จิตส่งใน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไกล้ธรรม, 14 มกราคม 2011.

  1. ไกล้ธรรม

    ไกล้ธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +121
    :'(อาการจิตส่งใน ทำไม่น่ากลัวจังครับ บางคนบอกว่า ถ้าเราไปติดสุข มากจนถอนตัวไม่ขื้น อาจจะทำไห้สติแตกได้ จนเป็นบ้า ชักเริ่มกลัวแล้ว:'(จะทำยังใงดีครับ:'(
     
  2. btme

    btme เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +319
    ช่วยอธิบายหน่อยครับว่าอาการจิตส่งในมันเป็นยังไง และที่กลัวนะกลัวจะเป็นบ้า หรือว่ากลัวจะได้ดีครับ ถ้าจะเอาดีอย่ามัวแต่กลัวครับ
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผมก็สงสัยเหมือนกันนะครับคำว่าจิตส่งในมันเป็นยังงัย
    แล้วที่ เราเห็น เราได้ยิน เราได้กลิ่น เรารู้รส เราสัมผัส เรานึกคิด นี่ก็เป็นจิตส่งไปรู้ภายนอก
    หรือเรียกว่าไปรู้อารมณ์ภายนอกนั่นเอง ถ้าเราไม่ไปรู้ภายนอก
    เราจะเห็น เราจะได้ยิน เราจะได้กลิ่น เราจะรู้รส เราจะสัมผัส เราจะนึกคิดเรื่องราวได้ยังงัย
    เพราะตามธรรมจิตต้องอาศัยอารมณ์เกิด ถ้าไม่มีอารมณ์จิตก็เกิดไม่ได้
    ผมมองไม่เห็นจิตส่งในมันเป็นยังงัยได้เลย แต่ผมอ่านเจอบ่อยที่เขาพูดๆกัน
    ใครรู้ช่วยอธิบายหน่อยครับอยากรู้จัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กุมภาพันธ์ 2011
  4. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ผมมีคำถามที่เป็นหนักกว่าจิตส่งในเป็นอย่างไรอีก ผมอยากรู้ว่าภายในกับภายนอกมันแบ่งกันยังไง
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อันนี้ไม่ยากนะครับ ผมพอเข้าใจ ภายนอกก็หมายถึง สิ่งภายนอกตัวเรา เช่น
    รูป มากระทบที่ ตา = ตาเป็นภายใน รูปเป็นภายนอก
    เสียง มากระที่หู หู = หูเป็นภายใน เสียงเป็นภายนอก
    กลิ่น มากระทบที่ จมูก = จมูกเป็นภายใน กลิ่นเป็นภายนอก
    รส มากระทบที่ ลิ้น = ลิ้นเป็นภายใน รสเป็นภายนอก
    โผฏฐัพพะ(เย็นร้อนอ่อนแข็ง)ที่มากระทบที่กาย=กายเป็นภายใน โผฏฐัพพะเป็นภายนอก
    ธัมมารมณ์(นึกคิดเรื่องราวต่างๆ)ที่มากระทบที่ใจ = ใจเป็นภายใน ธัมมารมณ์เป็นภายนอก
    หรือบางทีอาจจะเรียกกันว่าอายตนะภายใน อายตนะภายนอกบ้าง เช่นว่า รูปเป็นอายตนะภายนอก ตาเป็นอายตนะภายใน อย่างนี้เป็นต้น
     
  6. -zen-

    -zen- สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2011
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +8
    อย่าหลงลืมลมหายใจ ครับ มีสติกำหนดรู้ที่ลมหายใจตลอดเวลา
    หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้
    อย่าไปมัวติดที่อารมณ์(ความสุข นิมิตต่างๆ)-จนหลงลืมลมหายใจครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2011
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ครับตัวลมหายใจนั่นแหละคืออารมณ์
    ตัวรู้ลมหายใจคือจิต
    จิตเกิดได้ต้องอาศัยอารมณ์
    เพราะฉะนั้นต้องรอบรู้ครับ
    ตัวรอบรู้คือปัญญา
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    [​IMG]

    ลองอ่านคำสอนของหลวงตามหาบัวดู ท่านต่อธรรมให้กับบุคคลท่านหนึ่ง ที่มี
    "อาการจิตส่งใน"

    แต่เวลาเราเห็น อาการจิตส่งในแบบนี้ เวลาจะแก้ธรรมะ จะต้องยกอุบายให้
    พิจารณา ลงที่กายเนื้อ แล้วจำต้องใช้คำว่า ในกายเนื้อ

    ปัญหาของการใช้คำว่า "ใน" มันก็เกิด

    การที่ติดสมาธิ(จิตส่วนใน) ติดการเห็นออร่า เห็นบ้า เห็นบอ แพรวพราว
    ระยิบระยับ เลยต้องใช้คำพูดอีกอย่างว่า "จิตส่งออกนอก"

    กลายเป็นว่า จิตติดสมาธิ นี้ บางครั้งท่านๆ ก็พูดว่า "จิตส่งใน" บาง
    เวลาท่านก็พูดว่า "จิตส่งนอก" แต่ขอให้เข้าใจว่า ท่านใช้คำแตกต่าง
    กันก็เพื่อประโยชน์ในการ เอ่ยอุบายในการชี้ให้เห็น กับ เอ่ยอุบานเพื่อ
    ชี้วิธีแก้ ท่านถึงจะพูดต่างกัน

    กรณีพูดว่า "จิตส่งใน" ท่านจะพูดเพื่อ ปราม ในช่วงต้นๆ ในเวลาที่
    จิตของผู้ภาวนาจำต้อง ส่งในไปอีกระยะหนึ่งก่อน แต่ต้องพูดกันเอาไว้
    เพื่อไม่ให้ ติดความ "ยินดี" กับการส่งในไปเห็นนู้นเห็นนี้ ถ้าแรงๆหน่อย
    พวกเห็น ประกายพฤกติ ประกายเพชร ออร่ง อ่อร่า บ้าๆบอๆ ท่านก็
    จะปรามเอาไว้หน่อย ในตัวอย่าง หลวงตาท่านใช้คำว่า "รัษหมา" ไม่ใช่
    รัษมี

    เมื่ออินทรีญ์พร้อมแก่การก้าวเดิน เมื่อจิตยอมรับ และ พิจารณาแล้วว่า อาการ
    เห็นรัษหมา ไม่ใช่รัษมี ก็จะค่อยพูดว่า "อย่าส่งจิตออกนอก" แล้วตามด้วย ให้
    พิจารณาลงในกายเนื้อ เป็นทางแก้

    แล้วความที่มีฌาณจิตเป็นกำลังอยู่ พอเอามาพิจารณากายเนื้อ ผล จะเกิดขึ้นตาม
    ที่มีการบรรยายในแผ่นคำสอนที่ผมเอามาอ้างอิง ซึ่งจะทำให้เกิดอานิสงค์มาก

    การสอนด้วยคำว่า "ส่งใน ส่งนอก" จึงเป็นเรื่องของจังหวะของอินทรีย์ที่จะใช้
    พูด เวลาหนึ่งก็เหมาะที่จะใช้คำอย่างหนึ่ง พออีกเพลาหนึ่งก็ถึงจะเหมาะใช้กับ
    อีกคำหนึ่ง

    ก็ลองพิจารณาดู พอเห็นชัดว่า ส่งใน เห็นนิมิต เป็นทุกข เมื่อไหร่ ถึงจะ
    เข้าใจวิธีการภาวนาตามความเป็นจริง ตามแผ่ยนพับใช้คำว่า

    "จิตลงสู่ไตรลักษณ์ (ก้าวสู่การมุ่งเห็น เกิด-ดับ ที่ จิต)"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2011
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เอกวีร์<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4331111", true); </SCRIPT>
    สมาชิก - ขอขอบคุณครับที่ช่วยอธิบายให้พอเข้าใจ
    ดูแล้วผมยังห่างอีกเยอะที่จะเห็นชัดเจน แต่ก็ยังดีกว่าที่ยังไม่เข้าใจอะไรเสียเลย ใช่ไหมครับ
    "ถ้าจิตลงสู่ไตรลักษณ์นั้นเข้าใจ" ผมเองคงไม่ได้เน้นหนักไปในเรื่องของสมาธิ
    แต่จะใช้วิธีเจริญวิปัสสนาตามดู ตามรู้ ที่ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เน้นหนักคือ จิตตานุปัสสนา
    เพราะง่ายกับการงานที่ทำปัจจุบัน เพราะตามรู้ได้ตลอดเวลาถ้าไม่หลงลืม และก็น้อยครั้งที่จะตามดูลมหายใจ
    แต่เหนื่อยใจกับการเจริญวิปัสสนานานนักก็จะใช้วิธีดูลมหายใจเหมือนกันเพื่อพักผ่อนจิต
    เพื่อมิให้จิตตกจากกรรมฐานหรือที่เรียกว่าไม่ปล่อยโอกาสให้กิเลสทั้งหลายเล่นงานนั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กุมภาพันธ์ 2011
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็แล้วแต่ครับ หากมีจิตใจเห็น ภัยต่อกิเลส ยังมีอยู่ ยังเห็นช่องทางเป็น
    อิสระจากขันธ์5(สมุนของกิเลส)ไม่ได้ ก็คงต้อง ทำกรรมฐานเน้นครุกรรม
    ให้มันส่งผลก่อนอาจิณกรรม(กิเลส)มาเล่นงาน

    แต่ผมอยากแนะไว้หน่อย ที่กล้าแนะ เพราะคุณอ้างว่า ทำจิตตานุปัสสนาอยู่

    หากทำได้จริงตามอ้าง ขอให้พิจารณาลำดับของ การถูกครอบงำ หรือ
    ลำดับการตกเป็นทาสให้ดี

    สิ่งที่หยาบเกินไป หรือ เป็นขั้นต้นๆ คือ เราจะเห็น กิเลส เล่นงาน

    แต่ปราณีตกว่านั้น เราจะเห็นว่า มันยังไม่ทันเป็น กิเลส มันจะเริ่มด้วย นิวรณ์ ก่อน

    ดังนั้น เวลาทำสมาธิ ขอให้คุณมั่นอกมั่นใจ สำรวจที่ทางขณะนั้นว่า จริง
    แล้วหรือที่ สิ่งที่ครอบงำคุณมันคือ "กิเลส" หาก คุณสำรวจที่สำรวจทาง
    แล้วพบว่า วัตถุกามมันไม่มีประกอบ สิ่งที่คุณเห็นว่า เป็นกิเลส มันจะไม่ใช่
    ขอให้ทำการเห็นไว้ในใจว่า นั้นเป็น "นิวรณ์"

    พอดู นิวรณ์ เป็นนะครับ คราวนี้ เวลาจิตมันผลิกภูมิการภาวนาระหว่าง
    วิปัสสนา กับ สมถะ มันจะมี นิวรณ์ เข้ามาฉาบฉวย ปิดบังการเห็น

    ทำให้ บางครั้งไปทำสมถะก็เพราะนิวรณ์ บางครั้งไปทำวิปัสสนาก็เพราะนิวรณ์

    บางครั้งกำลังไปทำสมถะ นิวรณ์มาเล่นละครแล้วเผลอคิดว่านั้นคือ อารมณ์สมถะ
    มันจะง่อยลงไป กายใจมึนดิ่งลงไม่รู้เรื่องรู้ราวไม่รู้สึกตัว คิดว่าจิตรวมอีก จะยุ่ง

    บางครั้งกำลังไปทำวิปัสสนา นิวรณ์มาเล่นละครแล้วเผลอคิดว่านั้นคือ อารมณ์
    วิปัสสนามันจะกระเดิดออกไป กายใจแทบจะพุ่งพรวดออกไป

    แต่พอชำนาญเห็นนิวรณ์นะครับ มีตัวหนึ่ง คือ ปฏิฆะ พยาปาทะ ตัวต้าน
    รูปนามนี่แหละ เล็งเห็นให้ดี มันจะมีช่วงจังหวะ "ทำจิตให้ปราโมทย์" ถ้า
    พลาดจังหวะมันถึงจะเข้าสู่ "ถีนะมิททะ"

    พอเห็นแบบนี้นะ จะไม่มานั่งกลัวการเห็น "จิตเหนื่อยเพราะวิปัสสนา" หรือ
    "จิตสะบักสะบอมเพราะตกจากกรรมฐาน" อีก

    เพราะว่า การเห็น การระลึกได้ ในสภาวะเหล่านั้น คือ แนวรับแนวต้านที่
    จะหมุนธรรมจักรได้อย่างไม่มีหยุด ขอเลิกก็ไม่ได้ พ้นสังขตธรรมหรือความ
    จงใจของคุณไปหมด จิตเท่านั้นที่ผันแปรไปตามสภาวะอสังขตธรรม ที่คุณ
    ไม่เคยพบมาก่อน ไม่คิดว่าจะมี

    ไม่มีอะไรต้องไปสงสัย เพราะ จิตมันมีภูมิของมัน ไม่ใช่คุณอีกต่อไป

    (แต่จะไปติด จิตเป็นอนุตตระ อีกสักพัก มันจะสอนตัวมันเองสักพัก ก็
    ไม่ต้องทำอะไร ขอให้ ดูจิตหยุดอยู่ที่ "รู้" "รู้" "รู้" "รู้" ไว้เป็นพอ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2011
  11. -zen-

    -zen- สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2011
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +8
    ลุงหมานครับ การเจริญสติปัฏฐาน 4 สิ่งที่เราต้องการคือ มหาสติครับ
    การดูเพียง อาการของจิต อย่างเดียวไม่พอครับ

    เราต้อง เอา กายคตาสติ เป็นฐานครับ ต้องพยายามมีสติดูลมหายใจ ดูการเคลื่อนไหวให้ได้ตลอดเวลาครับ(พยายามสร้างตัวรู้ให้มากที่สุดครับ)

    ***"ในมหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวว่า เราต้องมีสติรู้พร้อมถึงลมหายใจแต่ละครั้ง การเคลื่อนไหวแต่ละหน ความคิดทุกความคิด และความรู้สึกทุกความรู้สึก คือมีสติรู้พร้อมถึงทุกสิ่งที่เนื่องกับตัวเรา"

    พยายามสร้าง สติให้มากๆนะครับ อย่าลืมลมหายใจครับ พยายามเอา ลมหายใจเป็นวิหารธรรมให้ได้นะครับ เอาใจช่วย


    :VO
    ป.ล ผมก็ยัง มีสติเพียงน้อยนิด ยังฟุ้งซ่านอยู่เกือบทั้งวันครับ แต่ก็พยายามสร้างสติอยู่ ค่อยๆเป็นค่อยๆไปกันนะครับ อิอิ ;aa8



    เจริญสติ สัมผัสรู้--- พระไพศาล วิสาโล

    download

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2011
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ครับขอบคุณที่ยังรักและเป็นห่วง คำว่าเจริญวิปัสสนานี่ก็มิได้หมายถึงว่าเราขาดสมาธิเพียงแต่สมาธิไม่เด่นไม่ได้เป็นประธาน
    ฉะนั้นตัวสมาธิก็มีอยู่ ตัวสมาธินี่แหละจะไปกดทับหรือประหานตัวนิวรณ์ เจ้าตัวองค์ธรรมของฌานนั้นมีอยู่
    คือ วิตก วิจาร ปิติ เวทนา เอกัคคตา ก็ตัวสมาธินั่นเอง ถ้าเราเจริญปัญญาให้เกิดขึ้นได้ คิดว่านิวรณ์นั้นคงไม่เกินกำลังของปัญญา
    แต่ที่แน่ๆ เรายังทำให้เกิดไม่ได้นั้นเอง ที่พูดไว้ด้านบนนั้นยังมิได้หมายว่าผมทำได้
    เพียงเรามาเริ่มฝึกหัดฝึกรู้เท่านั้นเอง เราเพียงมาสนทนาแรกเปลียนความรู้ซึ่งกันและกัน มิได้คิดมาถกเถียงชิงใครเก่งกว่ากัน
    นั่นไม่ใช่เป้าหมายของผู้เจริญธรรมที่ดีที่ถูกต้อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กุมภาพันธ์ 2011
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ครับขอบคุณครับ การเจริญวิปัสสนาก็คือการเจริญสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง
    ผมเข้าใจ แต่ทั้ง 4 นั้นเราจะเจริญไปพร้อมกันทีเดียวก็คงไม่ได้ แต่ทั้ง 4 นั้นเชื่อมโยงถึงกันหมด
    แต่ต้องพูดถึงความว่าเรากำลังเจริญธรรมข้อไหนอยู่ ข้อนั้นเป็นประธาน แล้วแต่บุคคลจะถนัดทางไหนหรือทางนั้นถูกจริตกับผู้ปฏิบัติ
    แม้แต่กรรมฐาน 40 ยังต้องเลือกให้ถูกจริตของผู้ปฏิบัติเอง เหมือนคนชอบกินของอย่างนี้
    แล้วจะบังคับให้กินของอีกอย่างจิตมันจะเริ่มต่อต้านกรรมฐานจะเดินยาก
    หรือเหมือนมีอาหารอยู่ 4 อย่างวางลงตรงหน้า จิตจะเลือกอาหารที่ถูกใจก่อน แล้วอีก 3 อย่างค่อยว่าที่หลัง
    ตกลงเราก็กินทั้ง 4 อย่างนั่นแหละ สุดท้ายมันจะก็กินของที่ชอบ
    และที่ชอบนั้นก็เป็นอำนาจของกิเลส เราก็ต้องรู้ทันอาการของกิเลสตัวไหนเกิด เมื่อรู้ทันกิเลสก็เป็นจิตตานุปัสสนา
    ทีนี้เรามาพูดเรื่องวิปัสสนาต่อ กาย เวทนา จิต ธรรม ก็อยู่ในหมวดเดียวกับ สติปัฏฐาน 4 นั้นเอง
    ท่านกล่าวว่าเป็นเอกายมรรคคือทางสายเดียวทางสายเอก
    ที่นี้ลมหายใจเป็นวิหารธรรมใช่ครับก็หมายถึงเอาลมหายใจเป็นที่อยู่ที่อาศัยของจิต (วิหาร คือที่อยู่ ธรรม ก็คือจิตที่ไปอาศัย)
    หมายถึงจิตมีอารมณ์คือลมหายใจเป็นที่อาศัยนั่นเอง ผิดถูกยังไงแล้วค่อยคุยกันต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กุมภาพันธ์ 2011
  14. ไม่ยึด

    ไม่ยึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +263
    ถ้าพูดถึงจิต นอก กับ ใน นครับมันมีกิเลสอาสวะ ขั้นอยู่ครับ แบ่งเป็นจิตข้างนอกกับข้างใน ข้างในนี้ ส่วนมากห่างกายไม่เกินคืบ ข้างนอกนี่ก็ 3 แดนโลกธาตุมั้งครับไม่แน่ใจเท่าไหร่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2011
  15. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ท่าน จขกท ใครเป็นคนสอนท่านแบบนี้ครับ ใครบอกครับ กรุณาตอบด้วยอยากรู้ครับจะได้วัดภูมิรู้ ภูมธรรมคนบอกได้ถูกครับ:':)':)'(
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผมยิ่งฟังก็ยิ่งงใหญ่กับจิตนอก กับจิตใน ฟังดูแล้วเหมือนมีจิต 2 จิตนะครับ
    แล้วมีกิเลสเข้าอาสวะไปกั้นมันก็ยิ่งงงเข้าไปอีก อธิบายจิตเหมือนเป็นรูปธรรม แล้วห่างกายไม่เกินคืบ
    แล้ว้มันอยู่ตรงไหนละวุ้ย ข้างนอกนี่ก็ 3 แดนโลกธาตุ แถมไม่แน่ใจอีก
    เอ้าเอาเข้าพ่อ..ใครๆช่วยอธิบายซ้ำอีกทีซิ แล้วใครอ่านแล้วเข้าใจไหมเนี่ย.....
     
  17. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    การรับรู้ด้วยการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิด เป็นการที่จิตพิจารณากายครับ โดยที่จิตมีอยู่แล้ว ส่วนอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเจตสิก คือการที่จิตจับความรู้สึก และยังมีการที่จิตพิจารณาจิต หรือ จิตในจิต ในภายในนั่งเองครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  18. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ส่วนเรื่องที่จติยึดลมหายใจเพราะจิตต้องมีสิ่งให้ยึด

    จิตยังยึดความรู้สึก ยึดนิมิต ยึดผัสสะ ยึดจิตโดยตรงด้วยครับ

    สิ่งที่กล่าวไปนั้นก็เพื่อให้เห็นจิตนั้นเอง ส่วนจิตส่งใน หรือ การนำจิตไปไว้ในกาย

    เป็นสิ่งที่ดี ให้ผลดีเจริญสมาธิ เจริญสติ เจริญสัมปะชัญญะ และ เจริญปัญญา

    ส่วนจิตส่งนอก คือ การที่จิตพิจารณากายนั้นเองและยังส่งออกไปจับสิ่งที่อยู่ข้างนอกกาย

    ด้วยการเพ่งอย่างที่ฤาษีกระทำ

    ส่วนจิตส่งใน คือการที่จิตพิจารณาจิต เข้าไปรับรู้อยู่ภายในจิต สิ่งที่มีอยู่ในจิต หรือ สิ่งที่เราแบกมาแล้วหลายชาติก็อยู่ในจิต

    สิ่งที่ชี้ให้เห็นง่ายๆก็คือ "บาปและบุญ" ที่คอยส่งผลให้มีการนึกคิดอย่างที่ได้เกิดขึ้นอยู่

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ขออนุญาติ อธิบาย ให้คุณ มะยึก เนาะ

    ในมุมของคุณ ไม่ยึด อันนี้ จะเป็นเรื่อง ของการเอาความรู้สึก ฐานความรู้สึก
    ขึ้นมาพูด เป็นพวกภาวนาเห็น ผู้รู้ หรือ ธรรมเอก แล้ว แต่ว่า ยังเที่ยววิ่งหา
    ฐานรู้ ฐานของจิต อยู่

    เลยทำให้ เล็งเห็นว่า หากส่งจิตออกนอกฐานกาย ก็จะแปะอยู่ที่จมูก หรือหน้าผาก
    (โดยสถิติ) แต่พอฟังธรรมะบ่อยๆเข้า ก็จะรู้ว่า จุดแน่นๆ ตรงนั้น ต้องคลายการยึดมั่น
    ถือมั่นออกไปอีก ตรงนี้แหละ มันจะไปอยู่หน้าๆ แต่ก็ไม่ห่างวิ่งไปสู่ต้นไม้ ใบหญ้า
    หญิงสาว แล สรรพสัตว์ ทำให้เกิดความรู้สึกว่า ฐานรู้อยู่นอกกาย เป็นอากาสลอยอยู่
    แต่รวมเป็นจุดอยู่ไม่ห่างนัก (ด้วยความหวงกลัวว่าจิตจะหาย)

    ทีนี้ เวลาจิตเกาะที่หน้าผากก็ดี ผลักออกไปเพราะวิภวตัณหาจนไปอยู่นอกายไม่เกิน
    คืบก็ดี แล้วมันมีกำลังมาก สติคุมไม่อยู่มันก็แล่นเข้าไปในนิมิต ซึ่งส่วนใหญ่ก็มัก
    จะเจาะช่องขาวๆแล้วมุดเข้าไป คนยังไม่เก่งก็เหมือนโดนมันดูดเข้าไป คนที่เก่ง
    แล้วไม่ใช่รอให้มันดูดเข้าไปแต่ขยายมันให้คลุมตัวทั้งหมดโดยไม่มีทิศ หากยังมี
    ทิศก็แปลว่ายังยึดบัญญัติตามกายเดิม พอมาถึงตรงนี้ พอฟังธรรมมากๆ ก็ทราบอีก
    ว่า ไม่ใช่ทางตรง เน้นนะว่าไม่ใช่ทางตรง ก็เลยต้องนมสิการคำครูว่า นี่คือ ส่งจิต
    ออกนอก

    สรุปแล้ว มะยึก พูดถึงการส่งจิตออกนอกทั้งคู่ โดยอันหนึ่งเป็นเรื่องของ รูปฌาณ
    และอีกอันหนึ่งเป็นเรื่องของ อรูปฌาณ คำว่าใน กับ นอกเป็นผลสะท้อนของ
    ภวตัณหา(ยึดรูป) กับ วิภวตัณหา(ผละรูปยึดนาม)

    จริงๆแล้ว อันไหนก็ได้ ขอให้ ใส่ใจที่การรู้ เห็นที่จิตมันเข้ารู้ถึงสภาวะ ตามเห็น
    ความไม่เที่ยงของฐานที่ตั้งที่ไขว่คว้าอยู่เนืองๆ แล้ว จิตจะเข้าฐานรู้เอง จะไม่มี
    ขอบไม่เขตไม่มีดวง คราวนี้ ไม่ต้องพูดส่งใน ส่งนอกอีก เพราะมันไม่มีขอบเขต
    อีกแล้ว ( แต่ภาวนาไปสักพัก จะเจอกำแพงที่มองไม่เห็น จะกลับมาเห็นขอบเขต
    อีกครั้ง แต่คนละภูมิกันกับขอบเขตเดิมๆ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2011
  20. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +3,152
    สิ่งที่หยาบเกินไป หรือ เป็นขั้นต้นๆ คือ เราจะเห็น กิเลส เล่นงาน

    แต่ปราณีตกว่านั้น เราจะเห็นว่า มันยังไม่ทันเป็น กิเลส มันจะเริ่มด้วย นิวรณ์ ก่อน


    ผมขออนุญาตถามคุณเอกวีร์หน่อยนะครับ

    กรณีนี้เหมือนอย่างที่ผมเห็นอย่างนี้หรือเปล่าครับ

    ผมเห็นว่าจิตของเรามันไม่เคยอยู่เฉย มันจะทำอะไรตลอดเวลา มันจะคอยวิ่งไปทำโดยเฉพาะในสิ่งที่เรามักจะทำอยู่บ่อยๆ แม้แต่เวลาที่เราไม่ได้ตั้งใจจะทำอะไร เช่น

    เมื่อขณะที่เราไม่ได้มีความอยากในอาหาร ไม่ได้คิดที่จะกินอะไร แต่เมื่อมีอาหารที่เราชอบกินอยู่ตรงหน้า ทั้งๆที่เรากำลังทำอย่างอื่นอย่างสนใจอยู่ แต่มือของเราดันไปหยิบอาหารใส่ปากเสียแล้ว พอรู้ตัวอีกทีว่าไม่ได้หิวนี่นา อ้าว......กินไปซะเยอะแล้วสิ

    ผมพิจารณาแล้วเห็นว่า บางอย่างเราทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจจะทำ แต่เราทำไปตามความเคยชินของจิต เมื่อเผลอสติ โดยไม่ได้เกิดกิเลสนำขึ้นมาก่อน แต่เมื่อพอได้ทำไปแล้ว มันเกิดความเพลิดเพลิน (เกิดกิเลส) จึงทำต่อไปจนจบกิจ

    อย่างนี้ใช่หรือเปล่าครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...