หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตร(ฝัน)

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย psombat, 18 มีนาคม 2010.

  1. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    คืนที่ผมฟังธรรมะ ปฏิบัติธรรมกับท่านนั้น มีเหตุอัศจรรย์หลายอย่าง โดยเฉพาะกลิ่นหอมอ่อนๆจากดอกไม้ ตลบอบอวลไปทั่วบริเวณ ลมนั่นเล่า ก็พัด แรงบ้าง เบาบ้าง

    แต่ผมกับญาติธรรมที่ปฏิบัติธรรมร่วมกับท่านต่างเป็นกังวลในเรื่องของศาลาปฏิบัติธรรม หอฉัน เพราะสร้างมาเกิน 5 ปี ซึ่งย่อมทรุดโทรม โดยเฉพาะแรงลม แรงฝน ฝนตกทีเป็นต้องหลบกัน อีกอย่างคือไม่มีไฟฟ้าครับ ต้องใช้เครื่องปั่นไฟกับแบตเตอรี่รถยนต์ เวลาจะใช้ไฟหรือเปิดลำโพง เห็นใจท่านเวลาท่านเทศน์ครับ ท่านจะเหนื่อย (ต้องใช้เสียงดังๆ) หากไม่มีลำโพงช่วย ซึ่งก็ต้องรักษา สงวนไฟให้ได้นานที่สุด

    ท่านไม่รับถวายปัจจัย ไม่รับกิจนิมนต์ครับ งานหลักคือภาวนา โปรดสัตว์
    แต่ความกังวลอยู่ที่บรรดาพวกผมและบรรดาผู้ปฏิบัติธรรมใกล้ชิดนิแหละครับ
    จึงได้ขออนุญาตพระอาจารย์บูรณะปฏิสังขรณ์ หลังคาปฏิบัติธรรมกับหอฉัน เป็นกรณีเร่งด่วน ก่อนฝนจะมา
    จากนั้นค่อยไปว่ากันที่ระบบโซล่าเซล เพื่องานไฟฟ้าต่อไป

    [​IMG] [​IMG] ศาลาปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อศรีสุทโธ

    [​IMG] [​IMG]
    กุฏิน้อยที่ผมนอน ซึ่งต้องนอนแบบเฉียงๆ เพราะขาไม่พ้น
    ถามไปถามมา แม่ขาวที่ปฏิบัติที่นั่นบอกว่า เขาไว้นั่งสมาธิ มิใช่นอน...ฮา!
    หากฝนตกหรือหน้าหนาวคงไม่เหลือ เพราะลมแรง
    แต่อากาศดีมากๆ นอนไม่กี่ ชม. ตื่นมายังกับชาร์ตแบต เต็มที่

    [​IMG] เพื่อนกับกุฏิ ตอนเป็นพระ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1180751.JPG
      P1180751.JPG
      ขนาดไฟล์:
      227.4 KB
      เปิดดู:
      66
    • P1180752.JPG
      P1180752.JPG
      ขนาดไฟล์:
      256.4 KB
      เปิดดู:
      56
    • P1180755.JPG
      P1180755.JPG
      ขนาดไฟล์:
      243.8 KB
      เปิดดู:
      46
    • P1180757.JPG
      P1180757.JPG
      ขนาดไฟล์:
      244.7 KB
      เปิดดู:
      76
    • P1180760.JPG
      P1180760.JPG
      ขนาดไฟล์:
      304.7 KB
      เปิดดู:
      43
    • P1180815.JPG
      P1180815.JPG
      ขนาดไฟล์:
      234.8 KB
      เปิดดู:
      59
    • P1180816.JPG
      P1180816.JPG
      ขนาดไฟล์:
      261.3 KB
      เปิดดู:
      53
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2011
  2. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    ทัศนียภาพบนสถานปฏิบัติธรรม
    มีลานพระพุทธบาท สร้างไว้ให้เหล่าพญานาคมาสักการะ
    แหล่งน้ำในไหหิน แต่ไม่ค่อยสะอาด เพราะน้ำขาดการเคลื่อนไหว
    มีกุฎิพระอาจารย์หลังเดียวที่สามารถหลบฝนได้ เพราะหลังคาเป็นสังกะสี
    มาคิดดูบ้านตัวเองแล้วช่างต่างกันยิ่งนักหนอ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1180764.JPG
      P1180764.JPG
      ขนาดไฟล์:
      242.8 KB
      เปิดดู:
      47
    • P1180766.JPG
      P1180766.JPG
      ขนาดไฟล์:
      258.8 KB
      เปิดดู:
      59
    • P1180774.JPG
      P1180774.JPG
      ขนาดไฟล์:
      321.3 KB
      เปิดดู:
      47
    • P1180775.JPG
      P1180775.JPG
      ขนาดไฟล์:
      316.4 KB
      เปิดดู:
      49
    • P1180776.JPG
      P1180776.JPG
      ขนาดไฟล์:
      320.8 KB
      เปิดดู:
      44
    • P1180779.JPG
      P1180779.JPG
      ขนาดไฟล์:
      295.6 KB
      เปิดดู:
      48
    • P1180782.JPG
      P1180782.JPG
      ขนาดไฟล์:
      243.3 KB
      เปิดดู:
      49
    • P1180784.JPG
      P1180784.JPG
      ขนาดไฟล์:
      200.1 KB
      เปิดดู:
      54
    • P1180787.JPG
      P1180787.JPG
      ขนาดไฟล์:
      275.5 KB
      เปิดดู:
      52
    • P1180788.JPG
      P1180788.JPG
      ขนาดไฟล์:
      350.4 KB
      เปิดดู:
      54
    • P1180792.JPG
      P1180792.JPG
      ขนาดไฟล์:
      297 KB
      เปิดดู:
      51
    • P1180819.JPG
      P1180819.JPG
      ขนาดไฟล์:
      277.8 KB
      เปิดดู:
      53
    • P1180820.JPG
      P1180820.JPG
      ขนาดไฟล์:
      305.4 KB
      เปิดดู:
      47
    • P1180821.JPG
      P1180821.JPG
      ขนาดไฟล์:
      249.6 KB
      เปิดดู:
      47
    • P1180822.JPG
      P1180822.JPG
      ขนาดไฟล์:
      283 KB
      เปิดดู:
      45
  3. ฮินดู

    ฮินดู สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +3
    การดำเนินชีวิตที่ตรงต่อการให้ การสละ เกื้อกูล สงเคราะห์ อนุเคราะห์ ตรงต่อสัจธรรมตรงต่อพระนิพพานอยู่แล้ว ทุกๆท่านด้วยเทอญ..............สาธุๆๆๆ
     
  4. ทรงกลด999

    ทรงกลด999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,284
    ค่าพลัง:
    +1,510
    ผมไปร่วมงานของคุณอรรคเดชมา แต่ไม่เจออาจารย์นนท์ ขอให้สอบผ่านฉลุยครับ อย่าเรียกว่างานประกวดพระเลยครับ เรียกว่างานพบกันของเพื่อนผู้มีบุญดีกว่า เพราะพระแต่ละคนสวยๆทั้งนั้น แต่ละคนสั่งสมบุญมา มาแลกพระกันในงานก็มี ขอแลกกับผมก็มี แต่มีองค์เดียวนะครับ คุยกันเรื่องบุญก็เยอะ ครับ ผมยังได้เพื่อนใหม่หลายท่าน สนุกครับ ผมจำได้ว่าผมติดส่งพระให้คนๆหนึ่งที่อยู่ภาคเหนือ ขออภัยผมจำชื่อท่านไม่ได้แล้วรบกวนส่งชื่อที่อยู่มาให้ใหม่ครับ ส่วนกริ่งที่ผมส่งให้พวกท่านผมก็นำไปทดสอบผ่านด่านคุณเก่ง กำแพงสบายๆครับ วางใจได้ครับ องค์เดียวช่วยคนได้หลายคนแน่นอนครับ โดยผ่านทางน้ำมนต์วัดหรือพระอาจารย์ที่ท่านศรัธธา วันนี้ผมพึ่งมอบให้สำนักสงฆ์ที่เชียงรายไปทำน้ำมนต์เช่นเดียวกัน อนุโมธนาทุกท่านครับ
     
  5. Natachai

    Natachai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +937
    ดังคำที่ว่า ดวงตาเห็นธรรมละเอียดขึ้นอีกขั้นหนึ่ง
     
  6. สมาชิกธรรม

    สมาชิกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2011
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +1,308

    ขอบคุณมากครับสำหรับคำยืนยัน.....จำนวนไม่พอที่จะใช้คุ้มครองบ้านผมคงต้องนำมาใช้แทนเบี้ยแก้วังหน้านะครับ.

    สำหรับเรื่องการทำบุญเพื่อร่วมสร้างกุฎิ หรือหอฉันของสถานปฎิบัติธรรมภูดานให อ.กุฉินารายณ์ นั้นผมขอร่วมทำบุญด้วยครับ กรูณาแจ้งรายละเอียดเลขบัญชีอนาคารให้ทราบด้วยครับ...หรือจะสะดวกในวันอันเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวันที่ 14 พ.ค.นี้ก็แล้วแต่ว่าท่านจะสะดวกนะครับ
     
  7. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    บารมีท่านเต็ม...เกินที่พวกเราจักกล้าประเมินองค์ท่านผ่านสื่อสาธารณะได้ครับ

    ผมมีบุญมากโขอยู่ที่ได้พบเจอท่าน (ประหนึ่งว่าท่านเสด็จลงมาโปรดศิษย์ที่ยังเขลาอยู่)
    ในวัยที่ยังไม่หลงไปไกลมากว่านี้ ในช่วงชีวิตที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์พร้อม (ยังกะจัดฉากไว้ ซะงั้น)


    ทว่า...หากนานไปกว่านี้อีกสักระยะ (ซึ่งท่านต้องดังแน่ๆ) เกรงว่า...คงต้องจัดคิวในการขึ้นไปกราบท่านแน่นอนล้านเปอร์เซนต์
     
  8. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    เป็นลักษณะการบูรณะทำหลังคาขึ้นใหม่ให้ถาวรขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับผู้มาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

    การทำบุญร่วมสร้างสถานปฏิบัติธรรมที่ยังขาดแคลนจริงๆ ให้มั่นคงยั่งยืน ถูกที่ ถูกกาล ถูกบุคคล หาได้ยากครับ..

    สำหรับเรื่องการรวบรวมปัจจัยขอร่วมสร้างฯทำบุญถวายพระอาจารย์ในวาระแรกๆที่บังเกิดขึ้นกับองค์ท่านนั้น ขอเวลาทำเป็น PDF ไฟล์เพื่อให้เป็นทางการมากยิ่งขึ้น

    ตลอดทั้งจักขอให้ทางฆราวาสที่ปรนนิบัติท่าน ณ. สถานปฏิบัติธรรมเปิดบัญชีบุญร่วมกับเพื่อน เพื่อความโปร่งใสด้วย


    อนึ่ง ผมอาจอัญเชิญพระพิมพ์วังหน้า พระพิมพ์พิเศษในกลุ่ม กลักไม้ขีด อกครุฑ เมตตา 3 โลก (เหลือน้อย) พระกริ่งปวเรศ 2411 และพระพิมพ์ปิดตาอื่นๆที่ผมคัดเก็บไว้เพื่องานบุญโดยเฉพาะ มอบแด่ท่านผู้มีศรัทธาบริจาคร่วมสร้างสูงๆ โดยท่านสามารถถวายให้กับทางสถานปฏิบัติธรรมได้โดยตรงแล้วแจ้งทางผมอีกครั้งครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011
  9. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    กราบขอบพระคุณครับผม :)
     
  10. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    โมทนาสาธุด้วยนะครับ .
     
  11. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    ได้ซีครับ หยุดตั้งหลายวัน ซ้ำยังเป็นสัปดาห์แห่งพระพุทธศาสนาอีกด้วย
    จักไปรอฟังธรรมในช่วง 2-4 ทุ่ม นั่งสมาธิ และพักผ่อนข้างบนสถานปฏิบัติธรรมก็ยิ่งดีครับ
     
  12. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 34 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 32 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>IT Man, สาวกธรรม1+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีครับท่านสาวกธรรม1 และท่านทั้งหลาย
     
  13. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>แหน่ง, IT Man, ฮินดู </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีช่วงบ่ายๆๆครับ
    อีกสักครู่จะเข้าประชุม
    ออกมาจะเข้ามาเยี่ยมเยียนครับผม
     
  14. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    สวัสดีครับท่านทั้งหลาย
    ต้องขอประทานโทษด้วยที่ไม่ค่อยได้อัญเชิญพระพิมพ์มาปรากฏ ผมยังเกรงบารมีพ่อแม่ครูบาอาจารย์ แม้ท่านจะอยู่ไกล จิตท่านรับรู้เร็วยิ่ง

    แต่อย่างไรเสีย งานสืบทอดพระศาสนาจำเป็นต้องอาศัยทั้งแรงกาย แรงใจ แรงสติปัญญา แรงศรัทธา แรงทรัพย์ - ปีที่แล้วผมซื้อที่,สร้างบ้านโดยไม่ต้องกู้หนี้ยืมสิน หมดไปหลายล้านอยู่ ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ดีนัก...ก็เพียงเพื่อตัวผมเอง เพื่อสิ่งอันเป็นมงคลสูงสุดคือพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุพระอรหันต์ พระบูชา และพระพิมพ์วังหน้า

    มาปีนี้...ผมจักทุ่มเททุกสรรพกำลังที่ยังพอมี มุ่งสู่สถานปฏิบัติธรรมภูดานไห (ขนาดป้ายชื่อ ท่านยังไม่อนุญาตให้ติดเลยนะ) โดยคงมีบ้างที่ต้องอาศัยบารมีของตัวช่วย คือสมบัตินอกกาย เพื่อให้การนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ก็เพื่อพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพื่อพระบวรพุทธศาสนา ให้ยั่งยืนสืบไป

    พระอาจารย์ท่านบอกว่า ที่ว่าจักช่วยดำรงพระศาสนาให้ถึง 5,000 ปีนั้น ก็ตัวเราชาวพุทธนี่แหละที่จักทำให้เสื่อมหรือยั่งยืนสืบไป...สาธุ,
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011
  15. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    อืม...ขอบคุณครับคุณอ๊อดที่ได้ให้ข้อแนะนำ

    ผมไม่แน่ใจว่าพระท่านจะใช้เครื่องมือช่างได้หรือเปล่านะครับ

    ไว้รอถามเพื่อนผมก่อน เพราะตอนนี้พาพระอาจารย์จาริก โปรดญาติโยมทางสกลนคร(บ้านเกิดเพื่อน) กลับมา ถึงจะให้คำตอบกับผมได้ (เพื่อนผมต้องลางาน 3 วันและขับรถของตัวเองพาไป ส่วนผม support เงินให้เพื่อน) รวมทั้งเรื่องการเปิดบัญชีเพื่อบูรณะศาลาหลวงปู่ศรีสุทโธ (บางครั้งก็เรียกหลวงพ่อศรีสุทโธ --- ผมนึกถึงหัวหน้าพญานาคราชนะ)

    แต่ที่ผมเห็นทางสายตาก็เรื่องของระบบไฟฟ้าครับที่ต้องพึ่งพาเครื่องปั่นและแบตเตอรี่ ตลอดทั้งสื่อวีดีทัศน์ทั้งหลายที่บริโภคไฟน้อยๆยังขาดแคลน - ผมว่าเราเปลี่ยนเป็นเงินง่ายกว่าครับ เพราะตอนที่ถวายท่าน ท่านก็ให้แม่ขาว*(ถือศีล 5)ที่ปฏิบัติธรรมที่นั่นรับไว้แทน อย่างน้อยก็ไว้ชาร์ตแบต ซื้อน้ำมันเติมเครื่องปั่นไฟ ออกค่าน้ำมันเวลาเดินทางไกล หรือซื้อน้ำเปล่า เป็นต้น * เวลาบิณฑบาต หากมีใครถวายปัจจัย ท่านก็ขอให้มอบให้เด็กๆที่วิ่งเล่นแถวนั้นรับไปแทนนะครับ พวกเราจึงรู้ว่าต้องมอบให้ใคร แล้วค่อยบอกท่าน ว่าไปก็นึกถึงตอนไปถวายพระบรมฯ,ปัจจัยแด่หลวงตามหาบัวครับ ก็จักมีฆราวาสรับแทน

    สำหรับงานก่อสร้าง คงต้องใช้ช่างจากภายนอกขึ้นมา แต่ปัญหาคือการอ๊อกเหล็ก ทำโครงหลังคา ซึ่งต้องใช้ไฟมากครับ ไว้ค่อยว่ากัน เพราะยังเป็นเพียงความคิดอยู่เลย :)

    * หากท่านไปเห็น...โปรดอย่าดูแคลนแม่ขาวท่านนี้นะครับ เพราะภูมิธรรมท่านสูงมากๆ สูงกว่าผู้มีตาทิพย์ หูทิพย์บางท่านเสียอีก (สามีแม่ขาวที่คอยดูแลสถานฯเอง หุหุ) แต่ท่านไม่ค่อยพูด ในสิ่งที่ได้ยิน ได้เห็น - พระอาจารย์บอก

    * เรื่องของวิเศษ เรื่องหวย ที่ไม่เกี่ยวกับธรรมะ อย่าได้คิดนะครับ เพราะขนาดผมไม่คิด,ไม่ถามก็โดนอย่างหนัก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2011
  16. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    ขออนุญาตอัญเชิญรูปพระอาจารย์ ออกนะครับ
     
  17. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    ภ.บ นี่ใช่เภสัชศาสตรบัณฑิต เปล่าครับ :)

    เรียนเชิญครับ
     
  18. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    ขอบคุณครับ ผมยังไม่ได้กราบขออนุญาตท่านเลย
    และเกรงในเรื่องกรรมของการปรามาสครับผม
     
  19. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    อิทธิบาท 4 พละ 5

    รายละเอียด
    เมื่อทำฌาน ๔ ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ก็อยากรู้ว่าอาการของฌาน ๔ เป็นอย่างไร เพื่อจะตรวจสอบดูว่าการปฏิบัติของตนถึงฌาน ๔ แล้วหรือยัง ลักษณะของฌาน ๔ นั้น จิตจะตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา อุเบกขา คืออยู่ในอารมณ์ของความสงบระงับจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ไม่ฟุ้ง ในเรื่องใดมีอารมณ์ที่เป็นกลางไม่สุขไม่ทุกข์ไม่ชอบไม่ชัง ไม่ปรุงแต่งต่อสิ่งที่มากระทบ มีสติสมบูรณ์รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มาสัมผัสได้ แม้จะ มีเสียงดัง ให้ได้ยินไม่ว่าจะเป็นเสียงใด ก็สักแต่ว่ารู้ในเสียงนั้น โดยไม่เข้าไปปรุงแต่งให้จิตกระเพื่อมไหว หรือหากมีเวทนาเกิดขึ้นกับกาย กับจิตไม่ว่า จะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา โดยไม่ปรุงแต่งเป็นความยินดียินร้ายต่อเวทนานั้น จิตยังคงตั้งมั่นในอุเบกขาคืออารมณ์ที่ เป็นกลางเช่นนี้ จึงจะเข้าเรียกว่าเข้าถึงฌาน ๔

    เมื่อเข้าถึงฌาน ๔ อย่างแนบแน่น ก็จะมีอาการทางกายตามมา เช่นชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้ามา อาการชาอาจจะปรากฏบนใบหน้า ริมฝีปาก หรือแม้กระทั่งลิ้น บางคนอาจจะชาที่ใบหน้าก่อน อาการชาจะมารวมที่ปาก จนบางทีปากยื่นออกไป บางครั้งหากไม่ชาก็จะมี อาการ เกร็งแข็งไปทั้งตัวเหมือนถูกตรึงไว้ ขยับเขยื้อนไม่ได้ ต้องคลายจากสมาธิหรือใช้กำลังอย่างแรงจึงจะขยับได้ เหล่านี้ล้วนเป็นอาการ ของฌาน ๔ ทั้งสิ้น

    หากผู้ปฏิบัติทำฌาน ๔ ได้สมบูรณ์ดีแล้วจึงจะสมควรขึ้นวิปัสสนา การด่วนทำวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌาน ๔ นั้น กำลังของ สมาธิ ไม่เพียงพอ แม้ว่าในช่วงทำวิปัสสนาเราไม่ได้ใช้สมาธิระดับฌาน๔ คือระดับอัปนาสมาธิ แต่เราใช้สมาธิระดับกลางคืออุปจารสมาธิ ิหรือ สมาธิในระดับฌาน ๓ แก่ๆ ก็ตามแต่ถ้าพื้นฐานของสมาธิไม่แข็งแรงดีแล้ว ก็ยากที่จะก้าวหน้าไปถึงระดับมรรคผลได้ นอกจากนี้ ยังถูกนิวรณ์ ๕ กวน และต้องเผชิญกับทุกขเวทนาจากการนั่งนาน ๆ จนทนกันแทบไม่ไหว ยิ่งไปกว่านั้นยังถูกโทสะกิเลสและกามราคะ ตีขึ้นมาอย่าง แรงด้วย ดังนั้นการได้สมาธิถึงฌาน ๔ จึงเป็นกำลังสำคัญของการทำวิปัสสนาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติผ่านอุปสรรคดังกล่าวได้ และนำไปสู่มรรคผล ได้ง่ายกว่าการไม่ได้ฌาน ๔

    ในการทำวิปัสสนานั้นผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงฌาน ๔ ก็ต้องถอยสมาธิจากฌาน ๔ ลงมาเล็กน้อย เพราะสมาธิในฌาน ๔ จิตจะนิ่งสงบ อยู่ท่าเดียวไม่ยอมคิดถึงเรื่องอะไร จึงต้องผ่อนสมาธิลงมาให้อยู่ในระหว่างฌาน ๔ กับฌาน ๓ ที่ต้องถอยมาอยู่ระดับนี้แม้ในตำราหรือใน พระปริยัติธรรมจะไม่ได้บัญญัติไว้ แต่จากคำสอนของครูบาอาจารย์และจากการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง เห็นว่าได้ผลดีจึงถือว่า ใช้ในทางปฏิบัติได้เพราะการปฏิบัติเป็นสิ่งละเอียดอ่อน ผู้มีประสบการณ์แล้วจึงจะรู้ว่าใช้ได้หรือไม่ได้ เมื่อเห็นว่าใช้ได้โดยวัดผลจาก การปฏิบัติก็ถือว่าเป็นหลักในการปฏิบัติได้

    การถอยจากสมาธิจากฌาน ๔ ลงมาอยู่ระหว่างฌาน ๓ ครึ่ง ไม่ได้มีเครื่องมือไปวัด แต่กะเอาประมาณเอา เพราะเรื่องของจิต เป็นนามธรรมเอาอะไรไปวัดไม่ได้ เมื่อถอยแล้วก็เลี้ยวไปทางซ้าย คือให้โยกตัวไปทางซ้ายเล็กน้อยจากนั้นด้วยกำลังของสมาธิก็จะทำให้ ตัวโยก กลับไปทางขวาแล้วโยกซ้ายขวาไปมา การที่ต้องโยกตัวไปมาเช่นนี้ก็ไม่มีบอกไว้ในพระปริยัติธรรมหรืออภิธรรมเช่นกัน แต่เป็นผล ที่ได้จาก ประสบการในการปฏิบัติ ซึ่งปฏิบัติแล้วได้ผลดี การที่พระอภิธรรมไม่ได้บัญญัติให้ทำเช่นนี้ ก็อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความลังเล สงสัยว่า เป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกทางหรือไม่ ปฏิบัติแล้วจะนำไปสู่มรรคผลหรือไม่

    เรื่องนี้ก็ขอให้พิเคราะห์ดูว่าในขณะปฏิบัติวิปัสสนานั้น สมาธิของผู้ปฏิบัติจะอยู่ระหว่างฌาน ๒กับฌาน ๔ สมาธิของฌาน ๒ มีปิติหล่อเลี้ยง ซึ่งเราได้ทำอุปเพงคาปีติมาแล้ว จนเกิดกายโยกไปมาหรือเกิดผรณาปีติรู้สึกขนลุกซูซ่า มีอาการซาบซ่านไปตามตัว หรือเกิดโอกกันติกาปีติ สมาธิของฌาน ๒ จะดึงลงมาให้ตัวสั่นตัวโคลง ขณะเดียวกันสมาธิของฌาน ๔ ก็จะดึงขึ้นไปให้อยู่ในอุเบกขา การดึงกันระหว่างกำลังสมาธิในฌาน ๔ และฌาน ๒ บางครั้งก็ทำให้ผู้ปฏิบัติตัวโยกเองโดยไม่ต้องสั่งให้โยกเมื่อทำวิปัสสนา

    ผู้ปฏิบัติเป็นจำนวนมากมักจะสงสัยว่าทำวิปัสสนาโดยตัวไม่ต้องโยกได้หรือไม่นั่งอยู่เฉยๆคอยรู้ในกาย เวทนา จิต ธรรม ได้หรือไม่ รู้แล้วละในสิ่งที่รู้ เท่านี้ก็ทำวิปัสสนาได้ เรื่องนี้ขอให้พิจารณาดูว่าขณะที่เราขึ้นไปถึงฌาน ๔ นั้น กำลังของสมาธิจะมีมาก เมื่อลดลงมา อยู่ระหว่างฌาน ๓ กับฌาน ๔ ถ้านั่งเฉยๆ ไม่ช้าสมาธิก็จะแนบแน่นขึ้น เข้าไปอยู่ในฌาน ๔ อีก จิตก็จะนิ่งอยู่ในอุเบกขา ไม่สนใจในเรื่องอื่นใด เอาแต่จะอยู่ในความสงบท่าเดียว ซึ่งสมาธิเช่นนี้นำมาทำวิปัสสนาไม่ได้ การทำวิปัสสนานั้นสติและจิตจะต้อง คล่องแคล่ว ตื่นตัว ไวต่อ ความรู้สึกที่มากระทบ เหมือนนักเทนนิสที่พร้อมจะวิ่งเข้าไปรับลูกทุกทิศทางที่ฝ่ายตรงข้ามตีมา ด้วยเหตุนี้ การโยกตัวไปมาทางซ้ายขวาจึงช่วยให้สติและจิตตื่นตัวไม่เผลอเข้าไปอยู่ในฌาน ๔ และไม่ตกอยู่ในฌาน ๒ ที่รุนแรง เพราะถ้าตัวโยก ตัวสั่นแรงเกินไปก็ทำให้วิปัสสนาไม่ได้

    เมื่อออกจากฌาน ๔ ลงมาอยู่ฌาน ๓ ครึ่ง และโยกตัวไปมาแล้วก็เจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันเป็นธรรมที่นำไปสู่มรรคผล นิพพาน โพธิปักขิยธรรม ๓๗ มีดังนี้

    ๑. สติปัฏฐาน ๔
    ๒. สัมมัปปธาน ๔ หรือเพียร ๔
    ๓. อิทธิบาท ๔
    ๔. พละ ๕ ซึ่งถ้าแก่กล้าเป็นอินทรีย์ ๕
    ๕.โพชฌงค์ ๗
    ๖. มรรค ๘
    หมายเหตุ สติปัฏฐาน ๔ และสัมมัปปธาน ๔ หรือเพียร ๔ ใช้ตลอดเวลาที่นั่งและไม่นั่งกรรมฐาน

    สติปัฏฐาน ๔ คือการมีสติรู้ในฐานทั้ง ๔ อันมี
    ฐานกาย ( กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
    ฐานเวทนา ( เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
    ฐานจิต ( จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
    ฐานธรรม (ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

    โดยรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกาย เวทนา จิต และธรรมนั้น มีธรรมชาติเป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ไม่ใช่เป็นของสัตว์ บุคคลตัวตน เรา เขา เป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติมิควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น หากมีปรากฏการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นกับกายกับจิต ก็ให้มีสติ รู้แล้วก็ละเสีย
    สัมมัปปธาน ๔ คือความเพียรเพื่อ
    ๑. ปิดกั้นมิให้อกุศลธรรมที่ยังไม่ไห้เกิดขึ้นในจิต (สังวรปธาน)
    ๒. ขจัดอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นในจิตแล้วให้หมดไป ( ปหานปธาน )
    ๓. ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้นในจิต ( ภาวนาปธาน )
    ๔. รักษาและพัฒนากุศลธรรมที่มีอยู่แล้วในจิตให้เจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นไป( อนุรักขนาปธาน )

    ธรรมหมวดสติปัฏฐาน ๔และสัมมัปปธาน ๔ นี้ ผู้ปฏิบัติเจริญแล้วขณะที่ทำฌาน๔และเมื่อทำวิปัสสนาไม่ต้องเจริญธรรมทั้งสองหมวดนี้ เพราะใช้ตลอดเวลา

    สำหรับหมวดธรรมที่เหลือจะเจริญอย่างไร
    เมื่อขึ้นวิปัสสนาให้เริ่มเจริญ อิทธิบาท ๔ ขณะที่กายโยกไปมาทางซ้ายขวานั้น ก็ให้ภาวนาอิทธิบาท ๔ ตามไปด้วย คือท่องในใจว่า ฉันทะ : ความพอใจในผลของการปฏิบัติ วิริยะ : ความเพียรในธรรมที่ปฏิบัติอยู่ จิตตะ : ความเอาใจใส่ในธรรมที่ปฏิบัติอยู่ วิมังสา : การใช้จิตตรึกตรองในธรรมที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดละออ ท่องไปช้า ๆ ๔ เที่ยว การท่องนอกจากจะเป็นการภาวนา หรือบริกรรมในธรรมหมวดนี้แล้ว ยังเป็นการตรวจสอบดูว่าธรรมในหมวดนี้เจริญขึ้นในจิตของเราแล้วหรือยัง กล่าวคือเมื่อภาวนาไปสัก ๒ เที่ยวแล้วก็สำรวจว่าฉันทะหรือความพอใจ เรามีความพอใจต่อการปฏิบัติหรือไม่วิริยะหรือความเพียร ได้เพียรปฏิบัติมากน้อยเพียงใด จิตตะหรือใจที่จดจ่อ เราจดจ่อต่อการปฏิบัติแค่ไหนวิมังสาหรือใคร่ครวญประมวลผล เราได้ไตร่ตรองใครครวญในธรรมและผลของการปฏิบัติหรือไม่ การตรวจสอบธรรมเหล่านี้ไม่ต้องใช้เวลาตรวจสอบมาก เดี๋ยวจิตจะฟุ้งไปในความคิด

    ในขณะที่เราภาวนาอยู่กับองค์ธรรมของอิทธิบาท ๔ คือท่องฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อยู่นั้นสติจะต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา แม้จะหลับตาแต่ก็เหมือนกับว่าสายตาของเราทอดไปในระยะปลายนิ้วของแขนที่เหยียดออกคือคะเนว่าถ้าเหยียดแขนไปตรง ๆ ปลายนิ้วสุดตรงใดก็ให้สายตาของเราพักอยู่ตรงหน้า ณ จุดนั้น ที่ต้องกำหนดจุดพักสายตาไว้ตรงนั้นก็เพราะว่าขณะที่ภาวนาอยู่นั้นอาจจะมีนิมิตเป็นภาพเกิดขึ้นที่ตรงนั้น ภาพนิมิตที่เกิดขี้นอย่าไปนึกอยากให้มันเกิด แต่ถ้ามันเกิดก็ปล่อยให้ให้เกิดตามเหตุปัจจัยของมันและมันจะเป็นภาพอะไรก็แล้วแต่ขอให้เรามีหน้าที่เพียงรู้ว่ามีสิ่งใด แล้วก็ละเสีย อย่าไปชอบอย่าไปชังเพราะถ้าชอบก็เป็นกิเลสฝ่าย ราคะ (ความรักความใคร่พอใจ) หรือ โลภะ ( ความโลภอยากได้ของเขา ) ถ้าไปชังก็เป็นกิเลสฝ่าย โทสะ ( ความโกรธ ) ถ้าเราไปหลงยึดติดก็จะเป็นกิเลสฝ่าย โมหะ ( ความหลงไม่รู้ ) นอกจากนี้การหลงยึดติดในนิมิต ก็ยังเป็น วิปัสสนูปกิเลส อีกด้วย

    นิมิตเกิดขึ้นได้ทางทวารต่าง ๆ เช่น ตาจากการนั่งเห็นรูปหรือแสงสี บางทีก็เห็นเป็นแสงจุดเล็ก ๆแล้วสว่างจ้า บางทีก็เห็นเป็นพระพุทธรูป บางทีก็เห็นเป็นภาพสวรรค์ หรือภาพต่าง ๆ นา ๆ การเห็นนิมิตทางตาแม้จะหลับตาก็ตาม จะเป็นทางนำไปสู่ทิพจักขุ ( ตาทิพย์ ) หรือจักขุญาณ (เห็นด้วยตาใน ) นอกจากนี้ก็อาจจะมีนิมิตทางเสียง โดยหูของเราอาจได้ยินเสียงสวดมนต์แว่วมาทั้ง ๆ ที่ไม่มีวัดหรือมีใครสวดมนต์อยู่แถวนั้น นิมิตที่ปรากฏทางเสียงจะนำไปสู่ ทิพยโสต ( หูภายในได้ยิน)หรือโสตญาณ ที่เรียกว่าหูทิพย์ ซึ่งทั้งหูทิพย์และตาทิพย์นี้ เป็นที่ยอมรับกันในพุทธศาสนาว่ามีจริงเป็นจริงจะปฏิเสธว่าไม่มีไม่ได้ ผู้ปฏิบัติบางคนอาจได้กลิ่นหอมหรือกลิ่นประหลาดเข้ามากระทบจมูกชั่ววูบของลมหายใจ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีต้นเหตุของกลิ่นนันให้สัมผัสนี่ก็เป็นนิมิตทางกลิ่นเหมือนกัน หรือบางคนอาจจะได้นิมิตทางลิ้น คือรู้สึกว่ารสใด รสหนึ่งเกิดขึ้นทั้ง ๆที่ไม่ได้รับประทานอะไรในขณะนั้น หรือบางคนอาจจะได้นิมิตทางโผฏฐัพพะ คือเหมือนกับมีอะไรมาถูกต้องกาย เช่น เหมือนมีตัวไรมาไต่บนใบหน้าทำให้รู้สึกคันยุกยิก แต่พอลืมตาหรือเอามือมาลูบดูกลับไม่เห็นมีอะไร

    ไม่ว่านิมิตจะเป็นอะไรเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป อย่าไปหลงไหล อย่าไปยึดติด อย่าไปชอบ อย่าไปชังขอเพียงมีสติ รู้ แล้ว ละ เสีย

    ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะเอานิสัยทางโลกเข้ามาปนกับการปฏิบัติทางธรรม นิสัยทางโลกนั้นหากประสบกับสิ่งที่ตนพอใจก็ชอบ อยากพบ อยากเห็น อยากสัมผัส อยากสัมพันธ์ อยากครอบครอง แต่ถ้าพบในสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาก็ชัง ไม่อยากพบ ไม่อยากเห็น ดังนั้นเมื่อเจอนิมิตที่ตนพอใจก็อยากเจออีกหรืออยากให้อยู่นาน ๆ เป็น กามตัณหา เพราะมี ราคะกิเลส แต่ถ้าเป็นนิมิตที่ตนไม่พอใจก็อยากผลักใสไม่อยากให้ดำรงอยู่ เป็น วิภวตัณหา ( ความอยากในสิ่งที่ไม่อยาก) เพราะมี โทสะกิเลส (ความโกรธ) ซึ่งความชอบความชังดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มพูนกิเลสเข้าไปในจิตใจ แทนที่จะเอากิเลสออกจากจิต ดังนั้นจึงต้องมีสติคอยกำกับจิตและมีปัญญาเท่าทัน อย่าไปหลงไหลอย่าไปชอบ อย่าไปชัง เพียงรู้ รู้แล็วก็ ละ ( คือว่าที่ใจ หรือให้ใจว่า ละ นี่คือวิปัสสนา )

    ความจริงถ้าเรามีอิทธิบาท ๔ ที่แก่กล้า เราก็จะไม่หลงในนิมิต กล่าวคือ ถ้ามีฉันทะหรือความพอใจต่อการปฏิบัติ รักที่จะปฏิบัติ มีวิริยะพากเพียรต่อการปฏิบัติโดยไม่เกรงกลัวต่อความเหนื่อยยาก มีจิตตะหรือมีใจจดจ่อต่อการปฏิบัติ แม้จะมีสิ่งใดเกิดขึ้นกับกายกับจิต ก็ระลึกรู้ทันท่วงทีด้วยการมีสติคอยกำกับเช่น รู้ว่ามีนิมิตเกิดขึ้นแล้วและมีวิมังสา คือใคร่ครวญไตร่ตรองในธรรมหรือในนิมิตที่เกิดขึ้นว่าเป็นของไม่เที่ยง ผ่านมาก็ผ่านไป ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ไม่ปรุงแต่งไปในทางที่ชอบที่ชัง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ ละ หรือ ปล่อยวาง ในนิมิตได้ หากทำได้เช่นนี้ตัววิมังสาก็จะเป็นตัวปัญญา

    นอกจากนิมิตแล้วขณะที่เราภาวนอิทธิบาท ๔ คือท่องคำว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อาจจะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกเหนือไปจากนิมิตเกิดขึ้นกับกายกับจิตของเรา เช่น รู้สึก ปวด เมื่อย คัน ตัวหนัก ตัวเบา ตัวร้อน ตัวเย็น หรือมีอารมณ์จรไปเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ให้รู้แล้วละเสีย ตัวรู้คือสติ ตัวละตัวปัญญา (สติ : ระลึกได้มีปัญญารู้ติดตามมา )

    การเจริญอิทธิบาท ๔ จะเพิ่มพลังของสติและปัญญา อิทธิบาท ๔ หมายถึงการเดินไปด้วยฤทธิ์หรือก้าวไปด้วยฤทธิ์ แต่จะมีฤทธิ์ใดนั้นก็จะต้องมีกำลังหรือพละควบคู่กันไปด้วย เพราะถ้ามีฤทธิ์แต่ไม่มีกำลัง ฤทธิ์นั้นก็จะไปไม่รอด หรือมีกำลังแต่ไม่มีฤทธิ์ กำลังนั้นก็ไปได้ไม่ไกลเช่นกัน ดังนั้นธรรมะทั้งสองหมวดนี้จึงเกื้อกูลกัน ด้วยเหตุนี้เมื่อเราเจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว เราต้องเจริญพละ ๕



    พละ ๕
    พละ ๕ คือธรรมที่เป็นกำลัง ถ้ามีขึ้นบริบูรณ์แล้วก็จะเป็นอินทรีย์ ๕ หรือธรรมที่เป็นใหญ่อันจะทำไปสู้ความสำเร็จ ประกอบด้วย ศรัทธา (ความเชื่อ ) วิริยะ ( ความเพียร) สติ ( ความระลึกได้ ) สมาธิ ( ความตั้งใจมั่น ) และปัญญา ( ความรู้ ) สติ อยู่กลาง คือสติทันกาล ผัสสะที่เกิดกับกายกับจิตรู้ทันทีแล้วละ ในการเจริญพละ ๕ ก็คล้ายกับอิทธิบาท ๔ คือตัวยังคงโยกซ้ายโยกขวา พร้อมกับภาวนาคำว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ว่าไปอย่างนี้ ๕ เที่ยว ว่าช้า ๆ ไม่ต้องย้อนหลัง เมื่อว่าไปสัก ๓ เที่ยว แล้วก็ลองตรวจสอบดูว่า ธรรมทั้ง ๕ หมวดนี้มีขึ้นในจิต เจริญขึ้นในจิตของเราแล้วหรือยัง ความหมายขององค์ธรรมทั้ง ๕ หมวดนี้มีขึ้นในจิตเจริญขึ้นในจิตของเราแล้วหรือยัง ความหมายขององค์ธรรมทั้ง ๕ มีดังนี้

    ศรัทธา: คือความเชื่อถือ เราเชื่อในกฎแห่งกรรมที่ว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วหรือไม่ เชื่อในพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือไม่กล่าวคือการเชื่อในพระพุทธเจ้าว่ามี พระปัญญาธิคุณ ( ปรีชาญาณหยั่งรู้ ) ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เองหรือไม่ เชื่อในพระบริสุทธิคุณ ( ความหมดกิเลส) ว่าทรงมีจิตบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองหรือไม่ และเชื่อในพระกรุณาธิคุณ (ช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ถึงนิพพานด้วยการสั่งสอนธรรม) ว่าทรงเสียสละพระองค์สั่งสอนเวไนยสัตว์ ตลอดพระชนม์ชีพหลังจากทรงตรัสรู้แล้วหรือไม่ สำหรับการเชื่อในพระธรรมนั้น ไแก่เชื่อว่าธรรมของพระองค์ปฏิบัติแล้วนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้หรือไม่ ส่วนการเชื่อในพระสงฆ์นั้น ได้แก่ เชื่อว่าเป็นผู้สืบศาสนาให้ยืนยาวเป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐตวรแก่การสักการบูชาหรือไม่ หากเรามีความเชื่อในสิ่งนี้แล้วจึงจะเรียกได้ว่ามีศรัทธาในพระรัตนตรัย และถ้ามีศรัทธาเกิดขึ้นจะนำสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพราะเชื่อว่าการปฏิบัติเท่านั้นที่จะนำเราพ้นทุกข์ได้ แต่ถ้าเราขาดศรัทธา หรือมีศรัทธาไม่ลึกซึ้ง ก็ยังมีความลังเลสงสัย ไม่ทุ่มเทการปฏิบัติ มีความเกียจคร้าน ไม่เชื่อว่าปฏิบัติแล้วจะได้ผลจริง เมื่อเป็นเช่นนี้การปฏิบัติก็ไม่ได้ผล

    วิริยะ: คือความเพียร หรือสัมมัปปธาน ๔ หรือเพียร ๔ นั่นเอง ซึ่งจะต้องเพียรหนักยิ่งขึ้นที่จะปฏิบัติเพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง ความเพียรนี้ก็เหมือนกับความเพียรในอิทธิบาท ๔ แต่ความเพียรในพละ ๕ จะมีกำลังสูงยิ่งขึ้นไปอีก เพราะสมาธิมีกำลังดีขึ้น จิตละเอียดขึ้นศรัทธาแนบแน่นขึ้นจากการเพียรปฏิบัติก็จะได้พบปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบ ทางสัมผัสทั้ง ๖ ไม่ว่าจะเป็นรูป (ตา) เสียง (หู) กลิ่น ( จมูก) รส(ลิ้น) โผฏฐัพพะ (กาย ) ธรรมารมณ์ ( ใจ) สิ่งที่กระทบนั้นจะละเอียดยิ่งขึ้นไป นิมิตที่ปรากฏก็จะละเอียดขึ้นไป ตามกำลังของสมาธิและตามความละเอียดของจิต

    สติ: ความระลึกรู้สึกหรือรู้ตัวจะมีกำลังสูงขึ้น รู้ตัวเร็วขึ้นในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับกายกับจิตสติจะคล่องแคล่วว่องไวรับรู้ผัสสะที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นทวารใดทวารหนึ่ง เช่น ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายกระทบโผฏฐัพพะหรือสิ่งที่สัมผัสกาย ใจกระทบธรรมารมณ์หรืออารมณ์ที่จิตคิด สติก็จะรู้ได้รวดเร็ว กำลังของสติจะคอยอุปการะจิต ให้จิตมีความแหลมคมและมีกำลังที่จะรู้และละ ต่อสิ่งนั้น (ซึ่งคือตัววิปัสสนาปัญญา ) โดยไม่ปรุงแต่งไปในทางที่ชอบที่ชัง จิตจะคลายจากกามคุณ ๕ อันมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เท่ากับว่าจิตจะละจากอุปาทานในกามคุณ ๕ นั่นเอง เมื่อสติมีกำลังเช่นนี้ปัญญาก็เกิดตามมา เป็นปัญญาที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ คือมรรคผลนิพพาน

    สมาธิ: ได้แก่ความตั้งมั่นของจิต ขณะทำวิปัสสนาต้องควรตรวจดูว่า สมาธิของเราหนักไปอยู่ในฌาน ๔ หรือน้อยไปอยู่ในฌาน๒วิธีตรวจสอบก็โดยการสังเกตนิมิต โดยดูว่านิมิตที่เราเห็นเอียงไปทางซ้าย หรือทางขวา หรืออยู่ตรงกลาง ถ้าเอียงไปทางขวา แสดงว่าสมาธิหนักไปใกล้ฌาน ๔ ถ้าเอียงไปทางซ้าย แสดงว่าสมาธิอ่อนไปอยู่ใกล้ฌาน ๒ แต่ถ้าอยู่ตรงกลางหน้าก็แสดงว่าเราใช้สมาธิกำลังพอเหมาะการปรับสมาธิให้อยู่ในภาวะสมดุลทำได้โดยการปรับแต่งการโยกของกาย ถ้าสมาธิมากไปเฉียดอยู่ในฌาน ๔ กายจะโยกช้าหรือโยกเบาแทบจะหยุด ก็ให้โยกแรงขึ้นสักหน่อย แต่ถ้าสมาธิอ่อนไปเฉียดฌาน ๒ กายจะโยกเร็วแรง ก็ให้โยกช้าเบาลง สมาธิก็จะอยู่ในภาวะที่เหมาะสม ดังนั้นวิธีโยกกายจึงเป็นประโยชน์ในการปรับระดับของสมาธิอีกทางหนึ่งด้วย การปรับระดับของสมาธิดังกล่าวไม่มีอยู่ในพระอภิธรรม ที่รู้ได้ก็จากประสบการณในการปฏิบัติ ซึ่งกว่าจะพบอาจารย์ก็เสียเวลาไป ๔ - ๕ วัน เพราะไม่มีใครบอกใครสอนมาก่อน

    ปัญญา: ได้แก่ความรู้ในธรรมที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ ภาวนาอยู่ โดยตรวจสอบดูว่าธรรมในหมวดใดองค์ใดที่เราภาวนามาแล้วยังบกพร่องอยู่ก็ให้รีบแก้ไขเสีย การรู้ดังกล่าวคือตัวปัญญาแต่ถ้ารู้แล้วยังแก้ไม่ได้แสดงว่าปัญญาในพละ ๕ ของเรายังไม่ดีพอ เมื่อยังไม่ดีพอพละ ๕ ก็ยังไม่สมบูรณ์ และกำลังไม่สมบูรณ์ก็เป็นอินทรีย์๕ ไปไม่ได้ พละ ๕ สมบูรณ์มีกำลังเมื่อใดก็จะเป็นอินทรีย์ ๕ เมื่อนั้น ( คือมีสติรู้เท่าทันต่อผัสสะที่มากระทบ ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้ละทันหมด)

    อินทรีย์ ๕ : คือธรรมที่เป็นใหญ่นำไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วยองค์ธรรมเช่นเดียวกับพละ ๕ คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ต่างกันที่องค์ธรรมแต่ละองค์ในอินทรีย์ ๕ มีความสมบูรณ์หรือมีกำลังสูงกว่าพละ ๕ เช่น เมื่อถึงอินทรีย์๕ ตัวสติจะว่องไวและมีกำลังยิ่งขึ้น รู้ตัวเท่าทันต่อผัสสะที่มากระทบทุกอย่าง หากมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เช่น เจ็บปวดจากการนั่ง สมาธิในพละ ๕ ก็สามารถสู้กับเวทนาได้แต่ถ้าพละ ๕ ไม่แข็งก็อาจจะสู้เวทนาไม่ได้ ต้องเปลี่ยนท่านั่งหรือออกจากสมาธิเสียก่อนเป็นการอ่อนแอต่อการปฏิบัติธรรม

    การปฏิบัติให้ถึงมรรคผลต้องสู้กับทุกขเวทนาอย่างไม่ยอมแพ้มัน จากประสบการณที่ผ่านมาอาจารย์เคยเจ็บจนไม่รู้จะทำอย่างไร เอาผ้ารองตั้ง ๒-๓ชั้น ก็แก้ความเจ็บปวดไม่ได้ เจ็บปวดเหมือนมีหนามมีเข็มมาทิ่มแทงที่ก้น แม้เจ็บจนเหงื่อไหลน้ำตาร่วงก็เคยแต่ว่าใจมันคล้ายเสือ มันสู้ไม่ยอมแพ้ ถ้าไม่หายปวดก็จะไม่ยอมออก นั่งเป็นชั่วโมงสองชั่วโมงสามชั่วโมงนี่คือการต่อสู้กับกิเลสมารโดยมีตัวกำลังเป็นตัวฮึดขึ้นมาในใจ นั่งสู้กับมันจนดึกดื่นค่อนคืนไม่ยอมแพ้

    พละ ๕: นี้สติอยู่กลาง คือมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เมื่อเจริญวิปัสสนาแก่กล้าแล้ว สติของเราก็จะทันต่อผัสสะ เมื่อทันหมดทุกด้านเราก็ละมันทัน มันเกิดเมื่อไรก็ละทันเมื่อนั้นทั้งกายทั้งจิตจิตของเราก็ว่าง แต่อย่าลืมว่าผัสสะที่เกิดขึ้นนั้น จะมีอะไรก็ตามที่มากระทบกายเราเพียงแผ่วเบา เช่นคล้ายกับไรไต่ก็ละเพราะการปฏิบัติธรรมในส่วนวิปัสสนานี้ การที่ผัสสะใด ๆ ก็ตามที่เราได้รับไม่ว่ากระทบกายหรือกระทบจิต ย่อมประกอบไปด้วย ตัณหา (ความอยาก) ทั้งนั้น เช่นเรานั่งกรรมฐานอยู่และลมพัดโชยมาเรารู้สึกว่าเย็นสบาย เราเกิดมีความพอใจ ก็เป็นสุขเวทนา คือเป็น กามตัณหา (ความพอใจในกาม) หรือพวก ราคะ (ความใคร่หรือชอบในสิ่งใด ๆ ) แต่เมื่อเกิดอากาศร้อนอบอ้าวเพราะไม่มีพัดลม เราเกิดความหงุดหงิดไม่พอใจ เป็นพวก วิภวตัณหา จัดเป็นฝ่ายโทสะ ถ้าเราไม่รู้ว่าผัสสะที่เกิดขึ้นนั้นว่าเป็นตัณหาตัวไหน จิตของเราก็เป็น โมหะ การปฏิบัติธรรมเพื่อละกิเลส หรือราคะ โทสะ โมหะ และการที่เรารู้จักการตัดวัฏสงสารใด ก็ต้องตัดที่ตัวตัณหาให้สิ้นไป ธรรมตัวตัณหานี้ก็อยู่ในอริยสัจ ๔ คือตัว สมุทัย ซึ่งเป็นเหตุที่ให้เกิดทุกข์ ตัณหาพาให้เกิดทุกข์ เมื่อเราดับทุกข์เสียได้ทุกข์มันก็เกิดไม่ได้ การปฏิบัติ เพื่อหวังพระนิพพานเราจะต้องมุ่งอยู่ที่ตัวอริยสัจ พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมด้วยธรรมตัวนี้ และพระอรหันต์ทั้งหลายก็ตรัสรู้เช่นเดียวกับพระพุทธองค์ เคยพบบางหมู่เหล่า มุ่งสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้ถึงพระนิพพาน จะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อธรรมสติปัฏฐานเป็นเพียงธรรมองค์หนึ่งของมรรคองค์ที่ ๗ เท่านั้น จะถึงพระนิพพานได้อย่างไร มรรคจะต้องสมบูรณ์ทั้ง ๘ องค์และยังจะต้องใช้ธรรมอีก ๖หมวดมาประกอบอีก รวมเป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ การนำโพธิปักขิยธรรม ๓๗ มาปฏิบัตินั้น จะบริกรรมจากอิทธิบาท ๔ พละ ๕ (หรืออินทร์ ๕) โพชฌงค์ ๗ และมรรค ๘ ไปตามลำดับ ส่วนเพียร ๔ หรือสัมมัปปธาน ๔ ( มรรคองค์ที่ ๖ ) และสติปัฏฐาน ๔ ( มรรคองค์ที่ ๗ ) นั้น นำมาใช้ตอนเจริญวิปัสสนาทั้งเวลานั่งสมาธิและนอกเวลานั่งสมาธิ

    การปฏิบัติวิปัสสนาต่อจากสมถะนั้นจักขุญาณมีจำนวนมาก เพราะมีปรากฏตามปฐมเทศนาคือธรรมจักษุ ที่พระพุทธองค์แสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เพราะจักขุญาณนี้เป็นวิชชาหนึ่งใน ๘ ที่จะทำให้เกิดผลในวิชชาบุพเพนิวาสานุสติญาณ เจโตปริยญาณ และจุตูปปาตญาณ ได้ด้วย ถ้าไม่มีจักขุญาณก็เท่ากับคนตาบอด วิชชาทั้ง ๘ ในพระพุทธศาสนานั้นเกี่ยวกับญาณทั้งสิ้น การจะเข้าถึงพระนิพพานได้ก็ต้องมีวิชชาอาสวักขยญาณ มีรู้เห็นนิมิต ตามพระไตรปิฏกกล่าวไว้ว่า " พระนิพพานนั้นไม่สำเร็จด้วยความนึกคิด แต่สำเร็จด้วยความเพียรติดต่อกันไม่ขาดสาย " ปีหนึ่งนั่งกรรมฐานเพียง ๓ เดือน เฉพาะในพรรษา และนั่งเพียงครั้งละ ๑๐-๒๐ นาทีนั้นอย่าหวังเลยจะพบสัจธรรม อาจารย์เพียรมาต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพัน คือตั้งสัจจะไว้ว่าถ้าไม่รู้ก็สู้แค่ตาย พระบรมครูของเรานั่นแหละเป็นแบบที่เราสมควรจะดำเนินตามกัน

    ปัจจุบันมรธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย เราพึงระมัดระวังตัวให้จงหนักถ้าหากถลำตัวเข้าไปแล้วถอนตัวได้ยากนัก ทิฏฐิ มานะ อุทัจจะ เป็นกิเลสที่สำคัญ ผู้ที่จะพ้นสามตัวนี้ได้ก็มีแต่พระอรหันต์ อย่างไรเสียก็อย่าพึ่งไปคิดว่าฉันหมดสมมุติก่อนวิมุตเป็นอันขาด เพระพระนิพพานนั้นถึงด้วยใจ ที่รู้ว่าวิมุตตินั้นเป็นอย่างไร ลักษณะไหน วิมุตติด้วยวาจาคารมนั้นเป็น " นิพพานดิบ " ( นิพพานยังมีขันธ์ ๕ ) แต่วาจาไปด้วยคารมคมคายจนบางแห่งเคยพบคำสอนเป็นธรรมซึ่งพระอรหันต์ท่านดำรงอยู่มาสอนให้ปุถุชนทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ ธรรมสำหรับพระอรหันต์ซึ่งหลุดพ้นแล้ว แต่ท่านยังครองตนเป็นมนุษย์อยู่ ที่เรียกว่า " สอุปาทิเสสนิพพาน* " มาสอนให้ปุถุชนปฏิบัติกัน ถ้าใครทำตามได้รับผลเลย ก็คงไปนิพานกันหมดแล้ว จะเป็นไปได้หรือช่วยกันคิดดูเถิด….จบเพียงเท่านี้

    * สอุปาทิเสสนิพพาน : หมายถึงนิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลืออยู่ , ดับกิเลสแต่ยังมีขันธ์ ๕ เหลืออยู่ คือนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่


    ผู้โพส : ศิษย์วัดถ้ำขวัญเมือง
    วันที่ : Thursday, July 19, 2553 เวลา : 12:39:05 AM
     
  20. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    บุญที่ถูกลืม.. (พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล)

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...