สักกายทิฏฐิ ๒๐

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 22 สิงหาคม 2011.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    สักกายทิฏฐิ ๒๐

    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> [๔] ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า?

    บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายด้วย จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย.

    ดูกรคฤหบดี คือ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ

    มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑

    ย่อมเห็นตนมีรูป ๑

    ย่อมเห็นรูปในตน ๑

    ย่อมเห็นตนในรูป ๑

    เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา.

    เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา

    รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น. </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑

    ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑

    ย่อมเห็นเวทนาในตน ๑

    ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑

    เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นเวทนา เวทนาของเรา.

    เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา

    เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น. </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ๑

    ย่อมเห็นตนมีสัญญา ๑

    ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑

    ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑

    เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสัญญา สัญญาของเรา.

    เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา

    สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น. </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑

    ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑

    ย่อมเห็นสังขารในตน ๑

    ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑

    เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสังขาร สังขารของเรา.

    เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา

    สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น. </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑

    ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑

    ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑

    ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑

    เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา.

    เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา

    วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น. </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ดูกรคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล

    บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย.


    [๕] ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า?

    บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.

    ดูกรคฤหบดี คือ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ

    ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑

    ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑

    ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑

    ย่อมไม่เห็นตนในรูป ๑

    ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา.

    เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นรูป รูปของเรา

    รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไปโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น. </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑

    ย่อมไม่เห็นตนมีเวทนา ๑

    ย่อมไม่เห็นเวทนาในตน ๑

    ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑

    ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา.

    เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา

    เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น. </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑

    ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑

    ย่อมไม่เห็นสัญญาในตน ๑

    ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑

    ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสัญญา สัญญาของเรา.

    เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา.

    สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น. </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑

    ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาร ๑

    ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑

    ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑

    ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา.

    เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา

    สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น. </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑

    ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑

    ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑

    ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑

    ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา.

    เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา

    วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น. </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แล

    บุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.

    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำเช่นนี้แล้ว นกุลปิตคฤหบดี ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.


    จบ นกุลปิตุสูตรที่ ๑ </td> </tr> </tbody></table>
    http://dhammadaa.wordpress.com/2010/...0%E0%B8%B4-20/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2011
  2. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    นกุลปิตาสูตร

    สรุป

    ปุถุชน ผู้มิได้สดับ……
    เพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงเกิดขึ้น


    ดูกรคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล
    บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มี กาย กระสับกระส่าย
    และเป็นผู้มี จิต กระสับกระส่าย




    พระอริยสาวก ผู้ได้สดับ......
    เพราะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้น

    ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แล
    บุคคลแม้มี กาย กระสับกระส่าย
    แต่หาเป็นผู้มี จิต กระสับกระส่ายไม่


    (smile)
     
  3. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สรุปชัดๆ คือ

    ปุถุชน กายกระสับกระส่าย จิตกระสับกระส่าย
    เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป (กายกระสับกระส่าย)
    ทุกข์จึงเกิดขึ้นที่จิต (จิตกระสับกระส่าย)


    พระอริยสาวก กายกระสับกระส่าย จิตหากระสับกระส่ายไม่
    เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป (กายกระสับกระส่าย)
    ทุกข์ไม่เกิดขึ้นที่จิต (จิตหากระสับกระส่ายไม่)



    เพราะ ปุถุชน ไม่ได้รับการอบรมจิต
    จิตมีอวิชชาครอบงำอยู่ ไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    จิตรู้ผิดหลงผิดจากความเป็นจริง
    จึงหลงเข้าใจผิดว่าขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นตน

    เพราะจิตปุถุชนยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตน
    เมื่อขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แปรปรวนไป
    จิตปุถุชนจึงแปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป



    พระอริยสาวก ได้รับการอบรมจิต
    จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา
    เกิดวิชชาขึ้นแทนที่ รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    จิตเป็นพุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน
    รู้เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงแล้วว่า
    ขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ไม่ใช่ตน

    จิตพระอริยสาวกปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตน
    เมื่อขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แปรปรวนไป
    จิตจึงไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

    จิตรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตนของเรา

    (smile)
     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    นกุลปิตาสูตร พระสูตรนี้ ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า
    วิญญาณขันธ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ ไม่ใช่ จิต



    ปุถุชนไม่ได้รับการอบรมจิต
    จิตมีอวิชชาครอบงำอยู่(ไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง)
    หลงเข้าใจผิด ว่าขันธ์ ๕ ซึ่งก็รวม วิญญาณขันธ์ ด้วยเป็นตน

    จึงหลงเกิดตายตามขันธ์ ๕ หรือ ก็คือ เกิดดับตามวิญญาณขันธ์ นั่นเอง
    จึงบอกว่า จิตเกิดดับ ด้วยอำนาจอวิชชาที่ครอบงำนั่นเอง
    เพราะไม่รู้จักตนเองที่แท้จริง ว่าตนเป็นผู้รู้ ผู้เห็นอยู่
    เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตจึงแปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไปตลอดเวลา


    พระสูตรจึงกล่าวว่า
    ปุถุชน กายกระสับกระส่าย จิตกระสับกระส่าย
    พระอริยสาวก กายกระสับกระส่าย จิตหากระสับกระส่ายไม่


    นั่นคือ เมื่อปฏิบัติอริยมรรค ๘ ตามเสด็จพระบรมศาสดา
    จิตที่เคยรู้ผิดเห็นผิดไปจากความเป็นจริงมาตลอดเพราะอวิชชาครอบงำ
    เกิดวิชชาขึ้นแทนที่ (รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง)
    จิตก็จะรู้ จะเห็นว่าขันธ์ ๕ ซึ่งก็รวมวิญญาณขันธ์ด้วยไม่ใช่ตน

    ตนไม่ใช่ขันธ์ ๕ ตนไม่ได้เกิดดับ ตนเป็นผู้รู้อยู่ เห็นอยู่
    ที่เกิดดับคือวิญญาณขันธ์ไม่ใช่จิต

    เพราะจิตผู้ปฏิบัติต้องรู้ต้องเห็นตลอดสายของการปฏิบัติ
    ไม่ว่าอารมณ์ใดๆมาเกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้
    อารมณ์ใดๆดับไปจากจิต จิตก็รู้
    เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป ถ้ารู้จักทำจิตให้สงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวได้
    จิตก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

    นี้คือประโยชน์ที่ผู้ปฏิบัติตามเสด็จจะพึงได้รับจากพระพุทธศาสนา
    คือ จิตรู้จักปล่อยวางอารมณ์ต่างๆที่จะเข้ามากระทบจิต
    ไม่หวั่นไหวฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปตามอารมณ์



    ขออนุโมทนา ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมปฏิบัติยิ่งๆขึ้น

    ธรรมะสวนัง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2011
  5. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    โมทนาสาธุ ครับ คุณธรรมะสวนัง แสดงธรรมได้ถูกกับจริตของผมมากครับ
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    มันขัดกันนะครับที่บอกว่า ตน เป็นผู้รู้อยู่ว่า ที่เกิด ดับเป็นวิญญาน ขันธิ์ ไม่ใช่จิต...ถ้าไม่มีตนในขันธิ์5แล้ว..จะ.ยังมีตนยึดมั่นในจิตอีก...ได้อย่างไร?........
     
  7. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    ยังไง? งงคำถาม

    คือ งง ว่ายึดมั่นในจิตตรงไหนครับ:cool:
     
  8. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    โลกนี้มันก็แค่สมมติเท่านั้นเอง เคยเล่นเกมส์ไหมครับ คุณก็เพียงแค่เรียนรู้แล้วก็ทำให้ดีที่สุด เมื่อหมดเวลาการเล่นคุณก็ต้องสามารถทำใจวางมันลงได้ เล่นเกมส์สนุกแต่ทุกข์เพราะวางไม่ได้ คุณเคยฝันหรือเปล่าครับ คุณบังคับอะไรในความฝันได้บ้างครับ ขณะที่ฝันเคยรู้ตัวบ้างไหมว่ากำลังฝันอยู่
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ก็ เขาบอกว่า ตนไม่ใช่ขันธิ์5 ตนเป็น ผู้รู้อยู่เห็นอยู่ ที่เกิด ดับ คือ วิญญานขันธิ์ ไม่ใช่จิต....ผมว่าเขาส่งออกแล้วครับ...
     
  10. นภัสดล

    นภัสดล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +433
    อ่านให้เข้าใจดีแล้วเราเองก็เห็นถูกตรงตามธรรม...สาธุ ขออนุโมทนา ในธรรมทาน
     
  11. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อันจิตนั้นไม่มีรูปร่างตายตัว รูปร่างจะแปลเปลี่ยนไปตามอารมณ์ แปลเปลี่ยนไปตามเหตุ ปัจจัย

    ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงคำว่าวิญญาณ ซึ่งวิญญาณเป็นรูปร่างที่จิตปรุงแต่งขึ้น เมื่อเกิดในภพภูมิหนึ่งรูปร่างของจิตก็แปลเปลี่ยนไปในรูปแบบหนึ่ง

    ผู้ที่เห็น จิต แล้ว ก็สามารถระลึกดูได้ ถึงอาการที่จิตปรุงแต่ง อย่างเช่นตัวอย่างที่ผมจะกล่าวนี้

    เวลาที่มีความโกรธ จิตจะมีสีแดงเข้ม มีรูปร่างดุร้ายน่ากลัว

    เวลาที่ใกล้ตาย จิตจะมีสีเทาเข้มจนเกือบดำ มีรูปร่างอิดโรย

    และรูปร่างที่กล่าวให้รับรู้นี้ นี่เองที่เรียกว่า วิญญาณ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  12. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    ปุถุชนย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนอย่างไ
    เปรียบเหมือน เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพรง บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่าง ไม่เป็นสองว่า
    เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟอันนั้น ฉันใดบุคคลในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างไร
    เปรียบเหมือน ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้อย่างนี้ว่า นี่ต้นไม้ นี่เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั่นแล มีเงาด้วยเงานี้ อย่างนี้ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา

    ปุถุชนย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตนอย่างไร
    เปรียบเหมือน ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี่ดอกไม้ นี่กลิ่นหอม ดอกไม้อย่างหนึ่งกลิ่นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแลมีอยู่ในดอกไม้นี้ อย่างนี้ชื่อว่า ย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้

    ปุถุชนย่อมตนใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างไร
    เปรียบเหมือน แก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี่แก้วมณี นี่ขวด
    แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้แลมีอยู่ในขวดนี้

    อ้างอิง มหาวรรคทิฐิกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค หน้าที่ 107
     
  13. Amoxcycol

    Amoxcycol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +65
    เมื่อกระต่ายน้อย เห็นนม พญาจงอาง
     
  14. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    อ๋อ ประโยคนี้อาจเป็นอย่างนี้นะครับ

    "จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ จิตเป็นผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ ของการเกิดดับวิญญาณขันธ์ ละมั้งครับ

    บางทีภาษาเขียนก็อาจทำให้เราอ่านคลาดเคลื่อนไปครับ
     
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ถ้าไม่ใช่ขันธิ์5 สิ่งนั้น ไม่เรียกว่าจิต ครับ....................................
     
  16. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผิดแล้วครับ ขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่มนุษย์ยึดถือครับ แต่จิตอยู่นอกเหนือจากขันธ์ 5 และมีหน้าที่รับรู้ทุกการกระทำครับ

    พระพุทธองค์จึงดำริไว้ ให้ฝึกอบรมจิต เป็นไปเพื่อการหลุดพ้น ด้วยเหตุอย่างนี้ครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    จิตเป็นสิ่งปรุงแต่งด้วยครับ..........นิพพานสิครับอสังขตธรรม........ผมถามคุณนะครับ คุณ เห็นจิตใช่ใหม?...แล้วคุณที่เห็นจิต นะคือใคร?
     
  18. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณจำการสนทนาของเราไม่ได้เหรอครับ ผมเคยได้กล่าวไว้ว่า จิตเห็นจิต

    ว่าจิตนั้น มีแบ่งไว้ด้วย สติ และ สัมปชัญญะ

    คุณได้อ่านโพสที่ผมกล่าวถึงวิญญาณไหมครับ ใช่จิตไหมครับที่ยึดถือขันธ์ 5

    ผมตอบแบบนี้ได้ความกระจ่างไหมครับ ว่าคุณที่เห็นจิต นะคือใคร

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  19. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    145 จิต มโน วิญญาณ

    ปัญหา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีทรรศนะเกี่ยวกับกายและจิตอย่างไรบ้าง ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ จะพึงเบื่อหน่าย คล้ายยินดีหรือหลุดพ้นในร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูตทั้ง ๔ นี้ (ย่อมเป็นไปได้) นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญ ความเสื่อม การเกิด หรือการตาย ของร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูต ๔ นี้ ย่อมปรากฏ (ฉะนั้น) ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ จึงเบื่อหน่าย คลายความยินดีหรือหลุดพ้นในร่างกายนั้นได้"

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติใดที่เรียกกันว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง การที่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ จะพึงเบื่อหน่าย คลายความยินดีหรือหลุดพ้นในธรรมชาตินั้น (ย่อมเป็นไปไม่ได้) นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าธรรมชาตินั้น ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ มาตลอดกาลช้านาน ฉะนั้นปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายความยินดี หลุดพ้นในธรรมชาตินั้นได้เลย"

    อัสสุตวตาสูตรที่ ๑ นิ. สํ. (๒๓๐)
    ตบ. ๑๖ : ๑๑๔ ตท. ๑๖ : ๑๐๔
    ตอ. K.S. II : ๖๕
     
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ที่ คุณ คิดทั้งหมด ออกมาจาก รูป-นาม ขันธิ์5 นั่นแหละ............
     

แชร์หน้านี้

Loading...