกิดก่อตัวขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็สลายตัวไปในที่สุด เหมือนกัน วัตถุเรียกว่า พัง คนและสัตว์ เรียกว่า ตาย
    7) จงอย่าลืมว่า ก่อนพิจารณาทุกครั้งต้องเข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณจึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ว วิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรดีไปกว่าการนั่งนึกนอนนึก แล้วในที่สุดก็เลิกนึก และหาทางโฆษณาว่า ฉันทำมาแล้วหลายปี ไม่เห็นได้อะไรเลย จงจำระเบียบไว้ให้ดี และปฏิบัติตามระเบียบให้เคร่งครัด วิปัสสนาไม่ใช่ต้มข้าวต้ม จะได้สุขง่ายๆ ตามใจนึก
    8) ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนา ท่านให้เข้าฌานตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อน เข้าฌานให้ถึงที่สุดของสมาธิ ถ้าเป็นฌาน 4 ได้ยิ่งดี ถ้าได้สมาธิไม่ถึงฌาน 4 ก็ให้เข้าฌานจนเต็มกำลังสมาธิที่ได้ เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้วค่อยๆ คลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้น อย่าละโมบโลภมาก ทำทีละขั้นๆ นั้นจนเกิดเป็นอารมณ์ประจำใจไม่หวั่นไหว เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้วจึงค่อยเลื่อนไปฌานต่อไปเป็นลำดับ ทุกฌานปฏิบัติอย่างเดียวกัน ทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้ เมื่อยังไม่ผ่านการกระทบจริง ต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้
    9) การพิจารณาวิปัสสนาญาณควรมุ่งตัดกิเลสเป็นตอนๆไป ถ้าตอนใดคิดว่าจะละให้เด็ดขาด ก็ยังละไม่ได้ ก็ไม่ย้ายข้อที่ตั้งใจจะละต่อไปในข้ออื่นต้องย้ำ ซ้ำๆ ซากๆ อยู่ในข้อนั้น จนเห็นว่าตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบแล้ว จึงเลื่อนไปพิจารณาละข้อต่อไป อย่าทำแบบสุกเอาเผากินคราวเดียวมุ่งละทั้ง 10 หรือ คราวละหลายๆข้อ ถ้าทำอย่างนั้น จะกลายเป็นพวก โมฆกรรม คือ ทำไม่ได้ผลไป จงอย่าใจร้อน เพื่อผลแน่นอนในการปฏิบัติ
    11) ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็น ค่อยๆคิด ค่อยๆนึก เห็นตามความจริง เราเรียนหาความจริงกันในหลักพระพุทธศาสนา ไม่ใช่จะมานั่งโกหกมดเท็จตนเอง ถ้าเห็นตัวเราแล้วก็เห็นบุคคลอื่น ดูหาความเป็นจริงให้พบจนกระทั่งจิตสลดคิดว่า
    ร่างกายของคนและสัตว์เต็มไปด้วยความสกปรกจริงๆ
    ร่างกายของคนและสัตว์มีทุกข์จริงๆ
    ร่างกายของคนและสัตว์หาความเที่ยงไม่ได้จริงๆ
    มันมีการสลายตัวไปในที่สุด
    ไม่มีใครจะบังคับบัญชาร่างกายให้มีสภาพทรงตัว
    ไม่มีใครกล้าจะแสดงว่าเราเป็นเจ้าของร่างกายจริงจัง โดยการบังคับให้ทรงตัวได้
    ในเมื่อร่างกายมันไม่ดีอย่างนี้ เราจะไปเมามันเพื่อประโยชน์ในโลกีย์วิสัยทำไม
    12) จงคิดไว้เสมอว่าเรามีร่างกายที่ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีการสลายตัวไปในที่สุด ร่างกายเป็นเรือนเช่าชั่วคราวเท่านั้น เราจะไม่ติดในใจร่างกาย จะไม่เมาในร่างกาย เราจะไม่หวังในร่างกายต่อไปอีก ขึ้นชื่อว่าความเกิดจะไม่มีสำหรับเรา และก็ตั้งใจตัดความโลภด้วยการให้ทาน ตัดความโกรธด้วยการเจริญพรหมวิหาร 4 ตัดความหลงด้วยการยอมรับนับถือกฎของธรรม ไม่หวั่นไหวในเมื่อร่างกายมันจะเป็นอะไรเกิดขึ้น และจงมีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ คือ เป็นที่พึ่งอย่างแท้จริงด้วยความจริงใจ เมื่อเคารพแล้วก็ปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน
    13) จงคิดว่าสิ่งใดที่เราได้มาแล้วนี้
    อันดับแรก ประการที่ 1 อนิจจัง มันเป็นของไม่เที่ยง ได้มาใหม่ไม่ช้ามันก็เริ่มเก่า เก่าไปทีละน้อย ๆ ในที่สุดมันพัง จำเอาไว้
    ประการที่ 2 ทุกขัง ทุกสิ่งที่เราจะได้มา มันได้มาด้วยความทุกข์ ของที่เราจะได้มาทุกอย่างต้องใช้กำลังกาย กำลังใจเหนื่อยยาก ต้องใช้ทรัพย์สมบัติมาก ต้องออกแรงกายแรงใจและทรัพย์สิน นี่กว่าจะได้มาจริงๆ ด้วยความเหนื่อย การเหนื่อยเป็นอาการของความทุกข์ ไม่ใช่อาการของความสุข ถ้าเราติดมันเกินไป คิดว่ามันจะไม่พัง ก็ทุกข์ใหญ่
    จำเอาไว้เถอะว่าไอ้สิ่งที่เราได้มา จะเป็นคนก็ดี จะเป็นสัตว์ก็ดี จะเป็นวัตถุก็ดี คิดว่าคนทั้งหลายเหล่านี้ ทรัพย์สินทั้งหลายเหล่านี้ มันจะต้องจากกันระหว่างมันกับเรา หรือเขากับเรา คิดไว้เสมอว่าถ้าเขากับเราจากกัน ทรัพย์สมบัติทั้งหลายต้องจากกัน ทำใจอย่างไร ทำใจไว้ก่อน จะได้ไม่เสียใจ
    แล้วต่อมาสุดท้าย องค์สมเด็จพระชินวรกล่าวว่า มันเป็นอนัตตา ทุกอย่างจำไว้เสมอ เห็นคนก็ดี เห็นสัตว์ก็ดี เห็นวัตถุก็ดี คิดว่าคนทั้งหลายเหล่านี้แม้แต่เราด้วยไม่ช้าต่างคนต่างจะต้องตาย เราก็จะตาย เขาก็จะตาย
    หลังจากนั้นก็คิดต่อไปว่าร่างกายนี่ถ้ามันดีจริง ถ้ามันดีจริงๆ มันต้องไม่ตาย มันต้องทรงสภาพอยู่ มันต้องทรงความเป็นหนุ่มเป็นสาว ต้องมีกำลังดี ต้องไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แล้วมันต้องไม่ตาย แต่นี่มันไม่เป็นอย่างนั้น มันมีความเสื่อม ต้องมีโรคภัยไข้เจ็บ ต้องทรมานกาย และตายไปในที่สุด คือ รวมความว่าร่างกายประเภทนี้ไม่เป็นของดีสำหรับเรา เราเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน ก็มีสภาพอย่างนี้ ถ้าเราจะเกิดต่อไปอีกกี่ครั้ง อีกกี่ปี ก็จะปรากฏมีแต่ความทุกข์ หาความแน่นอนไม่ได้อย่างนี้ รวมความแล้วก็ตัดใจตามที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงแนะนำว่า ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 มีขันธ์ 5 จะไม่มีสำหรับเรา สิ่งที่เราต้องการนั่นคือพระนิพพาน
    14) ถ้าเราจะเปลื้องความทุกข์จากจิต คือ เราจะเปลื้องอาการของความทุกข์ ที่เรียกว่าทุกข์ในอริยสัจทุกข์ตัวนี้ถ้าเปลื้องได้ มันก็เปลื้องหมด เปลื้องไม่เหลือ ขณะที่มีชีวิตอยู่ จิตก็เป็นสุข ตายไปแล้วก็มีสุขที่สุด คือ พระนิพพาน
    นี่เราจะเปลื้องทุกข์กันได้แบบไหน ต้องยอมรับนับถือและคิดไว้เสมอทุกขณะจิตว่า ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี วัตถุธาตุทั้งหลายก็ดี ไม่เที่ยง เห็นของใหม่ก็มีความรู้สึกไว้เสมอว่ามันจะเก่า เก่าแล้วผลที่สุดก็ทรุดโทรมแล้วก็พัง
    มีความรู้สึกว่าร่างกายของเรา ร่างกายของเขาทั้งหมดเป็นร่างกายที่ไม่มีอะไรทรงตัว
    ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นของธรรมดา
    ความแก่เฒ่าเป็นของธรรมดา ผมหงอก ฟันหัก ตาฝ้า หูฟาง เป็นของธรรมดา
    ความตายที่เข้ามาถึงเราเมื่อไรเป็นของธรรมดา
    ถ้าจิตยอมรับนับถือธรรมดา มันก็หมดความทุกข์ชื่อว่าเป็นจิตของบุคคลที่มีความฉลาด ไม่ฝืนกฎธรรมชาติและไม่ฝืนกฎธรรมดา
    นี่การที่พระพุทธเจ้าทรงอบรมเรา ต้องการเท่านี้ ต้องการให้จิตของเรามีความรู้สึกนึกคิดว่า นี่มันเป็นธรรมดาอย่างนี้ เมื่อสภาวะความรู้สึกว่าเป็นธรรมดาเกิดขึ้น เราก็ไม่รู้สึกสะเทือนใจที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ
    สังขารุเบกขาญาณ แปลว่า ญาณเป็นเครื่องรู้ รู้ตามความเป็นจริง แล้วก็วางเฉย ในเมื่ออาการอย่างนั้นปรากฏ อารมณ์จิตไม่ทุกข์ มีอารมณ์จิตเป็นสุข
    15) ใช้ สังขารุเปกขาญาณ เฉยทั้งอาการที่เข้ามากระทบกระทั่งจิตในด้านของโลกีย์วิสัย เฉยทั้งคำชม เฉยทั้งคำนินทา เฉยทั้งได้มา เฉยทั้งเสื่อมไป เฉยหมด ไม่มีอะไรสนใจ คำนินทาว่าร้ายเกิดขึ้นกระทบใจแผล็บปล่อยหลุดไปหมด ช่างมัน ฉันไม่ยุ่งกับอารมณ์อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย จะป่วยไข้ไม่สบายมันจะแก่ มันจะจะตายก็ช่างมัน แต่การรักษาพยาบาล การบริหารร่างกายเป็นของธรรมดา ถือว่าทำตามปกติ ถ้าเขาจะถามว่า ถ้าทำจิตได้ยังนี้ยังสูบบุหรี่ไหม ยังกินหมากไหม ยังจะต้องใช้ของที่เคยใช้กับร่างกายตามปกติไหม ก็ต้องตอบว่าใช้ตามปกติ เขาไม่ได้ติด แต่ร่างกายต้องการ เหมือนกับพระพุทธเจ้าที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้วยังฉันภัตตาหาร เรื่องอะไรที่ประสาทต้องการเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องบำรุงโดยประสาท เพื่อเราจะเอาไว้ใช้ประโยชน์ เหมือนกับคนที่ลงเรือรั่วเพื่อหวังจะข้ามฟาก ถ้าขณะใดที่ยังอาศัยเรืออยู่ เมื่อน้ำมันรั่วขึ้นมาเราก็ต้องอุด มันผุตรงไหนก็ต้องทำนุบำรุงซ่อมแซม ไม่ใช่ว่าปล่อยให้มันรั่วมันพังไปจนกว่าเราจะขึ้นฝั่งได้
    16) นับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป เธอจงถือกำลังใจ สังขารุเปกขาญาณ เป็นอารมณ์ อะไรจะเกิดขึ้นแก่ร่างกาย ก็ถือว่าเฉยไว้ เขาจะชมก็เฉย เขาจะด่าก็เฉย แล้วร่างกายจะเจ็บไข้ไม่สบายก็ทำใจสบายเฉยๆ ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ธรรมดามันเป็นอย่างไร คิดว่าร่างกายขิงเรา เราต้องเป็นอย่างนั้น อย่าใช้อารมณ์ฝืนกฎของธรรมดา แล้วอารมณ์จิตของเธอจะเป็นสุข
    17) จงวางอารมณ์เสีย ใครเขาจะอย่างไรก็ช่างเขาจะดี เขาจะชั่ว เขาจะเลว เขาจะอย่างไรก็ตามเถอะ ไม่สนใจ เห็นหน้าคนเราคิดไว้เสมอว่า เป็นคนที่เราควรแก่การปราณี เห็นหน้าสัตว์ก็คิดว่าเป็นสัตว์ควรแก่การปราณี พยายามไม่ถือตน คนและสัตว์ก็ตามถือว่ามีธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ เสมอกัน มีอาการ 32 เหมือนกัน มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงในท่านกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน สร้างอารมณ์ให้เป็น สังขารุเปกขาญาณ ในวิปัสสนาญาณอย่างนี้ การระวังถือตัวถือตนย่อมเป็นของไม่ยาก
    18) ขอพูดย่อๆ อารมณ์ทำนี่ ไม่ใช่ต้องนั่งหลับตา ท่านเดินไปเดินมานั่งทำอะไรอยู่ นอนอยู่ ยืนอยู่ แล้วก็เดินอยู่ ทำอะไรก็ตาม มองดูสภาพของความจริง เห็นต้นหญ้าที่มันร่วงโรยลงไป ก็คิดว่า โอหนอ ชีวิตของคนเราก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน ก็คิดมันวนไปวนมา ถอนกำลังใจให้มันติด คือ ว่าเมื่อมีอาการอย่างนี้เกิดขึ้น เราเห็นอะไรขึ้น ถ้าอาการของความทุกข์เกิดขึ้น ความขัดข้องเกิดขึ้นเราก็เฉย ที่เรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ มันอะไรจะมาก็ช่างมัน มันจะแก่ก็เชิญแก่ ใจสบาย ๆ ถือว่าหนีความแก่ไม่ได้ ถ้าความป่วยไข้ไม่สบายมันเกิดขึ้น ทุกขเวทนามันมีกับเราก็ต้องรักษา ใจเราก็เฉย รักษาหายไม่หายก็ช่างมัน อยากจะตายเมื่อไหร่ก็เชิญ เกิดมาเพื่อตาย ใครเขาด่าใครนินทาเราก็เฉย ไอ้การชมการสรรเสริญก็ดี การด่าการนินทาก็ดี เราไม่ได้เป็นไปตามปากของเขา เราจะดีหรือจะชั่วมันอยู่ที่กำลังใจของเราเท่านั้น รวบรวมกำลังใจไว้อย่างนี้นะขอรับ เราก็เฉยต่ออาการทั้งหมด หนุ่มก็เฉย ไม่ดีใจในความเป็นหนุ่ม แก่ก็เฉย ไม่เสียใจในความเป็นคนแก่ มันจะตายก็เฉย เพราะว่าเราจะต้องตาย ตายแล้วไปไหน เราภูมิใจได้ว่าตายแล้วเราไปนิพพาน


    รวมคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=210
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มีนาคม 2013
  18. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444

    โมทนาสาธุ ในธรรมทาน ที่ ท่านอภิชัย นำมาให้ ทุกท่านได้อ่าน ค่ะ...และยังได้มาแชร์ ประสบการณ์ ในการปฏิบัติธรรม ของท่านอีกด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และ มีคุณค่าต่อ ผู้ปฏิบัติ ที่กำลังเดินทางไปสู่ จุดหมายเดียวกัน..

    ขอให้ท่าน เจริญในธรรม ยิ่งๆขี้นไปด้วยเทอญ สาธุ....
     
  19. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261

    โมทนาสาธุกับท่านพี่ด้วยครับ ผมเห็นด้วยกับท่่านพี่เป็นอย่างยิ่ง การปฏิบัติภาวนา ต้องมีศีลเป็นพื้นฐานเป็นเรื่องเบื้องต้นของนักภาวนาที่จะต้องทราบและต้องมีให้ได้ หากไม่มีศีลก็จบกัน ภาวนาไปก็ไม่ก้าวหน้า ...จะศีลห้า ศีลแปด หรือพรหมจรรย์ ..ตัวเองจะรู้ตัวเองดีที่สุด....สำหรับผมระวังแต่ศีลของตัวเอง ของผู้อื่นผมไม่สนใจ เอาตัวเองให้รอดก่อน เป็นดีที่สุด

    ฌานสมาธิจากจิตเกาะพระ เป็นสิ่งที่ดีเป็นฐานกำลังในการวิปัสสนา ต่อยอดทางปัญญา ผมโชคดีที่ได้สิ่งเหล่านี้มาและขอบคุณครูและผู้เกี่ยวข้องทุกๆท่านด้วย..ฌานสมาธิเป็นของดี ผมไม่เคยปฏิเสธ เพียงแต่ไม่รู้เท่าทัน ไปติดสุข สงบ และความสบายจากฌานจนไม่เดินปัญญา เพราะฟังมาและข้าใจไปว่า ให้ทรงฌานให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆจนจิตสงบนิ่ง แล้วจะเกิดปัญญา และญานต่างๆ ได้เอง...ก็เลยอยากนำปัญหาและข้อติดขัดในการปฏิบัติของตัวเองมาเล่าเป็นบทเรียน เพื่อไม่ให้ใครเดินซ้ำรอย..ให้ผมโง่เสียคนเดียวดีกว่า.. ไม่อยากให้ผู้ปฏิบัติใหม่ท่านอื่นๆเป็นแบบผม จึงได้นำมาบอกกล่าวกันครับ ...

    และอย่างที่กล่าวไว้ ฌานสมาธิมีประโยชน์มาก แต่เป้าหมายของผู้ปฏิบัติ ก็เพื่อมรรคผลนิพพาน ฌานสมาธิเป็นเหมือนเครื่องมือ ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างถูกต้อง จะไปติดในเครื่องมือไม่ได้ มรรคผลจะยิ่งห่างใกล..หลวงปู่มั่น กล่าวไว้ สุขจากฌานสมาธิ เหมือนเนื้อติดฟัน..

    ผมดีใจมากครับ ที่ยกธรรมะของครูอาจารย์เป็นบาทฐานในการปฏิบัติ ผมขออนุโมทนาสาธุ กับท่านพี่ในส่วนนี้ทุกประการ สาธุ ครับ
     
  20. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ขอกราบขอบพระคุณ ทุกๆท่านค่ะที่ทุกๆท่านได้นำธรรมมะของ...

    พระพุทธเจ้า และของครูอาจารย์หลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อฤาษีลิง และท่านอื่นๆที่ไม่ได้

    เอ๋ยชื่อ เอ๋ยนาม แต่ผู้อ่านเมื่อได้รับพระธรรมและคำสั่งสอนของท่าน ใจนั้นบอกได้เลยว่า

    เรานี้โชคดีมาก...เพราะทุกๆท่านได้นำพระธรรมขององค์ท่านมา ให้ผู้ที่ได้อ่านและศึกษา ถึงการปฏิบัติ

    เพราะท่านได้คัดเลือกมาแล้วอย่างดี...เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าใจในการปฏิบัติมากขึ้นแล้วก็

    จะทำให้การปฏิของทุกท่านเข้าใจมากขึ้น...เพราะตอนที่ผู้เขียนเริ่มปฏิบัตินั้น ไม่มีใครมาช่วย

    และตอบความสงสัยให้...จริงอยู่บางท่านอาจจะเจอครูอาจารย์ที่ตอบปัญหาให้ ถ้ากล้าและ

    ถามปัญหา...แต่ผู้เขียนไม่รู้จะถามเรื่องไหนตอนไหนเพราะมันมีบ่อยครั้งมากระหว่างที่

    ปฏิบัติ...เพราะว่าจิตใจตอนนั้นมันเหมือนลิงเหมือนค่างจริงๆมันคอยที่จะวิ่งออกอยู่ตลอด

    เวลา...เราต้องคอยตามจับมันเข้ามาอยู่ตลอด...คอยจับบ่อยๆ จนลิงมันเหนื่อย...ทีนี้พอมันอยู่

    กับที่แล้วจิตใจของเจ้าของก็สงบนิ่ง...แต่ไม่ใช่หลับนะ มันหลับแต่เปือกตา สวนตาใน

    นั้นมันลืม พร้อมกับสติมันเกิด เมื่อสติเกิด ปัญญาก็ตามมา...ทีนี้มันตอบเจ้าตัวของมันเอง

    แต่ไม่ใช่ว่าจะหาคำตอบได้ทุกอย่างนะ...เราต้องอาศัยผู้ที่จะมาสอนเราให้ได้เข้าใจ และ

    ได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักของพระพุทธองค์...การที่ได้เข้ามาร่วมปฏิบัติกับทางจิตเกาะพระ

    นี้ทำให้ผู้เขียนได้เรียนรู้เพิ่ม...และก็มีความสุขกับการอ่านและเขียน ซึ่งขาดไม่ได้ไม่ใช่ว่า

    เป็นเพราะว่ารู้ทุกอย่างนะ...ที่ได้เขียนได้อ่านนี่แหละให้ผู้เขียนได้เรียนรู้และได้ความรู้มาก

    ขึ้น เมื่อผู้เขียนได้อ่านธรรมะหรือฟังธรรมะของทุกท่านนำมาเป็นธรรมทานนั้นทุกๆธรรมะมี

    ประโยชน์กับผู้เขียนมาก...และได้มาด้วยความเข้าใจของตนเองก็อยากแบ่งปันให้กับทุก

    คนที่กำลังตั้งใจปฏิบัติ...ผู้เขียนจึงเขียนความรู้สึกอย่างนี้ออกมา เผื่อจะทำให้ท่านผู้อ่าน

    ได้ความสุขอย่างนี้บ้างแล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง...ขอกราบขอบพระคุณทุกๆท่านนะคะที่นำ

    ธรรมะ ธรรมทานมาให้ผู้อ่านได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ท่าน...ขออนุโมทนาค่ะสาธุ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...