วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    หากจิตสำนึกมิได้ตามดูจิตด้วยพุทธปัญญา วิชชาหรือสัมมาทิฏฐิ ย่อมเผลอสติ ขาดปัญญาคิดนึกปรุงแต่งมีจิตสังขารไปตามผัสสะ และเวทนาที่ปรากฏขึ้นกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (คืออายตนะภายในหก หรือสฬายตน) ตัณหาย่อมเกิดขึ้นพร้อมอุปาทาน พาให้รู้สึกว่ามีตัวเรา ของเราเกิดขึ้น ภพชาติจึงปรากฏเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด จิตเร่าร้อนด้วยเพลิงโมหะ โลภะ โทสะ กระแส
    แห่งปฏิจจสมุปบาทธรรมสายทุกข์ย่อมปรากฏขึ้น ณขณะจิตที่เผลอสติ ขาดปัญญาไปนั้น
    เมื่อผู้ชักหุ่นคือจิต เศร้าหมองด้วย โมหะ โลภะ โทสะ ย่อมชักหุ่นคือ กายให้ประกอบมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เศร้าหมองไปตาม ผลคือพลังวิบากกรรมย่อมตามติดดุจเงาตามตัว ก่อพลังกรรมดีวิบากย่อมเป็นพลังบุญ ก่อพลังกรรมชั่ววิบากย่อมเป็นพลังบาป
    ผัสสะ - การกระทบกันระหว่างตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส
    กายกับสัมผัส ใจกับอารมณ์
    เวทนา- ความรู้สึก (feeling) ถ้าทนง่ายเป็นสุขเวทนา ถ้าทนยากเป็นทุกขเวทนา
    อายตนะ- เครื่องเชื่อมติดต่อมี ๖ คู่ ตาเชื่อมติดต่อกับรูป หูเชื่อมติดต่อกับเสียง เป็นต้น
    ตัณหา - ความอยาก ถ้าอยากดึงดูดเข้ามาเป็นตัณหาฝ่ายบวก เป็นรากเหง้าของโลภะ อยากมีอยากได้ คือ กามตัณหา อยากเป็น คือภวตัณหา ถ้าอยาก
    ผลักออกไปเป็นตัณหาฝ่ายลบ เป็นรากเหง้าของโทสะ คือ วิภวตัณหา อยาก
    ไม่ให้ได้ อยากไม่ให้มี อยากไม่ให้เป็น อย่างที่กำลังได้ กำลังเป็นอยู่
    อุปาทาน- ความยึดมั่นถือมั่น
    ภพชาติ- ชาติ คือ ความรู้สึกว่ามีกูเกิดขึ้น ภพคือ ความเป็นนั่นเป็นนี่ เช่น
    เป็นลูก เป็นพ่อแม่ เป็นคนดัง เป็นคนยากจน เป็นคนโชคดี เป็นคนโชคร้าย

    อ้างอิงมาจากหนังสือปุจฉาธรรม หน้า ๑๓๗-๑๓๘
     
  2. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    การวางกำลังใจขอยกเอามาเป็นตัวอย่างนะ

    มีหลายคนที่คิดว่าตัวเองเป็นพุทธภูมิ ไม่ว่าจะทราบเอง หรือมีผู้หนึ่งผู้ใดบอก<O:p</O:p
    แล้วก็เชื่อตามนั้น มีหลายครั้งที่จิตตกเอาง่ายๆ เมื่อได้รับทราบว่าสิ่งที่ตนเองปฏิบัติมา
    เพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แต่มีคนมาบอกว่าพระพุทธเจ้าเต็มแล้ว<O:p</O:p
    ฟังดูเหมือนการสอบเข้าเลย และที่ว่าเต็มแล้วไม่รู้จริงหรือไม่ แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ<O:p</O:p
    แต่จิตก็ตกไปเรียบร้อยแล้ว แล้วก็บ่นออกมาว่า “แล้วสิ่งที่เราทำมาทั้งหมดเพื่ออะไร”<O:p</O:p
    เกิดอาการหมดแรง ท้อแท้ไปเลย

    <O:p</O:p“แล้วสิ่งที่เราทำมาทั้งหมดเพื่ออะไร” เอาคำถามนี้มาถามตัวเองให้แน่ใจอีกครั้ง<O:p</O:p
    เราต้องการเป็นพระพุทธเจ้าเหรอ? เราตั้งเป้าเอาไว้แค่คำว่า “พระพุทธเจ้า”เท่านั้นเหรอ? <O:p</O:p
    เราเข้าใจคำว่า “พระพุทธเจ้า” มากน้อยแค่ไหน<O:p</O:p
    ตามความเข้าใจของตนเอง พระพุทธเจ้า คือผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ คือผู้เสียสละสูงสุด <O:p</O:p
    คือบรมครูผู้ประเสริฐ คือผู้ที่มีมหาเมตตาเป็นอนันต์ไม่มีประมาณต่อหมู่มวลสรรพสัตว์


    <O:p</O:pลองย้อนกลับไปนึกดูว่า...<O:p</O:p
    พระพุทธองค์ หวังจะเป็น พระพุทธเจ้าใช่หรือไม่?<O:p</O:p
    คำตอบล่ะ ใช่ หรือ ไม่ใช่<O:p</O:p
    ตามความคิดของตนเอง คิดว่าไม่ใช่...กลับมีความรู้สึกว่า<O:p</O:p
    พระพุทธองค์ท่านไม่ได้หวังสิ่งใดเพื่อตนเองเลย<O:p</O:p
    นอกจากมหาเมตตาที่มีต่อมวลหมู่สรรพสัตว์<O:p</O:p
    เพื่อช่วยให้สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์<O:p</O:p
    กลับคืนสู่ความบริสุทธิ์ กลับคืนสู่พระนิพพาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ฉะนั้นเราซึ่งเป็นลูกศิษย์ตถาคตรู้ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของเราแล้วหรือยัง?
     
  3. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    สัมผัสธรรม

    [​IMG]

    ...ผลิแย้มกลีบสายธรรมนำชูช่อ<O:p</O:p
    คลี่ใบทอพลังธรรมสว่างไสว<O:p</O:p
    ขจรกลิ่นจรุงฟุ้งธรรมนำใจ
    แผ่ขยายรัศมีสีแสงธรรม<O:p</O:p
    .................ธรรมดา(ฯ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2008
  4. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    สวัสดีค่ะทุกๆ คน... พักผ่อนสบายๆ กันมานานแล้ว...

    ลุกขึ้นเตรียมรับการฝึกหนักได้แล้วค่า...

    วันนี้เอา กสิณ ๑๐ มาให้ฝึกกันค่ะ...

    เริ่มกันเลยนะคะ....

    คำสอนของสมเด็จพระอริยวงษญาณฯ พระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) - พระประวัติและพระนิพนธ์


    ทส กสิณานิ นาม ชื่ออันว่ากสิณ ๑๐ ประการ กถํเมาะ กตมานิ เป็นดังฤา
    อันว่ากสิณ ๑๐ ประการนั้น คือ
    ปฐวีกสิณ ๑ ให้ทำดวงกสิณ ๑๖ นิ้วกลมด้วยดินที่กระดาน บริกรรมตามตัวว่า ปฐวี ๆ
    อาโปกสิณ ๑ เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑ นีลกสิณ ๑ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑ อาโลกกสิณ ๑

    ครบเป็นกสิณ ๑๐ ประการ เท่านี้แล


    ..........................................


    คำสอนของ หลวงปู่มั่น - วิธีเจริญกรรมฐาน ๔๐ กอง และวิปัสสนา

    ( 1 ) วิธีเจริญปฐวีกสิณ
    กุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะเจริญกรรมฐานภาวนา อันชื่อว่าปฐวีกสิณ พึงตัดปลิโพธกังวลห่วงใยน้อยใหญ่เสียให้สิ้นแล้ว ไปยังที่เงียบสงัด เพ่งพิจารณาดินที่ตนตกแต่งเป็นดวงกสิณเป็นอารมณ์ หรือจะเพ่งพิจารณาดินที่แผ่นดินหรือที่ลานข้าวเป็นต้นเป็นอารมณ์ก็ได้

    เมื่อจะพิจารณาดินที่มิได้ตกแต่งไว้เป็นดวงกสิณนั้น พึงกำหนดให้มีที่สุดโดยกลมเท่าตะแกรง กว้างคืบ 4 นิ้ว เป็นอย่างใหญ่หรือเล็กกว่ากำหนดนี้
    แล้วพึงบริกรรมภาวนาว่าปฐวีๆ ดินๆ ดังนี้ร่ำไป

    ถ้ามีวาสนาบารมีเคยได้สั่งอบรมมาแต่ชาติก่อนๆ แล้ว ก็อาจได้สำเร็จฌาณ
    ถ้าหากวาสนาบารมีมิได้ ก็ยากที่จะสำเร็จฌาณด้วยการเพ่งแผ่นดินอย่างว่านี้
    จำจะต้องทำเป็นดวงกสิณ เมื่อจะทำ พึงหาดินสีแดงดังแสงพระอาทิตย์แรกอุทัย มาทำ อย่าทำในที่คนสัญจรไปมาพลุกพล่าน พึงทำในที่สงัดเป็นที่ลับที่กำบัง

    ดวงกสิณนั้นจะทำตั้งไว้กะที่ทีเดียว หรือจะทำชนิดยกไปได้ก็ตาม
    ดินที่ทำดวงกสิณนั้น พึงชำระให้หมดจด ทำเป็นวงกลม กว้างคืบ 4 นิ้ว ขัดให้ราบเสมอดังหน้ากลอง พึงปัดกวาดที่นั้นให้เตียนสะอาด ปราศจากหยากเยื่อเฟื้อฝอยแล้วพึงชำระกายให้หมดเหงื่อไคล เมื่อจะนั่งภาวนา พึงนั่งบนตั่งที่มีเท้าสูง คืบ 4 นิ้ว นั่งห่างดวงกสิณออกไปประมาณ 2 ศอกคืบ

    พึงนั่งขัดสมาธิเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรงผินหน้าไปทางดวงกสิณ แล้วพึงพิจารณาโทษกามคุณต่าง ๆ และตั้งจิตไว้ให้ดีในฌาณธรรมอันเป็นอุบายที่จะยกตนออกจากกามคุณ และจะล่วงพ้นกองทุกข์ทั้งปวง
    แล้วพึงระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ยังปรีดาปราโมทย์ให้เกิดขึ้น
    แล้วพึงทำจิตให้เคารพรักใคร่ในพิธีทางปฏิบัติให้มั่นใจว่าปฏิบัติดังนี้
    ได้ชื่อว่าเนกขัมมปฏิบัติ พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทะเจ้าเป็นต้น จะได้ละเว้นหามิได้ ล้วนแต่ปฏิบัติดังนี้ทุกๆ พระองค์

    ครั้นแล้วพึงจิตว่า เราจะได้เสวยสุขอันเกิดแต่วิเวกด้วยปฏิบัติอันนี้โดยแท้
    ยังความอุตสาหะให้เกิดขึ้นแล้วจึงลืมจักษุขึ้นดูดวงกสิณเมื่อลืมจักษุขึ้นนั้น อย่าลืมขึ้นให้กว้างนัก จะลำบากจักษุ อนึ่งมณฑลกสิณจะปรากฏแจ้งเกินไป ครั้นลืมลืมจักษุขึ้นน้อยนักมณฑลกสิณก็จะปรากฏแจ้ง จิตที่จะถือเอากสิณนิมิตเป็นอารมณ์นั้น ก็จะย่อหย่อนท้อถอยเกียจคร้านไป เหตุฉะนี้จึงพึงลืมจักษุขนาดส่องเงาหน้าในกระจก

    อนึ่ง เมื่อแลดูดวงกสิณนั้นอย่าพิจารณาสี พึงกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นดินเท่านั้น
    แต่สีดินนั้นจะละเสียก็มิได้ เพราะว่าสีดินกับดวงกสิณเนื่องกันอยู่ ดูดวงกสิณก็เป็นอันดูสีอยู่ด้วย เหตุฉะนี้ พึงรวมดวงกสิณกับสีเข้าด้วยกัน และดูดวงกสิณกับสีนั้นให้พร้อมกัน กำหนดว่า สิ่งนี้เป็นดิน แล้วจึงบริกรรมภาวนาว่า ปฐวีๆ ดินๆ ดังนี้ร่ำไป ร้อยครั้งพันครั้งเมื่อกระทำบริกรรมภาวนาว่าปฐวี ๆ อยู่นั้นอย่าลืมจักษุเป็นนิตย์ พึงลืมจักษุดูอยู่หน่อยหนึ่งแล้วหลับลงเสีย หลับลงสักหน่อย แล้วพึงลืมขึ้นดูอีก

    พึงปฏิบัติโดยทำนองนี้ไปจนกว่าจะได้อุคคหนิมิต ก็กสิณนิมิตอันเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต ในขณะที่ทำการบริกรรมว่าปฐวีนั้น ชื่อว่าบริกรรมภาวนา

    เมื่อตั้งจิตในกสิณนิมิต กระทำบริกรรมว่าปฐวีๆ นั้น ถ้ากสิณนิมิตมาปรากฏในมโนทวารหลับจักษุลงกสิณนิมิตก็ปรากฏอยู่ในมโนทวารดังลืมจักษุแล้วกาลใด ชื่อว่าได้อุคคหนิมิต ณ กาลนั้น

    เมื่อได้อุคคหนิมิตแล้ว พึงตั้งจิตอยู่ในอุคคหนิมิตนั้น กำหนดให้ยิ่งวิเศษขึ้นไป เมื่อปฏิบัติอยู่ดังนี้ ก็จะข่มนิวรณธรรมโดยลำดับๆ กิเลสก็จะสงบระงับจากสันดาน สมาธิก็จะแก่กล้าเป็นอุปจารสมาธิ

    ปฏิภาคนิมิตก็จะปรากฏขึ้นอุคคหนิมิตกับปฏิภาคนิมิต มีลักษณะต่างกัน คืออุคคหนิมิตยังประกอบด้วยกสิณโทษ คือยังปรากฏเป็นสีดินอยู่อย่างนั้น
    ส่วนปฏิภาคนิมิตปรากฏบริสุทธิ์งดงามดังแว่นกระจก ที่บุคคลถอดออกจากฝักจากถุงฉะนั้น จำเดิมแต่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว นิวรณ์ทั้งสิ้นก็ระงับไปจิตก็ตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ สำเร็จเป็นกามาพจรสมาธิภาวนา

    เมื่อได้อุปจารสมาธิแล้ว ถ้าพากเพียรพยายามต่อขึ้นไปไม่หยุดหย่อน ก็จะได้สำเร็จอัปปนาสมาธิซึ่งเป็นรูปาวจรฌาณ

    และเมื่อกระทำเพียรจนบรรลุถึงอัปนาฌาณ เกิดขึ้นในสันดานแล้ว ก็พึงกำหนดไว้ว่า
    1 เราประพฤติอิริยาบถอย่างนี้ๆ
    2 อยู่ในเสนาสนะอย่างนี้ๆ
    3 โภชนาหารอันเป็นที่สบายอย่างนี้ๆ จึงได้สำเร็จฌาณการที่ให้กำหนดไว้นี้ เผื่อว่าฌาณเสื่อมไปก็จะได้เจริญสืบต่อไปใหม่โดยวิธีเก่า
    ฌาณที่เสื่อมไปนั้น ก็จะเกิดขึ้นได้โดยง่ายในสันดานอีก

    ครั้นเมื่อได้สำเร็จปฐมฌาณแล้วพึงปฏิบัติในปฐมฌาณนั้นให้ชำนาญคล่อง แคล่วด้วยดีก่อนแล้วจึงเจริญทุติยฌาณสืบต่อขึ้นไปก็ปฐมฌาณที่ชำนาญคล่องแคล่วด้วยดี

    ต้องประกอบด้วยวสีทั้ง 5 คือ
    ( 1 ) อาวัชชนวสี ชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ถ้าปรารถนาจะนึกถึงองค์ฌาณที่ตนได้ ก็นึกได้เร็วพลัน มิได้เนิ่นช้า มิต้องรอนานถึงชวนจิตที่ 4-5 ตกลง ยังภวังค์จิต 2-3 ขณะถึงองค์ฌาณที่ตนได้

    (2) สมาปัชชนวสี คือชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะเข้าฌาณอาจเข้าฌาณได้ในลำดับอาวัชชนจิต อันพิจารณาซึ่งอารมณ์คือปฏิภาคนิมิตมิได้เนิ่นช้า

    (3) อธิษฐานวสี คือชำนาญในอันดำรงรักษาฌาณจิตไว้มิให้ตกภวังค์ ตั้งฌาณจิตไว้ได้ตามกำหนด ปรารถนาจะตั้งไว้นานเท่าใดก็ตั้งไว้ได้นานเท่านั้น

    (4)วุฎฐานวสี คือชำนาญคล่องแคล่วในการออกฌาณ กำหนดไว้ว่าเวลานั้นๆ จะออกก็ออกได้ตามกำหนดไม่คลาดเวลาที่กำหนดไว้

    (5) ปัจจเวกขณวสี คือชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาองค์ฌาณที่ตนได้อย่างรวดเร็ว มิได้เนิ่นช้า ถ้าไม่ชำนาญไนปฐมฌาณแล้วอย่าพึงเจริญทุติยฌาณก่อน ต่อเมื่อชำนิชำนาญคล่องแคล่วในปฐมฌาณด้วยวสีทั้ง 5 ดังกล่าว
    แล้ว จึงควรเจริญทุติยฌาณสืบต่อขึ้นไป เมื่อชำนาญในทุติยฌาณจึงเจริญตติยฌาณ จตุตถฌาณ และปัญจมฌาณขึ้นไปตามลำดับ
    องค์ของฌาณเป็นดังนี้


    ปฐมฌาณมีองค์ 5 คือ

    วิตก ความตรึกคิดมีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์เป็นองค์ที่ 1
    วิจารณ์ ความพิจารณามีลักษณะไตร่ตรองอารมณ์เป็นองค์ที่ 2
    ปิติ เจตสิกธรรมที่ยังกายและจิตใจให้อิ่มเต็มมีประเภท 5 คือ
    (1) ขุททกาปิติ กายและจิตอิ่มจนขนพองชูชันทำให้น้ำตาไหล
    (2) ขณิกาปิติ กายและจิตอิ่มมีแสงสว่างดังฟ้าแลบปรากฎในจักษุทวาร
    (3) โอกกนติกาปิติ กายและจิตอิ่ม ปรากฏดั่งคลื่นและละลอกทำให้ไหวให้สั่น
    (4) อุพเพงคาปิติ กายและจิตอิ่มและกายเบาเลื่อนลอยไปได้
    (5) ผรณาปิติ กายและจิตอิ่ม เย็นสบายซาบซ่านทั่วสรรพางค์กาย ปิติทั้ง 5 นี้อันใดอันหนึ่งเป็นองค์ที่ 3
    สุขอันเป็นไปในกายและจิต เป็นองค์ที่ 4 และ
    เอกัคคตา ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านไปมา จัดเป็นองค์ครบ 5

    ฌาณที่พร้อมด้วยองค์ 5 นี้ชื่อว่าปฐมฌาณฯ
    ทุตยฌาณ มีองค์ 3 คือปิติสุข เอกัคคตา
    ตติฌาณมีองค์ 2 คือสุข เอกัคคตา จตุตถฌาณมีองค์ 2 คือเอกัคคตา อุเบกขา นี้จัดโดยฌาณจุกกนัย

    ถ้าจัดโดยฌาณปัญจกนัยเป็นดังนี้
    ปฐมฌาณมีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร สุข เอกัคคตา
    ทุตติฌาณ มีองค์ 4 คือ วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
    ตติยฌาณมีองค์ 3 คือปิติ สุข เอกัคคตา
    จตุตถฌาณมีองค์ 2 คือ สุข เอกัคคตา
    ปัญจมฌาณมีองค์ 2 คือ เอกัคคตาอุเบกขา

    กุลบุตรผู้เจริญ กสิณนี้อาจได้สำเร็จฌาณสมาบัติโดยจตุกกนัย หรือปัญจกนัยดังกล่าวมานี้

    (2) วิธีเจริญอาโปกสิณ
    โยคาวจรกุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะเจริญอาโปกสิณ ถ้าเป็นผู้มีวาสนาสั่งสมอาโปกสิณมาแต่ชาติก่อนๆ แล้ว ถึงจะมิได้ตกแต่งกสิณเลยเพียงแต่เพ่งดูน้ำในที่ใดที่หนึ่งเช่นในสระในบ่อ ก็อาจสำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตโดยง่าย

    ถ้ากุลบุตรอันหาวาสนาในอาโปกสิณมิได้ พึงเจริญอาโปกสิณในปัจจุบันชาตินี้ ก็พึงทำเอาอาโปกสิณด้วยน้ำที่ใสบริสุทธ์เอาน้ำใส่ภาชนะ เช่นบาตรหรือขันให้เต็มเพียงขอบปากยกไปตั้งไว้ในที่กำบัง ตั้งม้าสี่เหลี่ยมสูงคืบ 4 นิ้ว กระทำพิธีทั้งปวงโดยทำนองที่กล่าวไว้ในวิธีเจริญปฐวีกสิณนั้นเถิด คำบริกรรมภาวนาในอาโปกสิณว่า อาโป ๆ น้ำ ๆ พึงบริกรรมดังนี้ร่ำไปร้อยครั้งพันครั้ง จนกว่าจะได้สำเร็จอุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต และอัปปนาฌาณ โดยลำดับ

    ก็อุคคหนิมิตในอาโปกสิณนี้ปรากฏดุจไหว ๆ กระเพื่อม ๆ อยู่ ถ้าน้ำนั้นประกอบด้วยกสิณโทษคือเจือปนด้วยเปลือกตมหรือฟอง ก็จะปรากฏในอุคคหนิมิตด้วย ส่วนปฏิภาคนิมิต ปรากฏปราศจากกสิณโทษ เป็นดุจกาบขั้วตาลแก้วมณีที่จะประดิษฐานในอากาศ มิฉะนั้นดุจมณฑลแว่นแก้วมณี เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดแล้วโยคาวจรกุลบุตรทำปฏิภาคนิมิตให้เป็นอารมณ์ บริกรรมไปว่า อาโป ๆ น้ำ ๆ ดังนี้ จะได้ถึงจตตุถฌาณหรือปัญจมฌาณตามลำดับ

    (3) วิธีเจริญเตโชกสิณ โยคาวจรกุลบุตรผู้มีวาสนาบารมี เคยเจริญเตโชกสินมาแล้วในชาติก่อน เพียงแต่เพ่งเปลวไฟในที่ใดที่หนึ่ง บริกรรมภาวนาว่า เตโชๆ ไฟ ๆ ดังนี้ ก็อาจได้สำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตโดยง่าย

    ถ้าผู้ไม่เคยบำเพ็ญมาแต่ชาติก่อน ปรารถนาจะเจริญเตโชกสิณ พึงหาไม้แก่นที่สนดีมาตากไว้ให้แห้ง บั่นออกไว้เป็นท่อนๆ แล้วนำไปใต้ต้นไม้ หรือที่ใดที่หนึ่งซึ่งเป็นที่สมควร แล้วกองฟืนเป็นกองๆ ดังจะอบบาตร จุดไฟเข้าให้รุ่งเรือง แล้วเอาเสื่อลำแพน หรือแผ่นหนังหรือแผ่นผ้า มาเจาะเป็นช่องกลมกว้างประมาณคืบ 4 นิ้ว แล้วเอาขึงไว้ตรงหน้า นั่งตามพิธีที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณแล้วตั้งจิตกำหนดว่า อันนี้เป็นเตโชธาตุ แล้วจึงบริกรรมว่า เตโชๆ ไฟๆ ดังนี้ร่ำไปจนกว่าจะได้สำเร็จอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต โดยลำดับไป

    อุคคหนิมิตในเตโชกสิณนี้ ปรากฏดุจเปลวเพลิวลุกไหม้ไหว ๆ อยู่เสมอ ถ้ามิได้ทำดวงกสิณพิจารณาไฟในเตาเป็นต้น เมื่ออุคคหนิมิตเกิดขึ้น กสิณโทษก็จะปรากฏด้วย ส่วนปฏิภาคนิมิตปรากฏมิได้หวั่นไหว จะปรากฏดุจท่อนผ้ากำพลแดงอันประดิษฐานอยู่บนอากาศ หรือเหมือนกาบขั้วตาลทองคำฉะนั้น เมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฏแล้ว โยคาวจรก็จะได้สำเร็จฌาณตามลำดับจนถึงจตุตถฌาณ ปัญจมฌาณ

    (4) วิธีเจริญวาโยกสิณ ให้เพ่งลมที่พัดอันปรากฏอยู่ที่ยอดอ้อย ยอดไผ่ ยอดไม้ หรือปลายผมที่ถูกลมพัดไหวอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วพึงตั้งสติไว้ว่า ลมพัดต้องในที่นี้ หรือลมพัดเข้ามาในช่องหน้าต่าง หรือช่องฝา ถูกต้องกายในที่ใดก็พึงตั้งสติไว้ในที่นั้น แล้วพึงบริกรรมว่า วาโยๆ ลมๆ ดังนี้ร่ำไป จนกว่าจะสำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในวาโยกสิณนี้ จะปรากฏไหว ๆ เหมือนไอแห่งข้าวปายาส อันบุคคลปลงลงจากเตาใหม่ๆ ปฏิภาคนิมิตจะปรากฏอยู่เป็นอันดีมิได้หวั่นไหว เมื่ออุคคหนิมิตเกิดแล้ว โยคาวจรกุลบุตรก็จะได้สำเร็จฌาณโดยลำดับ

    (5) วิธีเจริญนีลกสิณ โยคาวจรกุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะเจริญนีลกสิณพึงพิจารณานิมิตสีเขียวเป็นอารมณ์ ถ้าเป็นผู้มีวาสนาบารมีเคยได้เจริญนีลกสิณมาแต่ชาติก่อนๆ แล้ว เพียงแต่เพ่งดูดอกไม้สีเขียวหรือผ้าเขียวเป็นต้น ก็อาจได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต

    ส่วนผู้พึ่งจะเจริญนีลกสิณในชาติปัจจุบันนี้ พึงทำดวงกสิณก่อน พึงเอาดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีสีเขียวล้วนอย่างเดียว มาลำดับลงในผอบ หรือฝากล่องให้เสมอขอบปาก อย่าให้เกสรแลก้านปรากฏ ให้แลเห็นแต่กลีบสีเขียวอย่างเดียว หรือจะเอาผ้าเขียวขึงที่ปากผอบหรือฝากล่องทำให้เสมอดังหน้ากลองก็ได้ หรือจะเอาของที่เขียวเช่นคราม เป็นต้น มาทำเป็นดวงกสิณเหมือนอย่างปฐวีกสิณก็ได้

    เมื่อทำดวงกสิณเสร็จแล้วพึงปฏิบัติพิธีด้วยทำนองที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณนั้นเถิด พึงบริกรรมภาวนาว่านีลํๆ เขียวๆ ดังนี้ร่ำไป จนกว่าอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตจะเกิดขึ้น อุคคหนิมิตในนีลกสิณนี้มีกสิณโทษอันปรากฏ ถ้ากสิณนั้นกระทำด้วยดอกไม้ก็เห็นเกสร-ก้าน และระหว่างกลีบปรากฏส่วนปฏิภาคนิมิตจะปรากฏดุจกาบขั้วตาลแก้วมณีตั้งอยู่ในอากาศ เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดแล้ว อุปจารฌาณและอัปปนาฌาณก็จะเกิดดังกล่าวแล้วในปฐมกสิณ

    (6-7-8) วิธีเจริญปีตกสิณ โลหิตกสิณ-โอทาตกสิณ วิธีเจริญกสิณทั้ง 3 นี้ เหมือนกับ นีลกสิณทุกอย่าง ปีตกสิณเพ่งสีเหลือง บริกรรมว่าปีตกํๆ เหลืองๆ โลหิตกสิณเพ่งสีแดง บริกรรมว่า โลหิตํๆ แดงๆ โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว บริกรรมว่า โอทาตํๆ ขาวๆ ดังนี้ร่ำไป จนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิตและปกิภาคนิมิต ลักษณะอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตก็เหมือนในนีลกสิณ ต่างกันแต่สีอย่างเดียวเท่านั้น

    (9) วิธีเจริญอาโลกกสิณ โยคาวจรกุลบุตรผู้เจริญอาโลกกสิณนี้ ถ้าเป็นผู้มีวาสนาบารมี เคยได้เจริญมาแต่ชาติก่อนๆ แล้วเพียงแต่เพ่งดูแสงพระจันทร์หรือแสงพระอาทิตย์ หรือช่องหน้าต่างเป็นต้นที่ปรากฏเป็นวงกลมอยู่ที่ฝาหรือที่พื้นนั้นๆ ก็อาจสำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตโดยง่าย

    ส่วนโยคาวจรที่พึงจะเจริญกสิณในชาติปัจจุบันนี้ เมื่อจะเจริญต้องทำดวงกสิณก่อน พึงหาหม้อมาเจาะให้เป็นช่องกลมประมาณคืบ 4 นิ้ว เอาประทีปตามไว้ข้างใน ปิดปากหม้อเสียให้ดี ผินช่องหม้อไปทางฝา แสงสว่างที่ออกทางช่องหม้อก็จะปรากฏเป็นวงกลมอยู่ที่ฝา พึงนั่งพิจารณาตามวิธีที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณ บริกรรมว่า อาโลโกๆ แสงสว่างๆ ดังนี้ร่ำไป จนกว่าจะได้สำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในอาโลกกสิณนี้ ปรากฏดุจวงกลมอันปรากฏที่ฝานั่นแล ส่วนปฏิภาคนิมิตปรากฏผ่องใสเป็นแท่งทึบ ดังดวงแห่งแสงสว่างฉะนั้น

    (10) วิธีเจริญอากาศกสิณ โยคาวจรกุลบุตรผู้ปรารถนาจะเจริญอากาศกสิณนี้ ถ้าเป็นผู้มีวาสนาบารมี เคยสั่งสมมาแล้วแต่ชาติก่อน เพียงแต่เพ่งดูช่องฝา ช่องดาน หรือช่องหน้าต่างเป็นต้น ก็อาจสำเร็จอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตโดยง่าย

    ถ้าไม่มีวาสนาบารมีในกสิณ ข้อนี้มาก่อนต้องทำดวงกสิณก่อน เมื่อจะทำดวงกสิณ พึงเจาะฝาเจาะแผ่นหนังหรือเสื่อลำแพนให้เป็นวงกว้างคืบ 4 นิ้ว ปฏิบัติการทั้งปวง โดยทำนองที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณบริกรรมว่า อากาโสๆ อากาศๆ ดังนี้ร่ำไปจนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิต และปรากฏรูปวงกลมอากาศ แต่มีที่สุดฝาเป็นต้นเจือปนอยู่บ้าง ส่วนปฏิภาคนิมิต ปรากฏเป็นวงกลมอากาศเท่ากับวงกสิณเด่นอยู่ และสามารถแผ่ออกให้ใหญ่ได้ตามต้องการ


    .............................................
     
  5. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) - กรรมฐาน พระธรรมเทศนาหลักธรรมะฉบับรวมเล่ม


    กสิณ ๑๐

    หนึ่ง กสิณ ๑๐ ก็มีหนึ่งปฐวีกสิณ เพ่งดินเป็นอารมณ์
    สอง อาโปกสิณ ก็เพ่งน้ำเป็นอารมณ์ แล้วแต่ใครชอบ จะชอบปฐวีหรือจะชอบเพ่งน้ำ
    เพ่งไฟก็ว่าไป เตโชกสิณ เพ่งไฟเป็นอารมณ์
    หรือวาโยกสิณ เพ่งลมเป็นอารมณ์
    นีลกสิณเพ่งสีเขียวเป็นอารมณ์
    ปีตกกสิณเพ่งสีเหลืองเป็นอารมณ์
    โลหิตกสิณเพ่งสีแดงเป็นอารมณ์ คือสีเลือด
    และโอฑาตกสิณเพ่งสีขาวเป็นอารมณ์
    ต่อมาอาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์
    อากาศกสิณ เพ่งอากาศเป็นอารมณ์

    มี ๑๐ อย่าง แล้วแต่ว่าจริตใครจะชอบ ที่กล่าวมานี่คือ ๑๐ วิธีปฏิบัติในกรรมฐาน ซึ่งมีถึง ๔๐ ประการ


    ..............................................


    คำสอนของพระครูธรรมธรเล็ก สุธัมมปัญโญ (วัดท่าขนุน)


    สำหรับวันนี้ก็จะกล่าวถึงเรื่องของกสิณต่อไป

    การศึกษากรรมฐานนั้นถ้าหากว่าเราศึกษาขั้นต้น คือให้รู้อยู่ว่ากรรมฐานแต่ละกอง มีการปฏิบัติอย่างไร มีคุณประโยชน์อย่างไร แล้วเราชอบใจกองใดกองหนึ่ง ก็นำกองนั้นไปปฏิบัติให้ได้ผลอย่างแท้จริง

    สำหรับกสิณทั้ง ๑๐ นั้นเป็นกรรมฐานหยาบ เพราะว่ามีนิมิต ให้จับได้ต้องได้ กสิณนั้นจะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน

    ส่วนแรก เรียกว่า วรรณกสิณ คือกสิณเกี่ยวกับสีสรรต่างๆ ประกอบไปด้วย กสิณสีแดง กสิณสีเหลือง กสิณสีเขียว กสิณสีขาว

    อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวกับธาตุกสิณ คือธาตุ ๔ เกี่ยวกับ กสินดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ

    อีกส่วนหนึ่งนั้นเป็นเรื่องของ กสิณแสงสว่าง และกสิณอากาศ

    สำหรับวันนี้จะกล่าวถึงวรรณกสิณทั้ง ๔ ก่อน เพราะว่าเหมาะสำหรับท่านที่เป็นโทสะจริต ซึ่งเมื่อครู่กล่าวแล้วว่าจะต้องมีข้อปฏิบัติที่ต่างจากอนุสสติทั้ง ๑๐ ประการ


    วรรณกสิณทั้ง ๔ คือ

    - กสิณสีแดงภาษาบาลีเรียกว่า โลหิตกสิณ
    - กสิณสีเหลือง เรียกว่า ปีตกกสิณ
    - กสิณสีเขียว นีลกสิณ
    - กสิณสีขาว โอทาตกสิณ

    กสิณทั้ง ๔ กองนี้เหมาะสำหรับท่านที่เป็นโทสะจริต ผู้ใดเจริญกสิณทั้ง ๔ กองนี้ กำลังโทสะจะเบาบางลง ถ้าทำจนได้เต็มที่สามารถตัดอารมณ์ของโทสะนี้ได้
    แล้วกสิณทั้ง ๔ กองนี้ยังมีอานุภาพพิเศษต่างๆ กันไป

    อย่างโอทาตกสิณ กสิณสีขาว เป็นหนึ่งในกสิณทั้ง ๓ กอง ที่จะสร้างทิพจักขุญาณให้เกิดขึ้นแก่เราได้
    นีลกสิณ กสิณสีเขียว ทำให้สถานที่ที่สว่างอยู่ มืดมิดไปได้ สามารถกำบังตนของเราไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นได้
    ปีตกสิณ กสิณสีเหลือง สามารถเปลี่ยนสีอื่นๆ ให้กลายเป็นสีเหลืองได้ ให้กลายเป็นสีทองได้ สามารถที่จะทำให้วัตถุต่างๆ กลายเป็นทองคำได้
    กสิณสีแดง สามารถเปลี่ยนวัตถุต่างๆ ให้กลายเป็นสีแดงทั้งหมดได้ เหล่านี้เป็นอานุภาพพิเศษ


    สำหรับการฝึกกสิณนั้น จำเป็นจะต้องมีดวงกสิณ คือสิ่งเราอาศัยเพ่งก่อน
    สมัยโบราณนั้นกสิณสีแดง ท่านให้ดูดอกไม้สีแดง หรือว่าผ้าสีแดงเป็นหลัก
    กสิณสีเขียว ท่านให้ดูใบไม้เป็นหลัก
    กสิณสีเหลืองท่านให้กำหนดดูดวงอาทิตย์ การกำหนดดูดวงอาทิตย์นั้น อย่าดูดวงอาทิตย์ตอนที่ส่องแสงสว่างมาก เพราะว่าจะทำให้สายตาเสีย
    กสิณสีขาว ท่านให้ดูผ้าขาว หรือว่าดูดวงจันทร์เป็นหลัก

    สำหรับเราในสมัยนี้ วัตถุต่างๆ หาง่าย การสร้างดวงกสิณทำได้ง่าย สมัยก่อน ตัวผมเอง ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ มาพ่นสีลงไป พ่นเป็นสีแดง พ่นเป็นสีเหลือง พ่นเป็นสีเขียว พ่นเป็นสีขาว แล้วใช้จานครอบลง ตัดออกมาเป็นวงกลม ติดใส่ข้างฝาไว้ แล้วก็จับเป็นนิมิตภาวนา ไม่จำเป็นว่าจะต้องไปใช้ สองคืบ สี่นิ้วอะไร เอาแค่ขนาดที่เรารู้สึกว่าพอเหมาะพอดี สามารถจับภาพนั้นได้สะดวก

    เมื่อเราใช้ สีใดสีหนึ่งขึ้นมาก่อน ถึงเวลาแล้วกำหนดใจ ตั้งใจสบายๆ ลืมตามองภาพนั้นแล้วหลับตาลงนึกถึงจะเห็นภาพนั้นได้ชั่วคราว พอภาพมันเลือนหายไป ให้ลืมตามองใหม่ หลับตาลงนึกถึงอีกพร้อมกับคำภาวนา อย่างเช่นว่า


    ถ้าสีแดงก็ใช้คำภาวนาว่า โลหิตกสิณังๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก
    สีเหลือง ใช้ว่า ปีตกกสิณังๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก
    สีเขียวว่า นีลกสิณัง ๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก
    สีขาวว่า โอทาตกสิณัง ๆ พร้อมกับลมหายใจเข้า ออก

    หรือจะคิดเป็นภาษาไทยอยู่ในใจว่า สีแดงๆ สีเหลืองๆ สีเขียวๆ สีขาวๆ ก็ได้พร้อมกับจับลมหายใจเข้า ออก ให้เป็นปกติ ลืมตามองภาพ หลับตานึกถึง
    ภาพหายไปลืมตามองใหม่ หลับตานึกถึงพร้อมคำภาวนาดังนี้ไปเรื่อยๆ เป็นหมื่นเป็นแสนครั้ง ภาพก็จะเริ่มค่อยๆ ปรากฏติดตาขึ้นมา เรียกว่าอุกคหนิมิต
    ลืมตาอยู่ก็เห็น หลับตาลงก็เห็น เมื่อถึงขั้นตอนนี้ ท่านทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องเพิ่มสติให้มากกว่าเดิม เพราะว่าถ้าเผลอเมื่อไรภาพจะหายไป จำเป็นต้องเอาใจ
    จดจ่ออยู่กับภาพนั้น จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง จะทำงานทำการใดๆ ก็ตาม ต้องแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งจับภาพของกสิณไว้เสมอ ถ้าเราทำดังนี้ได้เป็นปกติ
    ภาพกสิณนั้น สีสรรก็จะค่อยๆ จางลงๆ ไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นสีแดง สีเขียวจะจางลงอย่างเห็นได้ชัด จะค่อยๆ เป็นสีเหลือง เป็นสีเหลืองอ่อน เป็นสีขาว
    เป็นสีขาวทึบขึ้น แต่ถ้าหากว่าเป็นปีตกกสิณ เป็นสีเหลืองอยู่แล้ว ก็จะเป็นสีเหลืองอ่อน เป็นสีขาว ถ้าโอทาตกสิณเป็นสีขาวอยู่แล้ว ก็จะค่อยๆ เป็นสีขาว
    เป็นแผ่นทึบขึ้น เราจับไปเรื่อยๆ ตามปกติของเรา พร้อมกับคำภาวนา จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง จะเดิน จะนอน ให้ความรู้สึกอยู่กับภาพกสิณอย่างนี้ไปเรื่อย
    ภาพนั้นก็จะค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น คือจากที่เป็นขาวทึบก็จะค่อยๆ จางลงๆ จนกลายเป็นใส ใสขึ้น ใสขึ้น สว่างขึ้นๆ จนกระทั่งในที่สุดก็ใสกระจ่างเจิดจ้า
    ไปหมด อันนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต

    เมื่อเป็นปฏิภาคนิมิต ความสว่างนั้น สว่างเหมือนกับเอากระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ใส่ดวงตาของเรา เราก็เริ่มอธิษฐาน ขอให้ภาพนี้เล็กลง ให้ภาพนี้ใหญ่ขึ้น ให้ภาพนี้หายไป ให้ภาพนี้ปรากฏขึ้นให้อยู่บนศีรษะ ให้อยู่ในอก ให้อยู่ข้างซ้าย ให้อยู่ข้างขวา ให้อยู่ข้างหน้า ให้อยู่ข้างหลัง ให้มา ให้หาย ทำอย่างนี้ให้คล่องตัว นึกเมื่อไร ให้ทำได้เมื่อนั้น ถ้าเป็นดังนี้ แปลว่ากำลังของกสิณนี้ เราทำได้ทรงตัวแล้ว

    เมื่อทำได้ทรงตัวก็ลองอธิษฐานใช้ผลดู คือว่า

    - ถ้าเป็น โอทาตกสิณ ก็ให้อธิษฐานว่าขอให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพนรก จงปรากฏขึ้นมา ให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพสวรรค์จงปรากฏขึ้นมา ให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพของพรมจงปรากฏขึ้นมา ให้ภาพกสิณนี้หายไป ภาพของพระนิพพานจงปรากฏขึ้นมา ภาพของนรกก็ดี สวรรค์ก็ดี พรมก็ดี นิพพานก็ดี หรือสถานที่ใดๆ ก็ตาม จะปรากฏขึ้นมาแทนดวงกสิณ ก็ให้พยายามทำให้คล่อง ดูให้ชัดเจน รักษาอารมณ์ใจให้แจ่มใส

    - ถ้าหากว่าเป็นนีลกสิณก็ให้กำหนดว่า ให้ความมืดจงปรากฏขึ้น แต่ว่าให้จำกัดเขตเอาไว้ ถ้าเราปฏิบัติอยู่ในห้องก็อธิษฐานแค่ให้ในห้องนี้มืดลง หรืออธิษฐานให้กายของเราหายไปด้วยอำนาจของกสิณ

    - หรือว่าถ้าเป็นปีตกกสิณ สีเหลืองก็ลองเปลี่ยนวัตถุอื่นๆ ให้เป็นทองดู

    - หรือว่าเป็นสีแดงก็ลองทดลองเปลี่ยนวัตถุอื่นๆ ให้เป็นสีแดงดู

    ถ้าสามารถทำได้คล่องตัว กสิณเหล่านี้ก็เท่ากับว่าเป็นของเราแล้ว คราวนี้ ถ้าทำแค่นี้จิตก็จะได้แค่ฌาน ๔ จะเป็นโลกียอภิญญาเท่านั้น ก็ให้รู้จักพิจารณาด้วย
    ว่า จริงๆ แล้วภาพกสิณนี้มันก็ไม่เที่ยง แรกๆ มันเป็นภาพอยู่ข้างนอก พอหลับตานึกถึงภาพก็ปรากฏขึ้นข้างใน จากสีเข้ม ก็เป็นสีจางลง จากสีจางลง
    ก็เป็นสีใส จากสีใสก็กลายเป็นแก้วทั้งดวง มันไม่เที่ยงเป็นปกติอย่างนี้ ตอนที่เราจับมันไม่ได้ เกาะมันไม่ติด เราก็กลุ้ม ก็ทุกข์ใจเป็นปกติ และในที่สุดจริงๆ
    แล้วมันก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ ไม่ว่าจะเป็นดวงกสิณที่เราสร้างขึ้นก็ดี กสิณภายในก็ดี กระทั่งตัวเราก็ดีเสื่อมสลายตายพังไปทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา
    ให้ยึดถือมั่หมายได้ ถ้าเกิดอีกเมื่อไรก็ต้องพบกับความไม่เที่ยงเช่นนี้ เกิดอีกเมื่อไรก็ต้องพบกับความทุกข์เช่นนี้ ดังนั้นถ้าเราเกิดอีก ทุกข์อีกดังนี้เราจะ
    โง่มาเกิดทำไม เราก็ควรจะไปนิพพานดีกว่า

    ก็เอากำลังของกสิณนี้เกาะพระนิพพานแทน เราจะสามารถเห็นพระนิพพานได้ชัดเจนแจ่มใส สามารถเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชัดเจนแจ่มใส วางอารมณ์ใจว่าตายเมื่อไรเราขออยู่ที่นี่แห่งเดียว แล้วจับใน อุปสมานุสสติหรือพุทธานุสสตินั้นเป็นกสิณแทน ถ้าทำดังนี้ได้กำลังของสมาธิที่ทรงตัว กิเลสจะค่อยๆ ลดน้อยลง และในที่สุดก็สลายตัวไป เราก็จะเข้าสู่พระนิพพานได้ตามที่เราต้องการ


    สำหรับวรรณกสิณทั้ง ๔ นี้ ถ้าหากว่ากำลังใจทรงตัวถึงปฏิภาคนิมิตเมื่อไร มันจะตัดตัวโทสะได้โดยอัตโนมัติ ของมันเอง

    สำหรับวันนี้เวลาก็ไม่พอแล้ว
    การศึกษาเรื่องของกสิณ ให้เราไปปฏิบัติเอาตามใจชอบของตน ตอนนี้ก็ให้รักษากำลังใจส่วนหนึ่ง เกาะภาพพระให้เป็นปกติ .....


    สำหรับวันนี้ก็จะกล่าวถึง ธาตุกสิณทั้งสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ กสิณทั้งสี่กองนี้เริ่มจาก

    - ปฐวีกสิณ เราก็ต้องหานิมิตกสิณก่อน สมัยโบราณท่านบอกว่าให้ใช้ดินสีอรุณ คือสีเหลืองอมแดง เพื่อนำมาทำเป็นนิมิตกสิณ ต้องเอาดินมาละเลงบนผ้าสดึง
    แต่ว่าสมัยนี้ของเราถ้าทำอย่างนั้นได้ก็ดีแต่เนื่องจากว่าสมัยนี้บางทีการหาวัสดุมาทำมันยากอยู่สักนิดหนึ่ง เด็กรุ่นหลังๆ กระทั่งดินสีอรุณหรือดินขุยปู
    ในลักษณะนั้นหน้าตาเป็นอย่างไรยังไม่รู้จักเลย เราก็ใช้ดินทั่วๆไป อาจจะเอามานวดมาปั้นก็ได้ ปั้นให้เป็นรูปกลมๆ ขนาดที่เราชอบใจก็ได้ หรือว่าจะปั้น
    ให้เป็นสี่เหลี่ยมก็ได้ หรือว่าจะทำเป็นนิมิตกสิณอย่างของคนโบราณคือละเลงลงบนผ้าที่กว้างเมตรสองคืบสี่นิ้วก็ได้หรือว่าจะปัดกวาดสถานที่ใดที่หนึ่ง
    ให้สะอาด มองพื้นดินที่เห็นแล้วจับเป็นนิมิตกสิณก็ได้

    - สำหรับธาตุน้ำ ง่ายสักนิดหนึ่ง เราใช้น้ำใส่ภาชนะ ใส่ขัน ใส่ถังอะไรก็ได้ที่เราจะสามารถนั่งแล้วมองได้ถนัด

    - เรื่องของ ธาตุลม สมัยก่อนท่านให้จับอาการไหวของพวกใบไม้ต่างๆ แล้วก็นำอาการไหวนั้นเอามาเป็นนิมิต แต่เนื่องจากว่าบางขณะลมสงัด ถ้าหากว่านิมิตยังไม่ทรงตัวเราก็ทำต่อไม่ได้ จากที่เคยฝึกมาให้ใช้พัดลมเปิดเบาๆ ให้ลมนั้นกระทบร่างของเรา จับอากาศกระทบเป็นระลอกๆ ของลมนั้น เป็นนิมิตได้ หรือว่าถ้ามีความคล่องตัวแล้วใช้ลมหายเจ้าเข้าลมหายใจออกของเราเป็นนิมิตแทนก็ได้

    - ธาตุไฟ นั้น สมัยก่อนใช้ก่อไฟกองใหญ่ขึ้นมาแล้วก็เจาะรูที่ผ้านำผ้านั้นขึงอยู่หน้ากองไฟมองเฉพาะไฟที่ผ่านจากรูกลมของผ้าเข้ามา แต่ว่าจริงๆ แล้ว
    จะใช้แบบไหนก็ได้ จุดเทียนขึ้นมาแล้วเพ่งเปลวเทียนก็ได้ หรืออย่างสมัยที่ผมฝึกมันหาเทียนยากมีแต่ตะเกียงน้ำมันผมก็ใช้ตะเกียงน้ำมัน หรือเวลาหุงข้าว
    ก็เอาฟืนทั้งเตาเป็นนิมิตกสิณได้ สมัยโน้นเตาแก๊สยังไม่มี หม้อไฟฟ้ายังไม่มี ถึงเวลาก็ต้องติดไฟหุงข้าวจะเป็นเตาถ่านเตาฟืนอะไรผมก็ใช้นิมิตไฟทั้งเตานั้น
    เป็นนิมิตกสิณแทน



    คราวนี้กล่าวถึง *อนุภาพของกสิณ* ก่อน ธาตุกสิณทั้งสี่กองนี้มีอนุภาพมาก

    ปฐวีกสิณ นั้นถ้าหากว่าเราต้องการของอ่อนเป็นของแข็งเมื่อทำได้แล้วก็อธิษฐานได้ตามใจ สามารถเดินขึ้นบนอากาศได้เหมือนกับมีบันไดรองรับ
    เดินบนน้ำได้เหมือนยังกับว่าพื้นน้ำนั้นแข็งตัวอยู่

    เรื่องของ อาโปกสิณ กสิณน้ำ สิ่งที่แข็งเราสามารถอธิษฐานให้อ่อนดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามใจของเราชอบ ที่ที่ไม่มีน้ำอดน้ำอยู่สามารถอธิษฐาน
    ให้น้ำเกิดที่นั่นได้ ขณะเดียวกันถ้าหากว่าเราทำเป็นก็สามารถทำเป็นทิพยจักษุญาณได้ โบราณาจารย์ท่านกล่าวว่า กสิณไฟ กสิณสีขาว กสิณแสงสว่าง
    คืออาโลกสิณ เป็นพื้นฐานของทิพยจักษุญาณ เรื่องของอาโปกสิณคือกสิณน้ำถ้าหากว่าเรากำหนดใจจดจ่ออยู่กับน้ำในภาชนะนั้นก็เป็นอาโปกสิณ
    แต่ถ้าเราเพ่งจิตจนถึงก้นของภาชนะน้ำนั้น สามารถทำเป็น ทิพยจักษุญาณ ได้

    เรื่องของ วาโยกสิณ เราสามารถจะไปที่ไหนๆ ได้ด้วยกำลังของวาโยกสิณอย่างที่โบราณเขาใช้คำว่าเหาะไป แต่ว่าความจริงแล้วถ้าหากว่ามีคนเห็นเรา
    อยู่ตรงหน้าแล้วเราไปด้วยกำลังของวาโยกสิณจริงๆ ถ้าไม่ได้อธิษฐานให้ไปช้าๆ อย่างเช่นถ้านั่งอยู่ตรงนี้คิดว่าเราจะไปกรุงเทพฯ คนที่นั่งอยู่ตรงนี้จะเห็นเรา
    หายไปเฉยๆ แล้วไปปรากฏที่กรุงเทพฯอีกทีหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วเราลอยไปด้วยอำนาจของวาโยกสิณ เพียงแต่ว่าลอยไปเร็วมาก มันก็เลยเหมือนกับหายวับ
    จากจุดนี้ไป ไปปรากฏที่อีกจุดหนึ่ง หรือว่าที่ไหนไม่มีลมมันร้อนอบอ้าว อธิษฐานให้มีลมให้มันเย็นสบายได้

    เรื่องของ เตโชกสิณ คือกสิณไฟ ถ้าทำได้แล้วเราสามารถอธิษฐานให้ไฟติดขึ้นที่ใดที่หนึ่งก็ได้ จะให้ความอบอุ่นจะให้แสงสว่างหรือจะให้เผาผลาญสิ่งใดก็ได้
    อำนาจของเตโชกสิณ เราสามารถควบคุมมันได้อย่างที่ต้องการ ถ้าจะเผาแค่เสื้อผ้ารับรองว่าตัวคนไม่มีอันตราย ทั้งๆ ที่ไฟลุกท่วมตัวอยู่อย่างนั้น

    คราวนี้ ธาตุกสิณทั้งสี่ นี้ยังสามารถใช้ใน การปรับธาตุ เพื่อรักษาพยาบาลคนที่เจ็บป่วยได้ เนื่องจากว่าคนที่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดจากการที่ธาตุใด
    ธาตุหนึ่งบกพร่อง ถึงมีอาการเจ็บป่วยถ้าเราอธิษฐานให้ธาตุสี่ประสานเสมอกันอาการเจ็บป่วยนั้นก็หาย แต่สำหรับนักปฏิบัติแล้วถ้าไม่ใช่หน้าที่ของตน
    จริงๆ อย่าไปฝืนกรรม ทำในลักษณะนั้น เพราะว่าทุกคนต้องสร้างกรรมมาถึงจะเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเราไปฝืนกระแสกรรมโดยการช่วยเหลือผู้อื่นเขา
    กรรมอันนั้นจะเข้าถึงตัวเราอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือถ้าเราไปฝืนกฏของกรรม อำนาจของอภิญญาที่ได้จากกสิณจะเสื่อม


    ในเมื่อธาตุกสิณทั้งสี่ มีอนุภาพดังนี้ เวลาเรา *ปฏิบัติ* ก็เริ่มจากกองใดกองหนึ่งที่เราชอบ
    ถ้าจับ ปฐวีกสิณ ก่อนก็ลืมตาดูภาพนิมิตกสิณที่เราทำไว้ หลับตาลงนึกถึงภาพนั้นพร้อมกับคำภาวนาว่า "ปฐวีกสิณนัง ปฐวีกสิณนัง "
    ถ้าภาพเลือนหายไปลืมตาขึ้นมาดูใหม่แล้วหลับตาลงนึกถึงภาพนั้น ระยะแรกๆ มันจะนึกได้แค่ชั่วคราวพอถึงเวลาหลับตาลงไม่ถึงอึดใจภาพก็หายไป
    ก็ลืมตาดูใหม่พร้อมกับคำภาวนาใหม่ ทำดังนี้ไปเรื่อยๆ บางทีเป็นเดือนเป็นปี เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านครั้งกว่าภาพนั้นจะปรากฏได้ทั้งหลับตาและลืมตา

    ถ้าใช้ กสิณน้ำ เมื่อใช้ภาชนะบรรจุน้ำวางอยู่ตรงหน้าลืมตามองน้ำในภาชนะนั้น พร้อมกับหลับตาลงนึกถึงภาพของน้ำในภาชนะ ภาวนาว่า "อาโปกสิณนัง
    อาโปกสิณนัง
    " ดังนี้ไปเรื่อยๆ

    ถ้าหากว่าการกำหนดใน วาโยกสิณ เมื่ออาการของลมที่กระทบผิวกายเป็นระลอกระลอกอย่างใด ก็ให้กำหนดอาการกระทบอย่างนั้น พร้อมกับคำภาวนาว่า
    "วาโยกสิณนัง วาโยกสิณนัง "

    ถ้าหากว่าจับ ภาพไฟ เป็นปกติ ก็ให้จับภาพของดวงเทียน หรือว่ากองไฟนั้นๆ พร้อมกับคำภาวนาว่า "เตโชกสิณนัง เตโชกสิณนัง "


    คราวนี้เรื่องของ ธาตุกสิณทั้งสี่ นี้ ถ้าหากว่าเป็น *อุคหนิมิต* ก็จะเป็นนิมิตตามกองกสิณนั้นๆ
    - คือว่าถ้าเราทำ นิมิตดิน เป็นรูปวงกลม เป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างไรที่เราชอบใจก็ตาม ถึงวาระถึงเวลานั้นภาพนั้นก็จะปรากฏ
    - ถ้าเป็น กสิณน้ำ ก็จะปรากฏเป็นวงตามภาชนะนั้นๆ
    - ถ้าเป็น กสิณลม อันนี้จับยากสักนิดหนึ่งเพราะว่าเรามองลมไม่เห็นแต่พอจับอาการกระทบไปเรื่อยๆ ๆ มันจะเริ่มเห็นขึ้นมา ลักษณะยังกับเราเห็นไอแดด
    ที่มันเต้นเป็นตัวเวลาร้อนมากๆ ถ้าหากว่าภาพกสิณนั้นมีความชัดเจนขึ้น ก็จะเหมือนกับไอน้ำที่เราต้มน้ำหรือว่าหุงข้าวแล้วไอนั้นลอยขึ้นมาเป็นระลอก
    ระลอก อยู่อย่างนั้น
    - ถ้าหากว่าเป็น กสิณไฟ ก็จะมีนิมิต ตามลักษณะของดวงกสิณที่เราพิจารณาอยู่ ที่เราเพ่งอยู่ ถ้าหากว่าเราเพ่งเปลวเทียนนิมิตก็จะเป็นดวงเทียน
    ในลักษณะเปลวไฟลอยตั้งอยู่เฉยๆ ถ้าเราเพ่งภาพของกองไฟก็จะเห็นไฟทั้งกองนั้นตั้งอยู่ตรงหน้าของเรา แต่ว่ามีอยู่จุดหนึ่งที่ว่าถ้าหากว่าบางท่าน
    มีความคล่องตัวมาก่อนมันจะไม่เห็นเป็นเปลวไฟในลักษณะของดวงกสิณที่เราเพ่งแต่มันจะเห็นในลักษณะเหมือนยังกับ ตาลปัตรทองคำ คือมันจะพุ่งขึ้น
    ไปแล้วแตกกระจายเป็นแฉกๆ อยู่ทางด้านบนซึ่งอันนี้ผมเจอมาด้วยตัวเอง


    เมื่อลักษณะของ อุคหนิมิต นี้ปรากฏขึ้น เราต้อง เพิ่มความระมัดระวัง เพิ่มสติ จะหลับจะตื่น จะยืน จะนั่งเอากำลังใจส่วนหนึ่งจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ
    พร้อมกับคำภาวนาเสมอ พอทำไปๆ สีสันของกสิณนั้นก็จะ อ่ อ น ล ง.. จ า ง ล ง ..จนกระทั่งกลายเป็นสีขาวทั้งหมด จากสีขาวก็ค่อย ใ ส ขึ้ น ๆ ส ว่ า ง ขึ้ น จนกระทั่ง ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เหมือนยังกับเอากระจกสะท้อนไฟใส่ตา


    แต่ว่ามันมีนิมิตกสิณอยู่สองกองคือ อาโปกสิณ กสิณน้ำ กับ เตโชกสิณ กสิณไฟ นิมิตทั้งสองกองนี้ถ้าเป็น ปฏิภาคนิมิต แล้วเมื่อเราอธิษฐานให้ใหญ่ให้เล็ก
    ให้มา ให้หายไป มีความคล่องตัวแล้ว บางทีอยู่ๆ จะเห็นกระแสน้ำไหลมาท่วมทุกทิศทุกทาง อันนั้นอย่าได้ตกใจ หรืออยู่ๆ เห็นเป็นไฟลุกไหม้พรวดพราด
    ขึ้นมา บางทีไหม้ไปทั้งอาคารทั้งหลังอันนั้นก็อย่าไปตกใจ ไม่ว่าจะน้ำมาทุกทิศทุกทางหรือไฟลุกท่วมไปทั้งอาคารก็ตาม โปรดทราบว่าอันนั้นเป็นแค่
    นิมิตกสิณเฉยๆ เราสามารถที่จะควบคุมมันได้สบายมาก เราอธิษฐานให้ไฟลุกท่วมทั้งโบสถ์นี้ โบสถ์นี้ก็จะไม่มีอันตรายถ้าเราไม่ต้องการให้ไหม้
    ให้น้ำท่วมมาทุกทิศทุกทางก็จริง แต่ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการให้มีอันตรายจากน้ำนั้น น้ำนั้นก็ทำอันตรายใครไม่ได้ มีหลายท่านที่ทำกสิณดังนี้แล้วพอ
    นิมิตพวกนี้เกิดขึ้นแล้วตกใจกลัว วิ่งหนีก็ดีหรือว่าตื่นตกใจเรียกให้คนช่วยก็ดีในลักษณะนั้นเป็นการขาดสติ บางทีความตกใจมากทำป้ำๆ เป๋อๆ ทำกรรมฐานต่อไม่ได้เลยก็มี ดังนั้นขอให้เราทุกคนโปรดเข้าใจว่า ถ้านิมิตกสิณเหล่านี้เกิดขึ้น เราเป็นผู้ทำให้มันเกิด ต้องการให้มันมามันก็มา ต้องการให้ มันหายไปมันก็หายไปเดี๋ยวนั้น มันจะทำอันตรายเราไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างเราสามารถควบคุมมันได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปตกใจ ไม่จำเป็นต้องไปหวาดกลัวใดๆ
    ให้เราพยายามทำกสิณในลักษณะนี้ให้ทรงตัวให้ได้


    เมื่อเป็น*ปฏิภาคนิมิต* แล้ว เราก็ลองอธิษฐานใช้ผลดูคือ จับภาพกสิณให้ ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เต็มที่ กำหนดอธิษฐานให้หาย ให้มา จนคล่องตัวมั่นใจ

    - แล้วถ้าหากว่าเป็น ปฐวีกสิณ ก็ลองนำน้ำมาสักขันหนึ่ง อธิษฐานว่า "ขอให้น้ำนี้จงแข็งเหมือนดิน" แล้วเสร็จแล้วคลายกำลังใจออกมาเข้าฌานเต็มระดับ
    คือจับภาพกสิณให้ ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เต็มที่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อคลายใจออกมาสู่อารมณ์ปกติ แล้วอธิษฐานขอให้น้ำนี้แข็งตัวใหม่ น้ำนั้นจะแข็งเป็นดิน
    คือลักษณะแข็งเหมือนกับหินไปทั้งขัน สมัยที่อยู่วัดท่าซุงเด็กๆ นักเรียนทำได้แล้วก็แกล้งเพื่อนตัวเองลักษณะนี้ พอเข้าส้วมก็รอจังหวะพอเพื่อนจะตักน้ำล้าง
    ส้วมก็อธิษฐานให้น้ำมันแข็งเพื่อนตักน้ำไม่ได้ตัวเองก็ชอบใจไปหัวเราะเยาะเพื่อนได้ พยายามทำให้อยู่ในลักษณะที่เรียกว่ามีความชำนาญ นึกเมื่อไหร่น้ำ
    ก็แข็งเมื่อนั้น คราวนี้จะลองหัดเดินน้ำดูก็ได้แต่ว่าถ้าหัดเดินน้ำให้ อธิษฐานว่า "ให้น้ำทุกจุดที่เราเหยียบลงไปมีความแข็งและหนาแน่นเหมือนกับดิน"
    อย่าไปอธิษฐานให้น้ำทั้งหมดแข็งเพราะว่าจะสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นเขา ถ้าอธิ๋ษฐานผิดในลักษณะนั้นผลของกสิณจะไม่เกิด

    - ถ้าหากว่าเป็น กสิณน้ำ ก็ลองอธิษฐาน ของแข็งให้อ่อน ดู อาจจะน้ำไม้สักอันหนึ่ง เหล็กสักท่อนหนึ่งมาวางตรงหน้า เข้าสมาธิเต็มที่ จนภาพกสิณ
    ใ ส ... เ จิ ด จ้ า แล้วอธิษฐานขอให้ไม้หรือเหล็กนั้นอ่อนลง คลายกำลังใจลงมาเข้าสู่ภาวะฌานสมาบัติให้เห็นดวงกสิณ ใ ส เ จิ ด จ้ า แบบนั้นเต็มที่อีกครั้ง
    หนึ่ง พอลดกำลังใจลงมา อธิษฐานขอให้มันอ่อนตัวลง พอเข้าฌานใหม่ สิ่งนั้นก็จะอ่อนตัวลง จับบิดดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามที่เราต้องการ

    - ถ้าหากว่าเป็น กสิณลม ก็เอาระยะใกล้ๆ ในจุดที่คนเขามองไม่เห็นเพื่อคนเขาจะได้ไม่แตกตื่น อย่างเช่นว่าเราอธิษฐานว่า "จะไปในดงไผ่นั้น" เวลาเข้า
    สมาธิเต็มที่ อธิษฐานแล้วคลายกำลังใจออกมา อธิษฐานแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง พอเข้าสมาธิเต็มที่ ร่างกายก็จะไปอยู่ในสถานที่ที่ต้องการนั้นๆ

    - ถ้าเป็น กสิณไฟ ก็แอบๆ จุดไฟเล่นของเราก็ได้ จุดเทียนในกุฏิของเราตั้งใจอธิษฐาน "ขอให้ไฟมันติด " มันก็จะติดขึ้นมา


    ทำให้มีความคล่องตัวแบบนี้ทุกวัน ซ้อมทำอยู่เรื่อยๆ ทุกบ่อย ความจริงเรื่องของกสิณนั้น ถ้าเราทำกองใดกองหนึ่งได้แล้วกสิณที่เหลือก็เหมือนๆ กัน
    คำว่าเหมือนกันก็คือว่าใช้ลักษณะของนิมิตด้วยกำลังเท่าเดิมใช้กำลังของสมาธิเท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนนิมิตเปลี่ยนคำภาวนาเล็กน้อยเท่านั้น


    กสิณกองต่อไปคือ อาโลกสิณ เป็นการจับแสงสว่าง สมัยก่อนเขาดูแสงสว่างที่ลอดฝา ลอดตามช่องเข้ามา ลอดตามหลังคาเข้ามา แต่ว่าสมัยนี้มีลูกแก้ว
    ใช้ลูกแก้วเป็นนิมิตกสิณได้ หรือว่าใช้พระแก้วเป็นนิมิตกสิณได้ อาโลกสิณนั้นเป็นกสิณสร้าง ทิพยจักษญาณ โดยตรง ใครทำอาโลกสิณได้สามารถมี
    ทิพยจักษุญาณเห็นนรก สวรรค์ พรมหม นิพพานได้ง่ายๆ ขณะเดียวกันถ้าที่ใดมันมืดมิดต้องการจะให้สว่างมันก็สว่างตามที่เราต้องการได้ เวลาจับภาพ
    นิมิตกสิณพร้อมกับคำภาวนา ก็ใช้คำว่า "อาโลกสิณนัง อาโลกสิณนัง"

    ส่วนกสิณกองต่อไปคือ อากาศกสิณ อันนี้ให้จับช่องว่างเป็นช่องใดช่องหนึ่งตามข้างฝาก็ได้ตามหลังคาก็ได้เป็นตัวนิมิต ตั้งใจภาวนาว่า "อากาศกสิณนัง
    อากาศกสิณนัง
    " ดังนี้ไปเรื่อยๆ เรื่องของอากาศกสิณนี้มีอนุภาพตรงที่ว่าสถานที่ใดมันจะทึบมันจะตันขนาดไหนก็ตามประตูหน้าต่างที่เขาล็อคไว้ขนาด
    ไหนก็ตามถ้าเราต้องการจะผ่านไป ถึงเวลาอธิษฐานให้ตรงนั้นเป็นช่องว่างเราก็สามารถผ่านไปได้ง่ายๆ ลักษณะของการดำดินหรือว่ามุดภูเขาไปทั้งลูก
    ก็ใช้กำลังของอากาศกสิณนี้เอง

    ส่วน อาโลกสิณ นั้นเป็นกสิณเกี่ยวกับ ทิพยจักษุญาณโดยตรง ถึงเวลาอธิษฐานขอให้ภาพกสิณหายไปขอให้ภาพนรก เปรต อสุรกายปรากฏขึ้น
    ขอให้ภาพเทวดา พรมหม หรือพระนิพพานปรากฏขึ้น เราก็สามารถที่จะทำได้ง่าย


    คราวนี้ *กสิณทั้งหมดนั้นถ้าเราทำแค่นั้นมันเป็นโลกียอภิญญา* ไม่สามารถจะหลุดพ้น ก็ให้พิจารณาดูความไม่เที่ยงของมันไม่ว่าจะดิน จะน้ำ จะลม
    จะไฟมันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายตัวไปเช่นกัน ดวงกสิณทุกอย่างแรกๆ มันก็ไม่สามารถตั้งมั่นทรงตัวอยู่ได้ ถึงเวลาเป็นอุคหนิมิตทรงตัวก็แสดงว่ามันมี
    ความเปลี่ยนแปลงเป็นปกติ แล้วถึงเวลาสามารถบังคับมันให้เป็นปฏิภาคนิมิตได้เดี๋ยวก็ใหญ่เดี๋ยวก็เล็กความไม่เที่ยงของมันมีอยู่เป็นปกติ ตัวเราเองที่ทำ
    กสิณอยู่กว่าจะทำได้แต่ละทีลำบากยากเย็นแสนเข็นขนาดต้องนั่งเมื่อยอยู่เป็นวันๆ จับภาพกสิณให้เป็นอุคนิมิตไม่ได้เลย .....
     
  6. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนของ พระมหาวีระ ถาวโร ( หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง - หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) - คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
    ปีติ

    กสิณ ๑๐


    องค์ฌานในกสิณทั้ง ๑๐ กอง

    ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ

    - วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำหนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมิต
    นั้นเป็นอารมณ์
    - วิจาร พิจารณาปฏิภาคนิมิตนั้น คือพิจารณาว่า รูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงดงามคล้ายแว่นแก้วที่มีคนชำระสิ่งเปรอะเปื้อนหมดไป เหลือไว้แต่ดวงเก่าที่บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากธุลีต่างๆ มีประเภท ๕ คือ
    ๑. ขุททกาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้าและน้ำตาไหล
    ๒. ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ
    ๓. โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง คล้ายเรือที่ถูกคลื่นซัด บางท่าน ก็นั่งโยกไปโยกมา อย่างนี้เรียก โอกกันติกาปีติ
    ๔. อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยไปได้ไกลหลายๆ กิโลก็มี
    ๕. ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าซาบซ่านทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายใหญ่สูงขึ้นกว่าปกติ
    - สุข มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต
    - เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติ ไม่สอดส่าย อารมณ์ออกนอกจากปฏิภาคนิมิต

    ทั้ง ๕ อย่างนี้เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่นๆ แปลกแต่กสิณนี้ มีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้าสู่ จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน

    ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ตอนนี้จะเว้นจากการภาวนาไปเอง การกำหนดพิจารณารูปกสิณจะยุติลง คงเหลือแต่ความสดชื่นด้วยอำนาจปีติ อารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาคนิมิตจะสดสวยงดงามวิจิตรตระการตามากกว่าเดิม มีอารมณ์เป็นสุขประณีตกว่าเดิม อารมณ์จิตแนบสนิทเป็น สมาธิ
    มากกว่า
    ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้เหลือแต่ความสุขแบบเครียดๆ คือมีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต คล้ายใครเอาเชือกมามัดไว้มิให้เคลื่อนไหว ลมหายใจอ่อนระรวยน้อยเต็มที่ ภาพนิมิตดูงามสง่าราศีละเอียดละมุนละไม มีรัศมีผ่องใสเกินกว่าที่ประสบมาอารมณ์ของจิตไม่สนใจ
    กับอาการทางกายเลย
    จตุตถฌาน ทรงไว้เพียงเอกัคคตากับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่งไม่มีอารมณ์รับความสุข และความทุกข์ใดๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น มีอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ทั้งมวลมีจิตสว่างโพลง คล้ายใครเอาประทีปที่สว่างมากหลายๆ ดวงมาตั้งไว้ในที่ใกล้ ไม่มีอารมณ์รับแม้แต่ เสียงลมหายใจสงัด รูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก
    ฌานที่ ๔ เป็นฌานสำคัญชั้นยอด ควรกำหนดรู้แบบง่ายๆ ไว้ว่า เมื่อมีอารมณ์จิตถึงฌาน ๔ จะไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ควรกำหนดไว้ง่ายๆ แบบนี้สะดวกดี
    ท่านทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบของกสิณต้องถึงฌาน ๔ และนิมิตอะไรต่ออะไรตามอำนาจกสิณ ถ้าทำไม่ถึงกับนิมิตได้ตามอำนาจกสิณก็เป็นเสมือนท่านยังไม่ได้กสิณเลย

    ............


    ปฐวีกสิณ

    กสิณนี้ท่านเรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์ ศัพท์ว่า "ปฐวี" แปลว่า "ดิน" กสิณ แปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ความว่า "เพ่งดิน"

    อุปกรณ์กสิณ
    ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปกรณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำให้เตียนสะอาดจากผงธุลี หรือจะทำเป็นสะดึงยกไปยกมาได้ ก็ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้น ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามเอาดินสีอื่นมาปน ถ้าจำเป็นหาดินสีอรุณไม่ได้มาก ท่านให้เอาดินสีอื่นรองไว้ข้างล่างแล้วเอาดินสีอรุณทาทับไว้ข้างบน ดินสีอรุณนี้ ท่านโบราณาจารย์ท่านว่า หาได้จากดินขุยปู เพราะปูขุดเอาดินสีอรุณขึ้นไว้ปากช่องรูที่อาศัย
    เมื่อหาดินได้ครบแล้ว ต้องทำสะดึงตามขนาดดังนี้ ถ้าทำเป็นลานติด
    พื้นดินก็มีขนาดเท่ากัน

    ขนาดดวงกสิณ
    วงกสิณที่ทำเป็นวงกลมสำหรับเพ่ง อย่างใหญ่ท่านให้ทำไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง๑ คืบ ๔ นิ้ว อย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน ระยะนั่งเพ่งบริกรรม ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า ๒ คืบ ๔ นิ้ว ตั่งที่รองวงกสิณ ท่านให้สูงไม่เกิน ๒ คืบ ๔ นิ้ว ท่านว่าเป็นระยะที่พอเหมาะพอดี เพราะจะได้ไม่มองเห็นรอยที่ปรากฏบนดวงกสิณที่ท่านจัดว่าเป็นกสิณโทษ เวลาเพ่งกำหนดจดจำท่านให้ มุ่งจำแต่สีดิน ท่านไม่ให้คำนึงถึงขอบและริ้วรอยต่าง ๆ

    กิจก่อนการเพ่งกสิณ
    เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้วท่านให้ชำระร่างกายให้สะอาดแล้วนั่งขัดสมาธิที่ตั่งสำหรับนั่ง หลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ ๕ ประการ ตามนัยที่กล่าวในอสุภกรรมฐาน ต้องการทราบละเอียดโปรดเปิดไปที่บทว่าด้วย อสุภกรรมฐาน จะทราบละเอียด เมื่อพิจารณาโทษของกามคุณจนจิตสงบจากนิวรณ์แล้ว ให้ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณจดจำให้ดีจนคิดว่าจำได้ก็หลับตาใหม่กำหนดภาพกสิณไว้ในใจ ภาวนาเป็นเครื่องผูกใจไว้ว่า "ปฐวีกสิณ" เมื่อเห็นว่าภาพเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่ เมื่อจำได้แล้วก็หลับตาภาวนากำหนดจดจำภาพนั้นต่อไปทำอย่างนี้บ่อยๆ หลายร้อยหลายพันครั้งเท่าใดไม่จำกัด จนกว่าอารมณ์ของใจจะจดจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี จะเพ่งมองดูหรือไม่ก็ตามภาพกสิณนั้นก็จะติดตาติดใจ นึกเห็นภาพได้ชัดเจนทุกขณะที่ปรารถนา จะเห็นติดตาติดใจตลอดเวลาอย่างนี้ท่านเรียกว่า"อุคคหนิมิต"แปลว่า นิมิตติดตา

    อุคคหนิมิตนี้ ท่านว่ายังมีกสิณโทษอยู่มาก คือภาพที่เห็นเป็นภาพดินตามที่ทำไว้และขอบวงกลมของสะดึง ย่อมปรากฏริ้วรอยต่าง ๆ เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตแล้วท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตนั้นไว้จนกว่าจะได้ ปฏิภาคนิมิต

    ปฏิภาคนิมิตนั้น รูปและสีของกสิณเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำเป็นวงกลมด้วยดินแดงนั้นจะกลายป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดผ่องใสคล้ายน้ำที่กลิ้ง อยู่ในใบบัว ฉะนั้นรูปนั้นบางท่านกล่าวว่าคล้ายดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกปิดบัง เอากันง่าย ๆ ก็คือเหมือนแก้วที่สะอาดนั่นเอง รูปคล้ายแว่นแก้ว จะกำหนดจิตให้เล็กโตสูงต่ำได้ตาม ความประสงค์อย่างนี้ท่านเรียก ปฏิภาคนิมิต เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วท่านให้นักปฏิบัติเก็บตัว อย่ามั่วสุมกับนักคุยทั้งหลาย จงรักษาอารมณ์ รักษาใจให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิเป็นอันดี อย่าสนใจในอารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อยหนึ่ง เพราะแม้นิดเดียวของนิวรณ์ อาจทำอารมณ์ สมาธิที่กำลังจะเข้าสู่ระดับฌานนี้ให้สลายตัวได้โดยฉับพลันขอท่านนักปฏิบัติจงระมัดระวัง อารมณ์รักษาปฏิภาคนิมิตไว้ คล้ายกับระมัดระวังบุตรสุดที่รักที่เกิดในวันนั้น
     
  7. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    อาโปกสิณ

    อาโปกสิณ อาโป แปลว่าน้ำ กสิณ แปลว่า เพ่ง อาโปกสิณแปลว่าเพ่งน้ำ กสิณน้ำ

    มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้

    ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ ท่านให้เอาน้ำที่ใส แกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่น หรือมีสีต่างๆ มา ท่านให้ใส่น้ำในภาชนะเท่าที่จะหาได้ ใส่ให้เต็มพอดีอย่าให้พร่อง การนั่งหรือเพ่งมีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณจนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิต อุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม สำหรับปฏิภาคนิมิตปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือใสมีประกายระยิบระยับ เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วจงเจริญต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน บทภาวนา ภาวนาว่า อาโปกสิณัง



    เตโชกสิณ

    เตโช แปลว่า ไฟ กสิณเพ่งไฟเป็นอารมณ์ กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้จุดไฟให้ลุกโชนแล้วเอาเสื่อหรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้า ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกันกับปฐวีกสิณ การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์ ภาวนาว่า เตโชกสิณัง ๆ ๆ ๆ หลายๆ ร้อย หลายๆ พันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ
    สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นมีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือคล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทอง หรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา


    วาโยกสิณ
    วาโยกสิณ แปลว่า เพ่งลม การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการเห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
    การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้า หรือปลายไม้เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา
    การถือเอาด้วยการถูกต้อง ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้ การถือเอาลมกระทบจะใช้พัดลมเป่าแทน หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้า ต้นไม้ที่ไหวเพราะลมพัด จะใช้พัดลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ให้ภาวนาว่า วาโยกสิณัง ๆ ๆ ๆ
    อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆ คล้ายกับกระไอแห่งการหุงต้มที่มีไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้วนั่นเอง มีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น
    สำหรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหว หรือคล้ายกับก้อนเมฆบางที่ลอยอยู่คงที่นั่นเอง อาการอื่นนอกจากนี้เหมือนในปฐวีกสิณ


    นีลกสิณ

    นีลกสิณ แปลว่า เพ่งสีเขียว ท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนัง กระดาษก็ได้แล้วเอา สีเขียวทา หรือจะเพ่งพิจารณาสีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ อุคคหนิมิต เมื่อเพ่งภาวนาว่า นีลกสิณัง ๆๆๆๆ อุคคหนิมิตนั้นปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง


    ปีตกสิณ

    ปีตกสิณ แปลว่า เพ่งสีเหลือง การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่อุคคหนิมิตเป็นสีเหลือง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณนอกนั้นเหมือนกันหมด บทภาวนาภาวนาว่า ปีตกสิณังๆๆ


    โลหิตกสิณ

    โลหิตกสิณ แปลว่า เพ่งสีแดง บทภาวนา ภาวนาว่า โลหิตกสิณัง ๆๆๆๆ นิมิตที่จัดหามาเพ่ง จะเพ่งดอกไม้สีแดงหรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้ อุคคหนิมิตเป็นสีแดง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ


    โอทาตกสิณ

    โอทาตกสิณ แปลว่า เพ่งสีขาว บทภาวนา ภาวนาว่า โอทาตกสิณัง ๆๆๆๆ สีขาวที่จะเอามาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้ นิมิตทั้งอุคคหะและปฏิภาคก็เหมือนนีลกสิณ เว้นไว้แต่อุคคหะเป็นสีขาวเท่านั้นเอง


    อาโลกกสิณ

    อาโลกกสิณ แปลว่า เพ่งแสงสว่าง ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝาหรือช่องหลังคาหรือเจาะเสื่อลำแพน หรือแผ่นหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณ แล้วภาวนาว่า อาโลกกสิณัง ๆๆ อย่างนี้ จนอุคคหนิมิตปรากฏ อุคคหนิมิตของอาโลกกสิณ มีรูปเป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่ ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบเหมือนกับเอาแสงสว่างมากองรวมกันไว้ที่นั้น แล้วต่อไปขอให้นักปฏิบัติจงพยายาม ทำให้เข้าถึง
    จตุตถฌาน เพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไป ก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ


    อากาสกสิณ

    อากาสกสิน แปลว่า เพ่งอากาศ อากาสกสิณนี้ภาวนาว่า อากาสกสิณัง ๆๆ ท่านให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณ คือ เจาะช่องเสื่อหรือหนัง หรือมองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมาตามช่องฝา หรือหลังคาหรือตามช่องเสื่อและผืนหนังโดยกำหนดว่า อากาศ ๆๆ จนเกิดอุคคหนิมิต ซึ่งปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนด ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏคล้าย อุคคหนิมิตแต่มีพิเศษที่บังคับให้ขยายตัวออกให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์ อธิบายอื่นก็เหมือนกสิณอื่นๆ



    อานุภาพกสิณ ๑๐

    กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติในกสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตุตถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณ กองนั้น ๆ มีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔ แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่าง ๆ ตามแบบ ท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าถึงกสิณ

    อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆ มีดังนี้
    ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น นิรมิตคน ๆ เดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคน ๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้
    อาโปกสิณ สามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่น อธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ฝนแล้งให้เกิดฝนอย่างนี้เป็นต้น
    เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณสามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในทุกสถานที่ได้
    วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลม อธิษฐานให้มีลมได้
    นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้
    ปีตกสิณ สามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้
    โลหิตกสิณ สามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์
    โอทาตกสิณ สามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐานที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักษุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ
    อาโลกกสิณ นิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง
    อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นที่อับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่ง มีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ ความต้องการได้


    วิธีอธิษฐานฤทธิ์

    วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการ ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน ๔ ก่อน แล้วออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น แล้วกลับเข้าฌาน ๔อีก ออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา


    แนะกสิณร่วมวิปัสสนาญาณ
    ท่านผู้ฝึกกสิณ ถ้าประสงค์จะให้ได้อภิญญาหก ก็เจริญไปจนกว่าจะชำนาญทั้ง ๑๐ กอง ถ้าท่านประสงค์ให้ได้รับผลพิเศษเพียงวิชชาสาม ก็เจริญเฉพาะอาโลกกสิณ หรือเตโชกสิณหรือ โอทาตกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วฝึกทิพยจักษุญาณ แต่ท่านที่มีความประสงค์จะเร่งรัดให้เข้าสู่พระนิพพานเร็วๆ ไม่มีความประสงค์จะได้ญาณพิเศษเพราะเกรงจะล่าช้าหรืออัชฌาสัยไม่ปรารถนารู้อะไรจุกจิก ชอบลัดตัดทางเพื่อถึงจุดหมายปลายทางขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ เข้าฌานออกฌานพิจารณาขันธ์ ๕

    ท่านจะลัดตัดทางก็ตาม แต่ฌานที่ได้ควรให้ถึงจุดหมายปลายทาง คือฌาน ๔ หรือฌาน ๕ เมื่อได้แล้วก่อนจะพิจารณาวิปัสสนาญาณ ท่านต้องเข้าฌานให้ถึงที่สุด จนอารมณ์จิตเป็นอุเบกขา
    เงียบสงัดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ มีอารมณ์ผ่องใสในกุศลธรรม แล้วออกจากฌาน ๔ หรือฌาน ๕ พิจารณาขันธ์ตามแบบวิปัสสนารวมดังต่อไปนี้

    พิจารณาว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป ได้แก่สภาพที่เห็นได้ด้วยตา เวทนา ความรับอารมณ์ที่เป็นสุขและทุกข์ อารมณ์ที่เป็นสุข เรียกว่าสุขเวทนา อารมณ์ที่เป็นทุกข์ เรียกว่าทุกขเวทนา อารมณ์ว่างเฉย ๆ ไม่มีความสุขความทุกข์รบกวน เรียกว่า อุเบกขา สัญญา แปลว่า ความจำ สังขาร หมายถึงอารมณ์ที่เป็นบุญ คือ อารมณ์ผ่องใส ที่เต็มไปด้วยความเมตตาปราณี อารมณ์ ที่เป็นบาป คืออารมณ์ขุ่นมัว คิดประทุษร้าย ที่เกิดขึ้นแก่ใจ เรียกว่าสังขาร วิญญาณ แปลว่า
    ความรับรู้ เช่น รู้หนาว ร้อน หิว กระหาย เปรี้ยว เค็ม เป็นต้น เรียกว่าวิญาณ

    อาการทั้ง ๕ อย่างนี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕ ซึ่งมีปรากฏประจำร่างกายมนุษย์และสัตว์อยู่เป็นปกติ ท่านให้พิจารณาว่า ขันธ์ ๕ นี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ไม่มีในเรา เพราะขันธ์ ๕ นี้ เต็มไปด้วยความกลับกลอกไม่ยั่งยืนถาวร มีความเกิดขึ้นมาแล้วก็ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย ๆ ในที่สุดก็สลายตัว แม้จะหาทางกีดกันห้ามปรามอย่างไรก็ไม่สำเร็จผล ขันธ์ ๕ ก็เปลี่ยนแปรไปตามสภาพของมัน การที่ขันธ์ ๕ เปลี่ยนแปรไม่หยุดยั้งห้ามปรามไม่ได้นี้ ท่านเรียกว่า เป็นไปตามกฎธรรมดาที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้ การเปลี่ยนแปลงทรุดโทรมของสังขารคือขันธ์ ๕ นี้ เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ทั้งทางกายและใจ

    ใจมีทุกข์เพราะไม่ประสงค์จะให้ขันธ์ ๕ ทรุดโทรม กายเป็นทุกข์เพราะการบีบคั้นจากโรคภัยไข้เจ็บ และการแสวงหาอาหารมาหล่อเลี้ยงอาการของขันธ์ ๕ มีสภาพไม่แน่นอนผันแปรไป และสลายตัวไปในที่สุดฉันใด รูปนิมิตกสิณก็ฉันนั้น ขณะนี้รูปกสิณตั้งอยู่ ความผ่องใสมีอยู่ ในกาลบางครั้งรูปกสิณนี้ก็เศร้าหมอง และรูปกสิณนี้จะดำรงอยู่ตลอดกาลก็หาไม่ ปรากฏขึ้นไม่นานเท่าใดก็ สลายตัวไปรูปกสิณนี้มีสภาพรงตัวได้ไม่ตลอดกาลฉันใด สังขารของเราก็ฉันนั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องสลายไปอย่างรูปกสิณนี้ เอาอะไรเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้เลย

    ปลงไปพิจารณาไปให้เห็นเหตุเห็นผลถ้าปลงไปจิตจะซ่าน ก็เข้าฌานในกสิณใหม่ พอใจเป็นอุเบกขาดีแล้วก็คลายฌานพิจารณาใหม่
    ทำอย่างนี้ไม่ช้าเท่าใดก็จะเกิดนิพพิทาญาณ มีความเบื่อหน่ายในสังขารแล้วจะปลงความห่วงใยในสังขารเสียได้ มีอารมณ์วางเฉยเมื่อทุกข์เกิดขึ้นแก่สังขารท่านเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ คือวางเฉยในสังขารด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ ต่อไปจิตจะเข้าโคตรภูญาณ เป็นจิตอยู่ในระหว่าง
    ปุถุชนกับพระโสดาบันหลังจากนั้นถ้าท่านไม่ประมาท พิจารณาสังขารตามที่กล่าวมาแล้วโดยเข้าฌานให้มากออกจากฌาน พิจารณาสังขารเป็นปกติจิตก็จะตั้งมั่นและชำแรกกิเลสให้เด็ดขาดไปได้

    โดยกำจัดสังโยชน์สามเบื้องต้นสามประการอันเป็นคุณธรรมขั้นพระโสดาบันจะพึงกำจัดได้คือ

    ๑. สักกายทิฏฐิ เห็นตรงข้ามกับอารมณ์นี้ที่เห็นว่า ร่างกายคือขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเราเสียได้ โดยเห็นว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา เพราะถ้าขันธ์ ๕ มีในเรา เรามีใน ขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ จริงแล้ว ในเมื่อเราไม่ต้องการความทุกข์ อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บและการเปลี่ยนแปลง ขันธ์ ๕ ก็ต้องไม่มีการป่วยไข้และเปลี่ยนแปลง เราไม่ต้องการให้ขันธ์ ๕ สลายตัว ขันธ์ ๕ ถ้าเป็นของเราจริงก็ต้องดำรงอยู่ ไม่ สลายตัว แต่นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่ กลับเต็มไปด้วยความทุกข์ เปลี่ยนแปลงไม่หยุดยั้ง ทั้ง ๆ ที่เราไม่ต้องการและพยายามเหนี่ยวรั้งด้วยวิธีการต่างๆ ขันธ์ ๕ ก็มิได้เป็นไปตามความ ปรารถนาในที่สุดก็สลายตัวจนได้เพราะขันธ์ ๕ เป็นสมบัติของกฎธรรมดา

    กฎธรรมดา ต้องการให้เป็นอย่างนั้น ไม่มีใครมีอำนาจเหนือกฎธรรมดา ฝ่าฝืนกฎธรรมดาไม่ได้ เมื่อจิตยอมรับนับถือกฎธรรมดาไม่หวั่นไหวในเมื่อร่างกายได้รับทุกข์เพราะป่วยไข้ หรือเพราะการงานหนักและอาการเกิดขึ้นเพราะเหตุเกินวิสัย อารมณ์ใจยอมรับนับถือ ว่าธรรมดาของผู้ที่เกิดมาในโลกที่หาความแน่นอนไม่ได้ โลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขจริงจังมิได้ที่เห็นว่าเป็นสุขจากภาวะของโลกก็เป็นความสุขที่มีผีสิง คือสุข ไม่จริง เป็นความสุขอันเกิดจากเหยื่อล่อของความทุกข์ พอพบความสุขความทุกข์ก็ ติดตามมาทันที เช่น มีความสุขจากการได้ทรัพย์ พร้อมกันนั้นความทุกข์เพราะการ มีทรัพย์ก็เกิด เพราะทรัพย์ที่หามาได้นั้นจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้มาแล้วก็ต้อง มีทุกข์ทันทีด้วยการคอยระวังรักษาไม่ให้สูญหายหรือทำลาย เมื่อทรัพย์นั้นเริ่มค่อย ๆ สลายตัวหรือสูญหายทำลายไป ทุกข์เกิดหนักขึ้นเพราะมีความ เสียดายในทรัพย์ แม้แต่ตัวเองก็แบกทุกข์เสียบรรยายไม่ไหว จะเอาอะไรมาเป็นเครื่องบำรุงความสุขได้จริงจังไม่ว่าอะไรก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของกฎธรรมดาทั้งสิ้น

    จิตเมื่อเห็นอย่างนี้ความสงบ ระงับจากความหวั่นไหวของการเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น เป็นจิตที่ประกอบไปด้วย เหตุผล ไม่มีน้ำตาไหล ในเมื่อได้ข่าวญาติหรือคนที่รักตาย ไม่หนักใจเมื่อความตาย กำลังคืบคลานมาหาตน และพร้อมเสมอที่จะรอรับความตายที่จะเกิดแก่ตน ตามกฎ ของธรรมดารู้อยู่ คิดอยู่ถึงความตายเป็นปกติ ยิ้มต่อความทุกข์และความตายอย่างไม่มี อะไรหนักใจจิตมีอารมณ์อย่างนี้ ท่านเรียกว่าละสักกายทิฏฐิได้แล้ว ได้คุณสมบัติของ พระโสดาบันไว้ได้หนึ่งอย่าง


    ๒. วิจิกิจฉา ละความสงสัยในมรรคผลเสียได้ โดยมีสัทธาเกิดขึ้นเที่ยงแท้มั่นคง ว่าผลของการปฏิบัตินี้มีผลที่จะพ้นจากวัฏทุกข์ได้จริง


    ๓. สีลัพพตปรามาส ถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด ไม่ยอม ให้ศีลบกพร่อง


    เมื่อมีคุณสมบัติครบสามประการดังนี้ ท่านก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ไม่ต้อง รอให้ใครบอก และออกใบประกาศโฆษณา องค์ของพระโสดาบัน เพื่อสะดวกแก่การพิจารณาตัวเอง

    ขอบอกองค์ของพระโสดาบันไว้ เพราะรู้ไว้เป็น คู่มือพิจารณาตัวเอง ๑. รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยตลอดชีวิต
    ๒. เคารพพระรัตนตรัยอย่างเคร่งครัด ไม่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย แม้แต่จะพูด เล่นๆ ก็ไม่พูด
    ๓. มีอารมณ์รักใคร่ในพระนิพพานเป็นปกติ ไม่มีความปรารถนาอย่างอื่นนอกจาก พระนิพพาน

    พระโสดาบันตามปกติมีอารมณ์สามประการดังกล่าวมานี้ ถ้าท่านได้ ท่านเป็น พระโสดา ท่านก็จะเห็นว่าอาการที่กล่าวมานี้เป็นความรู้สึกธรรมดาไม่หนักแต่ถ้าอารมณ์ อะไรตอนใดในสามอย่างนี้ยังมีความหนักอยู่บ้าง ก็อย่าเพ่อคิดว่าท่านเป็นพระโสดาบัน เสียก่อนสำเร็จ จะเป็นผลร้ายแก่ตัวท่านเอง ต้องได้จริงถึงจริง แม้ได้แล้วถึงแล้ว ก็ควร ก้าวต่อไป อย่าหยุดยั้งเพียงนี้เพราะ มรรคผลเบื้องสูงยังมีต่อไปอีก (จบกสิณ ๑๐)


    ...............................................
     
  8. กาลอวสาน

    กาลอวสาน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +41
    ได้รับแล้วขอขอบพระคุณครับ

    ขออนุโมทนาในผลบุญครั้งนี้ด้วยครับผม
     
  9. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    คำสอนของอาจารย์คณานันท์ ทวีโภค


    (รวมกสิณ ๑๐)


    ฝึกกันต่อเลยครับ วันนี้เราย้อนมาฝึก กสิณให้คล่องกันนะครับ แต่จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นจากการฝึกมาตราฐานครับ
    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------- เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น

    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.

    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน

    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    -----ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันที่กสิณสีขาว จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพวงกลมสีขาว หนึ่งวง จิตนิ่งสนิทอยู่กับวงกลม สีขาวนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณสีขาวนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา
    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณสีขาวในจิตค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น ใจเราสบายขึ้น
    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณสีขาวใสขึ้นเป็นแก้ว มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ
    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ
    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป
    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป
    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป
    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณสีขาวควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปหยกขาวเป็นปางใดก็ได้ที่เราชอบ เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิมตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ
    ---ขออนุญาตที่ไม่ได้เรียงลำดับของกสิณ และอารมณ์ รวมทั้งอาการนิมิตรของกสิณทุกกองมีสภาพสภาวะเหมือนกันเท่ากันดังนั้นในข้อ 2- ข้อ 7 จะเหมือนกัน เราจะฝึกให้ชำนาญในวันต่อไป ทีละกองจนครบสิบ กองและ ค่อยฝึกเลื่อนณาน สลับฌาน สลับกองกสิณให้ชำนาญเป็นวสี ครับ
    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก
    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้
    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
     
  10. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    มาคุยกันในภาคของทฤษฏีกันก่อนนะครับ

    ----อารมณ์ที่สำคัญในการฝึกกสิณให้สำเร็จนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจำอารมณ์และนิมิตรกสิณ สามส่วน

    -- ส่วนแรกนั้นคือการจำภาพนิมิตรเริ่มต้น ของกองกสิณ ซึ่งหลายๆคน ก็ไปย่ำอยู่ตรงจุดนี้นานเกินไป บางคนไปใช้เวลาเป็นปีๆก็มี แต่สำหรับท่านที่ได้มโน บางท่านก็ทำได้เลยทันทีที่แนะนำ บางท่านก็ใช้เวลา วัน สองวันจนถึงไม่เกินเจ็ดวัน

    ในส่วนแรกนี้มีอยู่ทั้งหมดสิบกอง ได้แก่
    --กสิณดิน ปฐวีกสิณ
    --กสิณน้ำ อาโปกสิณ
    --กสิณไฟ เตโชกสิณ
    --กสิณลม วาโยกสิณ
    ทั้งสี่กองนี้เป็นกสิณธาตุ ไว้เปลี่ยนธาตุแปลงธาตุ
    --กสิณสีแดง โลหิตกสิณ
    --กสิณสีเหลือง ปิตกสิณ
    --กสิณสีเขียว นีลกสิณ
    --กสิณสีขาว โอทาตกสิณ
    เหล่านี้เป็นกองกสิณสี
    --อากาสกสิณ คือกสิณที่มีอากาศ ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์
    --อาโลกกสิณ คือกสิณที่มีแสงสว่างเป็นอารมณ์

    อันที่จริงแล้วท่านที่ได้กสิณกองใดกองหนึ่งก็นับว่า เป็นบาทฐานในการทำอภิญญาสมาบัติ ให้ปรากฏขึ้นได้แล้ว แต่สำหรับท่านที่ปรารถนาพุทธภูมินั้น การที่ท่านได้กสิณกองเดียว ยังรู้สึกว่ายังมีกำลังใจต่ำไปสักหน่อยดังนั้น เพราะท่านที่ปรารถนาพุทธภูมินั้นย่อมมีวิสัยที่ต้องสั่งสอนแนะนำเวไนยสัตว์ต่อไปในอนาคต ดังนั้นควรทำให้ได้ให้ชำนาญ ในกรรมฐานสี่สิบกองทั้งในแบบมาตราฐานและแบบพิศดารพลิกแพลง อันได้แก่การผสมกอง การควบกอง การสลับกอง ให้คล่อง

    -----ต่อไป เป็นนิมิตรที่ต้องจดจำอารมณ์ขั้นต่อไปคือ อุคหะนิมิตร อันเป็นสภาวะของ นิมิตรต้นของกสิณที่กำลังเปลี่ยนหรือเลื่อนไปสู่ ปฏิภาคนิมิตร

    -----สุดท้าย มีความสำคัญที่สุดคือ อารมณ์และนิมิตรของ ปฏิภาคนิมิตร อันสรุปรวมว่า ในกสิณทุกกองมีสภาพ สภาวะ ของ ปฏิภาคนิมิตรนี้เหมือนกันหมดทุกกอง คือมีความใส สว่างแพรวพราว เปล่งรัศมีออกมาจากภาพหรือดวงนิมิตรเป็นเพชรระยิบระยับ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่จิตใจของเราแช่มชื่นสบายที่สุด และเป็นกำลังของฌานสี่

    ---ให้ทุกคนจำอารมณ์และอาการของนิมิตรกสิณทั้งสามขั้นตอนได้ การฝึกกสิณก็จะง่ายขึ้นสำหรับท่าน
    ----ส่วนการที่จะทำให้ฝึกกสิณได้ง่ายนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นบุรพกรรมที่ท่านได้เคยฝึกเคยทำกสิณมาก่อนในอดีตชาติมาก่อนชาตินี้จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับท่าน ส่วนใหญ่ที่เคยฝึกกันมามักเป็นกสิณไฟ โดยเฉพาะชาติที่เคยเกิดเป็นฤาษีกันมา สมัยเด็กผมเองชอบเล่นไฟมาก จุดเป็นกองแล้วก็มานั่งดู เพราะดูแล้วใจเราสบาย ผู้ใหญ่ก็ดุกลัว ไฟไหม้ เราก็ไม่รู้ว่าทำไมชอบจุดไฟจัง แต่พอโตขึ้นก็เลิก ของเหล่านี้เป็นสัญญาเก่าในอดีตที่ฟื้นกลับมา
    ---ตกลงว่าเราจะค่อยๆฝึกกสิณไปเรื่อยๆวันละกองครับ ขอเริ่มที่กสิณสีก่อน เพราะอธิบายง่าย แล้วค่อยขยับไปกสิณธาตุกันต่อครับ



    กสิณสีแดง

    เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ
    ------- เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น
    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.
    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน
    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ
    -----ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณสีแดง จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพวงกลมสีแดง หนึ่งวง จิตนิ่งสนิทอยู่กับวงกลม สีแดงนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณสีแดงนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา
    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณสีแดงในจิตค่อยๆจางลงช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น ใจเรายิ่งสบายขึ้น
    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณสีแดงใสขึ้นเป็นแก้ว มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ
    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ
    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป
    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป
    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป
    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณสีแดงควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปแก้วสีแดงเป็นปางใดก็ได้ที่เราชอบ เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิมตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ
    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก
    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้
    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
     
  11. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    วันนี้มาต่อกันที่กสิณสีเหลืองครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ
    ------- เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น
    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.
    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน
    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ
    -----ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณสีเหลือง จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพวงกลมสีเหลืองหนึ่งวง จิตนิ่งสนิทอยู่กับวงกลม สีเหลืองนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณสีเหลืองนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา
    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณสีเหลืองในจิตค่อยๆจางลงช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น ใจเรายิ่งสบายขึ้น
    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณสีเหลืองใสขึ้นเป็นแก้ว มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ
    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ
    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป
    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป
    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป
    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณสีเหลืองควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปสีทองสุกอร่าม เป็นปางใดก็ได้ที่เราชอบ เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ
    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก
    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้
    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ

    ..........................


    วันนี้มาต่อกันที่กสิณสีเขียวครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น

    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.

    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน
    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    -----ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณสีเขียว จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพวงกลมสีเขียวหนึ่งวง จิตนิ่งสนิทอยู่กับวงกลม สีเขียวนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณสีเขียวนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา

    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณสีเขียวในจิตค่อยๆจางลงช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น ใจเรายิ่งสบายขึ้น

    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณสีเขียวใสขึ้นเป็นแก้ว มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ

    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป

    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป

    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป

    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณสีเขียวควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปเป็นองค์พระแก้วมรกต ที่เราเคารพทั้งประเทศ เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ

    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก
    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้
    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ<!-- / message --><!-- sig -->
     
  12. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    วันนี้มาต่อกันที่การฝึกกสิณดิน ในกสิณธาตุครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น

    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.

    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน

    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณดินจับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพดินในวงกลมหนึ่งวงเป็นดินสีอรุณ หรือดินสีลูกรัง จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของวงกลมดิน สีลูกรังนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณดินนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา

    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณดิน ในจิตค่อยๆมีสีที่จางลงช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น ใจเรายิ่งสบายขึ้น

    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณดินขาวใสขึ้นเป็นแก้ว มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ

    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป

    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป

    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป

    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณดิน ควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปปูนปั้นเป็นปางใดก็ได้ที่เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ

    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ


    ...................................



    วันนี้มาต่อกันที่การฝึกกสิณน้ำ ในกสิณธาตุครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น

    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.

    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน

    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณน้ำ จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพน้ำนิ่งๆ ในขันทอง จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของวงน้ำในขันนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ วงกสิณน้ำนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา

    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณน้ำ ในจิตค่อยๆมีประกายระยิบระยับขึ้นช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น และใจเรายิ่งสบายขึ้น

    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณน้ำสะกาวใสขึ้นเป็นแก้วระยิบระยับ มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ

    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป

    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป

    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป

    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณน้ำ ควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปแก้วที่มีพรายน้ำระยิบระยับเป็นปางใดก็ได้ที่เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ

    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
     
  13. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    วันนี้มาต่อกันที่การฝึกกสิณไฟ ในกสิณธาตุครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น

    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.

    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน

    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณไฟจับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพไฟที่กำลังลุกโพลงอยู่
    จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของไฟกองนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ กองกสิณไฟนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา

    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณไฟ ในจิตค่อยๆมีประกายระยิบระยับขึ้นช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น และใจเรายิ่งสบายขึ้น

    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณไฟ ค่อยๆใสขึ้นเป็นแก้วระยิบระยับ มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ

    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป

    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป

    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป

    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณไฟ ควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด ภาพกองไฟที่ลุกโพลงอยู่ และเพิกทิ้งเสีย จับภาพ เป็นองค์พระพุทธรูปแทน จะเป็นปางใดก็ได้ที่เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ

    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ



    ......................................



    วันนี้มาต่อกันที่การฝึกกสิณลม ในกสิณธาตุครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น

    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.

    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน

    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณลม จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพอาการของลมที่กำลังพัด โชยอยู่ เช่นลมที่พัดจนใบไม้มีอาการแกว่งไกว
    จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของลมที่กำลังพัดอยู่นั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ กองกสิณลมนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา ก็ขอให้ติดอยู่ในอารมณ์จิตของเราเสมอ

    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณลม ในจิตค่อยๆพัด มีประกายระยิบระยับขึ้นช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น และใจเรายิ่งสบายขึ้น

    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณลม ค่อยๆใสขึ้นเป็นแก้วระยิบระยับ มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ

    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป

    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป

    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป

    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณลม ควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด ภาพของลมที่กำลังพัดอยู่เบื้องหน้าองค์พระพุทธรูป และเพิกทิ้งภาพลมนั้นเสีย เหลือเพียงจับภาพ เป็นองค์พระพุทธรูปแทนอย่างเดียว จะเป็นปางใดก็ได้ที่เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ

    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
     
  14. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    วันนี้มาต่อกันที่การฝึกอากาสกสิณ หรือกสิณอากาศครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น

    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.

    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน

    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณอากาศ จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพอากาศที่ว่างเปล่า โล่งโปร่งไม่มีอะไร
    จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของอากาศที่ว่างเปล่าอยู่นั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ กองอากาสกสิณนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา ก็ขอให้ติดอยู่ในอารมณ์จิตของเราเสมอ

    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน อากาสกสิณ ในจิตที่เป็นอากาศที่เห็นในจิตว่าว่างเปล่านั้น ค่อยๆ มีประกายระยิบระยับขึ้นช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น สว่างขึ้นและใจเรายิ่งสบายขึ้น

    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น กสิณอากาศ ค่อยๆใสขึ้นเป็นแก้วระยิบระยับ มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ

    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป

    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป

    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป

    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญอากาสกสิณควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด ภาพของอากาศที่ว่างเปล่าอยู่เบื้องหน้าองค์พระพุทธรูป และเพิกทิ้งภาพอากาศที่ว่างเปล่านั้นเสีย เหลือเพียงจับภาพ เป็นองค์พระพุทธรูปแทนอย่างเดียว จะเป็นปางใดก็ได้ที่เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ

    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ


    .................................



    วันนี้มาต่อกันที่การฝึกโอภาสกสิณ หรือกสิณแสงสว่างครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น

    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.

    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน ให้จิตสะอาดและคลายจากความยึดมั่นในร่างกาย

    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณแสงสว่าง จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพ ของแสงที่ส่องลอดออกมาจากช่อง เช่น แสงแดดที่ส่องเป็นลำแสงผ่านเงาไม้หรือช่องหน้าต่าง ช่องแสง หรือแสงที่ส่องผ่านรูรั่วเล็กๆ จำภาพและอาการที่ลำแสงส่องลอดออกมาให้ติดในใจ จนกระทั่ง
    จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของลำแสงที่ส่องอยู่นั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ กองกสิณแสงสว่างนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา ก็ขอให้ติดอยู่ในอารมณ์จิตของเราเสมอ

    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน โอภาสกสิณ ในจิตที่เป็นลำแสงที่เห็นในจิตว่าส่องสว่างอยู่นั้น ค่อยๆ มีประกายระยิบระยับขึ้นช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น สว่างขึ้นและใจเรายิ่งสบายขึ้น

    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น กสิณแสงสว่าง ค่อยๆใสขึ้นเป็นแก้วระยิบระยับ มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ

    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป

    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป

    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป

    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญโอภาสกสิณควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด ภาพของลำแสงที่ส่องตรงลงมายังองค์พระพุทธรูป และยิ่งทำให้องค์พระพุทธรูปท่านส่องสว่างยิ่งขึ้นจนเหลือเพียงภาพ องค์พระพุทธรูปที่เปร่งแสงสว่างเพียงอย่างเดียวให้เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเรายิ่งสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น อีก จนใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ

    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
     
  15. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ขอโทษนะคะทุกๆ คน... ที่ธรต้องอัดกสิณ ๑๐ ทั้งสิบกองรวดทีเดียวภายในวันเดียวเลย...

    ธรไม่ทราบว่า วันไหนธรพอจะมีเวลาว่างมากแบบวันนี้ได้อีกหรือเปล่า... พอมีเวลาเลยขอนำมาให้ทุกๆ ท่าน ได้นำไปใช้ศึกษา ใช้ฝึกกันให้ได้ครบๆ ทุกกองเลยค่ะ...

    ขอให้ทุกท่านเลยนะคะ... ที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว...

    ขอช่วยกรุณากลับไปอ่านทวนของครูบาอาจารย์ แต่ละองค์ แต่ละท่านดูใหม่ช้าๆ... แล้วค่อยๆ ฝึก ค่อยๆ ทบทวนตามไปด้วยนะคะ...

    อย่าเอาแต่อ่านพอผ่านๆ... จะไม่เกิดประโยชน์อะไรกับตัวท่านเองเลยค่ะ...

    ถ้าคืนนี้ธรพอจะมีเวลาว่าง... ธรจะมาโพสกสิณ ๑๐ ที่ธรปฏิบัติอยู่ให้ได้นำไปศึกษากันนะคะ...
     
  16. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ธรฝึกกสิณ โดยปฏิบัติดังนี้ค่ะ

    ๑. จับลมสบาย...

    ๒. จับภาพพระให้ใสสว่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้... ทรงอารมณ์ใจนี้ไว้สักระยะ... พร้อมกับน้อมจิตยอมรับนับถือองค์พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด ไม่มีที่พึ่งอื่นใดจะประเสริฐไปกว่านี้อีกแล้ว... นึกน้อมยอมรับขอให้ข้าพเจ้าเป็นสัมมาทิฐิไปทุกภพทุกชาติจนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน... เสร็จแล้วนึกให้เห็นภาพตัวเองก้มลงกราบที่พระบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมามีองค์หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และองค์หลวงพ่อฤาษี เป็นที่สุด พร้อมๆ กัน...

    ๓. กราบขอขมากรรมต่อองค์พระรัตนตรัย โดยการอธิษฐานว่า...
    "- ข้าแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ หากข้าพระพุทธเจ้าได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อองค์พระรัตนตรัย อันมีองค์สมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระธรรม องค์พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย อีกทั้งครูบาอาจารย์ทั้งหลาย พรหมเทพเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
    ด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึง
    การณ์ก็ดี...
    - ขอองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน... ได้โปรดอดโทษทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพเจ้านับแต่
    บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"
    ก้มลงกราบพระบาททุกๆ พระองค์อีกครั้ง

    ๔. น้อมนึกถึงศีลที่ตัวเองถือปฏิบัติอยู่... ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ก็ตาม... โดยน้อมนึกว่า...
    "ณ ขณะนี้ ศีล ๕ (๘) ของข้าพเจ้าสมบูรณ์ บริบูรณ์ดีทุกประการ... ข้าพเจ้าไม่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ได้ลักขโมยผู้ใด ไม่ได้ผิดลูกผัว - เมียใคร ไม่ได้พูดโกหกมดเท็จใดๆ ไม่ได้เสพสุราของมึนเมา หรือเล่นการพนันแต่อย่างใด... (ไม่ได้ทานอาหารหลังเที่ยง, ไม่ได้ใช้เครื่องไล้ของหอม เว้นจากการฟ้อนรำ ดูสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่ได้ใช้เครื่องประดับตกแต่งใดๆ, ไม่ได้นอนบนที่นอนสูงใหญ่)"

    ๕. หลังจากนั้นให้น้อมนึก ให้อโหสิกรรมให้แก่ผู้ที่เคยล่วงเกินเรามา
    "- ข้าพเจ้าอโหสิกรรม ยกโทษให้แก่ พรหม-เทพเทวา สรรพสัตว์สิ่งมีชีวิต มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายที่เคยล่วงเกินข้าพเจ้ามาด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี ในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ข้าพเจ้าไม่ถือโทษโกรธเคืองใดๆ ทั้งสิ้น และขอให้พวกท่านทั้งหลายมีความสุขกาย สุขใจ พ้นจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งมวล มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงที่สุดแห่งธรรม และมีพระนิพพานเป็นที่สุดด้วยเทอญ"

    ๖. เมื่ออโหสิกรรมให้ผู้อื่นเสร็จแล้ว... ให้น้อมนึกถึงกุศลผลบุญ อีกทั้งความดีงามทั้งหลายที่เคยสร้างมาดีแล้วให้มารวมตัวกันที่ดวงจิตของเรา (นึกให้เห็นดวงจิตสว่างไสวแพรวพราว) พร้อมกับอธิษฐาน ขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวร ดังนี้...
    "- ข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศส่วนกุศลผลบุญ อีกทั้งทานะบารมี ที่ข้าพเจ้าได้เคยกระทำมาตั้งแต่ต้นกัปต้นกัลป์ จนมาถึงปัจจุบันนี้ และที่จะทำต่อไปในอนาคต... ให้แก่ท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย... ขอให้ทุกๆ ท่านมาร่วมกันอนุโมทนาและได้รับซึ่งกุศลผลบุญ และทานะบารมีเหล่านี้นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน...
    (ตอนนี้ให้นึกเห็นรัศมีความสว่างของกุศลผลบุญ ความดีงามทั้งหลายจากดวงจิตของเราแผ่ออกไปคลุมร่างของเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา)
    - และข้าพเจ้าขออโหสิกรรมต่อท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินพวกท่านไปด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ขอให้พวกท่านทั้งหลายได้โปรดอโหสิกรรมทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพเจ้านับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ"

    ๗. เสร็จแล้วให้น้อมนึกถึงความสุข สดชื่น ความอิ่มเอม เปรมปรีด์ ความดีงามทั้งหลายที่เคยสร้างมาดีแล้วอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งกุศลผลบุญทั้งหลาย พรหมวิหารสี่ และอภัยทานที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในดวงจิตของเราให้มารวมตัวกัน (นึกให้เห็นดวงจิตสว่างไสวแพรวพราว) พร้อมกับอธิษฐานแผ่เมตตาอัปปมาณฌานว่า...
    "- ข้าพเจ้าขอน้อมถวายส่วนกุศลผลบุญ ทานะบารมี อีกทั้งพรหมวิหารสี่ อันมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมอภัยทาน แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ องค์พระธรรม องค์พระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ ต่อกันมามีองค์หลวงปู่ปาน และองค์หลวงพ่อฤาษี เป็นที่สุด อีกทั้งท่านพ่อ ท่านแม่ ท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย บูรพกษัตริย์ไทย บรรพชนไทย นักรบไทยทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน... พรหมเทพเทวา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีท่านท้าวจตุมหาราช และท่านพญายมราชเป็นที่สุด...
    - ขอทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน ได้โปรดมาร่วมกัน รับและอนุโมทนาในส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายเหล่านี้ และขอได้โปรดมาเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลผลบุญในครั้งนี้ของข้าพเจ้าด้วยเทอญ...
    (น้อมนึกให้เห็นว่าในมือเรามีดอกบัวแก้วสว่างไสวแพรวพราว ซึ่งเกิดจากกุศลผลบุญของเราเองมารวมตัวกันเป็นดอกบัวนั้น... แล้วน้อมถวายแด่ทุกๆ พระองค์ ทุกๆ องค์ ทุกๆ ท่าน)
    - และข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศส่วนกุศลผลบุญ ทานะบารมี อีกทั้งพรหมวิหารสี่ อันมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมอภัยทาน ให้แก่เหล่าสรรพสัตว์สิ่งมีชีวิต มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจ ดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล อนันตจักรวาลนี้... ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี... ขอให้ทุกๆ ท่านจงมาร่วมกันอนุโมทนาและรับซึ่งส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายเหล่านี้เฉกเช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าจะพึงได้รับนับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน... ขอให้ทุกๆ ท่านมีดวงตาเห็นธรรม และเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลันเทอญ"

    ๘. เสร็จแล้ว อธิษฐานว่า...
    "ด้วยอานิสงค์ผลบุญที่ข้าพเจ้าได้จากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนี้แล้ว... ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีองค์พระศรีรัตนตรัย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย พรหมเทพเทวาทั้งหลายที่เป็นสัมมาทิฐิ เทวดาอารักษ์ประจำตัวข้าพเจ้า... ขอได้โปรดคุ้มครองทั้งกายหยาบ และอทิสมานกายของข้าพเจ้าจากสิ่งไม่ดี มิจฉิทิฐิ และดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายตลอดทุกลมหายใจเข้า - ออก ทั้งยามหลับและตื่น ทั้งยามที่รู้สึก และไม่รู้สึกตัวก็ตาม นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"

    ๙. ต่อไปกราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อฤาษี ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ๑๐. กราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนาบารมีเกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    เริ่มที่กสิณดิน

    ๑๑. จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพกสิณดินให้มีลักษณะเป็นดวงกลมหนึ่งดวง กำหนดให้จิตนิ่งสนิทอยู่กับดวงกสิณนั้น แล้วอธิษฐานกำกับขอให้ ดวงกสิณดินนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ทั้งยามหลับตาและลืมตา

    ๑๒. กำหนดจิตนิ่งๆ เบาๆ สบายๆ จนดวงกสิณดินในจิตค่อยๆจางลงช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น

    ๑๓. วางจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น จนดวงกสิณดินนั้นใสขึ้นเป็นแก้ว ใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไป มีความละเอียด เบา สบายขึ้น แล้วอธิษฐานกำกับว่า ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าถึงอุคหนิมิตรนี้ได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ๑๔. กำหนดจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงแพรวพราวระยิบระยับเหมือนเพชร ให้อธิษฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตาด้วยเทอญ

    ๑๕. จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด แล้วค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ

    ๑๖. ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้าย ไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลัง วนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจ

    ๑๗. อธิษฐานให้ดวงกสิณนี้ เพิ่มจำนวนได้มาก - น้อย ตามที่ต้องการ จนมีมากมายจนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวมกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญ

    ๑๘. อธิษฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณดินควบ พุทธานุสติกรรมฐาน โดยการกำหนด เป็นองค์พระพุทธรูปองค์ที่เราชอบสีทองสุกอร่าม ... จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้น สว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิษฐานให้ท่านมาประทับวางบนศีรษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ... อธิษฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ

    ๑๙. จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ๒๐. กราบขอบพระคุณและกราบลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆ ถอนจิตออกจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพาน


    .......................................


    สำหรับกสิณอื่นๆ คือ กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ กสิณสีเหลือง กสิณสีเขียว กสิณสีแดง กสิณสีขาว กสิณแสงสว่าง และกสิณอากาศ....

    ก็ใช้หลักการเดียวกันค่ะ... เพียงแค่เปลี่ยนดวงกสิณไปตามแต่ว่าเรากำลังฝึกอะไรอยู่ค่ะ...

    ..........................

    ด้วยพระบารมีแห่งองค์พระรัตนตรัย และกุศลผลบุญที่บังเกิดขึ้นนี้... ขอได้โปรดมารวมตัวกันและส่งผลให้ทุกๆ ท่านมีดวงจิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อภัยทาน มีความสุขทั้งทางโลก ทางธรรม เป็นสัมมาทิฐิ... มีดวงตาเห็นธรรม... เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป... เข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลัน... และมีพระนิพพานเป็นหลักชัยโดยถ้วนทั่วกันด้วยเทอญ
     
  17. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    อนุโมทนาครับ พี่ธร

    แวะไปบ้านพี่ มลสดใส เจอบทความดีๆ เลยนำมาให้อ่านกันครับ

     
  18. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    สัมผัสธรรม

    [​IMG]

    ...เพียงสายตาฟ้าทอดมองมาอบอุ่น
    เพียงกลิ่นกรุ่นสายลมกอดเศร้าจางหาย
    เพียงรอยจูบเย็นสายหมอกยื่นทักทาย<O:p
    เพียงประกายจันทร์ดาราแสนอ่อนโยน
    ...ผลิดอกใบรับพลังจากท้องฟ้า<O:p</O:p
    แย้มกลีบอ่อนพวงผการับมนต์ฝน
    แตกต่อยอดรับไอรักจากเบื้องบน<O:p</O:p
    แผ่กิ่งก้านเสริมส่งต้นแกร่งหยัดยืน
    ...ตาทิวาเนตรราตรีที่ส่งมอบ<O:p</O:p
    สื่อปลุกปลอบรับขวัญใจกลับพลิกฟื้น
    มอบพลังรักยิ่งใหญ่ให้กลับคืน<O:p</O:p
    สร้างดนตรีให้ครึกครื้นในห้วงใจ
    ...สายลมสายน้ำสายหมอกสัมผัสรู้<O:p</O:p
    ว่ายังอยู่เคียงคู่เคล้าแนบชิดใกล้
    ส่งพลังสื่อความรักสานโยงใย<O:p</O:p
    เสริมหัวใจส่งยิ้มได้ด้วยยินดี<O:p</O:p
     
  19. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    สัมผัสธรรม

    [​IMG]

    ...เงาสะท้อนย้อนเงา......เหนือน้ำ
    วูบวับคลื่นลึกล้ำ.............พลิ้วไหว<O:p
    ผิวฉายภาพย้อนย้ำ.........สิ่งใดแลเห็น<O:p
    ใช่จริงหรือไฉน..............แค่ภาพสะท้อน
    ...<O:p</O:pอดีตผ่านไม่หวน..........จงจำในจิต<O:p</O:p
    ปัจจุบันต้องทำ...............นำสอน<O:p</O:p
    ปล่อยอดีตไม่นำ.............พาจิตหลุดหลง<O:p</O:p
    คงขณะนี้ก่อน................สอนจิตให้วาง<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2008
  20. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    สัมผัสธรรม

    [​IMG]

    ...อดีตคือสิ่งผ่าน............ไม่หวนกาลให้กลับได้<O:p
    อนาคตอยู่อีกไกล............ไม่อาจให้ใกล้เข้ามา<O:p
    ...ปัจจุบันขณะนี้..............คือสิ่งที่ใกล้ยิ่งกว่า<O:p
    ทำสิ่งอยู่ตรงหน้า.............คือมนตราแห่งความจริง<O:p
    ...อดีตคือปัจจุบัน............ที่ผ่านผันพ้นทุกสิ่ง<O:p</O:p
    อนาคตคือความจริง.........นั่นคือสิ่งผลปัจจุบัน<O:p</O:p
    ...ฉะนั้นขณะนี้................สิ่งที่ควรหมายบุกบัน<O:p</O:p
    อยู่กับปัจจุบัน.................ทำให้วันนี้สุดดี<O:p</O:p
    ...วันนี้เวลานี้..................และทุกๆวินาที<O:p</O:p
    สร้างสรรค์สิ่งงามดี...........ผลงานนี้จะย้อนคืน<O:p</O:p
    ...อดีตจะสวยสด..............อนาคตสุดสดชื่น<O:p</O:p
    ปัจจุบันมุ่งหยัดยืน.............ส่งยิ้มรื่นยื่นความดี<O:p</O:p
    ..............................................ธรรมดา(ฯ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...