พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    “แพลงกิ้ง” ยิ่งเล่น ยิ่งหน้าแก่!

    วันจันทร์ ที่ 27 มิถุนายน 2554 เวลา 0:00 น
    <SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a38f0f6636e48fa" type=text/javascript></SCRIPT> ​


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD><TD id=ext-gen16 style="WIDTH: 57px">รูปภาพ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    [​IMG]



    [​IMG]

    บ่อยครั้งกระแสสังคมที่ใครต่อใครทำตามๆ กัน มักแฝงไว้ด้วยผลเสีย อย่างท่าถ่ายรูปแนวนอน “แพลงกิ้ง” นี่ก็มีเช่นกัน ซึ่ง 'นพ.กฤษดา ศิรามพุช' ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ มีข้อเตือนใจให้ระวังริ้วรอยแห่งวัยจะมาปรากฏบนใบหน้า หากทำท่าแพล้งกิ้งบ่อยเกินไป

    @@@

    การนอนคว่ำหน้าถ่ายรูปที่มีมาพักหนึ่ง มีศัพท์เรียก “แพลงกิ้ง (Planking)” อันแปลว่า ทำท่านอนแข็งทื่อแบบไม้กระดานนี้ จะมีแรงโน้มถ่วงที่ผ่านมาจากผืนโลก ดึงหน้าให้คอลลาเจนยืดยาวออก ผลลัพธ์ที่ได้ถ้าทำบ่อยคือ “หน้าย่น” แล้วบางคนกลับไปก็ยังนอนหลับในท่า “ตะแคงหน้า” ต่ออีก ยิ่งจะทำให้เกิดรอยยับจับหน้าเป็นราคี เอ๊ย...ราศรีเพิ่มอีก อย่าฉีกแนวด้วยการนอนถ่ายรูปผิดท่าเลยครับไม่คุ้มกับหน้ายับ อัพคืนยาก...อยากบอกให้รู้

    แรงโน้มถ่วงโลกเป็นผู้ร้ายสำคัญที่หลบอยู่ในมุมมืด เพราะเป็นของมองไม่เห็นต่างจากแสงแดดและบุหรี่ที่เป็นตัวการผิวแก่แบบมอง เห็น แต่ถ้าเป็น “อีแอบ” แบบแรงดึงดูดโลกนี่เห็นทีจะเลี่ยงยาก นอกจากอยากไปใช้ชีวิตแบบโลกุตระหรือเหนือโลกแบบไร้แรงโน้มถ่วงเท่านั้น

    สำหรับท่านที่นิยมการนอนโพสต์ท่าแบบแพลงกิ้งบ่อยๆ รวมไปถึงท่านที่ชอบตอนตะแคงเอียงทับหน้าข้างหนึ่งไว้เป็นอาจิน ขอให้ระลึกไว้ว่าอาจมีความเสี่ยงจาก “ตีนกานอน (Sleep lines)” ดังต่อไปนี้ได้ครับ...

    'ตีนกาข้างจมูก'
    เป็นตีนการะดับคลาสสิกรุ่นแรกของการนอนผิด ปิดอย่างไรก็ไม่มิดเพราะเป็นตีนการะดับลึกสุดใจ (Coarse wrinkle) ต้องใช้เทคนิคการนอนหงาย ตอนหลับจะได้ไม่กดหน้าจนยับไปเป็นข้างครับ

    'ตีนกาหน้า(ผาก)ย่น' คนที่มีรอยขวางกลางหน้าผากมากรอยมักไปสอยมาได้จากการ “แสดงสีหน้า (Facial expression)” จะดราม่ามากน้อยก็จะพลอยแสดงออกให้เห็นกลางหน้าผาก ยิ่งถ้าหากนอนแพลงกิ้งกลางแจ้งก็ยิ่งมีสิทธิ์หน้าแก่ด้วยตีนกาหน้าผากมากครับ

    'ตีนกาคอ' ขออนุญาตเรียกว่า “เหนียง” แม้จะเลี่ยงไม่เกิดใน อายุน้อย แต่ใครจะรู้ได้ว่า ถ้าเกิดขึ้นมาแล้วจะ “จัดหนัก” เลยหรือเปล่า เพราะการใช้ชีวิตแนวราบทำให้สภาพคอลลาเจนที่คออ่อนแอลง ไม่เหมือนคนที่ตั้งตัวตรงเกร็งคอหรือต้องยืดเขย่งคอบ่อยๆ จะค่อยทำให้กล้ามคอแข็ง ไม่แกล้งสร้างเหนียงยานออกมาครับ

    ส่วนเทคนิคโพสต์ท่าถ่ายรูปให้เจ๋งนอกจากแพลงกิ้งแล้ว ตอนนี้ยังมีมาใหม่ครีเอตโดยคนไทยคือ “พับเพียบถ่าย(รูป)” และ “ท่าลอยตัว (Levitating)” ถ้านึกไม่ออกก็เหมือนกับท่าจอมยุทธเหินหาวหรือราวกับซุปเปอร์แมนกำลังลอย อยู่กลางอากาศแล้วจับภาพช่วงนั้นไว้พอดี เป็นท่าถ่ายรูปแบบแนวๆ

    แล้วเดี๋ยวมันก็จะมีท่าใหม่ๆ มาแข่งกันอีก ดูไปก็สนุกดีครับเพราะไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนเหมือนกับเติม “น้ำจิ้ม” เพิ่มสีสันให้การถ่ายรูปออกรสขึ้น จะยืนถ่ายตรงแหนวแนวติดบัตรก็มีออกเกลื่อนแล้ว ลองทำท่าบ้องแบ๊วให้โลกได้เห็นสักครั้งสองครั้งในชีวิตจะเป็นไรไป

    จะมีห่วงก็แต่ในท่านที่ค่อนข้าง “อิน” กับการเป็นผู้นำท่าแปลกอยออกไปโพสต์ถ่ายในที่อันตรายอย่างราวระเบียงจนตกลง ไปเดี้ยงก็มีมาแล้ว เลยอยากให้ระวังกันไว้ด้วยความเป็นห่วงครับ ไม่อยากให้ร่วงปุ๊ลงไป จากท่าโพสต์ใสๆ กลายเป็นภาพสุดท้ายแทน!.






    ที่มา เดลินิวส์ ออนไลน์
     
  2. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    “หมอมุก”ถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว

    วันจันทร์ ที่ 27 มิถุนายน 2554 เวลา 1:03 น
    <SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a38f0f6636e48fa" type=text/javascript></SCRIPT> ​


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    อาการดีวันดีคืน แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจแล้ว ญาติขอตำรวจมาคุ้มครองสองแม่ลูก
    ที่ห้องไอซียู รพ.พระมงกุฎเกล้า วันที่ 26 มิ.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าอาการ พ.ต.พญ.หทัยพร อิ่มวิทยา หรือหมอมุก ว่า เมื่อช่วงเช้าคณะแพทย์ที่รักษาหมอมุกได้ลงความเห็นว่า อาการโดยทั่วไปดีขึ้นมาก เกิน 60 % จึงให้พยาบาลถอดเครื่องช่วยหายใจที่สอดเข้าไปที่หลอดลมออก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เหลือเพียงหน้ากากออกซิเจนเท่านั้น แต่ยังมีเสมหะอยู่ จึงได้ใช้เครื่องดูดเสมหะออก โดยหมอมุกยังไอปะปราย สามารถปรับเตียงคนไข้เป็นแบบนั่งเอนได้ จากการสังเกตของผู้สื่อข่าวพบว่าอาการหมอมุกดีขึ้นมาก กลอกตาไปมาได้ มือทั้งสองข้างขยับตามคำสั่ง โดยเมื่อช่วงสายพยาบาลห้องไอซียูได้นำพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุอยู่ในถุงผ้าแพรสีทองมามอบให้หมอมุก ซึ่งหมอมุกก็ได้กำถุงดังกล่าวไว้แน่น และขยับเขยื้อนไปมา
    ขณะที่ พญ.พรรณกร อิ่มวิทยา มารดาหมอมุกยังคงดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามวันนี้ พญ.พรรณกร เดินทางออกจากรพ.พร้อมเพื่อนของหมอมุกไปทำบุญที่วัดอาวุธวิกสิตาราม ย่านบางพลัด ปล่อยปลาหมอ 75 ตัว และถวายยาและอาหารเพลแก่พระภิกษุสงฆ์ ก่อนที่จะเดินทางกลับมาที่รพ. ซึ่งขณะที่มารดาหมอมุกไม่อยู่นั้นก็ได้มีประชาชนที่ทราบข่าวเดินทางมาเยี่ยมอาการหมอมุก อาทิ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ พร้อมผู้ติดตาม ได้เดินทางมาเยี่ยมพร้อมทั้งลงชื่อเซ็นให้กำลังใจในสมุดบันทึกโดยมีใจความว่า “บุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ขอให้มีความสุขกาย สุขใจ โดยเร็ว พระบารมีปกเกล้า ครับ ลงชื่อพล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์และคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ”
    ต่อมาเวลา 12.30 น. พญพรรณกรได้กลับมาถึงรพ.โดยได้ไปดูอาการของลูกสาว และเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าไปบันทึกภาพอาการของหมอมุก หลังจากดูอาการเสร็จ พญ.พรรณกร เปิดเผยว่า วันนี้หลังจากที่แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจออก ตนก็ได้รู้สึกดีใจที่อาการของลูกสาวตนดีขึ้นมาก จากเมื่ออาทิตย์ที่อาการยังทรุดตัวอยู่ นอกจากนี้ตนก็ขอขอบคุณสื่อมวลชน และคนไทยทั่วประเทศที่ให้ความสนใจติดตามอาการบาดเจ็บของลูกสาวตน ทุกวันนี้ตนเดินทางไปไหนก็จะมีคนถามอาการลูกสาว และอวยพรให้หายไวๆ โดยในวันนี้ช่วงเช้าเพื่อนของหมอมุกได้พาตนเดินทางไปทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา และถวายเพลพระ นอกจากนี้ก็ได้มีคนแนะนำตนให้ไปไหว้พระทำบุญตามที่ต่างๆ อีกทั้งจุดธูปตามจำนวนต่างๆ ซึ่งตนก็ทำตามโดยหวังว่าลูกสาวของตนจะอาการดีขึ้นหายดี ช่วยเหลือตัวเองได้ดังเดิม กลับมาทำงานได้ เนื่องจากตนก็อายุ 70 ปีแล้ว จะไม่รู้ว่าจะดูแลได้นานแค่ไหน
    ด้านนายกอสล้าง วรรณรสพากย์ ลูกพี่ลูกน้องหมอมุก กล่าวว่า ทุกวันนี้ทางมารดาหมอมุกเดินทางไปกลับที่บ้านด้วยรถโดยสารประจำทาง และต้องเดินเท้าเข้าไปเป็นระยะทางที่ไกลเพื่อเข้าบ้าน ซึ่งตนปรึกษากับเพื่อนที่เป็นทนายความว่า พญ.พรรณกร และพ.ต.พญ.หทัยพร อยู่ในฐานะของพยาน และผู้เสียหายของคดีนี้ ซึ่งคดีดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด น่าจะได้รับการคุ้มครองจากตำรวจ ตนจึงได้ประสานไปยังพ.ต.ท.โชติ สุวรรณจุณีย์ รองผกก.สส.สน.พญาไท เพื่อขอตำรวจพร้อมยานพาหนะมาคุ้มครองดูแลในฐานะพยาน คาดว่าจะได้รับคำตอบภายในวันจันทร์นี้
    ขณะเดียวกัน หลวงพ่อสำราญธรรม ซึ่งเป็นพระที พญ.หทัยพร และมารดา ให้ความเคารพนับถือได้เดินทางมาจากจังหวัดมหาสารคาม เพื่อเข้าเยี่ยมอาการพร้อมสวดเจริญภาวนาเพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมกับขอเสื้อกาวน์ที่ปักชื่อหมอมุกซึ่งเป็นชุดทำงานของหมอมุกไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์สืบชะตา ก่อนเดินทางกลับ






    ที่มา เดลินิวส์ ออนไลน์
     
  3. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    สปสช.ชี้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเพิ่ม

    วันจันทร์ ที่ 27 มิถุนายน 2554 เวลา 9:27 น


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>


    เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ สปสช.ได้จัดตั้งกองทุนยา เวชภัณฑ์และวัคซีน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้บริการเกี่ยวกับยาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาที่จำเป็นอย่างทั่วถึง ด้วยความมั่นใจในคุณภาพและความเหมาะสมในการสั่งใช้ยา จนทำให้ประชาชนเข้าถึงยาจำเป็นและยาที่มีราคาแพงและได้รับการรักษาในหน่วยบริการได้เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ยาที่กองทุนยาฯ บริหารจัดการ ประกอบด้วย โครงการเพิ่มการเข้าถึงยาบัญชี จ(2) ซึ่งแม้จะมีผู้ป่วยจำนวนไม่มาก แต่ก็เป็นยาจำเป็นที่มีราคาสูงมาก สร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยบริการ ผู้ป่วยและครอบครัว ซึ่งผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2552-ปัจจุบัน พบว่าผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยามีการเข้าถึงยาเพิ่มจำนวนสูงขึ้น จาก 84 ราย ในปี 52 เป็น 4,433 ราย ในปี 53 และในปีงบประมาณนี้เฉพาะช่วงเดือน ต.ค. 53-เดือน พ.ค. 54 มีผู้ป่วยเข้าถึงยาเพิ่มขึ้น 3,691 ราย รวม 8,124 ราย มูลค่าการใช้ยาของผู้ป่วย 3 ปีประมาณ 400 ล้านบาท ส่วนโครงการเพิ่มการเข้าถึงยาจิตเวช สำหรับผู้ป่วยจิตเวชที่จำเป็นต้องได้รับยาเม็ดริสเพอริโดน รักษาอาการจิตเภท อารมณ์แปรปรวน และยาเซอร์ทราลีน รักษาโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง ซึ่งดำเนินงานตั้งแต่เดือน ก.ค. 53-ปัจจุบัน มีผู้ป่วยเข้าถึงยา 21,255 ราย คิดเป็นมูลค่าการใช้ยากว่า 18 ล้านบาท

    เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการแก้ไขปัญหายากำพร้า 10 รายการ โดยเฉพาะยาต้านพิษ ซึ่งมีความจำเป็นมากแม้มีอัตราการใช้ต่ำ เพราะไม่สามารถใช้ยาอื่นทดแทนได้จึงจำเป็นต้องมีการสำรองไว้ใช้ โดยปัจจุบันมี รพ.ในเครือข่ายสำรองยา ทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ยา สามารถสืบค้นแหล่งสำรองยาให้เกิดการเข้าถึงยาได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วย รวมทั้ง การจัดหาและกระจายวัคซีนได้แก่ วัคซีนพื้นฐานสำหรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ( EPI) ซึ่งเป็นวัคซีนจำเป็นสำหรับเด็กทุกคน คือ วัคซีนป้องกัน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หัด ไข้สมองอักเสบ ไวรัสตับอักเสบ และ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล รวมถึงวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งได้มีการจัดหาและการกระจายวัคซีนผ่านระบบ VMI ไปสู่การเป็นคลังสำรองของ รพ.แม่ข่ายจำนวน 1,033 แห่งทั่วประเทศด้วย.





    ที่มา เดลินิวส์ ออนไลน์
     
  4. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2554
    คมชัดลึก > ผู้หญิง-แฟชั่น > ข่าวทั่วไป

    ยกสินค้าศิลปาชีพฯมาขายกลางเมือง

    <SCRIPT src="http://static.ak.fbcdn.net/connect.php/js/FB.Share" type=text/javascript></SCRIPT>
    <!-- addthis button --> [​IMG]





    [​IMG]

    <SCRIPT type=text/javascript>var id='101519';function addCommas(nStr){ nStr += ''; x = nStr.split('.'); x1 = x[0]; x2 = x.length > 1 ? '.' + x[1] : ''; var rgx = /(\d+)(\d{***)/; while (rgx.test(x1)) { x1 = x1.replace(rgx, '$1' + ',' + '$2'); } return x1 + x2;}function count(){$.ajax({ type: "POST", url: "http://www.komchadluek.net/counter_news.php", data: "newsid="+id, success: function(txt){ var counter_=parseInt(txt); $('#counters').html('คนอ่าน '+addCommas(counter_)+' คน'); } });} featuredcontentslider.init({ id: "slider1", contentsource: ["inline", ""], toc: "markup", nextprev: ["Previous", "Next"], revealtype: "click", enablefade: [true, 0.1], autorotate: [true, 8000], onChange: function(previndex, curindex){ }})</SCRIPT>คมชัดลึก : เฉกเช่นทุกครั้งที่บรรดาแฟนพันธุ์แท้ผลิตภัณฑ์และผลิตผลจากโครงการในมูลนิธิศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะตั้งตารอคอยการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าของมูลนิธิ ในช่วงกลางปีและปลายปี ซึ่งปีนี้พิเศษกว่าทุกปี
    <SCRIPT type=text/javascript>google_ad_channel = '9989085094'; //slot numbergoogle_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads//google_image_size = '300X250';//google_skip = '3';var ads_ID = 'adsense_inside'; // set ID for main Element divvar displayBorderTop = false; // default = false;//var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type imagevar position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail</SCRIPT><SCRIPT src="http://www.komchadluek.net/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20110615/r20110616/show_ads_impl.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>

    เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2555 มูลนิธิศิลปาชีพฯ จึงขนของสวยๆ งามๆ จากฝีมือคนไทยมาโชว์และจำหน่ายอย่างมากมายในระหว่างวันที่ 15-31 กรกฎาคมนี้ บริเวณสวนอัมพร พระราชวังดุสิต
    ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กล่าวว่า กว่า 50 ปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนประชาชนในพื้นที่ๆ ต่างทั่วประเทศ ทรงเห็นความสำคัญในการหาแหล่งน้ำทั้งเพื่อดื่มและเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพต่างๆ และทุกครั้ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะตามเสด็จด้วยทุกครั้ง และก็ทรงเห็นความสำคัญที่จะทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและทรงเห็นถึงฝีไม้ลายมือในประชาชนของพระองค์ในเรื่องของงานศิลป์ต่างๆ ที่ในแต่ละภูมิภาคก็จะแตกต่างกันออกไป อย่างในภาคเหนือก็จะมีผ้าสวยๆ จากฝีมือการปักของชาวเขา ไล่เรียงจนไปถึงพืชผักเมืองหนาว ซึ่งในขณะนี้ก็พัฒนาไปมากขึ้นในรูปแบบของฟาร์มตัวอย่างในพระองค์ ส่วนภาคกลางก็เป็นเรื่องงานฝีมือ งานปั้น งานไม้ ภาคอีสานก็มีความเก่งในเรื่องการทอผ้า ในขณะที่ภาคใต้ก็สวยเด่นในเรื่องผ้าบาติก ย่านลิเภา
    "ด้วยพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่มีพระราชประสงค์ให้คนไทยทุกคนจะต้องได้รับทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี ทุกวันนี้จึงมีสมาชิกของมูลนิธิทั่วประเทศและมีฝีมือในการสร้างสรรค์ผลงานที่ตนเองถนัดได้อย่างดีเยี่ยม สินค้าแต่ละชิ้นออกมาสวยงามและมีคุณภาพจนเป็นที่สนใจของชาวต่างประเทศ ยกตัวอย่างเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่อ่างทอง ในปี พ.ศ.2550 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถก็มีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ในมูลนิธิเข้าไปดูแลเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ ตอนนี้สินค้าที่ผลิตจากฝีมือคนอ่างทองคือถ้วยชามเซรามิกสวยมาก และเป็นที่ต้องการของท้องตลาด และยิ่งในปีมหามงคลอย่างนี้ทางมูลนิธิจึงนำสินค้าสวยๆ มากมายมาให้เลือกสรรด้วย เงินทั้งหมดก็กลับคืนสู่ประชาชนชาวไร่ชาวนา" ท่านผู้หญิงอรนุช แจง
    ในขณะที่ ดร.สมชาย ธรณิศร นักเกษตรในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เล่าว่า ด้วยปีนี้ทางมูลนิธิได้เน้นการนำสินค้าจากโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จากทั่วประเทศมาจำหน่าย ซึ่งในขณะนี้มีฟาร์มตัวอย่างอยู่ทั่วประเทศแล้วกว่า 90 ฟาร์ม แต่ละฟาร์มก็มีพืชพันธุ์และสัตว์เลี้ยงที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นในงานครั้งนี้จึงมีสินค้าจากฟาร์มตัวอย่างมาจำหน่ายอย่างมากมาย อย่าง หมูจินหัว เป็ดอี้เหลียง ผักนานาชนิด จึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมชมและซื้อสินค้าเพื่อนำรายได้คืนสู่สมาชิกและพี่น้องคนไทยด้วยกันเอง
    ที่มา คมชัดลึก ออนไลน์
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    หลวงพ่อปาน
    วัดมงคลโคธาวาส อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

    [​IMG]

    หลวงพ่อปานเป็นชาวบางบ่อ ท่านเกิดที่ คลองนางโหง ตำบลบางเหี้ย (ตำบลคลองด่านในปัจจุบัน) จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ตาเป็นคนจีนชื่อ เขียว ยายเป็นคนไทยชื่อ ปิ่น บิดามีเชื้อจีน ชื่อ "ปลื้ม" มารดาเป็นคนไทย เป็นลูกสาวคนโตของยายปิ่น ชื่อ ตาล อาชีพทำป่าจาก ครอบครัวของท่านอยู่ที่หมู่บ้านโคกเศรษฐี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓
    คนที่ ๑ ชื่อ นายเทพย์
    คนที่ ๒ ชื่อ นายทัต
    คนที่ ๓ ชื่อ นายปาน (หลวงพ่อปาน)
    คนที่ ๔ ชื่อนายจันทร์
    คนที่ ๕ ชื่อนางแจ่ม
    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นใช้ ลูกหลานของหลวงพ่อปาน ได้ใช้ชื่อของบรรพบุรุษมาตั้งเป็นนามสกุลว่า "หนูเทพย์"
    เมื่อตอนเป็นเด็ก บิดามารดาได้นำไปฝากไว้กับท่านเจ้าคุณศรีศากยมุนี เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) เพื่อให้เรียนหนังสือไทย ต่อมาไม่นานเจ้าคุณได้ให้บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาท่านได้สึกจากเณร มาช่วยพ่อแม่ ประกอบอาชีพ ทำจาก และตัดฟืนไปขายเป็นอาชีพประจำ ท่านเป็นผู้มีนิสัยอดทนหนักเอาเบาสู้ ทำให้พ่อแม่เบาใจมาก
    เมื่อยังเยาว์ ท่านได้ใช้ชีวิตแบบชาวชนบทคนธรรมดา ครั้นเมื่อเติบโตสู่วัยหนุ่ม เริ่มมีจิตปฏิพัทธ์ผูกพันในเพศตรงข้ามตามวิสัยปุถุชน วันหนึ่งท่านได้ดั้นด้นไปบ้านสาวคนรัก แต่พอล้างเท้าก้าวขึ้นบันได เกิดอัศจรรย์ขึ้นบันไดไม้ตะเคียนอันแข็งแรงพลันหลุดออกจากกัน ทำให้ท่านพลัดตกจากบันได ท่านจึงคิดได้ว่าเป็นลางสังหรณ์บอกถึงการสิ้นวาสนาในทางโลกเสียแล้ว เมื่อกลับถึงบ้านจึงครุ่นคิดตัดสินใจอยู่หลายวัน ผลที่สุดจึงตัดสินใจออกบวช
    เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดอรุณราชวรารามนั่นเอง โดยมีท่านเจ้าคุณศรีศากยมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน รวมถึงไสยศาสตร์ ท่านได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์หลายองค์จนเชี่ยวชาญ ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดบางเหี้ยนอก ปัจจุบัน เรียกว่าวัดมงคลโคธาวาส โดยมีพระที่เป็นสหายสนิทตามมาด้วยองค์หนึ่งชื่อ หลวงพ่อเรือน หลังออกพรรษาท่านและพระเรือนเริ่มออกธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆ
    หลวงพ่อปานและหลวงพ่อเรือนได้ดั้นด้นไปจนถึง"วัดอ่างศิลา" อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และได้ฝากตัวเป็นสานุศิษย์ของ"หลวงพ่อแตง" เจ้าอาวาสวัดอ่างศิลา โดยศึกษาด้านวิปัสนาธุระ ไสยเวทย์มนต์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญและสร้างชื่อเสียงให้หลวงพ่อปานเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะ " เขี้ยวเสือโคร่ง ซึ่งแกะเป็นรูปเสือนั่ง " เมื่อมีความเชี่ยวชาญแล้วจึงได้อำลาพระอาจารย์ "หลวงพ่อแตง" มาพำนักอยู่ที่วัดบ้านเกิดตนเองพร้อมด้วยพระอาจารย์เรือน เพื่อนสหาย ณ วัดบางเหี้ย (ปัจจุบันคือวัดมงคลโคธาวาส) และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสโดยมีหลวงพ่อเรือนเป็นรองเจ้าอาวาส ซึ่งทั้งสองรูปได้ปกครองพระลูกวัดทั้งด้านการศึกษาและการปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมาตลอด
    จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๕๒ ประตูน้ำที่กั้นแม่น้ำบางเหี้ย หรือประตูน้ำชลหารพิจิตรในปัจจุบัน ได้เกิดรั่วไม่สามารถปิดกั้นน้ำให้อยู่ได้ไม่ว่าช่างจะซ่อมอย่างไร จนกระทั่งข้าราชการในท้องถิ่นได้นำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ให้ทรงทราบเพื่อขอพึ่งพระบารมีพระองค์ท่าน
    ระหว่างที่ประทับอยู่ที่ประตูน้ำบางเหี้ยเป็นเวลา ๓ วันนั้น พระองค์ได้รับสั่งให้นิมนต์หลวงพ่อปานเข้าเฝ้าฯ เพื่อไต่ถามเรื่องต่างๆ โดยขณะที่หลวงพ่อปานเดินทางเข้าเฝ้าฯ นั้นได้ให้เด็กชายป๊อด ถือพานใส่เขี้ยวเสือที่แกะเป็นรูปเสือไปด้วยซึ่งสมัยนั้นแกะจากเขี้ยวเสือจริงๆ เมื่อไปถึงที่ประทับ หลวงพ่อได้เรียกเอาพานใส่เขี้ยวเสือจากเด็กชายป๊อดที่ถืออยู่ แต่พบว่าไม่มีเขี้ยวเสืออยู่ในพานแล้วโดยเด็กชายป๊อดบอกว่าเสือกระโดดลงน้ำระหว่างทางจนหมดแล้ว
    หลังจากหลวงพ่อปานทราบจึงได้ให้นำเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปหมู แล้วเสียบไม้แกว่งล่อเสือขึ้นมาจากน้ำต่อหน้าพระพักตร์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งประทับทอดพระเนตรอยู่ตลอด จนถึงกับตรัสกับหลวงพ่อปานว่า "พอแล้วหลวงตา"
    สำหรับเขี้ยวเสือหลวงพ่อปานนั้นได้จัดทำด้วยช่างแกะถึง ๖ คน จึงมีรูปร่างไม่เหมือนกันมีทั้ง อ้าปาก หุบปาก โดยช่างทั้งหมดจะเอาแมวมาเป็นต้นแบบในการแกะ
    พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง”เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ” ได้เล่าถึงพระปานไว้ว่า
    “พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้นิยมกันในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย แรกลงไปประชุมที่วัดบางเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดแล้วก็ออกเดิน ทางที่เดินนั้น ลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นไปปราจิณ นครนายก ไปพระบาท แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ถ้ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นแต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพฯกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินทางอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู่ในราวเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา ๔๐ ปีแล้ว
    คุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือ ให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสก ต้องใช้หมู ปลุกเสกเป่าไปข้อไร เสือนั้นกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบาก เหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่ในป่าช้า ที่พระบาทฯ (สระบุรี) ก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง ๓ บาท ว่า ๖ บาทก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ ๗๐ แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย มีคนมาช่วยพูด"
    จะเห็นว่า ในพระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสเมืองปราจิณ” ได้เล่าถึง “พระปาน” อย่างละเอียด สิ่งสำคัญยิ่งก็คือ เครื่องรางเขี้ยวเสือที่ทำเป็นรูปเสือ ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ราคาเช่าตัวละ ๑ บาทบ้าง ๓ บาทบ้าง ๖ บาทบ้าง ซึ่งเป็นราคาที่สูงมากในสมัยนั้น
    ต่อมาท่านได้ไปเรียนวิปัสสนากับพระอาจารย์ที่วัดสมถะ จังหวัดชลบุรีด้วย
    หลวงพ่อปาน เป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติธรรมวินัยเคร่งครัด กิจของสงฆ์หลวงพ่อปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน อีกประการหนึ่งคือนำ พระสงฆ์ออกบิณฑบาตทุก ๆ เช้า นอกจากเจ็บป่วยไป ไม่แล้วท่านปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน อีกประการหนึ่ง คือนำพระสงฆ์สวดมนต์เช้าเย็นที่หอสวดมนต์เป็นประจำทุกวัน และสวดมนต์เป็นคัมภีร์หรือผูกเป็นเล่มเป็นวัน ๆ ไป กระทั่งสวดปาฏิโมกข์ เหตุดังนี้ในสมัยนั้น พระลูกวัดของท่านจึงสวดมนต์เก่งมาก
    ด้านสาธารณประโยชน์ หลวงพ่อเป็นผู้นำในการสร้างถนนจากคลองด่านไปบางเพรียง ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสไปวัดสว่างอารมณ์ ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสจรดคลองนางหงษ์ ถนนแต่ละสายปัจจุบันได้พัฒนาเป็นถนนถาวรและใช้สัญจร ไปมาจนถึงทุกวันนี้
    ด้านความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของหลวงพ่อนั้น เป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป เป็นพระอาจารย์ ที่มีญาณแก่กล้าชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ ๕ เครื่องรางของขลัง ของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากและสืบ เสาะหากันจนทุกวันนี้ ท่านคร่ำเคร่งทางวิปัสสนามากและ ธุดงค์อยู่เสมอ ด้วยคุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อที่ได้ประกอบขึ้นไว้ แต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ราษฎรในตำบลใกล้เคียง กระทั่งต่างอำเภอและต่างจังหวัดพากันเคารพนับถือและรำลึก ถึงหลวงพ่ออย่างไม่ เสื่อมคลาย
    ก่อนที่หลวงพ่อปานจะมรณภาพนั้น ประชาชนที่มีความเคารพบูชาหลวงพ่อ ได้พร้อมใจกันหล่อรูปท่านขึ้นมาองค์หนึ่ง ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชา เพราะหลวงพ่อไม่ค่อยได้อยู่วัด ท่านมักจะเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นประจำ จะได้กราบรูปหล่อแทนตัวท่าน แต่เมื่อหล่อรูปแล้วท่านก็ไม่ค่อยจะเข้าวัด ท่านมักจะปลีกตัวไปจำวัดที่พระปฐมเป็นประจำ การที่ท่านไม่อยากเข้าวัดของท่านนั้น อาจเป็นเพราะท่านรู้ล่วงหน้าว่าถึงคราวจะหมดอายุขัยแล้ว ท่านจึงต้องการความสงบในการพิจารณาธรรม แต่ท่านก็ไม่ได้บอกกับใครๆ เมื่อญาติโยมอ้อนวอนมากๆ เข้า ท่านก็บ่ายเบี่ยงไปว่า “เข้าไปไม่ได้ อ้ายดำมันอยู่ ขืนเข้าไปอ้ายดำมันจะเอาตาย” คำว่า “อ้ายดำ” หมายถึงรูปหล่อของท่านนั่นเอง ปัจจุบันนี้รูปหล่อของท่านก็ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมงคลโคธาวาส (วัดคลองด่าน หรือวัดบางเหี้ย) คืออยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อซึ่งได้จัดสร้างขึ้นใหม่ และปรากฏความศักดิ์สิทธิ์มากมาย น้ำมนต์ที่หน้ารูปหล่อของท่านก็มีคนนำไปดื่ม และทองคำเปลวที่รูปหล่อก็มีคนนำไปปิดที่หน้าผาก เพื่อรักษาโรคได้ผลมาแล้วมากมาย
    ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ"
    ท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๕๓ เวลา ๔ ทุ่ม ๔๕ นาที พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๔


    -http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-parn-wat-bang-hea/lp-parn-wat-bang-hea-hist.htm-



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    เสือที่อยู่ในบาตรกระโดดกัดหมู


    หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย



    ข้อมูลจาก เวปพระรัตนตรัย กระดานสนทนาธรรม กระทู้ที่ 01083 โดย คุณ : คนรู้น้อย 17-05-2003

    เนื้อความ :

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568>วันนี้กระผมขอนำเรื่องเกี่ยวกับ พระผู้ทรงอภิญญา(จากเค้าโครงเรื่องของนักเขียนหลายท่าน เช่นคุณสุรสีห์ ภูไท ฯลฯ) และเรื่องจากประสบการณ์จริงของนายตำรวจมือปราบผู้หนึ่ง คือท่าน พ.ต.ท.อรรณพ กอวัฒนา (ยศเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕) มาเรียนเสนอ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง คือเรื่องต่างๆ ก็มักจะมีธรรมะแทรกอยู่ เพราะตัวละครแต่ละท่านนั้น ก็ย่อมมีการทำความดี และความชั่ว ก็ขอให้ท่านพิจารณาตามไปด้วยว่า ท่านนั้นๆ ทำความดีด้วยคุณธรรมอะไร หรือทำความชั่วด้วยกิเลสข้อใดบ้าง และเหตุการณ์ต่างๆ นั้นมีความเป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอนอย่างไรบ้าง เรียนเชิญติดตามได้แล้วครับ ...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เมืองสมุทรปราการ เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองหนึ่ง มีวัดพุทธศาสนาอยู่ ๑๐๐ กว่าวัด มีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่หลายสำนัก เท่าที่ผ่านมา พระอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม แก่กล้าด้วยพระเวทย์ ในย่านบางบ่อเห็นจะไม่มีใครเกิน หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยไปได้ (ความจริง ”เหี้ย” นี่เป็นชื่อของสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์หนึ่ง แต่คนนำมาใช้ด่าว่ากัน จึงกลายเป็นคำไม่สุภาพไป) เนื่องจากท่าน ได้ล่วงลับมาเป็นเวลานาน และท่านไม่ได้เล่าถึงชีวิตในอดีตของท่านให้ลูกศิษย์ทราบ ข้อมูลชีวประวัติของท่านจึงมีน้อย ทราบเพียงว่า

    ท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ที่ตำบลคลองด่าน ตาเป็นคนจีนชื่อ เขียว ยายเป็นคนไทยชื่อปิ่น โยมพ่อไม่ทราบชื่อ แต่โยมแม่ชื่อตาล เป็นลูกสาวคนโตของยายปิ่น ในตอนเยาว์วัย ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ กรุงเทพฯ เพื่อเรียนหนังสือ ไทย หนังสือขอม มูลกัจจายน์ และหนังสือใหญ่ ต่อมาท่านได้สึกจากเณร มาช่วยพ่อแม่ ประกอบอาชีพ ทำจาก และตัดฟืนไปขายเป็นอาชีพประจำ ท่านเป็นผู้มีนิสัยอดทนหนักเอาเบาสู้ ทำให้พ่อแม่เบาใจมาก

    ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านก็ได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดอรุณฯ โดยมีพระศรีศากยมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วก็ได้อยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์หลายปี ท่านมีความสนใจในทางกรรมฐานเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นท่านได้กราบลามาอยู่ วัดบางเหี้ย ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ ท่านประพฤติปฏิบัติ เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย เจ้าอาวาสขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองดูแลพระเณร ออกพรรษาแล้วท่านก็ออกรุกขมูล บุกดงพงป่าเพื่ออบรมสมาธิฝึกกรรมฐาน แสวงหาความรู้วิทยาคมจากสำนักอาจารย์ที่มีชื่อเสียง รู้ว่าอาจารย์ที่ไหนดี ท่านก็บุกไปจนถึงเพื่อขอศึกษาอาคมกับอาจารย์นั้น ท่านสนใจในวิชาไสยศาสตร์ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงไม่มีความยากสำหรับท่าน เมื่อมีความชำนาญแคล่วคล่องในเวทย์มนต์ ก็ทำให้เกิดความขลัง ความรู้ความสามารถก็ทวีเป็นเงาตามตัว ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ปกครองสงฆ์ดูแลวัด

    หลวงพ่อปานฯ กับหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง จังหวัดระยอง (ซึ่งได้พบกันในระหว่างธุดงค์) ได้ชวนกันไปเรียนวิทยาคมการปลุกเสกเสือ จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งพร้อมกัน (ไม่ทราบชื่อ และสำนักของอาจารย์ท่านนั้น) ขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่อเรียนถึงขั้นทดลองพิสูจน์ดู โดยเอาเสือใส่บาตร หรือในโหลให้เอาไม้พาดไว้ ปลุกเสกจนเสือออกมาจากบาตร หรือจากโหลหายเข้าป่าไป ถ้าใครภาวนาเรียกเสือกลับมาได้ก็จะให้เรียนต่อไป ถ้าเรียกกลับมาไม่ได้ ก็ไม่ให้เรียน

    หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ปลุกเสกเสือออกจากบาตรเข้าป่าไปได้ และเรียกกลับมาได้ ส่วนหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง ปลุกเสกเสือออกมาได้เข้าป่าไปเช่นกัน แต่เรียกเท่าไรๆ ก็ไม่กลับ ก็เป็นอันว่าหลวงพ่อปานเรียนต่อจนสำเร็จองค์เดียว หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งก็ต้องพักจากการเรียนเสือ ก็หันมาเรียน สร้าง และปลุกเสกแพะ จนสำเร็จ เมื่อได้วิทยาคมนี้ต่อมาก็มาเป็นอาจารย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง หลวงพ่ออ่ำนี่มีชื่อเสียงมากในการสร้างแพะ จนได้สมญาว่า “หลวงพ่ออ่ำแพะดัง” และหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งนี้ ก็เป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ผู้โด่งดังมากในปัจจุบันนี้

    นอกจากนี้หลวงพ่อปานฯยังเป็นหัวหน้าสายรุกขมูล และสอนกรรมฐานอันลือชื่อ การออกธุดงควัตร ท่านจะเป็นอาจารย์ควบคุมพระเณร เช่นเดียวกับหลวงพ่อนก วัดสังกะสีซึ่งเป็นคณะธุดงค์อีกสายหนึ่ง ทั้งสองสายมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น หลวงพ่อปานนำพระเป็นร้อยรูป บางปีก็ถึงห้าร้อย พระกรรมฐานสองสายนี้ มีชื่อเสียงมาก่อนกรรมฐานสายอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น

    เนื่องจากหลวงพ่อปานมีอาคมขลัง มีสมาธิจิตเข้มแข็ง เวลาออกรุกขมูลพักปักกลดอยู่ในป่า ตอนกลางคืนเดือนหงายๆ ท่านมักจะลองใจศิษย์ เนรมิตกายให้เป็นงูใหญ่ เลื้อยผ่านหมู่ศิษย์ไปบ้าง ทำเป็นเสือโคร่งเดินผ่านกลดศิษย์ไปบ้าง เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

    เนื่องจากหลวงพ่อปานได้ศึกษาวิทยาคม ในการสร้างเสือมาโดยสมบูรณ์แบบ ท่านก็เริ่มสร้างแจกจ่ายให้กับประชาชนแถวย่านบางเหี้ยก่อน ที่วัดจึงต้องต้อนรับประชาชน ที่พากันหลั่งไหลเข้าสู่วัดบางเหี้ยเพื่อรับแจกเสือ ตอนแรกคนแกะเสือก็มีเพียงคนเดียว ต่อมาต้องเพิ่มคนแกะเรื่อยๆ จนถึง ๔ คน และมากกว่านั้น แต่ที่มีฝีมือนั้นมีอยู่ ๔ คน ใครต่อใครก็พากันกล่าวขวัญว่า “เสือหลวงพ่อปาน” แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็ยังรู้จัก และในสมัยนั้นไม่มีใครทำเลียนแบบ สำหรับหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ยนั้น ท่านแก่กว่าหลวงพ่อปานวัดบางนมโค ๔๐ ปี และในจังหวัดสมุทรปราการ มีหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ดังมากอีกองค์หนึ่ง หลวงพ่อปานเมื่อออกรุกขมูล พระเณรก็จะนำเอาเสือที่ปลุกเสกแล้วติดไปแจกประชาชนด้วย

    ปรากฏว่าเสือของท่านมีประสบการณ์ในทางอำนาจ และคงกระพันยอดเยี่ยม หรือจะใช้ในทางเมตตามหานิยม ค้าขายของก็ได้ผล พ่อค้าแม่ค้ามักจะไปขอเสือหลวงพ่อกันวันละมากๆ ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านจึงแพร่หลายโดยรวดเร็ว ยิ่งมีผู้รู้เห็นพิธีปลุกเสก เสือวิ่งในบาตรเสียงดังกราวๆ ก็ยิ่งทำให้ประชาชนแห่แหนมารับแจกเสือกันไม่ขาดระยะ นอกจากนี้ จีนเฉย (อาแป๊ะเฉย) ซึ่งมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อปาน ถึงกับไปค้างที่วัดเป็นประจำ วันหนึ่งแกก็ไปที่วัดเช่นเคย แต่เอาหมูดิบๆ ไปด้วย เวลาดึกสงัดหลวงพ่อปลุกเสือแกก็เอาหมูแหย่ลงไปในบาตร ปรากฏว่าเสือติดหมูขึ้นมาเป็นระนาว แกยังสงสัยว่าแกจิ้มแรงจนเสือติดหมูออกมา ตอนหลังพอหลวงพ่อปลุกเสกจนเสือวิ่งในบาตร แกก็เอาหมูผูกกับไม้ แล้วชูหมูไว้เหนือบาตร ปรากฏว่าเสือที่อยู่ในบาตรกระโดดกัดหมู เหนือขอบปากบาตร จีนเฉยซึ่งเห็นกับตาตนเองก็นำไปเล่า จนข่าวเสือกระโดดกัดหมู เสือวิ่งในบาตร เสือกระโดดได้ แพร่สะพัดไปราวกับลมพัด ประชาชนต่างก็เห็นเป็นอัศจรรย์

    หลวงพ่อกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    สมัยก่อนมีแม่น้ำอยู่สายหนึ่ง ซึ่งไหลผ่านป่าดงพงพีมีต้นน้ำอยู่แปดริ้ว มาลงทะเลที่สมุทรปราการ ทุกครั้งที่น้ำทะเลหนุน น้ำเค็มจะทะลักเข้าไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ ทำให้ชาวบ้านในย่านนั้นได้รับความลำบาก สิ่งที่ไหลขึ้นมาตามน้ำคือตัวเหี้ย ตะกวด และจระเข้ จนต้องมีการทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อมิให้น้ำเค็มจากทะเลไหลขึ้นไปปนกับน้ำจืด และเพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานที่มีอยู่ชุกชุม มิให้แพร่หลายไปตามคลองต่างๆ ด้วยเหตุที่มีสัตว์พวกนี้ชุกชุม ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางเหี้ย” และคลองบางเหี้ย วัดก็ตั้งชื่อว่า วัดบางเหี้ย มี ๒ วัดคือวัดบางเหี้ยนอก กับวัดบางเหี้ยใน ประตูที่กั้นคลองนั้น มีชื่อเรียกกันปัจจุบันว่า “ประตูน้ำชลหารวิจิตร”

    ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ประตูน้ำเกิดชำรุด ต้องทำการซ่อมแซมหลายครั้ง เมื่อแล้วเสร็จได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จไปที่ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อที่จะทำพิธีเปิดประตูน้ำใหญ่ที่ตั้งอยู่ในคลองบางเหี้ย ปรากฏว่าทรงประทับอยู่ที่คลองด่านถึง ๓ วัน (ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดฯให้เปลี่ยนชื่อ ตำบลบางเหี้ย เป็น ตำบลคลองด่าน คลองบางเหี้ย เป็นคลองด่าน และอำเภอบางเหี้ย เป็นอำเภอคลองด่าน ) ...

    บรรดาชาวบ้านที่อยู่ในแถบถิ่น บางบ่อ บางพลี บางเหี้ย และบริเวณใกล้เคียง เมื่อรู้ข่าวว่าพระเจ้าอยู่หัวฯจะเสด็จมาเปิดประตูน้ำ ต่างก็พากันเตรียมของที่จะถวาย หลวงพ่อปานได้นำเขี้ยวเสือ ที่แกะอย่างสวยงามใส่พาน แล้วให้เด็กป๊อดซึ่งเพิ่งจะมีอายุ ๗-๘ ขวบหน้าตาดี เดินถือพานที่ใส่เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ ตามหลังท่านไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ริมคลองด่าน

    เมื่อไปถึงที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ หลวงพ่อได้เรียกเอาพานใส่เขี้ยวเสือจากเด็กผู้ติดตาม แต่เด็กคนนั้นบอกกับท่านว่า

    “เสือไม่มีแล้ว เพราะมันกระกระโดดน้ำไปในระหว่างทางจนหมดแล้ว”

    หลวงพ่อปานจึงได้เอาชิ้นหมูที่ทำขึ้นจากดินเหนียว แล้วเสียบกับไม้ แกว่งล่อเอาเสือขึ้นมาจากน้ำต่อหน้าพระพักตร์ พระองค์ทรงตรัสว่า
    “พอแล้วหลวงตา”

    หลังจากนั้นหลวงพ่อได้ถวายเขี้ยวเสือแกะนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงพิจารณาชั่วครู่ จึงตรัสถามชื่อพระเถระรูปร่างสูงใหญ่ผู้ปลุกเสกเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน ทูลว่าท่านชื่อปาน (ติสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ย

    พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งกับพระปานว่า

    “ได้ยินชื่อเสียง และกิตติคุณมานาน เพิ่งเห็นตัววันนี้”
    แล้วรับสั่งถามว่า

    “ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายอย่างไร ?”

    หลวงพ่อปานทูลตอบว่า

    “ได้ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง ได้สังเกตดูเห็นว่า “เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะ และอำนาจ สามารถที่จะใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า “ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั่นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือ มิใช่จะสนับสนุนให้คนกลายเป็น”อ้ายเสือ” เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่า ที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น”

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพอพระทัยในคำตอบของพระปานยิ่งนัก (ด้วยท่านมิได้ โอ้อวดว่า เครื่องรางของท่านดีเด่น แต่ประการใด) ทรงพระราชทานผ้าไตร และผ้ากราบ (ต่อมาได้พระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ”)

    พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง”เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ” ได้เล่าถึงพระปานไว้ว่า

    “พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้นิยมกันในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย แรกลงไปประชุมที่วัดบางเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดแล้วก็ออกเดิน ทางที่เดินนั้น ลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นไปปราจิณ นครนายก ไปพระบาท แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ถ้ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นแต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพฯกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินทางอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู่ในราวเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา ๔๐ ปีแล้ว

    คุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือ ให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสก ต้องใช้หมู ปลุกเสกเป่าไปข้อไร เสือนั้นกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ (น่าจะหมายความว่า พอปลุกเสกได้ที่เสือจะกระโดดกัดเนื้อหมู เป็นอันใช้ได้น่ะครับ) ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบาก เหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่ในป่าช้า ที่พระบาทฯ (สระบุรี) ก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง ๓ บาท ว่า ๖ บาทก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ ๗๐ แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย มีคนมาช่วยพูด"
    จะเห็นว่า ในพระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสเมืองปราจิณ” ได้เล่าถึง “พระปาน” อย่างละเอียด สิ่งสำคัญยิ่งก็คือ เครื่องรางเขี้ยวเสือที่ทำเป็นรูปเสือ ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ราคาเช่าซื้อตัวละ ๑ บาทบ้าง ๓ บาทบ้าง ๖ บาทบ้าง ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก (ในสมัยนั้น กาแฟถ้วยละ ๑ สตางค์ ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๓ สตางค์ ข้าวผัดจานละ ๕ สตางค์) หลังจากเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจ ก่อนที่ท่านจะเสด็จกลับเมืองหลวง พระองค์มีรับสั่งกับหลวงพ่อปานว่า

    “ฟ้าไปก่อน แล้วให้พระท่านไปทีหลัง”

    พระราชดำรัสนี้ทำให้ทุกคนพิศวง เพราะไม่เข้าใจความหมาย (ยกเว้นหลวงพ่อฯ) แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี พระองค์ท่านก็เสด็จสวรรคต และต่อจากนั้นไม่ถึงปี หลวงพ่อปานก็มรณภาพลงเช่นกัน จึงสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะรู้ด้วยญาณ ว่าท่านและหลวงพ่อปานคงถึงเวลาที่จะละสังขารแล้ว

    บุญญาภินิหารของหลวงพ่อ

    หลวงพ่อปานท่านเป็นผู้มีความเมตตา ปรานี และมีวาจาสิทธิ์ จนเป็นที่ยำเกรงแก่ประชาชนทั่วไป บรรดาลูกศิษย์ของท่านจะพยายามปฏิบัติตนอยู่ในคุณงามความดี เพราะกลัวหลวงพ่อว่าตนไม่ดี แล้วจะไม่ดีตามวาจาสิทธิ์ของท่าน กอปรกับท่านมีเจโตปริยญาณ และอนาคตังสญาณ
    อาทิเช่นครั้งหนึ่งท่านเตรียมจะออกเดินธุดงค์ พร้อมกับพระภิกษุสามเณรจำนวนมากจากวัดต่างๆ พระทั้งหลายจะต้องเข้ามาหาหลวงพ่อ เพื่อรายงานตัวก่อน ถ้าท่านไม่ให้ไปก็ไปไม่ได้ ในครั้งนั้นมีพระอยู่องค์หนึ่ง ชื่อพระผิว หลวงพ่อได้เรียกเข้ามาหา และบอกว่า

    “คุณเก็บบาตร เก็บกลด กลับวัดไปเถอะ”

    พระผิวเสียใจเป็นอย่างยิ่งถึงกับร้องไห้ หลวงพ่อปานจึงกล่าวกับพระผิวว่า

    “อย่าเสียใจไปเลยคุณ กลับไปวัดเถอะ เดินทางไปกับหลวงพ่อมันลำบากมาก องค์อื่นท่านแข็งแรง หลวงพ่อกลัวคุณจะลำบากจึงให้กลับไปก่อน”

    พระผิวจึงจำใจกลับ หลังจากพระผิวกลับมาถึงวัดได้ ๒ วันเท่านั้นท่านก็เป็นไข้ทรพิษ และมรณภาพลง

    ในที่สุด การเดินธุดงค์นั้น ท่านมักจะให้ศิษย์ออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อนทุกคราว แต่พอถึงจุดนัดหมาย หลวงพ่อจะไปคอยอยู่ข้างหน้าก่อนเสมอ

    หลวงพ่อปานท่านเป็นพระที่เคร่งครัดเอาจริงเอาจัง มีจิตใจกล้าหาญ ผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ไม่มีการเอนเอียงไปทางใดเลย การทำกรรมฐาน ท่านให้นั่งพิจารณาธาตุ เพ่งสิ่งต่างๆ เช่น ไฟเทียน น้ำในบาตร ปฐวีธาตุ จนพลังใจแก่กล้ามั่นคง และฝึกสติโดยการให้เดินจงกรม เมื่อฝึกจิตจนได้ที่แล้วท่านจึงจะสอนวิชาเคล็ดลับต่างๆ ให้ มีทั้งอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม และวิชาไสยศาสตร์ต่างๆ ที่เรียนนี้ก็เพื่อรู้ เรียนไว้เพื่อแก้ และเพื่อป้องกันตัว (เวลาออกธุดงค์) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสมัยนั้น ในการไปเดินธุดงค์คราวหนึ่ง ท่านไปได้หินเขียววิเศษ เป็นวัตถุสีเขียว แวววาวมาก โตขนาดเมล็ดถั่วดำ และข้างๆ หินนี้ มีเต่าหินที่สลักด้วยหินทรายสีออกน้ำตาลแดงเล็กน้อย หลวงพ่อปานท่านนิมิตเห็นสิ่งนี้ก่อนท่านจะออกธุดงค์

    ของวิเศษนั้น หลวงพ่อปานไม่เคยเปิดเผยกับใคร ท่านนำไปไว้ยังศาลที่ปลูกไว้ภายในบริเวณวัด ที่ศาลนี้มีพระพุทธรูปศิลาศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วย ใครไปมาผ่านศาลก็จะกราบไหว้พระพุทธรูป และจะเห็นเต่าศิลาตัวนั้น แต่บางคราวเต่านั้นก็หายไป และก็น่าแปลกที่หลวงพ่อปานก็จะไม่อยู่ด้วยทุกครั้ง ทุกคนเข้าใจว่าท่านไปธุดงค์ในป่า แต่ทำไมจะต้องนำเต่าหินนั้นไปด้วยเพราะทั้งหนัก และต้องลำบากดูแลรักษา
    เรื่องนี้ใครๆ ไม่สนใจ แต่สามเณรน้อยองค์หนึ่งสนใจ และคอยแอบดูอยู่ ว่าเต่าหายไปไหนใครพามันไป ทั้งๆ ที่หนักมาก สามเณรน้อยนี้มีความพยายามมาก ท่านคอยซ่อนตัวแอบดูเต่าหินนั้น ซึ่งบัดนี้มีดวงตาเป็นหินสีเขียว โดยหลวงพ่อปานท่านลองใส่เข้าไปตรงดวงตาเต่าก็เข้ากันได้พอดี อย่างไรก็ตามความพยายามของสามเณร หลวงพ่อท่านก็ทราบโดยตลอด

    ต่อมาเป็นวันข้างแรมเดือนดับ สามเณรก็ยังมาคอยดูอยู่เช่นเคย ทันใดนั้น! เณรน้อยก็ตกตะลึงตัวชาอยู่กับที่ เพราะเต่าหินกำลังเคลื่อนไหวคลานออกจากศาล และลอยไปในอากาศ เรียกว่าเต่าหินเหาะก็ไม่ผิด สามเณรพยายามข่มตาไม่ยอมหลับนอน ทนไว้เพื่อจะได้ดู ตอนเต่าหินกลับมา เวลาล่วงเลยไปจนถึงประมาณตี ๔ เณรน้อยก็ต้องอัศจรรย์ใจอีกครั้ง เพราะเต่าหินนั้นได้เหาะกลับมา และคลานกลับไปอยู่ที่เดิม สามเณรนั้นเดินไปสำรวจเต่าหินดู ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นหินที่เขาสลักมาจากหินทราย ถ้าไม่ใช่ของกายสิทธิ์จะคลานแล้วลอยไปในอากาศได้อย่างไร หลวงพ่อปานท่านคอยดูความมานะ อดทนตลอดจนปัญญาไหวพริบของสามเณรน้อยลูกศิษย์ท่านอยู่เงียบๆ จากการสังเกตเฝ้าดู เณรน้อยพบว่าเต่าหินนี้จะเหาะไป และกลับตอนตี ๔ ทุกๆ วันแรม ๑๕ ค่ำ

    ในที่สุดเณรน้อยก็ตัดสินใจ ท่านครองผ้าอย่างทะมัดทะแมง เตรียมตัวจะไปผจญภัยกับเต่าหิน เมื่อถึงเวลา เต่าหินก็ค่อยๆ คลานลงมาจากศาล สามเณรก็ปราดออกจากที่ซ่อน กระโดดเกาะเต่าหินนั้นไว้ เมื่อเต่าหินค่อยๆ ลอยขึ้นสามเณรก็กอดไว้แน่นด้วยใจระทึกเพราะเกรงจะตกลงไป ในที่สุดก็มาถึงเกาะแห่งหนึ่ง ไม่รู้ว่าเป็นสถานที่แห่งใด มองไปรอบๆ ตัวพบกับแสงสว่างเย็นตาน่ารื่นรมย์ เต่าหินค่อยๆ ลอยต่ำลง เมื่อถึงพื้นดินก็ตรงไปยังป่าไผ่ กินหน่อไผ่อย่างไม่รู้จักอิ่ม สามเณรก็ไม่กล้าลงจากหลังเต่า เพราะเกรงถูกทิ้งไว้ ได้แต่รั้งหักหน่อไม้มาได้หน่อหนึ่ง เพื่อเป็นสักขีพยานว่า ไม่ได้ฝันไป ได้มาอยู่บนเกาะนี้จริงๆ

    เต่าหินนั้นกินอยู่พักหนึ่ง ก็เหาะกลับแต่ขณะที่เดินทางนั้น สามเณรไม่สามารถกำหนดจดจำทิศทางได้เลย เมื่อกลับมาที่วัด เต่าหินก็กลับไปประจำที่ ส่วนเณรน้อยก็ถือหน่อไม้เข้ากุฏิไป หลวงพ่อปานท่านพิจารณาแล้ว เห็นว่าเรื่องเต่าหินวิเศษนี้จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป ท่านจึงได้นำดวงตาอันเป็นหินสีเขียวสดใสนั้นออกเสีย เพื่อเต่าศิลาจะได้ไม่สามารถเหาะไปเที่ยวได้อีก (ท่านคงพิจารณาแล้วว่า ถ้าเรื่องถูกแพร่งพรายออกไปคงจะเกิดความวุ่นวาย และสามเณรนั้นคงจะทดลองเกาะเต่าไปเที่ยวอีก และอาจเกิดอันตราย กระผมเข้าใจว่า หลวงพ่อท่านสามารถควบคุมเต่าได้ และสามารถเกาะหลังเต่าไปในที่ต่างๆ ได้ ตามที่ท่านปรารถนา) ปัจจุบันเต่าหินตัวนี้ ยังปรากฏอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดใกล้เคียง (เรื่องเต่าหินเหาะได้นี้ ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ศิษย์ของหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นผู้ทรงอภิญญาเช่นเดียวกัน เป็นผู้เล่าให้ฟัง)

    เนื่องจากหลวงพ่อปานฯ เป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้อยู่เสมอ ท่านจึงชอบธุดงค์ไปในที่ต่างๆ บางครั้งท่านก็ไปองค์เดียว คราวหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปทางจังหวัดปราจีนบุรี ไปถึงวัดโพธิ์ศรี เมื่อไปถึงวัด ท่านเจ้าอาวาสกำลังขึงกลองเพลอยู่ ท่านเห็นดังนั้นก็ลงมือช่วยเหลือทันที พอเสร็จเรียบร้อย สมภารท่านก็นิมนต์หลวงพ่อปานขึ้นไปคุยกันบนกุฏิ ขณะที่คุยกันอยู่มือของท่านสมภารก็ปั้นลูกดินกลมๆ อยู่ในมือ สักครู่หนึ่งท่านสมภารก็โยนลูกดินนั้นขึ้นไปบนอากาศ กลายเป็นม้าตัวหนึ่ง กับตุ๊กตาอีกตัวหนึ่งไล่จับเหยี่ยวอยู่บนท้องฟ้า

    หลวงพ่อปานเห็นดังนั้นท่านก็หัวเราะชอบใจ แต่ไม่ได้พูดอะไร เมื่อท่านลงจากกุฏิของท่านสมภารแล้ว ท่านได้พูดกับพระในวัดนั้นว่า “โดนลองดีเข้าให้แล้ว” พอพูดจบท่านก็หยิบผ้าสังฆาฏิที่พาดบ่าท่านอยู่ นำมาม้วนแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ ปรากฏว่าผ้านั้นได้กลับกลายเป็นกระต่ายหลายตัว วิ่งอยู่ในลานวัด ใครจะจับก็จับไม่ได้ เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น หลังจากนั้นหลวงพ่อปานท่านจะออกเดินธุดงค์ ท่านมักจะมุ่งหน้าไปทาง อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรีเสมอ เพราะในย่านนั้นเต็มไปด้วยพระอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ท่านปรารถนาจะเรียนในสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น

    ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ท่านเล่าให้ฟังว่า “หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ท่านเก่งเรื่องจิต ท่านแสดงฤทธิ์ได้มากมาย ท่านได้เคยเล่าถึงสรรพคุณของเต่าวิเศษที่พาท่านไปในเมืองลับแล ซึ่งเป็นภพซ้อนภพกันอยู่นี่ ได้ไปพบกับสิ่งอัศจรรย์หลายอย่าง พอเป็นคติเตือนใจ ครั้นเมื่อกลับมาจากการท่องเที่ยวครั้งนั้น หลวงพ่อปานได้เคร่งครัดการปฏิบัติกรรมฐานของท่านอย่างหนัก โดยไม่ปล่อยกาลเวลาให้ผ่านพ้นไป ท่านตระหนักดีว่า ชีวิตของท่านนั้นสั้นนัก ควรจะเร่งรีบภาวนา ทำจิตให้มีกำลัง มีสมาธิ และมีปัญญาติดตัวไว้ อุบายธรรมของท่าน ก็คือการพิจารณา สภาวธรรมความจริงแห่งวัฏฏะ เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความทุกข์ความวุ่นวาย เกิดเพราะจิตเข้าไปยึดมั่น จิตปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา การระงับดับเหตุทั้งปวง ย่อมต้องระงับดับที่ใจ เพราะใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ท่านมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ เพื่อพระนิพพานเป็นที่หมาย เพื่อให้พ้นจากวัฏฏะอันหมุนวนไม่รู้จักจบ”
    ก่อนที่หลวงพ่อปานจะมรณภาพนั้น ประชาชนที่มีความเคารพบูชาหลวงพ่อ ได้พร้อมใจกันหล่อรูปท่านขึ้นมาองค์หนึ่ง ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชา เพราะหลวงพ่อไม่ค่อยได้อยู่วัด ท่านมักจะเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นประจำ จะได้กราบรูปหล่อแทนตัวท่าน แต่เมื่อหล่อรูปแล้วท่านก็ไม่ค่อยจะเข้าวัด ท่านมักจะปลีกตัวไปจำวัดที่พระปฐมเป็นประจำ การที่ท่านไม่อยากเข้าวัดของท่านนั้น อาจเป็นเพราะท่านรู้ล่วงหน้าว่าถึงคราวจะหมดอายุขัยแล้ว ท่านจึงต้องการความสงบในการพิจารณาธรรม แต่ท่านก็ไม่กล้าพูดกับใครๆ เมื่อญาติโยมอ้อนวอนมากๆ เข้า ท่านก็บ่ายเบี่ยงไปว่า “เข้าไปไม่ได้ อ้ายดำมันอยู่ ขืนเข้าไปอ้ายดำมันจะเอาตาย” คำว่า “อ้ายดำ” หมายถึงรูปหล่อของท่านนั่นเอง ปัจจุบันนี้รูปหล่อของท่านก็ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมงคลโคธาวาส (วัดคลองด่าน หรือวัดบางเหี้ย) คืออยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อซึ่งได้จัดสร้างขึ้นใหม่ และปรากฏความศักดิ์สิทธิ์มากมาย น้ำมนต์ที่หน้ารูปหล่อของท่านก็มีคนนำไปดื่ม และทองคำเปลวที่รูปหล่อก็มีคนนำไปปิดที่หน้าผาก เพื่อรักษาโรคได้ผลมาแล้วมากมาย

    ธรรมะของหลวงพ่อ:

    เป็นคำกลอนภาษาขอม ซึ่งท่านเขียนไว้ แปลมาเป็นภาษาไทยโดย ท่านพระครูสาธิตธรรมนารถ วัดราชนิยม จ.ชลบุรี ดังนี้

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="75%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 426.1pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568>อิมัสมิง กาเย ...
    เกสา ว่า ผม อย่าได้ชื่นชม ว่าผมโสภา
    เก้าล้านแสนเส้น ล้วนเป็นอนิจจา อย่าได้สงกา ว่าเป็นแก่นสาร
    โลมา คือ ขน งอกทั่วตัวตน ว่าขนสาธารณ์
    เก้าโกฏิแสนเส้น มิเป็นแก่นสาร เวลาถึงกาล สาบสูญบรรลัย
    นะขา คือ เล็บ ยาวนักมักเจ็บ ว่าเล็บทั้งหลาย
    เปื่อยเน่าผุพอง เป็นหนองภายใน คนพาลเอาไว้ ย่อมเป็นกังวล
    ทันตา คือ ฟัน สามสิบสองอัน ข้างล่างข้างบน
    งอกขึ้นภายหลัง น่าชังเหลือทน หลุดถอนคลอนหล่น ทนทุกขเวทนา
    ตะโจ คือ หนัง ห่อหุ้มกายัง เท่าผลพุทรา
    หุ้มห่อรอบตัว ทั่วทั้งกายา เมื่อม้วยมรณา แร้งกาจิกกิน
    มังสา คือ เนื้อ อย่าได้เอื้อเฟื้อ เนื้อเก้าสิบชิ้น
    เน่านองกองเกื้อ อยู่เหนือแผ่นดิน แร้งกาจิกกิน เมื่อสิ้นอาสัญ
    นะหารู คือ เอ็น เมื่อเรายังเป็น เอ็นชักไหวหวั่น
    เอ็นใหญ่เก้าร้อย เอ็นน้อยเก้าพัน รัดรึงตรึงกัน ผูกพันกายา
    อัฐิ คือ กระดูก เอ็นนั้นพันผูก กระดูกนานา
    ได้สามร้อยถ้วนล้วนเป็นอนิจจา อย่าได้สงกา ว่าเป็นแก่นสาร
    อัฐิมิญชัง กระดูกนั้นยัง มีเยื่อยืดยาน
    อยู่ในกระดูก หล่อเลี้ยงสังขาร เวลาถึงกาล สาบสูญบรรลัย
    วักกัง คือ ม้าม อยู่แอบแนบข้าง ริมเนื้อหัวใจ
    ผู้มีปัญญา จดจำเอาไว้ เร่งคิดให้ได้ ถึงพระอนิจจา
    หะทะยัง คือ หัวใจ พระท่านขานไข ว่าใจนานา
    ใจขึ้งใจโกรธ ใจโทษโทสา ใจมารแกล้วกล้า ฆ่าสัตว์ทั้งหลาย
    ใจมักเสียดส่อ ใจลวงใจล่อ ให้เขาหลงใหล
    ใจมืดใจมัว หลงตัวจนตาย ใจดำนี้ไซร้ เหมือนสัตว์เดรัจฉาน
    ใจร้ายใจพาล จะจมอยู่นาน ในจตุราบาย
    ใจมักทำบุญ ให้คิดถึงคุณศีลทานทั้งหลาย
    ให้แล้วให้เล่า ข้าวน้ำมากมาย ให้เร่งขวนขวาย มุ่งหมายทำบุญ
    ไหว้พระสวดมนต์ กุศลผลคุณ ใจมักเจือจุน ด้วยใจศรัทธา
    ใจนั้นสุภาพ ละอายแก่บาป ใจไม่หยาบช้า
    ซื่อสัตย์มั่นคงจำนงเจรจา หาโทษโทสา ไม่มีแก่ตน
    ใจดังดวงแก้ว ประเสริฐเลิศแล้ว ส่องโลกโลกา
    กุศลผลบุญ ทำไว้นานา เราท่านเกิดมา ไม่เป็นแก่นสาร
    ใจถือขันติ เมตตาปรานี ฝูงสัตว์ทุกวัน
    เหนี่ยวเอามรรคผล ให้พ้นกันดาร แม้นสิ้นอาสัญ ย่อมพ้นอบาย
    ไปสู่พระนิพพานแล ....
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในการปฏิบัติของหลวงพ่อปานนั้น ท่านได้กล่าวถึง ทาง ๗ สาย คือ
    สายที่ ๑ ทางไปนรก คือ บุคคลผู้มีใจเร่าร้อนไปด้วยกิเลสอยู่ตลอดเวลา
    สายที่ ๒ ทางไปเปรตอสุรกาย คือ บุคคลผู้มีโลภะ และประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ
    สายที่ ๓ ทางไปเดรัจฉาน คือ บุคคลมีโมหะเป็นอกุศลจิต
    สายที่ ๔ ทางมามนุษย์ คือ บุคคลผู้มี เบญจศีล
    สายที่ ๕ ทางไปเทวดา คือ บุคคลผู้มีเทวธรรม คือ หิริ โอตตัปปะ
    สายที่ ๖ ทางไปพรหม คือ บุคคลผู้ได้ฌาน
    สายที่ ๗ ทางไปพระนิพพาน คือ บุคคลผู้สิ้นอาสวะกิเลสทั้งมวล
    และท่านได้กล่าวถึงพระนิพพาน ไว้ว่า
    “พระนิพพาน เป็นอสังขตธรรม ไม่มีธรรม คือ กุศล และอกุศลที่จะ ตกแต่งให้บังเกิดขึ้น และพระนิพพานเป็น อสังขตธาตุ ไม่มีธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีธาตุ ๖ และธาตุที่จะประชุมแล้วทรงไว้ และพระนิพพาน คือ ปรมัตถสุข เป็นสุขอย่างยิ่งอย่างเลิศนั่นเอง”
    สังขารทั้งหลาย เมื่อเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้น ก็แปรปรวนไปในท่ามกลาง และแตกดับไปในที่สุด หลวงพ่อปานท่านได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ (ปีเดียวกับ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงสิ้นพระชนม์) เวลา ๕ ทุ่ม ๔๕ นาที เป็นอันสิ้นสุดชีวิตพระอาจารย์ผู้มีฌานสมาธิอันกล้าแข็ง เป็นที่พึ่งของมหาชนมากมาย ....

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" bgColor=#fffff5 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568>กระผมขอกราบอาราธนาพระบารมี แห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โปรดอภิบาลรักษา ให้ท่านทั้งหลายมีแต่ความสุข ความเจริญ ยิ่งๆ ขึ้นไป ขอให้ สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย สรรพเคราะห์ เสนียดจัญไร จงปลาศนาการไปโดยเร็วพลัน และขอให้ท่านทั้งหลาย ได้เข้าถึงพระวิสุทธิธรรม สมความปรารถนาของทุกท่าน....ด้วยเทอญ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    จากคุณ : คนรู้น้อย 17-05-2003


    -http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-parn-wat-bang-hea/lp-parn-wat-bang-hea-hist-01.htm-








    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2011
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (พระครูพิพัฒน์นโรธกิจ วัดมงคลโคธาวาส)

    จากหนังสือวัดมงคลโคธาวาส พิมพ์เป็นอนุสนรณ์ในงานณาปรกิจศพ นายเจ่ม สวัสดี 30 มีนาคม 2502

    วัดมงคลโคธาวาสสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 (ตามคำบอกเล่าของ หลวงพ่อสาย ศิษย์หลวงพ่อปาน) โดยตระกูลหลวงพ่อปานริเริ่มสร้างพร้อมด้วยชาวบ้านประชาชนที่มีจิตศรัทธา เนื่องด้วย การทำบุญสมัยก่อนต้องไปวัดอื่นที่ไกลจากหมูบ้าน เช่น วัดสร่างโศก หรือวัดโคธาราม จึงดำริสร้างวัดที่ในละแวกบ้านตน สมัยก่อนประตูน้ำยังไม่สร้าง ถนนก็ยังไม่พัฒนา มีบ้านคนเพียงกลุ่มๆ บริเวณนี้เป็นที่ลุ่ม เวลาน้ำทะเลขึ้น จะท่วมเต็มลานวัดไปหมด บางครั้งต้องทำสะพานยาวๆ เดินไปวัด

    วัดสร้างปีใด ใครเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ไม่มีใครทราบ มาสืบได้อีกทีสมัยหลวงพ่อถันเป็นเจ้าอาวาส สมัยนี้มีพระเถระที่ทรงคุณวุฒิ ดังนี้

    1.หลวงพ่อปาน ( ต่อมาเป็นพระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ)
    2.หลวงพ่อเรือน (เคยเป็นอุชณาย์ที่วัดนี้)
    3.หลวงพ่อล่า (เป็นหมอผี หมอน้ำมนต์)
    4.พระอาจารย์อิ่ม (อาจารย์สอนวิปัสสนาและอาจารย์ธุดงค์ เป็นผู้สร้างพระผงหลวงพ่อปานถวาย)
    5.หลวงพ่อทอง (ต่อมาเป็นพระครูสุทธิรัตน์ เจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อถัน)
    6.หลวงพ่อลาว (มรณะแล้วไม่เน่าเปื่อย)
    7.พระอาจารย์บัว
    8.สมุห์นิ่ม สมัยเป็นสมาเณร

    การปกครอง

    ในสมัยหลวงพ่อถันเป็นเจ้าอาวาส ได้แยกปกครองพระสงฆ์เป็นคณะ คณะหนึ่งมีหัวหน้าปกครอง และรองคณะอีกรูปหนึ่ง มีเหตุการณ์ใดให้ตัดสินใจและรายงานให้เจ้าอาวาสทราบ ดังนี้
    1.หลวงพ่อปานและพระอาจารย์อิ่ม เป็นหัวหน้าคณะปกครองสอนเรื่องกัมมัฏฐาน เมื่อออกพรรษาแล้วออกธุดงค์เป็นคณะใหญ่
    2.หลวงพ่อเรือน เป็นหัวหน้าคณะ สอนชีและอุบาสกอุบาสิกาทั่วไป
    3.หลวงพ่อล่า เป็นหัวหน้าคณะว่าด้วยหมอผี หมอน้ำมนต์
    4.หลวงพ่ถัน เป็นเจ้าอาวาสและหัวหน้าคณะปกครองทั่วไป ตลอดจนดูแลเด็ก

    หลวงพ่อถันปกครองวัดมานาน จนหลวงพ่อปานสร้างมณฑปเพื่อจะเอาไว้รอยพระพุทธบาท (หน้า รรงวสัดมงคลโคธาวาส) พอการก่อสร้างใกล้เสร็จ ยกยอดเสร็จเรียนร้อย ท่านก็ล้มป่วยและมรณภาพ บรรดาพระเณร อุบาสกอุบาสิกาประชุมกัน ด้วยการสนับสนุนจากหลวงพ่อปาน ให้ หลวงพ่อทองเป็นเจ้าอาวาส
    สมัยนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ผู้วางระเบียบการปกครองสงฆ์ และผู้แต่งหนังสือนวโกวาท) ออกตรวจการปกครองสงฆ์มณฑลบูรพา เห็นพระเณรวัดมงคลโคธวาส มีความประพฤติเรียบร้อยดี จึงทรงกรุณาแต่งตั้งหลวงพ่อทอง เป็น พระครูสุทธิรัต เป็นพระอุปัชณาย์และเจ้าคณะแขวงบางบ่อ มีพระฐานานุกรม คือ พระปลัดแวว และพระสมุห์นิ่ม

    สมัยหลวงพ่อทอง พระผู้ทรงคุณวุฒิ มรณภาพไปหลายรูป คือ
    หลวงพ่อปาน
    หลวงพ่อเรือน
    หลวงพ่อล่า
    หลวงพ่อลาว
    พระอาจารย์อิ่ม (ไปมรณะที่เมืองหงสาวดี)
    พระอาจารย์บัว
    ทำให้วัดเงียบเหงาไปมาก เมือท่านอุปสมบทบุตรทนายซัว เป็นคนสุดท้ายและมรณภาพในปีนั้นเอง

    ประวัติหลวงพ่อปาน

    หลวงพ่อปานเป็นชาวคลองด่านแต่กำเนิด เกิดประมาณปี 2468 รัชสมัย รัชกาลที่ 3

    ในวัยเยาว์ ได้เข้าศึกษากับเจ้าคุณศรีศากยสุนทร สำนักวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และได้บรรพชาที่วัดแจ้ง ภายหลังได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อแตง วัดอ่างศิลานอก ศึกษาสรรพวิชาจนเชียวชาญ

    หลวงพ่อปานท่านเป็นคนพูดน้อย เป็นที่เคารพยำเกรงและเลื่อมใสแก่ผู้พลเห็น ท่านออกธุดงค์ทุกปี ทีใดที่เหมาะแก่การพระศาสนา ก็จะทำสัญลักษณ์ไว้ ต่อมาก็กลายเป็นวัด เช่น วัดปานประสิทธาราม วัดไตรสรณาคม วัดหงส์ทอง เป็นต้น
    พระราชนิพนธ์ ประพาสมณฑลปราจีนบุรี ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รศ.127 (พ.ศ.2451) ดังนี้

    ......วันที่ 24 โปรแกรมวันนีอยู่ข้างเลอะเทอะ เปลี่ยนแปลงมาก เดิมกำหนดอยู่ในราว 4 โมง (อยู่บางเหี้ยถึง 4 โมง )ออกจากบางเหี้ย เข้ามาทำกับข้าวกินที่พระสมุทรเจดีย์ จากจะไปเที่ยวคลองบางปลากดเวลา 5 โมง จึงขึ้นโมเตอรเตรียมกลับ .......เวลา บ่าย 2 โมง เลยเวลากิน เต่เคราะห์ดีอยางวานนี้ที่หาปิ่นโตไว้

    เวลาเช้าที่ว่างนั้น พวกราษฎรพากันอยากจะเห็น จึงออกไปให้เห็นแลแจกเสมา พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานนี้นิยมกันในทางวิปัสนาแลธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ได้เดินธุดงค์ด้วย 200-300 แรกลงไปประชุมอยู๋ที่วัดบงเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดและออกเดิน ทางที่เดินนั้นลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นมาปราจีน นครนายก ไปพระบาท (สระบุรี) แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ว่ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นไว้แต่พระที่เลื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู๋ในเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเปนอาจิณวัตรเช่นนี้มา 40 ปีแล้ว .......สังเกตุดูอัชาไศรยก็เป็นคนแก่ใจดี กิริยาเรียบร้อย อายุ 70 แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย คนอื่นมาช่วยพูด......

    หลวงพ่อปาน มรณะด้วยโรคชรา เมื่อวันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน9 ปีจอ โทศก 1272 รศ.129 ตรงกับวันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 5 ทุ่ม 45 นาที
    พระราชทานเพลิงศพ ณวัดมงคลโคธาวาส วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 9 เมษายน 2454

    ความคิดเห็นที่ 1
    เด็กคลองด่าน <!--[​IMG] -->วันที่ : 12/09/2010 เวลา : 08.20 น.

    -http://www.oknation.net/blog/khonklongdan/2009/07/20/entry-5-
    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 39 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 38 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ผมส่งรูปพิมพ์หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ไปให้สมาชิกชมรมพระวังหน้าทุกๆท่านแล้ว

    กรุณาอย่าส่งต่อครับ

    และขอขอบคุณ คุณPinkcivil ที่กรุณาถ่ายรูปองค์จริงและส่งมาให้ผมครับ


    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

    หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (ความจริง ”เหี้ย” นี่เป็นชื่อของสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์หนึ่ง แต่คนนำมาใช้ด่าว่ากัน จึงกลายเป็นคำไม่สุภาพไป) เนื่องจากท่าน ได้ล่วงลับมาเป็นเวลานาน และท่านไม่ได้เล่าถึงชีวิตในอดีตของท่านให้ลูกศิษย์ทราบ ข้อมูลชีวประวัติของท่านจึงมีน้อย ทราบเพียงว่า

    ท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ที่ตำบลคลองด่าน ตาเป็นคนจีนชื่อ เขียว ยายเป็นคนไทยชื่อปิ่น โยมพ่อไม่ทราบชื่อ แต่โยมแม่ชื่อตาล เป็นลูกสาวคนโตของยายปิ่น ในตอนเยาว์วัย ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ กรุงเทพฯ เพื่อเรียนหนังสือ ไทย หนังสือขอม มูลกัจจายน์ และหนังสือใหญ่ ต่อมาท่านได้สึกจากเณร มาช่วยพ่อแม่ ประกอบอาชีพ ทำจาก และตัดฟืนไปขายเป็นอาชีพประจำ ท่านเป็นผู้มีนิสัยอดทนหนักเอาเบาสู้ ทำให้พ่อแม่เบาใจมาก

    ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านก็ได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดอรุณฯ โดยมีพระศรีศากยมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วก็ได้อยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์หลายปี ท่านมีความสนใจในทางกรรมฐานเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นท่านได้กราบลามาอยู่ วัดบางเหี้ย ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ ท่านประพฤติปฏิบัติ เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย เจ้าอาวาสขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองดูแลพระเณร ออกพรรษาแล้วท่านก็ออกรุกขมูล บุกดงพงป่าเพื่ออบรมสมาธิฝึกกรรมฐาน แสวงหาความรู้วิทยาคมจากสำนักอาจารย์ที่มีชื่อเสียง รู้ว่าอาจารย์ที่ไหนดี ท่านก็บุกไปจนถึงเพื่อขอศึกษาอาคมกับอาจารย์นั้น ท่านสนใจในวิชาไสยศาสตร์ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงไม่มีความยากสำหรับท่าน เมื่อมีความชำนาญแคล่วคล่องในเวทย์มนต์ ก็ทำให้เกิดความขลัง ความรู้ความสามารถก็ทวีเป็นเงาตามตัว ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ปกครองสงฆ์ดูแลวัด

    หลวงพ่อปานฯ กับหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง จังหวัดระยอง (ซึ่งได้พบกันในระหว่างธุดงค์) ได้ชวนกันไปเรียนวิทยาคมการปลุกเสกเสือ จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งพร้อมกัน (ไม่ทราบชื่อ และสำนักของอาจารย์ท่านนั้น) ขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่อเรียนถึงขั้นทดลองพิสูจน์ดู โดยเอาเสือใส่บาตร หรือในโหลให้เอาไม้พาดไว้ ปลุกเสกจนเสือออกมาจากบาตร หรือจากโหลหายเข้าป่าไป ถ้าใครภาวนาเรียกเสือกลับมาได้ก็จะให้เรียนต่อไป ถ้าเรียกกลับมาไม่ได้ ก็ไม่ให้เรียน

    หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ปลุกเสกเสือออกจากบาตรเข้าป่าไปได้ และเรียกกลับมาได้ ส่วนหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง ปลุกเสกเสือออกมาได้เข้าป่าไปเช่นกัน แต่เรียกเท่าไรๆ ก็ไม่กลับ ก็เป็นอันว่าหลวงพ่อปานเรียนต่อจนสำเร็จองค์เดียว หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งก็ต้องพักจากการเรียนเสือ ก็หันมาเรียน สร้าง และปลุกเสกแพะ จนสำเร็จ เมื่อได้วิทยาคมนี้ต่อมาก็มาเป็นอาจารย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง หลวงพ่ออ่ำนี่มีชื่อเสียงมากในการสร้างแพะ จนได้สมญาว่า “หลวงพ่ออ่ำแพะดัง” และหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งนี้ ก็เป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ผู้โด่งดังมากในปัจจุบันนี้

    นอกจากนี้หลวงพ่อปานฯยังเป็นหัวหน้าสายรุกขมูล และสอนกรรมฐานอันลือชื่อ การออกธุดงควัตร ท่านจะเป็นอาจารย์ควบคุมพระเณร เช่นเดียวกับหลวงพ่อนก วัดสังกะสีซึ่งเป็นคณะธุดงค์อีกสายหนึ่ง ทั้งสองสายมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น หลวงพ่อปานนำพระเป็นร้อยรูป บางปีก็ถึงห้าร้อย พระกรรมฐานสองสายนี้ มีชื่อเสียงมาก่อนกรรมฐานสายอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น

    เนื่องจากหลวงพ่อปานมีอาคมขลัง มีสมาธิจิตเข้มแข็ง เวลาออกรุกขมูลพักปักกลดอยู่ในป่า ตอนกลางคืนเดือนหงายๆ ท่านมักจะลองใจศิษย์ เนรมิตกายให้เป็นงูใหญ่ เลื้อยผ่านหมู่ศิษย์ไปบ้าง ทำเป็นเสือโคร่งเดินผ่านกลดศิษย์ไปบ้าง เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

    เนื่องจากหลวงพ่อปานได้ศึกษาวิทยาคม ในการสร้างเสือมาโดยสมบูรณ์แบบ ท่านก็เริ่มสร้างแจกจ่ายให้กับประชาชนแถวย่านบางเหี้ยก่อน ที่วัดจึงต้องต้อนรับประชาชน ที่พากันหลั่งไหลเข้าสู่วัดบางเหี้ยเพื่อรับแจกเสือ ตอนแรกคนแกะเสือก็มีเพียงคนเดียว ต่อมาต้องเพิ่มคนแกะเรื่อยๆ จนถึง ๔ คน และมากกว่านั้น แต่ที่มีฝีมือนั้นมีอยู่ ๔ คน ใครต่อใครก็พากันกล่าวขวัญว่า “เสือหลวงพ่อปาน” แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็ยังรู้จัก และในสมัยนั้นไม่มีใครทำเลียนแบบ สำหรับหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ยนั้น ท่านแก่กว่าหลวงพ่อปานวัดบางนมโค ๔๐ ปี และในจังหวัดสมุทรปราการ มีหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ดังมากอีกองค์หนึ่ง หลวงพ่อปานเมื่อออกรุกขมูล พระเณรก็จะนำเอาเสือที่ปลุกเสกแล้วติดไปแจกประชาชนด้วย

    ปรากฏว่าเสือของท่านมีประสบการณ์ในทางอำนาจ และคงกระพันยอดเยี่ยม หรือจะใช้ในทางเมตตามหานิยม ค้าขายของก็ได้ผล พ่อค้าแม่ค้ามักจะไปขอเสือหลวงพ่อกันวันละมากๆ ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านจึงแพร่หลายโดยรวดเร็ว ยิ่งมีผู้รู้เห็นพิธีปลุกเสก เสือวิ่งในบาตรเสียงดังกราวๆ ก็ยิ่งทำให้ประชาชนแห่แหนมารับแจกเสือกันไม่ขาดระยะ นอกจากนี้ จีนเฉย (อาแป๊ะเฉย) ซึ่งมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อปาน ถึงกับไปค้างที่วัดเป็นประจำ วันหนึ่งแกก็ไปที่วัดเช่นเคย แต่เอาหมูดิบๆ ไปด้วย เวลาดึกสงัดหลวงพ่อปลุกเสือแกก็เอาหมูแหย่ลงไปในบาตร ปรากฏว่าเสือติดหมูขึ้นมาเป็นระนาว แกยังสงสัยว่าแกจิ้มแรงจนเสือติดหมูออกมา ตอนหลังพอหลวงพ่อปลุกเสกจนเสือวิ่งในบาตร แกก็เอาหมูผูกกับไม้ แล้วชูหมูไว้เหนือบาตร ปรากฏว่าเสือที่อยู่ในบาตรกระโดดกัดหมู เหนือขอบปากบาตร จีนเฉยซึ่งเห็นกับตาตนเองก็นำไปเล่า จนข่าวเสือกระโดดกัดหมู เสือวิ่งในบาตร เสือกระโดดได้ แพร่สะพัดไปราวกับลมพัด ประชาชนต่างก็เห็นเป็นอัศจรรย์

    หลวงพ่อกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    สมัยก่อนมีแม่น้ำอยู่สายหนึ่ง ซึ่งไหลผ่านป่าดงพงพีมีต้นน้ำอยู่แปดริ้ว มาลงทะเลที่สมุทรปราการ ทุกครั้งที่น้ำทะเลหนุน น้ำเค็มจะทะลักเข้าไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ ทำให้ชาวบ้านในย่านนั้นได้รับความลำบาก สิ่งที่ไหลขึ้นมาตามน้ำคือตัวเหี้ย ตะกวด และจระเข้ จนต้องมีการทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อมิให้น้ำเค็มจากทะเลไหลขึ้นไปปนกับน้ำจืด และเพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานที่มีอยู่ชุกชุม มิให้แพร่หลายไปตามคลองต่างๆ ด้วยเหตุที่มีสัตว์พวกนี้ชุกชุม ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางเหี้ย” และคลองบางเหี้ย วัดก็ตั้งชื่อว่า วัดบางเหี้ย มี ๒ วัดคือวัดบางเหี้ยนอก กับวัดบางเหี้ยใน ประตูที่กั้นคลองนั้น มีชื่อเรียกกันปัจจุบันว่า “ประตูน้ำชลหารวิจิตร”

    ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ประตูน้ำเกิดชำรุด ต้องทำการซ่อมแซมหลายครั้ง เมื่อแล้วเสร็จได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จไปที่ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อที่จะทำพิธีเปิดประตูน้ำใหญ่ที่ตั้งอยู่ในคลองบางเหี้ย ปรากฏว่าทรงประทับอยู่ที่คลองด่านถึง ๓ วัน


    บรรดาชาวบ้านที่อยู่ในแถบถิ่น บางบ่อ บางพลี บางเหี้ย และบริเวณใกล้เคียง เมื่อรู้ข่าวว่าพระเจ้าอยู่หัวฯจะเสด็จมาเปิดประตูน้ำ ต่างก็พากันเตรียมของที่จะถวาย หลวงพ่อปานได้นำเขี้ยวเสือ ที่แกะอย่างสวยงามใส่พาน แล้วให้เด็กป๊อดซึ่งเพิ่งจะมีอายุ ๗-๘ ขวบหน้าตาดี เดินถือพานที่ใส่เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ ตามหลังท่านไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ริมคลองด่าน

    เมื่อไปถึงที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ หลวงพ่อได้เรียกเอาพานใส่เขี้ยวเสือจากเด็กผู้ติดตาม แต่เด็กคนนั้นบอกกับท่านว่า

    “เสือไม่มีแล้ว เพราะมันกระกระโดดน้ำไปในระหว่างทางจนหมดแล้ว”

    หลวงพ่อปานจึงได้เอาชิ้นหมูที่ทำขึ้นจากดินเหนียว แล้วเสียบกับไม้ แกว่งล่อเอาเสือขึ้นมาจากน้ำต่อหน้าพระพักตร์ พระองค์ทรงตรัสว่า

    “พอแล้วหลวงตา”

    หลังจากนั้นหลวงพ่อได้ถวายเขี้ยวเสือแกะนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงพิจารณาชั่วครู่ จึงตรัสถามชื่อพระเถระรูปร่างสูงใหญ่ผู้ปลุกเสกเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน ทูลว่าท่านชื่อปาน (ติสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ย

    พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งกับพระปานว่า

    “ได้ยินชื่อเสียง และกิตติคุณมานาน เพิ่งเห็นตัววันนี้”

    แล้วรับสั่งถามว่า

    “ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายอย่างไร ?”

    หลวงพ่อปานทูลตอบว่า

    “ได้ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง ได้สังเกตดูเห็นว่า “เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะ และอำนาจ สามารถที่จะใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า “ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั่นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือ มิใช่จะสนับสนุนให้คนกลายเป็น”อ้ายเสือ” เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่า ที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น”

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพอพระทัยในคำตอบของพระปานยิ่งนัก (ด้วยท่านมิได้ โอ้อวดว่า เครื่องรางของท่านดีเด่น แต่ประการใด) ทรงพระราชทานผ้าไตร และผ้ากราบ (ต่อมาได้พระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ”)

    พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง”เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ” ได้เล่าถึงพระปานไว้ว่า

    “พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้นิยมกันในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย แรกลงไปประชุมที่วัดบางเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดแล้วก็ออกเดิน ทางที่เดินนั้น ลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นไปปราจิณ นครนายก ไปพระบาท แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ถ้ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นแต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพฯกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินทางอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู่ในราวเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา ๔๐ ปีแล้ว

    คุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือ ให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสก ต้องใช้หมู ปลุกเสกเป่าไปข้อไร เสือนั้นกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ (น่าจะหมายความว่า พอปลุกเสกได้ที่เสือจะกระโดดกัดเนื้อหมู เป็นอันใช้ได้น่ะครับ) ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบาก เหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่ในป่าช้า ที่พระบาทฯ (สระบุรี) ก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง ๓ บาท ว่า ๖ บาทก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ ๗๐ แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย มีคนมาช่วยพูด"

    จะเห็นว่า ในพระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสเมืองปราจิณ” ได้เล่าถึง “พระปาน” อย่างละเอียด สิ่งสำคัญยิ่งก็คือ เครื่องรางเขี้ยวเสือที่ทำเป็นรูปเสือ ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ราคาเช่าซื้อตัวละ ๑ บาทบ้าง ๓ บาทบ้าง ๖ บาทบ้าง ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก (ในสมัยนั้น กาแฟถ้วยละ ๑ สตางค์ ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๓ สตางค์ ข้าวผัดจานละ ๕ สตางค์) หลังจากเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจ ก่อนที่ท่านจะเสด็จกลับเมืองหลวง พระองค์มีรับสั่งกับหลวงพ่อปานว่า

    “ฟ้าไปก่อน แล้วให้พระท่านไปทีหลัง”

    พระราชดำรัสนี้ทำให้ทุกคนพิศวง เพราะไม่เข้าใจความหมาย (ยกเว้นหลวงพ่อฯ) แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี พระองค์ท่านก็เสด็จสวรรคต และต่อจากนั้นไม่ถึงปี หลวงพ่อปานก็มรณภาพลงเช่นกัน จึงสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะรู้ด้วยญาณ ว่าท่านและหลวงพ่อปานคงถึงเวลาที่จะละสังขารแล้ว

    บุญญาภินิหารของหลวงพ่อ

    หลวงพ่อปานท่านเป็นผู้มีความเมตตา ปรานี และมีวาจาสิทธิ์ จนเป็นที่ยำเกรงแก่ประชาชนทั่วไป บรรดาลูกศิษย์ของท่านจะพยายามปฏิบัติตนอยู่ในคุณงามความดี เพราะกลัวหลวงพ่อว่าตนไม่ดี แล้วจะไม่ดีตามวาจาสิทธิ์ของท่าน กอปรกับท่านมีเจโตปริยญาณ และอนาคตังสญาณ

    อาทิเช่นครั้งหนึ่งท่านเตรียมจะออกเดินธุดงค์ พร้อมกับพระภิกษุสามเณรจำนวนมากจากวัดต่างๆ พระทั้งหลายจะต้องเข้ามาหาหลวงพ่อ เพื่อรายงานตัวก่อน ถ้าท่านไม่ให้ไปก็ไปไม่ได้ ในครั้งนั้นมีพระอยู่องค์หนึ่ง ชื่อพระผิว หลวงพ่อได้เรียกเข้ามาหา และบอกว่า

    “คุณเก็บบาตร เก็บกลด กลับวัดไปเถอะ”

    พระผิวเสียใจเป็นอย่างยิ่งถึงกับร้องไห้ หลวงพ่อปานจึงกล่าวกับพระผิวว่า

    “อย่าเสียใจไปเลยคุณ กลับไปวัดเถอะ เดินทางไปกับหลวงพ่อมันลำบากมาก องค์อื่นท่านแข็งแรง หลวงพ่อกลัวคุณจะลำบากจึงให้กลับไปก่อน”

    พระผิวจึงจำใจกลับ หลังจากพระผิวกลับมาถึงวัดได้ ๒ วันเท่านั้นท่านก็เป็นไข้ทรพิษ และมรณภาพลงในที่สุด การเดินธุดงค์นั้น ท่านมักจะให้ศิษย์ออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อนทุกคราว แต่พอถึงจุดนัดหมาย หลวงพ่อจะไปคอยอยู่ข้างหน้าก่อนเสมอ

    หลวงพ่อปานท่านเป็นพระที่เคร่งครัดเอาจริงเอาจัง มีจิตใจกล้าหาญ ผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ไม่มีการเอนเอียงไปทางใดเลย การทำกรรมฐาน ท่านให้นั่งพิจารณาธาตุ เพ่งสิ่งต่างๆ เช่น ไฟเทียน น้ำในบาตร ปฐวีธาตุ จนพลังใจแก่กล้ามั่นคง และฝึกสติโดยการให้เดินจงกรม เมื่อฝึกจิตจนได้ที่แล้วท่านจึงจะสอนวิชาเคล็ดลับต่างๆ ให้ มีทั้งอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม และวิชาไสยศาสตร์ต่างๆ ที่เรียนนี้ก็เพื่อรู้ เรียนไว้เพื่อแก้ และเพื่อป้องกันตัว (เวลาออกธุดงค์) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสมัยนั้น ในการไปเดินธุดงค์คราวหนึ่ง ท่านไปได้หินเขียววิเศษ เป็นวัตถุสีเขียว แวววาวมาก โตขนาดเมล็ดถั่วดำ และข้างๆ หินนี้ มีเต่าหินที่สลักด้วยหินทรายสีออกน้ำตาลแดงเล็กน้อย หลวงพ่อปานท่านนิมิตเห็นสิ่งนี้ก่อนท่านจะออกธุดงค์

    ของวิเศษนั้น หลวงพ่อปานไม่เคยเปิดเผยกับใคร ท่านนำไปไว้ยังศาลที่ปลูกไว้ภายในบริเวณวัด ที่ศาลนี้มีพระพุทธรูปศิลาศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วย ใครไปมาผ่านศาลก็จะกราบไหว้พระพุทธรูป และจะเห็นเต่าศิลาตัวนั้น แต่บางคราวเต่านั้นก็หายไป และก็น่าแปลกที่หลวงพ่อปานก็จะไม่อยู่ด้วยทุกครั้ง ทุกคนเข้าใจว่าท่านไปธุดงค์ในป่า แต่ทำไมจะต้องนำเต่าหินนั้นไปด้วยเพราะทั้งหนัก และต้องลำบากดูแลรักษา

    เรื่องนี้ใครๆ ไม่สนใจ แต่สามเณรน้อยองค์หนึ่งสนใจ และคอยแอบดูอยู่ ว่าเต่าหายไปไหนใครพามันไป ทั้งๆ ที่หนักมาก สามเณรน้อยนี้มีความพยายามมาก ท่านคอยซ่อนตัวแอบดูเต่าหินนั้น ซึ่งบัดนี้มีดวงตาเป็นหินสีเขียว โดยหลวงพ่อปานท่านลองใส่เข้าไปตรงดวงตาเต่าก็เข้ากันได้พอดี อย่างไรก็ตามความพยายามของสามเณร หลวงพ่อท่านก็ทราบโดยตลอด

    ต่อมาเป็นวันข้างแรมเดือนดับ สามเณรก็ยังมาคอยดูอยู่เช่นเคย ทันใดนั้น! เณรน้อยก็ตกตะลึงตัวชาอยู่กับที่ เพราะเต่าหินกำลังเคลื่อนไหวคลานออกจากศาล และลอยไปในอากาศ เรียกว่าเต่าหินเหาะก็ไม่ผิด สามเณรพยายามข่มตาไม่ยอมหลับนอน ทนไว้เพื่อจะได้ดู ตอนเต่าหินกลับมา เวลาล่วงเลยไปจนถึงประมาณตี ๔ เณรน้อยก็ต้องอัศจรรย์ใจอีกครั้ง เพราะเต่าหินนั้นได้เหาะกลับมา และคลานกลับไปอยู่ที่เดิม สามเณรนั้นเดินไปสำรวจเต่าหินดู ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นหินที่เขาสลักมาจากหินทราย ถ้าไม่ใช่ของกายสิทธิ์จะคลานแล้วลอยไปในอากาศได้อย่างไร หลวงพ่อปานท่านคอยดูความมานะ อดทนตลอดจนปัญญาไหวพริบของสามเณรน้อยลูกศิษย์ท่านอยู่เงียบๆ จากการสังเกตเฝ้าดู เณรน้อยพบว่าเต่าหินนี้จะเหาะไป และกลับตอนตี ๔ ทุกๆ วันแรม ๑๕ ค่ำ

    ในที่สุดเณรน้อยก็ตัดสินใจ ท่านครองผ้าอย่างทะมัดทะแมง เตรียมตัวจะไปผจญภัยกับเต่าหิน เมื่อถึงเวลา เต่าหินก็ค่อยๆ คลานลงมาจากศาล สามเณรก็ปราดออกจากที่ซ่อน กระโดดเกาะเต่าหินนั้นไว้ เมื่อเต่าหินค่อยๆ ลอยขึ้นสามเณรก็กอดไว้แน่นด้วยใจระทึกเพราะเกรงจะตกลงไป ในที่สุดก็มาถึงเกาะแห่งหนึ่ง ไม่รู้ว่าเป็นสถานที่แห่งใด มองไปรอบๆ ตัวพบกับแสงสว่างเย็นตาน่ารื่นรมย์ เต่าหินค่อยๆ ลอยต่ำลง เมื่อถึงพื้นดินก็ตรงไปยังป่าไผ่ กินหน่อไผ่อย่างไม่รู้จักอิ่ม สามเณรก็ไม่กล้าลงจากหลังเต่า เพราะเกรงถูกทิ้งไว้ ได้แต่รั้งหักหน่อไม้มาได้หน่อหนึ่ง เพื่อเป็นสักขีพยานว่า ไม่ได้ฝันไป ได้มาอยู่บนเกาะนี้จริงๆ

    เต่าหินนั้นกินอยู่พักหนึ่ง ก็เหาะกลับแต่ขณะที่เดินทางนั้น สามเณรไม่สามารถกำหนดจดจำทิศทางได้เลย เมื่อกลับมาที่วัด เต่าหินก็กลับไปประจำที่ ส่วนเณรน้อยก็ถือหน่อไม้เข้ากุฏิไป หลวงพ่อปานท่านพิจารณาแล้ว เห็นว่าเรื่องเต่าหินวิเศษนี้จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป ท่านจึงได้นำดวงตาอันเป็นหินสีเขียวสดใสนั้นออกเสีย เพื่อเต่าศิลาจะได้ไม่สามารถเหาะไปเที่ยวได้อีก (ท่านคงพิจารณาแล้วว่า ถ้าเรื่องถูกแพร่งพรายออกไปคงจะเกิดความวุ่นวาย และสามเณรนั้นคงจะทดลองเกาะเต่าไปเที่ยวอีก และอาจเกิดอันตราย กระผมเข้าใจว่า หลวงพ่อท่านสามารถควบคุมเต่าได้ และสามารถเกาะหลังเต่าไปในที่ต่างๆ ได้ ตามที่ท่านปรารถนา) ปัจจุบันเต่าหินตัวนี้ ยังปรากฏอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดใกล้เคียง (เรื่องเต่าหินเหาะได้นี้ ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ศิษย์ของหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นผู้ทรงอภิญญาเช่นเดียวกัน เป็นผู้เล่าให้ฟัง)

    เนื่องจากหลวงพ่อปานฯ เป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้อยู่เสมอ ท่านจึงชอบธุดงค์ไปในที่ต่างๆ บางครั้งท่านก็ไปองค์เดียว คราวหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปทางจังหวัดปราจีนบุรี ไปถึงวัดโพธิ์ศรี เมื่อไปถึงวัด ท่านเจ้าอาวาสกำลังขึงกลองเพลอยู่ ท่านเห็นดังนั้นก็ลงมือช่วยเหลือทันที พอเสร็จเรียบร้อย สมภารท่านก็นิมนต์หลวงพ่อปานขึ้นไปคุยกันบนกุฏิ ขณะที่คุยกันอยู่มือของท่านสมภารก็ปั้นลูกดินกลมๆ อยู่ในมือ สักครู่หนึ่งท่านสมภารก็โยนลูกดินนั้นขึ้นไปบนอากาศ กลายเป็นม้าตัวหนึ่ง กับตุ๊กตาอีกตัวหนึ่งไล่จับเหยี่ยวอยู่บนท้องฟ้า

    หลวงพ่อปานเห็นดังนั้นท่านก็หัวเราะชอบใจ แต่ไม่ได้พูดอะไร เมื่อท่านลงจากกุฏิของท่านสมภารแล้ว ท่านได้พูดกับพระในวัดนั้นว่า “โดนลองดีเข้าให้แล้ว” พอพูดจบท่านก็หยิบผ้าสังฆาฏิที่พาดบ่าท่านอยู่ นำมาม้วนแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ ปรากฏว่าผ้านั้นได้กลับกลายเป็นกระต่ายหลายตัว วิ่งอยู่ในลานวัด ใครจะจับก็จับไม่ได้ เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น หลังจากนั้นหลวงพ่อปานท่านจะออกเดินธุดงค์ ท่านมักจะมุ่งหน้าไปทาง อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรีเสมอ เพราะในย่านนั้นเต็มไปด้วยพระอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ท่านปรารถนาจะเรียนในสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น

    ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ท่านเล่าให้ฟังว่า “หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ท่านเก่งเรื่องจิต ท่านแสดงฤทธิ์ได้มากมาย ท่านได้เคยเล่าถึงสรรพคุณของเต่าวิเศษที่พาท่านไปในเมืองลับแล ซึ่งเป็นภพซ้อนภพกันอยู่นี่ ได้ไปพบกับสิ่งอัศจรรย์หลายอย่าง พอเป็นคติเตือนใจ ครั้นเมื่อกลับมาจากการท่องเที่ยวครั้งนั้น หลวงพ่อปานได้เคร่งครัดการปฏิบัติกรรมฐานของท่านอย่างหนัก โดยไม่ปล่อยกาลเวลาให้ผ่านพ้นไป ท่านตระหนักดีว่า ชีวิตของท่านนั้นสั้นนัก ควรจะเร่งรีบภาวนา ทำจิตให้มีกำลัง มีสมาธิ และมีปัญญาติดตัวไว้ อุบายธรรมของท่าน ก็คือการพิจารณา สภาวธรรมความจริงแห่งวัฏฏะ เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความทุกข์ความวุ่นวาย เกิดเพราะจิตเข้าไปยึดมั่น จิตปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา การระงับดับเหตุทั้งปวง ย่อมต้องระงับดับที่ใจ เพราะใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ท่านมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ เพื่อพระนิพพานเป็นที่หมาย เพื่อให้พ้นจากวัฏฏะอันหมุนวนไม่รู้จักจบ”

    ก่อนที่หลวงพ่อปานจะมรณภาพนั้น ประชาชนที่มีความเคารพบูชาหลวงพ่อ ได้พร้อมใจกันหล่อรูปท่านขึ้นมาองค์หนึ่ง ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชา เพราะหลวงพ่อไม่ค่อยได้อยู่วัด ท่านมักจะเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นประจำ จะได้กราบรูปหล่อแทนตัวท่าน แต่เมื่อหล่อรูปแล้วท่านก็ไม่ค่อยจะเข้าวัด ท่านมักจะปลีกตัวไปจำวัดที่พระปฐมเป็นประจำ การที่ท่านไม่อยากเข้าวัดของท่านนั้น อาจเป็นเพราะท่านรู้ล่วงหน้าว่าถึงคราวจะหมดอายุขัยแล้ว ท่านจึงต้องการความสงบในการพิจารณาธรรม แต่ท่านก็ไม่กล้าพูดกับใครๆ เมื่อญาติโยมอ้อนวอนมากๆ เข้า ท่านก็บ่ายเบี่ยงไปว่า “เข้าไปไม่ได้ อ้ายดำมันอยู่ ขืนเข้าไปอ้ายดำมันจะเอาตาย” คำว่า “อ้ายดำ” หมายถึงรูปหล่อของท่านนั่นเอง ปัจจุบันนี้รูปหล่อของท่านก็ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมงคลโคธาวาส (วัดคลองด่าน หรือวัดบางเหี้ย) คืออยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อซึ่งได้จัดสร้างขึ้นใหม่ และปรากฏความศักดิ์สิทธิ์มากมาย น้ำมนต์ที่หน้ารูปหล่อของท่านก็มีคนนำไปดื่ม และทองคำเปลวที่รูปหล่อก็มีคนนำไปปิดที่หน้าผาก เพื่อรักษาโรคได้ผลมาแล้วมากมาย


    ด้านสาธารณประโยชน์ หลวงพ่อเป็นผู้นำในการสร้างถนนจากคลองด่านไปบางเพรียง ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสไปวัดสว่างอารมณ์ ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสจรดคลองนางหงษ์ ถนนแต่ละสายปัจจุบันได้พัฒนาเป็นถนนถาวรและใช้สัญจร ไปมาจนถึงทุกวันนี้

    ด้านความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของหลวงพ่อนั้น เป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป เป็นพระอาจารย์ ที่มีญาณแก่กล้าชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องรางของขลัง ของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากและสืบ เสาะหากันจนทุกวันนี้ ท่านคร่ำเคร่งทางวิปัสสนามากและ ธุดงค์อยู่เสมอ ด้วยคุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อที่ได้ประกอบขึ้นไว้ แต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ราษฎรในตำบลใกล้เคียง กระทั่งต่างอำเภอและต่างจังหวัดพากันเคารพนับถือและรำลึก ถึงหลวงพ่ออย่างไม่ เสื่อมคลาย

    ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ"

    ท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 4 ทุ่ม 45 นาที

    เมื่อท่านถึงมรณภาพไปแล้วจึงร่วมกันประกอบพิธีนมัสการรูปหล่อของท่าน รูปหล่อดั้งเดิมของท่าน ปัจจุบัน อยู่ที่มณฑปวัดมงคลโคธาวาส อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ


    ข้อมูลจากเวป พระรัตนตรัย กระดานสนทนาธรรม ......ขอบคุณมากครับ


    .

    -http://www.oknation.net/blog/khonklongdan/2009/07/20/entry-5-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เหรียญ หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย) รุ่นสร้างศาลาพิพัฒน์นิโรธกิจ
    "หลวงพ่อปาน" หรือพระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย) ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เป็นพระเกจิชื่อดังของสมุทรปราการ หลวงพ่อปานเป็นชาวบางบ่อ เกิดที่ตำบลบางเหี้ย จ.สมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ.2368 เมื่อตอนเป็นเด็กบิดามารดาได้นำไปฝากไว้กับเจ้าคุณศรีสากยะบุตร เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) เพื่อให้เรียนหนังสือไทย ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณร

    [​IMG]

    เมื่ออายุครบบวชได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดอรุณราชวราราม ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดบางเหี้ยนอก หลวงพ่อปาน เป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติธรรมวินัยเคร่งครัด ด้านความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของหลวงพ่อนั้นเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป เป็นพระอาจารย์ที่มีญาณแก่กล้าชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องรางของขลังของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามาก และสืบเสาะหากันจนทุกวันนี้

    หลวงพ่อปานได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ หลวงพ่อปาน มรณภาพลงเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2453 สิริอายุ 85 ปี พรรษา 65

    กล่าวกันว่าวัตถุมงคลหลวงพ่อปานที่จัดสร้างขึ้นมาจะได้รับความนิยมแทบทุกรุ่น ไม่ว่าจะเป็นเขี้ยวเสือหรือเหรียญหลวงพ่อปาน โดยวัดที่จัดสร้างในเขตจังหวัดสมุทรปราการมีอยู่ด้วยกันหลายวัด ด้วยลูกศิษย์ของหลวงพ่อปานมีอยู่มากและแยกย้ายไปอยู่ตามวัดต่างๆ

    สำหรับเหรียญหลวงพ่อปาน รุ่นสร้างศาลาพิพัฒน์นิโรธกิจ เป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดง สร้างโดยพระครูมงคลพิพัฒน์คุณ ในปี พ.ศ.2522 เพื่อแจกจ่ายให้กับญาติโยมที่มาร่วมทำบุญสร้างศาลาและคณะกรรมการที่มาช่วยงานในวัด รวมทั้งเป็นอนุสรณ์ให้กับหลวงพ่อปาน โดยไม่มีการจำหน่ายแต่อย่างใด

    เหรียญหลวงพ่อปาน รุ่นนี้เป็นเหรียญวงรีรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อปาน นั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ด้านล่างเขียนคำว่า "หลวงพ่อปาน" ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์ประจำตัวหลวงพ่อปาน ขอบบนโค้งเขียนคำว่า "วัดมงคลโคธาวาส จ.สมุทรปราการ ๒๕๒๒" ด้านล่างเขียนคำว่า "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ สร้างศาลาพิพัฒน์นิโรธกิจ"

    เหรียญดังกล่าวแม้เป็นเหรียญรุ่นใหม่ แต่ชาวบ้านที่รู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อปาน ต่างล้วนมีความปรารถนาต้องการไว้ครอบครอง เพื่อสะสมและเก็บไว้บูชาเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง ไม่แพ้เหรียญรุ่นอื่นๆ เหรียญหลวงพ่อปาน รุ่นสร้างศาลาพิพัฒน์นิโรธกิจ นับเป็นเหรียญอันทรงคุณค่าและทรงไว้ซึ่งพุทธคุณ เป็นอีกหนึ่งเหรียญที่น่าสะสม

    แหล่งข่าวจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด[​IMG]



    .

    -http://www.itti-patihan.com/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8D-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2.html-

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    อภินิหารหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

    -http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=8638-

    หลวงพ่อปาน ท่านเป็นผู้มีความเมตตา ปรานี และมีวาจาสิทธิ์ จนเป็นที่ยำเกรงแก่ประชาชนทั่วไป บรรดาลูกศิษย์ของท่านจะพยายามปฏิบัติตนอยู่ในคุณงามความดี เพราะกลัวหลวงพ่อว่าตนไม่ดี แล้วจะไม่ดีตามวาจาสิทธิ์ของท่าน กอปรกับท่านมีเจโตปริยญาณ และอนาคตังสญาณ

    อาทิเช่นครั้งหนึ่งท่าน เตรียมจะออกเดินธุดงค์ พร้อมกับพระภิกษุสามเณรจำนวนมากจากวัดต่างๆ พระทั้งหลายจะต้องเข้ามาหาหลวงพ่อ เพื่อรายงานตัวก่อน ถ้าท่านไม่ให้ไปก็ไปไม่ได้ ในครั้งนั้นมีพระอยู่องค์หนึ่ง ชื่อพระผิว หลวงพ่อได้เรียกเข้ามาหา และบอกว่า

    “คุณเก็บบาตร เก็บกลด กลับวัดไปเถอะ”

    พระผิวเสียใจเป็นอย่างยิ่งถึงกับร้องไห้ หลวงพ่อปานจึงกล่าวกับพระผิวว่า

    “อย่าเสียใจไปเลยคุณ กลับไปวัดเถอะ เดินทางไปกับหลวงพ่อมันลำบากมาก องค์อื่นท่านแข็งแรง หลวงพ่อกลัวคุณจะลำบากจึงให้กลับไปก่อน”

    พระ ผิวจึงจำใจกลับ หลังจากพระผิวกลับมาถึงวัดได้ ๒ วันเท่านั้นท่านก็เป็นไข้ทรพิษ และมรณภาพลงในที่สุด การเดินธุดงค์นั้น ท่านมักจะให้ศิษย์ออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อนทุกคราว แต่พอถึงจุดนัดหมาย หลวงพ่อจะไปคอยอยู่ข้างหน้าก่อนเสมอ

    หลวงพ่อปานท่านเป็นพระที่ เคร่งครัดเอาจริงเอาจัง มีจิตใจกล้าหาญ ผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ไม่มีการเอนเอียงไปทางใดเลย การทำกรรมฐาน ท่านให้นั่งพิจารณาธาตุ เพ่งสิ่งต่างๆ เช่น ไฟเทียน น้ำในบาตร ปฐวีธาตุ จนพลังใจแก่กล้ามั่นคง และฝึกสติโดยการให้เดินจงกรม เมื่อฝึกจิตจนได้ที่แล้วท่านจึงจะสอนวิชาเคล็ดลับต่างๆ ให้ มีทั้งอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม และวิชาไสยศาสตร์ต่างๆ ที่เรียนนี้ก็เพื่อรู้ เรียนไว้เพื่อแก้ และเพื่อป้องกันตัว (เวลาออกธุดงค์) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสมัยนั้น ในการไปเดินธุดงค์คราวหนึ่ง ท่านไปได้หินเขียววิเศษ เป็นวัตถุสีเขียว แวววาวมาก โตขนาดเมล็ดถั่วดำ และข้างๆ หินนี้ มีเต่าหินที่สลักด้วยหินทรายสีออกน้ำตาลแดงเล็กน้อย หลวงพ่อปานท่านนิมิตเห็นสิ่งนี้ก่อนท่านจะออกธุดงค์

    ของวิเศษนั้น หลวงพ่อปานไม่เคยเปิดเผยกับใคร ท่านนำไปไว้ยังศาลที่ปลูกไว้ภายในบริเวณวัด ที่ศาลนี้มีพระพุทธรูปศิลาศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วย ใครไปมาผ่านศาลก็จะกราบไหว้พระพุทธรูป และจะเห็นเต่าศิลาตัวนั้น แต่บางคราวเต่านั้นก็หายไป และก็น่าแปลกที่หลวงพ่อปานก็จะไม่อยู่ด้วยทุกครั้ง ทุกคนเข้าใจว่าท่านไปธุดงค์ในป่า แต่ทำไมจะต้องนำเต่าหินนั้นไปด้วยเพราะทั้งหนัก และต้องลำบากดูแลรักษา

    เรื่อง นี้ใครๆ ไม่สนใจ แต่สามเณรน้อยองค์หนึ่งสนใจ และคอยแอบดูอยู่ ว่าเต่าหายไปไหนใครพามันไป ทั้งๆ ที่หนักมาก สามเณรน้อยนี้มีความพยายามมาก ท่านคอยซ่อนตัวแอบดูเต่าหินนั้น ซึ่งบัดนี้มีดวงตาเป็นหินสีเขียว โดยหลวงพ่อปานท่านลองใส่เข้าไปตรงดวงตาเต่าก็เข้ากันได้พอดี อย่างไรก็ตามความพยายามของสามเณร หลวงพ่อท่านก็ทราบโดยตลอด

    ต่อมา เป็นวันข้างแรมเดือนดับ สามเณรก็ยังมาคอยดูอยู่เช่นเคย ทันใดนั้น! เณรน้อยก็ตกตะลึงตัวชาอยู่กับที่ เพราะเต่าหินกำลังเคลื่อนไหวคลานออกจากศาล และลอยไปในอากาศ เรียกว่าเต่าหินเหาะก็ไม่ผิด สามเณรพยายามข่มตาไม่ยอมหลับนอน ทนไว้เพื่อจะได้ดู ตอนเต่าหินกลับมา เวลาล่วงเลยไปจนถึงประมาณตี ๔ เณรน้อยก็ต้องอัศจรรย์ใจอีกครั้ง เพราะเต่าหินนั้นได้เหาะกลับมา และคลานกลับไปอยู่ที่เดิม สามเณรนั้นเดินไปสำรวจเต่าหินดู ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นหินที่เขาสลักมาจากหินทราย ถ้าไม่ใช่ของกายสิทธิ์จะคลานแล้วลอยไปในอากาศได้อย่างไร หลวงพ่อปานท่านคอยดูความมานะ อดทนตลอดจนปัญญาไหวพริบของสามเณรน้อยลูกศิษย์ท่านอยู่เงียบๆ จากการสังเกตเฝ้าดู เณรน้อยพบว่าเต่าหินนี้จะเหาะไป และกลับตอนตี ๔ ทุกๆ วันแรม ๑๕ ค่ำ
    โดย: โจรสลัด (เจ้าบ้าน ) [28 พ.ย. 50 23:50] ( IP A:124.121.161.81 X: )
    ความคิดเห็นที่ 1
    ใน ที่สุดเณรน้อยก็ตัดสินใจ ท่านครองผ้าอย่างทะมัดทะแมง เตรียมตัวจะไปผจญภัยกับเต่าหิน เมื่อถึงเวลา เต่าหินก็ค่อยๆ คลานลงมาจากศาล สามเณรก็ปราดออกจากที่ซ่อน กระโดดเกาะเต่าหินนั้นไว้ เมื่อเต่าหินค่อยๆ ลอยขึ้นสามเณรก็กอดไว้แน่นด้วยใจระทึกเพราะเกรงจะตกลงไป ในที่สุดก็มาถึงเกาะแห่งหนึ่ง ไม่รู้ว่าเป็นสถานที่แห่งใด มองไปรอบๆ ตัวพบกับแสงสว่างเย็นตาน่ารื่นรมย์ เต่าหินค่อยๆ ลอยต่ำลง เมื่อถึงพื้นดินก็ตรงไปยังป่าไผ่ กินหน่อไผ่อย่างไม่รู้จักอิ่ม สามเณรก็ไม่กล้าลงจากหลังเต่า เพราะเกรงถูกทิ้งไว้ ได้แต่รั้งหักหน่อไม้มาได้หน่อหนึ่ง เพื่อเป็นสักขีพยานว่า ไม่ได้ฝันไป ได้มาอยู่บนเกาะนี้จริงๆ

    เต่าหินนั้นกินอยู่พักหนึ่ง ก็เหาะกลับแต่ขณะที่เดินทางนั้น สามเณรไม่สามารถกำหนดจดจำทิศทางได้เลย เมื่อกลับมาที่วัด เต่าหินก็กลับไปประจำที่ ส่วนเณรน้อยก็ถือหน่อไม้เข้ากุฏิไป หลวงพ่อปานท่านพิจารณาแล้ว เห็นว่าเรื่องเต่าหินวิเศษนี้จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป ท่านจึงได้นำดวงตาอันเป็นหินสีเขียวสดใสนั้นออกเสีย เพื่อเต่าศิลาจะได้ไม่สามารถเหาะไปเที่ยวได้อีก (ท่านคงพิจารณาแล้วว่า ถ้าเรื่องถูกแพร่งพรายออกไปคงจะเกิดความวุ่นวาย และสามเณรนั้นคงจะทดลองเกาะเต่าไปเที่ยวอีก และอาจเกิดอันตราย กระผมเข้าใจว่า หลวงพ่อท่านสามารถควบคุมเต่าได้ และสามารถเกาะหลังเต่าไปในที่ต่างๆ ได้ ตามที่ท่านปรารถนา) ปัจจุบันเต่าหินตัวนี้ ยังปรากฏอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดใกล้เคียง (เรื่องเต่าหินเหาะได้นี้ ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ศิษย์ของหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นผู้ทรงอภิญญาเช่นเดียวกัน เป็นผู้เล่าให้ฟัง)

    เนื่องจาก หลวงพ่อปานฯ เป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้อยู่เสมอ ท่านจึงชอบธุดงค์ไปในที่ต่างๆ บางครั้งท่านก็ไปองค์เดียว คราวหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปทางจังหวัดปราจีนบุรี ไปถึงวัดโพธิ์ศรี เมื่อไปถึงวัด ท่านเจ้าอาวาสกำลังขึงกลองเพลอยู่ ท่านเห็นดังนั้นก็ลงมือช่วยเหลือทันที พอเสร็จเรียบร้อย สมภารท่านก็นิมนต์หลวงพ่อปานขึ้นไปคุยกันบนกุฏิ ขณะที่คุยกันอยู่มือของท่านสมภารก็ปั้นลูกดินกลมๆ อยู่ในมือ สักครู่หนึ่งท่านสมภารก็โยนลูกดินนั้นขึ้นไปบนอากาศ กลายเป็นม้าตัวหนึ่ง กับตุ๊กตาอีกตัวหนึ่งไล่จับเหยี่ยวอยู่บนท้องฟ้า

    หลวงพ่อปานเห็น ดังนั้นท่านก็หัวเราะชอบใจ แต่ไม่ได้พูดอะไร เมื่อท่านลงจากกุฏิของท่านสมภารแล้ว ท่านได้พูดกับพระในวัดนั้นว่า “โดนลองดีเข้าให้แล้ว” พอพูดจบท่านก็หยิบผ้าสังฆาฏิที่พาดบ่าท่านอยู่ นำมาม้วนแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ ปรากฏว่าผ้านั้นได้กลับกลายเป็นกระต่ายหลายตัว วิ่งอยู่ในลานวัด ใครจะจับก็จับไม่ได้ เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น หลังจากนั้นหลวงพ่อปานท่านจะออกเดินธุดงค์ ท่านมักจะมุ่งหน้าไปทาง อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรีเสมอ เพราะในย่านนั้นเต็มไปด้วยพระอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ท่านปรารถนาจะเรียนในสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น

    ท่านพระ ครูโกศล ปาสาธิโก ท่านเล่าให้ฟังว่า “หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ท่านเก่งเรื่องจิต ท่านแสดงฤทธิ์ได้มากมาย ท่านได้เคยเล่าถึงสรรพคุณของเต่าวิเศษที่พาท่านไปในเมืองลับแล ซึ่งเป็นภพซ้อนภพกันอยู่นี่ ได้ไปพบกับสิ่งอัศจรรย์หลายอย่าง พอเป็นคติเตือนใจ ครั้นเมื่อกลับมาจากการท่องเที่ยวครั้งนั้น หลวงพ่อปานได้เคร่งครัดการปฏิบัติกรรมฐานของท่านอย่างหนัก โดยไม่ปล่อยกาลเวลาให้ผ่านพ้นไป ท่านตระหนักดีว่า ชีวิตของท่านนั้นสั้นนัก ควรจะเร่งรีบภาวนา ทำจิตให้มีกำลัง มีสมาธิ และมีปัญญาติดตัวไว้ อุบายธรรมของท่าน ก็คือการพิจารณา สภาวธรรมความจริงแห่งวัฏฏะ เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความทุกข์ความวุ่นวาย เกิดเพราะจิตเข้าไปยึดมั่น จิตปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา การระงับดับเหตุทั้งปวง ย่อมต้องระงับดับที่ใจ เพราะใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ท่านมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ เพื่อพระนิพพานเป็นที่หมาย เพื่อให้พ้นจากวัฏฏะอันหมุนวนไม่รู้จักจบ”

    ก่อน ที่หลวงพ่อปานจะมรณภาพนั้น ประชาชนที่มีความเคารพบูชาหลวงพ่อ ได้พร้อมใจกันหล่อรูปท่านขึ้นมาองค์หนึ่ง ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชา เพราะหลวงพ่อไม่ค่อยได้อยู่วัด ท่านมักจะเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นประจำ จะได้กราบรูปหล่อแทนตัวท่าน แต่เมื่อหล่อรูปแล้วท่านก็ไม่ค่อยจะเข้าวัด ท่านมักจะปลีกตัวไปจำวัดที่พระปฐมเป็นประจำ การที่ท่านไม่อยากเข้าวัดของท่านนั้น อาจเป็นเพราะท่านรู้ล่วงหน้าว่าถึงคราวจะหมดอายุขัยแล้ว ท่านจึงต้องการความสงบในการพิจารณาธรรม แต่ท่านก็ไม่กล้าพูดกับใครๆ เมื่อญาติโยมอ้อนวอนมากๆ เข้า ท่านก็บ่ายเบี่ยงไปว่า “เข้าไปไม่ได้ อ้ายดำมันอยู่ ขืนเข้าไปอ้ายดำมันจะเอาตาย” คำว่า “อ้ายดำ” หมายถึงรูปหล่อของท่านนั่นเอง ปัจจุบันนี้รูปหล่อของท่านก็ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมงคลโคธาวาส (วัดคลองด่าน หรือวัดบางเหี้ย) คืออยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อซึ่งได้จัดสร้างขึ้นใหม่ และปรากฏความศักดิ์สิทธิ์มากมาย น้ำมนต์ที่หน้ารูปหล่อของท่านก็มีคนนำไปดื่ม

    ขอขอบคุณ http://www.pantown.com/board.php?id=30817&area=3&name=board6&topic=10&action=view



    -http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=8638-





    .









    .
     
  12. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ตาลุงข้างบ้านฝากถามว่า แล้วแบบ นี้พอไหวปล่าวครับ หุ หุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2011
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  15. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    สวัสดี เช้าวันอังคารครับ
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>พระราชทานชื่อรากฟันเทียม “ข้าวอร่อย” ผลงานวิจัยไทย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>24 มิถุนายน 2554 16:02 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล (ที่ 3 จากขวา) และ ผศ.นพ.วิจิตร ธรานนท์ (ที่ 4 จากซ้าย) ถ่ายรูปร่วมกับผู้สูงอายุในโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>รากฟันเทียม "ข้าวอร่อย" ผลงานวิจัยไทย (ภาพจาก สวทช.)</TD></TR></TBODY></TABLE>


    “ในหลวง” ทรงพระราชทานชื่อรากฟันเทียม “ข้าวอร่อย” ในโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ ปัจจุบันให้บริการผู้สูงอายุไปกว่า 10,000 ราย ราคาถูกกว่าต่างประเทศ 10 เท่า ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีทางทันกรรมขั้นสูง ชี้นวัตกรรมรากฟันเทียมอยู่ระหว่างการประสานงานกับประกันสังคมและ สปสช. เพื่อขยายผลให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้มีโอกาสเบิกค่ารักษาได้ต่อไป

    ศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง (ADTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ร่วมกับสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดแถลงข่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อรากฟันเทียม “ข้าวอร่อย” ในโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระชนพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 54 ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ได้มาร่วมงานนี้ด้วย

    ทั้งนี้ ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า กระทรวงได้ขอพระราชทานชื่อรากฟันเทียมที่ใช้ในโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ พระองค์ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อรากฟันเทียมว่า “ข้าวอร่อย” เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 54 ที่ผ่านมา ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่ผู้สูงอายุด้อยโอกาสที่มีปัญหาในการใส่ฟันปลอม

    “หลังจากได้รับการฝังรากฟันเทียมแล้ว ผู้สูงอายุเหล่านั้นสามารถรับประทานและเคี้ยวอาหารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้สุขภาพกายและใจดีขึ้น เป็นไปตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตรัสว่า ’เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง’ จึงทำให้พสกนิกรได้เข้าถึงการรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง และปัจจุบันสามารถให้บริการผู้สูงอายุไปกว่า 10,000 รายแล้ว โดยใช้งบประมาณไม่ถึง 200 ล้านบาท” ดร.วีระชัยกล่าว

    ด้าน ผศ.นพ.วิจิตร ธรานนท์ ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีทางทันกรรมขั้นสูงหรือแอ็ดเทคกล่าวว่า เทคโนโลยีรากฟันเทียมนั้นเกิดจากการวิจัยและพัฒนา โดยความร่วมมือระหว่าง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง และคณะทันตแพทย์จาก 3 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มตั้งแต่การออกแบบรูปร่างของรากฟันเทียม จนกระทั้งไปทำการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์และมนุษย์

    “เมื่อดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว จึงได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชนเพื่อนำไปผลิตตามมาตรฐานสากล ทาง สวทช.จึงได้ต่อยอดนำรากฟันเทียมไทยมาใช้ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 หลังจากนั้นได้ส่งมอบให้ สธ. จำนวน 25,000 ชุด เพื่อจัดหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาใส่รากฟันเทียมให้แก่ผู้สูงอายุในโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับทางประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อผลักดันให้เทคโนโลยีดังกล่าวได้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ให้มีโอกาสเบิกค่ารักษาได้ต่อไป” ผศ.นพ.วิจิตร กล่าว

    นอกจากนี้ ผศ.นพ.วิจิตร ยังบอกอีกว่า เทคโนโลยีรากฟันเทียมของไทยนั้นถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศถึง 10 เท่า และเทคโนโลยีดังกล่าวได้ต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์แล้ว และหากผู้สูงอายุรายใดใส่ฟันปลอมทั้งปาก และมีปัญหาเรื่องฟันปลอมหลวม สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ โดยติดต่อศูนย์เทคโนโลยีทางทันกรรมขั้นสูง สวทช. โทร 02-564-7000 ต่อ 1683,1396 หรือ โทร 0-2564 - 8000


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    -http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000077248-


    .




    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ต้องช่วยกันยกย่องผู้ที่มีน้ำใจ ที่หาได้ค่อนข้างยากในปัจจุบัน


    ----------------------------

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>แท็กซี่ใจประเสริฐ!เก็บเงิน 5 แสนคืนเจ้าของ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ทีมข่าวอาชญากรรม</TD><TD class=date vAlign=center align=left>28 มิถุนายน 2554 00:32 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>นายณรงค์ศักดิ์ พิสุทธิธาราชัย อายุ 49 ปี ( ซ้าย) โชเฟอร์แท็กซี่ ส่งมอบเงินจำนวน 5.1 แสน ที่ผู้โดยสารลืมไว้ในรถ คืน นายวันชัย ศุภพัฒนวรกุล อายุ 67 ปี (สวมแว่น) เจ้าของ </TD></TR></TBODY></TABLE>


    แท็กซี่น้ำใจงามเก็บเงิน 5 แสน คืนเสี่ยปั๊มน้ำมัน เจ้าของสุดซาบซึ้งมอบเงินสินน้ำใจให้ 1 แสน แต่โชว์เฟอร์ปฏิเสธบอกทำดีไม่หวังผลตอบแทน เจ้าของคะยั้นคะยอสุดท้ายยอมรับ 5 หมื่นแบ่งไปทำบุญ

    วานนี้ ( 27 มิ.ย.) ที่ สน.ท่าเรือ เมื่อเวลา 22.00 น.นายณรงค์ศักดิ์ พิสุทธิธาราชัย อายุ 49 ปี อยู่บ้านเลขที่ 262 หมู่บ้านหลักสองนิเวศน์ ถนนเพชรเกษม แขวงและเขตบางแค กทม.คนขับรถแท็กซี่ โตโยต้า ลีโม่ สีเขียว-เหลือง ทะเบียน มจ 3288 กทม.นำเงินสดจำนวน 510,000 บาท ที่ผู้โดยสารลืมไว้บนรถมามอบให้ นายวันชัย ศุภพัฒนวรกุล อายุ 67 ปี อยู่บ้านเลขที่ 303 หมู่ 4 ถ.เพชรเกษม แขวงบางมด เขตบางแค กทม.เจ้าของเงิน โดยมี พ.ต.อ.จักษ์ จิตตธรรม ผกก.สน.ท่าเรือ ร่วมเป็นสักขีพยาน

    นายวันชัย กล่าวว่า ทำธุรกิจปั๊มน้ำมัน ปตท. ตั้งอยู่ ถนนเพชรเกษม 45 เยื้องห้างเดอะมอลล์บางแค และปั๊มน้ำมันชัยพัฒนาบริการจำกัด ตั้งอยู่ที่ ถนนกัลปพฤกษ์ โดยเมื่อเวลา 17.00 น.ที่ผ่านมาตนไปเก็บเงินที่ปั๊มน้ำมันชัยพัฒนาบริการจำนวน 510,000 บาท ซึ่งจะนำไปจ่ายค่าน้ำมันที่จะมาลงใหม่ที่ปั๊ม ปตท. โดยจะไปโอนผ่านธนาคารกสิกรไทยที่อยูใกล้ห้างเดอะมอลล์ บางแค จากนั้นได้เรียกแท็กซี่คันดังกล่าวจากปั๊มน้ำมันชัยพัฒนาเพื่อจะไปปั๊ม ปตท.

    นายวันชัย กล่าวต่อว่า เงินจำนวนดังกล่าวห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์และห่อด้วยถุงพลาสติกอีก 2 ชั้น โดยตนนั่งอยู่เบาะหลังด้านซ้าย ซึ่งนำถุงเงินวางไว้ที่พักเท้าด้านล่าง ระหว่างเดินทางไปก็พูดคุยกับคนขับรถแท็กซี่เรื่องเลือกตั้งจนเพลิน เมื่อมาถึงปั๊มน้ำมันก็จ่ายค่าแท็กซี่และรีบลงจากรถ เพราะมีรถน้ำมันปตท.มาส่งพอดี โดยไม่ได้หยิบถุงเงินลงมาเมื่อคิดได้ก็พยายามวิ่งตามรถแต่วิ่งตามไม่ทันก็ รู้สึกใจหาย ตกใจมาก เพราะเป็นเงินค่าน้ำมันที่เขามาลงให้จึงได้โทรศัพท์แจ้งรายการ จส.100 ว่าลืมเงินในรถแท็กซี่ แต่จำเลขทะเบียนไม่ได้

    "จากนั้นประมาณ 4 ชั่วโมงทางรายการ จส.100 ติดต่อกลับมาหา บอกว่ามีคนขับรถแท็กซี่เก็บเงินจำนวนดังกล่าวได้และจะคืนเจ้าของ โดยนัดคืนที่ สน.ท่าเรือ จึงรู้สึกดีใจมาก และขอขอบคุณการมีน้ำใจของนายณรงค์ศักดิ์ด้วย เขาเป็นคนดีมากๆ" นายวันชัย กล่าว

    ด้านนายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากส่งผู้โดยสารที่ปั๊ม ปตท.เสร็จ ก็กลับไปกินข้าวที่บ้าน จากนั้นจะออกรถวิ่งรับผู้โดยสารต่อ ระหว่างนั้นได้เปิดประตูหลังรถข้างผู้โดยสารนั่งก็เห็นถุงวางอยู่ใต้เบาะ จึงจับดู ลักษณะนิ่มๆ นึกว่าเป็นถุงผ้าของผู้โดยสารลืมไว้ จึงแกะดูพบเงินจำนวนมาก ขณะนั้นรู้สึกตกใจจึงเข้าไปปรึกษาแม่ที่บ้าน ก่อนจะให้น้องสาวโทรศัพท์แจ้ง จส.100 เพื่อจะคืนให้กับเจ้าของที่ลืมไว้ และคิดว่าน่าจะเป็นของผู้โดยสารที่ไปส่งที่ปั๊มปตท.แน่นอน เนื่องจากยังไม่ได้รับผู้โดยสารต่อ

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างมอบเงินกันเสร็จทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้ นายวันชัย เจ้าของเงินตรวจนับเงินทั้งหมด ซึ่งทาง นายวันชัย ก็ยืนยันว่าครบทุกบาท จากนั้น นายวันชัย ได้มอบเงินจำนวน 1 แสนบาทเพื่อเป็นสินน้ำใจกับ นายณรงค์ศักดิ์ แต่แท็กซี่น้ำใจงามกลับปฏิเสธไม่ขอรับโดยบอกว่า ทำดี ไม่ต้องการผลตอบแทน แต่ทางวันชัย เจ้าของเงินก็พยายามจะให้ ทางฝ่ายนายณรงค์ศักดิ์ จึงขอรับเพียงครึ่งเดียวคือ 50,000 บาท และบอกว่าส่วนหนึ่งจะนำไปทำบุญด้วย ซึ่งเมื่อนายวันชัย ได้ยินเช่นนั้นก็ยิ่งรู้สึกปลาบปลื้มในน้ำใจ จึงขอผูกมิตรเป็นครอบครัวเดียวกัน



    -http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9540000078648-



    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    การไหว้ 5 ครั้ง ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ )

    ไหว้ 5 ครั้ง
    ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    ( เจริญ ญาณวรเถระ )
    วัดเทพศิรินทราวาส


    [​IMG]



    คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html


    คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html


    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาไร ตามแต่เหมาะต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวนั้น ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ


    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประณมมือว่า

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ 3 หน

    แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ

    หยุด ระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตามของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ


    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ

    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโน สนฺทิฆฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติ ฯ

    หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ


    ครั้งที่ 3 ว่าพระสังฆคุณ คือ
    สุ ปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโยทกฺขิเนยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติฯ

    หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    นั่งพับเพียบประณมมือตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้ว กราบลงหน 1 ฯ

    ข้า ฯ ขอ กราบไหว้คุณท่านบิดาและมารดา

    เลี้ยงลูกเฝ้ารักษา แต่คลอดมาจึงเป็นคน

    แสนยากลำบากกายไป่คิดยากลำบากตน

    ในใจให้กังวลอยู่ด้วยลูกทุกเวลา

    ยามกินพอลูกร้องก็ต้องวางวิ่งมาหา

    ยามนอนห่อนเต็มตาพอลูกร้องก็ต้องดู

    กลัวเรือดยุงไรมดจะกวนกัดรีบอุ้มชู

    อดกินอดนอนสู้ ทนลำบากหนักไม่เบา

    คุณพ่อแม่มากนักเปรียบน้ำหนักยิ่งภูเขา

    แผ่นดินทั้งหมดเอามาเปรียบคุณไม่เท่าทัน

    เหลือที่ จะแทนคุณ ของท่านนั้น ใหญ่อนันต์

    เว้นไว้ แต่เรียนธรรม์ เอามาสอนพอผ่อนคุณ

    สอนธรรมที่จริงให้ รู้ไม่เที่ยงไว้เป็นทุน

    แล้วจึงแสดงคุณ ให้เห็นจริงตามธรรมดา

    นั่นแหละจึงนับได้ ว่าสนองซึ่งคุณา

    ใช้ค่าข้าวป้อนมาและน้ำนมที่กลืนกิน ฯ


    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผุ้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ข้า ฯ ขอนอบน้อมคุณแด่ท่านครู ผู้อารี
    กรุณาและปรานีอุตส่าห์สอนทุก ๆ วัน
    ยังไม่รู้ ก็ได้รู้ ส่วนของครูสอนทั้งนั้น
    เนื้อความทุกสิ่งสรรพ์ดีชั่วชี้ ให้ชัดเจน
    จิตมากด้วยเอ็นดูอยากให้รู้เหมือนแกล้งเกณฑ์
    รักไม่ลำเอียงเอนหวังให้แหลมฉลาดคม
    เดิมมืดไม่รู้แน่เหมือนเข้าถ้ำเที่ยวคลำงม
    สงสัยและเซอะซมกลับสว่างแลเห็นจริง
    คุณส่วนนี้ควรไหว้ ยกขึ้นไว้ ในที่ยิ่ง
    เพราะเราพึ่งท่านจริงจึงได้รู้ วิชาชาญ ฯ

    (บท ประพันธ์สรรเสริญคุณมารดาบิดา และ ครูบาอาจารย์ของ ท่านอาจารย์ จางวางอยู่ เหล่าวัตร วัดเทพศิรินทราวาส ลิขสิทธิ์เป็นของ ท่านเจ้าคุณพระโศภนศีลคุณ (หลวงปู่หลุย พาหิยาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส)

    ต่อ ไปนี้ไม่ต้องประณมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่อง และร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้งพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณมีมารดาบิดา เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือพระมหากษัตริย์ ทั้งเทพยดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ


    การ ไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยกมือไม่ขึ้น ก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นเครื่องพยุงตนให้เป็นคนดี ไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดี ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และ ตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มขั้นของตน ๆ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ






    .<!-- google_ad_section_end -->
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญญาณวรเถระ )

    http://72.14.235.104/search?q=cache:...h&ct=clnk&cd=7


    [​IMG]

    สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท เกิดในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2415 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรนาย ทองสุก และนางย่าง

    เมื่ออายุ 8 ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุณี (พุฒ ปุณณกเร) ปฐมวัยอาวาสวัดเขาบางทราย เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาที่วัดเขาบางทราย

    และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชบพิธอุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2435 ที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2439 ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดเทพศิรินทราวาส

    "ตาบุญ (พระยาธรรมปรีชา) ผู้เป็นอาจารย์สอนบาลีของ
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มอบช้างเผือกส่งเข้ามาให้ "


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร) สอบไล่ภาษาบาลี ในมหามงกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1ทุกชั้นเป็นลำดับมา

    พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะที่พระอัมราภิลักขิต เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลปราจีนบุรี ต่อมาได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา พ.ศ.2471 โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    พ.ศ.2476กรรมการเถรสมาคมมีมติให้ท่าน เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระสังฆราชเจ้าซึ่งสิ้นพระชนม์ ประมวลเกียรติคุณพิเศษสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร)เป็นพระเถระบริหารงานพระศาสนาถึง 5 แผ่นดิน คือแต่รัชกาลที่ 5-9 เป็นพระราชาคณะแต่อายุ 28 ปี เป็นสมเด็จพระราชาคณะแต่อายุ 57 ปี นับเป็นพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พรรษาน้อยกว่า พระเถระหลายรูปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่อายุ 28 ปี ถึง 80 ปีรวม 53 ปี นับว่ายาวนานที่สุดไม่มีใครเทียบได้
    เมื่อสอบนักธรรม หรือบาลีจะสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นทุกประโยคเป็นรูปเดียวในสังฆมณฑล ดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวง แม่กองบาลีสนามหลวง องค์เดียวกัน

    ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2494เวลา 10.30 น. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเระ)มรณภาพด้วยโรคเนื้องอกที่ตับรวมอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

    ความคิดเห็นส่วนตัวผม

    ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ท่านบอก กับผู้ที่ไปกราบท่านว่า ขอให้ทุกๆวันได้ไหว้ 5 ครั้ง จะได้เป็นศิริมงคลกับตนเอง จะเหมือนกับชื่อของท่าน (เจริญ) ครับ ท่านเจ้าคุณนรเอง ก็มีความเคารพในท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)มาก โดยท่านเจ้าคุณนรเอง เวลาเดินผ่านกุฎิของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)ทุกครั้ง ท่านเจ้าคุณนร ก็จะก้มลงกราบที่กุฎิอยู่ทุกครั้งครับ


    วันที่ 14 สิงหาคม 2550
    ขอเพิ่มเติมเรื่องราว ไหว้ 5 ครั้ง
    http://www.saktalingchan.com/index.p...icle&Id=262016

    [​IMG]





    เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร

    เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร
    วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร

    1. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงนี้ เมื่อพระคุณท่านมีอายุเพียง 27 ปี มีพรรษา 7 ยั่งยืนตลอดมาเป็นเวลาช้านานถึง 53 ปีฯ

    2. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ นั้นมีอายุเพียง 56 ปี เท่านั้น ฯ

    3. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งธรรมเนียมการเทศนาธรรมในวันอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก เริ่มเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2471 ติดต่อกันมาถึงปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลา 45 ปี ล่วงแล้ว ฯ

    4. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์สมเด็จพระ สังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ แลบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรงสืบต่อมาเป็นเวลา 5 ปี ( ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2481 ) ฯ

    5. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถาติดต่อกันถึง 4 รัชกาล คือตั้งแต่รัชกาลที่ 6-7-8-9 เป็นเวลาถึง 25 ปี ฯ

    6. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มีสัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก มากที่สุดถึง 6,666 องค์ ฯ

    7. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นต้นกำเนิดตำราไหว้ 5 ครั้งให้ศิษยานุศิษย์ปฏิบัติตาม หากผู้ใดไหว้ครบ 1 ปี เป็นกำหนด ผู้นั้นจักได้รับรูปที่ระลึกจากองค์ท่านด้านหน้าเป็นรูปองค์ท่าน ด้านหลังเป็นรูปยันต์ภควัม จากกรึกนามองค์ท่านเป็นอักษรย่อ โดยลำดับแห่งราชทินนามนั้น ๆ กระทั่งครั้งสุดท้ายได้จารึก 3 อักษรว่า พ.ฆ.อ. ซึ่งย่อจากราชทินนามว่า พุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระราชาคณะ ฯ

    8. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ ท่านเจ้าคุณพระโศภณศีลคุณ ( หลวงปู่หลุย พาหิยเถร ) ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 23 ปัจจุบันอายุ 92 ปี พรรษา 67 ( เกิด 9 สิงหาคม 2426 ) ยังเดินลงโบสถ์ลงสวดมนต์ทำวัตรได้เป็นประจำทุก ๆ วัน เป็นพระเถราจารย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือยิ่งของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ

    9. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่ประพฤติปฏิบัติยอดเยี่ยม และเป็นพระเถระองค์สำคัญที่มีเกียรติคุณโด่งดังในปัจจุบัน คือ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ธมมฺวิตกฺโก ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 1740 ฯ

    ปัจฉิมโอวาท
    ของ

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรมหาเถระ
    วัดเทพศิรินทราวาส

    ไม่ตายควาวนี้ ก็ตายคราวหน้า อย่างเศร้าโศก เสียทีที่ศึกษาปฏิบัติมา ร้องให้เศร้าโศก ก็ร้องไห้เสร้าโศกสังขารที่
    เกิดแก่เจ็บตายนั้นเอง ที่ไม่ร้องไห้เศร้าโศกนั้นมิใช่จะเป็นคนใจไม้ใส้ระกำอะไร

    ธรรมของพระก็คือ
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
    ย่นลงก็ สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา แล้วปรินิพพาน
    ไม่ต้องเกิดมาแก่ มาเจ็บ มาตายอีก

    (มีบัญชาให้บันทึกไว้เมื่อเช้าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๙๔)






    .<!-- google_ad_section_end -->
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    เรียน พี่..........

    ผมเตรียมพิมพ์ัจันทร์เพ็ญ(ที่พี่เรียกจันทร์ลอย)ไว้ให้แล้วครับ รุ่นนี้ มี 2 พิมพ์

    เตรียมชุดกรุวังหน้าอยุธยาไว้ให้แล้วด้วย

    <TABLE class=tborder id=post4799326 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_4799326 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid">อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    สำหรับพระวังหน้า(อยุธยา) และ พระวังหน้า(รัตนโกสินทร์) จำนวน 546 องค์ ที่ผมและคณะ จะมอบให้กับทหารผู้ปฎิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยทางภาคใต้ ผมได้นำกลับมาแล้วหลังจากที่นำไปให้ร้านใส่กรอบสเตนเลสให้ หลังจากนี้ ผมและคณะจะดำเนินการเจาะรูที่กรอบ(พลาสติก) ,ใส่ห่วงและแหนบให้เรียบร้อย กำหนด(ในใจ)ว่า จะดำเนินการให้เสร็จก่อนวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2554 (วันทอดผ้าป่าสามัคคีศรีชัยผาผึ้ง) เพื่อผมและคณะจะได้นำไปถวายพระอาจารย์นิล (ผมจะขอความเมตตาจากพระอาจารย์นิล ลงไปแจกทหารผู้ปฎิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) ให้เรียบร้อย

    เมื่อวานนี้ ผมคุยกับพี่สิทธิพร ในเรื่องของการเจาะรู ผมคงฝากไปประมาณ 446 องค์ครับ ส่วนอีก 100 องค์ ตั้งใจว่า จะร่วมทำกันกับคุณ Pinkcivil จะได้ทำกับมือของตนเอง

    สำหรับพระพิมพ์(กรุวังหน้าอยุธยา) มีจำนวน 339 องค์ (มีทั้งหมด 3 พิมพ์) ส่วนพระพิมพ์(กรุวังหน้ารัตนโกสินทร์) มีจำนวน 207 องค์

    ขอกราบขอบพระคุณคณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร , องค์ผู้อธิษฐานจิตทุกๆพระองค์ , พี่ใหญ่ ที่ได้มีเมตตาในงานบุญนี้

    ขอโมทนาบุญกับทุกๆท่าน ที่มีส่วนในงานบุญนี้ครับ

    ส่วนท่านเจ้าภาพ ผมเตรียมมอบชุดพระกรุวังหน้าอยุธยาไว้ให้ท่านแล้ว น่าจะไม่น้อยกว่า 5 พิมพ์ (ส่วน 3 พิมพ์ ผมเตรียมไว้ให้ท่าน พิมพ์ละ 3 องค์)

    สำหรับท่านผู้ร่วมทำบุญ ผมก็ได้เตรียมมอบพระกรุวังหน้าอยุธยา จำนวน 3 องค์(3 พิมพ์)

    โมทนาบุญทุกประการ
    .

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ผมคงต้องรบกวน คุณหนิง

    คงต้องให้ไปทั้งหมดครับ

    ผมจะได้ใช้เวลาไปเขียนแผ่นทองเหลือง (สำหรับการบรรจุพระวังหน้าและพระวังหลวง ลงกล่องสเตนเลส(ขนาดใหญ่) เพราะว่า จะได้นำไปมอบให้กับพี่เปี๊ยก , คุณณฑนน และพี่สิทธิพร เพื่อบรรจุตามพระเจดีย์หรือฐานชุกชีในสถานที่ต่างๆครับ

    ผมต้องเขียนแผ่นทองเหลือง น่าจะไม่น้อยกว่า 70 แผ่นครับ

    ขอบคุณ คุณหนิง และ ลูกน้องคุณหนิงด้วยครับ


    .----------------------------------------------------


    เรียนพี่สิทธิพรและคุณหนิง

    ผมเตรียมชุดกรุวังหน้าอยุธยาให้พี่สิทธิพรแล้ว ส่วนคุณหนิง ผมเตรียมพระสมเด็จหลังเบี้ย (รุ่นนี้ หลวงปู่อ้น วัดบางจาก ท่านให้สร้าง และ ท่านเป็นลูกศิษย์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี) ไว้ให้แล้วเช่นกัน พระสมเด็จหลังเบี้ยรุ่นนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิต และผมฝากให้พี่สิทธิพร ขอพระเมตตาพระอาจารย์รูปหนึ่ง อาราธนาคณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรอธิษฐานจิตเพิ่มเติม ผมฝากให้กับผู้ที่ช่วยเจาะรูกรอบ(พระที่จะมอบให้ทหารภาคใต้) ผมให้ไป 20 องค์ครับ


    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    *----------------------------------------------------------------------*

    วันนี้ คุณจี๊ด (ลูกน้องคุณหนิง) นำพระกรุวังหน้าอยุธยา และ พระกรุวังหน้ารัตนโกสินทร์ (ที่จะถวายพระอาจารย์นิลเพื่อมอบให้กับ ตชด.และทหารที่ปฎิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) มาให้ผมเรียบร้อยแล้ว

    ขอโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ได้ร่วมทำบุญในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการมอบ พระกรุวังหน้าอยุธยา และ พระกรุวังหน้ารัตนโกสินทร์ (ที่จะถวายพระอาจารย์นิลเพื่อมอบให้กับ ตชด.และทหารที่ปฎิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ) ด้วยทุกๆประการครับ


    เรียน ท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้าทุกๆท่าน

    ผมมีความคิดว่า จะถวายปัจจัยกับพระอาจารย์นิล ในการเดินทางลงไปที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นค่าเดินทางและอื่นๆตามความเห็นของพระอาจารย์นิล ผมขอเชิญชวนทุกๆท่านร่วมทำบุญนี้กันครับ

    ผมจะแจ้งเรื่องนี้ให้ทุกๆท่านทราบทาง Email อีกครั้งครับ

    ส่วนท่านผู้อ่าน หากมีความประสงค์ที่จะร่วมทำบุญนี้ สามารถไปร่วมทำบุญได้ที่ งานผ้าป่าสามัคคีศรีชัยผาผึ้ง ในวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2554 ณ วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน ครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...