NEW ! NEW AGE PLUS+ พลังงานใหม่ พลังงานอิสระ.. GRAND NATURE ..

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Little Duck, 25 กุมภาพันธ์ 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. JINTAWADEE

    JINTAWADEE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +4,728
    (BY LITTLE DUCK)
    โปรดสังเกตุ หมายเลข 666 และ 187..

    MOON + SUN = 111
    COMPUTER = 3+15+13+16+21+20+5+18 = 111
    111+111 = 222 BEGINING VICTORY
    22+2 = 24 = X-RAY จุดตัด , การมองเห็นทะลุ ปรุโปร่ง
    2+22 = 24 =
    X-RAY จุดตัด , การมองเห็นทะลุ ปรุโปร่ง

    2+2+2 = 6 = FULL

    จะเห็นได้ว่า ผลลัพธ์ของ MOON+SUN = 111 มีผลลัพธ์เท่ากับ COMPUTER =111 อันแสดงให้เห็นถึงกุญแจสำคัญอันหมายถึงข้อมูลหลัก และเมื่อนำผลลัพธ์มารวมกัน 111+111 = 222 BEGINING VICTORY และ 24 และ และ24 และ 6 จึงหมายถึง การเริ่มต้นการขับเคลื่อนเพื่อเป็นหนทางแห่งการก้าวพ้น โดยการทำจุดตัด อันหมายถึงจุดสำคัญที่สุด คือ การรู้แจ้งเห็นจริง อย่างทะลุปรุโปร่งของทั้งสองด้าน อย่างสมบูรณ์แบบ โปรดสังเกตุ 24 +24 = 48=12 = DHL ด่วนพิเศษ ส่งให้ทันเวลา


    โปรดสังเกตุ หมายเลข 666 ของคุณ Little Mermaid เท่ากับข้อมูลอ้างอิง666 ของคุณหนุมาน ดังนั้น ข้อมูลทั้งสองนี้ จึงมีความเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน ..

    187 = ROTARY GRAND อันหมายถึงการขับเคลื่อนครั้งสำคัญ โดยการนำสัจจะมาเป็นแนวทาง 18+7= 25 BEGINING ENERGY ซึ่งมีผลลัพธ์เท่ากับข้อมูลด้านบน 1+8+7 = 16 PLUS อันหมายถึงการปรับยกระดับพลังงานใหม่ โดยการทำจุดตัดพลังงาน โดยมีมนุษยชาติ เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนหากดูข้อมูลอ้างอิงประกอบจะเห็นได้ว่าทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่ต้น

    .................................................................

    THE SUN คือ สัจจะ อันหมายถึงความเป็นจริงในธรรมชาติของสรรพสิ่ง, สรรพสิ่งทั้งปวง หรือ พลังงานต้นกำเนิด

    THE MOON คือ พลังงานบริสุทธิ หรือ ข้อมูลบริสุทธิ อันเกิดจาก อัจฉริยะภาพ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ของผู้เป็นที่รัก (พระพุทธองค์)

    การนำ THE SUN มารวมกับ THE MOON
    (MOON + SUN = 111)
    หมายถึง การปฏิบัติโดยอาศัยหลักการทั้งสองด้าน คืออาศัยหลักคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหลัก (GRAND) โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัจจะ คือความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่ (GREAT) ของธรรมชาติอย่างสมดุลย์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โลก (มนุษยชาติ) และ จักรวาล (สรรพสิ่งทั้งปวงซึ่งล้วนเป็นเพื่อนร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกมิติ)

    โดยมนุษย์ก็เปรียบเสมือน COMPUTER ที่สามารถใส่โปรแกรม หรือ ความเชื่อ

    หาก COMPUTER คือ 111 และเมื่อใส่ PROGRAMM คือ MOON AND SUN (111) ผลรวมจึงออกมาเป็น 222 นั่นเป็นความหมายของ การก้าวพ้น อันมีความหมายถึง อิสระ โดยฉับพลัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกอย่างต้องอาศัยหลักความสมดุลย์ ซึ่งหมายถึง หลักของความพอเพียง เพราะเมื่อใดที่ขาดความพอเพียง เมื่อนั้น ด้านใดด้านหนึ่งย่อม โต่งจนเกินไป และเมื่อ โต่งเกินไปด้านใด นั่นคือ สิ่งที่ทำให้เราต้องกลับไปรับผิดรับชอบ ในการทำซ้ำ จนกว่าเราจะหา จุดตัด อันเปรียบเสมือนทางออกที่ถูกต้อง หรือ สมดุลย์ได้ในที่สุด

    ในการเริ่มต้นใหม่ ต้องอาศัย ความกล้าหาญ ความศรัทธา และการเสียสละอย่างเต็มเปี่ยมของนักรบ ซึ่งก็หมายถึง มนุษยชาติทั้งหลายนั่นเอง



     
  2. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,682
    ค่าพลัง:
    +51,931
    สายกลาง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  3. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,682
    ค่าพลัง:
    +51,931
    <TABLE id=post5186066 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal" class=thead>วันนี้, 08:48 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=thead align=right> #11 </TD></TR><TR vAlign=top><TD style="BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2 width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->หนุมาน ผู้นำสาร<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5186066", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    วันที่สมัคร: Jul 2006
    ข้อความ: 12,224
    พลังการให้คะแนน: 5170 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_5186066 class=alt1><!-- message --><!-- google_ad_section_start -->*** สัจจะธรรม ****

    หลักเดียวที่มั่นคง
    ทุกศาสนา...จบลงด้วย "สัจจะ"
    ข้อปฏิบัติ มีสัจจะเป็นแก่นสารการกระทำ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- / message --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. Vking

    Vking เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2011
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +1,555
    อยากจะกล่าวคำว่า ... ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ ...
    วันนี้... ได้มีโอกาสเข้ามากระทู้นี้แล้ว

    ถึงกับ... หูตาสว่างไสว .... ขึ้นมาเลยทีเดียว ...
    อาจจะเป็นเพราะ... โชคชตาหรือวาสนาโดยแท้...

    ;41
     
  5. JINTAWADEE

    JINTAWADEE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +4,728
    ขอขอบคุณพี่ใจดี ๆ มาก ๆ ค่ะ น้องคิดว่า การปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นมากที่จะทำให้เราเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้จนเกิดความชำนาญหรือ เคยชิน เพราะการเข้าใจโดยขาดการปฏิบัติ ก็ทำให้เราเพียงแค่เข้าใจอย่างไม่ถี่ถ้วนเท่านั้นเอง (น้องก็พยายามอยู่ค่ะ ได้บ้าง หลุดบ้างค่ะ)

    น้องเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยถนัดสติปัฐฐาน แต่มีความสนใจที่จะทำจนเกิดเป็นความเคยชินอย่างมาก เพราะเมื่อลองใช้สติปัญญาวิเคราะห์ดูแล้ว ก็พึงเห็นประโยชน์อันจะเกิดขึ้นแก่ตนเองและส่วนรวมเป็นอันมาก

    ทุกข์ สุข สติปัฐฐาน ความพอเพียง และ ใจดี ๆ อันเกิดจากความพอเพียง

    เมื่อเราเกิดขึ้นภายใต้ภาวะทางกายภาพในโลกแห่งปรากฏการณ์ ชั่วชีวิตของมนุษย์ล้วนต้องเจอบททดสอบของทั้ง ความสุข และ ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา และ มูลเหตุของทั้ง ความสุข และ ความทุกข์นั้นก็ล้วนเกิดขึ้นจาก ประสาทสัมผัสทั้งห้าของเรา

    มนุษย์เคยชินกับประสาทสัมผัสทั้งห้า อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

    ประสาทสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์ ก่อให้เกิดความพอใจ และ ไม่พอใจ ตามพื้นฐานของความเชื่อ

    รูปสวย สีสดใส พอใจ หากไม่สวย ไม่ถูกใจตนเอง ก็ไม่พอใจ

    รสอร่อย ถูกใจ ถูกปากตนเอง ก็พอใจ รสไม่อร่อย ไม่ถูกปากตนเอง ก็ไม่พอใจ

    กลิ่นหอม ต้องใจตนเอง ก็พอใจ กลิ่นเหม็น ไม่ต้องใจตนเอง ก็ไม่พอใจ

    เสียงดัง เสียงค่อย เสียงหวาน เสียงกระชาก ล้วนก่อให้เกิดความพอใจ หรือ ไม่พอใจทั้งสิ้น

    ไม่เว้นกระทั่งสัมผัสทั้งหลาย ที่ก่อให้เกิดทั้งการเคลิบเคลิ้ม หรือ เจ็บปวด อันเป็นผลให้เกิดความพอใจ หรือ ไม่พอใจตามมาภายหลัง

    สำหรับข้าพเจ้าแล้ว สติปัฐฐานสี่นับเป็นการปฏิบัติที่มนุษย์ทั้งหลายสมควรต้องเรียนรู้เป็นอย่างยิ่งในการที่จะออกจาก อารมณ์พอใจ หรือ ไม่พอใจทั้งหลาย เพราะท้ายสุด การฝึกฝนนี้ คือ การฝึกฝนให้มนุษย์ออกจากการยึดมั่นถือมั่นในประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ฯลฯ

    เพราะเมื่อรู้สึกได้แต่ "สักแต่ว่า" แล้ว สิ่งที่เข้ามาทางอายตนะทั้งห้าก็ไม่สามารถทำให้เกิดความพอใจ หรือ ไม่พอใจแก่เราได้เลย ซึ่งถือว่าเป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนที่สำคัญมาก

    ทุกข์ เกิดจากการที่เรายึดติดกับสิ่งที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะทั้งห้าจนเกินพอดี

    แม้เราจะมีความสุขกับประสาทสัมผัสทั้งห้าที่ผ่านเข้ามาในประสบการณ์ทั้งหลายของเราตลอดจนชั่วชีวิต แต่ถ้าเมื่อใดที่เรายึดมั่นถือมั่นกับมันจนเกินสมดุลย์ มันก็จะทำให้เราต้องเกิดทุกข์ทันที นั่นคือการเรียนรู้ขั้วตรงกันข้ามของมัน และนั่นคือ กฏของจักรวาล

    หากท่านปรารถนาเงินทอง และทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มันมาและมันคือความสุขของท่าน แต่ในขณะเดียวกัน จิตของท่านก็ได้เตรียมประสบการณ์ด้านตรงข้ามไว้ให้ท่านได้เรียนรู้เช่นกัน ว่าเงินนั้นนอกจากจะนำความสุขมาให้ท่านแล้ว มันนำความทุกข์มาให้ท่านได้อย่างไรบ้าง

    ฉะนั้น ทั้งสุขและทุกข์ต่างก็ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันให้เราได้เรียนรู้เช่นนี้ตราบใดที่เรายังไม่รู้สึกถึงความพอเพียงอันเปรียบได้เสมือนกับ ความสมดุลย์

    ประสบการณ์ และ สรรพสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏขึ้นในชีวิตเรา ล้วนถูกสร้างขึ้นจากจิตของเรา ทุกอย่างถูกสร้างขึ้นอย่างสมดุลย์เพื่อการเรียนรู้ และเหมาะกับคุณภาพของจิตเราอยู่แล้ว

    ความสุข หรือ ทุกข์ ล้วนเกิดขึ้นภายหลังจากความเชื่อของเราทั้งสิ้น มันเกิดขึ้นจาก ความพอใจ หรือ ไม่พอใจที่ถูกสร้างขึ้นจากความเชื่อของเราในภายหลังทั้งนั้น

    เมื่อเราสามารถ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน เมื่อนั้นจิตย่อมออกได้จาก ความยินดีในกามทั้งหลาย และย่อมหมดซึ่งความอยากไม่อยาก เพราะจิตมันพอเพียง หรือ เพียงพอในทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต เพราะเข้าใจอย่างแท้จริง ว่าทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นจากการสร้างของจิตของตนเองเท่านั้นเอง

    เมื่อจิตมีความพอเพียงกับทุกสิ่งที่ปรากฏเข้ามาในประสบการณ์ เมื่อนั้นจิตก็เป็นอิสระจากความปรารถนาอันได้แก่ความอยาก หรือ ความไม่อยากทั้งปวง

    เมื่อจิตมีความพอเพียงเกิดขึ้นแล้ว จิตจึงไม่มีความจำเป็นต้องเรียนรู้ต่อไป เพราะมันพอเพียงหรือ เต็มที่แล้ว

    โลกคือภาพลวงตา แต่มันเป็นภาพลวงตาที่มีเครื่องพรางเป็นเวลา และ ประสาทสัมผัสทั้งห้า

    จิตสร้างภาพมายาขึ้นมา และทำซ้ำผ่านตัวตนแล้วตัวตนเล่า เพื่อมาเรียนรู้ประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าจนกว่าจะเกิดความพอเพียง

    จิตรอคอยความพอเพียงให้เกิดขึ้น จะมีก็แต่ อัตตาตัวตน เท่านั้นที่ไม่ยอมพอเพียงซักที มีแต่จะทำให้ตัวเราของเราเพิ่มขึ้น ด้วยความอยาก และไม่อยากอย่างไม่จบสิ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2011
  6. JINTAWADEE

    JINTAWADEE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +4,728
    ความร่าเริงเบิกบานอย่างแท้จริง ย่อมเกิดจากการที่จิตมีความพอเพียงต่อทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต ไม่ว่าเราจะสมมุติเรียกมันว่าสิ่งใดก็ตาม แม้แต่สุข หรือ ทุกข์

    การที่จิตมีความพอเพียงต่อทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ย่อมหมายถึง จิตที่เป็นอิสระจากความปรารถนาทั้งหลายโดยสิ้นเชิง

    เส้นทางชีวิตของแต่ละท่าน ล้วนถูกกำหนด และ สร้างขึ้นจาก "จิต" ที่ต้องการเรียนรู้เท่านั้น ตราบใดที่จิตยังไม่เพียงพอ จิตก็ยังคงต้องการเรียนรู้ผ่านชาติ ภพ ต่อไป
     
  7. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    [​IMG]
    Anumotana........
    Sathu........
     
  8. Little Duck

    Little Duck เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,020
    ค่าพลัง:
    +1,981
    <table id="post5175214" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="thead" style="font-weight:normal; border: 1px solid #FFFFFF; border-right: 0px">[​IMG] 29-09-2011, 02:59 PM </td> <td class="thead" style="font-weight:normal; border: 1px solid #FFFFFF; border-left: 0px" align="right"> #2666 </td> </tr> <tr valign="top"> <td class="alt2" style="border: 1px solid #FFFFFF; border-top: 0px; border-bottom: 0px" width="175"> AUNKZORO
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jul 2011
    ข้อความ: 148
    พลังการให้คะแนน: 17 [​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_5175214" style="border-right: 1px solid #FFFFFF"> [​IMG]
    </td></tr></tbody></table>

    29-09-2011, = 29+9+20+11 = 69 FUNCTION INTELLEGENCE
    02:59
    = 02+59 = 61 = FUNCTION AVAILABLE
    #2666 = 26+66 = 92 INTELLEGENCE BRAIN

    69+61+92 = 222 = BEGINING VICTORY



    AUNKZORO = 1+21+14+11+26+15+18+15 = 121 = LOVE AVAILABLE
    1+21 = 22 = VICTORY
    12+1 = 13 = AIR CONDITION
    1+2+1 = 4 = DATA



    148 = AVAILABLE DHL
    1=AVAILABLE
    48=12 = DHL

    14+8 = 22 = VICTORY

    17 = QUALITY
    17 = 8 = HUMANITY


    148+17 =165 = PLUS ENERGY
    16+5+ 21 = UNIVERSE
    1+65 = 66 = FULL FILL
    โปรดสังเกตุหมายเลขกระทู้ #2666

    หากดูข้ัอมูลจะเห็นได้ว่า ผลลัพธ์ของทุกข้อมูล มีความหมายและสนับสนุนกัน โปรดสังเกตุทุกข้อมูลจะให้ผลลัพธ์ 222 , 22 , 22 อันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ VICTORY

    ข้อมูลแรก
    69+61+92 = 222 = BEGINING VICTORY อันหมายถึง การขับเคลื่อนเพื่อการข้ามพ้น

    ข้อมูลที่สอง
    AUNKZORO =121 ,1+21 = 22 = VICTORY ผลลัพธฺข้อมูลนี้ จึงแสดงให้เห็นถึงข้อมูลของการปรับสภาพโดยมีความรักอันปราศจากเงื่อนไข เป้นพื้นฐานสำคัญ โดยมีผลลัพธ์ คือ VICTORY

    ข้อมูลที่สาม
    148 = AVAILABLE DHL อันแสดงให้เห็นถึง DIRECTION HUMANITY LIFE และ 17 QUALITY และ มนุษยชาติ อันแสดงให้เห็นถึง การจัดส่งด่วนพิเศษเข็มทิศหรือทิศทางในการดำรงอยู่ในโลกยุคใหม่ โดยมีผลลัพธ์คือ VICTORY อันเป็นการปรับยกระดับพลังงาน การเลื่อนขั้นของของมนุษยชาติ

    เมื่อดูความหมายของ 148+17 = 165 PLUS ENERGY และ UNIVERSE และ FULL FILL จึงแสดงให้เห็นถึง การย้ำเตือนให้สรรพสิ่งเติมเต็มพลังงาน เพื่อการปรับยกระดับพลังงานใหม่ อย่างด่วนที่สุด

    เมือนำผลลัพธ์มารวมกัน 222+121+165 = 508 = 58= ENERGY HUMANITY และ 58=13 = AIR CONDITION จึงหมายถึง มนุษยชาติคือกุญแจสำคัญในการกำหนดทิศทาง โดยการนำเครื่องปรับอากาศภายใน มาใช้ให้เกิดประโยชน์

    โปรดสังเกตุ
    - ผลลัพธ์
    222 , 22 , 22 อันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ VICTORY
    - ผลลัพธ์ของวันที่ 69 อันแสดงถึงดุลยภาพ
    - ผลลัพธ์ของเวลา 61 มีผลลัพธ์เท่ากับ SUJJA 19+21+10+10+1 = 61
    =7= GRAND
    - หมายเลขกระทู้ #2666

    จะเห็นได้ว่าทุกข้อมูลต่างยืนยัน และสนับสนุนกันอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลนี้ จึงไม่ใช่เหตุบังเอิญอย่างแน่นอน ..

    NEW ! NEW AGEพลังงานใหม่
     
  9. Little Mermaid

    Little Mermaid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    718
    ค่าพลัง:
    +1,768
    ดูกร เธอผู้มีทั้งฝีมือ สติปัญญา และความแข็งแกร่งทางร่างกายแต่มีหัวใจที่เต็มไปด้วยบาดแผล ความเดือดร้อนของมนุษย์ที่เป็นไปในโลกขณะนี้ก็ดี ล้วนเกิดขึ้นเพราะคนเราไม่ยอมเรียนรู้ ไม่ยอมทำความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ไม่ยอมเห็นความสำคัญของธาตุจิตวิญญาณของมนุษย์ ทั้ง ๆ ที่ จิตวิญญาณเป็นประธานของสิ่งทั้งปวงทุกอย่างสำเร็จ ได้ด้วยจิตวิญญาณ


    เธอจงอย่าลืมว่า จิตวิญญาณที่อยู่ในตัวคนเรานี่แหละที่เป็นตัวสำคัญในการสร้างสรรค์ เป็นตัวที่มีบทบาท มีอำนาจมีฤทธิ์แรงที่จะทำให้เกิดทุกข์ได้


    การทำความดีของคนเราก็เช่นกัน จะต้องมีจังหวะ มีขั้นตอน มีส่วนต้น ส่วนกลาง ส่วนปลาย คนเราจะเห็นดี เห็นชั่ว ก็เท่าที่ตนจะแลเห็นได้เท่านั้น ไม่เสมอไปหรอกที่ความดีความชั่วที่เธอเห็นนั้นจะถูกต้องเสมอไป


    ความโน้มเอียงที่ผิดพลาดในเรื่องการทำดีนั้น มักจะเกิดใน 2 กรณี
    กรณีแรก เรียกว่า เอียงขวา คือเป็นคนที่หนักไปข้างน้อย หรี่และดับหมายความว่า เป็นพวกที่เห็นแก่ตัว เอาตัวรอด ไม่ทำอะไรที่สร้างสรรค์สร้างสาระให้กับโลก ตัวเองดีคนเดียวก็พอ
    ส่วนอีกหนึ่งเรียกว่า เอียงซ้าย คือเป็นฝ่ายฟุ้งซ่าน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนใหญ่ มุ่งสร้างประโยชน์แก่มวลชน คิดมาก ปรุงมาก พูดมาก สอนมาก ได้แต่สอนคนอื่น แต่ไม่สอนตัวเอง ไม่ทำ ไม่ประพฤติให้แก่ตัวเอง จึงไม่รู้จริง แต่รู้มากเลยรกเลอะ ผิดเพี้ยน ว้าวุ่นใครจะทำผิดทำถูก พอเหมาะพอดีเพียงไร ไม่มีปัญญารู้แท้ ตัดสินเด็ดขาดไม่เป็น ซ้ำร้ายตนเองก็ไม่รู้ตัวเองว่าทำเลวทำผิดอยู่เพียงใด ค้านแย้งกับคำพูดคำสอนของตนเพียงใดก็ไม่รู้ มุ่งแต่ ความใหญ่ ความมาก มุ่งรู้ออกนอกตน แต่ไม่คิดมุ่งเข้าหาตน


    ส่วนทางสายกลาง ที่ไม่เอียงซ้าย และไม่เอียงขวา ในการทำดี คือการมุ่งพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ที่สุดก่อน เมื่อได้ประโยชน์ส่วนตนจนในระดับหนึ่งแล้ว จึงค่อยทำแต่ประโยชน์ท่าน โดยที่ก็ยังไม่เลิกการพัฒนาตนเองได้ ก็ต้องสร้าง แก่นสารขึ้นมาในตัวเองให้ได้เสียก่อน แก่นสารของคนเราจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ ความคิด ที่เป็นแก่นสาร คำพูด ที่เป็นแก่นสาร และการกระทำ ที่เป็นแก่นสารของคนผู้นั้นนั่นเอง

    (f)(f)
     
  10. Indesol

    Indesol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2011
    โพสต์:
    209
    ค่าพลัง:
    +30
    สาธุค้าแก่นสารเป็นหลักใจเสมอค้า
     
  11. Little Duck

    Little Duck เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,020
    ค่าพลัง:
    +1,981

    ผลการออกรางวัลงวดประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2554
    1/10/2554 = 1+10+2+5+5+4 = 27 BEGINNING GRAND


    รางวัลที่ 1. 511052 เลขท้าย 2 ตัว 15

    511052 = 5+1+1+0+5+2 = 14

    511 = 51+1 = 52 ENERGY BEGINNING

    052 = 0+52 = 52 ENERGY BEGINNING

    52+52 =
    104 JOB DESCRIPTION

    5+1+1 = 7
    0+5+2 = 7

    7+7 = 14 NATURE

    เลขท้าย 2 ตัว
    15 = OMEN
    ลางบอกเหตุ

    หากดูความหมายตามลำดับจะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ของวันที่ 1/10/2554 = 1+10+2+5+5+4 = 27 BEGINNING GRAND และผลลัพธ์ของรางวัลที่ 1. 511052 = 5+1+1+0+5+2 = 14 NATURE และเมื่อดูความหมายอื่น 511 = 51+1 = 52 ENERGY BEGINNING และ 052 = 0+52 = 52 ENERGY BEGINNING และ เมื่อดูผลลัพธ์ของ 52+52 = 104 JD = JOB DESCRIPTION อันหมายถึงหน้าที่อันพึงปฏิบัติ และรางวัลเลขท้ายสองตัว OMEN อันหมายถึง ปรากฎการณ์ นิมิต ลางบอกเหตุ ..

    ดังนั้น หากดูรายละเอียดในข้อมูลอ้างอิง และข้อมูลนี้ จึงแสดงให้เห็นถึงการย้ำเตือนอีกครั้ง อันเป็นการยืนยันและสนับสนุนข้อมูลซึ่งกันและกัน อันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการนำพลังงานของสองพลังงาน มาปรับยกระดับพลังงานใหม่อีกครั้ง
    7&7 = GREAT & GRAND ซึ่งแสดง ให้เห็นความมาเป็นคู่ ความเท่ากัน อันเป็นข้อมูลที่สำคัญที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด ข้อมูลนี้จึงเป็นการย้ำเตือนอีกครั้ง โดยมี OMEN เป็นนิมิตบอกเหตุ ในการทำจุดตัดพลังงานใหม่ เพื่อใ่้้ห้เกิดความสมดุลย์แก่สรรพสิ่ง ..

    NEW ! NEW AGE พลังงานใหม่
     
  12. JINTAWADEE

    JINTAWADEE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +4,728
    แมลงวัน กับ ผีเสื้อ ต่างก็เป็นตัวแทนของ "ของคู่" หรือ การมาเป็นคู่ เพื่อความสมดุลย์ในการเรียนรู้ของ "สรรพสิ่ง" เพราะ "สรรพสิ่ง" หรือ จักรวาล นั้นมีคุณสมบัติคือ ความสมดุลย์

    ทั้งแมลงวัน และ ผีเสื้อ ล้วนมีหน้าที่ของมันในระบบนิเวศน์ เป็นหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติโดยตรง และต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกัน เฉกเช่นกับการสนับสนุนซึ่งกันและกัน

    หน้าที่ของทั้งสองล้วนสนับสนุนและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ "ธรรมชาติ"


    เช่นเดียวกันกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น J หรือ B (แทนความคิดเห็นอันแตกต่างของมนุษย์ที่มีพื้นฐานมาจาก "ความเชื่อ" ) ทุกคนไม่ว่าจะเห็นแตกต่างกันเช่นไร ต่างก็มีหน้าที่อันพึงปฏิบัติเหมือนกัน นั่นคือหน้าที่อันยิ่งใหญ่ (GREAT)ในการสร้างโลก และ จักรวาลให้เป็นโลก และ จักรวาลที่สวยงาม สันติสุข เพื่อให้ลูกหลาน และ มนุษยชาติรุ่นต่อไป (โดยการศึกษาคุณสมบัติของจักรวาลและพลังงานต้นกำเนิด หรือ จิตวิญญาณ

    และ หน้าที่หลัก (GRAND) ในการเรียนรู้ภายใต้เครื่องพรางแห่งกาลเวลา และ ประสาทสัมผัสทั้งห้า (รู้เพื่อละ) โดยยึดคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหลัก


    ความรู้ทั้งสองด้านนี้มีพร้อมอยู่แล้วในสรรพสิ่ง ในจิตวิญญาณของมนุษย์ทุกคน เพราะ จิตวิญญาณ คือ ข้อมูล ความรู้


    ไม่ว่าจะเป็น J หรือ B (อันเปรียบเสมือนความเห็นอันแตกต่าง) หรือ
    GREAT หรือ GRAND ต่างก็เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติ เปรียบเสมือน 901 คือ ทั้ง 9 และ 1 ต่างก็เป็นแขนทั้งสองข้างของ สุญตา หรือ จักรวาล ซึ่งต้องมีเพื่อความสมดุลย์ อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของจักรวาล


    กฏของจักรวาล คือ กฏของความสมดุลย์ จึงต้องรู้จักใช้ทั้งสองขั้วให้สมดุลย์ โดยไม่สุดโต่งด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป หรือ เอียงซ้าย หรือ เอียงขวาด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป

    ขอบคุณ คุณ LITTLE MERMAID
    ความโน้มเอียงที่ผิดพลาดในเรื่องการทำดีนั้น มักจะเกิดใน 2 กรณี
    กรณีแรก เรียกว่า เอียงขวา คือเป็นคนที่หนักไปข้างน้อย หรี่และดับหมายความว่า เป็นพวกที่เห็นแก่ตัว เอาตัวรอด ไม่ทำอะไรที่สร้างสรรค์สร้างสาระให้กับโลก ตัวเองดีคนเดียวก็พอ
    ส่วนอีกหนึ่งเรียกว่า เอียงซ้าย คือเป็นฝ่ายฟุ้งซ่าน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนใหญ่ มุ่งสร้างประโยชน์แก่มวลชน คิดมาก ปรุงมาก พูดมาก สอนมาก ได้แต่สอนคนอื่น แต่ไม่สอนตัวเอง ไม่ทำ ไม่ประพฤติให้แก่ตัวเอง จึงไม่รู้จริง แต่รู้มากเลยรกเลอะ ผิดเพี้ยน ว้าวุ่นใครจะทำผิดทำถูก พอเหมาะพอดีเพียงไร ไม่มีปัญญารู้แท้ ตัดสินเด็ดขาดไม่เป็น ซ้ำร้ายตนเองก็ไม่รู้ตัวเองว่าทำเลวทำผิดอยู่เพียงใด ค้านแย้งกับคำพูดคำสอนของตนเพียงใดก็ไม่รู้ มุ่งแต่ ความใหญ่ ความมาก มุ่งรู้ออกนอกตน แต่ไม่คิดมุ่งเข้าหาตน


    ส่วนทางสายกลาง ที่ไม่เอียงซ้าย และไม่เอียงขวา ในการทำดี คือการมุ่งพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ที่สุดก่อน เมื่อได้ประโยชน์ส่วนตนจนในระดับหนึ่งแล้ว จึงค่อยทำแต่ประโยชน์ท่าน โดยที่ก็ยังไม่เลิกการพัฒนาตนเองได้ ก็ต้องสร้าง แก่นสารขึ้นมาในตัวเองให้ได้เสียก่อน แก่นสารของคนเราจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ ความคิด ที่เป็นแก่นสาร คำพูด ที่เป็นแก่นสาร และการกระทำ ที่เป็นแก่นสารของคนผู้นั้นนั่นเอง

    ในโลกใบนี้มีท่านผู้มีความเข้าใจทั้ง GREAT และ GRAND เป็นอย่างดี หากพบกันได้ที่ทางสายกลาง โลกนี้คงเป็นโลกที่สวยงาม สันติสุข และไร้เงื่อนไขอย่างแท้จริง


    ข้าพเจ้าก็ยังเป็นนักเรียนที่พร้อมจะเรียนรู้ทั้ง GREAT และ GRAND ต่อไป

    ขอบคุณครูทุกท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2011
  13. อังศิกร

    อังศิกร สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +0
    pig_balletpig_balletpig_ballet

    สุขใจจัง..
     
  14. Vking

    Vking เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2011
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +1,555
    ขอเต้นด้วยคน...คร๊า... :z7



     
  15. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    มาบ่อยนะเดี๋ยวนี้ 55+(ขอ"จังหวะหัวใจ"มาวางในนี้หน่อยดิ..)

    ขอขอบคุณท่าน"ลิตเตี้ล เมอร์เมด" สำหรับธรรมของท่านครับบ.. อ่านแล้วรู้สึกดี...
     
  16. AUNKZERI

    AUNKZERI Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +49
    ช่วงนี้ ไข้ทำพิษผมส่ะแล้ว รักษาสุขภาพด้วยนะครับ เพื่อนพี่น้อง สหมิตรน้อยใหญ่

    <iframe width="853" height="480" src="http://www.youtube.com/embed/ovxZH9GTTPk" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  17. AUNKZERI

    AUNKZERI Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +49
    <iframe width="640" height="480" src="http://www.youtube.com/embed/VS2RwnTNoS4" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    [​IMG]
     
  18. JINTAWADEE

    JINTAWADEE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +4,728
    ความสุขทั้งหลายก็เกิดจาก ความพอเพียง
    จะเป็นอิสระจากความปรารถนาได้ก็ต้องใช้หลัก ความพอเพียงเท่านั้น
    มนุษย์ทุกวันนี้ ที่เป็นทุกข์ ก็เกิดจากใจที่ ไม่พอเพียง จึงทำให้เรายังเป็นทาสของกิเลส หรือ ความปรารถนา ที่เกิดขึ้น
    ความปรารถนา รวมถึง ความอยากจะเป็น จะมี และ ความไม่อยากจะเป็น จะมี

    แม้จะเป็นความไม่อยากจะเป็น จะมี แต่นั่นก็เป็น ความปรารถนาอย่างหนึ่งเหมือนกัน

    ประสบการณ์ในเกิดขึ้นในชีวิต รวมถึงตัวเรา ล้วนเกิดจากการกระทำของจิตที่ต้องการการเรียนรู้ขั้วตรงข้ามเพื่อความสมดุลย์

    ข้าพเจ้าคิดว่าการเรียนรู้สติปัฐฐาน เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องติดอยู่ใน รูป รส กลิ่น เสียง หรือ สัมผัส เพราะมันทั้งหลาย สร้าง ความคิดเห็นให้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า และสติปัฐฐานก็ช่วยให้เราไม่ฟุ้งซ่านมากจนเกินไป

    ข้าพเจ้าเป็นเพียงนักเรียนที่ค่อย ๆศึกษาหาความรู้ และ แกะคีย์เท่านั้น มิได้เป็น "ผู้รู้"อัน ใด

    หากจะมี "ท่านผู้รู้" มาช่วยกันนำความรู้อันเป็นประโยชน์ คงจะมีประโยชน์อย่างสูงเช่นกัน

    ขอขอบพระคุณอย่างสูง

     
  19. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    ยินดีต้อนรับ..หมูหมุนน่ารัก...กระทู้นี้มีแต่สิ่งดีๆ.. หยิบติดมือไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีทีเดียว..
    ขอบคุณ"ครูทางจิตวิญญาณ" ทุกๆท่าน..ขอบคุณครับบ
     
  20. Little Mermaid

    Little Mermaid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    718
    ค่าพลัง:
    +1,768
    คัดมาใ้ห้อ่านใหม่..

    ด้วยความรักพระพุทธองค์มั่นคงถึงธรรมสูงยิ่ง คือเห็นพระองค์แท้จริงในทุกสิ่งทุกสัตย์ทุกคน ในพระไตรปิฎกที่พระพุทธองค์ได้พูดถึงการปฏิบัติในอริยสัจข้อที่ 4 ไม่ว่าจะเป็นทางสายกลาง ไตรสิกขา หรืออริยมรรคมีองค์ 8 ก็ตามนี่แหละ คือแนวทางการปฏิบัติ หรือในหลักของไตรสิกขา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา


    พระองค์ก็ทรงอุปมา อุปมัยไว้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 ทรงอุปมาการปฏิบัติในแนวทางของไตรสิกขา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เหมือนโคแม่ลูกอ่อน ที่กำลังเล็มหญ้าอยู่ แล้วก็ชำเลืองลูกน้อยไปด้วย ก็เหมือนกับชีวิตของเรา ในชีวิตประจำวันทุกคนต้องทำกิจการงานต่างๆ ทำการงานไปด้วย ดูจิตใจไปด้วย ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ทำกิจการงานอะไรอยู่ก็ชำเลืองดูจิตใจไปด้วย หรือไม่ได้ทำอะไรอยู่ก็ชำเลืองดูจิตใจไปด้วย


    และเราก็จะ “พบสิ่งใหม่” หลังจากที่เราได้สังเกตจิตใจแล้วนั่นคือสิ่งที่เราไม่เคยพบมาก่อนเลย ถ้าเราไม่ได้หันเข้ามามองจิตใจ นั่นก็คือสภาวะจิตที่บริสุทธิ์ หรือจิตที่ประภัสสรของเรานั่นเอง ปภสสร มิท๐ จิตต๐ จิตที่ประภัสสรเรานี่เป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะขั้นอัลติมะ หรือธรรมชาติที่แท้จริงหรือ อสังขตธรรม ที่ไม่มีจุดเริ่มต้นไม่มีจุดสิ้นสุด


    ทุกครั้งที่เราหันมามองจิตใจของเรา หรือมองขบวนการความคิด ความรู้สึกเราจะพบว่า ความคิดมันหยุดไปชั่วขณะหนึ่ง ในขณะที่ความคิดมันหยุดไป ถ้าเราลืมตา เราก็จะเห็น หูเราก็ได้ยิน แต่การเห็นการได้ยินขณะที่จิตเราว่าง จิตที่ไม่มีความคิด มันต่างไปจากเดิมที่เราเคยดำเนินชีวิตมา แต่ก่อนไม่รู้ว่าจิตใจเราว่างพอเรามองเห็นสิ่งต่างๆ หรือได้ยินสิ่งต่างๆ จะมีบัญญัติหรือสัญญาความจำมีชื่อที่เราไปตั้งให้มันไว้


    ขบวนการความคิดก็เริ่มจากสัญญา สร้างสิ่งที่ถูกรู้ก็คือชื่อต่างๆ นั่นเอง ขบวนการความคิดนั้นแบ่งแยก สิ่งที่ถูกรู้กับผู้รู้ออกจากกัน จึงมีความรู้สึกว่าฉัน ผู้รู้ก็คือฉัน คืออัตตาตัวตนนี่แหละเกิดจากความจำที่ไม่ใช่ความจริงความจำอันนี้เราเรียก ว่า สัญญาวิปลาส กลายเป็นสิ่งที่ถูกรู้สร้างผู้รู้ขึ้นมา ผู้รู้ก็คือนาม สิ่งที่ถูกรู้ก็คือรูป มีการรับรู้อย่างแบ่งแยกเพราะอวิชชา ไม่มีปัญญาเห็นความจริง อย่างใน ปฏิจสมุปบาท หรือในเหตุแห่งเกิดทุกข์ เพราะไม่มีปัญญาเห็นความจริง อวิชชาทำให้เกิดความคิดหรือการปรุงแต่งของจิตใจ เกิดสังขาร สังขารทำให้เกิดวิญญาณ เกิดธรรมชาติรู้ วิญญาณทำให้เกิดนาม-รูป ทำให้เกิดการรับรู้อย่างแบ่งแยก มีสิ่งที่ถูกรู้มีผู้รู้ ก็นำไปสู่ความรู้สึกพอใจ-ไม่พอใจ นำไปสู่การให้ค่าตัดสิน ลงความเห็นที่เป็นคู่ๆ นี่คือความสุดโต่งทั้งสอง


    สิ่งต่างๆ ที่เราเห็นแล้วลงความเห็นว่าสูง-ต่ำ,ดำ-ขาว,ยาว-สั้น คือความสุดโต่งทั้งสอง เป็นมิฐฉาทิฐิ เป็นความเห็นที่ผิดจากความเป็นจริง ทางสายกลางอยู่เหนือของคู่ เป็นสภาวะจิตที่อยู่เหนือโลก โลกเป็นของคู่ เหนือปัญญาระดับเหตุผล นำไปสู่ความต้องการพอใจ-ไม่พอใจขึ้นมา ได้มาก็เกิดความยึดถือ ยึดติด เกิดเป็นภพ เป็นชาติ คือขบวนการความคิดในแต่ละขบวนการที่เกิดจากอวิชชา มีความรู้สึกว่ามีตัวเรา มีอัตตาตัวตน เมื่อมีความทุกข์ก็มีตัวเราเป็นผู้ทุกข์ มีความสุขก็มีตัวเราเป็นผู้สุขเป็นผลมาจากการรับรู้อย่างแบ่งแยก


    ถ้าเราปฏิบัติอยู่ในทัศนะที่มีการรับรู้อย่างแบ่งแยก ก็เหมือนชีวิตธรรมดาที่ยังดำเนินอยู่ในมิติของจิตสามัญสำนึก ทางสายกลางเป็นจุดเริ่มต้นที่จะไปพ้นขบวนการรับรู้อย่างแบ่งแยก ไปพ้นขบวนการความคิดที่เกิดจากอวิชชา


    เมื่อขบวนการความคิดหยุดลง จิตของเราว่าง,การรับรู้อย่างแบ่งแยกก็หมดไป สิ่งที่ถูกรู้ก็ไม่มี ผู้รู้ก็ไม่มี เราก็เห็นเฉยๆ ได้ยินเฉยๆ ที่เราเห็นเฉยๆ ได้ยินเฉยๆ คือเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน ที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะกับ พาหิยะ พาหิยะได้ดวงตาเห็นธรรม

    พอพระพุทธองค์ตรัสว่า “พาหิยะ เธอจงเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน รู้สักแต่ว่ารู้ ทราบก็สักแต่ว่าทราบ ถ้าเธอรับรู้ได้อย่างนี้ ตัวเธอก็ไม่มี”


    นั่นคือไม่มีผู้รู้ โลกนี้ก็ไม่มี โลกหน้าก็ไม่มีนี่คือไปพ้นเวลา


    เมื่อใดที่เราหันมาสังเกตจิตใจขบวนการความคิดมัน หยุดไป “สิ่งใหม่” ก็เกิดขึ้นนั่นคือการรับรู้อย่างไม่แบ่งแยกเราจะพบกับสภาวะจิตที่สะอาด บริสุทธิ์ ประภัสสร เราจะสัมผัสได้กับสัจจะที่แท้ ที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุดไม่มีของคู่ ไม่มีสกปรก-ไม่มีสะอาด, ไม่มีเกิด-ไม่มีดับ ก็คือ อสังขตธรรม หรือ บรมธรรม ถ้าเราสัมผัสได้กับสิ่งนี้เท่ากับเราพบทางแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ได้เห็นทางของการปฏิบัติแล้ว

    การปฏิบัติ หรือการภาวนาในทุกอริยาบทสามารถทำได้ เป็นการปฏิบัติที่อยู่บนฐานของจิตที่พ้นจากความรู้สึกที่มีตัวเรา นั่นคืออยู่บนฐานของ “ทางสายกลาง” อยู่บนฐานของจิตที่อยู่เหนือโลก จึงเป็นศิลปะของการปฏิบัติอย่างยิ่งในการภาวนา หากเราได้ประจักษ์ แจ้งกับจิตบริสุทธิ์ จิตที่ประภัสสรของเราเวลาต่างๆ อดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็จะสลายไป ภาวะนั้นไปพ้นกาลเวลา เป็นอกาลิโก นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ


    อุบายต่างๆ มาสิ้นสุดตรงนี้ ที่เรากำหนดรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะเป็นลมหายใจ ลูกแก้ว ที่เท้า ที่มือ อะไรต่างๆ อยู่ในขั้นอุบายเป็นมิติของจิตสามัญสำนึก มีสิ่งที่ถูกรู้มีผู้รู้ พอความคิดสงบลงด้วยการหันเข้ามาดูที่จิตใจของเรา สิ่งที่ถูกรู้และผู้รู้ก็จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นเอกภาพเดียวกัน เราก็จะเห็นสภาวะจิตที่อยู่เหนือการรับรู้อย่างแบ่งแยก อยู่เหนือของคู่ เราตระหนักรู้ตรงนี้ เราจะรู้สึกว่าเรากับสรรพสิ่งเป็นเอกภาพเดียวกัน หรือเป็นหนึ่งเดียวกัน คือไม่แบ่งแยกนั่นเอง คือความเป็นหนึ่ง,เห็นเฉยๆ ได้ยินเฉยๆ, เมื่อมันไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ ไม่มีผู้รู้มันก็รับรู้ในความเป็นหนึ่ง, คือรับรู้อย่างไม่แบ่งแยก

    เราต้องสัมผัสเอาเองว่าการรับรู้อย่างไม่แบ่งแยกเป็นอย่างไร มันก็เห็น ก็ไดยินไปพ้นชื่อ พ้นความรู้สึกที่มีตัวเราเป็นผู้เห็น เราจะต้องสัมผัสให้ได้ เห็นมันให้ชัดเลย ว่าสภาวะจิตที่มันว่างจากความคิด รับรู้ทางประสาทสัมผัสไม่ว่าจะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มันรับรู้อย่างไร เมื่อเราสามารถตระหนักรู้ถึงจิตที่มันบริสุทธิ์หรือประภัสสรแล้วนี่ เราก็จะรับรู้ความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติที่แท้เป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะ

    นั่นก็คือการบรรลุสัจจะหรือบรรลุธรรมไปพ้นกาลเวลา ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต เมื่อเราสามารถเข้าถึงสิ่งนี้ได้เราก็เริ่มเดินทาง พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้ชี้ทาง

    ที่พระพุทธองค์ชี้ทางนี้ในวันอาสาฬหบูชา “สมณะทางสุดโต่งทั้งสองไม่ควรเดินให้เดินทางสายกลาง "


    แล้วท่านอัญญาโกญธัญญะ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม การได้ดวงตาเห็นธรรมก็คือเห็นสภาวะจิตที่มันไปพ้นโลก ไปพ้นของคู่ ไปพ้นกาลเวลา ไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรานั่นเอง


    เมื่อใดก็ตามที่เราหันเข้ามามองจิตใจของเรา เราก็จะสัมผัสได้กับสิ่งนี้ เราก็จะรู้ว่าเวลานี่มันไม่ได้มีจริงๆ เวลามันเกิดจากความคิดของเรา เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ บางคนถามว่าเมื่อวานมีไหม วันนี้มีไหม พรุ่งนี้มีไหม มันมีเพราะเราคิด ถ้าเราไม่คิดมันก็เป็นเช่นนั้นเอง เช่นนั้นเองหมายถึง ไม่อาจจะกล่าวได้ว่ามันมีหรือมันไม่มี เมื่อภาวะจิตของเราว่างจากขบวนการความคิดมันไปพ้นของคู่ ไปพ้นความมี ไปพ้นความไม่มี ไปพ้นสูง พ้นต่ำ พ้นดำ พ้นขาว พ้นถูก พ้นผิด ภาวะนั้นคือ “ทางสายกลาง” หรือจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติล่ะ


    ถ้าถามว่าความจริงแท้ หรือสัจจะคืออะไร หรือจิตประภัสสรคืออะไร เราไม่สามารถที่จะหาภาษาที่ไปอธิบายภาวะของความจริงนั้นได้เลย เพราะว่าคำถามเหล่านั้นมันมาจากฐานของความคิด ของมายา ความคิดนี้เป็นมายา ฐานของจิตสามัญสำนึกที่มีสัตว์บุคคลมีตัวตน แต่ถ้าเราเข้าถึงสัจจะ ก็คือเห็นภาวะจิตที่มันว่างหรือเห็นสูญญตา ภาวะนั้นมันมีธรรมชาติรู้ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ก็คือปรีชาญาณ หรือปัญญาญาณ ถ้าเราสร้างฐานของปัญญาญาณให้เกิดขึ้นกับจิตใจของตัวเรานี่เราจะรับรู้ของ คู่ๆ ที่เราเคยใช้มา สูง-ต่ำ, ดำ-ขาว, ยาว-สั้น, มันจะไม่ต่างกัน คือภาวะจิตที่ไปพ้นของคู่ จะเห็นสิ่งต่างๆ ไม่แตกต่างกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเหมือนกัน, เหมือน-แตกต่างมันเป็นของคู่


    เราจะรับรู้สิ่งต่างไม่ว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ไม่แตกต่างกันคือมันเป็นของมันเช่นนั้นเองภาษาพระท่านใช้ ตถตา ตถตาเป็นหัวใจของพุทธศาสนา มันเป็นภาวะของจิตที่ตื่นขึ้นท่ามกลางภาพลวงตาที่เราเคยเห็นในมิติจิตสามัญ สำนึก ถ้าเรามองโลกมองชีวิตด้วยระดับปัญญาเหตุผลนี่ สิ่งต่างๆ ที่รับรู้มันเป็นมายา เป็นภาพลวงตา คือมันไม่ใช่ความจริง


    แต่ถ้าเรามองโลกด้วยปรีชาญาณ ด้วยปัญญาญาณ ภาพลวงตาเหล่านั้น หรือปรากฎการณ์เหล่านั้นมันจะกลายเป็นความจริง ปัญหาของมนุษย์คือเราไม่รู้ความจริง คิดว่าสิ่งต่างๆ ที่เรารับรู้ ในมิติจิตสามัญสำนึกว่า มันเกิด- มันดับ,เห็นมันมีตัวตน-เห็นมันไม่มีตัวตน อย่างนี้เป็นความจริง มนุษย์-ปุถุชน เราคิดอย่างนี้ เอาความรู้ที่ไม่จริงไปบริหารชีวิตเรา ไปบริหารสังคม ปัญหาต่างๆ จึงเกิดขึ้นมากมาย การแก้ปัญหาสังคมมันแก้ได้ด้วยการศึกษาหรือสิกขา ไม่ใช่ศึกษาให้ทุกคนมีความรู้สูงๆ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก แม้จะได้ปริญญามากมาย แต่ทางพุทธศาสนาก็ยังไม่ถือว่าเป็นบัณฑิต



    จะต้องเกิดธรรมจักษุ คือได้ดวงตาเห็นธรรมหรือเห็นความจริง นั่นคือปัญญาญาณหรือปรีชาญาณ เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นหรือตามความเป็นจริง หรือมันเป็นของมันเช่นนั้นเอง ทางพุทธศาสนาถึงจะเรียกว่าเป็นบัณฑิต ในทางโลกเรียนเพื่อสะสมความรู้ การศึกษาที่แท้จริงมันจะต้องทำให้เกิดปรีชาญาณ เข้าใจโลก เข้าใจชีวิต เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง ทุกคนก็จะมีความรักเอื้ออาทร เกื้อกูลกันและกัน นี่คือการศึกษาที่แท้จริง ดำเนินชีวิตอย่างมีทุกข์น้อยที่สุด หรือไม่มีความทุกข์เลย


    อนัตตา ที่เราจะเห็นได้ก็ต้องเกิดจากปรีชาญาณ เกิดจากจิตที่ว่าง เกิดจากจิตที่ประภัสสรของเรา การปฏิบัติในทัศนะของไตรสิกขา ที่พระองค์อุปมาเหมือนโคแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้าแล้วชำเลืองดูลูกน้อย นี่คือหัวใจของการภาวนา เมื่อเราเห็นสภาวะจิตที่มันว่าง ไปพ้นความคิด ไปพ้นของคู่ นี่มันเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่พระพุทธองค์พูดไว้ในพระไตรปิฏก ในโอฆะสูตร เล่มที่ 15 พระองค์ปฏิบัติทุกอริยบท อย่างไม่พัก-ไม่เพียร, ไม่จม-ไม่ลอย ก็คือสภาวะจิตที่อยู่เหนือโลก เหนือของคู่นั่นเอง เราก็สามารถจะปฏิบัติได้ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน เราสามารถปฏิบัติได้


    เมื่อใดที่เราสังเกตจะเกิดความเข้าใจอันเกิดจากปรีชาญาณคือการเข้าใจที่ แท้จริง ที่เขาบอกว่าความรู้ที่สูงสุดก็คือไม่รู้อะไรเลย ในขณะที่เราสังเกตแล้วมันว่าง ไปพ้นบัญญัติ ไปพ้นชื่อต่างๆ ที่เราจดจำมา, ไม่รู้อะไรเลยในเรื่องของความรู้ต่างๆ แต่ตรงนั้นมันรู้ความจริง ตระหนักรู้ถึงธรรมชาติที่แท้, ถึงสัจจะขั้นอัลติมะ ถ้าหากเราสามารถจะพัฒนาตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ และสัมผัสได้กับสิ่งนี้ นี่เราเริ่มต้นเดินทางแล้ว เมื่อเราเริ่มต้นเดินทางของมรรค กับผลก็อยู่ด้วยกัน


    ขณะที่เรารับรู้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายด้วยใจที่มันว่างจากขณะหนึ่งไปสู่อีกขณะหนึ่ง เมื่อจิตเป็นสัมมาสมาธิ หรือตั้งมั่นแล้ว ธรรมชาติรู้จะแผ่ขยาย การรับรู้ในความเป็นทั้งหมด หรือในความเป็นองค์รวม ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ พร้อมบนฐานของเอกภาพ บนฐานของการรับรู้โดยไม่แบ่งแยกใน ทุกขณะที่เคลื่อนไหว ทุกขณะที่ย่างก้าว เราจะต้องหาวิถี ของการรับรู้ ของความเป็นทั้งหมดที่อยู่บนฐานของเอกภาพ ในวิถีของเอกายมรรคโค ในวิถีของความเป็นหนึ่ง ของความเป็นเอกภาพด้วยตัวของเราเอง ขณะที่เรารับรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวเรา, เราจะรู้สึกสบาย เราจะเห็นความเป็นธรรมชาติ หรือความเป็นเองของมัน นี่คือความมหัศจรรย์ของการดำเนินชีวิตอีกมิติหนึ่ง


    พระพุทธองค์ทรงปลุกให้เราตื่นขึ้นท่ามกลางภาพลวง ตาต่างๆ ที่เรารู้ด้วยประสาทสัมผัสเมื่อเราตื่นขึ้นแล้วเราจะพบว่ามันเป็นความ มหัศจรรย์จริงๆ ที่เราเห็น ที่เราได้ยิน สิ่งต่างๆ ปรากฏการณ์ที่มันกำลังดำเนินไป เปลี่ยนแปลงไป จากขณะหนึ่งไปสู่ขณะหนึ่ง จากเหตุจากปัจจัยของมันเราจะพบความสด ความใหม่ของจิตใจ ที่มันกำลังรับรู้ เราจะพบความอิ่มเอิบ ความเบิกบานของจิตใจ ในสภาพที่เราสัมผัสได้กับสิ่งใหม่ ในทุกขณะนี่คือผล ที่มันดำเนินร่วมกับมรรค หรือทางที่เรากำลังย่างก้าว หรือที่เรียกว่าภาวนา


    เวลา ที่ทุกคนเป็นทาสมัน ที่เขาเปรียบเทียบไว้ หรือวาดไว้ในรูป ปฏิจสมุปบาท มนุษย์ทุกคนเป็นทาสของเวลาในมิติของจิตสามัญสำนึก เราเป็นทาสของเวลา เวลามันกลืนกินสรรพสิ่ง กลืนกินสรรพสัตว์ ก็คือทุกคนดำเนินชีวิตด้วย อดีต ปัจจุบัน อนาคต ดำเนินชีวิตอยู่ในปัจจุบันด้วยการเอาเรื่องราวต่างๆ หรือประสบการณ์ต่างๆ ในอดีตที่เราพบมาอันนี้เราชอบ อันนี้เราไม่ชอบมาดำเนินในชีวิตประจำวัน อดีตก็เกิดขึ้น ปัจจุบันก็เกิดขึ้น ความคาดหวังมันจะได้จะเป็นจะมี แล้วเราก็ทำให้มันได้ ให้มันเป็น ให้มันมี พอใจก็มีความสุข ไม่พอใจก็มีความทุกข์ นั่นคืออนาคต ทุกคนดำเนินชีวิตในมิติของการรับรู้อย่างแบ่งแยก ที่มีตัวเราเป็นศูนย์กลางนี่ตกเป็นทาสของเวลา มีอดีต มีปัจจุบัน มีอนาคต


    แต่เมื่อเราสามารถสัมผัสกับจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ คือทางสายกลางได้ มันไปพ้นเวลา นี่มันไปพ้นอดีต พ้นปัจจุบัน พ้นอนาคต เราเรียกจิตที่ประภัสสรหรือจิตที่สะอาด บริสุทธิ์ ที่เป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะว่าปัจจุบัน ถ้ามันมีปัจจุบัน หรือถ้ามันมีวันนี้ มันก็มีเมื่อวาน ก็มีพรุ่งนี้ ถ้ามีปัจจุบัน มีอดีต มีอนาคต อกาลิโก ไม่มีทั้งอดีต ทั้งปัจจุบัน ทั้งอนาคต ไปพ้นเวลามีแต่ความเปลี่ยนแปลงจากขณะหนึ่งไปสู่อีกขณะหนึ่ง จากขณะหนึ่งไปสู่อีกขณะหนึ่ง ไม่ได้หมายถึงเวลามันไปพ้นเวลาเหมือนกระแสน้ำมันไหลอยู่ตลอดเวลา


    หากเราเริ่มต้นด้วยทางสายกลางจนจิตของเราตั้งมั่น จิตตั้งมั่นก็คือ สัมมาสมาธิเมื่อขบวนการความคิดที่เกิดจากอุปาทานอย่างหยาบมันลดละไป จนกระทั่งอุปาทานอย่างกลางที่เรียกว่านิวรณ์ 5 กามฉันทะ พยาบาท ถินมิทะ อทัจจะ กุกุตจะ วิจิกิจฉา ต่างๆ เหล่านี้ลดน้อยลงไป ขบวนความคิดต่างๆ ลดน้อยลงไป,จิตของเราก็เริ่มตั้งมั่น สมาธิมันเป็นอะไรบางสิ่งที่เราไม่สามารถจะไปทำ ไม่สามารถทำด้วยความรู้สึกว่ามีตัวเราเข้าไปทำได้ มันจะต้องมีความเป็นเองของธรรมชาติ ความเป็นเองมันเป็นอย่างไร มันก็เป็นจากการที่เราดูมันบ่อยๆ สังเกตมันบ่อยๆ เรียนรู้มันบ่อยๆที่เรียกว่า สิกขานั่นแหละ

    ทุกครั้งที่เราดู เราสังเกต หรือเห็นมัน เห็นขบวนการความคิดต่างๆ มันเป็นการทำลายความยึดถือที่เราได้ยึดถือมาแล้ว จากความยึดถือที่แสดงออกมาอย่างหยาบๆ ทางกาย ทางวาจา แสดงออกมาในรูปของนิวรณ์ต่างๆ เราสังเกตมัน ดูมัน มันเป็นการทำลายอุปาทาน ความคิดมันก็น้อยลงไป นิวรณ์ต่างๆ มันก็ลดน้อยลงไป ธรรมชาติของสัจจะขั้นอัลติมะ หรือสูญญตามันก็เผยตัวของมันเองยาวนานขึ้น การแสดงตัวของมันยาวนานขึ้น มันเป็นความตั้งมั่นของธรรมชาติที่แท้ เมื่อกระทบอารมณ์ทางทวารต่างๆ หรือเมื่อมีอารมณ์ต่างๆ มากระทบไม่ว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เมื่อจิตมันว่างอยู่มันก็ไม่ปรุงแต่ง


    เมื่อมันไม่ปรุงแต่งก็ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกพอ ใจ-ไม่พอใจ, ของคู่ไม่มี จิตก็ตั้งมั่นอยู่ในความว่างในความเป็นปกติ นี่คือสัมมาสมาธิ คุณสมบัติของ สัมมาสมาธิ ปริสุทโธ บริสุทธิ์ สมาหิโต คือตั้งมั่น กัมณีโย พร้อมที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง, อะไรมันพร้อมก็ ปรีชาญาณ หรือปัญญาญาณ มันพร้อมที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ที่มากระทบอย่างมีปัญญา ปัญญาตัวนี้เขาเรียกว่า ปัญญาของสัตบุรุษ ปัญญาที่เข้าถึงสัจจะนั้นก็คือรู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล บริษัท บุคคล มันเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยรู้จักประมาณต่างๆ เหล่านี้นี่คือการดำเนินชีวิตที่มีปรีชาญาณของบุคคลที่เข้าถึงสัจจะ


    ถ้าเราเริ่มต้นด้วย ”ทางสายกลาง” จนกระทั่งนิวรณ์ต่างๆ มันน้อยลงไปเข้าถึงหรือรู้จักสัมมาสมาธิ ปรีชาญาณก็เกิดทำหน้าที่รู้พร้อม ปรีชาญาณนี่เป็นธรรมชาติรู้ที่มีอยู่แล้ว มันเกิดจากสัจจะขั้นอัลติมะ มันเกิดจากความว่าง ปรีชาญาณนี่มันมีอยู่แล้วในคนเราทุกคนแต่มันไม่สามารถจะแสดงออกมาได้ก็เพราะ ว่าขบวนการความคิดปรุงแต่งที่เกิดจากอุปาทานหรือในระดับจิตสามัญสำนึกมันบัง ปัญญาระดับเหตุผลมันบัง เมื่อเราไปพ้นปัญญาระดับเหตุผล ปรีชาญาณมันก็แสดงตัวออกมาทำหน้าที่ตามธรรมชาติของมัน




    สัมมาสมาธิมันเป็นความเป็นเองจากความเข้าใจธรรมชาติของจิตใจที่เราได้ สังเกต, แล้วมันหยุดไป แต่ละครั้งที่เราสังเกต มันเกิดการพัฒนาจากการที่เราไปดูมัน สังเกตมัน เรียนรู้มัน อุปาทานต่างๆ ลดน้อยลง ธรรมชาติที่แท้ก็เผยตัวของมัน ธรรมชาติที่แท้มันเผยตัว มันก็มีธรรมชาติรู้มันจะรู้ในความเป็นทั้งหมด เจ้าปรีชาญาณมันรู้ต่างจากปัญญาระดับเหตุผล ปัญญาระดับเหตุผลมันมีขอบเขตจำกัดรู้ได้ทีละทวาร รู้ได้ทีละเรื่อง รู้ได้ทีละประตู และก็รู้เป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ นี่มันมีขอบเขตจำกัด

    ปรีชาญาณมันไปพ้นความรู้ต่างๆ มันจึงไม่มีขอบเขตจำกัด ในการรับรู้ในความเป็นทั้งหมดรู้ในความเป็นองค์รวม ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มันจะรู้พร้อมที่อยู้บนฐานของการรับรู้แบบไม่แบ่งแยก เป็นฐานของการเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง นี่คือธรรมชาติรู้ ที่เราพัฒนาขึ้นมาจากการภาวนา จากการปฏิบัติ เรานำปัญญาญาณนี้ หรือปรีชาญาณนี้มาใช้ในโลก หรือในจิตสามัญสำนึก ที่เราจะต้องคิด ต้องพูด ต้องทำ ใช้ภาษาโลกเป็นของคู่ ของคู่ต่างๆ มันยังคงอยู่ เราใช้มัน แต่เมื่อฐานจิตของเรามีปรีชาญาณ มีปัญญาญาณ หรือสัมมาทิฐิแล้วนี่ เจ้าปรีชาญาณ หรือสัมมาทิฐิมันทำลายการขัดแย้งต่างๆ ทำให้เราอยู่ในโลกอย่างไม่ขัดแย้ง

    มันเข้าใจ มันก็สามารถใช้ของคู่อย่างไม่ขัดแย้งนั่นก็คือเรามาทำงานร่วมกับโลก หรือร่วมกับจิตสามัญสำนึก หรือความรู้ต่างๆ ที่เราสะสมมา ปรีชาญาณจะนำความรู้ต่างๆ มาใช้ มาคิด แต่ขบวนการความคิดมันเปลี่ยนไป แต่ก่อนเราคิดอยู่บนฐานของๆคู่ แต่นี่เราคิดอยู่บนฐานของความจริง อยู่บนฐานของธรรมชาติรู้ในความเป็นองค์รวม ในความเป็นทั้งหมดนั่นก็คือเห็นสัจจะขั้นอัลติมะ ควบคู่ไปกับการคิด การพูด การทำ ในทุกขณะนี่คือการดำเนินชีวิตด้วย อริยมรรคมีองค์แปด สัมมาทิฐิเป็นตัวนำแม้เราจะคิด พูด ทำ มันก็ Perfect มันก็สัมมาหมด

    หากเรามีความเข้าใจเป็นฐานของการปฏิบัติก่อนแล้วนี่ เราก็จะตระหนักรู้ว่า การปฏิบัติของเรามันก้าวหน้าไหม มันพัฒนา มันต่างไปจากเดิม หรือยังไม่ต่างไปจากเดิมก็ด้วยการที่เราได้สัมผัสกับอารมณ์ต่างๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เมื่อรับรู้แล้วจิตของเราก็ยังปกติอยู่ไหม หรือมันหวั่นไหว หรือมันยังมีความรู้สึกพอใจ-ไม่พอใจ ถ้ามันยังมีความรู้สึกพอใจ-ไม่พอใจอยู่นี่ก็แสดงว่าขณะที่เรารับรู้อยู่นี่ เรามิได้เห็นจิตใจ เราไม่ได้สังเกตจิตใจในขณะนั้น เราไม่มีสติ แต่ถ้ามีสติเห็นมันว่างอยู่ รับรู้อะไรก็จะไม่ปรุงแต่ง

    การปฏิบัติในทัศนะนี้ สามารถที่จะนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เราไปนั่ง 1 ช.ม. ,2 ช.ม. หยุดกิจการงานต่างๆ ไม่รับรู้อะไรเลย อันนั้นยังไม่มีประโยชน์ ไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ถึงแม้ความสงบนั้นจะทำให้เรามีความสุข ก็ไม่มีประโยชน์ เราต้องการปัญญา หรือความสงบของจิตใจมาใช้ในการดำเนินชีวิต ที่เราต้องรับรู้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ รับรู้แล้วใจของเราเป็นปกติอยู่ มีปัญญาเข้าไปเกี่ยวข้องนี่คือเป้าหมายของการปฏิบัติ “ทางสายกลาง” มันถูกกับคนทุกยุค ทุกสมัยที่ไม่มีเวลาที่จะต้องเข้าไปวัด ไม่ทำการงานใดๆ เลย แต่ทางสายกลางนี้ ปฏิบัติได้ในกิจการงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้สังเกตจิตใจไปด้วย ถูกกับคนยุคใหม่ที่บอกว่าไม่มีเวลาปฏิบัติ การงานในชีวิตประจำวันมันคือการปฏิบัติ
    หากเราสัมผัสได้กับจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ ก็นับวันจะก้าวหน้า นับวันจะพัฒนา ก็เหมือนกับอาจารย์ที่บอกให้ลูกศิษย์เฝ้าสังเกตดูจิตใจไว้เธอจะได้เป็นพุทธะ ลูกศิษย์ ก็ไม่เชื่อ เช้าวันหนึ่งก็เดินไปบิณฑบาตไปเห็นเงาของตัวเองในน้ำ ที่ฝนตกเมื่อคืนมันขังอยู่ อุทานออกมาว่า” เงาคือฉัน ก็เดินลุยน้ำไป เงามันก็หายไป อุทานออกมาอีก ฉันไม่ใช่เงา” เงาก็คือฉัน ฉันไม่ใช่เงา ได้บรรลุธรรม ได้เห็นภาวะจิตที่ว่าง ว่างจากของคู่ หรือเห็นของคู่ที่มันไม่ต่างกัน ฉันคือเงา เงาไม่ใช่ฉัน นี่มันเป็นของคู่ ก็เห็นภาวะจิตที่ว่างก็ได้บรรลุธรรม

    หรืออย่างท่านโปถิระใบลานเปล่าท่านก็เฝ้าที่ใจของท่าน และก็จับเหี้ยได้ ที่เณรให้ปริศนาธรรมว่า
    “มีจอมปลวกอยู่จอมปลวกหนึ่งมีรูอยู่ 6 รู เจ้าเหี้ยมันวิ่งเข้า-ออก ที่รู 6 รู ทำอย่างไรถึงจะจับเหี้ยได้”

    จับความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในพุทธศาสนา นี่คือแนวทางของการปฏิบัติด้วยทางสายกลาง หรือไตรสิกขา

    ต้องเริ่มหันเข้ามามองจิตใจ และก็พบสภาวะจิตที่มันว่างจากขบวนการความคิด ใหม่ๆ ก็หยุดเดี๋ยวเดียว ต่อไปก็หยุดนานขึ้น เข้าถึงความเป็นเอง ไม่มีวิธีใดเลยที่จะทำให้ความคิดมันหยุดด้วยตัวของมันเอง ถ้าไม่ใช่การสังเกต ถ้าเราไปกดข่มบังคับจิตใจ บังคับใจของเราไม่ให้มันคิดไปที่อื่นมันก็สงบเหมือนกัน แต่สงบอยู่กับสิ่งที่ถูกรู้ เพราะเราไปกำหนดรู้ที่ใดที่หนึ่ง มันก็มีสิ่งที่ถูกรู้มีผู้รู้ ความสงบชนิดนั้นมันไม่สามารถจะทำให้เกิด หรือมีปรีชาญาณที่จะเห็นความจริงได้

    เราต้องมีความเข้าใจ หากเราเข้าถึงความแจ่มใสของสมาธิจิต จะทำให้เรามีความสดชื่น มีชีวิตชีวา มีพลัง มีความสงบเย็นของจิตใจ และเราจะพบว่าสิ่งล้อมรอบตัวเราในขณะที่ใจเราเบิกบานร่าเริงสดชื่น สิ่งที่ล้อมรอบตัวเราก็พลอยสดชื่นไปด้วย เราก็จะเห็นความมหัศจรรย์ของการดำเนินชีวิตอยู่บนโลก ที่มันเป็นความหัศจรรย์ ตรงที่เรารับรู้สิ่งต่างๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย พร้อมกันเลย นี่เป็นการรับรู้ในความเป็นองค์รวมในความพร้อมของประสาทต่างๆ

    การรับรู้ของประสาทต่างๆ แล้วรวมลงในธรรมชาติรู้กับปรีชาญาณ ธรรมชาติรู้ที่เกิดจากจิตใจที่บริสุทธิ์ นี่เป็นความมหัศจรรย์ที่เราสามารถจะสัมผัส, เราสามารถจะพัฒนา มันได้เมื่อจิตใจของเราสงบนิ่ง เมื่อจิตใจของเราไม่หวั่นไหวเลย รับรู้ในความเป็นองค์รวมในทุกขณะ ไม่ว่าจะ เดิน ยืน นั่ง นอน หรือขณะทำกิจการงานเราก็สามารถที่จะเห็นจิตใจที่มันสงบนิ่ง และเราก็จะตระหนักรู้ว่าเราก็คือสรรพสิ่ง สรรพสิ่งก็คือเรา

    มันสามารถตระหนักรู้จริงๆ ว่าเราคือสรรพสิ่งรอบๆ ตัวเรา คือมันไม่แบ่งแยกสรรพสิ่งก็คือเรา เราก็คือความว่าง สรรพสิ่งก็คือความว่าง เมื่อเราเข้าถึงการตระหนักรู้ถึงสรรพสิ่งก็คือความว่าง ความว่างในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเราไม่เห็นอะไรเลย หรือไม่ได้ยินอะไรเลย ว่างในที่นี้ก็คือ ความว่างที่ไม่ใช่ความว่างเข้าใจไหม? นี่ก็คือสูญญตา หรืออนัตตาที่มันอยู่เหนือของคู่ ถ้าเราเข้าใจด้วยจิตสามัญสำนึก ว่างคือไม่มีอะไรเลย มีกับว่างนี่เป็นของโลก แต่ว่างนี้, สูญญตา อยู่เหนือมี เหนือไม่มี เหนือมี เหนือว่าง ว่างคือสภาวะจิตที่ไม่อาจจะกล่าวได้ว่า สรรพสิ่งที่เราเห็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มันมีหรือไม่มี นี่คือสูญญตา นี่คืออนัตตา

    นี่เป็นหลักการสูงสุดของพุทธศาสนา อนัตตานี่เราจะเข้าถึงด้วยจิตที่บริสุทธิ์ของเราเท่านั้นไม่ใช่ด้วยความคิด ไม่ใช่ไปพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่เราเห็นทางตา ได้ยินทางหู ก็คือรูปว่ามันไม่เที่ยง มันไม่มีตัวตน ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ มันเกิด มันดับ, ไม่ใช่ไปพิจารณาปรากฏการณ์ ให้มันว่างด้วยขบวนการความคิดอย่างนี้ แต่การที่เราจะเห็นสิ่งต่างๆ หรือปรากฏการณ์มันว่าง จิตใจของเราต้องเป็นหนึ่งเดียวกับสัจจะขั้นอัลติมะ นั่นคือจิตที่ประภัสสร ที่มันเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติที่แท้ หรือสัจจะที่สูงสุดแล้วเราจะรับรู้ ด้วยปรีชาญาณเห็นสิ่งต่างๆ มันเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา)


    ไม่อาจจะกล่าวได้ว่ามันมี หรือไม่มีนี่คือว่าง ที่เรียกว่าอนัตตา หรือที่เรียกว่าสูญญตา ที่พระพุทธองค์ทรงตอบโมฆราชะะ โมฆราชะ เธอจงมีสติ มีปัญญาเห็นโลกด้วยความเป็นของว่าง ถอนความรู้สึกว่ามีตัวเราออกเสีย มัจจุราชจะตามหาเธอไม่เจอ เมื่อไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเรา เราจะเห็นสรรพสิ่งนี้มันว่าง ว่างจากของคู่ ว่างจากความรู้สึกว่ามีตัวเรา ว่างจากของเรา เราจะมีความรู้สึก หรือตระหนักว่าสรรพสิ่งในจักรวาล มันประสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ได้แบ่งแยก ทุกสิ่งดำรงค์อยู่ด้วยความสอดคล้อง ประสานกลมกลืนกับธรรมชาติที่แท้ก็คือสัจจะขั้นอัลติมะ

    ทุกคนเกิดมาจากธรรมชาติ แล้วดำเนินไปตามวิถีของธรรมชาติ ตามวิถีของพุทธธรรม ตามเหตุตามปัจจัย และเราจึงมีความรู้สึกว่าเรากับสรรพสิ่งนี้เป็นเอกภาพเดียวกัน หรือเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อเราได้พบ”ทางสายกลาง” หรือเมื่อเราไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรานั่นก็คือไปพ้นมิติของจิตสามัญสำนึก ในมิติของจิตสามัญสำนึก ที่ทุกคนยังไม่ได้เห็นทาง หรือยังไม่ได้ดวงตาเห็นธรรมเราดำเนินชีวิตอย่างแบ่งแยก มีสิ่งถูกรู้มีผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้ก็คือบัญญัติต่างๆ หรือชื่อต่างๆ ที่เราไปตั้งให้มัน ทุกสิ่งที่เราเห็นทางตา เราตั้งชื่อให้มันหมด ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เราไปตั้งชื่อให้มันหมด และเราก็สรุปเป็นปัญญาระดับเหตุผลที่ขัดแย้งกันเป็นคู่ๆ เราคิดว่าสิ่งที่เราลงความเห็นนี่มันคือความจริง นี่คือความสำคัญผิดของปุถุชนเรา เราก็เลยยึดถือ ยึดถือไปตามความสำคัญผิด ปัญหาต่างๆ ก็เกิดขึ้นมากมาย

    ในการปฏิบัติที่เราจะต้องไปพ้นการรับรู้ที่มีตัวเราเป็นผู้รู้ ไปพ้นการรับรู้อย่างแบ่งแยก ทางสายกลางเป็นจุดเริ่มต้นของการรับรู้อย่างไม่แบ่งแยก รับรู้ในความเป็นหนึ่ง รับรู้ในความเป็นเอกภาพ ถ้าเราสัมผัสได้กับจิตใจที่ประภัสสร หรือสัมผัสได้กับสัจจะขั้นอัลติมะ ที่ประสานกลมกลืนกับจิตที่ประภัสสร เราจะมีความรู้สึกว่า เรากับสรรพสิ่งรอบๆ ตัวเราเป็นหนึ่งเดียวกันคือมันไม่แบ่งแยกไปพ้นชื่อต่างๆ ,

    การแบ่งแยกก็ไม่มีจิตสามัญสำนึกที่เราดำเนินชีวิตอยู่ในโลกของการแบ่งแยก อยู่ในโลกของความแตกต่าง อยู่ในโลกของความรู้ที่มีขอบเขตจำกัด อยู่ในโลกของการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส แล้วเราก็ใช้ปัญญาระดับความคิด หรือระดับเหตุผล ปัญหาต่างๆ ก็เลยเกิดขึ้นซับซ้อน

    การปฏิบัติเริ่มต้นของทางสายกลางมันไปพ้นมิติของการรับรู้อย่างแบ่งแยก ไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรา ไปพ้นกาลเวลา ไปพ้นของคู่ ไปพ้นปัญญาระดับเหตุผล ทางสายกลางจึงเป็นกุญแจที่สำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาจิตใจจากระดับจิตสามัญ สำนึกไปสู่จิตเหนือสำนึก ไปสู่โลกุตระจิต การเรียนรู้หรือการสังเกต หรือการดูมันนี่แหละเป็นแนวทางของการปฏิบัติ ในทัศนะของพระพุทธองค์ ที่ทรงวางหลักการไว้ในอริยสัจข้อที่ 4 ก็คือทางสายกลาง หรือไตรสิกขา หรืออริยะมรรคมีองค์แปด ที่พระพุทธองค์ทรงอุปมา อุปมัยการปฏิบัติในหลักของไตรสิกขาเปรียบเหมือนโคแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้าแล้ว ชำเลืองดูลูกน้อยไปด้วย

    เป็นตัวปฏิบัติได้ในทุกขณะ ในทุกกิจการงาน ในชีวิตประจำวันของเรา ทำงานไปด้วย สังเกตจิตใจไปด้วย สังเกตแล้วเกิดอะไรขึ้นเราเท่านั้นที่รู้ เราเท่านั้นที่สัมผัสได้ นั่นก็คือเรารู้ด้วยปัญญาของเราเอง คนมีสติมีปัญญาก็จะมีประสบการณ์จากการเรียนรู้ ที่เรียกว่าสิกขา เป็นหลักการปฏิบัติของพุทธศาสนาที่เรียกว่าสิกขา เป็นการทำลายความยึดถือ อย่างหยาบ ที่แสดงออกมาทางกาย ทางวาจา ที่เรียกว่าศีลทำลายความยึดถือที่แสดงออกมาในรูปของกิเลสอย่างกลางคือนิวรณ์ 5 ที่เรียกว่าสมาธิทำลายกิเลสอย่างละเอียดขั้นอนุสัย หรือความเคยชินที่เรียกว่าปัญญา

    การทำลายกิเลสต่างๆ ที่พูดไว้ในพระไตรปิฎกคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตามขั้นของกิเลสนี่ คือแนวทางของการปฏิบัติ ที่เรียกว่าไตรสิกขา สิกขาก็คือการสังเกต ดูมัน เรียนรู้มัน และเกิดความเข้าใจมัน เมื่อเข้าใจ,ความยึดถือ ความยึดมั่นต่างๆ ที่มันแสดงออกมามันก็น้อยลงไป ละไป วางไป ปล่อยไป เมื่อใดก็ตามถ้าเราได้หันเข้ามามองที่ใจ เราก็จะพบว่า ขบวนการความคิดมันหยุดไปชั่วขณะ จนเข้าถึงความเป็นเอง แล้วเราจะรู้สึกว่าไม่ได้จ้องไม่ได้มอง ไม่ต้องตั้งใจ ก็สามารถสัมผัสได้ จิตใจที่มันว่าง จิตใจที่มันเป็นปกติ นั่นแสดงว่ามันเจริญขึ้นแล้ว เข้าถึงความเป็นเองแล้ว

    เรากำลังจะนำสิ่งหนึ่งที่มีอยู่แล้วในคนเราทุกคน หรือในทุกสรรพสิ่ง มาทำงานร่วมกับธรรมชาติ ที่เกิดจากการปรุงแต่ง หรือที่เรียกว่าขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือธรรมชาติที่เกิดจากการปรุงแต่ง หรือปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นจากเหตุ จากปัจจัยที่ มันกำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ เราขาดสิ่งๆ หนึ่งที่จะทำงานร่วมกับมันชีวิตจึงมีแต่ปัญหา

    จริงๆ เราไม่ได้ขาดมันทำงานร่วมกันอยู่แต่เราไม่เห็นมันเท่านั้นเอง เราไม่รู้มันเท่านั้นเอง นี่คือโมหะเมื่อความยึดถือ ความผูกพันต่างๆ มันปล่อย มันละ มันวาง ไปแล้ว เราก็สามารถเห็นธรรมชาติที่แท้ หรือสัจจะขั้นอัลติมะ ทำงานร่วมกับปรากฏการณ์ต่างๆ ร่วมกับขันธ์ 5 เป็นเนื้อหาเดียวกัน หนึ่งเดียวกัน นั่นก็คือความว่าง นั่นก็คือสูญญตา มันทำงานร่วมกับปรากฏการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง ธรรมชาติรู้ที่เกิดจากธรรมชาติที่แท้ หรือสัจจะขั้นอัลติมะ ทำหน้าที่รู้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด รู้ความเปลี่ยนแปลง,ในความไม่เปลี่ยนแปลง รู้การเคลื่อนไหว,ในความไม่เคลื่อนไหว นั่นก็คือรู้ธรรมชาติสองอย่าง รู้สังขตธรรม ใน อสังขตธรรม อสังขตธรรมก็คือ ธรรมชาติที่แท้หรือสัจจะขั้นอัลติมะ,สังขตธรรมก็คือขันธ์ 5 หรือปรากฏการณ์

    สัจจะจะครอบคลุมทุกสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ มันเปรียบเหมือนกระจกเงาที่สะท้อนทุกสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ที่อยู่ต่อหน้า มัน เมื่อจิตของเราว่าง เป็นปกติ ตั้งมั่น บริสุทธิ์ ปรีชาญาณก็จะทำหน้าที่รู้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด เราจะตระหนักรู้ในความเป็นองค์รวม รู้ทุกสิ่ง ไม่ว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ในความเป็นทั้งหมด ในความเป็นองค์รวมของชีวิตเราในแต่ละขณะ จากขณะหนึ่ง ไปสู่ขณะหนึ่ง นี่คือการดำเนินชีวิตที่แท้จริง,ในมิติของจิตสามัญสำนึก เราไม่สามารถรู้อย่างนี้ได้เพราะว่าปัญญาที่เราใช้ในมิติจิตสามัญสำนึกปัญญา ระดับเหตุผล
    มันคือขบวนการความคิด มันคือปัญญาที่ยังมีขอบเขตจำกัด รู้ได้เฉพาะทีละทาง รู้ได้เฉพาะทีละเรื่อง มันมีขอบเขตจำกัด มันจึงไม่สามารถที่จะรู้สัจจะขั้นอัลติมะ มันจึงไม่สามารถที่จะรู้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัดได้ เมื่อใดที่จิตใจของเราว่าง มั่นคง ตั้งมั่น สมาหิโตแล้ว ธรรมชาติรู้ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา หรือปรีชาญาณ หรือปัญญาญาณ ก็จะทำหน้าที่แผ่ขยายธรรมชาติรู้ในความเป็นทั้งหมดของชีวิตเรา
    ที่เป็นความมหัศจรรย์

    ที่อาจารย์องค์หนึ่งตอบลูกศิษย์

    ลูกศิษย์คนหนึ่งถามอาจารย์ว่า ในโลกหรือในจักรวาลนี้ อะไรคือสิ่งมหัศจรรย์ที่สุด

    อาจารย์ตอบว่า”สิ่งมหัศจรรย์ที่สุดในโลกก็คือ ขณะที่ฉันรู้ความเป็นทั้งหมดในทุกขณะ”

    ถ้าเราสามารถที่จะรู้ความเป็นทั้งหมดของชีวิตเราในแต่ละขณะ ได้เราก็จะได้สัมผัสกับความมหัศจรรย์ของโลก ความมหัศจรรย์ของจักรวาล ความมหัศจรรย์ของชีวิตเรา การปฏิบัติทางพุทธศาสนานี่จึงเป็นศิลปะอันยิ่งใหญ่ เป็นศิลปะอย่างยิ่ง ไม่มีศิลปะของการปฏิบัติ หรือการกระทำชนิดใดที่จะเสมอเหมือนหากเราได้สัมผัสกับภาวะจิตที่เป็นกลางๆ ที่มันอยู่เหนือโลก เหนือของคู่ เหนือความรู้สึกว่ามีตัวเราได้

    นี่แหละคือจุดเริ่มต้นของการเดินทาง จุดเริ่มต้นของการภาวนา จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ เมื่อเราได้เห็น “ทาง” นี้แล้วเราก็เริ่มเดินทาง ซึ่งเราต้องใช้เวลาอีกยาวไกล กว่าเราจะทำลายความยึดถือต่างๆ ที่เราสะสมมาที่มันแสดงออกอย่างหยาบ ทางกาย ทางวาจา กิเลสอย่างกลาง มันจะทำลายได้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น หรือสัมมาสมาธิ อนุสัยความเคยชินต่างๆ มันจะถูกทำลายไป ด้วยปรีชาญาณ นี่คือวิถีของการปฏิบัติ ในทัศนะของพระพุทธองค์ที่วางหลักการไว้ในอริยสัจข้อที่ 4

    จนเรามีความรู้สึกว่าไม่ใช่การปฏิบัติหรอก มันเป็นศิลปะของการดำเนินชีวิตในวิถีของพุทธธรรม, มันเป็นตัวชีวิตจริงๆ ของเรา, มันเป็นการดำเนินชีวิตที่แท้จริง จริงๆ ของเรา เราจะเห็นตัวตนที่แท้ของเราก็คือธรรมชาติที่แท้หรือสัจจะขั้นอัลติมะ, ในมิติของจิตสามัญสำนึก ที่เรามีความรู้สึกว่ามีตัวเรา มันเกิดจากความคิด,มันคือตัวตนเทียมๆ ตัวตนที่มันหลอกตัวเอง, เป็นโลกของมายา เกิดจากความคิดของคู่ต่างๆ ก็เกิดจากความคิด

    อาตมาไปอบรมเด็กๆ ได้ชี้ให้เด็กดูจอที่ฉายสไลท์ ก่อนฉายสไสท์จอมันจะขาวสะอาด บริสุทธิ์ ก็เหมือนจิตใจของเรา ก่อนที่มันจะคิด มันประภัสสร มันบริสุทธิ์ มันสะอาดอยู่, พอเริ่มคิดก็เหมือนกับเราฉายภาพยนต์ ไปบนจอ เราไม่แลเห็นจอสีขาวเลย เราเห็นแต่ภาพเคลื่อนไหว ที่เป็นเรื่องราว แล้วเราก็มีความสุข สนุก สนาน ไปกับเรื่องราว พอใจ-ไม่พอใจ ตัวละครต่างๆ ไปกับเรื่องราวต่างๆ ที่อยู่บนจอภาพ คนทั่วไปก็ไม่เห็นจอสีขาว เราเป็นนักปฏิบัติต้องเห็นจอสีขาวซึ่งเป็นพื้นฐานของจิต พื้นฐานของขันธ์ 5 ด้วย จอสีขาว หรือจิตที่บริสุทธิ์ กับจิตขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ที่มันกำลังทำงานอยู่


    ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ เราจะต้องเห็นภาพที่เคลื่อนไหว กับจอสีขาวเป็นพื้นฐานด้วย นี่คือวิปัสสนาญาณ ก็คือเห็นการเคลื่อนไหว ในความไม่เคลื่อนไหว, เห็นความเปลี่ยนแปลงในความไม่เปลี่ยนแปลง, ของจอสีขาวนั่นเอง มันจึงเป็นศิลปะอย่างยิ่งของการปฏิบัติในทัศนะที่เรียกว่า สิกขา คือการเรียนรู้ การสังเกตมัน ดูมัน เข้าใจมัน ความผูกพันต่างๆ ความยึดถือต่างๆ ก็จะละจะคลายไป อาตมาพบความมหัศจรรย์จากการปฏิบัติในทัศนะนี้ หลังจากที่อาตมาปฏิบัติประมาณ 15 ปี อาตมาพบว่าสิ่งหนึ่งที่เราไม่เห็น มันเผยตัวของมัน ทำหน้าที่จากการสังเกต เรียนรู้ หรือดูมัน
    เราจะพบมันว่างทำให้ เราเห็นสัจจะขั้นอัลติมะชั่วขณะหนึ่ง เมื่อเราปฏิบัติไปแล้วจนจิตของเราตั้งมั่นในความบริสุทธิ์ ในความว่าง สิ่งนี้ล่ะมันจะเป็นพื้นฐานของจิตใจเรา เห็นความว่างที่ก้นบึ้งของจิตใจ ใจมันทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ต่างๆ วิญญาณเกิด สัญญาเกิด สังขารเกิด, รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขบวนการความคิดต่างๆ เกิดขึ้น แต่เราก็ยังเห็นความว่างควบคู่กับการทำงานของความเปลี่ยนแปลงของขันธ์ 5 ไปด้วย แต่ก่อนนี้เรารู้แต่ขันธ์ 5 เราไม่เห็นสิ่งหนึ่งที่มันเป็นพื้นฐาน

    นั่นก็คือความจริงที่แท้ หรือความว่าง หรือสูญญตาหรือสัจจะขั้นอัลติมะ เราไม่เห็นสิ่งนี้ จากการปฏิบัติในทัศนะของไตรสิกขา และการเรียนรู้ดูมันนี่เมื่อเราพบความว่าง,เมื่อเราพบภาวะที่อยู่เหนือโลก หรือเรียกว่า มัชฌิมา เมื่อมั่นคงแล้ว มันจะแสดงตัวของมันออกมาทำงานควบคู่ไปกับปรากฏการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำ สิ่งต่างๆ ที่เป็นขบวนการของการเปลี่ยนแปลงในขบวนการของความคิด หรือการกระทำต่างๆ เราจะสัมผัสได้กับสิ่งหนึ่งที่มันแสดงออกร่วมด้วย นั่นก็คือความว่าง, เราจะตระหนักรู้ความสงบนิ่งที่ก้นบึ้งของจิตใจเรา

    ประสาทสัมผัสรับรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย รับรู้ปรากฏการณ์เราก็จะเห็นความว่างด้วย นั่นแหละมันเป็นธรรมชาติรู้ที่ซ้อนธรรมชาติรู้ ธรรมชาติรู้ของขันธ์ 5 ก็คือ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานะวิญญาณ พวกนี้เกิดแล้วดับรวมลงในธรรมชาติรู้อีกชนิดหนึ่ง ที่ไม่เกิดไม่ดับ ที่มันเกิดจากสัจจะขั้นอัลติมะที่รู้ที่ใจ ธรรมชาติรู้ทั้งสองทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวก็คือตัวรู้ที่เกิดจากประสาท สัมผัส ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย รวมลงในธรรมชาติรู้ของจิตใจที่สงบนิ่ง หรือที่เกิดจากจิตที่ประภัสสรของเรา

    เราจึงสามารถสัมผัสได้กับสิ่งนี้ หรือธรรมชาติที่แท้นี้ในทุกกิจการงานในชีวิตประจำวันของเรา

    เป้าหมายของการปฏิบัติก็คือ ทำลายความยึดถือด้วยการเรียนรู้มัน และธรรมชาติที่แท้ก็จะเผยตัวออกมาทำหน้าที่ให้เราได้สัมผัสควบคู่กับ ปรากฏการณ์ต่างๆ

    เขาจึงเปรียบไว้ว่าปรากฏการณ์ต่างๆ มันเหมือนคลื่น ซึ่งเป็นอาการของน้ำ คลื่นก็คือน้ำ ธรรมชาติของคลื่นที่แท้จริงก็คือน้ำ ถ้าไม่มีน้ำก็ไม่มีคลื่น คลื่นก็คืออาการของน้ำ คลื่นก็คือน้ำ ปรากฏการณ์ต่างก็คืออาการของความว่าง ถ้าไม่มีความว่าง ปรากฏการณ์ต่างๆ ก็มีไม่ได้ เมื่อคลื่นสงบลง มันหายไปไหน เราก็เห็นน้ำที่สงบราบเรียบ

    เมื่อขบวนการความคิดสงบลง หยุดลง สิ้นสุดลง เราก็เห็นสัจจะที่แท้แสดงตัวของมันออกมา ในอริยสัจข้อที่ 3 กิจที่เราจะต้องกระทำต่อนิโรธะคือ เราต้องทำให้แจ้ง เห็นมันให้ชัดเลยว่าสภาวะของจิตที่มันว่างไปพ้นความรู้สึกว่ามีตัวเรา ไปพ้นความรู้สึกที่เป็นของคู่ มันไปพ้นเวลา มันเป็นอย่างไง เราต้องสัมผัสมันให้ได้ด้วยปัญญาของเรา, ด้วยปรีชาญาณของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในพุทธศาสนาเรา


    (f)(f)


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2011
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...