พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. faidood

    faidood Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +31
    ;aa43ทุกท่านครับ ลุงเพชร ผมมีเรื่องจะถามนะ รูปที่ลงไว้ให้ดูทำไมใหญ่มาก มีที่เล็กกว่านี้ไหม แล้วที่ด้านหน้าเป็นพระเก้าองค์หันเกศชนกัน ด้านหลังกดเป็นรูปเศวตฉัตร เนื้อปัญจสิริ เคยเห็นบ้างไหม หุหุหุหุหุblack_pig
     
  2. faidood

    faidood Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +31
    ลุงข้างบ้าน ไม่เข็ดนะ นี่แร่นี่นะจะทำให้กินอะไรไม่ลงเป็นอาทิตย์เชียวละ ถ้าไม่รีบนำมามอบให้ ลุงไฟดูด ไม่เชื่ออย่าลบหลู่นะ :mad:
     
  3. faidood

    faidood Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +31
    ลุงเพชร นี่ถีงกะ ตามล่า เชียวหรือ ท่านทำอะไรให้ไม่ถูกใจหรือ;ปรบมือ
     
  4. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ลุง ลุง อ.เพชรเค้ามีเป็นถุงเลยครับ ถึงต้องโยนหินถามทางครับ ส่วนที่ล่านี่ ตาลุงผมบอกแล้วว่า ที2องค์ที่ไปก่อนก็แจ้งเค้าว่าขอคืนให้ราคา 2เท่าเดี๋ยวก้ได้ครับ หุ หุ
     
  5. faidood

    faidood Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +31
    ลุงหนู่ ผมว่าไม่กล้า ชิมิชิมิ [Embarrass
     
  6. faidood

    faidood Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +31
    :VO นี่ลุงหนู๋ มีคนเค้าจะให้แต่ไม่กล้ารับ เพราะมีชื่อเฉพาะก้อนด้วย แต่ละก้อนลายสวยมากยกขึ้นมาส่องไปมืนไปงงงไป และแร่เกาะล้านที่วางขายเช่นกัน ถ้าเชิญมาไว้ในรถแล้วเข้าใจเค้าละ รับรองว่าไม่มีใครจะมายุ่งกะรถของเรา ปกป้องรถเราอย่างดีแทบจะไม่ต้องใช้สัญญานกันขโจรเลยละ แบบเดียวกันกะจรเข้หลวงปู่.....ถ้าคิดไม่ดีก็เจอ...(good)
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    แร่ชนิดนี้ บ่ช่าย pyrite นา มันแร่ข้าวตอกพระร่วงบ่ช่ายหรือ??
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อันนี้ต้องเชื่อสื่อครับลุงไฟดูด วาสนาอาจจะได้เท่านี้ ยังไงก็ขอพยายามก่อน รูปที่ลุงเห็นว่าเล็ก จริงๆมันชัดนะสำหรับคนที่ดูเป็น ลุงทั้ง 2 เก่งเรื่องดูเนื้อ ลุงกูรูบอกว่า เล็กกว่านี้อีกครึ่งหนึ่ง เขาก็มองเห็น หุ..หุ..

    ลุงอ.จ.กูรูครับ วันนี้เขาเอาเชิงท่ามาเสนออีกแล้ว ๘ องค์ ก๊ากกกก!!! เขาเชื่อสนิทใจจริงๆ บอกว่า ทองส้วยสวย ผมบอกว่า ผมมีเยอะแล้ว หุ..หุ...
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วันนี้ได้พบพี่ที่เรียนหนังสือด้วยกัน ช่วงที่ซ่อมแซมบ้าน+สิ่งของที่ถูกน้ำท่วม เขาใส่พระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่ที่ให้เขาไปปรากฎว่า เขาพบประสบการณ์เหนียว ๓ เหตุการณ์ ฆ้อนทุบเข้าที่นิ้วมือจังๆนึกว่าจะขาดแต่เหมือนของอุ่นๆเฉียดผ่านเท่านั้น คนข้างๆเห็นแล้วตาค้าง อีกเหตุการณ์ กระจกบานใหญ่ซ้อนกันหลายชั้น ตกลงมาบาดถูกเนื้อแต่เห็นเพียงรอยข่วน กรุเดียวกับที่ให้ลุงๆทั้งหลายไปเมื่อวันที่ ๗ ม.ค.ที่ผ่านมา..
     
  10. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    จำไม่ได้แล้วครับ ลุง อ.เพชร งั้นหลาน ขอใหม่ รึกันครับ หุ หุ
     
  11. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ลุง อ.เพชรครับ มาจากแร่เริ่มต้นคือ pyrite ครับ แล้วเกิด ออกซิเดชั่นตามนี้ครับ ว่าแต่มีเยอะ อย่า งอแงครับ หุ หุ

    เกร็ดความรู้เรื่องข้าวตอกพระร่วง


    [​IMG]
    ข้าว ตอกพระร่วง ข้าวพระร่วง ตามตำนานผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสืบต่อกันมาว่า "ในวันใส่บาตรเทโวที่บนลานวัดเขาพระบาทใหญ่ เมื่อพระร่วงฉันภัตตาหารเสร็จ ข้าวที่เหลือจากก้นบาตรท่านได้โปรยลงบนลานวัดและทรงอธิษฐานว่า...

    "ให้ ข้าวตอกดอกไม้นี้กลายเป็นหินชนิดหนึ่ง และมีอายุยั่งยืนนานชั่วลูกชั่วหลาน" ดังนั้น ข้าวตอกพระร่วงที่ชาวบ้านเรียกขานกันจึงหมายถึงหินรูปสี่เหลี่ยมโดยธรรมชาติ ที่ฝังตัวอยู่ในหินก้อนใหญ่ ส่วนข้าวพระร่วงหรือข้าวกับบาตรพระร่วงนั้นจะมีลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวสุกฝัง ตัวอยู่ในหินสีดำ
    ข้าวตอกพระร่วงมีลักษณะเป็นหินก้อนเล็ก ๆ รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์คล้ายกับลูกเต๋า มีสีสนิมเหล็กหรือสีน้ำตาลไหม้คล้ำ ๆ มีหลายขนาด แต่จะมีหน้าราบขนาด ๒.๓ ซม. ก้อนเล็ก ๆ จะมีขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตร สำหรับก้อนที่ใหญ่ ๆ นั้น หากเราลองทุบ ให้แตกออก ลักษณะที่แตก ออกจากกันนั้นก็จะคงรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์เล็ก ๆ อีกเหมือนกัน จะมีเพียงบางก้อนที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว หินเหล่านี้ จะมีปะปนอยู่ทั่วไปพบมากบริเวณเขา พระบาทใหญ่ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธรณีวิทยา ได้ตรวจสอบแล้วสรุปว่า แร่ที่ชาวบ้าน เรียกว่าข้าวตอก พระร่วงนี้ คือ แร่โลหะชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "แร่ไพไรต์" นั่นเอง อีกชนิดหนึ่งมีลักษณะ คล้ายเม็ดข้าวสารฝังจม ปนอยู่ในหินแร่เหล่านี้ด้วย ชาวบ้าน เรียกว่า ข้าวสารพระร่วง ทั้งสอง ชนิดนี้เป็นที่นิยมกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดมีไว้ถือว่าเป็นสิริมงคล มีความสุขความเจริญด้วย โภคทรัพย์ต่าง ๆ นอกจากนั้นยังนิยม นำมาฝนกับ แผ่นกระเบื้องบดยาหยดน้ำลงไปด้วย ขณะที่ฝนแล้วนำน้ำนั้นมาทาบริเวณที่ถูกพิษแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นต้นว่า ตะขาบ มด แมลงป่อง ก็จะหายจากอาการเจ็บปวดอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ชาวบ้านนิยมนำมาดับพิษแมลงเวลาถูกต่อย จะใช้กันอย่าง แพร่หลายด้วยความศรัทราส่วนคนเฒ่าคนแก่ที่กินหมากนั้น จะนิยมนำข้าวตอก พระร่วงมาใส่ปนกับสีผึ้งทาปากตลับละหนึ่งถึงสองเม็ด เหตุที่ทำเช่นนี้เพราะเชื่อว่ามีเมตตา มหานิยมดี โดยเฉพาะเม็ดที่ติดกันชาวบ้านเรียกว่า "อมกัน" นิยมกันมากว่ามีเมตตามหานิยมมากยิ่งขึ้น

    ต่อมาข้าวตอกพระร่วงและ ข้าวสารพระร่วง มีผู้นำมาเจียระไนเป็น เครื่องประดับ และ เข้าพิธีพุทธาภิเษก เมื่อ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๗ ทำให้ประชาชน ให้ความสนใจใคร่มีไว้เป็นสิริมงคลกันมาก ปัจจุบันจึงค่อนข้างหายาก สาเหตุที่เป็นที่นิยมของชาวบ้านว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ทั้งนี้เพราะมีความ เชื่อ เกี่ยวกับเรื่อง พระร่วงวาจาสิทธิ์ เมื่อครั้งพระองค์เสด็จมาประพาสป่า หยุดเสวย พระกระยาหารกลางวันแล้ว จึงนำข้าวโปรยไว้บนเขาพระบาทใหญ่แล้วกล่าวว่า จงเป็นข้าวตอกดอกไม้ ดังนั้นจึงกลายเป็น ข้าวตอกพระร่วง ข้าวสารพระร่วง ตามวาจาสิทธิ์นั้น
    ข้าวตอกพระร่วง
    คือ แร่ชนิดหนึ่งเป็นแร่ LIMONITE คือออกไซด์ของเหล็กชนิดหนึ่ง (2Fe2 O3 . H2O) เนื่องจากแร่นี้ไม่มี crystal form มีลักษณะเป็น colloid จึงสามารถเกิดเป็นผลึกโดยอาศัยรูปผลึกของแร่อื่นได้ ในกรณีของข้าวตอกพระร่วงนี้อาศัยรูปผลึกของแร่ PYRITE (Fe S2) จึงเรียกว่า Limonite Pseudomorphed after Pyrite แร่นี้มีพบมากที่จังหวัดสุโขทัยพบฝังอยู่ในหินผุตามเชิงเขาพระบาทใหญ่ เมื่อทุบให้แผ่นหินผุแตกจะพบหินเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายลูกเต๋าสีสนิมเหล็ก หรือสีน้ำตาลไหม้เล็กบ้างใหญ่บ้าง ก้อนใหญ่หน้าราบขนาดราว2-3 เซนติเมตร ก้อนเล็กราวครึ่งเซ็นติเมตร และก้อนใหญ่บางก้อนนั้น ถ้าทุบให้แตกอีกก็จะแตกเป็นก้อนย่อย ๆ รูปสี่เหลี่ยมอีกเหมือนกัน แต่บางก้อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวก็มี ชาวบ้านเรียกหินชนิดนี้ว่า ข้าวตอกพระร่วง เชื่อกันว่าเป็นของขลังและศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันอสรพิษได้ ถ้าถูกแมลงมีพิษกัดต่อยให้เอาหินก้อนนั้นกดทับตรงบาดแผลจะระงับพิษได้ บางคนก็เอามาเลี่ยมทำเครื่องประดับใช้เป็นเครื่องราง
    พระร่วง
    พระ ร่วง เป็นชื่อบุคคลผู้เป็นวีรบุรุษ เป็นผู้นำของสังคม สังคมไทยโบราณนิยมสืบต่อเรื่องราวเก่าทำนองตำนาน นิทานปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน เป็นแบบมุขปาฐะ เล่ากันปากต่อปาก (oral history) ต่อมาจึงมีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในบรรดาเรื่องราวเกี่ยวกับผู้นำทางวัฒนธรรม เรื่อง "พระร่วง" เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาเล่าขานทั้งในฐานะผู้นำทางวัฒนธรรมตามตำนาน ฐานะวีรบุรุษผู้มีตัวตนจริงของประวัติศาสตร์ และในฐานะสัญลักษณ์ของผู้รู้ และความเป็นปราชญ์

    เรื่องของพระร่วงมีตำนานเล่ากันมาหลายเรื่อง ซึ่งมิได้ระบุว่าเป็นกษัตริย์สมัยสุโขทัยพระองค์ใด พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในกรุงสุโขทัยก็เรียกว่า "ราชวงศ์พระร่วง" ทำให้คนทั้งหลายเข้าใจว่า พระร่วงคงจะเริ่มตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นมา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่เรียกนามในภาษาบาลีว่า "โรจนราช" กล่าวกันว่าเป็นพระสหายกับพระเจ้าเม็งรายมหาราชที่นครเชียงใหม่ และพ่อขุนงำเมืองแห่งนครพะเยา พระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ในหนังสือเก่าเรียกตามภาษามคธว่า "รามราช" แต่ยังมีคำที่คนทั้งหลายเรียกพระนามกษัตริย์สุโขทัยอีกคำหนึ่งว่า พระร่วง ในพงศาวดารบางฉบับกล่าวว่า พระร่วงนี้มีบุญญาภินิหาร และฤทธิเดชเลิศล้ำ แม้ในพงศาวดารของประเทศใกล้เคียง เช่น ในพงศาวดารมอญ พงศาวดารลานนาไทย ก็ยังได้กล่าวถึงพระร่วงเมืองสุโขทัย ทุกวันนี้ยังมีสิ่งที่ออกพระนามพระร่วงด้วยหลายสิ่ง เช่น ข้าวตอกพระร่วง ปลาพระร่วง ทำนบพระร่วง หนังสือไตรภูมิพระร่วง สุภาษิตพระร่วง ปากพระร่วง (ผู้มีวาจาสิทธิ์ว่าอะไรเป็นอย่างนั้น) และที่สุดเรือรบของไทยลำหนึ่งก็ชื่อ เรือพระร่วง ล้วนเป็นคำที่ประกอบกับคำที่เล่าเรื่องพระร่วงสืบกันมา

    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอุตสาหะสอบสวนค้นคว้าทางโบราณคดีและรวบรวมเรื่องราวเป็นข้อวินิจฉัย ให้ชื่อว่า นิทานโบราณคดีเรื่องพระร่วง จึงขอนำมาสรุปดังนี้
    ใน หนังสือพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงชาติวงศ์ของพระร่วง ในเรื่องอรุณกุมาร (อรุณ คือ ศัพท์ภาษามคธแปลว่า ร่วง) ว่า พระยาอภัยคามะนีเจ้าเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ไปจำศีลบนภูเขาแห่งหนึ่ง ไปพบนางนาคซึ่งจำแลงเป็นมนุษย์มาเที่ยวเล่น เกิดสมัครรักใคร่ได้อภิรมย์สมรสอยู่ด้วยกัน 7 วัน นางมีครรภ์กลับไปเมืองนาค เมื่อจะคลอดลูกก็ขึ้นมาคลอดที่ภูเขาเพราะเกรงว่าถ้าคลอดในเมืองนาคอาจไม่มี ชีวิตรอดเพราะมีเชื้อมนุษย์ เมื่อคลอดทารกชายแล้วก็ทิ้งไว้ในป่าพร้อมกับแหวน ผ้าห่ม และของที่พระยาอภัยคามะนีประทานนางไว้ มีพรานป่าไปพบทารกนั้นจึงพามาเลี้ยงไว้ เกิดอัศจรรย์ต่าง ๆ ปรากฏที่ตัวเด็กอย่างผู้มีบุญ ความทราบถึงพระยาอภัยคามะนี ตรัสเรียกไปทอดพระเนตร เมื่อทรงทราบเรื่องที่พรานป่าไปพบและทอดพระเนตรเห็นของที่อยู่กับตัวเด็ก ก็ทราบชัดว่าเป็นราชบุตรที่เกิดกับนางนาค จึงประทานนามว่า "อรุณกุมาร" แล้วเลี้ยงไว้ในที่ลูกหลวง ต่อมามีราชบุตรเกิดด้วยอัครมเหสีอีกองค์หนึ่ง ประทานามว่า "ฤทธิกุมาร" อยู่ด้วยกันมาจนเติบใหญ่

    พระยาอภัยคามะ นีปรารถนาจะหาเมืองให้อรุณกุมารครอบครอง ทราบว่าเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยมีแต่ราชธิดา จึงสู่ขอนางนั้นให้อภิเษกสมรสกับอรุณกุมาร อรุณกุมารจึงไปอยู่เมืองศรีสัชนาลัยต่อมาก็ได้ครองเมืองนั้น ทรงพระนามว่า "พระร่วง" ส่วนฤทธิกุมารนั้นเมื่อเติบใหญ่ก็ได้อภิเษกสมรสกับราชธิดาพระยาเชียงใหม่ และได้ครองเมืองเชียงใหม่ ทรงพระนามว่า "พระลือ" เมื่อทั้งสองอาณาเขตมีเจ้าเมืองเป็นพี่น้องกันเช่นนี้ บ้านเมืองก็เป็นสัมพันธมิตรสืบกันมา เรื่องอรุณกุมารนี้พระร่วงเป็นเชื้อมนุษย์กับนาคระคนกัน และเป็นวงศ์กษัตริย์วงศ์หริภุญชัยในลานนา

    เรื่องพระร่วงใน พงศาวดารเหนืออีกเรื่องหนึ่ง เรียกว่า พระร่วงส่วยน้ำ กล่าวว่า มีชายชาวเมืองละโว้คนหนึ่งชื่อ "คงเครา" เป็นนายกองคุมคนตักน้ำในทะเลชุบศรส่งไปถวายพระเจ้าปทุม สุริยวงศ์ ณ เมืองขอม นายคงเครามีบุตรคนหนึ่งชื่อ นายร่วง เป็นผู้มีบุญด้วยวาจาสิทธิ์ คือถ้าว่าอะไรให้เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น แต่ไม่รู้ตัวว่ามีฤทธิ์อย่างนั้น จนอายุได้ 11 ปี วันหนึ่งพายเรือไปในทะเลชุบศร เรือทวนน้ำทำให้เหนื่อยมากจึงออกปากว่า ทำไมน้ำไม่ไหลกลับไปทางนั้นบ้าง พอว่าขาดคำ น้ำก็ไหลกลับไปอย่างว่าเด็กร่วงก็รู้ตัวว่ามีวาจาสิทธิ์ แต่ปิดความไว้ไม่ให้ผู้อื่นรู้ ครั้นนายคงเคราถึงแก่กรรมพวกไพร่ก็พร้อมใจกันยกนายร่วงขึ้นเป็นนายกองส่วย น้ำแทนพ่อ ครั้นต่อมานักคุ้มข้าหลวงเมืองขอมคุมเกวียนมารับส่วยน้ำตามเดิม นายร่วงเห็นว่ากล่องน้ำที่ทำมานั้นหนัก จึงให้ไพร่สานชะลอมขึ้นเป็นอันมาก แล้วให้เอาชะลอมจุ่มลงไปในน้ำ ลั่นวาจาสิทธิ์สั่งน้ำให้ขังอยู่ในชะลอมก็เป็นเช่นว่า

    นักคุ้ม ข้าหลวงเห็นเช่นนั้นก็ฤทธิ์นายร่วง รีบรับชะลอมน้ำกลับไปยังเมืองขอม ทูลพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ว่า มีผู้วิเศษเกิดขึ้นที่เมืองละโว้ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงวิตกเกรงว่าจะเป็นกบฏ จึงแต่งกองทหารให้มาจับตัวนายร่วง แต่นายร่วงได้ยินข่าวรู้ตัวก่อน จึงหนีออกจากเมืองละโว้ขึ้นไปทางเมืองเหนือ ไปบวชเป็นภิกษุอยู่ ณ วัดแห่งหนึ่งในเมืองสุโขทัย คนจึงเรียกกันว่า "พระร่วง" เพราะเหตุที่บวชเป็นพระ ฝ่ายทหารขอมมาถึงเมืองละโว้ รู้ว่านายร่วงรู้ตัวหนีขึ้นไปเมืองเหนือ ทหารขอมผู้หนึ่งก็ติดตามไปเที่ยวสืบเสาะได้ความว่า นายร่วงหนีไปอยู่เมืองสุโขทัย มิรู้ว่าไปบวชเป็นพระ จึงดำดินลอดปราการเข้าไปในเมือง เผอิญไปโผล่ขึ้นที่ลานวัดที่พระร่วงกำลังกวาดอยู่ พระร่วงเห็นเข้าก็รู้ว่าเป็นขอมแต่ขอมไม่รู้จักพระร่วง จึงถามพระร่วงว่า "รู้หรือไม่ว่านายร่วงที่มาจากเมืองละโว้อยู่ที่ไหน" พระร่วงก็ลั่นวาจาสิทธิ์ว่า "สูอยู่ที่นั่นเถิดรูปจะไปบอกนายร่วง" พอว่าขาดคำขอมก็กลายเป็นหินติดคาแผ่นดินอยู่ตรงนั้น ด้วยอำนาจวาจาสิทธิ์ของพระร่วง ชาวเมืองสุโขทัยรู้ว่าพระร่วงเป็นผู้มีบุญ เมื่อพระเจ้ากรุงสุโขทัยสิ้นพระชนม์ เสนาอำมาตย์จึงพร้อมใจกันเชิญพระร่วงขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า "พระเจ้าศรีจันทราบดี"

    สมเด็จฯพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า เรื่องพระร่วงทั้งสองเรื่องนี้ จะเชื่อว่าพระร่วงเป็นลูกนางนาคจริง หรือจะเชื่อว่าพระร่วงมีวาจาสิทธิ์จริง ดูก็ผิดธรรมดาทั้งสองสถาน ถ้าพิจารณาดูศักราชตามที่อ้างในพงศาวดารเหนือทั้งสองเรื่องนั้นว่าเป็นรัช สมัยของพระร่วงนั้นก็แตกต่างกันไกล ในเรื่องอรุณกุมารว่าพระร่วงได้ครองบ้านเมืองราว พ.ศ. 950 แต่ในเรื่องพระร่วงส่วยน้ำ พระร่วงได้ครองบ้านเมืองเมื่อราว พ.ศ. 1500 ผิดกันตั้ง 500 ปี ยิ่งมาถึงสมัยได้ศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัย ตรวจหาความรู้เรื่องพงศาวดารเหนือหลักฐานที่มีอยู่เดิมในเรื่องพระร่วงดูก็ ยิ่งคลาดเคลื่อนมากขึ้น ตามศิลาจารึกไทยเพิ่งชิงอำนาจจากขอมมาตั้งตนเป็นอิสระเมื่อพ.ศ. 1800 ภายหลังสมัยพระร่วงที่อ้างในพงศาวดารเหนือหลายร้อยปี ผู้ที่ชิงอาณาเขตสุโขทัยจากขอมได้ทรงพระนามว่า "พ่อขุนบางกลางท่าว" เจ้าเมืองบางยาง เมื่อได้เมืองสุโขทัยแล้วทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" ต่อมา "พ่อขุนบาลเมือง" ราชโอรสองค์ใหญ่ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน กษัตริย์ที่สืบทอดต่อ ๆ มาก็คือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" "พระเจ้าเลอไทย" "พระเจ้าลือไทย"(พระเจ้าธรรมราชา) ทั้งห้าองค์ครองราชสมบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 1800-1921 นานถึง 121 ปี กรุงสุโขทัยจึงตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลของสมเด็จพระบรม ราชาธิราช (ขุนหลวงพงั่ว)

    ข้อสำคัญอย่างหนึ่งในศิลาจารึกไม่มี พระนาม "พระร่วง" ปรากฏสักแห่งเดียว จะเข้าใจว่าพระร่วงเป็นแต่นิทานไม่มีตัวจริงก็ไม่ได้ ด้วยประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกับกรุงสุโขทัยในสมัยนั้น ต่างเรียกพระเจ้ากรุงสุโขทัยว่า "พระร่วง" ทั้งสิ้น เช่นในเรื่องราชาธิราชก็อ้างว่า พระร่วงได้ชุบเลี้ยงมะกะโทและทรงส่งเสริมให้เป้นพระเจ้าฟ้ารั่วครองเมืองมอญ ในพงศาวดารโยนกก็กล่าวว่า เมื่อพระยาเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่ได้เชิญ"พระร่วงเมืองสุโขทัย"กับ" พระยางำเมืองเมืองพะเยา" ผู้เป็นสหายไปปรึกษา หนังสือตำนานพระพุทธสิหิงค์ซึ่งพระโพธิรังษีแต่งเป็นภาษามคธที่เมือง เชียงใหม่ ก็แปลงคำ "พระร่วง" เป็น "รังคราช" ว่าได้พระพุทธสิหิงค์จากเมืองนครศรีธรรมราชข้นไปไว้ ณ เมืองสุโขทัย และที่สุดชาวกรุงศรอยุธยาก็เรียกกันทั่วไปว่า "พระร่วง" จึงเห็นว่า "พระร่วง " นั้นคงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ครองกรุงสุโขทัยพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในห้า พระองค์นั้น ซึ่งทรงอานุภาพเลิศล้ำเป็นที่ยำเกรงแก่นานาประเทศใกล้เคียง และคงเลื่องลือระบือพระเกียรติแต่ยังทรงพระนามว่าพระร่วง ไม่เปลี่ยนไปเรียกตามพระนามใหม่ที่ถวายเมื่อราชาภิเษก ตัวอย่างเช่น พระเจ้าอู่ทองเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นอิสระทรงพระนามเมื่อราชาภิเษกว่า สมเด็จพระรามาธิบดี แต่ไพร่บ้านพลเมืองก็ยังเรียกว่า พระเจ้าอู่ทอง อยู่นั่นเอง การที่จะวินิจฉัยเอาเรื่องพระร่วงเข้าในพงศาวดาร จึงอยู่ที่ต้องพิจารณาหาหลักฐานว่าพระองค์ใดในพระเจ้าแผ่นดินกรุงสุโขทัย 5 พระองค์นั้นเป็นพระร่วง แล้วพิจารณาต่อไปว่า เหตุใดจึงเรียกว่า "พระร่วง"
    เขียนโดย มณีนาคราช ที่ <a class="timestamp-link" href="http://buddhacosmic-metta.blogspot.com/2010/06/blog-post_400.html" rel="bookmark" title="permanent link"><abbr class="published" title="2010-06-19T07:48:00-07:00">7:48</abbr>
    จากนาคสมบัติ: เกร็ดความรู้เรื่องข้าวตอกพระร่วง
     
  12. TrainSSS

    TrainSSS สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    169
    ค่าพลัง:
    +4
    สวัสดีพี่ๆ และลุงๆทุกท่านนะครับ (อิ อิ)
    เดือนนี้เข้ากะกลางวันแล้ว...ตามอ่านกระทู้หน้าเก่าๆ ยังไม่ถึงไหนเลยครับ
    ของใหม่ช่วงนี้ก็วิ่งไว...อืม กว่าจะทันคงหลายเดือนเลยนะครับนี่ แต่ก็ บ่ ยั่นครับ ของใหม่ก้อมันส์ทุกวัน อ่านไม่เบื่อเลยครัย
    เหมือนวิ่งเปรี้ยวเลยครับ...สักวันต้องทันครับ:d
     
  13. TrainSSS

    TrainSSS สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    169
    ค่าพลัง:
    +4
    3-4เดือนพึ่ง 300 กว่าหน้า ยังอยู่ปี2550อยู่เลย นี่ปี2555แล้วนะนี่ ทยอยตามอ่านไปเรื่อยๆครับ จากทั้งหมด 2,482หน้า(อุ่ อุ่)
     
  14. TrainSSS

    TrainSSS สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    169
    ค่าพลัง:
    +4
    ไปนอนก่อนคร้าบ...ราตรีสวัสดิ์ครับsleeping_rb
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    แร่ pyrite (แร่ตั้งต้น)ก้อนนี้ได้มาเมื่อปี ๒๕๓๙ ที่ร้านหนังสือจุฬา วงการของผู้ที่สะสมแร่ หรือหิน ก็เชื่อกันว่าเป็นหินที่มีความโดดเด่นด้านการดึงดูดทรัพย์..

    Trip การตามหาแร่ข้าวตอกพระร่วง และกราบพระร่วงเจ้าที่สุโขทัยเป็น Trip ที่ดีมาก ต้องตั้งใจไปจริงๆ ผมไปตามหาถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกพบแต่แร่ข้าวตอกพระร่วงที่ชาวบ้านนำมาเสนอ แต่สิ่งที่พิเศษสุดคือ เป็นส่วนที่อยู่บนเขาพระพุทธบาทใหญ่ดิบๆที่ติดดินสีอรุณ(ดินชนิดนี้เขาเอาไว้เป็นมวลสารสร้างพระ และสีของดินชนิดนี้เอาไว้กำหนดปถวีกสิณดีเยี่ยม และตรงสีที่สุด) และเป็นชิ้นที่ใหญ่ แต่ก็มีราคาค่อนข้างแพงมาก สมัยก่อนมีมาก แต่ปัจจุบันหายากแล้วครับ ผมก็ได้ถวายพระอาจารย์นิลบรรจุพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ๔๐ กว่าชิ้น(๙x๕)

    และหากสืบประวัติของแร่ข้าวตอกพระร่วงบนเขาพระบาทใหญ่นี้ เป็นบริเวณที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นี้ตั้งแต่ปีพ.ศ ๒๓๕ นั่น ในเวลาต่อมา พระพุทธบาทจำลองได้ถูกอัญเชิญไปยังวัดๆหนึ่ง และวัดนี้ก็นำกระจกมาปิดครอบรอยพระพุทธบาทจำลองนี้ไว้ กว่าจะพบพระร่วงเจ้า และรอยพระพุทธบาทก็ต้องเดินทางถึง ๒ ครั้ง ได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ ๒-๓ แห่ง โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานจะอยู่ที่พิพิธภัณฑ์รามคำแหง ซึ่งถูกต้องตามหลักวิชาการ ด้านศิลปะโบราณคดีและตามหลักวิชาโบราณสถาน ศิลปะสุโขทัย ซึ่งเก็บรวบรวมจากการขุดค้น ขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย บางส่วนได้จากบริเวณเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และพิจิตร อีกส่วนหนึ่งเป็นของพระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย และประชาชนร่วมกันมอบให้เป็นสมบัติของชาติ ศิลปโบราณวัตถุที่จัดแสดงได้แก่ ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เครื่องถ้วยสังคโลก พระพุทธรูปแบบต่างๆ พระพิมพ์ที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถาน เทวรูป และอาวุธโบราณ ฯลฯ พระร่วง พระลือ ตามเล่าลือในประวัติศาสตร์ก็ประดิษฐานอยู่ที่นี่ละครับ ก็พยายามบอกกันครับว่า การที่จะทราบว่า พระองค์ใดที่ได้พบนั้นแท้ ไม่แท้ เนื้อหาเป็นยังไงก็ต้องเข้าไปศึกษาเอาจากพิพิธภัณฑ์เท่านั้นครับ...

    ปัจจุบันทางราชการมีคำสั่งห้ามชาวบ้านขุดหาแร่ข้าวตอกพระร่วง เพราะหินจากด้านบนจะถล่มลงมา ชาวบ้านเขาก็มีวิถีทางการดำเนินชีวิตแบบนี้ละครับ เรื่องราวเหล่านี้ได้เคยบอกเล่าเอาไว้แล้วครับ ไม่ขอฉายซ้ำ...

    หลังจากสอบเสร็จทั้งหมด ก็อาจจะได้เดินทางไปสุโขทัยเป็นครั้งที่ ๓ แต่ครั้งนี้อาจจะเน้นไปตามดูประวัติการแพทย์แผนไทยที่เขาสรรพยาตามประวัติการแพทย์แผนไทย หินบดยาทวารวดี และอโรคยาศาลา ก็ไม่ทราบว่าจะต่างจากอโรคยาศาลาที่เคยพบเคยเห็นทางแถบอีสานเหนือใต้หรือไม่..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010314.JPG
      P1010314.JPG
      ขนาดไฟล์:
      80.3 KB
      เปิดดู:
      54
    • P1010315.JPG
      P1010315.JPG
      ขนาดไฟล์:
      93.1 KB
      เปิดดู:
      50
    • P1010148.JPG
      P1010148.JPG
      ขนาดไฟล์:
      203.6 KB
      เปิดดู:
      76
    • P1010154.JPG
      P1010154.JPG
      ขนาดไฟล์:
      210.2 KB
      เปิดดู:
      56
    • P1010156.JPG
      P1010156.JPG
      ขนาดไฟล์:
      242.8 KB
      เปิดดู:
      57
    • P1010157.JPG
      P1010157.JPG
      ขนาดไฟล์:
      206.8 KB
      เปิดดู:
      64
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ได้มาจำนวนหนึ่งครับเป็น"พระตะกั่วสนิมแดง" พิมพ์เล็กทั้งหมด ได้มาเพียง ๔ พิมพ์ๆละ ๗-๑๐ องค์เท่านั้น ก็ได้มอบให้กับบุคคลอันเป็นที่รักชอบพอกันไปจำนวนหนึ่งแล้ว ทั้งพระท่ากระดาน พระท่ากระดานน้อย พระมเหศวร ๒ หน้า ยันต์กลับ แต่มีพระพิมพ์อยู่พิมพ์หนึ่งที่จำชื่อไม่ได้ และเป็นพิมพ์ที่เหลือน้อยมาก นำมาสอบถาม หากท่านใดตอบได้ก็จะขอตอบแทนด้วยพระพิมพ์นี้ละกันครับ..

    คือปรับ focus ตั้งนาน ก็ได้อย่างนี้ทุกครั้ง โหดไปหน่อยไม๊ครับ หุ...หุ..เอ้าใครจะตอบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010316.JPG
      P1010316.JPG
      ขนาดไฟล์:
      128.3 KB
      เปิดดู:
      48
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมนึกออกละ พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า นั่นเอง...

    งั้นก็ขอยกเลิกละกัน ให้เวลาตอบไปแล้ว ผมก็นึกไป นึกขึ้นมาได้ก่อนแล้ว หุ...หุ..
     
  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ลงภาพให้ลุงๆดูกันละกันครับ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ลองดู วงการพระชินสนิมแดง เขานำพระท่ากระดานน้อยของ ๒ กรุหลักมาประชันกัน..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ลุง อ.เพชร กลัวตอบได้ สิครับ หุ หุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...