สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คำทำนายที่น่ากลัวที่พึ่งได้เห็นผ่านตา ในราตรีนี้

    น่ากลัวสำหรับเราโดยเฉพาะ

    http://palungjit.org/threads/การมาของบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่จะช่วยค้ำพระพุทธศาสนา.624050/


    สืบเนื่องมาจากครั้งหนึ่ง ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านฤาษีสันตจิต(ลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระอริยคุณาธาร ปุสฺโส เส็ง และเป็นผู้ตรวจการผู้ช่วยภาค ๔ ท่านมีธุระที่ต้องเดินทางไปยังนครจำปาศักดิ์ ซึ่งเมื่อก่อนยังเป็นดินแดนของไทย แต่ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศลาว หลังจากที่ท่านเสร็จธุระแล้ว พร้อมกับถือโอกาสพักอยู่ที่นั่น 1 เดือน วันหนึ่งท่านมีโอกาสได้สนทนาธรรมกับเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิปัสสนาธุระ และความเป็นไปของพระสงฆ์ที่นั่นที่มีการปฏิบัติย่อหย่อน ซึ่งพระอริยคุณาธาร ปุสฺโส เส็ง ก็ได้แนะวิธีตรวจสอบพระอรหันต์หรือบุคคลที่แอบอ้างว่าตนเองสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วตามวิธีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยวิธีพระปรมาภิเษก ซึ่งพระพุทธองค์มักใช้วิธีละมุนละไมนี้กับพระสาวกทุกองค์ แม้แต่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านก็เคยทดสอบตัวท่านเองและคณะศิษย์ของท่านมาแล้วหลายองค์ ด้วยวิธีของพระพุทธองค์ 5 วิธี คือ


    1.ประเภทยอ พระองค์จะทรงสรรเสริญบุคคลที่สำคัญตนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ว่า มีคุณธรรมอย่างนั้นอย่างนี้เท่าที่มีจริงตามจริง จะทรงเปรียบเทียบว่าดีกว่าผู้นั้นผู้นี้ หรือดีกว่าใครๆ เพื่อจะหยั่งดูจิตใจว่า เขายินดีในคำสรรเสริญหรือไม่

    2.ประเภทยวน จะทรงเนรมิตภาพวิสภาคารมณ์(อารมณ์ที่ทำให้เกิดกำหนัด) มาให้เห็นหรือทรงดนตรีโลกุตระให้ฟัง เพื่อหยั่งดูว่าจะกำหนัดยินดีในวิสภาคารมณ์ หรือเสียงดนตรีหรือไม่

    3.ประเภทยั่วโทสะ จะทรงเนรมิตภาพศัตรูคู่เวรให้ปรากฏและทำการยั่วโทสะด้วยประการต่างๆ เพื่อหยั่งดูว่า จะมีโทสะหรือไม่

    4.ประเภทหลอก จะทรงเนรมิตภาพบุคคลเจ้าทิฐิมาถามปัญหาธรรมที่สุขุมคัมภีรภาพ หรือพูดแนะนำในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นปัญหา เพื่อหยั่งดูภูมิปัญญาว่า จะรู้จักเหตุผลเพียงไร

    5.ประเภทขู่ จะทรงเนรมิต ภาพบุคคลผู้มีอำนาจเหนือมาขู่ว่ามีความผิดร้ายแรงเป็นชนิดอุกฤษฎ์ มหันตโทษจะต้องประหารชีวิตแล้วทำการประหาร เพื่อหยั่งดูว่า จะเกิดความหวาดสะดุ้ง มีความอาลัยในชีวิตหรือไม่

    หลังจากสนทนากับเจ้าคณะจังหวัดมาถึงช่วงนี้ พระพรหมนารอด(นารกะ)ก็มาปรากฏองค์ในลักษณะทรงเจ้าคณะจังหวัด อย่างไม่คาดฝัน ท่านว่า “ข้าพเจ้าพระพรหมเป็นผู้ทำนาย มิใช่เจ้าคณะจังหวัด ข้าพเจ้ารู้จักคัมภีร์บ้าง รู้ด้วยตนเองบ้าง จึงทำนายให้ฟังเรื่องพระพุทธศาสนาเพื่อให้ท่านได้สังเกตการณ์ต่อไป” พร้อมกับกล่าวต่อไปว่า “เรามิใช่พุทธศาสนิกชนแต่เป็นฤาษีชีไพร สำเร็จณานสมาบัติ(เป็นผู้มุ่งดี) ตายแล้วได้อุบัติในพรหมโลก ไม่เป็นปฏิปักษ์กัน

    ฉะนั้นข้าพเจ้าสนใจในบวรพระพุทธศาสนาและได้สนับสนุนเสมอมา ข้าพเจ้าห่วงใยภัยอันตรายในพระศาสนา ในท่ามกลางอายุพระพุทธศาสนา จะมีภิกษุอลัชชีใจบาปนำลัทธิลามกเข้ามาแทรกปะปน ด้วยเห็นแก่ลาภสักการะ และยศศักดิ์เอากิเลสมาเป็นบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา จะลุกลามไปตามอารามต่างๆทำให้พระภิกษุที่ดีต้องเดือดร้อนระส่ำระสาย พลอยแปดเปื้อนมลทินไปด้วย เหล่าภิกษุอลัชชีจักกล่าวร้ายป้ายสีพระภิกษุดีๆด้วยประการต่างๆนานา เพื่อทำลายศรัทธาของสาธุชน แต่ด้วยบาปอกุศลบันดาลเขาจักทำการอันน่าบัดสียิ่งขึ้น จนประชาชนรู้ทันกลมารยาของเขาจักนั้นเขาจะพินาศไปตามๆกัน


    ที่นั้นจักมีพระภิกษุผู้วิเศษรู้เหตุการณ์ดีมีความรู้เชี่ยวชาญทางอภิญญา ชำระสะสางพระภิกษุอลัชชีออกจากคณะสงฆ์ทำให้คณะสงฆ์บริสุทธิ์สะอาดปราศจากคนชั่วปะปน พระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองและแผ่ไพศาลมากจนถึงนานาประเทศอย่างกว้างขวาง จักมีผู้เข้ามาทำนุบำรุงฟื้นฟูไปจนถึงอายุของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีกำหนด ๕,๐๐๐พระวัสสะ”

    พระอริยคุณาธาร ท่านสงสัยจึงถามไปว่า “พระภิกษุผู้วิเศษนั้นเป็นใคร”

    พระพรหมนารอดไม่ยอมตอบชื่อเพียงแต่กล่าวเป็นนัยว่า “ผู้ใดรู้จักเห็นพระพุทธเจ้าได้ ผู้นั้นเป็นผู้วิเศษ ท่านผู้นั้นรู้เหตุการณ์ดีกว่าใครๆในยุคเดียวกัน

    (คำทำนายนี้มีมาเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ นครจำปาศักดิ์) จากนิตยสาร
    โลกทิพย์ ฉบับที่ ๒๕ ปีที่ ๓ เดือนมกราคม(ฉบับหลัง) พ.ศ.๒๕๒๗ หน้า ๑
    ๐๕-๑๐๗


    หวังว่าท่านผู้นั้น จักเป็นผู้เจริญยิ่งกว่าที่เรารู้เห็น
    http://palungjit.org/threads/พบพระพุทธเจ้า-ถามเฉพาะ-คนที่ได้พบนะครับ-คนที่เข้ามาแนะนำอะไรไม่ต้องเข้ามานะครับ.569133/page-4

    เพราะไม่ฉนั้นแล้ว งานจะเข้า แค่นี้ก็อดทนอดกลั้นอยู่ในสภาพกล้้ำกลืนเต็มทนและเหลือทนในวิสัยคฤหัสถ์ฆราวาสแล้ว

    อย่าให้หลงตนเอง เพราะไม่อยากจะซวย ซวยในที่นี้คือ การแบกรับภาระที่สำคัญยิ่ง มากมายยิ่ง เกินสติปัญญาและความสามารถของตนเองในปัจจุบันกาล แต่ถ้าได้ ปาฎิหาริย์ ๓ และ ปฎิสัมภิทา ๔ /๑๖ อันสมบูรณ์ จะลงสนามทันที แบบทันตาเห็น

    ระดับ ๑ ล่างสุด /๑๖ นี่ไม่ไหวนะ
    พาโล อปริณายโก คนโง่ไม่ควรเป็นผู้นำ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2017
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201



    8:25 ตอบคำถาม วิมุตติยังไม่ใช่ที่สุด? ถามอีกอย่างตอบอีกอย่าง !

    เดินตาม โค อย่าคิดว่าเป็น โค /
    ถามวัว ตอบช้างม้างาควาย



    อันที่จริง
    นิสสรวิมุตติ คือ พระนิพพาน เป็น อสังขตะ

    แม้แต่การต่างที่มาอย่าง เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ ก็เช่นเดียวกัน สภาวะเดียวกัน

    ถ้าถามสภาวะของ พระสัทธรรม ก็ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะรู้อีก ว่า อกาลิโก ในที่นี้เป็น วิมุตติ หรือไม่เป็น วิมุตติ


    "
    การเพ่งวิมุุตติ เพื่อให้ได้ วิมุตติญานทัสสนะกถา หรือแปลงเป็นนิรุตติญานทัสสนะกถาธรรม แล้วนำลงมาถ่ายทอดนั่นเอง"

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2017
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ประเภทของพระนิพพาน

    พระนิพพาน มี ๑ ได้แก่

    สันติลักษณะ คือ ความสงบจากกิเลสและขันธ์ทั้งหลาย

    พระนิพพาน มี ๒ ได้แก่

    ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ หมายถึง นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่

    ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ไม่เป็นไปกับขันธ์ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตแล้วเรียกว่า "ปรินิพพาน"

    พระนิพพาน มี ๓ ได้แก่

    ๑. อนิมิตตนิพพาน คือ ภาวะของนิพพานนั้น ไม่มีนิมิตเครื่องหมายใดๆ ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจร ผู้เจริญวิปัสสนา เห็นว่า นาม-รูป นั้น ไม่เที่ยง การตามเห็นความไม่เที่ยงนี้ เรียกว่า อนิจจานุปัสนา ย่อมเข้าถึงพระนิพพานที่ไม่มีเครื่องหมายนิมิตใดๆ เรียกว่า อนิมิตตนิพพาน

    ๒. อัปปณิหิตนิพพาน คือ ภาวะของพระนิพพานนั้น เห็นว่าไม่เป็นที่ตั้ง แห่งความสุข และความปราถนาใดๆ ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจร ที่เจริญวิปัสสนาเห็นไตรลักษร์โดยความเป็นทุกข์ เห็นว่ารูป-นามขันธ์ ๕ นี้ เป็นที่ตั้งของทุกข์โดยแท้ แล้วตามความเห็นเป็นทุกข์ด้วย ทุกขานุปัสสนา ย่อมเข้าถึงพระนิพพานที่ไม่เป็นที่ตั้งของสุขใดๆเลย เรียกว่า อัปปณิหิตนิพพาน

    ๓. สุญญตนิพพาน คือภาวะของพระนิพพานนั้น ว่างจากตน ว่างจากกิเลสและขันธ์ ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจร ผู้เจริญวิปัสสนา เห็นไตรลักษณ์ โดยความเป็น อนัตตา เห็นว่า รูป-นามขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตน ไม่เป็นสาระแก่นสาร ไม่อยู่ในอำนาจของใคร และไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ แล้วตามเห็นอนัตตา ด้วยอนัตตานุปัสสนา ย่อมเข้าถึงพระนิพพาน ที่เรียกว่า สุยยตนิพพาน

    อีกนัยหนึ่ง นิพพาน มี ๓. ประเภท คือ

    ๑. กิเลสนิพพาน หมายถึง อนุสัยกิเลสดับเป็นสมุจเฉทปหาน

    ๒. ขันธนิพพาน พระอรหันต์ที่ดับขันธ์ปรินิพพาน ไม่มีการเกิดอีก

    ๓. ธาตุนิพพาน หมายถึง อันตรธาน แห่งพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า ในกาลที่จะสิ้น พระพุทธศาสนา (พ.ศ. ๕๐๐๐)

    พระนิพพานนี้ เป็น ขันธวิมุตติ คือถูกปฏิเสธความเป็นขันธ์ทุกอย่างว่า ไม่ใช่ดิน ไม่ใช่น้ำ ไม่ใช่ไฟ ไม่ใช่ลม ไม่ใช่จิต ไม่ใช่วิญญาน ไม่ใช่สัตว์บุคคล ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกหน้า ไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่ศีล ไม่ใช่สมาธิ ไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่อะไรทุกๆอย่าง

    นิพพาน คือ อารมณ์ ที่จิตเข้าไปรู้ เป็นนามธรรม

    แต่ทำไม เราจึงรู้ได้ว่า พระนิพพาน มีจริง

    ตอบว่า - ที่รู้ว่า พระนิพพาน มีจริง เพราะ

    - อาศัยการบรรลุของบุคคลผู้เข้าถึงมีอยู่

    - ความไม่เป็นหมันของมรรค ที่สมควรแก่การบรรลุพระนิพพานนั้นก็มี ถ้าพระนิพพานไม่มีข้อปฏิบัติ คือ มรรคก็จะถึงความเป็นหมันไป คือไม่มีข้อปฏิบัติ

    อีกประการหนื่ง ที่เชื่อว่า พระนิพพานมีจริงนั้น เพราะคุณของพระนิพพานมีอยู่ ความดับของกิเลสมีอยู่ ความพ้น(จากกิเลส และทุกข์)มีอยู่ และผู้ดับ มีอยู่ คุณธรรมของพระนิพพานนั้น มีโดยเอนกประการ จนไม่อาจพรรณนาให้หมดสิ้นสมบูรณ์ได้.



    ด้วยความไปถึง
    โคตรภูญาน ในครั้งเก่าก่อนอย่างเราจะให้วิสัชนา พระนิพพาน

    ถ้าจะให้ตอบอย่างที่ทราบถึงที่สุดโดยอุปมา องค์พระสัทธรรม ทรงเป็นอจิณไตยแห่งที่มา และเป็น อกาลิโกในทุกยุคทุกๆสมัย เป็นประตูหนทางเขาสู่ยังพระนิพพาน พูดตามสภาวะธรรมที่เห็นจะอุปมาได้ ก็คือ " ดินแดนที่มีการโอบอ้อมรายล้อมครอบป้องกันการเข้าออกอันกำแพงแก้วที่มีประตู อยู่หนึ่งประตู และเส้นทางเข้าไปสู่ประตูนี้ก็มีเพียงแต่ การบรรลุและเจริญเข้าสู่ทิพยภูมิของพระอริยะโดยองค์พระสัทธรรม มีลักษณะธรรมคือเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ และ นิสสรวิมุตติ คือ พระนิพพาน เป็น อสังขตะ " โดยอุปมาเพียงเท่านี้ฉนั้น


    ถ้าทำไม่ได้ไม่ได้ ก็ให้นึกถึง
    พระสัทธรรมคำสั่งสอนที่นำพาไปสู่ การคลายข้อกังวลและสงสัย โดยไม่ลืมตนว่า เรากำลังกล่าวถึงพระธรรมราชาผู้เป็นเจ้าของเรือน โดยไม่รู้ว่า พระธรรมราชานั้นก็ทรงเพ่งมองพิจารณามันสมองสติปัญญาของเรานั้นอยู่อย่างลุ้นๆ คืออยากให้ฉลาดคิดได้ด้วยตนเอง ปฎิบัติให้ถึงด้วยตนเอง แต่ด้วยไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นผู้อาศัยเรือนเลยทำให้ลืมถามเจ้าของเรือน


    ทิ้งภาชนะ
    ดิน เพื่อให้ได้ ภาชนะทอง

    ทิ้งโลกียะสุขโลกของอสัทธรรมของมาร " วัฏฏมาร เพื่อให้ได้ โลกุตระสุขโลกของพระสัทธรรม คือ พระนิพพาน

    กำแพงแก้วในที่นี้ คือ กำแพงที่ได้โดยยาก หายาก ดีล้น งามพร้อม

    ไม่ใช่บอกว่าเป็นแก้วหรือมณีใดๆ นี่อุปมา



    "
    ด้วยสภาวะธรรมที่ยังไม่สมบูรณ์ จึงไม่อาจพรรณาได้บริสุทธิคุณได้มากเพียงพอ อย่างที่ใจต้องการ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2017
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คำโต้แย้งของผู้สนทนา อันแสดงมาในในการแสดงกระทู้ โดยยก "คิริมานนทสูตร"
    {O}นอกจากพระนิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงตรัสสอนแล้ว อย่าถือเอาตามนิพพานของใครที่สอนมาอย่างผิดๆ{O}



    ----------- ไม่ใช่อรรถกถา ครับ อรรถกถาที่อธิบาย ข้อพระธรมในพระไตรปิฎก ไม่มีการเห็นนิพพานเป็นเมืองแบบบทความนี้ครับ

    บทความนี้ อ้าง พระนิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ฟังแต่ นิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    แต่บทความนี้เอง เสนอนิพพานแบบผิดๆ เป็นเมือง เป็นนคร ไม่ใช่นิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ไมมีการมา การไป


    เป็นการอ้าง คิริมานนทสูตร ที่ผิด
    เป็นการอ้าง คิริมานนทสุตร ที่เป็นพระสูตรไม่จริง ปลอม
    เคยมีผุ้นำมาเผยแพร่ แล้ว

    นิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีที่ทรงแสดงในพระไตรปิฎก ไม่เคยมีเป็นเมือง ไม่มีการมาการไป
    บทความที่ท่านนำมาเป็นเมือง ไม่ตรงกับนิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    -- ท่านเจ้าของกระทู้สงสัยอะไรอีก เกี่ยวกับนิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ---------------------------------------------------------------


    ตอบธรรมสากัจฉา "ธรรมยุทธิ์ "ในอดีต


    ผู้ที่ตีความไม่ออก คำว่าเมืองเป็นเพียง สรรพนามที่ใช้เรียก อย่างนี้ดีกว่า! ไม่ใช่เมืองจริงๆ สติปัญญามีเพียงเท่านี้หรือ จะให้เอาอะไร?มาพูดล่ะว่า มันมีลักษณะอาการเข้าไปอย่างนั้นๆ เข้าที่ไหน เข้าไปตรงไหน นิพพานน่ะ บรมสุข น่ะสุขที่ตรงไหน? รับรู้ได้อย่างไร? และประตูเมือง หรือทางเข้าน่ะ เข้าได้ยังไง นิพพานน่ะพานน่ะ แล้วจะไปที่ไหน? ถ้าไม่บอกว่า เป็น เมือง จะบอกว่า นรก เหรอ สวรรค์ เหรอ หรือว่า อยู่ในกะลา ปลากะป๋อง บ้ารึเปล่า สรรพนามการใช้แทน มีสติหรือเปล่าเนี่ย

    มันต้องมีสักที่ที่จะต้องไป ถ้าเขาบอกว่ามีเมือง ใช้สถานที่นั่นว่าเป็นเมือง แล้วฉลาดพอไหม?ว่าเป็นเมืองแบบไหน สติปัญญาของตัวท่านเองน่ะ มีปัญญาพอไหม? ที่จะวิสัชนาข้อนี้ เกี่ยวกับพระนิพพาน ถ้าค้านว่ามันไม่เป็นอะไรเลย ไม่มีสภาวะอะไรเลย นั่นก็ได้ไปแน่ที่นั่นน่ะ แบบไม่มีอะไร? ไม่เป็นอะไรเลย

    การที่เราแสดงไป ผู้ที่จะรู้ตามเรานี่ต้อง ระดับปฐมมรรคขึ้นไปแล้ว ที่จะไตร่ตรอง เอาตาสีตาสามาวิจารย์บ้าเสียเปล่าๆ หลอกดูภูมิหรือเปล่าเนี่ย งั้นไหนๆก้อไหนๆละ มาดูท่านอาจารย์ต่างๆได้พรรณนาแสดงพระนิพพานไว้กันสักที ใครชอบแบบไหนเห็นแบบไหนก็เลือกกันเอาเอง
    เผื่อจะไม่ชอบแบบมีที่ไป บอกได้ว่ามีอยู่มีจริงๆ ก็สุดยอดแล้ว

    ฯลฯ


    *ท้าวสหัมบดีพรหม* ขอพระองค์จงเปิดอริยมรรค อันเป็นประตูพระนิพพานเถิด

    {O}
    พระพุทธเจ้า{O} " ดูกรพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว "

    จะให้ว่าต่อไปยังไง ? นิพพานมีประตูรึ!

    คงเข้าใจแล้วนะ!



    ท้าวสหัมบดีพรหมทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม
    [๕๑๐] ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งใจของ
    อาตมภาพด้วยใจแล้ว ได้มีความปริวิตกว่า ดูกรท่านผู้เจริญ โลกจะหายละหนอ เพราะจิต
    ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าน้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไป
    เพื่อแสดงธรรม. ครั้นแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมหายไปในพรหมโลก มาปรากฏข้างหน้าของ
    อาตมภาพ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดแขนที่คู้ออก หรือพึงคู้แขนที่เหยียดเข้าฉะนั้น.
    ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีมาทางอาตมภาพแล้วได้
    กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด ขอ
    พระสุคตจงทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ ย่อมจะเสื่อม
    เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักยังมีอยู่. ดูกรราชกุมาร ท้าวสหัมบดีพรหม
    ได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว ภายหลังได้กล่าวคาถาประพันธ์อื่นนี้อีกว่า
    ธรรมที่ผู้มีมลทินทั้งหลายคิดกันแล้ว ไม่บริสุทธิ์ ได้ปรากฏใน
    ชนชาวมคธทั้งหลายมาก่อนแล้ว ขอพระองค์จงเปิดอริยมรรค อันเป็นประตูพระนิพพานเถิด ขอสัตว์ทั้งหลายจงได้ฟังธรรม
    ที่พระองค์ผู้ปราศจากมลทิน ตรัสรู้แล้วเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้มี
    เมธาดี มีจักษุรอบคอบ ขอพระองค์ผู้ปราศจากความโศก
    จงเสด็จขึ้นปัญญาปราสาทอันแล้วด้วยธรรม ทรงพิจารณาดู
    ประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นด้วยความโศก อันชาติชราครอบงำแล้ว
    เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาหินล้วน พึง
    เห็นประชุมชนโดยรอบ ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ทรงชนะ
    สงครามแล้ว ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร ผู้ไม่เป็นหนี้ ขอจงเสด็จ
    ลุกขึ้นเที่ยวไปในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม
    เถิด สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงจักมีอยู่.
    เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า
    [๕๑๑] ดูกรราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มีมีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
    บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้นได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มีมีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี. ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้นอาตมภาพได้กล่าวรับท้าวสหัมบดีพรหมด้วยคาถาว่า
    ดูกรพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย
    ผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่
    กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย.
    ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงเปิดโอกาส เพื่อจะแสดง-
    *ธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไปในที่นั้นเอง.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2017
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ดูที่ผลการปฏิบัติ ในวัตรปฎิบัติที่เอ่ยมาในอรรถธิบาย จะมีมาจากไหนก็แล้วแต่น่ะ ดูที่ประโยชน์ที่จะได้รับ อย่าดูที่ชื่อ นี่คือนักปฎิบัติอย่างแท้จริง รู้แต่ชื่อ ไม่รู้ประโยชน์ ไม่ปฎิบัติ ไม่ได้ถ้าทำให้สับสนในคุณความหมาย จะอธิบายให้

    ตามนี้
    วันนี้พึ่งสอนศิษย์ไปเกี่ยวกับการถาม เขาถามว่ามุณีคืออะไร ก็เลยถามกลับไปคืน ถามเพื่อจะหาประโยชน์อะไรจากคำนั้น คือมันต้องได้ประโยชน์จากการถาม คือความรู้ ไม่ใช่อยากรู้แค่เพียงความหมาย ถ้าจะเอาง่ายๆเปิดพจนานุกรมตอบชี้ชัด รู้ความหมายแล้วจะพอใจไหม? แล้วถ้า สำเนียงเสียงมันไปซ้ำเหมือนกับ คำศัพท์อื่น ในถ้วนทั่วไปในโลกล่ะ มันจะเข้าใจตรงกันไหมว่านั่น คือมุณี อุปมาดังนี้

    ก็เลยยกตัวอย่างถามคืนไปคือ ก๊องแก๊ง นี่คืออะไรมหมายความว่าอะไร ถ้าเราสมมุติว่า ช้าง คือ ก๊องแก๊ง เธอถามหาช้าง เธอรู้ว่ามันเป็น ช้าง จะได้อะไรจากช้าง

    แล้วถ้ามันมีความหมายเดียวกันกับ Elephant คือสมมุติในภาษาต่าง แต่เรียกไม่เหมือนกัน เราจะได้ประโยชน์อะไรจาก Elephant

    อย่าพอใจแค่คำถามที่ตั้งเพียงแค่อยากรู้ คำตอบ อย่าหาประโยชน์เพียงแค่นั้นกับเวลาที่มีคุณค่าในชีวิต เพราะประโยชน์ในการถามอื่น แล้วรู้เข้าใจสามารถปฎิบัติได้ให้ผลทันทีนั้นมีอยู่

    บัณฑิตจึงเป็นผู้คงแก่เรียน ควรถามหาคำตอบที่ได้ประโยชน์สูงสุด จากผู้ที่จะพอให้ความรู้ได้


    อย่าถามหาศีลข้อ ๑.อันมี ปาณาติปาตา เวรมณี ที่โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น เพราะมันไม่มี


    ถ้าเป็นปัญหาข้อติดขัดที่เราทราบจริงๆ เรารู้เราก็จะตอบทันที บอกภาวะอย่างชัดเจน นี่คือหาประโยชน์มาก

    อย่าสนใจในสิ่งที่มีประโยชน์น้อยทั้งๆที่รู้ดีอยู่แล้วสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นและมีประโยชน์โดยยิ่งกว่ายังมีอีกมาก

    บางสิ่งบางอย่างกินไปแล้ว แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร รู้แต่มันกินได้ เรื่องชื่อค่อยว่ากันอีกที

    นี่คือสิ่งที่หลายคนไม่รู้ตัวไม่สงสัยสมมุตินี้

    เรื่องการเสวยเวทนานั้นอยู่ก็เหมือนกันสำหรับเรื่องมรรคผล หลายคนที่มีฌาณ ญาณ แบบนั้นติดตัวมา แต่ก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร มีอยู่มาก

    หว่านแห ลงอวนตาถี่ ในหนองน้ำดี ย่อมได้สัตว์มากฉันใด ย่อมพร่าชีวิตสัตว์มากฉันนั้น


    พออุปมาได้ดังนี้ เป็นต้น
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขุททกนิกาย อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘ นิพพานสูตรที่ ๓
    อรรถกถาตติยนิพพานสูตร
    ตติยนิพพานสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า อถ โข ภควา เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า
    ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศโทษในสงสารโดยอเนกปริยายแล้ว ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันเกี่ยวด้วยพระนิพพาน โดยการแสดงเทียบเคียงเป็นต้นแล้ว
    ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศสงสารนี้ พร้อมด้วยเหตุ มีอวิชชาเป็นต้น อันชื่อว่าสเหตุกะ แต่ไม่ตรัสถึงเหตุอะไรๆ แห่งพระนิพพานซึ่งเป็นเหตุสงบสงสารนั้น พระนิพพานนี้นั้นจัดเป็นอเหตุกะ อเหตุกะนั้นจะเกิดได้ เพราะอรรถว่า มีการกระทำให้แจ้ง และมีอรรถเป็นอย่างไร.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอรรถนี้ ตามที่กล่าวแล้วของภิกษุเหล่านั้น.
    บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า พระองค์ทรงเปล่งอุทานนี้อันเป็นเหตุประกาศอมตมหานิพพาน อันมีอยู่โดยปรมัตถ์ เพื่อกำจัดความสงสัยของภิกษุเหล่านั้น และเพื่อหักรานมิจฉาวาทะ ของสมณพราหมณ์ในโลกนี้ ผู้ปฏิบัติผิด ผู้มีทิฏฐิคติหนาแน่น ในภายนอกทีเดียว เหมือนบุคคลผู้ยึดโลกเป็นใหญ่ว่า คำว่า นิพพาน นิพพาน เป็นเพียงแต่เรื่องพูดกันเท่านั้น แต่ความจริง เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ชื่อว่าพระนิพพาน ย่อมไม่มี เพราะมีการไม่เกิดเป็นสภาวะ.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของกันและกัน.
    อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพานชื่อว่าอชาตะ เพราะไม่เกิด คือไม่บังเกิด เพราะความพรั่งพร้อมแห่งเหตุ คือการประชุมแห่งเหตุและปัจจัย เหมือนเวทนาเป็นเป็นต้น ชื่อว่าอภูตะ เพราะเว้นจากเหตุ และตนเองเสีย ย่อมไม่มี คือไม่ปรากฏ ได้แก่ไม่เกิด ชื่อว่าอกตะ เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สร้างขึ้นเพราะไม่เกิด และเพราะไม่มีอย่างนี้.
    อนึ่ง เพื่อจะแสดงว่าสังขตธรรมมีนามรูปเป็นต้น มีการเกิด การมี การสร้างขึ้นเป็นสภาวะ พระนิพพานซึ่งมีอสังขตธรรมเป็นสภาวะ หาเป็นเช่นนั้นไม่ จึงตรัสว่า อสงฺขตํ ดังนี้.
    อนึ่ง เมื่อว่าโดยปฏิโลมตรัสว่า สังขตธรรม เพราะถูกปัจจัยอาศัยกันและกันสร้างให้มีขึ้น. อนึ่ง ท่านกล่าวว่าเป็นอสังขตะ เพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือเว้นจากลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง.
    เมื่อภาวะที่พระนิพพานบังเกิดด้วยเหตุมากมายอย่างนี้ สำเร็จแล้ว เพื่อจะแสดงว่า พระนิพพานไม่มีปัจจัยอะไรๆ แต่งขึ้น ด้วยความรังเกียจว่า พระนิพพานจะพึงมีเหตุอย่างหนึ่ง ตบแต่งหรือหนอ จึงตรัสว่า อกตํ ไม่ถูกเหตุอะไรๆ ตบแต่ง.
    แม้เมื่อพระนิพพานไม่มีปัจจัยอย่างนี้ เพื่อจะให้ความรังเกียจว่า พระนิพพานนี้เป็นขึ้น ปรากฏขึ้นเองหรือหนอ เป็นไปไม่ได้ จึงตรัสว่า อภูตํ.
    เพื่อจะแสดงว่า พระนิพพานนี้นั้น ไม่มีปัจจัยปรุง ไม่ได้แต่ง ไม่มีนี้ จะมีได้ เพราะพระนิพพานมีการไม่เกิดเป็นธรรมดา โดยประการทั้งปวง จึงตรัสว่า อชาตํ.
    บัณฑิตพึงทราบความที่บททั้ง ๔ นี้มีประโยชน์อย่างนี้แล้ว พึงทราบว่า พระองค์ทรงประกาศว่า พระนิพพานมีอยู่โดยปรมัตถ์ โดยพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย พระนิพพานนี้นั้นมีอยู่.
    ก็ในพระสูตรนี้พึงทราบเหตุในบท อาลปนะว่า ภิกฺขเว โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเปล่งจึงตรัสไว้แล้วในหนหลังแล.
    ดังนั้น พระศาสดา ครั้นตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระนิพพานไม่เกิด ไม่มี อันปัจจัยอะไรๆ ไม่แต่ง ไม่ปรุง มีอยู่ เมื่อจะทรงแสดงเหตุในข้อนั้น จึงตรัสคำว่า โน เจ ตํ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
    พระบาลีนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้.
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอสังขตธาตุ ซึ่งมีสภาวะไม่เกิดเป็นต้น จักไม่ได้มี หรือจักไม่พึงมีไซร้ ความสลัดออก คือความสงบโดยสิ้นเชิง ซึ่งสังขตะ กล่าวคือขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้น ซึ่งมีสภาวะเกิดขึ้นเป็นต้น ไม่พึงปรากฏ คือไม่พึงเกิด ไม่พึงมีในโลกนี้.
    จริงอยู่ ธรรมคืออริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น อันกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ย่อมตัดกิเลสได้เด็ดขาด. ด้วยเหตุนั้น ในที่นี้ ความไม่เป็นไป ความปราศจากไป ความสลัดออกแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมปรากฏ.
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงพระนิพพานว่ามีอยู่ โดยที่ภาวะตรงกันข้าม. บัดนี้ เพื่อจะแสดงพระนิพพานนั้น โดยนัยที่คล้อยตามจึงตรัสคำมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข ดังนี้.
    คำนั้น มีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล.
    ก็ในที่นี้ เพราะเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงอนุเคราะห์แก่สัตวโลกทั้งมวล จึงทรงแสดงความเกิดมีแห่งนิพพานธาตุโดยปรมัตถ์ โดยสุตตบทเป็นอเนกมีอาทิว่า๑- ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่เป็นอสังขตะ.
    ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในที่ที่ปฐวีธาตุ ไม่มีเลย ฐานะแม้นี้แลเห็นได้แสนยาก คือความสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง๒-
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เราจักแสดงอสังขตธรรม และปฏิปทาเครื่องให้สัตว์ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย.๓-
    ____________________________
    ๑- อภิ. สงฺ. เล่ม ๓๔/ข้อ ๓
    ๒- ขุ. อุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๑๕๘
    ๓- วิ. มหา. เล่ม ๔/ข้อ ๗

    และด้วยสูตรแม้นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พระนิพพาน ไม่เกิด มีอยู่ ฉะนั้น แม้ถ้าวิญญูชน ผู้กระทำไม่ให้ประจักษ์ในพระนิพพานนั้นไซร้ ก็ย่อมไม่มีความสงสัย หรือความเคลือบแคลงเลย. เพื่อจะบรรเทาความเคลือบแคลงของเหล่าบุคคล ผู้มีความรู้ในการแนะนำผู้อื่น ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้.
    การสลัดออกอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามและอารมณ์มีรูปเป็นต้นที่เวียนซ้าย คือที่มีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากนั้น ย่อมปรากฏโดยมุข คือการถอนออกจากทุกข์ หรือเพราะกำหนดรู้ อันมีการพิจารณาที่เหมาะสม พระนิพพานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสังขตธรรมทั้งหมด ซึ่งมีสภาวะเป็นเช่นนั้น คือมีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากนั้น พึงเป็นเครื่องสลัดออก.
    ก็พระนิพพาน อันเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกข์นั้น ก็คืออสังขตธาตุ.
    พึงทราบให้ยิ่งขึ้นไปอีกเล็กน้อย.
    วิปัสสนาญาณก็ดี อนุโลมญาณก็ดี ซึ่งมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ ย่อมไม่อาจจะละกิเลสได้โดยเด็ดขาด. อนึ่ง ญาณในปฐมฌานเป็นต้น ซึ่งมีสมมติสัจจะเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสได้ ด้วยวิกขัมภนปหานเท่านั้น หาละได้ด้วยสมุจเฉทปหานไม่. ดังนั้น อริยมรรคญาณอันกระทำการละกิเลสเหล่านั้นได้เด็ดขาด ก็พึงเป็นอารมณ์ ซึ่งมีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากญาณทั้งสองนั้น เพราะญาณซึ่งมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ และมีสมมติสัจจะเป็นอารมณ์ ไม่สามารถในการตัดกิเลสได้เด็ดขาดนั้น ชื่อว่า อสังขตธาตุ. อนึ่ง พระดำรัสที่ส่องถึงบทแห่งพระนิพพาน ซึ่งมีอยู่โดยปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นอรรถที่ไม่ผิดแผก ดังบาลีนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พระนิพพาน ไม่เกิด ไม่มี อันปัจจัยอะไรๆ ไม่แต่ง ไม่ปรุง มีอยู่, จริงอยู่ คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ซึ่งมีอรรถไม่ผิดแผก ดังที่ตรัสไว้ว่า๔- สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาดังนี้.
    ____________________________
    ๔- องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๕๗๖

    อนึ่ง นิพพานศัพท์ มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ตามเป็นจริง แม้ในอารมณ์บางอย่าง เพราะเกิดมีความเป็นไปเพียงอุปจาร เหมือนศัพท์ว่า สีหะ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอสังขตธาตุว่ามีอยู่โดยปรมัตถ์ แม้โดยยุติ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะพระนิพพาน มีสภาวะพ้นจากสิ่งที่มีภาวะตรงกันข้ามนั้น นอกนี้ เหมือนปฐวีธาตุ หรือเวทนา.

    จบอรรถกถา ตติยนิพพานสูตรที่ ๓



    {O}จริตธรรมที่แตกต่างกันเมื่อได้รับการอบรมที่ดีแล้วย่อมมุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน{O}


    เรามีจริตธรรมแตกต่างจากท่านผู้สงสัยในเรา ผู้ที่เขาเข้าใจในสิ่งที่เราแสดงก็มีไม่ใช่ไม่มี แต่ท่านสงสัยนี่ แล้วยังเอาเรื่องอื่นมาปลอมปน ยกเมฆมา นี่หมายถึง สางใยพันตนเอง เราจะเตือนก็สายไปเสียแล้ว อาศัยว่าสัญญาเน็ตดีกว่า มีเวลามาโพสว่างั้นเถอะ!

    จะรีบไปไหน? งง หรือคิดว่าเราโพสวันเดียวเสร็จ หรือไม่ได้เตรียมใจว่าจะมีใคร?หรือไม่มี ที่จะค้านเรามา คิดอย่างนี้ก็ตลกเหมือนกันนะคนดี
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ใน คิริมานนทสูตรนี้ ใครก็รู้ถ้าได้เคยพิจารณาตาม ย่อมต้องรู้ว่ามาจากผู้ปฎิบัติธรรมพิจารณาธรรม คือมีระดับสูงมาก สอนถูกสอนตรงหลายอย่าง

    เรื่องนั้นมีมูลอยู่ที่สามารถคัดค้านได้ว่า อาจไม่ใช่และไม่ใช่พุทธวจนะตามหลักฐานที่มีที่ทราบกัน แต่ผู้ที่คัดค้านว่าไม่ถูกต้องทั้งหมดในเนื้อความ ย่อมเป็นอามิสทายาทที่ไม่รู้จักพระนิพพาน แต่ถือดีไปสอนพระนิพพานหลอกลวงคน ค้านอรรถถานี้ทั้งหมด นั่นแสดงถึงเจตนาที่ซ่อนเล่ห์ไว้อยู่แล้ว ผู้มีปัญญาย่อมควรยกมาพิจารณาเป็นประโยคๆธรรมไป อย่างแยบคาย ถ้าเห็นจริงตรองตามได้ว่าถูกก็ต้องบอกว่าประโยค หรือข้อความนั้นถูก ตรงไหนผิดก็ต้องว่าผิด นี่จึงจะสมกับเป็นผู้ที่มีปัญญามาก เป็นบัณฑิตโดยธรรม ไม่ใช่คนพาล

    แต่ถ้ามันใช่ขึ้นมาจริงๆ ล่ะ ใครจะรับผิดชอบ ก็สมแล้วล่ะที่ต่างนิกายเขาไม่เอา พระไตรปิฏกแบบในไทยประเทศฯ เพราะไม่ใช่ปัญญาแยกแยะตัดสินใจในสรรพธรรมทั้งหลายฯ ทุกอย่างล้วนมีคุณมีโทษทั้งหมดแหละ แม้แต่พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาก็มีคุณและมีโทษ แก่ผู้ทำตามและไม่ปฎิบัติตาม (ไม่ปฎิบัติตามในที่นี่คือ น้อมตนเข้ามาแล้วในพระศาสนาแต่กลับปฎิบัติตนตามพระธรรมวินัยไม่ได้)แทนที่จะหาประโยชน์ในธรรม ดันหาโทษเจาะเรือคว่ำกลางมหาสมุทร พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนามีโทษกับ เดียร์ถีย์ที่แสดงคำสอนนอกพระพุทธศาสนา แยกแยะเป็นไหม?นะ พุทธแท้ หรือพุทธเทียม ถามตนเองดูหรือยัง?

    อ้างอิงประโยคนี้ขึ้นพิจารณา ยังมีอีกเยอะที่ถูกน่ะ!

    อันว่าบุคคลผู้จะสอน พระนิพพานนั้นต้องให้รู้แจ้งประจักษ์ชัดเจนว่า พระนิพพานมีอยู่ในที่นั้น ๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ ต้อง รู้ให้แจ้งชัด จะกล่าวแต่เพียงวาจาว่า นิพพาน ๆ ด้วยปาก แต่ใจไม่รู้แจ้งชัดเช่นนั้นไม่ควรเชื่อถือเลยต้องให้รู้แจ้งชัด ในใจก่อน จึงควรเป็นครูเป็นอาจารย์สอนท่านผู้อื่นต่อไป จะเป็นเด็กก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ตาม ถ้ารู้แจ้งชัดซึ่งพระนิพพานแล้ว ก็ควรเป็นครูเป็นอาจารย์และควรนับถือเป็นครูเป็น อาจารย์ได้ แม้จะเป็นผู้ใหญ่สูงศักดิ์สักปานใดก็ตาม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วไม่ควรนับถือเป็นครูเป็นอาจารย์เลย


    หรือมีท่านใดที่คิดว่า บุคคลผู้ไม่รู้ในพระนิพพาน ควรสอนคนไปนิพพาน
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    เมื่อไม่เห็นดีด้วย ก็คิดว่าตรงนี้ผิดไปด้วยสินะ! อย่าอ้างพระพุทธวจนะ นี่คนปฎิบัติเห็นปฎิเวธแล้วเขาอธิบาย เมื่อค้านตรงนี้ว่าไม่ใช่ ไม่มีอยู่จริง ไม่มีเนื้อหาอันเป็นจริง ก็ถือว่าได้ค้าน
    มหาจัตตารีสกสูตร ไปด้วย



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
    ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
    รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
    [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
    ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
    ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
    บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
    ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
    นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
    [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
    เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
    [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
    แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
    มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
    ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
    เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
    ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะ
    ติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว
    ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึง
    ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ
    ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่
    จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะ
    กลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗

    อ้างอิงจาก คิริมานนทสูตร ภาคพิศดารที่ใครหลายคนไม่ยอมรับทั้งหมดทุกเนื้อความ
    --------------------------------------------------------------------------------------------------
    บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่แจ้งไม่เข้าใจในพระนิพพาน ไม่ควรจะสั่งสอนพระนิพพานแก่ท่านผู้อื่น ถ้าขืนสั่งสอนก็จะพาท่านหลงหนทาง จะเป็นบาปเป็นกรรมแก่ตน ควรจะสั่งสอนแต่เพียงทางมนุษย์สุคติ สวรรค์สุคติเป็นต้นว่า สอนให้รู้จักทาน ให้รู้จักศีล ๕ ศีล ๘ ให้รู้กุศลกรรมบถ ให้รู้จักปฏิบัติมารดาบิดา ให้รู้จักอุปัชฌาย์อาจารย์ ให้รู้จักก่อสร้างบุญกุศลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น เพียงเท่านี้ก็อาจจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติพอสมควรอยู่แล้ว ส่วนความสุขในโลกุตตรนิพพานนั้น ผู้ใดต้องการจริง ต้องรักษาศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีลพระปาติโมกข์เสียก่อนจึงชื่อว่า เข้าใกล้ทาง มีโอกาสที่จะได้จะถึงโลกุตตรนิพพานโดยแท้ แม้ผู้ที่จะเจริญทางพระนิพพานนั้น ก็ให้รู้จักท่านผู้เป็นครูว่ารู้แจ้งทางพระนิพพานจริง จึงไปอยู่เล่าเรียน ถ้าไปอยู่ เล่าเรียนในสำนักของท่านผู้ไม่รู้ไม่แจ้ง ก็จะไม่สำเร็จโลกุตตรนิพพานได้เพราะว่าทางแห่งโลกุตตรนิพพานนี้ เล่าเรียนได้ด้วยยากยิ่งนัก ด้วยเหตุสัตว์ยินดีอยู่ในกามสุข อันเป็นข้าศึกแก่พระนิพพานโดยมาก
    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    แสดงว่าก็เชื่อว่า สวรรค์นรกไม่มี ไม่ต้องปฎิบัติเลี้ยงดูพ่อแม่ ผลศีลบุญทาน ผลบุญฯลฯนั้นไม่มีตามนี้ด้วย บ้าไปแล้ว!
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ในทางพุทธศาสนาถือว่าเรื่องอจินไตย เป็นเรื่องที่เกินกว่าสามัญชนคนธรรมดาอย่างเราๆจะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง จนบางครั้งเกินกว่าสติปัญญาของคนทั่วไปจะเข้าใจได้ คิดมาก อยากรู้มาก จะทำให้เป็นบ้าได้ แต่อจินไตยนี้สามารถรับรู้ได้ด้วยการบรรลุธรรมขั้นสูงเท่านั้น

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า…

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน อจินไตย ๔ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปฎิโลม
    คำถามชวนคิด ถ้าบรรลุแล้ว สามารถท่องภพภูมิอื่นได้หรือไม่

    ได้ถ้าเป็น สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ หมายถึง นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่
    หรือ กิเลสนิพพานเป็นต้น

    Target การรู้จักมหาไตรลักษณะนั้นจำเป็นมากนะ

    ในระหว่างประตูทั้งหลายนั้น มันจะมีลวงตาเหมือนพยับแดดอยู่ ผู้ใดพิจารณาดีแล้ว ย่อมเลือกได้ ทางตันนั้นต้องอาศัยมรรค๘ ที่เป็นเส้นทางตรงและต้องเป็นกุญแจ หรือเครื่องเจาะให้ทะลุเข้าไปแล้ว


    อนุโลม
    มิน่า ประตูอื่นเจาะง่าย แต่ประตูใดที่ ไม่ใช่ทางแห่งพระอรหันต์ และเป็นพระอรหันต์ จะเจาะเข้าไปไม่ได้



    และถ้ายังไม่สำเร็จหรือบรรลุ อย่างเช่น สภาวะของ โมกษะ และสิทธศิลา ที่คิดว่า ได้หลุดพ้นแล้ว ก็จะเรียกว่า เข้าผิด

    กุญแจนี้เป็นมาสเตอร์คีย์ไขได้ทุกบาน นี่ล่ะปัญหา ไขแล้วเผลอเข้าไปมั่วๆเสร็จแน่

    ไม่รู้จุดมุ่งหมาย จะไปไหน จึงจำเป็นต้องรู้ประตูทางเข้า ที่สมบูรณ์ที่สุด ดีที่สุด แกร่งที่สุด ในบรรดาประตูทั้งหมด

    ถึงเวลานั้นจะมีเวลาได้เลือกไหม?นะ ท่าทางจะสับสน จริงๆ โอกาสที่จะสลายประตูอื่นที่บังตา ต้องพึ่งตนเองแล้ว สมแล้วที่ต้องสั่งสม สุตตะให้มากๆ จึงจะแยกแยะได้

    ไม่รู้สถานะที่ไป จะไปไหนได้ ใช่ไหม? อะไรล่ะที่จะทำให้รู้ที่ไป


    มีแผนที่ ครบ มีจุดมุ่งหมาย มีความตั้งใจ แต่ไม่รู้ลักษณะ ของสิ่งนั้น ลักษณะภูมิประเทศ ชัยภูมินั้นๆ

    ต่อให้ไปถึง เห็นก็ตาม ก็ไม่รู้ว่าใช่ เพราะไม่เคยเห็น มิน่าจึงมีตัวแท้ตัวปลอมอยู่มากหลอก ให้หลงในพระนิพพาน ไปนิพพานโลกแล้วกระมัง ไม่ก็ นิพพานพรหม แย่เหมือนกันนะแบบนั้น

    ที่แย่ที่สุด เข้าไปแล้ว หมดสิทธิ์ออก ระยะกาลหนักกว่าอรูปพรหม รอลุ้นอีกทีฯ

    เพราะคิดอยากจะไปท่าเดียว แต่ไม่รู้ที่ที่จะไป เพราะรู้แค่ชื่อ ก็คิดว่าจะได้ไป และไปถึง เห็นเป็นของง่ายอย่างนั้น ทั้ง มารโลก พรหมโลก เทวดาโลก ฯลฯ เขาคงไปกันหมดแล้ว ต่อให้ข้ามขันธมารได้ รู้มรรค๘ ก็ใช่ว่าจะไปถึง ไปถูก อย่างนี้นี่เอง เป็นอย่างนี้นี่เอง
    เป็นพระมหากรุณาธิคุณมากจริงๆ ที่ทรงตรัสสอน อสังขตธรรมและสังขตธรรมเอาไว้ ไม่อย่างนั้นเสร็จแน่ๆ ดับแบบไม่รู้ตัว กับดับแบบรู้นี่ไปคนละทางเลย

    ต้องสั่งสมให้มากๆ เราได้แค่นิดเดียวเอง แค่เดือนสองเดือนเอง นับเป็นเวลาไม่กี่วันและชั่วโมง ก็เข้าถึงหน้าประตูพระนิพพานแล้ว โดยไม่รู้จักอสังขธรรมมาก่อนก็รู้สภาพนั้นล่วงหน้าด้วยการพิจารณา มหาไตรลักษณะ ถ้าเอาไตรลักษณะอย่างอื่น จะหลงไปกว้างมากๆ ไม่ดึงพระสูตรอื่นได้เทียมเท่าด้วย อันตรายมากๆ สำหรับนักธรรม

    แค่เดือนสองเดือนเราก็รู้ว่า เรื่องบำเพ็ญทุกรกิริยามีผู้ปกปิดเปลี่ยนแปลง และทำลายกล่าวดูหมิ่นสติปัญญา ของพระมหาโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญบารมี๑๐มา ว่าไปทำอะไรที่หลงและโง่

    คำสอนของพระองค์ มีมากมายจนต้องจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ถึง ๙ หมวดใหญ่ เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบด้วย
    ๑ สุตตะ หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงธรรมด้วยเนื้อความที่จบเป็นเรื่องหนึ่ง ๆ ได้แก่ พระสูตรต่าง ๆ เช่น มหาปรินิพพานสูตร เป็นต้น รวมทั้งพระวินัยปิฎก และนิทเทส (คัมภีร์อธิบายขยายความพุทธภาษิตเพิ่มเติม)
    ๒ เคยยะ หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงธรรมด้วยเนื้อความที่เป็นร้อยแก้วผสมกับร้อยกรองทั้งหมด ได้แก่ พระสูตรต่าง ๆ ที่มีเนื้อความเรียงและการประพันธ์คาถาเป็นโคลงฉันท์อยู่ในพระสูตรเดียวกัน
    ๓ เวยยากรณะ หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงธรรมด้วยเนื้อความที่เป็นร้อยแก้ว (ความเรียง) ล้วน ๆ ไม่มีการประพันธ์คาถาเป็นโคลงฉันท์ร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธวจนะที่ไม่ได้จัดเข้าในหมวดอื่นทั้ง ๘ หมวด
    ๔ คาถา หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงธรรมด้วยการประพันธ์เนื้อความที่เป็นร้อยกรอง ล้วน ๆ เช่น ธรรมบทเถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วน ๆ ที่ไม่มีชื่อ
    ๕ อุทาน หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงธรรมด้วยการเปล่งพระอุทานด้วยพระโสมนัสญาณ ได้แก่ พระสูตร ๘๒ สูตร
    ๖ อิติวุตตกะ หมายถึง พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยถ้อยคำแสดงธรรมว่า ข้อนี้สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
    ๗ ชาตกะ (ชาดก) หมายถึง ถ้อยคำที่แสดงธรรมด้วยการเปิดเผยเรื่องราวในอดีตชาติ เมื่อครั้งพระองค์ยังทรงสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ มีทั้งหมด ๕๕๐ เรื่อง
    ๘ อัพภูตธรรม หมายถึง พระสูตรที่มีเรื่องอัศจรรย์อยู่ในการแสดงธรรมครั้งนั้น เช่น ที่ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ อย่างนี้ หาได้ในอานนท์
    ๙ เวทัลละ หมายถึง พระสูตรที่แสดงธรรมด้วยการถามและการตอบที่ลุ่มลึกยิ่ง ๆ ขึ้นไปตามลำดับ ซึ่งทำให้ผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพึงพอใจ เช่น มหาเวทัลลสูตร สักกปัญหสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร เป็นต้น
    ภายหลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้มีการสังคายนาและจัดเรียง หมวดหมู่พระธรรมคำสอนหรือนวังคสัตถุศาสน์ทั้ง ๙ หมวดนี้ใหม่ กลายเป็นพระไตรปิฎก สืบทอดกันมาถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก

    แล้วถ้าถามว่านิพพานแล้วออกไปออกมาจากประตูได้อีกไหม? จะออกมาทำอะไร? ระบบธรรมสมบัติก็มีให้แล้ว เอาไว้ได้นิพพานแล้ว ถ้ามาได้จะมา

    เห็นมีแต่ทรงสอนทางไปพระนิพพาน

    " หรือว่าจะมี "

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายฯ เมื่อเธอไปถึงพระนิพพานแล้ว เราจะสอนวิธีการที่ทำให้เธอสามารถออกมาจากพระนิพพาน ด้วย มรรค ๑๐๘ "

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2017
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ๑. นิพพานสูตรที่ ๑
    [๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค
    ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย
    ธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน
    ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว
    น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้-
    *มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
    จุติ เป็นการอุปบัติ


    อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
    นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

    จบสูตรที่ ๑
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระนิพพานตามความเห็นของพระเถรานุเถระเจ้าและท่านอื่นๆที่ปรากฎ

    สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช
    "พระพุทธเจ้าท่านเพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น พระบารมีและคุณธรรมยังอยู่ ทรงเสด็จไปสอนด้วยพระพุทธบารมีได้"


    สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)
    "สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตาเว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพานจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"


    หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด) "วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา
    อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา"


    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
    "นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น "


    พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย ์ สิริจนฺโท จันทร์
    "พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย"


    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
    "สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ"


    ท่านเจ้าคุณธมฺมวิตกฺโก

    "ตายแล้วจิตยังติดต่อกันได้"


    หลวงพ่อเกษม เขมโก

    "พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้ท่านอยู่นอกโลก"


    หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    "ส่วนกายพระอรหัต ถ้าถึงพระอรหัตละก็ นิจจัง สุขัง อัตตาแท้ๆกายธรรมมีขันธ์เหมือนกัน แต่เป็นธรรมขันธ์ ท่านไม่เรียกเบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์เสียมีธาตุเหมือนกันเป็นวิราคธาตุ เป็นวิราคธรรมม"


    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    "องค์สมเด็จพระบรมครูตรัสว่า ...โมกขราชเรากล่าวว่า นิพพานนั้นหมายถึงกิเลสดับ
    และขันธ์ ๕ ดับ... พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า จิตดับ"


    อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)
    " พระธรรมกาย ได้เแก่พระกายอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะแก่เทวา และมนุษย์ หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้วเป็นพระกายที่เที่ยงแท้ไม่สูญสลาย อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุม
    แม้ตาทิพย์ของเทวดาก็มองไม่เห็น"


    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    "พระนิพพานมีอยู่ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานก็มีอยู่ในพระนิพพานนั้นแล ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเมื่อไร เมื่อนั้นแหละจึงจะเห็นจะรู้ที่อยู่พระพุทธเจ้า ที่อยู่ของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย"


    หลวงปู่บุดดา ถาวโร
    "นิพพานไม่สูญ เป็นแต่อาสวะกิเลสสูญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม วิบากมันสูญ แต่ สังคตะธรรม อสังคะธรรมวิราคะธรรมมันไม่ได้หมดไปด้วย"


    หลวงปู่ดูลย์ อตโล

    "นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง"


    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    " อย่าไปยึดถือมัน ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกูอยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิงก็แม่นจิตนั้นแหละ เป็นผู้ว่า มันไม่มีตนมีตัวดอกแล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสียให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพาน"


    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    "พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผมผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรือไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้นพระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌานเป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง"


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    "ดวงจิตนี้ไม่เคยสูญ แดนพระนิพพานมีจริง หลวงปู่มั่นเล่าว่า พระพุทธเจ้าหลายพระองค์
    เสด็จมาเยี่ยมท่าน"


    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    "นิพพานไม่ได้สูญ ไม่ได้อยู่ตามที่โลกคาดคะเนหรือเดากันทำจริงจะได้เห็นของจริง รู้จริง และจะเห็นนิพพานเองเห็นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านบริสุทธิ์เอง
    และหายสงสัยโดยประการทั้งปวง"

    พระเทพสิทธิมุนี
    (พระอาจารย์โชฎก ญาณสิทธิ)
    " พระอรหันต์มี ความว่างจากตัวตน-ของตน โดยสิ้นเชิง มีอิสระเหนือทุกอย่าง ที่เรียกว่า "ว่าง" นี้ คือไม่ใช่ว่างชนิดที่เขาพูดกันว่าเช่นว่า จิตนึกคิดอะไรไม่ได้ กายก็แข็งทื่อเป็นท่อนไม้แต่ที่ถูกนั้นเป็นความว่างจากกิเลส ว่างที่เฉลียวฉลาดที่สุด"


    หลวงปู่อ่ำ พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต)
    "พระพุทธกัสสป เมื่อดับขันธ์ปรินิพพาน เข้าเมืองแสงใส ซึ่งก็คือเมืองแก้วแสงใส ชื่อไทยนี้ คนไทยคงเรียก นิพพาน มานานแล้ว ปราชญ์บัณฑิตโบราณาจารย์จึงกล่าวเสมอๆ เช่น ถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้ว คือ อมตมหานครนฤพานดังใน มหาเวสสันดรเทศนา กุมารกัณฑ์


    พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์
    (หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา)
    " นิพพานเป็นแดนแห่งความมั่นเที่ยง นิพพานแล้วเป็นสุข นิพพานมีสาระเป็นแก่นสาร
    นิพพานมีความเป็นสุขอย่างยิ่ง พระนิพพานไม่ใช่อัตตา พระนิพพานเป็นปัจจัตตัง"


    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    "จิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลายแลไม่ใช่ของสูญหาย พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ "


    หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    " สูญในพระนิพพานมีขอบเขตสูญจากกิเลสเท่านั้นรสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตาเหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก"


    หลวงปู่ลี ธมมฺโร วัดอโศการาม
    " โลกนิพพาน ไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งตาย กายเป็นของสูญ จิตเป็นของไม่สูญ ไม่ตาย จิตที่ดับจากกาย ย่อมหายไป เหมือนกับไฟที่ดับจากเทียน"


    พระนาคเสน มหาเถระ
    ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา
    " ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน.....พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.........นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส"


    ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท
    "พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้หายบมิรู้แปรปรวนไปมา "


    พ่อท่านสมณะโพธิรักษ์ สันติอโศก.... จิตของพระพุทธเจ้า ของพระอรหันต์ นั้นจะสูญสลายเมื่อนิพพานแล้ว ใครเข้าใจว่าจิตแม้จะถึงนิพพานแล้วก็ยังคงมีจิต ยังไม่สูญ ถือว่าเข้าใจเพี้ยน ใครเข้าพระพุทธเจ้าหลังปรินิพพานมีจิตมีวิญญาณมีอำนาจบันดลบันดาล ถือว่าไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ...


    พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) ......ในพระไตรปิฎกมีแต่ระบุลงไปว่านิพพานเป็นอนัตตา นิพพานไม่ใช่อัตตา....


    หลวงปู่พุทธะอิสระ แห่งวัดอ้อน้อย นครปฐม .......นิพพานไม่ใช่เป็นบ้านเป็นเมือง นิพพานไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน นิพพานของพระพุทธเจ้าไม่มีตัวตน เพราะฉะนั้นคำว่ามีแก้วใสผลึกมันก็ยังเป็นอัตตามีตัวตน เป็นเพียงแค่สภาวะชั้นพรหมเท่านั้นไม่ใช่นิพพาน .......


    ท่านพุทธทาสภิกขุ ..... การเชื่อว่า วิญญาญหรือจิตของพระพุทธองค์เป็นอมตะ คอยเฝ้าดูพวกเราหรือโลกอยู่มาจนบัดนี้นั้นเป็นของขบขันเหลือเกิน ความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณของพระพุทธองค์ยังเหลืออยู่เป็นความเชื่อที่ขวางกับหลักธรรมะและเหตุผลทั่วไปอย่างรุนแรง...


    พระพุทธเจ้าท่านเพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น พระบารมีและคุณธรรมยังอยู่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    (ยมกสูตร) มีผู้หลงว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าจึงตอบว่า ขันธิ์ 5 ไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ ดังนั้น พระอรหันต์ตายแล้วไม่สูญ แต่ไม่ควรถามว่าตายแล้วไปไหน เหมือนกับไฟดับแล้ว ก็ไม่ควรบอกว่าไฟสูญหรือถามว่าไฟดับแล้วไปไหน.....
    อ่านเพิ่มเติมที่ หนังสือ ๔๕ พรรษา ของพระพุทธเจ้า หน้า 125-126 พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2532 ครั้งที่ 1 ปี 2510

    พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วไม่ได้หายไปไหน พระพุทธบารมียังปกปักรักษาโลกอยู่ คนในโลกยังรับพระพุทธบารมีได้ มิได้แตกต่างไปจากเมื่อยังทรงดำรงพระชนม์อยู่ เพียงแต่ว่าจำเป็นต้องเปิดใจออกรับ มิฉะนั้นก็จะรับไม่ได้ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอีกต่อไป แต่พระพุทธบารมียังพรั่งพร้อม พระอาจารย์สำคัญองค์หนึ่งท่านเล่าไว้ว่าเมื่อท่านปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นอยู่ในป่าดงพงพีนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงสอนท่านด้วยพระพุทธบารมีเสมอ แล้วท่านพระอาจารย์องค์นั้น ต่อมาก็เป็นที่ศรัทธาเคารพของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่เชื่อมั่นว่าท่านปฏิบัติถึงจุดหมายปลายทางแล้ว พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ด้วยพระพุทธบารมีได้ เสด็จไปทรงแสดงธรรมโปรดพระอาจารย์องค์สำคัญให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ ไม่มีอะไรให้สงสัยว่าเป็นสิ่งสุดวิสัย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เรื่องของท่านพระโมคคัลลาน์เป็นเครื่องให้ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ่มชัดว่าพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตเจ้าก็ดี แม้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านก็เพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น บารมีและคุณธรรมทั้งปวงของท่านยังพรั่งพร้อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง......


    ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท
    ทรงนิพนธ์เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ระกาศก ศักราชได้ ๒๓

    พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้หายบมิรู้แปรปรวนไปมา แลฝูงสัตว์ทงหลายอยู่ในไตรภูมินี้แล ฯ กล่าวเถิงไตรภูมิกถามมหานิพพานแล ฯ

    เพิ่มเติมที่ พระนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง ฉบับพญาลิไท กล่าวถึงกามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
    และส่วนท้ายของหนังสือกล่าวถึงแดนพระนิพพาน



    สมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์ หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)
    พระเถระสมัยกรุงศรีอยุธยา

    พุทธะ อยู่ในกายมนุษย์

    อีกจุดหนึ่งที่มนุษย์ไม่ยอมสนใจ คือไม่สนใจค้นในกายของตนเอง สิ่งหนึ่งที่เรียกว่า พุทธะ นั้นอยู่ในกาย ถ้าจิตของผู้นั้นสามารถค้นเข้าไปถึงกายในกายอันบริสุทธิ์ สิ่งนี้ภาษาทางโลกเรียกว่า พลัง ชนิดหนึ่งที่ยอดเยี่ยมอยู่ในตัวเรา แต่เราไม่รู้จักค้นออกมาใช้ เพราะอะไรเล่า ทำไมเราจึงถามว่าเหตุใดองค์สมณะโคดมจึงสามารถระลึกชาติได้ เพราะมีบุพเพนิาสานุสติกญาณ มีอนาคตญาณ หรือมีญาณอะไร สิ่งเหล่านี้เราไม่ต้องไปรับรู้ เราไม่ต้องยุ่ง เราไม่ต้องไปคิดถึงว่าเราจะได้ฌานโน้นฌานนี้ หลักของการปฏิบัติอันหนึ่งมีอยู่ว่า เราจะยึดอะไรเป็นสรณะของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    คำว่า กรรมฐาน นั้นหมายถึงการกำหนดจิตของเราให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อรวมพลังจิตไม่ให้ฟุ้ง เมื่อรวมพลังจิตอันนั้นไม่ให้ฟุ้งแล้ว รวมอยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง รวมจนได้อารมณ์แห่งปีติ คือนิ่งเฉยแห่งจุดนั้น เมื่อนั้นให้ขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกแห่งอรหันต์ โลกแห่งโพธิสัตว์ โลกแห่งอนาคา อนาคามี โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา ทำอย่างไรเราถึงจะไปสู่จุดแห่งการเป็นอนัตตาได้

    เพิ่มเติม หนังสือ ประวัติสังเขป พระโพธิสัตว์ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปี 2536 บ.เคล็ดไทย จำกัด จำหน่าย (ที่คัดมาหน้า 135-136)
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น


    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กับ เสด็จพ่อ ร.๕ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

    (คัดจากหน้า 41-43)
    ขุนราชฤทธิ์บริรักษ์ (ถาม) : อันว่านิพพาน ปรมัง สุญญัง เป็นอันว่านิพพานเป็นสูญอย่างยิ่ง คือหมายความว่าสูญเลย คำว่าสูญเลยเป็นที่สงสัยอย่างเกล้ากระผมซึ่งมีกิเลสหนา คำว่าสูญเลยตามตำราบอกว่าขันธ์นั่นสูญ รูปขันธ์ก็หายไป วิญญาณขันธ์ก็หายไป แล้วสังขารขันธ์ก็หายหมด ทีนี้เกล้ากระผมไม่ทราบว่าอะไรเหลือ เมื่ออะไรมันหายหมด เพราะนิพพาน ปรมัง สุญญัง นี่ เพราะฉะนั้นในฐานะพระเดชพระคุณสมเดจเป็นนักปราชญ์ผู้มีความเปรื่องในธรรม โปรดได้อธิบายให้เกล้ากระผมเพื่อเป็นแนวทางซักหน่อย ก็จะเป็นพระคุณและได้บุญกับสาธุชนผู้ที่นั่งฟังอีกด้วยเป็นอย่างมาก

    สมเด็จ (ตอบ) : คำว่า นิพพาน นี้ต้องเข้าใจว่ามีหลักแห่งความจริงของคำว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานัง ปรมัง สุญญัง ถ้าในหลักแห่งความจริงของพระสัมมาสัมพุทธโคดมแล้ว คำว่า นิพพาน ในโลกมนุษย์นี้ ก็คือว่า มนุษย์ผู้ใดปฏิบัติตนให้อยู่ในจิตแห่งความว่าง ให้อยู่ในจิตแห่งความนิ่ง ให้อยู่ในจิตแห่งความสิ้นจากสรรพกิเลสที่รอบล้อมอยู่ในตัว เขาเรียกว่า ....
    ใจกลางแห่งนิพพานตั้งอยู่เมือง
    รอบล้อมต่อเนื่องกำแพงอันแสนหนา
    ผู้ใดหาทางทะลุอยู่ในเมือง
    มนุษย์ผู้นั้นย่อมถึงนิพพาน
    นิพพานในโลกมนุษย์นี้เขาเรียกว่าปฏิบัติจิตให้ว่างที่สุด นานเท่านาน ผู้นั้นถึงนิพพานแห่งการเป็นมนุษย์ คือ สุญญัง นี้แหละเขาเรียกว่าสูญจากอาสวกิเลส สูญจากการป็นทาสอารมณ์แห่งการเป็นมนุษย์ จิตวิญญาณนี้พุ่งสู่แดนอรหันต์ ไม่ใช่สูญทั้งจิตและวิญญาณ ถ้าสูญทั้งจิตและวิญญาณ จะเอาอะไรไปเสวยกรรม สภาพการณ์วิญญาณที่สูญนั้นเขาเรียกว่า วิญญาณธาตุในเบญจขันธ์วิญญาธาตุนี้เป็นอุปาทาน รูปนี้ประกอบขึ้นด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ วิญญาณธาตุจึงอยู่เป็นกาย แต่วิญญาณอีกอันหนึ่งเขาเรียกว่าวิญญาณซึ่งวนเวียนอยู่ในกฏแห่งวิฏสงสารนั้นแหล่

    (คัดจากหน้า 61-62)
    เรื่องวิญญาณนี้เป็นเรื่องละเอียด ในหลักการแห่งวิญญาณของเทพพรหมชั้นสูงนั้น เปรียบเสมือนหนึ่งในหลักทั่วไปของมนุษย์ ก็คือว่าเป็นอากาศ สภาวการณ์ท่านรู้ว่ามีอากาศ แต่ท่านไม่สามารถจับอากาศขึ้นมาเป็นตัวตนได้ นั่นคือสภาวะของวิญญาณเทพพรหมชั้นสูง

    ทีนี้วิญญาณเหล่าวิสุทธิเทพ วิญญาณเหล่าพรหมสุทธาวาส วิญญาณเหล่าอรหันต์ จะเปรียบให้เข้าใจในโลกมนุษย์นี้จะเปรียบเป็นอะไรเล่า อันนี้อาตมาภาพขอแถลงไขเปรียบเสมือนหนึ่งว่าวิญญาณเหล่านี้เป็นวิญญาณละเอียด สภาวการ์แห่งการเป็นวิญญาณละเอียดเหล่านี้ไซร้ ท่านจะต้องฝึกสมาธิใช้จิตสัมผัสเหสมือนหนี่งเปรียบคือ ลม ท่านลองโบกมือดูสิ ว่ามีลมไหม เมื่อท่านโบกมือย่อมเกิดลม นักวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าเป็นชั้นด็อกเตอร์ก็ยังไม่สามารถเอาหน้าลมออกมาตีแผ่ให้มนุษย์ดูได้ ทั้งๆ ที่มนุษย์ทุกคนยอมรับว่ามีลม เพราะฉะนั้นวิญญาณแห่งวิสุทธิเทพ วิญญาณแห่งเทพพรหมชั้นสูง วิญญาณแห่งอรหันต์ จึงเปรียบง่ายๆ เป็นภาษามนุษย์ว่า ลม

    ทีนี้วิญญาณเหล่าอมรมนุษย์ วิญญาณเหล่าผีเปรต อสรุกาย วิญญาณเหล่าเจ้าที่เจ้าทงเหล่านี้ วิญญาณจำพวกนี้ยังมีกายหยาบ ฉะนั้นต้องเข้าใว่า เมื่อท่านสิ้นจากโลกมนุษย์นี้แล้วไซร้ ท่านจะต้องไปเกิดในปรภพแห่งการเสวยกรรมวิบากที่ไม่เหมือนกัน เพราะต่างกรรมต่างวาระ ต่างคนต่างสร้างมาไม่เหมือนกัน ทีนี้สภาวการณ์แห่งการสร้างกรรมไม่เหมือนกันก็คือว่าท่านที่สิ้นจากโลกมนุษย์ก็ยังเป็นวิญญาณปุตุนั้นก็จะเป็นกายหยาบหลุดออกจากกายเนื้อ ทีนี้ถ้าท่านบำเพ็ญในหลักแห่งวิสุทธิมรรค แห่งการเป็นพระอรหันต์ แห่งการเป็นพระพรหมสุทธาวาสแล้วไซร็ ท่านต้องละลายกายทิพย์เหลือแต่วิญญาณ ทีนี้วิญญาณแห่งกายที่มีกายหยาบเหล่านี้แหล่ ที่บางครั้งสามารถปรับในการรวมกระแสแห่งอำนาจที่ตนมีเป็นกายเป็นรูปร่างให้มนุษย์เห็นได้เป็นบางครั้งบางคราว

    ทีนี้ปัญหาเหล่านี้ ท่านจะถึงหลักแห่งการถึงโลกอีกโลกหึ่ง แห่งโลกทิพยอำนาจนี้ ท่านจะไปได้อย่างไรเล่า ภาวการณ์แห่งการที่จะท่านจะไปโลกเหล่านี้ได้แล้วไซร้ ท่านจะต้องบำเพ็ญในด้านจิตวิญญาณ ตามที่องค์สัมมาสัมพุทธโคดมวางในหลักการให้เราเหล่านุษย์ทั้งหลายเจริญรอยตามท่าน ก็คือว่ามี ศีล สมาธิ ปัญญา

    หนังสือ ธรรมะ จากดวงวิญญาณบริสุทธ์ สมเด็จโต ชุด ของดีที่คนมองข้าม พระปัญญาวรคุณ วัดพนาสนฑ์ จ.นราธิวาส รวบรวม พิมพ์ครั้งที่ ๗ ปี 2536 บ.เคล็ดไทย จำกัด
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บุคคลผู้ไม่รู้แจ้งในพระนิพพานไม่ควรสั่งสอนพระนิพพานแก่ผู้อื่น ถ้าขึ้นสั่งสอนก็จะพาหลงทาง เป็นบาปกรรมแก่ตน พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย ์( สิริจนฺโท จันทร์ )

    .... อันตัวที่ไม่ตายนั้นท่านให้ชื่อว่าโพธิสัตว์ พึงสันนิษฐานได้ว่าสัตว์นั้นแลคือตัวเรา เป็นผู้ไม่ตายเหมือนอย่างพระอริยเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เมื่อได้สำเร็จพระอรหัตตผลแล้ว ก็เป็นอันได้สำเร็จพระนิพพาน เมื่อท่านสำเร็จพระนิพพานแล้ว สัตว์ที่ตรัสรู้ที่ไม่เคยตายนั้น ก็ยังอยู่ไม่สูญไปข้างไหน สูญแต่กิเลสเครื่องก่อภพก่อชาติเท่านั้นเอง จึงพอสันนิษฐานเห็นได้ว่า พระนิพพานไม่สูญอย่างเอก แต่การที่จักทำให้สำเร็จ ต้องฝ่าฝืนอำนาจของพระยามาร ....

    เพิ่มเติมที่ แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 8 เรื่องมงคลกถา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2470 ในหนังสือพระธรรมเทศนา มงคลกถา 38 ธรรมวิจยานุศาสน์ คิริมานนทสูตร พร้อมด้วยอธาตุ ชุดพิเศษ เล่มที่ 5 หน้า 96-97

    ......บุคคลผู้มิได้พ้นจากิเลส ราคะ ตัณหา นั้นจะทำบุญให้ทานสร้างกุศลอย่างแข็งแรงเท่าใดก็ดี ก็จักได้เสวยความสุขในมนุษย์โลกแลเทวดาโลกเพียงเท่านั้น ที่จะได้เสวยความสุขในพระนิพพานนั้นเป็นอันไม่ได้ เลย ถ้าจะประสงค์ต่อพระนิพพานแท้ให้โกนเกล้เข้าบวชในพระศาสนา ในว่าบุรุษหญิงชายถ้าทำได้อย่างนี้ชื่อว่าปฏิบัติใกล้ต่อพระนิพพาน เพราะว่าเมืองพระนิพพานนั้นปราศจากกิเลสตัณหา เมืองมนุษย์แลเมืองสวรรค์เป็นที่ซึ่งทรงไว้กิเลสตัณหา ไม่เหมือนเมืองพระนิพพาน
    ........นิพฺพานํ นครํ นาม อันชื่อว่าเมืองพระนิพพาน ย่อมตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก โลกมีทีสุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ที่สุดนั้น พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย หรือกำลังพาหนะมียานช้างม้าได้ อย่าเข้าใจว่านิพพานตั้งอยู่ในทีสุดโลกเหล่านั้น อย่าเข้าใจว่าตั้งอยู่ที่ใดเลย แต้ว่าพระนิพพานนั้นหากมีอยู่ในที่สุดของโลกเป็ของจริง ไม่ต้องสงสัย ให้ท่านทั้งหลายศึกษาให้เห็นโลกรู้โลกเสียให้ชัดเจน ก็จักเห็นพระนิพพาน พระนิพพานก็หากตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลกนั่นเอง

    ดูเพิ่มเติมที่ หนังสือ คิริมานนทสูตร และ อัตตปวัตติ หน้า ๑๐-๑๒ ISBN974-8239-69-1 สนพ.ดวงแก้ว


    ผู้แต่งผู้วิสัชนาธรรมใช่หรือไม่?
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ


    พระอัฐิธาตุหลวงปู่มั่น
    พระเดชพระคุณพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

    ๑๓. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้
    อกุปฺปํ สพฺพธมฺเมสุ เญยฺยธมฺมา ปเวสฺสนฺโต บุคคลผู้มีจิตไม่กำเริบในกิเลสทั้งปวง รู้ธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นพหิทธาธรรม ทั้งที่เป็น อัชฌัตติกาธรรม สนฺโต จึงเป็นผู้สงบระงับ สันตบุคคลเช่นนี้แลที่จะบริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ มีธรรมบริสุทธิ์สะอาด มีใจมั่นคงเป็นสัตบุรุษผู้ทรงเทวธรรมตามความในพระคาถาว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร อุปัตติเทวา ผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ วุ่นวายอยู่ด้วยกิเลส เหตุไฉนจึงจะเป็นสันตบุคคลได้ ความในพระคาถานี้ย่อมต้องหมายถึง วิสุทธิเทวา คือพระอรหันต์แน่นอนท่านผู้เช่นนั้นเป็นสันตบุคคลแท้ สมควรจะเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ และ สุกฺกธรรม คือ ความบริสุทธิ์แท้

    ๑๔. อกิริยาเป็นที่สุดในโลก - สุดสมมติบัญญัติ
    สจฺจานํ จตุโร ปทา ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา สัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังเป็นกิริยา เพราะแต่ละสัจจะๆ ย่อมมีอาการต้องทำคือ ทุกข์-ต้องกำหนดรู้ สมุทัย-ต้องละ นิโรธ-ต้องทำให้แจ้ง มรรค-ต้องเจริญให้มาก ดังนี้ล้วนเป็นอาการที่จะต้องทำทั้งหมด ถ้าเป็นอาการที่จะต้องทำ ก็ต้องเป็นกิริยาเพราะเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นกิริยา จึงสมกับบาทคาถาข้างต้นนั้น ความว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นเท้าหรือเป็นเครื่องเหยียบก้าวขึ้นไป หรือก้าวขึ้นไป ๔ พักจึงจะเสร็จกิจ ต่อจากนั้นไปจึงเรียกว่า อกิริยา อุปมา ดังเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ แล้วลบ ๑ ถึง ๙ ทิ้งเสีย เหลือแต่ ๐ (ศูนย์) ไม่เขียนอีกต่อไป คงอ่านว่า ศูนย์ แต่ไม่มีค่าอะไรเลย จะนำไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น แต่จะปฏิเสธว่าไม่มีหาได้ไม่ เพราะปรากฏอยู่ว่า ๐ (ศูนย์) นี่แหละ คือปัญญารอบรู้ เพราะลายกิริยา คือ ความสมมติ หรือว่าลบสมมติลงเสียจนหมดสิ้น ไม่เข้าไปยึดถือสมมติทั้งหลาย คำว่าลบ คือทำลายกิริยา กล่าวคือ ความสมมติ มีปัญหาสอดขึ้นมาว่า เมื่อทำลายสมมติหมดแล้วจะไปอยู่ที่ไหน? แก้ว่า ไปอยู่ในที่ไม่สมมติ คือ อกิริยา นั่นเอง เนื้อความตอนนี้เป็นการอธิบายตามอาการของความจริง ซึ่งประจักษ์แก่ผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ อันผู้ไม่ปฏิบัติหาอาจรู้ได้ไม่ ต่อเมื่อไรฟังแล้วทำตามจนรู้เองเห็นเองนั่นแลจึงจะเข้าใจได้ ความแห่ง ๒ บาทคาถาต่อไปว่า พระขีณาสวเจ้าทั้งหลายดับโลกสามรุ่งโรจน์อยู่ คือทำการพิจารณาบำเพ็ยเพียรเป็น ภาวิโต พหุลีกโต คือทำให้มาก เจริญให้มาก จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมติทั้งหลายทำลายสมมติทั้งหลายลงไปได้จนเป็นอกิริยาก็ย่อมดับโลกสามได้ การดับโลกสามนั้น ท่านขีณาสวเจ้าทั้งหลายมิได้เหาะขึ้นไปนกามโลก รูปโลก อรูปโลกเลยทีเดียว คงอยู่กับที่นั่นเอง แม้พระบรมศาสดาของเราก็เช่นเดียวกัน พระองค์ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์แห่งเดียวกัน เมื่อจะดับโลกสาม ก็มิได้เหาะขึ้นไปในโลกสาม คงดับอยู่ที่จิต ทิ่จิตนั้นเองเป็นโลกสาม ฉะนั้น ท่านผู้ต้องการดับโลกสาม พึงดับที่จิตของตนๆ จึงทำลายกิริยา คือตัวสมมติหมดสิ้นจากจิต
    ยังเหลือแต่อกิริยา เป็นฐีติจิต ฐีติธรรมอันไม่รู้จักตาย ฉะนี้แล

    ๑๕. สัตตาวาส ๙
    เทวาพิภพ มนุสสโลก อบายโลก จัดเป็นกามโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์เสพกามรวมเป็น ๑ รูปโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จรูปฌานมี ๔ อรูปโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จอรูปฌานมี ๔ รวมทั้งสิ้น ๙ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ผู้มารู้เท่าสัตตาวาส ๙ กล่าวคือ พระขีณาสวเจ้าทั้งหลาย ย่อมจากที่อยู่ของสัตว์ ไม่ต้องอยู่ในที่ ๙ แห่งนี้ และปรากฏในสามเณรปัญหาข้อสุดท้ายว่า ทส นาม กึ อะไรชื่อว่า ๑๐ แก้ว่า ทสหงฺ เคหิ สมนฺนาคโต พระขีณาสวเจ้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ย่อมพ้นจากสัตตาวาส ๙ ความข้อนี้คงเปรียบได้กับการเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ นั่นเอง ๑ ถึง ๙ เป็นจำนวนที่นับได้ อ่านได้ บวกลบคูณหารกันได้ ส่วน ๑๐ ก็คือ เลข ๑ กับ ๐ (ศูนย์) เราจะเอา ๐ (ศูนย์) ไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ก็ไม่ทำให้เลขจำนวนนั้นมีค่าสูงขึ้น และ ๐ (ศูนย์) นี้เมื่ออยู่โดยลำพังก็ไม่มีค่าอะไร แต่จะว่าไม่มีก็ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งปรากฏอยู่ ความเปรียบนี้ฉันใด จิตใจก็ฉันนั้นเป็นธรรมชาติ มีลักษณะเหมือน ๐ (ศูนย์) เมื่อนำไปต่อเข้ากับเลขตัวใด ย่อมทำให้เลขตัวนั้นเพิ่มค่าขึ้นอีกมาก เช่น เลข ๑ เมื่อเอาศูนย์ต่อเข้า ก็กลายเป็น ๑๐ (สิบ) จิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน เมื่อต่อเข้ากับสิ่งทั้งหลายก็เป็นของวิจิตรพิสดารมากมายขึ้นทันที แต่เมื่อได้รับการฝึกฝนอบรมจนฉลาดรอบรู้สรรพเญยฺยธรรมแล้วย่อมกลับคืนสู่สภาพ ๐ (ศูนย์) คือ ว่างโปร่งพ้นจากการนับการอ่านแล้ว มิได้อยู่ในที่ ๙ แห่งอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ แต่อยู่ในที่หมดสมมติบัญญัติคือ สภาพ ๐ (ศูนย์) หรืออกิริยาดังกล่าวในข้อ ๑๔ นั่นเอง

    ดูเพิ่มเติมที่หนังสือมุตโตทัย
     
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หลวงพ่อ วัดปากน้ำภาษีเจริญ (พระมงคลเทพมุณี สด)

    ...... รูปทั้งหลายนั้นไม่ว่าประณีตสวยงามหรือไม่ ก็มาลงเอยที่อนิจจาด้วยกันทั้งสิ้น คือตายหมดไม่เหลือ ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ มีแต่ความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็ต้องทุกข์ทั้งนั้น การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าอะไรๆ ไม่เที่ยงนั้น จุดประสงค์คือจะให้เข้าถึง กายธรรม นอกจากกายธรรมแล้ว จะเป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้ต่างเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น คือต้องเวียนว่ายอยู่ในภพทั้ง ๓ ต่อเมื่อเข้าถึงกายธรรม จึงเป็นของเที่ยงเป็นสุขเป็นตัวตนทันที .....

    ดูเพิ่มเติมที่ หนังสือรู้ตรึกรู้นึกรู้คิด หน้า98 (หาซื้อได้ที่ร้านแพร่พิทยา)

    ......"นิพพานอยู่ข้างบน สูงจากภพ 3 โตเท่าภพ 3 นี่ สว่างเป็นแก้วไปหมดทั้งนั้น งดงามมาก โตเท่าภพ 3 นี่" .....

    จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "โอวาทปาฏิโมกข์" 20 ตุลาคม 2497
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หลวงพ่อ กับ หลวงปู่บุดดา


    หลวงพ่อ กับ ในหลวงฯ


    พระศพของหลวงพ่อไม่เน่าสลาย
    ประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าซุง ในมณฑปแก้ว
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน วีระ ถาวโร ปธ.๔) วัดท่าซุง อุทัยธานี

    .....ความหมายตามบาลี(ยมกสูตร) คนที่เห็นว่าพระอรหันต์ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเป็นความเห็นผิด แล้วท่านบรรดานักเขียนนักแต่งทั้งหลายท่านเอามาจากไหนว่า นิพพานสูญ อันนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดอะไรกันสักอย่าง เพราะมีพระบาลีบทหนึ่งว่านิพพานนัง ปรมังสูญญัง แปลว่านิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง ท่านอาจจะไปคว้าเอา ปรมังสูญญัง โดยเข้าใจว่า สูญโญเข้าให้ ......

    ดูเพิ่มเติมที่ [ หนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน อุปสมานุสสติกรรมฐาน]

    ผู้ถาม : เกิดมาแล้วทำไมจึงต้องตายครับ…?
    หลวงพ่อ : เพราะอยากตาย ไอ้คนอยากเกิดก็อยากตายด้วยใช่ไหม…เกิดแล้วมันก็ต้องตาย เพราะธรรมดาเราฝืนมันไม่ได้ ทีนี้ถ้าเราไม่ต้องการตาย เราก็ไม่ต้องเกิด
    ผู้ถาม : ที่นิพพานไม่มีการเกิดใช่ไหมครับ จึงไม่มีการตาย…?
    หลวงพ่อ : อันนี้เคยมีพระหรือพราหมณ์ถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิพพานจะไม่มีการเกิดก็ไม่ใช่ จะเรียกว่าเกิดก็ต้องเกิด ถ้าจะว่าไม่เกิด แต่สภาวะมันมีอยู่ ตอนแรกฉันอ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็เลยย่องไปถามท่าน ฉะนั้นนิพพานควรเรียกว่าอะไร ท่านบอกว่าควรจะเรียก "ทิพย์พิเศษ" ที่ไม่มีการเคลื่อน เทวดาหรือพรหมยังมีการเคลื่อน ที่เรียกว่า "จุติ" จุติ แปลว่า เคลื่อน ไอ้ศัพท์ที่ว่าตายนี่ พระพุทธเจ้าท่านไม่เรียก ท่านเรียก กาลัง กัตวา ถึงวาระแล้ว ถึงกาลเวลาแล้ว ท่านไม่เรียกว่าตาย ตาย นี่ มรณะ ตามศัพท์ของบาลีไม่มีคำว่ามรณะ ท่านเรียกว่า กาลัง กัตวา แปลว่าถึงวาระที่จะต้องไปจากร่างกายนี้ ร่างกายนี้มันพังมันไม่ยอมทำงาน
    ผู้ถาม : ขอหลวงพ่อโปรดอธิบายเรื่องนิพพาน ให้ผมเข้าใจด้วยครับ
    หลวงพ่อ : คำว่า นิพพาน เหรอ…คุณต้องการรู้เรื่องนิพพานไปทำไม…?
    ผู้ถาม : (หัวเราะ) เอาไว้ประดับความรู้ครับ
    หลวงพ่อ : เอาไว้ประดับความรู้….ดี คำว่า นิพพานเป็นของง่ายเป็นของไม่ยาก นิพพานนี่เขาแปลว่า ดับ นะคุณนะ ถ้าจะถามว่าดับอะไร ก็ขอตอบว่า ดับความชั่ว คนที่จะถึงนิพพานได้ต้องไม่มีความชั่ว ๓ อย่าง คือ
    ๑. ไม่ชั่วทางกาย
    ๒. ไม่ชั่วทางวาจา
    ๓. ไม่ชั่วทางใจ
    ถ้าทุกคนดับความชั่วได้หมด บุคคลนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน
    ผู้ถาม : แต่ผมเคยได้ยินมาว่า นิพพาน แปลว่า ดับไปเลย ไม่เหลืออะไรเลยนี่ครับ
    หลวงพ่อ : ความจริงคุณจะต้องรู้ว่าอะไรดับ คำว่านิพพานแปลว่าดับ ดับทีแรกคือดับกิเลส ดับที่สองคือดับขันธ์ ๕ แต่ว่าตามพระบาลีไม่ได้บอกว่า จิตดับ
    ปัญหาของคุณที่ถามนี่ เหมือนกับปัญหาของพระที่ถามพระพุทธเจ้าเคยถามมาแล้ว คือ ท่านผู้นี้มีนามว่า พระโมกขราช ท่านถามพระพุทธเจ้าว่า"นิพพานมีสภาพสูญ ใช่ไหม…พระพุทธเจ้าข้า" หมายความว่า เมื่อถึงนิพพานแล้วก็ดับสูญ มีสภาพคล้ายกับควันไฟที่ลอยไปในอากาศ ไม่มีที่เกาะ ไม่มีที่อยู่ อย่างนั้นองค์สมเด็จพระบรมครูตรัสว่า "โมกขราช เรากล่าวว่า นิพพานนั้นหมายถึงกิเลสดับ และขันธ์ ๕ ดับ"พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า จิตดับทีนี้ถ้าหากว่าคุณจะศึกษาเรื่องนิพพาน ถ้าเราจะพูดกันไปกี่ร้อยปี มันก็ไม่จบ ฉะนั้น ถ้าต้องการจะรู้เรื่องพระนิพพานจริงๆ คุณจะต้อง
    - เป็นคนมีศีลบริสุทธิ์ เป็นอันดับแรก
    - เป็นผู้ทรงฌานสมาบัติ
    - ในขณะที่ทรงฌานสมาบัติได้แล้ว คุณจะต้องทำจิตของตนให้เข้าถึงวิปัสสนาญาณ ที่เรียกกันว่าสังขารุเปกขาญาณ
    เมื่อจิตเข้าถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว ก็ต้องชำระกิเลสด้วยการตัดสังโยชน์ ๓ เบื้องต้น คือ
    ๑. ทำลายสักกายทิฏฐิ
    ๒. ทำลายวิจิกิจฉา คือ ความสงสัยให้หมดไป
    ๓. สีลัพพตปรามาส ทรงศีลให้บริสุทธิ์
    ๔. มีอารมณ์จิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ที่เราเรียกกันว่า โครตภูญาณ
    ถ้ากำลังใจของคุณทำได้อย่างนี้ เมื่อจิตเข้าถึงโครตภูญาณ คุณจะทราบว่า คำว่าดับของนิพพานนั้นก็คือ
    ๑. ดับกิเลส ในขณะที่มีชีวิตอยู่
    ๒. ดับขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๕ ดับ
    ๓. อารมณ์จิตที่บริสุทธิ์ไม่ได้ดับไปด้วย
    คำว่าพระนิพพาน ยังมีจุดที่เป็นอยู่อันหนึ่ง ที่เขาเรียกว่าเป็นทิพย์พิเศษ พ้นจากอำนาจของวัฏฏะ

    ดูเพิ่มเติมที่ [ หนังสือหลวงพ่อตอบปัญหา เล่ม ๓]
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    ....ในปกรณ์ของฝ่ายเถรวาท ท่านโบราณาจารย์แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ ภาค ดังนี้คือ

    ๑. พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งกำเนิดจากพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา ที่เป็นมนุษย์ธรรมดาประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔
    ๒. พระนามกาย เป็นพระกายซึ่งกำเนิดชั้นใน นามกายเป็นของมีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ แต่ดีเลวกว่ากันด้วยอำนาจกุศลที่ตนทำไว้ก่อน ส่วน พระนามกายของพระพุทธเจ้า ท่านดีวิเศษกว่าสามัณมนุษย์ ด้วยอำนาจพระบุญญาบารมี ที่ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัป
    ๓. พระธรรมกาย ได้แก่พระกายอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะทั่วไปแก่เทวดาและมนุษย์หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้ว เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ เป็นพระกายที่พ้นเกิดแก่เจ็บตาย เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวรไม่สูญสลาย แต่ท่านมิได้บอกให้แจ้งชัดว่า พระธรรมกายนี้มีรูปพรรณสัญฐานเช่นไรหรือไม่

    อนึ่ง ความเชื่อว่าพระอรหันต์นิพพานแล้วยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์นิพพานแล้วยังมีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์แท้ไม่สลายตามกาย คือความเป็นพระอรหันต์ ไม่สูญ ตัวอย่างเช่น พระยมกะ เมื่อยังไม่บรรลุอรหัตผลได้แสดงความเห็นว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญได้ถูก พระสารีบุตร สอบสวน เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว จึงเห็นตามความจริงว่า “สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมเป็นไปตามปัจจัย คือสลายไป ส่วนพระอรหันต์มิใช่สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งจึงไม่สลายไป แปลว่า ไม่ตาย” ความเป็นพระอรหันต์นี้ ท่านก็จัดว่าเป็นอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า “อัญญินทรีย์” พระผู้มีพระภาคเจ้าคงหมายถึงเอาอินทรีย์นี้เอง บัญญัติเรียกว่า “วิสุทธิเทพ” เป็นสภาพที่คล้ายคลึง “วิสุทธาพรหม” ในสุทธาวาสชั้นสูง (พรหมอนาคามี ชั้น ๑๒ - ๑๖ ) เป็นแต่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าเท่านั้น อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุม แม้แต่ตาทิพย์ของเทวดาสามัญก็มองไม่เห็น มนุษย์สามัญซึ่งมีตาหยาบ ๆ จะเห็นได้อย่างไร อินทรีย์ของพระอรหันต์นั้นแหละ เรียกว่า “อินทรีย์แก้ว” คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของท่านเป็นแก้ว คือใสบริสุทธิ์ดุจแก้ว มณีโชติ ผู้บรรลุถึงภูมิแก้วแล้ว ย่อมสามารถพบเห็น “พระแก้ว” คือพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้...

    ความรู้เรื่องนี้ เป็นความรู้ลึกลับในพระธรรมวินัย ผู้สนใจพึงศึกษาค้นคว้าต่อไปถ้ายังรู้ไม่ถึงอย่าพึ่งค้าน อย่าพึงโมทนา เป็นแต่จดจำเอาไว้ เมื่อใดตนเองได้ษึกษาค้นคว้าแล้ว ได้ความรู้ได้เหตุผลที่ถูกต้องดีกว่า เมื่อนั้นจึงค้าน ถ้าได้เหตุผลลงกันจึงอนุโมทนา ถ้ารู้ไม่ถึงแล้ว ด่วนวิพากษ์วิจารณ์ติเตียนผู้พูดเรื่องเช่นนี้ จะเป็นไปเพื่อบอดตาบอดญาณตนเอง ยิ่งจะซึ้าร้ายใหญ่ ดังนี้.....

    ดูเพิ่มเติมที่หนังสือ ทิพยอำนาจ อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    .....นิพพานมีอยู่จริงในปัจจุบัน ถ้าใครออกจากปัจจุบันไม่เห็นเลย ทุกเขญาณัง มันเกิดขึ้นกับจิตนี่เอง ให้พิจารณากายในมากๆ นิพพานไม่อยู่ตามต้นไม้ อยู่ที่จิตใจหมดอาสวะทั้งหลายนั่นเอง หลวงปู่บุดดา ถาวโร

    ศิษย์: หลวงปู่ครับ นิพพานโลกุตระ เป็นอย่างไร
    หลวงปู่: มันก็หมดอาสวะซิ อวิชชาไม่เหลือ
    ศิษย์: จิตยังอยู่ไหมครับ
    หลวงปู่: จิตปรมัตถ์ไป เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์จิตยังอยู่ มันเกิด-ดับ มันเป็นสังคตะไป ไม่ใช่สัตว์คนเป็นสังคตธรรม สังคตธรรมมีอยู่ อสังคตะธรรมมีอยู่ วิราคะธรรมมีอยู่ แต่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่คนเท่านั้น
    ศิษย์: หมดสมมุติ หมดความยึดถือไช่ไหมครับ
    หลวงปู่: .ฮื้อ! มันไม่มีอาสวะ ไม่มีอวิชชาสวะ ไม่มีอวิชชาสังโยชน์ ไม่มีอวิชชานุสัย ล่ะก็ กิเลส กรรม วิบาก มันก็ไม่มี จิตไม่มีนาม-รูปของขันธ์แล้ว มันเหนือนาม-รูปของขันธ์แล้ว สังคตะมันเหนือขันธ์ ๕ วิราคะธรรมมันเหนือขันธ์ ๕ (เหนือ คือ ไม่ถูกครอบงำ ไม่มีอุปาทานขันธ์ ย่อมไม่กลับกำเริบอีก)ขันธ์ ๕ ยังมีนามรูปติดต่อกันทางอายตนะธาตุนี่ ส่วนนิพพาน ปรมัตถ์นี้ไม่เกิดไม่ดับเป็นอสังคตะธรรม แต่ จิต เจตสิก รูป ปรมัตถ์นี้ยังเกิดดับเป็นสังคตะธรรม วิราคะธรรม ไม่มีราคะ หมดราคะถึงโลกุตระแล้วนั่น ไม่มีราคะโทสะ โมหะ เผาลนแล้ว
    ศิษย์: เมื่อดับจิต แล้ว นิพพาน สูญ ไม่เหลืออะไรเลยหรือปล่าวครับ..
    หลวงปู่: นิพพานไม่สูญ เป็นแต่อาสวะกิเลสสูญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม วิบาก มันสูญ แต่ สังคตะธรรม อสังคะธรรม วิราคะธรรม มันไม่ได้หมดไปด้วย บารมี ๓๐ ทัศน์ที่พระพุทธเจ้าสร้างเป็นของไม่ตาย แต่ว่าตัวบุญต้องเปลี่ยนแปลงไปจนกว่าพระโพธิสัตว์ตรัสรู้ เพราะถ้าเป็นตัวบุญอยู่กับพระเวสสันดรก็ไม่ตรัสรู้ซิ ก็ได้เป็นกษัตริย์ไม่ตรัสรู้ซิ แต่เพราะสละหมดอย่างพระเวสสันดร เที่ยวออกค้นคว้าถึง ๖ ปี(ซึ่งก็ต้องอาศัยบารมี อันเป็นนิสัยที่สั่งสมมา) จึงตรัสรู้ พระพุทธเจ้าบางองค์ก็อายุไม่เท่ากันมาองค์ปัจจุบันอายุ ๘๐ ปี (แล้วแต่บารมี)
    ศิษย์: ที่เขาว่าไปเที่ยวเมืองนิพพาน น่ะเขาไปกันได้จริงหรือป่าวครับ
    หลวงปู่: .เที่ยวได้แต่ปริยัติน่ะซิ พูดเอาภาคปริยัติก็เที่ยวได้ ภาคปฏิเวธเที่ยวได้ที่ไหนล่ะ มันมีบอกเมื่อไหร่ล่ะ
    ศิษย์: .แล้วอย่างมโนมยิทธิล่ะครับ
    หลวงปู่: นั่นมันเรื่อง พุทธนิมิต ธรรมนิมิต สังฆนิมิต ก็ตามใจซิ ก็นิมิตมันมีอยู่ หลับตาลืมตาก็มี มีของพระอริยะเจ้า พระพุทธเจ้าก็แสดงพุทธนิมิต ธรรมนิมิต สังฆนิมิต ได้ ให้เห็นกันทั่ว กามโลก รูปโลก อรูปโลก ให้เขาได้เห็นกันเมื่อครั้งเสด็จลงจากดาวดึงส์นี่ ก็จิตนี่ล่ะมันรับธรรมะ นอกจากกายกับจิตแล้วจะเอาอะไรไปรับล่ะ กายกับจิตนี่ล่ะมันรองรับพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ารู้นรก ๒ ชั้น นรกชั้นนอก นรกชั้นใน สวรรค์ชั้นนอก สวรรค์ชั้นใน นิพพานชั้นนอก นิพพานชั้นใน มันต้องมีภายนอกภายในพิสูจน์กันดู ดูนิพพานกันอย่างนี้ อ่านพระไตรปิฎกกันอย่างนี้ซิ นิพพานไม่ใช่รูปขันธ์ ไม่ใช่นามขันธ์ มันเหนือรูปขันธ์ นามขันธ์ สร้างบารมีมาก็เอาเป็นเครื่องมือ สร้างบารมีต่างหากล่ะ นามรูปนี่ตรัสรู้แล้วเอาไปเมื่อไหร่ล่ะ บารมี ๓๐ ทัศน์ ไม่ใช่ตัวขันธ์ ๕ มันเหนือขันธ์ ๕ พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วก็เหลือขันธ์ ๕ พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายตรัสรู้ ละสังโยชน์ แล้วก็เหลือยังขันธ์ ๕ เขายังเขียนรูปโลกไว้ให้ดู แต่อยู่เหนือขันธ์ ๕

    ดูเพิ่มเติมที่ เว็บ ประตูธรรม
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หลวงพ่อเกษม กับ ในหลวงฯ

    หลวงพ่อเกษม เขมโก จ.ลำปาง

    พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน
    นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งของคุณปู่ก็กจึง ที่กรุณาเล่าให้ผมฟัง ข้อนี้....คุณปู่เล่าให้ฟังสั้นๆ ว่า เหตุการณ์เมือนานมามากแล้วเช่นกัน จู่ๆ วันหนึ่ง เมื่อคุณปู่ไปนมัสการหลวงพ่อ ท่านได้ถามว่า

    "สามก็ก...รู้ไหม ว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน? "
    (หลวงพ่อเรียกคุณปู่ก๊กว่า สามก๊ก มานานแล้ว)

    คุณปู่ก๊กจึง สมัยนั้นประณมมือไหว้หลวงพ่อพลางตอบว่า
    "ผมไม่ทราบครับ หลวงพ่อ"

    ทันใดนั้นหลวงพ่อได้ชี้นิ้วเฉียงไปบนฟ้า พลางกล่าวว่า

    พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้ ท่านอยู่นอกโลก......

    จาก อนุสรณ์ ครบรอบ ๘๐ ปี หลวงพ่อเกษม เขมโก ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ หน้า 146
     

แชร์หน้านี้

Loading...