ใครหาทางหลุดพ้นได้แล้วบ้างช่วยแนะนำที

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย nunnapath, 26 มีนาคม 2009.

  1. หนูแว่น

    หนูแว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    1,188
    ค่าพลัง:
    +3,207
    พออ่านคำว่าหลุดพ้น ก็ทำให้เข้าใจถึงความทุกข์ แค่เราไม่มีตัวเรา ไม่มีอัตตา ไม่มีสัญญา
    ไม่มีอะไร เราก็หลุดพ้น ปุถโถ่ ขอบคุณมากนะค่ะ สวดมนต์ทุกวัน พระท่านสอนเราทุกวัน
    ดันไม่เข้าใจ มาเก็ด ก็คำที่เจ้าของกระทู้มาถามนี่แหล่ะค่ะ คราวนี้ทำอย่างไร ให้คงสภาพ
    ไม่ลืมคำนี้ เท่านั้นเอง ขอบคุณนะค่ะ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาเข้าปริยัติธรรมกันบ้าง หลังจาก จขกท ได้ลองปฏิบัติ วางจิตวางใจ
    ให้แยบคาย(โยนิโสมนสิการ) กันไปแล้ว จะเห็นว่า ธรรมะของพระพุทธ
    องค์นั้นมีความเรียบง่าย คนที่มีวาสนาไม่เหมาะแก่การทำ ฌาณ อย่างฆราวาส
    ที่ยังต้องทำงาน เลี้ยงชีพ ดูแลพ่อ แม่ ลูก หลาน มีหน้าที่อันควรประพฤติชอบ
    ไม่ควรทิ้งการงานเหล่านี้ ไม่ควรปฏิเสธวาสนาของตนที่มี ที่ทำมา มันอยู่ที่
    เราจะเข้าใจวาสนาที่เรามีเราเป็นแค่ไหน เหมือน คนมีลูก ก็ต้องดูแล และเมื่อ
    ลูกเติบใหญ่เริ่มมีเรื่องเพศมายุ่ง นั่นคือวาสนาที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่เราจะอยู่ร่วม
    กับสิ่งที่เกิด ได้โดยสามารถจัดการให้ดีที่สุด

    ธรรมะแท้ๆ ของพระพุทธองค์ จะให้ผลเร็ว โดยเหมาะกับทุกอินทรีย์ และวาสนา

    ธรรมแท้ๆ หากศรัทธาถูกต้อง ได้รับการฟังธรรมจากสัตบุรุษ แลกัลยาณมิตรก็จะ
    ทำให้พอเห็นแสงสว่าง แต่แสงสว่างทั้งสองนี้ยังเป็นแสงสว่างที่มาจากภายนอก

    ยังมีแสงสว่างอีกชนิดที่ออกมาจากตัวเอง นั้นคือ ความไม่ประมาท

    อ่านเพิ่มเติมในเรื่องแสงอรุณทั้ง 3 ได้จาก link นี้

    <TABLE width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="33%">[​IMG]</TD><TD vAlign=top width="34%"></TD></TR><TR><TD vAlign=top width="33%"></TD><TD vAlign=top width="33%"></TD><TD vAlign=top width="34%"></TD></TR><TR><TD vAlign=top width="33%">[​IMG] (๑) กัลยาณมิตตตา


    </TD><TD vAlign=top width="33%">[​IMG] (๒) โยนิโสมนสิการ </TD><TD vAlign=top width="34%">[​IMG] (๓) อัปปมาทะ




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    *** แต่แสงสว่างทั้งสองนี้ยังเป็นแสงสว่างที่มาจากภายนอก

    ประโยคนี้มีที่ผิด ขออภัยครับ ขอแก้เป็น อย่างแรกมาจากภายนอก ส่วนอีก
    สองนั้นมาจากภายใน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2009
  3. ธาตุ 4

    ธาตุ 4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2009
    โพสต์:
    123
    ค่าพลัง:
    +110
    คุณมีข้อนี้หรือยังถ้ายังไม่ต้องคิดถึงการหลุดพ้น
    1.การมีพระรัตนตรัยที่เป็นที่พึ่งที่คิดถึง
    2.รู้จักให้ทานอุทิศ
    3.การให้ทานอย่างบริสุทธ์
    4.ให้ทานอย่างบริบูรณ์
    5.รู้จักรักษาสีล
    6.รักษาศีลให้บริสุทธิ์
    7.รักษาศีลให้บริบูรณ์
    8.เรียนกรรมฐาน
    9.เรียนกรรมฐานจนเข้าใจชัด
    10ฝึกกรรมฐาน
    11.ทำกรรมฐาน
    12.เร่งทำกรรมฐาน
    และที่สำคัญก่อนทำกรรมฐานต้องตัดกังวล 10 อย่างออกให้หมด
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ธรรมชาติของจิตที่เกิดอกุศลครอบงำ จะทำให้ไหลลงที่ต่ำ

    แต่ทว่า จิตที่อยู่ในภพภูมิมนุษย์นั้นย่อมไหลขึ้นที่สูง เป็นภูมิ
    ของสัตว์ที่มีจิตใจสูง คำบาลีจึงใช้คำว่า "มนุษสา"

    จะเห็นว่า เงื้อนอันสำคัญนั้นคือ จิตมีอกุศลครอบงำ หรือเปล่า
    หาก จิตไม่มีอกุศลครอบงำแล้ว มนุษย์จะยกจิตขึ้นได้เองโดย
    ตัวจิตมันทำเอง เป็นไปตามธรรมชาติจิตของมนุษย์ ภพมนุษย์
    จึงเป็นภพที่เหมาะที่สุดในการภาวนา แม้พระพุทธองค์ก็เลือก
    ที่จะตรัสรู้ธรรมในภพของมนุษย์

    หากกลับไปพิจาณรา เรื่องราวชีวิต และการปฏิบัติ จะเห็นว่าเรื่อง
    วาสนาการได้เกิดมาร่วมกับบุคคลใดๆ การได้อยู่ในถิ่นอาศัยใดๆ
    การได้พบปะเจรจากับบุคคลใด การได้มียา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม
    ใดนั้นล้วนแต่เป็นเรื่องของวาสนามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น สิ่งเหล่านี้
    หลีกเลี่ยงไม่ได้ บางอย่างเลี่ยงไม่ได้เลย บางอย่างข่มไว้ จัดไว้
    กดไว้ก็พอที่จะลอยตัวออกมาได้บ้าง

    แต่สิ่งเหล่านี้แท้จริงมันคือ ส่วนอกุศล ที่ฉุดให้เราต้องไหลไปทาง
    ต่ำหรือเปล่า .....กลับกลายเป็นว่า ไม่ใช่

    สิ่งที่เป็นอกุศล นั้นออกมาจากจิตเราเอง โดยมีความคิดของเราเอง
    นั้นแหละเป็นภัยร้ายเรียกอภิสังขารมาร เมื่อเกิดความคิดแล้วทำให้
    เกิดนิวรณ์ธรรมทำให้ กิเลสมาร ออกมาชักชวนลงต่ำอีกทอดหนึ่ง

    มารมี 5 ชนิด ได้แก่กิเลสมาร อภิสังขารมาร ขันธมาร มัจจุมาร
    และ เทวบุตรมาร

    4 อย่างแรกออกมาจากกายใจเราเอง ส่วนเทวบุตรมารนั้นเป็น
    ธรรมภายนอก เป็นคนนอก เป็นองค์นอกที่ไม่มีสัมมาทิฏฐิเป็นผู้
    ทำวาทะกล่าวชักชวนให้เราตกเบื้องต่ำหลังจากเราเกิดนิวรณ์ธรรม
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ภพภูมิของมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีจิตใจสูง

    แล้วทำอย่างไรจึงจะเห็นว่า แท้จริงจิตใจตามวาสนาที่เราได้มาในชาตินี้
    ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว จะเดินเข้าสู่ที่สูงได้เองตามที่พระพุทธองค์
    ตรัสนิยามแจ้งไว้

    ก็อยู่ที่ อย่าให้อกุศลจิตมันครอบงำเราได้

    เราห้ามอกุศลจิตไม่ให้เกิดไม่ได้ เพราะ คนเราต้องคิด มีจิตที่ทำหน้าที่
    คิด การคิดก็คืออภิสังขารมารนั้นแหละ เราจึงไม่มีทางหลุดพ้นได้หาก
    เราอาศัยคิด เพราะเราไปหลงกลใช้มารให้ช่วยหาทางออกจากมัน มีมาร
    ที่ไหนมันจะคิดหาทางออกให้เรา ไม่มีดอก มันมีแต่จะหลอกให้เราไปติด
    กับอะไรสักอย่าง

    "เมื่อไหร่คิดเมื่อนั้นไม่รู้ เมื่อไหร่รู้ เมื่อนั้นไม่คิด" นี่คือปริศนาธรรม
    ที่ครูบาอาจารย์วางไว้ให้เราไปเล็งเห็น เพื่อให้หาทางพ้นจากอภิสังขาร
    มารก่อนเป็นอันดับแรก

    ยินดีด้วย !!!

    อย่างน้อย หาก จขกท เคยทำความรู้สึก รู้สึก ระลึกรู้สภาวะธรรม แยก
    สิ่งที่เป็นวาสนา ออกจากความสงสัย นิวรณ์ธรรมได้บ้าง จิตใจจะเริ่ม
    โปร่งเบา หลังจากนั้นก็จะควรแก่การงาน ที่จะพิจารณาธรรมที่เกิดไป
    ด้วยใจที่เป็นกลางไม่หนักใจเมื่อเห็น สิ่งที่เป็นอกุศลจิต กิเลสมาร มันผุด
    ขึ้นในจิตคอยชักชวนเราไป เมื่อเรารู้ทันกิเลส รู้ทันมาร มารทั้ง5 ย่อม
    หลอกเราไม่ได้ และมีความซื่อตรงต่อการเห็นธรรม ไม่หลีกหนี ไม่ปฏิเสธ
    สิ่งที่มีในเราจนพาลไปเผลอสร้าง ความไม่ชอบใจ หรือ ความชอบใจ ทำ
    ให้จิตเราแล่นเข้าสู่เบื้องต่ำ(กว่านิพพาน)ทันที

    จิตลหุตา ปคุณตา มุทุตา และ อุชุกตา คือ โสภณเจตสิก ที่เป็นมหากุศล
    จิตที่เกิดจาก การมี สติ(มหากุศลจิต) คอยระลึกรู้สภาวะธรรมเนืองๆ

    โสภณเจตสิกเหล่านี้เอง ที่ทำให้ อกุศลจิตครอบงำจิตใจเราไม่ได้ และ
    เมือไหร่ที่จิตปราศจาก อกุศลครอบงำ เมื่อนั้น จิตในภพภูมิมนุษย์จะทำ
    หน้าที่ของเขาตามวาสนาที่เยี่ยมยอดตามที่พระพุทธองค์ตรัสชี้ให้ดูไว้
    คือ มันจะไหลขึ้นที่สูงได้เอง(นิพพาน)

    จะเห็นว่า มหากุศโลบายอันยอดเยี่ยม พระพุทธองค์ได้วางไว้แล้ว เพียง
    แค่คุณหมั่นระลึกรุ้สภาวะธรรมที่เป็นจริงลงในกายในใจเราไว้เนือง เป็น
    ปัจจุบันลงเป็นไตรลักษณ์(โดยไม่ใช่คิด แต่ใช้การระลึกเห็น) เหล่านี้
    เรียกว่า สติปัฏฐาน 4

    สติปัฏฐาน 4 จึงเป็นทางสายเอกสายเดียว ที่ทำให้เราหลุดพ้นทุกข์ได้
    โดยที่มีชีวิตไม่ต้องขัดแย้งต่อโลก หนีทุกข์แม้แต่นิดเดียว ...การรู้ทุกข์
    ให้ตรงตามความเป็นจริง(ระลึกรุ้ ไม่ใช่คิด)เข้าไปตรงๆนั้นแหละทางหลุด
    พ้นทีคุณถามถึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2009
  6. amm.

    amm. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2008
    โพสต์:
    243
    ค่าพลัง:
    +613
    ขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตาสั่งสอน ข้าพเจ้ารู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดดับแค่เพียง
    กระพริบตา ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปได้ แล้วทำไมใจเราถึงต้องไปยึดเกราะเอาไว้ให้หนัก ปล่อยให้เป็นไปตามสภาวะที่ควรเป็น ใช่ไหมค่ะ แต่ที่ไม่ควรจะขาดเลยก็คือการพิจารณาในสภาวะที่เกิด พยายามดู พยามเห็น ไปเป็นไปตามไตรลักษณ์ใช่ไหมค่ะ แล้วเราก็จะปล่อยไปทีละอย่าง เมื่อใจเราเบา กายเราก็จะเบา ใช่ไหมค่ะ ตอนนี้รู้สึกได้ถึงคำว่านี่แหละสุขใจจัง
    ......................
    เมื่อสุขใจแล้วรับความอิ่มเอิบเต็มที่แล้วก็อย่าลืมพิจารณาความสุขด้วยเพราะมันก็ไม่อยู่กับเราไปตลอดหรอกนะ...ให้เรารู้ว่า..อ้อ..ก็ความสุขมันเป็นอย่างนี้เองแล้วเราก็ทำใจให้สงบระงับเข้าไปอีกปล่อยวางความสุขนั้นไปเสียเพราะหากเราไม่ปล่อยยังยึดมันไว้...หากมันหายไปเองโดยที่ใจเรายังตั้งรับไม่ได้มันก็จะเกิดทุกข์เพราะเสียดายอาลัยในสุขนั้นอีกนะ...
    เอาไปพิจารณากันนะ...
     
  7. ajmin

    ajmin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +628
    ความลับแห่งความรู้แจ้งหรือหลุดพ้นคือ จิตสงบนิ่งตลอดเวลา ถึงแม้จะอยู่ในที่ที่เสียงดังหรือมีสิ่งรบกวนอยู่ตลอดเวลา เท่านั้นครับ ง่ายๆแต่ทำยาก
     
  8. รอคอย2

    รอคอย2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +0
    [​IMG][​IMG][​IMG]..............................................................[​IMG][​IMG][​IMG]

    นั่นไง


    พระพุทธองค์จึงทรงให้เห็นละเอียดไปอีกว่า...

    สุขเวทนา ที่เราเสวย นี่เป็นสุข เนื่องจากเหตุอะไร

    เป็นมาจากเหตุปรุงที่ได้เสวยอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ

    ที่เห็นยาก ก็คือ มาจากใจนี้แหละ


    เช่น สุขจากความว่างที่สร้างขึ้นมา( สมาธิ ฌาณ ญาณ ความคิด การตั้งแจตนาปล่อยวาง ฯลฯ )

    กับ สุขจากความว่างที่ไม่ได้อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
    ( ตัวนี้แหละ ที่ทุกท่านกำลังทำให้ถึง - ซึ่งมีเพียงพระอรหันต์ที่ท่านเสวย
    สุขแบบนี้ ได้แบบอกาลิโก ไม่ขึ้นกับกาลเวลาใดๆ ไม่จำกัดกาลแล้ว )



    สวากขาโต ภควตา ธัมโม ...สาธุ
     
  9. รอคอย2

    รอคอย2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +0
    ความพ้น ที่ใจสร้าง และ ยึดไว้ นั้นอย่างหนึ่ง

    กับ ความพ้น ที่ใจสร้างเพื่ออาศัยเป็นที่พักระหว่างทาง พอถึงความพ้น อันเป็นอนันตกาล ก็ปล่อยวาง รื้อถอนบ้านที่สร้างระหว่างทางทิ้งไป บ้านใหม่ก็ไม่สร้าง

    ขอให้ทุกท่าน ทุกชีวิต เข้าถึงโดยพลัน

    โมทนาสาธุ กับทุกท่านด้วย
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จากบทความของผมข้างต้น เป็นเพียงการสรุปสิ่งที่ จขกท ได้ผ่านมา
    แล้วด้วยน้อมปฏิบัติ ผมก็แค่เอามาสรุปให้เข้าไปทางปริยัติ เติมบาลี
    เข้าไปบ้างเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถไปศึกษาต่อเองได้บ้าง เพราะ
    กัลยาณมิตรที่ดีที่สุด คือ พระไตรปิฏก หากเราสามารถอ่านพระสูตรในพระ
    ไตรปิฏกได้ ก็จะทำให้ปลาอดภัย หากเป็นตำราแปลที่มีบาลีก็ยิ่งดี แต่
    ถ้าจะต้องอ่านฉบับแปลเป็นไทยล้วนๆ ก็ต้องหมั่นสังเกตุ ถึงความผิด
    ปรกติ ที่ไม่เข้ากับผลการปฏิบัติ ต้องแยบคายพิจารณาให้ละเอียด ว่าผิด
    ที่เรา หรือ ผิดที่ตัวหนังสือ

    * * * *

    คราวนี้จะกล่าวล่วงหน้าไปสักเล็กน้อย นักปฏิบัติส่วนใหญ่จะ กังวลเรื่อง
    ของ ฌาณ หรือ สมาธิ มักรู้สึกว่า ฌาณ สมาธิ ต้องทำมากๆ ต้องเข้าคอส
    ต้องเอาให้ตัวลอย ต้องทำให้แจ่มก่อน ถึงจะเข้าถึงมรรคผลได้

    ตรงนี้ก็ขอวกมาเรื่อง โสภณเจตสิก คือ ความรู้สึก กายเบา จิตเบา จิตคล่อง
    แคล้ว(เกิดกับสมาธิที่ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ) จิตควรแก่การงาน จิตตรงต่อการเห็น
    ไม่ปฏิเสธการเห็นการมี .....ผมศรัทธาอยู่ว่า จขกท ได้สัมผัสแล้ว ไม่มากก็
    น้อย

    โสภณเจตสิกเหล่านี้แหละครับ ตัวชี้วัดว่า คุณมี ฌาณจิต อยู่หรือเปล่า

    ลองไปตรวจสอบเพื่อนักปฏิบัติสาย สมถะยานิก ดู เวลาเขาหยุดทำ
    สมาธิแล้วรู้สึกอะไรกัน

    จะเห็นว่า ก็พวกโสภณเจตสิกเหล่านี้แหละ ที่เขาเห็น แต่ของเขานั้น
    จะเกิดเจตสิกเหล่านี้ได้ต่อเนื่องนานกว่า และโดยส่วนมากมักจะถูก
    ตัณหาจริตของตัวเองเข้าแทรก ทำให้เกิดความยึดติดในรสเจกสิก
    เหล่านั้นจนคิดว่า นั้นคือการพ้นกิเลส จริงๆมันเป็นเพียง วิบากจิต
    ที่เกิดจากการทำงานของใจคือ ทำสมาธิ ทำฌาณ พอราคะแทรกมากๆ
    ก็จะเกิดความยึดมั่นถือมั่น ลืมเหตุ ปัจจัย ไปหมด

    แต่สำหรับวิปัสสนายานิก หรือ คนที่เดินวิปัสสนาเป็นแล้ว จะเห็นว่า
    โสภณเตสิกเหล่านี้ตนก็ได้รับแล้ว(เกิดฌาณแล้ว) แต่มันมีเพียงชั่ว
    ขณะ ไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนได้ ตรงนี้ทำให้นักวิปัสสนานั้นสามารถ
    เล็งเห็นความไม่เที่ยงในความสุขเหล่านี้ได้ทันที และไม่ยึดติด ทำให้
    อรรถยาสัยของสมถะยานิก และ วิปัสสนายานิกเกิดเป็นข้อพิพาทเสมอๆ

    เนื้อหาตรงนี้ที่จะย้ำคือ ฌาณ สมาธิ ที่ห่วงว่าจะไม่ได้ จริงๆ แล้วได้ทำ
    แล้ว แต่นักวิปัสสนานั้นจะได้รับผลเพียงช่วงสั้นๆ

    แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ สภาวะปลอดโปร่ง โล่งเบาก็ยาวนานขึ้น ไม่ต่างจาก
    สายสมถะยานิก เมื่อเกิดความต่อเนื่องสภาวะฌาณนั้นก็ขึ้นสู่ฌาณ 5 หรือ
    อรูปฌาณไปเลย (ในทางอภิธรรมในพระไตรปิฏกถือว่าเป็น ฌาณ4)

    ดังนั้น ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ฌาณ แต่ให้ระวังไว้เลยครับวันไหนได้
    ความสุขแบบนั้น ก็จะเกิดราคะแทรกได้ไม่ต่างจาก สมถะยานิก คือติด
    สมถะ ติดการทำสมาธิแบบอรูปฌาณ ติดรสสุข เบาสบาย ตายน้ำตื้น
    ก่อนที่จะถึงฝั่งพระนิพพาน

    * * * * *

    วสี คือ ความชำนาญในการเข้าฌาณ กล่าวคือ เมื่อจดจำช่องเข้าสภาวะ
    ของฌาณใดๆ ได้ ก็จะวางจิตให้ถูกมุมแล้วลัดเข้าไปเลย ไม่ต้องมาเดิน
    1 2 3 4 แบบนักเรียนประถม : พระผู้เลิศในเจโตปริญาณ จะชี้ทางเข้า
    นั้นให้ตรงตามสภาวะของบุคคล เมื่อชี้ได้แล้ว จิตผู้นั้นจะลัดเข้าลิ้มรส
    ของฌาณได้เนืองๆ จนกว่าจะจดจำได้ ก็จะเป็นผู้ชำนาญการเข้าฌาณด้วย
    ตัวเอง เมื่อนั้นก็จะมีวิหารธรรมได้เทียบเท่าสมถะยานิกหากต้องการพักจิต
    เพื่อให้เกิดกำลังในการตัดกิเลส(ระลึกรู้ ดูสภาวะทุกข์ --> วิปัสสนา)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2009
  11. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ศีล สมาธิ ปัญญา หมั่นทำให้มากๆ ไว้เถิด
    ไม่ต้องกังวลว่าจะไปติดสุข ติดสงบ หรืออะไร
    การปฏิบัติฌาณสมาบัติ ยุคนี้ไม่ง่ายนักหรอก
    อะไรที่เป็นกุศล สร้างไว้ให้มาก ติดขัดตรงไหน ค่อยว่ากันทีหลัง
    ตอนนี้ศึกษาให้เคลียร์ก่อน แล้วลุยเลย อย่ามัวรอช้า
    สติปัฏฐานสี่ เจริญให้มาก แล้วดีเอง
    ความกังวลไปก่อนล่วงหน้า เป็นอุปสรรคอยู่พอควร
    ศรัทธานำ ควบคู่ปัญญา พาดำเนินไป...
     
  12. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    แจ่มแจ้งเลยพระเจ้าข้า เป็นคำที่ข้าพเจ้ารู้สึกดีที่ได้ธรรมจากทุก ๆ ท่าน ข้าพเจ้าจะน้อมเข้ามาพิจารณาให้แจ่มแจ้ง.....สภาวะที่จิตที่ดีต้องมีปัญญาถูกต้องไหมค่ะ เมื่อมีศีล สมาธิ สุดท้ายต้องมีปัญญาใช่ไหมค่ะ
     
  13. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    จิตดี หรือ ไม่ดี ยังไม่เชิงเป็นเป้าหมาย
    จิตโล่ง โปร่ง สบาย เบา ห่างไกลจากกิเลส คือ สิ่งที่ควรเป็น

    ศีล ช่วยขัดเกลาให้จิตใจปราณีต ละเอียดอ่อน ไม่เดือนร้อนใจ เพราะไม่ได้ละเมิดผู้ใด

    สมาธิ ช่วยให้จิตสงบ ปราศจากนิวรณ์ที่เป็นอุปสรรคในการเจริญปัญญา จิตที่มีสมาธิ เป็นจิตที่มีศักยภาพที่จะนำไปใช้ทำอะไรได้หลายๆอย่าง เช่น น้อมไปทางฤทธิ์ก็ได้ หรือ นำไปเพื่อพิจารณาธรรมก็ดี

    ปัญญา เกิดจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของสติปัฏฐาน4 เริ่มต้นจากปัญญาจากการเรียนรู้โดยการอ่านและการฟัง เพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น จากนั้นจึงใช้ปัญญาเบื้องต้นนี้พินิจพิเคราะห์ จนเข้าใจในหลักธรรมต่างๆมากขึ้น ถือเป็นปัญญาระดับกลาง ส่วนปัญญาระดับสูง คือวิปัสสนาญาณต่างๆ ที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เข้าใจอริยสัจสี่อย่างแจ่มแจ้ง แล้วปล่อยวางขันธ์ห้า ในที่สุด ก็เป็นอันว่าเสร็จกิจที่พึงกระทำ
    การเจริญปัญญาระดับสูงนี้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นประเด็นทางธรรมที่ควรใส่ใจให้มาก

    โดยสรุปคือ ศีล ช่วยให้เกิดสมาธิได้ง่าย สมาธิ ช่วยให้เกิดปัญญาได้ง่าย เมื่อศีล สมาธิ ปัญญา บริบูรณ์ ก็จะเข้าถึงวิมุตติญาณทัสนะ ดับกิเลสได้ในที่สุด พ้นทุกข์สิ้นเชิง...นี่คือเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา และชีวิตในสังสารวัฏทั้งหมด...
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาดูกันว่า การทำสติปัฏฐาน4 นั้นมีข้อ ศีล ตรงไหน เวลาไหน

    คนที่ไม่ฉลาดในการปฏิบัติ ก็จะอ้างเรื่อง อภิญญา เรื่องสิ่งที่เป็นลาภี ยกมาเป็นของเที่ยง

    คนที่ทำฌาณได้ แม้จะทำได้สูงจนมีอภิญญาแล้ว แต่เมื่อบรรลุธรรม บรรลุนิพพานอาจะ
    ไม่มี อภิญญา เลยก็ได้ ทั้งนี้เพราะอะไรก็จะแจงให้ทราบตามลำดับ

    ศีล นั้นมีหลายขั้น มีหลายระดับ ศีลของสมถะยานิก พวกตัณหาจริต จะเป็นศีลที่วนเวียน
    อยู่กับการสมาทาน การรักษาที่กริยา จดจ่อข่มเอาไว้ก่อน เพราะด้วยความที่ตนเป็น
    ตัณหาจริต

    แต่ศีล อีกระดับหนึ่ง เป็นของคนที่ศรัทธาลงที่ปัญญา ศรัทธาที่ญาณ ศรัทธาลงที่
    อาสวะขยญาณโดยตรง จะมีศีลที่เรียกว่า อธิศีล เรียกว่า อินทรีย์สังวรณ์ เรียก
    ว่า การปิดรู้ตะกวด

    พระสูตรที่ยืนยันเรื่อง ศีลของคนที่มุ่งมีปัญญามีอาสวะขยญาณโดยตรง มุ่งสู่นิพพาน
    โดยตรง มุ่งสู่การสิ้นกิเลสโดยตรง มุ่งสู่การพ้นทุกข์โดยตรง ก็คือ โปติปาละสูตร

    พระสูตรนี้ขอเด่นคือ เป็นพระสูตรที่แสดงโดยเด็กเจ็ดขวบ ซึ่งมีนัยว่า มีเวลาในการปฏิบัติ
    เรื่องฌาณสมาธิที่ลัดสั้น บรรลุโดยอายุยังน้อย แปลว่า ไม่มีเวลาเก็บสะสมฌาณแต่
    อย่างใด และผู้ที่เรียนก็เป็นผู้มุ่งมีปัญญา โดยจริตที่มุ่งปัญญาทำให้มีความแตกฉานใน
    พระสูตรทุกบท ทุกวรรค ทุกตอนในลักษณะสุตมัยปัญญา ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ตรัส
    เป็นปริศนาธรรมให้เหมาะแก่จริต ทำให้เกิดการระลึกได้ จึงเที่ยวหาคนสอน พระอรหันต์
    ทุกท่านตั้งแต่พระพุทธองค์ลงมาที่อสีติ เอทัคคะ และท่านอื่นก็ต่างปฏิเสธหมด จนกระ
    ทั่งเหลือ อรหันต์ที่เป็นเด็กเจ็ดขวบ

    สิ่งทียกมาสอนก็คือ สติปัฏฐาน4 ระลึกดูที่ใจ มโนจิต ห้วงความคิด ระลึกดูความคิด
    ที่ไหลไปไหลมา ฝุ้งไปฝุ้งมา แล้วก็ล้นออกไปทางกาย วาจา จนกระทั่งล่วงข้อศีล เรียก
    ว่ามา รู้ทันอภิสังขารมารไปตรงๆ

    พระอรหันต์ก็ชี้ว่า หากปิดที่มโนทวาร ดักดูกิเลสที่ผุดออกมาจำนวนมาก ที่มโนทวาร
    ไว้เนืองๆ หากรู้ทันสภาวะกิเลสที่กำลังวิ่งออกไปจากมโนทวาน ออกไปที่กาย ออกไปที่
    วจี ก็จะสามารถ รักษาศีลได้ และเป็นศีลที่มีกำลังแรงกว่า ศีลแบบสมาทาน เป็นศีล
    ที่ให้รสของความสุขมากกว่าศีลที่ไปกล่าวคำอราถนา เรียกศีลชนิดนี้ว่า อธิศีล หรือ
    อินทรีย์สังวรณ์ เป็นศีลของผู้มุ่งศรัทาในการมีปัญญามากกว่าเรื่องอื่นๆ ที่มีกิเลสมาร
    ที่ชื่ออภิสังขารมารมากระซิบหลอก คนที่รักษาศีลได้ที่ระดับมโนทวารจะเห็นทันทีว่า
    จะเป็นศีลที่ไม่ใช่การยึดมั่นในการถือ แต่เป็นการระลึกรู้ไปตามความเป็นจริง รักษาได้
    หรือไม่ได้ก็เห็นกันไปตรงๆ อุชุกตา ทิฏฐิชุกรรม

    * * *

    ส่วนเรื่อง อภิญญา ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสเรียก ผู้มีอภิญญาว่า ญาณลาภีบุคคล ก็เพื่อ
    เป็นนัยบอกว่า อย่ายึดมั่นฌาณว่าเที่ยง คนที่ยึดมั่นฌาณว่าเที่ยงจะเอาแต่ฝึกฝน
    ฌาณ เมื่อฌาณหมดก็สาระวนกับการรักษาจิตที่มีฌาณ จนเสียเวลาในการเจริญปัญญา
    ทำสติปัฏฐาน เอาไปนั่งทำสมาธิให้นิ่งๆ ซื่อๆ ทื่อๆ เพื่อให้ฌาณมันเกิดเป็นหลัก แล้ว
    หวังในใจลึกว่า หากบรรลุแล้วก็จะเป็นผู้มีอภิญญษอย่างเที่ยงแท้

    จริงๆ แล้วไม่จำเป็น

    ก็อย่างที่กล่าวไปแล้วในคราวก่อนว่า มาหกุศลจิต โสภณเจตสิก ที่เกิดกับ
    จิตที่เคยผ่านฌาณนั้น ก็ปรากฏได้แก่ผู้ทำวิปัสสนาธุระ และถ้าเป็นผู้มีสติ
    ว่องไว้ เจริญสติไว้เนืองๆ มุ่งที่การมีปัญญาแล้ว จิตจะคล่องแคล้วในการ
    ทำงาน นั่นหมายถึง จะทำฌาณสูงๆก็ได้ หากในขณะที่เกิดโสภณเตสิก
    แล้วคุณน้อมจิตไปทางมีวสี หาทางลัดเข้าสู่ฌาณ ก็ดูตัวอย่างจากพระ
    พุทธองค์นี่แหละ ที่ท่านเป็นพระพุทธเจ้าแบบปัญญาธิกะ มุ่งเจริญปัญญา
    ท่านก็มีอภิญญาเลิศกว่าสาวกทุกองค์ได้

    ทั้งนี้เพราะ การเจริญปัญญานั้นทำให้เกิด ฌาณ โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว ทันที
    ที่คุณระลึกเห็นสภาวะธรรม นั้นแปลว่า จิตได้เข้าสู่ฌาณ2 เป็นอย่างต่ำ
    จึงระลึกเห็นสภาวะธรรมได้ ดังนั้น หากคุณภาวนาวันหนึ่งแล้วระลึกสติได้
    นั้นแปลว่า วันนั้นคุณได้ทำฌาณ2 ไว้แล้ว ช่วงเวลาเท่าช้างกระดิกหู แต่มี
    ผลเท่ากับการเดินเพื่อเข้าฌาณในราตรีหนึ่งเจริญ เพราะเป็นฌาณ2 ที่เกิด
    พร้อมกับญาณสัมปยุต ที่มีการเจริญปัญญาอยู่ด้วย

    และโดยความเป็นจริง คนที่บรรลุธรรม ก็ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องมีฌาณ4 ก่อน

    เพราะการเห็นสภาวะธรรมตามจริงนั้น เอาเข้าจริงๆ แค่ฌาณ1 ก็ทำให้เห็น
    ธรรมตามจริงได้ หากปัญญาอินทรีย์มากพอ ก็จะเกิดการตัดสินการเห็นทันที

    หลังจากนั้นจะเกิดกระบวนการเกิดอริยมรรค มรรสมังคี ตอนนี้เองที่จิตจะ
    เข้าฌาณด้วยตัวจิตเอง คนที่ทำฌาณ8มาอย่างหนัก แต่ฌาณที่เกิดขณะ
    มารองรับมรรคสมังคีกลับเป็นฌาณ4 ก็แปลว่า ไม่ได้อภิญญาอะไร หรือ
    บางคนขณะเห็นสภาวะธรรมเห็นได้ด้วยฌาณ1 แต่ขณะเกิดมรรคสมังคีจิต
    ไปทำฌาณ8 คนนั้นก็จะมีอภิญญาครบ

    ดั่งอรหันต์7 ขวบท่านนั้น ท่านก็มีอภิญญาครบ โดยที่ไม่ต้องมาเสียเวลา
    นั่งตรึกไปว่า ขอให้เราโตก่อนหนา ให้เราทำฌาณให้ครบก่อนหนา ให้เรา
    ได้อยู่ในความสงบๆเรื่อยเพื่อความบริสุทธิแห่งการยึดมั่นในการถือศีลก่อน
    หนา แล้วขอบรรลุ .....

    * * * *

    จากทั้งสอง วรรค จะเห็นว่า การระลึกรู้ หรือ การเจริญสติ หรือ การภาวนานี้
    หรือ การทำสติปัฏฐานนั้น จะมี ศีล และ สมาธิ ประกอบในตัวเบ็ดเสร็จ

    และเป็นการระลึกที่ไม่ได้เกิดจากความจงใจ ไม่เกิดจากเจตนา ไม่ได้เกิด
    จากการสร้างภพเพื่อเกาะ เพื่อยู่ แต่เป็นสภาวะสติที่เกิดตรงช่องลอดสู่
    พระนิพพานโดยตรง เป็น สสังขาริกังญาณสัมปยุติ(เกิดฌาณและญาณสัม
    ปยุติแบบไม่ได้ชักชวนให้เกิด) จึงเป็นสภาวะธรรมที่ให้กุศลแรงกล้าที่สุด ที่
    จะเอื้อต่อการเห็น มรรคผล โดยลัดสั้น เรียบง่าย ห่างจากข้าศึกคือกิเลส
    อภิสังขารมารโดยตลอดสาย

    เพียงรู้ โดยไม่ใช้คิด เมื่อไหร่คิด(อภิสังขารมาร) เมื่อนั้นถือว่าไม่รู้
    แต่เราก็อาศัยคิด(มาระลึกรู้ถึงการมีกิเลส อภิสังขารมาร ในจิต) ทั้ง
    นี้เพื่อการ เจริญสติ ให้มีความแคล่วคล่องว่องไว

    สติ จำเป็นในทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2009
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ตรรกะ พิลึก สงสัยว่าจะไปนั่งฝึกกับ สามเณรอรหันต์นั้นมาจึงรู้ว่า ท่านไม่ได้สะสมฌาณ
    แม้พระพุทธองค์เอง ท่่านก็มีอานาปานสติตั้งแต่เด็ก


    อีกอย่างหนึ่งที่ให้สังเกตุคือ
    นั่นสามเณร 7 ขวบคนเดียว ที่ท่านบรรลุธรรม
    แต่สาวกอื่นๆ มากมายที่ท่าน เจริญสมาธิ มาก่อน ทั้งฤาษีต่างๆ ที่ได้ฌาณสมาบัติ
    เป็นร้อยๆคนนั่น พอมาได้ยินธรรม ก็บรรลุอรหันต์ทั้งหมด
    จะยกเอาแค่ตัวอย่างเดียวมาสนับสนุนความเห็นตนนั้น เรียกว่า ไม่รอบ ไม่หมด
    คำสอนของนิวรณ์ เป็น เหตุผล ที่ผิด
     
  16. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    คุณ จขกท ควรพิจารณาทางสายกลางไว้เป็นหลัก

    ศีลที่ต้องข่มไว้ ก็เท่ากับสุดโต่ง
    ศีลที่ไม่ปฏิบัติเลย ก็เท่ากับสุดโต่ง
    ศึลที่เกิดจากความเข้าใจ มีหิริโอปตัปปะ สมควรแก่การยกย่อง

    สมาธิที่มากเกินไป ก็เท่ากับสุดโต่ง
    ไม่ปฏิบัติสมาธิบ้างเลย ก็เท่ากับสุดโต่ง
    สมาธิที่มีสติปัญญากำกับไว้ สมควรแก่การยกย่อง

    ปัญญามากไป กลายเป็นฟุ้งธรรม เท่ากับสุดโต่ง
    ปัญญาน้อยไป ไม่ศึกษาให้ดี ขาดสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น ก็เท่ากับสุดโต่ง
    ปัญญาที่เหมาะสม เข้าใจแนวทาง ลงมือปฏิบัติ สมควรแก่การยกย่อง

    หากเพิ่งเริ่มต้น ก็ค่อยๆศึกษา
    หากมัวแต่ศึกษา ก็ไม่ก้าวหน้าไปไหน
    ลองเดินผิดเดินถูก ดีกว่าเอาแต่ท่องแผนที่ให้ขึ้นใจ
    เมื่อแจ้งในธรรมได้ ทฤษฎีก็ล้วนแต่ไร้ความหมาย...ในบัดดล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2009
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG]....ยืน
     
  19. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ยังเลยค่ะ เพราะถ้าหลุดพ้นแล้วก็คงไม่มาที่นี้แล้วล่ะ
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG] <---- โดยนัยปริยัติ: ปริ แลวว่ารอบ ยัติ ก็ ตระเตรียม : การตระเตรียมครบรอบครอบความรู้

    [​IMG] <---- โดยนัยปฏิบัติ : ทำตามแผนที่ตระเตรียมไว้ ,และ ปฏิเวธ : ลุล่วงผลตามแผน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...