คชสีห์๙บารมี๙บารมี๙แผ่นดินหลวงปู่หมุนเสก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 30 สิงหาคม 2010.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เหรียญพุทธคงวัตถุมงคลยุคแรกๆของหลวงพ่อหลวงพ่อสุพจน์ วัดศรีทรงธรรม

    ครับสภาพเก่าเก็บ

    ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ(ปิดรายการ)






    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    พระผงหลวงพ่อทองยินดี

    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เหรียญสมเด็จโต วัดเทพากร ครับ สมัยก่อนเช่าหากันว่าลวงพ่อกวย

    ปลุกเสก หลังๆก็บอกไม่ใช้ มาแต่หลวงปู่โต๊ะและครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ พวกที่

    ตามเก็บเพราะนับถือหลวงพ่อกวยก็โอ๊กเพราะมีข้อมูลมาใหม่หลวงพ่อไม่มาเสก

    แต่ทุกอย่างก็ล้วนฟังกันมา เอาเป็นว่าท่านใดเชื่ออย่างไรก็ไปตามความเชื่อครับ

    ชอบก็บูชาครับ สมัยนั้นผมไม่รู้เรื่องครับ สภาพเหรียญตามที่เห็นนะครับกะไหล่

    ทอง เก่าๆเดิมๆครับเหรียญออกแบบสวยงามครับบารมีสมเด็จโตท่านพิธีใหญ่วัด

    เทพากร

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เหรียญหลวงปู่สุระ วัดสวนใหม่ ยะลา ท่านสายกรรมฐาน ทางภาคใต้ครับท่าน

    เป็นครูบาอาจารย์หลายองค์ทางภาคใต้ครับ เหรียญสวยสภาพเดิมๆครับลองหา

    อ่านประวัติท่านนะครับ

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เหรียญหลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลราชธานีสายกรรมฐานหลวงปู่มั่น

    หลวงปู่ดี ฉันโน ลองหาอ่านประวัติท่านดูก่อนครับ

    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ มี3เหรียญ

    เหรียญที่ 1

    [​IMG]

    [​IMG]


    เหรียญที่ 2

    [​IMG]

    [​IMG]


    เหรียญที่ 3

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เหรียญพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร สร้างเป็นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาวัดยาง

    สามัคคี สกลนคร ไม่ทันอ.ฝั้นนะครับแต่สายกรรมฐานร่วมอธิฐานจิตแน่นอน

    ครับ

    ให้บูชา 150 ค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เหรียญหลวงปู่คำผอง อุดรธานี รุ่นแรกพิมพ์เล็ก สายกรรมฐานลป.มั่น ลป.อ่อน

    ถ้าเคยอ่านปฎิปทาปฎิบัติในผลของสมาธิท่านจะสนใจการปฎฺบัติและคุวิเศษ

    ของการปฎฺบัติอย่างมากท่านไม่รู้หนังสืออ่านหนังสือไม่ได้แต่สามารถสวดปา

    ฎิโมกข์ได้อย่างน่าอัศจรรย์

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับมี2เหรียญครับ

    เหรียญที่ 1

    [​IMG]

    [​IMG]





    เหรียญที่ 2


    [​IMG]

    [​IMG]
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เหรียญให้บูชา 150 บาทคาจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    เหรียญที่ 1
    [​IMG]

    [​IMG]


    เหรียญที่ 2


    [​IMG]

    [​IMG]
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    ผ้ายันต์แดงหลวงพ่อเพี้ยน

    ให้บูชา500บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ(ปิดรายการ)

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2011
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]
    หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต
    อริยสงฆ์ผู้อธิษฐานไม่นอนตลอดชีวิต


    “เหนือลิขิต ประกาศิตฟ้าดิน” ฉบับนี้จะพาท่านผู้อ่านไปพบพระเถระผู้อยู่เหนือธรรมชาติ คือ ไม่นอนตลอดชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นได้แต่ก็เป็นไปแล้ว และปรากฏเป็นจริงจนเป็นที่กล่าวขวัญกันตลอดมา

    นาวาอากาศเอกอภิชัย ศักดิ์สุภา แห่งกองทัพอากาศเล่าว่า เมื่อครั้งที่ไปรับตำแหน่งผู้บังคับกองทัพทหารอากาศโยธินกองบิน ๕๖ กองพลบินที่ ๔ จังหวัดสงขลา ได้พบพระเถระผู้ทรงศีลเป็นเลิศท่านหนึ่ง ชื่อ “หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต” ท่านเป็นพระเถระที่อธิษฐานจิตไม่นอนตลอดชีวิตมุ่งนั่งบำเพ็ญเพียรภาวนาตลอดเวลาจนบรรลุธรรมชั้นสูง มีอยู่ครั้งหนึ่ง นาวาอากาศเอกอภิชัย ศักดิ์สุภา เล่าว่า

    เรื่องที่ผมประสบด้วยตัวเองก็คือ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ผมได้พาภรรยากับน้องชายของภรรยาไปกราบ หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต ที่วัดบางแก้วผดุงธรรม เนื่องจากเมื่อวานผมได้ไปงานทอดกฐินสามัคคีที่วัดนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ก็ได้ถ่ายรูปไว้จำนวนหนึ่ง คาดว่าคงจะถ่ายได้อีกสัก ๑๒ รูป ซึ่งผมก็ได้ถ่ายรูปอิริยาบถต่างๆ ของหลวงปู่เปลื้องไว้ ก็ไม่เห็นท่านว่าอะไร

    พอผมเข้าไปขออนุญาตให้ภรรยากับน้องชาย นั่งด้านล่างที่พื้นข้างหน้าท่านเพื่อถ่ายรูป ท่านกลับทักผมว่า “มันจะติดหรือ? มันไม่มีไอ้นั่นน่ะ” ผมก็เข้าใจว่าไอ้นั่นที่พูดถึงคือแฟลช ผมจึงตอบท่านว่า “ติดครับ แต่อาจจะไม่ชัดนัก” แล้วผมก็ถ่ายรูปไว้ ๑ รูป จากนั้นผมก็ให้ภรรยามาเป็นคนถ่ายรูปให้ผมบ้าง ซึ่งท่านก็ทักอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “มันจะติดหรือ?” ผมกับภรรยาก็ยืนยันว่าติดแน่นอน ภรรยาของผมจึงถ่ายรูปไว้อีก ๑ รูป

    หลังจากที่ออกจากวัดบางแก้วผดุงธรรมแล้ว ผมได้พาภรรยากับน้องชายไปเที่ยวน้ำตกโตนงาช้าง โดยผมให้กล้องถ่ายรูปไปด้วย พร้อมบอกว่าให้ถ่ายรูปให้ฟิล์มหมดม้วนไปเลย ส่วนผมของีบในรถ ครึ่งชั่วโมงต่อมาภรรยากับน้องชายก็กลับมา และบอกว่าถ่ายไปประมาณ ๑๐ รูป แล้วฟิล์มยังไม่หมดสักที

    ผมรับกล้องมาด้วยความสงสัย จึงเปิดฝาหลังกล้องดู ปรากฏว่าไม่มีฟิล์มอยู่ในกล้อง! ผมกับภรรยาถึงกับหัวเราะกันยกใหญ่ หัวเราะที่ว่าหลวงปู่ท่านก็ทักแล้วถึง ๒ ครั้ง ผมยังดันทุรังถ่ายรูปอยู่ได้

    นาวาอากาศเอกอภิชัย เล่าว่า เป็นเรื่องที่หลวงปู่ล่วงรู้ได้เหมือนตาเห็น และอีกเรื่องหนึ่งคือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ทอ. ได้ย้ายเครื่องบิน T-๓๓ ทั้งหมดมาประจำการที่ กองบิน ๕๖ฯ จังหวัดสงขลา เนื่องจากเครื่องบิน T-๓๓ มีอายุการใช้งานมานาน สภาพและสมรรถนะของเครื่องยนต์ก็เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ถึงแม้ว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างฯ จะทำการบำรุงรักษาและซ่อมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม ยังปรากฏว่าเครื่องบิน T-๓๓ มักจะประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ ทำให้นักบินต้องเจ็บ-ตายไปหลายคน

    ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ทางกองบิน ๕๖ฯ จึงได้นิมนต์หลวงปู่เปลื้องจากวัดบางแก้วผดุงธรรม มาทำพิธีและพรมน้ำมนต์ให้กับเครื่องบิน T-๓๓ นอกจากนี้ทางกองบิน ๕๖ฯ ยังขอเส้นเกศาของหลวงปู่เปลื้องมาติดไว้ในห้องนักบินทุกเครื่อง เพื่อเป็นสิริมงคลและรอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง และที่น่าทึ่งเป็นที่สุดก็คือ หลังจากหลวงปู่เปลื้องไปทำพิธีและติดเส้นเกศาของท่านในเครื่องบิน T-๓๓ แล้ว ไม่เคยปรากฏว่ามีเครื่องบิน T-๓๓ ประสบอุบัติเหตุตกอีกเลย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ทอ. จึงได้ปลดประจำการเครื่องบิน T-๓๓ นี้จนหมดสิ้น รวมอายุการใช้งานใน ทอ. ไทยก็ ๔๐ ปี พอดี

    หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต หรือพระครูวิจิตรกิตติคุณ นามเดิมท่านชื่อ เปลื้อง มุสิกอุปถัมภ์ บิดาชื่อ นายอ้น มุสิกอุปถัมภ์ มารดาชื่อ นางเอี่ยม มุสิกอุปถัมภ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

    เมื่ออายุ ๕-๖ ขวบ ได้เรียนหนังสือที่วัดห้วยลึก อำเภอปากพะยูน เรียนอยู่ปีเศษก็สามารถอ่านและเขียนได้หมด ตอนเด็กๆ ท่านลำบากมาก ตัวเล็กและขี้โรค พอท่านโตขึ้นมาก็ยังเจ็บป่วยบ่อยๆ เป็นโรคนานาชนิด ไม่คิดว่าจะอายุยืนถึง ๓๐ ปี แต่เวลาเจ็บป่วยครั้งใด จะมีเทวดามาบอกยาให้ไปทำกิน แล้วจะหายทุกครั้ง ยาที่เทวดาบอกมี ๒-๓ ขนาน (ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรมีพิษ)

    เมื่ออายุ ๑๙ ปี ได้บวชเป็นสามเณรที่วัดโตนด อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และเมื่ออายุ ๒๐ ปี ก็ได้ญัตติเป็นพระภิกษุ โดยมีพระธรรมจักรราม เป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่วัดประดู่หอม ท่านบวชอยู่ ๒ พรรษา สอบได้นักธรรมตรี แต่ไม่ได้ปฏิบัติ ท่านขยันเรียนมาก แต่ไม่มีที่เรียนต่อใกล้ๆ ต้องไปเรียนกรุงเทพฯ จึงได้สึกออกมา เมื่ออายุ ๒๔ ปี มารดาจัดให้แต่งงาน มีบุตร ๓ คน

    ขณะที่เป็นฆราวาสท่านชอบถือศีล ๘ เป็นคนใจบุญสุนทาน ชอบไปวัดไปช่วยงานสัปเหร่อเผาศพ คอยพลิกศพ สมัยนั้นเขาจะพลิกศพบนกองฟอน ต้องมีคนคอยพลิกศพไปมา ศพจะได้ไหม้ทั่วๆ จนหมด

    ท่านฝึกพูดแต่คำจริงอยู่ ๒๐ ปี ถึงจะสมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คือทุกอย่างที่พูดออกมาเป็นเรื่องจริงทั้งสิ้น ดั่งภาษิตที่ท่านบอกว่า ของดีหาได้ยากในโลกมี ๔ อย่าง คือ

    “ช้างเผือกในป่า สมณะนอกวัฏ”

    “ผู้สมบูรณ์คุณสมบัติ คฤหัสถ์พูดจริง”

    เมื่อภรรยาอายุ ๕๒ ปี ได้ถึงแก่กรรมลง ท่านจึงออกบวชครั้งที่สองที่วัดท่ามะเดื่อ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ โดยมีพระราชธรรมมุนี (เปลื้อง จัตตาวิโล) เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต (ในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านได้มาพำนักอยู่ที่วัดบางแก้วผดุงธรรม และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ พระครูวิจิตรกิตติคุณ

    ในช่วงที่ท่านบวชครั้งที่สอง ท่านเล่าให้ฟังว่า “อาตมาบวชเมื่ออายุล่วงกาลผ่านวัยมามาก เมื่อบวชแล้วได้เพียรพยายามประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังไม่ท้อถอย มีความตั้งใจมั่นคงในชีวิตพรหมจรรย์” อย่างที่ท่านกล่าวว่า อุรทตวา ถวายกายตั้งสัจจาธิษฐานเอาชีวิตเป็นเดิมพัน

    เมื่อท่านบวชได้ ๕ ปี ท่านได้เดินทางไปยังวัดเสนหา จังหวัดนครปฐม ท่านไปพักอยู่กับพระครูวิบูลย์ศีลขันธ์ (เทศน์ นิเทสโก) ในตอนกลางคืนท่านเฝ้าสังเกตอยู่ว่า เวลาท่านตื่นขึ้นมาทีไรก็จะเห็นท่านพระครูวิบูลย์ศีลขันธ์นั่งสมาธิอยู่ทุกครั้ง ด้วยความสงสัยจึงได้ถามท่านพระครูถึงเหตุที่ท่านนั่งสมาธิอยู่ทุกคืน โดยที่ท่านพระครูไม่นอน ท่านพระครูจึงบอกว่า “ผู้ปฏิบัติต้องนอนน้อย” ท่านจึงคิดว่าการนอนน้อยทำความเพียรคงเป็นสิ่งที่ดี และท่านรู้สึกประทับใจในพระครู จึงเป็นมูลเหตุให้ท่านถือเนสัชชิกธุดงค์ในภายหลัง

    เมื่อบวช ๑๐ ปี มีอยู่วันหนึ่งท่านง่วงนอนมาก จึงคิดว่า “เมื่อไม่นอนกลางวัน แต่มันอยากจะนอนมากนัก ก็ไม่นอนกลางคืนด้วยเสียเลย” ท่านบอกว่าได้อธิษฐานไว้แล้วว่าจะไม่นอน ถ้าชาตินี้ไม่จริง ชาติหน้าก็ไม่จริง ถ้าจะตายก็ให้ตายไปเลย ท่านจึงไม่ยอมนอน

    หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต มรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ รวมอายุได้ ๙๔ พรรษา ในวันฌาปนกิจศพท่านมีผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสมาร่วมงานอย่างคับคั่ง หลังจากไฟมอดแล้ว พวกเจ้าหน้าที่ที่เป็นศิษย์ของท่านก็ทำการเก็บอัฐิและเถ้าอัฐิจนหมดเกลี้ยง สำหรับผู้ที่ต้องการไปกราบและชมอัฐิของหลวงปู่เปลื้อง ขอเชิญได้ที่ วัดบางแก้วผดุงธรรม อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง


    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต


    วัดบางแก้วผดุงธรรม
    ต.ท่ามะเดื่อ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง



    “หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต” หรือ “พระครูวิจิตรกิตติคุณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดบางแก้วผดุงธรรม มีนามเดิมว่า เปลื้อง มุสิกอุปถัมภ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2446 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง ณ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายอ้น และนางเอี่ยม มุสิกอุปถัมภ์

    ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุครั้งแรกเมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ แล้วลาสิกขาออกมามีครอบครัว แต่ในขณะเป็นฆราวาสท่านก็ปฏิบัติอยู่จนภรรยาของท่านถึงแก่กรรม และท่านก็รอให้ลูกๆ ของท่านโตก่อนจึงได้อุปสมบทอีกครั้งเมื่ออายุได้ 60 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2506 ในช่วงอุปสมบทครั้งที่ 2 ท่านเล่าไว้ว่า

    “อาตมาบวชเมื่ออายุล่วงกาลผ่านวัยมามาก เมื่อบวชแล้วได้เพียรพยายามประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังไม่ท้อถอย มีความตั้งใจมั่นคงในชีวิตพรหมจรรย์อย่างที่ท่านกล่าวว่า อุรํ ทตฺวา ถวายกายตั้งสัจจาอธิฐานเป็นเดิมพันเพื่อพิสูจน์หลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เมื่อปฏิบัติไปก็ได้ผลจริง...”

    โดยการปฏิบัติของท่านอย่างหนึ่งก็คือท่านจะถือเนสัชชิกธุดงค์ คือการถือไม่นอนเป็นวัตร อันมีมูลเหตุที่ว่า เมื่อบวช 10 ปี มีอยู่วันหนึ่งท่านง่วงนอนมากจึงคิดว่า

    “เมื่อไม่นอนกลางวัน แต่มันอยากนอนมากนัก ก็ไม่นอนกลางคืนด้วยเสียเลย”

    ท่านจึงตั้งสัจจะไว้ไม่นอน 3 เดือน เมื่อตั้งสัจจะได้เพียง 7 วัน ท่านป่วยกระทันหัน มีอาการเส้นท้องตึงแข็ง และมีโรคแทรกซ้อนสารพัด หมอ พระเณรต้องขอให้ท่านนอนถึงจะหาย ท่านบอกว่าได้อธิฐานไว้แล้วจะไม่นอน ถ้าชาตินี้ไม่จริง ชาติหน้าก็ไม่จริง ถ้าจะตายก็ให้ตายไปเลย ท่านจึงไม่ยอมนอนต้องนั้งรักษากันไป อาการป่วยก็เป็นมากขึ้น ท่านต้องคลานไปคลานมาในกุฏิ ทรมาน 2 เดือนกว่า มีหมอนวดมานวดเส้นจนถูกเส้นท่านเข้า ท้องหย่อนนิ้มลง หายเป็นปกติรวมถึงโรคสารพัดที่ท่านเคยเป็นอยู่ หลังจากนั้นท่านก็ตั้งสัจจะจะไม่นอนตลอดชีวิต

    ดังที่ท่านได้เขียนไว้เป็นคำกลอนว่า

    ถือธุดงค์ ข้อสิบสาม ตามคำสอน
    ตัดการนอน ผมทนนั้ง จนหลังแข็ง
    วันที่แปด ธันวา ผมแสดง
    พ.ศ.แจ้ง สองห้าหนึ่งสี่ ตอนปีปลาย
    หลักการสอน ตัดการนอน คือตัวทุกข์
    ของเป็นสุข ยังตัดได้ ไม่ขัดขืน
    สละสุข ทุกข์ดับ สุขกลับคืน
    จิตชุ่มชื่น อยู่ในธรรม ประจำวัน
    ผมผู้เขียน ขอแนะนำ ทำมาแล้ว
    จิตผ่องแผ้ว สุขสบาย ไม่ใช่ฝัน
    ยังปฏิบัติ ฝึกหัดตน จนทุกวัน
    จิตตั้งมั่น อดทน จนวันตาย
    เว้นไว้แต่ ประสบยาม ความอาพาธ
    พญามัจจุราช สั่งงด หมดความหมาย
    ถึงหมดแรง หมดฤทธิ์ จิตไม่คลาย
    รักษาไว้ ซึ่งความสัตย์ ปฏิญาณ


    ท่านพูดเป็นคำคมว่า “คนทั่วไปนอนแล้วสบาย พระปฏิบัติไม่นอนแล้วสบาย”

    คำกลอนหลวงปู่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการปฏิบัติ เมื่อธรรมะเกิดขึ้นท่านจะเขียนจดไว้ตามเศษกระดาษหรือสมุดใกล้ตัวท่าน แล้วศิษย์จึงรวบรวมพิมพ์เป็นเล่มขึ้นมา ปัจจุบันองค์ท่านหลวงปู่ได้มรณะภาพแล้วเมื่อไม่นานมานี้ เกศาของท่านกลายเป็นพระธาตุมีลักษณะเป็นทองคำ

    .............................................................

    ขอบคุณที่มาอย่างสูงครับและท่านเจ้าของบทความทั้งหมดครับ

    คัดลอกบางตอนมาจาก ::
    หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 21 มิถุนายน 2551

    สายพระปฎิบัติดีปฎิบัติชอบท่านปฎิบัติธรรมขั้นอุกฤติเอาเป็นเอาตายครับ

    เหรียญท่านหาไม่ยากนะครับแต่คนตามเก็บกันเยอะครับสายปฎิบัติ

    ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  11. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,971
    ค่าพลัง:
    +5,386
    ได้โอนเงิน ๒๗๐ บาทเมื่อ ๗เมย. เวลา ๑๑.๒๑ น. เป็นค่าพระ ๑.รายการที่อยู่ดูในpmครับ
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เหรียญเดิมบางสภาพผ่านการบูชาครับแต่ตำหนิยังเห็นครบครับหลวงพ่ออธิฐาน

    2ปีนานมากสภาพเหรียญตามรูปครับชั่วโมงนี้คนตามเก็บเริ่มหายาก รับประกัน

    ตลอดชีวิตขอให้เหรียญอยู่ในสภาพเดิมๆไม่ล้างผิว ไม่ถูไม่ขัด เนื้อเหรียญ

    ลองตรวจดูตำนิจาก 3 เวปใหญ่สายหลวงพ่อได้ครับจะมีวิธีดูเหรียญรุ่นนี้ครับ

    ซื้อในสนามพระก็4000-5000 ไม่รับประกันต้องวัดดวงองค์นี้รับประกันไม่ต้อง

    วัดดวงเมื่อวานงานประกวดพระอยุธยาก็วัดดวงกัน 4000 บาทนั้นสำหรับคน

    แม่นพิมพ์ทรงซื้อกันแบบไม่ต้องรับประกันถ้าดูเก๊แจ้งผมมาได้ทาง PM จะลบ

    รายการนี้ออกครับ



    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2012
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    หลวงปู่ตื้อ อจรธัมโม วัดป่าอรัญวิเวก หนองคาย

    [​IMG]

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญวิเวก บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นามเดิมชื่อ ตื้อ นามสกุล ปาลิปัตต์ ท่านเป็นตระกูลชาวนาถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2431 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีชวด สัมฤทธิศกจุลศักราช 1250 ณ บ้านข่า ตำบลบ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
    บิดาชื่อ นายปา ปาลิปัตตฺ
    มารดาชื่อ นางปัตต์ ปาลิปัตต์
    มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดี่ยวกัน 7 น ชาย 5 หญิง 2 คน คือ
    1. นางคำมี ปาลิปัตต์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    2. เป็นชาย (ถึงแก่กรรมแล้วตั้งแต่เด็ก)
    3. นายทอง ปาลิปัตต์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    4. นายบัว ปาลิปัตต์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    5. หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม (มรณภาพแล้ว)
    6. นายตั้ว ปาลิปัตต์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    7. นายอั้ว ทีสุกะ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นผู้มีนิสัยรักความสงบ เขาเป็นศิษย์วัดตั้งแต่ยังเด็ก และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ระยะหนึ่ง เป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษา มีนิสัยตรงไปตรงมา และเป็นที่น่าสังเกตว่าในเครือญาติของท่านใฝ่ใจในการบรรพชาอุปสมบททั้งนั้นและถ้าเป็นหญิงก็เข้าบวชชีตลอดชีวิต
    สำหรับหลวงปู่ตื้อ ได้รัยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อมีอายุได้ 21 ปี บวชครั้งแรกในฝ่ายมหานิกาย บวชนานถึง 19 พรรษา ต่อมาได้ญัตติเป็น ฝ่ายธรรมยุตินิกาย จนถึงวาระสุดท้ายได้ 46 บรรษา สิริรวมอายุ 86 พรรษา
    ก่อนหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม จะออกบวชเป็นพระภิกษุนั้น ท่านได้เกิดนิมิตอันดีงามแก่ตัวท่านเอง คือก่อนคืนที่ท่านจะออกบวชนั้น กลางคืนท่านได้นิมิตฝันว่า ได้มีชีปะขาว 2 คนเข้ามาหาท่าน คนหนึ่งแบกครกหิน อีกคนหนึ่งถือสากหิน มาหยุดอยู่ตรงหน้าท่าน แล้ววางครกและสากลง คนแรกพูดว่า
    “ไอ้หนู เจ้ายกสากหินนี้ออกจากครกได้ไหม”
    หลวงปู่ตื้อ ตอบว่า “ขนาดต้นเสาใหญ่ผมยังแบกคนเดียวได้ ประสาอะไรกับของเพียงแค่นี้”
    แล้วท่านก็เดินเข้าไปพยายามยกเท่าไหร่ๆ ก็ไม่สำเร็จ จนถึงวาระที่ 3จึงสามารถยกสากหินนั้นขึ้นได้
    เมื่อยกได้แล้วก็ได้เอาสากหินนั้นตำลงที่ครก และตำเรื่อยไป มองดูที่ครกเห็นมีเปลือกเต็มไปหมด ท่านจึงได้พยายามตำข้าวเปลือกเหล่านั้นจนกลายเป็นข้าวสารไปหมด แล้วชีปะขาวก็หายไป
    เมื่อชีปะขาวหายไปจากนั้นก็ปรากฏว่าได้มีพระเถระ 2 รูป มีกิริยาอาการน่าเคารพเลื่อมใสมาก ทั้งร่างกายเป็นรัศมี ท่านนึกว่าเป็นพระอริยะเจ้าผู้วิเศษ เดินตรงมาที่ท่านแล้วพูดเบาๆว่า
    “หนูน้อย เจ้ามีกำลังแข็งแรงมาก”
    พอดีท่านรู้สึกตัวขึ้นมา แล้วนั่งทบทวนพิจารณาถึงความฝันที่ผ่านมา เห็นเป็นเรื่องแปลกและพิสดารมาก คิดว่านิมิตเช่นนี้จะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้างหนอ คิดแต่เพียงว่าคงจะมีเรื่องที่ดีเกิดขึ้นกับท่านแน่
    ท่านคิดได้แค่นี้ก็ระลึกถึงคำของบิดาว่า ได้สั่งให้ไปต้อนควายจากท้องทุ่งนาให้เข้ามาหากินอยู่ใกล้ๆ บ้าน ท่านจึงได้ลุกออกจากบ้านไปต้อนไล่ควายมาเลี้ยงอยู่ใกล้ๆ บ้านแต่ในใจยังนึกถึงความฝันเมือคืนนี้อยู่
    เป็นเพราะหลวงปู่ตื้อมีนิสัยรักความสงบอยู่แล้วจึงคิดขึ้นมาว่า สมควรที่เราจะต้องบวชเพื่อประพฤติธรรมดูบ้าง คิดว่าวันพรุ่งนี้เราต้องออกไปอยู่วัดอีก เพื่อจะได้บวชเป็นพระภิกษุแล้วจะได้มีโอกาสประพฤติธรรมอย่างจริงจังบ้าง และก็เป็นเช่นที่คิด พอรับประทานอาหารเย็นวันนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว บิดาท่านก็บอกว่า
    “กินข้าวอิ่มแล้วให้รีบไปหาปู่จารย์สิมที่บ้าน ปู่จารย์สิมมาตามหาเจ้าตั้งแต่กลางวันแนะ”
    หลวงปู่ตื้อนึกสงสัยว้าจะมีเรื่องอะไรก็ไม่ทราบ จึงรีบไปหาปู่อาจารย์สิมทันที
    (คำว่า พ่ออาจารย์, ปู่จารย์, หมายถึง ผู้ชายที่ได้รับบวชเรียนเป็นพระภิกษุมาก่อนหลายพรรษา และได้เล่าเรียนวิชา จนมีความรู้พอสมควร เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป แต่ต่อมาได้สึกออกมใช้ชีวิตฆราวาส)
    เมื่อไปถึงบ้านปู่จารย์สิม เรียบร้อยแล้ว ปู่จารย์สิมเปิดประตูข้างในเรือนและเรียกให้ท่านเข้าไปหา พอท่านเข้าไปในห้อง เห็นมีผ้าไตรจีวร บาตร และเครื่องบริขารสำหรับบวชพระ แล้ว ปู่จารย์สิม ก็ยื่นขันดอกไม้ที่เตรียมเอาไว้ให้พร้อมกับพูดว่า “เห็นมีแต่หลานคนเดียวเท่านั้นที่สมควรจะบวชให้ปู่ เพราะปู่ได้เตรียมเครื่องบวชไว้เรียบร้อยแล้ว แต่หาคนบวชไม่ได้ จึงให้หลายได้บวชให้ปู่สัก 1 พรรษา หรือได้สัก 7 วันก็ยังดี ขอให้บวชให้ปู่ก็เป็นพอ จะนานเท่าไรก็ได้ไม่เป็นไร”
    หลวงปู่ตื้อได้รับปากกับปู่จารย์สิมซึ่งเป็นปู่ของท่านทันที แต่ขอไปบอกลาบิดามารดาเสียก่อน เมื่อบิดามารดาอนุญาตให้ก็จะได้บวชตามที่ปูจารย์สิมต้องการ
    บิดามารดาของท่านเมื่อได้ยินลูกชายเล่าให้ฟังเช่นนั้น ก็อนุญาตตามที่
    ปู่จารย์สิม ขอ พร้อมกลับกล่าวคำอนุโมทนาสาธุการ แสดงความยินดีกับลูกชายเป็นอย่างยิ่ง
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    เมื่อหลวงปู่ตื้อ อจลธฺมโม ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาให้บวชแล้ว ท่านก็ได้เข้าไปอยู่เป็นศิษย์วัด อยู่ต่อมาจนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในฝ่ายมหานิกาย เมื่อ ปีพ.ศ.2452 แต่ในบันทึกไม่ปรากฏแน่ชัดว่าท่านบวชที่ไหนและบวชกับใคร ท่านบอกว่า ท่านบวชกับประอุปัชฌาย์คาน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม แล้วก็กลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านข่า ซึ่งเป็นบ้านเดิม เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามอุปนิสัยที่ถ่านถนัดอยู่แล้ว นิสัยของท่านชอบการศึกษาค้นคว้าพระธรรมวินัย อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก
    เมื่อท่านบวชครบ 7 วัน แล้วปู่จารย์สิมได้มาหาท่านที่วัดถามถึงเรื่องที่จะสึกหรือไม่สึก ถ้าสึกจะหาเสื้อผ้ามาเตรียมไว้ให้ ท่านก็สองจิตสองใจใครสึกบ้าง ไม่สึกบ้าง แต่มาคิดได้ว่า ถ้าสึกตอนนี้ชาวบ้านจะพากันเรียน ไอ้ทิต 7 วัน รู้สึกอับอาย จึงบอก
    ปู่จารย์สิม ว่า “อาตมายังไม่อยากสึก ขออยู่ไปก่อน รอให้ออกพรรษาก่อนเถิด”
    ท่านก็บวชอยู่ได้ครบพรรษาหนึ่ง ท่านหัดท่องหัดสวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนานจนขึ้นใจ
    พอออกพรรษาเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ทำเฉยเสีย เพราะรู้สึกใจคอท่านสบายดีอยู่ ถ้าหากสึกไปแล้ว การเล่าเรียนพระธรรมก็ยังไม่ไปถึงไหนเลย แค่อาราธนาศีล 5 ศีล 8 อาราธนา เทศน์ยังทำไม่ได้คล่องแคล่ว เมื่อสึกออกไป ถูกเข้าไหว้วานให้อาราธนา ถ้าว่าไม่ได้จะอายเขาเปล่า ๆ
    ต่อมาท่านได้เดินทางเพื่อไปศึกษาวิชาธรรมะในทางพระพุทธศาสนาที่เรียกกันว่า “เรียนสนธิ์ เรียนนาม มูลจัจจายน์” อันเป็นวิชาที่เรียนได้ยากในสมัยนั้น ถ้าหากใครเรียนได้จบตามหลักสูตรเรียกกันว่า “นักปราชญ์” เป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัย
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้เดินทางไปเรียนที่ วัดโพธิ์ชัย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนนม การเดินทางไปมีความลำบากมากทางคมนาคมไม่สะดวกเลย ต้องเดินไปด้วยเท้า (ระยะทางประมาณ 51 กิโลเมตร) สำนักเรียนวัดโพธิ์ชัยมีชื่อเสียงมากในขณะนั้น เพราะมีอุปัชฌาย์คาน เป็นเจ้าสำนักเรียน
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโมได้เข้าศึกษาเล่าเรียนวิชาบาลีสนธิ์นาม และมูลกัจจายน์ในสำนักวัดโพธิ์ชัยนี้ด้วยความสนใจเป็นเวลานานถึง 4 ปีเต็ม จึงจบตามการสอนของสำนักเรียน และได้ถือโอกาสกราบเรียนลาท่านพระอาจารย์ผู้เป็นเจ้าสำนักเรียน กลับสำนักเดิมคือ วัดบ้านข่า
    เมื่อท่านกลับมาอยู่วัดได้ 3 วันเท่านั้น ทั้งนี้คงเป็นเพราะนิสัยท่านใฝ่ใจในธรรม ชอบศึกษาค้นคว้าในคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านจึงได้เดินทางออกจากบ้านเพื่อจะไปเรียนพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพมหานคร อันเป็นแหล่งที่มีการศึกษาเจริญที่สุดได้ชักชวนพระภิกษุรูปหนึ่งในวัดออกเดินทางจากวัดเดิมธุดงค์มุ่งหน้าไปยัง จังหวัดอุดรธานีก่อนค่ำไหนก็พักจำวัดทำสมาธิภาวนาที่นั่น เป็นเวลาหลายวันจึงถึงอุดรธานี
    แต่พอเดินทางถึงจังหวัดอุดรธานี พระภิกษุที่เป็นเพื่อนเดินทางเกิดเปลี่ยนใจเพราะคิดถึงบ้านอยากกลับบ้านไม่ยอมไปเรียนต่อที่กรุงเทพมหานครตามที่ตั้งใจเอาไว้ ถึงแม้จะพูดอย่างไรก็ตามก็ไม่ยอม คิดแต่จะกลับบ้านอย่างเดียว ท่านต้องเป็นเพื่อนเดินทางกลับไปส่งพระรูปนั้นกลับบ้านข่า ถึงแค่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แล้วท่านจึงเดินทางกลับมายังวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานีอีก แต่สมัยนั้นวัดโพธิสมภรณ์ หรือแม้จังหวัดอุดรธรนีก็ยังเป็นป่าไม่ได้พัฒนาให้เจริญเหมือนอย่างทุกวันนี้
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เมื่อได้เดินทางกลับมาถึงจังหวัดอุดรธานีคราวนี้ ท่านได้เปลี่ยนใจจากการไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพมหานคร เป็นการออกปฏิบัติธรรมกรรมฐานแทน
    ท่านกล่าวว่า “การออกเดินธุดงค์ เป็นการเดินทางเส้นตรง...ต่อการบรรลุธรรมอย่างแท้จริง”
    เมื่อท่านได้เปลี่ยนในเช่นนี้แล้วก็ได้เดินทางจากจังหวัดอุดรธานีมุ่งสู่จังหวัดหนองคาย ท่านได้แวะพักโปรดญาติโยมเป็นระยะ ๆ ไปและพักทำกรรมฐานที่ พระบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี บำเพ็ญภาวนาอยู่หลายวัน จึงออกเดินทางไปยังฝั่งลาวพักกรรมฐานอยู่ที่บริเวณนครเวียงจันทน์เป็นเวลาหลายเดือน
    หลวงปู่ตื้อเล่าให้ฟังว่า ได้ไปทำความเพียรอยู่บนเขาควายทำกรรมฐานอยู่บริเวณนั้นเป็นเวลา 4 เดือนเต็ม คืนแรกที่ท่านไปถึงนั้น ได้ไปนั่งภาวนาอยู่ที่ถ้ำเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในบริเวณนั้น พอนั่งสมาธิอยู่ไม่นานประมาณชั่วโมงเศษ ๆ เห็นจะได้ ท่านได้ยินเสียงดังมาแต่ไกล คล้ายเสียงลมพัดอย่างแรง แต่พอลืมตาขึ้นดูไม่เห็นมีอะไร นอกจากตัวผึ้งเป็นหมื่น ๆ ตัวบินวนเวียนอยู่เหนือศีรษะคล้ายเสียงเครื่องบิน
    สักพักหนึ่งตัวผึ้งเหล่านั้นก็บินลงมาเกาะตามผ้าจีวรเต็มไปหมด แล้วเที่ยวไต่ไปตามตัวจนท่านต้องเปลื้องจีวรและอังสะออกจากตัวและนุ่งสบงแบบจูงกระเบน แล้วรัดผ้ากับให้แน่น ตามตัวมีแต่ตัวผึ้งเต็มไปหมด แต่มันก็มิได้ต่อยทำร้ายท่าน
    หลวงปู่ตื้อบอกว่า ในภาวะเช่นนั้นต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างยิ่ง ประมาณ 20 นาที หมู่ผึ้งเหล่านั้นทั้งหมดก็บินจากไป จากนั้นท่านก็นั่งภาวนาต่อไปอีกประมาณ 2 ชั่วโมงเศษ ๆ
    ในขณะนั้นเอง ได้นิมิตเห็นศีรษะของชายคนหนึ่งค่อย ๆ โผล่ขึ้นมาจากพื้นข้างหน้าท่านห่างออกไปเล็กน้อย ดูเหมือนว่าเขากำลังเดินขึ้นมาจากเบื้องล่าง แล้วเดินเข้ามาหาท่าน จนเข้ามาใกล้แล้วมาหยุดยืนอยู่เบื้องหน้า โดยไม่พูดอะไร ร่างกายชายคนนั้นใหญ่โตมาก
    บุคคลนั้นยืนอยู่นานพอสมควรแล้วกลับหลังเดินไป แต่การเดินกลับไปนั้นดูเหมือนว่าเดินลึกลงไปสู่ที่ต่ำเพราะหายลับลงไปอย่างรวดเร็วมาก จนมองตามไม่ทัน และท่านนั่งสมาธิอยู่ที่เดิม ไม่นานนักก็ได้ปรากฏว่ามีเทพยดาสวมมงกุฏสวยงามมากเข้ามาหาท่าน 2 องค์แล้วพูดขึ้นว่า
    “ท่านอาจารย์ ห่างจากนี้ไม่ไกลนัก มีพระพุทธรูปทองคำ 10 องค์ พระพุทธรูปเงิน 15 องค์ จมอยู่ในดิน ขอให้ท่านอาจารย์ไปเอาขึ้นมา เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้สักการบูชาเพราะบัดนี้ไม่มีใครรักษาแล้ว” พูดเท่านั้นเทพยาดาทั้งสองก็หายไป
    หลวงปู่ตื้อ เล่าเรื่องต่อไปว่า คืนที่ไปนั่งภาวนาอยู่ที่เส้นทางช้างศึกของ
    เจ้าอนุวงษ์ นครเวียงจันทน์หลายคืน คืนหนึ่งมีวิญญาณหลงทางมาหามากมายจริง ๆ เหตุที่ว่าเป็นวิญญาณหลงทางนั้นเพราะจะแผ่เมตตาให้อย่างไร ก็ระลึกและคลายมานะทิฐิไม่ได้ ยังมัวเมาอยู่นั่นเอง
    วิญญาณพวกนี้โดยมากเป็นพวกทหารหนุ่ม ๆทั้งนั้น สังเกตเห็นว่า พวกนี้จะไม่ยอมกราบไหว้ไม่มีเคารพในสมณเพศ ทั้งนี้เพราะส่วนมากเป็นวิญญาณมิจฉาทิฐิมาปรากฏเพื่อให้เห็นเท่านั้น
    รุ่งเช้า มีโยมมาขอให้ท่านพักอยู่ต่อไปนาน ๆ จะสร้างกุฏิถวาย แต่ท่านไม่รับนิมนต์ ท่านบอกโยมว่า จะต้องเดินธุดงค์ไปเรื่อย ๆ จนถึงจังหวัดเชียงใหม่เมืองของไทยใหญ่ ท่านบอกว่านับตั้งแต่ออกจากพระบาทบัวบกจังหวัดอุดรธานีมา พักจำพรรษาอยู่ที่บริเวณเวียงจันทน์นี้ เป็นเวลานานถึง 4 เดือนเศษ ๆ จากนั้นก็เดินทางแบบ
    พระธุดงกรรมฐานต่อไปยังเมืองหลวงพระบาง หนทางเดินลำบากที่สุด สภาพทั่วไปเป็นภูเขา บางวันเดินขึ้นภูเขาสูง ๆ แล้วเดินลงจากหลังเขา ถ้าคิดระยะทางการเดินทางธรรมดาจะต้องเดินไปไกลกว่านั้น เพราะเดินตลอดวันก็กลับลงมาที่เดิม ตกเย็นมืดค่ำลง ก็กางกลดพักผ่อนทำความเพียรภาวนา รุ่งอรุณก็ตื่นเดินทางต่อไป บางวันไม่ได้
    บิณฑบาติเลยเพราะไม่มีบ้านคน
    ท่านเล่าว่า เดินไปด้วยกันคราวนี้รวมแล้ว 6 รูป แต่ต่างคนต่างไปไม่พบกันหลายวันก็มี บางทีก็พบพระซึ่งเป็นชาวพม่าซึ่งท่านก็เดินธุดงค์เช่นกัน นาน ๆ พบกันทีหนึ่ง พบกันแล้วก็แยกทางกันเดินต่อไป ท่านบอกว่าถนนหนทางลำบากที่สุด รถยนต์ไม่มีโอกาสจะไปได้เลย แม้แต่คนจะเดินไปก็ยังยาก และสมัยนั้นรถยังไม่เคยมีในถิ่นนั้นเลย
    และแล้ว หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ก็ได้พบพระธุดงค์รูปหนึ่งซึ่งจะมีสหธรรมิกรูปสำคัญต่อไปในอนาคต พระธุดงค์หนุ่มรูปนี้มีปฏิปทาลีลาอะไรหลายอย่างละม้ายเหมือนหลวงปู่ตื้อมากเป็นต้นว่า เป็นพระภิกษุหนุ่มฝ่ายมหานิกายที่ออกจาริกธุดงค์แต่ลำพังอย่างโดดเดี่ยวกล้าหาญโดยไม่มีครูบาอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานแนะนำคอยชี้ทางให้เลย
    พระธุดงค์รูปนี้มีนามว่า หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม และหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พบกันครั้งแรกที่ป่านภูพานขณะนั้นหลวงปู่ตื้อจาริกธุดงค์มาจากพระบาทบัวบกจังหวัดอุดรธานี ได้สนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความรู้กันเป็นที่ชอบอัธยาศัยถูกใจกันยิ่งนัก
    หลวงปู่ตื้อเองก็ใฝ่ใจปรารถนาอยากจะพบ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ให้ได้เหมือนกันเพราะได้ยินได้ฟังกิตติศัพท์เลื่องลือ เกี่ยวกับพระอาจารย์มั่นมามากแต่ยังไม่ได้พบสมใจหวังสักที
    ทั้งสองได้ปรึกษาหารือกันว่า หากวาสนายังมีคงจะได้พบกับอาจารย์มั่นสมใจหวัง เราอย่าเร่งรัดตัวเองและกาลเวลาเลย ถ้าไม่ตายเสียก่อนจะต้องได้สดับธรรมจากพระอาจารย์มั่นเป็นแม่นมั่น ในระหว่างนี้เราควรจะจาริกธุดงค์ไปตามมรรคาของเราก่อน
    ทั้งหลวงปู่ตื้อ และหลวงปู่แหวน เริ่มต้นเดินทางสู่เมืองลาวที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย พอข้ามแม่น้ำโขงแล้งก็พบแต่ป่าต้องเดินมุดป่าไปเรื่อย ๆดูเหมือนเป้าหมายจะเป็นหลวงพระบางในการเดินทางเท้านั้น ตลอดทางมักได้พบสัตว์ป่าเป็นจำนวนมากและได้อาศัยเดินตามรอยช้าง เพราะสะดวกสบายดี ถ้าใครเคยขึ้นภูกระดึง และเคยมุดป่าบนหลังภู จะพบทางเดินของช้างบนนั้น
    พระภิกษุหนุ่มทั้งสองท่านจะเดินธุดงค์ไปตลอดทั้งกลางวัน พอพลบค่ำก็เลือกพักใกล้หมู่บ้านคนพอได้โคจรบิณฑบาตยามเช้า ท่านได้เล่าถึงชาวป่าเผ่าหนึ่งพบระหว่างทางในตอนใกล้ พระอาทิตย์ตกดินชาวป่าเหล่านั้นเอากระติบข้าเหนียวมาถวายเดินแถวเข้ามานับ สิบเพื่อถวายอาหารด้วยพวกเขาไม่ทราบพระรับอาหารยามวิกาลไม่ได้แต่มีศรัทธาบอกว่า “งอจ้าวเนียวงอจ้าวเหนียว” ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร ทั้งสองท่านจึงบอกว่าอาหารไม่รับ ขอรับน้ำร้อนก็พอ ซึ่งก็ได้พยายามสื่อความหมายจนกระทั่งรู้เรื่องกันได้
    พอรุ่งเช้าเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ต้องทำการบิณฑบาตแบบโบราณคือ ไปยืนอยู่หน้าบ้านทำเป็นหวัดกระแอมไอ ให้เขาออกมาดู เขาไม่เข้าใจ ก็ทำนิ้วชี้ลงที่บาตร จึงได้ข้าวมาฉัน คนป่าเผ่านั้นคงจะไม่เคยรู้จักพระมาก่อน ไม่รู้วินัยพระ ไม่รู้ธรรมเนียมพระ
    ต่อมาท่านได้ธุดงค์เดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีวัดประจำหมู่บ้าน แต่ไม่มีพระจำพรรษามีแต่เพียงสามเณรอยู่รูปเดียว สามเณรรูปนั้นเห็นพระอาคันตุกะสองรูปนั้นมาเยี่ยมก็ดีใจ หาที่นอนหาน้ำร้อนมาถวาย ถวายเสร็จแล้วสามเณรรูปนั้นก็หลบไป
    อีกสักครู่หลวงปู่ตื้อ กับหลวงปู่แหวน ก็ได้ยินเสียงไก่ร้องกระโต้กกระต้าก แล้วก็เงียบเสียงลง อีกสักพักหนึ่งก็มีกลิ่นไก่ย่างโชยมา และอีกสักพักหนึ่งไก่ย้างก็ถูกนำมาวางตรงหน้าท่านทั้งสอง
    “นิมนต์ท่านครูบาฉันไก่ก่อน ข้าวเหนียวก็กำลังร้อน ๆ นิมนต์ครับ”
    ในที่สุดหลวงปู่ทั้งสองถึงเมืองหลวงพระบาง
    แม้ว่าบางครั้งท่านจะแยกกันธุดงค์ แต่มีหลายครั้งที่ท่านมีโอกาสจำพรรษาร่วมกัน และเป็นคู่อรรถคู่ธรรมที่แปลกมากกล่าวคือ เรื่องอุปนิสัยที่แตกต่างกัน หลวงปู่ตื้อ ท่านเป็นพระที่ชอบพูดชอบเทศน์ มีปฏิปทาผาดโผน และเวลาพูดเสียงท่านจะดังแต่ หลวงปู่แหวนกลับเป็นพระที่พูดน้อย เสียงเบา ไม่ชอบเทศน์ มีแต่ให้ข้อธรรมสั้น ๆมีปฏิปทาเรียบง่าย

    ธรรมโอวาท
    สำหรับการแสดงธรรมเผยแพร่พระพุทธศาสนา ของปู่ตื้อ อจลธมฺโมนั้น ท่านแสดงธรรมอย่างตรงไปตรงมา แสดงธรรมตามทัศนะของท่าน มีคนชอบฟังมาก หลวงปู่เล่าว่า โลกนี้เขามีเครื่องผูกอันเหนียวแน่น ยากที่จะตัดได้ด้วยอย่างอื่น นอกจากพระธรรมของพระพุทธเจ้า มนุษย์เราเกิดมาก็ต้องทำบาป เมื่อทำแล้วก็ต้องได้รับผลกรรมที่เราทำไว้ พ่อแม่เรานั้นทำกรรม เราเกิดมาก็ทำกรรมไปอะไรที่สุดของกรรม ไม่มีใครรู้ได้ทำบาปแล้วมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย
    1. จิตตานุปัสสนา จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นโสดาปัตติมรรค จิตก็เป็นโสดาปัตติผล
    2. จิตตานุปัสสนา จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นพระสกิทาคามิมรรค จิตก็เป็นพระสกิทาคามิผล
    3. จิตตานุปัสสนา จิตไม่คิดมีผัวเมีย ออกบวช จิตก็เป็นพระอนาคามิมรรค จิต ก็เป็นพระอนาคามิผล
    4. จิตตานุปัสสนา จิตไม่กล่าวมุสาวาท จิตก็เป็นพระอรหัตมรรค จิตก็เป็นพระอรหัตผล อีกนัยหนึ่ง
    5. จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
    6. จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
    7. จิตออกบวช จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
    8. จิตไม่ขี้ปด จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
    หลวงปู่สอนว่า “ธรรมะคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรามองข้ามไปเสียหมด อยู่ที่ตัวของเรานี้เองมิใช่อื่น พุทธะคือผู้รู้ ก็ตัวของเรานี้ เองมิใช่ใครอื่น เช่นเดียวกันกับไข่ ไข่อยู่ข้างในของเปลือกไข่ ทำให้เปลือกไข่แตกเราก็ได้ไข่ พิจารณาร่างกายของเราให้แตก แล้วเราก็จะได้ธรรมะ” หรือ.......
    “ธรรมะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการทำอะไรจริงจัง คือการตัดสินใจอย่างแน่นอนลงไป แล้วเลือกเฟ้นธรรมปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่นานหรอกเราก็จะได้พบสิ่งที่เราต้องการความกลัวทุกอย่างจะหายไปหมด
    ถ้าเราตัดสินใจอย่างใดแล้วคือเราต้องเป็นคนมีจุดมุ่งหมายอย่างหลวงตา นับตั้งแต่บวชมาได้ตัดสินใจปฏิบัติธรรมะอย่างแท้จริง จนทุกวันนี้ไม่เคยลดละเลยและท้อถอยเลย” หรือ........
    “นักธรรม นักกรรมฐานต้องมีนิสัยอย่างเสือโคร่ง คือ 1. น้ำจิตน้ำใจต้องแข็งแกร่งกล้าหาญไม่กลัวต่ออันตรายใด ๆ 2. ต้องเที่ยวไปในกลางคืนได้ 3. ชอบอยู่ในที่สงัดจากจน 4. ทำอะไรลงไปแล้วต้องมุ่งความสำเร็จเป็นจุดหมาย” หรือ.....
    “สัตว์เดรัจฉานมันดีกว่าคนตรงที่มันไม่มีมายา ไม่หลอกลวงใคร มีครูอาจารย์ก็คือคน เป็นสัตว์ที่น่ารักน่าสงสาร คนเราซิโง่เป็นพุทธะได้ แต่หลอกลวงตนเองว่าเป็นไม่ได้ ร่างกายก็มีให้พิจารณาว่าเป็นของเน่าเป็นของเหม็น แต่เราพิจารณาว่าเป็นของหอมน่ารัก โง่ไหมคนเรา”
    และเมื่อเทศน์จบลงท่านชอบถามผู้ฟังว่า “ฟังเทศน์หลวงตาดีไหม” คำถามเช่นนี้ ท่านบอกว่า หมายถึงการฟังธรรมครั้งนี้ได้รับความสงบเย็นของจิตไหม และเกิดสังเวชในความชั่วไหม?
    ท่านชอบตักเตือนเสมอว่าการปฏิบัติธรรมนั้นอย่างที่ท่านบูรพาจารย์ทั้งหลายดำเนินมานั้นท่านพยายามไม่ให้เกิดความเบื่อหมายในการปฏิบัติธรรม พยายามให้เกิดความสนใจในธรรมปฏิบัติอยู่เสมอ
    การที่เราเกิดความเบื่อหน่ายในธรรมปฏิบัตินี้เป็นการที่เราจะดำเนินไปไม่ได้นาน และจะเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก แต่เกิดความสังเวชในธรรมบางอย่างนั้นเป็นการดีเพราะจะเป็นประโยชน์แก่เราผู้ปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง แต่ถ้าเบื่อหน่ายในความชั่วไม่เป็นไร เพราะถ้าเบื่อหน่ายในความชั่วแล้วก็เร่งพยายามทำความดีต่อไป

    ปัจฉิมบท
    ในปี พ.ศ.2517 นับเป็นปีที่ 4 ที่ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้อยู่จำพรรษาที่วัดอรัญญวิเวกบ้านข่า แดนมาตุภูมิของท่าน ในพรรษานี้ใครเลยจะนึกว่า ท่านจะจากพวกเราไปอย่างไม่มีวันกลับ ก่อนเข้าพรรษาท่านเคยพูดเสมอว่า
    “ใครต้องการอะไรก็ให้เร่งรีบสร้างเอา คุณงามความดีทั้งหมดอยู่ที่ตัวของเราแล้ว ขันธ์ 5 นี้ เมื่อมันยังไม่แตกดับก็อาศัยมัน แตกดับแล้วก็อาศัยอะไรมันไม่ได้ ขันธ์ 5 ของหลวงตาก็จะดับแล้วเหมือนกัน”
    และบ่อยครั้งที่ท่านพูดว่า “ธาตุลมของหลวงตาได้วิบัติแล้ว บางครั้งมันเข้าไปแล้วก็ไม่ออกมา นานที่สุดจึงออกมา และเมื่อมันออกมาแล้วก็ไม่อยากจะเข้าไป”
    ท่านแสดงธรรมแต่ละครั้นนั้นนานมาก ท่านได้สงเคราะห์ทั้งวัตถุธรรมและนามธรรม ท่านได้ให้อะไรสารพัดอย่าง บางครั้งท่านได้หยุดในระหว่างเทศน์ เมื่อเทศน์จบลงแล้วท่านบอกว่า
    “ขันธ์ 5 จะดับแล้ว ธาตุลมวิบัติแล้ว” จึงได้กราบเรียนถามท่านว่า “ท่านหลวงตาไม่เหนื่อยหรือ?”
    ท่านบอกว่า “ขันธ์ 5 จะได้หยุดการแสดงธรรมเหมือนกัน แต่ถ้าจิตไม่หยุดมันก็หยุดไม่ได้ การแสดงธรรมเป็นหน้าที่ของเราเกิดมาเพื่อทำประโยชน์ทั้งนั้นได้ความดีแล้วก็ต้องทำความดี เพื่อความดีอีก คนเกิดมารู้จัก พุทโธ ธัมโม สังโฆ จึงจะเป็นคน ไม่ใช่สัตว์ เราต้องรู้จักพระธรรมให้ดีที่สุด” จึงจะเรียกได้ว่า พระมหาเปรียญ พระนักธรรม พระกรรมฐา
    เช้าวันที่ 19 กรกฎาคม 2517 ท่านฉันเช้าตามปกติแต่ก็ไม่มากนัก สังเกตดูอาการท่านเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียมากทีเดียว นับแต่เวลาเช้าไปท่านพักผ่อนเล็กน้อย แสดงธรรมตลอดแต่พูดเบามาก
    ขณะที่ท่านกำลังเทศน์อยู่นั้น มีพระภิกษุสามเณรจากต่างจังหวัดมาถวายสักการะและรับฟังโอวาท ท่านให้ลูกศิษย์ช่วยพยุงลุกขึ้นนั่ง เมื่อลุกขึ้นนั่งแล้วท่านพูดว่า “สังขารไม่เที่ยง หลวงตาเกิดมาก่อน ก็ต้องไปก่อนตามธรรมดา” ท่านเทศน์ประมาณ 15 นาที คณะสงฆ์นั้นก็ลากลับไป
    ขณะนั้นเวลาประมาณ 16 นาฬีกา ท่านเหนื่อยมากที่สุด พูดเบามาก ท่านบอกว่า “ลมวิปริตแล้ว ไม่มีแล้ว”
    จานกนั้นท่านได้ให้พรลูกศิษย์ว่า
    “พุทุโธ สุโข ธมฺโม สุโข สงฺโฆ สุโข จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ”
    แล้วท่านก็หัวเราะแล้วยิ้มให้ลูกศิษย์ อันเป็นลักษณะเดิมของท่าน แสดงว่าท่านมีอารมณ์ดี ไม่สะทกสะท้านต่ออาการที่เกิดขึ้น
    ในขณะนั้นมีท่านอาจารย์อุ่น ท่านอาจารย์วาน และพระภิกษุสามเณรหลายสิบรูปเฝ้าดูอาการของท่านด้วยความเป็นห่วงเป็นใย
    แม้ท่านจะเหนี่อยมาสักปานใดก็ตาม แต่ท่านก็ยังพูดอยู่เรื่อย ๆ ถึงเสียงจะเบา แต่ก็พอฟังรู้เรื่องว่า ท่านพูดว่าอะไร
    วาระสุดท้ายท่านพูดว่า
    “ธาตุในหลวงตาวิปริตแล้ว”
    จากนั้นท่านไม่พูดอะไรอีกเลยกิริยาอาการทุกอย่างสงบเงียบทุกคนแน่ใจว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้ถึงมรณภาพแล้ว เวลา 19 นาฬิกาเศษ ท่ามกลางสานุศิษย์ ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ด้วยความอาลัยยิ่ง แต่เชื่อมั่นเหลือเกินว่า ท่านได้ไปสันติสุขที่สุดแล้วสิริรวมอายุได้ 86 ปี

    **************

    ที่มาจาก http://www.larndham.net ขอบคุณอย่างสูงครับที่มาข้อมูลและประวัติหลวงปู่ครับ
    [FONT=Tahoma,] เหรียญหลวงปู่ตื้อ

    คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่


    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#e0e0e0" valign="top">[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>'หลวง ปู่ตื้อ อจลธัมโม' พระเกจิอาจารย์กัมมัฏฐานชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองไทย อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าอรัญญวิเวก ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ท่านเป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์แห่งพระป่า

    หลวง ปู่ตื้อ ยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่ขาว อนาโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนอง บัวลำภู และหลวงปู่สิงห์ สมิทธิวิจารย์ วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา อีกด้วย

    หลวงปู่ตื้อ ยังได้รับการยกย่องเป็นพระเกจิที่มีวิทยาคมรูปหนึ่ง

    ท่านมีนามเดิมว่า ตื้อ ปาลิปัตต์ เกิดในตระกูลชาวนา เมื่อวันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2431 ที่บ้านข่า ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

    อุปสมบท วัย 21 ปี ฝ่ายมหานิกาย เมื่อปี พ.ศ.2452 นาน 19 ปี มีหลวงปู่คาร คันธิโย เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุต มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ท่านได้ละสังขาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2517 สิริอายุ 86 ปี 65 พรรษา ภายหลังการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นสุดท้าย ก่อนกลับสู่มาตุภูมิได้ 4 ปี สร้างความเศร้าสลดแก่สาธุชน

    ทั้งนี้ ก่อนที่หลวงปู่ตื้อจะมรณภาพได้ 1 ปี ในปี พ.ศ.2516 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็น "เหรียญหลวงปู่ตื้อ รุ่น พ.ศ.2516" มีวัตถุประสงค์เพื่อไว้แจกจ่ายกำลังพลกองบัญชาการทหารสูงสุด

    เซียนพระเรียกขานเหรียญรุ่นนี้ว่า "เหรียญหลังบาตร"

    ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ แต่ไม่ทราบจำนวนที่จัดสร้างแน่ชัด

    ด้าน หน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ตื้อเต็มองค์ ห้อยลูกประคำนั่งท่าขัดสมาธิบนอาสนะ บริเวณอังสะตอกโค้ดตัว "ต" คล้ายเลข ๓ ไทย หมายถึง "ตื้อ" ด้านล่างสลักตัวหนังสือคำว่า "หลวงพ่อตื้อ อจลธมฺโม"

    ด้าน หลังเหรียญ มีเส้นสันขอบหนา ใต้หูห่วงมีชุดอัฐบริขาร ประกอบด้วย บาตร ร่ม และกาน้ำ ถัดลงมาสลักอักขระ 3 บรรทัด ใกล้ขอบเหรียญจากซ้ายไปขวาสลักตัวหนังสือคำว่า "วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านข่า ต.ท่าบ่อ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม"

    เหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่ตื้ออธิษฐานปลุก เสกเดี่ยว พร้อมเหรียญชนิดกลมรุ่นแรก ที่โรงเรียนจ่าอากาศดอนเมืองจัดสร้าง

    เหรียญรุ่นดังกล่าว มีพุทธคุณโดดเด่นครบรอบด้าน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง

    ราคาเช่าหาในปัจจุบันอยู่ระหว่าง 5,000-6,000 บาท ตามสภาพความคมชัด

    ปัจจุบันนี้วัตถุมงคลรุ่นนี้หาได้ยากแล้ว

    ขอบคุณข้อมูลอย่างสูงจากหนังสือพิมพ์ข่าวสดครับ
    [/FONT]

    เหรียญหลวงปู่ตื้อ อจรธัมโม วัดป่าอรัญวิเวก หนองคายพระอภิญญาสายหลวงปู่

    มั่นสหธรรมิกหลวงปู่แหวน หลวงปู่สิม ครับ สภาพเหรียญสวยเดิมๆคมชัดทุกเหรียญครับ

    ให้บูชาเหรียญละ 350 บาทครับ มี 10 เหรียญครับ

    จะถยอยลงให้ชมครับจองได้เลยครับ เหลือ 4 เหรียญครับ

    เหรียญที่ 1
    [​IMG] [​IMG]


    รับทราบการจองครับท่าน

    ขอบคุณครับ


    รับทราบการจองครับท่าน

    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2011
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    หลวงพ่อบุญมี(เม็ด)วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทรา

    รูปหล่อหลวงพ่อบุญมี(เม็ด)วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทราครับท่านเป็นพระอาจารย์ของ

    หลวงพ่อฟูวัดบางสมัครองค์หนึ่งครับ รูปหล่อท่านไม่ค่อยพบเห็นมากหนัก เนื่อง

    จากผู้ที่มีไว้ต่างเก็บไว้ครอบครอง สายฉะเชิงเทรา ทำให้หายากประสบการณ์

    มากส่วนกลางไม่ค่อยเป็นที่รู้จักครับวัตถุมงคลท่านกันพรายน้ำ แคล้วคลาด คง

    กระพันมีประสบการณ์มีคนตามเก็บกันเรื่อยๆครับเนื่องจากราคาบูชาไม่สูงมาก

    เมื่อเทียบกับวัตถุมงคลยุคใหม่ๆ....

    มี 3 องค์ครับลงก่อน1 องค์ความสวยเดิมๆเหมือนกันทุกองค์ครับเก่าเก็บหายากแน่

    นอนครับที่อื่นต้องหลักพันครับท่านเจ้าของเดิมเก็บไว้นานแล้ว

    (ปิดรายการ)

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2011
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    หลวงปู่เจียม วัดหนองยาว สุรินทร์

    เหรียญหลวงปู่เจียม หลังพระแก้วครับ พระหลวงปู่มีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์

    แน่นอนครับเหรียญสวยเดิมๆครับ รุ่นนี้วปรอ.สร้า้งถวายครับ

    (ปิดรายการ)

    [​IMG] [​IMG]


    เหรียญหลวงปู่เจียม 30 ปีพลังชีวิตมิตรประชา มี 2 เหรียญครับ

    (ปิดรายการ)
    เหรียญที่ 1



    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] __________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2012
  16. ฉันทปาโล

    ฉันทปาโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +677
    ขอจองบูชาเหรียญหลวงปู่ตื้อ ๒ เหรียญครับ
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

    [​IMG]





    พระโพธิญาณเถร นามเดิมว่า ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ ๙ ตำบลธาตุ อำเภอ วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี ตามประวัติท่านมีจิตฝักใฝ่ธรรมมาแต่เด็กบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อเดือนมีนาคม ๒๔๗๔ ได้ ๓ พรรษา แล้วก็ลาสิกขาอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ออกศึกษาปริยัติต่างถิ่นโดยเริ่มที่วัดสวนสวรรค์ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี การที่ท่านบวชแต่เยาว์วัยยังผลให้ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนทางโลกเพียงแค่ชั้นประถมปีที่ ๑
    หลวงพ่อชาเป็นผู้สนใจธรรมมาก ท่านมีความปรารถนาอยากรู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระพุทธองค์ จึงเริ่มศึกษาธรรมจากสำนักต่าง ๆ หลายสำนักระยะแรกในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๖ ศึกษาปริยัติธรรมกับพระมหาแจ้ง วัดเค็งใหญ่ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี และพระครูอรรถธรรมวิจารณ์ วัดหนองหลัก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ปี ๒๔๘๖ เมื่อโยมบิดาถึงแก่กรรม หลวงพ่อชาสิ้นภาระห่วงใย มองเห็นความเป็นอนิจจังของชีวิต หลังจากสอบนักธรรมเอกได้เกิดเบื่อหน่ายด้านปริยัติ พิจารณาว่าไม่ใช้ทางพ้นทุกข์ ประสงค์จะศึกษาด้านวิปัสสนาธุระบ้าง จึงออกธุดงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อค้นหาอาจารย์ที่จะสอนด้านวิปัสสนาธุระ โดยระยะแรกมุ่งหน้าไปจังหวัดสระบุรี-ลพบุรี ที่ลพบุรีมุ่งตรงมาที่สำนักวัดป่าของหลวงพ่อเภา แต่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเภามรณภาพเหลือแต่อาจารย์วันลูกศิษย์ จึงได้แต่ศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติที่หลวงพ่อเภาวางไว้ และจากอาจารย์วัน อาจารย์ที่สำคัญอีกองค์หนึ่ง คืออาจารย์ชาวเขมร (ซึ่งธุดงค์จากเขมรมาไทย และมุ่งไปพม่า) เป็นผู้วางหลักแนวทางปฏิบัติโดยใช้หนังสือ บุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา ซึ่งแต่งโดยพระอมรมภิรักขิต (เกิด) ในคณะธรรมยุตินิกาย หลวงพ่อชาจึงได้ใช้หนังสือบุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในวัดหนองป่าพงและสาขามาจนทุกวันนี้
    ปี ๒๔๙๐ หลังจากจำพรรษาที่เขาวงกต อยู่ได้หนึ่งพรรษา ได้ทราบข่าวว่าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) เป็นผู้มีคุณธรรมสูงทั้งเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระ มีประชาชนเคารพเลื่อมใสมาก จึงเดินทางมาที่วัดหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครวันแรกย่างเหยียบเข้าสำนัก เห็นบริเวณร่มรื่น ปฏิปทาของพระภิกษุเคร่งครัดเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หลวงปู่มั่นได้เทศนาสั่งสอนเกี่ยวกับหลักธรรม อาทิศีลนิเทศ ปัญญานิเทศ พละ ๕ อิทธิบาท ๔ ให้แก่หลวงพ่อชาและศิษย์จนเป็นที่พอหายสงสัย สิ่งที่น่าสังเกตคือหลวงปู่มั่นไม่มีความคิดที่จะให้หลวงพ่อชาแปลงนิกายเป็นธรรมยุติกาย ท่านให้ข้อชี้แจ้งเป็นปรัชญาคมคายว่าในความเป็นภิกษุที่แท้จริงไม่ได้มีนิกาย ทั้งหมดคือพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ดังคำกล่าวของหลวงปู่มั่นต่อหลวงพ่อชาว่า “ ไม่ต้องสงสัยนิกายทั้งสอง ” หลังจากฟังเทศน์จากหลวงปู่มั่น หลวงพ่อชามีจิตอิ่มเอิบ เป็นสมาธิ และได้ยึดคำสอนปฏิปทาของท่านไว้เป็นแนวปฏิบัติต่อไปองค์ที่ตรัสว่า “ ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก ” ดังนั้นไม่ว่าจะทำกิจวัตรอันใด เช่น กวาดวัด จัดที่ฉันล้างบาตร นั่งสมาธิ ตักน้ำ ทำวัตร สวดมนต์ เดินจงกรม ในระหว่างวันพระถือเนสัชชิไม่นอนตลอดคืน หลวงพ่อชาลงมือทำเป็นตัวอย่างของศิษย์โดยถือหลักว่า “ สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนพูด พูดเหมือนทำ ” ดังนั้นศิษย์และญาติโยมจึงเกิดความเลื่อมใสเคารพยำเกรงในปฏิปทาที่หลวงพ่อดำเนินอยู่
    ในระยะแรกของการมาอยู่ป่าพงค่อนข้างลำบาก ชาวบ้าน ญาติโยมผู้ศรัทธาเข้ามาสร้างวัดเป็นกระท่อมเล็ก ๆ ให้ได้อาศัย ไข้ป่าชุกชุม เพราะเป็นป่าทึบ เมื่อเจ็บป่วยยารักษาก็หายาก โยมอุปัฏฐากยังน้อย อาหารการกินฝืดเคือง แต่กระนั้นหลวงพ่อก็ไม่เคยออกปากของญาติโยม แม้จะเลียบเคียงก็ยังไม่ยอมทำ ปล่อยให้ผู้พบเห็นพิจารณาด้วยตนเอง เดือนต่อมาเกิดสำนักชีขึ้นที่วัดเพื่อสนองคุณต่อโยมมารดาให้ได้ปฏิบัติธรรม โยมแม่พิมพ์จึงเป็นแม่ชีคนแรกของวัดหนองป่าพง และมีแม่ชีติดต่อกันมาถึงปัจจุบันเป็นจำนวนมากและทางวัดมีการแบ่งเขตสงฆ์เขตชีไว้เรียบร้อยไม่ก้าวกายปะปนกัน
    วัดหนองป่าพงได้รับอนุญาตให้สร้างในปี ๒๕๑๓ ปี ๒๕๑๖ หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงและได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “ พระโพธิญาณเถร ” ปี ๒๕๑๙ สิ้นเงิน ๕ ล้านบาท ปี ๒๕๒๐ ได้เดินทางไปประกาศสัจธรรมในภาคพื้นยุโรปเป็นครั้งแรกปี ๒๕๒๒ ได้เดินทางไปอังกฤษ อเมริกา คานาดา เพื่อประกาศสัจธรรม เป็นครั้งที่ ๒
    ปี ๒๕๒๕ หลวงพ่อชาอาพาธ เป็นโรคเกี่ยวกับสมอง มีอาการเวียนศีรษะความจำเสื่อม จนต้องผ่าตัดสมอง หลังจากการผ่าตัด ท่านไม่สามารถพูดได้เคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องอาศัยพระภิกษุในวัดช่วยปรนนิบัติเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด การบริหารวัดทั้งหมดมอบให้อาจารย์เหลื่อมเป็นผู้รักษาการแทน
    หลวงพ่อชาถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๖

    ขอขอบคุณข้อมูลและที่มาอย่างสูงครับ จากเวป


    http://www.kanlayanatam.com/special/Bio_LP_Cha.htm

    พระสมเด็จและพระผงกลีบบัวหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง อุบลราชธานีสายหลวงปูมั่นอีกท่านครับบารมีท่านมากศิษย์ชาวต่างชาติเยอะมากครับ วัดไทยมี

    ทั่วโลกสาขาวัดหนองป่าพงหลวงพ่อท่านสร้า้งพระหลายรุ่นอยู่ครับมีทั้งที่บันทึก

    และไม่บันทึกครับรุ่นนี้ก็เป็นอีกรุ่นที่มีการเช่าบูชากันตลอดอัตราบูชาไม่สูงครับ มี

    6
    คู่สภาพสวยเดิมๆทุกองค์ครับ

    ให้บูชาเป็นคู่ 2 องค์ 300 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2011
  18. ปัญจ

    ปัญจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    27,337
    ค่าพลัง:
    +88,031
    เหรียญหลวงปู่ตื้อ อจรธัมโม วัดป่าอรัญวิเวก หนองคายพระอภิญญาสายหลวงปู่
    มั่นสหธรรมิกหลวงปู่แหวน หลวงปู่สิม ครับ สภาพเหรียญสวยเดิมๆคมชัดทุกเหรียญครับ
    ให้บูชาเหรียญละ 350 บาทครับ มี 10 เหรียญครับ

    จองสองเหรียญครับ
     
  19. ปัญจ

    ปัญจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    27,337
    ค่าพลัง:
    +88,031
    โอนแล้วครับ เข้า บ/ช ปลายทาง 17.30 น. แจ้งที่อยู่ใน pm ครับ
    750JbA0804.png
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    จัดส่งวันนี้ทุกท่านครับพรุ่งนี้ได้รับครับ

    EG 8765 9579 1 TH ชลบุรี

    EG 8765 9580 5 TH สามเสนใน

    EG 8765 9581 4 TH ลาดกระบัง

    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...