มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    >>>>เช้านี้ได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 5 ท่านครับ เลขที่จัดส่งems ตามใบฝอยที่ลงครับผม SAM_8819.JPG
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 666 เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้ากลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู หลวงปู่บุญเพ็งเป็นศิษย์หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด ,หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล(ศิษย์พี่หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย 1 พรรษา)เหรียญสร้างปี 2536 เนื้อทองเเดงรมดำ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล **********บูชาที่ 255 บาทฟรีส่งems
    bud04p1-11.jpg

    “หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต” เจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู เป็น พระนักปฏิบัติธรรมรูปหนึ่ง ที่ชาวเมือง หนองบัวฯ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเลื่อมใสศรัทรา
    ประวัติย่อๆ
    นามเดิมชื่อ นายบุญเพ็ง จันใด เกิดเมื่อวันที่ 20 ต.ค.2472 ปีมะเส็ง บ้านเดิมอยู่ ที่บ้านศรีฐาน หมู่ 3 ต.กระสาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร บิดา-มารดา ชื่อ นายคูน และนางพรหมมา จันได มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3



      • ช่วงวัยเยาว์ ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียน ศรีฐาน ซึ่งเป็นโรงเรียนวัด จึงทำให้ท่านมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา
    อายุ 12 ปี บวชเป็นผ้าขาว เพื่อศึกษาและปฏิบัติข้อวัตรของ ผู้ทรงศีล และบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมืองยโสธร

    ในห้วงที่เป็นสามเณร ได้เข้ากราบปรนนิบัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า ที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จนท่หลวงปู่บุญเพ็งเคยเล่าประสบการณ์ที่ได้อยู่กับหลวงปู่มั่นช่วงหนึ่งให้ลูกศิษย์ฟังว่า “อาตมาเคยได้อยู่รับใช้ครูบาอาจารย์หลวงปู่มั่นเป็นเวลารวม 4 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ.2489-2492 สิ่งที่ภาคภูมิใจก็คือ ได้อยู่ปรนนิบัติท่าน ได้อยู่ใกล้ชิดท่าน เมื่อติดขัดในปัญหาอันใดก็จะสามารถถามแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ยิ่งในวัยชราของท่าน อาตมาและหมู่คณะได้ปรนนิบัติท่านพยายามเยียวยารักษาท่าน เพราะท่านเป็นพ่อแม่ที่ให้สิ่งที่มีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่เคยสอนให้เสียคน ท่านคอยกล่าวตักเตือน ท่านว่า ‘เวลาไม่รอใคร ความตายอยู่เบื้องหน้า จงอย่าประมาทเลย’..”

    “ปีสุดท้ายคือ พ.ศ.2492 หลวงปู่มั่นอาพาธอาการเจ็บป่วยนั้นแรงกล้าขึ้นเรื่อยๆ คณะศิษย์ทุกคนก็พยายามกันมาก ช่วยกันดูแลจัดเวรยาม คอยดูแลอาการเจ็บป่วยท่านพระอาจารย์ใหญ่ด้วยความเป็นห่วงอย่างยิ่ง ภายหลังจากท่านพระอาจารย์มั่นมรณภาพและถวายเพลิงศพท่านไปแล้ว คณะศิษย์ทั้งหลายต่างแยกย้ายกันออกไป”

    ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามเณรบุญเพ็ง เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 21 ต.ค.2492 ที่วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตโต เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์มหาไพบูลย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ก่อนจะออกธุดงค์

    กระทั่งปี พ.ศ.2503 ขณะที่ หลวงปู่ขาว สร้างวัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี หลวงปู่บุญเพ็ง เข้ากราบและอยู่รับใช้อุปัฏฐากหลวงปู่ขาว อนาลโย จนละสังขาร และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพล

    ในด้านการเผยแผ่ธรรม หลวงปู่บุญเพ็ง ใช้ธรรมะสั่งสอน ชาวบ้านให้รู้จักทำมาหากินด้วยความสุจริต มีความอดทน ขยัน หมั่นเพียร ใช้ชีวิตอย่างสมถะ และพอเพียง

    ท่านยังสั่งสอนให้ชาวบ้านได้เจริญภาวนาสมาธิ ให้ยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามศีล 5 ศีล 8 หรืออุโบสถศีล อย่างเคร่งครัด

    ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง หลวงปู่บุญเพ็ง ละสังขาร เมื่อเวลา 01.57 น. วันที่ 27 ก.พ.2561 ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากอาพาธด้วยโรคเบาหวาน ความดัน ติดเชื้อในกระแสเลือด และเข้ารับการรักษามานานนับสิบปี สิริอายุ 88 ปี พรรษา 68 SAM_8822.JPG SAM_8823.JPG SAM_8825.JPG SAM_7616.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2021
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 667 พระนาคปรกหลวงปู่หลวง กตปุญโญ พระอรหันต์เจ้าวัดสุคีรีบรรพต อ.เมือง จ.ลำปาง หลวงปู่หลวงเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย องค์พระสร้างปี 2544 เนื้อทองเหลือง มีตอกโค๊ต ตัวเลขใต้องค์พระ มีพระเกศาเเละอัฐิธาตุ หลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ********บูชาที่ 435 บาทฟรีส่งems(หายากไม่ค่อยเจอ)lส
    ประวัติ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดคีรีสุบรรพต ต.พระบาท อ.เกาะคา จ.ลำปาง

    %AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B9%82%E0%B8%8D-1.jpg
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ
    S__78987267-865x1024.jpg
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดสําราญนิวาส
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาส วัดสําราญนิวาส จังหวัดลําปาง และยังเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีจริยาวัตรงดงาม เจริญด้วยศีล สมาธิ ปัญญา

    ธรรมะที่เกิดขึ้นกับความรู้สึก ภายในจิตใจของท่าน เมื่อครั้งสมัยเป็นฆราวาส อายุ ๑๗-๑๘ ปี ก็เพราะท่านได้รับหนังสือวิธีปฏิบัติทางจิต คือ “หนังสือพระไตรสรณคมน์” ที่แต่งโดย ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ความซาบซึ้งในธรรม ก็มีอํานาจนําจิตใจเข้ามาตั้งแต่บัดนั้น

    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่มีความมานะอดทน ฝึกฝนจิตใจ จนมีความแก่กล้าในธรรม จนเป็นที่ยอมรับของบรรดาเพื่อนพระสหธรรมมิกด้วยกัน ตลอดจนถึงประชาชนชาวพุทธทุกคน ต่างก็มีความเคารพนับเนื่อง เข้านมัสการอยู่ไม่เคยขาด

    นอกจากนี้แล้ว ท่านยังเคยได้ออกติดตามครูบาอาจารย์หลายๆ ท่าน ออกเผยแพร่ธรรมทางภาคใต้ ซึ่งมีหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นหัวหน้าคณะนําไป

    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านเป็นกําลังสําคัญองค์หนึ่งในสายของ “กองทัพธรรม” ท่านเคยกล่าว เป็นส่วนตัวไว้ดังนี้ว่า

    “ในประเทศไทยนี้ ที่พระพุทธศาสนา และแนวการปฏิบัติธรรมรุ่งเรืองขึ้นมาในทุกภาค ก็เพราะพระธุดงค์ในสายของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    อย่างเช่นภาคเหนือนี่ สมัยที่หลวงปู่มั่นและพระธุดงคกรรมฐานทางภาคอีสาน เดินธุดงค์มาเผยแพร่ธรรมปฏิบัติ ชาวภาคเหนือตลอดจนถึงชาวดอยชาวเขา ต่างก็รู้จักพระพุทธศาสนา และการกระทํากรรมฐานได้หมด

    %B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C.jpg
    พ่อแม่ครูบาอาจารย์ บันทึกภาพร่วมกันหน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งพระศาสดา ญสส. (รุ่นแรก) เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕
    แถวนั่ง จากซ้าย
    1. หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพพต จ.หนองคาย
    2. หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก จ.สกลนคร
    3.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น
    4.หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม จ.สกลนคร
    5.พระอาจารย์สนั่น รักขิตสีโล วัดป่าสุขเกษมนิราศภัย จ.สกลนคร
    6.พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก จ.เชียงใหม่
    7.หลวงพ่อคำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล จ.สกลนคร
    8.พระอาจารย์จันดี เขมปัญโญ วัดศรีสะอาด จ.สกลนคร

    แถวยืน จากซ้าย
    1. หลวงปู่ไม อินทสิริ วัดป่าเขาภูหลวง จ.นครราชสีมา
    2.หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าสำราญนิวาส จ.ลำปาง
    3.พระพรหมวชิรญาณ (พระมหาประสิทธิ์ เขมังกโร) วัดยานนาวา กรุงเทพฯ
    ไม่ว่าท่านจะโคจรไป หรือพักบําเพ็ญเพียรในที่แห่งใด ที่นั้นจะมีคนเข้าฟังธรรมขึ้นมาก เท่ากับชักจูงจิตใจ เข้าสู่กระแสสว่างของชีวิต ได้อย่างแท้จริง

    ความจริงคนไทยเรานี่ ก็มีความพร้อมอยู่แล้วในเรื่อง “พระศาสนา” แต่ขาดความจูงจิตใจให้ ถึงขั้นละเอียดอ่อน

    เมื่อครูบาอาจารย์ออกเผย แพร่ธรรมปฏิบัติ ธรรมอันเป็นขั้นละเอียด พร้อมกับได้ฟังธรรม ตามความเป็นจริง จึงได้ผล ดังที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้นะ”

    ท่านหลวงปู่หลวง กตปุญโญ เดิมท่านมีชื่อว่า หลวง สอนวงศ์ษา เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ปีระกา ณ หมู่บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    บิดาชื่อ นายสน สอนวงศ์ษา มารดาชื่อ นางสียา สอนวงศ์ษา ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ในจํานวน ๗ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๔ อาชีพทํานา

    แต่สมัยเป็นเด็ก ท่านอ่อนในการเรียน คือ เรียนไม่เก่งเหมือนเพื่อน ๆ ถึงกระนั้นท่านก็ยังพยายามศึกษาไป จนจบประถมศึกษา

    วงศ์ญาติของท่านหลวงปู่หลวง นี้ บรรพบุรุษเป็นชาวเผ่าภูไท ได้อพยพมาจากนคร เวียงจันทน์ ประเทศลาว ซึ่งก็ ได้อพยพมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว

    หลวงปู่หลวง สมัยเป็นฆราวาส ท่านได้อยู่ช่วยบิดามารดา ทํานา ทําไร่ มาโดยตลอด เพราะท่านในฐานะเป็นพี่ชายคนโต ที่มีน้องเล็ก ๆ อีก ๖ คน

    ต่อมาอายุได้ ๒๒ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านได้บรรพชา ฃอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดศรีรัตนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในสังกัดมหานิกาย และที่วัดนี้ เจ้าอาวาสเป็นลุงของ ท่านด้วย

    การบวชในครั้งนี้ ท่านได้ศึกษาวิชาการหลายสิ่งหลายอย่าง ด้วยเจ้าอาวาสในศักดิ์เป็นลุง มีวิชาอยู่บ้างพอสมควร นอกจากนี้แล้ว ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และหัดนั่งกรรมฐานภาวนา โดยอาศัยหนังสือ “แบบ ถึงพระไตรสรณคมน์” ของท่าน พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม จนบังเกิดความอัศจรรย์ในธรรม จนบังเกิดศรัทธาชีวิตเพศแห่งพระศาสนา

    ทางด้านพระปริยัติธรรม หลวงปู่หลวง กตปุญโญ สามารถสอบได้นักธรรมตรี-โท-เอก และ พระธรรมบาลี

    ต่อมาครูบาอาจารย์ เจ้าอาวาส ต่างก็ได้ลาสิกขาบทเสียหมด ท่านพระอาจารย์หลวง จําต้องอยู่เป็นสมภารเจ้าวัด ในพรรษาที่บวชเป็นพระมหานิกายนั้น และยังได้เป็นครูสอนนักเรียน เป็นเจ้าคณะตําบลอีกด้วย

    ในปีต่อมา หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ได้เดินทางมาเยี่ยมบ้าน (หลวงปู่สิม ก็ดี หลวงปู่แว่น ธนปาโล ก็ดี ท่านหลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านเล่าว่า เป็นญาติพี่น้องกันและเป็นคนบ้านเดียวกัน)

    ท่านหลวงปู่หลวง กตปุญโญ มองเห็นปฏิปทาอันงดงาม ไม่ว่าจะเดิน จะพูด จะกระทําสิ่งใดก็ดูถูกอกถูกใจเป็นยิ่งนัก จึงพอใจในเรื่องออกเดินธุดงค์ปฏิบัติภาวนา ธรรม ท่านหลวงปู่หลวง จึงขอศึกษาปฏิบัติธรรมกับท่านด้วย

    ครั้นเมื่อ หลวงปู่สิม เดินทางกลับเชียงใหม่แล้ว ท่านก็ได้ปฏิบัติอยู่คนเดียว ในวัดป่าแห่งหนึ่ง

    8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B2-%E0%B8%88.%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87.jpg
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ
    ต่อมา ท่านได้ลาออก จากการเป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตําบล ตําแหน่งงานต่าง ๆ ออกจนหมดสิ้น เพื่อมุ่งปฏิบัติธรรมเพียงอย่างเดียว ขณะนั้นอายุของท่านได้ ๓๕ ปี พรรษาที่ ๘ ครั้งนั้น ท่านมีฉายาว่า “ขันติพโล”

    ภายหลังท่านได้แปรญัตติเป็นพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มรณภาพแล้ว ณ วัดพระเชตวัน

    โดยมีท่านพระครูธรรมมาภิวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ฉายาว่า “กตปุญโญ” ฝ่ายธรรมยุตนิกาย

    B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%8D.jpg
    หลวงปู่แว่น ธนปาโล กับ หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ
    ด้านหน้าทางเข้าทัชมาฮาล เมืองอักรา ประเทศอินเดีย
    เมื่อเดือนธันวาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓
    เมื่อได้แปรญัตติแล้ว ท่านได้ออกเดินธุดงคกรรมฐานร่วม กับ หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านพระอาจารย์น้อย เป็นต้น

    นอกจากนั้น ท่านได้ศึกษาพระกรรมฐานกับครูบาอาจารย์ กับหลวงปู่สิม, ท่านพ่อลี, อาจารย์ถวิล (วัดยางระหง) ท่านพระอาจารย์เจี๊ยะ เดินทางไปเผยแพร่ธรรมในสถานที่ต่าง ๆ มากมาย

    21430495_739582039499952_5589505868211398013_n.jpg
    (จากซ้าย) หลวงปู่หลวง กตปุญโญ , หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม , หลวงปู่แว่น ธนปาโล
    ท่านหลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านได้ดําเนินจิตเข้าสู่องค์ภาวนาธรรม มีความสันโดษ ชอบแหล่งสงบแห่งจิตใจ มากกว่ายศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านจึงกล้าออกแสวงหาโมกขธรรมเพียงอย่างเดียว ด้วยจิตใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง สมกับความตั้งใจของท่าน คือ ดําเนิน จิตใจแนวทาง ศีล สมาธิ ปัญญา

    โดยไม่คํานึงถึงภยันตราย และอุปสรรคนานัปการ อย่างยอม ตายถวายชีวิต

    เพราะชีวิตนี้ท่านได้มอบให้ พุทธศาสนาเสียแล้ว

    แหละจักต้องทําทุกสิ่งทุก อย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งคําว่า “บุตรของตถาคต”

    พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ) ได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เวลา ๐๑.๑๐ น. ซึ่งตรงกับวันปวารณาเข้าพรรษา ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ สิริอายุ ๘๒ ปี SAM_8826.JPG SAM_8827.JPG SAM_8829.JPG SAM_8548.JPG
     
  4. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 668
    เหรียญรุ่นพิเศษหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์พระพุทธรูปคุ่บารมีหลวงปู่สอ พันธุโล พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านหนองเเสง อ,เมือง จ.ยโสธร หลวงปู่สอเป็นศิษย์พระหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด เหรียญสร้างปี 2547 เนื้อกะไหล่ทอง สร้างโดยคณะศิษย์กผฝ หรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเเห่งประเทศไทย เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่สอมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ***********พิเศษรายการนี้มีมอบพระอังคารธาตุหลวงปู่สอมาบูชาเป็นมงคลด้วย มีเพื่อนสมาชิกเขาได้รับเเละเอาไปเเยกดูพบว่ามีเศษอัฐิธาตุด้วยครับสีขาวๆได้รับขนาดขวดเเก้วครับ บูชาที่ 445 บาทฟรีส่งems sam_0857-jpg.jpg sam_8715-jpg.jpg SAM_4838.JPG SAM_8838.JPG SAM_8840.JPG SAM_8835.JPG SAM_8837.JPG SAM_8839.JPG sam_8716-jpg.jpg sam_8718-jpg.jpg sam_7644-jpg.jpg

     
  6. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  7. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 669
    เหรียญรุ่น 2+พระชัยวัฒน์เขมธัมโมหลวงปู่สาย เขมธัมโม พระอรหันต์เจ้าผู้มีวาจาสิทธิ์วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู หลวงปู่สายเป็นศิษย์พระหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด เหรียญเป็นเนื้อทองเเดงรมดำ,ส่วนพระชัยวัฒน์เนื้อโลหธผสม มาพร้อมพระเกศาหลวงปุ่มาบูชาเป็นมงคล ************บูชาที่ 335 บาทฟรีส่งems (ทันหลวงปู่ครับ)
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่สาย เขมธัมโม
    วัดป่าพรหมวิหาร
    บ้านภูศรีทอง ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู

    AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1-00.jpg
    หลวงปู่สาย เขมธัมโม
    หลวงปู่สาย เขมธัมโม นามเดิม สาย แสงมฤค ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ตรงกับวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีจอ ณ บ้านดอนกลาง ต.กุดน้ำใส อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

    บิดาชื่อ นายทอก แสงมฤค มารดาชื่อ นางเคน แสงมฤค

    หลวงปู่สายมีพี่น้อง ๗ คน คือ
    ๑. นายคำ แสงมฤค
    ๒. นางขำ แสงมฤค
    ๓. นางทองดำ แสงมฤค
    ๔. นายหม้อ แสงมฤค
    ๕. หลวงปูสาย เขมธัมโม
    ๖. นายใส แสงมฤค
    ๗. หลวงปู่วิชัย โกสโล (ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าพรหมวิหาร)

    การศึกษา
    หลวงปู่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนวัดบ้านนาชมซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้านของหลวงปู่ ในช่วงเป็นหนุ่มอายุประมาณ ๑๘ ปี หลวงปู่มีโอกาสได้เรียนธรรมบาลีไวยากรณ์ – เรียนปาฏิโมกข์ควบคู่ไปกับการเรียนหมอลำกลอน ที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม โดยมีท่านอาจารย์มหานาม เป็นผู้สอน ในสมัยนั้นฆราวาสก็สามารถเรียนธรรมบาลี เรียนปาฏิโมกข์ได้ หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่มีความจำดีมากทำให้ท่านท่องปาฏิโมกข์จนจบได้ทั้ง ๆ ที่เป็นฆราวาสอยู่ นอกจากนั้นยังสามารถท่องกลอนลำกลอนต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนมาก จนได้ชื่อว่าเป็นหมอลำกลอนคนหนึ่ง รู้จักกันในนาม “หมอลำสายทอง” และท่านยังมีพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมบาลีไวยากรณ์ประดับอีกด้วย

    ชีวิตครอบครัว
    ท่าน ได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านชาติ (บ้านคูฟ้า) ซึ่งไม่ไกลจากบ้านเดิมมากนัก และได้สมรสกับ นางปาน ผายม มีบุตรด้วยกัน ๒ คนคือ
    ๑. นายมาย แสงมฤค (ปัจจุบันอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่สาย)
    ๒. นายสมหมาย แสงมฤค
    ต่อมาหลวงปู่ได้ย้ายครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง มาอยู่ที่ บ้านหนองหิน (บ้านดอนอีไข) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยประกอบอาชีพทำนา และเลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพหลัก ส่วนความสามารถในการลำกลอนของท่านก็เป็นอาชีพเสริม ทำให้ครอบครัวมีรายได้อีกทางหนึ่ง

    ชีวิตในเพศพรหมจรรย์
    อุปสมบทครั้งที่ ๑
    การบวชในครั้งแรกของหลวงปู่ เป็นการบวชตามประเพณี พอมีอายุครบบวช คือ อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ก็ต้องบวชทดแทนบุญคุณ บิดา มารดา อันนี้เป็นหน้าที่ของลูกผู้ชายที่พึงกระทำหลวงปู่ ท่านก็ได้ทำหน้าที่ดังกล่าว ในครั้งนั้นท่านบวช ณ พัทธสีมาวัดบ้านนาชม ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านท่าน โดยมีหลวงปู่สี เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์จูม เป็นพระกรรมวาจารย์ สังกัดฝ่ายมหานิกาย ซึ่งส่วนมากจะเน้นทางด้านปริยัติเป็นหลัก การบวชในครั้งนั้นแม้ท่านจะบวชตามประเพณี แต่ท่านก็มีความวิริยะอุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียนเป็นอันมาก จนสามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ พอบวชครบ ๑ พรรษาท่านก็ลาสิกขาออกมาใช้ชีวิตฆราวาสตามเดิม

    อุปสมบทครั้งที่ ๒
    สาเหตุที่หลวงปู่ออกบวชครั้งที่ ๒ เพราะหลวงปู่ป่วยเป็นโรคปวดหัวโดยไม่รู้สาเหตุ พยายามรักษาอยู่หลายวิธีแต่ก็ไม่หาย หลวงปู่ลองบนดู โดยบนไว้ว่าถ้าหายป่วยแล้วจะบวชแก้บน ต่อมาอาการป่วยของหลวงปู่ก็หายจริง ๆ จึงทำให้หลวงปู่ต้องตัดสินใจบวช โดยบวชในฝ่ายธรรมยุต ณ พัทธสีมาวัดโยธานิมิต ซึ่งมีหลวงปู่อ่อนตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ด้วง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วมาอยู่จำพรรษาที่วัดดอนอีไข แม้หลวงปู่จะบวชเพื่อแก้บนแต่หลวงปู่ ก็หมั่นปฏิบัติภาวนาเป็นประจำมิได้ขาดยังธรรมปีติให้เกิดมีแก่องค์หลวงปู่ การบวชในครั้งนี้ของหลวงปู่บวชอยู่นานถึง ๖ พรรษา และยังได้ริเริ่มสร้างว่าหนองหัวหมูขึ้น จากนั้นจึงได้ลาสิกขา จริง ๆ แล้วหลวงปู่ไม่คิดอยากจะสึกแต่เพราะกลัวจะผิดสัญญาที่ให้ไว้กับครอบครัว จึงทำให้ท่านตัดสินใจสึก

    8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1-%E0%B8%88%E0%B8%83.jpg
    หลวงปู่สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
    B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    หลวงปู่สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
    อุปสมบทครั้งที่ ๓
    หลังจากที่หลวงปู่ไดลาสิกขา ท่านก็กลับมาอยู่กับครอบครัวโดยประกอบอาชีพทำนาและเลี้ยงสัตว์ตามเดิม วันหนึ่งท่านได้บรรทุกปลาใส่รถสามล้อถีบเพื่อจะนำไปขาย และขณะเดินทางรถสามล้อเกิดเสียหลักลงข้างทาง ในตอนนั้นมีกลุ่มผู้หญิงกำลังเดินทางกลับจากทำบุญที่วัดมาพบเข้า พวกเขามองดูปลาในรถสามล้อแล้วคนหนึ่งก็พูดขึ้นว่า “ปลาพวกนี้เป็นปลามีบุญนะ ฉันไม่กล้าซื้อหรอกกลัวบาป” พอหลวงปู่ได้ยินแม้หลวงปู่จะแปลกใจในคำพูดนั้น แต่ก็ทำให้หลวงปู่เกิดความสลดสังเวช คิดตำหนิตนเอง เกิดเป็นผู้ชายแท้ ๆ บวชก็เคยบวชมาแล้วยังไม่รู้จักบาปบุญ ยังมาค้าขายชีวิตสัตว์อื่นเขาอีก ต่อมาหลวงปู่ท่านก็เลิกเลี้ยงปลาขาย ประกอบอาชีพทำนาอย่างเดียว การใช้ชีวิตในทางฝ่ายโลกนั้นย่อมประกอบกับปัญหาและทุกข์นานาประการเมื่อเทียบกับรสแห่งธรรมที่ท่านเคยได้สัมผัสเมื่อครั้งอยู่ใสผ้าเหลืองมัต่างกันมาก ยิ่งนานวันันความจริงอันนี้ยังเด่นชัด ทำให้หลวงปู่อยู่ครองเพศฆราวาสต่อไปไม่ไหว จึงตัดสินใจขออนุญาตภรรยาและลูก ๆ ออกบวชอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครอบครัวก็ไม่มีใครขัดข้อง ต่างก็อนุโมทนากับหลวงปู่ จึงทำให้หลวงปู่ได้บวชอีกครั้ง หลวงปู่ได้อุปสมบทครั้งที่ ๓ ในฝ่ายธรรมยุต ณ วัดบุญญานุสรณ์ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๑ เมื่ออายุได้ ๕๖ ปีโดยมี ท่านพระครูประสิทธิ์คณานุการ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูสุวัณโณปมคุณ (หลวงปู่คำพอง ติสโส) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระครูโสภณคณานุรักษ์ (หลวงปู่ทองใบ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่สาย ท่านได้ฉายาว่า “เขมธมฺโม” แปลว่า “ผู้มีธรรมอันเกษม”

    นับแต่เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ท่านได้มุ่งประพฤติ ปฏิบัติธรรมตามปฏิปทาของพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตพาดำเนินมาโดยตลอด ครูบาอาจารย์องค์สำคัญที่ให้คำแนะนำในการประพฤติปฏิบัติ คือ พระธรรมวิสุทธิมงคล หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด ซึ่งหลวงปู่ได้ให้ความเคารพองค์ท่านมาก การปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เป็นการปฏิบัติโดยเพียงลำพัง ถ้าท่านติดขัดในปัญหาธรรมต่าง ๆ ท่านมักจะเข้าไปกราบเรียนถามองค์หลวงตามหาบัว ซึ่งองค์ท่านก็เมตตาตอบปัญหาและแนะอุบายในการปฏิบัติภาวนาแก่องค์หลวงปู่เสมอ ๆ จนกระทั่งมีเทพมานิมนต์ท่านให้มาอยู่ที่ภูน้อย – ภูพนัง ท่านจึงรับนิมนต์และได้มาสร้างวัดป่าพรหมวิหารขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ณ บ้านภูศรีทอง ตำบลโนนเมือง อำภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู วัดนี้จึงวัดที่ท่านอยู่จำพรรษาเรื่อยมา

    %AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1-0.jpg
    หลวงปู่สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
    หลวงปู่สาย เขมธัมโม ท่านเคยมาอยู่ปฎิบัติกับ องค์ท่านหลวงปู่ชอบ ที่วัดป่าสัมมานุสรณ์เป็นครั้งคราว ท่านเคยไปอยู่ปฏิบัติกับ องค์ท่านหลวงปู่ขาว อนาลโย และ องค์ท่านหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่สายท่านจึงมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันกับลูกศิษย์สายธรรมของ องค์ท่านหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ องค์ท่านหลวงปู่ชอบ ฐานสโม องค์ท่านหลวงปู่ขาว อนาลโย…

    สมัยหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ยังไม่ละสังขาร หลวงปู่สายท่านมากราบคารวะ องค์ท่านหลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ชอบท่านจะพูดคุยกับหลวงปู่สายอย่าง “สนิท” เป็นกันเอง หลวงปู่ชอบท่านให้จัดที่นั่งอาสนะให้หลวงปู่สายอย่างที่ท่านสั่งให้ทำกับพระมหาเถระผู้ใหญ่ แต่หลวงปู่สายท่านไม่ยอมนั่งอาสนะที่องค์ท่านหลวงปู่ชอบบอกให้ท่านนั่ง หลวงปู่สายท่านจะนั่งกับพื้นนวดเท้าถวายองค์ท่านหลวงปู่ชอบดั่งเณรน้อยคอยอุปัฏฐาก…

    เวลาหลวงปู่สายท่านพูดกับองค์ท่านหลวงปู่ชอบ ท่านจะใช้คำแทนตัวเองว่า “..ข้าน้อย เกล้ากระผม..”
    หลวงปู่สาย ท่านจะเรียกองค์ท่านหลวงปู่ชอบว่า “..พ่อแม่ครูบาอาจารย์..”

    ในบรรดาลูกศิษย์สายธรรมของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่เอ่ยนามมานี้ หลวงปู่สาย เขมธัมโม ท่านจะสนิทคุ้นเคยให้ความเคารพกันเป็นพิเศษคือ หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต, หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย, หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร, และ ท่านหลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร เป็นต้น ฯลฯ…

    องค์ท่านหลวงปู่ชอบบอกไว้
    “..ญาพ่อสาย(หลวงพ่อสาย) นี่บ่ธรรมดา บวชมาพรรษาบ่ถึงสิบกะฮู้ธรรมทั้งเบิ่ด…”
    หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร ท่านพูดถึงหลวงปู่สาย เขมธัมโม ว่า

    “..หลวงปู่สาย ของดี พระดี..”

    %AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1-2.jpg
    หลวงปู่สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
    ปัจจุบัน หลวงปู่สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
    ได้ละสังขารลงเมื่อเช้าวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๙.๔๒ น. ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น
    สิริอายุ ๙๒ ปี ๕ เดือน ๓ วัน พรรษา ๓๗

    %B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%A0%E0%B8%B9-1024x683.jpg
    เจดีย์ หลวงปู่สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
    %B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-1024x682.jpg
    เจดีย์ หลวงปู่สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
    โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่สาย เขมธัมโม
    “..พระธรรมไม่อยู่ไกล ถ้าแก้ไขตัณหากิเลสเสร็จแล้ว ธรรมดวงแก้วอยู่ที่นั้น ท่านเข้าใจไหม รีบแก้รีบไข ถ้าอยากเห็นธรรมะ..”

    “..กินก็สบาย นอนก็สบาย ถ้าความตายยังไม่มา ถ้าความตายมา เราต้องอำลาตัวไปจากโลก สวรรค์หรือนรกอยู่ที่ผลกรรม ใครทำดี ชั่ว ติดตัวติดใจ ตามไปสูงต่ำ ใครทำใครรับ เมื่อผลกลับมา..”

    “..พระพุทธเจ้าชี้ไว้ไม่มีผิด ไม่มีพิษ ชี้แล้วเดินตาม คนสวย คนงาม จะเป็นเราคนหนึ่ง จึงให้เดินตามพระธรรมสอนชี้ นี้ถูกทางแล..”

    “..กิเลส คือ ความหยาบช้า ตัณหา คือ ความทะเยอทะยาน เรามีธรรมพระศาสดาจารย์ มันทะยานไม่ได้ มันละอายธรรมะต้องชำระด้วยธรรมกำจัดมันเลย..”

    sam_2909-jpg-jpg.jpg sam_1589-jpg-jpg.jpg sam_1587-jpg-jpg.jpg sam_1588-jpg-jpg.jpg sam_8522-jpg.jpg sam_8523-jpg.jpg sam_8524-jpg.jpg sam_1841-jpg-jpg.jpg

     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 670
    เหรียญรุ่น ม.จ. ร.หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโสติถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่บุญหนาเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พระอรหันตืวัดป่านิโครธาราม เหรียญสร้างปี 2555 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มีตอกโคีต 4 โค๊ต หลัง เลข ๙(สอง),หน้าเหรียญ โค๊ต ยันต์(สอง) พิเศษรายการนี้มีเเถมเหรียญเม็ดเเตง รุ่นเเสนสุข....ดี มาบูชาเพิ่มอีกเกรียญครับ มาพร้อมพระเกศาหลวงตามาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ*****************บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems ประวัติย่อๆ
    หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล

    [​IMG]

    ประวัติหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร ศิษย์ธรรมสาย"หลวงปู่มั่น" หลวงตาบุญหนา ธัมมทินโนพระสายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชื่อดังรูปหนึ่งแห่ง เมืองสกลนคร ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นสุดท้ายที่ยังดำรงอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    อัตโนประวัติหลวงตาบุญหนา ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่ออายุ 12 ปีได้เข้าพิธีบรรพชา ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของ


    ท่านเอง หลวงปู่บุญหนา ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง 12 ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อนเคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้าน หนองโดก (ปัจจุบันคือวัดป่าโสตถิผล หรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก หลวงปู่บุญหนาท่านบอกว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับ พระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่งและญาติโยม 4-5 คน เดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก ก่อนเดินทางถึงวัดป่าบ้านหนองผือ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณรทำให้ตื่นตาตื่นใจเป็นครั้งแรก เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิ ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่น เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วนสามเณรบุญหนา มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า "เณรมาแต่ไส..." แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า "เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย" จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น นอกจากนี้ ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก เช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น


    หลวงตาบุญหนา ได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูป หนึ่งที่ยังเหลืออยู่ หลวงปู่บุญหนา ได้ให้สติแก่ญาติโยมผู้เดินทางมากราบนมัสการเสมอว่า ให้เป็นผู้มีสติ ระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรู้ซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ ซึ่งเป็นคำสอนของพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ที่ได้เล่าเรื่องของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ในช่วงที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่นครั้งนั้นว่า "กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์"


    หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล ละสังขารเข้าอนุปาิเสสนิพพาน เมื่อวันที่ 6 เม.ย. เวลา 14.52 น. พ.ศ. 2559
    1D70C12F494F47FE916C466FDB1465AB.jpg
    หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน แห่งวัดป่าโสตถิผล สกลนคร ละสังขารแล้ว หลังอาพาธด้วยโรคมะเร็งปอด สิริอายุ 84 ปี



    เมื่อวันที่ 6 เม.ย. เวลา 14.52 น. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 84 ปี 9 เดือน 1 วัน 64 พรรษา หลังจากก่อนหน้านี้หลวงปู่บุญหนาได้อาพาธด้วยโรคมะเร็งปอด และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นระยะๆ


    sam_8529-jpg.jpg sam_8530-jpg.jpg sam_8541-jpg.jpg sam_8542-jpg.jpg sam_7644-jpg.jpg

     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 672 เหรียญปรกใบมะขามรุ่นเเรกเเละรุ่นเดียวของหลวงปู่ทองพูล สิริกาโม พระอรหันตืเจ้าวัดสามัคคีอุปถัมถ์ สร้างปี 2546 เนื้้อทองเเดง มาพร้อมกล่องเดิม 3 องค์ สร้างโดยวิทยาลัยการอาชีพบึงกาฬ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ************บูชาที่ 395 บาทฟรีส่งems(พื้นที่ 500 บาทขึ้นครับหายากสร้างน้อยเพียง 3500 องค์เท่านั้น) หลวงปู่ทองพูลตั้งจิตแน่วแน่ในการปฏิบัติธรรม ถึงขั้นที่เรียกว่ามอบกายถวายชีวิต โดยการออกธุดงค์หาสถานที่วิเวก เพื่อเร่งความเพียรบำเพ็ญภาวนา เพียงพรรษาแรกอาจารย์ได้ถือเนสัชชิธุดงค์ คือการไม่นอน ไม่ยอมให้หลังแตะกับพื้นตลอดพรรษา พร้อมกับอดอาหารควบคู่กันไปด้อาพาธเป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก แต่อาศัยธรรมโอสถ ขันติธรรมที่เกิดขึ้น จนไข้มาลาเรียหายไปเอสําหรับวัดแห่งนี้ หลวงปู่ทองพูลเดินทางมาในช่วงปี พ.ศ.2502 ครั้งแรกยังเป็นแค่ภูดิน อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอบึงกาฬ โดยชาวบ้านเรียกภูดินแห่งนี้ว่า ภูกระแต เนื่องจากมีสัตว์พวกกระรอก กระแต รวมถึงสัตว์ป่าอื่นๆ อาศัยอยู่ชุกชุมตามสภาพที่เป็นป่าดงทึบรกครึ้มเมื่อมาถึงบริเวณภูกระแต ในคืนแรกจำวัดใต้ต้นบก และอีก 3-4 วันต่อมา ชาวบ้านได้ทำเพิงพักนั่งร้านและกุฏิชั่วคราวแบบง่ายๆ ทำด้วยไม้ไผ่ป่า จากนั้นก็ได้พัฒนาวัดเรื่อยมาจวบจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับแรงศรัทธาสามัคคีร่วมใจจากคณะลูกศิษย์ลูกหา ทั้งพระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกาด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านมีความสามารถด้านการแสดงธรรมเทศนา ท่านมักจะใช้ภาษาที่ง่าย สามารถสื่อให้ชาวบ้านเข้าใจง่าย มีตัวอย่างประกอบหลักธรรมเชิงบุคลาธิษฐานขณะเดียวกัน ยังให้ความเมตตาแก่ประชาชนทุกระดับ เมื่อได้รับนิมนต์ให้ไปแสดงธรรม ตามงานบุญทั่วไป หรืองานฌาปนกิจศพไร้ญาติ โดยเฉพาะวันธรรมสวนะ จึงทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความศรัทธาน้อมนำคำสอนไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันตลอดชีวิตทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจให้กิจการคณะสงฆ์ทั้งในด้านปริยัติ ปฏิบัติ รวมถึงสาธารณสงเคราะห์ด้วยแต่ด้วยอายุขัยที่ล่วงเลยเข้าสู่วัยชราภาพ บ่อยครั้งทำให้ท่านอ่อนแรง สุขภาพไม่แข็งแรงคืนวันอังคารที่ 12 พ.ค.2558 เวลา 18.59 น. จึงละสังขารด้วยอาการ สงบสิริอายุ 83 ปี 1 เดือน 19 วัน พรรษา 63
    หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม วัดภูกระเเต อดีตเจ้าอาวาสวัดสามัคคีอุปถัมภ์ (ภูกระแต) ต.วิศิษฐ์ อ.เมือง จ.บึงกาฬ และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย-บึงกาฬ (ธรรมยุต) เป็นพระกัมมัฏฐานรุ่นแรก แห่งกองทัพธรรมสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


    9e-e0-b8-b9-e0-b8-a5-e0-b8-aa-e0-b8-b4-e0-b8-a3-e0-b8-b4-e0-b8-81-e0-b8-b2-e0-b9-82-e0-b8-a1-jpg.jpg

    มีนามเดิมว่า หนูพูล เอนไชย เกิดเมื่อวันที่ 21 มี.ค.2475 ที่บ้านเดื่อศรีคันไชย อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    ในช่วงวัยเด็ก มีลักษณะนิสัยสุขุมเยือกเย็น พูดน้อย อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ญาติพี่น้อง มีจิตเมตตา

    เข้าพิธีอุปสมบทครั้งแรก เป็นพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ที่วัดท่าเดื่อ มีพระครูนรสีหสาสน์ธำรง รองเจ้าคณะอำเภอวานรนิวาส เป็นพระอุปัชฌาย์

    ต่อมาได้พบกับพระอาจารย์สีโห เขมโก ศิษย์ของพระอาจารย์หลวงปู่มั่น และเป็นพระเถระรุ่นเดียวกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    ต่อมาญัตติเปลี่ยนนิกายใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.2495 มีหลวงปู่จูม พันธุโล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสมุห์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ sam_0849-jpg.jpg sam_8560-jpg.jpg sam_8561-jpg.jpg sam_8563-jpg.jpg sam_8380-jpg.jpg
     
  10. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 673 ล็อกเก็ตรุ่นเเรกฉากฟ้าขาวจัมโบ้หลวงปู่พวง สุวีโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าปูลู อ.หนองหาน จ.อุดรธานี หลวงปู่พวงท่านเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญานสิริ ,หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถั้ากลองเพล เป็นต้น สร้างปี 2535 หลังล็อกเก็ต,มีบรรจุเฝังพระเกศา,จีรวร,พลอยเสก,ข้าวสารหินเสก,เทียนชัย ติดเเผ่นทองตอกโค๊ต องค์นี้มีฝังเเร่เหล็กไหลหินทั่งด้วยครับ เป็นต้น ,,มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ************บูชาที่ 385 บาทฟรีส่ง
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่พวง สุวีโร (พระครูวีรธรรมานุยุต) วัดป่าปูลูสันติวัฒนา ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
    -e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-95-e0-b8-b4-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-92-e0-b8-99-e0-b8-b2-3-712x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่พวง สุวีโร (พระครูวีรธรรมานุยุต) วัดป่าปูลูสันติวัฒนา
    หลวงปู่พวง สุวีโร มีนามเดิมว่า พวง สีทะเบียน เกิดวันจันทร์ ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปี มะโรง ณ บ้านปูลู ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    บิดา-มารดา ชื่อ นายจุ่น สีทะเบียน และนางมา ขันตีพันธุวงศ์ มีพี่น้องทั้งหมด ๑๔ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๘

    เรื่องราวในชีวิต เมื่อท่านอายุได้ ๑๖ ปี ได้ทำงานประมงบ้าง ทำงานต้มสุราบ้าง ไม่นานก็ได้ยินข่าวว่ามารดาป่วยหนักจึงลางานไปเยี่ยมมารดา ก่อนมารดาของท่านจะสิ้นลม ได้สั่งท่านว่า

    “บวชให้แม่นะ ถ้าลูกไม่บวชให้ แม่จะตายตาไม่หลับ”

    ท่านก็รับปาก แล้วมารดาก็สิ้นใจ ด้วยจิตศรัทธาอยากจะบวชอยู่แล้ว ในช่วงที่รอเวลาเหมาะที่จะบวชอยู่นั้น ท่านได้แสวงหาฟังธรรมะจากครูบาอาจารย์อยู่เรื่อย ๆ เช่น ไปฟังธรรมะพระอาจารย์สิงห์ สหธัมโม , พระอาจารย์พร สุมโน , พระอาจารย์สีลา เทวมิตโต


    b9-e0-b8-aa-e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-95-e0-b8-b4-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-92-e0-b8-99-e0-b8-b2-jpg.jpg
    พระครูวีรธรรมานุยุต (หลวงปู่พวง สุวีโร) วัดป่าปูลูสันติวัฒนา
    เมื่อ ถึง พ.ศ.๒๔๙๐ ท่านได้นุ่งขาวห่มขาวอยู่กับพระอาจารย์สีลา เทวมิตโต อยู่ถึง ๒ ปี จึงได้บรรพชา เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓

    ในช่วงระยะนั้นท่านยังได้ฟังธรรมของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่มาแวะเวียนธุดงค์อยู่แถวนั้นด้วย ท่านเล่าว่า ท่านเองได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย วันหนึ่งนั่งสมาธิเห็นโยมแม่ที่ตายแล้ว ได้เป็นอยู่อย่างอัตคัด ไม่มีผ้านุ่งผ้าห่ม ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย จึงอธิษฐานกับพระประธานว่า

    “ช่วงเช้าไปบิณฑบาต ขอให้มีคนมาถวายผ้า”

    ครั้นไปบิณฑบาตก็มีคนมาถวายผ้าขาวจริงๆ ท่านจึงนำผ้าขาวไปย้อมด้วยหินสีแดง แล้วนำไปซักตาก พอแห้งก็นำมาย้อมแล้วซักตากอีกรอบ จากนั้นก็นำไปพับถวายหลวงปู่ขาว กราบเรียนท่านว่า

    “ขอโอกาสพ่อแม่ครูจารย์ บังสกุลแหน่ อุทิศให้แม่”

    หลวงปู่ขาว จึงชักผ้าบังสุกุลให้ คืนนั้นหลวงปู่พวง นั่งภาวนาเห็นโยมแม่ มีผ้านุ่งผ้าห่มผืนใหม่ แล้วยังมีผ้าอีกหลายผืนห้อยเต็มไปหมด

    จากนั้นหลวงปู่พวงจึงคิดว่าทำอย่างไร โยมแม่จึงมีที่อยู่ที่อาศัย หลายวันต่อมา มีโยมนิมนต์หลวงปู่ขาว กับพระที่วัดไปสวดมนต์ที่บ้าน หลวงปู่พวง จึงได้มีโอกาสตามไปด้วย ญาติโยมได้ถวายปัจจัย หลวงปู่ขาว จึงบอกกับพระสงฆ์ว่า อัฐบริขารเราก็มีอยู่พร้อมแล้ว ให้นำปัจจัยนี้ไปสร้างกุฏิ และถาน(ส้วม) ตามที่ท่านพวง อธิษฐานไว้ ครั้นเมื่อสร้างเสร็จ หลวงปู่พวง จึงได้น้อมถวายกุฏิ และถาน(ส้วม) แก่หลวงปู่ขาว อนาลโย

    จากนั้นตกกลางคืน หลวงปู่พวงได้นั่งสมาธิ มองหาแม่ ออกตามหาทั้งคืนก็ไม่เห็น ผ่านไป ๔ วัน จึงไปกราบเรียนหลวงปู่ขาว

    “ขอโอกาสพ่อแม่ครูจารย์ หาแม่บ่เห็น”

    หลวงปู่ขาว บอกให้ “ขึ้นสูงๆ”

    หลวงปู่พวง จึงนั่งสมาธิหาตามยอดไม้ก็ไม่เห็น หรือจะเป็นที่สวรรค์กันแน่ ท่านจึงรวบรวมพลังจิตทั้งหมดขึ้นไปดู จึงเห็นวิมานของโยมแม่บนสวรรค์ เห็นร่างกายที่เป็นทิพย์ของโยมแม่ จึงสบายใจขึ้นว่า โยมแม่พ้นทุกข์แล้ว ก็เพราะด้วยบารมีธรรมของของพระผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ หากเราได้ถวายทานแก่พระภิกษุ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว อานิสงส์ย่อมส่งผลไปถึงญาติของเราแม้นอยู่ปรโลก ก็สามารถให้พ้นทุกข์ พ้นโทษภัยได้ อย่างองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านจึงถือว่าเป็นเนื้อนาบุญเอกของโลก

    ช่วงนั้นเป็นช่วงที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาพาธหนัก พำนัก ณ สำนักป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร คณะศิษย์ได้อาราธนา ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ขึ้นแคร่เพื่อหามท่านไปละสังขารที่ตัวเมืองสกลนคร สามเณรพวงได้ช่วยหามหลวงปู่มั่นไปจนถึงวัดป่ากลางโนนภู่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร และติดตามคณะนำหลวงปู่มั่นไปถึงวัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร และหลวงปู่มั่นก็มรณภาพ ณ ที่นั้น

    สามเณรพวงจึงได้อยู่ช่วยงานถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่นจนแล้วเสร็จและ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๑๕.๔๐ น. ณ อุทกุกเขปสีมากลางน้ำหนองแวง อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูพุฒิวราคม (พุฒ ยโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    -e0-b9-88-e0-b8-9e-e0-b8-a7-e0-b8-87-e0-b8-aa-e0-b8-b8-e0-b8-a7-e0-b8-b5-e0-b9-82-e0-b8-a3-3-jpg.jpg
    แถวยืนจากซ้าย :
    หลวงปู่พวง สุวีโร, หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ
    และหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม
    แถวนั่งจากซ้าย :
    หลวงปู่คำพอง ติสฺโส, หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป,
    หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ และหลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้ออกปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ได้ออกธุดงค์กรรมฐานไปในเขตหลายจังหวัด ทั้งในภาคอีสานและภาคเหนือ และได้รับการอบรมกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ , หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ , หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต , หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น และได้มาก่อตั้งวัดป่าปูลูสันติวัฒนา ที่บ้านปูลู ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    -e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-95-e0-b8-b4-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-92-e0-b8-99-e0-b8-b2-2-712x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
    aa-e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-95-e0-b8-b4-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-92-e0-b8-99-e0-b8-b2-768x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
    หลวงปู่พวง สุวีโร มีสหธรรมมิกที่เคยร่วมปฏิบัติธรรมด้วยกัน หลายรูป อาทิเช่น หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ , หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร , หลวงปู่ท่อน ญาณธโร , หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม เป็นต้น

    หลวงปู่พวง สุวีโร ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยรูปหนึ่ง และดำเนินปฏิปทาสืบทอดมาจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาธรรม คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กระจายไปทั่วทั้ง ๘ ทิศ ด้วยน้ำเสียงและสำนวนการเทศนาที่ไพเราะน่าฟังของท่านเป็นเหตูให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและองค์ท่านเป็นจำนวนมาก

    หลวงปู่พวง สุวีโร ท่านได้ถึงแก่มรณภาพในขณะกำลังนั่งภาวนา เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๐๙.๕๐ น. ด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ

    b9-e0-b9-88-e0-b8-9e-e0-b8-a7-e0-b8-87-e0-b8-aa-e0-b8-b8-e0-b8-a7-e0-b8-b5-e0-b9-82-e0-b8-a3-jpg.jpg
    หีบศพของท่าน หลวงปู่พวง สุวีโร
    a-e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-95-e0-b8-b4-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-92-e0-b8-99-e0-b8-b2-1024x1024-jpg.jpg
    เกศา ของท่าน หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒน
    sam_8631-jpg-jpg.jpg เปิดดูไฟล์ 5714706 sam_7605-jpg-jpg.jpg sam_7828-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8650-jpg.jpg
     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 674 พระสิวลีมหาเถระหลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม พระอรหันต์เจ้าวัดศรีวิชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นคร หลวงปู่คำพันธ์เป็นศิษย์หลวงปู่วัง ฐิตสาโร วัดภูลังกา องค์พระสร้างปี 2554 เนื้อทองเเดงผิวไฟ มาพร้อมกล่องเดิม มีเกศาหลวงปู่เเละพระธาตุพระสิวลีมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ***********บูชา 335 บาทฟรีส่งemsสส

    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม (พระจันโทปมาจารย์) วัดศรีวิชัย
    B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม วัดศรีวิชัย

    พระอริยสงฆ์ผู้มีจิตผ่องใสดั่งดวงจันทร์เพ็ญ

    หลวงปู่คำพันธ์ ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง ท่านมีเมตตาต่อศิษย์ และผู้พบเห็นแม้เพียงครั้งแรกก็รู้สึกเย็นเมื่ออยู่ใกล้องค์ท่าน หลวงปู่คำพันธ์ ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร เทพเจ้าแห่งภูลังกา สมัยที่หลวงปู่คำพันธ์ อยู่ปฏิบัติธรรมที่ภูลังกา สมัยนั้นถือได้ว่ากันดาร อาหารการขบฉันไม่สู้จะสมบูรณ์นัก การเดินทางเป็นไปด้วยความลำบาก ต้องมีความพากเพียรมากในการแสวงหาโมกธรรมในสถานที่นั้น เพราะนอกจากจะมีสัตว์ป่าดุร้ายมากมายแล้ว ยังมีไข้ป่า และภูลังกาถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีภูมิเจ้าที่เจ้าป่าเจ้าเขาคุ้มครองดูแลอยู่ด้วย ใครทำเล่น ๆ ไม่พากเพียรเร่งภาวนามักจะประสบสิ่งที่ไม่น่าพอใจมาปรากฏให้พบเห็นเสมอ ๆ พระสงฆ์พ่อแม่ครูบาอาจารย์สมัยก่อนจึงต้องอุตสาหะฟันฝ่าอุปสรรคอดหลับอดนอน ทุกข์บ้างหิวบ้าง สู้ร้อนทนแดดทนฝนเพื่อให้ได้อรรถธรรมนั้นมา

    หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม เดิมทีองค์ท่านสืบเชื้อสายมาจากฝั่งลาว บิดา มารดาของท่านดำรงชีพเป็นชาวเรือ โดยอาศัยอยู่ในเรือ มีถิ่นฐานอยู่ที่ลำน้ำงึม อพยพเรื่อยมาทางแม่น้ำโขง และมาตั้งรกรากใช้ชีวิตดำรงชีพอยู่ที่สายน้ำลำน้ำสงคราม จ.นครพนม องค์ท่านเมื่ออายุได้ ๑๐ ขวบ มารดาได้พาไปบรรพชาเป็นสามเณร จากนั้นท่านได้ติดตามหลวงปู่พุฒ ธุดงค์กรรมฐานไปที่ฝั่งลาว เมืองหลวงพระบาง ปฏิบัติธรรมอยู่กับธรรมชาติใช้ชีวิตอยู่ตามชายป่า จนกระทั้งเป็นไข้มาเลเลียก็มี

    %B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-768x1024.jpg
    ท่านเจ้าคุณพระจันโทปมาจารย์ ( คำพันธ์ จันทูปโม )
    ธุดงค์สู่ประเทศลาว
    เมื่อออกพรรษาในปีนั้นพระอาจารย์พุฒจะไปธุดงค์ทางประเทศลาว เพราะท่านเคยไปธุดงค์แถวเมืองท่าแขก เวียงจันทน์ขึ้นไปถึง หลวงพระบางอยู่เสมอ ท่านจึงสั่งให้โยมชาวบ้านพากันฟันไม้เสาศาลา การเปรียญคอย แล้วท่านจะกลับมาปลูกศาลาต่อไป โยมแม่จึงขอให้สามเณรคำพันธ์ไปด้วย เพื่อจะให้ไปเยี่ยมญาติทางพ่อทางแม่ที่บ้านปากซี เมืองหลวงพระบาง ดังนั้นท่านจึงพากันออกจากวัดแพงศรีไปด้วยกัน ถึงที่บ้านหมูม่นอันเป็นบ้านโยมพ่อโยมแม่ของพระอาจารย์พุฒพัก ๑ คืน ตื่นขึ้นจึงเดินทางไปบ้านนาดี ขึ้นภูลังกาข้ามไปบ้านแพงพักวัดสิงห์ทอง ๑ คืน แล้วข้ามน้ำโขงขึ้นไปฝั่งลาวที่พระบาทโพนแพง พักอยู่นั่น ๔ คืนแล้วนั่งรถโดยสารสองแถว ซึ่งมีน้อยที่สุด เพราะบางวันก็ไม่มี ถ้ามีก็มี ๒ คัน ๓ คันเท่านั้น จากวัดพระบาทโพนแพงไปเมืองเวียงจันทน์เจ้าของรถเห็นหนังสือสุทธิจึงไม่เก็บค่าโดยสาร พักที่วัดอูบมุง ในเวียงจันทน์นั้น ๒ คืน แล้วนั่งรถโดยสารไปเมืองหลวงพระบาง เมื่อไปถึงเมืองซองจึงลงรถที่นั่น จากนั้นท่านก็พาไปธุดงค์ตามหมู่บ้านต่างๆ ที่พระอาจารย์พุฒเคยไปมา จากหมู่บ้านหนึ่งไปสู่อีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยมากก็เป็นหมู่บ้านไม่ใหญ่ที่เป็นอยู่อย่างธรรมชาติ


    โดนไข้มาลาเรียเล่นงาน
    ประมาณ ๒ เดือนต่อมาได้เป็นไข้มาลาเรีย คือไข้ป่าหรือไข้จับสั่น บางวันก็ไข้บางวันก็หาย จนร่างกายทรุดโทรม วันหนึ่งไข้หนักและไข้นาน พระเณรก็ไม่รู้ จะทำอย่างไร เพราะไม่มียา จึงเอาขี้ผึ้งใส่น้ำมาให้ฉัน เมื่อฉันแล้วก็ไม่ได้ผลอะไร เพราะไม่ใช่ยาแก้ไข้ป่า ต่อมาพระอาจารย์พุฒจึงพาไปเมืองซองฝากไว้กับพระในวัดนั้น (ชื่อว่าวัดอะไรจำไม่ได้) ฝากกับโยมผู้มีหลักฐานดีผู้หนึ่ง แล้วพระอาจารย์พุฒก็ออกเที่ยวไปที่หลายแห่งแล้วกลับมาเยี่ยมคราวหนึ่ง เห็นว่าเป็นไข้ไม่มียากิน จึงตกลงกันว่าการไปบ้านปากซีเมืองหลวงพระบางนั้นควรงดไว้ก่อน จึงนำกลับไปเมืองเวียงจันทน์ทั้งๆ ที่เป็นไข้อยู่ นั่งรถตามถนนลูกรัง รถโดยสารเป็นรถแบบโบราณ คือตัวเรือนรถทำด้วยไม้ ที่พิงหลังก็ทำด้วยไม้ ที่นั่งก็ทำด้วยไม้ เมื่อขับมาประมาณ ๑ ชั่วโมง ได้อาเจียนออก ไม่มีอาหารในท้องเลย รู้สึกเหนื่อย จนถึงเวียงจันทน์ลงที่วัดอูบมุง ท่านจึงขอฝากกับเจ้าอาวาสวัด อูบมุง ชื่อพระมหาอ่ำ (ท่านเป็นคนบ้านพานพร้าว อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย) ท่านก็รับไว้อยู่ ๒ วัน พระอาจารย์พุฒก็ออกไปจากวัดอูบมุง จากนั้นไม่รู้ว่าท่านไปไหนเลย จึงได้อยู่กับพระมหาอ่ำ

    %B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-697x1024.jpg
    หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม วัดศรีวิชัย (วัยหนุ่ม)

    เมื่อกลับมาประเทศไทย หลวงปู่คำพันธ์ องค์ท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร(*******หลวงปู่วัง องค์ท่านปรารถนาเป็นพุทธภูมิ คืออย่างจะเป็นพระพุทธเจ้า จึงลงมาสร้างบารมีเพื่ม เเละท่านไม่ละการปรารถนาครับ) พระผู้มีอภิญญาญาณศิษย์หลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น (ในสมัยก่อนหลวงปู่มั่น มักใช้ให้หลวงปู่วัง ไปทำลายความเชื่อผิด ๆ เรื่องการถือผี บางครั้งถึงกับรื้อถอนศาลปู่ตาทิ้งเลย) หลวงปู่คำพันธ์ สมัยเมื่อเป็นสามเณร ได้ติดตามขึ้นไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่ ถ้ำชัยมงคล บนภูลังกา จ.นครพนม ซึ่งศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับองค์ท่าน ได้แก่ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม และหลวงปู่โง่น โสรโย

    B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3-789x1024.jpg
    หลวงปู่วัง ฐิติสาโร วัดถ้ำชัยมงคล ภูลังกา( ่ท่านมาสร้างบารมีเพราะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้่าเหมือนหลวงปู่ดู่ วัดสะเเกครับ
    %B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2-1024x411.jpg
    ถ้ำชัยมงคล (ถ้ำหลวงปู่วัง) บนภูลังกา
    จำพรรษาบนภูลังกา
    พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโรไปอยู่จำพรรษาที่ถ้ำชัยมงคลซึ่งอยู่หลังภูลังกา ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันคือ อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ) ในปีนั้นมีสามเณร ๓ รูป คืออาตมา สามเณรสุบรรณ ชมพูพื้น สามเณรใส ทิธรรมมา รวมเป็น ๔ รูปกับท่านอาจารย์วัง ถ้ำนี้อยู่บนหลังเขาภูลังกาทางทิศตะวันตก ถ้าลงไปบิณฑบาตจากบ้านโนนหนามแท่ง บ้านโพธิ์หมากแข้ง ต้องเดินตามทางคนผ่านดง ภูลังกา ไปประมาณ ๖ กิโลเมตร จึงจะถึงหมู่บ้าน ทดลองไปบิณฑบาตแล้วไกลเกินไป จึงนำเอาอาหารแห้งไปไว้ที่ถ้ำให้โยมและเณรทำถวายท่าน

    B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2.jpg
    เจดีย์ บรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล บนหลังภูลังกา ปัจจุบัน
    B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg
    ทางขึ้นถ้ำนาคา ภูลังกา ณ วัดถ้ำชัยมงคล
    อุบายปราบความง่วง
    ในการไปอยู่ภูลังกาท่านก็สอนให้ทำความเพียรด้านจิตใจเดินจงกรม นั่งสมาธิตามที่ท่านได้บำเพ็ญมาอย่างโชกโชน แต่เราผู้ปฏิบัติ ก็ไม่ได้สมใจนึกเท่าที่ควร นั่งสมาธิก็มีแต่โงกง่วงสัปหงกอยู่เรื่อย จึงคิดจะหาทางปราบไม่ให้โงกง่วง วันหนึ่งจึงขึ้นไปบนหลังถ้ำ ซึ่งมีลานหินกว้างยาวพอเดินจงกรมได้สะดวก หรือจะนั่งสมาธิตามที่แจ้งหรือร่มไม้ก็สะดวกดี เลือกเอาที่ใกล้หน้าผาชันสูงมากห่างหน้าผาประมาณ ๒ วา มีที่นั่งเหมาะอยู่ จึงตกลงไปนั่งที่นั่น ถ้าสัปหงกไปทางหน้าก็คงจะเลื่อนไหลตกหน้าผาได้ จึงนั่งลงที่ตรงนั้นแล้วบอกตัวเองว่า นี่หน้าผาชันอันตราย ถ้าเจ้าจะนั่งโงกง่วงอยู่ แล้วชะโงกไปข้างหน้าก็มีหวังตกหน้าผา คงไม่มีชีวิตเหลืออยู่แล้ว หลังจากเดินจงกรมแล้วก็เข้าไปนั่งที่หมายไว้ ได้นั่งไปนานเกือบชั่วโมง สติก็ประคองใจให้อยู่ตามอารมณ์ที่ต้องการอยู่ได้ เพราะกลัวตาย ต่อจากนั้นร่างกายคงเดินจงกรมมานาน และนั่งร่วมชั่วโมงแล้วสติเผลอนิดเดียวเกิดง่วงสัปหงกจนได้ แต่สัปหงกคราวนี้แทนที่จะโยกคว่ำไปทางหน้ากลับสัปหงกหงายหลังเกือบล้ม ตกใจตื่นจากง่วงจึงคิดว่าเกือบตาย ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องตายแท้ๆ มันยังง่วงอยู่ได้ จึงเลิกนั่งเลยวันนั้น แต่เป็นการเรียนรู้ที่ได้ผลดีมากเพราะไม่ง่วงอีกเลย ถ้ายังง่วงอีกจะพาไปนั่งที่นั่นอีก เข็ดหลาบได้ผลดี แต่ความเพียรก็ไม่ลดละ แต้ก็ล้มลุกคลุกคลานไม่สงบตามที่ต้องการ

    มาตุคามมาเยือน
    ในระยะนั้นอยู่ถ้ำชัยมงคลกับท่านทั้ง ๓ เณร เณรนั้นอายุ ๑๘-๑๙ ปี กิเลสต่างมาวุ่นวายทำให้จิตใจปั่นป่วน จะอยู่จะไปเท่ากัน วันหนึ่งท่านอาจารย์ได้ถามว่าเณรใดจะสึกจะอยู่ เรากราบเรียนท่านว่ายังบอกไม่ถูกว่าจะอยู่หรือจะสึก เราพูดเพราะหลงความงามนั่นแหละ เรื่องสวยเรื่องงามนี้ แม้ว่าในใจเราจะเฉย แต่ก็แปลกกับความงามน่ารักของเพศตรงข้าม

    มีคราวหนึ่งตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี ขณะอยู่วัดอูบมุง เมืองเวียงจันทน์ จะลงไปอาบน้ำโขงกับเพื่อนเณร ๔ รูป ทางนั้นต้องผ่านบ้านของชาวบ้านหลายหลัง เมื่อเดินไปถึงกลางบ้าน นางสาวบุญเรือง เอาแขนสองข้างอ้อมเป็นวงรอบตัวเรา เพราะเกิดนึกสนุกอย่างไรไมทราบแถมบอกว่า อย่าไหวนะ ถ้าไม่เช่นนั้นจะกอดเลย เราก็หดตัวอยู่ในอ้อมแขนของเขา ไม่รู้จะทำอย่างไร เรื่องรักเรื่องใคร่ไม่มีในขณะนั้น แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร อ้อมอยู่นานประมาณ ๔ นาที จึงปล่อยเราไปแปลกมาก

    อีกคราวหนึ่ง ได้ไปร่วมเจริญพระพุทธมนต์ที่บ้าน เมื่อเสร็จงานจะกลับวัด เดินมาทางกลางบ้านของงาน มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งแกมีลูกสาว จึงพูดขึ้นท่ามกลางคนทั้งหลายนั้นว่า เณรน้อยจะหมายไว้เป็นลูกเขยจงจำไว้ ไม่รู้ทำไมโยมนั้นจึงกล้าพูดคำเช่นนั้นในกลางชุมชน เพราะแกเกิดความรักความคิดอย่างไรจึงพูดเช่นนั้น เราก็เก้อเขินอายในใจด้วย

    ส่วนอีก ๒ เณร บอกท่านอาจารย์ว่าจะอยู่ ต่อมาก็พากันสึกทั้งสองรูป เราผู้ไม่ได้บอกท่านกลับอยู่ได้ นี้ไม่แน่นอนเหมือนกัน

    จากสามเณรสู่ภิกษุหนุ่ม
    ถึง พ.ศ. ๒๔๙๑ อายุได้ ๒๐ ปี ท่านอาจารย์ได้ส่งเราไปทางเรือกลไฟ จากบ้านแพงไปนครพนม เป็นคู่กันกับเณรวันดี แสงโพธิ์ ไปบวชพระที่ วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม ในเดือนมกราคม ท่านพระอาจารย์ที่วัดบอกว่า ผู้เกิดเดือนพฤษภาคมบวชได้ ส่วนผู้เกิดเดือนพฤศจิกายนนั้นใกล้จะเข้าพรรษาจึงมาบวชได้ ดังนั้นจึงบวชได้เฉพาะสามเณรวันดี ส่วนอาตมาเห็นว่าเมื่อกลับไปแล้วจะกลับมาลำบาก เพราะเป็นฤดูฝน จึงไม่ได้ไปตามที่ท่านแนะ รอจนออกพรรษาแล้วจึงลงจากถ้ำชัยมงคล เดินทางไปวัดศรีเทพประดิษฐารามเพื่อไปสอบนักธรรมเอกด้วย จึงอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๑ เวลา ๑๓.๕๐ น. โดยมีท่านเจ้าคุณพระสารภาณมุนี (จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ สุดท้ายท่านมีสมณศักดิ์เป็น พระเทพสิทธาจารย์ ท่านพระครูวิจิตรวินัยการ (พรหมา โชติโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ภายหลังท่านมีสมณศักดิ์เป็น พระราชสุทธาจารย์ และปรากฏว่าสอบนักธรรมเอกได้ในปีนั้นนั่นเอง


    กลับมาอยู่วัดศรีวิชัย
    พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านพระอาจารย์วัง ได้สั่งให้ไปอยู่วัดศรีวิชัย เพราะปีนั้นวัดว่างจากพระ ไม่มีพระมาจำพรรษา ท่านเป็นห่วงวัดและญาติโยม เพราะท่านเป็นผู้ริเริ่มสร้างเป็นวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านจึงให้อาตมาพร้อมด้วย พระวันดี อโสโก พระดอน ขันติโก สามเณรและเด็กวัดให้ลงไปอยู่วัด ซึ่งปีนั้นอาตมามีพรรษาได้ ๓ พรรษา เมื่อไปอยู่วัดแล้วร่วมจำพรรษาด้วยกันทั้งหมด ในกลางพรรษานั้น ท่านหลวงปู่เกิ่ง อธิมุตฺตโก ได้ขอให้สอนนักธรรมตรีที่วัดโพธิ์ชัย เมื่อมาอยู่ที่วัดศรีวิชัยแล้ว ก็ไม่ได้ไปจำพรรษาที่อื่นเลย ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

    B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg
    ถ้ำชัยมงคล ภูลังกา
    %B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2-771x1024.jpg
    พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เทพเจ้าแห่งภูลังกา
    หาอุบายแก้ความกลัวผี
    ในการบำเพ็ญจิตภาวนานั้นก็ไม่ลดละ คงบำเพ็ญมาตลอดตามแนวทางที่ครูบาอาจารย์ได้แนะนำสั่งสอนมาได้รับความสงบบ้างในบางวัน วันหนึ่งเวลาประมาณ ๕ ทุ่ม หลังจากเดินจงกรมแล้วจะไปเยี่ยมที่เผาศพซึ่งกำลังเผาศพอยู่ เพื่อจะให้จิตสงบหายกลัวผี ซึ่งมีอยู่มากตามปกติ เมื่อเดินไปใกล้จะถึงที่เผาศพอยู่ประมาณ ๑๐ เมตร มีความกลัวมาก กลัวจนสุดขีด ขาแข็งก้าวเท้าเดินไม่ออก ได้ยืนกับที่ยืนนิ่งอยู่นาน จึงคิดว่ากลัวทำไม เราได้ขอฝากตัวถวายชีวิตต่อพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ในสามแดนโลกธาตุนี้ ไม่มีใครจะเหนือพระองค์ไปได้ แม้แต่พระอินทร์ พระพรหม เทวดา ผีสางนางไม้ มนุษย์ยอมกราบไหว้ทั้งหมด เอ้าตายเป็นตาย จากนั้นก็ยืนนิ่งไปเลยนานเท่าไรไม่ได้กำหนด เมื่อถอนจากความสงบแล้ว จิตเบิกบานหายจากกลัวผีเป็นปลิดทิ้งเลย แล้วจึงเดินต่อไปหาศพ พิจารณาถึงการตายของเราแล้วว่าจะต้องเป็นเช่นนี้ ในวันหนึ่งแน่นอน ได้ธรรมะมากพอสมควรแล้วจึงเดินกลับกุฏิ

    พัฒนาวัดศรีวิชัย
    ในกาลต่อมาเมื่อมีพระเณรมาจำพรรษาอยู่ด้วยมากขึ้น จึงซ่อมหลังคาศาลาโรงธรรมขึ้น เพราะปลวกกัดหลังคาเสียหาย ก็พาโยมจัดซ่อมขึ้น พร้อมทั้งกุฏิก็ชำรุดและกุฏิไม่พอ จึงให้โยมชาวบ้านช่วยกันจัดซ่อมและสร้างใหม่ขึ้น ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้สร้างศาลาถาวรขึ้นใหม่ ก่อด้วยอิฐต่อด้วยเสาไม้ทรงไทย กว้าง ๑๑.๑๕ เมตร ยาว ๑๘.๕๐ เมตร มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ ซื้อแบบพิมพ์มาทดลองเอง ซื้อทั้งหมด ๔๗,๖๕๐ บาท ทำอยู่ ๒ ปีเศษจึงสำเร็จ และได้ฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙

    สู่ถ้ำชัยมงคลพิสูจน์ข่าวลือเรื่องผี
    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๙ นั้นได้มีเสียงเล่าลือว่า ที่ถ้ำชัยมงคลมีผีเฝ้าถ้ำอยู่โดยเข้าใจว่าคงเป็นพระอาจารย์วัง และพระวันดีผู้เป็นลูกศิษย์ ซึ่งได้มรณภาพที่นั่น นี่เป็นคำบอกเล่าของพระอาจารย์กุล อภิชาโต บ้านโพธิ์หมากแข้ง ซึ่งเป็นพระวัดบ้าน และเป็นผู้ที่เคารพรักใคร่ของพระอาจารย์วัง อยู่มาก จึงบอกให้เราทราบ ได้ปรึกษากันว่าคำเล่าลืออย่างนี้ไม่ดีแน่ จึงตกลงกันไปกับท่าน เมื่อไปถึงบ้านโพธิ์หมากแข้งแล้วพักหนึ่งคืน วันต่อมาได้ชักชวนญาติโยมประมาณ ๑๕ คนขึ้นไปสู้ถ้ำชัยมงคล ได้ค้างคืนอยู่นั่น ๓ คืน แต่ละวันแต่ละคืนได้พากันทำวัตรสวดมนต์ แล้วทำบุญอุทิศไปให้ ครูบาอาจารย์ เทวดาอารักษ์ สรรพสัตว์ด้วย แล้วนั่งภาวนาพอสมควร แล้วหยุดพัก อธิษฐานว่า ถ้ามีอะไรเป็นจริงตามคำเล่าลือก็ขอให้มีมาปรากฏทางใดทางหนึ่งให้ทราบ แต่แล้วทั้ง ๓ คืน ก็ไม่มีอะไรมาปรากฏให้รู้ จึงมีความเห็นว่า เป็นเพราะถ้ำไม่มีพระอยู่เป็นประจำ ผู้ไปอาศัยก็ว้าเหว่เปล่าเปลี่ยว จึงสร้างความคิดขึ้นหลอกตัวเองไปต่าง ๆ นานา
    หลวงปู่คำพันธ์ ท่านเป็นพระผูมีความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ของท่านจึงได้ปรารภสร้างพระอุโบสถ ๒ ชั้น เพื่อบรรจุพระอัฐิขององค์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร ไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อเป็นการตอบบุญสนองคุณ ดังคำกล่าวที่หลวงปู่คำพันธ์ เคยพูดไว้ว่า

    “เราได้รำลึกถึงอุปการคุณที่พระอาจารย์ ได้มีแก่พวกเรามามากมาย จึงขอสร้างอุโบสถนี้(ในภาพ) เป็นอนุสรณ์ให้ได้ และได้ยกมือขนตั้งสัจจาธิษฐานว่า จะขอสร้างให้เสร็จให้ได้ แม้จะนานกี่ปี หรือสูญสิ้นทุนทรัพย์ไปเท่าไหร่ก็ตาม ก็จะมุ่งมั่นสร้างไปให้เสร็จให้ได้”

    สมณศักดิ์
    พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท ที่ พระครูอดุลธรรมภาณ
    พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
    ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระจันโทปมาจารย์
    การปกครอง
    พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็น เจ้าคณะอำเภอศรีสงคราม บ้านแพง นาทม นาหว้า (ธ)
    พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็น พระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็น เจ้าอาวาสวัดศรีวิชัย
    พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็น ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอศรีสงคราม บ้านแพง นาทม นาหว้า (ธ) ถึงปัจจุบัน

    ด้านการศึกษา
    พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นครูสอนปริยัติธรรมชั้นตรี-โท-เอก-จนถึงปัจจุบัน
    พ.ศ.๒๔๙๔ เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวงจนถึงปัจจุบัน
    พ.ศ.๒๔๙๔ เป็นประธานสอบธรรมสนามหลวงที่สำนักเรียน วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม จนถึงปัจจุบัน

    ด้านการเผยแผ่
    พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๑๐ เป็นพระธรรมฑูต
    พ.ศ.๒๕๐๖ จนถึงปัจจุบัน เป็นพระอาจารย์สอนภาวนาสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ในสำนัก และตามวัดต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตการปกครอง
    ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนทั้งโรงเรียนประถม และมัธยมศึกษาในเขตตำบลสามผง และใกล้เคียงสมัครสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-โท-เอก- ทุกปี แต่ละปีจะมีผู้สมัครสอบเป็นจำนวนมาก

    ด้านสาธารณประโยชน์
    พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นผู้เริ่มโครงการสร้างทำนบห้วยอาประชาน้อมเกล้า และได้ชักชวนชาวบ้านศรีเวินชัย และหมู่บ้านใกล้เคียงร่วมกันบริจาคในการก่อสร้าง จนแล้วเสร็จขนาดของทำนบ ฐานกว้าง ๓๐ เมตร ผิวจราจรกว้าง ๖ เมตร สูง ๙ เมตร ยาว ๖๐๐ เมตร เก็บกักน้ำได้ ระยะทาง ๘ กิโลเมตร ส่งผลให้ ชาวบ้าน ศรีเวินชัย และหมู่บ้านใกล้เคียง ได้รับประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล ทั้งทางด้านการเกษตรโดยมีพื้นที่ในการปลูกข้าวนาปรังจำนวนถึง ๓,๐๐๐ไร่ ของบ้านศรีเวินฃัย และบ้านดอนเตย อำเภอนาทม และการประมง เป็นที่ทำมาหาเลี้ยงชีพของชาวบ้านตลอดทั้งปี

    ได้ก่อสร้างศาสนวัตถุเป็นจำนวนมาก อาทิ อุโบสถ ๒ ชั้น สิมอิสานวัดพระเนาว์ (วัดบ้าน) กุฎีสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ร.ร.พระปริยัติธรรม และเสนาสนะต่าง ๆ อีกมากมาย

    หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม “พระอริยสงฆ์ผู้มีจิตผ่องใสดั่งดวงจันทร์เพ็ญ” ท่านได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ เวลา ๐๗.๐๓ น. ณ กุฏิห้องปลอดเชื้อขององค์ท่าน ภายในวัดศรีวิชัย บ้านศรีเวินชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม สิริรวมอายุได้ ๘๓ ปี ๓ เดือน ๑๗ วัน พรรษา ๖๓

    8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%88.%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1.jpg
    พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) วัดศรีวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม SAM_8844.JPG SAM_8842.JPG SAM_8845.JPG SAM_8846.JPG SAM_8841.JPG
     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 675 รูปเหมือนลอยองค์หลวงปู่คำพันธ์ จันูปโม พระอรหันต์เจ้าวัดศรีวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม หลวงปู่คำพันธ์เป็นศิษย์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร (พระโพธิสัตว์เจ้าผู้ปรารถนาพุธภูมิ) องค์พระสร้างปี 2554 เนื้อทองเเดงผิวไฟ มาพร้อมกล่องเดิม ********มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >>>>>บูชาที่ 335 บาทฟรีส่งemslส

    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม (พระจันโทปมาจารย์) วัดศรีวิชัย

    B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม วัดศรีวิชัย

    พระอริยสงฆ์ผู้มีจิตผ่องใสดั่งดวงจันทร์เพ็ญ

    หลวงปู่คำพันธ์ ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง ท่านมีเมตตาต่อศิษย์ และผู้พบเห็นแม้เพียงครั้งแรกก็รู้สึกเย็นเมื่ออยู่ใกล้องค์ท่าน หลวงปู่คำพันธ์ ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร เทพเจ้าแห่งภูลังกา สมัยที่หลวงปู่คำพันธ์ อยู่ปฏิบัติธรรมที่ภูลังกา สมัยนั้นถือได้ว่ากันดาร อาหารการขบฉันไม่สู้จะสมบูรณ์นัก การเดินทางเป็นไปด้วยความลำบาก ต้องมีความพากเพียรมากในการแสวงหาโมกธรรมในสถานที่นั้น เพราะนอกจากจะมีสัตว์ป่าดุร้ายมากมายแล้ว ยังมีไข้ป่า และภูลังกาถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีภูมิเจ้าที่เจ้าป่าเจ้าเขาคุ้มครองดูแลอยู่ด้วย ใครทำเล่น ๆ ไม่พากเพียรเร่งภาวนามักจะประสบสิ่งที่ไม่น่าพอใจมาปรากฏให้พบเห็นเสมอ ๆ พระสงฆ์พ่อแม่ครูบาอาจารย์สมัยก่อนจึงต้องอุตสาหะฟันฝ่าอุปสรรคอดหลับอดนอน ทุกข์บ้างหิวบ้าง สู้ร้อนทนแดดทนฝนเพื่อให้ได้อรรถธรรมนั้นมา

    หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม เดิมทีองค์ท่านสืบเชื้อสายมาจากฝั่งลาว บิดา มารดาของท่านดำรงชีพเป็นชาวเรือ โดยอาศัยอยู่ในเรือ มีถิ่นฐานอยู่ที่ลำน้ำงึม อพยพเรื่อยมาทางแม่น้ำโขง และมาตั้งรกรากใช้ชีวิตดำรงชีพอยู่ที่สายน้ำลำน้ำสงคราม จ.นครพนม องค์ท่านเมื่ออายุได้ ๑๐ ขวบ มารดาได้พาไปบรรพชาเป็นสามเณร จากนั้นท่านได้ติดตามหลวงปู่พุฒ ธุดงค์กรรมฐานไปที่ฝั่งลาว เมืองหลวงพระบาง ปฏิบัติธรรมอยู่กับธรรมชาติใช้ชีวิตอยู่ตามชายป่า จนกระทั้งเป็นไข้มาเลเลียก็มี

    %B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-768x1024.jpg
    ท่านเจ้าคุณพระจันโทปมาจารย์ ( คำพันธ์ จันทูปโม )
    ธุดงค์สู่ประเทศลาว
    เมื่อออกพรรษาในปีนั้นพระอาจารย์พุฒจะไปธุดงค์ทางประเทศลาว เพราะท่านเคยไปธุดงค์แถวเมืองท่าแขก เวียงจันทน์ขึ้นไปถึง หลวงพระบางอยู่เสมอ ท่านจึงสั่งให้โยมชาวบ้านพากันฟันไม้เสาศาลา การเปรียญคอย แล้วท่านจะกลับมาปลูกศาลาต่อไป โยมแม่จึงขอให้สามเณรคำพันธ์ไปด้วย เพื่อจะให้ไปเยี่ยมญาติทางพ่อทางแม่ที่บ้านปากซี เมืองหลวงพระบาง ดังนั้นท่านจึงพากันออกจากวัดแพงศรีไปด้วยกัน ถึงที่บ้านหมูม่นอันเป็นบ้านโยมพ่อโยมแม่ของพระอาจารย์พุฒพัก ๑ คืน ตื่นขึ้นจึงเดินทางไปบ้านนาดี ขึ้นภูลังกาข้ามไปบ้านแพงพักวัดสิงห์ทอง ๑ คืน แล้วข้ามน้ำโขงขึ้นไปฝั่งลาวที่พระบาทโพนแพง พักอยู่นั่น ๔ คืนแล้วนั่งรถโดยสารสองแถว ซึ่งมีน้อยที่สุด เพราะบางวันก็ไม่มี ถ้ามีก็มี ๒ คัน ๓ คันเท่านั้น จากวัดพระบาทโพนแพงไปเมืองเวียงจันทน์เจ้าของรถเห็นหนังสือสุทธิจึงไม่เก็บค่าโดยสาร พักที่วัดอูบมุง ในเวียงจันทน์นั้น ๒ คืน แล้วนั่งรถโดยสารไปเมืองหลวงพระบาง เมื่อไปถึงเมืองซองจึงลงรถที่นั่น จากนั้นท่านก็พาไปธุดงค์ตามหมู่บ้านต่างๆ ที่พระอาจารย์พุฒเคยไปมา จากหมู่บ้านหนึ่งไปสู่อีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยมากก็เป็นหมู่บ้านไม่ใหญ่ที่เป็นอยู่อย่างธรรมชาติ


    โดนไข้มาลาเรียเล่นงาน
    ประมาณ ๒ เดือนต่อมาได้เป็นไข้มาลาเรีย คือไข้ป่าหรือไข้จับสั่น บางวันก็ไข้บางวันก็หาย จนร่างกายทรุดโทรม วันหนึ่งไข้หนักและไข้นาน พระเณรก็ไม่รู้ จะทำอย่างไร เพราะไม่มียา จึงเอาขี้ผึ้งใส่น้ำมาให้ฉัน เมื่อฉันแล้วก็ไม่ได้ผลอะไร เพราะไม่ใช่ยาแก้ไข้ป่า ต่อมาพระอาจารย์พุฒจึงพาไปเมืองซองฝากไว้กับพระในวัดนั้น (ชื่อว่าวัดอะไรจำไม่ได้) ฝากกับโยมผู้มีหลักฐานดีผู้หนึ่ง แล้วพระอาจารย์พุฒก็ออกเที่ยวไปที่หลายแห่งแล้วกลับมาเยี่ยมคราวหนึ่ง เห็นว่าเป็นไข้ไม่มียากิน จึงตกลงกันว่าการไปบ้านปากซีเมืองหลวงพระบางนั้นควรงดไว้ก่อน จึงนำกลับไปเมืองเวียงจันทน์ทั้งๆ ที่เป็นไข้อยู่ นั่งรถตามถนนลูกรัง รถโดยสารเป็นรถแบบโบราณ คือตัวเรือนรถทำด้วยไม้ ที่พิงหลังก็ทำด้วยไม้ ที่นั่งก็ทำด้วยไม้ เมื่อขับมาประมาณ ๑ ชั่วโมง ได้อาเจียนออก ไม่มีอาหารในท้องเลย รู้สึกเหนื่อย จนถึงเวียงจันทน์ลงที่วัดอูบมุง ท่านจึงขอฝากกับเจ้าอาวาสวัด อูบมุง ชื่อพระมหาอ่ำ (ท่านเป็นคนบ้านพานพร้าว อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย) ท่านก็รับไว้อยู่ ๒ วัน พระอาจารย์พุฒก็ออกไปจากวัดอูบมุง จากนั้นไม่รู้ว่าท่านไปไหนเลย จึงได้อยู่กับพระมหาอ่ำ

    %B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-697x1024.jpg
    หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม วัดศรีวิชัย (วัยหนุ่ม)
    เมื่อกลับมาประเทศไทย หลวงปู่คำพันธ์ องค์ท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร พระผู้มีอภิญญาญาณศิษย์หลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น (ในสมัยก่อนหลวงปู่มั่น มักใช้ให้หลวงปู่วัง ไปทำลายความเชื่อผิด ๆ เรื่องการถือผี บางครั้งถึงกับรื้อถอนศาลปู่ตาทิ้งเลย) หลวงปู่คำพันธ์ สมัยเมื่อเป็นสามเณร ได้ติดตามขึ้นไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่ ถ้ำชัยมงคล บนภูลังกา จ.นครพนม ซึ่งศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับองค์ท่าน ได้แก่ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม และหลวงปู่โง่น โสรโย

    B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3-789x1024.jpg
    หลวงปู่วัง ฐิติสาโร วัดถ้ำชัยมงคล ภูลังกา
    %B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2-1024x411.jpg
    ถ้ำชัยมงคล (ถ้ำหลวงปู่วัง) บนภูลังกา
    จำพรรษาบนภูลังกา
    พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโรไปอยู่จำพรรษาที่ถ้ำชัยมงคลซึ่งอยู่หลังภูลังกา ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันคือ อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ) ในปีนั้นมีสามเณร ๓ รูป คืออาตมา สามเณรสุบรรณ ชมพูพื้น สามเณรใส ทิธรรมมา รวมเป็น ๔ รูปกับท่านอาจารย์วัง ถ้ำนี้อยู่บนหลังเขาภูลังกาทางทิศตะวันตก ถ้าลงไปบิณฑบาตจากบ้านโนนหนามแท่ง บ้านโพธิ์หมากแข้ง ต้องเดินตามทางคนผ่านดง ภูลังกา ไปประมาณ ๖ กิโลเมตร จึงจะถึงหมู่บ้าน ทดลองไปบิณฑบาตแล้วไกลเกินไป จึงนำเอาอาหารแห้งไปไว้ที่ถ้ำให้โยมและเณรทำถวายท่าน

    B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2.jpg
    เจดีย์ บรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล บนหลังภูลังกา ปัจจุบัน
    B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg
    ทางขึ้นถ้ำนาคา ภูลังกา ณ วัดถ้ำชัยมงคล
    อุบายปราบความง่วง
    ในการไปอยู่ภูลังกาท่านก็สอนให้ทำความเพียรด้านจิตใจเดินจงกรม นั่งสมาธิตามที่ท่านได้บำเพ็ญมาอย่างโชกโชน แต่เราผู้ปฏิบัติ ก็ไม่ได้สมใจนึกเท่าที่ควร นั่งสมาธิก็มีแต่โงกง่วงสัปหงกอยู่เรื่อย จึงคิดจะหาทางปราบไม่ให้โงกง่วง วันหนึ่งจึงขึ้นไปบนหลังถ้ำ ซึ่งมีลานหินกว้างยาวพอเดินจงกรมได้สะดวก หรือจะนั่งสมาธิตามที่แจ้งหรือร่มไม้ก็สะดวกดี เลือกเอาที่ใกล้หน้าผาชันสูงมากห่างหน้าผาประมาณ ๒ วา มีที่นั่งเหมาะอยู่ จึงตกลงไปนั่งที่นั่น ถ้าสัปหงกไปทางหน้าก็คงจะเลื่อนไหลตกหน้าผาได้ จึงนั่งลงที่ตรงนั้นแล้วบอกตัวเองว่า นี่หน้าผาชันอันตราย ถ้าเจ้าจะนั่งโงกง่วงอยู่ แล้วชะโงกไปข้างหน้าก็มีหวังตกหน้าผา คงไม่มีชีวิตเหลืออยู่แล้ว หลังจากเดินจงกรมแล้วก็เข้าไปนั่งที่หมายไว้ ได้นั่งไปนานเกือบชั่วโมง สติก็ประคองใจให้อยู่ตามอารมณ์ที่ต้องการอยู่ได้ เพราะกลัวตาย ต่อจากนั้นร่างกายคงเดินจงกรมมานาน และนั่งร่วมชั่วโมงแล้วสติเผลอนิดเดียวเกิดง่วงสัปหงกจนได้ แต่สัปหงกคราวนี้แทนที่จะโยกคว่ำไปทางหน้ากลับสัปหงกหงายหลังเกือบล้ม ตกใจตื่นจากง่วงจึงคิดว่าเกือบตาย ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องตายแท้ๆ มันยังง่วงอยู่ได้ จึงเลิกนั่งเลยวันนั้น แต่เป็นการเรียนรู้ที่ได้ผลดีมากเพราะไม่ง่วงอีกเลย ถ้ายังง่วงอีกจะพาไปนั่งที่นั่นอีก เข็ดหลาบได้ผลดี แต่ความเพียรก็ไม่ลดละ แต้ก็ล้มลุกคลุกคลานไม่สงบตามที่ต้องการ

    มาตุคามมาเยือน
    ในระยะนั้นอยู่ถ้ำชัยมงคลกับท่านทั้ง ๓ เณร เณรนั้นอายุ ๑๘-๑๙ ปี กิเลสต่างมาวุ่นวายทำให้จิตใจปั่นป่วน จะอยู่จะไปเท่ากัน วันหนึ่งท่านอาจารย์ได้ถามว่าเณรใดจะสึกจะอยู่ เรากราบเรียนท่านว่ายังบอกไม่ถูกว่าจะอยู่หรือจะสึก เราพูดเพราะหลงความงามนั่นแหละ เรื่องสวยเรื่องงามนี้ แม้ว่าในใจเราจะเฉย แต่ก็แปลกกับความงามน่ารักของเพศตรงข้าม

    มีคราวหนึ่งตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี ขณะอยู่วัดอูบมุง เมืองเวียงจันทน์ จะลงไปอาบน้ำโขงกับเพื่อนเณร ๔ รูป ทางนั้นต้องผ่านบ้านของชาวบ้านหลายหลัง เมื่อเดินไปถึงกลางบ้าน นางสาวบุญเรือง เอาแขนสองข้างอ้อมเป็นวงรอบตัวเรา เพราะเกิดนึกสนุกอย่างไรไมทราบแถมบอกว่า อย่าไหวนะ ถ้าไม่เช่นนั้นจะกอดเลย เราก็หดตัวอยู่ในอ้อมแขนของเขา ไม่รู้จะทำอย่างไร เรื่องรักเรื่องใคร่ไม่มีในขณะนั้น แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร อ้อมอยู่นานประมาณ ๔ นาที จึงปล่อยเราไปแปลกมาก

    อีกคราวหนึ่ง ได้ไปร่วมเจริญพระพุทธมนต์ที่บ้าน เมื่อเสร็จงานจะกลับวัด เดินมาทางกลางบ้านของงาน มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งแกมีลูกสาว จึงพูดขึ้นท่ามกลางคนทั้งหลายนั้นว่า เณรน้อยจะหมายไว้เป็นลูกเขยจงจำไว้ ไม่รู้ทำไมโยมนั้นจึงกล้าพูดคำเช่นนั้นในกลางชุมชน เพราะแกเกิดความรักความคิดอย่างไรจึงพูดเช่นนั้น เราก็เก้อเขินอายในใจด้วย

    ส่วนอีก ๒ เณร บอกท่านอาจารย์ว่าจะอยู่ ต่อมาก็พากันสึกทั้งสองรูป เราผู้ไม่ได้บอกท่านกลับอยู่ได้ นี้ไม่แน่นอนเหมือนกัน

    จากสามเณรสู่ภิกษุหนุ่ม
    ถึง พ.ศ. ๒๔๙๑ อายุได้ ๒๐ ปี ท่านอาจารย์ได้ส่งเราไปทางเรือกลไฟ จากบ้านแพงไปนครพนม เป็นคู่กันกับเณรวันดี แสงโพธิ์ ไปบวชพระที่ วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม ในเดือนมกราคม ท่านพระอาจารย์ที่วัดบอกว่า ผู้เกิดเดือนพฤษภาคมบวชได้ ส่วนผู้เกิดเดือนพฤศจิกายนนั้นใกล้จะเข้าพรรษาจึงมาบวชได้ ดังนั้นจึงบวชได้เฉพาะสามเณรวันดี ส่วนอาตมาเห็นว่าเมื่อกลับไปแล้วจะกลับมาลำบาก เพราะเป็นฤดูฝน จึงไม่ได้ไปตามที่ท่านแนะ รอจนออกพรรษาแล้วจึงลงจากถ้ำชัยมงคล เดินทางไปวัดศรีเทพประดิษฐารามเพื่อไปสอบนักธรรมเอกด้วย จึงอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๑ เวลา ๑๓.๕๐ น. โดยมีท่านเจ้าคุณพระสารภาณมุนี (จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ สุดท้ายท่านมีสมณศักดิ์เป็น พระเทพสิทธาจารย์ ท่านพระครูวิจิตรวินัยการ (พรหมา โชติโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ภายหลังท่านมีสมณศักดิ์เป็น พระราชสุทธาจารย์ และปรากฏว่าสอบนักธรรมเอกได้ในปีนั้นนั่นเอง


    กลับมาอยู่วัดศรีวิชัย
    พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านพระอาจารย์วัง ได้สั่งให้ไปอยู่วัดศรีวิชัย เพราะปีนั้นวัดว่างจากพระ ไม่มีพระมาจำพรรษา ท่านเป็นห่วงวัดและญาติโยม เพราะท่านเป็นผู้ริเริ่มสร้างเป็นวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านจึงให้อาตมาพร้อมด้วย พระวันดี อโสโก พระดอน ขันติโก สามเณรและเด็กวัดให้ลงไปอยู่วัด ซึ่งปีนั้นอาตมามีพรรษาได้ ๓ พรรษา เมื่อไปอยู่วัดแล้วร่วมจำพรรษาด้วยกันทั้งหมด ในกลางพรรษานั้น ท่านหลวงปู่เกิ่ง อธิมุตฺตโก ได้ขอให้สอนนักธรรมตรีที่วัดโพธิ์ชัย เมื่อมาอยู่ที่วัดศรีวิชัยแล้ว ก็ไม่ได้ไปจำพรรษาที่อื่นเลย ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

    B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg
    ถ้ำชัยมงคล ภูลังกา
    %B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2-771x1024.jpg
    พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เทพเจ้าแห่งภูลังกา
    หาอุบายแก้ความกลัวผี
    ในการบำเพ็ญจิตภาวนานั้นก็ไม่ลดละ คงบำเพ็ญมาตลอดตามแนวทางที่ครูบาอาจารย์ได้แนะนำสั่งสอนมาได้รับความสงบบ้างในบางวัน วันหนึ่งเวลาประมาณ ๕ ทุ่ม หลังจากเดินจงกรมแล้วจะไปเยี่ยมที่เผาศพซึ่งกำลังเผาศพอยู่ เพื่อจะให้จิตสงบหายกลัวผี ซึ่งมีอยู่มากตามปกติ เมื่อเดินไปใกล้จะถึงที่เผาศพอยู่ประมาณ ๑๐ เมตร มีความกลัวมาก กลัวจนสุดขีด ขาแข็งก้าวเท้าเดินไม่ออก ได้ยืนกับที่ยืนนิ่งอยู่นาน จึงคิดว่ากลัวทำไม เราได้ขอฝากตัวถวายชีวิตต่อพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ในสามแดนโลกธาตุนี้ ไม่มีใครจะเหนือพระองค์ไปได้ แม้แต่พระอินทร์ พระพรหม เทวดา ผีสางนางไม้ มนุษย์ยอมกราบไหว้ทั้งหมด เอ้าตายเป็นตาย จากนั้นก็ยืนนิ่งไปเลยนานเท่าไรไม่ได้กำหนด เมื่อถอนจากความสงบแล้ว จิตเบิกบานหายจากกลัวผีเป็นปลิดทิ้งเลย แล้วจึงเดินต่อไปหาศพ พิจารณาถึงการตายของเราแล้วว่าจะต้องเป็นเช่นนี้ ในวันหนึ่งแน่นอน ได้ธรรมะมากพอสมควรแล้วจึงเดินกลับกุฏิ

    พัฒนาวัดศรีวิชัย
    ในกาลต่อมาเมื่อมีพระเณรมาจำพรรษาอยู่ด้วยมากขึ้น จึงซ่อมหลังคาศาลาโรงธรรมขึ้น เพราะปลวกกัดหลังคาเสียหาย ก็พาโยมจัดซ่อมขึ้น พร้อมทั้งกุฏิก็ชำรุดและกุฏิไม่พอ จึงให้โยมชาวบ้านช่วยกันจัดซ่อมและสร้างใหม่ขึ้น ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้สร้างศาลาถาวรขึ้นใหม่ ก่อด้วยอิฐต่อด้วยเสาไม้ทรงไทย กว้าง ๑๑.๑๕ เมตร ยาว ๑๘.๕๐ เมตร มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ ซื้อแบบพิมพ์มาทดลองเอง ซื้อทั้งหมด ๔๗,๖๕๐ บาท ทำอยู่ ๒ ปีเศษจึงสำเร็จ และได้ฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙

    สู่ถ้ำชัยมงคลพิสูจน์ข่าวลือเรื่องผี
    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๙ นั้นได้มีเสียงเล่าลือว่า ที่ถ้ำชัยมงคลมีผีเฝ้าถ้ำอยู่โดยเข้าใจว่าคงเป็นพระอาจารย์วัง และพระวันดีผู้เป็นลูกศิษย์ ซึ่งได้มรณภาพที่นั่น นี่เป็นคำบอกเล่าของพระอาจารย์กุล อภิชาโต บ้านโพธิ์หมากแข้ง ซึ่งเป็นพระวัดบ้าน และเป็นผู้ที่เคารพรักใคร่ของพระอาจารย์วัง อยู่มาก จึงบอกให้เราทราบ ได้ปรึกษากันว่าคำเล่าลืออย่างนี้ไม่ดีแน่ จึงตกลงกันไปกับท่าน เมื่อไปถึงบ้านโพธิ์หมากแข้งแล้วพักหนึ่งคืน วันต่อมาได้ชักชวนญาติโยมประมาณ ๑๕ คนขึ้นไปสู้ถ้ำชัยมงคล ได้ค้างคืนอยู่นั่น ๓ คืน แต่ละวันแต่ละคืนได้พากันทำวัตรสวดมนต์ แล้วทำบุญอุทิศไปให้ ครูบาอาจารย์ เทวดาอารักษ์ สรรพสัตว์ด้วย แล้วนั่งภาวนาพอสมควร แล้วหยุดพัก อธิษฐานว่า ถ้ามีอะไรเป็นจริงตามคำเล่าลือก็ขอให้มีมาปรากฏทางใดทางหนึ่งให้ทราบ แต่แล้วทั้ง ๓ คืน ก็ไม่มีอะไรมาปรากฏให้รู้ จึงมีความเห็นว่า เป็นเพราะถ้ำไม่มีพระอยู่เป็นประจำ ผู้ไปอาศัยก็ว้าเหว่เปล่าเปลี่ยว จึงสร้างความคิดขึ้นหลอกตัวเองไปต่าง ๆ นานา
    หลวงปู่คำพันธ์ ท่านเป็นพระผูมีความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ของท่านจึงได้ปรารภสร้างพระอุโบสถ ๒ ชั้น เพื่อบรรจุพระอัฐิขององค์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร ไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อเป็นการตอบบุญสนองคุณ ดังคำกล่าวที่หลวงปู่คำพันธ์ เคยพูดไว้ว่า

    “เราได้รำลึกถึงอุปการคุณที่พระอาจารย์ ได้มีแก่พวกเรามามากมาย จึงขอสร้างอุโบสถนี้(ในภาพ) เป็นอนุสรณ์ให้ได้ และได้ยกมือขนตั้งสัจจาธิษฐานว่า จะขอสร้างให้เสร็จให้ได้ แม้จะนานกี่ปี หรือสูญสิ้นทุนทรัพย์ไปเท่าไหร่ก็ตาม ก็จะมุ่งมั่นสร้างไปให้เสร็จให้ได้”

    สมณศักดิ์
    พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท ที่ พระครูอดุลธรรมภาณ
    พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
    ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระจันโทปมาจารย์
    การปกครอง
    พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็น เจ้าคณะอำเภอศรีสงคราม บ้านแพง นาทม นาหว้า (ธ)
    พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็น พระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็น เจ้าอาวาสวัดศรีวิชัย
    พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็น ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอศรีสงคราม บ้านแพง นาทม นาหว้า (ธ) ถึงปัจจุบัน

    ด้านการศึกษา
    พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นครูสอนปริยัติธรรมชั้นตรี-โท-เอก-จนถึงปัจจุบัน
    พ.ศ.๒๔๙๔ เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวงจนถึงปัจจุบัน
    พ.ศ.๒๔๙๔ เป็นประธานสอบธรรมสนามหลวงที่สำนักเรียน วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม จนถึงปัจจุบัน

    ด้านการเผยแผ่
    พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๑๐ เป็นพระธรรมฑูต
    พ.ศ.๒๕๐๖ จนถึงปัจจุบัน เป็นพระอาจารย์สอนภาวนาสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ในสำนัก และตามวัดต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตการปกครอง
    ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนทั้งโรงเรียนประถม และมัธยมศึกษาในเขตตำบลสามผง และใกล้เคียงสมัครสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-โท-เอก- ทุกปี แต่ละปีจะมีผู้สมัครสอบเป็นจำนวนมาก

    ด้านสาธารณประโยชน์
    พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นผู้เริ่มโครงการสร้างทำนบห้วยอาประชาน้อมเกล้า และได้ชักชวนชาวบ้านศรีเวินชัย และหมู่บ้านใกล้เคียงร่วมกันบริจาคในการก่อสร้าง จนแล้วเสร็จขนาดของทำนบ ฐานกว้าง ๓๐ เมตร ผิวจราจรกว้าง ๖ เมตร สูง ๙ เมตร ยาว ๖๐๐ เมตร เก็บกักน้ำได้ ระยะทาง ๘ กิโลเมตร ส่งผลให้ ชาวบ้าน ศรีเวินชัย และหมู่บ้านใกล้เคียง ได้รับประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล ทั้งทางด้านการเกษตรโดยมีพื้นที่ในการปลูกข้าวนาปรังจำนวนถึง ๓,๐๐๐ไร่ ของบ้านศรีเวินฃัย และบ้านดอนเตย อำเภอนาทม และการประมง เป็นที่ทำมาหาเลี้ยงชีพของชาวบ้านตลอดทั้งปี

    ได้ก่อสร้างศาสนวัตถุเป็นจำนวนมาก อาทิ อุโบสถ ๒ ชั้น สิมอิสานวัดพระเนาว์ (วัดบ้าน) กุฎีสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ร.ร.พระปริยัติธรรม และเสนาสนะต่าง ๆ อีกมากมาย

    หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม “พระอริยสงฆ์ผู้มีจิตผ่องใสดั่งดวงจันทร์เพ็ญ” ท่านได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ เวลา ๐๗.๐๓ น. ณ กุฏิห้องปลอดเชื้อขององค์ท่าน ภายในวัดศรีวิชัย บ้านศรีเวินชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม สิริรวมอายุได้ ๘๓ ปี ๓ เดือน ๑๗ วัน พรรษา ๖๓

    8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%88.%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1.jpg
    พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม) วัดศรีวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม (หมายเหตุ**********หลวงปู่คำพันธ์องค์นี้จิตบริสุทธิ์มาก เเม้กระั่ทั่งนํ้าปัสสาวะออกมาก็เป็นเเปรเป็นพระธาตุครับ)
    SAM_8848.JPG SAM_8849.JPG SAM_8850.JPG SAM_8844.JPG SAM_8852.JPG
     
  13. ddon7650

    ddon7650 มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฐา มโนมยา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +162
    ขอจองครับ
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ********>เช้านี้ได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 1 ท่านครับ เลขที่จัดส่งems ตามใบฝอยที่ลงครับผม SAM_8853.JPG
     
  15. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 676
    หรียญกลมกษาปณ์รุ่นธรรมอบรมจิต ธรรมรักษาใจหลวงปู่อุดม ญาณรโต พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสถิตย์ธรรมาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง,หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2556 สร้างเนื่องหลวงปู่อุดมมีอายุครบ 88 ปี มาพร้อมตลับเดิม(เหรียญใหม่ไม่เคยใช้) *******************บูชาที่ 245 บาฟรีส่งems *** ชีวประวัติหลวงปู่อุดม ญาณรโต
    วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.หนองคาย
    ชาติภูมิ
    หลวงปู่อุดม ญาณรโต ท่านเกิดในตระกูลชาวนา บิดาและมารดาท่านเป็นชาวนา ที่บ้านดงเฒ่าเก่า ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม อยู่ในสกุล เชื้อขาวพิมพ์ รูปร่างสันทัด สีผิวดำแดง โดยมีโยมบิดาชื่อ นายแว่น เชื้อขาวพิมพ์ และมารดาชื่อนางบับ เชื้อขาวพิมพ์ และมีพี่น้องร่วมสายเลือดทั้งหมด 4 คน รวมหลวงปู่
    ชีวิตในสมัยเด็ก ท่านก็เหมือนเด็กชาวนาทั่วไปบิดามารดาทำนา ท่านก็ไปช่วยทำนา ท่านชอบในเพศบรรพชิตมาก ท่านเห็นพระภิกษุสงฆ์เดินผ่านมาท่านเกิดความเลื่อมใสขึ้นมาเองตั้งแต่วัยเด็ก นี่ก็เนื่องมาจาก โยมบิดามารดาของท่านได้พาปฏิบัติศาสนกิจต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ในพุทธศาสนา เช่น ครูบาอาจารย์ในสมัยท่านพระอาจารย์มั่น บิดามารดาท่านมักพาไปปฏิบัติศาสนกิจมาโดยตลอด เช่น หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน หลวงปู่มหาปิ่น ซึ่งเป็นน้องชายของหลวงปู่สิงห์ เป็นต้น ท่านเล่าต่อว่าโยมบิดาท่านเคยได้บวชเณรอยู่ และสึกออกมามีครอบครัว ส่วนมารดาของท่านก็เข้าวัดทำบุญอยู่เป็นปกตินิสัย จึงทำให้ท่านมีความสนิทสนมและใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอดนั่นเอง
    *****บรรพชา
    เนื่องจากในวัยเด็ก ท่านเห็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว เกิดความปีติเลื่อมใสในสมณะสงฆ์ (มีความสุขเมื่อได้เห็นพระสงฆ์) ท่านคงมีความคิดที่อยากออกบวชอยู่ภายในใจมาโดยตลอด จากนั้นเมื่อท่านเริ่มโตเป็นหนุ่มท่านเคยได้อ่านหนังสือสวดมนต์และปฏิบัติ สมาธิภาวนา ของหลวงปู่สิงห์ ขัตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ซึ่งทำให้ท่านจับจิตจับใจ มีจิตใจเข็มแข็งเด็ดเดี่ยว และมั่นใจในการที่จะได้บวชถือคลองเพศสมณะ ท่านได้ช่วยบิดามารดาทำนา หาปูหาปลาตามประสาชาวโลก ท่านเล่าว่าปูปลาสมัยก่อนหาง่ายมาก ตัวก็ใหญ่โตทั้งนั้น ท่านเคยดำน้ำเพื่อหาปลา น้ำลึกมากๆหลายเมตรอยู่ ทำให้ท่านเลือดไหลออกมาจากหู (หูหนวก) ท่านมีอาการหูหนวกอยู่แรมเดื่อนกว่าจะหายเหมือนเดิม ท่านบอกว่าชีวิตฆราวาสนั้นเป็นทุกข์ ต้องทำบาป สร้างกรรมเวรอยู่โดยตลอด จนในที่สุดเมื่อท่านมีอายุครบ ๒๓ ปี ท่านจึงได้ขอบิดามารดาของท่าน เข้าบรรพชาอุปสมบท ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่มัน ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส มรณะภาพนั่นเอง โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูอรุณสังฆกิจ (มหาเถื่อน อุชุกโร) วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ. วานรนิวาส จ. สกลนคร และพระครูพิพิธธรรมสุนทร (พระคำฟอง เขมจาโร) วัดสำราญนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้ฉายาทางภิกษุว่า ญาณรโต (ซึ่งแปลว่าผู้ทรงไว้ซึ้งญาณ) และในปีนั้นนั่นเอง ท่านได้เดินทางไปร่วมพิธีเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร พร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์ และพระกรรมวาจาจารย์ของท่านทั้งสองด้วย ท่านบอกว่างานศพหลวงปู่มั่นใหญ่โตมาก มีพระกรรมฐานมากมายเต็มไปหมด โดยสมัยก่อนวัดป่าสุทธาวาสยังคงมีสภาพเป็นป่าดงพงไพรอยู่ มีต้นไม้ใหญ่มากมายไม่เหมือนสมัยปัจจุบันที่เต็มไปด้วยหมู่บ้านเต็มไปหมด
    พรรษาที่1-2 (พ.ศ.2492-2493)
    ท่านอยู่กับพระอุปัชฌาย์ ที่วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
    พรรษาที่3-5(พ.ศ.2494-2497)
    ท่านเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆและกลับมา อยู่ที่วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์
    พรรษา ที่7-15(พ.ศ.2498-2506)
    วัดบ้านนาโสก อ.นาแก ต.บ้านแก้ง จ.นครพนม ซึ่งเป็นบ้านญาติของท่านและเป็นบ้านเกิดของท่านเองต่อจากนั้นท่านได้ไปพักอาศัยอยู่กับหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม ตอนนั้นหลวงปู่ลี ท่านอยู่วัดศรีชมพู ต.โคกสี
    อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    พรรษาที่ 20 (พ.ศ.2507-2515)
    ท่านธุดงค์ไปอยู่ทางภาคเหนือบ้าง เช่น สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เลื่อยมา โดยท่านได้ไปพบกับ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปูตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.ลำปาง หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดคีรีสุบรรพต ต.พระบาท จ.ลำปาง โดย
    ช่วงระยะเวลาที่ธุดงค์ในแถบภาคเหนือ ตั้งแต่จังหวัดเพชรบูรณ์นั้น ท่านมีสหธรรมมิกที่ร่วมเดินทางไป
    ด้วยกัน คือ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา และหลังจากที่ท่านไปธุดงค์ที่เชียงใหม่
    กลับมาท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดป่า สถิตย์ธรรมวนาราม ต.ศรีชมภู อ.พรเจริญ จ.หนองคาย จนกาละสมัย
    ปัจจุบันนี้ (นี้เป็นเพียงประวัติย่อๆเท่านั้น)
    ครูบาอาจารย์ที่หลวง ปู่ได้ไปพำนักอาศัย และฟังธรรม
    ครูบาอาจารย์เท่าที่หลวงปู่จำได้และเล่าให้ฟังมานั้น ในอดีตที่ผ่านมาแล้วทั้งหลาย ในบางคราวท่านก็ลืมไปบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ละเอียดมากนัก เท่าที่ท่านพอจะจำได้นั้น มี ดังนี้
    1. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    2. หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    3. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    4. หลวง ปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.เชียงใหม่
    5. หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    5. หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    6. เจ้า คุณแดง วัดป่าประชานิยม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    7. หลวงปู่เอี่ยม วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์
    ******การ เดินธุดงค์
    ท่านเล่าว่าตั้งแต่โยมบิดาของท่านเสีย ชีวิตด้วยโรคชรา ตอนอายุ ได้ 73 ปี ก่อนท่านออกเดินธุดงค์ และมารดาท่านก็เสียชีวิตด้วยโรคชราเช่นกัน เมื่อตอนอายุได้ 79 ปี หลังจากที่ท่านธุดงค์กลับมาจากจ.เชียงใหม่ ท่านเล่าว่าตอนที่ท่านได้ไปพำนักอยู่ เพื่อฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่วัดดอยแม่ปั๋งนั้น ท่านเกิดความประทับใจมาก ท่านเล่าว่าหลวงปู่แหวนท่านเทศแบบง่ายๆ สั้นๆ แต่มีคุณภาพมากๆ คำพูดของท่านลึกซึ้งกว้างขวางมากนัก น่าเลื่อมใสมากๆ ซึ่งในเวลานั้นหลวงปู่ลี วัดเหวลึก ท่านก็ได้ไปร่วมฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน กับท่านด้วย ท่านอยู่ฟังธรรมกัน ประมาณ๒-๓ คืน
    จากนั้นท่านได้เดินทางไปจังหวัดลำปาง และเพชรบูรณ์ โดยเดินเท้าไป บางทีฆราวาสเห็นก็อาสาพาไปส่งเป็นบ้าง ท่านใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 เดือนเศษ โดยท่านเดินทางผ่านจังหวัด สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิถต์ พิจิตร และเพชรบูรณ์ และใช้เวลาเดินทางจากเพชรบูรณ์ไปเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางประมาณอีก 2 เดือน ท่านเล่าว่าตอนเดินทางผ่าน จ.สุโขทัย ได้พบฆราวาสที่กินเจ มักใส่ขนมปัง และน้ำตาลอ้อย โดยบางครั้งเขาจะนำขนมกับข้าวสุกใส่ให้เต็มบาตรเลย ไม่มีกับข้าวคาวเลย ท่านฉันทีแรกๆก็อร่อยดี แต่หลายวันเข้ามันชักไม่อร่อย โดยในตอนนั้นท่านได้เดินเท้าธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์ไพบูรณ์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา ซึ่งท่านทั้งสอง สนิทสนมมักคุ้นกันอยู่

    ******การปฏิบัติธรรม
    โดยปกติหลวงปู่อุดมท่านชอบเดินจงกรม และนั่งสมาธิภาวนาเพื่อปฏิบัติทางจิตของท่านอยู่โดยตลอด ท่านบอกว่าถ้าวันไหนไม่ได้เดินจงกรมแล้วหล่ะก็ เดือดร้อนไม่ได้เลยนะ จิตจะเศร้าหมองทันที สมัยที่ท่านอยู่ที่เชียงใหม่ ท่านปฏิบัติธรรมอยู่นั้น จิตของท่านเกิดความสว่าง มีความสุขมาก จิตตกถึงฐานของจิต เข้าสู่พื้นเดิม ท่านเปรียบเหมือนการสักผ้า ถ้าผ้ามันลาย พื้นเดิมของจิตมันก็ลาย ถ้าผ้ามันดำ จิตพื้นเดิมมันก็ดำ (สำนวนของหลวงปู่อุดม) ท่านบอกว่ามันถึงฐานของมัน มีความสุขมากไม่มีอะไรจะมีความสุขเท่า มันมีความปีติอิ่มอกอิ่มใจมาก ท่านจึงเอาตรงนี้มาเป็นอารมณ์ และค้นหาเข้าไปในจิตต่อจนถึงที่สุดของใจ ท่านเล่าว่ามันมีปัญญามากมายหลายอย่างเกิดขึ้นมา ท่านบอกว่าท่านอดนอน อดอาหารเพื่อทำความเพียรภาวนา อยู่ ๕ วัน ๕ คืน ท่านบอกว่า อดนอนนี่ทุกข์ยิ่งกว่าอดอาหารอีก แต่เพราะว่ามีปีติอยู่ ท่านจึงสามารถทำได้ ภายหลังจาก ๕ วันผ่านไป จิตของท่าน ก็เบาสบายได้กำลังใจ และกำลังกายยังแข็งแรงดีอยู่ เวลาธรรมเกิดขึ้นมา ๑๐๐ % ท่านนั่งสมาธิไปได้จนถึงแจ้งเลย(เช้าเลย) การปฏิบัติของท่านในเวลา ๖ โมงเย็น จนถึง ๕ ทุ่ม ท่านมักจะเดินจงกรม และในเวลา ๕ ทุ่มขึ้นไป ท่านจะนั่งสมาธิภาวนาไปเรื่อยจนบางทีถึงสว่างก็มี ในคราวที่ใจของท่านรวมลงจนถึงสภาวะเดิมของจิต ท่านเล่าว่ามีความสุขมากๆ ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นนั้น เหมือนกับอยู่ตรงหน้า สามารถยื่นมือแทบจะจับได้ต่อหน้านี้เลยทีเดียว จิตมันไม่ท้อไม่ถอย กระจ่างหมดทุกอย่าง มันหาใจ แก้ใจตัวเองได้หมดทุกอย่าง ในเวลาฟังธรรมพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพียงนิดหน๋อยเท่านั้นจิตท่านก็สว่างโพรงเลย ท่านบอกว่าจิตท่านเห็นธรรมที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นท่านพำนักอาศัยอยู่กับ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโมนั่นเอง ท่านยังเล่าต่ออีกว่า หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านจะเป็นพระที่เทศตรงไปตรงมามาก จนในบางครั้งดูแล้วอาจจะไม่ไพเราะ แต่ท่านก็บอกว่า ผู้มีปัญญาก็ต้องเลือกฟังให้ถูกกับจิตของตนเอง อันไหนดีก็นำมาปฏิบัติให้ถูกกับจิตของตน ในยามที่ท่านเข้าไปนวดแขน นวดขาให้กับหลวงปู่ตื้อนั้น หลวงปู่ตื้อท่านจะเทศให้หลวงปู่อุดมฟัง หลวงปู่อุดมท่านเล่าว่าจับจิตจับใจมาก เลยทีเดียว ทำให้เกิดความเลื่อมใสในองค์ของหลวงปู่ตื้อมากมายยิ่งขึ้นเลยทีเดียว องค์หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านขุดดิน ฟันต้นไม้ ต้นกล้วยได้ ซึ่งจริงๆแล้ว สำหรับพระต้องปรับเป็นอาบัติ ส่วนองค์หลวงปู่ตื้อนั้นท่านคงอยู่เหนือสมมุติไปแล้ว เพราะในคราหนึ่งหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ท่านห้ามหลวงปู่ตื้อไม่ให้ทำเช่นนี้ แต่หลวงปู่ตื้อกลับหันมากล่าวกับหลวงปู่แหวนว่า ไม่ต้องมาสอนหรอกน่า เราพ้นแล้ว(จิตท่านหลุดพ้นไปแล้วนั่นเอง) sam_7277-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7278-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_3981-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2151-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2152-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2154-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_2153-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 677
    เหรียญเสมารุ่นสุดท้ายรูปพระอาจารย์(หลวงปู่ผาง)เเละลูกศิษย์หลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าประไพศรีวนาราม อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม หลวงปู่ประไพเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร ,หลวงปู่ผาง วัดป่าอุดมคงคาคีรีเขต เหรียญสร้างปี 2555 เนื้อตะกั่วสร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 87 ปี มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ***********บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งems
    untitled-1-54-jpg-jpg.jpg

    ท่านเป็นศิษย์สายธรรมพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร นอกจากนี้ ท่านยังเป็นลูกศิษย์เอกหลวงปู่ผาง คุตตจิตโต พระเกจิชื่อดังแห่งวัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
    ชาติภูมิ นามเดิมมีชื่อว่า นายประไพ ไชยพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2468 ณ บ้านขามเตี้ยน้อย อ.ท่าอุเทน (ปัจจุบัน อ.โพนสวรรค์) มีบิดา-มารดาชื่อนายไสย ไชยพันธุ์ อดีตกำนัน ต.นาขมิ้นและนางสั้น แผ่นพรหม มีพี่น้อง 7 คน ซึ่งท่านเป็นบุตรคนที่ 2 จบชั้นประถมปีที่ 2 จากโรงเรียนในหมู่บ้าน มีอาชีพทำนาทำสวน
    หลวงปู่ประไพเข้าสู่ร่มกาวสาวภัสตร์ เมื่อปีพ.ศ.2492 ในวัย 24 ปี ก่อนจะญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2495 ท่านเดินธุดงค์ที่ จ.ขอนแก่น นาน 3 ปี ก่อนฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ผาง และออกเดินธุดงค์ไปเรื่อย กระทั่งสังขารย่างเข้าสู่วัยชรา จึงมาจำพรรษาที่วัดศรีประไพวนารามบ้านเกิด

    ท่านเป็นพระป่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยจริยาวัตรที่งดงาม เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่สาธุชนทั่วไป จนมีลูกศิษย์ลูกหาที่แวะเวียนไปกราบไหว้ไม่เว้นวัน ช่วงที่ท่านอาพาธท่านงดรับกิจนิมนต์ ขณะที่ท่านอาพาธอยู่ที่วัดที่จำพรรษานานกว่า 2 ปี ท่านไม่เคยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแต่อย่างใด กระทั่งละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบที่กุฏิ สิริอายุ 92 ปี 64 พรรษา (*****ปัจจุบันสรีระสังขารหลวงปู่ยังไม่ฌาปนกิจ องค์หลวงปู่ได้สั่งลูกศิษย์ให้เก็บร่างบรรจุไว้ในโลงเเก้ว ใต้ห้องใต้ดินพิพิธภัณฑ์ ของหลวงปู่) sam_7760-jpg-jpg.jpg sam_7761-jpg-jpg.jpg sam_7762-jpg-jpg.jpg sam_8221-jpg.jpg

     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการี่ 678
    เหรียญหลวงปู่ลือ สุขปัญโญ พระอรหันต์เจ้าวัดป่านาทาม อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร หลวงปู่ลือเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคกลาง เหรียญสร้างปี 2537 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล มาพร้อมพระเกศาเเละผงอังคารธาตุที่เเปรเป็นพระธาตุเเล้วมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *************บูชาที่ 345 บาทฟรีส่งems sam_8478-jpg.jpg sam_8479-jpg.jpg sam_8155-jpg.jpg sam_8123-jpg.jpg sam_7839-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  18. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    *******พระอังคารธาตุของหลวงปู่ลือ ผมยังพอมีเหลืออยู่ 3 ผอบครับ ถ่ายรูปให้ดูเผื่อว่า.มีเพื่อนสมาชิกว่ามีจริงรึป่าว ,เเละพระเกศาของหลวงปู่ไม อินทสิริ ก็พอยังเหลือพอสมควรครับ SAM_8854.JPG SAM_8855.JPG SAM_8856.JPG SAM_8857.JPG SAM_8858.JPG SAM_8859.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2021
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    เเต่ก่อนผมเองไม่รู้จักเวปพลังจิตหรอกครับ บ้าเเต่ไปกราบพระอรหันต์อย่างเดียว จนผมมารู้กับเพื่อนรุ่นพี่ที่เป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยเทคโนที่ขอนเเก่น สาเหตุเพราะว่าผมไปขายหนังสือเรียนระดับอาชีวะ เพื่อนรุ่นพี่คนนี้เขาศรัทธาสายหลวงปู่ดู่ วัดสะเเก,เเละสายหลวงพ่อฤาษีลีงดำ วัดท่าซุง เเละสายหลวงปู่เทพโลกอุดร ท่านอาจารย์ท่านได้เเนะนำให้ผมได้รู้จัก กับพระอาจารย์สมบูรณ์ (พระอาจารย์สมบูรณ์ท่านนี้ท่านชอบสร้างพระสายหลวงพ่อฤาษีลีงดำ เช่นสมเด็จพระองค์ปฐม เป็นต้น ) พะพระอาจารย์สมบูรณ์ท่านนี้ท่านจะสร้างพระเเละไปสมทบทุนร่วมทำบุญกับหลวงพ่อหนุน วัดป่าพุธโมกศ์ ที่เป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ บางครั้งอาจารย์สมบูรณ์จะสร้างพระขรรค์บ้าง,หรือสร้างดาบฟ้าฟี้นบ้างเป็นต้น (ท่านจะลงในกระทู้ำบุญ) พอพระอาจารย์ท่านรู้ว่าผมมีของดีสายหลวงปู่มั่นเยอะ เพราะเพื่อนรุ่นพี่เล่าให้ฟัง ท่านก็เลยติดต่อผม ว่าจะสร้างล็อกเก็ตรูปเหมือนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เลยมาขอพระเกศาสายหลวงปู่มั่น ผมก็ได้นำไปมอบให้กับลูกศิษย์ของพระอาจารย์สมบูรณ์ ที่จังหวัดลำปาง ขื่อคุณวุฒิพงษ์ คุณวุฒิพงษ์เลยคุ้นเคยกันกับผมเลย เพราะเวลาผมไปเยี่ยมครอบครัวที่เชียงใหม่ เพราะอาจารย์สมบูรณ์ก็จะวานผมนำวัตถุที่สร้างเเละปลุกเสกเเล้วนำไปให้คุณ วุฒิพงษ์ที่ลำปางทุกครั้ง ทำให้ผมได้ทราบเเละรู้จักเวปพลังจิต มีวันหนึ่งผมได้นอน ที่ห้องพระเเล้วเงยหน้าขึ้นไปที่หิ้งพระ เเล้วคิดกับตัวเองว่า เรามีของดีเยอะเเละเอาไว้กราบคนเดียวบุญคงจะมีน้อยเเค่คนเดียว เเต่ถ้าเรานำไปมอบคนอื่นทั่วไปที่มีบุญสัมพันธ์กันได้บูชาเป็นมงคลบ้าง เราคงจะมีบุญมากกว่าเอาไว้กราบคนเดียวเเน่นอน ก็เลยมีโครงการนี้ขึ้นมาครับ (อันนี้อยู่ี่เเล้วเเต่คนจะมองนะครับ ) พระอรหันต์บางองค์ผมไม่มีของมงคลของท่านก็มีเช่น หลวงปู่ดูล อตุโล วัดบูรพาราม,หลวงปูสาม อกิญโณ วัดป่าไตรวิเวก,หลวงปู่ สุวัจจ์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์ เป็นต้น ทั้งๆที่ไปสุรินทร์จะไปกราบท่านทุกครั้ง(เราคงไม่มีบุญสัมพันธ์กับท่าน) พระอรหันต์ที่เป็นศิษย์ลูกศิษย์หลานสายหลวงปู่มั่นท่านยังมีอีกเยอะที่สำเร๊จเเล้วยังอยู่เงียบอีกมากครับ ถ้าเดินทางสะดวกเเละผมร่างกายเเข็งเเรงดี ผมสัญญาว่าจะไปขอของวิเศษของพระอรหันต์ที่ยังไม่เปิดตัวเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป มาให้เพื่อนสมาชิกได้บูชาร่วมกันครับ( อนึ่ง>>>>>> เเต่ก่อนผมไปกราบเอาบุญอย่างเดียวคนเดียวเเลยไม่ได้ถ่ายรูปภาพไว้ครับ เพราะไม่เคยคิดว่าจะมารู้จักเวปพลังจิตครับผม จึงเเจ้งเรียนมาเพื่อทราบ ขอขอบคุณครับผม>>>>>>>>หมายเหตุ.......เพื่อนๆสมาชิกที่ได้ของมงคลไปเช่นเกศาหรืออัฐิธาตุของหลวงปู่หลวงตาต่างๆไปบูชาเเล้วอย่าไปปรามาสดูถูกให้เก็บไว้บูชาในที่อันควร หลวงปู่บางองค์ก็เป็นเกศาสีดำบ้าง,หรือหลวงปู่บางองค์สีขาวบ้าง เพราะบางทีมันขึ้นอยู่ฮอโมนต์ธาตุขันต์ของเเต่ละองค์ท่าน หรือว่าผมได้มาสมัยี่องค์ท่านยังหนุ่มไม่เเก่มากก็เป็นได้ เช่นหลวงปู่ไม อินทสิริ องค์ท่านหัวหงอกขาวตั้งเเต่อายุยังไม่ถึงห้าสิบปีเลยครับ อย่างหลวงปู่เนย สมจิตโต วัดป่าโนนนเเสงคำ อายุ 70 กว่า ผมหรือเกศาของท่านก็ดำเหมือนคนหนุ่มสาวยิ่งหลวงปู่เเฟ็บ สุภัทโท อายุ 88 ปี ผมหรือเกศาของท่านก็ดำไม่หงอกเหมือนคนอายุ 80 ปีขึ้นเลยครับ เพราะฉนั้นให้เพื่อนสมาชิกเก็บไว้บูชาให้ดีเเละอยูในที่เหมาะที่ควร อย่าไปปรามาสหรือดูถูกครับ ผมเองมีน้องเพื่อนสมาชิกที่บูชาไปเเล้ว ปรากฏว่ามีพระธาตเสด็จเข้าไปอยู่ในผอบหลายหลวงปู่เเล้ว(ทำให้ผมมีพยานเเล้วว่าเป็นของจริง) เข่น เกศาหลวงปู่เเว่น ธนปาโล วัดถํ้าพระสบาย จ.ลำปาง,หลวงปู่จันทร์ศรี วัดโพธิ์สมภรณ์ ล่าสุดส่งเกศาหลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดสุคีรีบรรพต พอน้องสมาชิกเขาได้รับวัตถุมงคลเเล้ว เเกะตลับออกดูปรากฏว่า มีพระธาตุดุจดังเพชร เสด็จมาอยู่ในผอบเองเลย เพราะฉนั้นให้เพื่อนสมาชิกดูให้ละเอียดในตลับที่ให้เกศาไป เพราะเเต่ละเส้นบางขาวใสมองด้วยตาเปล่าเเทบมองไม่เห็น ต้องใช้กล้องส่องพระดูด้วยให้ละเอียด บนฝาที่ปิดตลับด้วยครับ ทุกเส้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2021
  20. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +916
    จองปรกมะขามและเหรียญลป.ลือและรายการ675 669
     

แชร์หน้านี้

Loading...