การสอนดูจิตตอนนี้ ไม่ต่างไปจากท่านสัญชัยปริพาชกในครั้งพุทธกาล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 6 พฤศจิกายน 2009.

  1. 1000lert

    1000lert เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +143
    สำนักดูจิตสอนวิธีปฏิบัิติที่ผิด
    การเจริญสติแบบสำนักดูจิตนั้นผิด
    ไม่มีทางเป็นสติแบบสายน้ำได้

    ผมคอยเอกวีร์ นิวรณ์
    มาคุยกับผมนานแล้วนะเรื่องสติ
    แต่ทำไมไม่กล้าแสดงตัว
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ในความเข้าใจส่วนตัวนะ แบบว่าสมมุติบัญญัติอาจจะต่างกันหรือตรงกัน ก็ไม่รู้นะ

    สติแบบหยดน้ำ เราหมายถึงสัมมาสมาธิระดับขณิกะ
    สติแบบสายน้ำ เราหมายถึงสัมมาสมาธิระดับปฐมฌาณขึ้นไป

    สัมมาสมาธิหมายถึงสมาธิที่มีสติประกอบ
     
  3. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    แล้วสัมมาสติหละครับ หมายความว่าอย่างไร . .
     
  4. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <CENTER>สังขารชายนปัญหา ที่ ๔
    </CENTER> ราชา สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต
    นาคเสน
    ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สังขารธรรมสิ่งไรที่มีแล้วและเกิดขึ้นอีกนั้น
    พระนาคเสนองค์อรหันต์ท่านจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
    สมภาร สังขารที่มีอยู่แล้วเกิดขึ้นอีกนั้นได้แก่จักขุกับรูป รูปมีแล้วจักขุวิญญาณก็บังเกิดขึ้น เมื่อ
    จักขุวิญญาณมีแล้วจักขุผัสสะก็บังเกิดขึ้น เมื่อจักขุผัสสะมีแล้วเวทนาก็บังเกิดขึ้น เมื่อเวทนา
    บังเกิดแล้วตัณหาก็บังเกิดขึ้น เมื่อตัณหามีแล้วอุปทานก็บังเกิด เมื่ออุปาทานมีแล้วภวะก็บังเกิด
    เมื่อภวะมีแล้วชาติก็บังเกิด เมื่อชาติมีแล้ว ชราและมรณะและโสกปริเทวนาการอาลัยไห้สะอื้นก็
    บังเกิด ทุกฺขกฺขนฺสฺส สมุทโย กองทุกข์ทั้งปวงนั้นก็มีขึ้นสิ้น ขอถวายพระพร
    ฝ่ายว่าพระนาคเสนพยากรณ์แก้ไขด้วยจักขุดังพรรณนามานี้แล้ว จึงแก้ไขด้วยโสตะ
    และสัททะ แก้ไขด้วยคันธะกับฆานะด้วยชิวหากับรส แก้ไขด้วยกายกับโผฏฐัพพะ มีนัยเหมือน
    จักขุกับรูปนั้นแล้ว ก็วิสัชนาด้วยมโนกับธรรมอันอาศัยกันแล้วบังเกิด ก็มีนัยเหมือนกันกับจักขุ
    กับรูปนั้น เป็นที่จะก่อทุกข์ทั้งสิ้นให้บังเกิดมี ให้สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีทรงฟัง
    ฉะนี้แล้ว
    พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าสำแดงซึ่งพระนิโรธต่อไปดังนี้ว่า มหาราช ขอถวายพระ
    พรบพิตรพระราชสมภารมหิศราธิบดี อันว่าสังขารคือจักขุไม่มี รูปไม่มี รูปกับจักขุอาศัยแก่กัน
    ไม่มีแล้ว จักขุวิญญาณที่จะรู้ด้วยจักขุว่า รูปอันนั้นอันนี้ก็มิได้เกิด เมื่อจักขุวิญญาณมิได้มีแล้ว
    จักขุสัมผัสคือกระทบจักขุให้เกิดเวทนาเสวยอารมณ์เป็นโสมนัสเป็นโทมนัสก็มิได้เกิด เมื่อจักขุ
    สัมผัสไม่มีแล้ว เวทนาเสวยอารมณ์คือรูปารมณ์เป็นโสมนัสอุเบกขาก็ไม่เกิด เมื่อเวทนา
    ไม่มีแล้ว ตัณหาความปรารถนาก็ไม่เกิด เมื่อตัณหาไม่มีแล้ว อุปาทานคือถือมั่นในความปรารถ-
    นานั้นก็ไม่เกิด เมื่ออุปาทานไม่มีแล้ว ภวะคือจะให้ไปเกิดในภพทั้ง ๓ คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ
    นั้นก็มิได้เกิด เมื่อเกิดในภพทั้ง ๓ ไม่มีแล้ว ชาติที่จะเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เป็นเปรต เป็นอสุรกาย
    เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดียรฉาน และเกิดเป็นมนุษย์เทวดา เป็นรูปพรหม เป็นพรหมหารูปมิได้
    และชาติจะเกิดไปดังนี้ก็มิได้เกิด เมื่อชาติมิได้มีแล้ว จะได้มีชราและมรณะหามิได้ ไม่มีแก่ไม่มีตาย
    อนึ่งปริเทวนาคือจะฟูมฟายน้ำตาโศกโศกา และอุปายาสอันสะอื้นไห้อาลัยหา ด้วยสิ่งอันมาวิโยค
    พลัดพรากตายจากกันก็บห่อนมีดังนี้แล เรียกว่าทุกขักขันธนิโรธ ดับเสียซึ่งกองทุกข์ทั้งปวง
    ขอถวายพระพร
    <!--001--> ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร ได้ทรงฟังก็สโมสรโสมนัสปรีดา มีพระราช-
    โองการตรัสว่า กลฺโลสิ สธุสะ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาปัญหานี้โยมสิ้นสงสัยในกาลบัดนี้

    <CENTER>สังขารชายนปัญหา คำรบ ๔ จบเท่านี้
    </CENTER>
     
  5. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <CENTER>สติอาการปัญหา ที่ ๑
    </CENTER> ราชา สมเด็พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาใน
    สัตตมวรรคนี้ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้มีปรีชาอันเลิศ ลักษณะสตินี้บังเกิด
    กตีหิ อากาเรหิ ด้วยอาการมากน้อยเท่าใด นิมนต์วิสัชนาแก้ไขให้แจ้งก่อน
    พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
    ลักษณะสติจะบังเกิดด้วยอาการ ๑๗ สถาน ขอถวายพระพร
    อันว่าอาการ ๑๗ นั้นคือ
    อภิชานโต สติ
    กุฏุมฺพิกาย สติ
    โอฬาริกวิญฺญาณโต สติ
    หิตวิญฺญาณโต สติ
    อหิตวิญฺญานโต สติ
    สภาคนิมิตฺตโต สติ
    วิสภาคนิมิตฺตโต สติ
    กถาภิญฺญาณโต สติ
    ลกฺขณโต สติ
    สรณโต สติ
    มุทฺธโต สติ
    คณนาโต สติ
    ธารณาโต สติ
    ภาวนาโต สติ
    โปตฺถกนิพนฺธนโต สติ
    อุปนิกฺเขปโต สติ
    อนุภูมโต สติ
    สิริเป็น ๑๗ เท่านี้ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีสุนทรราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
    แต่พระนาคเสนผู้มีญาณปรีชา อันว่าอาการแห่งอภิชานโต สตินั้นเป็นประการใด
    <!--001--> พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
    อภิชานโต สตินี้ ได้แก่สติของบุคคลทั้งหลายอันระลึกชาติได้ และสติของพระอานนท์อันฟัง
    พระสูตรครั้งเดียวจำไว้ได้ และสตินางขุชชุตตราอุบาสิกานั้น ฟังพระสัทธรรมเทศนาครั้งเดียวก็
    จำได้ จำเอามาสำแดงให้คนทั้งหลายฟังได้ถ้วนถี่ทั้งพระคาถาบาลีดังนี้ชื่อว่า อภิชานโต สติ
    ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
    แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา กุฎุมพิกาย สตินั้นอย่างไร
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
    กุฏุมพิกาย สตินี้ ได้แก่บุคคลทั้งหลายมีสติฟั่นเฟือนขี้หลงขี้ลืม จำได้แต่ทรัพย์ที่ถุงห่อของตัว
    เก็บไว้ดังนี้ ได้ชื่อว่ากุฏุมพิกาย สติ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
    แต่พระนาคเสนผู้มีญาณปรีชา อันว่าโอฬาริกวิญญาณโต สติ เป็นประการใด
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
    โอฬารริกวิญญาณโต สตินั้น ได้แก่สมเด็จพระบรมขัดตติยราชแรกปราบดาภิเษกมีสติโอฬาริก-
    ภาพและท่านผู้ได้โสดาปัตติมรรคแล้วและสำเร็จแก่โสดาปัตติผลสบายอกสบายใจ นั่นแหละได้
    ชื่อว่าโอฬารริกวิญญาณโต สติ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
    นาคเสนผู้ปรีชา อันว่าหิตวิญญาณโต สตินั้นเป็นประการใด
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพร หิตวิญญาณโต สตินั้น ได้แก่
    บุคคลเคยได้เป็นสุขอยู่แต่ก่อน และระลึกถึงสุขที่ตนเสวยแต่ก่อนนั้นได้ว่า อาตมาได้เสวยสุข
    เมื่อครั้งนั้นๆ อย่างนี้ชื่อหิตวิญญาณโต สติ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
    นาคเสนผู้ปรีชา อันว่าอหิตวิญญาณโต สตินั้น เป็นประการใด
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อหิต-
    วิญญาณโต สตินั้น ได้แก่บุคคลตกทุกข์ได้ยากมาแต่กาลก่อน จึงระลึกขึ้นถึงทุกข์ยากแต่ก่อน
    ดังนี้แหละจัดได้ชื่อว่า อหิตวิญญาณโต สติ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามพระนาคเสนว่า ภนฺเต นาค-
    เสน
    ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าสภาคนิมิตตโต สตินั้น เป็นประการใด
    <!--001--> พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพร สภาคนิมิตตโต สตินั้น ได้แก่
    บุคคลเห็นซึ่งผู้อื่นเหมือนบิดามารดาญาติพี่น้องและบุตรของตัวกระทำกาลกิริยาตาย และวัว
    ควายช้างม้า อันเหมือนโคหิงสาช้างม้าของตัวนั้น กระทำกาลกิริยาตาย ก็ระลึกขึ้นได้ดังนี้
    ชื่อว่าสภาคนิมิตตโต สติ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
    นาคเสนผู้ปรีชา วิสภาคนิมิตตโต สตินั้น เป็นประการใด
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไข่ว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชมภาร
    วิสภาคนิมิตตโต สตินั้น ได้แก่บุคคลระลึกว่า สีสันวรรณะกลิ่นรสแห่งผลไม้สิ่งนี้เป็นเช่นนี้ และ
    ระลึกถึงโฏฐัพพารมณ์ อันอ่อน และกระด้าง อย่างนี้เป็นเช่นนี้ อย่างนี้แหละจัดได้ชื่อว่า
    วิสภาคนิมิตตโต สติ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
    แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่ากถาภิญญาณโต สตินั้นอย่างไร
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร กถาภิญ-
    ญาณโต สติ
    นั้น ได้แก่บุคคลเคลิ้มสติลืมไปให้ผู้อื่นบอกให้จังระลึกขึ้นได้ ชื่อว่า กถาภิญญาณโต
    สติ
    ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
    พระนาคเสนผู้มีญาณปรีชา ลักขณโต สตินั้น เป็นประการใด
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ลักขณโต สติ นั้น
    ได้แก่บุคคลเป็นเจ้าของโค เห็นตำหนิเครื่องหมายโคของตนแล้วระลึกได้ดังนี้ ชื่อว่า ลักขณ-
    โต สติ
    ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
    นาคเสนผู้ปรีชา อันว่าสรณโต สตินั้น เป็นประการใด
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สรณโต สตินั้น
    ได้แก่บุคคลอันเคลิ้มสตินั้น ยังมีบุคคลมาว่า ว่าท่านได้กระทำสิ่งนั้นไว้ ท่านลืมไปแล้วหรือ จง
    คิดดูเถิด และบุรุษผู้นั้นก็ระลึกขึ้นได้ อย่างนี้ชื่อว่าสรณโต สติ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
    นาคเสนผู้ปรีชา มุทธโต สตินั้น เป็นอย่างไร

    <!--001--> พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มุทธโต สตินั้น ได้แก่ บุคคลอันจดหมายอักขระไว้แล้ว
    ครั้นลืมไปมาดูอักขระนั้นก็รู้ว่า อักขระนี้อาตมาได้กระทำไว้ที่ระหว่างอักขระนี้ อย่างนี้แหละ ได้
    ชื่อว่ามุทธโต สติ ขอถวายพระพร
    พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
    นาคเสนผู้ปรีชา คณนาโต สตินั้น เป็นอย่างไร
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร คณนาโต สติ
    นั้น ได้แก่บุคคลจะระลึกสิ่งของอันใดเป็นของมาก ต้องนับดูจึงจะระลึกได้ว่าท่านเท่านั้น นี่
    แหละชื่อว่า คณนาโต สติ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
    นาคเสนผู้ปรีชา ธารณโต สตินั้น อย่างไร
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ลักษณะแห่ง
    ธารณโต สตินั้น ได้แก่บุคคลจำทรงไว้ได้มากด้วยอุตสาหะสำเหนียกจำไว้มาก อย่างนี้ชื่อว่า
    ธารณโต สติ ขอถวายพระพร
    ครั้งนั้น พระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
    แต่พระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสน อันว่าภาวนาโต สตินั้น อย่างไร
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อันว่าลักษณะ
    แห่งภาวนาโต สตินั้น สมเด็จพระสรรเพชญ์ตรัสเทศนาไว้ว่า ภิกษุได้บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    ในศาสนาของตถาคตนี้ คือระลึกชาติได้ชาติ ๑ บ้า ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ตราบเท่าหลายชาติ
    ไป ชื่อว่าภาวนาโต สติ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
    นาคเสนผู้ปรีชา อันว่าลักษณะแห่งโปตถกนิพันธนโต สตินั้น เป็นประการใด
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อันว่าลักษณะ
    แห่งโปตถกนิพันธนโต สตินั้น ได้แก่ราชบุรุษข้าราชการ อันระลึกถึงพระราชอนุสาสนีย์กฎหมาย
    อธิบายว่า พระราชกำหนดกฎหมายฎีกาที่พระมหากษัตริย์มีพระราชบัญญัติไว้ ย่อมจารึกอยู่
    กับลาน ครั้นนำมาอ่านดูแล้วก็ระลึกได้ดังนี้ ชื่อว่าโปตถกนิพันธนโต สติ ขอถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
    นาคเสนผู้ปรีชา อุปนิกเขปนโต สตินั้น อย่างไร

    <!--001--> พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อุปนิกเขปน-
    โต สติ
    ได้แก่บุคคลเห็นทรัพย์ที่ตั้งไว้และระลึกได้ถึงทรัพย์นั้น ชื่อว่าอุปนิกเขปนโต สติ ขอ
    ถวายพระพร
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
    พระนาคเสนผู้ปรีชา อนุภูตโต สตินั้น เป็นประการใด
    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อนุภูตโต สติ
    นั้น ได้แก่บุคคลระลึกรูปได้ด้วยเคยเห็นรูป จำเสียงได้ด้วยเคยฟัง จำกลิ่นได้ด้วยเคยดม ระลึกรส
    ได้ด้วยเคยบริโภค ระลึกซึ่งโผฏฐัพพารมณ์ได้เหตุเคยถูกต้องด้วยกาย และระลึกถึงธรรมเป็น
    การละเอียดได้ เ หตุเคยรู้ด้วยจิต อย่างนี้ชื่อว่า อนุภูตโต สติ ขอถวายพระพร สิริถ้วนอาการ
    ๑๗ เท่านี้
    สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ฟังพระนาคเสนแก้ไขดังนี้ ก็มีพระทัยโสมนัสตรัสว่า
    กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว

    <CENTER>สติอาการปัญหา คำรบ ๑ จบเท่านี้
    </CENTER>

    <CENTER></CENTER>
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มีสติรู้กายรู้ใจของตนเอง เรียกว่ามีสัมมาสติ
    หรือ สติปัฏฐาน4 มีสติรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม ของตนเอง

    ถ้ามีสติไปรู้เรื่องอื่นๆนอกจากนี้เช่น ไปรู้เรื่องของชาวบ้าน ไปสอดรู้ใจของคนอื่น
    หรือไปดูเลข ดูหวย ดูดวง ดูเรื่องที่ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ก็ไม่เรียกว่า
    สัมมาสติ ในความเข้าใจของเรานะ

    ปล.ต้องอธิบาย สัมมาทิฏฐิ ด้วยไหม อิอิ
     
  7. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    เบื่อเหมือนกัน พวกสอดรู้ใจคนอื่น . . .
     
  8. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    ก่อนอื่นต้องขออภัยที่เห็นแตกต่างในหลายส่วน
    ประการแรก การจะเห็นวิถีจิต อย่างที่ไล่เรียงเป็นลำดับ มันมิใช่วิสัยของปุถุชน หรือ แม้นของพระอริยะ เสียด้วยซ่ำไป
    ลองไปค้นดูว่าจริงไหม ที่ผมกล่าว ที่เอามากล่าวกัน นั้น ก็โดยทฤษฐี แม้นแต่ที่สอนดูกันทุกวันนี้ อิงอภิธรรมเป็นบาทฐานเสียส่วนมาก เพียงแต่พยายามลด ศัพย์แสงเทคนิคให้ ดูง่ายขึ้น เท่านั้น

    ที่นี่มาว่ากันตรงประเด็นที่ อธิบายว่า ผู้ปฏิบัติสามารถเห็นตั่งแต่อาการของใจที่อยุ่ว่าง ๆ ห่างๆ ไหววูปเกิดความทึบของจิตแล้วพุ่งพวด........ บ

    ที่กล่าวนั้นเป็นการคาดเดาบวกกับยังเป็นการพิจารณาได้แบบอารมณ์หยาบ ๆ (ขออภัย) มันเป็นปฏิกริยาทั่วไปธรรมดา เช่นเวลาคนโกธรมาก ๆ ตัวเราเองก็รู้สึกได้ ใจเต็น ลมออกหู หูอื่อ แรงดันในร่างกายสูบฉีดมากกว่าปรกติ ต่อให้บอกว่ารู้ละเอียดกว่านี้ ก็อีกเพียงนิดหน่อยเท่านั้น ก็ยังจับเพียงอารมณ์หยาบ ๆ แล้วที่กล่าวว่า จิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ ถ้าจิตไม่ส่งออกนอกแสดงว่า มันไม่ทุกข์อย่างนั้น จริงหรือ ผมว่าลองพิจารณาใหม่ ให้ ดี ๆ

    หลุมพรางของวิธีของการดูจิต มันก็อยู่ที่มักจะพูดกันว่า อาการว่าง ๆ ห่าง ๆ นี่และ คิดไปเองว่า นั้นคืออาการจิตที่ มีสัมมาสติ เพราะรุ้สึกถึงว่าว่าง ที่ว่าว่าง นั้นนะ มันว่างจริง หรือ คิดว่ามันว่าง จิตที่ไหวกระเพื่อนหนัก ๆ ตลอดเวลา เวลามันเบาตัวลงเสียหน่อย มันสามารถทำให้คิดได้ว่า นี่แหละ ถึงพร้อมซึ่ง สัมมาสติ อีกประการ การไม่รู้อะไรเลย กับการว่างจริงสำหรับผุ้ปฏิบัติที่เข้าถึง จะรุ้ว่ามันต่างกันมาก สำหรับโมหะ กับ การวางเฉย อุเบกขา

    โดยแท้แล้ว จิตที่ยังมิเคยสัมผัส ถึง อุเบกขา เอกคัตตา ไฉนเลยจะรู้ซึ้งซึ่ง ความมิยินดียินร้าย จิตที่ยังจับจ้องไล่ดู ไล่ควานหา จะเข้าใจซึ้งซึ่ง ความตั่งมั่นได้อย่างไรกัน การจะดูจะเห็นชัด มีสติสัมปขัญญะ รู้ได้ชัดนั้น มันต้องรู้จักการ หยุด เข้าถึงความสงบ จะระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติแต่ละท่านและ แต่ละขั่น

    การที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้ ทำกรรมฐานกัน ก็เพื่อจะให้จิตเข้าถึงความสงบ และตั้งมั่น เมื่อพ้นจากนิวรณ์ธรรมได้ ความรู้ชัดเห็นชัด ก็จะมีขึ้นตามลำดับ จิตจะมีความปราณีตคล่องแคล้วควรแก่การงาน ไม่กระด่าง แล้วถึงค่อยพิจารณา ไม่เชื่อลองกลับถามท่านที่สอนดูสิว่า จิตผู้รู้นั้นต้องประกอบไปด้วย โสภณเจตสิกกี่ดวงมีอะไรบ้าง ครูบาอาจารย์รุ่นเก่าก่อน ท่านก็สอนให้ เข้าถึงจิตผู้รู้ด้วยการทำกรรมฐานกัน แต่สิ่งที่นักดูจิตพยายามสอนกัน ให้ ดู ๆไปเลย โดยส่วนตัวผม ก็พยายามหาแง่มุม พยายามทบทวนพิจารณาหามุมมานานแล้วว่า มันอาจจะมีช่องมุมไหนที่ ตกหล่นไปที่อาจจะเป็นไปได้ก็ได้ว่า วิธีดูจิตอาจจะเป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกอันหนึ่ง จนถึงทุกวันนี้ยิ่งนานวัน ก็ยิ่งมองไม่เห็น พยายามตรึกในแง่ตรกกะก็ตามที หรือจากการปฏิบัติก็ดี บอกได้เลยว่าโอกาสต่ำมาก

    และที่คุณ โป กล่าว ยืนยันว่า วิธีนี่เหมือนกัน ลงได้กับทุกสาย หรือที่บอกว่าธรรมทุกสายไหลมาลงกัน ไหลมาลงที่จิตอันนี่ พออนุโลมได้ แต่ที่ว่าเหมือนกัน อันนี้ผิด มันเป็นเพียงทิฐิของคุณโปเองเท่านั้น แต่โดยความเป็นจริงวิธีและ ผลลัพธ์แตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน

    ถ้าการดูจิต จะเปลี่ยนคำเรียกเสียใหม่ว่า เป็นการ ฝึก การมีสติแห่งความรู้สึกตัว ผมอาจอนุโมทนาให้อย่างจริงใจ และยินดี แต่หากจะกล่าวว่า วิถีนี่จะนำเข้าสู่ความหลุดพ้น งงจริงครับ ไม่ได้งงเล่น แล้วที่บอกว่า นิพานเกิดได้แค่สองสามขณะ อันนี้ "ตาย ๆ" ฝึกกันไปทำไมละครับ ฝึกแทบเป็นแทบตายเกิดได้แค่สองสามขณะ ฟังแค่นี้ เป็นผม เลิก ม้วนเสื่อกลับบ้านนอนแล้ว

    ขออภัยที่อาจเป็นเหตุให้ขุ่นเคืองสำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วย แต่ผมแย้งในส่วนที่เป็นธรรมะ มิได้มีเจตนาเพ่งเล็งผู้ใด หรือแม้นแต่คุณ โป เอง ผมก็แย้งในส่วนความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจในมุมมองที่ต่างออกไปเท่านั้น ก็เป็นเพียงความขัดแย้งในความคิดเห็น และ ผลการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ส่วนอันไหนจะจริง หรือตรงธรรมอย่างไร ก็สุดแท้แต่ ผมถูกสอนมาให้รู้ว่า ธรรมที่ถูกก้ใช่ ธรรมที่ไม่ถูกก็ใช่ เช่นเดียวกัน
    ขออภัยอีกครั้ง
     
  9. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256

    สวัสดีครับ.....คุณ 00000

    ไม่รู้ ก็ ไม่รู้ครับ อย่าไปคิดค้นคว้าหาคำตอบ

    เพราะคำตอบพวกนี้ เป็นคำตอบของใครของมัน ไม่จำต้องเหมือนกัน

    ตามแต่ความเข้าใจของแต่ละคนครับ ที่ถามไปนั้นเป็นการสอบถาม

    ความเข้าใจในการเกิดอารมณ์ และสอบถาม ว่ามองเห็นตัวจิต

    ว่าเป็นอย่างไร ก่อนไหวตัวออกไปรับผัสสะ รับผัสสะแล้วเห็นตัวจิตเป็นอย่างไร

    ของทุกท่านที่เขียนในกระทู้นี้



    ต้น หรือปลาย ก็ไม่ได้อยู่ที่ไหนครับ มันหมุนเป็นวงรอบ มีเกิด มีดับ

    หมุนวนเวียน ไม่มีที่สิ้นสุด ธรรมก็ไม่ได้อยู่ที่ไหนครับ ธรรมก็อยู่ที่เรา

    ที่มองเห็นการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง มองเห็นเป็นธรรมดาของโลก

    ไม่เข้าไปยึดถือการหมุนเวียนนั้น เราเองก็หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน

    หาได้สำคัญกว่าสิ่งใดใดไม่ สภาพเหมือนทุกสรรพสิ่งในโลก...นี่คือธรรมครับ

    ...สวัสดีครับ...
     
  10. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    สวัสดีครับ.....คุณ 00000

    อย่าถ่อมตัวว่าเป็นผู้รู้น้อยเลยครับ เป็นผู้ศึกษาเหมือนกันทั้งนั้น

    วงจรปฏิจสมุปบาทนั้น....ทุกคนที่จะผ่านเข้าไปสู่ทางพ้นทุกข์

    ย่อมต้องทราบและเข้าใจดีอยู่แล้ว ทำไมต้องทราบอย่างนั้นหรือ

    ก็เพราะว่า ทุกคนต้องผ่านเข้าไปศึกษาใจ ทุกคนจะเห็นและเข้าใจว่า

    ใจมีการเปลี่ยแปลงอย่างไร ใจเป็นสุขอย่างไร และเมื่อมีอารมณ์ใจเป็นทุกข์อย่างไร

    เพียงแต่ว่า ทุกคนจะถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดอย่างไรเท่านั้น และบางท่านอาจจะ

    เห็นยังไม่ชัด เห็นหลังจากใจเป็นทุกข์แล้ว บางท่านเพียงแค่ใจไหว ก็รู้ทัน

    บางท่านเห็นความเคลื่อนของใจโดยที่ตัวมันเป็นไปเองโดยไม่มีสิ่งเร้าด้วยครับ

    เพราะอยู่ในลำดับการเดินทางต่างๆกัน

    แต่ถือได้ว่าพูดภาษาเดียวกันครับ....
     
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เห็นไล่ไปถึงอวิชชาดับหรือยังครับ
     
  12. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ภาษาเดียวกัน . .. ไม่ภาษาเดียวกันทั้งหมดหรอกเพราะ บางสำนักเขาห้ามคุยนา . . .
     
  13. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    โห.............
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ขออนุโมทนาในความปรารถนาที่มีต่อกัน
    ท่านควรพิจารณาตนเองว่า ท่านปฏิบัติยังไงถึงได้มีความเห็นเช่นนั้น

    ผู้ที่ผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา จนกระทั่งจิตรวมใหญ่
    ย่อมมีทิฐิ(ความเห็น)ไม่แตกต่างไปจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่กล่าวไว้หรอกครับ

    ที่ท่านพูดนั้นเป็นการพูดที่ไปรู้มาจากตำรา หรือฟังๆมาโดยไม่เคยพิจารณาอย่างถ่องแท้เลย

    ผมถามท่าน ท่านก็ช่วยตอบแบบตรงไปตรงมา อย่าอ้อมค้อมนะครับ

    ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา"
    "เรา"ในที่นี้เป็นที่พระวรกายของพระองค์ หรือ จิตของพระพุทธองค์กันแน่???

    จิตคือธาตุรู้ใช่มั้ย???

    ถึงอวิชชาจะครอบงำจิต จิตก็ยังรู้อยู่ใช่มั้ย???

    แต่รู้ผิดจากความเป็นจริง ไปยึดว่าขันธ์๕เป็นเราใช่มั้ย???

    ส่วนพระอริยสาวกนั้น จิตไม่ยึดอุปาทานขันธ์๕แล้วใช่มั้ย???

    ที่ท่านพูดว่า จิตไม่ใช่เรา แล้วเราในที่นี้คือใคร???

    โลกุตรจิต เที่ยงหรือไม่เที่ยง???

    จิตเหมือนร่างกายตรงไหน ท่านช่วยชี้ด้วย???

    ท่านพูดว่า "ขั้นตอนหนึ่งผู้ปฏิบัติจะเห็นและเข้าใจว่าตัวจิตมันเป็นดวง ๆ"
    ใครที่จะเห็นและใครที่เข้าใจ???

    ถ้าจิตเราเองยังบังคับบัญชา เราอบรมจิตไปเพื่ออะไร???

    สิ่งใดที่อบรมได้ ย่อมต้องบังคับบัญชาได้ใช่มั้ย???

    ถ้าจิตสั่งให้มันดี ก็ยังดีไม่ได้ คนชั่วก็เต็มบ้านเต็มเมืองหมดสิ???

    แล้วมี ศีล สมาธิ ปัญญา ไว้อบรมจิตเพื่ออะไร? เพื่อให้เป็นคนดีใช่มั้ย???

    ปล. ขอคำตอบที่สั้นๆกระชับๆนะ ผมยกคคห.มากระทู้นี้

    เพื่อความสะดวก ไม่ไปรบกวนพื้นที่ท่านตรงประเด็น....


    ;aa24<!-- google_ad_section_end -->
     
  15. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    ท่านโปครับ ทิฐิความเข้าใจของท่านยังไม่ถูกต้องครับ

    คำถามว่า กาย ประกอบด้วย ธาตุ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นสภาวะรูป
    จิต เป็นสภาวะนามธรรม เป็นธาตุรู้ ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่างลักษณะ
    รูปพรรณสัณฐาณ และจิตไม่ได้ประกอบด้วย ธาตุ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แบบร่างกาย

    ดังนั้น จิต จะเอาเปรียบกับกายไม่ได้ เป็นคนละสภาวะกัน ระหว่าง รูป กับ นาม

    ส่วนที่เข้าใจว่าตัวจิตมันเป็นดวง ๆ ที่แท้จริง เป็นคำเรียกตามสมมุติบัญญติ
    ตัวจิตเดิมแท้จริง ไม่มีลักษณะเป็นดวง ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่างลักษณะ ไม่มีรูปพรรณสัณฐาณ
    มีแต่สภาวะธรรมเป็นจิตผู้รู้ เรียกว่า ธาตุรู้ ไม่มีเกิด ไม่มีดับ ไม่มีปรวนแปร เสื่อมสลาย
    ไม่ได้อยู่ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์ แบบร่างกายที่ต้องเกิดต้องดับ ที่เข้าใจว่า จิตเกิดดับ
    แท้จริง เป็นอาการของจิต คือ อารมณ์ความคิดที่เกิดดับ เป็นขณะ
    องค์หลวงตามหาบัว ย้ำอยู่เสมอ จิตไม่มีวันตาย กายเท่านั้นที่ตาย

    การที่จะเห็นจิตได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
    ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา ขั้นปฐมฌาณ จนกระทั่งจิตรวมใหญ่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2009
  16. จีโอ14

    จีโอ14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +262
    สาธุ..

    อยากจะดูมานานแล้ว..ที่สอนกันมีแต่จิตเกิด..ดับ..เราไม่ใช่อะไร..เลย

    จะตอบคำถามอย่างข้างบนนี้..ว่าอย่างไรหนอ?

    และขอ..แปะเพิ่มอีกอัน..ดั่งวลีสุดท้ายที่ว่า..

    จงชำระจิตใจให้ผ่องใส่บริสุทธิ์..นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์...

    แล้ว...จิตผ่องใส่บริสุทธิ์..กับ..จิตไม่บริสุทธิ์..

    มันต่างกันยังงัย?
    อะไรที่ทำให้ต่างกัน?..
    อะไรที่ไม่บริสุทธิ์?
    ต้นตอมาจากไหน?..
    จะเข้าถึงต้นตอนั้นได้อย่างไร?..
    จะขุดรากถอนโคนต้นตอนั้นด้วยอะไร?

    ในทัศนะ..ของ..จิตมีแต่เกิด..ดับ..เราไม่ใช่อะไร..เลย จะมีความคิดเห็นอย่างไร..ในเรื่องนี้..หนอ
     
  17. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    สวัสดีครับ....คุณธรรมภูต

    หากเป็นคำถามเพื่อการเรียนรู้ซึ่งกันละกัน ผมยินดีตอบครับ หากถามเพื่อเอาชนะ ผมจะขอเฉยเสียนะครับ...


    ผมปฏิบัติมาในแนวพุทโธครับ....แนววัดป่า ที่เอากำลังสมาธิมาพิจารณาร่างกายครับ

    อาจจะต่างจากคุณนิดหนึ่ง ที่คุณบอกว่า คุณนั่งสมาธิแล้วดูการเคลื่อนไปของฌาน

    ซึ่งเมื่อเกิดอารมณฺ์ ก็พยายามเอาจิตที่เกิดอารมณ์กลับมาที่ฐานของจิต ซึ่งเป็นการเอาสมถะมาข่มอารมณ์นั่นเอง

    ในตอนนี้ ทิฐิ(ความเห็น) ของคุณกับผม ไม่ตรงกันในเรื่องที่ คุณเห็นว่า จิตไม่มีวันแตกดับ

    สามารถบังคับบัญชาจิต อบรมจิตให้ดีได้ ส่วนผมเห็นว่า จิตมีวันแตกดับ ซึ่งเหมือนกับ

    ร่างกายที่ต้องสูญสลายเช่นเดียวกัน สิ่งที่ทั้งสองสิ่งนี้ เหมือนกันคือ ความยึดถือหรืออัตตา ว่าสิ่งนี้เป็นของของเรา

    จริงอยู่ แม้จะบังคับบัญชาจิตให้สงบ เพียรปฏิบัติให้เกิดฌานได้ แต่ก็เป็นลำดับขั้นของการปฏิบัติในตอนตอนหนึ่งของผู้เดินทาง

    ซึ่งฌานนี้ ฤาษีชีไพร ในลัทธิอื่น นอกจากศาสนาพุทธ สามารถทำได้ ทำได้ถึงการดับจิตไม่ให้รับรู้สิ่งใดใดเลย( อรูปฌาน )

    ฤาษีชีไพร ที่บำเพ็ญเพียร หลงไปว่า จิตสำคัญที่สุด และตัวจิตไม่มีวันตายหรือเรียกว่า อาตมัน ถือว่า อาตมัน เป็นที่สุดของที่สุด

    แต่สิ่งที่ศาสนาพุทธ ต่างไป ก็คือความรู้ที่ว่า อาตมันนั้น ไม่ใช่ที่สุด อาตมันหรือตัวจิต

    เป็นอัตตาตัวตัวสุดท้ายที่เหนียวแน่นที่สุด อวิชชาคือความไม่รู้ว่าตัวจิตไม่เที่ยง

    ผู้ที่ดวงตาเห็นธรรม ตามคำสอนของพระพุืทธองค์ที่สอนไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรานั้น

    ผู้ที่เห็นนั้น ไม่ได้เห็นพระวรกายหรือดวงจิตของพระพุทธองค์ แต่เห็นสภาพสภาวะหนึ่งซึ่งจิตคลุมโอบหุ้มไว้

    เหมือนฟองไข่ ที่ตัวจิตเปรียบเสมือนเปลือกไข่หุ้มไว้ เมื่อผู้เห็น เห็นสภาวนั้นที่แทรกผ่านเปลือกไข่ออกมา

    ย่อมเข้าใจว่า ทุกสิ่งๆในโลกไม่เที่ยงแท้ ไม่สมควรยึดถือแม้แต่ตัวจิตเอง ท่านจึงไม่มีเราในที่ใดใด


    นี่เองทำให้ศาสนาพุทธไม่เหมือนกับลัทธิ ฤาษี ที่ยึดถือฌานสมาธิว่าสำคัญยิ่ง

    แต่ผมก็ยอมรับว่า...ฌานจำเป็นในส่วนหนึ่งสำหรับการปฏิบัติ แต่มีไว้เพื่อเอามาใช้ และไม่ได้สำคัญที่สุด

    สวัสดีครับ...
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ตัวใจ นี้ ไม่แตกไม่ดับ
    เมื่อใครถึง ตัววิมุตติ แล้วจะเห็นความไม่เกิดไม่ดับ ในตัวนั้นแหละ

    ส่วนที่ว่า จิตเกิดดับ นั้นเป็นส่วนของเจตสิก ที่ไปจับกับสมมติ เมื่อธรรมชาติของสมมติมันอยู่ในไตรลักษณ์แล้ว จิตที่ไปจับกับสมมติ ย่อมดับตามไปด้วย

    เช่น เอาใจเข้าไปอยู่ีกับเรื่องราวบางอย่าง เมื่อเรื่องราวนั้นดับลง ใจในส่วนนั้นย่อมดับลงด้วย

    แต่หากว่า ใจเข้าไปสู่วิหารธรรมแล้ว ใจก็คือใจ ไม่มีการแปล ว่ามันจะนิ่ง หรือมันจะวิ่ง ไม่หมายไป แต่ยังคงเป็นสภาพบุคคล ไม่ใช่เป็นสาธารณะ

    ทีนี้ เมื่อใจนั้นไป หยิบจับ กับ สภาพสมมติ เราก็สังเกตุดูสิว่า ยังมีตัวที่มีสติตามจับสมมตินั้นได้ มีตัวที่รู้ว่ามีสติ มีตัวรู้อยู่นอกเหนือจากสภาพสมมตินั้นอยู่ เป็นชั้นๆ
    เรียกว่า ผู้เห็น จิตในจิต ธรรมในธรรม
     
  19. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ถามตรง ๆ ไปตั้งหลายคำถามไ่ม่ยักจะตอบ จะได้รู้ความมีความเห็นในระดับไหน จะได้เลือกเอาปัจจุบันธรรมมาสนทนาได้ เผื่อว่าเห็นลึกละเอียดกว่าผมจะได้ขอคำแนะนำ

    เฮ้อ... วันดีก็โผล่มา

    ฌานไม่สำึคัญ
    พูดปฎิจจสมุปบาทที่ไม่เป็นกระบวนการเกิดดับแห่งทุกข์
    มาวันนี้พูดไปเรื่องฤาษีซะอีก พูดลอย ๆ ลงอะไร ไม่ลงซักเรื่อง

    เทียบอะไรไม่ลงไปในทุกข์ ไม่ลงไปในเหตุแห่งทุกข์ ลอย ลอย

    จิตเบาหวิวก็รู้ว่าจิตเบาหวิว แต่ก็ไม่มีการวินิจฉัยในเหตุ มันหวิว เบา วูบวาบ แต่ก็ไม่รู้ทำไมมันเป็นไป มันคืออะไรกันหนอ

    ซึ่งฌานนี้ ฤาษีชีไพร ในลัทธิอื่น นอกจากศาสนาพุทธ สามารถทำได้ ทำได้ถึงการดับจิตไม่ให้รับรู้สิ่งใดใดเลย( อรูปฌาน )

    จริงอยู่ แม้จะบังคับบัญชาจิตให้สงบ เพียรปฏิบัติให้เกิดฌานได้ แต่ก็เป็นลำดับขั้นของการปฏิบัติในตอนตอนหนึ่งของผู้เดินทาง

    ซึ่งฌานนี้ ฤาษีชีไพร ในลัทธิอื่น นอกจากศาสนาพุทธ สามารถทำได้ ทำได้ถึงการดับจิตไม่ให้รับรู้สิ่งใดใดเลย( อรูปฌาน )

    ฤาษีชีไพร ที่บำเพ็ญเพียร หลงไปว่า จิตสำคัญที่สุด และตัวจิตไม่มีวันตายหรือเรียกว่า อาตมัน ถือว่า อาตมัน เป็นที่สุดของที่สุด

    แต่สิ่งที่ศาสนาพุทธ ต่างไป ก็คือความรู้ที่ว่า อาตมันนั้น ไม่ใช่ที่สุด อาตมันหรือตัวจิต

    เป็นอัตตาตัวตัวสุดท้ายที่เหนียวแน่นที่สุด อวิชชาคือความไม่รู้ว่าตัวจิตไม่เที่ยง


    ตรงสีแดงนี้ใช่อย่างนั้นเหรอครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2009
  20. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    น่าจะจริงที่ว่าไม่แตกดับ เพราะว่าเมื่อไม่มีแล้วอะไรจะแตกอะไรจะดับ เมื่อหมดสมมุติก็แปลว่าหมดใจ เมื่อหมดใจก็ไม่มีที่สำหรับอวิชชา เพราะอวิชชาอยู่ที่ใจ ถ้ายังเที่ยวไล่ตามสมมุติอยู่ก็เห็นเดี้ยวมันเกิด เดี้ยวมันดับ อยู่อย่างนั้นของมันนั้นแหละ แต่ผมว่าบางท่านยังไม่น่าจะไปคิดเรื่องราวเหล่านี้เลยมันยิ่งจะทำให้แย่ลงหากปฏิบัติเพื่อละคลายความกำหนัด เพื่อถอดถอนกิเลส ซึ่งในความเป็นจริงระหว่างนี้อาจบอกได้เพียงเล็กน้อยที่พอจะสามารถนำไปใช้ได้จริง เพราะอย่างที่บอกการปฏิบัติหรือการฝึกภาวนา ทุกๆชนิดเป็นไปเพื่อสร้างสติและหาจุดที่จิตเรานั้นเหมาะสมที่สุดเพื่อเป็นเหตุหรือสร้างปัญญา ดังนั้นไม่ว่าจะพูดอะไรออกไปก็ใช้ได้เพียงครึ่งเดียวหรือบางทีใช้ไม่ได้เลยเพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน และก็กลับมาที่เรื่องเดิม คือ เมื่อพบจุดที่เหมาะสมสำหรับตนเองแล้วก็ไม่มีเรื่องจะถามตอบเพราะไม่รู้จะตอบไปแล้วได้อะไรเพราะเมื่อรู้ว่าต้องปฏิบัติเพียงเท่านั้น ก็ได้แต่บอกว่าไปปฏิบัติเถอะนะ จิต แท้จริง ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า ตัวรู้ หรือ ธาตุรู้ มันก็อยู่ของมันอย่างนั้นแหละ เปรียบผิวน้ำที่นิ่งไม่มีอะไรกระทบพอมีอะไรกระทบเช่นโยนหินลงไปมันก็กระเพื่อมไปบ้าง น้ำขุ่นบ้าง ได้ยินเสียงตอนที่โยนหินลงน้ำบ้างเป็นต้น นี้เป็นระดับหนึ่งแต่ผมไม่ได้อยากให้สนใจเลยว่าจิตคืออะไร แล้วอะไรคือจิต เพียงแต่ให้รู้ไว้ก็พอว่าจิต มีได้เพราะมีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆอยู่เท่านั้นก็พอ และก็ฝึกปฏิบัติไปเพื่อถอดถอนความยึดมั่นถือมั่น ไม่ได้ถอดถอนจิต ตรงนี้สำคัญมากเหมือนกันต้องผ่านการละความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลายทั้งปวงด้วยสติแล้วจึงจะเห็นได้ว่าแท้จริงอะไรคือของเรากันแน่ มีไหมไม่รู้ รู้แต่เพียงว่าไม่ได้หมายถึงมีหรือไม่มีและก็ไม่ได้หมายถึงของเราหรือไม่ใช่ของเรา พอถึงตรงนั้นแล้วจะรู้เองขอให้ไปให้ถูกเถอะทางที่พระศาสดาตรัสสั่งสอนไว้ ต้องฝึกปฏิบัติครับเพียงทางเดียวเท่านั้นตามที่ท่านๆทั้งหลายและอาจารย์พระอรหันต์และพระอริยะบุคคลทั้งหลายกล่าวไว้ ตามนั้น เมื่อมีสติแล้ว อะไรๆก็เป็นได้ทั้งนั้นและยิ่งถ้าเป็นสัมมาสติหรือสติสัมโพชฌงค์แล้ว ความยึดมั่นถือมั่นก็ไม่เกิดตามที่หลายๆท่านกล่าวไว้ไม่ผิดเพี้ยน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...