วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    สวัสดีคับพี่ๆน้องๆทุกคนครับ วันนี้มีธรรมมะจากพระสารีบุตรมาเล่าสู่กันฟังครับ เหตุที่ต้องนำมาบอกกล่าวนั้นเดิมที ผมไปซื้อหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร ชีวิตเพื่อพุทธะ ทีแรกไม่ตั้งใจซื้อ แต่เหมือนพระท่านดลใจและอยากบอกอะไรผมผ่านหนังสือเล่มนี้ ถ้าจะให้ผมถามท่าน ผมก็ยังไม่คล่อง ยังจับภาพระไม่นิ่งเลยครับ เดินไปดู 3 ครั้งเลยซื้อมาอ่านครับ
    ขอยกตัวอย่างในธรรมะบรรยายสักตอนหนึ่งเผื่อว่าจะมีประโยชน์กับใครที่กำลังปกบัติอยู่ครับ
    <DL><DD> สัมมาทิฏฐิสูตร </DD></DL><DL><DD>ว่าด้วยความเห็นชอบ </DD></DL><DL><DD>สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก </DD></DL>เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น
    รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า
    สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
    ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน
    พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด
    ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น
    จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
    <DL><DD> ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง </DD></DL>อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
    พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า
    อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า
    ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
    ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา
    เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ
    อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัด
    ซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
    ราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง
    ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
    อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน
    แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
    <DL><DD> ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ </DD></DL>แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
    ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
    อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD>อาหารวาร </DD></DL><DL><DD> ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร </DD></DL>เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
    อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร
    ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่
    สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
    <DL><DD>๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด </DD></DL><DL><DD>๒ อาหาร คือ ผัสสะ </DD></DL><DL><DD>๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ] </DD></DL><DL><DD>๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖] </DD></DL><DL><DD>เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหา </DD></DL>ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ
    เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่าน
    ผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึง
    ความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
    มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์
    ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
    ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD> ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ </DD></DL>แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
    อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD>สัจจวาร </DD></DL><DL><DD> ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์ </DD></DL>ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความ
    แห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับ
    สิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วน
    เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน?
    ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลิน
    เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
    ทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความ
    วาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ
    คามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
    ความตั้งใจชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
    ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุ
    เพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ
    เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD>ชรามรณวาร </DD></DL><DL><DD> ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ </DD></DL>แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
    อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD> ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรา </DD></DL>และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชรา
    และมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ชรา
    และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ทางที่จะให้ถึงความดับชราและ
    มรณะ เป็นไฉน? ได้แก่ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่ง
    อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ความจุติ
    ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตก
    แห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
    อันนี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชรา
    และมรณะ ย่อมมีเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด ความดับชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติดับ
    อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้
    ถึงความดับชราและมรณะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิด
    แห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
    อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
    มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD>ชาติวาร </DD></DL><DL><DD> ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ เป็นไฉน?
    ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ
    ครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพ
    เป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆ
    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ
    สัทธรรมนี้
    <DL><DD>ภวาทิวาร </DD></DL><DL><DD> ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
    ก็ภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ เป็นไฉน? ได้แก่ ภพ ๓
    เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด
    ความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัด
    ซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
    ราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD> ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปทาน เหตุเกิดแห่งอุปทาน ความดับอุปทาน
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึง
    ความดับอุปาทาน เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน
    อัตตวาทุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทาน
    ย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน
    เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทานอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น
    ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD>ตัณหาทิวาร </DD></DL><DL><DD> ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
    ตัณหาเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น
    ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็น
    เหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
    อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD> ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
    เวทนา เป็นไฉน? ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
    โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
    เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนา
    ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุ
    เกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD> ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้. ก็ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และทางที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
    เป็นไฉน? ได้แก่ ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
    กายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะ
    ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ
    เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD> ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับ
    แห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ เป็นไฉน? ได้แก่ อายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก
    ลิ้น กาย ใจ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖ ย่อมมี
    เพราะนามรูปดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖
    เหตุเกิดอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ อย่างนี้ๆ
    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ
    สัทธรรมนี้.
    <DL><DD>นามรูปาทิวาร </DD></DL><DL><DD> ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับนามรูป เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม มหาภูต
    รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
    เหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณ
    ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับนามรูป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่ง
    นามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูปอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคา
    นุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD> ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ
    และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
    เป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
    ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุ
    ให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด
    แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD>สังขารวาร </DD></DL><DL><DD> ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
    เป็นไฉน? ได้แก่ สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร
    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
    ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ขัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวก
    ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD>อวิชชาวาร </DD></DL><DL><DD> ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับอวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึง
    ความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด
    ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ
    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวก
    รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อ
    นั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนิน
    ไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD> ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ </DD></DL>แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
    ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
    อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD>อาสววาร </DD></DL><DL><DD> ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ </DD></DL>อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ
    เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ
    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ
    พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ
    เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
    มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
    เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
    ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    <DL><DD>ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารี </DD></DL>บุตรแล้วแล.
    <DL><DD>จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙ </DD></DL><DL><DD>ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖ </DD></DL>นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕
    บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉน
    ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว
    บทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.

    อันนี้ผมอ้างอิงจากข้อมูลในเวปครับ เพราะอาจจะระเอียดกว่าและตรงประเด็นในการปฏิบัติ ณ ตอนนี้ครับ
     
  2. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    เมื่อเราได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติแล้ว
    -เราคงจะไม่ปล่อยให้คนร่วมโลกอีกไม่รู้กี่คน ที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยต้องตายไปฟรีๆ อย่างไม่เกิดประโยชน์
    -ดังนั้นหน้าที่ของพวกเราคือช่วยให้เพื่อนร่วมโลกอีกมากมายไม่มีที่สิ้นสุดนับจำนวนไม่ได้ ให้มีชีวิตรอดมากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้
    -ในเมื่อเรามีบุญและโอกาส ที่จะได้รับทราบเรื่องภัยพิบัติแล้ว
    ไม่ว่าเราจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เราก็ควรจะใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยของตัวเราเองให้ดีขึ้น
    -เพื่อให้อย่างน้อย เราก็จะได้จดจำว่าเราได้เกิดมาหนึ่งชาติ มันไม่ได้สูญเปล่า

    -ยังมีเด็กๆ อีกมากมายที่ทราบเกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติ และเตรียมตัวฝึกสมาธิมาแล้วพอสมควร
    -เด็กเหล่านี้ ทราบหมดแล้วว่าจะเกิดสิ่งใดขึ้นและควรจะทำตัวอย่างไรช่วงภัยพิบัติ
    -พวกเราคงไม่อยากจะนั่งตาแป๋วๆ เห็นเด็กตัวเล็กๆ ไปทำประโยชน์ให้สังคม ในขณะที่ตัวเราเอง ได้แต่นั่งดูอยู่เฉยๆนะครับ

    **อยากจะฝากไว้ว่าภัยพิบัติจะเกิดหรือไม่เกิด เราก็ต้องเป็นคนดีขึ้น เราก็ต้องสะสมบุญกุศล เราก็ต้องไปนิพพาน เราก็ต้องทำเพื่อส่วนรวม
    ดังนั้นเมื่อโอกาสมาแล้ว ให้เราได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ขอให้อย่าเสียมันไปนะครับ
     
  3. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    คุณเฟิร์ส บอกว่า หลวงพี่เล็กบอกว่า ถ้าเราพ้นภัยในวัฏฏสงสาร ภัยอื่นก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญอะไรเท่าไหร่เลย

    ขอบคุณกระทู้วิชชาฯค่ะ

    ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม
    จากนากามูระ ที่ได้มาจากครูบาอาจารย์
     
  4. dearestguardian

    dearestguardian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +1,418
    กราบบูชาคุณและเมตตาหลวงพี่เป็นที่สุดค่ะ ที่ช่วยชี้ทาง

    ขอน้อมรับคำสอนด้วยความจริงใจค่ะ ภัยใดๆๆในโลกนี้ก็ไม่ยิ่งใหญ่เท่าภัยแห่งวัฏฏะ เมื่อเทียบกันแล้ว ภัยธรรมชาติเป็นดั่งปรมาณูฝุ่นไปเลยภัยภายในเป็นเหตุแห่งสารพัดภัย

    คือภัยอันเกิดจากจิตติดแหง็กๆๆในอาสวะ กิเลส ตัณหา อุปาทานและอกุศลกรรมจิตก็สร้างและขยายกรอบแห่งอุปาทานตัวตนไปกว้างขึ้นๆๆ
    แล้วก็เต้นเร่าๆๆอยู่ในกรอบแห่งสุขทุกข์เหนื่อยนักก็นอนเนื่อง แล้วก็วิ่งๆๆๆๆต่อไม่จบไม่สิ้น
    มันเป็นภัยที่ย่ิงใหญ่กว่ภัยภายนอกตั้งเยอะ เพราะขังเราอยู่ในภัยทั้งปวงที่ต้องเผชิญอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    ข้าพเจ้ามิมีเจตนาจะขัดขวางการทำงานของกลุ่มภัยนะค่ะ(งานใดอันเกิดด้วยกุศลจิตย่อมเป็นคุณและโมทนาด้วยเสมอค่ะ) ที่พูดเพียงแค่แสดงความเห็นว่า กว่าจะเห็นทุกข์ภัยในตนและเข้าให้ถึงซึ่งความไร้ตัวตนบุคคลเราเขา สักแต่ว่าเป็นธรรมชาติหนึ่งๆๆvery ยากเพียงใด

    ขอขมากับทุกท่านค่ะหากความคิดเห็นนี้ขัดใครๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2008
  5. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    นี่คือวัตถุประสงค์หลักที่ทำให้เกิดกระทู้วิชชาขึ้นมาไม่ใช่หรือคะ...

    ที่อาจารย์คณานันท์เริ่มนำวิชชาที่พระท่านสอนมาเผยแพร่ก็เพราะต้องการให้ทุกคนรู้ตื่นจากภายในด้วยตัวของตัวเอง...

    การรู้ตื่นนี้ มิใช่แค่จะทำให้เรารู้ภาระ หน้าที่ของแต่ละคนว่าเกิดมาเพื่ออะไร... ใช่แค่การมากินบุญเก่า มาเสพสุขจากวัตถุสิ่งของ เครื่องใช้อำนวยความสะดวก และความบันเทิงต่างๆ ทางโลก ทำกันไปวันๆ แล้วก็ตาย แค่นั้นใช่ไหม...

    เมื่อแต่ละคนรู้ตื่นกันแล้ว... สิ่งที่จะตามมามีอีกมากมาย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การรู้จักภัยแห่งวัฏฏสงสารนี้เอง... เมื่อรู้แล้ว ก็พยายามหาทางออกให้ได้... ถึงแม้ชาตินี้ยังไม่ได้... วงจรของวัฏฏของผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมก็จะสั้นลงเรื่อยๆ... จนท้ายที่สุด... พวกเราทุกคนจะหลุดออกจากวงโคจรนี้ได้ แล้วไปพบกันที่บนพระนิพพาน...

    เพียงแต่ว่า... อย่าเพิ่งยุดเดินกัน... ถึงจะเหนื่อยบ้าง ท้อบ้าง บางทีก็รู้สึกเหมือนอยู่ตัวคนเดียวบ้าง... ก็พักสักนิด รวบรวมกำลังใจใหม่อีกสักหน่อย... แล้วลุกขึ้นเดินต่อ...

    มองดูรอบๆ เราจะเห็นพื่อนๆ ของเรากระจายตัวกันอยู่ตรงนู้นบ้าง ตรงนี้บ้าง... ถ้าเห็นใครมีท่าทางจะไม่ไหว... อย่าลืมช่วยๆ กันดึง ช่วยๆ กันกระตุ้น ให้กำลังใจกันบ้าง รอยยิ้มสักนิด ความจริงใจอีกสักหน่อย... สักวันเราก็จะถึงเป้าหมายนั้นแน่นอน...

    มาร่วมเป็นกำลังใจให้แก่กันและกันนะคะ...

    ขออาราธนาพระบารมีแห่งองค์พระรัตนตรัย ขอให้ทุกๆ ท่าน มีดวงตาเห็นธรรม มีความเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป และเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลันด้วยเทอญ... อย่าลืมไปเจอกันบนพระนิพพานนะคะ
     
  6. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    ขออนุโมทนาค่ะพี่ธร สำหรับสิ่งดีๆที่พี่ให้กำลังใจทุกคน พอมาอ่านที่พี่เขียน
    พอดีมาโดนใจน้องมากค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
     
  7. ชัยมงคล

    ชัยมงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2007
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +2,473
    มีคนบอกครับว่าคุณคณานันท์ที่หน้าอกสว่างเป็นผู้ทรงฌาน
    มาบอกเพื่อเป็นกำลังใจเพื่อนสมาชิกให้มีความเพียรทำกันให้ได้
    นะครับ
     
  8. Forever In LoVE

    Forever In LoVE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,349
    ค่าพลัง:
    +3,864


    :cool: :cool: :cool:
     
  9. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    ใครๆก็ตามกลิ่นหอมแห่งธรรมจากคุณคณานันท์มาค่ะ
    ถึงมองไม่เห็นแสงก็ตามค่ะ

    คนเห็นคือคุณลุงชัยมงคลเองหรือเปล่าคะ...
     
  10. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,116
    ค่าพลัง:
    +62,425
    [​IMG]
    Light from heart
    สาธุด้วยหัวใจเลยครับ แสงจากหน้าอกเป็น ความรักที่ไร้เงื่อนไข (อ้างอิงตำแหน่งจักระที่ 4)
    พวกเราสามารถเข้าถึงได้ทุกคน ปลดปล่อยออกมาให้มากที่สุดนะครับ

    (||)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2008
  11. ขันติ+โสรัจจะ

    ขันติ+โสรัจจะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +74
    กราบสวัสดีมิตรธรรมทุกท่านนะเจ้าคะ

    หนูเองใช้ลมหายใจโดยเปล่าประโยชน์มาเป็นเวลา20ปี

    เพิ่งจะพ้นคำว่าวัยรุ่นมา จึงได้เข้าใจ ว่าทางใดที่ควรจะไป ทางใดที่"จริง" ทางใดที่ทำให้หนูได้ใช้ลมหายใจนี้อย่างไม่เปล่าประโยชน์

    ณ เวลานี้ หนูมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติ แต่ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นค่ะ อยู่ในขั้นที่1

    คือ เริ่มละอบายมุข ถือศิล5 ทานเจ ทำบุญเรื่อยๆ แต่สมาธิยังพึ่งเริ่มค่ะ

    หนูมาศึกษาการนั่งสมาธิจากที่บอร์ดนี้นี่แหละค่ะ เนื่องด้วยชีวิตจริง บารมียังน้อย ยังไม่มีครูบาอาจารพานั่งสมาธิปฏิบัติค่ะ เป็นกำลังใจให้หนูด้วยนะคะ
    หนูจะพยายามอย่างสุดกำลังค่ะ ชาตินี้แม้อายุยังพึ่งขึ้นเลข2 แต่เนื่องด้วยหลงอยู่ในวัฏฏะ หลงอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง ความอยากทั้งหลาย กรรมที่ก่อไว้มากเหลือนัก (ทุกวันนี้เสียใจมากค่ะ ) จนหนูคิดว่ากรรมเหล่านั้นจะต้องมาขัดขวางทางปฏิบัติของหนูไม่มาก ไม่น้อย แต่หนูไม่เร่งรีบอะไรหรอกค่ะ ปฏิบัติและหมั่นสร้างบารมีไปเรื่อยๆ สักวันจะต้องถึงเป้าหมายอย่างแน่นอนค่ะ หนูเชื่อว่าอย่างนั้น

    ในตอนนี้หนูตื่นแล้วค่ะ แม้จะยังไม่รู้แจ้ง เด็กที่เคยเลวอย่างหนู เถียง+ว่าพ่อแม่ ครูบาอาจารย์คำไม่ตกฟาก โกหกพ่อแม่โดยไม่มีสามัญสำนึก ทุกวันนี้ก้มกราบเท้าพ่อแม่ นำตานองหน้า ขออโหสิกรรมจากท่านค่ะ เพราะเฉพาะเวรกรรมกับบุพการี ผู้เป็นพระพระในบ้านนั้น อีกหลายชาติก็คงไม่หมด เป็นกำลังใจให้หนูด้วยนะคะ มิตรธรรมทุกท่าน
     
  12. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    -เป็นกำลังใจให้ครับ ขอให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานโดยเร็ว
    หากว่างก็มาฝึกสมาธิด้วยกันก็ได้ครับ
    จะมีการจัดอยู่เรื่อยๆ ทุกๆเดือน
    -พักนี้มีอะไรๆแปลกๆออกมาเยอะ
    ไม่ว่าจะกลุ่มคนที่คล้ายจะหวังดี หรือกลุ่มคนที่หวังไม่ดีเลยก็ตาม จะเริ่มแสดงตัวมากขึ้น
    -ขอให้ทุกๆคนระมัดระวังตัว เลือกคนที่คุณจะติดต่อสนทนาด้วยให้ดีนะครับ
    -ผมพึ่งจะรู้ว่าอะไรหลายๆอยางไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราคิด
    อะไรหลายๆอย่างที่เราคิดก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกเสมอไป
    -วิชาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเราได้ฝึกแล้ว
    จะทำให้เรามีอารมณ์จิตที่ชุ่มเย็น สบายใจ
    -หากเราฝึกแล้วรู้สึกว่าอารมณ์มันแห้ง หนัก กดทับ ร้อน
    ให้ระวังไว้ด้วยว่าคุณอาจจะกำลังฝึกผิดวิธี หรือว่าฝึกผิดวิชา หรือฝึกอย่างเคร่งเครียดเกินไป
    -ตอนแรกที่ผมเริ่มปฏิบัติธรรม ผมจะพยายามทำตัวขลังๆ เช่น
    ถือศีลแบบเคร่งๆ ไม่เล่นกีฬา ไม่พูดกับใคร เก็บตัวเงียบคนเดียว พูดจาเป็นตรรกะวิชาการ
    -ผมพึ่งจะรู้ว่าผมปรุงแต่งไปเอง ผมไปหลงคิดเอาเองว่าจะต้องเป็นแบบนั้น
    มาตอนนี้ผมก็กลับไปออกกำลังกาย กลับมาคุยกับคนอื่นๆตามปกติ กลับมากินอาหารตามปกติ
    แล้วก็กลับมาใช้ชีวิตอย่างคนธรรมดาสามัญ
    แต่ว่ามีจิตใจที่เลวน้อยลงไปบ้างพอสมควร
    -ผมได้พบว่าเรื่องราวต่างๆที่คนส่วนมากคิดว่าจริง กลับเป็นเรื่องแต่ง
    ส่วนเรื่องที่เหมือนกับถูกแต่งขึ้น เป็นเรื่องจริง
    -พวกเราเคยปรามาสอะไรๆ มาเยอะมากมายกว่าที่พวกเราคิดและจดจำได้มากนัก
    ถ้าเราไปคิดว่าบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิเป็นสัมมาทิฏฐิ เราก็ผิด
    ถ้าเราไปคิดว่าบุคคลที่เป็นสัมมาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เราก็ผิดอีก
    -ดังนั้นแล้วพวกเราทุกๆคนเคยผิดพลาดมาทั้งนั้นและบางคนก็ยังผิดอยู่
    เพราะถ้าไม่มีความผิดเหลือยู่แล้วพวกเราคงจะไม่มานั่งกันอยู่ตรงนี้
    -ดังนั้นผมอยากจะแนะนำให้ทุกๆคนกราบขอขมากับคุณพระศรีรัตนตรัย กับเจ้ากรรมนายเวรกับคนที่เราเคยพลาดพลั้งไป ให้เยอะๆ ทำทุกๆเวลาที่นึกออก
    -แล้วก็อยากจะให้ทุกๆคนสำรวจตัวเองด้วย ว่าเรามีมิจฉาทิฏฐิมากแค่ไหน มีตรงจุดไหนบ้าง
    บางจุดเราก็ไม่ทราบว่ามันเป็นมิจฉาทิฏฐิ เราดันไปหลงซะอีก ดันคิดว่าเป็นส่วนที่ควรจะรักษาเอาไว้
    หากเราสิ้นแล้วซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ป่านนี้เราคงจะได้ไปอยู่ที่อื่นแล้วครับ
    -สำคัญที่สุดคือ เราห้ามประมาท ไปหลงว่าตัวเองดีเป็นอันขาด
    ความดีข้อหนึ่งที่ต้องเหลือในดวงจิตของทุกๆคน คือจะต้องคิดว่าเรายังเลวอยู่เสมอ
    หากเราคิดว่าตัวเราเองดีเลิศเลอ สมบูรณ์แบบแล้วเมื่อไร ตอนนั้นเราก็ไม่เหลือความดีอีกต่อไปแล้ว
    แต่หากเรายังคิดว่าเรายังเลวอยู่นะ เราก็ยังพอจะมีความดีเหลืออยู่บ้าง
    -ที่ผมอยากจะชี้ให้เห็นเกี่ยวกับเรื่องมิจฉาทิฏฐิ ก็เพราะว่าคนส่วนมากที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
    เขาก็ไม่รู้หรอกว่าตัวเขาเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ เขาก็ต้องคิดว่าตัวเขาถูกต้อง คนอื่นน่ะผิด
    แล้วเขาก็จะมีความหวังดีต่อผู้อื่น อยากจะให้ผู้อื่นได้"ดี"แบบที่เขา"ดี"
    ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่ค่อยจะดีอย่างที่เขาคิดเอาไว้หรอก
    หากเขาเลือกได้และรู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ถูก เขาก็คงจะปรับปรุงตัวเอง
    -ช่วงเวลาสำคัญมาถึงแล้วครับ
    เราจะยอมแพ้ให้กับความเลว หรือว่าเราจะเดินหน้าต่อสู้เอาชนะความเลวของตัวเราเองให้ได้
    เราทุกคนยังมีโอกาสปรับปรุงตัวได้ ขอให้ทุกๆคนอย่าเสียโอกาสและเวลาไปเปล่าๆนะครับ
    ผมเองก็จะไม่ยอมแพ้ให้ความเลวมากมายมหาศาลที่ยังเหลืออยู่ในจิตใจ
    ขอให้ทุกๆคนเดินหน้าเข้าสู่พระนิพพาน ได้สมตามความปรารถนานะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2008
  13. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <TABLE class=tborder id=post1098042 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>ชัยมงคลสถาน<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1098042", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 08:38 PM
    วันที่สมัคร: Sep 2007
    ข้อความ: 108 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 123 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 2,157 ครั้ง ใน 107 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 162 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1098042 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->มีคนบอกครับว่าคุณคณานันท์ที่หน้าอกสว่างเป็นผู้ทรงฌาน
    มาบอกเพื่อเป็นกำลังใจเพื่อนสมาชิกให้มีความเพียรทำกันให้ได้
    นะครับ
    <!-- / message --></TD></TR></TBODY></TABLE>
    อยากให้วางกำลังใจเป็นเรื่องธรรมดาปกติครับ

    เพราะพวกเราเองทุกๆคนก็ดีนั้น หากตั้งใจปฏิบัติทรง ภาพพระพุทธเจ้าเป็นพุทธานุสติ พรหมวิหารสี่ เมตตาอัปปันนาณฌานกันเอาไว้ก็สามารถ เข้าถึงได้กันทุกๆคนเป็นเรื่องธรรมดาครับ

    เราเป็นศิษย์ตถาคตก็เดินตามที่ พระพุทธองค์ท่านทรงสอนเอาไว้ครับ
     
  14. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    สาธุ

    ว่างๆ ก็มาฝึกสมาธิกับกลุ่มได้ มีคนที่จะช่วยกันฝึกช่วยกันแนะนำ ได้อย่างดี เยอะแยะไปหมดเลย
     
  15. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625

    ผมเคยเห็นพระพุทธเจ้าท่านมาครอบตัวพี่คณานันท์ (เห็นด้วยใจ) นานแล้ว ^^
     
  16. อิน

    อิน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +36

    ขอโมทนากับคุณคณานันท์และทุกๆท่านในอานิสงค์ทุกๆประการนะคะ

    ขออนุญาตถามค่ะ ว่าถ้าเรายังทำสมาธิไม่ได้ แต่เวลาไปทำบุญแล้วเราสามารถตั้งใจ(คิดเอาเอง) ว่าเราขอถวายสังฆทานนี้กับพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่พระนิพพาน(ตามแบบที่คุณคณานันท์กล่าวมา) ได้ไหมคะ

    ถ้ามีสิ่งใดผิดพลาดพลั้งล่วงเกินไป กราบขอขมาด้วยค่ะ

    ขออภัยที่ถามย้อนกลับไปไกล เพิ่งเข้ามาพบและอ่านถึงตรงนี้ แล้วเกิดสงสัยค่ะ ข้อความที่อ้างอิงคือ #577 หน้า 29 ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2008
  17. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ได้แน่นอนค่ะ... อานิสงค์ไม่ต่างจากที่อาจารย์คณานันท์กล่างถึงสักเท่าไหร่ค่ะ... เพียงแต่ว่าของอาจารย์ท่านเห็นด้วยจิตไปด้วย... แต่ทางด้านกำลังใจต้องใช้เช่นเดียวกันค่ะ...

    โมทนาด้วยนะคะที่ตั้งกำลังใจไว้ได้ถูกต้อง แน่วแน่ต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านค่ะ
     
  18. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    โมทนาด้วยค่ะที่น้องสามารถพลิกจิต กลับลำ ตั้งตัวใหม่ได้... พวกเราทุกคนคงไม่มีใครกล้ารับอย่างเต็มปากเต็มคำหรอกค่ะว่า ไม่เคยพลาด... มากบ้างน้อยบ้าง...

    แต่เมื่อพลาดไปแล้ว... รู้สำนึก กลับตัวกลับใจได้ใหม่ นั่นเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญ ชมเชยมากค่ะ...

    เรื่องมันผ่านไปแล้ว อย่านำมาสุมไว้ในดวงจิตนะคะ... เพราะจะทำให้ดวงจิตขุ่นมัว... ขอให้เก็บเรื่องต่างๆ นั้นไว้เป็นเพียงประสบการณ์สำหรับใช้สอน - เตือนตัวเอง ว่าอย่าพลาดแบบนั้นอีกค่ะ... แล้วปล่อยวางซะนะคะ...

    เวลาที่เหลืออยู่ตอนนี้... ขอให้นำมาใช้แสดงความกตัญญูรู้คุณต่อบุพการีให้มากที่สุดจะดีกว่าค่ะ... ทำให้ท่านสบายใจ เป็นสุขใจ และหันมาปฏิบัติธรรมร่วมกันกับเรา... นั่นเป็นวิธีที่ใช้ทดแทนพระคุณทั้งสองท่านได้ดีที่สุดเลยค่ะ...

    สำหรับตัวน้องเองเมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำในกระทู้นี้แล้ว... เกิดมีข้อสงสัย หรือไม่เข้าใจอะไร ถามได้เลยนะคะ... มีหลายๆ ท่าน รวมทั้งพี่ด้วย จะมาช่วยกันตอบข้อสงสัยให้ค่ะ...

    เป็นกำลังใจให้นะคะ...

    ด้วยพระบารมีแห่งองค์พระรัตนตรัย และกุศลผลบุญที่บังเกิดขึ้นนี้... ขอได้โปรดมารวมตัวกันและส่งผลให้น้อง มีความสุขทั้งทางโลก ทางธรรม เป็นสัมมาทิฐิ... มีดวงตาเห็นธรรม... เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป... เข้าถึงที่สุดแห่งธรรมโดยฉับพลัน... และมีพระนิพพานเป็นหลักชัยด้วยเทอญ
     
  19. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    Soft File รูปเล่มหนังสือ วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ
    สามารถดาวโหลดกันได้เลยครับ สำหรับท่านที่ต้องการจะเอาไปศึกษาก่อน
    อนุโมทนากับพี่ๆ ทีมงานทุกคนครับที่จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.zip
      ขนาดไฟล์:
      259.9 KB
      เปิดดู:
      104
    • 2.zip
      ขนาดไฟล์:
      10.4 KB
      เปิดดู:
      63
    • 3.zip
      ขนาดไฟล์:
      35.5 KB
      เปิดดู:
      64
    • 4.zip
      ขนาดไฟล์:
      11.1 KB
      เปิดดู:
      59
  20. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ อิน [​IMG]
    ขอโมทนากับคุณคณานันท์และทุกๆท่านในอานิสงค์ทุกๆประการนะคะ

    ขออนุญาตถามค่ะ ว่าถ้าเรายังทำสมาธิไม่ได้ แต่เวลาไปทำบุญแล้วเราสามารถตั้งใจ(คิดเอาเอง) ว่าเราขอถวายสังฆทานนี้กับพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่พระนิพพาน(ตามแบบที่คุณคณานันท์กล่าวมา) ได้ไหมคะ

    ถ้ามีสิ่งใดผิดพลาดพลั้งล่วงเกินไป กราบขอขมาด้วยค่ะ

    ขออภัยที่ถามย้อนกลับไปไกล เพิ่งเข้ามาพบและอ่านถึงตรงนี้ แล้วเกิดสงสัยค่ะ ข้อความที่อ้างอิงคือ #577 หน้า 29 ค่ะ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ได้แน่นอนค่ะ... อานิสงค์ไม่ต่างจากที่อาจารย์คณานันท์กล่างถึงสักเท่าไหร่ค่ะ... เพียงแต่ว่าของอาจารย์ท่านเห็นด้วยจิตไปด้วย... แต่ทางด้านกำลังใจต้องใช้เช่นเดียวกันค่ะ...

    โมทนาด้วยนะคะที่ตั้งกำลังใจไว้ได้ถูกต้อง แน่วแน่ต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านค่ะ
    <!-- / message --><!-- sig -->

    ____________________________________________________________

    ได้ครับ ถึงไม่เห็นแต่ ให้เราตั้ง "กำลังใจ" เอาไว้ว่าเราถวายพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานนั้น

    ตัวกำลังใจที่เราคิด เป็นแรงอธิฐานครับ มีผลอานิสงค์สูงกว่า แน่นอนครับ เพราะได้ข้อพุทธานุสติ จาคานุสติ และอุปมานุสติ(นิพพาน) ไปพร้อมๆกันครับ

    บุญทั้งปวงเกิดอานิสงค์ขึ้นก็ด้วยเจตนา เมื่อเจตนาก็คือ จิตที่ตั้งมั่นในการทำความดี เพียงแค่คิดดำริอยู่ในใจก็เกิดอานิสงค์แล้ว ในขั้นต้น

    หากเรามีปัญญาในการตั้ง"กำลังใจ" ทุกสิ่งล้วนเป็นบุญเป็นกุศลได้ทั้งสิ้น

    ได้มีโอกาสกราบหลวงพ่อประสิทธิ์ ท่านได้สอนว่า เพียงเราซื้อของ ควักเงินออกจากกระเป๋า แล้วเราตั้ง"กำลังใจ" แผ่เมตตาให้ให้ทุกๆคนที่เกี่ยวข้องในสิ่งของที่เราซื้อ ก็เป็นกุศลแล้ว

    เช่น เราควักตังค์ซื้อ กล้วยแขก 20 บาท เรากำหนด"กำลังใจ"ว่า เขาทำให้เราได้กินกล้วยแขก ดังนั้นเราปรารถนาให้เขามีความสุขความเจริญ ปัจจัยที่ราจ่ายได้กระจายไปถึงตั้งแต่

    -แม่ค้าขายกล้วยแขก
    -ชาวสวนปลูกกล้วย
    -คนปลูกปาร์มน้ำมัน
    -คนพับถุงกล้วยแขก

    ไล่ไปเรื่อยๆ ตามปัญญาของเราจะน้อมไปถึง ข้อนี้จะทำให้เราได้เห็นถึงความดีของผู้อื่น และจิตเราเปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารสี่เต็มอัตตรา

    และหากเรามีปัญญาสูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งเป็นโลกุตรธรรม ก็พิจารณาให้เห็นทุกข์ ในอริยสัจจ์

    -แม่ค้าขายกล้วยแขกต้องตรากตรำขายหน้าเตาร้อนๆทุกวันนี่ ทุกข์ไหม?

    -ชาวสวนตรากตรำปลูกกล้วยได้บ้างไม่ได้บ้าง นี่ทุกข์ไหม

    -คนพับถุงกล้วยแขก พับถูง ร้อยใบได้แค่สิบบาท นี่ลำบากไหม ทุกข์ไหม

    ก็จะเกิดปัญญาในวิปัสนาญาณได้อีกชั้นหนึ่งครับ

    ขอความเจริญด้วย"ปัญญาในธรรม"จงบังเกิดขึ้นในทุกๆดวงจิตผู้ปรารถนาในความดีทุกๆดวงด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...