การไถ่ถอนอุปาทานในกาย? นักปฏิบัติทางจิตหลงลืมเหตุที่ทำให้จิตไม่สงบและเสื่อม!?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 19 กันยายน 2011.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    เหตุนี้ใช่หรือไม่ อย่างไรครับ ?

    และการไถ่ถอนอุปาทานของจิตที่ติดกาย มีหลายวิธี กว้างแคบ แยบคายต่างกันอย่างไร ขอท่านโปรดแสดงธรรมปฏิบัติให้ฟังครับ สาธุ..


    [​IMG]






    นำหนังสือธรรมะมาฝากเพื่อนๆครับ มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการไถ่ถอนอุปาทานของจิตที่ติดในกายครับ


    [​IMG]

    file เสียงเทศน์ประกอบหนังสือ "กายคตาสติ" โดยอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    1) “กายคตาสติ” เมื่อ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐
    2) รู้ อสุภะ รู้อย่างไร เมื่อ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑
    3) วิธีภาวนา เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘ (ค่ำ)
    4) ธรรมทายาท เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑

    file pdf หนังสือ "กายคตาสติ" โดยอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กันยายน 2011
  2. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    ดีงั๊บพี่เส

    บางท่านบอกว่ากายมันทำให้หลง
    ก็ไปโทษกาย แต่ไม่เห็นสิ่งที่เป็นประธาน

    มันเลยเหมือนรำไม่ดีโทษปี่โทษระนาด

    การทำกายคตาสติ หรือการทำอสุภะ
    เป็นการย่นย่อให้จิตอยู่ในอารมณ์ใกล้ๆ ไม่ออกนอกมาก
    หากยึดเอากายตนเองเป็นที่ตั้ง
    การมนสิการไว้ในใจด้วย บริกรรมนิมิต อุคหนิมิต จนเป็นปฏิภาคนิมิต
    ก็จะเป็นฐานกำลัง เพื่อเข้าไปทำลายกิเลสในภายในที่เป็นประธาน

    อาศัยเพียงการชำนาญ การทำบ่อยๆ จนกว่าจะแจ้ง
    วัดการที่ไม่ต้องมามีใครบอกแต่ทำด้วยตัวเองก็จะพัฒนาได้เร็วขึ้น
     
  3. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021

    ต้องโทษจิต ที่ไปหลงติดในกาย ไปพอใจในกายว่าเป็นปัจจัยให้เกิดความสุข
    ต้องโทษจิต ที่ไม่เห็นโทษของตัวที่ไปหลงเขา ไม่เห็นโทษที่ให้ผลเป็นทุกข์และความกระสับกระส่ายปรุงแต่งต่างๆนาๆ ใช่แบบนี้รึป่าวครับ พี่ตาหวาน ?
     
  4. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    เป็นมุมมองในการเริ่มต้น
    พระศาสดาไม่ต้องรักษาจิต
    เพราะจิตไม่มีโทษ
    แต่อย่างเราๆไม่รักษาจิตมันก็ผิดเต็มๆ
    จึงต้องอบรมจิตจนจิตมี สติ ปัญญา
    แยกได้ว่า นี่ทกข์ นี่สมุทัย นี่นิโรธ นี่ มรรค
    แล้วดำเนินให้อยู่ในอาการนั้นๆ
     
  5. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    [​IMG]


    คำสอนหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ


    หลวง ปู่กงมาได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติและสอนธรรม เป็นหลักธรรมที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตได้วางเอาไว้ ซึ่งหลวงปู่กงมาก็จดจำได้อย่างขึ้นใจคือธรรม ๑๑ ประการ อันได้แก่..

    ๑.การปฏิบัติทางใจ ต้องถือการถ่ายถอนอุปาทานเป็นหลัก


    ๒.การถ่ายถอนนั้น ไม่ใช่การถ่ายถอนโดยไม่มีเหตุ ไม่ใช่ทำเฉย ๆ ให้มันถ่ายถอนเอง


    ๓. เหตุแห่งการถ่ายถอนนั้น ต้องสมเหตุสมผล เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ธรรมทั้งหลายดับไปเพราะเหตุ พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้


    ๔. เพื่อให้เข้าใจว่า การถ่ายถอนอุปาทานนั้น มิใช่มีเหตุและไม่สมควรแก่เหตุ ต้องสมเหตุสมผล


    ๕.เหตุ ได้แก่ สมมติบัญญัติขึ้น แล้วหลงตามอาการนั้น เริ่มต้นด้วยการสมมติตัวของตนก่อน พอหลงตัวของเราแล้ว ก็ไปหลงคนอื่น หลงว่าเราสวยแล้ว จึงไปหลงผู้อื่นว่าสวย เมื่อหลงตัวของตัวและผู้อื่นแล้ว ก็หลงวัตถุข้างนอกจากตัว กลับกลายเป็นราคะ โทสะ โมหะ


    ๖.แก้ เหตุ ต้องพิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ด้วยสามารถแห่งกำลังของสมาธิ เมื่อสมาธิชั้นต่ำ การพิจารณาก็เป็นญาณชั้นต่ำ เมื่อเป็นสมาธิชั้นสูง การพิจารณาก็เป็นญาณชั้นสูง แต่อยู่ในกรรมฐาน ๕


    ๗.การ สมเหตุสมผล คือคันที่ไหนก็ต้องเกาที่นั่นจึงจะหายคัน คนติดกรรมฐาน ๕ หมายถึงหลงหนังเป็นที่สุด เรียกว่าหลงกันตรงนี้ ถ้าไม่มีหนังคงจะวิ่งกันแทบตาย เมื่อหลงกันที่นี่ ก็ต้องแก้กันที่นี่ คือเมื่อกำลังสมาธิพอแล้ว พิจารณาก็เห็นความจริง เกิดความเบื่อหน่าย เป็นวิปัสสนาญาณ


    ๘. เป็นการเดินตามอริยสัจ เพราะเป็นการพิจารณาตัวทุกข์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ชาติปิทุกข์ ชราปิทุกข์ พยาธิปิทุกข์ มรณัมปิทุกข์ ใครเกิด ใครแก่ ใครเจ็บ ใครตาย กรรมฐาน ๕ เป็นต้น ปฏิสนธิเกิดมาแล้ว แก่แล้วตายแล้วจึงได้ชื่อว่า พิจารณากรรมฐาน ๕ อันเป็นทางพ้นทุกข์ เพราะพิจารณาตัวทุกข์จริง ๆ


    ๙. ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ เพราะมาหลงกรรมฐาน ๕ ยึดมั่นจึงเป็นทุกข์ เมื่อพิจารณาละได้ เพราะเห็นตามความเป็นจริง สมคำว่า รูปสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญฺญายปิ นิพฺพินฺทติ สงฺขาเรปิ นิพฺพินฺทติ วิญฺญาณสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เมื่อเบื่อหน่ายในรูป (กรรมฐาน ๕) เป็นต้น แล้วก็คลายความกำหนัด เมื่อเราพ้น เราก็ต้องมีญาณทราบชัด ว่าเราพ้น


    ๑๐. ทุกขนิโรธ ดับทุกข์ เมื่อเห็นกรรมฐาน ๕ เบื่อหน่ายได้จริง ชื่อว่า ดับอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เช่นเดียวกับ ท่านสามเณรสุมนะ ศิษย์ของท่านอนุราช พอปลงผมหมดศีรษะ ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์


    ๑๑.ทุกข คามินีปฏิปทา ทางไปสู่ที่ดับ คือการเป็นปัญญาสัมมาทิฐิ ปัญญาเห็นชอบ เห็นอะไร เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การเห็นจริง แจ้ง ประจักษ์ ด้วยสามารถแห่งสัมมาทิฐิ ไม่หลงคติสุข มีสมาธิเป็นกำลัง พิจารณากรรมฐาน ๕ ก็เป็นองค์มรรค
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กันยายน 2011
  6. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    การเห็นกายมีสองลักษณะ

    1.กายในภายนอก
    2.กายในภายใน

    กายในภายนอก คือ อาการเคลื่อนของอิริยาบท นี้ชื่อว่าการเห็นกายในภายนอก
    กายในภายใน คือ อาการ32 ว่าด้วยกายคตาสติ ที่นมสิการด้วยนิมิต
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ธรรมชาติ จิต คือ รู้อารมณ์ (อารัมณะ)..ที่วิ่งวนอยู่ในขัณท์ทั้ง4 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร.........ทุกข์เกิดจาก ความเพลินพอใจและไม่พอใจในอารมณ์เป็นอุปาทาน...........การรู้ รูป มหาภูตรูปทั้ง4ที่เป็นอารมณ์ให้จิตรู้ที่เกิดอยู่ทุกขณะเช่น ลม ในอานาปานสติ หรือ เย็นร้อน อ่อน แข็ง ยืน เดิน นั่ง นอน..........ทำให้เห็นการมาการไป ของจิต จากสภาพธรรมหนึ่ง สู่สภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใดที่มีตัวตนเราเพลิดเพลินพอใจมีราคะเราก็รู้ รู้แล้ว ทำอย่างไร?แล้วแต่บุคคลจะจัดการครับ({)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2011
  8. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมพิจารณาแต่ความตายครับ ร่างกายที่เห็นอยู่นี้ ต้องดับสลาย

    และ ความตาย จะมาเยือนเรา ในวันใดก็วันหนึ่ง

    แต่ที่ยังดิ้นรนอยู่ เพื่อรักษาร่างกายให้มีชีวิตต่อไป

    เหตุเพราะยังไม่ถึงที่ตาย ซึ่งเป็นภาระที่หนัก และ เหนื่อยเป็นอย่างมาก

    และร่างกายที่เป็นแหล่งสะสมของโรคภัย นำมาซึ่งความเจ็บป่วย

    เป็นทุกข์อยู่เสมอ และ ในร่างกายที่หลงยึดติดนี้

    ที่หลงว่ามีความเป็นสุข เมื่อเสพตามที่ใจต้องการ

    แท้ที่จริงเป็นการหลอก ให้หลงติดอยู่กับร่างกายเท่านั้น

    แต่หากมองด้วยความเป็นจริง โดยที่ไม่เข้าข้างตนเอง จะทราบว่า มีแต่ทุกข์

    หากโลกนี้ไม่มีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยว หรือ มนุษย์ทำมาหากินไม่เป็น

    ชีวิตที่ลำบากนั้น จะสะท้อนให้เห็นได้ชัด และ ทั้งหมดไม่ว่าเรื่องเงิน การทำมาหากิน

    เป็นเพียงสิ่งที่มีไว้เพื่อหลอกจิต ให้ยึดติดอยู่อย่างนั้น

    สร้างความอาลัยอาวรณ์ กับสิ่งที่ยึดติดว่าเป็นของตน

    แม้เส้นผมที่ว่าสวย แต่หากไม่ได้สระ ทำความสะอาดเลย ทั้งชีวิต จะยังสวยอยู่ไหม

    แม้แต่ขนที่มีอยู่ตามร่างกาย แต่หากไม่เคยทำความสะอาด ไม่โกน ก็จะเป็นที่สะสมของเชื้อโรค

    เล็บที่ผู้คนหลงไหล ว่าสวย ว่างาม หากปล่อยไว้ให้ยาวมากๆ ก็จะทำให้เล็บฉีก สร้างความเจ็บปวด แก่ตนเอง และ ยังเป็นที่เก็บของเชื้อโรค

    ฟันที่เห็นว่าสวยงาม หากไม่แปรงทำความสะอาด ก็จะผุ สร้างความเจ็บปวดให้แก่ตนเอง และ ยังส่งกลิ่มเหม็นอีก

    หนังที่เราเห็นว่าสวย ก็ต้องเหี่ยวลง ไปตามระยะเวลา และ หากไม่อาบน้ำทำความสะอาด จะก่อให้เกิดโรคผิวหนัง

    ไม่ว่าจะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็เป็นที่สะสมของเชื้อโรค และ สร้างแต่ความเป็นทุกข์ให้แก่ตนเอง

    ซึ่งทั้งหมดนั้น เป็นที่หลงไหลของมนุษย์ ซึ่งเหตุนั้นมาจากกามรมณ์เป็นพื้นฐานของจิตใจนั่นเอง

    และกามรมณ์เป็นสิ่งที่ข้ามไปได้ยาก ซึ่งเป็นไปให้ราคะ มีพลังอำนาจมาก

    ปฎิฆะ จึงวางลงได้ง่ายกว่า ราคะ ด้วยเหตุนี้เอง

    ทั้งที่โดยความเป็นจริง มนุษย์ไม่ได้มีความจำเป็นในการมีชีวิตอยู่เพราะเรื่องนี้

    การกิน การอุจระ การนอน สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญมากกว่า แต่มนุษย์กลับให้ความละลเย

    ด้วยคิดว่า สามารถหาเลี้ยงตนเองได้ และ นี่คือ ความยึดมั่นของตนเองเป็นอย่างยิ่ง

    เป็นเหตุให้ผู้คนทะเลาะเบาะแวง ซึ่งกันและกัน ไม่มีความจำเป็นที่ต้องง้อให้ใครมาเลี้ยง

    ด้วยความคิดเหล่านี้ จึงทำให้มนุษย์เป็นทุกข์อย่างมาก (มานะทิฎฐิ)

    และ ยังมีผลกับเรื่องราวชนิดอื่นด้วย แต่ไม่ขอกล่าวถึงครับ

    หากมนุษย์วางทิฎฐินี้ลงได้ ชีวิตจะเป็นสุขมากขึ้น อย่างแน่นอน

    ซึ่งการปฎิบัตินั้น สามารถเอาชนะสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ได้อย่างสนิท

    จะควรน้อมนำคำสั่งสอนของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาปฎิบัติเพื่อความถึงพร้อม

    แค่เพียงวางใจให้เป็นกลาง โดยไม่ถือประโยชน์ส่วนตน แต่ถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

    ชีวิตจะพบเจอแต่ความเป็นสุข ห่างไกลจากความเป็นทุกข์ เตรียมพร้อมเพื่อ เข้าสู่พระนิพพาน
     
  9. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    จิตที่ติดในกาย นี่เป็นทุกข์ จิตที่หลงพาเกิดมีกายนี่เป็นทุกข์รึป่าวครับพี่ตาหวาน

    และอาการหลงกายนี่เป็นเหตุ อาการพอใจนี่เป็นเหตุ อาการอยากมีอยากได้นี่เป็นเหตุ เกิดกายให้เวียนว่ายอยู่

    อาการของจิตที่พิจารณาสิ่งที่ตนไปอุปาทาน ในอุปาทานของตน โทษของตน อาการของตนนี่พอจะเรียกมรรคได้ไหม

    แล้วการสิ้นการเกิดมีกาย เพราะสิ้นความพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันเนื่องด้วยกาย นี้ดับเหตุหรือไม่ครับ


    ที่กล่าวมานี้เป็นการเริ่มต้นที่ผิดมากน้อยแค่ไหนครับ พี่ตาหวานช่วยอธิบายธรรมหาเหตุให้ด้วยครับ สาธุ..
     
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    มนสิการด้วยนิมิตสิ่งที่ได้เป็นอารมณ์นี้จะมีความรู้สึกอย่างไรครับ
    และเมื่อกระทบผัสสะในภายหลังจิตมีอาการมากน้อยครับ

    เอ... ถ้าผู้มีวิสัยกำหนดเป็นเวทนาหละครับ พี่ตาหวาน
     
  11. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    หดหู่จัง
     
  12. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    [​IMG]



    มูลกรรมฐาน


    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


    กุลบุตรผู้บรรพชาอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้แล้ว
    ใครเล่าไม่เคยเรียนกรรมฐานมา บอกได้ทีเดียวว่า ไม่เคยมี
    พระอุปัชฌาย์ทุกองค์เมื่อบวชกุลบุตรจะไม่สอนกรรมฐานก่อน แล้วจึงให้ผ้าภายหลังไม่มี
    ถ้าอุปัชฌาย์องค์ใดไม่สอนกรรมฐานก่อน
    อุปัชฌาย์องค์นั้นดำรงความเป็นอุปัชฌายะต่อไปไม่ได้
    ฉะนั้นกุลบุตรผู้บวชมาแล้ว จึงได้ชื่อว่าเรียนกรรมฐานมาแล้ว ไม่ต้องสงสัยว่า ไม่ได้เรียน


    พระอุปัชฌายะสอนกรรมฐาน ๕
    คือ เกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทันตา ฟัน ตโจ หนัง
    ในกรรมฐานทั้ง ๕ นี้ มีหนังเป็นที่สุด ทำไมจึงสอนถึงหนังเท่านั้น?
    เพราะเหตุว่า หนัง มันเป็นอาการใหญ่
    คนเราทุกคนต้องมีหนังหุ้มห่อ
    ถ้าไม่มีหนัง ผม ขน เล็บ ฟัน ก็อยู่ไม่ได้ ต้องหลุดหล่นทำลายไป
    เนื้อ กระดูก เอ็น และอาการทั้งหมดในร่างกายนี้
    ก็จะอยู่ไม่ได้ ต้องแตกต้องทำลายไป
    คนเราจะหลงรูปก็มาหลง หนัง หมายความสวยๆ งามๆ
    เกิดความรักใคร่แล้วก็ปรารถนาเพราะมาหมายอยู่ที่หนัง
    เมื่อเห็นแล้วก็สำคัญเอาผิวพรรณของมัน
    คือ ผิว ดำ-ขาว-แดง-ดำแดง-ขาวแดง
    ผิวอะไรต่ออะไร ก็เพราะหมายสีหนัง
    ถ้าไม่มีหนังแล้ว ใครเล่าจะหมายว่าสวยงาม?
    ใครเล่าจะรักจะชอบจะปรารถนา? มีแต่จะเกลียดหน่ายไม่ปรารถนา
    ถ้าหนังไม่หุ้มห่ออยู่แล้ว เนื้อเอ็นและอาการอื่นๆ ก็จะอยู่ไม่ได้
    ทั้งจะประกอบกิจการอะไรก็ไม่ได้ จึงว่า หนังเป็นของสำคัญนัก
    จะเป็นอยู่ได้กินก็เพราะหนัง จะเกิดความหลงสวยหลงงามก็เพราะมีหนัง
    ฉะนั้นพระอุปัชฌายะท่านจึงสอนถึงแต่หนังเป็นที่สุด


    ถ้าเรามาตั้งใจพิจารณาจนให้เห็นความเปื่อยเน่าเกิดอสุภนิมิต ปรากฏแน่แก่ใจแล้ว
    ย่อมจะเห็นอนิจจสัจจธรรม ทุกขสัจจธรรม อนัตตาสัจจธรรม
    จึงจะแก้ความหลงสวยหลงงามอันมั่นหมายอยู่ที่หนัง
    ย่อมไม่สำคัญหมาย และไม่ชอบใจ ไม่ปรารถนาเอาเพราะเห็นตามความเป็นจริง
    เมื่อใดเชื่อคำสอนของพระอุปัชฌายะไม่ประมาทแล้ว จึงจะได้เห็นสัจจธรรม
    ถ้าไม่เชื่อคำสอนพระอุปัชฌายะ ย่อมแก้ความหลงของตนไม่ได้
    ย่อมตกอยู่ในบ่วงแห่งรัชชนิอารมณ์ ตกอยู่ในวัฏจักร
    เพราะฉะนั้น คำสอนที่พระอุปัชฌายะได้สอนแล้วแต่ก่อนบวชนั้น
    เป็นคำสอนที่จริงที่ดีแล้วเราไม่ต้องไปหาทางอื่นอีก
    ถ้ายังสงสัย ยังหาไปทางอื่นอีกชื่อว่า ยังหลงงมงาย
    ถ้าไม่หลงจะไปหาทำไม คนไม่หลงก็ไม่มีการหา
    คนที่หลงจึงมีการหา หาเท่าไรยิ่งหลงไปไกลเท่านั้น
    ใครเป็นผู้ไม่หา มาพิจารณาอยู่ในของที่มีอยู่นี้
    ก็จะเห็นแจ้งซึ่งภูตธรรม ฐีติธรรม อันเกษมจากโยคาสวะทั้งหลาย


    ความในเรื่องนี้ ไม่ใช่มติของพระอุปัชฌายะทั้งหลายคิดได้
    แล้วสอนกุลบุตรตามมติของใครของมัน
    เนื่องด้วยพุทธพจน์แห่งพระพุทธองค์เจ้า
    ได้ทรงบัญญัติไว้ให้อุปัชฌายะเป็นผู้สอนกุลบุตรผู้บวชใหม่ ให้กรรมฐานประจำตน
    ถ้ามิฉะนั้นก็ไม่สมกับการออกบวชที่ได้สละบ้านเรือนครอบครัว
    ออกมาบำเพ็ญเนกขัมมธรรม หวังโมกขธรรม
    การบวชก็จะเท่ากับการทำเล่น พระองค์ได้ทรงบัญญัติมาแล้ว
    พระอุปัชฌายะทั้งหลายจึงดำรงประเพณีนี้สืบมาตราบเท่าทุกวันนี้
    พระอุปัชฌายะสอนไม่ผิด สอนจริงแท้ๆ เป็นแต่กุลบุตรผู้รับเอาคำสอนไม่ตั้งใจ
    มัวประมาทลุ่มหลงเอง ฉะนั้นความในเรื่องนี้
    วิญญูชนจึงได้รับรองทีเดียวว่า เป็นวิสุทธิมรรคเที่ยงแท้


    ที่มา...มุตโตทัย พระธรรมเทศนาของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    บันทึกโดย พระอาจารย์วัน อุตฺตโม และ พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กันยายน 2011
  13. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    เน็ตพี่เสเร็วแหะ กว่าผมจะได้แต่ละโพส


    จิตที่ติดในกาย นี่เป็นทุกข์ จิตที่หลงพาเกิดมีกายนี่เป็นทุกข์รึป่าวครับพี่ตาหวาน
    ขึ้นชื่อว่าเกิดได้ ก็ต้องมีเกิดทุกข์ตามมายังงั้นแล
    เมื่อมีทุกข์ได้ ก็ต้องกำหนดรู้ทุกข์ ทุกข์เป็นประตูทางออก^^

    และอาการหลงกายนี่เป็นเหตุ อาการพอใจนี่เป็นเหตุ อาการอยากมีอยากได้นี่เป็นเหตุ เกิดกายให้เวียนว่ายอยู่
    มันเกิดได้ด้วยมีอวิชาเป็นเชื้อ ยังไงเสียหากไม่ลดอาหารอวิชาบ้างก็ทำได้ยาก

    อาการของจิตที่พิจารณาสิ่งที่ตนไปอุปาทาน ในอุปาทานของตน โทษของตน อาการของตนนี่พอจะเรียกมรรคได้ไหม
    ผมต้องทำความเข้าใจ คำว่าพิจารณา กับพี่เสก่อนว่า คำว่าพิจารณาของพี่เส
    คือการคิดหรือเปล่า

    แล้วการสิ้นการเกิดมีกาย เพราะสิ้นความพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันเนื่องด้วยกาย นี้ดับเหตุหรือไม่ครับ
    หากยังมีคำว่าเกิดอยู่ก็ต้องมีดับ มีเกิดมีดับ จนกว่าจะทำลายการเกิดดับได้
    ผมเข้าใจอย่างนี้

    ที่กล่าวมานี้เป็นการเริ่มต้นที่ผิดมากน้อยแค่ไหนครับ พี่ตาหวานช่วยอธิบายธรรมหาเหตุให้ด้วยครับ
    แหม พี่เส หาเหตุให้กันลำบากครับ คุยกันมันส์ก็พอได้ยู๊
     
  14. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    สมัยผมอยู่วัดร่ำเปิง ก็มีบทสวดพิจารณาสังขารเหมือนกัน

    ไว้จะหามาแปะให้ ^^
     
  15. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    [​IMG]


    "..จิตไม่รุ้เท่าตามความเป็นจริงของสังขาร มันจะได้ความสุขมาจากไหน พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ คนตาบอดยากที่จะบำบัดโรคตาบอดให้มันตาแจ้ง ก็มีอยู่คือปัญจกรรมฐาน กรรมฐาน ๕ พระพุทธเจ้าให้น้อมเข้ามาค้นคว้ากรรมฐาน ๕ นี้ เกศา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทันตา ฟัน ตะโจ หนัง ตจ ปริยนฺโต หนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

    ปุโร นานัปปารัสสะ อสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ นั่น นี่แหละ ลืมตาขึ้นมาให้มันเห็น แล้วตั้งใจทำอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่ทำวันเดียว เดือนหนึ่ง หรือปีหนึ่ง ทำเอาตาย เอาชีวิตเป็นแดน เรื่องทำความเพียร ถ้าดีแล้วก็ไม่เหลือวิสัย ความจะพ้นทุกข์มันมีน้อย มีอยู่ในอัตภาพนี้แหละ ไม่ได้อยู่ที่อื่น จิตว่างเท่านั้นแหละ ว่างโม๊ด

    ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่ได้เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ตัวตนของตน มันไม่ยึด มันก็พ้นทุกข์ ก็มีสุข จิตอบรมดีแล้ว มันก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นจิตเลื่อมประภัสสร จึงเห็นชัดว่าดีแล้ว จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตฝึกดีแล้วนั้นนำเอาความสุขมาให้ไม่มีที่สิ้นสุด นี่เรามันตามืด ตามัว ตาบอด ตาขุ่น ตามัว มันไม่เห็นหนทาง มันก็งมๆ ไป ตกหลุมเสีย งูเห่ามันอยู่ในหลุมนั่น ตกลงไปงูเห่ากัดตาย อยู่อย่างนั้นไม่มีที่สิ้นสุด เทียวเกิดเทียวตาย

    จงตั้งใจพิจารณา ธาตุก้อนอันนี้แหละ พิจารณาเข้า เป็นธาตุหรือ หรือสัตว์ หรือคน ก้อนนี้น่ะ หลอกลวงเรา กัดเรา ไม่มีความสุข เพราะเหตุนั้น หัวใจมันจึงขุ่นมัว เมื่อมันรู้เท่า มันปล่อยวางแล้ว นั่นแหละจิตมันจึงจะลืมตาได้ เห็นความสว่าง เหมือนกับดวงจันทร์ ถ้าถูกเมฆครอบงำแล้ว ก็มืด ไม่เห็นฟ้า เห็นสิ่งทั้งปวง เมื่อก้อนเมฆผ่านไป ลมตีไปแล้ว ไม่มีอะไรปิดบังดวงจันทร์แล้ว ดวงจันทร์ก็แจ่มจ้า สว่างไสว ฉันใด

    ท่านผู้มีความเพียร ฝึกอยู่จนเป็นนิสัยของตนแล้ว เห็นตามความจริงของสังขารแล้ว ว่ามีความเกิดขึ้นในเบื้องตน มีความแปรปรวนในท่ามกลาง มีความแตกสลายไปในที่สุด ไม่มีอะไรเป็นสาระแก่นสาร พอจิตว่าง จะมีแต่ความสว่างไสว มันก็มีแต่ความสุข ไม่มีอะไรจะเปรียบ เอาอะไรที่เป็นแก่นสาร ไม่มีอะไรที่จะเป็นแก่นสารแล้ว จิตมันก็ไม่มีตนมีตัว เมื่อมันว่าตนว่างตัวแล้ว ก็เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง.."


    หนังสืออนาลโยวาท
    พระธรรมเทศนาของพระอาจารย์ขาว อนาลโย​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กันยายน 2011
  16. Amoxcycol

    Amoxcycol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +65
    ใครปล่อยมา แอนตี้
     
  17. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -พิจารณากายนี้ คือ ทางไปนิพพาน ทางพ้นทุกข์ คือทางสายเอก ไม่ต้องมีอภิญญา ก็ไปนิพพานได้ ขอได้มีวิชชา
     
  18. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    แลกเปลี่ยนทัศนะเป็นข้อคิดพิจารณาครับ :) ไม่เครียดครับพี่นุ

    ในการพิจารณาของผมมีทั้งการคิดเทียบเคียงหาเหตุผลด้วยความคิด

    และการน้อมไปพิจารณาในเหตุเกิดอารมณ์ และผลที่เกิดอารมณ์ที่ใจ รวมทั้งการหมายออกไปสู่กายของใจ แสดงความรู้สึก เป็นอารมณ์ และความคิดครับ

    ก็แล้วแต่ความทุกข์ที่เกิดนั่นหละครับพี่นุตาหวานสาวหลง ^^
     
  19. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    [​IMG]

    กายคตานุสสติกรรมฐาน



    กายคตานุสสติ แปลว่า พิจารณากายให้เห็นว่า ไม่สวยไม่งาม มีความโสโครก ตามกฎแห่งความเป็นจริงเป็นอารมณ์ กายคตานุสสตินี้เป็นกรรมฐานสำคัญที่พระอริยเจ้าทุกองค์ ไม่เคยเว้น เพราะพระอริยเจ้าก่อนแต่จะได้สำเร็จมรรคผล ทุกท่านนิยมพิจารณาให้เห็นว่าไม่สวย ไม่น่ารัก น่ารังเกียจ เพราะมีสภาพน่าสะอิดสะเอียนตามปกติเป็นอารมณ์ และกายคตานุสสตินี้ เป็น กรรมฐานพิเศษกว่ากรรมฐานกองอื่น ๆ เพราะถ้าพระโยคาวจรพิจารณาตามกฎของกายคตานุสสติ ผลที่ได้รับจะเข้าถึงปฐมฌาน แต่ถ้ายึดสีต่าง ๆ ร่างกายที่ปรากฏมีสีแดงของเลือดเป็นต้น ยึดเป็น อารมณ์ในการเพ่งเป็นกสิณ กรรมฐานกองนี้ก็มีผลได้ฌาน ๔ ตามแบบของกสิณ การพิจารณาท่านเขียนไว้ในวิสุทธิมรรควิจิตรพิศดารมาก จะไม่ขอกล่าวตามจนละเอียด ขอกล่าวแต่เพียงย่อ ๆ พอได้ความ หากท่านนักปฏิบัติมีความข้องใจ หรือสนใจในความละเอียดครบ ถ้วน ก็ขอให้หาหนังสือวิสุทธิมรรคมาอ่าน จะเข้าใจละเอียดมากขึ้น


    ตามแนวสอนในวิสุทธิมรรคท่าน ให้พิจารณาอาการ ๓๒ คราวละ ๕ อย่าง เช่น พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ รวม ๕ อย่างเป็น หมวดหนึ่ง ท่านให้พิจารณาตามลำดับและย้อนกลับ เช่น พิจารณาว่า เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม ย้อน จากปลายมาต้น เรียกว่าปฏิโลม คือถอยกลับ ให้พิจารณาทั้งสีและสัณฐาน สภาพตามความเป็นจริงว่า ไม่มีอะไรสวยงาม เพราะมีความสกปรกโสโครกอยู่เป็นปกติ ต้องคอยขัดสีฉวีวรรณอยู่เสมอ ๆ ทั้ง ๆ ที่คอยประคับประคองอยู่เพียงใด สิ่งเหล่านี้ก็ยังจะมีการแปดเปื้อนสกปรกอยู่เสมอ


    เช่น ผมต้องคอยหวี คอยสระชำระอยู่ทุกวัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่สนใจเพียง ๓ วัน เหงื่อไคลก็จะจับทำให้เหม็นสาบ เหม็นสาง รวมกายทั้งกายนี้ ท่านแสวงหาความจริงจากกายทั้งมวลว่า มันสวยจริง สะอาดจริงหรือไม่ ค้นคว้าหา ความจริงให้พบ กายทั้งกายที่ว่าสวยน่ารักนั้นมีอะไรเป็นความจริง ความสวยของร่างกายมีความจริง เป็นอย่างนี้ ร่างกายทั้งกายที่ว่าสวยนั้น ไม่มีอะไรสวยจริงตามที่คิด เพราะกายนี้เต็มไปด้วยสิ่งโสโครก คืออวัยวะภายใน มีตับ ไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ กระเพาะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล ที่หลั่งไหลออกมาภายนอกนั้น ความจริงขังอยู่ภายในของร่างกาย ที่มีหนังกำพร้าหุ้มห่ออยู่ ถ้าลอกหนังออก จะเห็นร่างนี้มีเลือดไหลโทรมทั่วกาย เนื้อที่ปราศจากผิวคือหนังหุ้มห่อ จะมองไม่เห็น ความสวยสดงดงามเลย ยิ่งมีเลือดหลั่งไหลทั่วร่างแล้ว ยิ่งไม่น่าปรารถนาเลย แทนที่จะน่ารัก น่า ประคับประคอง กลับกลายเป็นของน่าเกลียด ไม่มีใครปรารถนาจะอยู่ใกล้


    ถ้าลอกเนื้อออก จะแล เห็นไส้ใหญ่ ไส้น้อย ปอด กระเพาะอุจจาระ กระเพาะปัสสาวะ และม้าม ไต น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เสลด หลั่งไหลอยู่ทั่วร่างกาย มองแล้วอยากจะอาเจียนมากกว่าน่ารัก ถ้าจะฉีกกระเพาะ ออก ภายในกระเพาะจะพบอุจจาระ ปัสสาวะอยู่ภายใน เป็นภาพที่อยากหนีมากกว่าเป็นภาพที่น่ารัก ถ้าเอาอวัยวะต่าง ๆ ออกหมด จะเห็นแต่ร่างโครงกระดูกที่มีสภาพเหมือนโครงบ้านเรือนตั้งตระหง่าน อยู่ โครงกระดูกทั้งสองร้อยท่อนนี้ ปะติดปะต่อกันอยู่เป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่ มีเนื้อและเลือดติด เกรอะกรัง ท่านคิดตามไป ท่านเห็นหรือยังว่า ส่วนที่มีเปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่า พอจะเป็นของสวยของงาม มีนิดเดียวคือ ตอนหนังกำพร้าเท่านั้น หนังนี้ใช่ว่าจะเกลี้ยงเกลาเสมอไปก็หาไม่ ต้องคอยชำระล้าง ตลอดวันและเวลาเพราะสิ่งโสโครกภายในพากันหลั่งไหลมาลบเลือนความผุดผ่องของผิวตลอดวัน ถ้าไม่คอยชำระล้าง เจ้าตัวปฏิกูลนั้นก็จะพอกพูนเสียจนเลอะเทอะ แถมจะส่งกลิ่นเหม็นสาบเหม็นสาง ตลบไปทั่วบริเวณช่องทวาร อุจจาระ ปัสสาวะ ก็จะพากันหลั่งไหลออกมาตามกำหนดเวลาที่มันต้อง ออก สิ่งที่น่าคิดก็คือ ผู้นิยมตนเองว่าสวย หรือเทิดทูนใครก็ตามว่าสวย ต่อเมื่อสิ่งโสโครกหลั่งไหล ออกมาเขากลับไม่สนใจ ไม่พยายามมองหาความจริงจากของจริง กลับรอให้ชำระล้างสิ่งโสโครก เสียก่อน จึงใคร่ครวญและสนใจ ต่างคนต่างพยายามหลบหลีก ไม่รับรู้ความเป็นจริงของสังขารร่างกาย ในส่วนที่สกปรกโสโครก ทั้งนี้ เพราะกิเลสและตัณหาปกปิดความจริงไว้ ทั้งๆ ที่อุจจาระหลั่งไหลออกมา ทุกวัน เหงื่อไคลมีเสมอ เสมหะน้ำลายออกไม่เว้นแต่ละนาที


    แต่เจ้ากิเลสและตัณหามันก็พยายาม โกหกมดเท็จ ปัดเอาความจริงออกมาจากความรู้สึกหากทุกคนพยายามสอบสวน ทบทวนความรู้สึก ค้นคว้าหาความจริง ยอมรับรู้ตามกฎของความจริงว่า สังขารร่างกายนี้ไม่มีอะไรน่ารัก มีสภาพเป็น ส้วมเคลื่อนที่ เพราะภายในมีสิ่งโสโครกต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ถ้าเรารัก เราก็รักส้วม ถ้าเรา ประคับประคองเราก็ประคับประคองส้วม ถ้าเราเทิดทูน เราก็เทิดทูนส้วม จะว่าส้วมปกติเลวแล้ว ความจริงส้วมปกติดีกว่าส้วมเคลื่อนที่มาก เพราะส้วมปกติมันตั้งอยู่ตามที่ของมัน มันไม่ไปรบกวน ใคร เราไม่เดินเข้าใกล้ มันก็ไม่มาหาเรา ไม่รบกวนไม่สร้างทุกข์ ไม่หลอกหลอน ไม่ยั่วเย้ายียวน ชวนให้เกิดราคะ แต่เจ้าส้วมเคลื่อนที่นี่มันร้ายกาจ เราไม่ไปมันก็มา เราไม่มองดูมันก็พูดให้ได้ยิน เสแสร้งแกล้งตกแต่งปกปิดสิ่งที่น่าเกลียดด้วยสีผ้าที่หลาก กลบกลิ่นเหม็นด้วยกลิ่นหอม หาอาภรณ์ มาประดับ เพื่อปกปิดพรางตากันเห็นสิ่งที่ไม่น่าชม เพื่อตาจะได้หลงเหยื่อติดในอาภรณ์เครื่องประดับ ผู้เห็นที่ไร้การพิจารณา และมีสภาพเป็นส้วมเคลื่อนที่เช่นเดียวกัน เป็นส้วมที่ไร้ปัญญาเหมือนกัน ต่างส้วมต่างก็หลอกหลอนกัน ปกปิดสิ่งโสโครกมิให้กันและกันเห็นความจริงทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็มีครบถ้วน แทนที่จะเห็นตัว รู้ตัวว่า ข้านี้ก็เป็นผู้เลิศในความเหม็น เลิศในส่วนของความสกปรกเหมือนเธอ แทนที่จะเป็นอย่างนั้นกลับปกปิดพยายามชมตนเองว่า ฉันนี่แหละยอดผู้ศิวิไลซ์ละ อนิจจา น่าสงสาร สัตว์ผู้เมาไปด้วยกามราคะ มีอารมณ์หน้ามืดตามัวเพราะอำนาจกิเลสแท้ ๆ


    ถ้าเขาจะมองตัวเองสักนิด ก็จะเห็นตัวเอง และจะมองเห็นผู้อื่นตามความเป็นจริง พระอริยเจ้าท่านนิยมความจริง รู้จริง เห็นจริง ค้นคว้าจริง ไม่หลอกหลอนตนเอง ท่านจึงได้บรรลุมรรคผล เพราะพิจารณาตนเองเป็นส่วนใหญ่ ขอท่าน นักปฏิบัติเพื่อความสุขของตัวทั้งหลาย จงพิจารณาตนเองให้เห็นชัด จนได้นิมิตเป็นปฏิภาคนิมิต สร้าง สมาธิให้เป็นอัปปนาสมาธิ โดยพิจารณาสังขารให้เห็นว่าไม่สวยงามนี้ เมื่อถึงอัปปนาสมาธิแล้ว จงยึดสี ที่ปรากฏในร่างกายมีสีแดงเป็นต้นหรือจะเป็นสีอะไรก็ได้ยึดเอาเป็นอารมณ์กสิณ ท่านจะได้ฌานที่ ๔ ภายในเวลาเล็กน้อย


    ต่อไปก็ยึดสังขารที่ท่านเห็นว่าน่าเกลียดนี้ ให้เห็นอนิจจังคือความไม่เที่ยงเพราะมี ความเปลี่ยนแปลงทรุดโทรมไปทุกวันเวลาเป็นปกติ ทุกขังเพราะอาศัยที่มันเคลื่อนไปสู่ความทำลาย ทุกวันเวลา มันนำความไม่สบายกายไม่สบายใจจากโรคภัยไข้เจ็บ และในการกระทบกระทั่งทางอารมณ์ ให้เกิดความเดือดร้อนทุกวันเวลา จึงจัดว่าสังขารร่างกายนี้เป็นรังของความทุกข์ ให้เห็นเป็นอนัตตา เพราะความเสื่อมความเคลื่อนและในที่สุดคือความทำลายขันธ์ เราไม่ต้องการอย่างนั้น แต่มันจะต้อง เป็นไปตามนั้นเพราะเป็นกฎธรรมดาของขันธ์ จะต้องเป็นอย่างห้ามไม่ได้ บังคับไม่อยู่ ยอมรับนับถือว่า มันเป็นอนัตตาจริง เพราะความเป็นอนัตตา คือ บังคับไม่ได้ของสังขารร่างกายนี้แหละ


    พระพุทธเจ้าจึง สอนให้ปล่อยอารมณ์ในการยึดถือเสีย เพราะจะยึดจะถือเพียงใดก็ไม่เป็นไปตามความต้องการ สังขาร ร่างกายเป็นอย่างนี้เหมือนกันหมด ไม่ว่าที่มีใจครองหรือไม่มีใจครอง ตราบใดที่เรายังต้องการสังขาร เราต้องประสบความทุกข์ ความทรมาน เพราะสิ่งโสโครกที่เข้าประกอบเป็นขันธ์ เราเห็นสภาพความ จริงของสังขารร่างกายนี้ว่า เป็นของโสโครก ไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนา ควรปลีกตัวออกให้พ้นจริง เรา เห็นสังขารร่างกายว่าเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนจริง เราเห็นสังขารร่างกายว่าเป็นทุกข์จริง เราเห็น สังขารร่างกายว่าเป็นอนัตตาจริง ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นทุกข์อย่างนี้ การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็น ทุกข์อย่างนี้ เราไม่ต้องการความเกิดอีก เราไม่ปรารถนาชาติภพอีก เพราะชาติความเกิดเป็นแดนอาศัย ของความทุกข์ โรคนิทธัง เรือนร่างของขันธ์ ๕ เป็นรังของโรค ถ้าร่างกายไม่มี โรคที่จะเบียดเบียนก็ ไม่มี เพราะไม่มีร่างกายให้โรคอาศัย ปภังคุนัง เรือนร่างมีสภาพต้องผุพังถ้าไม่มีเรือนร่าง เรื่องการผุพัง อันเป็นเครื่องเสียดแทงใจให้เกิดทุกข์ก็ไม่มี เมื่อร่างไม่มีจะเอาอะไรมาเป็นอนัตตา เราไม่ต้องการทุกข์ ที่มีความเกิดเป็นสมุฏฐาน เราไม่ต้องการความเกิดในวัฏฏะอีก เราต้องการพระนิพพานที่ไม่มีความเกิด และความตายเป็นแดนเกษมที่หาความทุกข์มิได้


    พระนิพพานนั้นพระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ท่านที่จะไปสู่ พระนิพพานได้ไม่มีอะไรยาก ท่านสอนให้พิจารณาให้เห็นความจริงของร่างกายว่าโสโครก ถอนความรัก ความอาลัยในสังขารเสีย บัดนี้เราปฏิบัติครบแล้ว เราเห็นแล้ว เราตัดความเห็นว่าสวยงามในสังขาร ได้แล้วเราเชื่อแล้วว่า สังขารร่างกายเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์ยึดมั่นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เราคือร่างกาย ร่างกายคือเรา ความคิดเห็นอย่างนี้เป็นความเห็นของผู้มีอุปาทานเรารู้แล้ว เราเห็น ถูกแล้ว คือ เราเห็นว่าสังขารร่างกายไม่น่ารัก มีความสกปรกน่าสะอิดสะเอียน ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่มีสภาพไม่แก่ ไม่ตาย ไม่สลายตัว ที่เข้ามาอาศัยร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นนามธรรม ๔ อย่าง เป็นเครื่องประกอบ เป็นเครื่องจักรกลที่บริหารตนเองโดยอัตโนมัติ ร่างกายนี้ค่อยเจริญขึ้นและเสื่อมลง มีการสลายตัวไปในที่สุด


    พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ตัด ฉันทะ ความพอใจในสรรพสังขารทั้งหมดเสียให้ได้และให้ตัด ราคะ คือความกำหนัดยินดีในสรรพสังขาร ทั้งหมด คือ ไม่ยึดอะไรเลยในโลกนี้ว่า เป็นเรา เป็นของเรา ไม่มีอะไรในเรา เราไม่มีในอะไรทั้งสิ้น เราคือจิตที่มีคุณวิเศษดีกว่าอัตภาพทั้งปวง เราเกลียดสรรพวัตถุทั้งหมด เราไม่ยอมรับสรรพวัตถุ แม้แต่เรือนร่างที่เราอาศัยนี้ว่าเป็นของเราและเป็นเรา เราปล่อยแล้วในความยึดถือ แต่จะอาศัยอยู่ ชั่วคราวเพื่อสร้างสรรค์ความดี สังขารจะเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องของสังขาร สังขารร่างกายจะผุพัง ก็เป็นเรื่องของสังขารร่างกาย เราไม่รับรู้รับทราบ เราว่างแล้วจากภาระในการยึดถือ เรามีความสุขแล้ว เรามีพระนิพพานเป็นที่ไปในกาลข้างหน้า สร้างอารมณ์ ความโปร่งใจให้มีเป็นปกติ ยึดพระนิพพาน เป็นอารมณ์ ทำจนเป็นปกติ จิตยึดความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจนเป็นปกติ เห็นอะไร ได้อะไรมา คิดเห็นว่า นี่มันไม่ใช่ของเราจริง เขาให้ก็รับ เพื่อเกื้อกูลแก่อัตภาพชั่วคราว ไม่ช้าก็ต่างคนต่างสลาย ทั้งของที่ได้มาและอัตภาพ ใครไปก่อนไปหลังกันเท่านั้น จนอารมณ์มีความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ จิตก็ จะว่างจากอุปาทาน ในที่สุดก็จะถึงพระนิพพานสมความมุ่งหมาย




    (อธิบายในกายคตานุสสติโดยย่อพอได้ความ ก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้)

    คำสอน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กันยายน 2011
  20. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    วีดีโอประกอรปการศึกษา :'(


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=NJox2A1C62o&feature=player_embedded"]YouTube- Broadcast Yourself.[/ame]



    [VDO]http://palungjit.org/attachments/a.1683050/[/VDO]

    บทปลงสังขาร

    สังขารร่างกาย ต้องตายเป็นผี
    อยู่ในโลกนี้ ไม่มีแก่นสาร

    ทรัพย์สินเงินทอง เป็นของสาธารณ์
    ไม่ใช่ของท่าน ลูกหลานต้องลา

    อย่ามัวประมาท โอกาสยังมี
    อย่าหลงโลกีย์ จะมีปัญหา

    โลกนี้แท้จริง เป็นสิ่งมายา
    เป็นสิ่งลวงตา ใช่ว่าจีรัง

    สังขารร่างกาย อยู่ไม่กี่ปี
    ก็ตายเป็นผี ไม่มีความหวัง

    เกิดแก่เจ็บตาย ร่างกายผุพัง
    ทุกวันเดินทาง สู่ยังกองฟอน

    จะห้ามไม่ฟัง จะรั้งไม่หยุด
    เป็นสิ่งสมมุติ ตามพุทธะสอน

    อำนาจใด ๆ อย่าไปวิงวอน
    ให้ช่วยเราตอน ที่วันสิ้นใจ

    สังขารเรานี้ เป็นสิ่งที่สังเวช
    มันเป็นสาเหตุ สังเกตุเอาไว้

    เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ปวดร้าวอาลัย
    หิวอิ่มเกินไป ก็ไม่อยู่นาน

    หนาวก็จะตาย ร้อนไปก็จะแย่
    ลำบากแท้ ๆ นี่แลสังขาร

    ต้องกินต้องถ่าย ทนไปทุกวัน
    ดูน่าสงสาร คิดกันให้ดี

    สังขารร่างกาย ทั่วไปเน่าเหม็น
    มีของกากเดน มองเห็นทุกที

    ไหลเข้าไหลออก ย้อนยอกมากมี
    ล้วนเป็นสิ่งที่ มีอยู่ทั่วกัน

    น้ำเลือดน้ำหนอง ล้วนของปฏิกูล
    ไหลมาเป็นมูล พอกพูนหลายชั้น

    ข้างนอกเน่าเหม็น มองเห็นทุกวัน
    อีกข้างในนั้น ล้วนชั้นไม่งาม

    สังขารร่างกาย ไม่ใช่ตัวตน
    เกิดมาเป็นคน ไม่พ้นโดนหาม

    ต้องนอนเปลือยกาย ให้ไฟลุกลาม
    เมื่อเจ้าโดนหาม สู่เชิงตะกอน

    ผู้ดีเข็ญใจ ก็ตายเหมือนกัน
    อย่าหลงสังขาร ปลงกันไว้ก่อน

    ลูกหลานหญิงชาย ส่งได้แน่นอน
    ก็แค่กองฟอน แล้วย้อนกลับมา



    @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


    บทปลงสังขาร ( มนุษย์เราเอ๋ย )


    มนุษย์เราเอ๋ย เกิดมาทำไม นิพพานมีสุข
    อยู่ไยมิไป ตัณหาหน่วงหนัก หน่วงชักหน่วงไว้

    ฉันไปมิได้ ตัณหาผูกพัน ห่วงนั้นพันผูก
    ห่วงลูกห่วงหลาน ห่วงทรัพย์สินศฤงคาร จงสละเสียเถิด
    จะได้ไปนิพพาน ข้ามพ้นภพสาม ยามหนุ่มสาวน้อย
    หน้าตาแช่มช้อย งามแล้วทุกประการ แก่เฒ่าหนังยาน
    แต่ล้วนเครื่องเหม็น เอ็นใหญ่เข้าร้อย เอ็นน้อยเข้าพัน
    มันมาทำเข็ญใจ ให้ร้อนให้เย็น เมื่อยขบทั้งตัว
    ขนคิ้วก็ขาว นัยน์ตาก็มัว เส้นผมบนหัว
    ดำแล้วกลับหงอก หน้าตาเว้าวอก ดูหน้าบัดสี
    จะลุกก็โอย จะนั่งก็โอย เหมือนดอกไม้โรย
    ไม่มีเกสร จะเข้าที่นอน พึงสอนภาวนา

    พระอนิจจัง พระอนัตตา เราท่านเกิดมา
    รังแต่จะตาย ผู้ดีเข็ญใจ ก็ตายเหมือนกัน
    เงินทองทั้งนั้น มิติดตัวเรา ตายไปเป็นผี
    ลูกเมียผัวรัก เขาชักหน้าหนี เขาเหม็นซากผี
    เปื่อยเน่าพุพอง หมู่ญาติพี่น้อง เขาหามเอาไป
    เขาวางลงไว้ เขานั่งร้องไห้ แล้วกลับคืนมา
    อยู่แต่ผู้เดียว ป่าไม้ชายเขียว เหลียวไม่เห็นใคร
    เห็นแต่ฝูงแร้ง เห็นแต่ฝูงกา เห็นแต่ฝูงหมา
    ยื้อแย่งกันกิน ดูน่าสมเพช กระดูกกูเอ๋ย
    เรี่ยรายแผ่นดิน แร้งกาหมากิน เอาเป็นอาหาร
    เที่ยงคืนสงัด ตื่นขึ้นมินาน ไม่เห็นลูกหลาน
    พี่น้องเผ่าพันธุ์ เห็นแต่นกเค้า จับเจ้าเรียงกัน
    เห็นแต่นกแสก ร้องแรกแหกขวัญ เห็นแต่ฝูงผี
    ร้องไห้หากัน มนุษย์เราเอ๋ย อย่าหลงกันเลย
    ไม่มีแก่นสาร อุตส่าห์ทำบุญ ค้ำจุนเอาไว้
    จะได้ไปสวรรค์ จะได้ทันพระเจ้า จะได้เข้าพระนิพพาน

    อะหัง วันทามิ สัพพะโส อะหัง วันทามิ นิพพานะปัจจะโย โหตุฯ


    @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...