สักกายทิฏฐิ ๒๐

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 22 สิงหาคม 2011.

  1. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    กำ อย่างว่า คุณไม่เห็น คุณก็ไม่เข้าใจอยู่นั้นเอง ความนึกคิดไม่สามารถทำให้เห็น จิต ได้ครับ

    ผมได้บอกกล่าวไปแล้วว่า ไว้ให้คุณเห็นเองก่อน ถึงจะเข้าใจ ธรรมทั้งหลายที่คุณกล่าวนั้นเป็นเพียงประตูทางเข้าสู่กระแสเท่านั้นครับ

    แต่หากไม่ลองปฎิบัติ ก็เป็นเพียงแค่ปริยัติการรับรู้ในเบื้องต้น ถ้าหากปฎิบัติจึงเป็นการรับรู้ในท่ามกลาง เปรียบเสมือนผู้ได้ธรรม(มรรค) ปฎิเวทเป็นการรับรู้ในที่สุด เปรีบเสมือนผู้บรรลุธรรม(ผล)

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    การไม่ยึด ผู้รู้ หลวงตาเคยพูดถึงในขั้นสุดท้ายก่อนบรรลุ คุณก็ทำอย่างนั้นบ้างสิ..............................
     
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ก็แล้วแต่คุณครับ ผมแนะนำด้วยความปราถนาดี หากไม่รับก็แล้วแต่คุณครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สัลลัตถสูตร
    ....(ธรรมส่วนที่น่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิตของอริยสาวกนั้น)
    [๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในชน ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก
    เป็นเครื่องทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐานฯลฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ
    ย่อมถึงความงมงาย เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ ฯ
    อริยสาวกนั้นเป็นผู้มีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา นี้แล
    เป็นความแปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับปุถุชน
    ธรรมส่วนที่น่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิตของอริยสาวกนั้น
    ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว เป็นพหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่
    ท่านย่อมไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์
    อนึ่งเวทนาเป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะอริยสาวกนั้นไม่ยินดีและไม่ยินร้าย
    อริยสาวกนั้นรู้ทางดำเนินอันปราศจากธุลีและหาความโศกมิได้
    ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพรู้โดยชอบ ฯ
    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=5572&Z=5634&pagebreak=0
    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ย่อมชัดเจนในตัวเองโดยไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในชน ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก
    เป็นเครื่องทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว จิตย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ
    จิตย่อมถึงความงมงาย เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ ฯ
    ส่วนอริยสาวกนั้นเป็นผู้มีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต จิตย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา นี้แล
    เป็นความแปลกกันระหว่างจิตของธีรชนผู้ฉลาดกับจิตของปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส

    ธรรมส่วนที่น่ารักน่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิตของอริยสาวกนั้น
    ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว เป็นพหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่
    ชัดๆนะว่า เป็นจิตของพระอริยสาวก(จิตของเราพระอริยสาวก) ไม่ใช่เป็นจิตของใครก็ไม่รู้
    ที่เป็นพหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่

    จิตของ(เรา)พระอริยสาวกนั้นรู้ทางดำเนินอันปราศจากธุลี และหาความโศกมิได้
    จิตของ(เรา)พระอริยสาวกย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพรู้โดยชอบ ฯ

    ดูก่อนคฤหบดี
    จิตของปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณปรวนแปรไป
    จิตย่อมปรวนแปรไปตามอารมณ์ และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์เหล่านั้นด้วย
    แสดงว่ายังถูกอารมณ์ต่างๆเหล่านั้นมาย่ำยีจิตได้ใช่หรือไม่?

    ส่วนพระอริยสาวกนั้น เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณปรวนแปรไป
    จิตย่อมไม่ปรวนแปรไปตามอารมณ์ และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์เหล่านั้นด้วย
    แสดงว่าไม่ถูกอารมณ์ต่างๆเหล่านั้นมาย่ำยีจิตได้ใช่หรือไม่?

    จงมาช่วยกันทำให้เว็บไซด์นี้ เป็นสังคมคุณภาพออนไลน์กันเถอะ
    ถามมาตอบไป ใช่ก็ตอบว่าใช่ ถ้าไม่ใช่ ไม่ใช่เพราะอะไร ชี้แจงแสดงเหตุผลด้วย
    ที่ใช่เป็นยังไงตอบชัดๆด้วย ถึงไม่ตอบก็ไม่มีใครว่าอะไร แต่อย่าเบี่ยงประเด็น
    อย่าเอาแต่เดาสวด อวดภูมิธรรมที่ไม่มีในตน อย่างที่มีให้เห็นเกลื่อนไปในเว็บบอร์ดนี้.
     
  5. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    คุณ เพตทริกซ์ ช่วยอธิบายว่า จิต คืออะไร? เกี่ยวกับขันธ์ ๕ อย่างไร? ตามความหมายของคุณ

    ให้ผมได้พิจารณาทีครับ (ขออย่ายาวมากเกินไปนะครับ):cool:

    ขอบคุณครับ
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ปรมัตถ์ธรรมของเราที่เป็นมนุษย์ มี จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน เป็น สังขตธรรม(ธรรมที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง) มี จิต เจตสิก รูป และ อสังขตธรรม(ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง)คือ นิพพาน.........จิต เจตสิก รูป ก็คือ รูป-นาม กายใจเรานี่เอง...................
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    จิต เจตสิก รูป คือ ขันธิ์5 ครับ...................จิต(วิญญาน) (มโน) เจตสิกคือ ขันธิ์ที่เหลือยกเว้นรูป คือ เวทนา สัญญา สังขาร ครับ....
     
  8. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    งั้นที่ว่านอกจากขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต แล้วที่จริงมันคืออะไรครับ เรียกว่า อะไรครับ?

    ขอบคุณครับ
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ถ้าคุณเข้าวิมุติ ก็ คือ คุณเข้าวิมุติ หรือ วิมุติญานทัสนะ ที่ไม่ปรุงแต่งเป็นสิ่งใดแล้ว.........ทีนี้ถ้าปุถุชนมองเข้าไปตรงนี้(ส่งออก)ก็จะไปปรุงแต่งแทนผู้บรรลุ การบรรลุนั้นต้องเป็นสภาวะที่บุคคลผู้นั้นรู้รสรู้สึกเข้าถึงได้เอง................ไม่ใช่การบัญญัติพยัญชนะขึ้นมา.....(ถ้าคุณสงสัย เรื่อง จิต เจต สิก รูป นิพพาน ก็หาได้ จากแหล่งความรู้ทั่วไป ครับ)............................
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2011
  11. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    ก่อนอื่นต้องขอบอกคุณ เพตทริกซ์ สักนิดว่า การสนทนานี้เป็นไปเพื่อความเข้าใจ ของทั้งผมและคุณ รวมถึงผู้ที่เข้ามาอ่านด้วย ได้โปรดชี้แจงแบบตรงไปตรงมาตามความเข้าใจเลยนะครับ

    ผมขออนุญาตถามว่า

    "สติ เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของขันธ์ ๕ หรือไม่ครับ?
     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ถ้า ตาม การฟังธรรมมา สติ คือ สังขารขันธิ์ครับ...................
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ตามอภิธรรม เจตสิกมี52 เป็น เวทนา1 สัญญา1 อีก50เจตสิกคือ สังขารทั้งสิ้นครับ................สังขารได้แกองค์ประกอบ หรือ คุณสมบัติของจิต ที่ปรุงแต่งจิตให้ดีชั่ว หรือ เป็นกลางโดยมีเจตนาเป็นตัวนำ รวมความคือ ความคิดดีชั่วต่างต่าง เช่น สติ ศรัทธา หิริ โอตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาโมหะ โทสะ มานะ อิสสา เป็นต้น...................
     
  14. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    คำตอบนี้แสดงให้เห็นว่า "สติ คือ ขันธ์ ๕" เพราะสังขารขันธ์เป็นขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕

    คำถาม
    สังขารขันธ์ แปลว่า ความคิดปรุงแต่งธรรม ใช่ไหมครับ?

    สติ แปลว่า การระลึกรู้ตัว ใช่ไหมครับ?

    แล้วทำไมเวลาเราคิดอะไรๆ มากมายก่ายกอง ทำไมเราถึงไม่รู้ตัวละครับ ทั้งๆ ที่จิตคือขันธ์ ๕ เป็นวิญญาณ(มโน)

    ก็ถ้าเรามีสติจริง เราก็ต้องรู้ตัวว่าเราคิดไม่ใช่หรือครับ?
     
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ใช่ถ้าคุณมีสติ คุณ จะระลึกรู้ว่าคุณคิด แต่จิต มีความเร็วเข้าไปรับอารมณ์(สิ่งที่จิตรู้)อื่นอื่นต่อไป เรื่อยเรื่อย หมายถึงถ้านับว่าเป็นขันธิ์ วิญญานก็ไป จับ ที่ขันธิ์อื่น ตาม ปัจจุบันนั้นนั้น นะครับ...ถ้าคุณระลึกได้คุณก็จะรู้สภาพธรรมนั้นนั้นเหมือนกัน.....
     
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มั่นใจหน่อย มั่นใจหน่อย
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    เ....ส.....ริ......ม......!......กันนิดจิ.!
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สติจริงๆ ต้องเป็นกุศล

    โมหะ โลภะ เขาก็รู้กิน รู้คิด รู้หิว รู้เดิน รู้โกรธ รู้อิจฉา รู้ลมหายใจ รู้มรรค เหมือนกัน

    รู้แล้วยึดมั่นด้วย ตั้งมั่นด้วย เหนียวแน่นด้วย พิจารณาให้ดีๆ
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    นี่ไงนี่ไง!...พี่โก๊ะมาแว้วว!
     
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    เจตสิกที่จัดอยู่ในสังขาร หมวดหนึ่งคือ โสภณเจตสิก เจตสิกที่ดีงาม แบ่งเป็น1)โสภณสาธารณะเจตสิกเกิดกับจิตดีงามทุกดวง 19 คือ สติ ศรัทธา หิริ โอตัปปะ อโลภะ อโทสะ อุเบกขา กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา และ2)ปฎิณกะโสภณเจตสิก(เกิดกับจิตดีงามแต่ไม่ตายตัวทุกครั้ง)6 คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ กรุณา มุทิตา และ ปัญญา.........(จากพุทธธรรม พระพรหมคุณาพร ป.อ.ปยุตโต).............................
     

แชร์หน้านี้

Loading...