วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ยึดแล้ว "หนัก "

    วางแล้ว "เบา"

    แท้จริง สุข ทุกข์ อยู่ที่ ใจเรา

    แม้นอยู่ในกอง ทุกข์แต่ จิต รู้เท่าทันสภาวะแห่งทุกข์ ปล่อยวาง ไม่ปรุงแต่งต่อไปจนเกิด ทุกข์ เราก็สามารถอยู่บนโลกได้ โดยไม่ทุกข์ใจ


    เห็น "ธรรมดา" ในทุกสรรพสิ่ง

    วาง "จิต" ให้เบาสงบ สบาย

    เมตตา ต่อทุกดวงจิตเสมอกัน

    ตั้งมั่นในพระนิพพานเป็นอารมณ์
     
  2. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ขออนุโมทนาสาธุครับ


    ในหัวข้อนี้ เรื่องการหลงปฏิบัติ และการเกิดวิปัสนูกิเลส
    หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต ท่านเทศน์ไว้อย่างกระจ่างแจ้งครับ
    ขออนุญาติแนะนำเป็นธรรมทานแก่ผู้ที่สนใจ

    [​IMG]

    ท่านสามารถดาวน์โหลดพระธรรมเทศนาได้ตามลิงค์ข้างล่าง


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2008
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791

    [​IMG]

    เพราะฉะนั้นต้องปล่อยๆ กันบ้างอย่ายึดมากจ้า [​IMG]
     
  4. sanprach

    sanprach เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +433
    ปู่ขออนุโมทนาในความเห็นที่ชอบแล้ว จึงให้ดำเนินไปตามนี้ แล้วจะเข้าถึงสิ่งที่ไม่เป็นอะไรได้เอง
     
  5. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ผมขออนุญาติแนะนำการปฏิบัติที่ขัดขวางความก้าวหน้าในธรรม3แบบนะครับ
    แบบที่1 คือการปล่อยจิตใจให้หลงไปกับความโลภโกรธหลง
    ทำแบบนี้รับรองทุกข์แน่นอน เพราะว่าจิตใจของเราจะเร่าร้อนเหมือนดั่งไฟ
    แบบที่2 คือการทำให้จิตใจเคร่งเครียด ปฏิบัติทรมานตัวเอง
    ทำแบบนี้ก็ทุกข์เหมือนกัน เพราะว่าเราจะรู้สึกแน่น อึดอัด ทรมาน
    แบบที่3 คือการหลงคิดว่าถ้ามีกิเลสก็ทุกข์ ถ้าปฏิบัติก็เครียด งั้นก็ไม่ทำอะไรเลยดีกว่า ไม่ทำหมายถึงไม่ปฏิบัติเลย
    ทำแบบนี้ก็ผิดอย่างยิ่งเพราะว่า คุณกำลังถูกตัวหลงครอบงำอยู่
    หลงว่าอยู่เฉยๆก็จะกำจัดกิเลสไปได้

    แล้วทำอย่างไรจึงจะปฏิบัติถูก
    ก็ต้องปฏิบัติ ด้วยอารมณ์ใจที่เบา สบายๆ ทำจิตใจให้ชุ่มเย็นอยู่เสมอๆ
    และจะต้องอุเบกขาต่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
    อย่าหลงว่าตัวเองบรรลุไปแล้ว
    ให้ตั้งกำลังใจเอาไว้ว่าหากตราบใดที่เรายังเกิด ยังไม่เข้าถึงซึ่งพระนิพพานอยู่ฉันใด
    แปลว่าเรายังมีความเลวเหลืออยู่ฉันนั้น

    ดังนั้นขอให้ทุกๆคนมีจิตใจที่มีความเมตตาปรารถนาดีต่อกัน และเกื้อกูลในการปฏิบัติธรรมของกันและกันนะครับ
     
  6. pat3112

    pat3112 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    373
    ค่าพลัง:
    +2,904
    เห็นด้วยครับ พวกเราๆ ทุกข์ทรมาน เพราะรัก โลภ โกรธ หลง(กิเลส) ตัณหา(อยากได้อยากมีอยากเป็น) อุปาทานขัน(ยึดร่างกาย) อกุศลกรรม มานานๆๆๆๆๆ นานเหลือเกินวางสรรพสิ่งไตรภูมิอบายภูมิ มนุษย์ เทวดา พรหม ยึดนิพพานเป็นที่สุด หมดทุกข์หมดโศกกันเสียที(y)
     
  7. หลับตา

    หลับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +3,151
    เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
    ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
    การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น


    สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน หมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ

    วิปัสสนายานิก ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน คือผู้เจริญวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน

    ---------------------------------------------------------

    การจะพอเข้าใจว่าตัวเราเจริญวิปัสสนาทางไหน ซึ่งแต่ละคนย่อมถนัดแตกต่างกัน วันนี้มีข้อสังเกตมาแนะนำกันดูครับ เปรียบเสมือนตนเป็นนักมวยขึ้นชกกับกิเลส เราจะรู้เองเวลากระโดดขึ้นเวที ว่าถนัดแนวไหน

    1. บางคนถนัดแบบเขาทราย เปรียบได้กับสมถยานิก คืออดทนฝึกซ้อมน้ำหนักหมัดเป็นหลักเพื่อหาจังหวะชกเต็มๆหมัด จุดอ่อนคือซ้อมน้ำหนักหมักได้ที่แล้ว แต่ไม่ขึ้นสังเวียนสักที(ติดขั้นสมาธิ) กับการต่อยพลาดเป้า(ไม่ทันกิเลส)

    2. บางคนถนัดแบบสมรักษ์ เปรียบได้กับวิปัสสนายานิก ถนัดชิงจังหวะ รู้จังหวะ เรื่องหมัดหนักเป็นเรื่องรอง จุดอ่อนคือถ้ามองพลาดไม่เห็น(กิเลส)ก็โดน(กิเลส)ต่อยเต็มๆ กับรู้ทันแล้วแต่ไม่มีแรงหลบหรือปล่อยหมัด(เน้นปัญญาจนขาดฝึกสมาธิ)

    เมื่อเราพอรู้แล้วว่าเราเป็นมวยแนวไหน เราจะได้เน้นซ้อมได้ถูกครับ ให้สมรักษ์ ชกเชิงมวยแบบเขาทรายก็ลำบาก จะให้เขาทรายชกเชิงมวยแบบสมรักษ์ก็ลำบากเช่นกัน อ่านจบแต่ละท่านคงพอมีคำตอบในใจอยู่แล้วว่าเราเป็นมวยเชิงไหน สู้ๆครับ ใกล้โอลิมปิคเกมส์แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2008
  8. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ผมขออนุญาติ ออกความเห็นครับ
    กำลังของสมถะและวิปัสสนานั้น จะต้องไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
    เพราะว่าสมถะเปรียบเสมือนกับ แรงหรือกำลัง
    ส่วนวิปัสสนานั้นเปรียบเหมือนกับ ความคมหรือมีด

    หากว่าเรามีแรงไม่พอ ก็ไม่อาจจะตัดกิเลสให้ขาดได้
    หากว่ามีแต่แรงแต่ไม่มีความคม เราก็ตัดไม่ขาดเช่นกัน
    ดังนั้นเราจำเป็นจะต้องมีทั้งวิปัสสนาและสมถะ

    แต่ก่อนที่จะเลือกทั้งสมถะและวิปัสสนา
    เราจะต้องตั้งจิตให้เป็นสัมมาทิฏฐิเสียก่อน
    ก็คือลองถามตัวคุณเองดู เราเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดไหม
    เราเชื่อมรรคผลนิพพานว่ามีจริงไหม
    เรามาปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร เพื่อความสามารถพิเศษหรือเพื่อความพ้นทุกข์
    เราเคารพในคุณพระศรีรัตนตรัยไหม
    เราทำตัวเก่งเกินครูบาอาจารย์หรือเปล่า

    หากจิตของเราไม่ตั้งมั่นในสัมมาทิฏฐิแล้ว ยิ่งปฏิบัติจะยิ่งออกนอกลู่นอกทาง
    เข้ารกเข้าพรง ผิดเพี้ยนไป มีมากมายนับไม่ถ้วน
    แม้ในปัจจุบัน การนำวิชาสมาธิไปใช้ในทางที่ผิดก็มีเยอะ

    ดังนั้นขอให้ทุกๆคนอย่าได้ปฏิบัติแต่สมถะแล้วลืมวิปัสสนา หรือปฏิบัติแต่วิปัสสนาแล้วลืมสมถะ เมื่อปฏิบัติไปแล้วก็อย่าลืมครูบาอาจารย์ด้วย
    บางคนพอปฏิบัติๆไปเกิดความสามารถพิเศษต่างๆ
    ไปหลงระเริงว่าตัวเองเก่งตัวเองบรรลุธรรมไปแล้ว
    แม้จะมีครูบาอาจารย์มายืนยันว่าเราเก่งสมคำล่ำลือ
    ก็ขอให้อย่าพึ่งเชื่อ และตั้งกำลังใจเอาไว้ว่า
    หากเรายังต้องมาเกิดอยู่ฉันใด ยังไม่เข้าถึงซึ่งพระนิพพานอย่างเต็มที่ฉันใด
    เรายังเลวอยู่ฉันนั้น

    ขอให้ทุกๆคนตั้งมั่นในสัมมาทิฏฐิ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  9. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    สิ่งที่ธรจะทำในการแนะนำกรรมฐานนับแต่นี้ คือ นำเอาคำสอนของครูบาอาจารย์บางท่านมาอธิบายนำเอาไว้... เสร็จแล้วเป็นคำสอนของอาจารย์คณานันท์... แล้วจึงนำในส่วนที่ธรปฏิบัติมาต่อท้าย...

    ที่ทำดังนี้... มีจุดประสงค์ คือ ขอให้ทุกๆ ท่านได้รับประโยชน์สูงสุดจากการปฏิบัติธรรมตรงนี้ค่ะ...

    ก่อนการฝึกกรรมฐานครูบาอาจารย์แต่ละท่านมีคำแนะนำดังนี้ค่ะ...

    คำสอนจากหลวงปู่มั่น (จากในเว็บพลังจิตดอทคอม)

    จะแสดงวิธีเจริญกรรมฐานภาวนา เพื่อโยคาวจรกุลบุตรได้ศึกษาและปฏิบัติสืบไป
    โยคาวจรผู้ใดจะเจริญกรรมฐานภาวนา พึงตรวจดูจริตของตนให้รู้ชัด ว่า ตนเป็นคนมีจริตอย่างใดแน่นอนก่อนแล้วพึงเลือกเจริญกรรมฐานอันเป็นที่สบายแก่จริตนั้นๆ ดังได้แสดงไว้แล้วนั้นเถิด

    อนึ่ง พึงทราบคำกำหนดความดังต่อไปนี้ไว้เป็นเบื้องต้นก่อน คือ

    -บริกรรมนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกรรมฐานที่นำมากำหนดพิจารณา

    -อุคคหนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกรรมฐานอันปรากฏขึ้นในมโนทวาร ขณะที่กำลังทำการเจริญภาวนาอยู่อย่างชัดแจ้ง คล้ายเห็นด้วยตาเนื้อ

    -ปฏิภาคนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกรรมฐานอันปรากฏแจ่มแจ้งแก่ใจของผู้เจริญภาวนายิ่งขึ้นกว่าอุคคหนิมิต

    และพึงทราบลำดับแห่งภาวนาดังนี้

    -บริกรรมภาวนา หมายการเจริญกรรมฐานในระยะแรกเริ่มใช้สติประคองใจกำหนดพิจารณาในอารมณ์ กรรมฐานอันใดอันหนึ่ง

    -อุปจารภาวนา หมายการเจริญกรรมฐานในขณะเมื่ออุคคหนิมิตเกิดปรากฏในมโนทวาร

    -อัปปนาภาวนา หมายการเจริญภาวนาในขณะเมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฏ จิตเป็นสมาธิแนบเนียน มีองค์ฌาณปรากฏขึ้นครบบริบูรณ์


    คำสอนจากพระอริยคุณาธาร (ทิพยอำนาจ น. ๗๑ - ๗๒)

    อนึ่ง การอบรมจิตให้เป็นสมาธิและฌานนั้น ย่อมต้องอาศัยอุบายอันแยบคายจึงจะสำเร็จง่าย อุบายอันแยบคายนั้นท่านเรียกว่า กรรมฐาน ท่านแยกไว้เป็น ๒ ประเภท คือ สมถกรรมฐาน ประเภทหนึ่ง วิปัสสนากรรมฐานประเภทหนึ่ง จะกล่าวในบทนี้เฉพาะแต่สมถกรรมฐาน ซึ่งเป็นประเภทอบรมจิตใจให้เป็นสมาธิและฌาน ...

    การอบรมจิตให้เป็นสมาธิ และฌานตามหลักสมถกรรมฐาน จัดเป็นบุพประโยคของฌาน จะข้ามเลยไปเสียมิได้ จำเป็นต้องใช้สมถกรรมฐานข้อหนึ่งหรือหลายข้อเป็นเครื่องอบรมจิตใจเสมอไป จิตใจจึงจะเป็นสมาธิและฌานได้ดังประสงค์

    สมถกรรมฐานนั้น พระบรมศาสดาตรัสไว้ในที่ต่างๆ โดยปริยายหลายหลาก พระโบราณาจารย์ประมวลมาไว้ในที่เดียวกัน มีจำนวนถึง ๔๐ ประการ จัดเป็นหมวดได้ ๗ หมวด คือ
    กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐
    อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ พรหมวิหาร ๔
    อรูปกรรมฐาน ๔
    มีวิภาคดังจะกล่าวต่อไป การที่แสดงอุบายทำความสงบจิตใจไว้มากเช่นนี้ ก็เพื่อให้เหมาะแก่จริต อัธยาศัยของเวไนยซึ่งมีจริตอัธยาศัยต่างๆ กัน มิได้หมายให้ทุกคนเจริญทั้ง ๔๐ ประการจนครบ...


    คำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ)
    (คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน น.๖๐ - น.๖๒)

    การปฏิบัติพระกรรมฐานในพระพุทธศาสนา มีกฏของการปฏิบัติเพื่อผลของการบรรลุเป็นระดับไป ตามนัยที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอุทุมพริกสูตร ดังจะยกมากล่าวไว้แต่ตอนที่เห็นสมควร ดังต่อไปนี้

    อธิศีลสิกขา

    ในระดับแรก ก่อนที่ท่านจะหวังผลในฌานโลกีย์ ซึ่งเป็นระดับของอธิจิตสิกขานั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงสอนให้รักษาศีลให้เป็นอธิศีลเสียก่อน

    คำว่าอธิศีล แปลดังนี้ อธิ แปลว่า ยิ่ง เกิน หรือ ล่วง ... ถึงแม้จะแปลได้เป็นสามนัย ก็คงมีความหมายอย่างเดียวกัน คำว่า ยิ่ง ก็หมายถึงการปฏิบัติยิ่งกว่า หมายถึงการปฏิบัติเคร่งครัดกว่าปกติ หรือรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิตนั่นเอง...

    การปฏิบัติเป็นอธิศีล ท่านแนะไว้ดังนี้...

    ...จะรักษาศีลไว้ด้วยดี มิให้ขาดมิให้ทำลาย แม้แต่ศีลจะมัวหมองก็มิยอมให้เป็น ด้วยมีวิธีรักษาดังนี้ จะไม่ทำลายศีลให้ขาดเอง ไม่แนะนำให้คนอื่นทำลายศีล และไม่ยินดีต่อเมื่อเห็นผู้อื่นทำลายศีล การปฏิบัติพระกรรมฐาน ก่อนที่จะหวังให้ฌานสมาบัติอุบัติปรากฏแก่จิตใจนั้น ต้องมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน... แม้ศีลที่ท่านรักษาเพื่อเป็นภาคพื้นของสมาธิสมาบัตินั้น ถ้าท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร...

    เมื่อท่านรักษาศีลตามนัยที่กล่าวมาแล้วโดยมั่นคง จนถึงขั้นไม่ต้องระวัง หมายความว่า ละเสียได้จนชินไม่มีการพลั้งเผลอแล้ว ต่อไปท่านให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

    ระงับนิวรณ์ ๕

    ท่านสอนให้ระงับนิวรณ์ห้าประการ โดยพิจารณาเห็นโทษของนิวรณ์ปกติ คือ
    ๑. เห็นโทษของกามฉันทะ ความมั่วสุมในกามารมณ์ว่าเป็นทุกข์เป็นภัยอย่างยิ่ง
    ๒. เห็นโทษของการจองล้างจองผลาญ เพราะการพยาบาทมาดร้ายซึ่งกันและกันเป็นเสมือนไฟคอยผลาญความสุข
    ๓. คอยกำจัดความง่วงเหงาหาวนอน เมื่อขณะปฏิบัติสมณธรรม
    ๔. คอยควบคุมอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งซ่านออกนอกลู่นอกทางเมื่อขณะภาวนา
    ๕. ตัดความสงสัยในมรรคผลเสีย โดยมั่นใจว่า ผลของการปฏิบัติมีแน่นอน ถ้าเราทำถึง

    เจริญพรหมวิหาร ๔

    ๑. แผ่เมตตา ความรักไปในทางทิศทั้ง ๔ โดยคิดไว้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเราจะเป็นมิตรแก่คนและสัตว์ทั่วโลก จะยอมเคารพในสิทธิของกันและกัน จะรักสิทธิของผู้อื่นเสมอด้วยสิทธิของกันและกัน จะรักสิทธิของผู้อื่นเสมอด้วยสิทธิของตนเอง จะไม่ทำใครให้เดือดร้อนด้วย กาย วาจา แม้แต่จะคิดด้วยใจ จะรักษาและเคารพในบุคคลและสัตว์เสมอด้วยความรักตนเอง
    ๒. กรุณา จะสงสารหวังสงเคราะห์สัตว์และมนุษย์ทั้งปวง ทั่วในทิศทั้ง ๔
    ๓. มุทิตา จะไม่อิจฉาริษยาคนและสัตว์ทั้งหลาย ทั้วทิศทั้ง ๔ จะพลอยส่งเสริมเมื่อผู้อื่นได้ดีมีโชค เหมือนตนของตนเป็นผู้ได้ดีมีโชคเอง
    ๔. อุเบกขา วางเฉยเมื่อผู้อื่นพลาดพลั้ง ไม่ซ้ำเติมให้ช้ำใจ และตั้งใจหวังสงเคราะห์เมื่อมีโอกาส

    ...เมื่อขณะปฏิบัติสมณธรรมได้ และทรงพรหมวิหาร ๔ ประการได้อย่างครบถ้วนอย่างนี้ อารมณ์จิตก็เป็นฌาน และฌานจะไม่รู้จักเสื่อมเพราะพรหมวิหาร ๔ อุ้มชู คนที่มีพรหมวิหาร ๔ ประจำใจ ศีลก็บริสุทธิ์ไม่เศร้าหมอง สมาธิก็ตั้งมั่น วิปัสสนาญาณก็ผ่องใส รวมความว่า พรหมวิหาร ๔ เป็นกำลังใหญ่ในการปฏิบัติสมณธรรมทุกระดับ...


    คำสอนของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (สมาธิกรรมฐาน น.๗๓ - น.๗๖)

    คำว่า กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งของการงาน หมายความว่า เป็นที่ตั้งของการงานทางจิตใจ โดยปกติจิตใจของทุกๆ คน ย่อมคิดไปต่างๆ คิดไปในเรื่องโน้นบ้าง ในเรื่องนี้บ้าง และเรื่องที่คิดนั้น ก็เป็นเรื่องที่จะชักนำให้เกิดราคะ (ความติด ความยินดี) หรือโลภะ (ความอยากได้)บ้าง ให้เกิดโทสะ (ความโกรธแค้นขัดเคือง)บ้าง ให้เกิดโมหะ (ความลุ่มหลง)บ้าง ฉะนั้นจิตใจจึงประกอบด้วยราคะ หรือโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ตามเรื่องที่คิดไปนั้นๆ

    จิตใจจึงผูกพันหุ้มห่ออยู่ด้วยเรื่องต่างๆ และหุ้มห่ออยู่ด้วยราคะ หรือโลภะ โทสะ โมหะ เป็นอาจิณ จึงเป็นจิตใจที่ไม่สงบ ไม่ตั้งมั่น เหมือนอย่างน้ำในทะเลที่เป็นคลื่นอยู่เสมอ หาเวลาที่จะสงบได้ยาก

    อีกประการหนึ่ง เมื่อจิตใจของบุคคลประกอบด้วยราคะ หรือโลภะ โทสะ โมหะ ดังกล่าวนั้น ก็เป็นจิตใจที่ลำเอียง ไม่รู้อะไรตามความเป็นจริง จะสันนิษฐานอะไรให้ถูกต้องตามความเป็นจริงก็ไม่ได้ กล่าวคือ เมื่อจิตใจมีราคะ หรือโลภะ อันเป็นกิเลสข้างให้ติดให้ยินดีให้อยากได้ เป็นไปในฝ่ายที่ชอบ เมื่อชอบสิ่งใดแล้ว ก็ย่อมลำเอียงไปในสิ่งนั้น... ถ้าชอบมากก็จะต้องเห็นสิ่งนั้นดีมาก ถ้าชอบน้อยก็จะเห็นสิ่งนั้นว่าดีน้อยตามแต่ชอบ

    เมื่อเป็นเช่นนี้... ถึงสิ่งนั้นจะเป็นของที่ไม่ดี แต่ก็เห็นว่าดี เพราะจิตใจมีความลำเอียงไปข้างชอบเสียแล้ว อีกทางหนึ่ง ถ้าจิตใจประกอบด้วยโทสะ อันเป็นข้างไม่ชอบ หรือว่าข้างชัง ก็ย่อมจะลำเอียงไปทางนั้น... ถ้าชังมากก็จะเห็นสิ่งนั้นไม่ดีมาก ถ้าชังน้อยก็จะต้องเห็นว่าสิ่งนั้นไม่ดีน้อย...

    ถ้าจิตใจประกอบไปด้วยโมหะ(ความลุ่มหลง) ก็ยิ่งจะไม่เห็นความจริงในสิ่งนั้น เหมือนอย่างมีตาอันมืดมัว มองไม่ชัด... ถ้าจะสันนิษฐานลงไปก็จะสันนิษฐานผิดจากความเป็นจริง เพราะว่าจิตใจมืดมัวอยู่ด้วยอำนาจของโมหะ (ความหลง) เสียแล้ว

    เพราะฉะนั้น ราคะ หรือโลภะ โทสะ โมหะ นอกจากจะทำจิตใจให้ไม่สงบ ไม่ตั้งมั่นแล้ว ยังบังปัญญา ทำให้ไม่เกิดปัญญา คือความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง ฉะนั้นในทางพระพุทธศาสนาท่านจึงแสดงกรรมฐาน คือที่ตั้งของการงานทางใจไว้ ๒ อย่าง คือ

    สมถกรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งของการงานทางใจ ซึ่งจะทำให้เป็นสมถะ คือให้สงบ
    วิปัสสนากรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งของการงานทางใจ อันจะทำใจให้เกิดเป็นวิปัสสนา คือ ความรู้แจ้งเห็นจริง

    สมถกรรมฐานนั้น เป็นประการแรกเพราะจะต้องทำใจให้สงบจากราคะ หรือโลภะ โทสะ โมหะ ที่หุ้มห่อจิตใจอยู่เสียก่อน เพื่อให้จิตใจปลอดโปร่งหลุดพ้นจากเครื่องหุ้มห่อที่มีอยู่อย่างหนาแน่น ต่อจากนั้นจึงดำเนินในวิปัสสนากรรมฐาน คือเมื่อจิตใจปลอดโปร่งหลุดพ้นจากกิเลสที่เป็นเครื่องหุ้มห่ออยู่อย่างมากมาย ก็จะเป็นจิตใจที่สิ้นความลำเอียง จะพินิจพิจารณาดูอะไรก็จะเห็นแจ่มแจ้งตามเหตุตามผลตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นขั้นวิปัสสนาต่อไป
     
  10. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    <table id="post1139933" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="thead" style="border-style: solid none solid solid; border-color: rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255); border-width: 1px 0px 1px 1px; font-weight: normal;"> เมื่อวานนี้, 11:01 PM <!-- / status icon and date --> </td> <td class="thead" style="border-style: solid solid solid none; border-color: rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color; border-width: 1px 1px 1px 0px; font-weight: normal;" align="right"> #1 </td> </tr> <tr valign="top"> <td class="alt2" style="border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px;" width="175"> คนมีกิเลส <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_1139933", true); </script>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 06:53 PM
    วันที่สมัคร: Oct 2006
    สถานที่: ก.ท.ม.
    ข้อความ: 2,812 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 2,186 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 21,737 ครั้ง ใน 2,583 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 1880 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]

    </td> <td class="alt1" id="td_post_1139933" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <!-- icon and title --> สามเณร ๑๑ ปี ก็รู้เห็นสวรรค์-นรก ได้
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <!-- / icon and title --> <!-- message --> <table align="center" border="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td height="75">[​IMG]</td><td style="background-image: url(../images/shade_side.jpg); background-repeat: no-repeat;" width="10">
    </td></tr><tr height="10"><td style="background-image: url(../images/shade_btm.jpg); background-repeat: no-repeat;">
    </td><td style="background-image: url(../images/shade_cn.jpg); background-repeat: no-repeat;">
    </td></tr></tbody></table>
    สามเณรกัมปนาท เขมดำรง
    อายุ ๑๑ ปี ชั้น ป.๖ ร.ร.มงฟอร์ตวิทยา เชียงใหม่
    คุณพ่อเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    มาบรรพชาเป็นสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่นที่ ๘ พ.ศ.๒๕๔๔ และเข้ารับการอบรมพระกัมมัฏฐาน รุ่นที่ ๔๑


    • ใครแนะนำสามเณรมาบวช ?
      คุณพ่อได้รับจดหมายจากทางวัด จึงพามาบรรพชาเป็นสามเณรครับ
    • ลำบากไหม ต้องเดินทางมาไกลอย่างนี้ ?
      ไม่ลำบากครับ จากเชียงใหม่ก็เดินทางใช้เวลา ๘-๑๐ ชั่วโมง ความจริงผมเคยมาวัดนานแล้ว ตอนปิดเทอมครับ
    • ก้าวแรกที่เข้ามาวัดรู้สึกอย่างไร ?
      เข้ามาแล้ว เห็นอุโบสถแล้วคิดว่าสวยงามมากครับ ชอบน้ำพุที่หมุนๆ ครับ
    • กิจกรรมแต่ละวัน และความเป็นอยู่ระหว่างบวช เป็นอย่างไร ?
      ก็ฉันเช้า พักซักแป๊บนึง ก็ฉันเพล แล้วให้นอนพักผ่อน แล้วฝึกสมาธิ แล้วทำวัตร กิจกรรมที่นี่ไม่เครียดครับ สบายๆ อาหารก็ดีครับ มีหลายอย่าง ไม่ค่อยซ้ำกัน ที่พักก็ไม่ร้อน นอนได้ครับ
    • การบรรยายธรรมะของพระอาจารย์แต่ละท่าน เป็นอย่างไร ?
      การบรรยายถือว่าดี มีสาระเยอะมากเลยครับ บางทีจะเล่าเรื่องอะไรให้ฟังก่อนแล้วบรรยาย แต่ถ้าต้องการให้จดบันทึก ท่านน่าจะพูดให้ช้ากว่านี้จะดีครับ
    • คุณพ่อคุณแม่พาเข้าวัดบ่อยไหม ?
      ปกติพ่อแม่เข้าวัดบ้างครับ ในวันสำคัญทางศาสนา
    • อยู่ที่บ้าน ทำอะไรบ้าง ?
      กลับจากโรงเรียน ทำการบ้าน แล้วไปว่ายน้ำครับ ในวันหยุดก็พักผ่อนอยู่บ้าน บางทีคุณพ่อพาไปห้างสรรพสินค้าครับ
    • ปกติสนใจในทางพระพุทธศาสนาไหม ?
      ไม่ค่อยสนใจครับ ธรรมะต่างๆ รู้จักจากหนังสือ โรงเรียน ถ้าสงสัยก็ไปถามคุณพ่อ แล้วคุณพ่อก็จะบอกครับ
    • แล้วเรื่องนรก-สวรรค์ล่ะ ?
      ก่อนมาบวชนี่ไม่สนใจ คิดว่ามี แต่ก็ไม่ได้สนใจครับ แต่จะไม่ทำไม่ดี เพราะเดี๋ยวจะตกนรกครับ
    • เคยฝึกสมาธิมาก่อนหรือไม่ ?
      ที่บ้านเคยฝึกสมาธินิดหน่อยครับ ไม่ทุกวัน ครั้งนึงไม่ถึง ๕ นาทีเลยครับ ตั้งแต่ประมาณ ป.๓ อายุ ๘-๙ ขวบ ได้เห็นองค์พระ คุณพ่อก็แนะนำให้ แต่ยังไม่เคยฝึกไล่ ๑๘ กาย ถ้าได้ทำจะดีกว่า เพราะจะทำให้พื้นฐานเราดี ชำนาญในการเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานครับ
    • ตอนได้ธรรมกาย รู้สึกอย่างไร ?
      ความรู้สึกขณะอยู่ในธรรมกาย ก็ไม่รู้สึกอะไร ยินดียินร้ายอะไร [เป็นอุเบกขา]
    • รู้สึกว่ายากไหม ?
      ไม่ยากครับ แล้วแต่คนครับ ว่าจิตเขาบริสุทธิ์แค่ไหน ผมก็ทำไปเรื่อยๆ ครับ ไม่ต้องใช้ความพยายามมากอะไร นั่งไม่นานก็เห็นครับ
    • ลักษณะพระธรรมกายเป็นอย่างไร ?
      ผมเห็นเป็นองค์พระใหญ่ ประมาณตึกสามชั้น ๒๐ วา พระธรรมกายเกตุดอกบัวตูม ไม่มีผ้ารัดอก ห่มจีวรหมุนขวา ไม่เคยเห็นหมุนซ้ายครับ
    • นรก/สวรรค์ ที่ได้พบเห็น มีลักษณะอย่างไร ?
      ตอนได้ไปดูสวรรค์ พื้นที่เห็นดูคล้ายเมฆครับ ได้เห็นเทพเทวดาต่างๆ เราก็ไปถามเขาว่าเขาทำความดีอะไรมา จึงได้มาอยู่สวรรค์ ในนรก ลักษณะส่วนใหญ่เป็นถ่านแดงๆ เห็นสัตว์นรก น่าเกลียดครับ เขาทำบาปต่างกัน ได้รับผลต่างกัน ก็ให้รู้ว่า ทำไม่ดีตายแล้วจะเป็นอย่างไรครับ
    • แล้วเทวดามีลักษณะอย่างไร ?
      เหมือนคน แต่มีชฎาครับ ไม่ใส่เสื้อ มีสร้อยสังวาลย์คล้องอยู่ มีวิมานคล้ายๆ อุโบสถของเรา แต่ของเขาจะละเอียดอ่อนมาก แล้วก็มีหลายขนาด แล้วแต่บุญของแต่ละคนครับ วิมานขนาดเล็กก็มี เป็นของคนที่ยังไม่ตาย ยังว่างๆ อยู่ มีนางฟ้ามารออยู่ด้วยครับ
    • ศิลปะของเขาเหมือนของไทยไหม ?
      คล้ายของประเทศไทย แต่รูปทรงเขามีความละเอียดอ่อนเยอะครับ ละเอียดมาก ไม่เหมือนทางคริสต์ ไม่มีเทวดาฝรั่งครับ
    • ถ้ามีคนมาพูดว่า การสอนธรรมะ ไม่จำเป็นต้องเอาสวรรค์มาล่อ เอานรกมาขู่ ก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ สามเณรคิดอย่างไร ?
      พูดอย่างนั้นเป็นการลบหลู่ศาสนาครับ เพราะพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะยังไปดูนรกสวรรค์มาแล้ว
    เราเห็นสวรรค์ แล้วจะเป็นเหตุให้เราทำความดีครับ แล้วก็ไม่ [ยึด] ติด ไม่ให้ไปนิพพาน แต่จะเป็นการโน้มน้าวจิตใจให้ทำความดีเยอะขึ้น เห็นนรกแล้วก็เป็นเครื่องโน้มน้าวให้ทำความดีละความชั่ว ให้เกรงกลัวต่อบาปครับ
    • แล้วสามเณรไปดูชั้นพรหมไหม ?
      ครับ พรหมจะมีรัศมีแตกต่างกัน แล้วแต่ใครจะทำความดีมาเยอะขนาดไหน จะสร้างบารมีมาขนาดไหนครับ ถ้าเป็นมหาพรหมก็รัศมีมากครับ และรัศมีก็มากกว่าเทวดาด้วย กายพรหมก็ใหญ่กว่าเทวดา ๒-๓ เท่าแล้วแต่ชั้นพรหมครับ ที่ไปตรวจนรกสวรรค์นี้ แต่ละชั้นผมไปดู [พอให้รู้] แค่แป๊บเดียวครับ
    • ถ้ามีคนว่าที่เห็นนั้นเป็นการนึกเอาเองล่ะ ?
      มันไม่ใช่อย่างนั้นครับ เพราะเราต้องมองไปให้เห็นจักรวาลก่อน แล้วค่อยเข้าไปตรวจดูแต่ละภพๆ เพราะเราจะนึกได้เฉพาะสิ่งที่เราเคยเห็นแล้วจำได้ ถ้านึกก็จะเห็นอย่างนั้นละครับ แต่ที่เห็นด้วยธรรมกายนี่เราไม่เคยรู้เคยเห็นครับ ผมเคยคุยกับเพื่อนที่อยู่ฝึกภาวนาอยู่ชั้นเดียวกัน เขาก็เห็นเหมือนกันครับ เขาก็ขึ้นปฏิบัติชั้นสูงพร้อมกับผมครับ และตอนที่เห็นเราต้องมีสติสัมปชัญญะ ไม่เคลิ้มครับ
    • วิชชาธรรมกายมีประโยชน์อย่างไร ?
      จะทำให้เรามีสมาธิ และเรียนหนังสือเก่งครับ ไม่ฟุ้งซ่าน ตัดสินใจได้ดีขึ้น มีสติไม่เหม่อลอย เพ้อเจ้อไปนอกเรื่องครับ เป็นการบำเพ็ญบารมีด้วยครับ เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง แล้วก็ยังแผ่กุศลไปให้พ่อแม่ ญาติพี่น้อง พระอุปัชฌาย์ครูอาจารย์ ทั้งสัตว์โลก แล้วเทวดาสัตว์นรกได้ครับ แต่เป้าหมายหลักก็คือบำเพ็ญบารมี เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานครับ ช่วยตนเอง และช่วยคนอื่น เช่นช่วยให้ดวงธรรมของเขาใสขึ้นได้ครับ
    • ช่วยเรื่องการเรียนมากแค่ไหน ?
      ช่วยได้มากครับ อย่างเช่น ถ้าต้องอ่านหนังสือ ๑๐ รอบ อาจจะอ่าน ๒-๓ รอบ ก็จำได้ครับ เข้าใจได้เร็ว โดยอ่านแล้วให้เข้าไปในศูนย์กลางกายครับ
    • การฝึกภาวนาที่บ้านกับที่วัดต่างกันอย่างไร ?
      ไม่เหมือนกันครับ มีเสียงรถรบกวน เพราะบ้านอยู่ติดถนนครับ อย่างอื่นก็ไม่มีอะไร คุณพ่อก็ปฏิบัติธรรมด้วยครับ
    • การมาบวชครั้งนี้ เราได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?
      เราต้องนอนตื่นเช้า ไม่ขี้เกียจ เรามาฝึกสมาธิ ให้มีสติ ไม่เหม่อลอย มาฝึกระเบียบวินัย ทำอะไรให้มีระเบียบ ไม่เล่นจนเกินไป ไม่ใช่มาเล่น เรามาฝึกตนครับ ได้มาศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าครับ ซึ่งน้อยคนที่จะได้มารู้เห็น ทำให้ชีวิตเราเจริญ รู้ทางเจริญทางเสื่อมครับ
    • ฝึกสมาธิแล้ว ถ้าพบสิ่งที่มีน่าชอบใจ เช่นมีคนทำให้เราโกรธ เราจะทำอย่างไร ?
      เราต้องมีขันติ ต้องไม่สะทกสะท้านในการกระทำของผู้อื่น ถ้าเขามาว่าเรา เราก็ไม่โต้กลับ ก็พยายามอดกลั้น เฉย ไม่สนใจ แต่ถ้ามาหนักก็คงต้องเข้ากลางธรรมกาย แผ่เมตตาให้เขาครับ
    • แล้วสำหรับสิ่งน่าชอบใจ เช่น การเล่นเกมส์ล่ะ ?
      เราต้องมีสติ สมาธิขณะเล่น รู้ตัวเมื่อจะเล่นเกินไปแล้ว ไม่เล่นอย่างเอาเป็นเอาตายครับ
    • นึกถึงคนที่ไม่ได้มีโอกาสมาปฏิบัติอย่างเราไหม ? จะชักชวนแนะนำคนอื่นหรือไม่ ?
      ครับ เราต้องพยายามสอนเขา ต้องมีวิธีสอน ๒ อย่าง คือ แบบละมุนละไม คือสอนให้รู้ความดี รู้หนทางแห่งความเจริญ ให้รู้จักและทำแต่กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริตแบบรุนแรง ก็ให้รู้บาป ให้เขาเกรงกลัวบาป หิริโอตตัปปะ ให้รู้และไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ถ้าเขายังไม่รับ ก็ถือว่าตอนนี้เขายังไม่มีบุญพอครับ
    • คิดว่า ศีล ๕ จำเป็นสำหรับชีวิตไหม ?
      จำเป็นครับ ออกไปผมก็จะถือศีล ๕ แต่ข้อแรกทำยาก คือ ปาณาฯ ต้องระวังเรื่องตบยุงครับ
    • จะฝากอะไรถึงเพื่อนๆ เยาวชนบ้าง ?
      อยากให้เขามาสนใจมาฝึกสมาธิให้มากขึ้น และขอให้ตั้งใจฝึกด้วย เพราะจะทำให้ได้บุญกุศล เรียนหนังสือเก่ง ระงับอารมณ์ได้ แก้ปัญหาได้ดีครับ
    • ปีหน้าจะมาบวชอีกไหม ?
      มาครับ.
    ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔​

    สาระธรรมจาก http://www.dhammakaya.org/interview/interview005.php
    </td></tr></tbody></table>
     
  11. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    ขออนุญาตนำภาพถ่ายป้ายเกล็ดธรรมะที่ผมได้ธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆและได้ถ่ายเก็บเอาไว้เพื่อเอามาเป็นคติสอนใจกันครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01075.jpg
      DSC01075.jpg
      ขนาดไฟล์:
      80.8 KB
      เปิดดู:
      247
    • DSC01047.jpg
      DSC01047.jpg
      ขนาดไฟล์:
      133.3 KB
      เปิดดู:
      240
    • DSC01132.jpg
      DSC01132.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.6 KB
      เปิดดู:
      229
    • DSC01133.jpg
      DSC01133.jpg
      ขนาดไฟล์:
      165.8 KB
      เปิดดู:
      229
    • DSC01404.JPG
      DSC01404.JPG
      ขนาดไฟล์:
      143.4 KB
      เปิดดู:
      236
    • DSC01660_resize.JPG
      DSC01660_resize.JPG
      ขนาดไฟล์:
      233.4 KB
      เปิดดู:
      234
    • DSC01778_resize.JPG
      DSC01778_resize.JPG
      ขนาดไฟล์:
      124.4 KB
      เปิดดู:
      231
    • DSC01779_resize.JPG
      DSC01779_resize.JPG
      ขนาดไฟล์:
      125.7 KB
      เปิดดู:
      228
    • DSC08940_resize.JPG
      DSC08940_resize.JPG
      ขนาดไฟล์:
      128.8 KB
      เปิดดู:
      226
    • DSC09448.jpg
      DSC09448.jpg
      ขนาดไฟล์:
      245.1 KB
      เปิดดู:
      222
    • DSC09453.jpg
      DSC09453.jpg
      ขนาดไฟล์:
      189.9 KB
      เปิดดู:
      222
    • DSC09553.jpg
      DSC09553.jpg
      ขนาดไฟล์:
      153.2 KB
      เปิดดู:
      219
    • DSC09554.jpg
      DSC09554.jpg
      ขนาดไฟล์:
      184.9 KB
      เปิดดู:
      227
    • DSC09555.jpg
      DSC09555.jpg
      ขนาดไฟล์:
      190 KB
      เปิดดู:
      215
    • DSC09556.jpg
      DSC09556.jpg
      ขนาดไฟล์:
      175.4 KB
      เปิดดู:
      210
  12. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    สาธุ ครับ น้องนากามูระ

    ออกทริปครั้งหน้าคงได้ฝึกวิชากันนะ(||)
     
  13. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เช้าวันเสาร์นี้มีนัดฝึกสมาธิกันที่สวนลุมพินี เกาะลอย ศาลาหกเหลี่ยม เวลา 9.30 น. ท่านที่สนใจขอเรียนเชิญมาฝึกสมาธิด้วยกันได้ครับ
     
  14. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    อายน้องเขาจัง สงสัยต้องขยันปฏิบัติแล้วสิเรา;)
     
  15. หล่อโล๊ะสต๊อก

    หล่อโล๊ะสต๊อก สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2008
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +3
    แค่คิดจินตนาการก็เห็นได้แล้วนิครับ ไม่มีอะไรพิเศษหรอก

    เห็นแล้วเป็นไง เห็นแล้วยังไง เห็นแล้วจะทำอะไรต่อ ก็แค่นั้น

    เป็นเรื่องของเด็กๆ ที่เขาคิดจินตนาการได้ด้วยสภาแวดล้อมครับ

    ปล. พ่อเขาเป็นนักปฏิบัติธรรมอยู่แล้วมิใช่เหรอ เขาถ่ายทอดให้ลูกได้อยู่แล้ว เพราะว่าพ่อและแม่คือครูคนแรกของเด็กๆนะครับ สอนอย่างไรก็ได้อย่างนั้น สอนให้รู้สวรรค์ก็ได้เห็นสวรรค์(ในเรื่องของเด็กๆ) สอนให้รู้นรกก็ได้เห็นนรก(ในเรื่องของเด็กๆ) แบบนั้นแหล่ะครับ

    ปล.2 เอาของจริงไปถามเด็กคนนี้ว่า เมื่อเห็นหมดแล้ว ล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งแจ๊กพอตเป็นสิบๆล้าน ร้อยล้าน มีเลขอะไรบ้าง จะไปซื้อที่ไหน จังหวัดไหน ใครเป็นคนขาย ต้องซื้อภายในเวลากี่โมง ไปถามน้องเขาได้เลยครับ

    ก็ในเมื่อเห็นนรกเห็นสวรรค์ขนาดนี้แล้ว เรื่องสลากกินแบ่งรัฐบาล(ถูกกฏหมาย) เป็นรางวัลแจ๊กพ่อตแค่นี้ตอบให้ได้ก่อน อย่าไปถึงโน่นเลย คงทำเพื่อพระคะแนนซะมากกว่ามั๊ง เพราะวัดนี้เขาเล่นกันแบบนี้แหล่ะ แต่ไม่คิดว่าจะให้เด็กมาเป็นเครื่องมือ หึหึ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2008
  16. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    ข้าพเจ้าขอโมทนาบุญกุศลในเขตแดนพุทธศาสนาทั้งหมดทั้งมวล โมทนาบุญในกุศลจิตของทุกดวงจิตในอนันตจักรวาล
    ใน
    อดีต...ปัจจุบัน...อนาคต ขอถวายความดีจากการโมทนามัยนี้ถวายเป็น พุทธบูชา...ธรรมบูชา...สังฆบูชา

    ขอให้ผลบุญจากมหาโมทนาบุญในครั้งนี้จงส่งผลไปยังจิตที่เป็นมิจฉาทิฐิให้กลับกลายเป็นสัมมาทิฐิ ขอให้ตั้งมั่นอยู่ใน
    สัมมาทิฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา สัมมาปฏิบัติ
    ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ

    สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
    พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง
    อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส


    พุทธัง อธิษฐามิ
    _/\_
    ธัมมัง อธิษฐามิ _/\_
    สังฆัง อธิษฐามิ _/\_

    อดีต...ปัจจุบัน...อนาคต

     
  17. นาคา

    นาคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,378
    ค่าพลัง:
    +12,917
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ kananun [​IMG]
    มาเล่าเรื่อง ความผิดพลาดในการปฏิบัติให้ฟังแล้วกันครับ

    เอาเรื่องแรกก่อน

    เป็นเรื่องที่ตัวผมเองเกิด วิปัสนูปกิเลส เรื่องนี้เกิดกับผมสมัยที่ยังบวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร

    พอค่ำทำวัตรเย็น ก็ทำสมาธิ(ซึ่งปกติก็ได้มั่งไม่ได้มั่ง เหมือนทำส่งเดชมากกว่า) ปรากฎว่าวันนั้น จิตบังเอิญตั้งมั่นมาก นั่งไปเกิดมีนิมิตรเห็นธรรมจักร สีทองสว่างอยู่ในจิต พร้อมมีเสียงบอกมาในจิตว่า "ธรรมจักรเริ่มหมุนแล้ว หนทางหลุดพ้นนี่คือ มรรคมีองค์แปด "

    ตอนนั้นสุขมากจน ไม่อยากสึกอีกแล้ว เพราะจิตทรงในมหาสติเต็มรอบ ตลอดเวลา หากไม่ทรงมหาสติปัฐฐาน ก็เจริญเมตตาพรหมวิหาร อย่างแนบแน่น ตอนนั้นก็ได้พูดคุยให้พระเพื่อนๆฟังว่าพบเจออะไรในการปฏิบัติ ก็กลายเป็นที่ทราบกันไปหมดทั้งวัด จน มีพระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งท่านภูมิธรรมสูง จะจัดให้ได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลสมเด็จพระสังฆราช (ซึ่งท่านเป็นอุปัชฌาย์) เพื่อขอประทานคำแนะนำในการปฏิบัติ

    พอเริ่มเสื่อมก็ปรากฏว่ามี เสียงบอกในจิตว่า "เราบรรลุโสดาบันแล้ว" พร้อมกับมีปิติติดตามมา อีกหลายต่อหลายครั้ง

    คราวนี้ไอ้ความเลวของจิตก็ปรากฏ เพราะความโง่ ความระยำของตนยังมีมาก ก็เชื่อทันทีว่าเราบรรลุธรรมไปแล้ว ดีไม่ไปบ้าว่าตนเองเป็นพระอรหันต์


    ดังนั้น ขอให้ทุกท่าน
    -อย่าได้ประมาทในการปฏิบัติ ยึดหลักครูบาอาจารย์ท่านเอาไว้
    -หากรู้สึกว่าตนเองดี ตนเองเก่ง ตนเองวิเศษ เมื่อไร เราเลวเมื่อนั้น
    -จงยึดหลัก ลมสบาย จิตสบายเข้าไว้ ทางสายกลางคือจิตสบาย และตั้งมั่น
    -เราปฏิบัติเพื่อการละวาง เลิกอุปกิเลส คลายมานะทิษฐิ ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อยึด เพื่อเกาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อดีตชาติภพภูมิเก่า

    -ญาณเครื่องรู้ทั้งหมดเราต้องพิจารณาดูด้วยจิตที่เป็นอุเบกขา อย่าไปยึด อย่าไปปรุงแต่งต่อ รอดู รอพิจารณา ว่าจริงหรือเท็จ


    -วิชามโนมยิทธิ หลวงพ่อให้หลักว่ามีไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการ ตัดกิเลส ใช้พิสูจน์คำสอนของพระพุทธเจ้าว่า พระนิพพานมีสภาวะเช่นไร สวรรค์มีจริง นรกมีจริง บาปกรรมมีจริง เพื่อความเป็นสัมมาทิษฐิ ไปจนถึงความเป็นพระอริยะเจ้า ดังนั้น พึงใช้ให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์

    ขอกราบขมาพระรัตนไตรในความเลว ความชั่ว ความโง่ของข้าพเจ้าด้วยเทอญ ข้าพเจ้าสิ้นพยศในคุณครูบาอาจารย์ อันมีพระรัตนไตรเป็นสรณะสูงสุด ตลอดกาลตลอดสมัย ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    โมทนา ครับ
     
  18. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ดูใจของเราเองครับ ว่า ใจเย็นช่ำด้วยเมตตาพรหมวิหารสี่หรือไม่ กิเลส ความอยากความเร่าร้อนลดลงหรือไม่ มองผู้อื่นด้วยมุทิตาจิตเป็นปกติหรือไม่

    และที่สำคัญก็คือ เห็นธรรมดาในสรรพสิ่งว่าไม่มี อะไรพ้นกฏไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปได้

    เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง ไม่เป็นแก่นสารให้ยึดเหนี่ยว มีความแปรปรวนเป็นปกติ ยึดไปก็ทุกข์

    จิตคอยปล่อยวางไปทีละน้อย จิตจึงเบาขึ้น สะอาดขึ้น ใสบริสุทธิ์ขึ้น

    ความเป็นทิพย์ของจิตจึงปรากฏ ตลอดไปจนถึงวิปัสสนาญาณอันพิสุทธิ์ เห็นว่า การเกิดทั้งปวงเป็นทุกข์ จุดเดียวที่ตั้งจิตไว้คือพระนิพพานเป็นที่สุด
     
  19. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    วันนี้ขออนุญาตกล่าวถึง อัปปมัญญา 4 อย่างละเอียด ซึ่งเป็นการเจริญพรหมวิหาร 4 ของเหล่าพระโพธิสัตว์

    อัปปมัญญา 4
    คือ พรหมวิหาร 4 ที่แผ่ไปโดยสม่ำเสมอทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีี่ประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต มี 4 ประการ ได้แก่


    เมตตาอัปปมัญญา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดี อยากให้ตนเองและผู้อื่นมีความสุข ที่แผ่ออกไปโดยสม่ำเสมอ ทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้วหลาย ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต

    กรุณาอัปปมัญญา คือ ความสงสาร ปรารถนาดี อยากให้ตนเองและผู้อื่นพ้นจากทุกข์ ที่แผ่ออกไปโดยสม่ำเสมอ ทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต

    มุทิตาอัปปมัญญา คือ ความพลอยยินดี ไม่ริษยา ในความดีและผลของความดี ที่บุคคลใดๆ ได้รับจากการทำความดีของเขา จึงแผ่ความพลอยยินดีนี้ออกไปโดยสม่ำเสมอ ทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต

    อุเบกขาอัปปมัญญา คือ ความวางใจเป็นกลางได้ ด้วยปัญญาหยั่งถึง ความจริงตามกฎแห่งกรรมว่า สรรพสัตว์ย่อมดำเนินชีวิตและรับผล เป็นไปตามกรรมที่ได้สร้างมา เมื่อเราได้อนุเคราะห์ด้วยใจที่กอปรด้วยเมตตากรุณา จนสุดความสามารถแล้ว หากไม่อยู่ในกรณี่ที่จะมุทิตาพลอยยินดีได้ ก็ต้องปลงใจเป็นอุเบกขา ตั้งอยู่ในความเป็นกลาง แผ่้อุเบกขาความวางใจเป็นกลางได้นั้น ออกไปโดย สม่ำเสมอทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2009
  20. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...