ฌาน เเปด มีเอาไว้ทําอะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นราสภา, 2 มีนาคม 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ขอบคุณครับที่พัฒนาเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการอ่านที่ง่ายและสะดวกแถมสบายตากว่ากันเยอะกับอันเก่า

    ยึ๋ย...มิฉาทิฐิ มันครองไว้แน่นจนมองไม่เห็นคงไม่ใช่ครับ
    เพียงแต่เห็นแล้วก็รู้ว่ามี ปปข (ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข)ในส่วนที่ตนถูกตำหนิ ก็ดีแล้วครับ

    หากการกระทำของน้องที่พยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขนี้ เกิดขึ้นจากจิตสำนึกของน้องเอง ผมขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ
    เรื่องแค่นี้ยังทำได้ประสาอะไรกับเรื่องยากๆกว่านี้ เป็นกำลังใจให้ครับ

    แต่คนถ้าจะคิดไปไกลกว่านี้ เราเห็นคนกวาดขยะช่วงเวลาตี 2 ในขณะที่คนทิ้งกำลังหลับปุ๋ยอยู่เลย เราคงไม่เข้าไปชมเชยเขา เพราะเราก็ไม่มีเวลามากเช่นกัน ทางที่ดีสู้เราไม่ทิ้งขยะจะเป็นการขอบคุณอีกทางเลยเนาะ...

    เอาเข้าประเด็นเลยดีกว่านะ ฌาน มีไว้เพื่อระบุหรือแสดงสภาวะเทียบเคียงของผลการปฏิบัติ แต่จุดประสงค์สูงสุดคือเป้าหมายของ "ความหลุดพ้น" ต่างหากนะจ๊ะ หากการสอบถามเป็นเพื่อความรู้อันที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น อาจจะพ้นได้จริงแต่ไม่ถาวรสุดท้ายก็กลับมาไม่เที่ยงอยู่ดี ต่างจากการทำได้เองแม้จะไม่ได้รู้ในบางส่วนแต่ก็สามารถเบาโล่งได้เช่นกัน
    ก็แล้วแต่ว่าน้องตั้งเป้าไว้อย่างไรเนาะ ส่วนจะตอบก็คงตอบไม่ได้เพราะค่อยสนใจเรื่องเหล่านี้มากนัก ขอไม่ตอบดีกว่านะครับ..

    ปฏิบัติไปเถอะครับอย่างน้อยก็ถือว่าได้ทำแล้วล่ะ
    ส่วนใครจะทำไปเพื่อเก็บ หรือทำไปเพื่อวางก็เป็นเรื่องแต่ละคนก็แล้วนะครับไม่ว่ากันไม่ถูกไม่ผิด มีแต่จริงกับไม่จริง

    อนุโมทนาในการปฏิบัติครับ :cool:
     
  2. ToPiCaL

    ToPiCaL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,475
    ค่าพลัง:
    +4,585
    ตามที่ผมเข้าใจ ฌานแต่ละฌานก็เป็นลำดับของสมาธิอ่ะครับ
    4 ฌานแรก ยังมีรูป 4 ฌานหลังละรูป ไม่มีรูปแล้ว
    พระพุทธองค์แยกไว้ละเอียดมาก แต่เวลาปฏิบัติจริงๆ เราก็ไม่ได้สนใจว่าอยู่ระดับไหน
    เพราะตอนอยู่ในสมาธิเราจะคิดไม่ได้
    เอาเป็นว่าเรามาทำจิตให้สงบกันครับ ถึงเวลาได้ก็ได้เอง แล้วค่อยๆไปตามลำดับความสงบ

    ขอทุกท่านเจริญในธรรมครับ
     
  3. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ตอบได้

    ตอบได้น่ารัก กว่าที่คิดไว้มากเลยเจ้าค่ะ น้องว่า -สติ- ของพี่นี่ เวลาหลุดไปก็คงห่างจากกายไม่เกินคืบ เป็นเเน่ ขอบคุณมากมายเจ้าค่ะ:cool::cool::cool:
     
  4. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ขอบคุณค่ะ

    ขอบคุณในคําตอบ มากมายเจ้าค่ะ--4 ฌานแรก ยังมีรูป 4 ฌานหลังละรูป ไม่มีรูปแล้ว
    พระพุทธองค์แยกไว้ละเอียดมาก แต่เวลาปฏิบัติจริงๆ เราก็ไม่ได้สนใจว่าอยู่ระดับไหน
    เพราะตอนอยู่ในสมาธิเราจะคิดไม่ได้
    เเล้วทําไม สี่ฌาน หลังถึงไม่ค่อยได้รับความนิยมล่ะค่ะ หาศึกษาได้ ยากจังเลย
     
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ฌานแปดก็เหมือนนิพพานกว่าฌานสี่
    คือคล้ายดับตัวตนไปด้วยแต่ยังไม่ได้ดับจริง เรียกสมาบัติแปด
    เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นโลกียฌาน
    คล้ายดับสัญญาแต่ไม่ได้จริง

    ส่วนนิโรธสมาบัติ (สัญญาเวทยิตนิโรธ) เป็นโลกียฌานกึ่งโลกุตตระฌาน เป็นผลญาณของพระอริยะขั้นพระอนาคามีผู้คล่องฌานขึ้นไปค่ะ

    เนวสัญญานาสัญญายตนะ
    คำแปล
    น. ตามศัพท์แปลว่า จะมีสัญญาหรือไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่; เป็นชื่ออรูปฌานที่ ๔, ในการนำจิตเข้าสู่สมาธิ จิตจะรวมตัวเข้าเป็นลำดับ คือปล่อยวางอารมณ์ที่หยาบเรื่อยไป ตั้งแต่จิตเข้าภวังค์จนกระทั่งเข้าถึงฌานที่ ๑-๒-๓-๔ ซึ่งยังเป็นรูปฌาน คือ จิตยังยึดรูปเป็นอารมณ์อยู่ เสร็จแล้วผู้ทำสมาธิจะเพ่งอารมณ์ที่เป็นรูปนั้นจนเห็นเป็นของว่างไม่มีรูป ตั้งแต่นี้ไปเป็นอรูปฌาณที่ ๑-๒-๓-๔ ชั้นที่ ๔ นี้เอง ที่จิตปล่อยอารมณ์ทั้งหมดแล้ว อยู่ในความว่างจะว่ามีสัญญา (ความจำ) ก็ไม่ใช่ เพราะจิตในขณะนั้นไม่ได้รำลึกอดีตเลย จะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เพราะจิตขณะนั้นรู้ตัวอยู่.


    (๑) ผู้ที่ได้อากิญจัญญายตนฌานแล้ว เจริญสมถภาวนต่อเพื่อให้ได้มาซึ่ง เนว สัญญานาสัญญายตนฌานก็ดี หรือผู้ที่ได้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว จะเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอีกครั้งใดเมื่อใดก็ดี จะต้องมีอากิญจัญญายตนกุสลจิต หรือกิริยาจิตที่เคยเกิดแล้วแก่ตนนั้นเป็นอารมณ์<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    (๒) ติเหตุกปุถุชนก็ดี ผลเสกขบุคคลก็ดี ผู้เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ลาภีบุคคลเข้าฌาน เพื่อให้เนวสัญญานาสัญญายตนกุสลเกิด ก็มีอากิญจัญญายตน กุสล ที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์<O:p></O:p>
    (๓) เมื่อบุคคลใน (๒) ตายไป ก็ไปบังเกิดเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิต สถิตในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจนี้ ก็มีอากิญจัญญายตนกุสล ที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพก่อนนั้นเป็นอารมณ์<O:p></O:p>
    ตลอดจนเนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก ที่ทำหน้าที่ภวังคกิจ และจะทำหน้าที่ จุติกิจต่อไปนั้น ก็มีอากิญจัญญายตนกุสลที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพก่อนเป็นอารมณ์ เช่นเดียวกัน<O:p></O:p>
    (๔) เมื่อบุคคลใน (๒) ยังไม่ตาย เจริญวิปัสสนาภาวนาต่อไปจนบรรลุ อรหัตตมัคค อรหัตตผล เป็นอเสกขบุคคล คือเป็นพระอรหันต์แล้ว เข้าเนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเนวสัญญานา สัญญายตนกิริยา (ไม่ใช่กุสล เพราะขณะนี้เป็นพระอรหันต์แล้ว) เนวสัญญา นาสัญญายตนกิริยานี่แหละ มีอากิญจัญญายตนกุสลที่เคยเกิดแล้วแก่ตนในภพนี้เป็น อารมณ์<O:p></O:p>
    (๕) พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีบุคคล เข้าอากิญจัญญายตนฌาน เมื่ออากิญ จัญญายตนฌานเกิด ก็เป็นกิริยาจิต แล้วเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานต่อไป ฉะนั้นเนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิตที่เกิดขึ้นนี้โดยมีอากิญจัญญายตนกิริยาจิต ที่ เคยเกิดมาแล้วแก่ตนในภพนี้เป็นอารมณ์

    http://www.abhidhamonline.org/aphi/p3/039.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2011
  6. bigboom007

    bigboom007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    319
    ค่าพลัง:
    +570
    ถ้าสนใจเรื่องการปฏิบัติสมาธิจิงๆ ลองไปหา ปฏิปทาท่านผู้เฒ่ามาฟังคับ
     
  7. ToPiCaL

    ToPiCaL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,475
    ค่าพลัง:
    +4,585
    ผมว่าน่าจะเป็นที่อัชฌาสัยนะครับ เป็นจริตของคนที่บำเพ็ญมาว่าบำเพ็ญมาขนาดไหน
    เหมือนบอกว่าเป็นพระพุทธเจ้าดีไหม คำตอบก็คือดี
    แต่ว่าทุกคนทำได้ไหม คำตอบก็คือ ไม่ได้ แล้วถ้าจะทำทำได้ไหม
    คำตอบก็คือได้ แต่คำถามต่อมาคือ แล้วจะทำไหม อันนี้แต่ละคนก็ต้องตอบเอง
    ว่ากำลังใจตัวเองมีมากแค่ไหน สุดท้ายสำเร็จได้ด้วยใจ

    พระอรหันต์ยังแบ่งเป็น 4 แบบ ตั้งแต่ไม่มีฤทธิ์ ถึงมีฤทธิ์
    พระพุทธเจ้าก็ยังแบ่งเป็นสามประเภท ตามการบำเพ็ญบารมีมา
    ก็ขึ้นอยู่กับจริตครับผมว่านะ
     
  8. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    เรียนถาม พี่ ปุณท์

    ฌานแปดก็เหมือนนิพพานกว่าฌานสี่
    คือคล้ายดับตัวตนไปด้วยแต่ยังไม่ได้ดับจริง เรียกสมาบัติแปด
    เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นโลกียฌาน
    คล้ายดับสัญญาแต่ไม่ได้จริง
    งั้นถ้าเรา วางจิต หรือตัวกําหนดรู้ลงได้เร็วเเค่ไหน ก็เท่ากับว่าเราจะเข้า-ออก ได้คล่องขึ้นตามไปด้วยใช้ไหมเจ้าค่ะ
    ยกตัวอย่างเช่น เวลา เราจะเข้าฌาน 1-4 ต้องมีตัวกําหนดรู้ เพื่อกํากับขอบเขตของจิตเอาไว้ พอผ่านเข้าไปเรื่อยๆ ตัวกําหนด ก็ ค่อยๆหายไปทีละตัว ทีละตัว เเล้วพอจิตมันว่างจนไม่เหลือ ตัวกําหนดให้ล่วงรู้ได้เลย ปล่อยตามความ ว่าง นั้นไปเรื่อยๆ โดยไม่เอา ตัวกําหนดรู้นั้นกลับมาอีก ปล่อยไปเรื่อยๆ หยุด เรื่องการตามดู ตามรู้ หยุดทุกอย่าง เเบบนี้จิตจะขยับเข้าไปที่ไหนก่อนค่ะ จะเข้า ฌาน ห้าไปเลยหรือว่า ต้องผ่านอะไรก่อน ช่วงรอยต่อตรงไหน ในสมาธิ ที่จะทําให้เรารู้ว่าผ่าน เข้า ฌาน ห้าไปเเล้วค่ะ ตรงไหนที่เเสดง ออกมาให้เรากําหนดรู้ว่าผ่านเข้ามาเเล้วค่ะ
    กราบเรียนถาม ขอความรู้เจ้าค่ะ ไม่ได้ขอปล่าวๆนะค่ะ มี ศีลข้อ5 มาเเลกด้วย เดี๋ยวเเผ่ให้คืนนี้
     
  9. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ขอบคุณในคําตอบมากมายเจ้าค่ะ

    ลองมาเยอะเหมือนกันเจ้าค่ะ เเต่ก็จะขอลองไปเรื่อยๆ ขอบคุณค่ะ :cool::cool::cool:
     
  10. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ขอบคุณค่ะ

    กําลังใจ มีพอประมาณ เเต่ความสงสัย นี่สิค่ะ ปริม อกไปหมด
     
  11. ToPiCaL

    ToPiCaL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,475
    ค่าพลัง:
    +4,585
    จริงเลยคับ ผมก็เป็น ตัวสงสัย 1 ในนิวรณ์ 5 เลย เป็นอวิชชา คือความไม่รู้
    แต่ผมว่ามันก็มีกันทุกคนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
    แต่ตอนนี้ก็ทำแบบหลวงตาบัวพูดอ่ะครับ ทำๆไปเถอะ มันจะเต็มก็เต็มเอง
     
  12. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ตัวสงสัย หนึ่ง ในนิวร ห้า

    ตัวสงสัย หนูว่าตัวนี้สําคัญ มาก เพราะโครงสร้างหลักๆของมัน เต็มไปด้วยพลังงานขับเคลื่อนทางจิต บางทีเคยคิดว่าถ้าเอาออกไปเเล้ว เรายังจะเหลือ พลังพอจะขับดันให้เดินไปข้างหน้าได้ไหม
    ตัวสงสัย ตัวนี้เเหล่ะค่ะที่น้องยึดไว้โดยตลอด ยิ่งเวลา ยํ่าอยู่กับที่ นี่ยิ่งเเล้วกันไปใหญ่ ทั้งเบื่อ ทั้งงง ทั้งอยากเลิก เเต่พอเปลี่ยนเอา ตัวสงสัย บวกเข้าไปค่อยพอจะมีเเรงขึ้นมากะเขา ขึ้นมาหน่อย
     
  13. ToPiCaL

    ToPiCaL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,475
    ค่าพลัง:
    +4,585
    งั้นเรา มากำหนดอะไรที่มันง่ายกว่าฌาน 8 กันก่อนดีไหมครับ
    เอาพื้นฐานดูลมหายใจธรรมดาก่อนก็ได้ ทำให้คล่องก่อน
     
  14. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    สอบถาม

    ขอสอบถามด้วยความเคารพ อย่างยิ่ง
    ทําไมหลายๆคนในที่นี้ถึงคิดว่า น้อง ต้องเริ่มใหม่ อะไรทําให้คุณพี่คิด คิดว่าน้อง ต้องกลับไปเริ่มที่ ก ไก่ อีกรอบ
    เรียนสอบถามเจ้าค่ะ ว่าใช้อะไรเป้นตัวตัดสิน
     
  15. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    เรื่องเเปลกที่ไม่น่าเกิด

    ขอความข้างต้นนี้ เป็นข้อความที่เเปลก ประหลาด อย่างนึง เมื่อใดก็ตามที่เริ่มมีการเเลกเปลี่ยน สทนาพูดคุยในหัวข้อนั้นๆ ก็จะมีผู้มี ภูมิ เข้ามาร่วมตอบมากมาย เเต่ มีบุคคลอยู่ประเภท นึง ที่พอเข้ามาตอบ ก็ตอบเเบบ กึ่งๆ ครึ่งทาง ซ้ายบ้างขวาก็มี ไม่ค่อยจะตรงลู่ตรงทางในคําถามสักเท่าไร พอเราเริ่มสทนา มีการเเลกเปลี่ยน เหตุเเละผล เบาบ้างหนักบ้าง ตามเเต่ จริต ที่ตนยึดกันไว้ บางคนก็ดีตอบเเบบผู้รู้จริงๆ บางคนก็ตอบเเบบ เหมือนไม่ได้อ่านหัวข้อเท่าไร เอาดูเเต่ชื่อเข้าว่า คนนี้น่าตอบก็ตอบ คนนี้ กวนทีน ก็ตอบอีกเเบบ คนนี้ พวกกัน ก็ตอบก็สนับสนุนกันไป ตามเรื่องตาม ราว หากใครไม่ใช้พวกตน เเถมดูรุงรังวุ่นวาย ก็จะตอบกันไปในเเบบที่ เห็นๆกัน น้องเองก็พยายามทําใจให้อยู่ ในธรรมให้ได้สูงที่สุด เท่าที่จะทําได้เพื่อประโยชสุขของตนเเละส่วนร่วม เเละเลยไปจนถึงผู้ที่เข้ามาศึกษา เเต่ในบางครั้งก็ยังมีเพื่อนสมาชิก บางท่านตอบเหมือนนั่งทางใน เเล้วเห็นตัวตนของคู่สทนา มีการตัดสิน มีการวิเคราะเเละประมวลผลเเบบสําเร็จรูปโดยที่ตัวคนตอบเองก็มิได้เห็นมิได้รู้จักคู่สทนาเเต่อย่างใด เเล้วทําไมคําตอบของเขาเหล่านั้นสเหมือนได้พบปะพูดคุยใช้ชีวิตร่วมกันมาเป็นสิบปี บางคนรู้เเม้กระทั่ง คนนั้นเพ้อเจ้อ คนนี้ ฌาน สองยังเข้าไม่ได้ ปัญญาทางธรรมเเค่หางอึ่ง ยังจะมา ถามถึงฌานเเปด เพ้อเจ้อไร้สาระ

    หากว่าจะวิเคราะกันด้วยวิธีการสทนา หรือรูปภาพที่โชอยู่ข้างๆ อันนั้นก็ยิ่งไปกันใหญ่ เห็นบางคนเข้าไปตอบนั้นตอบนี่ ในหลายๆกระทู้ ก็ยิ่งเพิ่มความสงสัย ว่าท่านกล้าไปสอนเขาได้ยังไง มือถือสาก ส่วนปากก็ดูเหมือนจะถือ ในศีล ในธรรม ยังไงซะเรื่องการตัดสิน สภาวะ รอบตัว
    ก็คงเป็นเอก มาก่อนสิ่งใดเป็นเเน่ เพราะการเริ่มต้นปฏิบัติตาม หลักคําสอนของ พระสัมมาสัมพุธเจ้า ท่านก็ทรงบอกทรงสอน ในเรื่องของความเชื่อ ในเรื่องของ ทิฐิ ส่วนตนเป็นข้อเเรกๆ เเต่เหตุฉไหนเลยคําตอบถึงออกมาเเปลกๆ เหมือนเป็นคําสอน กึ่ง ดูเเคลน เเละปนด้วย ทิฐิ ส่วนตัวเยอะกว่าคําถามที่ได้ถามเอาไว้ เบื้องต้น
    ด้วยสาเหตุนี้เอง น้องถึงเกิดคําถาม เเบบที่ต้นกระทู้ได้ว่าเอาไว้ขึ้นมา เเล้วเชื่อไหมเจ้าค่ะหลังจากน้องถามคําถามนี้ออกไป ยังไม่เคยมีผู้ใดตอบตามนั้นซักที

    บางคนก็เลี้ยวไปเรื่องอื่น บางคนก็สอบถามกลับมาคนละประเดนกับคําตอบ บางคนไม่รู้จะไปทางไหน ก็เอารูปขึ้นมาเป็น คติธรรม รึป่าวไม่รู้ รู้เเต่ว่า ทําไมน๊าเขาถึงไม่ตอบกันเเบบปกติ หรือจะเป็นเพราะว่า ความรู้ที่มีมาอวดนั้นเป็นเพียงเเค่เปลือก หาใช้สิ่งที่ตัวเองเข้าไปค้นไม่ ฟังมา อ่านมา ศึกษามา เเต่ไม่เคยนํามาใช้จริงๆ ได้เเต่โอ้อวดไปตามนํ้า ตามลําธาร เเล้วยังงี้คนที่เข้ามาศึกษากันจริงๆ มิต้องเลี้ยวออก คลองเเสนเเสบ เเล้วยิงยาวเข้าเจ้าพระยา ไปโผล่อีกที สมุทรปราการนู้นหรอ เจ้าค่ะ

    กว่าจะรู้ตัว กว่าจะเลี้ยวกลับทันก็เลยออกไปอ่าวไทย ลงอ่าวตังเกี๋ยไปเเล้ว

    ขอเถอะค่ะไม่รู้ ไม่ถึง ก็อย่าเเสดงเสเเสร้งว่ารู้ว่าถึง หากตอบไม่ได้ก็มาหาคําตอบร่วมกันก็ไม่มีใครเขาว่าอะไร หรือว่าถือดีว่าอยู่มานาน จํานวนการ โพส ข้าเยอะข้าเจ๋งถามอะไรข้ารู้ถามอะไรข้าตอบได้ ชาวพุธเราไม่ใช้ อัปดุล นะเจ้าค่ะจะได้รู้ว่าเเบงพันในกระเป๋าใครมีเท่าไร มีกี่ใบ อย่าคิดไปเอง อย่าประเมินสิ่งที่เห็นด้วยตา ถึงจะจับต้องมาเเล้ว ชิมมาเเล้ว กลืนลงท้องไปเเล้ว ก็ตาม หลักธรรมพื้นฐานง้ายๆเเค่นี้ท่าน ยังไม่เข้าใจ เเล้วยังดันทุรังไปสอนชาวบ้านเขาอีก ไม่กลัวคนที่เขา ถึง จริงๆมาอ่านหรือค่ะ ไม่อายเขาหรือค่ะ ส่วนบางคน อ่านเยอะข้อมูลเยอะ หาเก่ง เปิดกรูเกิลเเปปเดี๋ยวก็ได้คําตอบ คนเเบบนี้ ยังน่ากราบน่าไหว้กว่าเป็นไหนๆ ไม่รู้ ไม่เเน่ใจ จําไม่ค่อยได้ หรือไม่ชัดเจน เปิดหาข้อมูลมาอ้างอิง เเบบนี้สิค่ะถึงจะเรียกตัวเองได้ว่าเป็นผู้ พร้อมในธรรมถึงจะไม่สมบูรณ์เต็มร้อยก็ตาม เเต่ก็ยัง พอที่จะไปโพสตอบใครๆเขาได้อย่างไม่อาย เเถมได้บุญเป็นของเเถมอีกตางหาก ใครอ่านมาถึงตรงนี้ ก็ลองย้อนกลับไปอ่าน ตั้งเเต่กระทู้ที่หนึ่งดูก็ได้ ว่าใครเป็นใคร

    ด้วยความเคารพอย่างสูง ขอบคุณค่ะ หวังว่าคงจะไม่มีใครร้อนตัวหนีหายไปเฉยๆ เพราะเพชรเเท้เขาไม่กลัวไฟกันหลอกเจ้าค่ะ (k)(k)(k)(k)
    ขออนุญาติ นําบทความบางท่อนบางตอนที่เข้าไปอ่านเเล้วรู้สึกเห็นดีเห็นงามไปด้วย ยืมมาจากกระทู้ อื่นค่ะ ขออนุญาติ นะค่ะ
    การจะยึดถือ ท่านผู้ใดเป็น ครูอาจารย์ในทางธรรม ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ด้วยหากเราไปเพียรปฏิบัติกับท่านที่ไม่รู้จริง ประเภท ปริยัธิจนเต็มพุง ปฏิบัติไม่เคยเพียร ดีแต่สอนคนอื่น ไม่เคยเพียรอบรมรมตน ก็จักทำให้ผู้มาเป็นลูกศิษย์ เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ดีไม่ดีพาเข้ารก เข้าพง หาบกิเลสมาเผาหัวใจอีกต่างหาก
    เมื่อเป็นเช่นนี้ น้องก็ขอเลือก กราบ ครู อาจารย์ ที่สมควรกราบ เพื่อเป็นประโยชต่อตัวเองเเละส่วนร่วม หากท่านใด ที่น้องมิได้ กล่าวถึงหลังจากนี้ เเละต่อๆไป ก็มิใช้ ไม่นับถือเพียงเเต่เล็งเห็นถึง กาลข้างหน้าว่าคงจะไม่ดีเป็นเเน่ ถึงน้องจะเป็นคนง้ายๆ อะไรก็ได้ เเต่ก็ขอเลือกสักนิดก็คงจะดีไม่น้อย ขอบคุณค่ะ ด้วยความเคารพอย่างสูง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2011
  16. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ขอเรียนสอบถามพี่ จริงนะ

    งั้นก็เท่ากับว่า ในอรูปฌาน นั้น เราไม่สามารถนํามาใช้เพื่อ พิจารณาธรรมได้ ถูกต้องไหมเจ้าค่ะ
    ถ้ายั้งงั้นเวลาเราต้องการเข้าไป พิจารณา เรื่องของ อนัตตา ควรใช้สมาธิระดับไหนถึงจะเหมาะสมเเละเข้าถึงในหัวข้อ อนัตตาได้มากที่สุด เจ้าค่ะ หรือว่าใช้
    ขณิกสมาธิ ก็ได้ค่ะ
    ขอบคุณล่วงหน้าเจ้าค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2011
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692

    จิตบังคับบัญชาไม่ได้ค่ะ เป็นไปตามสภาวะของเขาเอง
    อยากให้เป็นเช่นนั้นเช่นนี้ไม่ได้ ส่วนการตามรู้นี่ก็คือตามดูในสิ่งมี่เขาเป็นไม่แทรกแซง ก็จะเห็นว่าธรรมชาติของจิต(ความคิด)มีแปรปรวน ไม่เที่ยง และดับไป

    ที่จริงจิตเกิดและดับลงรวดเร็วมาก เพียงแต่สือต่อกันอย่างรวดเร็วมากเช่นกัน วิถีจิตในความคิดหนึ่งๆ ก่อนจะเปลี่ยนความคิดก็มีจิตเกิดดับแล้วมากมายโดยอาศัยกระแสของความคิดตัวเก่าสืบเนื่องมา จนกว่าจะมีเหตุปัจจัยใหม่เข้าไปเปลี่ยนความคิด ซึ่งอาจสืบเนื่องจากความคิดเดิมโดยสัญญาหรืออะไรก็ดี หรือเกิดความคิดอื่น เช่นเกิดไปมองเห็นอะไรเข้าและเกิดปรุงไปอีกเรื่อง

    การจะมีจิตสติหรือจิตผู้รู้ หรือกำหนดรู้ตามจิตที่ปรุงไป ยากพอสมควรถึงยากมาก เพราะการคิดว่าคิดรู้ คิดว่ารู้อีกคิด ก็ไม่ใช่จิตสติ เป็นจิตสังขารคือจิตปรุงว่ารู้ การกำหนดรู้เฉยๆ เพราะทันความคิดปรุง แรกๆ อาจมีความคิดพิจารณาเข้ามาด้วย (โดยเฉพาะสายปัญญา) ความคิดปรุงนี้ ไม่ใช่ปรุงไปทางฟุ้งซ่านตามกิเลส แต่เกิดการวิเคราะห์ถึงตัวจิตเองอีกทีนึง ซึ่งเราใชจิตกำหนดดู ไม่ต้องไปแทรกแซง สติทำให้เกิดปัญญา และเมื่อมีปัญญาก็กลับมาทำให้วิริยะในการสร้างจิตสติต่อ

    การบอกว่าให้ปล่อยจิตตัวรู้ทีละตัว จึงไม่ใช่ เพราะจิตหนึ่งมันเกิดและดับไปอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องสร้างจิตสติให้เกิดต่อเนื่องให้มากที่สุด

    ในฌานสี่นั้น บางท่าน เกิดสมาธินำ แม้แต่สายปัญญาก็เกิดสภาวะสมาธิรวมได้ เมื่อการพิจารณาธรรมแนบแน่นจนถึงสมาธิ จิตก็คิดอะไรไม่ได้คือต้องเข้าสมาธิ ส่วนที่มาทางสมถะเพ่งกสิณอะไรเป็นอารมณ์ก็ดี พอถึงจุดที่ความฟุ้งซ่านหรือนิวรณ์ดับไป จิตก็เข้าเอกัคตารมณ์ ซึ่งในฌานสี่นี้ก็ยังมีตัวรู้อยู่ คือมีจิตสติอยู่ เพียงแต่กำลังอ่อนกว่าสมาธิ(แต่แก่กล้ากว่าสติอิริยาบถทั่วไปของคนที่ไม่มีสมาธิ)

    ส่วนคนสติต่อเนื่องสมังคีกับสมาธิปัญญา คือรู้ๆๆๆๆๆๆๆ จนไม่มีเหตุปัจจัยใหม่เกิด ขันธ์ห้าก็ดับไปเอง(จิตสติคืออยู่ในขันธ์ห้านี้) เราจะไปทำให้จิตดับลงไม่ได้ จนกว่าเขาไม่มีเหตุปัจจัยก็ไม่เกิดเอง ใครเห็นตรงนี้ก็เกิดญาณทัศนะ หรือปัญญาญาณเข้าไปเห็นจริงขึ้นมา

    ความว่างในโลกียฌาน ยังไม่อาจทำลายตัวรู้ได้
    และฌานสี่ สามารถใช้ตัวรู้ กำหนดรู้ในสิ่งที่ต้องการรู้ได้ ถ้าจิตมีพลังขนาดนั้นนะ คือคล่องในฌาน

    ที่ว่าปล่อยตัวรู้ ปล่อยตัววิญญาณ(หรือจะเรียกจิตสติไปก่อนเพื่อความไม่สับสน) เพื่อจะเข้าสู่ความว่างในอรูปฌาน มันเป็นความว่างเหมือนกัน แต่ยังมีตัวรู้ในความว่างนั้น เหมือนไม่มีแต่ยังมีอยู่ (คือขันธ์สี่ยังมีอยู่)

    อรูปฌานสี่ โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ๑. อากาสานัญจายตนะ
    การอธิบายในอรูป ๔ นี้ ขอกล่าวแต่พอเป็นแนวเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นกรรมฐาน ละเอียดทั้งผู้ที่จะปฏิบัติก็ต้องทรงอภิญญามาก่อน เรื่องการสอนหรืออธิบายในกรรมฐานนี้ มีความสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้ากรรมฐานกองใดท่านผู้อธิบายไม่ได้มาก่อน ก็อธิบาย ไม่ตรงตามความเป็นจริง ท่านที่จะอธิบายได้ถูกต้องและตรงจริง ๆ ก็ต้องได้กรรมฐานกอง นั้นๆ มาก่อน ผู้เขียนนี้ก็เช่นกันอาศัยที่ศึกษาเรื่องของกรรมฐานมาเฉพาะประเภทวิชาชาสามสำหรับเรื่องของวิชชาสามเรียนมาพอเขียนได้อ่านออก ถึงแม้จะไม่ได้สำเร็จมรรคผล ใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ฟังคำสอนมาพอเอาตัวรอดได้บ้างพอควร ไม่ถึงเก่งและถ้าไปโดนท่านที่ ฉลาดจริงเข้าท่านอาจไล่เบี้ยเอาจนมุมเหมือนกัน ส่วนด้านอภิญญานั้น อาศัยที่เคยศึกษา ในกสิณบางส่วนมาบ้าง พอเห็นทางไร ๆ แต่ก็ได้ไม่ครบ แต่ถึงจะได้ไม่ครบก็ทราบว่าแนว ของกสิณมีแนวเป็นอันเดียวกัน ฉะนั้นเรื่องอภิญญาพอจะแอบ ๆ ฟุ้งได้บ้างพอสมควร
    อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอรูปอากาสานัญจายตนะนี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญว่า กสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญ ความสุข ความทุกข์ ที่เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็นต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณ นั้นถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศไว้โดยกำหนดใจว่า อากาศหาที่สุด มิได้ดังนี้จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นฌาน ๔ ในอรูปฌาน

    ๒. วิญญาณัญจายตนะ
    อรูปนี้กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ โดยจับอากาสานัญจายตนะ คือกำหนด อากาศจากอรูปเดิมเป็นปัจจัย ถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์ แล้วกำหนด ว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิตที่อาศัยรูปอยู่ ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตามแต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะวิญญาณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดจิตว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาดกำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือน จิต โดยคิดว่าเราต้องการจิตเท่านั้นรูปกายอย่างอื่นไม่ต้องการจนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์

    ๓. อากิญจัญญายตนะ
    อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน ๔ ในวิญญาณ แล้วเพิกวิญญาณคือ ไม่ต้องการวิญญาณนั้น คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศ ก็ไม่มีวิญญาณก็ไม่มี ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้นการไม่มีอะไรเลยเป็นการปลอดภัยที่สุดแล้วก็กำหนดจิตไม่ยึดถืออะไร ทั้งหมดจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้

    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัวเสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณ ไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่เอาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อนแต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย มีชีวิตทำ เสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใด ๆ ปล่อยตามเรื่องเปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์

    http://www.larnbuddhism.com/grammathan/arupashan.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2011
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ตอบกรณี มีคนตอบคำถามแปลกๆ

    อันนี้ เราต้องสำรวจมาที่ วิธีการเจรจาของผู้ถาม หาก วิธี หรือ เครื่องมือ
    ในการเจรจาของผู้ถาม มันมีภาพของความกำกวม แล้ว มีภาพของอัตตา
    เข้ามาเสริมแรง ก็มักจะ ได้รับคำตอบบแบบปรามาสกลับไป

    ที่นี้ หากจะยกตัวอย่าง ความกำกวม ของวิธีเจรจาของ คุณ จขกท มีไหม
    ก็ต้องตอบว่ามี อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะ เรามาถามในขณะที่กำลังสงสัย ดังนั้น
    ตรงจุดๆนี้ เราต้องวางใจเป็นกลางลงมาหน่อย คนที่อาศัยภาพที่ว่า เรามาถาม
    ด้วยความสงสัยนั้น เขาอาจจะเผลอไผลเห็นเป็น ความกำกวม ปรากฏก็ได้ ทำ
    ให้เขาเริ่มเข้าใจผิด ในขั้นแรก อย่างช่วยไม่ได้ (จิตไม่ใช่ของๆเขา เนาะ)

    ทีนี้มาอีกเงื่อนไขหนึ่ง คือ อัตตา กลวิธีการเจรจาของคุณ จขกท มีวิธีไหน
    ลักษณะไหนจะถูกยกปรักปรำได้ว่ามีอัตตา ก็ต้องบอกว่า มีเหมือนกัน เช่น
    ตัวสีแดง ตัวใหญ่ ตัวเคาะวรรคทุกขั้นทุก คำ

    ทำไมถูกปรักปรำว่าเป็นอัตตา อย่างช่วยไม่ได้ ก็เพราะ คุณเองก็อาศัยความ
    เป็นสีแดง ตัวใหญ่ๆ เคาะวรรคทุกคำนี้ เป็น อัตลักษณ์การเขียนคำถามเฉพาะ
    ตน เรียกว่า หากอ่านผ่านๆ ปั๊ป จะรู้เลยว่า โพสไหนเป็นของ เจ้าของกระทู้(จขกท)

    เนี่ยะ ทำให้ เงื่อนไขที่สองมันปรากฏ ทำให้ ผู้สนทนา จำต้องปรักปรำว่า จขกท
    มี อัตตา

    เพราะ เงื่อนไข "ความกำกวม" ปรากฏ แล้วยังมี "อัตตา" ปรากฏ ผู้สนทนาก็อาศัย
    ความเห็นที่เขาควบคุมไม่ได้นั้น เผลอสร้างคำพูดที่ออกมาแนว ปรามาส ผู้ถามเข้า

    ทำให้ งง กันเลย มาถามแท้ๆ กลายเป็นว่า มาอวดรู้ การสนทนาเลยผลิกไปหมด
    มีความแปลกๆ อย่างที่ จขกท รู้สึก

    อันนี้ สงสัยว่า ต้องให้ จขกท ผู้มีสติสัมปชัญญะเลิศกว่า ผู้เข้ามาตอบบางคน โดย
    การไม่ถือสา และให้อภัยให้กับ จิตที่ไม่ใช่ของๆเขา เขาคุมไม่ได้ แทน

    * * * *

    เอ่อ แต่อย่าคิดว่า ผมเข้าใจคุณทุกอย่างนะ ที่พูดได้ดูดี ดูคุยกันได้ เพราะว่า บังเอิญ
    มีอัตลักษณ์ในการเขียนคล้ายๆกัน อย่างน้อยก็ ไอ้ เคาะ วรรค ทุก คำ นี้แหละ เป็น
    เหมือนกัน เลยพอเข้าอกเข้าใจอยู่
     
  19. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    งั้นก็เท่ากับว่า ในอรูปฌาน นั้น เราไม่สามารถนํามาใช้เพื่อ พิจารณาธรรมได้ ถูกต้องไหมเจ้าค่ะ ตอบ...ใช่ ..ตรงนี้ลองไปอ่านเรื่องอรูปพรมดูจ้า คนอยากสร้างบารมีเห็นว่า เป็นเรื่องเสียเวลา เพราะอรูปฌาณ จะทำให้ผู้นั้นติดสุข พระพุทธองค์ตรัสรูตั้งหลายพระองค์ ตนเองยังนั่งฝัน นอนฝันอยู่เลย สรุป เรื่องทุกเรื่อง ถ้ายังไม่ถึงนิพพาน มีทั้งคุณ และ โทษ เท่าๆ กันจ้า...
    ถ้ายั้งงั้นเวลาเราต้องการเข้าไป พิจารณา เรื่องของ อนัตตา ควรใช้สมาธิระดับไหนถึงจะเหมาะสมเเละเข้าถึงในหัวข้อ อนัตตาได้มากที่สุด เจ้าค่ะ หรือว่าใช้
    ขณิกสมาธิ ก็ได้ค่ะ ตอบ ถูกต้อง สมาธิที่คุณพูดคุยกับผมนี่แหละ
    ขอบคุณล่วงหน้าเจ้าค่ะ

    ฟ้าปราณี ให้มาแถม บอกว่า...

    "ไม่เห็นมีใคร"เข้าฌาณแปด" ฟังคำโปรดของพระพุทธองค์สั้นๆ จนได้บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์ ในสมัยพุทธกาลกันสักองค์"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มีนาคม 2011
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ตอบกรณี ฌาณ8 ในที่นี้ จขกท หมายถึง การภาวนาด้าน อรูปฌาณ เอาไว้ทำอะไร

    ขอแยกตอบสองกรณี คือ

    กรณีมีมิจฉาทิฏฐิ พวกสมณะ ชีพราหมณ์เหล่านั้น จะเจริญอรูปฌาณไว้เพื่อ "ทำซาก"
    กล่าวคือ ไม่เกิดประโยชน์

    กรณีทีสัมมาทิฏฐิ พวกสมณะ ชีพราหมณ์เหล่านั้น จะเจริญอรูปฌาณไว้เพื่อ เป็น
    "อนุตระจารย์" กล่าวคือ เพื่อประโยชน์ในการสอนสั่งเวนัยสัตว์

    ความแตกต่างจึงอยู่ที่ "ทำเพื่อเอาไว้ทำซากอะไร" กับ "ทำเพื่อเอาไว้สอน" จึง
    ต่างกันที่วัตถุประสงค์แต่แรก

    กรณีทำไว้เพื่อ ทำซาก ก็คือ ทำได้แล้วก็แล้วกัน ทำได้แล้วก็อยู่ ก็อาศัย หรือ
    เป็นไปเพื่อยึดมั่นถือมั่นโดยไม่รู้ว่ามันจะต้องดับสิ้นไป คือ เกิดความเป็นซาก ให้
    เห็นในบั้นปลายในเวลาใดเวลาหนึ่งอันไกลโพ้นยังไงเสียก็ต้องเป็น ซาก ปรากฏ

    กรณีที่ทำไว้เพื่อ สอน อันนี้ เวลาปฏิบัติ จะอาศัยดูสิ่งที่เรียกว่า "ปัจจัยการ"
    หรือ "อาหาร" เป็นหลัก เรียนจบก็จะสร้าง "อภิธรรม" ได้ ตรงนี้พวกนอก
    ศาสนาหรือ กบฏศาสนากลัวมาก เลยต้องทำลายอภิธรรมเป็นอันดับแรก ศาสนาจะ
    เริ่มอันตระธานหายไปจากโลก ก็ตรงที่ อภิธรรม หายไปเป็นอันดับแรก คือ
    พวกกบฏก่อการสำเร็จนั้นแหละ

    ดังนั้น ผู้ปฏิบัติเพื่อสอน ก็จะสังเกตสังกาว่า อรูปฌาณ มีอะไรเป็น "อาหาร"
    หรือ เป็นปัจจัย ซึ่งคนที่ทำได้ก็จะมีคำถามแค่ว่า "มีอะไรเป็นผัสสะ" "มีอะไรเป็นอาหาร"

    ซึ่งจะได้คำตอบๆแนวว่า ไม่ได้ไปด้วยเจตนาจะไป ไม่ได้เข้าเพราะเจตนาจะเข้า แต่
    เป็นเพราะ มีปัจจัย มีอาหาร จิตจึงแล่นไปในอรูปฌาณเหล่านั้น และความที่เห็นชัด
    ว่า มีอะไรเป็นอาหาร จึงสามารถชี้ชัดได้ว่า เป็นไปเพื่อความไพบูลย์ของสังขาร ไม่ใช่
    เป็นไปเพื่อความสิ้นไปของสังขาร

    พอชี้ชัดได้ว่าเป็นไปเพื่อการไพบูลย์ของสังขาร ทำให้ เวลาไปเจอพวกติดอาหาร พวก
    ติดสุขติดยาชนิดอรูปฌาณเข้า จะได้ชี้ให้เขาดูได้ว่า เรารู้ถึงอาหาร หากเขาเห็นเขาก็
    จะโอ้จริงด้วย นี่เราติดยาติดอาหาร ติดการเสพผัสสะ เป็นไปเพื่อการประทังหิว ไม่พ้น
    จากการเป็นไปเพื่อมากินง้วนดิน เป็นไปเพื่อความเป็นพรหม พอชี้ได้ ก็จะสำเร็จวัตถุ
    ประสงค์ที่ว่า เรียนมาเพื่อเป็น "อนุตราจารย์"

    และที่นี้ หาก จขกท พอเข้าใจ ก็ขอบอกเพิ่มอีกว่า

    การที่เราจะรู้ ผัสสะ หรือ อาหาร ปรากฏอย่างไรนั้น เราต้องอาศัย "สุญญตาสมาธิ"
    เป็นเครื่องฝึก ซึ่งจะประกอบด้วย "สุญญตาสมาธิ อัปนิหิตสมาธิ และ อนิมิตสมาธิ"
    เข้าและออกให้มีวสี ซึ่งมันจะไปสอดคล้องกับ "ลักขณูปณิชฌาณ(ฌาณของอริยเจ้า)
    (ฌาณที่เป็นมรรค)" (ไม่ใช่ ขณิกสมาธิ นะชื่อ มันใกล้ๆกัน อย่าสับสน)

    พิจารณาดู เนาะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...