{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขอบคุณมากครับ คุณโอกระบี่
    สำหรับข้อมูลดีๆมากมาย
    จะรอติดตามอ่านอย่างใจจดจ่อครับ
     
  2. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    [​IMG]

    ประวัติการสร้างพระผงเทพนิมิตร อาจารย์ชุม ไชยคีรี ปี 2496
    ครั้งหนึ่งเคยมีคนสอบถามท่านอาจารย์ชุมว่า พระรุ่นไหนดีที่สุด? ท่านกล่าว ว่า พระเทพนิมิตร โดยให้เหตุผลว่าอัศจรรย์ตั้งแต่ก่อนสร้าง ระหว่างสร้าง และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว ขนาดว่าตายแล้วเกิดอีก ๆ ยังไม่แน่ว่าจะทำได้แบบครั้งนั้น จึงเป็นเหตุให้ศิษย์สายตรงต่างก็จะต้องมีพระรุ่นนี้ติดตัว หรือมีไว้ในครอบครองอย่างน้อยสักองค์หนึ่ง


    เหตุที่ให้ชื่อว่าเทพนิมิตร เพราะได้ตำราจากความฝัน ว่ามีอาจารย์ผู้เฒ่ารูปหนึ่งมาบอกว่า ต่อไปเมื่อหน้าความสุขความสบายจะไม่มีแก่มนุษย์ผู้ไร้ศีลธรรม จะประสพภัยอันเกิดจากศาสตราอาวุธนาๆชนิดซึ่งไม่เคยพบเห็น ภัยจากโจรผู้ร้ายที่มีใจดำอำมหิตเยี่ยงสัตว์ป่า และภัยจากภูผีปีศาจ เพื่อให้พ้นจากภัยนี้ท่านบอกว่าให้หาดอกไม้ที่พระสงฆ์เถรานุเถระทำวัตรขอขมา โทษซึ่งกันและกันก่อนเข้าพรรษา และดอกไม้หน้าพระประธานวันเข้าพรรษาวันเดียวให้ได้ 108 วัด กับให้เอาตะไคร่พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ตะไคร่พระศรีมหาโพธิ์ มาทำเป็นรูปพระเข้าพิธีปลุกเสกแล้วแจกให้ทั่วถึงกัน พร้อมด้วยการขอร้องผู้ที่มาขอรับพระ ให้ละบาป บำเพ็ญบุญ มั่นอยู่ในศีลธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณพระจะรักษาให้พ้นภัยทั้งปวงดังกล่าวแล้ว


    ข้าพเจ้า (อ.ชุม) ตื่นขึ้นรู้สึกปลื้มใจ จึงประกาศให้บรรดาศิษย์ทั่วทุกจังหวัดช่วยกันจัดหา โดยกำหนดเอาดอกไม้บูชาพระจากพระอารามหลวง และอารามราษฎรที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศไทย อาศัยความพร้อมเพรียงของศิษย์ทั้งหลายจึงจัดหามาได้ตามปรารถนา ซ้ำยังได้ผงของอาจารย์ต่างๆ หลายสำนัก เช่น ผงวิเศษของอาจารย์คง อาจารย์ของขุนแผน ซึ่งมีศิษย์นำมามอบให้พร้อมด้วยประวัติ ปรากฎว่าผงศักดิ์สิทธิ์นี้ ขุดพบจากโคกโบสถ์เก่าใต้ฐานพระเจดีย์ ณ บ้านศรีประจันต์ ตำบลศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี


    ด้วย ความร่วมมือร่วมใจของบรรดาศิษย์หลายร้อยคน พร้อมด้วยการเสียสละทั้งกำลังทรัพย์และกำลังกาย จึงได้สิ่งที่ต้องการมาครบตามปรารถนา ข้าพเจ้าจึงเข้าพิธีทำและปลุกเสกตลอด 3 เดือน พร้อมด้วยการทดลองคุณภาพ เห็นเป็นที่ไว้วางใจได้ และเริ่มแจกแก่บรรดาศิษยืที่เข้าพิธียกครูประจำปี 2496 แล้วเก็บไว้แจกผู้ที่สมัครเข้าเป็นศิษย์ใหม่เพื่อเป็นที่ระลึก พร้อมด้วยการขอร้องให้ละบาปบำเพ็ญบุญ ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของชาติ


    อาจารย์ชุมท่านว่าดีทางกันศาสตราวุธทุกชนิด ตลอดถึงกันโจรและสัตว์ร้าย หนักไปทางเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ ใช้ได้ทั้งหญิงชายเด็กผู้ใหญ่ พระรุ่นนี้ลูกศิษย์อาจารย์ชุมจึงนิยมบูชาติดตัวกันมากครับ


    พระผงเทพนิมิตร อาจารย์ชุม ไชยคีรี สร้างและปลุกเสกเมื่อปี 2496 มีพระ 6 พิมพ์ด้วยกัน


    1. พระนาคปรกเทพนิมิตร หลังยันต์ห้า (แทนตัวอ.ชุม ซึ่งเกิดวันเสาร์) สำหรับแจกผู้ชาย


    2. พระกลีบบัวเทพนิมิตร หรือเทพนิมิตรพิมพ์เล็ก (แทนตัวคุณแม่บุญสืบ ภรรยา อ.ชุม ซึ่งเกิดวันพฤหัสบดี) สำหรับแจกผู้หญิง


    3. พระสาม (พิมพ์พระลำพูน)


    4. พระโคนสมอ (พิมพ์พระอยุธยา)


    5. พระขุนแผนทรงพล (พิมพ์พระสุพรรณ)


    6. พระขุนแผนเทพนิมิตร พิมพ์ฐานบัว


    พิมพ์ที่ 1 กับพิมพ์ที่ 2 จะเป็นพระพิมพ์ที่จัดสร้างและแจกจำหน่ายออกไปมาก จนคนรู้จักเล่นหากันจนเป็นมาตรฐานดีแล้ว แต่นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์พิเศษที่หาชมได้ยากอีกหลายๆพิมพ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่หวงแหนของลูกศิษย์ลูกหาที่เก็บกันไว้ พระ พิมพ์พิเศษ โดยมากจะเป็นพิมพ์ที่ทำตามอย่างพระกรุโบราณ หรือพระเกจิรุ่นเก่าๆ มีทั้งแบบหลังปั๊มยันต์ห้าและหลังเรียบ เนื้อหาของพระเป็นแบบเดียวกับพระนาคปรกเทพนิมิตรทุกประการ มีทั้งสีดำและแดง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เผา

    (เครดิตภาพและข้อมูลจากชมรมคนรักพระเครื่อง)

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2012
  3. aoodwing4

    aoodwing4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +282
    ชอบ ชอบ ชอบ

    ขอเข้ามาร่วมศึกษาด้วยคนครับ ผมก็เป็นอีกคนที่ชื่นชอบในศิลปะการสร้างสรรของท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตฯครับ ผมมีอยู่ 1 องค์คิดว่าหลวงปูนาคสร้างครับ เพื่อนๆคิดว่าอย่างไร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 22121_40.jpg
      22121_40.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.3 KB
      เปิดดู:
      115
    • 22121_0.jpg
      22121_0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.8 KB
      เปิดดู:
      94
  4. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    เท่าที่ผมทราบ อาจารย์ชุม ไชยคีรี
    เป็นศิษย์เอกฆราวาสสายเขาอ้อคนหนึ่งทีเดียว
    แต่พระที่คนรู้จักส่วนใหญ่ก็คือพระขุนแผนเสด็จกลับ
    ที่สร้างร่วมกับหลวงปู่สุภา ไม่ทราบว่าพระรุ่นนี้
    คือพระที่ท่านกล่าวว่าดีที่สุด ถ้าไม่ใช่สายตรงจริงๆ
    จะไม่ทราบว่ามีพระรุ่นนี้ด้วยซ้ำครับ
    ต้องขอบคุณ คุณโอกระบี่ที่นำข้อมูลแบบนี้
    มาแลกเปลี่ยนกัน เผื่อบังเอิญเพื่อนคนใดได้ไปพบเจอ
    จะได้ไม่พลาดของดีครับ
     
  5. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก

    พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
         
             พระนางพญาพิษณุโลก จัดว่าเป็นพระเนื้อที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นพระชั้นนำที่สุดของเมืองพิษณุโลกและถูกจัดให้เป็นพระในชุด “เบญจภาคี” ที่ถือว่าสุดยอดของประเทศไทยอีกด้วย พระนางพญากำเนิดที่ “วัดนางพญา” พิษณุโลกความจริงวัดนางพญาก็เป็นวัดเดียวกับ “วัดราชบูรณะ ต่อมาภายหลังได้สร้างถนนผ่ากลางเลยกลางเป็น 2 วัด การได้ชื่อว่า “วัดนางพญา” ก็เพราะได้พบพระนางพญานั่นเอง

             ตามการสันนิฐาน พระนางพญานั้นเป็นผู้ที่สร้างคือ “พระวิษุสุทธิกษัตรี” มเหสีของ “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” ผู้ที่ได้สร้างหรือปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นบริเวณที่พบพระนางพญานั่นเอง เข้าใจว่าการสร้างพระนางพญานั้นประมาณปี พ.ศ. 2090 – 2100 หรือประมาณสี่ร้อยกว่าปี
    พระนางพญา เป็นพระรูปทรงสามเหลี่ยมทุกพิมพ์นั่งมารวิชัยไม่ประทับบนอาสนะหรือมีฐานรองรับ รูปทรงงดงามแทบทุกพิมพ์โดยเฉพาะจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับ “ผู้หญิง” จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระพิมพ์ “นางพญา” อีกประการหนึ่งก็คือผู้ที่สร้างก็คือ “พระวิสุทธิกษัตรี” นั่นเอง

             พระนางพญา ถูกค้นพบเมื่อประมาณ พ.ศ. 2444 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จะเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทางจังหวัดจึงเตรียมการรับเสด็จที่วัดนางพญา โดยจัดการสร้างปะรำพิธีรับเสด็จ เมื่อคนงานขุดหลุมก็เกิดพบพระจำนานมาก ก็คือพระนางพญานั่นเอง ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสก็เก็บพระเหล่านั้นไว้ พอสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จ ทางเจ้าอาวาสและทางจังหวัดก็ได้นำพระขึ้นทูลเกล้าฯ สมเด็จพุทธเจ้าหลวงก็ได้ทรงแจกจ่ายให้แก่ราชบริพารที่ตามเสด็จถ้วนหน้า ส่วนที่เหลือก็นำกลับกรุงเทพฯ

             พระนางพญา ถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุ แต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกันกับพระที่พบที่วัดนางพญาทุกอย่าง และเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศที่ค้นพบ เช่น พบที่บ้าน “ตาปาน” บริเวณนี้น้ำท่วมประจำ พระเสียผิวมีเม็ดแร่ลอยมาก จึงเรียกว่า “กรุน้ำ” ในปี พ.ศ. 2479 มีผู้พบพระนางพญา ที่วัด “อินทรวิหาร” บรรจุอยู่ในบาตรที่เจดีย์องค์เล็ก

             ต่อมามีผู้ค้นพบพระนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ) ในกรุงเทพฯ พบที่ “พระราชวังบวรมงคล” (วังหน้า) พบที่ “วัดสังขจาย” ฝั่งธนบุรี ครั้งสุดท้ายพบที่ “วัดราชบูรณะ” จังหวัดพิษณุโลกอีกครั้ง เมื่อมีการทำท่อระบายน้ำในบริเวณวัดในประมาณปี พ.ศ. 2532 พระนางพญา เป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ผสมว่าน เกสรดอกไม้ 108 ตลอดจนแร่กรวดทรายต่าง ๆ แล้วนำไปเผา


    ลักษณะของพระนางพญา พระส่วนใหญ่จะมีเนื้อหยาบ ที่ละเอียดอ่อนจะมีน้อยกว่ามาก มีทั้งหมด 7 พิมพ์ด้วยกัน คือ

             1. พิมพ์เข่าโค้ง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์หนึ่ง
             2. พิมพ์เข่าตรง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่ โดยเฉพาะพิมพ์เข่าตรง แยกออกเป็น 2 พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์เข่าตรง “ธรรมดา” กับพิมพ์เข่าตรง “มือตกเข่า” แต่ทั้งสองพิมพ์ก็ถือว่าอยู่ในความนิยมเหมือนกันทั้งคู่
             3. พิมพ์อกนูนใหญ่ ถือเป็นพิมพ์ใหญ่
             4. พิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพิมพ์กลาง
             5. พิมพ์อกแฟบ (หรือพิมพ์เทวดา) ถือเป็นพิมพ์เล็ก
             6. พิมพ์อกนูนเล็ก ถือเป็นพิมพ์เล็ก
             7.พิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เข่าบ่วง หรือพิมพ์ใหญ่พิเศษ

             พระนางพญา ไม่ว่าพิมพ์ไหน ลักษณะของเนื้อจะเหมือนกันหมด ผิดกันแต่พิมพ์ทรงเท่านั้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดเป็นเลิศ สมกับเป็นหนึ่งในห้าชุดของชุดเบญจภาคีนั้นเอง

             พระนางพญา เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดในบรรดาพระเนื้อดินชุดเปญจภาคี อีกทั้งยังฝังจมดิน ซึ่เป็นดินเหนียวริมน้ำเป็นเวลานานนับร้อยปี เนื้อพระจึงรักษาสภาพความแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี จุดเด่นของเนื้อพระนางพญา คือ มวลดินประเภทเม็ดทรายที่แทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมากเรียกกันว่าเม็ดแร่ ขนาดสัณฐานของเม็ดทรายจะต้องใกล้เคียงกันทั่วองค์พระ เพราะเป็นเนื้อที่ผ่านการกรองมาแล้ว

             การค้นพบพระนางพญาในยุคหลังในเวลาประมาณ พ.ศ.2470 องค์พระเจดีย์ด้านตะวันออก ของวัดนางพญาได้พังลง เจ้าอาวาสในยุคนั้นคือ พระอธิการถนอม ได้ให้ชาวบ้าน และพระเณรช่วยกันขนเอาดิน และเศษอิฐ เศษปูน จากซากเจดีย์ล่มนั้นมาถมคูน้ำ ต่อมาอีกหลายปี ก็กลายเป็นดงกล้วย เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2485 ชาวบ้านได้หนีภัยสงคราม เข้าไปหลบอยู่ในดงกล้วย และได้ทำการขุดหลุมหลบภัย จึงพบพระพญากระจายตัวจมอยู่ใต้พื้นดิน

             นอกจากค้นพบ ที่วัดนางพญาแล้ว พระนางพญาถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุ แต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกัน กับพระที่พบที่วัดนางพญาทุกอย่าง และเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศ ที่ค้นพบ เช่น กรุบางสะแก หรือที่เรียกว่ากรุน้ำ พบบริเวณพื้นที่ตำบลบางสะแก ริมฝั่งของแม่น้ำน่าน ด้านทิศตะวันตกของพิษณุโลก มักเรียกกันว่ากรุเหนือ พบประมาณปี พ.ศ.2497 พบพระนางพญาบรรจุอยู่ในหม้อดิน ฝังในดินจำนวน 3 ใบ พบพระมากกว่า 1,000 องค์ ที่พบพระนั้นมักจะมีน้ำท่วมขัง พระจึงเสียผิวและมีเม็ดแร่กรวดทรายปรากฏอยู่เรียกกันว่า "แร่ลอย"

             กรุวังหน้าพบที่พระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้า ข้างโรงละครแห่งชาติ (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์) โดยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ได้จากเจ้าเมืองพิษณุโลก จึงทรงบรรจุไว้ในพระอุโบสถ ขณะที่กำลังบูรณะพระอุโบสถพบพระที่บริเวณใต้ฐานชุกชี พระที่พบเนื้อแห้งสนิทและลงรักปิดทองทุกองค์ สภาพของรักแห้งและร่อนออกง่าย พบจำนวนไม่มาก ต่อมามีผู้ค้นพบพระนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ) ในกรุงเทพฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะโดนระเบิดโจมตีโรงไฟฟ้าวัดเลียบจำนวนไม่มาก เป็นพระลงรักปิดทอง อีกครั้งพบที่วัดสังข์กระจาย ฝั่งธนบุรีที่กำลังรื้อพระเจดีย์ครั้งนี้ ได้พระที่แห้งสนิท แต่ไม่ลงรักปิดทองจำนวนไม่มากนัก

             ปี พ.ศ.2497 พบที่พระเจดีย์องค์เล็ก ที่วัดอินทรวิหาร คนร้ายได้แอบเจาะ พบพระนางพญาใส่ไว้ในบาตรพระ ที่ผุแล้ว พระชุดนี้จะมีคราบของสนิมเหล็กติดอยู่ พบพระนางพญาครบทุกพิมพ์ และยังพบลานทองจารึกไว้ว่า "พระที่บรรจุอยู่ในกรุนี้เป็นพระพิมพ์ที่ได้นำมาจาก วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกในปี พ.ศ.2444" ซึ่งตรงกับปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ประพาสเมืองพิษณุโลก

             ครั้งสุดท้ายพบที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก อีกครั้ง เมื่อมีการทำท่อระบายน้ำ ในบริเวณวัด เมื่อประมาณปี พ.ศ.2532 พุทธคุณ เป็นพระสร้างความเด่น ด้านเมตตากรุณา

    ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระนางพญา

             1. พระเกศเหมือนปลีกล้วย
             2. ปรากฏกระจังหน้าชัดเจน
             3. หน้าผากด้านขวาขององค์พระจะยุบหรือบุบน้อยกว่าหน้าผากด้านซ้ายขององค์พระ
             4. ปลายหูด้านซ้ายมือขององค์พระ จะติดเชื่อมกับสังฆาฎิ
             5. ปลายหูด้านขวามือขององค์พระ จะแตกเป็นหางแซงแซว
             6. เส้นอังสะจะช้อนเข้าใต้รักแร้
             7. จะมีเม็ดผดขึ้นอยู่ระหว่างเส้นอังสะกับเส้นสังฆาฎิ
             8. ท้องขององค์พระจะมีกล้ามเนื้อเป็น ๓ ลอน
             9. ปลายมือพระหัตถ์ข้างซ้ายขององค์พระจะแหลมแตกเป็นหาง
     
  6. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ยินดีอย่างยิ่งครับ คุณ aoodwing4.
    ที่จะเข้ามาร่วมศึกษาด้วยกัน
    ผมได้ยินได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับหลวงปู่หิน
    และหลวงปู่นาค รวมทั้งเรื่องพระสมเด็จ
    ที่ทั้งสองท่านสร้างมาไม่น้อยทีเดียว
    อยากจะศึกษาหาข้อมูล แต่ที่มีการรวบรวมไว้
    ผมว่าค่อนข้างน้อยมาก ทำให้จนเดี๋ยวนี้
    ผมยังไม่รู้จักเนื้อและพิมพ์ที่แน่นอนเลยครับ
    จึงยังไม่กล้าออกความเห็นใดๆครับ

     
  7. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

    ประวัติ พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร
         
             พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ”

    พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย

    พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ”
    พิมพ์กลาง
    พิมพ์เล็ก
    พิมพ์เล็กพัดโบก
    พิมพ์ขนมเปี๊ย
             พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที

    ลักษณะของเนื้อที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระจะมีจุดสีแดง ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ว่านดอกมะขาม” และตามซอกขององค์พระจะมีจุดดำ ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ราดำจับอยู่ตามบริเวณซอกของพระ”

    พระกำแพงซุ้มกอ นั้นนอกจากเนื้อดินยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่านล้วน ๆ ก็มีแต่น้อยมาก
    พระกำแพงซุ้มกอ ที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤาษีและตลอดบริเวณลานทุ่งเศรษฐี
    พระกำแพงซุ้มกอ ที่ไม่มีลายกนกที่มีสีน้ำตาลนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำ
    พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระพุทธคุณนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะพระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่อง เมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ประกอบกับพระกำแพงซุ้มกอ ถูกจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดเบญจภาคี ความต้องการของนักนิยมพระเครื่องจึงมีความต้องการสูงเพราะทุกคนต้องการแต่พระกำแพงซุ้มกอทั้งนั้น ราคาเช่าหาจึงแพงมาก และหาได้ยากมากด้วย
    พระกำแพงซุ้มกอ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ตามหรือจะเป็นเนื้อดินเนื้อว่าน ตลอดจนเนื้อชิน พุทธคุณเหมือนกันหมด แล้วแต่ว่าท่านจะหาพิมพ์ไหนมาได้
    พระกำแพงซุ้มกอ จึงจัดว่าอยู่ในพระอมตะพระกรุอันทรงคุณค่าที่ควรค่าแก่การหา และนำมาเพื่อเป็นศิริมงคล เป็นอย่างมากทีเดียว
    ประวัติความเป็นมาของพระซุ้มกอ

             พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระ อุปเท่ห์การอาราธนาพระ รวมถึงพุทธานุภาพอย่างมหัศจรรย์ ของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย นอกจากนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ในราวปี พ.ศ.1279
         
             จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่เชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอจนถึงปัจจุบัน จึงมีประมาณ 700-800 ปี

    พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์คือ

    พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก
    พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก
    พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง
    พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ
    เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้

    เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด
    เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน
    เนื้อชินเงิน
    เนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก
            พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ

    พิมพ์ใหญ่ไมมีลายกนก คือพระซุ้มกอดำ เป็นเนื้อที่หายากมาก ราคาแพง พบที่กรุวัดบรมธาตุ, วัดพิกลุล, และกรุนาตาคำ
    พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายากครับ
    พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงก็เป็นพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบมนออก จึงดูคล้ายขนมเปี๊ยะ
    ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก

    การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ

             เมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงชักชวนเจ้าเมืองออกสรวจ ก็พบเจดีย์ 3 องค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนเจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดียเก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน เมื่อรื้อถอนจึงพบพระเครื่องซุ้มกอจำนวมาก หลวงปู่จึงนำเข้ากรุงเทพ ฯ ส่วนหน่งพร้อมเศษอิฐหิน และบรรทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อลือกระฉ่อน เพราะสร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอ ส่วนการสร้างเจด์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ เจ้าเมืองก็ด่วนลาลับ ต่อมาพระยาตะก่า ขุนนางพม่า จึงปฏิสังขรณ์ต่อ จนเสร็จ จึงมีรูปลักษ์เป็นเจดีย์พม่า

             พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างประมาณ พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไท ขุดค้นพบหลายกรุ โดยครั้งแรกพบ ณ วัดพระบรมธาตุ โดยหลวงปู่โต ต่อมา พ.ศ.2490, และ 2501 ก็พบอีก แต่ไม่มาก ปี 2505 และ 2509 พบจากกรุวัดพิกุลทอง, วัดฤาษี วัดหนองลังกา และวัดซุ้มกอ

    พระซุ้มกอ พิมพ์มีกนก

             ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า " ลานทุ่งเศรษฐี " หรือโบราณเรียกว่า " เมืองนครชุมเก่า " บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฎซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก ขุดพบที่กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพิกุล หรือหนองพิกุล กรุฤาษี กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์กลางทุ่ง

             ส่วนพระนามของพระซุ้มกอนั้น เป็นเอกลักษณ์ของซุ้มประภามณฑล ที่ครอบเศยรองค์พระ เป็นซุ้มโค้งงอเหมือน ก ไก่ เลยเรียกติดปากมาตั้งแต่โบราณว่า " พระซุ้มกอ " พระกำแพงซุ้มกอ สันนิษฐานว่า จะสร้างในสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัย พระพุทธศิลปะขององค์พระจะสง่างาม มีความล้ำสัน นั่งขัดสมาธิราบอยู่บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง ภายใต้ซุ้มเรือนกนก

    พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก 
         
             เป็นพระที่ขุดพบมีจำนวนค่อนข้างน้อย เนื้อดินเผา เป็นพระที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนพระเครื่องดินเผาทั่วไป เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียด ไม่มีเม็ดกรวดเจือปน เนื้อขององค์พระจะดูค่อนข้างจะเปื่อยและยุ่ยง่าย เหมือนพระดินดิบ คือเหมือนพระที่ไม่ผ่านการเผามา มีว่านดอกมะขามสีแดงปรากฎให้เห็นทั่วองค์พระ

    ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระซุ้มกอ

    พระเกศเป็นเกศปลี ปลายแหลมสอบเข้า
    พระเนตรรี ลอยอยู่ในเบ้า
    พระนาสิกเป็นแท่งแหลม พระโอษฐ์เล็ก
    พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ
    ยอดองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ
    กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง
    สังฆาฏิเป็นลำเล็ก
    ซอกแขนลึก
    ชายจีวรยาวเข้าไปซอกแขน
    พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย
     
     
  8. aoodwing4

    aoodwing4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +282
    ขอบคุณครับ

    ไม่เป็นไรครับ ผมก็ค่อยๆศึกษาไปครับ เพียงแต่มีผู้รู้บางท่านพิจารณาแล้วบอกว่าเนื้อหา พิมพ์ทรง อายุพระ คล้ายไปทางหลวงปู่นาคครับ
     
  9. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เคยเตรียมภาพพระซุ้มกอสวยๆ
    องค์ครูไว้จะลงให้ชม แต่ยังไม่มีโอกาส
    พี่กรุพระ เอาบทความมาลงพอดี
    ก็ขอจังหวะนี้แทรกเข้ามาด้วยแล้วกันครับ
     
  10. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก

    พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก

    [​IMG]
     
  11. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก 2

    พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก

    [​IMG]
     
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก

    พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก

    [​IMG]
     
  13. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก 2

    พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก

    [​IMG]
     
  14. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ถ้าพี่โอกระบี่ไม่บอกว่าพระพิมพ์กลีบบัวไว้สำหรับแจกผู้หญิง
    ผมว่าฟอร์มสวยน่าใช้มากที่เดียวครับ :cool::cool::cool:
     
  15. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

    พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่
    ตำหนิเอกลักษณ์
    1.พระเกศเป็นเกศปลี ปลายแหลมสอบเข้า
    2.พระเนตรรี ลอยอยู่ในเบ้า
    3.พระนาสิกเป็นแท่งเหลี่ยม พระโอษฐ์เล็ก
    4.พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ
    5.ยอดลำพระองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ
    6.กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง
    7.สังฆาฏิเป็นลำเล็ก
    8.ซอกแขนลึก
    9.ชายจีวรยาวเข้าไปในซอกแขน
    10.พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย
     
  16. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ภาพพระสวยๆทั้งนั้น ถ้างั้นผมขอตามชมก่อนนะครับ
    ขอบคุณ คุณ CaptainZire ที่นำภาพพระแท้สวยๆ
    มาให้ชมครับ:cool::cool
    :
     
  17. aoodwing4

    aoodwing4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +282
    งดงามครับ

    ภาพสวยงาม ข้อมูลพร้อม แบบนี้ต้องเก็บข้อมูลครับ:cool::cool::cool:
     
  18. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ขอบคุณครับ คุณกรุพระและคุณ CaptainZire
    ที่ช่วยเตือนผมให้จำได้ว่าเนื้อหาเกี่ยวกับพระเบญจภาคี
    ยังไม่สมบูรณ์ โดยขาดพระองค์สำคัญอีกหนึ่งองค์
    คือพระกำแพงซุ้มกอ ผมจึงดำเนินการ updated
    หัวข้อกระทู้ให้ก่อนเลยครับ
     
  19. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

    พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

    [​IMG]
     
  20. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...