เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    พระจะขลังหรือไม่ขลัง ก็ขึ้นอยู่กับการปลุกเสกเป็นหลัก มากกว่าเจตนาสร้างพระเสียอีก พระที่สร้างกันสมัยนี้ 90% เอาไว้ขายกินทั้งนั้น ยังมีพุทธคุณคุ้มตัวได้ เพราะครูบาอาจารย์สงเคราะห์ให้
    บางคนสร้างต้องไปเห่อมวลสารซึ่งจริงๆ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้มวลสารเลยก็ได้ ถ้าผู้ปลุกเสกเก่งจริง แต่มีมวลสารจะทำให้สายพลังงานมากขึ้น
    สำหรับการปลุกเสกมากๆนั้น ครูบาอาจารย์ที่มีภูมิจิตภูมิธรรมสูง ท่านจะกลั่นระดับพลังงานให้มีความละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ (ตรงข้ามกับการจับพลังที่จะสัมผัสเห็นเฉพาะครูบาอาจารย์ที่เสกองค์หลังๆมากกว่าองค์แรกๆ แต่เมื่อผู้สัมผัสสำเร็จธาตุสี่ จะเห็นมากกว่านั้น)
    โดยเฉพาะการอธิษฐานจิตเดี่ยว พระอริยเจ้าระดับสูงบางองค์ท่านจะเชิญบารมีของรูปพระนั้นๆได้โดยตรง เช่น พระแก้วมรกต พระอุปคุต พระสีวลี ฯลฯ
     
  2. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]
    หลวงพ่อนวล ปริสุทโธ” หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า “พ่อท่านนวล” เป็นพระสุปฏิปันโนนักปฏิบัติกัมมัฏฐาน ที่เพียบพร้อมด้วยจริยวัตรอันงดงาม และเป็นพระบริสุทธิสงฆ์ที่ยึดหลักพระธรรมวินัยตามคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติกิจของสงฆ์เป็นกิจวัตรอย่างสม่ำเสมอ ไม่เว้นแม้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย จนเป็นที่เลื่องลือและเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสในหมู่ชาวบ้านญาติโยมแดนปักษ์ใต้เป็นอันมาก

    การสร้างวัตถุมงคล พระเครื่องพ่อท่านนวล วัดไสหร้า
    เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ ทางวัดได้จัดสร้างวัตถุมงคล"พ่อท่านนวล"รุ่นแรกขึ้น ซึ่งเป็นรุ่นที่มีประสบการณ์ เป็นที่ยอมรับของศิษยานุศิษย์ ที่ได้นำไปบูชาอย่างกว้างขวาง และเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๘ ทางวัดได้สร้างวัตถุมงคลรุ่นผูกพัทธสีมายกช่อฟ้าฝังลูกนิมิต สำหรับให้ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสได้สักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยรับได้เฉพาะที่วัดเพียงแห่งเดียวเท่านั้น อีกทั้ง วัตถุมงคลที่โด่งดังยังมีรุ่นมหาโภคทรัพย์ ๗ รอบ เป็นต้น
    นอกจากนี้แล้ว พ่อท่านนวล วัดไสหร้า ท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์และเจ้าพิธีระดับแถวหน้า ที่ได้รับการยอมรับและคร่ำหวอดอยู่กับพิธีปลุกเสกจตุคามรามเทพอีกด้วย

    ๏ ปฏิปทาและศีลาจริยวัตรอันงดงามของ หลวงพ่อนวล
    พ่อท่านนวล ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีปฏิปทาและศีลาจริยวัตรอันงดงาม ท่านค่อนข้างเงียบ พูดน้อย แต่ใจดีมีเมตตามาก คำพูดของท่านล้วนเป็นจริงตามที่ท่านพูดเสมอ จนทำให้ผู้ที่มีความเคารพศรัทธาท่าน ไม่กล้าทำอะไรที่นอกลู่นอกทาง และได้ขนานนามท่านว่า “พ่อท่านนวลวาจาสิทธิ์”
    ในแต่ละวันจะมีผู้คนที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสได้เดินทางมากราบไหว้ ขอพรจากหลวงพ่อนวล ท่านไม่ขาดระยะ นอกจากนี้ท่านยังได้รับกิจนิมนต์ไปประกอบศาสนพิธีในต่างจังหวัดอยู่เสมอ รวมทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างประเทศ
    เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ ทางประดิษฐาราม (วัดไสหร้า) ได้จัดสร้างวัตถุมงคล"พ่อท่านนวลรุ่นแรก"ขึ้น ซึ่งเป็นรุ่นที่มีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับของศิษยานุศิษย์ ที่ได้นำไปบูชาอย่างกว้างขวาง
    เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘ ทางวัดกำลังก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่

    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก คอลัมน์ พระเครื่อง คม ชัด ลึก
    ฉบับวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2548


    ปัจจุบันท่านอายุ 89 ปี 69 พรรษา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1158.JPG
      IMG_1158.JPG
      ขนาดไฟล์:
      368.7 KB
      เปิดดู:
      368
    • IMG_1159.JPG
      IMG_1159.JPG
      ขนาดไฟล์:
      344.2 KB
      เปิดดู:
      1,566
    • IMG_1160.JPG
      IMG_1160.JPG
      ขนาดไฟล์:
      370.3 KB
      เปิดดู:
      482
    • IMG_1161.JPG
      IMG_1161.JPG
      ขนาดไฟล์:
      270.2 KB
      เปิดดู:
      219
  3. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ผมได้โทรศัพท์มานัดท่านพ่อไว้ ท่านให้เวลาระหว่าง สี่โมงถึงห้าโมงเย็น
    ท่านเป็นพระที่เมตตาจะออกงานกิจนิมนต์เยอะมาก งานศพ งานแต่งงาน ฉันเพลท่านรับหมด หาใช่รับเฉพาะพิธีพุทธาภิเษกเท่านั้น

    ไปถึงประมาณ สี่โมงสี่สิบนาที ท่านขอไปสรงน้ำก่อน
    ผมจึงเดินสำรวจกุฏิท่าน
    [​IMG]
    เห็นข้างๆ สายสิญจน์เป็นหินชนิดหนึ่งที่มนุษย์เรียกกันว่า
    เหล็กไหลเพลิง
    ส่วนโถเบญจรงค์ เป็นโถเปล่า นึกว่าถ้ามีมวลสารจะต้องขอท่านสักหน่อย
     
  4. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    สรุปนครศรีธรรมราชนั้น ผมตัดใจ พ่อท่านไข่ วัดลำนาวออกไป เพราะห่างออกไปอีก 50 กิโล ถ้าย้อนกลับไปสุราษฏร์ ก็ต้องเสียเวลาอีกเกือบสองชั่วโมง เสียดายมากๆ เพราะพ่อท่านไข่ เป็นพระวาจาสิทธิ์ ที่พ่อท่านคล้ายรับรอง ...... แต่ถ้าไปค่าใช้จ่ายต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1000
     
  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]
    ประวัติหลวงพ่อกระจ่าง (พระครูอนุภาสวุฒิคุณ)<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>


    ยอดพระเกจิแห่งลุ่มน้ำพุมดวงที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านไสยศาสตร์คาถาอาคม และโหราศาสตร์ที่เป็นเลิศ หลวงพ่อกระจ่าง อนุภาโส (พระครูอนุภาสวุฒิคุณ) วัดน้ำรอบ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี


    วัดไม่เคยร้างพระฉันใด พระสงฆ์ที่ก้าวขึ้นสู่ทำเนียบ “พระเกจิ” ย่อมไม่ขาดช่วงฉันนั้น เพราะแต่ละสำนัก แต่ละวัดได้ถ่ายเทสืบทอดแต่สายวิชากันมาเรื่อยๆ ดั่งดาวดั่งเพชรที่เปล่งประกายแสงให้ผู้คนพบเห็นอยู่เป็นระยะสม่ำเสมอๆ นั่นเอง เฉกเช่น หลวงพ่อกระจ่าง อนุภาโส หรือในสมณศักดิ์ที่ ”พระครูอนุภาสวุฒิคุณ” เจ้าอาวาสวัดน้ำรอบ,เจ้าคณะตำบลหนองไทร,เจ้าคณะอำเภอเคียนซา และพระอุปัชฌาย์ ซึ่งสืบสายวิชามาจากหลวงพ่อปาน วัดเขาอ้อ , หลวงพ่อว่อน วัดท่าเสม็ด (สายเขาอ้อ) จ. นครศรีธรรมราช , หลวงพ่อแดง วัดวิหาร , หลวงพ่อพัว วัดบางเดือน นับว่าเป็นพระเกจิที่มีประวัติน่ายกย่องอีกรูปหนึ่ง ที่น่าจับตามองและเป็นที่เคารพและบูชาของชาวบ้าน ต.น้ำรอบ แห่งสายน้ำพุมดวง ที่มีจริยวัตรอันงดงาม และน่าศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง


    ปฐมแห่งชีวิต


    ย้อนอดีตไปเมื่อ 84 ปี ณ ถิ่นลุ่มน้ำพุมดวง หมู่บ้านเกาะกลาง ต. น้ำรอบ อ. พุนพิน จ. สุราษฎร์ธานี เมื่อครอบครัวของนายปลีก นางแจ่ม อินทรศฤงคาร ให้กำเนิดลูกชายคนแรก แถมเป็นชายอีกด้วย วันนั้นตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง หรือ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2471


    ทารกที่ลืมตาดูโลกส่งเสียงร้องอุแว้ๆ นำความปลื้มปิติแก่ครอบครัวอินทรศฤงคาร ยิ่งนัก สองสามีภรรยาได้ตั้งชื่อ ทารกน้อยเพศชายนั้นว่า “กระจ่าง อินทรศฤงคาร” ใครจะไปหยั่งรู้ได้ว่ากาลต่อมาทารกน้อย นั้นจะเปล่งประกายจรัสแสง อยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ เป็นที่เคารพนับถือ เลื่อมใส เป็นที่พึ่งและศรัทธาของญาติโยมในปัจจุบันนี้ และในปีถัดมาครอบครัว อินทรศฤงคาร ก็ได้มีบุตรชายหญิงเพิ่มขึ้นอีก 3 คน คือ นางจวง , นายจวน , และนางแจก รวมเบ็ดเสร็จ 4 คน ด้วยกัน


    กาลเวลาล่วงเลยมาเมื่อเด็กชาย กระจ่าง อินทรศฤงคาร มีอายุครบเกณฑ์ เรียนหนังสือ บิดามารดา ก็ได้ส่งให้เข้าเรียนที่โรงเรียนดอนมะตูม ต. น้ำรอบ อ. พุนพิน เมื่อจบชั้นประถมปีที่ 4 แล้วก็ได้เข้าเรียนอยู่ที่วัดน้ำรอบ โดยอาศัยว่าบ้านก็อยู่ไม่ไกลจาดวัดเท่าไหร่ ว่างจากการเรียนก็เดินกลับไปบ้านช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวน บางครั้งก็ไม่กลับ กระทั่งอายุได้ 13 ปีเต็ม ก็จำต้องออกจากวัดน้ำรอบ ด้วยบิดาซึ่งเปรียบเสมือนเสาหลักของครอบครัวเสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน ตนเองในฐานะพี่คนโตต้องเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ ช่วยแม่ทำงานและเลี้ยงน้องควบคู่ไปด้วย เวลาที่จะไปเล่นกับเพื่อนฝูงในวัยเดียวกันแทบไม่มีเลย


    7 ปี ให้หลังพออายุได้ 20 ปี ครอบครัวที่มีแม่เป็นเสาหลักก็ล้มลงอีกคน ความตั้งใจที่จะบวชให้แม่เห็นชายผ้าเหลืองก็เป็นอันหยุดชะงัก ต้องเป็นธุระดูแลไร่นาเทือกสวนปันส่วนให้น้องๆ ช่วยกันดูแล เมื่อได้จัดการ จัดสรรปันส่วนตรงนี้เสร็จสรรพ ตนเองก็เดินหน้ามุ่งสู่ความสงบทันที ตามที่ได้ตั้งใจไว้ ตั้งแต่ก่อนแม่จะสิ้น


    สู่ร่มกาสาวพัสตร์


    ครั้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2493 ขณะอายุย่าง 22 ปี นายกระจ่าย อินทรศฤงคาร ก็ได้เข้าบวชอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดวิหาร ต. น้ำรอบ อ. พุนพิน จ. สุราษฎร์ธานี โดยมีท่านเจ้าคุณธรรมปรีชาอุดม วัดตรณาราม เจ้าคณะจังหวัดขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาสว่าง ปทุโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาเฟื้อ อุตรญาโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ตรงกับเวลา 16.19 น. ได้รับฉายาว่า “อนุภาโส” บวชแล้วพระจ่าง (กระจ่าง) อนุภาโส ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดน้ำรอบ เพื่อปฏิบัติอุปัฎฐากอาจารย์ ก็คือ พระครูปิยศีลวัตร (นึก) เจ้าอาวาส วัดน้ำรอบ ขณะนั้น ซึ่งท่านได้เคยให้ความเมตตาเอ็นดู สมัยที่พระจ่างยังเป็นเด็กวัดอยู่ในความดูแลของท่านขณะยังไม่ได้อุปสมบท อยู่ปรนนิบัติอาจารย์และร่ำเรียนพระธรรมวินัยแล้วท่านก็สอบได้นักธรรมชั้นตรี ในพรรษาแรกนั่นเอง พรรษาที่สาม ก็สอบได้นักธรรมชั้นโท และพรรษาที่สี่ ก็สอบได้นักธรรมชั้นเอก


    ศึกษาวิชาไสยเวท


    ร่ำเรียนได้ดีกรีนักธรรมชั้นเอกแล้ว พระภิกษุจ่าง ซึ่งยังเป็นหนุ่มตอนนั้นก็ได้ขออนุญาตพระอาจารย์ (พระครูปิยศีลวัตร) ออกเดินทางไปแสวงหาวิชาความรู้ ท่านบอกว่า สุราษฎร์ธานี ยังไม่มีสำนักไสยเวท ให้เรียน อย่างจริงจังนัก ทราบข่าวว่าที่วัดท่าเสม็ด อ.ชะอวด จ. นครศรีธรรมราช มีพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านไสยศาสตร์มากอยู่รูปหนึ่ง ชื่อ หลวงพ่อว่อน (พระครูวิสาท) จึงมีความสามารถอย่างแรงกล้าที่จะไปขอมอบตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาวิชาคาถาอาคมต่างๆ เมื่อพระอาจารย์ (พระครูปิยศีลวัตร) ไม่ขัดข้องท่านก็เดินทางเข้าสู่วัดท่าเสม็ดทันที และได้เรียนวิชาจากหลวงพ่อว่อน จนจบสิ้น หลังจากนั้นก็ได้กราบลาหลวงพ่อว่อน และในปี 2497 ได้เดินทางไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมที่สำนักเขาอ้อ โดยได้สมัครตัวเข้าเป็นศิษย์กับพ่อท่านปาน วัดเขาอ้อ และได้ศึกษาวิชาอาคม จาก พ่อท่านปาน จนหมดสิ้น เป็นเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งตอนนั้นได้ร่ำเรียนวิชาไปพร้อมกับศิษย์รุ่นพี่อย่าง ท่านพลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งก็เป็นศิษย์สำนักเดียวกัน หลังจากสอบนักธรรมชั้นเอกได้ ก็กลับมาสุราษฎร์ธานี มาอยู่ที่วัดน้ำรอบ และได้เริ่มสร้างวัดเกาะกลาง ในปี 2498 และไปศึกษาฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐาน วัดพระบรมธาตุไชยา


    ปี 2499 กลับมาเปิดสำนักปฏิบัติ ณ. วัดน้ำรอบ


    ปี 2500 มาจำพรรษา ณ วัดเกาะกลาง ได้เริ่มสร้างสะพานข้ามมาวัด ตั้งแต่นั้นมาได้สอนกัมมัฎฐาน


    ปี 2501 เริ่มออกธุดงค์ ไปทางฝ่ายใต้ พังงา , ภูเก็ต , กระบี่ , ตรัง เป็นเวลาหนึ่งเดือน หลังจาก นั้นได้กลับมาทำงานที่วัดเกาะกลาง


    ปี 2502 เข้าประชุมเรื่อง วิปัสสนากัมมัฎฐาน ณ. วัดมหาธาตุ สอนนักธรรมต่อควบคู่กับทำงานไปด้วย หลังจากนั้นก็ออกธุดงค์ ประจำ โดยเดินธุดงค์ กับพระประมาณ 4-5 รูป หลังจากนั้นไปปีละครั้ง เป็นคณะกับสมเด็จพุทธฒาจารย์ (อาสพระ) ทุกปี จนท่านสิ้นบุญ ก็ได้เดินธุดงค์ ตามลำดับต่อมา ธุดงค์ไกลที่สุดก็ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปจนถึงจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เวลาในการธุดงค์ ประมาณ 3 เดือน จนถึง พ.ศ. 2524 พระอาจารย์ปิยศีลวัตร (นึก) เจ้าอาวาสวัดน้ำรอบถึงมรณะภาพไป หลวงพ่อกระจ่างต้องไปอยู่วัดน้ำรอบ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ในระหว่างนั้นไปร่วมประชุมเรื่องกัมมัฎฐานบ้าง และร่วมทำพิธีพุทธาภิเษกอยู่บ่อยครั้ง และ สร้างวัดน้ำรอบมาเป็นเวลาประมาณ 10 ปีเศษ เสนาเสนาะมีพอประมาณแล้ว ได้กลับไปจำวัด ที่วัดเกาะกลาง ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิด สร้างมาประมาณ 2 ปีเศษจนถึงปัจจุบันก็กำลังสร้างยังไม่สำเร็จ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1162.JPG
      IMG_1162.JPG
      ขนาดไฟล์:
      321 KB
      เปิดดู:
      421
  6. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    การเดินทางไปสุราษฎร์ธานีครั้งนี้ ต้องขอบคุณพี่ธนรัตน์ที่ช่วยประสานงานที่พัก และการเดินทางทั้งหมด

    จากที่คุยเห็นว่าสนใจวัตถุมงคลที่ทันหลวงปทิมปลุกเสก ผมจะส่งลูกอมเทียนมัทรี แสดงถึงน้ำใจนะครับ
     
  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]





    ประวัติ...พระครูสุคนธวิศิษฏ์(หลวงพ่อเพริ้ม โกสิโย) หรือที่ผู้คนที่เคารพศรัทธาต่อท่าน เอ่ยนามท่านว่า พ่อท่านเอ็น หรือ หลวงพ่อเอ็น กันจนติดปาก แต่เดิมพื้นเพท่านเป็นชาวอำเภอคีรีรัฐนิคม ท่านได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งตรงกับ วันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะแม นามเดิม เพริ้ม ทองสัมฤทธิ์ นามบิดา นายพัฒน์ ทองสัมฤทธิ์ มารดา นางพร้อม ทองสัมฤทธิ์ ภูมิลำเนา หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

    ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสถิตคีรีรมย์ (วัดเขาราหู) ในสมณศักดิ์นามว่า พระครูสุคนธวิศิษฏ์ ทั้งยังเป็นพระธรรมฑูต และครูปริยัติธรรม

    การศึกษาในวัยเยาว์ท่านได้สำเร็จการศึกษาระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียน บ้านย่านยาว อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔

    ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดปราการ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ซึ่งตรงกับวันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ ท่านพระครูสถิตสันตคุณ ซึ่งขณะนั้นปกครองวัดสถิตคีรีรมย์ อยู่

    ต่อมาท่านได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดฑีฆาราม อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคมพ.ศ.๒๔๙๔โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ ท่านพระครูสถิตสันตคุณ (หลวงพ่อพัว เกสโร) วัดสถิตคีรีรมย์ ตำบลย่านยาว อำเภอคีรีรัฐนิคม มีพระกรรมวาจาจารย์คือ ท่านพระครูปราการสมานคุณ วัดปราการ ตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม และมีพระอนุสาวนาจารย์คือ ท่านพระครูมนูญธรรมธาดา วัดถ้ำสิงขร ตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม

    หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้พากเพียรศึกษาหาความรู้ จนสามารถสอบได้ นักธรรมเอก ในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ณ สำนักเรียนวัดปราการ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

    ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระสมุห์เพริ้ม และในปี พ.ศ.๒๕๐๘ ท่านได้รับความไว้วางใจ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส วัดสถิตคีรีรมย์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดสถิตคีรีรมย์

    ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ท่าน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ท่านก็ได้รับพระราชทานสมณศักดื์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท

    ในงานด้านการปกครอง ท่านได้ยึดถือกฎระเบียบในการปกครองวัด ตามหลักพระธรรมวินัย นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ใฝ่ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ โดยท่านได้เข้ารับการ ศึกษาพิเศษ เข้ารับการอบรมพระธรรมฑูต พระธรรมถึก พระครูแผนใหม่ จนมีความชำนาญในการบรรยายธรรม ซึ่งได้รับนิมนต์เป็นผู้บรรยายธรรม ในที่ประชุมประจำอำเภออยู่เสมอ อีกด้วย ท่านยังเป็นผู้รู้ในธรรมอันเห็นได้จาก ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ท่านได้ เป็นครูสอนปริยัติธรรม แผนกธรรม สำนักเรียน(ศาสนศึกษา) วัดปราการ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฏร์ธานีและในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านได้เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษา วัดสถิตคีรีรมย์ (แผนกนักธรรม) อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งท่านได้ให้การสนับสนุนการศึกษา แก่บรรดาภิกษุสามเณร เเป็นอย่างดีด้วยีจะมีผู้สำเร็จการศึกษา นวกภูมิ และแผนกธรรม อยู่โดยตลอด

    ในส่วนของงานด้านการเผยแผ่พระศาสนา ท่านได้เป็นผู้นำชุมชน ในการประกอบพิธีทางศาสนา ในวันสำคัญต่างๆเสมอมา ได้มีการจัดอบรมแก่บุคคลต่างๆ ทั้งอบรมศีลธรรมแก่นักเรียน ข้าราชการ ตลอดจนผู้หลงผิดติดยา ให้กลับตัวดำเนินชีวิตในทาง
    ที่ถูก และจัดให้มีการอบรมพระนวกะทุกปี

    ในงานด้านสาธารณูปการ ท่านได้ทำการทนุบำรุงวัดสถิตคีรีรมย ์เพื่อให้สมกับเป็นวัดที่จะเป็นหน้าเป็นตาของชุมชน ดังเจตนา
    ของ ท่านพระครูสถิตสันตคุณ (หลวงพ่อพัว เกสโร) ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เริ่มก่อตั้งวัด โดยที่ผ่านมาท่านได้ดำเนินการ ก่อสร้าง
    บันไดขึ้นเขา อีกทั้งสร้างกุฏิพระสงฆ์และแม่ชีเพิ่มจากเดิม ได้สร้างกำแพงกำหนดเขตวัดและปรับปรุงทัศนียภาพของวัดให้ดูงามตา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1165.JPG
      IMG_1165.JPG
      ขนาดไฟล์:
      269.6 KB
      เปิดดู:
      179
    • IMG_1164.JPG
      IMG_1164.JPG
      ขนาดไฟล์:
      321.8 KB
      เปิดดู:
      127
  8. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ก่อนไป ลูกบุญธรรมอาจารย์ประจวบ คงเหลือได้เตือนผมว่า ไปพ่อท่านเอ็น ระวังเสียเที่ยวนะ ท่านไม่ค่อยเสกพระนอกวัดง่ายๆ ท่านดูคนก่อนว่าเจตนาดีมั๊ย

    ผมบอกว่า ไม่ต้องห่วงครับ ผมมั่นใจ

    พ่อท่านเอ็นได้ยกพานครู อธิษฐานเชิญครูก่อนการปลุกเสก ได้จุดเทียน ธูปบูชาพระรัตนตรัยจากนั้นนั่งปรก ระหว่างการปลุกเสกผมก็เดินไปดูวัตถุมงคลที่ตู้ เห็นที่วัดเหลือน้อยแล้ว

    หลังจากลงจากเขาราหู
    ในรถได้มีการสนทนากันว่า......

    เมื่อสักครู่ได้ยินเสียงดังจากในกล่องหรือไม่ ?

    พี่ทหาร เพื่อนพี่ธนรัตน์ทั้ง สามคนต่างได้ยินกันทุกคน เป็นเสียงคลุกคลิกๆ

    มีผมคนเดียวไม่ได้ยิน


    ถ้าไม่ใช่หูฝาด ก็สรุปความได้เลยว่า

    "ปลุกเสกจนพระดิ้นแล้ว"
     
  9. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    อ่านเฉยๆไม่แสดงความคิดเห็น ผมจะเลิกเอาพระไปเสกให้นะครับ
    ว่าจะเอาขึ้นไปเสกสายเหนือ ให้เจริญบารมี สามสิบทัศ และไจยะเบงชร ให้อยู่นะเนี่ย
     
  10. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    UPDATE ล็อกเกตพระแก้วมรกต ผ่านการพุทธาภิเษกแล้วดังนี้


    พิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก-มังคลาภิเษก
    1. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอินทาราม วันที่ 15 พ.ย. 2552
    2. พิธีพุทธาภิเษก พญาวานร วัดบางพลีน้อย วันที่ 29 พ.ย. 2552
    3. พิธีพุทธาภิเษก วัดบางแคน้อย จ.สมุทรสงคราม วันที่ 6 ธ.ค. 2552
    4. พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรสถานมงคล(อดีตวัดพระแก้ววังหน้า) วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    5. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญครบรอบมรณภาพหลวงปู่หลุย จันทสาโร วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    6. พิธีมหาพุทธาเษก "โครงการสร้างพระในใจ เทิดไท้องค์ราชันย์" วัดโฆสมังคลาราม จ.นครพนม วันที่ 26-28 ธ.ค. 2552
    7. พิธีสวดสักขีและเจริญพระพุทธมนต์จากพระสุปฏิปันโนสายวัดป่ากรรมฐาน 92 รูป วัดธรรมมงคล วันที่ 10 มกราคม 2553 (ด้วยความกรุณาอย่างหาที่สุดไม่ได้ของท่านพระอาจารย์ไม อินทสิริ ถือนำเข้าพิธี)
    8. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลจัดสร้างโดยโรงพยาบาลภูมิพล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553
    9. พิธีสมโภชน์และพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ วัดแคราชานุวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553
    10. พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวิหารโยงสายสิญจน์จากหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด) วันที่ 26 มีนาคม 2553
    11. พิธีพุทธาภิเษกล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ วัดป่าสันติสามัคคีธรรม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 4 เมษายน 2553 พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    - หลวงปู่ใสย ปัญญพโล วัดเขาถ้ำตำบล ประธานจุดเทียนชัย
    - หลวงตาเอียน วัดป่าโคกม่อน อริยเจ้าผู้เร้นกาย พระอาจารย์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ดับเทียนชัย
    - หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์ไม อินทสิริ
    - พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่
    - หลวงปู่บุญมา วัดถ้ำโพงพาง จ.ชุมพร
    - พระอาจารย์แดง วัดลุมพินี จ.พังงา
    - หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา
    - พระอธิการใจ วัดพระยาญาติ
    - หลวงปู่บุญมี วัดถ้ำเต่า
    ฯลฯ
    12. พิธีหล่อพระอัครสาวกและพระอรหันตสาวก วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี วันที่ 1 พ.ค. 2553 (เข้าพิธีเฉพาะพระปิดตาที่อุดหลัง)
    13. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ในงานประจำปีของชมรมรักษ์พระธาตุแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
    14. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดตาลเอน(วัดสาขาของวัดอัมพวัน สิงห์บุรี) จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 20 ตุลาคม 2553
    15. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งชินบัญชรเพ็ชรกลับเหนือโลกและเหรียญหล่ออจิณไตย หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน ณ คณะเวฬุวัน อ.พยุห์ จ.ศรีษะเกษ วันที่ 6 พ.ย. 2553
    16. พิธีพุทธาภิเษกพระปิดตาเมตตามหาลาภ วัดทุ่งเศรษฐี วันที่ 21 พ.ย. 2553(วันลอยกระทง)
    พระพรหมสุธี วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย
    เจริญจิตตภาวนาโดย
    พ่อท่านเลิบ วัดทองตุ่มน้อย จ.ชุมพร
    หลวงปู่ครูบาสิงโต วัดดอยแก้ว จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต จ.อยุธยา
    ครูบาคำเป็ง อาศรมสุขาวดี จ.กำแพงเพชร
    หลวงพ่อทอง วัดไร่กล้วย จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี
    หลวงปู่ปั้น วัดนาดี จ.สระบุรี
    หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก จ.สระบุรี
    หลวงพ่อบุญ วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเจริญ วัดเกาะอุทการาม จ.นครราชสีมา
    พระครูคัมภีร์ปัญญาวิกรม วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ
    พระครูญาณวิรัช วัดตะกล่ำ กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อชวน วัดบ้านบึงเก่า จ.บุรีรัมย์
    พระมหาเนื่อง วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี กรุงเทพฯ

    17. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูป ณ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ วันที่ 4 ธันวาคม 2553 (หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ จุดเทียนชัย หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ดับเทียนชัย)

    18. พิธีสวดบูชานพเคราะห์และพุทธาภิเษกท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันที่ 26 ธันวาคม 2553 พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    ๑. หลวงปู่คง วัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี
    ๒. หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
    ๓. หลวงปู่ยวง วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี
    ๔. หลวงพ่ออุดม วัดประทุมคณาวาส จ.สมุทรสงคราม
    ๕. หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๖. หลวงพ่อไพศาล วัดทรงธรรมวรวิหาร จ.สมุทรปราการ
    ๗. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    ๘. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี
    ๙. หลวงพ่อสิริ สิริวฒฺฑโน
    ๑๐. หลวงพ่อเมียน จ.บุรีรัมย์
    ๑๑. หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี


    19. พิธีพุทธาภิเษกเหรียญครบรอบอายุ 93 ปี หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วันที่ 13 มกราคม 2554

    20. พิธีพุทธาภิเษกพระสามสมัย วัดประดู่บางจาก กรุงเทพฯ วันที่ 26 มีนาคม 2554

    21. พิธีมหาพุทธาภิเษก พระเจ้าใหญ่ิอินทร์แปลงรุ่นมหาบารมีโชคดีปลอดภัย ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) ต่อหน้าพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
    นั่งปรกโดย
    1.หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู
    2.หลวงปู่ลี ถาวโร วัดผาสุการาม
    3.หลวงปู่อ่่อง วัดสิงหาญ
    4.หลวงพ่อบุญชู (ญาท่านเกษม) วัดเกษมสำราญ
    5.หลวงปู่คล้าย วัดบ้านกระเดียน
    6. หลวงปู่บุญรอด วัดกุดคูณ
    7. หลวงปู่เก่ง วัดกิตติราชเจริญศรี

    22. พิธีพุทธาภิเษกและสมโภชน์พระเจ้าใหญ่องค์หลวง วัดหลวง จ.อุบลราชธานี วันที่ 23 เมษายน 2554 (ฤกษ์เสาร์ห้า)

    1. หลวงปู่อ่อง วัดสิงหาญ
    2. หลวงปู่หนู วัดบ้านหนองหว้า
    3. หลวงปู่อำคา วัดบ้านตำแย
    4.หลวงปู่เส็ง วัดปราสาทเยอร์ใต้
    5. หลวงปู่บุญรอด วัดกุดคูณ
    6.พระสมุห์วิศิษฐ์ศักดิ์ กลฺยาโณ วัดบูรพา(ธ)
    7.ญาท่านเกษม วัดเกษมสำราญ
    8. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู
    9. พระราชธรรมโกศล (สวัสดิ์) วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
    10.พระราชธีราจารย์ (ศรีพร) วัดมณีวนาราม
    ฯลฯ
    ในการนี้เกิดเหตุการณ์พิเศษคือ พระเถระสำคัญของพม่าได้เดินทางมารับการถวายปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ จึงมีการนิมนต์ท่านอธิษฐานจิตเป็นกรณีพิเศษกล่าวคือ
    1. พระสังฆนายกของสหภาพพม่า
    2. พระอาจารย์ภัททันตะ วังสะ ปาละ ลังการะตรีปิฏกะธร ตรีปิฎกโกวิทะ ตรีปิฎกะธรรมภัณฑาคาริกะ พระไตรปิฏกธรผู้จดจำพระไตรปิฎกได้ 84000 พระธรรมขันธ์

    23. งานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลหลวงปู่ทิม อิสริโก ณ พิพิธภัณฑ์บุญญาภิรัต จ.ชลบุรี วันที่ 29 พฤษภาคม 2554*
    รายนามพระเถราจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต
    1. หลวงปู่นาม วัดน้อยชมพู่
    2. หลวงตาเร่ง วัดดงแขวน
    3. หลวงพ่อแผน วัดหนองติม(ศิษย์เอกหลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง)

    24. งานสืบชะตาหลวงและพิธีมหาพุทธาภิเษก พระกริ่งเศรษฐีล้มลุก วัดร้องขุ้ม วันที่ 16 มิถุยายน 2554 รายนามพระเถราจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต
    1. พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง) วัดพระธาตุศรีจอมทอง
    2. หลวงปู่หา วัดป่าสักกวัน จ.กาฬสินธุ์ (หลวงปู่ไดโนเสาร์)
    3. หลวงปู่ฟู วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา
    4. พ่อท่านหวาน วัดสะบ้าย้อย จ.สงขลา
    5. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว จ.อยุธยา
    6. พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี
    7. ครูบาตั๋น วัดย่าปาย จ.เชียงใหม่
    8. หลวงปู่บุญปั๋น วัดป่าแดด จ.เชียงใหม่
    9. หลวงปู่บุญมา วัดศิริชัยนิมิต
    10. ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่
    11. หลวงปู่ครูบาสิทธิ วัดปางต้นเดื่อ จ.เชียงใหม่
    12. หลวงปู่ครูบาจำรัส วัดดอยน้อย จ.เชียงใหม่
    13. หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน จ.เชียงใหม่
    14. หลวงปู่ครูบาอินถา วัดยั้งเมิน จ.เชียงใหม่
    15. พระราชปริยัติโยดม(โอภาส) วัดจองคำ จ.ลำปาง
    16. หลวงปู่ครูบาบุญมา วัดบ้านสามัคคีธรรม จ.ลำปาง
    17. หลวงปู่ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ จ.ลำปาง
    18. หลวงตาวรงคต วิริยธโร วัดพุทธพรหมปัญโญ จ.เชียงใหม่
    19. หลวงปู่ครูบาพรรณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน
    20. พระครูไพศาลพัฒนโกวิท(เทือง) วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่
    21. หลวงปู่ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน
    22. หลวงปู่ครูบาก๋องแก้ว กัลยาโณ วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน
    23. หลวงปู่ครูบาธรรมสร สิริจันโท วัดตี๊ดใหม่ จ.น่าน
    24. หลวงปู่ครูบาอ่อน วัดสันต้นหวีด จ.พะเยา
    25. หลวงปู่ครูบาครอง วัดท่ามะเกว๋น จ.ลำปาง
    26. หลวงปู่ครูบาคำแบน วัดวังจำปา จ.เชียงใหม่
    27. พระราชเจติยาจารย์ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่
    28. หลวงปู่ครูบาคำปัน วัดพระธาตุม่อนเปี๊ยะ จ.เชียงใหม่
    29. หลวงปู่ครูบาอิ่นคำ วัดไชยสถาน จ.เชียงใหม่
    30. ครูบาผดุง วัดป่าแพ่ง จ.เชียงใหม่
    31. ครูบาอินทร วัดสันป่ายางหลวง จ.เชียงใหม่
    32. หลวงปู่ครูบาสม วัดปางน้ำฮ้าย จ.เชียงราย
    33. ครูบาเหนือชัย วัดถ้ำอาชาทอง จ.เชียงราย
    34. หลวงปู่ครูบาสุข วัดดงป่าหวาย จ.เชียงใหม่
    35. ครูบาอริยชาติ วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย
    36. พระอาจารย์บุญรอด วัดป่าเมืองปาย
    37. ครูบาสุบิน สำนักสงฆ์ร้านตัดผม จ.ชุมพร
    38. หลวงปู่กวง วัดป่านาบุญ จ.เชียงใหม่
    39. หลวงปู่ชม วัดป่าท่าสุด จ.เชียงใหม่
    40. หลวงปู่พระครูธรรมาภิรม วัดน้ำบ่อหลวง จ.เชียงใหม่
    41. หลวงปู่ครูบาคำมูล วัดกู่คำ จ.เชียงใหม่
    42. ครูบาเมืองใจ๋ วัดรังษีสุทธาราม จ.เชียงใหม่
    43. ครูบาญาณลังกา วัดดอยโพธิญาณ
    44. ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน
    45. หลวงปู่ครูบาอินตา วัดศาลา
    46. ครูบาพรชัย วัดพระพุทธบาทสี่รอย
    47. พระโสภณธรรมสาร วัดป่าดาราภิรมณ์
    48. หลวงพ่อบุญมี วัดใจ จ.เชียงใหม่
    49. หลวงปู่ครูบามนตรี วัดพระธาตุสุโทน จ.แพร่
    50. หลวงพ่อสุแก้ว วัดป่าเจดีย์เหลี่ยม
    51. พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์
    52. พระครูพิพิธธรรมประกาศ วัดจอมแจ้ง
    53. หลวงพ่อถวัลย์ วัดพระธาตุเจดีย์
    54. หลวงปู่ครูบาบุญยืน วัดสบล้อง
    55. หลวงปู่ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก
    56. หลวงปู่ครูบาลือ วัดห้วยแก้ว
    57. หลวงปุ่ครูบาอุ่น วัดโรงวัว
    58. หลวงปู่ครูบานะ วัดดอยอีฮุย
    59. หลวงปู่ครูบาอ้าย วัดเวฬุวัน
    60. ครูบาจันทรังษี วัดกู่เต้า
    61. หลวงปูพ่อหวุนเจ้าต๋าแสง วัดคุ้งสะแก จ.แม่ฮ่องสอน
    62. หลวงปู่ประเสริฐ วัดพระพุทธบาทเวียงเหนือ
    63. ครูบาสาย วัดร้องขุด
    64. หลวงปู่ครูบาบุญยัง วัดห้วยน้ำอุ่น
    65. พระอาจารย์ต้น ฐานวีโร วัดร้องธาร


    25. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของหลวงปู่เอ้บ วัดสกุณาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท วันที่ 25 มิถุนายน 2554 มีพระเถราจารย์เข้าร่วมปรกพุทธาภิเษกดังนี้
    1. หลวงพ่อเสน่ห์ วัดพันสี
    2. หลวงพ่อมี วัดม่วงคัน
    3. หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ
    4. หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก
    5. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    6. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    7. หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ
    8. หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร
    9. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    10. หลวงพ่อเกาะ วัดท่าสมอ
    11. หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี
    12. หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ
    13. หลวงพ่อพยนต์ วัดโพธิ์บัลลังก์
    14. หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
    15. หลวงพ่อมหาอุกฎษณ์ วัดสกุณาราม
    16. หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย
    17. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู
    18. หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้
    19. หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่

    26. พิธีพุทธาภิเษก ณ ถ้ำฉัตรทัณฑ์บรรพต วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง วันที่ 26 กรกฏาคม 2554 (เข้าพิธีเฉพาะผงไม้เทพธาโร)
    พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง พัทลุง
    พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม พัทลุง
    หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน พัทลุง
    หลวงพ่อห้อง วัดเขาอ้อ พัทลุง
    พ่อท่านอุทัย วัดดอนศาลา พัทลุง
    หลวงพ่อสลับ วัดป่าตอ พัทลุง
    หลวงพ่อเหวียน วัดพิกุลทอง พัทลุง
    หลวงพ่อเงิน วัดโพรงงู พัทลุง
    หลวงพ่อเสถียร ฐานจาโร วัดโคกโดน จ.พัทลุง


    27. พิธีพุทธาภิเษก เหรียญ ที่ รฤก ใน วันที่ 6 สิงหาคม 2554 พระเกจินั่งปรก มีรายนามต่อไปนี้

    1.หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ
    2.หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง
    3.หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียงวนาราม
    4.หลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี
    5.หลวงพ่ออุดม วัดปทุมคนาวาส
    6.หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม
    7.หลวงพ่อสิริ วัดตาล
    8.หลวงปู่บุญ วัดทุ่งเหียง
    9.หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ
    10.หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว
    11.หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี

    28. พิธีมหาพุทธาภิเษก พระสุก พระเสริม พระใส รุ่น สามบารมี วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย วันที่ 24 กันยายน 2554 (เฉพาะพระนั่งปรกชุดแรก)

    29. พิธีพุทธาภิเษกขุนแผนรุ่นเจดีย์ทองและรุ่นพิชิตมาร วัดละหารไร่ ระยอง
    วันที่ 1 ตุลาคม 2554

    พระเกจิที่ร่วมปลุกเสก

    1.หลวงปู่ปัญญา วัดหนองผักหนาม ชลบุรี
    2.หลวงพ่อเจียง วัดเนินหย่อง ระยอง
    3.หลวงพ่อเจิม วัดหนองน้ำขุ่น ระยอง
    4.หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ ระยอง
    5.หลวงพ่ออ่อง วัดเขาวงกต จันทบุรี
    6.หลวงพ่อสวาท วัดอ่าวหมู จันทบุรี
    7.พระอาจารย์วีระ วัดพลับบางกะจะ จันทบุรี
    8.หลวงพ่อแผน วัดหนองติม สระแก้ว
    9.ครูบามงคล วัดบางเบน พิจิตร

    30. พิธีเทวาภิเษกพระพรหมจักรเพชร วัดดอนยานนาวา วันที่ 2 ตุลาคม 2554
    เกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธี
    1. พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขันธ์
    2. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    3. หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่
    4. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
    5. หลวงพ่อสมชาย วัดปริวาส
    6. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    7. หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์
    8. หลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม
    9. พระพรหมโมลี วัดบรมสถล














    พิธีปลุกเสก/อธิษฐานจิตเดี่ยว
    เรียงตามวาระดังนี้
    1. พระใบฎีกายวง สุภัทโท วัดหน้าต่างใน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    2. พระครูสมบูรณ์จริยธรรม(แม้น) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    3. พระครูประโชติธรรมวิจิตร(เพิ่ม) วัดป้อมแก้ว อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา (2 วาระ)
    4. พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ(พูน) วัดบ้านแพน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
    5. พระมงคลนนทวุฒิ(เก๋) วัดปากน้ำ อ.เมือง จ.นนทบุรี
    6. พระครูเกษมวรกิจ(วิชัย) วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย (2 วาระ)
    7. หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (2 วาระ)
    8. พระราชวรคุณ(สมศักดิ์) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    9. พระครูอุดมธรรมสุนทร(แปลง) วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (2 วาระ)
    10. หลวงปู่เณรคำ(วิรพล) ขันติโก วัดป่าขันติธรรม อ.กัณทรารมย์ จ.ศรีษะเกษ
    11. พระอาจารย์สุมโน วัดถ้ำสองตา อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (2 วาระ)
    12. หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดโนนแสนคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร (2 วาระ)
    13. หลวงปู่ผ่าน ปัญญาทีโป วัดป่าปทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    14. พระอาจารย์เจริญ ฐานยุตโต วัดโนนสว่าง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    15. หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดวุฒิราษฏร์(บ้านฟ่อน) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    16. พระครูศีลพิลาศ(จันทร์แก้ว) วัดศรีสว่าง(วัวลาย) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    17. พระครูวิสุทธิศีลสังวร(สาย) วัดร้องขุด อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    18. หลวงปู่ดี ธัมมธีโร วัดเทพากร เขตบางพลัด กรุงเทพฯ (2 วาระ)
    19. พระครูปราสาทพรหมคุณ(หงษ์) สุสานทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
    20. พระครูไพบูลย์สิกขการ(หวาน) วัดสะบ้าย้อย อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา
    21. พระราชสังวรญาณ(ไพบูลย์) วัดอนาลโย อ.เมือง จ.พะเยา (2 วาระ)
    22. หลวงปู่บุญมา คัมภีรธโร วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (4 วาระ)
    23. พระครูวิมลภาวนคุณ(คูณ) วัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (5 วาระ)
    24. หลวงพ่อเปรื่อง เขมปัญโญ วัดบางจาก อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    25. หลวงปู่โปร่ง ปัญญธโร วัดตำหนักเหนือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    26. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สวนอาหารสวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    27. พระครูปราโมทย์(อ้อน) วัดบางตะไนย์ อ.เมือง จ.ปทุมธานี
    28. หลวงพ่อสินธุ์ ฐิตาโก วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    29. หลวงตาวาส สีลเตโช วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    30. หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.หนองคาย
    31. หลวงพ่อพระมหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ อ.แม่สอด จ.ตาก
    32. พระอาจารย์ประกอบบุญ สิริญาโณ วัดมหาวัน อ.เมือง จ.ลำพูน
    33. พระครูสุวรรณศาสนคุณ(นาม) วัดน้อยชมภู่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี (3 วาระ)
    34. พระครูวิบูลโพธิธรรม(น่วม) วัดโพธิ์ศรีเจริญ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
    35. หลวงพ่อมนตรี ขันติธัมโม วัดป่าวิสุทธิธรรม อ.บ่อไร จ.ตราด
    36. พระครูวิสิษฐ์ชโลปการ(เกลี้ยง) วัดเนินสุทธาวาส อ.เมือง จ.ชลบุรี (2 วาระ)
    37. หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร (2 วาระ)
    38. หลวงปู่วิไล เขมิโย วัดถ้ำพญาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ (4 วาระ)
    39. พระอาจารย์สมหมาย อัตตมโน วัดสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
    40. หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (2 วาระ)
    41. พระญาณสิทธาจารย์(ทองพูล) วัดสามัคคีอุปถัมป์(ภูกระแต) จ.บึงกาฬ
    42. หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต วัดถ้ำคูหาวารี อ.วังสะพุง จ.เลย (2 วาระ)
    43. พระอาจารย์อุทัย สิริธโร วัดถ้ำพระภูวัว อ.เซกา จ.หนองคาย
    44. หลวงพ่อปริ่ง สิริจันโท วัดโพธิ์คอย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    45. พระครูประสิทธิ์ อัคคธัมโม วัดโฆสมังคลาราม อ.ปลาปาก จ.นครพนม
    46. หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ที่พักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่(2 วาระ)
    47. พระครูถาวรศีลพรต(อินถา) วัดอินทราพิบูลย์ อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    48. พระครูโสภณสารคุณ(บุญมา) วัดศิริชัยนิมิตร อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
    49. ครูบาบุญเป็ง คัมภีโร วัดทุ่งปูน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    50. หลวงปู่ครูบาสิงห์แก้ว อัตถกาโม วัดปางกอง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
    51. ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง อ.บ้านธิ จ.ลำพูน
    52. หลวงปู่ครูบาบุญมา อนิญชิโต วัดบุปผาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    53. พระอุดมญาณโมลี(จันทร์ศรี) วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี (อายุ 100 ปี)
    54. พระอาจารย์สมบูรณ์ กันตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
    55. พระครูสันติวรญาณ(อ่ำ) ธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์
    56. พระครูกิตติอุดมญาณ(ไม) วัดป่าหนองช้างคาว อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี (3 วาระ)
    57. พระครูวิทิตศาสนกิจ(ไพโรจน์) สำนักสงฆ์ดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    58. หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (2 วาระ)
    59. หลวงปู่ลี ถาวโร วัดป่าหนองทับเรือ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก (3 วาระ)
    60. พระเทพเจติยาจารย์(วิริยังค์) วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
    61. หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร
    62. พระราชสิทธิมงคล(สวัสดิ์) วัดศาลาปูนวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    63. พระสุนทรธรรมานุวัตร(เอียด) วัดไผ่ล้อม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา (ปลุกเสกขณะเกิดสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553)
    64. หลวงพ่อวงศ์ สุภาจาโร วัดคำพระองค์ กิ่ง อ.เฝ้าไร่ หนองคาย (2 วาระ)
    65. พระมงคลศีลจาร(ทองอินทร์) วัดกลางคลองสี่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
    66. พระครูโสภณพัฒนาภิรม(บุญ) วัดทุ่งเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี (2 วาระ)
    67. พระครูวิจิตรธรรมารัตน์(ขวัญชัย) วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    68. พระธรรมสิงหบุราจารย์(จรัญ) วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    69. พระครูมงคลนวการ(ฉาบ) วัดศรีสาคร อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี (2 วาระ)
    70. หลวงพ่อเอิบ ฐิตตธัมโม วัดซุ้มกระต่าย (หนองหม้อแกง) อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
    71. พระครูวิจิตรชยานุรักษ์(พร้า) วัดโคกดอกไม้ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    72. พระครูปัญญาวิมล(แป๋ว) วัดดาวเรือง อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
    73. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    74. พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดสุวรรณจัตตุพลปัลนาราม(บางเนียน) อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช (อายุ 106 ปี)
    75. หลวงพ่อจำลอง เขมนัญโญ วัดเจดีย์แดง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    76. พระครูอนุศาสน์กิจจาทร(เขียว) วัดห้วยเงาะ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
    77. หลวงปู่เยี่ยม(สีโรจน์ ปิยธัมโม) วัดประดู่ทรงธรรม<!-- google_ad_section_end --> อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา (2 วาระ)
    78. พระครูประจักษ์ธรรมพิจารณ์(ข่าย) วัดหมูเปิ้ง อ.เมือง จ.ลำพูน
    79. พระครูบวรสุขบท(สุข) วัดป่าซางน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    80. พระครูอรรถกิจจาธร(อุ่น) วัดโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    81. หลวงปู่ครูบาบุญทา ยติกาโร วัดเจดีย์สามยอด อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    82. พระครูโพธิโสภณ(ศรีวัย) วัดหนองเงือก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    83. พระครูมงคลสาธุวัตร(ผาด) วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ (2 วาระ) (อายุ 100 ปี)
    84. พระครูวิมลศีลาภรณ์(พูลทรัพย์) วัดอ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี
    85. พระครูบวรชัยกิจ(ใสย) วัดเขาตำบล อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี
    86. พระอาจารย์เจริญ ญาณวุฑโฒ วัดถ้ำปากเปียง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ (2 วาระ)
    87. พระอาจารย์อุทัย ธัมมวโร วัดภูย่าอู่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (2 วาระ)
    88. พระครูโฆสิตโชติธรรม(บุญลือ) วัดคำหยาด อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง (2 วาระ)
    89. หลวงปู่ผาด อภินันโท วัดไร่ อ.วิเศษไชยชาญ้ จ.อ่างทอง
    90. พระครูพิศิษฏ์รัตโนภาส(เสียน) วัดมะนาวหวาน อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง (2 วาระ)
    91. หลวงปู่เปรี่ยม อติภัทโท วัดบ้านคลองทรายเหนือ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
    92. หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี เขตประเวศ กรุงเทพฯ
    93. พระครูสีหธัมมจารี(สิงห์โต) วัดดอยแก้ว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    94. ครูบาเลิศ จัตตภาโล วัดทุ่งม่านใต้ อ.เมือง จ.ลำปาง
    95. พระครูมงคลปุญญาคม(บุญมา) วัดบ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
    96. หลวงปู่ภัททันตธัมมานันทอัครบัณฑิต วัดท่ามะโอ อ.เมือง จ.ลำปาง
    97. พระอาจารย์พรสิทธิ์ ธัมมธโร วัดสว่างอารมณ์ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่<!-- google_ad_section_end -->
    98. พระครูสุภัททาจารคุณ(สิน) วัดละหารใหญ่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
    99. หลวงตาวรงคต วิริยธโร วัดถ้ำเมืองนะ จ.เชียงใหม่*
    100. พระครูพิบูลนวกิจ(คำบุ) วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (2 วาระ)
    101. พระครูสภิตธรรมมงคล(อ่อง) วัดสิงหาร อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี<!-- google_ad_section_end -->
    102. พระครูประภัศรญาณสุนทร(นิพนธ์) วัดกล้วย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    103. พระครูสิริภัทรกิจ(ศรี) วัดหน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี
    104. พระครูธีรพัชโรภาส(ผอง) วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
    105. หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน สวนป่าสมุนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ (ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    106. หลวงปู่ปัญญา ปัญญาธโร วัดหนองผักหนามราษฎร์บำรุง อ.หนองใหญ่ จ. ชลบุรี (อายุ 106 ปี)
    107. หลวงปู่เรือง อาภัสโร ปูชนียสถานธรรมเขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี
    108. พระครูจันทศิริธร(สารันต์) วัดดงน้อย อ.เมือง จ.ลพบุรี<!-- google_ad_section_end -->
    109. พระมงคลวรากร(ชาญ) วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
    110. พระครูปัญญาวราภรณ์(สมภาร) วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ หนองคาย
    111. พระครูธรรมสรคุณ (เขียน) วัดกระทิง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี
    112. พระญาณวิศิษฎ์(ทอง) วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
    113. พระครูอุดมภาวนาจารย์(ทองสุก) วัดอนาลโยพิทยาราม อ.เมือง จ.พะเยา
    114. พระราชภาวนาพินิจน์(สนธิ์) วัดพุทธบูชา เขตบางมด กรุงเทพฯ
    115. หลวงพ่อทองคำ กาญจวัณโณ วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย
    116. พระครูอุดมวีรวัฒน์ (คูณ) วัดอุดมวารี อ.พาน จ.เชียงราย
    117. พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ (อินทร) วัดสันป่ายางหลวง อ.เมือง จ.ลำพูน
    118. พระครูสุนธรธรรมโฆษิต(สุรเสียง) วัดป่าเลิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม
    119. หลวงพ่อบุญส่ง อุปสโม วัดทรงเมตตาราม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    120. พระอาจารย์เกษมสุข เขมสุโข วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ
    121. หลวงปู่เชิญ เกวียนอาศรมเทพนภา อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี<!-- google_ad_section_end -->
    122. พระครูภาวนาวิรัชคุณ(คง) วัดเขากลิ้ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
    123. พระครูวิวิตสมจาร(ผล) วัดหนองแขม(ธรรมิการาม) อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
    124. พระครูปทุมวรกิจ(ชำนาญ) วัดบางกุฎีทอง อ.บางกระดี่ จ.ปทุมธานี
    125. พระครูสิริโพธิรักษ์(ยวง) วัดโพธิ์ศรี อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
    <!-- google_ad_section_end -->126. หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล วัดสระมงคล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
    127. หลวงปู่พุทธา พุทธจิตโต วัดป่าหนองยาว อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    128. หลวงตาเก่ง ธนวโร วัดกิตติราชเจริญศรี อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    129. หลวงพ่อบุญรัตน์ กันตจาโร วัดโขงขาว อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    130. พระครูพิพิธปุญญาพิรัตน์(อินตา) วัดศาลา(น้ำแพร่) อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    131. พระราชญาณวิสุทธิโสภณ(ท่อน) วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย<!-- google_ad_section_end -->
    132. หลวงปู่สิริ อคฺคสิริ วัดละหาร อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
    133. พระครูพิพิธชลธรรม (หลาย) วัดนาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    134. พระครูสันติธรรมาภิรม(อ่อน) วัดสันต้นหวีด อ.เมือง จ.พะเยา
    135. พระครูอดุลปุญญาภิรม(ผัด) วัดหัวฝาย อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
    136. หลวงปู่ครูบาครอง ขัตติโย สำนักสงฆ์ท่าอุดม อ.เถิน จ.ลำปาง
    137. หลวงพ่อมหาสิงห์ วิสุทโธ วัดถ้ำป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
    138. พระครูธรรมาธรเล็ก วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    139. พระครูสังฆรักษ์(หลุย) วัดราชโยธา เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ
    140. พระวิมลศีลาจาร (อำนวย) วัดบรมนิวาส เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
    141. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(มานิตย์) วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
    142. พระราชพิพัฒนาทร (ถาวร) วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
    143. หลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
    144. หลวงปู่บู่ กิติญาโณ วัดสุมังคลาราม อ.เมือง จ.สกลนคร (ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    145. หลวงปู่สุธัมม์ ธัมมปาโล วัดเทพกัญญาราม อ.เมือง จ.สกลนคร
    146. พระครูโสภณสิริธรรม(สม) วัดโพธิ์ทอง อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง (2 วาระ)
    147. พระครูนิพัธธรรมรัต(เกลื่อน) วัดรางฉนวน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง
    148. พระครูสิริบุญเขต(มี) วัดม่วงคัน อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    149. พระครูประสูติโสภณ(เกลื่อน) วัดประดู่หมู๋ อ.นาทวี จ.สงขลา (อายุ 104 ปี)
    150. พ่อท่านแก้ว วัดสะพานไม้แก่น อ.จะนะ จ.สงขลา (อายุ 100 ปี)
    151. พระครูโอภาสธรรมรัตน์(แสง) วัดศิลาลอย อ.สทิงพระ จ.สงขลา (ผู้รวบรวมว่านสร้างหลวงปู่ทวดวัดพะโค๊ะ ปี 2506)
    152. พระครูธรรมพลาธร(พรหม) วัดพลานุภาพ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
    153. พระอาจารย์ภัทร อริโย วัดนาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา
    154. พระครูมนูญธรรมาภรณ์(อิ่นคำ) วัดมหาวัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    155. ครูบาคำปัน ญาณเถระ วัดพระธาตุม่อนเปี๊ยะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
    156. หลวงปู่ชม ฐานคุตโต วัดป่าท่าสุด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    157. หลวงปู่กวง โกสโร วัดป่านาบุญ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    158. พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    159. พระครูภาวนาภิรัต(สังข์) วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    160. พระอธิการเสน่ห์ จันทสโร วัดเชียงขาง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    161. พระราชพุทธิมงคล(ทองบัว) วัดโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
    162. ครูบาน้อย เตชปัญโญ วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    163. พระครูอุดมวิริยกิจ(แสง) วัดป่าฤกษ์อุดม อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    164. พระครูเกษมธรรมานุวัตร(ญาท่านเกษม) วัดเกษมสำราญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    165. หลวงปู่คล้าย อธิเตโช วัดราษฎร์นิยม(บ้านกระเดียน) อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    166. หลวงปู่จูมณี กังขามุตโต วัดธรรมรังสี อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
    167. หลวงปู่บรรยงค์ ทัสสะนะธัมโม วัดสว่างวารี(วัดตุงลุง) อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี
    168. พระครูพิบูลธรรมภาณ(โชติ) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    169. พระครูโกวิทพัฒโนดม(เกลี้ยง) วัดบ้านโนนแกด อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ (อายุ 104 ปี)
    170. หลวงปู่พา อธิวโร วัดบัวระรมย์ อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ (หลวงปู่หมุน วัดบ้านจานมาเข้าฝันให้ลูกศิษย์ตามหาถึง 3 ปีจึงจะเจอ)
    171. พระครูโสภณจันทรังสี(เพ็ง) วัดโพธิ์ศรีละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
    172. หลวงปู่ญาท่านโทน ขันติโก วัดบ้านพับ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
    173. หลวงปู่แสง ญาณวโร วัดป่าภูติศษา อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
    174. หลวงปู่มหาคำแดง ฐานะทัตโต วัดคำภีราวาส อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
    175. สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว) วัดสระเกศวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    176. หลวงพ่อบุญมี ปภัสโร วัดสระเกศวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ (ศิษย์เอกหลวงปู่สังข์ วัดนากันตม)
    177. พระอาจารย์(ปิดตัว) อาจารย์สายวิชาการเล่นแร่แปรธาตุ เสกด้วยโองการพระเจ้าประชุมธาตุ เรียกปราณในอากาศมาสถิตในองค์พระ
    178. พระสมณธรรมสมาธิวัตร(เย็นเต็ก) วัดโพธิ์แมนคุณาราม เขตยานนาวา กรุงเทพฯ เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
    179. หลวงปู่มหาปลอด ติสสเทโว วัดโพธิ์นิมิต เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ (คิษย์องค์สุดท้ายของเจ้าคุณทักษิณคณิศรวัดใต้)
    180. หลวงปู่พิศดู ธัมมจารี วัดเทพธารทอง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
    181. หลวงปู่แสวง อมโร วัดป่าชัยวารินทร์ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น (อดีตชีปะขาวติดตามหลวงปู่มั่น)
    182. หลวงปู่ถวิล สุจิณโณ สำนักสงฆ์สุจิณโณ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
    183. หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    184. หลวงปู่ฮ้อ วัดป่าสวนหม่อน อ.เมือง จ.ขอนแก่น (พระชาวจีนศิษย์หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่)
    185. หลวงปู่มหาโส กัสสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
    186. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์(อิฏฐ์) วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    187. หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ วัดถ้ำเสือวิปัสสนา อ.เมือง จ.กระบี่
    188. พระเทพวิทยาคม(คูณ) วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
    189. พระครูพิชิตธีรคุณ(ธีร์) วัดจันทราวาส อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
    190. หลวงปู่เที่ยง ปภังกโร วัดพระพุทธบาทเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
    191. หลวงปู่พวง ธัมมสาโร วัดโคกตาสิงห์ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
    192. พระครูวิสุทธิสีลากร(เส็ง) วัดปราสาทเยอร์ใต้ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ (ศิษย์เอกหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ)
    193. พระครูวิลาสกิจจาทร(สอน) วัดหลวง อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (อธิษฐานต่อหน้าองค์พระแก้วไพฑูรย์)
    194. หลวงปู่สี สิริญาโณ วัดป่าศรีมงคล อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี (ศิษย์ที่มีพรรษาสูงสุดของหลวงพ่อชา สุภัทโท)
    195. พระครูสารธรรมประคุณ(บุญรอด) วัดกุดคูณ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    196. หลวงปู่อำคา อินทสาโร วัดบ้านตำแย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    197. หลวงปู่ลี ถาวโร วัดผาสุการาม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    198. หลวงปู่สุพัฒน์ เตชะพโล วัดป่าประชานิมิต อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี (ศิษย์เอกหลวงปู่เจียม วัดหนองยาว)
    199. หลวงพ่อมหาประดิษฐ์ อุตตโม วัดทุ่งเกษม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี(ศิษย์เอกหลวงปู่มั่น ทัตโต)
    200. พระครูสังฆรักษ์(กาจ) วัดป่าบ้านเก่าพระเจ้าใหญ่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
    201. หลวงปู่เร็ว ฉันทโก วัดหนองโน อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี (ศิษย์เอกหลวงปู่ญาท่านสวน วัดนาอุดม)
    202. หลวงปู่บัว แก้วคง วัดทัพหลวง อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
    203. หลวงปู่นอง ธัมมโชโต วัดวังสีทอง อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว
    204. พระครูสุวัฒน์ชลธาร(เจริญ) วัดบางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
    205. พระครูสุทธิคุณรังษี(ทอง) วัดรังษีสุทธาวาส(วัดไร่กล้วย) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี<!-- google_ad_section_end -->
    206. หลวงปู่เสริฐ เขมโก วัดโอภาสี อ.เมือง จ.ระยอง (ศิษย์องค์สุดท้ายของหลวงพ่อโต วัดซากโดน) (2 วาระ)
    207. หลวงปู่อ่อง ถาวโร ถ้ำเขาวงกต อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี
    208. หลวงพ่อบุญส่ง ฐิตสาโร วัดสันติวนาราม(เขาน้ำตก) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี<!-- google_ad_section_end -->
    209. พระธรรมวงศ์มุนี(วิชัย) วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี (อายุ 101 ปี)
    210. หลวงปู่สนั่น จิณณธัมโม วัดธารเกษม อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี
    211. พระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์(มหาเข้ม) วัดป่าคลองกุ้ง อ.เมือง จ.จันทบุรี
    212. พระครูสังฆกิจบูรพา(บัว) วัดศรีบูรพาราม(เกาะตะเคียน) อ.เมือง จ.ตราด
    213. หลวงปู่บุญหลาย อัคคจิตโต วัดป่าโนนทรายทอง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
    214. พระเทพสุทธิโมลี(สมพงษ์) วัดภูด่านแต้ อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร
    215. หลวงพ่อบุญชวน ธัมมโฆสโก วัดป่าวังน้ำทิพย์ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร<!-- google_ad_section_end -->
    216. พระภิกษุณีสกาวรัตน์ วัดโคกบัวราย อ.บัวเชต จ.สุรินทร์
    217. หลวงปู่ฮก รตินธโร วัดราษฏร์เรืองสุข อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี*
    218. พระครูศุภมงคล(หุน) วัดบางผึ้ง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
    219. พระมงคลสุทธิคุณ(ฟู) วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
    220. ท่านพ่อเมือง พลวุฑโฒ วัดป่ามัชฉิมวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    221. พระราชศีลโสภิต(หนูอินทร์) วัดป่าพุทธมงคล อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    222. พระเทพวิสุทธิมงคล(ศรี) วัดป่ากุง อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
    223. หลวงพ่อกิตติศักดิ์ กิตติสาโร วัดป่าหนองหลุบ อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    224. หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ วัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (2 วาระ)
    225. หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร<!-- google_ad_section_end -->
    226. หลวงปู่โสภา ชุตินธโร วัดบูรพาภิรมย์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
    227. หลวงปู่ศูนย์ จันทสุวัณโณ วัดป่าอิสระธรรม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    228. พระจันโทปมาจารย์(คำพันธ์) วัดศรีวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
    229. หลวงปู่เณรคำ(ทองใบ) ปัญญาพโล วัดป่าบ้านคำไฮ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม<!-- google_ad_section_end -->
    230. หลวงปู่อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตต์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    231. หลวงปู่อ้ม สุขกาโม วัดป่าภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
    232. หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร (อายุ 102 ปี)
    233. หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนมราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร
    234. พระญาณวิสาสเถร(ณรงค์/หา) วัดป่าสักกวัน อ.สหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์ (หลวงปู่ไดโนเสาร์)
    235. พระครูถาวรมงคลวัตร(อินถา) วัดยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
    236. พระครูวิมลธรรมรัต(บุญตั๋น) วัดย่าพาย อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
    237. หลวงปู่ครูบาคำแบน ฉันทธัมโม วัดวังจำปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    238. พระครูมงคลรัตน์(สิทธิ) วัดปางต้นเดื่อ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
    239. พระครูวิสิฐชัยคุณ (เกาะ) วัดท่าสมอ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    240. พระครูประสิทธิ์ชัยการ(เปรื่อง) วัดกำแพง อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท*
    241. หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย วัดอรัญญานาโพธิ์ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม (อายุ 100 ปี)
    242. พระครูสมุห์อวยพร ฐิติญาโณ วัดดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม
    243. พระครูอดุลพิริยานุวัตร(ชุบ) วัดวังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
    244. หลวงตาเมียน กัลยาโณ วัดบ้านจะเนียงวนาราม อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
    245. พระครูอุดมสมุทรคุณ(อุดม) วัดปทุมคณาวาส อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    246. พระราชญาณดิลก(ทองหล่อ) วัดปลดสัตว์ อ.เมือง จ.อ่างทอง
    247. พระสุวรรณศีลาจารย์(เสงี่ยม) วัดสุวรรณเจดีย์ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา
    248. หลวงพ่อเสือ(ตาทิพย์) ธัมมวโร วัดดอนยายเผื่อน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
    249. หลวงปู่ชวน กตปุญโญ วัดเขาแก้ว อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    250. พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ(รวย) วัดตะโก อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา
    251. หลวงปู่สาย เขมปัญโญ วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
    252. หลวงปู่โลกเอ๊าะบายกรีม(ข้าวแห้ง) วัดบ้านตาปัน อ.บัวเชต จ.สุรินทร์
    253. พระครูประภัศร์ธรรมาราม(เอี่ยม) วัดเมืองยาง อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์
    254. พระครูพิสิษฐ์นันทการ(บุญทา) วัดสุนันทาราช อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด (อายุ 100 ปี)
    255. พระพิทักษ์ศาสนวงศ์(สมศักดิ์) สำนักสงฆ์ไตรรงค์วิสุทธิธรรม อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี*
    256. หลวงปู่สุพีร์ สุสญโต วัดถ้ำซับมืด อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    257. พระครูอมรธรรมโมภาส(ชม) วัดสามัคคี อ.เมือง จ.หนองคาย
    258. หลวงปู่ขาว พุทธรักขิตโต วัดป่าคูณคำวิปัสสนา อ.กุดบาก จ.สกลนคร
    259. หลวงปู่จันหอม สุภาจาโร วัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
    260. พระครูพิศาลวิหารวัตร(บุญให้) วัดท่าม่วง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
    261. พ่อท่านท้วง คุณุตตโร สำนักสงฆ์คลองแคว อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช
    262. พ่อท่านผอม ถาวโร วัดหญ้าปล้อง อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช
    263. หลวงปู่พุ่ม กตปุญโญ สำนักสงฆ์ไตรสิกขารัตน์สถิตย์ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช (อายุ 109 ปี)
    264. พ่อท่านประ อัคคธัมโม วัดภูเขาดิน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช (อายุ 113 ปี)
    265. พระครูวิสุทธิบุญดิตถ์(นวล) วัดประดิษฐาราม(ไสหร้า) อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช
    266. พระครูอนุภาสวุฒิคุณ(จ่าง) วัดน้ำรอบ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
    267. พระครูสุคนธวิศิษฏ์(เอ็น) วัดเขาราหู อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี
    268. พระอาจารย์นิคม สุธัมมสุตธัมโม สำนักสงฆ์ถ้ำวังบาดาล อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี
    269. พ่อท่านอิ้น ปภากโร วัดรัชราษฎร์พัฒนา(ทับใหม่) อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี
    270. พระครูพิเศษเขมาจาร(ท้วม) วัดศรีสุวรรณ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
    271. พระครูเกษมจิตตาภิรักษ์(ล้าน) วัดขนาย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
    272. พระครูสิทธิสังวร(วีระ) วัดราชสิทธาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ




    รายนามอุบาสก-อุบาสิกาอธิษฐานจิตเชิญบารมีคุณพระรัตนตรัย

    1. อ.ธรรมนูญ บุญธรรม สำนักบัวแปดกลีบ อัญเชิญคุณบารมีพระแก้วมรกตและครูบาอาจารย์มาประสิทธิ์
    2. อ.ชินพร สุขสถิตย์ มูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโก อัญเชิญเทพ พรหม เทวดา ครูบาอาจารย์อันมีหลวงปู่ทิม เป็นที่สุด
    3. อ.ศุภรัตน์ แสงจันทร์ อาศรมโพธิสัตว์ม่อนแก้ว อธิษฐานนำพระไปถวายสมเด็จองค์ปฐมครอบวิมานแก้ว
    4. ยายชีนวล แสงทอง วัดภูฆ้องคำ อายุ 106 ปี ศิษย์ที่ทันสำเร็จลุนองค์สุดท้าย

    * หลังชื่อ หมายถึง อธิษฐานจิตเฉพาะมวลสารและของมงคลที่ใช้อุดหลังล็อกเกต<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  11. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ทริปต่อไป สงขลา-พัทลุง
    นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี


    ใครจะช่วยอาสางานบุญพาไปเสกมั๊ยครับ ?
     
  12. atha

    atha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    644
    ค่าพลัง:
    +2,664
    อยากให้มาที่ วัดป่าภูทับเบิก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ครับ
    พระอาจารย์วัชระ วิจิตโต ท่านกำลังสร้าง พระธาตุเจดีย์บนยอดภูทับเบิกครับ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2011
  13. waritj

    waritj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,098
    ค่าพลัง:
    +3,454
    ปลุกเสกมากขนาดนี้ สงสัยต้องทําหนังสือคู่มือสี่สีแจกผู้ร่วมบุญด้วยไหมครับ คือมีรายช่ือพระ ประวัติและรูปของพระทุกรูป
    คนนําไปบูชาจะได้ไม่ลืม และเป็นสังฆานุสสติด้วยนะครับ

    ถ้าเพื่อนร่วมบุญเห็นพ้องต้องกัน ก็เข้ามาอัพกันนะครับ
     
  14. jirayarn

    jirayarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +4,290
    ขอให้ร่วมทุน ทำหนังสือ เห็นด้วยครับ
     
  15. supatach

    supatach เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,638
    ค่าพลัง:
    +6,666
    คุณหมอครับ บรรดา ถุงต่างๆ ซองต่างๆ กล่องภาชนะบรรจุมวลสารต่างๆ ที่อยู่ในกล่องที่นำพระแก้วไปปลุกเสก ถ้าคุณหมอไม่ใช้แล้ว มีอะไรจะสละ ผมยินดีรับหมดเลยครับ

    คุณหมอ ตระเวน ไปทั่วประเทศแบบนี้ รักษาสุขภาพด้วยนะครับ ขอให้คุณหมอและคณะปลอดภัยทุกเส้นทางที่เดินทางเลยนะครับ สาธุ
     
  16. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948

    ถ้ามีโอกาสผมจะลองไปกราบท่านดูนะครับ
    เพชรบูรณ์ยังเหลือให้เก็บอีกตั้ง 5 องค์
     
  17. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    วัดนี้พี่ทหารที่ขับรถบอกว่าให้ลองเข้าไปดู ได้ข่าวว่าข้างในถ้ำมีพระดี ท่านชื่อพระอาจารย์นิคม เดิมเรียนวิศวกรรม แล้วศรัทธาหลวงพ่อพระราชพรหมยาน จึงมาบวชแล้วได้มโนยิทธิ มาอยู่ถ้ำนี้มีอะไรแปลกๆ คือจะถ่ายรูปติดดวงแก้วเสมอๆ

    เข้าไปก็เห็นรูปหล่อหลวงพ่อปาน หลวงพ่อฤาษีตั้งอยู่ เห็นท่านให้เช่าหลวงปู่ทวด ท่านว่าให้ลองเอาน้ำกรดมาราดแล้วถือหลวงปู่ทวด รับรองว่าไม่เป็นอะไร ผมบอกว่าไว้ครั้งหน้าผมเตรียมน้ำกรดมาเอง แล้วท่านทดลองก่อน
    จากนั้นขอให้ท่านอธิษฐานจิตพระให้ ท่านให้ผมไปจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ผมได้กล่าวคาถา ตั้งแต่ นาสังสิโม พรหมาจะมหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ......... อธิษฐานในใจ ขอเชิญสมเด็จองค์ปฐม ตลอดจนพระสัมมาสัมพุธเจ้าทุกพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระนิตยโพธิสัตว์ พระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกิทาคามี พระโสดาบัน ทุกๆพระองค์มาร่วมอนุโมทนาบุญอธิษฐานจิตพระในครั้งนี้

    พระอาจารย์ได้ขอนำพระเครื่องส่วนตัวของท่านเข้าร่วมการอธิษฐานด้วย ท่านอธิษฐานประมาณ 20 นาที ผมจึงถามท่านว่า เมื่อกี้ใครมาเป็นประธาน ท่านบอกว่าเป็น สมเด็จองค์ปฐม
    แล้วท่านก็เล่าเรื่องน้ำมันชาตรีว่าท่านผสมให้ลูกศิษย์นำไปบูชา ผมบอกว่าไม่อยากได้ อยากได้หัวเชื้อเลยมีมั๊ย ?
    ท่านหยิบมาให้ดู ผมเลยจัดแจงเทใส่ขวดมาตามระเบียบ เทเยอะท่านมองหน้าเราเลย อิอิ...


    พระอาจารย์ได้มอบมวลสารหัวเชื้อมาให้ แล้วขอเบอร์โทรเราไป บอกว่าถ้าไปกรุงเทพฯต้องมาขอมวลสารโยมบ้างนะ อ้าวรู้ได้ไงว่าผมมี 555+
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1169.JPG
      IMG_1169.JPG
      ขนาดไฟล์:
      328.3 KB
      เปิดดู:
      108
    • IMG_1168.JPG
      IMG_1168.JPG
      ขนาดไฟล์:
      279.2 KB
      เปิดดู:
      375
  18. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]
    ท่านเป็นเกจิที่ศึกษาทั้งสายวัดพัทธสีมา และสายเขาอ้อ

    ซึ่งทั้ง 2 สายนี้ถือเป็นสำนักที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในภาคใต้แล้ วครับ

    [FONT=&quot]ประวัติหลวงพ่ออิ้น ปภากโร วัดรัชราษฏร์พัฒนา(ทับใหม่)[/FONT]

    [FONT=&quot]ชื่อเดิมท่านคืออิ้น ท่านเกิดมาในตระกูล ชูเมือง [/FONT]

    [FONT=&quot]โยมพ่อชื่อนายบุตร โยมแม่ชื่อนางเขียว [/FONT]

    [FONT=&quot]( มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช ) [/FONT]

    [FONT=&quot]โดยโยมพ่อท่านเป็นศิษย์ท่านอาจารย์ชูเฒ่า วัดพัทธสีมา นครศรีธรรมราช [/FONT]

    [FONT=&quot]ได้รับการถ่ายทอดวิชาต่างๆมามากมายแต่ที่เด่นๆคือวิช าการทำตระกรุดโทน [/FONT]

    [FONT=&quot]ซึ่งโยมพ่อท่านก็ได้นำวิชาสำคัญนี้ถ่ายทอดมายังหลวงพ ่ออิ้นด้วย [/FONT]

    [FONT=&quot]และถือเป็นสุดยอดเครื่องรางที่ท่านถนัดและทำได้ดีมีป ระสบการณ์มากที่สุด [/FONT]

    [FONT=&quot]โยมบิดาท่านสามารถล่วงรู้ถึงกาลมรณะของตนเองและ[/FONT]

    [FONT=&quot]ในวันมรณะท่านก็ได้นั่งสมาธิจนมรณะโดยสังขารยังคงท่า นั่งเหมือนเดิม[/FONT]

    [FONT=&quot]มีเพียงแต่เท้าซ้ายเท่านั้นที่ตกลงมาจากเข่า[/FONT]

    [FONT=&quot]หลวงพ่ออิ้นท่านกำเนิดที่ หมู่บ้านสระโพธิ์ อำเภอเชียรใหญ่

    [FONT=&quot]จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันพฤหัส เดือน8 ปีระกา [/FONT]

    [FONT=&quot](2464)ในวัยหนุ่มท่านชอบและฝักใฝ่ในวิชา [/FONT]

    [FONT=&quot]คาถาอาคมต่างๆเนื่องจากในสมัยนั้นจำเป็นจะต้องมีวิชา ป้องกันตัว [/FONT]

    [FONT=&quot]โดยท่านองค์ปฐมบรมครูที่สั่งสอนสรรพวิชาให้ท่านก็คือ โยมพ่อนั่นเอง [/FONT]

    [FONT=&quot]ด้วยความผูกพันกับวัดพัทธสีมาที่โยมพ่อมี [/FONT]

    [FONT=&quot]ทำให้ท่านวนเวียนและร่ำเรียนวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆในสายนี้หลายรูปอาทิเช่น[/FONT]

    [FONT=&quot]พ่อท่านอาจารย์หนูจันทร์ พ่อท่านอาจารย์โรย พ่อท่านอาจารย์เอียด [/FONT]

    [FONT=&quot]และท่านยังได้เดินข้ามเขตมายังจังหวัดพัทลุงเพื่อศึก ษาคาถาอาคมเพิ่มเติมจาก [/FONT]

    [FONT=&quot]อาจารย์เอียด วัดดอนศาลา และฆารวาสนำ แก้วจันทร์ [/FONT]

    [FONT=&quot](ท่านศีกษาก่อนที่ท่านอาจารย์นำจะอุปสมบท) [/FONT]

    [FONT=&quot]โดยท่านมีสหธรรมมิกที่สำคัญๆคือ หลวงพ่อเอื้อม วัดบางเนียน หลวงพ่อพ่วง [/FONT]

    [/FONT][FONT=&quot]วัดแดง นครศรีธรรมราช [/FONT][FONT=&quot]ในระหว่างครองเพศบรรพชิต

    [FONT=&quot]ท่านผ่านประสบการณ์ในด้านต่างๆมาอย่างโชกโชน เคยเป็นทั้งเสือ [/FONT]

    [FONT=&quot]และหัวหน้าหน่วยพื้นที่สีแดง ปกครองคนในพื้นที่พิเศษ [/FONT]

    [FONT=&quot]ในด้านการครองเรือนท่านเคยมีภรรยาที่อยู่กินกันถึง 7 คน แต่ทั้ง 7 [/FONT]

    [FONT=&quot]คนนั้นมีบุตรเพียง 1 คน และได้เสียชีวิตไปแล้ว [/FONT]

    [FONT=&quot]ท่านเล่าให้ฟังว่าท่านเคยหนีการจับกุมของท่านขุนพันธ รักษ์ ในสมัยที่เป็นเสือ [/FONT]

    [FONT=&quot]ในระยะประชิดตัวแต่ด้วยอำนาจของตระกรุดที่ท่านทำใช้เ อง[/FONT]

    [FONT=&quot]จากที่ได้เล่าเรียนมาทำให้หนีรอดมาได้ [/FONT]

    [FONT=&quot]และเมื่อท่านถูกจับกุมในข้อหาต่างๆในขณะที่นำตัวไปขึ ้นศาลท่านก็อาศัยบารมี[/FONT]

    [FONT=&quot]ของตระกรุดโทน ทำให้ศาลยกฟ้องท่านมาจนนับไม่ถ้วน[/FONT] [/FONT]


    [​IMG]

    พ่อท่านอาจารย์ชูุเฒ่า วัดพัทธสีมา นครศรีธรรมราช อาจารย์พ่อท่านอิ้น


    ครูบาอาจารย์สายเขาอ้อครับ

    ท่านอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา

    ท่านอาจารย์ นำแก้วจันทร์ครับ<!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG] [​IMG]

    ท่านปกครองคนในเขตพื้นที่สีแดง อำเภอเคียนซา


    จนท่านมีที่ดินในการปกครองมากมาย มีคนนับหน้าถือตาท่านเป็นจำนวนมาก


    [FONT=&quot]แต่ก็หาใช่ความสุขที่แท้จริงไม่
    [/FONT]

    [FONT=&quot]หลังจากท่านคิดทบทวนถึงชีวิตที่ผ่านมาก็ทำให้ท่านรู้ สึกถึงความไม่เที่ยงแท้

    [FONT=&quot]และแน่นอนของชีวิต [/FONT][/FONT][FONT=&quot]อีกทั้งท่านยังเป็นห่วงชาวบ้านในการปกครองของท่าน
    [/FONT]

    [FONT=&quot]อยากให้ผู้คนเหล่านั้นเป็นคนดี
    [/FONT]

    [FONT=&quot]ในที่สุดท่านจึงตัดสินใจยกที่ดินทั้งหมดเป็นพันไร่แจ กจ่ายแก่ชาวบ้าน
    [/FONT]

    [FONT=&quot]ให้เป็นที่ทำกิน โดยที่ดินที่ท่านยกให้นั้นปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่บ้านเขารักษ์
    [/FONT]

    [FONT=&quot]หมู่ 8 และหมู่ 9 ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเคียนซา
    [/FONT]

    [FONT=&quot]โดยชื่อหมู่บ้านนั้นท่านเป็นผู้ตั้งโดยมาจากคำว่า คุณรักษา ต่อมาได้เพี้ยนเป็น
    [/FONT]

    [FONT=&quot]เขารักษ์[/FONT][FONT=&quot]( จากประวัติโรงเรียนบานเขารักษ อําเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎรธานี)
    [/FONT]

    [FONT=&quot]และได้ยกที่ดิน100ไร่จัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น

    โดยในช่วงแรกได้ชื่อว่าโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 22 (ใต้ร่มเย็น)[/FONT]

    ปัจจุบันท่านมีอายุ 92 ปี แต่ยังแข็งแรงและยังโปรดญาติโยมได้


    และที่สำคัญท่านยังสามารถทำตระกรุดโทน ได้อย่างเข้มขลังตามตำราท่านอาจารย์ชูเฒ่า


    [FONT=&quot]วัดพัทธสีมาเหมือนเดิม[/FONT]

    [FONT=&quot]วัตถุมงคลทุกรุ่นของท่านนั้นจะมีมวลสารสำคัญที่ขาดไม ่ได้เป็นส่วนประกอบนั่นคือ [/FONT]

    [FONT=&quot]- เหล็กไหล 9 ชนิด ซึ่งท่านเสาะหาและสะสมมาชั่วชีวิต ทั้งตอนเป็นฆารวาสและตอนธุดงค์ [/FONT]

    [FONT=&quot]- เขี้ยวแก้วมังกร เป็นของอาถรรพ์มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวมีฤทธิ์ในการป ้องกันและขับไล่สิ่งชั่วร้าย[/FONT]

    - งาช้างกำจัด เป็นของอาถรรพ์มีความศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์ในการป้องกั นสัตว์ร้ายต่างๆและอยู่ยงคงกระพัน
    <!-- google_ad_section_end -->


    <!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1172.JPG
      IMG_1172.JPG
      ขนาดไฟล์:
      303.1 KB
      เปิดดู:
      1,347
  19. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    พ่อท่านชื่น วัดในปราบ อาพาธนอนโรงพยาบาล ด้วยเรื่อง BPH ครับ

    จึงไม่ได้ปลุกเสก ***
     
  20. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ประวัติหลวงพ่อท้วม เขมจาโร อายุ ๘๒ ปี พรรษา ๕๕ ชื่อเดิม เขียน อักษรสม เกิดวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๔๖๕ ณ ต.สมอทอง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี บิดาชื่อ เชื่อม มารดาชื่อ ทา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด ๗ คน พี่ชายคนโต เป็นพระราชวีระมุณี (สีหนาทภิกขุ) อดีตเจ้าคณะ จ.เลย น้องชาย คือพระครูสิริรัตนโสภณ หรือหลวงพ่อแดง เจ้าคณะตำบลเสี้ยว วัดกอไร่ใหญ่ อ.เมือง จ.เลย พี่สาวชื่อ เลี้ยง ทุกวันนี้เข้าวัดปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดศรีสุวรรณ ส่วนพี่และน้องอีก ๓ คน ได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อท้วม จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ เมื่อปี ๒๔๗๙ เคยเป็นครูสอนหนังสือ โรงเรียนประชาบาล อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี

    เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหารได้สมัครใจเป็นทหารรับใช้ชาติ หลังจากปลดประจำการ ท่านได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๙๒ ณ วัดศรีสุวรรณ โดยมีพระครูประสงค์สารการ (หลวงพ่อเทศน์ โยธารักษ์) เจ้าคณะอำเภอท่าชนะ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "เขมจาโร" อันหมายถึง ผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดีงาม

    ระหว่างบวชได้ศึกษาธรรมจนจบชั้นนักธรรมเอก เมื่อแก่พรรษามากขึ้นก็ได้รับตำแหน่งหน้าที่และ สมณศักดิ์เป็นลำดับ ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นพระครูชั้นโท ที่ "พระครูพิเศษเขมาจาร" พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๑๙ เลื่อนเป็นพระครูชั้นพิเศษที่ พระครูพิเศษเขมาจาร และพ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์ เหรียญรุ่น๑ หลวงพ่อท้วม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นเหรียญแปดเหลี่ยม พิมพ์นิยมมีเส้นแตกตรงเลขแปดด้านหลัง ตรงวันที่ ๒๘ธันวาคม ๒๕๒๕ และรูปหล่อแขนทะลุ เหรียญรุ่นจันทร์วันเพ็ญ สร้างปีพ.ศ. ๒๕๓๘ เหรียญจอบปี ๒๕๔๐รูปหล่อรุ่นทำบุญ ๗๕ปีรูปหล่อยันต์ปี ๒๕๔๑ พระสังกัจญ์จาย พระรูปหล่อปั้ม ขุนแผน พิมพ์จันทร์ลอย พระสีวลี พระปิดตาเนื้อผง หนุมาน เบี้ยแก้ ตะกรุดเรียกทรัพย์ รูปถ่ายหลังติดจีวร และพระรุ่นอื่นๆก็นิยมเหมือนกัน

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1180.JPG
      IMG_1180.JPG
      ขนาดไฟล์:
      295.6 KB
      เปิดดู:
      132
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...