จะสิ้นทุกข์ต้องสิ้นยึดอะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 6 มีนาคม 2021.

  1. Enzo Zen

    Enzo Zen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2021
    โพสต์:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +675
    ไม่พูดแระพี่เหว พูดมาหลายวัน บั่กปอบก่อหวอดขึ้นมาเลยมาตอบ ก้อลองๆ ฝึกไปดู แต่มีจิตตัดกระแสอารมณ์ออก กระแสอารมณ์คืออุปทานความยึด จิตตัดออกเอง เร็วขณะจิตเดียว เกิดตอนใช้ชีวิตประจำวันเนี่ยะแหล่ะ นึกอะไรยังไม่ทันเลย

    นอนแระ บะบาย
     
  2. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    ลองฟังซ้ำแล้วใช้โหมด สโลโมชั่น แบบละเอียด ความหมายที่ได้ อาจจะคนละความหมายกับพระท่านนะ สโลโมชั่น คือ ปรับกระแสให้เป็นปกติ จะเห็นว่า มันเป็นดังนั้น แต่ห้ามคิดหรือกะเกณฑ์ไว้ล่วงหน้า
     
  3. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    สงสัยไหมทำไมหลวงพ่อใช้คำว่า จิตคิด ทั้งๆที่ จิตไม่ได้คิด
     
  4. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869


    ความแยบคายทุกๆการเกิดดับของผัสสะ
    และเหตุปัจจัยที่เกิดดับที่เกี่ยวข้องกับผัสสะ
    เป็นอริยมรรคครับ


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    [​IMG]
    ๙. นิพเพธิกสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิด
    แห่งกามทั้งหลาย ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นไฉน คือกามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง
    กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง
    กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่าความต่างกันแห่งกาม วิบากแห่งกาม
    เป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆ
    ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกาม ความดับ
    แห่งกามเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกามเพราะผัสสะดับ อริยมรรคอันประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา-
    *กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้
    ถึงความดับแห่งกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกาม
    เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทา
    ให้ถึงความดับแห่งกาม อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
    อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งกาม ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม ฯลฯ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม ดังนี้
    นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

    ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา ฯลฯ
    ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เวทนา ๓ ประการนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็เหตุเกิด
    แห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา ก็ความต่างกันแห่งเวทนา
    เป็นไฉน คือ สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่
    ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุข-
    *เวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ นี้เรียกว่า
    ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่
    ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากเวทนานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วน
    มิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งเวทนา ก็ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ความ
    ดับแห่งเวทนาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วย
    องค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึง
    ความดับแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดเวทนา
    เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่ง
    เวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อม
    ทราบชัด พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับเวทนานี้
    ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาที่
    ให้ถึงความดับเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

    ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย สัญญา ๖ ประการนี้ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา
    รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ
    ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา ก็ความต่างแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ สัญญาในรูป
    เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง
    สัญญาในรสเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาใน
    ธรรมารมณ์เป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่าความต่างแห่งสัญญา ก็วิบากแห่งสัญญา
    เป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าวสัญญาว่ามีคำพูดเป็นผล (เพราะว่า) บุคคลย่อมรู้สึก
    โดยประการใดๆ ก็ย่อมพูดโดยประการนั้นๆ ว่า เราเป็นผู้มีความรู้สึกอย่างนั้น
    นี้เรียกว่าวิบากแห่งสัญญา ก็ความดับแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ ความดับแห่งสัญญา
    ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
    แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา
    ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึง
    ความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อัน
    เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ
    ทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัย
    ข้อนี้กล่าว ฯ

    ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อาสวะ ๓ ประการ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ก็เหตุเกิดแห่งอาสวะ
    เป็นไฉน คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดอาสวะ ก็ความต่างแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ
    อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่กำเนิดสัตวดิรัจฉานก็มี ที่เป็น
    เหตุให้ไปสู่เปรตวิสัยก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษย์โลกก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่
    เทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งอาสวะ ก็วิบากแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ การ
    ที่บุคคลมีอวิชชา ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากอวิชชานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือ
    เป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งอาสวะ ก็ความดับแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ
    ความดับแห่งอาสวะย่อมเกิดเพราะความดับแห่งอวิชชา อริยมรรคอันประกอบด้วย
    องค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึง
    ความดับแห่งอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดอาสวะ
    เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด
    พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้ ข้อที่เรา
    กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึง
    ความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

    ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา
    ด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ก็ความ
    ต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิด
    สัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี ที่ให้
    วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ
    เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรม
    ที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม
    ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่ง
    ผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ
    สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด
    อริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่ง
    กรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ เมื่อ
    นั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส
    เป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม
    ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

    ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิด
    แห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้
    ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชรา
    ก็เป็นทุกข์ แม้พยาธิก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
    โทมนัส อุปายาสก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ
    อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิด
    แห่งทุกข์ ก็ความต่างแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ทุกข์มากก็มี ทุกข์น้อยก็มี ทุกข์ที่
    คลายช้าก็มี ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งทุกข์ ก็วิบากแห่งทุกข์
    เป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกทุกข์อย่างใดครอบงำ มีจิตอันทุกข์อย่าง
    ใดกลุ้มรุม ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลง ก็หรือ
    บางคนถูกทุกข์ใดครอบงำแล้ว มีจิตอันทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้ว ย่อมแสวงหาเหตุ
    ปลดเปลื้องทุกข์ในภายนอกว่าใครจะรู้ทางเดียวหรือสองทางเพื่อดับทุกข์นี้ได้ ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวทุกข์ว่ามีความหลงใหลเป็นผล หรือว่ามีการแสวงหาเหตุ
    ปลดเปลื้องทุกข์ภายนอกเป็นผล นี้เรียกว่าวิบากแห่งทุกข์ ก็ความดับแห่งทุกข์
    เป็นไฉน คือ ความดับแห่งทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งตัณหา อริยมรรค
    อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็น
    ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบ
    ชัดทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด
    พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์ ข้อที่เรากล่าวว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่ง
    ทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้
    นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมปริยายที่เป็นปริยาย
    เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ฯ

    ที่มา https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=9611&Z=9753
     
  5. Enzo Zen

    Enzo Zen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2021
    โพสต์:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +675
    หวีไม่ใช่สาย ลพ.ป.นะ แต่อ่านได้ทุกสาย
    ที่เห็นแปะโน่นนี่นั่นคือหาหน้างานแล้วแปะเลย เวลาอ่านหน้าบอร์ดว่าเขาพูดเรื่องไรในตอนนั้น

    ฟังแค่ถึงนาทีที่6ไม่เกิน7 ก้อขาดแบบนั้น แต่การขาดมีเอฟเฟคที่ร่างกาย มีเสียงที่จิตผู้รู้ด้วยก่อนตัด(เสียงจากข้างใน) เรื่องกายไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เราอันนั้นรู้จาก ตจฯ รู้นานแล้ว ความรู้สึกว่ากายใจไม่ใช่เราจะเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ปล่อยวางได้มากขึ้นๆ ถ้าขยันฝึกเยอะๆ

    เป็นคนหนักในการทำในรูปแบบ เวลามันประติดประต่อกว่า แล้วมารุ้อิริยาบทย่อยอีกที ก้อแล้วแต่ความชอบคนนะ ว่าจะชอบในรุปแบบหรือนอกรุปแบบกว่ากัน
     
  6. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    หงึกๆ ช่าย
     
  7. Enzo Zen

    Enzo Zen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2021
    โพสต์:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +675
    ความรู้สึก กับความคิดคนละอันกันนะพี่เหว

    ความคิดเป็นสิ่งที่ถูกรู้
    รุ้สึก คือจิต
     
  8. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    มันซ้ำ กล่าวไปแล้วนี่คับ เรื่องนี้
     
  9. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    ไม่สงสัยเลยเหรอ ความคิดเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ตามที่บอกคือ นั่นคือจิต แสดงว่า เราไม่เห็นว่า นั่นไม่ใช่จิต ทั้งหมดทั้งปวงที่ถูกรู้ล้วนเป็นเจตสิก ความคิดก็คือเจตสิก แต่ทุกขณะที่เห็นมีจิตแต่เราไม่แยกมัน พระท่านจึงว่า จิตคิด เพราะว่าใช้คำว่า จิตเจตสิก คนฟังไม่รู้เรื่อง
     
  10. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    แล้วได้อะไรบ้างจากความหงึกๆ หรือนอกจากหงึกๆ ก็ปิดเลย ล็อคเลย ฟังไม่เข้าใจ ฟังไม่เข้าหูก็ เอา...อุดเลย มันอุดได้ก็จริง แต่อุดแล้ว เห็นไหมละว่า ตัวอะไรที่มันอยู่ในตัวลุงกันแน่
     
  11. Enzo Zen

    Enzo Zen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2021
    โพสต์:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +675
    รุ้ดิ ตัวปัญญา โลภ โกรธ หลงบลาๆ เป็นเจตสิกทั้งนั้น
    พอจบการทำงาน หรือสภาวะนั้นๆ จิตจะเข้าไปในความคิดทันที และจะยึดผลงานออกมา

    เคยเขียนบ่อยๆ ถ้าเวลาฝึกจะฝึกแต่เหตุ คือกรรมฐานเดิมๆ

    บนเน็ตจะเขียนแต่ผล
     
  12. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    ระหว่างจิตกับความคิด ใครใหญ่กว่ากัน ใครเข้าไปหาใครกันแน่ หลวงพ่อก็พูดในคลิป
     
  13. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    ถ้าความคิดหรือเจตสิกใหญ่กว่า ถูกต้องแล้วที่จิตเข้าหา
    แต่ถ้าจิตใหญ่กว่าตัวที่เข้าหาก็มีอยู่ มันเป็นเรื่องของความอาศัยและพึ่งพิง ที่เราชอบพูดกันว่า นั่นคือเหตุปัจจัย เราทำอิท่าไหน ทำไมเจตสิกใหญ่กว่าจิตได้ จะต้องทบทวนแล้วพิจารณาให้ละเอียดมากกว่าเดิมแล้วละเป็นอย่างมาก
     
  14. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    ส่วนสันตตติที่เราเห็นนั้นถ้าเราปลงใจได้ว่า จิต เราใหญ่กว่า เจตสิกทั้งปวง และ สติ ที่ไม่ใช่เจตสิก อยู้กับจิตจริง ความขาดไปความหมดลงของเหตุปัจจัยให้เกิดเจตสิก ก็จะเกิดขึ้น ตัวนี้ต่างหากเรียกว่า สันตติขาดลง หมายถึง เจตสิกนั้นไม่เกิดสืบเนื่องเพราะไม่มีเหตุ อภิธรรมหรือบทสรุป จึงจะสอดคล้องกับทุกๆ ส่วนรวมไปถึงวิปัสสนนาญาณ ในทางอภิธรรมก็จะว่าเห็นจิตเกิด 17 ดวง ไม่เห็นเจตสิกที่มีมากมายแต่ก็ยังนับได้อยู่ดี
     
  15. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    ทีนี้ความละเอียดของจิตในระดับที่ไม่มีเจตสิก ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่ใช่จิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระขีณาสพ จิตจะมีเจตสิกให้รับรู้เสมอถึงความแปรปรวนอันนี้เรียกจิตจริง ไม่ใช่จิตปรุงแต่ง และไม่ได้เกิดเพราะการบังคับจัดสรรใดๆ คงต้องลองกันเอาเอง แล้วแต่จะคิดแล้วกัน อย่างไรเสีย
    ทิฎฐิ มีก็คือมี ไม่มีก็คือไม่มี เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไรได้ และเราไม่เคยควบคุมมันได้ มาแต่แรก ฟังดูคุ้นๆ ไหมลุงแมว แบบข้ามกระทู้ล็อคมา
     
  16. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    ถามเองตอบเองเซ็งเลย ที่บอกว่าคิดเอง ไม่ได้หมายถึง คิดเอานะถึงจะรู้ มีโอกาสก็ทำเถอะ คงรู้นะว่าต้องทำอะไร
     
  17. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    กลัวว่าจะเข้าใจผิดอีก ข้อความนี้ "ถ้าไม่ใช่จิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระขีณาสพ จิตจะมีเจตสิกให้รับรู้เสมอถึงความแปรปรวนอันนี้เรียกจิตจริง" อันนี้ฟังเขามาอีกทีนึง จริงๆแล้ว เจตสิกมีอยู่ตลอดแต่ทุกขณะจิตที่เคลื่อนไป เจตสิกทั้งหลายมิได้ทำให้จิตขาดความตั้งมั่น พูดง่ายๆ เจตสิกไม่มีผลต่อจิต ไม่ใช่ไม่มีหรอก เลยไม่รู้ว่าแบบนี้เรียกว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นหรือไม่ อย่างไร ฟังเขามา แต่ไม่บอกเพราะ ไม่รู้ว่า เขาคือใคร
     
  18. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    สัมมาทิษฐิ คือ เห็นว่ากายตัวตนและจิตเป็นสิ่ง
    ที่จะต้องละการยึดมั่นถือมั่น
    (เป็นกระดุมเม็ดแรกอีกแล้วคับทั่น)
    จึงจะเป็นปัจจัยให้ดำเนินไปในอริยมรรค
    มีองค์ 8 และถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้
    ถ้าเป็นทิษฐิแบบอื่นๆ ที่พอใจพึงใจ
    มันก็ไปต่อแบบผิดๆ อีก 7 เม็ด 7มรรค
     
  19. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    ก้อประมาณนั้น พูดมันง่ายกว่าทำเสมอ ความหล่อความสวยหรือ ความพอใจ แสวงหาแค่คำชื่นชมจึงไม่มีจริง บุคคลผู้ซึ่งติดอยู่ในห้วงแห่งอุปทานอันว่าด้วย โลกธรรม ทั้งหลาย แม้ไม่ถึงขั้นมิจฉาทิฐิ ก็น้องๆมันหรือกลายๆ ลุงแมวว่า จริงไหมอะ
     
  20. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,070
    ค่าพลัง:
    +372
    ก้อคุยกันธรรมดา มันไม่น่าจะเป็นอาหารของอวิชชานะ ไม่ต้องถึงขั้นล็อคกระทู้หรอก ลุงอยากตอบอะไรก็ตอบมาเถอะ เอาที่ลุงสบายใจ ถ้าผมสงสัยหรืออยากร่วม ผมจะโพสต์ตอบเอง ถ้าห้ามตอบก็ระบุมาเลย ผมจะได้ไม่ไปยุ่ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...